SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
1
เรื่องของพราหมณ์วาเสฏฐะ และภารทวาชะ ตอนที่ ๑
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เกริ่นนา
บทความ “เรื่องของพราหมณ์วาเสฏฐะ และภารทวาชะ” นามาจากพระสูตร ๓ เรื่องที่มี
เรื่องราวต่อเนื่องกันคือ วาเสฏฐสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ])
จาก เตวิชชสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ]) และจาก อัคคัญญ
สูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]) เป็นเรื่องของพราหมณ์หนุ่มสอง
คือ วาเสฏฐะ และภารทวาชะ ที่ได้เข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถามปัญหาเรื่องเกี่ยวกับ
ความเป็นพราหมณ์ (เพราะในสมัยพุทธกาลนั้นบรรดาพราหมณ์ถือตนว่าเป็นวรรณะที่ประเสริฐกว่าวรรณะ
อื่นๆ ทั้งหมด) ที่พราหมณ์หนุ่มทั้งสองไม่สามารถทาความเห็นให้ตรงกันได้ พระพุทธเจ้าจึงได้กาหนด
ความหมายของพราหมณ์ในแง่มุมของพระพุทธศาสนา ให้พราหมณ์หนุ่มทั้งสองฟังอย่างถ่องแท้ ทาให้ทั้ง
สองหันมานับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
ต่อมาพราหมณ์ทั้งสองยังมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันในเรื่องทางไปสู่การเป็นพระพรหม ทั้ง
สองจึงไปทูลถามทางสู่การเป็นพระพรหมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าจึงได้อธิบายว่า พราหมณ์ที่รู้
จบไตรเภทไม่มีใครยืนยันการได้พบเห็นพระพรหม เพียงแต่เป็นความเชื่อต่อ ๆ กันมาเท่านั้น และพราหมณ์
กับพระพรหมมีความแตกต่างกันมากในหลาย ๆ ด้าน พระพุทธองค์จึงแสดงหนทางเพื่อการเป็นพระพรหม
ให้ทั้งสองได้รับทราบจนกระจ่างแจ้ง ทาให้ทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนา
สุดท้ายพราหมณ์ทั้งสองได้มาบรรพชาเป็นสามเณร อาศัยอยู่ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี มีอยู่วัน
หนึ่ง พระพุทธองค์ได้พบกับสามเณรทั้งสอง แล้วสอบถามเรื่องที่ทั้งสองถูกพราหมณ์ทั้งหลายก่นด่าเพราะ
หันมาเป็นนักบวชในพุทธศาสนา พระพุทธองค์จึงทรงอธิบายการก่อกาเนิดของโลก และการกาเนิดมนุษย์ที่
มีการสืบเนื่องมาจากพระพรหมชั้นอาภัสสราโดยละเอียดให้ทั้งสองฟัง แล้วสรุปว่า ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า ทาให้วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรมีใจยินดี น้อมระลึกรู้
ตามคาสั่งสอน แล้วได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลายฉะนี้ แล
-------------------
2
วาเสฏฐสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๘. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อวาเสฏฐะ
[๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ สมัย
นั้น ในหมู่บ้านอิจฉานังคละ มีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงมาพักอยู่หลายคน คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกข
พราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชานุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ (จังกีพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านโอปาสา
ทะ ตารุกขพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านอิจฉานังคละ โปกขรสาติพราหมณ์อยู่ที่เมืองอุกกัฏฐะ ชาณุสโสณิพราหมณ์
อยู่ที่กรุงสาวัตถี โตเทยยพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านตุทิ พราหมณ์ทั้ง ๕ เป็นพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าเสนทิ
โกศล) และยังมีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงคนอื่นๆ อีก ครั้งนั้น เมื่อมาณพชื่อวาเสฏฐะกับมาณพชื่อภาร
ทวาชะ เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้สนทนากันค้างไว้ อย่างนี้ ว่า “ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรบุคคลจึงจะชื่อว่า
เป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ ว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีชาติกาเนิดมาดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่าย
มารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตาหนิได้เพราะอ้างถึง
ชาติตระกูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”
วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตรด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจให้ภารทวาชมาณ
พยินยอมได้เหมือนกัน ลาดับนั้น วาเสฏฐมาณพได้เรียกภารทวาชมาณพมากล่าวว่า
“พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ ราวป่า
อิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ ว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มาเถิด ท่านภารทวาชะ เราทั้งหลายจักเข้าไป
เฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามเนื้ อความนี้ พระสมณโคดมจักตรัสตอบแก่เราทั้งหลายอย่างไร
เราทั้งหลายจักทรงจาเนื้ อความนั้นไว้อย่างนั้น”
ภารทวาชมาณพรับคาแล้ว
[๔๕๕] ลาดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร วาเสฏฐมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
3
“ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท อันอาจารย์อนุญาตแล้ว และปฏิญญาได้เองว่า ‘เป็นผู้ได้
ศึกษาแล้ว’ ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้ เป็นศิษย์ท่านตารุกขพราหมณ์
ข้าพระองค์ทั้งสองรู้จบบทที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว เป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยาตาม
บท เช่นเดียวกันกับอาจารย์ในการกล่าวมนตร์
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสองโต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติกาเนิด คือภารทวาชมาณพก
ล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกาเนิด’ ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะกรรม (กรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)’ พระองค์ผู้มีพระจักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้
ข้าพระองค์ทั้งสองนั้นไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้ จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ผู้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้ ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประนมมือถวายบังคม ก็จัก
ถวายอภิวาทพระโคดมได้ทั่วโลก เหมือนดวงจันทร์เต็มดวงฉะนั้น
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดม ผู้เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นในโลกว่า ‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะชาติกาเนิด หรือบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม’ ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ
โดยประการที่จะทราบถึงบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด”
พราหมณ์ในพระพุทธศาสนา
[๔๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
“วาเสฏฐะ เราจะพยากรณ์ถึงความพิสดารแห่งชาติกาเนิดของสัตว์ทั้งหลายตามลาดับความ
เหมาะสมแก่เธอ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกาเนิดแตกต่างกันหลายเผ่าพันธุ์
เธอทั้งหลายรู้จักหญ้าและต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้ หญ้าและ
ต้นไม้เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานสาเร็จมาแต่กาเนิด เพราะธรรมชาติของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักแมลงคือตั๊กแตน ตลอดจนถึงพวกมดดา มดแดง สัตว์เหล่านั้นต่างมี
รูปร่างสัณฐานไปตามกาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้าทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตาม
กาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักพวกสัตว์เลื้อยคลานที่ใช้ท้องแทนเท้า มีสันหลังยาว สัตว์เหล่านั้นต่างมี
รูปร่างสัณฐานไปตามกาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักปลา และสัตว์น้าประเภทอื่นที่เกิดเที่ยวหากินอยู่ในน้า สัตว์เหล่านั้น
ต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ปีกที่บินไปในอากาศ สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตาม
กาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน
รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้ ต่างกันตามกาเนิดมากมาย ฉันใด แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่มี
รูปร่างสัณฐานแตกต่างกันไปตามกาเนิดมากมาย ฉันนั้น คือ ผมก็ไม่แตกต่างกัน ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา
ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก ซอกอวัยวะ อวัยวะสืบพันธุ์ มือ เท้า นิ้ วมือ เล็บ
4
แข้ง ขาอ่อน ผิวพรรณ หรือเสียงก็ไม่แตกต่างกัน ในหมู่มนุษย์ จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกาเนิด แตกต่างกัน
มากมายเหมือนในกาเนิดอื่นๆ เลย
[๔๕๗] ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคนไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว การเรียกกันในหมู่
มนุษย์ เขาเรียกตามบัญญัติ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเรียกว่า
ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยศิลปะหลายอย่าง ผู้นั้นเรียกว่า
ช่างศิลปะ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเรียกว่า
พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้คนอื่น ผู้นั้นเรียกว่า
คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยทรัพย์ที่ลักเขามาเลี้ยงชีพ ผู้นั้น
เรียกว่า โจร ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยลูกศร และศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้น
เรียกว่า ทหารอาชีพ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต ผู้นั้นเรียกว่า ผู้
ประกอบพิธีกรรม ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามปกครองท้องถิ่นและแว่นแคว้น ผู้นั้นเรียกว่า
พระราชา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกาเนิดเกิดในครรภ์มารดาว่า เป็นพราหมณ์ ถ้าเขายังเป็นผู้มีกิเลสเครื่อง
กังวลอยู่ เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่าโภวาทีเท่านั้น
เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล หมดความยึดมั่นถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๘] เราเรียกผู้ตัดสังโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ปราศจากโยคะว่า
เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ตัดชะเนาะคือความโกรธ ตัดเชือกคือตัณหา ตัดหัวเงื่อนคือทิฏฐิ ๖๒ พร้อมทั้งสายโยง
คืออนุสัยกิเลสได้ ถอดลิ่มสลักคืออวิชชา ตรัสรู้อริยสัจแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นต่อคาด่า การทุบตี และการจองจา มีขันติธรรมเป็นพลัง มีพลัง
ใจเข้มแข็งว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตรเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์ ไม่มีตัณหาฟูใจขึ้นอีก ฝึกตนได้แล้ว มีสรีระเป็น
ชาติสุดท้ายว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย เหมือนหยาดน้าไม่ติดบนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ไม่
ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้นว่า เป็นพราหมณ์
5
ในศาสนานี้ เราเรียกผู้ที่รู้ชัดถึงภาวะสิ้นกองทุกข์ของตน ปลงขันธภาระลงได้แล้ว ปราศจากกิเลส
ทั้งปวงว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในทางและมิใช่ทางบรรลุอรหัตตผล ที่เป็น
ประโยชน์สูงสุดแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้ง ๒ ฝ่าย เที่ยวจาริกไป ไร้กังวล มีความมัก
น้อยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้งดเว้นจากการเบียดเบียนทาร้ายสัตว์ทุกจาพวก ทั้งที่สะดุ้ง และที่มั่นคง ไม่ฆ่า
เอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่คิดร้ายเมื่อบุคคลอื่นยังคิดร้าย ผู้สงบระงับเมื่อบุคคลอื่นยังมีอาชญาในตน ผู้
ไม่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อบุคคลอื่นยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ทาราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะ ให้ตกไปจากจิตได้ เหมือนเมล็ดพันธุ์
ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลมว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๙] เราเรียกบุคคลผู้เปล่งถ้อยคาไม่หยาบ ให้รู้ความกันได้เป็นคาจริง ซึ่งไม่เป็นเหตุทาใครๆ
ให้ข้องอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ในโลกนี้ ไม่ว่าจะยาวหรือสั้น จะเล็กหรือ
ใหญ่ จะสวยงามหรือไม่สวยงามก็ตามว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความหวัง อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า หมดความทะยาน
อยากโดยสิ้นเชิง มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความอาลัยคือตัณหา รู้แจ้งชัดจนหมดความสงสัย มีจิตน้อมไปสู่อมตธรรม
จนบรรลุได้ในที่สุดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละบุญและบาปทั้ง ๒ ได้ ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้องแล้ว หมดความเศร้าโศก
ปราศจากธุลีคือกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้หมดสิ้นตัณหาที่นาไปเกิดในภพทั้ง ๓ มีจิตไม่มัวหมอง ผ่องใสบริสุทธิ์ดุจดวง
จันทร์วันเพ็ญที่ปราศจากเมฆหมอกว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ข้ามพ้นทางอ้อมคือราคะ ทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อคือกิเลส สังสารวัฏฏ์ และโมหะ
ได้แล้ว เป็นผู้ข้ามโอฆะไปถึงฝั่ง มีจิตเพ่งพินิจอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละกามทั้งหลาย บวชเป็นบรรพชิต สิ้นภวตัณหาแล้วว่า เป็น
พราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละตัณหาได้แล้ว บวชเป็นบรรพชิต สิ้นกามและภพแล้วว่า เป็น
พราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์แล้ว ล่วงพ้นโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้ มีจิตหลุดพ้น
จากโยคะทั้งหมดว่า เป็นพราหมณ์
6
เราเรียกบุคคลผู้ละได้ทั้งความยินดี (ความยินดี หมายถึงความพอใจอย่างยิ่ง ความยินดี ความ
สงบเย็นในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอกุศล เทียบกับนัยของความยินร้าย) และความยินร้าย
(ความยินร้าย หมายถึงความไม่ยินดีอย่างยิ่ง ความกระสัน ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือใน
สภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล) เป็นผู้สงบเยือกเย็น ปราศจากอุปธิกิเลสครอบงาโลกคือขันธ์ทั้งหมดได้ มีความ
เพียรว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้รู้ชัดการจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายโดยอาการทั้งปวง เป็นผู้ไม่ติดข้อง
ดาเนินไปด้วยดี รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ผู้ไม่สามารถหยั่งรู้ถึงคติได้ สิ้นอาสวะแล้ว เป็น
พระอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หมดความกังวล ไม่
มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ มีความเพียร แสวงหาคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ชนะมารได้แล้ว
ไม่มีกิเลสเครื่องทาให้หวั่นไหว ชาระล้างกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ระลึกถึงอดีตชาติได้ เห็นสวรรค์และนรก ถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้วว่า เป็น
พราหมณ์
[๔๖๐] อันที่จริง นามและโคตรที่เขากาหนดให้กันนั้นเป็นเพียงสมมติบัญญัติในโลก นามและ
โคตรปรากฏอยู่ได้ เพราะรู้ตามกันมา ญาติสาโลหิตกาหนดไว้ในการเกิดนั้นๆ
นามและโคตรที่กาหนดเรียกกันนี้ เป็นความเห็นที่ฝังแน่นอยู่ในใจมานาน ของพวกคนผู้ไม่รู้ความ
จริง เมื่อไม่รู้จึงกล่าวบุคคลว่า เป็นพราหมณ์โดยกาเนิด
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่ หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม หรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นช่างศิลปะก็เพราะกรรม เป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม เป็นผู้รับใช้
ก็เพราะกรรม
บุคคลแม้เป็นโจรก็เพราะกรรม เป็นทหารอาชีพก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม แม้เป็น
พระราชา ก็เพราะกรรมทั้งนั้น
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท มีความรู้ความเข้าใจในกรรมและผลของกรรม ย่อม
พิจารณาเห็นกรรม ตามความเป็นจริงอย่างนี้ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม สัตว์
ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไปอยู่
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้ เพราะกรรมนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ ทมะ (ชื่อว่า ตบะ เพราะมี
ธุดงค์เป็นตบะ ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะงดเว้นจากเมถุนธรรม ชื่อว่า สัญญมะ เพราะมีศีล ชื่อว่า ทมะ
เพราะฝึกอินทรีย์แล้ว) นี้ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว เป็นทั้งพรหม
และท้าวสักกะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่”
7
[๔๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระ
ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจาข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้ แล
วาเสฏฐสูตรที่ ๘ จบ
------------------
8
คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา วาเสฏฐสูตร
ทรงโปรดวาเสฏฐมาณพ
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
๘. อรรถกถาวาเสฏฐสูตร
วาเสฏฐสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในราวป่าชื่ออิจฉานังคละ คือในราวป่าอันไม่ไกลอิจฉานังคลคาม.
ชนแม้ทั้ง ๕ มีจังกีพราหมณ์เป็นต้นต่างก็เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วยกันทั้งนั้น.
คาว่า และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พราหมณ์เหล่าอื่นเป็นอันมากมี
ชื่อเสียง.
ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันในที่ ๒ แห่งทุกๆ ๖ เดือน. ในกาลใดต้องการจะชาระชาติ
ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อุกกัฏฐคามเพื่อชาระชาติให้บริสุทธิ์ ในสานักของท่านโปกขรสาติ. ใน
กาลใดต้องการจะชาระมนต์ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อิจฉานังคลคาม. ในกาลนี้ ประชุมกันที่
อิจฉานังคลคามนั้นเพื่อชาระมนต์ให้บริสุทธิ์.
บทว่า ถ้อยคาที่พูดกันในระหว่าง ความว่า มีถ้อยคาอย่างอื่นเกิดขึ้นในระหว่างถ้อยคาที่เหมาะ
ต่อความเป็นสหายกันที่คน ๒ คนเที่ยวเดินกล่าวตามๆ กัน.
บทว่า มีศีล คือ มีคุณ.
บทว่า สมบูรณ์ด้วยวัตร คือ ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ.
คาว่า อันอาจารย์อนุญาตและปฏิญาณได้เอง ความว่า อันอาจารย์อนุญาตอย่างนี้ ว่า เธอ
ทั้งหลายศึกษาจบแล้ว.
บทว่า พวกเราเป็นผู้ที่อาจารย์ให้ศึกษาแล้ว ความว่า และตนเองปฏิญาณแล้วอย่างนี้ .
ด้วยคาว่าข้าพระองค์เป็นศิษย์ของท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้ เป็นศิษย์ของท่านตารุกข
พราหมณ์ วาเสฏฐมาณพแสดงว่า ข้าพระองค์เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือเป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านโปกขรสาติ
พราหมณ์ มาณพผู้นี้ เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือเป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านตารุกขพราหมณ์.
บทว่า ผู้ทรงวิชชา ๓ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท.
คาว่า บทใดที่พราหมณ์ทั้งหลายบอกแล้ว ความว่า บทใดแม้บทเดียวที่พราหมณ์ทั้งหลายบอก
แล้ว ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะ.
คาว่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมนต์นั้น ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความสาเร็จในบท
นั้น เพราะรู้บทนั้นทั้งสิ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เช่นเดียวกับอาจารย์ ในสถานที่บอกมนต์ ความว่า ข้าพระองค์
ทั้งสองเป็นเช่นเดียวกับอาจารย์ ในสถานที่กล่าวมนต์.
บทว่า เพราะกรรม ได้แก่ เพราะกรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐.
ก็วาเสฏฐมาณพนี้ หมายเอากายกรรมและวจีกรรม ๗ ประการข้างต้น จึงกล่าวว่า กาลใดแล
9
ท่านผู้เจริญมีศีล ดังนี้ . หมายเอามโนกรรม ๓ จึงกล่าวว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร. ก็บุคคลผู้ประกอบมโนกรรม
๓ นั้น ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ. วาเสฏฐมาณพร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้มีพระจักษุเพราะ
เป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕.
บทว่า ล่วงเลยความสิ้นไป ได้แก่ ล่วงเลยความพร่อง. อธิบายว่าบริบูรณ์.
บทว่า เข้าถึง ได้แก่ เข้าไปใกล้.
บทว่า จะนอบน้อม แปลว่า กระทาความนอบน้อม.
คาว่า เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นแล้วในโลก ความว่า เป็นดวงจักษุโดยแสดงประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้น
ของชาวโลก อุบัติขึ้น ขจัดความมืดนั้น ในโลกอันมืดเพราะอวิชชา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันวาเสฏฐมาณพชมเชยแล้วทูลอาราธนาอย่างนี้ เมื่อจะทรงสงเคราะห์ชน
แม้ทั้งสองจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า เราตถาคตจักบอกถ้อยคาอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอทั้งสองนั้น ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จักบอกอย่างชัดแจ้ง ได้แก่ จักพยากรณ์.
บทว่า ตามลาดับ ความว่า ความคิดของพราหมณ์จงพักไว้ก่อน เราจักบอกตามลาดับ คือโดย
ลาดับตั้งแต่หญ้า ต้นไม้ แมลงและตั๊กแตนเป็นต้น.
บทว่า การจาแนกชาติกาเนิด คือ ความพิสดารของชาติกาเนิด.
คาว่า เพราะชาติกาเนิดคนละอย่าง ความว่า เพราะชาติกาเนิดของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ คนละ
อย่างคือ แต่ละอย่างต่างๆ กัน.
ด้วยบทว่า หญ้าและต้นไม้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระเทศนานี้ ว่า เราจักกล่าวชาติ
กาเนิดที่ไม่มีวิญญาณครอง แล้วจักกล่าวถึงชาติกาเนิดที่มีวิญญาณครองภายหลัง ความต่างกันแห่งชาติ
กาเนิดนั้น จักปรากฏอย่างนี้ . ก็พระมหาสิวเถระถูกถามว่า ท่านผู้เจริญ การกล่าวอย่างนี้ ว่า สิ่งที่ไม่มี
วิญญาณครอง ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะมีพืชต่างกัน สิ่งที่มีวิญญาณครอง ก็ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะ
กรรมต่างกัน ดังนี้ ไม่ควรหรือ จึงตอบว่า เออ ไม่ควร. เพราะกรรมซัดเข้าในกาเนิดสัตว์เหล่านี้ มีพรรณต่างๆ
กัน เพราะการปฏิสนธิในกาเนิด.
ในบทว่า หญ้าและต้นไม้ นี้ มีกระพี้อยู่ข้างใน แก่นอยู่ข้างนอก ชั้นที่สุดแม้ตาลและมะพร้าวเป็น
ต้น ชื่อว่าหญ้าทั้งนั้น. ส่วนไม้ที่มีแก่นอยู่ข้างใน กระพี้อยู่ข้างนอก ชื่อว่าต้นไม้ทั้งหมด. คาว่า แม้จะปฏิญาณ
ไม่ได้ ความว่า ย่อมไม่รู้อย่างนี้ ว่า พวกเราเป็นหญ้า พวกเราเป็นต้นไม้ หรือว่าเราเป็นหญ้าเราเป็นต้นไม้.
คาว่า เพศอันสาเร็จด้วยชาติกาเนิด ได้แก่ ก็หญ้าและต้นไม้เหล่านั้น แม้ไม่รู้ (คือปฏิญาณ
ไม่ได้) สัณฐานมันก็สาเร็จมาแต่ชาติกาเนิดทั้งนั้น คือเป็นเหมือนหญ้าเป็นต้น ซึ่งเป็นเค้าเดิมของตนนั่นเอง.
เพราะเหตุไร.
เพราะชาติกาเนิดมันต่างๆ กัน. คือเพราะติณชาติก็อย่างหนึ่ง รุกขชาติก็อย่างหนึ่ง แม้บรรดา
ติณชาติทั้งหลาย ชาติกาเนิดตาลก็อย่างหนึ่ง ชาติกาเนิดมะพร้าวก็อย่างหนึ่ง. พึงขยายความให้กว้างขวาง
ออกไปด้วยประการอย่างนี้ .
ด้วยคาว่า ชาติกาเนิดต่างกัน นี้ ทรงแสดงความหมายนี้ ว่า สิ่งใดต่างกันโดยชาติกาเนิด สิ่งนั้น
แม้เว้นการปฏิญาณตนหรือการชี้บอกแนะนาของคนอื่น ก็ย่อมถือเอาได้โดยพิเศษว่า (มันมี) ชาติกาเนิดคน
10
ละอย่าง. ก็หากว่าคนพึงเป็นพราหมณ์แท้ๆ โดยชาติกาเนิด แม้เขาเว้นการปฏิญาณตนหรือการบอกเล่าของ
คนอื่น พึงถือเอาโดยพิเศษแต่กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทร แต่จะถือเอาหาได้ไม่. เพราะฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็น
พราหมณ์เพราะชาติกาเนิดก็หาไม่. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงกระทาให้แจ้งซึ่งเนื้ อความนี้ แห่งพระคาถา
ว่า ในชาติกาเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ โดยทรงเปล่งพระวาจาไว้เท่านั้นข้างหน้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชาติกาเนิดในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครองอย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทรง
แสดงชาติกาเนิดในสิ่งที่มีวิญญาณครอง แต่นั้นจึงตรัสคามีอาทิว่า ตั๊กแตน ดังนี้ .
คาว่า ตลอดถึงมดดามดแดง ความว่า ทรงทามดดามดแดงให้เป็นชาติสุดท้าย.
ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านี้ สัตว์ที่กระโดดไป ชื่อว่าตั๊กแตน. คาว่า เพราะชาติกาเนิดคนละอย่าง
หมายความว่า ชาติกาเนิดเนื่องด้วยสิ่งที่มีสีเขียวสีแดงเป็นต้นของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็มีประการต่างๆ แท้.
บทว่า ตัวเล็ก ได้แก่ กระรอกเป็นต้น. บทว่า ใหญ่ ได้แก่ งูและแมวเป็นต้น.
บทว่า มีเท้าที่ท้อง แปลว่า มีท้องเป็นเท้า. อธิบายว่า ท้องนั่นแหละเป็นเท้าของสัตว์เหล่าใด. บท
ว่า มีหลังยาว ความว่า งูทั้งหลายมีหลังอย่างเดียว ตั้งแต่หัวจรดหาง เพราะฉะนั้น งูเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า มี
หลังยาว. บทว่า ในน้า คือ เกิดในน้า.
นกทั้งหลายชื่อว่า ไปด้วยปีก เพราะบินไปด้วยปีกเหล่านั้น. ชื่อว่า ไปทางอากาศ เพราะไปทาง
อากาศกลางหาว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงชาติกาเนิดแต่ละประเภทของสัตว์ที่ไปทางบก ทางน้าและทาง
อากาศอย่างนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทาพระประสงค์อันเป็นเครื่องแสดงถึงเรื่องชาติกาเนิดนั้นให้ชัดแจ้ง
จึงตรัสพระคาถาว่า ในชาติกาเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ เป็นต้น. เนื้ อความแห่งคาถานั้นทรงตรัสไว้โดยย่อ
ทีเดียว. แต่คาใดที่จะพึงตรัสในที่นี้ โดยพิสดาร เมื่อจะทรงแสดงคานั้นโดยพระองค์เองจึงตรัสคาว่า มิใช่ด้วย
ผม ดังนี้ เป็นต้น.
ในคานั้นมีการประกอบความดังต่อไปนี้ .
คาใดที่กล่าวว่า ในหมู่มนุษย์ ไม่มีเพศที่สาเร็จด้วยชาติกาเนิดมากมาย ดังนี้ คานั้นพึงทราบว่า
ไม่มีอย่างนี้ .
คืออย่างไร.
คือ มิใช่ด้วยผมทั้งหลาย. เพราะไม่มีการกาหนดไว้ว่า พวกพราหมณ์มีผมเช่นนี้ พวกกษัตริย์
เช่นนี้ เหมือนผมของช้าง ม้าและเนื้ อเป็นต้น. ก็พระดารัสที่ว่า เพศอันสาเร็จด้วยชาติกาเนิด (ในมนุษย์
ทั้งหลาย) ไม่เหมือนในชาติกาเนิดเหล่าอื่นดังนี้ พึงทราบว่า เป็นคากล่าวสรุปเนื้ อความที่ตรัสไว้แล้วเท่านั้น
บทนั้นประกอบความว่า เพราะเพศในมนุษย์ทั้งหลาย อันสาเร็จด้วยชาติเป็นอันมาก ย่อมไม่มีด้วยผมเป็น
ต้นเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบเพศนั้นว่า ในมนุษย์ทั้งหลายที่ต่างกันโดยเป็น
พราหมณ์เป็นต้น เพศที่สาเร็จด้วยชาติกาเนิดหาเหมือนในชาติกาเนิดเหล่าอื่นไม่. บัดนี้ ในเมื่อความ
แตกต่างแห่งชาติกาเนิดแม้จะไม่มีอย่างนี้ เพื่อที่จะแสดงประการที่เกิดความต่างกันนี้ ที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์
นั้น จึงตรัสคาถาว่า เป็นของเฉพาะตัว ดังนี้ .
เหมือนอย่างว่า สาหรับสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ความต่างกันโดยสัณฐาน มีผมเป็นต้น สาเร็จ
11
มาแต่กาเนิดทีเดียว ฉันใด สาหรับพวกพราหมณ์เป็นต้น ความต่างกันนั้นในสรีระของตนย่อมไม่มี ฉันนั้น.
แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความต่างกันที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ดังนี้ นั้น ในหมู่มนุษย์เขาเรียกกันตามชื่อ คือ เขา
เรียกโดยสักว่าต่างกันเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มวาทะของภารทวาชมาณพ ด้วยพระดารัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ ถ้า
หากว่าคนจะเป็นพราหมณ์ได้เพราะชาติไซร้ แม้คนที่มีอาชีพ ศีล และความประพฤติเสียหาย ก็จะเป็น
พราหมณ์ได้ แต่เพราะเหตุที่พราหมณ์แต่เก่าก่อน ไม่ปรารถนาความที่คนเสียหายนั้นมาเป็นพราหมณ์ และ
คนที่เป็นบัณฑิตแม้อื่นๆ ย่อมมีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงยกย่องวาทะของวาเสฏฐมาณพ จึงตรัส
คาถา ๘ คาถาว่า ก็บุคคลใดคนหนึ่งในหมู่มนุษย์ ดังนี้ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า การรักษาโค คือการรักษานา. อธิบายว่า กสิกรรม. ก็คาว่าโคเป็นชื่อของ
แผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า ด้วยศิลปะมากมาย ได้แก่ ศิลปะต่างๆ มีการงานของช่องทอหูกเป็นต้น.
บทว่า ค้าขาย ได้แก่ การค้าขาย.
บทว่า ด้วยการรับใช้ผู้อื่น คือ ด้วยกรรมคือการขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น.
บทว่า อาศัยศัสตราเลี้ยงชีวิต คือ การเป็นอยู่ด้วยอาวุธ. อธิบายว่า (อาศัย) ลูกศรและศัสตรา.
บทว่า ด้วยความเป็นปุโรหิต คือ ด้วยการงานของปุโรหิต.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่คนเสียหายด้านอาชีพ ศีล และความประพฤติ ว่า
ไม่เป็นพราหมณ์ โดยลัทธิของพราหมณ์ และโดยโวหารของชาวโลกอย่างนี้ แล้ว ทรงให้ยอมรับความถูกต้อง
นี้ โดยใจความอย่างนี้ ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คนย่อมไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นพราหมณ์เพราะพวกคน
วัยรุ่น เพราะฉะนั้น คนใดเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เป็นคนมีคุณความดี คนนั้นเป็นพราหมณ์ นี้ เป็น
ความถูกต้องในอธิการที่ว่าด้วยเรื่องพราหมณ์นี้ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความถูกต้องนั้นด้วยการ
เปล่งคาพูดออกมา จึงตรัสว่า และเราก็ไม่เรียกว่าเป็นพราหมณ์ดังนี้ เป็นต้น.
ใจความของพระดารัสนั้นมีว่า
เพราะเราไม่เรียกคนผู้เกิดในกาเนิดใดกาเนิดหนึ่ง บรรดากาเนิด ๔ หรือผู้ที่เกิดในมารดาที่
พราหมณ์ยกย่องสรรเสริญโดยพิเศษในกาเนิด ๔ แม้นั้น ผู้เกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนั้น ว่าเป็น
พราหมณ์ คือ เราไม่เรียกคนผู้ที่เขากล่าวว่าเกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิด เพราะเป็นผู้เกิดแต่กาเนิด
โดยมารดาสมบัติก็ตาม โดยชาติสมบัติก็ตาม ด้วยคาที่มานี้ ว่า กาเนิดกล่าวคือ เพียงแต่ความบังเกิดขึ้นอัน
บริสุทธิ์ของพราหมณ์ที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ผู้เกิดดีแล้วแต่ข้างทั้งสองฝ่าย มีครรภ์ที่ถือ
ปฏิสนธิบริสุทธิ์นั้น ผู้เกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าเกิดแต่กาเนิด
มีมารดาเป็นแดนเกิดนี้ .
เพราะเหตุไร.
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที มีวาทะว่าผู้เจริญ เพราะเป็นผู้วิเศษกว่าคนเหล่าอื่น ผู้มีความ
กังวล ด้วยสักแต่กล่าวว่าผู้เจริญ ผู้เจริญ บุคคลนั้นแลเป็นผู้มีความกังวล มีความห่วงใย.
ส่วนบุคคลใดแม้จะเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ชื่อว่าผู้ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีกิเลสเครื่อง
12
กังวลมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่าผู้ไม่ถือมั่น เพราะสละความยึดถือทั้งปวง เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความกังวล ผู้ไม่
ยึดถือนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
เพราะเหตุไร.
เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว. สูงขึ้นไปหน่อย คาถา ๒๗ เป็นต้นว่า ตัดสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สังโยชน์ทั้งปวง ได้แก่ สังโยชน์ทั้งหมด คือแม้ทั้ง ๑๐.
บทว่า ย่อมไม่สะดุ้ง คือ ย่อมไม่สะดุ้งด้วยความสะดุ้งคือตัณหา.
บทว่า ล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ผู้ไม่ประกอบ คือ ผู้ไม่ประกอบด้วยกาเนิด ๔ หรือด้วยกิเลสทั้งปวง.
บทว่า สายเชือกหนัง ได้แก่ อุปนาหะ ความผูกโกรธ.
บทว่า สายหนัง ได้แก่ ตัณหา.
บทว่า ที่ต่อ แปลว่า เชือกบ่วง.
คาว่า เชือกบ่วง นี้ เป็นชื่อของกิเลสเครื่องกลุ้มรุม คือทิฐิ. ปมที่สอดเข้าในบ่วงเรียกว่า สายปม.
ในคาว่า มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้วนี้ อวิชชา ชื่อว่าดุจลิ่ม.
บทว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔.
บทว่า ย่อมอดกลั้น คือ ย่อมอดทน. บทว่า ผู้มีขันติเป็นหมู่พล คือ มีอธิวาสนขันติเป็นหมู่พล. ก็
ขันตินั้นเกิดขึ้นคราวเดียว ไม่ชื่อว่าเป็นกาลังดังหมู่พล ต่อเกิดบ่อยๆ จึงเป็น. ชื่อว่ามีกาลังดังหมู่พล เพราะมี
อธิวาสนขันตินั้น.
บทว่า ผู้มีองค์ธรรมเครื่องจากัด คือ มีธุดงควัตร.
บทว่า มีศีล คือ มีคุณความดี.
บทว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น คือปราศจากกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ผู้ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ.
บทว่า ย่อมไม่ฉาบทา คือ ย่อมไม่ติด.
บทว่า ในกามทั้งหลาย ได้แก่ ในกิเลสกามและวัตถุกาม.
พระอรหัต ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในพระบาลีนั้นว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่สิ้น
ทุกข์ในภพนี้ เอง ดังนี้ .
บทว่า ย่อมรู้ชัด หมายความว่า รู้ด้วยอานาจการบรรลุ.
บทว่า ผู้มีภาระอันปลงแล้ว คือ ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว ได้แก่ทาภาระคือขันธ์ กิเลส อภิสังขาร
และกามคุณ ให้หยั่งลงตั้งอยู่.
บทที่ไม่ประกอบแล้ว มีเนื้ อความกล่าวไว้แล้วแล.
บทว่า มีปัญญาลึกซึ้ง คือ มีปัญญาอันไปแล้วในอารมณ์อันลึกซึ้ง.
บทว่า มีปรีชา ได้แก่ ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญาตามปกติ.
คาว่า (ด้วยคฤหัสถ์) และบรรพชิตทั้งสองพวก ความว่า ผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต.
อธิบายว่า ผู้ไม่คลุกคลีเด็ดขาดในชนทั้งสองพวก และด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น.
13
ในบทว่า ผู้ไม่อาลัยเที่ยวไป ความว่า ความอาลัยในกามคุณ ๕ เรียกว่า โอกะ ผู้ไม่ติดอาลัยคือ
กามคุณ ๕ นั้น.
บทว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย คือ ผู้ไม่มีความปรารถนา. บทว่า ผู้สั่นคลอน คือ ผู้มีตัณหา. บท
ว่า ผู้มั่นคง คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า ผู้มีอาชญาในตนคือ ผู้ถืออาชญา. บทว่า ผู้ดับแล้ว คือ ดับแล้วด้วยการ
ดับกิเลส. บทว่า ผู้มีความยึดถือ คือ ผู้มีความถือมั่น. บทว่า ปลงลงแล้ว แปลว่า ให้ตกไป. บทว่า ไม่แข็ง
กระด้าง คือ ไม่มีโทษ. เพราะแม้ต้นไม้ที่มีโทษ ก็เรียกว่ามีความแข็งกระด้าง. บทว่า อันยังผู้อื่นให้เข้าใจ คือ
อันยังคนอื่นให้เข้าใจ ได้แก่ไม่ส่อเสียด. บทว่า จริง คือ ไม่คลาดเคลื่อน. บทว่า เปล่ง คือ กล่าว.
คาว่า ไม่ทาให้คนอื่นข้องใจด้วยวาจาใด ความว่า ย่อมกล่าววาจาอันไม่หยาบ ไม่เป็นเหตุทาให้
คนอื่นติดใจหรือข้องใจเช่นนั้น. ทรงแสดงสิ่งของที่ร้อยด้ายไว้ ด้วยคาว่ายาว. ทรงแสดงสิ่งของที่กระจัด
กระจายกันอยู่ ด้วยคาว่า สั้น.
บทว่า ละเอียด แปลว่าเล็ก. บทว่า หยาบ แปลว่าใหญ่. บทว่า งามไม่งาม คือ ดีไม่ดี. เพราะ
สิ่งของ (ที่ร้อยเป็นพวง) ยาว มีราคาน้อยบ้าง มากบ้าง. แม้ในสิ่งของนั้น (คือกระจายกันอยู่) ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ดังนั้น ด้วยพระดารัสมีประมาณเท่านี้ หาได้ทรงกาหนดถือเอาสิ่งทั้งหมดไม่ แต่ทรงกาหนด
ถือเอาด้วยสิ่งของนี้ ที่ว่า งามและไม่งาม. บทว่า ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความอยาก. บทว่า ความอาลัย
ได้แก่ความอาลัย คือตัณหา. บทว่า เพราะรู้ทั่ว คือ เพราะรู้. บทว่า อันหยั่งลงสู่อมตธรรม คืออันเป็นภายใน
อมตธรรม. บทว่า ถึงแล้วโดยลาดับ ได้แก่ เข้าไปแล้วโดยลาดับ.
บทว่า ธรรมเครื่องข้องทั้งสอง คือ ธรรมเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น. เพราะว่าบุญย่อมทาให้สัตว์
ข้องในสวรรค์ บาปย่อมยังสัตว์ให้ข้องอยู่ในอบาย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ธรรมเป็นเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น.
บทว่า เลยแล้ว แปลว่า ล่วงไปแล้ว. บทว่า ไม่ขุ่นมัว คือ เว้นจากกิเลสที่ทาให้ขุ่นมัว.
บทว่า ผู้มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ได้แก่ มีความเพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว มีภพสิ้นไปแล้ว.
ความว่า อวิชชานั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าดุจทางลื่น เพราะอรรถว่าทาให้เคลื่อนคลาด. ชื่อ
ว่าดุจหล่ม เพราะเป็นของอันถอนขึ้นได้ยากมาก. ชื่อว่าสังสาร เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไป (และ). ชื่อว่า
โมหะ เพราะอรรถว่าโง่เขลา.
บทว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามโอฆะทั้ง ๔. คาว่า ถึงฝั่ง คือ ถึงพระนิพพาน.
บทว่า มีปรกติเพ่ง คือ มีปรกติเพ่งด้วยอานาจเพ่งอารมณ์และลักษณะ. บทว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คือ
ไม่มีตัณหา. คาว่า ดับแล้ว เพราะไม่ถือมั่น ได้แก่ ดับแล้วด้วยการดับกิเลสทั้งปวง เพราะไม่ยึดถืออะไร.
บทว่า กามทั้งหลาย ได้แก่ กามแม้ทั้งสอง. บทว่า ไม่มีเรือน แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน. บทว่า เว้น
แปลว่า ย่อมเว้นทุกด้าน. บทว่า มีกามและภพสิ้นแล้ว คือ สิ้นกาม สิ้นภพ. คาว่า กิเลสเครื่องประกอบของ
มนุษย์ ได้แก่กิเลสเครื่องประกอบ คือกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์.
บทว่า กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ คือ กิเลสเครื่องประกอบคือกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์.
บทว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง ความว่า ปราศจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง.
บทว่า ยินดี คือ ยินดีกามคุณ ๕. บทว่า ไม่ยินดี ได้แก่ ไม่พอใจในกุศลภาวนา. บทว่า ผู้แกล้ว
กล้า คือ มีความเพียร. บทว่า ผู้ไปดีแล้ว คือ ไปสู่สถานที่ดี หรือดาเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันดี. บทว่า คติ คือ
14
ความสาเร็จ. บทว่า ข้างหน้า ได้แก่ ในอดีต. บทว่า ข้างหลัง ได้แก่ ในอนาคต. บทว่า ในท่ามกลาง คือ ใน
ปัจจุบัน. บทว่า เครื่องกังวล คือ กิเลสตัวที่ทาให้กังวล. บทว่า ผู้แสวงหาอันยิ่ง คือ ชื่อว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง
เพราะแสวงหาคุณอันใหญ่. บทว่า ผู้มีความชนะ คือ ผู้มีความชนะอันชนะแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้นว่าเป็นพราหมณ์โดยคุณความดี
อย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลใดกระทาการถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้ บุคคลนั้นไม่รู้
การถือมั่นนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้น เป็นทิฐิชั่ว จึงตรัสสองคาถาว่า อันชื่อว่าดังนี้ . เนื้ อความของสอง
คาถานั้นมีว่า อันชื่อและโคตรที่เขาจัดแจงไว้ ตั้งไว้ ปรุงแต่งไว้ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ภารทวาชะ วาเสฏฐะ
นั้นใด อันนั้นเป็นชื่อ (เรียกกัน) ในโลก. อธิบายว่า เป็นเพียงเรียกกัน.
เพราะเหตุไร.
เพราะสมมุติ เรียกกัน คือมาโดยการหมายรู้กัน. เพราะชื่อและโคตรนั้น ญาติสาโลหิตจัดแจงไว้
ตั้งไว้ในเวลาที่เขาเกิดในที่นั้นๆ. หากไม่กาหนดชื่อและโคตรนั้นไว้อย่างนั้น คนไรๆ เห็นใครๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้นี้
เป็นพราหมณ์หรือว่าเป็นภารทวาชะ. ก็ชื่อและโคตรนั้นที่เขากาหนดไว้อย่างนั้น กาหนดไว้เพื่อความรู้สึกว่า
ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนานในหทัยของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ว่า นั่นสักแต่
ว่าชื่อและโคตรที่เขากาหนดไว้เพื่อเรียกกัน. อธิบายว่า เพราะทิฐินั้นนอนเนื่องอยู่ ผู้ไม่รู้ชื่อและโคตรนั้น คือ
ไม่รู้เลยว่า เป็นพราหมณ์ ก็เที่ยวพูดอย่างนี้ ว่า ผู้นี้ เป็นพราหมณ์เพราะชาติดังนี้ .
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์โดยชาตินั้น ไม่รู้มาตรว่าการ
เรียกกันนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้นเป็นทิฐิชั่ว ดังนี้ อย่างนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าด้วยชาติ
อย่างเด็ดขาด และทรงตั้งวาทะว่าด้วยกรรม จึงตรัสคาเป็นต้นว่า มิใช่เพราะชาติ ดังนี้ .
เพื่อขยายความของกึ่งคาถาที่ว่า เพราะกรรม ดังนี้ ในพระดารัสนั้น จึงตรัสคาว่า เป็นชาวนา
เพราะการงาน ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะการงาน ได้แก่ เพราะกรรมคือเจตนาตัวบังเกิดการงานมีกสิกร
รมเป็นต้นอันเป็นปัจจุบัน.
บทว่า ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ ว่า เป็นอย่างนี้ เพราะปัจจัยนี้ .
บทว่า ผู้รู้ในกรรมและผลของกรรม ความว่า ผู้ฉลาดในกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ ว่า ย่อมมี
การอุบัติในตระกูลอันควรแก่การนับถือและไม่นับถือ เพราะอานาจกรรม ความเลวและความประณีตแม้
อื่นๆ ย่อมมีในเมื่อกรรมเลวและประณีตให้ผล. ก็พระคาถาว่า ย่อมเป็นไปเพราะกรรม ดังนี้ มีความหมาย
เดียวเท่านั้นว่า ชาวโลกหรือหมู่สัตว์ หรือว่าสัตว์. ต่างกันแต่สักว่าคา.
ก็ในพระคาถานี้ ด้วยบทแรก พึงทราบการปฏิเสธทิฐิว่า มีพรหม มหาพรหม ผู้ประเสริฐ เป็นผู้
จัดแจง. ชาวโลกย่อมเป็นไปในคตินั้นๆ เพราะกรรม ใครจะเป็นผู้จัดแจงโลกนั้น. ด้วยบทที่สอง ทรงแสดงว่า
แม้เกิดเพราะกรรมอย่างนี้ ก็เป็นไปและย่อมเป็นไปเพราะกรรมอันต่างโดยเป็นกรรมปัจจุบันและกรรมอัน
เป็นอดีต. เสวยสุขทุกข์และถึงประเภทเลวและประณีตเป็นต้น เป็นไป. ด้วยบทที่สาม ทรงสรุปเนื้ อความนั้น
นั่นแลว่า สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ที่กรรม หรือเป็นผู้อันกรรมผูกพันไว้ เป็นไปอยู่ แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้
มิใช่โดยประการอื่น. ด้วยบทที่ ๔ ทรงทาเนื้ อความนั้นให้ชัดแจ้งด้วยการเปรียบเทียบ. เหมือนอย่างว่ารถที่
15
กาลังแล่นไป เพราะยังมีลิ่มสลักอยู่ รถที่ลิ่มนั้นไม่สลักไว้ย่อมแล่นไปไม่ได้ ฉันใด ชาวโลกผู้เกิดแล้วและ
เป็นไปแล้ว มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ถ้ากรรมนั้นไม่ผูกพันไว้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น.
บัดนี้ เพราะเหตุที่ชาวโลกถูกผูกไว้ในเพราะกรรม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้
ประเสริฐเพราะกรรมอันประเสริฐ จึงตรัส ๒ คาถาว่า คือ เพราะตบะ ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะตบะ ได้แก่ เพราะตบะ คือธุดงควัตร. บทว่า เพราะพรหมจรรย์
คือ เพราะเมถุนวิรัติ. บทว่า เพราะความสารวม คือ เพราะศีล. บทว่า เพราะการฝึก คือ เพราะการฝึก
อินทรีย์.
บทว่า นี้ ความว่า เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอันประเสริฐ คือบริสุทธิ์ เป็นดุจพรหมนี้ .
เพราะเหตุไร.
เพราะความเป็นพราหมณ์นี้ เป็นของสูงสุด อธิบายว่า เพราะกรรมนี้ เป็นคุณความดีของ
พราหมณ์อย่างสูงสุด.
ก็ในคาว่าพราหมณ์นี้ มีความหมายของคาดังต่อไปนี้ . ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะอรรถว่านามาซึ่ง
พรหม. อธิบายว่า นามาซึ่งความเป็นพราหมณ์.
บทว่า ผู้สงบ ดังนี้ ในคาถาที่ ๒ มีความว่า เป็นผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว.
คาว่า เป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ คือเป็นพระพรหม เป็นท้าวสักกะ. อธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้
ไม่ใช่เป็นพราหมณ์อย่างเดียว โดยที่แท้ บุคคลนั้นเป็นพรหมและเป็นท้าวสักกะของบัณฑิต ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย
วาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ .
จบอรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๘
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to ๐๑ วาเสฏฐสูตร มจร.pdf

ระเบียบ+ครุย มจร
ระเบียบ+ครุย มจรระเบียบ+ครุย มจร
ระเบียบ+ครุย มจรpentanino
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1kutoyseta
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
บาลี 21 80
บาลี 21 80บาลี 21 80
บาลี 21 80Rose Banioki
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
งานชนิดของคำ
งานชนิดของคำงานชนิดของคำ
งานชนิดของคำspeedpiyawat
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ vanichar
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
คู่มือการบวช
คู่มือการบวชคู่มือการบวช
คู่มือการบวชniralai
 
2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒
2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒
2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒Tongsamut vorasan
 

Similar to ๐๑ วาเสฏฐสูตร มจร.pdf (20)

02life
02life02life
02life
 
What is life
What is lifeWhat is life
What is life
 
Original insect2
Original insect2Original insect2
Original insect2
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
ระเบียบ+ครุย มจร
ระเบียบ+ครุย มจรระเบียบ+ครุย มจร
ระเบียบ+ครุย มจร
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
Chitrapathachan
ChitrapathachanChitrapathachan
Chitrapathachan
 
วสันต
วสันตวสันต
วสันต
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
 
บาลี 21 80
บาลี 21 80บาลี 21 80
บาลี 21 80
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
 
งานชนิดของคำ
งานชนิดของคำงานชนิดของคำ
งานชนิดของคำ
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
Tripoom
TripoomTripoom
Tripoom
 
แบง
แบงแบง
แบง
 
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่อง จูเฬกสาฎก๑
แปลโดยพยัญชนะเรื่อง จูเฬกสาฎก๑แปลโดยพยัญชนะเรื่อง จูเฬกสาฎก๑
แปลโดยพยัญชนะเรื่อง จูเฬกสาฎก๑
 
คู่มือการบวช
คู่มือการบวชคู่มือการบวช
คู่มือการบวช
 
2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒
2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒
2 24คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๒
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

๐๑ วาเสฏฐสูตร มจร.pdf

  • 1. 1 เรื่องของพราหมณ์วาเสฏฐะ และภารทวาชะ ตอนที่ ๑ พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เกริ่นนา บทความ “เรื่องของพราหมณ์วาเสฏฐะ และภารทวาชะ” นามาจากพระสูตร ๓ เรื่องที่มี เรื่องราวต่อเนื่องกันคือ วาเสฏฐสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]) จาก เตวิชชสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ]) และจาก อัคคัญญ สูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]) เป็นเรื่องของพราหมณ์หนุ่มสอง คือ วาเสฏฐะ และภารทวาชะ ที่ได้เข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถามปัญหาเรื่องเกี่ยวกับ ความเป็นพราหมณ์ (เพราะในสมัยพุทธกาลนั้นบรรดาพราหมณ์ถือตนว่าเป็นวรรณะที่ประเสริฐกว่าวรรณะ อื่นๆ ทั้งหมด) ที่พราหมณ์หนุ่มทั้งสองไม่สามารถทาความเห็นให้ตรงกันได้ พระพุทธเจ้าจึงได้กาหนด ความหมายของพราหมณ์ในแง่มุมของพระพุทธศาสนา ให้พราหมณ์หนุ่มทั้งสองฟังอย่างถ่องแท้ ทาให้ทั้ง สองหันมานับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ต่อมาพราหมณ์ทั้งสองยังมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันในเรื่องทางไปสู่การเป็นพระพรหม ทั้ง สองจึงไปทูลถามทางสู่การเป็นพระพรหมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าจึงได้อธิบายว่า พราหมณ์ที่รู้ จบไตรเภทไม่มีใครยืนยันการได้พบเห็นพระพรหม เพียงแต่เป็นความเชื่อต่อ ๆ กันมาเท่านั้น และพราหมณ์ กับพระพรหมมีความแตกต่างกันมากในหลาย ๆ ด้าน พระพุทธองค์จึงแสดงหนทางเพื่อการเป็นพระพรหม ให้ทั้งสองได้รับทราบจนกระจ่างแจ้ง ทาให้ทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนา สุดท้ายพราหมณ์ทั้งสองได้มาบรรพชาเป็นสามเณร อาศัยอยู่ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี มีอยู่วัน หนึ่ง พระพุทธองค์ได้พบกับสามเณรทั้งสอง แล้วสอบถามเรื่องที่ทั้งสองถูกพราหมณ์ทั้งหลายก่นด่าเพราะ หันมาเป็นนักบวชในพุทธศาสนา พระพุทธองค์จึงทรงอธิบายการก่อกาเนิดของโลก และการกาเนิดมนุษย์ที่ มีการสืบเนื่องมาจากพระพรหมชั้นอาภัสสราโดยละเอียดให้ทั้งสองฟัง แล้วสรุปว่า ธรรมเท่านั้นประเสริฐ ที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า ทาให้วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรมีใจยินดี น้อมระลึกรู้ ตามคาสั่งสอน แล้วได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลายฉะนี้ แล -------------------
  • 2. 2 วาเสฏฐสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๘. วาเสฏฐสูตร ว่าด้วยมาณพชื่อวาเสฏฐะ [๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ สมัย นั้น ในหมู่บ้านอิจฉานังคละ มีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงมาพักอยู่หลายคน คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกข พราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชานุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ (จังกีพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านโอปาสา ทะ ตารุกขพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านอิจฉานังคละ โปกขรสาติพราหมณ์อยู่ที่เมืองอุกกัฏฐะ ชาณุสโสณิพราหมณ์ อยู่ที่กรุงสาวัตถี โตเทยยพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านตุทิ พราหมณ์ทั้ง ๕ เป็นพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าเสนทิ โกศล) และยังมีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงคนอื่นๆ อีก ครั้งนั้น เมื่อมาณพชื่อวาเสฏฐะกับมาณพชื่อภาร ทวาชะ เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้สนทนากันค้างไว้ อย่างนี้ ว่า “ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรบุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นพราหมณ์” ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ ว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีชาติกาเนิดมาดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่าย มารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตาหนิได้เพราะอ้างถึง ชาติตระกูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์” วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตรด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์” ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจให้ภารทวาชมาณ พยินยอมได้เหมือนกัน ลาดับนั้น วาเสฏฐมาณพได้เรียกภารทวาชมาณพมากล่าวว่า “พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ ราวป่า อิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มาเถิด ท่านภารทวาชะ เราทั้งหลายจักเข้าไป เฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามเนื้ อความนี้ พระสมณโคดมจักตรัสตอบแก่เราทั้งหลายอย่างไร เราทั้งหลายจักทรงจาเนื้ อความนั้นไว้อย่างนั้น” ภารทวาชมาณพรับคาแล้ว [๔๕๕] ลาดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร วาเสฏฐมาณพได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
  • 3. 3 “ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท อันอาจารย์อนุญาตแล้ว และปฏิญญาได้เองว่า ‘เป็นผู้ได้ ศึกษาแล้ว’ ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้ เป็นศิษย์ท่านตารุกขพราหมณ์ ข้าพระองค์ทั้งสองรู้จบบทที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว เป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยาตาม บท เช่นเดียวกันกับอาจารย์ในการกล่าวมนตร์ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสองโต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติกาเนิด คือภารทวาชมาณพก ล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกาเนิด’ ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม (กรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)’ พระองค์ผู้มีพระจักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้งสองนั้นไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้ จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ผู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้ ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประนมมือถวายบังคม ก็จัก ถวายอภิวาทพระโคดมได้ทั่วโลก เหมือนดวงจันทร์เต็มดวงฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดม ผู้เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นในโลกว่า ‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะชาติกาเนิด หรือบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม’ ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ โดยประการที่จะทราบถึงบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด” พราหมณ์ในพระพุทธศาสนา [๔๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า “วาเสฏฐะ เราจะพยากรณ์ถึงความพิสดารแห่งชาติกาเนิดของสัตว์ทั้งหลายตามลาดับความ เหมาะสมแก่เธอ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกาเนิดแตกต่างกันหลายเผ่าพันธุ์ เธอทั้งหลายรู้จักหญ้าและต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้ หญ้าและ ต้นไม้เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานสาเร็จมาแต่กาเนิด เพราะธรรมชาติของพวกมันต่างกัน ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักแมลงคือตั๊กแตน ตลอดจนถึงพวกมดดา มดแดง สัตว์เหล่านั้นต่างมี รูปร่างสัณฐานไปตามกาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้าทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตาม กาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน เธอทั้งหลายจงรู้จักพวกสัตว์เลื้อยคลานที่ใช้ท้องแทนเท้า มีสันหลังยาว สัตว์เหล่านั้นต่างมี รูปร่างสัณฐานไปตามกาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักปลา และสัตว์น้าประเภทอื่นที่เกิดเที่ยวหากินอยู่ในน้า สัตว์เหล่านั้น ต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ปีกที่บินไปในอากาศ สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตาม กาเนิด เพราะกาเนิดของพวกมันต่างกัน รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้ ต่างกันตามกาเนิดมากมาย ฉันใด แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่มี รูปร่างสัณฐานแตกต่างกันไปตามกาเนิดมากมาย ฉันนั้น คือ ผมก็ไม่แตกต่างกัน ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก ซอกอวัยวะ อวัยวะสืบพันธุ์ มือ เท้า นิ้ วมือ เล็บ
  • 4. 4 แข้ง ขาอ่อน ผิวพรรณ หรือเสียงก็ไม่แตกต่างกัน ในหมู่มนุษย์ จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกาเนิด แตกต่างกัน มากมายเหมือนในกาเนิดอื่นๆ เลย [๔๕๗] ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคนไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว การเรียกกันในหมู่ มนุษย์ เขาเรียกตามบัญญัติ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเรียกว่า ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยศิลปะหลายอย่าง ผู้นั้นเรียกว่า ช่างศิลปะ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเรียกว่า พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้คนอื่น ผู้นั้นเรียกว่า คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยทรัพย์ที่ลักเขามาเลี้ยงชีพ ผู้นั้น เรียกว่า โจร ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยลูกศร และศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้น เรียกว่า ทหารอาชีพ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ ประกอบพิธีกรรม ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามปกครองท้องถิ่นและแว่นแคว้น ผู้นั้นเรียกว่า พระราชา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’ เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกาเนิดเกิดในครรภ์มารดาว่า เป็นพราหมณ์ ถ้าเขายังเป็นผู้มีกิเลสเครื่อง กังวลอยู่ เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่าโภวาทีเท่านั้น เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล หมดความยึดมั่นถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์ [๔๕๘] เราเรียกผู้ตัดสังโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ปราศจากโยคะว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกผู้ตัดชะเนาะคือความโกรธ ตัดเชือกคือตัณหา ตัดหัวเงื่อนคือทิฏฐิ ๖๒ พร้อมทั้งสายโยง คืออนุสัยกิเลสได้ ถอดลิ่มสลักคืออวิชชา ตรัสรู้อริยสัจแล้วว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นต่อคาด่า การทุบตี และการจองจา มีขันติธรรมเป็นพลัง มีพลัง ใจเข้มแข็งว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตรเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์ ไม่มีตัณหาฟูใจขึ้นอีก ฝึกตนได้แล้ว มีสรีระเป็น ชาติสุดท้ายว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกผู้ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย เหมือนหยาดน้าไม่ติดบนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ไม่ ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้นว่า เป็นพราหมณ์
  • 5. 5 ในศาสนานี้ เราเรียกผู้ที่รู้ชัดถึงภาวะสิ้นกองทุกข์ของตน ปลงขันธภาระลงได้แล้ว ปราศจากกิเลส ทั้งปวงว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในทางและมิใช่ทางบรรลุอรหัตตผล ที่เป็น ประโยชน์สูงสุดแล้วว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้ง ๒ ฝ่าย เที่ยวจาริกไป ไร้กังวล มีความมัก น้อยว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้งดเว้นจากการเบียดเบียนทาร้ายสัตว์ทุกจาพวก ทั้งที่สะดุ้ง และที่มั่นคง ไม่ฆ่า เอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่คิดร้ายเมื่อบุคคลอื่นยังคิดร้าย ผู้สงบระงับเมื่อบุคคลอื่นยังมีอาชญาในตน ผู้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อบุคคลอื่นยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ทาราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะ ให้ตกไปจากจิตได้ เหมือนเมล็ดพันธุ์ ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลมว่า เป็นพราหมณ์ [๔๕๙] เราเรียกบุคคลผู้เปล่งถ้อยคาไม่หยาบ ให้รู้ความกันได้เป็นคาจริง ซึ่งไม่เป็นเหตุทาใครๆ ให้ข้องอยู่ว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ในโลกนี้ ไม่ว่าจะยาวหรือสั้น จะเล็กหรือ ใหญ่ จะสวยงามหรือไม่สวยงามก็ตามว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความหวัง อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า หมดความทะยาน อยากโดยสิ้นเชิง มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความอาลัยคือตัณหา รู้แจ้งชัดจนหมดความสงสัย มีจิตน้อมไปสู่อมตธรรม จนบรรลุได้ในที่สุดว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ละบุญและบาปทั้ง ๒ ได้ ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้องแล้ว หมดความเศร้าโศก ปราศจากธุลีคือกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้หมดสิ้นตัณหาที่นาไปเกิดในภพทั้ง ๓ มีจิตไม่มัวหมอง ผ่องใสบริสุทธิ์ดุจดวง จันทร์วันเพ็ญที่ปราศจากเมฆหมอกว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ข้ามพ้นทางอ้อมคือราคะ ทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อคือกิเลส สังสารวัฏฏ์ และโมหะ ได้แล้ว เป็นผู้ข้ามโอฆะไปถึงฝั่ง มีจิตเพ่งพินิจอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัยว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละกามทั้งหลาย บวชเป็นบรรพชิต สิ้นภวตัณหาแล้วว่า เป็น พราหมณ์ เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละตัณหาได้แล้ว บวชเป็นบรรพชิต สิ้นกามและภพแล้วว่า เป็น พราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์แล้ว ล่วงพ้นโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้ มีจิตหลุดพ้น จากโยคะทั้งหมดว่า เป็นพราหมณ์
  • 6. 6 เราเรียกบุคคลผู้ละได้ทั้งความยินดี (ความยินดี หมายถึงความพอใจอย่างยิ่ง ความยินดี ความ สงบเย็นในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอกุศล เทียบกับนัยของความยินร้าย) และความยินร้าย (ความยินร้าย หมายถึงความไม่ยินดีอย่างยิ่ง ความกระสัน ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือใน สภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล) เป็นผู้สงบเยือกเย็น ปราศจากอุปธิกิเลสครอบงาโลกคือขันธ์ทั้งหมดได้ มีความ เพียรว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้รู้ชัดการจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายโดยอาการทั้งปวง เป็นผู้ไม่ติดข้อง ดาเนินไปด้วยดี รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ผู้ไม่สามารถหยั่งรู้ถึงคติได้ สิ้นอาสวะแล้ว เป็น พระอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หมดความกังวล ไม่ มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ มีความเพียร แสวงหาคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ชนะมารได้แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องทาให้หวั่นไหว ชาระล้างกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ระลึกถึงอดีตชาติได้ เห็นสวรรค์และนรก ถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้วว่า เป็น พราหมณ์ [๔๖๐] อันที่จริง นามและโคตรที่เขากาหนดให้กันนั้นเป็นเพียงสมมติบัญญัติในโลก นามและ โคตรปรากฏอยู่ได้ เพราะรู้ตามกันมา ญาติสาโลหิตกาหนดไว้ในการเกิดนั้นๆ นามและโคตรที่กาหนดเรียกกันนี้ เป็นความเห็นที่ฝังแน่นอยู่ในใจมานาน ของพวกคนผู้ไม่รู้ความ จริง เมื่อไม่รู้จึงกล่าวบุคคลว่า เป็นพราหมณ์โดยกาเนิด บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่ หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่ บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม หรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นช่างศิลปะก็เพราะกรรม เป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม เป็นผู้รับใช้ ก็เพราะกรรม บุคคลแม้เป็นโจรก็เพราะกรรม เป็นทหารอาชีพก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม แม้เป็น พระราชา ก็เพราะกรรมทั้งนั้น บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท มีความรู้ความเข้าใจในกรรมและผลของกรรม ย่อม พิจารณาเห็นกรรม ตามความเป็นจริงอย่างนี้ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม สัตว์ ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไปอยู่ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้ เพราะกรรมนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ ทมะ (ชื่อว่า ตบะ เพราะมี ธุดงค์เป็นตบะ ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะงดเว้นจากเมถุนธรรม ชื่อว่า สัญญมะ เพราะมีศีล ชื่อว่า ทมะ เพราะฝึกอินทรีย์แล้ว) นี้ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์ วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ ว่า ‘บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว เป็นทั้งพรหม และท้าวสักกะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่”
  • 7. 7 [๔๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้กราบทูลพระผู้ มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน พระโคดมจงทรงจาข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้ แล วาเสฏฐสูตรที่ ๘ จบ ------------------
  • 8. 8 คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา วาเสฏฐสูตร ทรงโปรดวาเสฏฐมาณพ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค ๘. อรรถกถาวาเสฏฐสูตร วาเสฏฐสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในราวป่าชื่ออิจฉานังคละ คือในราวป่าอันไม่ไกลอิจฉานังคลคาม. ชนแม้ทั้ง ๕ มีจังกีพราหมณ์เป็นต้นต่างก็เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วยกันทั้งนั้น. คาว่า และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พราหมณ์เหล่าอื่นเป็นอันมากมี ชื่อเสียง. ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันในที่ ๒ แห่งทุกๆ ๖ เดือน. ในกาลใดต้องการจะชาระชาติ ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อุกกัฏฐคามเพื่อชาระชาติให้บริสุทธิ์ ในสานักของท่านโปกขรสาติ. ใน กาลใดต้องการจะชาระมนต์ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อิจฉานังคลคาม. ในกาลนี้ ประชุมกันที่ อิจฉานังคลคามนั้นเพื่อชาระมนต์ให้บริสุทธิ์. บทว่า ถ้อยคาที่พูดกันในระหว่าง ความว่า มีถ้อยคาอย่างอื่นเกิดขึ้นในระหว่างถ้อยคาที่เหมาะ ต่อความเป็นสหายกันที่คน ๒ คนเที่ยวเดินกล่าวตามๆ กัน. บทว่า มีศีล คือ มีคุณ. บทว่า สมบูรณ์ด้วยวัตร คือ ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ. คาว่า อันอาจารย์อนุญาตและปฏิญาณได้เอง ความว่า อันอาจารย์อนุญาตอย่างนี้ ว่า เธอ ทั้งหลายศึกษาจบแล้ว. บทว่า พวกเราเป็นผู้ที่อาจารย์ให้ศึกษาแล้ว ความว่า และตนเองปฏิญาณแล้วอย่างนี้ . ด้วยคาว่าข้าพระองค์เป็นศิษย์ของท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้ เป็นศิษย์ของท่านตารุกข พราหมณ์ วาเสฏฐมาณพแสดงว่า ข้าพระองค์เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือเป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านโปกขรสาติ พราหมณ์ มาณพผู้นี้ เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือเป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านตารุกขพราหมณ์. บทว่า ผู้ทรงวิชชา ๓ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท. คาว่า บทใดที่พราหมณ์ทั้งหลายบอกแล้ว ความว่า บทใดแม้บทเดียวที่พราหมณ์ทั้งหลายบอก แล้ว ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะ. คาว่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมนต์นั้น ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความสาเร็จในบท นั้น เพราะรู้บทนั้นทั้งสิ้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เช่นเดียวกับอาจารย์ ในสถานที่บอกมนต์ ความว่า ข้าพระองค์ ทั้งสองเป็นเช่นเดียวกับอาจารย์ ในสถานที่กล่าวมนต์. บทว่า เพราะกรรม ได้แก่ เพราะกรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐. ก็วาเสฏฐมาณพนี้ หมายเอากายกรรมและวจีกรรม ๗ ประการข้างต้น จึงกล่าวว่า กาลใดแล
  • 9. 9 ท่านผู้เจริญมีศีล ดังนี้ . หมายเอามโนกรรม ๓ จึงกล่าวว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร. ก็บุคคลผู้ประกอบมโนกรรม ๓ นั้น ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ. วาเสฏฐมาณพร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้มีพระจักษุเพราะ เป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า ล่วงเลยความสิ้นไป ได้แก่ ล่วงเลยความพร่อง. อธิบายว่าบริบูรณ์. บทว่า เข้าถึง ได้แก่ เข้าไปใกล้. บทว่า จะนอบน้อม แปลว่า กระทาความนอบน้อม. คาว่า เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นแล้วในโลก ความว่า เป็นดวงจักษุโดยแสดงประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้น ของชาวโลก อุบัติขึ้น ขจัดความมืดนั้น ในโลกอันมืดเพราะอวิชชา. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันวาเสฏฐมาณพชมเชยแล้วทูลอาราธนาอย่างนี้ เมื่อจะทรงสงเคราะห์ชน แม้ทั้งสองจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า เราตถาคตจักบอกถ้อยคาอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอทั้งสองนั้น ดังนี้ . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จักบอกอย่างชัดแจ้ง ได้แก่ จักพยากรณ์. บทว่า ตามลาดับ ความว่า ความคิดของพราหมณ์จงพักไว้ก่อน เราจักบอกตามลาดับ คือโดย ลาดับตั้งแต่หญ้า ต้นไม้ แมลงและตั๊กแตนเป็นต้น. บทว่า การจาแนกชาติกาเนิด คือ ความพิสดารของชาติกาเนิด. คาว่า เพราะชาติกาเนิดคนละอย่าง ความว่า เพราะชาติกาเนิดของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ คนละ อย่างคือ แต่ละอย่างต่างๆ กัน. ด้วยบทว่า หญ้าและต้นไม้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระเทศนานี้ ว่า เราจักกล่าวชาติ กาเนิดที่ไม่มีวิญญาณครอง แล้วจักกล่าวถึงชาติกาเนิดที่มีวิญญาณครองภายหลัง ความต่างกันแห่งชาติ กาเนิดนั้น จักปรากฏอย่างนี้ . ก็พระมหาสิวเถระถูกถามว่า ท่านผู้เจริญ การกล่าวอย่างนี้ ว่า สิ่งที่ไม่มี วิญญาณครอง ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะมีพืชต่างกัน สิ่งที่มีวิญญาณครอง ก็ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะ กรรมต่างกัน ดังนี้ ไม่ควรหรือ จึงตอบว่า เออ ไม่ควร. เพราะกรรมซัดเข้าในกาเนิดสัตว์เหล่านี้ มีพรรณต่างๆ กัน เพราะการปฏิสนธิในกาเนิด. ในบทว่า หญ้าและต้นไม้ นี้ มีกระพี้อยู่ข้างใน แก่นอยู่ข้างนอก ชั้นที่สุดแม้ตาลและมะพร้าวเป็น ต้น ชื่อว่าหญ้าทั้งนั้น. ส่วนไม้ที่มีแก่นอยู่ข้างใน กระพี้อยู่ข้างนอก ชื่อว่าต้นไม้ทั้งหมด. คาว่า แม้จะปฏิญาณ ไม่ได้ ความว่า ย่อมไม่รู้อย่างนี้ ว่า พวกเราเป็นหญ้า พวกเราเป็นต้นไม้ หรือว่าเราเป็นหญ้าเราเป็นต้นไม้. คาว่า เพศอันสาเร็จด้วยชาติกาเนิด ได้แก่ ก็หญ้าและต้นไม้เหล่านั้น แม้ไม่รู้ (คือปฏิญาณ ไม่ได้) สัณฐานมันก็สาเร็จมาแต่ชาติกาเนิดทั้งนั้น คือเป็นเหมือนหญ้าเป็นต้น ซึ่งเป็นเค้าเดิมของตนนั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะชาติกาเนิดมันต่างๆ กัน. คือเพราะติณชาติก็อย่างหนึ่ง รุกขชาติก็อย่างหนึ่ง แม้บรรดา ติณชาติทั้งหลาย ชาติกาเนิดตาลก็อย่างหนึ่ง ชาติกาเนิดมะพร้าวก็อย่างหนึ่ง. พึงขยายความให้กว้างขวาง ออกไปด้วยประการอย่างนี้ . ด้วยคาว่า ชาติกาเนิดต่างกัน นี้ ทรงแสดงความหมายนี้ ว่า สิ่งใดต่างกันโดยชาติกาเนิด สิ่งนั้น แม้เว้นการปฏิญาณตนหรือการชี้บอกแนะนาของคนอื่น ก็ย่อมถือเอาได้โดยพิเศษว่า (มันมี) ชาติกาเนิดคน
  • 10. 10 ละอย่าง. ก็หากว่าคนพึงเป็นพราหมณ์แท้ๆ โดยชาติกาเนิด แม้เขาเว้นการปฏิญาณตนหรือการบอกเล่าของ คนอื่น พึงถือเอาโดยพิเศษแต่กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทร แต่จะถือเอาหาได้ไม่. เพราะฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์เพราะชาติกาเนิดก็หาไม่. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงกระทาให้แจ้งซึ่งเนื้ อความนี้ แห่งพระคาถา ว่า ในชาติกาเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ โดยทรงเปล่งพระวาจาไว้เท่านั้นข้างหน้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชาติกาเนิดในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครองอย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทรง แสดงชาติกาเนิดในสิ่งที่มีวิญญาณครอง แต่นั้นจึงตรัสคามีอาทิว่า ตั๊กแตน ดังนี้ . คาว่า ตลอดถึงมดดามดแดง ความว่า ทรงทามดดามดแดงให้เป็นชาติสุดท้าย. ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านี้ สัตว์ที่กระโดดไป ชื่อว่าตั๊กแตน. คาว่า เพราะชาติกาเนิดคนละอย่าง หมายความว่า ชาติกาเนิดเนื่องด้วยสิ่งที่มีสีเขียวสีแดงเป็นต้นของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็มีประการต่างๆ แท้. บทว่า ตัวเล็ก ได้แก่ กระรอกเป็นต้น. บทว่า ใหญ่ ได้แก่ งูและแมวเป็นต้น. บทว่า มีเท้าที่ท้อง แปลว่า มีท้องเป็นเท้า. อธิบายว่า ท้องนั่นแหละเป็นเท้าของสัตว์เหล่าใด. บท ว่า มีหลังยาว ความว่า งูทั้งหลายมีหลังอย่างเดียว ตั้งแต่หัวจรดหาง เพราะฉะนั้น งูเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า มี หลังยาว. บทว่า ในน้า คือ เกิดในน้า. นกทั้งหลายชื่อว่า ไปด้วยปีก เพราะบินไปด้วยปีกเหล่านั้น. ชื่อว่า ไปทางอากาศ เพราะไปทาง อากาศกลางหาว. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงชาติกาเนิดแต่ละประเภทของสัตว์ที่ไปทางบก ทางน้าและทาง อากาศอย่างนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทาพระประสงค์อันเป็นเครื่องแสดงถึงเรื่องชาติกาเนิดนั้นให้ชัดแจ้ง จึงตรัสพระคาถาว่า ในชาติกาเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ เป็นต้น. เนื้ อความแห่งคาถานั้นทรงตรัสไว้โดยย่อ ทีเดียว. แต่คาใดที่จะพึงตรัสในที่นี้ โดยพิสดาร เมื่อจะทรงแสดงคานั้นโดยพระองค์เองจึงตรัสคาว่า มิใช่ด้วย ผม ดังนี้ เป็นต้น. ในคานั้นมีการประกอบความดังต่อไปนี้ . คาใดที่กล่าวว่า ในหมู่มนุษย์ ไม่มีเพศที่สาเร็จด้วยชาติกาเนิดมากมาย ดังนี้ คานั้นพึงทราบว่า ไม่มีอย่างนี้ . คืออย่างไร. คือ มิใช่ด้วยผมทั้งหลาย. เพราะไม่มีการกาหนดไว้ว่า พวกพราหมณ์มีผมเช่นนี้ พวกกษัตริย์ เช่นนี้ เหมือนผมของช้าง ม้าและเนื้ อเป็นต้น. ก็พระดารัสที่ว่า เพศอันสาเร็จด้วยชาติกาเนิด (ในมนุษย์ ทั้งหลาย) ไม่เหมือนในชาติกาเนิดเหล่าอื่นดังนี้ พึงทราบว่า เป็นคากล่าวสรุปเนื้ อความที่ตรัสไว้แล้วเท่านั้น บทนั้นประกอบความว่า เพราะเพศในมนุษย์ทั้งหลาย อันสาเร็จด้วยชาติเป็นอันมาก ย่อมไม่มีด้วยผมเป็น ต้นเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบเพศนั้นว่า ในมนุษย์ทั้งหลายที่ต่างกันโดยเป็น พราหมณ์เป็นต้น เพศที่สาเร็จด้วยชาติกาเนิดหาเหมือนในชาติกาเนิดเหล่าอื่นไม่. บัดนี้ ในเมื่อความ แตกต่างแห่งชาติกาเนิดแม้จะไม่มีอย่างนี้ เพื่อที่จะแสดงประการที่เกิดความต่างกันนี้ ที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ นั้น จึงตรัสคาถาว่า เป็นของเฉพาะตัว ดังนี้ . เหมือนอย่างว่า สาหรับสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ความต่างกันโดยสัณฐาน มีผมเป็นต้น สาเร็จ
  • 11. 11 มาแต่กาเนิดทีเดียว ฉันใด สาหรับพวกพราหมณ์เป็นต้น ความต่างกันนั้นในสรีระของตนย่อมไม่มี ฉันนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความต่างกันที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ดังนี้ นั้น ในหมู่มนุษย์เขาเรียกกันตามชื่อ คือ เขา เรียกโดยสักว่าต่างกันเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มวาทะของภารทวาชมาณพ ด้วยพระดารัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ ถ้า หากว่าคนจะเป็นพราหมณ์ได้เพราะชาติไซร้ แม้คนที่มีอาชีพ ศีล และความประพฤติเสียหาย ก็จะเป็น พราหมณ์ได้ แต่เพราะเหตุที่พราหมณ์แต่เก่าก่อน ไม่ปรารถนาความที่คนเสียหายนั้นมาเป็นพราหมณ์ และ คนที่เป็นบัณฑิตแม้อื่นๆ ย่อมมีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงยกย่องวาทะของวาเสฏฐมาณพ จึงตรัส คาถา ๘ คาถาว่า ก็บุคคลใดคนหนึ่งในหมู่มนุษย์ ดังนี้ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า การรักษาโค คือการรักษานา. อธิบายว่า กสิกรรม. ก็คาว่าโคเป็นชื่อของ แผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ด้วยศิลปะมากมาย ได้แก่ ศิลปะต่างๆ มีการงานของช่องทอหูกเป็นต้น. บทว่า ค้าขาย ได้แก่ การค้าขาย. บทว่า ด้วยการรับใช้ผู้อื่น คือ ด้วยกรรมคือการขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น. บทว่า อาศัยศัสตราเลี้ยงชีวิต คือ การเป็นอยู่ด้วยอาวุธ. อธิบายว่า (อาศัย) ลูกศรและศัสตรา. บทว่า ด้วยความเป็นปุโรหิต คือ ด้วยการงานของปุโรหิต. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่คนเสียหายด้านอาชีพ ศีล และความประพฤติ ว่า ไม่เป็นพราหมณ์ โดยลัทธิของพราหมณ์ และโดยโวหารของชาวโลกอย่างนี้ แล้ว ทรงให้ยอมรับความถูกต้อง นี้ โดยใจความอย่างนี้ ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คนย่อมไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นพราหมณ์เพราะพวกคน วัยรุ่น เพราะฉะนั้น คนใดเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เป็นคนมีคุณความดี คนนั้นเป็นพราหมณ์ นี้ เป็น ความถูกต้องในอธิการที่ว่าด้วยเรื่องพราหมณ์นี้ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความถูกต้องนั้นด้วยการ เปล่งคาพูดออกมา จึงตรัสว่า และเราก็ไม่เรียกว่าเป็นพราหมณ์ดังนี้ เป็นต้น. ใจความของพระดารัสนั้นมีว่า เพราะเราไม่เรียกคนผู้เกิดในกาเนิดใดกาเนิดหนึ่ง บรรดากาเนิด ๔ หรือผู้ที่เกิดในมารดาที่ พราหมณ์ยกย่องสรรเสริญโดยพิเศษในกาเนิด ๔ แม้นั้น ผู้เกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนั้น ว่าเป็น พราหมณ์ คือ เราไม่เรียกคนผู้ที่เขากล่าวว่าเกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิด เพราะเป็นผู้เกิดแต่กาเนิด โดยมารดาสมบัติก็ตาม โดยชาติสมบัติก็ตาม ด้วยคาที่มานี้ ว่า กาเนิดกล่าวคือ เพียงแต่ความบังเกิดขึ้นอัน บริสุทธิ์ของพราหมณ์ที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ผู้เกิดดีแล้วแต่ข้างทั้งสองฝ่าย มีครรภ์ที่ถือ ปฏิสนธิบริสุทธิ์นั้น ผู้เกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าเกิดแต่กาเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนี้ . เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที มีวาทะว่าผู้เจริญ เพราะเป็นผู้วิเศษกว่าคนเหล่าอื่น ผู้มีความ กังวล ด้วยสักแต่กล่าวว่าผู้เจริญ ผู้เจริญ บุคคลนั้นแลเป็นผู้มีความกังวล มีความห่วงใย. ส่วนบุคคลใดแม้จะเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ชื่อว่าผู้ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีกิเลสเครื่อง
  • 12. 12 กังวลมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่าผู้ไม่ถือมั่น เพราะสละความยึดถือทั้งปวง เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความกังวล ผู้ไม่ ยึดถือนั้นว่าเป็นพราหมณ์. เพราะเหตุไร. เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว. สูงขึ้นไปหน่อย คาถา ๒๗ เป็นต้นว่า ตัดสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้ . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สังโยชน์ทั้งปวง ได้แก่ สังโยชน์ทั้งหมด คือแม้ทั้ง ๑๐. บทว่า ย่อมไม่สะดุ้ง คือ ย่อมไม่สะดุ้งด้วยความสะดุ้งคือตัณหา. บทว่า ล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น. บทว่า ผู้ไม่ประกอบ คือ ผู้ไม่ประกอบด้วยกาเนิด ๔ หรือด้วยกิเลสทั้งปวง. บทว่า สายเชือกหนัง ได้แก่ อุปนาหะ ความผูกโกรธ. บทว่า สายหนัง ได้แก่ ตัณหา. บทว่า ที่ต่อ แปลว่า เชือกบ่วง. คาว่า เชือกบ่วง นี้ เป็นชื่อของกิเลสเครื่องกลุ้มรุม คือทิฐิ. ปมที่สอดเข้าในบ่วงเรียกว่า สายปม. ในคาว่า มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้วนี้ อวิชชา ชื่อว่าดุจลิ่ม. บทว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. บทว่า ย่อมอดกลั้น คือ ย่อมอดทน. บทว่า ผู้มีขันติเป็นหมู่พล คือ มีอธิวาสนขันติเป็นหมู่พล. ก็ ขันตินั้นเกิดขึ้นคราวเดียว ไม่ชื่อว่าเป็นกาลังดังหมู่พล ต่อเกิดบ่อยๆ จึงเป็น. ชื่อว่ามีกาลังดังหมู่พล เพราะมี อธิวาสนขันตินั้น. บทว่า ผู้มีองค์ธรรมเครื่องจากัด คือ มีธุดงควัตร. บทว่า มีศีล คือ มีคุณความดี. บทว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น คือปราศจากกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น. บทว่า ผู้ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ. บทว่า ย่อมไม่ฉาบทา คือ ย่อมไม่ติด. บทว่า ในกามทั้งหลาย ได้แก่ ในกิเลสกามและวัตถุกาม. พระอรหัต ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในพระบาลีนั้นว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่สิ้น ทุกข์ในภพนี้ เอง ดังนี้ . บทว่า ย่อมรู้ชัด หมายความว่า รู้ด้วยอานาจการบรรลุ. บทว่า ผู้มีภาระอันปลงแล้ว คือ ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว ได้แก่ทาภาระคือขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และกามคุณ ให้หยั่งลงตั้งอยู่. บทที่ไม่ประกอบแล้ว มีเนื้ อความกล่าวไว้แล้วแล. บทว่า มีปัญญาลึกซึ้ง คือ มีปัญญาอันไปแล้วในอารมณ์อันลึกซึ้ง. บทว่า มีปรีชา ได้แก่ ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญาตามปกติ. คาว่า (ด้วยคฤหัสถ์) และบรรพชิตทั้งสองพวก ความว่า ผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต. อธิบายว่า ผู้ไม่คลุกคลีเด็ดขาดในชนทั้งสองพวก และด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น.
  • 13. 13 ในบทว่า ผู้ไม่อาลัยเที่ยวไป ความว่า ความอาลัยในกามคุณ ๕ เรียกว่า โอกะ ผู้ไม่ติดอาลัยคือ กามคุณ ๕ นั้น. บทว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย คือ ผู้ไม่มีความปรารถนา. บทว่า ผู้สั่นคลอน คือ ผู้มีตัณหา. บท ว่า ผู้มั่นคง คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า ผู้มีอาชญาในตนคือ ผู้ถืออาชญา. บทว่า ผู้ดับแล้ว คือ ดับแล้วด้วยการ ดับกิเลส. บทว่า ผู้มีความยึดถือ คือ ผู้มีความถือมั่น. บทว่า ปลงลงแล้ว แปลว่า ให้ตกไป. บทว่า ไม่แข็ง กระด้าง คือ ไม่มีโทษ. เพราะแม้ต้นไม้ที่มีโทษ ก็เรียกว่ามีความแข็งกระด้าง. บทว่า อันยังผู้อื่นให้เข้าใจ คือ อันยังคนอื่นให้เข้าใจ ได้แก่ไม่ส่อเสียด. บทว่า จริง คือ ไม่คลาดเคลื่อน. บทว่า เปล่ง คือ กล่าว. คาว่า ไม่ทาให้คนอื่นข้องใจด้วยวาจาใด ความว่า ย่อมกล่าววาจาอันไม่หยาบ ไม่เป็นเหตุทาให้ คนอื่นติดใจหรือข้องใจเช่นนั้น. ทรงแสดงสิ่งของที่ร้อยด้ายไว้ ด้วยคาว่ายาว. ทรงแสดงสิ่งของที่กระจัด กระจายกันอยู่ ด้วยคาว่า สั้น. บทว่า ละเอียด แปลว่าเล็ก. บทว่า หยาบ แปลว่าใหญ่. บทว่า งามไม่งาม คือ ดีไม่ดี. เพราะ สิ่งของ (ที่ร้อยเป็นพวง) ยาว มีราคาน้อยบ้าง มากบ้าง. แม้ในสิ่งของนั้น (คือกระจายกันอยู่) ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. ดังนั้น ด้วยพระดารัสมีประมาณเท่านี้ หาได้ทรงกาหนดถือเอาสิ่งทั้งหมดไม่ แต่ทรงกาหนด ถือเอาด้วยสิ่งของนี้ ที่ว่า งามและไม่งาม. บทว่า ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความอยาก. บทว่า ความอาลัย ได้แก่ความอาลัย คือตัณหา. บทว่า เพราะรู้ทั่ว คือ เพราะรู้. บทว่า อันหยั่งลงสู่อมตธรรม คืออันเป็นภายใน อมตธรรม. บทว่า ถึงแล้วโดยลาดับ ได้แก่ เข้าไปแล้วโดยลาดับ. บทว่า ธรรมเครื่องข้องทั้งสอง คือ ธรรมเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น. เพราะว่าบุญย่อมทาให้สัตว์ ข้องในสวรรค์ บาปย่อมยังสัตว์ให้ข้องอยู่ในอบาย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ธรรมเป็นเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น. บทว่า เลยแล้ว แปลว่า ล่วงไปแล้ว. บทว่า ไม่ขุ่นมัว คือ เว้นจากกิเลสที่ทาให้ขุ่นมัว. บทว่า ผู้มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ได้แก่ มีความเพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว มีภพสิ้นไปแล้ว. ความว่า อวิชชานั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าดุจทางลื่น เพราะอรรถว่าทาให้เคลื่อนคลาด. ชื่อ ว่าดุจหล่ม เพราะเป็นของอันถอนขึ้นได้ยากมาก. ชื่อว่าสังสาร เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไป (และ). ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าโง่เขลา. บทว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามโอฆะทั้ง ๔. คาว่า ถึงฝั่ง คือ ถึงพระนิพพาน. บทว่า มีปรกติเพ่ง คือ มีปรกติเพ่งด้วยอานาจเพ่งอารมณ์และลักษณะ. บทว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คือ ไม่มีตัณหา. คาว่า ดับแล้ว เพราะไม่ถือมั่น ได้แก่ ดับแล้วด้วยการดับกิเลสทั้งปวง เพราะไม่ยึดถืออะไร. บทว่า กามทั้งหลาย ได้แก่ กามแม้ทั้งสอง. บทว่า ไม่มีเรือน แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน. บทว่า เว้น แปลว่า ย่อมเว้นทุกด้าน. บทว่า มีกามและภพสิ้นแล้ว คือ สิ้นกาม สิ้นภพ. คาว่า กิเลสเครื่องประกอบของ มนุษย์ ได้แก่กิเลสเครื่องประกอบ คือกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์. บทว่า กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ คือ กิเลสเครื่องประกอบคือกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์. บทว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง ความว่า ปราศจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง. บทว่า ยินดี คือ ยินดีกามคุณ ๕. บทว่า ไม่ยินดี ได้แก่ ไม่พอใจในกุศลภาวนา. บทว่า ผู้แกล้ว กล้า คือ มีความเพียร. บทว่า ผู้ไปดีแล้ว คือ ไปสู่สถานที่ดี หรือดาเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันดี. บทว่า คติ คือ
  • 14. 14 ความสาเร็จ. บทว่า ข้างหน้า ได้แก่ ในอดีต. บทว่า ข้างหลัง ได้แก่ ในอนาคต. บทว่า ในท่ามกลาง คือ ใน ปัจจุบัน. บทว่า เครื่องกังวล คือ กิเลสตัวที่ทาให้กังวล. บทว่า ผู้แสวงหาอันยิ่ง คือ ชื่อว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง เพราะแสวงหาคุณอันใหญ่. บทว่า ผู้มีความชนะ คือ ผู้มีความชนะอันชนะแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้นว่าเป็นพราหมณ์โดยคุณความดี อย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลใดกระทาการถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้ บุคคลนั้นไม่รู้ การถือมั่นนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้น เป็นทิฐิชั่ว จึงตรัสสองคาถาว่า อันชื่อว่าดังนี้ . เนื้ อความของสอง คาถานั้นมีว่า อันชื่อและโคตรที่เขาจัดแจงไว้ ตั้งไว้ ปรุงแต่งไว้ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ภารทวาชะ วาเสฏฐะ นั้นใด อันนั้นเป็นชื่อ (เรียกกัน) ในโลก. อธิบายว่า เป็นเพียงเรียกกัน. เพราะเหตุไร. เพราะสมมุติ เรียกกัน คือมาโดยการหมายรู้กัน. เพราะชื่อและโคตรนั้น ญาติสาโลหิตจัดแจงไว้ ตั้งไว้ในเวลาที่เขาเกิดในที่นั้นๆ. หากไม่กาหนดชื่อและโคตรนั้นไว้อย่างนั้น คนไรๆ เห็นใครๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้นี้ เป็นพราหมณ์หรือว่าเป็นภารทวาชะ. ก็ชื่อและโคตรนั้นที่เขากาหนดไว้อย่างนั้น กาหนดไว้เพื่อความรู้สึกว่า ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนานในหทัยของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ว่า นั่นสักแต่ ว่าชื่อและโคตรที่เขากาหนดไว้เพื่อเรียกกัน. อธิบายว่า เพราะทิฐินั้นนอนเนื่องอยู่ ผู้ไม่รู้ชื่อและโคตรนั้น คือ ไม่รู้เลยว่า เป็นพราหมณ์ ก็เที่ยวพูดอย่างนี้ ว่า ผู้นี้ เป็นพราหมณ์เพราะชาติดังนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์โดยชาตินั้น ไม่รู้มาตรว่าการ เรียกกันนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้นเป็นทิฐิชั่ว ดังนี้ อย่างนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าด้วยชาติ อย่างเด็ดขาด และทรงตั้งวาทะว่าด้วยกรรม จึงตรัสคาเป็นต้นว่า มิใช่เพราะชาติ ดังนี้ . เพื่อขยายความของกึ่งคาถาที่ว่า เพราะกรรม ดังนี้ ในพระดารัสนั้น จึงตรัสคาว่า เป็นชาวนา เพราะการงาน ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะการงาน ได้แก่ เพราะกรรมคือเจตนาตัวบังเกิดการงานมีกสิกร รมเป็นต้นอันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ ว่า เป็นอย่างนี้ เพราะปัจจัยนี้ . บทว่า ผู้รู้ในกรรมและผลของกรรม ความว่า ผู้ฉลาดในกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ ว่า ย่อมมี การอุบัติในตระกูลอันควรแก่การนับถือและไม่นับถือ เพราะอานาจกรรม ความเลวและความประณีตแม้ อื่นๆ ย่อมมีในเมื่อกรรมเลวและประณีตให้ผล. ก็พระคาถาว่า ย่อมเป็นไปเพราะกรรม ดังนี้ มีความหมาย เดียวเท่านั้นว่า ชาวโลกหรือหมู่สัตว์ หรือว่าสัตว์. ต่างกันแต่สักว่าคา. ก็ในพระคาถานี้ ด้วยบทแรก พึงทราบการปฏิเสธทิฐิว่า มีพรหม มหาพรหม ผู้ประเสริฐ เป็นผู้ จัดแจง. ชาวโลกย่อมเป็นไปในคตินั้นๆ เพราะกรรม ใครจะเป็นผู้จัดแจงโลกนั้น. ด้วยบทที่สอง ทรงแสดงว่า แม้เกิดเพราะกรรมอย่างนี้ ก็เป็นไปและย่อมเป็นไปเพราะกรรมอันต่างโดยเป็นกรรมปัจจุบันและกรรมอัน เป็นอดีต. เสวยสุขทุกข์และถึงประเภทเลวและประณีตเป็นต้น เป็นไป. ด้วยบทที่สาม ทรงสรุปเนื้ อความนั้น นั่นแลว่า สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ที่กรรม หรือเป็นผู้อันกรรมผูกพันไว้ เป็นไปอยู่ แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ มิใช่โดยประการอื่น. ด้วยบทที่ ๔ ทรงทาเนื้ อความนั้นให้ชัดแจ้งด้วยการเปรียบเทียบ. เหมือนอย่างว่ารถที่
  • 15. 15 กาลังแล่นไป เพราะยังมีลิ่มสลักอยู่ รถที่ลิ่มนั้นไม่สลักไว้ย่อมแล่นไปไม่ได้ ฉันใด ชาวโลกผู้เกิดแล้วและ เป็นไปแล้ว มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ถ้ากรรมนั้นไม่ผูกพันไว้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น. บัดนี้ เพราะเหตุที่ชาวโลกถูกผูกไว้ในเพราะกรรม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้ ประเสริฐเพราะกรรมอันประเสริฐ จึงตรัส ๒ คาถาว่า คือ เพราะตบะ ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะตบะ ได้แก่ เพราะตบะ คือธุดงควัตร. บทว่า เพราะพรหมจรรย์ คือ เพราะเมถุนวิรัติ. บทว่า เพราะความสารวม คือ เพราะศีล. บทว่า เพราะการฝึก คือ เพราะการฝึก อินทรีย์. บทว่า นี้ ความว่า เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอันประเสริฐ คือบริสุทธิ์ เป็นดุจพรหมนี้ . เพราะเหตุไร. เพราะความเป็นพราหมณ์นี้ เป็นของสูงสุด อธิบายว่า เพราะกรรมนี้ เป็นคุณความดีของ พราหมณ์อย่างสูงสุด. ก็ในคาว่าพราหมณ์นี้ มีความหมายของคาดังต่อไปนี้ . ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะอรรถว่านามาซึ่ง พรหม. อธิบายว่า นามาซึ่งความเป็นพราหมณ์. บทว่า ผู้สงบ ดังนี้ ในคาถาที่ ๒ มีความว่า เป็นผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว. คาว่า เป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ คือเป็นพระพรหม เป็นท้าวสักกะ. อธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์อย่างเดียว โดยที่แท้ บุคคลนั้นเป็นพรหมและเป็นท้าวสักกะของบัณฑิต ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย วาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ . จบอรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๘ -----------------------------------------------------