SlideShare a Scribd company logo
1 of 22
Download to read offline
การจัดการข้อมูลงานวิจัยเบื้องต้น
ตอนที่ 2 “แบบสอบถาม”
Supharerk Thawillarp, MD, MS
ทาไมถึงสาคัญ?
• พวกเราคงเคยทาแบบสอบถามกันบ้าง แต่หลายครั้ง มันก็จะมีแบบสอบถามที่เรารู้สึกไม่อยากจะ
ตอบเอาซะเลย เพราะงงและยาวมาก ในขณะเดียวกัน คนกรอกข้อมูล บางทีก็งงเหมือนกัน กรอก
ผิดช่องบ้าง กรอกไม่ครบบ้าง ทาให้คุณภาพของงานวิจัยนั้นลดลงไปอย่างน่าเสียดาย
• ฉะนั้นแบบสอบถามจึงสาคัญเพราะช่วยให้การเก็บข้อมูลดีขึ้น โดย
• การจัดลาดับคาถามและคาตอบให้ลื่นไหล เป็นขั้นตอน ผู้เก็บข้อมูล และผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่หลง
• ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บข้อมูล เช่น ตอบผิดข้อ ใส่คาตอบไม่ตรงกับที่ต้องการ
• ข้อมูลที่เก็บมาก็ตรงกับที่ต้องการและมีคุณภาพมากขึ้น
• Slide จะให้หลักการโดยรวมที่สามารถนาไปใช้ได้ทั้ง แบบกระดาษธรรมดา หรือ
Digital/Electronic
กระดาษ vs Electronic/Digital
แบบสอบถามรูปแบบกระดาษ แบบสอบถาม Electronic
เหมาะกับงานวิจัยขนาดเล็ก สะดวกในการรับมือกับข้อมูลจานวนมาก ๆ เหมาะกับงานวิจัยขนาดใหญ่
ง่ายและรวดเร็วในการใช้งาน ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเฉพาะด้านในการจัดการในการสร้างและติดตั้ง
ค่าใช้จ่ายหลักคือ ค่ากระดาษ หมึกพิมพ์ และเวลาในการกรอกข้อมูลลง
computer
มีค่าใช้จ่ายคือ ความสามารถเชิงเทคนิค เวลาในการติดตั้งระบบ และค่าลิขสิทธิ์
โปรแกรม Software ที่เกี่ยวข้อง (แบบแจก Free ก็หาไม่ยากครับ)
ยากแก่การแก้ไขเปลี่ยนแปลง ง่ายแก่การเปลี่ยนแปลง
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องพิมพ์ใหม่ การเปลี่ยนแปลงแบบสอบถามสามารถใช้ได้ทันที
ไม่สามารถตั้งเงื่อนไขให้แสดงคาถามเฉพาะได้ ทุกคาถามจะแสดงบนแบบสอบถาม
ทั้งหมด
สามารถตั้งเงื่อนไขให้แสดงเฉพาะบางคาถามได้ เช่น ถ้าอายุ 18 ปี ก็จะแสดง
คาถามอีกแบบหนึ่งเป็นต้น
สามารถเห็นและตรวจสอบข้อมูลได้เมื่อเสร็จสิ้นการกรอกเท่านั้น สามารถเห็นและตรวจสอบข้อมูลได้ทันที
อย่าให้ยาวเกินไป
• จากรูปจะเห็นว่า ยิ่งแบบสอบถามยาวขึ้นเท่าไหร่
ความสาเร็จและความร่วมมือในการเก็บข้อมูลก็จะ
ลดลงมากเท่านั้น
• จริง ๆ ไม่มีกาหนดแน่ชัดว่าควรจะเป็นกี่หน้า
เพราะขึ้นกับลักษณะงานวิจัย แต่โดยรวมๆ การ
เก็บข้อมูลหรือสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามแต่ละ
ครั้ง ไม่ควรเกิน 20 นาที เพราะหลังจากนั้นจะเริ่ม
ล้ากันทั้งคนถามและคนถูกถาม
https://www.surveymonkey.com/curiosity/eliminate-survey-fatigue-fix-3-things-respondents-hate/
การจัดวาง
• การจัดวางแบบสอบถามเป็นสิ่งสาคัญ เพราะคนเราจะกวาดสายตาจากซ้ายไปขวามากกว่าบนลง
ล่าง และเป็นการประหยัดพื้นที่ด้วย ถ้าต้องมาเลือนแบบสอบถามยาว ๆ ก็คงไม่สะดวกครับ
ขนาดและความละเอียดหน้าจอของอุปกรณ์
• ในปัจจุบัน เรามีการใช้ Tablet ในการสารวจ
กันมากขึ้น ซึ่งขนาดของ Tablet บางครั้ง
อาจจะมีผลต่อการแสดงแบบสอบถามได้
โดยเฉพาะถ้าผู้เก็บข้อมูลใช้ Tablet ของ
ตัวเอง ที่อาจมีขนาดและความละเอียดหน้าจอ
ต่างออกไป
• ฉะนั้นถ้าใช้ Tablet อย่าลืมทดสอบกับ
อุปกรณ์ที่จะใช้จริงด้วยนะครับ
• ปัญหานี้ไม่ค่อยเจอเท่าไหร่แล้วในปัจจุบันครับ
7”Tablet
10”Tablet
การตั้งเงื่อนไขคาถาม
• โปรแกรมสร้างแบบสอบถาม Electronic ในปัจจุบันแทบทั้งหมด เช่น ODK Epidata REDCap
จะสามารถตั้งเงื่อนไขไว้ได้ เช่น ถ้าผู้ตอบ ตอบ “Yes” ในข้อ 9 ก็จะไปยังข้อ 10 ถ้าตอบ “No”
ก็จะข้ามไปยังข้อ 11 เป็นต้น
ถ้าตอบ “Yes” ให้
แสดงข้อ 10
ถ้าตอบ “No” ให้ข้าม
ไปข้อถัดไป
การใช้สีสลับในแต่ละข้อ
• การใช้สีสลับในแต่ละข้อจะช่วยให้ผู้กรอกข้อมูลสังเกตได้ง่ายขึ้น และลดการกรอกผิดข้อ
การใส่เครื่องหมายช่วยนาทาง
มีการใส่เครื่องหมายเพื่อเตือน
ผู้สัมภาษณ์ว่าคาถามนี้ไล่จาก
ซ้ายไปขวา
ในแบบสอบถามที่ซับซ้อนกว่า
ปกติ อาจมีการใส่รูปหรือเส้น
เพื่อนาทางให้ผู้สัมภาษณ์ไม่งง
หรือ กรอกข้อมูลผิดช่อง
ในตัวอย่างแบบสอบถาม ต้อง
กรอก ซ้ายไปขวา เช่น A.A,
A.B, A.C การใส่ลูกศรหรือ
เครื่องหมายไว้จะช่วยได้มาก
หลีกเลี่ยงการใช้ช่องกรอกข้อมูลโดยไม่จาเป็น
• การบันทึกด้วยช่องเติมทา ทาให้การกรอกข้อมูลลาบากมากขึ้น เพราะต้องพิมพ์ทั้งคา แทนที่จา
กรอกตัวเลือก เช่น 1,2,3 หรือ a, b, c และยังมีปัญหาเรื่องการสะกดผิด และการเขียนที่ไม่
เหมือนกันด้วย ทาให้ต้องใช้เวลาในการจัดการข้อมูลอย่างมาก ฉะนั้นพยายามจัดให้เป็นตัวเลือก
จะดีกว่า
1. คุณเกิดที่จังหวัดใด?
____________
กทม, กรุงเทพฯ, กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
1. คุณเกิดที่จังหวัดใด?
กรุงเทพฯ
อื่น ๆ โปรดระบุ…………..
เชียงใหม่
ไม่ทราบ ไม่มีข้อมูล ไม่ได้ถาม (ลืม)
• “ไม่มีข้อมูล” “ไม่ต้องการให้ข้อมูล” “ไม่ทราบ” และ “ไม่ได้เก็บ (ลืม)” ต่างกันนะครับ เพราะ
มันจะมีผลในการตัดสินใจว่าเราจะเอามันมาวิเคราะห์ด้วยหรือเปล่า
• โดยทั่วไปมักจะใช้ “9” “99” “999” แทน “ไม่ทราบ” และเว้นว่างไว้สาหรับในกรณีลืมถาม แต่
จริง ๆ จะใช้อะไรก็ได้ ขอให้ใช้เหมือนกันทั้งแบบสอบถาม
• ก่อนการวิเคราะห์อาจต้องนาค่าเหล่านี้ออกด้วย เช่น “ไม่ทราบอายุ” ถ้าเรากรอก 999 เข้าไป ก็
จะกลายเป็นว่า เรามีบุคคลอายุ 999 ปี เข้ามาในการวิเคราะห์ด้วย ซึ่งไม่ถูกต้องครับ ฉะนั้นต้อง
วางแผนล่วงหน้าว่าจะทายังไงกับค่าเหล่านี้ก่อนเริ่มวิเคราะห์
• บางสานักจะใช้ “.” หรือ “NA” แทน ซึ่งก็ได้ทั้งนั้นครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เก็บข้อมูลที่
ใช้ว่ารองรับหรือไม่
ระบุคาอธิบายสั้นๆ ไว้ใกล้ช่องกรอกข้อมูล
• แน่นอนว่าในแบบสอบถามก็ควรจะระบุ คาอธิบายสั้นๆ ไว้ให้ชัดเจนตามตัวอย่างครับ คนกรอก
จะได้ไม่งง
จะเห็นว่า เราแยก Code ไว้ เมื่อ ปฏิเสธที่จะ
ตอบ หรือ ตอบว่าไม่ทราบ
ตัวอย่างที่ไม่ดี
• ในตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ผู้สร้างใช้การเพิ่มตัวเลือกสุดท้ายต่อเข้าไปแทนคาว่า “ไม่ทราบ” ซึ่งจะเกิด
ปัญหาในกรณีที่จานวนตัวเลือกไม่เท่ากันครับ เช่น ข้อ 1 ตัวเลือกที่ 6 จะเป็นไม่ทราบ แต่ ข้อ 2
จะกลายเป็นตัวเลือก ที่ 4 แทน
• การแก้ไขคือเปลี่ยนให้เหมือนกัน เช่น เป็น 9 ทั้งคู่
1. How often did you exercise this week?
0 – Did not exercise at all
1 – 1 time
2 – 2 times
3 – 3 times
4 – 4 times
5 – 5 or more times
6 – Missing / Don’t know
2. How many hours did you sleep last night?
1 – less than 4 hours
2 – 4 to 6 hours
3 - 6 to 8 hours
4 – Missing / Don’t know
1. How often did you exercise this week?
0 – Did not exercise at all
1 – 1 time
2 – 2 times
3 – 3 times
4 – 4 times
5 – 5 or more times
9 – Missing / Don’t know
2. How many hours did you sleep last night?
1 – less than 4 hours
2 – 4 to 6 hours
3 - 6 to 8 hours
9 – Missing / Don’t know
การจัดเก็บข้อมูล
หลักเลี่ยงการเก็บข้อมูลหลายอย่างไว้ในตัวแปรเดียว
• การเก็บข้อมูลหลายอย่างไว้ในตัวแปรเดียว จะมีความลาบากมากในการแยกออกมาใช้ โดยเฉพาะ
ถ้าจานวนข้อมูลไม่เท่ากัน
Student_ID Grade_data
1001 grade 3, slightly elevated, round
1002 grade 2, normal, oval
Student_ID Grading Temperature Shape
1001 grade 3 slightly elevated round
1002 grade 2 normal oval
Student_ID Grade_data
1001 grade 3, slightly elevated, round
1002 grade 2, oval
เปลี่ยนเป็นแบบด้านล่างจะดีกว่าครับ
จานวนข้อมูลไม่เท่ากันนี่ยากเลยครับ ต้องแกะทีละตัว เพราะไม่
สามารถใช้คาสั่ง Text-to-column ใน Excel ได้
การตั้งชื่อตัวแปรเก็บข้อมูลในตาราง
• ตั้งชื่อให้สื่อความหมาย และไม่ยาวเกินไป (ไม่เกินประมาณ 10-15 ตัวอักษร)
• การตั้งชื่อตัวแปรให้สื่อความหมาย จะช่วยให้การ Key ข้อมูลเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องวกไปดูคู่มือ
(Code book) บ่อย ๆ
เทียบกันแล้ว แบบด้านล่างพอจะ
เข้าใจกว่าว่าเป็นข้อมูลอะไร
ระบบการตั้งชื่อตัวแปรที่น่าสนใจ
• ระบบที่เห็นบ่อย ๆ ในการตั้งชื่อคือ ใช้ prefix หรือ ตัวนาหน้า แทนชื่อแบบฟอร์มเก็บข้อมูล และ
suffix หรือตัวลงท้าย แทนช่วงเวลาที่เก็บ เช่น
• bf_lastwk_fever โดย bf มาจาก Baseline Form
• last_wk_fever_12 โดย 12 มาจากระยะเวลา 12 เดือน
• การใช้ Prefix/Suffix ยังมีประโยชน์คือ สะดวกในการกรองข้อมูลที่ต้องการ เช่น เวลาเราต้องการ
เฉพาะข้อมูลในระยะเวลา 12 เดือน เราก็สามารถเลือกเฉพาะ column ที่ลงท้ายด้วย _12 ได้
เป็นต้น
ประโยชน์ในการแปลงรูปแบบตารางข้อมูล
• การใช้ prefix/suffix ยังช่วยให้เราสามารถแปลงข้อมูลจาก Wide เป็น Long ได้สะดวกมากขึ้น
ด้วย เช่นจาก โปรแกรม Stata
• จะมีประโยชน์มากในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องติดตามผลนาน ๆ เช่น ติดตามผลเลือดผู้ป่วย ทุก
12 เดือน เป็นเวลา 6 ปี เป็นต้น
ID fever_1 cough_1 weightkg_1 fever_12 cough_12 weightkg_12
1 0 0 5 1 1 6
2 0 1 6 0 1 6
3 0 0 6 1 1 7
ID Event fever cough weightkg
1 1 0 0 5
1 12 1 1 6
2 1 0 1 6
2 12 0 1 6
3 1 0 0 6
3 12 1 1 7
Wide
Long
คู่มือการลงข้อมูล หรือ Codebook
• เป็นเอกสารอธิบายข้อมูลในแต่ละช่อง ทั้งชื่อตัวแปร ชนิดข้อมูลที่เก็บ คาถาม และคาตอบหรือ
ตัวเลือกแต่ละอย่าง สาหรับผู้กรอกข้อมูลและผู้ใช้แบบสอบถาม
• ควรระบุวันที่จัดทา เพื่อจะได้ทราบว่ากาลังใช้เอกสารชุดล่าสุดตรงกันหรือไม่
• หน้าสุดท้ายของคู่มือ ควรจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้ทราบ
• ดูตัวอย่างในหน้าถัดไปครับ
ตัวอย่าง Codebook
บันทึกการเปลี่ยนแปลง
ระบุวันที่การปรับปรุงล่าสุด
ระบุตัวแปร คาอธิบาย ชนิดข้อมูล
และคาตอบที่เป็นไปได้
อย่าลืมทดสอบแบบสอบถามก่อนใช้จริง !!!
• ทุกท่านคงทราบว่า การทดสอบแบบสอบถามหลาย ๆ ครั้งจะช่วยให้เราเห็นจุดบกพร่องที่คาดไม่
ถึง และช่วยให้เราปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้จริง เพราะถ้าระหว่างการเก็บข้อมูลจริง การเปลี่ยนแปลง
แบบสอบถามจะทาได้ยาก และสร้างความสับสนให้กับผู้ร่วมงาน ฉะนั้นต้องเผื่อเวลาทดสอบด้วย
• ระหว่างการทดสอบ อย่าลืมสังเกตปฏิกิริยาของทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย เพราะจะ
แสดงให้เห็นว่าเขาอาจจะกาลังงงกับบางคาถามหรือไม่รู้จะไปต่ออย่างไรดี ซึ่งก็เป็นข้อมูลในการ
ปรับปรุงอีกทางหนึ่ง
References
• Best practices for designing data collection forms
http://www.kwantu.net/blog/2016/12/26/best-practices-for-designing-data-
collection-forms
• Intro to Data Management: Data Collection Forms and Codebooks by Andre
Hackman, Department of Biostatistics, Johns Hopkins Bloomberg School of Public
Health

More Related Content

What's hot

ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
Thida Noodaeng
 

What's hot (7)

Developing Custom Applications with Joomla! and Fabrik
Developing Custom Applications with Joomla! and FabrikDeveloping Custom Applications with Joomla! and Fabrik
Developing Custom Applications with Joomla! and Fabrik
 
ISO14001 Requirements & Implementation
ISO14001 Requirements & ImplementationISO14001 Requirements & Implementation
ISO14001 Requirements & Implementation
 
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
 
นักจัดการงานทั่วไป(ปฏิบัติการ ชำนาญการพิเศษ)
นักจัดการงานทั่วไป(ปฏิบัติการ ชำนาญการพิเศษ)นักจัดการงานทั่วไป(ปฏิบัติการ ชำนาญการพิเศษ)
นักจัดการงานทั่วไป(ปฏิบัติการ ชำนาญการพิเศษ)
 
Supply chain for next generation
Supply chain for next generationSupply chain for next generation
Supply chain for next generation
 
Basic Boolean & Keyword Searching
Basic Boolean & Keyword SearchingBasic Boolean & Keyword Searching
Basic Boolean & Keyword Searching
 
The ultimate-guide-to-digitizing-the-shop-floor
The ultimate-guide-to-digitizing-the-shop-floorThe ultimate-guide-to-digitizing-the-shop-floor
The ultimate-guide-to-digitizing-the-shop-floor
 

การจัดการข้อมูลงานวิจัยเบื้องต้น ตอนที่ 2 “แบบสอบถาม”