SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
พลตรี หม่อมเจ้า ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ
เจ้าจอมสังวาลย์) ประสูติแด่หม่อมพริ้ม ทองใหญ่ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน
พุทธศักราช 2429 เนื่องจากเป็นโอรสองค์แรกที่ไม่ถึงชีพิตักษัยดังเช่นโอรสและธิดา
องค์ก่อน ๆ จึงเรียกว่า "ทรงรอด" ต่อมาทรงมีพระนามจริงว่า "ทองฑีฆายุ"
 เมื่อเจริญพระชันษาได้ 4 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระบิดา
ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่เสด็จไปปราบฮ่อทางมณฑลอุดร และเป็น
ข้าหลวงสําเร็จราชการอยู่ที่นั้นเป็นเวลาหลายปี จึงทรงถวายองค์พระโอรสไว้แก่ สมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (พระโอรสในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
 เมื่อเจริญชันษาขึ้นได้เล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารด้วยกันกับพระราชกุมารของ พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกเวลาเรียนก็ได้ตามเสด็จเจ้านายเล็กๆ ขึ้นไปเล่น
อยู่บนพระราชฐานจนเป็นที่คุ้นเคยของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว(รัชการที่ 5) ด้าน
ผลการเล่าเรียนของ ม.จ.ทองฑีฆายุฯ นั้น อยู่ในขั้นรุ่งโรจน์ทรงเรียนรู้ได้รวดเร็ว จดจํา
เร็ว แต่ไม่ขยันหมั่นเพียรนัก จนได้รับขนานนามเป็น " เจ้ากรมซน " ประจําพระราชฐาน
 เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สวรรคตแล้ว ซึ่งขณะนั้น ม.จ.ทองฑีฆายุ ทรงมีชันษา
พอสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกษากันต์ใน
พระราชพิธีตรุษ
 พุทธศักราช 2441 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวง
พิษณุโลกประชานารถ ได้เสด็จกลับจากไปทรงศึกษาในโรงเรียนทหารม้าที่ประเทศ
รัสเซียชั่วคราวและจะเสด็จกลับไปอีก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงโปรดให้
ม.จ.ทองฑีฆายุฯ โดยเสด็จไปศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย (ขณะนั้นชันษาได้ 12 ปี) เจ้า
ฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถโปรดปราน ม.จ.ทองฑีฆายุ ถึงกับทรงรับเลี้ยงเป็น
ลูกเลี้ยงไว้องค์หนึ่ง
 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (Military Page
School) ในประเทศรัสเซียตั้งแต่เดือนกันยายน พุทธศักราช 2441 สมเด็จพระเจ้านิ
โคลัสที่ 2 แห่งกรุงรัสเซียโปรดให้สังกัดในกรมทหารม้าฮุสซาร์ที่เมืองเปโตรกราด
(เมืองเลนินกราดในปัจจุบัน) ซึ่งกรมทหารม้าฮุสซาร์นั้น เป็นหน่วยทหารม้าเบาเคลื่อนที่
เร็ว อีกทั้งจัดเป็นกรมทหารม้าที่มีลักษณะการสู้รบแบบประจัญบาน โดยมีประวัติการรบ
บนหลังม้าที่เกรียงไกรไม่แพ้ทหารม้าดอสแซด
 พุทธศักราช 2451 พระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศรัสเซีย ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ
เป็นนายร้อยตรี สังกัดนายทหารนอกกอง กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วย
ทหารที่หรูหราที่สุดในประเทศรัสเซียสมัยนั้น ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ประจํา ณ กรมดัง
กล่าว ได้ทรงมีโอกาสศึกษาวิชาพิเศษแขนงต่าง ๆ ได้แก่ วิชาเคมี วิชาเสนาธิการทหาร
บกและวิชาสัตวแพทย์ ก่อนเสด็จกลับพระนคร
 พุทธศักราช 2452 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนทหารม้า เฉพาะ
สําหรับนายทหารม้าและนายทหารชั้นสูง (Cavalry School for Officers) จน
กระทั่งทรงสําเร็จการศึกษาเมื่อ พุทธศักราช 2454
 ต้นพุทธศักราช 2454 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้สมรสกับ นางสาวลุดมิล่า บาร์ซูก๊อฟ
ธิดาคนโตของนายแชร์เก อิวาโปวิท์ซ บาร์ซูก๊อฟ เลขาธิการกรมศิลปากร เมืองเซนต์ปี
เตอร์สเบอร์ก ประเทศรัสเซีย(ต้นตระกูลบาร์ซูก๊อฟ : เป็นคอสแซคและรับราชการในราช
สํานักมาตลอดหลายสมัย)
 ครั้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ซึ่งเสด็จ
ราชการในยุโรปจะเสด็จกลับพระนคร ประจวบกับ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้สําเร็จการ
เล่าเรียน จึงได้โดยเสด็จกลับพระนครเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2454 ด้วย นับว่า หม่อม
เจ้าทองฑีฆายุฯ ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระปิตุลาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก
ประชานารถเป็นการส่วนพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ เพราะนอกจากทรงเลี้ยงไว้ดุจพระ
โอรสบุญธรรมแล้ว ยังทรงสร้างวังประทานที่ถนนเศรษฐศิริ บางซื่อ บริเวณที่ดินกว้าง
ราว 4 ไร่ โดยทรงให้ช่างฝรั่งออกแบบและดําเนินการก่อสร้าง นอกจากนี้ พระองค์ทรง
อนุเคราะห์ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ และหม่อมลุดมิล่า ตลอดจนโอรสธิดาด้วยพระเมตตา
เสมอมา เมื่อครั้นสมเด็จพระปิตุลาธิราชฯ ได้เข้ารับภาระฝ่ายอํานวยการหลัก หม่อมเจ้า
ทองฑีฆายุฯ จึงได้สนองพระเดชพระคุณทันห้วงระยะเวลาที่คาบเกี่ยวหัวเลี้ยวหัวต่อใน
การจัดระบบงานของกองทัพบก
 ตําแหน่งทางราชการครั้งแรกของ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เมื่อกลับจากประเทศ
รัสเซีย ในปีพุทธศักราช 2454 คือ นายทหารประจําแผนกจเรทหารม้า ยศร้อยโทและ
เป็นราชองครักษ์เวร ในระหว่างที่ประจํากรมอยู่นั้น
ทรงดําริว่า " ม้าของทหารบกในเวลานั้นก็มีอยู่มาก ตลอดจนช้าง โค กระบือ แต่ไม่มี
สัตวแพทย์สําหรับช่วยรักษาและบํารุงเลี้ยงดู ตลอดจน ดูแลให้มีการใช้งานที่ถูกที่ควร
คงมีแต่นายสัตวแพทย์แผนโบราณเพียงไม่กี่นาย "
 พุทธศักราช 2455 ได้ทรงขอตั้ง " โรงเรียนนายดาบสัตวรักษ์ " เพื่อผลิตนาย
สัตวแพทย์ที่มีความรู้ทั้งด้านวิชาการรักษาสัตว์และวิชาสัตวบาลร่วมกัน ซึ่งต่อมาได้ทรง
เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนนายสิบสัตวรักษ์" และ " โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก " ใน
ภายหลัง จึงถือได้ว่า ในต้นปีพุทธศักราช 2455 นี้ "โรงเรียนสอนวิชาสัตวแพทย์แห่ง
แรก" ในประเทศไทยได้ถือกําเนิดขึ้น สําหรับนักเรียนโรงเรียนอัศวแพทย์รุ่นแรกนั้น คัด
เลือกมาจากนายสิบตามกองทหารต่างๆ ในขั้นต้นคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความรู้หนังสือไท
ยและมีความประพฤติดีพอใช้ และให้สอบคัดเลือกจากวิชาความรู้ (โดยคัดเลือกให้
เหลือกองพลละ 2 - 3 นาย) เมื่อคัดเลือกได้แล้วให้ส่งไปที่ กรมเจรทหารบก เพื่อสอบ
คัดเลือกขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเหลือนักเรียนจํานวน 20 คนตามความ
ต้องการ ส่วนผู้ที่สอบคัดเลือกไม่ผ่านได้ส่งกลับหน่วยต้นสังกัดเดิม สําหรับลูกศิษย์ของ
หม่ิมเจ้าทองฑีฆายุฯ รุ่นแรก ได้แก่ หลวงสนิทรักษาสัตว์ และ หลวงสนั่นรักษาสัตว์ ซึ่ง
การคัดเลือกในปีถัดมานั้น คัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความรู้ทางวิชาสามัญในเกณฑ์ดี
นักเรียนสัตวแพทย์ มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา 5 ปี โดยทรง
ดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการโรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก และได้จัดแบ่งหลักสูตรการ
ศึกษาตลอดระยะเวลา 5 ปี ไว้ดังนี้
  ตอนที่ 1 ศึกษาวิชาสัตวแพทย์ วิชาคํานวณ ภาษา เคมี ฟิสิกส์ และระเบียบข้อบังคับ
(มีกําหนด 1 - 2 ปี)
  ตอนที่ 2 ออกไปฝึกความชํานาญตามหน่วยอัศวแพทย์ของกองทัพบก (มีกําหนด 1 -
2 ปี)
  ตอนที่ 3 เข้าศึกษาวิชาอัศวแพทย์ เพื่อศึกษาวิชาสัตวแพทย์ สัตวบาล คํานวณ ภาษา
เคมี ฟิสิกส์ (มีกําหนด 2 ปี) รวมระยะเวลาการศึกษาและอบรมทั้งสิ้น 5 ปี
 สําหรับผู้ที่สอบไล่ได้ เรียกว่า ผู้สําเร็จวิชาชั้นประกาศนียบัตรอัศวแพทย์ของกระทรวง
กลาโหม ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี พร้อมกับออกไปรับราชการ ตามหน่วยสัตวรักษ์
ของกองพันทหารม้า กองพันทหารปืนใหญ่หรือหน่วยผสมสัตว์และเสบียงสัตว์
  ในส่วนของอาจารย์ที่ใช้สอนใน โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก นั้น นอกจากพระองค์ท่าน
แล้วยังประกอบไปด้วยนายสัตวแทพย์อีกจํานวนหลายท่าน ทั้งที่เป็นคนไทยและเป็นชาว
ต่างประเทศ อาทิ หมอเฮนวินเฮนสปราเตอร์ นายสัตวแพทย์ชาวเยอรมัน ผู้สําเร็จวิชา
สัตวแทพย์จากเยอรมันและได้รับพระราชทานยศเป็น .. พันตรีในกองทัพบกไทย พัน
ตรี หลวงพรรฤกสรศักดิ์ , พันตรี หลวงอัศดรผดุง , พันตรี หลวงบํารุงอัศว์ , พระยา
ราญรอนอริรา และ ร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาละติน
นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์จากโรงเรียนนายร้อย อีกจํานวน 4-5 ท่าน มาสอนวิชาคํานวณ
ฟิสิกส์ และเคมี
 ระหว่างที่ตั้ง โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ขึ้นนั้น ทรงจัดตั้ง หน่วยผสมสัตว์และเสบียง
สัตว์ขึ้นที่ ตําบลหัวสระ และตําบลจันทึก อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีหน้าที่ผสม
พันธุ์ม้าและโค นอกจากนี้ ยังทําหญ้าแห้งไว้เป็นเสบียงสัตว์ของกองทัพบกอีกด้วย
 ในระหว่างที่รับราชการเกี่ยวกับงานอัศวแพทย์และทหารม้า ได้ทรงมีส่วนเรียบเรียง
ตําราเกี่ยวกับทหารม้าหลายเล่มได้แก่
   ข้อบังคับสําหรับทหารม้า (19 มกราคม 2455)
ข้อบังคับระเบียบโรงเรียนอัศวแพทย์ ( กุมภาพันธุ์ 2455 )
   แบบฝึกหัดทหารม้า เล่ม 2 ( 3 มีนาคม 2455 )
   คําแนะนําในการเลี้ยงม้า (1 พฤษภาคม 2455 )
   ระเบียบการฝึกหัดสั่งสอนกองร้อยทหารม้า (21 กรกฎาคม 2455 )
 เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2455 ได้รับพระราชทานเหรียญ ดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
 พุทธศักราช 2456 ทรงได้รับพระราชยศเป็น ร้อยเอก ประจําแผนกเจรทหารม้ากองทัพ
บก
 พุทธศักราช 2457 ทรงได้เลื่อนตําแหน่งเป็นผู้บังคับการทหารม้าที่ 2 และเป็นผู้ช่วย
เจรทหารม้า ได้ทรงเขียนตําราสอนนายสิบอัศวแพทย์ จํานวน 8 เล่ม ในการนี้ กระทรวง
กลาโหมได้ออกหนังสือชมเชยและมอบรางวัลเป็นเงิน จํานวน 800 บาท
 ด้านการทหาร หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงปรับปรุงการฝึกทหารม้า โดยได้ปรับปรุงด้าน
ยุทธวิธีให้ทัดเทียมกับทหารม้าในประเทศต่างๆ ของยุโรป ทรงอํานวยการฝึกภาค
สนาม(การเคลื่อนย้าย)ด้วยพระองค์เอง เช่น การเคลื่อนย้ายกําลังทหารม้าจาก
นครราชสีมาไปยังปราจีนบุรี ทั้งนี้ เพื่อให้ทหารม้ามีความพร้อมรบอยู่เสมอ
 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2458 ทรงได้เลื่อนยศเป็นพันตรีดํารงตําแหน่งเป็นผู้
บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 และเป็นผู้ช่วยจรทหารม้า
 พุทธศักราช 2459 ทรงเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาวิทยาศาสตร์ทหารบก
 พุทธศักราช 2460 ทรงได้เลื่อนยศเป็นพันโท ดํารงตําแหน่งผู้บังคับการกรมทหารม้า
รวม
 ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้ทรงรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแล
อุปทูตและคณะทูตประเทศออสเตรียและฮังการี เมื่อ จอมพลจอฟร์ เข้ามากราบทูลถึง
ความปิติของรัฐบาลฝรั่งเศส ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่6) ทรง
ช่วยงานสงครามโลก ครั้งนั้นท่านได้ช่วยต้อนรับ ดูแลและรับรอง จนได้รับมอบตราเลน
ยอง คอนเนอร์ ชั้น 3 ตอบแทน ในโอกาสเดียวกันนี้ หม่อมลุดมิล่าได้รับมอบตราดารา
ดําชั้น 4 จากรัฐบาลฝรั่งเศสเช่นกัน
 พุทธศักราช 2462 ด้วยพระอุปนิสัยที่รักในการค้นคว้าและเสาะหาวิชาความรู้อยู่เสมอ
ในปีนี้เองที่ทรงคิดแบบหีบเครื่องมือ เครื่องยาสําหรับอัศวแพทย์ และทรงทําสมุดแนะนํา
การปฏิบัติบํารุงม้าใหญ่
 แม้ว่า หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ รับราชการทหาร หากแต่ด้วยความสนพระทัยทางอัศว
แพทย์และรายวิชาอื่นๆ อีกมากมาย ทําให้ท่านทรงกลายเป็นผู้รอบรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความชํานาญและเชี่ยวชาญในวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งแต่เดิมทรงสอนวิชาดังกล่าวในหมู่นั
กเรียนทหารบกเท่านั้น เมื่อทางราชการได้ก่อตั้ง " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " ซึ่งในยุค
แรกยังขาดบุคคลากรผู้ทําหน้าที่อาจารย์บรรยายให้ความรู้ดังนั้น หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ
จึงได้รับเชิญให้ทรงร่วมสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล และขณะที่
ทรงดํารงตําแหน่งอาจารย์พิเศษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเรียบ
เรียงตํารับตําราที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไว้หลายต่อหลายเล่มด้วยกัน เช่น
ประวัติศาสตร์สากลชั้นสูง และ ประวัติศาสตร์ไทย
 พุทธศักราช 2463 ทรงได้เลื่อนพระราชยศเป็น พันเอก โดยดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการ
ทหารม้ารวมและผู้ช่วยจเรทหารม้าและสัตว์พาหนะทหารบก ระยะเวลา 6 ปี
 พุทธศักราช 2467 ทรงดํารงตําแหน่งผู้ช่วยทูตทหาร ณ ประเทศอังกฤษและประเทศ
ฝรั่งเศส ระยะเวลา 2 ปี
 พุทธศักราช 2469 เสด็จกลับพระนคร โดยรับราชการในตําแหน่งประจําแผนกจเรสัตว์
พาหนะและการทหารม้า
 พุทธศักราช 2471 ได้รับพระราชยศเป็น พลตรี ทรงดํารงตําแหน่งเจ้ากรมจเรสัตว์
พาหนะทหารบกและการทหารม้า แทน.. พลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศร
 พุทธศักราช 2466 ถึง 2475 ทรงแต่งตํารับตําราทางสัตวแพทย์ที่ทรงคุณค่าไว้จํานวน
หลายเล่มด้วยกัน ซึ่งสัตวแพทย์ทหารในยุคสมัยนั้น ได้นํามาใช้เป็นคู่มือประกอบการ
ปฏิบัติงาน ได้แก่
   สรีรศาสตร์ของม้า
   แบทีเรีย เมติก้า
   การสวมเกือกม้า
   การฝึกม้า
 พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 2 (ปราจีนบุรี)
อยู่เป็นตําแหน่งสุดท้ายในชีวิตรับราชการ ก่อนทรงออกจากราชการเมื่อพุทธศักราช
2475 ซึ่งอยู่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 7 โดยทรง
ดํารงตําแหน่งนายทหารกองหนุน นอกจากนี้ ยังดํารงตําแหน่งองคมนตรี โดยทรงเป็นที่
ปรึกษาข้อราชการจวบจนกระทั่งสิ้นรัชสมัยรัชกาลที่ 7
 เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้รับพระราชทาน ได้แก่
   ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย
   ตริตาภรณ์ช้างเผือก
   เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น 3 ทั้งรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7
 พุทธศักราช 2478 ทรงมีดําริก่อตั้งมหาวิทยาลัยสัตวแพทย์ขึ้นในประเทศไทยโดยผู้ร่วม
ก่อตั้งในครั้งนั้น ได้แก่ พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ พันเอกหลวงสนิทรักษ์สัตว์ พันโทห
ลวงชัยอัศวรักษ์ และ พลตรีจัตวา หลวงสนั่นรักษาสัตว์
 การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสัตวแพทย์ ได้ประสบผลสําเร็จตามความมุ่งหมาย โดยทาง
ราชการได้ลงนามรับรอง พร้อมกับจัดตั้งเป็น " คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษาปีแรกเมื่อพุทธศักราช 2481 ซึ่งในครั้งนั้นมีนักศึกษา
จํานวน 2 นาย (ซึ่งได้รับโอกาสเข้าศึกษาในต่างประเทศทั้งสองท่าน) เริ่มแรกหลักสูตร
คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี ต่อมาจึงปรับเพิ่มเป็น 5 ปี และท้าย
ที่สุดได้ปรับเพิ่มระยะเวลาตลอดหลักสูตรเป็น 6 ปีกระทั่งปัจจุบันนี้
 พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงดํารงตําแหน่งอาจารย์ ผู้ให้วิชาความรู้แขนงวิชาที่
เกี่ยวข้องกับทางสัตวแพทย์แก่เหล่านิสิตคณะสัตวแพทย์ได้เพียง 3 รุ่น (ทรงสอนกระทั่ง
พุทธศักราช 2483)
 ราวเดือนเมษายน พุทธศักราช 2485 พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงพระประชวร
ด้วยโรคบิด ต่อมาเกิดอาการพระหทัยพิการ โดยทรงประชวรอยู่เป็นระยะเวลานานและ
ได้ทุเลาเบาบางลง หากแต่ได้กลับมาทรงประชวรอีกครั้งด้วยโรคพระหทัย ซึ่งเป็นอาการ
ที่แพทย์วินิจฉัยได้ชัดเจนกว่าโรคอื่น แม้หม่อมลุดมิล่าและเหล่าโอรสธิดาจะพากเพียร
พยายามเฝ้ารักษาพยาบาลท่านเป็นเวลานานหลายเดือนก็ตาม แต่พระอาการมิได้ส่อ
เค้าที่ดีขึ้น ที่สุด พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้สิ้นพระชนม์ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 1
กรกฎาคม พุทธศักราช 2485 รวมพระชนมายุได้ 56 ปีเศษ

 พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงมีโอรสและธิดากับหม่อมลุดมิลา ดังนี้.-
  หม่อมราชวงศ์ จักรทอง ทองใหญ่ (ผู้ก่อตั้งภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์)
  หม่อมราชวงศ์หญิง ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่
  หม่อมราชวงศ์หญิง พักตร์พริ้ง ทองใหญ่
  หม่อมราชวงศ์ชาย สิงคธา ทองใหญ่
 นับว่า พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงมีพระกรุณาอย่างใหญ่หลวงต่อกิจการ
สัตวแพทย์ไทย นอกจากนี้ ยังได้ทรงวางรากฐานและก่อตั้งหน่วยทหารการสัตว์แห่ง
กองทัพบกขึ้นอีกด้วย ด้วยพระปรีชาสามารถและพระกรุณาที่ยิ่งใหญ่แห่งกิจการ
สัตวแพทย์ไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ บรรดาเหล่าข้าราชการและคณะศิษย์ จึงได้ร่วมกัน
ขอพระราชทานชื่อค่ายของกรมการสัตว์ทหารบก ทั้งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และรําลึกพระ
กรุณาของ พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "ค่ายทองฑีฆายุ" ให้กับกรมการสัตว์ทหารบก
ได้ใช้เป็นนามหน่วย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2535

More Related Content

What's hot

ปุลากง
ปุลากงปุลากง
ปุลากงSunnywimp
 
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1 Fay Wanida
 
พระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระพระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระKrusupharat
 
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลYota Bhikkhu
 
พระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระพระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระKrusupharat
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3Yota Bhikkhu
 
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีPat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีJutarat Piamrod
 

What's hot (20)

ปุลากง
ปุลากงปุลากง
ปุลากง
 
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
 
พระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระพระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระ
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑ บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑
 
บาลีเสริม ๑๐ Pdf
บาลีเสริม ๑๐ Pdfบาลีเสริม ๑๐ Pdf
บาลีเสริม ๑๐ Pdf
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
 
ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
 
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิตบาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
 
คำถาม
คำถามคำถาม
คำถาม
 
พระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระพระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระ
 
หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑
หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑
หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑
 
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์
 
ทิคุสมาส
ทิคุสมาสทิคุสมาส
ทิคุสมาส
 
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
 
การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3
 
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีPat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
 

Viewers also liked

Bridal Fashion Jewelry
Bridal Fashion JewelryBridal Fashion Jewelry
Bridal Fashion JewelryDiamondvault
 
Daily check list inspect
Daily check list inspectDaily check list inspect
Daily check list inspectVeton Sopjani
 
9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c
9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c
9347 floralies taipei nov 2010 japon####-cDominique Pongi
 
上海地鐵百態
上海地鐵百態上海地鐵百態
上海地鐵百態Jaing Lai
 
[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga
[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga
[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - YogaORICCON Media
 
Slidecast presentation (nutrition)
Slidecast presentation (nutrition)Slidecast presentation (nutrition)
Slidecast presentation (nutrition)phillipsa423
 
გვანცა ხურცია – იტალია
გვანცა ხურცია – იტალიაგვანცა ხურცია – იტალია
გვანცა ხურცია – იტალიაTMcompan
 
Unit 7. The Choice to be Amish
Unit 7. The Choice to be AmishUnit 7. The Choice to be Amish
Unit 7. The Choice to be AmishManchul Shin
 
How to be successful
How to be successfulHow to be successful
How to be successfulkenklieman
 
Identification of humans using gait (synopsis)
Identification of humans using gait (synopsis)Identification of humans using gait (synopsis)
Identification of humans using gait (synopsis)Mumbai Academisc
 
สิทธิมนุษ พยาบาล
สิทธิมนุษ พยาบาลสิทธิมนุษ พยาบาล
สิทธิมนุษ พยาบาลluckana9
 

Viewers also liked (19)

Ch disc 3
Ch disc 3Ch disc 3
Ch disc 3
 
Corrida de toros
Corrida de torosCorrida de toros
Corrida de toros
 
Babs
BabsBabs
Babs
 
Bridal Fashion Jewelry
Bridal Fashion JewelryBridal Fashion Jewelry
Bridal Fashion Jewelry
 
Innovación
InnovaciónInnovación
Innovación
 
Daily check list inspect
Daily check list inspectDaily check list inspect
Daily check list inspect
 
9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c
9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c
9347 floralies taipei nov 2010 japon####-c
 
上海地鐵百態
上海地鐵百態上海地鐵百態
上海地鐵百態
 
Presentación
PresentaciónPresentación
Presentación
 
Distancias nasa
Distancias nasaDistancias nasa
Distancias nasa
 
[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga
[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga
[Presenticcon Eps.2] Pixel Painters: Getting to Know - Yoga
 
IEEE 2012 ns2_2012-13_titles.doc
IEEE 2012 ns2_2012-13_titles.docIEEE 2012 ns2_2012-13_titles.doc
IEEE 2012 ns2_2012-13_titles.doc
 
Slidecast presentation (nutrition)
Slidecast presentation (nutrition)Slidecast presentation (nutrition)
Slidecast presentation (nutrition)
 
გვანცა ხურცია – იტალია
გვანცა ხურცია – იტალიაგვანცა ხურცია – იტალია
გვანცა ხურცია – იტალია
 
Unit 7. The Choice to be Amish
Unit 7. The Choice to be AmishUnit 7. The Choice to be Amish
Unit 7. The Choice to be Amish
 
Los patojos actualizados!
Los patojos actualizados!Los patojos actualizados!
Los patojos actualizados!
 
How to be successful
How to be successfulHow to be successful
How to be successful
 
Identification of humans using gait (synopsis)
Identification of humans using gait (synopsis)Identification of humans using gait (synopsis)
Identification of humans using gait (synopsis)
 
สิทธิมนุษ พยาบาล
สิทธิมนุษ พยาบาลสิทธิมนุษ พยาบาล
สิทธิมนุษ พยาบาล
 

Similar to History prince thong

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นาย แสนเก่ง ป้องโพนทอง ม
นาย แสนเก่ง  ป้องโพนทอง มนาย แสนเก่ง  ป้องโพนทอง ม
นาย แสนเก่ง ป้องโพนทอง มSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Similar to History prince thong (10)

พระราชประวัติ
พระราชประวัติพระราชประวัติ
พระราชประวัติ
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 
เหตุแห่งการถวายสมัญญา
เหตุแห่งการถวายสมัญญาเหตุแห่งการถวายสมัญญา
เหตุแห่งการถวายสมัญญา
 
นาย แสนเก่ง ป้องโพนทอง ม
นาย แสนเก่ง  ป้องโพนทอง มนาย แสนเก่ง  ป้องโพนทอง ม
นาย แสนเก่ง ป้องโพนทอง ม
 

More from i_cavalry

ระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติi_cavalry
 
ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556
ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556
ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556i_cavalry
 
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพหลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพi_cavalry
 
เอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการ
เอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการเอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการ
เอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการi_cavalry
 
โครงการประกวดเว็บไซต์
โครงการประกวดเว็บไซต์โครงการประกวดเว็บไซต์
โครงการประกวดเว็บไซต์i_cavalry
 
แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555
แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555
แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555i_cavalry
 
กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556
กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556 กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556
กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556 i_cavalry
 
๒๘ มีนาคม วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร
๒๘ มีนาคม  วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร๒๘ มีนาคม  วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร
๒๘ มีนาคม วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหารi_cavalry
 
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนi_cavalry
 
Cobragold 2013
Cobragold 2013Cobragold 2013
Cobragold 2013i_cavalry
 
การประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหาร
การประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหารการประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหาร
การประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหารi_cavalry
 
Negative thinking
Negative thinkingNegative thinking
Negative thinkingi_cavalry
 
Introduction of horse
Introduction of horseIntroduction of horse
Introduction of horsei_cavalry
 
งาน ..
งาน .. งาน ..
งาน .. i_cavalry
 
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบกประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบกi_cavalry
 
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบกประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบกi_cavalry
 
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบกประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบกi_cavalry
 
กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ i_cavalry
 

More from i_cavalry (20)

ระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ระเบียบปี 56 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
 
ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556
ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556
ระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการลา พ.ศ.2556
 
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพหลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
 
เอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการ
เอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการเอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการ
เอกสาร : การควบคุมภายในภาคราชการ
 
โครงการประกวดเว็บไซต์
โครงการประกวดเว็บไซต์โครงการประกวดเว็บไซต์
โครงการประกวดเว็บไซต์
 
แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555
แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555
แบบ ปม กรมการสัตว์ทหารบก 2555
 
กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556
กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556 กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556
กลยุทธ์ กส.ทบ. ประจำปี 2556
 
๒๘ มีนาคม วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร
๒๘ มีนาคม  วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร๒๘ มีนาคม  วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร
๒๘ มีนาคม วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การสุนัขทหาร
 
Culture
CultureCulture
Culture
 
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
 
Cobragold 2013
Cobragold 2013Cobragold 2013
Cobragold 2013
 
การประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหาร
การประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหารการประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหาร
การประเมินประสิทธิภาพหน่วยทหาร
 
Negative thinking
Negative thinkingNegative thinking
Negative thinking
 
Introduction of horse
Introduction of horseIntroduction of horse
Introduction of horse
 
งาน ..
งาน .. งาน ..
งาน ..
 
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบกประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก
 
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบกประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ ๑ กรมการสัตว์ทหารบก
 
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบกประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก
ประวัติกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก
 
กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
กรมการสัตว์ทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
 
Retreat s.
Retreat s.Retreat s.
Retreat s.
 

History prince thong

  • 1. พลตรี หม่อมเจ้า ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ เจ้าจอมสังวาลย์) ประสูติแด่หม่อมพริ้ม ทองใหญ่ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2429 เนื่องจากเป็นโอรสองค์แรกที่ไม่ถึงชีพิตักษัยดังเช่นโอรสและธิดา องค์ก่อน ๆ จึงเรียกว่า "ทรงรอด" ต่อมาทรงมีพระนามจริงว่า "ทองฑีฆายุ" เมื่อเจริญพระชันษาได้ 4 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระบิดา ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่เสด็จไปปราบฮ่อทางมณฑลอุดร และเป็น ข้าหลวงสําเร็จราชการอยู่ที่นั้นเป็นเวลาหลายปี จึงทรงถวายองค์พระโอรสไว้แก่ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (พระโอรสในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เมื่อเจริญชันษาขึ้นได้เล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารด้วยกันกับพระราชกุมารของ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกเวลาเรียนก็ได้ตามเสด็จเจ้านายเล็กๆ ขึ้นไปเล่น อยู่บนพระราชฐานจนเป็นที่คุ้นเคยของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว(รัชการที่ 5) ด้าน ผลการเล่าเรียนของ ม.จ.ทองฑีฆายุฯ นั้น อยู่ในขั้นรุ่งโรจน์ทรงเรียนรู้ได้รวดเร็ว จดจํา เร็ว แต่ไม่ขยันหมั่นเพียรนัก จนได้รับขนานนามเป็น " เจ้ากรมซน " ประจําพระราชฐาน เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สวรรคตแล้ว ซึ่งขณะนั้น ม.จ.ทองฑีฆายุ ทรงมีชันษา พอสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกษากันต์ใน พระราชพิธีตรุษ พุทธศักราช 2441 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวง พิษณุโลกประชานารถ ได้เสด็จกลับจากไปทรงศึกษาในโรงเรียนทหารม้าที่ประเทศ รัสเซียชั่วคราวและจะเสด็จกลับไปอีก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงโปรดให้ ม.จ.ทองฑีฆายุฯ โดยเสด็จไปศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย (ขณะนั้นชันษาได้ 12 ปี) เจ้า ฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถโปรดปราน ม.จ.ทองฑีฆายุ ถึงกับทรงรับเลี้ยงเป็น ลูกเลี้ยงไว้องค์หนึ่ง หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (Military Page School) ในประเทศรัสเซียตั้งแต่เดือนกันยายน พุทธศักราช 2441 สมเด็จพระเจ้านิ โคลัสที่ 2 แห่งกรุงรัสเซียโปรดให้สังกัดในกรมทหารม้าฮุสซาร์ที่เมืองเปโตรกราด (เมืองเลนินกราดในปัจจุบัน) ซึ่งกรมทหารม้าฮุสซาร์นั้น เป็นหน่วยทหารม้าเบาเคลื่อนที่ เร็ว อีกทั้งจัดเป็นกรมทหารม้าที่มีลักษณะการสู้รบแบบประจัญบาน โดยมีประวัติการรบ บนหลังม้าที่เกรียงไกรไม่แพ้ทหารม้าดอสแซด พุทธศักราช 2451 พระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศรัสเซีย ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ เป็นนายร้อยตรี สังกัดนายทหารนอกกอง กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วย ทหารที่หรูหราที่สุดในประเทศรัสเซียสมัยนั้น ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ประจํา ณ กรมดัง
  • 2. กล่าว ได้ทรงมีโอกาสศึกษาวิชาพิเศษแขนงต่าง ๆ ได้แก่ วิชาเคมี วิชาเสนาธิการทหาร บกและวิชาสัตวแพทย์ ก่อนเสด็จกลับพระนคร พุทธศักราช 2452 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนทหารม้า เฉพาะ สําหรับนายทหารม้าและนายทหารชั้นสูง (Cavalry School for Officers) จน กระทั่งทรงสําเร็จการศึกษาเมื่อ พุทธศักราช 2454 ต้นพุทธศักราช 2454 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้สมรสกับ นางสาวลุดมิล่า บาร์ซูก๊อฟ ธิดาคนโตของนายแชร์เก อิวาโปวิท์ซ บาร์ซูก๊อฟ เลขาธิการกรมศิลปากร เมืองเซนต์ปี เตอร์สเบอร์ก ประเทศรัสเซีย(ต้นตระกูลบาร์ซูก๊อฟ : เป็นคอสแซคและรับราชการในราช สํานักมาตลอดหลายสมัย) ครั้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ซึ่งเสด็จ ราชการในยุโรปจะเสด็จกลับพระนคร ประจวบกับ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้สําเร็จการ เล่าเรียน จึงได้โดยเสด็จกลับพระนครเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2454 ด้วย นับว่า หม่อม เจ้าทองฑีฆายุฯ ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระปิตุลาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก ประชานารถเป็นการส่วนพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ เพราะนอกจากทรงเลี้ยงไว้ดุจพระ โอรสบุญธรรมแล้ว ยังทรงสร้างวังประทานที่ถนนเศรษฐศิริ บางซื่อ บริเวณที่ดินกว้าง ราว 4 ไร่ โดยทรงให้ช่างฝรั่งออกแบบและดําเนินการก่อสร้าง นอกจากนี้ พระองค์ทรง อนุเคราะห์ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ และหม่อมลุดมิล่า ตลอดจนโอรสธิดาด้วยพระเมตตา เสมอมา เมื่อครั้นสมเด็จพระปิตุลาธิราชฯ ได้เข้ารับภาระฝ่ายอํานวยการหลัก หม่อมเจ้า ทองฑีฆายุฯ จึงได้สนองพระเดชพระคุณทันห้วงระยะเวลาที่คาบเกี่ยวหัวเลี้ยวหัวต่อใน การจัดระบบงานของกองทัพบก ตําแหน่งทางราชการครั้งแรกของ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เมื่อกลับจากประเทศ รัสเซีย ในปีพุทธศักราช 2454 คือ นายทหารประจําแผนกจเรทหารม้า ยศร้อยโทและ เป็นราชองครักษ์เวร ในระหว่างที่ประจํากรมอยู่นั้น ทรงดําริว่า " ม้าของทหารบกในเวลานั้นก็มีอยู่มาก ตลอดจนช้าง โค กระบือ แต่ไม่มี สัตวแพทย์สําหรับช่วยรักษาและบํารุงเลี้ยงดู ตลอดจน ดูแลให้มีการใช้งานที่ถูกที่ควร คงมีแต่นายสัตวแพทย์แผนโบราณเพียงไม่กี่นาย " พุทธศักราช 2455 ได้ทรงขอตั้ง " โรงเรียนนายดาบสัตวรักษ์ " เพื่อผลิตนาย สัตวแพทย์ที่มีความรู้ทั้งด้านวิชาการรักษาสัตว์และวิชาสัตวบาลร่วมกัน ซึ่งต่อมาได้ทรง เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนนายสิบสัตวรักษ์" และ " โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก " ใน ภายหลัง จึงถือได้ว่า ในต้นปีพุทธศักราช 2455 นี้ "โรงเรียนสอนวิชาสัตวแพทย์แห่ง แรก" ในประเทศไทยได้ถือกําเนิดขึ้น สําหรับนักเรียนโรงเรียนอัศวแพทย์รุ่นแรกนั้น คัด เลือกมาจากนายสิบตามกองทหารต่างๆ ในขั้นต้นคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความรู้หนังสือไท
  • 3. ยและมีความประพฤติดีพอใช้ และให้สอบคัดเลือกจากวิชาความรู้ (โดยคัดเลือกให้ เหลือกองพลละ 2 - 3 นาย) เมื่อคัดเลือกได้แล้วให้ส่งไปที่ กรมเจรทหารบก เพื่อสอบ คัดเลือกขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเหลือนักเรียนจํานวน 20 คนตามความ ต้องการ ส่วนผู้ที่สอบคัดเลือกไม่ผ่านได้ส่งกลับหน่วยต้นสังกัดเดิม สําหรับลูกศิษย์ของ หม่ิมเจ้าทองฑีฆายุฯ รุ่นแรก ได้แก่ หลวงสนิทรักษาสัตว์ และ หลวงสนั่นรักษาสัตว์ ซึ่ง การคัดเลือกในปีถัดมานั้น คัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความรู้ทางวิชาสามัญในเกณฑ์ดี นักเรียนสัตวแพทย์ มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา 5 ปี โดยทรง ดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการโรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก และได้จัดแบ่งหลักสูตรการ ศึกษาตลอดระยะเวลา 5 ปี ไว้ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาวิชาสัตวแพทย์ วิชาคํานวณ ภาษา เคมี ฟิสิกส์ และระเบียบข้อบังคับ (มีกําหนด 1 - 2 ปี) ตอนที่ 2 ออกไปฝึกความชํานาญตามหน่วยอัศวแพทย์ของกองทัพบก (มีกําหนด 1 - 2 ปี) ตอนที่ 3 เข้าศึกษาวิชาอัศวแพทย์ เพื่อศึกษาวิชาสัตวแพทย์ สัตวบาล คํานวณ ภาษา เคมี ฟิสิกส์ (มีกําหนด 2 ปี) รวมระยะเวลาการศึกษาและอบรมทั้งสิ้น 5 ปี สําหรับผู้ที่สอบไล่ได้ เรียกว่า ผู้สําเร็จวิชาชั้นประกาศนียบัตรอัศวแพทย์ของกระทรวง กลาโหม ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี พร้อมกับออกไปรับราชการ ตามหน่วยสัตวรักษ์ ของกองพันทหารม้า กองพันทหารปืนใหญ่หรือหน่วยผสมสัตว์และเสบียงสัตว์ ในส่วนของอาจารย์ที่ใช้สอนใน โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก นั้น นอกจากพระองค์ท่าน แล้วยังประกอบไปด้วยนายสัตวแทพย์อีกจํานวนหลายท่าน ทั้งที่เป็นคนไทยและเป็นชาว ต่างประเทศ อาทิ หมอเฮนวินเฮนสปราเตอร์ นายสัตวแพทย์ชาวเยอรมัน ผู้สําเร็จวิชา สัตวแทพย์จากเยอรมันและได้รับพระราชทานยศเป็น .. พันตรีในกองทัพบกไทย พัน ตรี หลวงพรรฤกสรศักดิ์ , พันตรี หลวงอัศดรผดุง , พันตรี หลวงบํารุงอัศว์ , พระยา ราญรอนอริรา และ ร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาละติน นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์จากโรงเรียนนายร้อย อีกจํานวน 4-5 ท่าน มาสอนวิชาคํานวณ ฟิสิกส์ และเคมี ระหว่างที่ตั้ง โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ขึ้นนั้น ทรงจัดตั้ง หน่วยผสมสัตว์และเสบียง สัตว์ขึ้นที่ ตําบลหัวสระ และตําบลจันทึก อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีหน้าที่ผสม พันธุ์ม้าและโค นอกจากนี้ ยังทําหญ้าแห้งไว้เป็นเสบียงสัตว์ของกองทัพบกอีกด้วย ในระหว่างที่รับราชการเกี่ยวกับงานอัศวแพทย์และทหารม้า ได้ทรงมีส่วนเรียบเรียง ตําราเกี่ยวกับทหารม้าหลายเล่มได้แก่ ข้อบังคับสําหรับทหารม้า (19 มกราคม 2455)
  • 4. ข้อบังคับระเบียบโรงเรียนอัศวแพทย์ ( กุมภาพันธุ์ 2455 ) แบบฝึกหัดทหารม้า เล่ม 2 ( 3 มีนาคม 2455 ) คําแนะนําในการเลี้ยงม้า (1 พฤษภาคม 2455 ) ระเบียบการฝึกหัดสั่งสอนกองร้อยทหารม้า (21 กรกฎาคม 2455 ) เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2455 ได้รับพระราชทานเหรียญ ดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พุทธศักราช 2456 ทรงได้รับพระราชยศเป็น ร้อยเอก ประจําแผนกเจรทหารม้ากองทัพ บก พุทธศักราช 2457 ทรงได้เลื่อนตําแหน่งเป็นผู้บังคับการทหารม้าที่ 2 และเป็นผู้ช่วย เจรทหารม้า ได้ทรงเขียนตําราสอนนายสิบอัศวแพทย์ จํานวน 8 เล่ม ในการนี้ กระทรวง กลาโหมได้ออกหนังสือชมเชยและมอบรางวัลเป็นเงิน จํานวน 800 บาท ด้านการทหาร หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงปรับปรุงการฝึกทหารม้า โดยได้ปรับปรุงด้าน ยุทธวิธีให้ทัดเทียมกับทหารม้าในประเทศต่างๆ ของยุโรป ทรงอํานวยการฝึกภาค สนาม(การเคลื่อนย้าย)ด้วยพระองค์เอง เช่น การเคลื่อนย้ายกําลังทหารม้าจาก นครราชสีมาไปยังปราจีนบุรี ทั้งนี้ เพื่อให้ทหารม้ามีความพร้อมรบอยู่เสมอ เดือนเมษายน พุทธศักราช 2458 ทรงได้เลื่อนยศเป็นพันตรีดํารงตําแหน่งเป็นผู้ บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 และเป็นผู้ช่วยจรทหารม้า พุทธศักราช 2459 ทรงเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาวิทยาศาสตร์ทหารบก พุทธศักราช 2460 ทรงได้เลื่อนยศเป็นพันโท ดํารงตําแหน่งผู้บังคับการกรมทหารม้า รวม ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้ทรงรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแล อุปทูตและคณะทูตประเทศออสเตรียและฮังการี เมื่อ จอมพลจอฟร์ เข้ามากราบทูลถึง ความปิติของรัฐบาลฝรั่งเศส ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่6) ทรง ช่วยงานสงครามโลก ครั้งนั้นท่านได้ช่วยต้อนรับ ดูแลและรับรอง จนได้รับมอบตราเลน ยอง คอนเนอร์ ชั้น 3 ตอบแทน ในโอกาสเดียวกันนี้ หม่อมลุดมิล่าได้รับมอบตราดารา ดําชั้น 4 จากรัฐบาลฝรั่งเศสเช่นกัน พุทธศักราช 2462 ด้วยพระอุปนิสัยที่รักในการค้นคว้าและเสาะหาวิชาความรู้อยู่เสมอ ในปีนี้เองที่ทรงคิดแบบหีบเครื่องมือ เครื่องยาสําหรับอัศวแพทย์ และทรงทําสมุดแนะนํา การปฏิบัติบํารุงม้าใหญ่ แม้ว่า หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ รับราชการทหาร หากแต่ด้วยความสนพระทัยทางอัศว แพทย์และรายวิชาอื่นๆ อีกมากมาย ทําให้ท่านทรงกลายเป็นผู้รอบรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความชํานาญและเชี่ยวชาญในวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งแต่เดิมทรงสอนวิชาดังกล่าวในหมู่นั
  • 5. กเรียนทหารบกเท่านั้น เมื่อทางราชการได้ก่อตั้ง " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " ซึ่งในยุค แรกยังขาดบุคคลากรผู้ทําหน้าที่อาจารย์บรรยายให้ความรู้ดังนั้น หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ จึงได้รับเชิญให้ทรงร่วมสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล และขณะที่ ทรงดํารงตําแหน่งอาจารย์พิเศษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเรียบ เรียงตํารับตําราที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไว้หลายต่อหลายเล่มด้วยกัน เช่น ประวัติศาสตร์สากลชั้นสูง และ ประวัติศาสตร์ไทย พุทธศักราช 2463 ทรงได้เลื่อนพระราชยศเป็น พันเอก โดยดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการ ทหารม้ารวมและผู้ช่วยจเรทหารม้าและสัตว์พาหนะทหารบก ระยะเวลา 6 ปี พุทธศักราช 2467 ทรงดํารงตําแหน่งผู้ช่วยทูตทหาร ณ ประเทศอังกฤษและประเทศ ฝรั่งเศส ระยะเวลา 2 ปี พุทธศักราช 2469 เสด็จกลับพระนคร โดยรับราชการในตําแหน่งประจําแผนกจเรสัตว์ พาหนะและการทหารม้า พุทธศักราช 2471 ได้รับพระราชยศเป็น พลตรี ทรงดํารงตําแหน่งเจ้ากรมจเรสัตว์ พาหนะทหารบกและการทหารม้า แทน.. พลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศร พุทธศักราช 2466 ถึง 2475 ทรงแต่งตํารับตําราทางสัตวแพทย์ที่ทรงคุณค่าไว้จํานวน หลายเล่มด้วยกัน ซึ่งสัตวแพทย์ทหารในยุคสมัยนั้น ได้นํามาใช้เป็นคู่มือประกอบการ ปฏิบัติงาน ได้แก่ สรีรศาสตร์ของม้า แบทีเรีย เมติก้า การสวมเกือกม้า การฝึกม้า พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 2 (ปราจีนบุรี) อยู่เป็นตําแหน่งสุดท้ายในชีวิตรับราชการ ก่อนทรงออกจากราชการเมื่อพุทธศักราช 2475 ซึ่งอยู่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 7 โดยทรง ดํารงตําแหน่งนายทหารกองหนุน นอกจากนี้ ยังดํารงตําแหน่งองคมนตรี โดยทรงเป็นที่ ปรึกษาข้อราชการจวบจนกระทั่งสิ้นรัชสมัยรัชกาลที่ 7 เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้รับพระราชทาน ได้แก่ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น 3 ทั้งรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 พุทธศักราช 2478 ทรงมีดําริก่อตั้งมหาวิทยาลัยสัตวแพทย์ขึ้นในประเทศไทยโดยผู้ร่วม ก่อตั้งในครั้งนั้น ได้แก่ พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ พันเอกหลวงสนิทรักษ์สัตว์ พันโทห
  • 6. ลวงชัยอัศวรักษ์ และ พลตรีจัตวา หลวงสนั่นรักษาสัตว์ การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสัตวแพทย์ ได้ประสบผลสําเร็จตามความมุ่งหมาย โดยทาง ราชการได้ลงนามรับรอง พร้อมกับจัดตั้งเป็น " คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษาปีแรกเมื่อพุทธศักราช 2481 ซึ่งในครั้งนั้นมีนักศึกษา จํานวน 2 นาย (ซึ่งได้รับโอกาสเข้าศึกษาในต่างประเทศทั้งสองท่าน) เริ่มแรกหลักสูตร คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี ต่อมาจึงปรับเพิ่มเป็น 5 ปี และท้าย ที่สุดได้ปรับเพิ่มระยะเวลาตลอดหลักสูตรเป็น 6 ปีกระทั่งปัจจุบันนี้ พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงดํารงตําแหน่งอาจารย์ ผู้ให้วิชาความรู้แขนงวิชาที่ เกี่ยวข้องกับทางสัตวแพทย์แก่เหล่านิสิตคณะสัตวแพทย์ได้เพียง 3 รุ่น (ทรงสอนกระทั่ง พุทธศักราช 2483) ราวเดือนเมษายน พุทธศักราช 2485 พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงพระประชวร ด้วยโรคบิด ต่อมาเกิดอาการพระหทัยพิการ โดยทรงประชวรอยู่เป็นระยะเวลานานและ ได้ทุเลาเบาบางลง หากแต่ได้กลับมาทรงประชวรอีกครั้งด้วยโรคพระหทัย ซึ่งเป็นอาการ ที่แพทย์วินิจฉัยได้ชัดเจนกว่าโรคอื่น แม้หม่อมลุดมิล่าและเหล่าโอรสธิดาจะพากเพียร พยายามเฝ้ารักษาพยาบาลท่านเป็นเวลานานหลายเดือนก็ตาม แต่พระอาการมิได้ส่อ เค้าที่ดีขึ้น ที่สุด พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ได้สิ้นพระชนม์ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2485 รวมพระชนมายุได้ 56 ปีเศษ พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงมีโอรสและธิดากับหม่อมลุดมิลา ดังนี้.- หม่อมราชวงศ์ จักรทอง ทองใหญ่ (ผู้ก่อตั้งภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์) หม่อมราชวงศ์หญิง ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ หม่อมราชวงศ์หญิง พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ หม่อมราชวงศ์ชาย สิงคธา ทองใหญ่ นับว่า พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุฯ ทรงมีพระกรุณาอย่างใหญ่หลวงต่อกิจการ สัตวแพทย์ไทย นอกจากนี้ ยังได้ทรงวางรากฐานและก่อตั้งหน่วยทหารการสัตว์แห่ง กองทัพบกขึ้นอีกด้วย ด้วยพระปรีชาสามารถและพระกรุณาที่ยิ่งใหญ่แห่งกิจการ สัตวแพทย์ไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ บรรดาเหล่าข้าราชการและคณะศิษย์ จึงได้ร่วมกัน ขอพระราชทานชื่อค่ายของกรมการสัตว์ทหารบก ทั้งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และรําลึกพระ กรุณาของ พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "ค่ายทองฑีฆายุ" ให้กับกรมการสัตว์ทหารบก ได้ใช้เป็นนามหน่วย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2535