SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
ข
ค
ง
จ
การพัฒนาตัวแปรข้อบ่งชี้ด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
ในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม
ของประเทศไทย
Significant Indicator of Entrepreneurial Orientation
For Tourism Small and Medium Enterprise (SMEs) in Thailand
นายสิริศักดิ์ พลสิมมา*
เกศรา สุกเพชร**
บทคัดย่อ
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของการประสบความส�ำเร็จในกิจการ เนื่องจาก
ปัจจัยอื่นๆ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมเพื่อก่อให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะเป็นผู้ก�ำหนดทิศทางของ
การด�ำเนินกิจการให้ประสบความส�ำเร็จ ในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจในลักษณะต่างๆ ที่กิจการต้องด�ำเนินผ่านสภาพแวดล้อม
นั้นๆ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Orientation) จึงมีความส�ำคัญ
อย่างยิ่งที่จะส่งผลถึงการด�ำเนินกิจการ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของธุรกิจ
การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ผ่านการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการทบทวน
วรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) โดยการสืบค้นงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ หนังสือ
และหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) โดยมี
แหล่งข้อมูลในการสืบค้นโดยสืบค้นจากฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
Electronic Resource) ทั้งในประเทศได้แก่ ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มรูปอิเล็กทรอนิกส์ของ ไทย (Thai Digital
Collection) และต่างประเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูล Business Source Complete, Science Direct, Emerald,
Hospitality & Tourism Complete, Academic Search Complete และ Google Scholar เป็นต้น ผลการศึกษา
พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม
ของประเทศไทย ประกอบไปด้วยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (EO) ที่ถูกอ้างในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
3 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ดังกล่าว ได้แก่ ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ความกล้าเผชิญความเสี่ยง (Risk-Taking) และ
การท�ำงานเชิงรุก (Proactiveness)
คําสําคัญ(Keywords)
คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ธุรกิจบริการ
* นักศึกษาหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์
** อาจารย์ประจ�ำคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
1
Abstract
Entrepreneur is the most essential element for success in business than other complementary
and also the one who shapes the business strategies in some circumstance. Thus, entrepreneurial
orientation is so important for the business turnover.
This research aimed to evaluate entrepreneurial orientation of tourism business entrepreneur
in Thailand through documentary research by systematic review; from thesis researches, academic
articles, books and academic evidences that refer to entrepreneurial orientation by searching from
NIDA library database and electronic resource in Thailand and abroad, Thailand: Thai Digital Collection;
International resources: Business Source Complete, Science Direct, Emerald, Hospitality & Tourism
Complete, Academic Search Complete and Google Scholar, etc.
The research finding showed that entrepreneurial orientation (EO) in tourism small and medium
enterprise in Thailand has to be innovative, proactive and also has a risk-taking behavior.
Keyword
Entrepreneur Orientation, Entrepreneurship, Entrepreneurial, Service sector
2
ความส�ำคัญของปัญหา
จากรายงานของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ส�ำรวจสถานการณ์ของธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมของไทย เมื่อปี 2560 ธุรกิจขนาด SMEs ของไทย เกี่ยวกับสถิติจ�ำนวน SMEs ในประเทศไทยและสถานการณ์
การประกอบกิจการของธุรกิจ SMEs พบว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็ได้สร้างความเสียหายให้กับนักธุรกิจมากมาย
ทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ซึ่งก็มีหลายหน่วยงานที่ระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขมากมาย และเช่น ส่งเสริมการส่งออก
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ มาตรการที่ได้กล่าวมานั้นยังได้รวมถึงข้อสรุปอีกประการหนึ่ง
ของหลายๆ ฝ่ายนั่นคือ การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีมากกว่า 90% ของจ�ำนวนทั้งหมด
ในประเทศ ซึ่งประกอบด้วย กิจการการผลิต การค้า และธุรกิจบริการ (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม,
2560)
หากพิจารณาปัจจัยของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้รับ
การยอมรับมานานแล้วว่าเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Henderson & Weiler, 2010) การศึกษา
เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัทเหล่านี้ มีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันกับทั้งด้าน
การเมืองและด้านเศรษฐกิจเนื่องจากบทบาทส�ำคัญของ บริษัท เหล่านี้คือการสร้างงานและการสร้างรายได้ ให้แก่ประเทศ
(Valliere, 2006) ส�ำหรับประเทศไทยหากพิจารณาการแข่งขันในรูปแบบของธุรกิจ ส�ำหรับไตรมาสแรกของปี 2559 นั้น
แม้ว่าภาคการเกษตรจะฟื้นตัวขึ้นพอสมควร ในทางกลับกันภาคการผลิตกลับหดตัวลง ในขณะที่ภาคธุรกิจบริการยังขยายตัว
ได้อย่างต่อเนื่องจากการเติบโตของการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และการก่อสร้าง ท�ำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(Gross Domestic Product: GDP) ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และท�ำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (GDP SMEs) ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 5.1 (ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม, 2560)
ในขณะเดียวกันผลการศึกษาไปถึงปัญหาของธุรกิจ SMEs ของไทยที่ไม่ประสบความส�ำเร็จอันเนื่องมาจากสาเหตุ
และปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกของผู้ประกอบการเอง หนึ่งในปัญหาที่เป็นประเด็นปัญหาใหญ่ของกิจการ SMEs
ในไทยคือการขาดซึ่งจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Lack of Entrepreneurships) การเป็นผู้ประกอบการ
จะต้องมีคุณสมบัติหลายประเภท เช่น ความเป็นผู้น�ำ การกล้าได้กล้าเสีย ต้องเป็นนายของตัวเออง การรักความท้าทาย
รักความเป็นอิสระ มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม)
องค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของการประสบความส�ำเร็จในกิจการเหล่านี้ คือ ผู้ประกอบการ ขณะที่องค์ประกอบ
อื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความสมบูรณ์เท่านั้น (อาทิตย์ วุฒิคะโร, 2543 ใน (จันทิมา จตุพรเสถียรกุล, 2554))
เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้ก�ำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิสัยทัศน์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
ที่ธุรกิจนั้นๆ ด�ำเนินอยู่ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจของตนเกิดความส�ำเร็จได้ตามความมุ่งหวัง ความเป็นผู้ประกอบการนั้นมีอิทธิพล
โดยตรงต่อธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นเท่าใด ยิ่งส่งผลให้การท�ำงาน
ในสถานประกอบการของธุรกิจนั้นๆ มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นผลให้เกิดการพัฒนาผลประกอบการและความเติบโต
ของธุรกิจในที่สุด (สุธีรา อะทะวงษา & สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์, 2557) จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าทฤษฏี
เกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation: EO) ของ (Miller, 1983) ประกอบด้วย
คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 3 คุณลักษณะ ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การกล้าเผชิญกับความเสี่ยง และ
การท�ำงานเชิงรุก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย (สุธีรา อะทะวงษา & สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์, 2557)
3
ที่ผ่านมาการศึกษาเชิงวิชาการ เกี่ยวกับคุณลักษะของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation)
ในประเทศไทย ได้มีการศึกษาความเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจนอกภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การศึกษา
ของจันทิมา จตุพรเสถียรกุล (2554) ได้ศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกการของการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจ ร้านจ�ำหน่ายยา
คุณภาพการศึกษาของ (สุธีรา อะทะวงษา, 2557) สุธีรา อะทะวงษา and สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์ (2557) ได้ศึกษา
คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทย ในเชิงการศึกษาทางวิชาการ
เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ชญานันท์ ใสกระจ่าง (2558) ได้ท�ำการศึกษาในมุมของ
คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในองค์กร (Corporate Entrepreneurship: CE)
ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกิดข้อได้เปรียบทาง
การแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเอง และตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจในการพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว ของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของผู้ประกอบการ กับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม ASEAN ผู้วิจัยจึงได้เลือกท�ำการศึกษาเกี่ยวกับ แนวทางพัฒนา
ผลการด�ำเนินกิจการด้วยการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ในผู้ประกอบการธุรกิจการให้บริการเพื่อ
การท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเป็นข้อมูลในสร้างรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจการให้บริการ
เพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อการพัฒนาตัวแปรคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ของธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว ในประเทศไทย
ทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ถูกน�ำมาศึกษาทั้งในรูปแบบตัวบุคคล เช่น การศึกษาของ
(Gimeno, Folta, Cooper, & Woo, 1997) และการศึกษาในรูปแบบขององค์กรของ (J. Covin & D. Slevin, 1991)
และ (S. A. Zahra & Garvis, 2000) โดยในการศึกษานี้ผู้ศึกษาได้มุ่งเน้นไปศึกษากับผู้ก่อตั้ง (Founder) ของธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นตัวแทนของมุมมองขององค์กร (Gimeno et al., 1997; Wiklund, 1998)
โดยการเลือกระดับของการวิเคราะห์นี้ที่เป็นการเลือกในการพิจารณาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial
Orientation) ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพราะว่ากลุ่มผู้ก่อตั้ง (Founders) เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกัน
อย่างแข็งขันและเป็นผู้ที่มีอ�ำนาจในการตัดสินใจและก�ำหนดทิศทางขององค์กรโดยตรง เช่นเดียวกับ (Krauss et al.,
2000; S. I. Krauss et al., 2005; Shane’S, 2003; Wiklund, 1998) โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการรวมการศึกษา
ในมุมมองของตัวบุคคลและมุมมองขององค์กรเข้าด้วยกัน โดยได้ศึกษามิติของข้อบ่งชี้ในคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ
(Dimensions of entrepreneurial orientation)
4
โดยสามารถสรุปผลการศึกษาที่ผ่านมาในอดีตของข้อบ่งชี้ดังกล่าวได้ดังนี้
ล�ำดับ ผู้ศึกษา
ตัวบ่งชี้
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
1 Hughes & Morgan (2007) x x x x
2 A. Rauch, M. Frese, C. Koenig,
and Z. M. Wang (2006)
x x x
3 Wouter Stam and Tom Elfring
(2006)
x x x x
4 Gregory.G. Dess, Lumpkin, and
Taylor (2005)
x x x x x
5 Ari Jantunen, Kaisu Puumalainen,
Sami Saarenketo, and Kalevi
Kyläheiko (2005)
x x x x x
6 Justin Tan and David Tan (2005) x x x x x x
7 J.B. Arbaugh, Larry W. Cox, and
S. Michael Camp (2005)
x x x x x
8 M. Hult, Robert F. Hurley, and
Gary A. Knight (2004)
x x x x x
9 Pavlos Dimitratos et al. (2004) x x x
10 Dirk De Clercq, Harry J. Sapienza,
and Hans Crijns (2003)
x x x
11 Johan Wiklund and Dean
Shepherd (2003)
x
12 Montserrat. Entrialgo (2002) x x x
13 Lumpkin & Dess (2001) x
14 Choonwoo Lee et al. (2001) x x x
15 G.T. Lumpkin and Gregory G.
Dess (2001)
x x x x
16 So-Jin Yoo (2001) x x x
17 June M.L. Poon, Raja Azimah
Ainuddin, and Sa’odahhaji
Junit (2006)
x
18 Stanley F. Slater and John C.
Narver (2000)
x x x
5
ล�ำดับ ผู้ศึกษา
ตัวบ่งชี้
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
19 Phil E. Stetzetal. (2000) x x x
20 Li Haiyang, A.-G. Kwaku, and Z.
Yan (2000)
x x x x x x
21 Shaker A. Zahra and Dennis M.
Garvis (2000)
x x x
22 Richard C. Becherer and John
G. Maurer (1999)
x x x
23 A. Richter (1999) x x x
24 K. Chadwick (1999) x
25 J.L. Van Gelder (1999) x x x x
26 Shaker A. Zahra and Donald O.
Neubaum (1998)
x x x
27 Hilton Barrett and Art
Weinstein (1998)
x x x x
28 J. Covin & D. Slevin, 1991; G.T.
(1996)
x x x
29 G.T. Lumpkin & Dess, (1996) x x x
30 Shaker A. Zahra (1996) x
31 Jeffrey G. Covin et al. (1994) x x x
32 Denise T. Smart and Jeffrey S.
Conant (1994)
x x x x
33 John L. Naman and Dennis P.
Slevin (1993)
x x x x
34 J. Covin and D. Slevin (1991) x x x
35 Shaker A. Zahra (1991) x x x
36 Shaker A. Zahra (1991) x x x
37 Jeffrey G. Covin and Teresa
Joyce Covin (1990)
x x x
38 Jeffrey G. Covin,J.E
Prescott,and D.P Slevin (1990)
x x x
39 N. Venkatraman (1989 ) x x x x x x
40 Covin and Slevin (1988) x x x
6
ล�ำดับ ผู้ศึกษา
ตัวบ่งชี้
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
41 Danny Miller and Jean-Marie
Toulouse (1986)
x
42 Jeffrey G. Covin and Dennis P.
Slevin (1986)
x x x
43 Danny Miller (1983) x x x
44 Danny Miller (1983) x x x
รวมตัวบ่งชี้ 40 37 35 6 7 3 4 1 4 2 1 1 1 1 1
หมายเหตุ : ดัชนีตัวชี้วัด EO : 1 = การสร้างนวัตกรรม 2 = การเผชิญกับความเสี่ยง 3 = การท�ำงานเชิงรุก 4 =
ความสามารถในการแข่งขัน 5 = ความอิสระในการท�ำงาน 6 = เผชิญหน้ากับโอกาสทางการตลาด 7 = ความก้าวร้าว
ในการแข่งขัน 8 = ความสามารถในการวิเคราะห์ 9 = การป้องกันอนาคต 10 = กิจกรรมการวางกลยุทธ์ 11 = การระบุ
ความต้องการของลูกค้า 12 = การก�ำหนดวิสัยทัศน์ 13 = ความสัมพันธ์ด้านการตลาด 14 = อื่นๆ
วิธีด�ำเนินการวิจัย
การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review)
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1)	การสืบค้นงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ หนังสือ และหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ
บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) และการวัดผลการด�ำเนินงานแบบสมดุล (Balance
Scorecard: BSC)
2)	แหล่งข้อมูลในการสืบค้น โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resource) ทั้งในประเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มรูปอิเล็กทรอนิกส์
ของไทย (Thai Digital Collection) และต่างประเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูล Business Source Complete, Science
Direct, Emerald, Hospitality & Tourism Complete, Academic Search Complete และ Google Scholar เป็นต้น
3)	เกณฑ์การคัดเลือกวารสารในการศึกษาครั้งนี้ ฐานข้อมูลไทยวารสารกลุ่มที่ 1 และ 2 วารสารที่ผ่าน
การรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI วารสารนานาชาติ Journal Quartile
Score (Q) ที่มี Quartile Score ของวารสาร ในระดับ Q1 = กลุ่มวารสารที่ดีที่สุดในสาขาวิชานี้ จ�ำนวน 25% ของ
จ�ำนวนวารสารทั้งหมดในสาขาวิชานั้นๆ และระดับ Q2 = กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพรองลงมา จ�ำนวน 25% ถัดมาของ
จ�ำนวนวารสารทั้งหมดในสาขาวิชานั้นๆ
4)	ค�ำส�ำคัญในการสืบค้น (Keywords) โดยก�ำหนดค�ำส�ำคัญในการสืบค้น ดังนี้ คุณลักษณะของความเป็น
ผู้ประกอบการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, Entrepreneur Orientation, Entrepreneurship, Entrepreneurial
5)	การสังเคราะห์ข้อมูล น�ำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาสังเคราะห์เพื่อรวบรวมตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะของ
ความเป็นผู้ประกอบการ และความได้เปรียบทางการแข่งขัน จากนั้นน�ำมาด�ำเนินการออกแบบเครื่องมือวิจัย
7
ผลการวิจัย
สรุปการสร้างโมเดลปัจจัยวัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (EO) จากการทบทวนวรรณกรรม ที่ผ่านมา
มีตัวบ่งชี้ถึงคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (EO) ที่ถูกอ้างในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุด 3 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ดังกล่าว
ได้แก่ ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ความกล้าเผชิญความเสี่ยง (Risk-Taking) และการท�ำงานเชิงรุก (Proactiveness)
แหล่งที่มา : 1 = Hughes & Morgan (2007), 2 = A. Rauch, M. Frese, C. Koenig, and Z.M. Wang (2006),
3 = Wouter Stam and Tom Elfring (2006), 4 = Gregory. G. Dess, Lumpkin, and Taylor (2005), 5 = Ari
Jantunen, Kaisu Puumalainen, Sami Saarenketo, and Kalevi Kyläheiko (2005), 6 = Justin Tan and David
Tan (2005), 7 = J.B. Arbaugh, Larry W. Cox, and S. Michael Camp (2005), 8 = M.Hult, Robert F.Hurley,
and Gary A.Knight (2004), 9 = Pavlos Dimitratos et al. (2004), 10 = Dirk De Clercq, Harry J. Sapienza,
and Hans Crijns (2003), 11 = Johan Wiklund and Dean Shepherd (2003), 12 = Montserrat. Entrialgo
(2002), 13 = Lumpkin & Dess (2001), 14 = Choonwoo Lee et al. (2001), 15 = G.T. Lumpkin and
Gregory G. Dess (2001), 16 = So-Jin Yoo (2001), 17 = June M.L. Poon, Raja Azimah Ainuddin, and
Sa’odahhaji Junit (2006), 18 = Stanley F. Slater and John C. Narver (2000), 19 = Phil E. Stetzetal. (2000),
20 = Li Haiyang, A.-G. Kwaku, and Z. Yan (2000), 21 = Shaker A. Zahra and Dennis M. Garvis (2000),
22 = Richard C. Becherer and John G. Maurer (1999), 23 = A. Richter (1999), 24 = K. Chadwick (1999),
25 = J.L. Van Gelder (1999), 26 = Shaker A. Zahra and Donald O. Neubaum (1998), 27 = Hilton Barrett
and Art Weinstein (1998), 28 = J. Covin & D. Slevin, 1991; G.T. (1996), 29 = G.T. Lumpkin & Dess, (1996),
30 = Shaker A. Zahra (1996), 31 = Jeffrey G. Covin et al. (1994), 32 = Denise T. Smart and Jeffrey S.
Conant (1994), 33 = John L. Naman and Dennis P. Slevin (1993), 34 = J. Covin and D. Slevin (1991),
35 = Shaker A. Zahra (1991), 36 = Shaker A. Zahra (1991), 37 = Jeffrey G. Covin and Teresa Joyce
Covin (1990), 38 = Jeffrey G. Covin, J.E. Prescott, and D.P Slevin (1990), 39 = N. Venkatraman (1989),
40 = Covin and Slevin (1988), 41 = Danny Miller and Jean-Marie Toulouse (1986), 42 = Jeffrey G. Covin
and Dennis P. Slevin (1986), 43 = Danny Miller (1983), 44 = Danny Miller (1983)
8
ความมีนวัตกรรม (innovativeness) ตามที่ G.T. Lumpkin and Dess (1996) ได้กล่าวไว้ซึ่งถือเป็นเป็นหนึ่ง
ในคนแรกที่เน้นบทบาทของนวัตกรรมในกระบวนการผู้ประกอบการ (Schumpeter, 1934) อธิบายถึงกระบวนการ
“ท�ำลายอย่างสร้างสรรค์” (creative destruction) คือ การสร้างความมั่งคั่งเกิดขึ้นโดย เมื่อมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ท�ำลาย
สิ่งที่มีอยู่เดิม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างก�ำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กรซึ่งจะช่วยให้การเติบโตของบริษัทใหม่ๆ G.T.
Lumpkin and Dess (1996) ยืนยันว่ากระบวนการของการท�ำลายอย่างคิดสร้างสรรค์ (creative destruction) ที่ริเริ่ม
โดยผู้ประกอบการซึ่งท�ำให้นวัตกรรมเป็นปัจจัยความส�ำเร็จที่ส�ำคัญภายใน EO
นอกจากนี้การเชื่อมโยงระหว่างการเป็นผู้ประกอบการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้รับการสนับสนุนจาก
ผลงานของ Shane, Kolvereid, and Westhead (1991) ผู้พบว่านวัตกรรมเป็นหนึ่งในแรงจูงใจหลักในการเริ่มต้นธุรกิจ
G.T. Lumpkin and Dess (1996) กล่าวว่า “นวัตกรรมสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของบริษัทที่มีส่วนร่วมและสนับสนุน
แนวคิดใหม่ๆ แปลกใหม่ การทดลองและกระบวนการสร้างสรรค์ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความใหม่ ผลิตภัณฑ์บริการหรือ
กระบวนการทางเทคโนโลยี” ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความเต็มใจที่จะก้าวไปข้างหน้าจากเทคโนโลยีหรือแนวทางปฏิบัติ
ที่มีอยู่แล้วและส�ำรวจเกินขอบเขตปัจจุบัน (Kimberly, 1981) และแสดงให้เห็นว่าบริษัทก�ำลังทุ่มเทความพยายามในการ
น�ำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลตลาด (Zahra, 1993) ดังนั้นความคิดริเริ่มมีความส�ำคัญส�ำหรับการรักษาความเป็นอยู่
ของบริษัท เนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของความคิดที่น�ำไปสู่การปรับปรุงและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงช่วยในการรักษาบริษัท
ให้เจริญรุ่งเรือง (G.T. Lumpkin, Brigham, & Moss, 2010) นวัตกรรมที่มีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นตลาด
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน, การรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นสิ่งส�ำคัญ นวัตกรรมสามารถเป็น
กุญแจส�ำคัญในการนี้เพราะสามารถเป็นแหล่งความก้าวหน้าและการเติบโตที่ส�ำคัญของบริษัท (Gregory. G. Dess, Lumpkin,
& Taylor, 2005) ขณะที่ความคิดริเริ่มมีบทบาทส�ำคัญในการสร้าง EO ความส�ำคัญในการศึกษานี้จะมีผลต่อมากขึ้น นี่คือ
ความจริงที่ว่าในภายหลังจะปรากฏในวิทยานิพนธ์นี้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ระดับและผลกระทบของมันอาจแตกต่างไปจากอุปสรรคทางวัฒนธรรมแตกต่าง ดังนั้นการมองไปที่ความสร้างสรรค์
ในสองสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอาจท�ำให้ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับบทบาทและความส�ำคัญ
ความกล้าเผชิญกับความเสี่ยง (risk-taking) ความกล้าเผชิญกับความเสี่ยง ถือเป็นความเต็มใจที่จะติดตามโอกาส
ที่มีความส�ำคัญ ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดความสูญเสียหรือความแตกต่างของผลการด�ำเนินงาน (Morris, Kuratko, &
Covin, 2008) ความเสี่ยงโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ เนื่องจากแนวคิดเรื่องการประกอบการในรูปแบบเดิม
ประกอบไปด้วยสมมติฐานเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยส่วนบุคคล (G.T. Lumpkin & Dess, 1996) ในระดับบริษัทการบริหาร
ความเสี่ยงหมายถึงแนวโน้มที่จะสนับสนุนโครงการที่ไม่แน่นอน ในผลตอบแทนที่คาดหวัง (Walter, Auer, & Ritter, 2006)
ตามที่ G.G. Dess and Lumpkin (2005) กล่าว องค์กรและผู้บริหารของบริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยง
สามประเภท ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงิน และความเสี่ยงส่วนบุคคล ความเสี่ยงทางธุรกิจหมายถึง
ความเสี่ยงจากการเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้ทดสอบหรือการกระท�ำที่ไม่ได้รับการยืนยัน (Baird & Thomas, 1985; G.G. Dess
& Lumpkin, 2005) ความเสี่ยงทางการเงินเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินมากหรือมีภาระผูกพันเป็นจ�ำนวนมาก ทรัพยากร
ส�ำหรับการเจริญเติบโต (Baird & Thomas, 1985; G.G. Dess & Lumpkin, 2005) บริษัทที่มี EO เข้าไปมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและภาระผูกพันด้านทรัพยากรที่มีนัยส�ำคัญในความต้องการ
(G.T. Lumpkin & Dess, 1996) ซึ่งมีผลตอบแทนสูง สุดท้ายความเสี่ยงส่วนบุคคลเกี่ยวข้องกับบุคคลปกติผู้บริหาร
ที่ตัดสินใจที่จะสนับสนุนบางอย่าง ยุทธศาสตร์การด�ำเนินการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลที่ผู้บริหารมีต่อทิศทางของ บริษัท
ซึ่งสามารถในกรณีของความล้มเหลวยังน�ำไปสู่ผลกระทบส่วนบุคคล (G.G. Dess & Lumpkin, 2005)
9
การท�ำงานเชิงรุก (proactiveness) Lieberman and Montgomery (1988) ระบุว่าผู้ที่ริเริ่มด�ำเนินการตาม
กลยุทธ์ก่อน คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดส�ำหรับการพึ่งพาโอกาสทางการตลาด หากบริษัทเห็นโอกาสในตลาดและเป็นครั้งแรก
การด�ำเนินการดังกล่าวจะท�ำให้เกิดผลก�ำไรที่ผิดปกติ และได้รับประโยชน์จากการรับรู้แบรนด์ (Lumpkin and Dess, 1996)
(G.T. Lumpkin & Dess, 1996) ดังนั้นการด�ำเนินการเชิงรุกซึ่งหมายถึงการริเริ่มการคาดการณ์และการด�ำเนินการใหม่
โอกาสและการสร้างตลาดใหม่ๆ หรือการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่ก็เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการและเป็นมิติที่ส�ำคัญ
ของ EO (Entrialgo, Fernandéz, & Vázquez, 2000; Walter & Auer, 2006)
ตามที่ G.T. Lumpkin and Dess (1996) อภิปรายไว้ว่า การมีส่วนร่วมในการท�ำธุรกิจเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับ EO
เนื่องจากมุมมองเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า บริษัทเชิงรุกสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้และหาค�ำตอบส�ำหรับพวกเขาในการ
ด�ำเนินกิจการ (G.G. Dess & Lumpkin, 2005) ด้วยเหตุนี้การท�ำกิจกรรมเชิงรุกจึงสามารถเป็นกุญแจส�ำคัญได้ เนื่องจาก
คู่แข่งจ�ำเป็นต้องตอบสนองต่อความคิดริเริ่มที่ประสบความส�ำเร็จของผู้บุกเบิก (G.G. Dess & Lumpkin, 2005) ผู้บุกเบิก
อาจประสบความส�ำเร็จในการรักษาลูกค้าเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าสูง (high switching costs)
(Smith, Ferrier, & Grimm, 2001)
ในขณะที่ Venkatraman (1989) ได้อภิปรายว่า การท�ำกิจกรรมเชิงรุกไม่ใช่แค่เรื่องที่เห็นในอนาคต เงื่อนไขของ
ผลิตภัณฑ์และโอกาสใหม่ๆVenkatraman(1989)แต่เสนอว่าการท�ำงานเชิงรุก(proactiveness)หมายถึงกระบวนการ
ที่มุ่งหวังและตอบสนองความต้องการในอนาคตโดยการค้นหาโอกาสใหม่ๆ อาจเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานในปัจจุบัน
หรือแตกต่างจากที่กล่าวมา ดังนั้น การท�ำงานเชิงรุก (proactiveness) สามารถอ้างถึงการแนะน�ำผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่
ก่อนคู่แข่งและเพื่อก�ำจัดการด�ำเนินการเหล่านั้นของคู่แข่งอีกด้วย ผู้ประกอบการที่จะริเริ่มและแสวงหาโอกาสใหม่ๆ
อย่างน้อยก็เป็นบางส่วนเมื่อพูดถึงการท�ำกิจกรรมเชิงรุกก็ไม่มีการศึกษามากมาย เรื่องคุณลักษณะในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว
และบริการโดยเฉพาะ
ผลสรุป
ธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวนั้นมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เนื่องจากเป็น
ส่วนประกอบหลักที่ส�ำคัญในการดึงดูด และอ�ำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ประกอบกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ของไทยมีส่วนส�ำคัญในการผลักดัน GDP ของประเทศให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาถึงสัดส่วนของจ�ำนวนธุรกิจ
การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการผลักดัน GDP ของประเทศนั้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็น
สัดส่วนจ�ำนวนที่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงอาจขาดความเชี่ยวชาญหรือ
ระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ล้มเหลว ไม่ประสบความส�ำเร็จ หรือประสบปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการด�ำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว ปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุด
ในการด�ำเนินธุรกิจคือผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้ก�ำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ทิศทาง และวิธีการด�ำเนินงาน
ทั้งหมดของกิจการ และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
(Entrepreneur Orientation) สุงจะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่ออผลการด�ำเนินกิจการด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การศึกษาในเรื่องคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Orientation) ที่ผ่านมา
ในอดีต ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในกลุ่มธุรกิจนอกภาคบริการ หรือในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งยังไม่มีการศึกษา
เฉพาะเจาะจงในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ทั้งๆ ที่กลุ่มธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวนั้น
มีอิธิพลสูงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ผู้วิจัยจึงได้ท�ำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเนื้อหาอย่างเป็นระบบ
(Systematic Review) โดยการสืบค้นงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ หนังสือ และหลักฐานทางวิชาการ
10
ที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) จากแหล่งข้อมูลในการสืบค้น โดยสืบค้น
จากฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resource)
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงได้ข้อสรุปจากนักวิชาการทั่วโลก เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
ในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีข้อบ่งชี้ที่มีการศึกษามากที่สุด ได้แก่
ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ที่ได้อธิบายถึง กระบวนการ “ท�ำลายอย่างสร้างสรรค์” (creative
destruction) คือ การสร้างความมั่งคั่งเกิดขึ้นโดย เมื่อมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ท�ำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมาย
เพื่อสร้างก�ำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กรซึ่งจะช่วยให้การเติบโตของบริษัทใหม่ ๆ และได้รับการยืนยันว่ากระบวนการของการท�ำลาย
อย่างคิดสร้างสรรค์ (creative destruction) ที่ริเริ่มโดยผู้ประกอบการซึ่ง ท�ำให้นวัตกรรมเป็นปัจจัยความส�ำเร็จที่ส�ำคัญ
ภายในคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
ความกล้าเผชิญกับความเสี่ยง (risk-taking) เป็นความเต็มใจที่จะติดตามโอกาสที่มีความส�ำคัญ ความเป็นไปได้
ที่อาจจะเกิดความสูญเสียหรือความแตกต่างของผลการด�ำเนินงาน ความเสี่ยงโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
เนื่องจากแนวคิดเรื่องการประกอบการในรูปแบบเดิมประกอบไปด้วยสมมติฐานเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยส่วนบุคคลในระดับ บริษัท
การบริหารความเสี่ยงหมายถึงแนวโน้มที่จะสนับสนุนโครงการที่ไม่แน่นอน ในผลตอบแทนที่องค์กรหรือบริษัทนั้นๆ คาดหวัง
และข้อบ่งชี้สุดท้าย คือ การท�ำงานเชิงรุก (Proactiveness) คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดส�ำหรับการพึ่งพาโอกาส
ทางการตลาด หากบริษัทเห็นโอกาสในตลาดและเป็นครั้งแรก การด�ำเนินการดังกล่าวจะท�ำให้เกิดผลก�ำไรที่ผิดปกติ และ
ได้รับประโยชน์จากการรับรู้แบรนด์ ดังนั้นการด�ำเนินการเชิงรุกซึ่งหมายถึงการริเริ่มการคาดการณ์และการด�ำเนินการใหม่
โอกาสและการสร้างตลาดใหม่ๆ หรือการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่ก็เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการและเป็นมิติที่ส�ำคัญ
ของคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
ข้อเสนอแนะ
ประการที่ 1 หากผู้ที่มีความสนในการศึกษามิติของคุณลักษณะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
ในครั้งต่อไปนั้นมีข้อแนะน�ำให้ศึกษามุ่งไปในธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งให้เฉพาะเจาะจง เรื่องจากการศึกษาในครั้งนี้
เป็นกระบวนการของการศึกษาที่มุ่งเฉพาะการศึกษารายอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยวในครั้งแรกเท่านั้น
หากมีการศึกษาแยกรายธุรกิจ จะท�ำให้ผลการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการสามารถน�ำไปพัฒนา
ผู้ประกอบการตามรายธุรกิจที่ศึกษา ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
ประการที่ 2 การศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาเฉพาะตัวผู้ประกอบการซึ่งเป็นการศึกษา ในระดับบุลคลเท่านั้น
หากมีการศึกษาในเรื่องนี้จากนักวิชาการให้แนะน�ำให้ศึกษา ถึงระดับองค์กรเนื่องจากความเป็นผู้ประกอบการไม่เพียงเเต่
สร้างได้ในผู้ประกอบการเท่านั้น แต่หากคนในองค์กรมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการด้วยอาจส่งผลถึงภาพรวม
ของผลการด�ำเนินกิจการได้ ดังนั้นจึงแนะน�ำให้มีการศึกษาคุณลักษณะการเป็นจผู้ประกอบการในระดับองค์กรในการศึกษา
ในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
Baird, I. S., & Thomas, H. (1985). Toward a contingency model of strategic risk taking. Academy of
Management Review, 10(2), pp. 230–243.
Dess, G. G., & Lumpkin, G. T. (2005). The role of entrepreneurial orientation in stimulating effective
corporate entrepreneurship. Academy of Management Executive, 19(1), pp. 147–156.
11
Dess, G. G., Lumpkin, G. T., & Taylor, M. L. (2005). Strategic management : Creating competitive
advantage. New York: McGraw-Hill.
Entrialgo, M., Fernandéz, E., & Vázquez, C. J. (2000). Linking entrepreneurship and strategic management:
evidence from Spanish SMEs. Technovation, 20(8), pp. 427– 436.
Henderson, J., & Weiler, S. (2010). Entrepreneurs and Job Growth: Probing the Boundaries of Time
and Space. Economic Development Quarterly, 24(1), 23-32.
Kimberly, J. R. (1981). Managerial innovation. In P. C. Nystrom and W. H. Starbuck (eds.) (Vol. 1).
New York: Oxford University.
Lieberman, M. B., & Montgomery, D. B. (1988). First-Mover Advantages. Strategic. Management Journal,
9((Special Issue)), pp. 41–58.
Lumpkin, G. T., Brigham, K. H., & Moss, T. W. (2010). Entrepreneurship & Regional Development.
Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking It
to Performance. The Academy of Management Review, 21(1), 35-172.
Morris, M. H., Kuratko, D. F., & Covin, J. G. (2008). Corporate Entrepreneurship & Innovation (2nd
ed. ed.). OH, USA: Thomson Higher Education.
Schumpeter, J. A. (1934). The Theory of Economic Development. Harvard University Press.
Shane, S. A., Kolvereid, L., & Westhead, P. (1991). An exploratory examination of the reasons leading
to new firm formation across country and gender. Journal of Business Venturing, 6(6),
pp. 431–446.
Smith, K., Ferrier, W., & Grimm, C. (2001). King of the hill: Dethroning the industry leader. Academy
of Management Executive, 15(2), pp. 59–70.
Valliere, D. (2006). Consequences of growth: Shaping entrepreneurial attitudes. International Journal
of Entrepreneurship and Innovation, 7(3), 141–148.
Venkatraman, N. (1989). Strategic orientation of business enterprises: The construct, dimensionality,
and measurement. Management Science, 35(8), pp. 942–962.
Walter, A., Auer, M., & Ritter, T. (2006). The impact of network capabilities and entrepreneurial
orientation on university spin-off performance. Journal of Business Venturing, 21(4),
pp. 541–567.
Walter, A., & Auer, M. a. R., T.,. (2006). The impact of network capabilities and entrepreneurial
orientation on university spin-off performance. Journal of Business Venturing, 21(4),
pp. 541–567.
Zahra, S. A. (1993). Environment, corporate entrepreneurship, and financial performance: A taxonomic
approach. Journal of Business Venturing, 8(4), 319–340.
จันทิมา จตุพรเสถียรกุล. (2554). บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความช�ำนาญกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจ
และความส�ำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการประเภทธุรกิจร้านยาคุณภาพในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
12
ชญานันท์ ใสกระจ่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของบริษัทน�ำเท่ียวขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยการ
เสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ. (การจัดการมหาบัณฑิต), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม. (2560) สถิตติจ�ำนวน SME ในประเทศไทย. Retrieved from http://
www.tcg.or.th/news_inside.php?news_id=37
ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). รายงาน สถานการณ์ และ ตัวชี้วัดเชิงเศรษฐกิจของ
SME ปี 2560.
สุธีรา อะทะวงษา, & สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2557). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และ ลักษณะของ
สถานประกอบการ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย.
สุทธิปริทัศน์, 28(85), 61-79.
13

More Related Content

Similar to Sirisak polsimma significant indicator of entrepreneurial orientation

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexPeerasak C.
 
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจคู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจSompop Petkleang
 
The study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationallyThe study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationallyMudhita Ubasika
 
2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf
2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf
2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdfChuta Tharachai
 
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วันการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วันDr.Wasit Prombutr
 
Digital Service Startup by K-Bank
Digital Service Startup by K-BankDigital Service Startup by K-Bank
Digital Service Startup by K-BankSukanya Benjavanich
 
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไรบทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไรkkampanat
 

Similar to Sirisak polsimma significant indicator of entrepreneurial orientation (20)

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
 
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจคู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
 
Chapter1 kc
Chapter1 kcChapter1 kc
Chapter1 kc
 
The study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationallyThe study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationally
 
2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf
2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf
2564_ทบทวนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ TCEB_as of 16 Nov.pdf
 
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วันการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วัน
 
T01 080156
T01 080156T01 080156
T01 080156
 
Plans
PlansPlans
Plans
 
Document
DocumentDocument
Document
 
Document
DocumentDocument
Document
 
Document
DocumentDocument
Document
 
Digital Service Startup by K-Bank
Digital Service Startup by K-BankDigital Service Startup by K-Bank
Digital Service Startup by K-Bank
 
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไรบทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
 
HRM of TAT
HRM of TATHRM of TAT
HRM of TAT
 
HRM of TAT
HRM of TATHRM of TAT
HRM of TAT
 
Sepo 54
Sepo 54Sepo 54
Sepo 54
 
Sepo 54
Sepo 54Sepo 54
Sepo 54
 
Sepo 54
Sepo 54Sepo 54
Sepo 54
 
Hr of TAT
Hr of TATHr of TAT
Hr of TAT
 
Responsible / Sustainable Finance
Responsible / Sustainable FinanceResponsible / Sustainable Finance
Responsible / Sustainable Finance
 

Sirisak polsimma significant indicator of entrepreneurial orientation

  • 1.
  • 2.
  • 3.
  • 4.
  • 5.
  • 6. การพัฒนาตัวแปรข้อบ่งชี้ด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม ของประเทศไทย Significant Indicator of Entrepreneurial Orientation For Tourism Small and Medium Enterprise (SMEs) in Thailand นายสิริศักดิ์ พลสิมมา* เกศรา สุกเพชร** บทคัดย่อ ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของการประสบความส�ำเร็จในกิจการ เนื่องจาก ปัจจัยอื่นๆ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมเพื่อก่อให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะเป็นผู้ก�ำหนดทิศทางของ การด�ำเนินกิจการให้ประสบความส�ำเร็จ ในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจในลักษณะต่างๆ ที่กิจการต้องด�ำเนินผ่านสภาพแวดล้อม นั้นๆ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Orientation) จึงมีความส�ำคัญ อย่างยิ่งที่จะส่งผลถึงการด�ำเนินกิจการ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของธุรกิจ การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ผ่านการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการทบทวน วรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) โดยการสืบค้นงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ หนังสือ และหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) โดยมี แหล่งข้อมูลในการสืบค้นโดยสืบค้นจากฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Resource) ทั้งในประเทศได้แก่ ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มรูปอิเล็กทรอนิกส์ของ ไทย (Thai Digital Collection) และต่างประเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูล Business Source Complete, Science Direct, Emerald, Hospitality & Tourism Complete, Academic Search Complete และ Google Scholar เป็นต้น ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม ของประเทศไทย ประกอบไปด้วยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (EO) ที่ถูกอ้างในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุด 3 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ดังกล่าว ได้แก่ ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ความกล้าเผชิญความเสี่ยง (Risk-Taking) และ การท�ำงานเชิงรุก (Proactiveness) คําสําคัญ(Keywords) คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ธุรกิจบริการ * นักศึกษาหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ** อาจารย์ประจ�ำคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 1
  • 7. Abstract Entrepreneur is the most essential element for success in business than other complementary and also the one who shapes the business strategies in some circumstance. Thus, entrepreneurial orientation is so important for the business turnover. This research aimed to evaluate entrepreneurial orientation of tourism business entrepreneur in Thailand through documentary research by systematic review; from thesis researches, academic articles, books and academic evidences that refer to entrepreneurial orientation by searching from NIDA library database and electronic resource in Thailand and abroad, Thailand: Thai Digital Collection; International resources: Business Source Complete, Science Direct, Emerald, Hospitality & Tourism Complete, Academic Search Complete and Google Scholar, etc. The research finding showed that entrepreneurial orientation (EO) in tourism small and medium enterprise in Thailand has to be innovative, proactive and also has a risk-taking behavior. Keyword Entrepreneur Orientation, Entrepreneurship, Entrepreneurial, Service sector 2
  • 8. ความส�ำคัญของปัญหา จากรายงานของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ส�ำรวจสถานการณ์ของธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของไทย เมื่อปี 2560 ธุรกิจขนาด SMEs ของไทย เกี่ยวกับสถิติจ�ำนวน SMEs ในประเทศไทยและสถานการณ์ การประกอบกิจการของธุรกิจ SMEs พบว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็ได้สร้างความเสียหายให้กับนักธุรกิจมากมาย ทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ซึ่งก็มีหลายหน่วยงานที่ระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขมากมาย และเช่น ส่งเสริมการส่งออก เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ มาตรการที่ได้กล่าวมานั้นยังได้รวมถึงข้อสรุปอีกประการหนึ่ง ของหลายๆ ฝ่ายนั่นคือ การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีมากกว่า 90% ของจ�ำนวนทั้งหมด ในประเทศ ซึ่งประกอบด้วย กิจการการผลิต การค้า และธุรกิจบริการ (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม, 2560) หากพิจารณาปัจจัยของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้รับ การยอมรับมานานแล้วว่าเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Henderson & Weiler, 2010) การศึกษา เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัทเหล่านี้ มีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันกับทั้งด้าน การเมืองและด้านเศรษฐกิจเนื่องจากบทบาทส�ำคัญของ บริษัท เหล่านี้คือการสร้างงานและการสร้างรายได้ ให้แก่ประเทศ (Valliere, 2006) ส�ำหรับประเทศไทยหากพิจารณาการแข่งขันในรูปแบบของธุรกิจ ส�ำหรับไตรมาสแรกของปี 2559 นั้น แม้ว่าภาคการเกษตรจะฟื้นตัวขึ้นพอสมควร ในทางกลับกันภาคการผลิตกลับหดตัวลง ในขณะที่ภาคธุรกิจบริการยังขยายตัว ได้อย่างต่อเนื่องจากการเติบโตของการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และการก่อสร้าง ท�ำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และท�ำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (GDP SMEs) ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 5.1 (ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม, 2560) ในขณะเดียวกันผลการศึกษาไปถึงปัญหาของธุรกิจ SMEs ของไทยที่ไม่ประสบความส�ำเร็จอันเนื่องมาจากสาเหตุ และปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกของผู้ประกอบการเอง หนึ่งในปัญหาที่เป็นประเด็นปัญหาใหญ่ของกิจการ SMEs ในไทยคือการขาดซึ่งจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Lack of Entrepreneurships) การเป็นผู้ประกอบการ จะต้องมีคุณสมบัติหลายประเภท เช่น ความเป็นผู้น�ำ การกล้าได้กล้าเสีย ต้องเป็นนายของตัวเออง การรักความท้าทาย รักความเป็นอิสระ มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) องค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของการประสบความส�ำเร็จในกิจการเหล่านี้ คือ ผู้ประกอบการ ขณะที่องค์ประกอบ อื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความสมบูรณ์เท่านั้น (อาทิตย์ วุฒิคะโร, 2543 ใน (จันทิมา จตุพรเสถียรกุล, 2554)) เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้ก�ำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิสัยทัศน์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ธุรกิจนั้นๆ ด�ำเนินอยู่ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจของตนเกิดความส�ำเร็จได้ตามความมุ่งหวัง ความเป็นผู้ประกอบการนั้นมีอิทธิพล โดยตรงต่อธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นเท่าใด ยิ่งส่งผลให้การท�ำงาน ในสถานประกอบการของธุรกิจนั้นๆ มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นผลให้เกิดการพัฒนาผลประกอบการและความเติบโต ของธุรกิจในที่สุด (สุธีรา อะทะวงษา & สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์, 2557) จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าทฤษฏี เกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation: EO) ของ (Miller, 1983) ประกอบด้วย คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 3 คุณลักษณะ ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การกล้าเผชิญกับความเสี่ยง และ การท�ำงานเชิงรุก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย (สุธีรา อะทะวงษา & สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์, 2557) 3
  • 9. ที่ผ่านมาการศึกษาเชิงวิชาการ เกี่ยวกับคุณลักษะของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) ในประเทศไทย ได้มีการศึกษาความเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจนอกภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การศึกษา ของจันทิมา จตุพรเสถียรกุล (2554) ได้ศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกการของการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจ ร้านจ�ำหน่ายยา คุณภาพการศึกษาของ (สุธีรา อะทะวงษา, 2557) สุธีรา อะทะวงษา and สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์ (2557) ได้ศึกษา คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทย ในเชิงการศึกษาทางวิชาการ เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ชญานันท์ ใสกระจ่าง (2558) ได้ท�ำการศึกษาในมุมของ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในองค์กร (Corporate Entrepreneurship: CE) ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกิดข้อได้เปรียบทาง การแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเอง และตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจในการพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของผู้ประกอบการ กับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม ASEAN ผู้วิจัยจึงได้เลือกท�ำการศึกษาเกี่ยวกับ แนวทางพัฒนา ผลการด�ำเนินกิจการด้วยการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ในผู้ประกอบการธุรกิจการให้บริการเพื่อ การท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเป็นข้อมูลในสร้างรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจการให้บริการ เพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อมต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อการพัฒนาตัวแปรคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ของธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว ในประเทศไทย ทบทวนวรรณกรรม แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ถูกน�ำมาศึกษาทั้งในรูปแบบตัวบุคคล เช่น การศึกษาของ (Gimeno, Folta, Cooper, & Woo, 1997) และการศึกษาในรูปแบบขององค์กรของ (J. Covin & D. Slevin, 1991) และ (S. A. Zahra & Garvis, 2000) โดยในการศึกษานี้ผู้ศึกษาได้มุ่งเน้นไปศึกษากับผู้ก่อตั้ง (Founder) ของธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นตัวแทนของมุมมองขององค์กร (Gimeno et al., 1997; Wiklund, 1998) โดยการเลือกระดับของการวิเคราะห์นี้ที่เป็นการเลือกในการพิจารณาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพราะว่ากลุ่มผู้ก่อตั้ง (Founders) เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกัน อย่างแข็งขันและเป็นผู้ที่มีอ�ำนาจในการตัดสินใจและก�ำหนดทิศทางขององค์กรโดยตรง เช่นเดียวกับ (Krauss et al., 2000; S. I. Krauss et al., 2005; Shane’S, 2003; Wiklund, 1998) โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการรวมการศึกษา ในมุมมองของตัวบุคคลและมุมมองขององค์กรเข้าด้วยกัน โดยได้ศึกษามิติของข้อบ่งชี้ในคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ (Dimensions of entrepreneurial orientation) 4
  • 10. โดยสามารถสรุปผลการศึกษาที่ผ่านมาในอดีตของข้อบ่งชี้ดังกล่าวได้ดังนี้ ล�ำดับ ผู้ศึกษา ตัวบ่งชี้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 1 Hughes & Morgan (2007) x x x x 2 A. Rauch, M. Frese, C. Koenig, and Z. M. Wang (2006) x x x 3 Wouter Stam and Tom Elfring (2006) x x x x 4 Gregory.G. Dess, Lumpkin, and Taylor (2005) x x x x x 5 Ari Jantunen, Kaisu Puumalainen, Sami Saarenketo, and Kalevi Kyläheiko (2005) x x x x x 6 Justin Tan and David Tan (2005) x x x x x x 7 J.B. Arbaugh, Larry W. Cox, and S. Michael Camp (2005) x x x x x 8 M. Hult, Robert F. Hurley, and Gary A. Knight (2004) x x x x x 9 Pavlos Dimitratos et al. (2004) x x x 10 Dirk De Clercq, Harry J. Sapienza, and Hans Crijns (2003) x x x 11 Johan Wiklund and Dean Shepherd (2003) x 12 Montserrat. Entrialgo (2002) x x x 13 Lumpkin & Dess (2001) x 14 Choonwoo Lee et al. (2001) x x x 15 G.T. Lumpkin and Gregory G. Dess (2001) x x x x 16 So-Jin Yoo (2001) x x x 17 June M.L. Poon, Raja Azimah Ainuddin, and Sa’odahhaji Junit (2006) x 18 Stanley F. Slater and John C. Narver (2000) x x x 5
  • 11. ล�ำดับ ผู้ศึกษา ตัวบ่งชี้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 19 Phil E. Stetzetal. (2000) x x x 20 Li Haiyang, A.-G. Kwaku, and Z. Yan (2000) x x x x x x 21 Shaker A. Zahra and Dennis M. Garvis (2000) x x x 22 Richard C. Becherer and John G. Maurer (1999) x x x 23 A. Richter (1999) x x x 24 K. Chadwick (1999) x 25 J.L. Van Gelder (1999) x x x x 26 Shaker A. Zahra and Donald O. Neubaum (1998) x x x 27 Hilton Barrett and Art Weinstein (1998) x x x x 28 J. Covin & D. Slevin, 1991; G.T. (1996) x x x 29 G.T. Lumpkin & Dess, (1996) x x x 30 Shaker A. Zahra (1996) x 31 Jeffrey G. Covin et al. (1994) x x x 32 Denise T. Smart and Jeffrey S. Conant (1994) x x x x 33 John L. Naman and Dennis P. Slevin (1993) x x x x 34 J. Covin and D. Slevin (1991) x x x 35 Shaker A. Zahra (1991) x x x 36 Shaker A. Zahra (1991) x x x 37 Jeffrey G. Covin and Teresa Joyce Covin (1990) x x x 38 Jeffrey G. Covin,J.E Prescott,and D.P Slevin (1990) x x x 39 N. Venkatraman (1989 ) x x x x x x 40 Covin and Slevin (1988) x x x 6
  • 12. ล�ำดับ ผู้ศึกษา ตัวบ่งชี้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 41 Danny Miller and Jean-Marie Toulouse (1986) x 42 Jeffrey G. Covin and Dennis P. Slevin (1986) x x x 43 Danny Miller (1983) x x x 44 Danny Miller (1983) x x x รวมตัวบ่งชี้ 40 37 35 6 7 3 4 1 4 2 1 1 1 1 1 หมายเหตุ : ดัชนีตัวชี้วัด EO : 1 = การสร้างนวัตกรรม 2 = การเผชิญกับความเสี่ยง 3 = การท�ำงานเชิงรุก 4 = ความสามารถในการแข่งขัน 5 = ความอิสระในการท�ำงาน 6 = เผชิญหน้ากับโอกาสทางการตลาด 7 = ความก้าวร้าว ในการแข่งขัน 8 = ความสามารถในการวิเคราะห์ 9 = การป้องกันอนาคต 10 = กิจกรรมการวางกลยุทธ์ 11 = การระบุ ความต้องการของลูกค้า 12 = การก�ำหนดวิสัยทัศน์ 13 = ความสัมพันธ์ด้านการตลาด 14 = อื่นๆ วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) การสืบค้นงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ หนังสือ และหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) และการวัดผลการด�ำเนินงานแบบสมดุล (Balance Scorecard: BSC) 2) แหล่งข้อมูลในการสืบค้น โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resource) ทั้งในประเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มรูปอิเล็กทรอนิกส์ ของไทย (Thai Digital Collection) และต่างประเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูล Business Source Complete, Science Direct, Emerald, Hospitality & Tourism Complete, Academic Search Complete และ Google Scholar เป็นต้น 3) เกณฑ์การคัดเลือกวารสารในการศึกษาครั้งนี้ ฐานข้อมูลไทยวารสารกลุ่มที่ 1 และ 2 วารสารที่ผ่าน การรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI วารสารนานาชาติ Journal Quartile Score (Q) ที่มี Quartile Score ของวารสาร ในระดับ Q1 = กลุ่มวารสารที่ดีที่สุดในสาขาวิชานี้ จ�ำนวน 25% ของ จ�ำนวนวารสารทั้งหมดในสาขาวิชานั้นๆ และระดับ Q2 = กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพรองลงมา จ�ำนวน 25% ถัดมาของ จ�ำนวนวารสารทั้งหมดในสาขาวิชานั้นๆ 4) ค�ำส�ำคัญในการสืบค้น (Keywords) โดยก�ำหนดค�ำส�ำคัญในการสืบค้น ดังนี้ คุณลักษณะของความเป็น ผู้ประกอบการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, Entrepreneur Orientation, Entrepreneurship, Entrepreneurial 5) การสังเคราะห์ข้อมูล น�ำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาสังเคราะห์เพื่อรวบรวมตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะของ ความเป็นผู้ประกอบการ และความได้เปรียบทางการแข่งขัน จากนั้นน�ำมาด�ำเนินการออกแบบเครื่องมือวิจัย 7
  • 13. ผลการวิจัย สรุปการสร้างโมเดลปัจจัยวัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (EO) จากการทบทวนวรรณกรรม ที่ผ่านมา มีตัวบ่งชี้ถึงคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (EO) ที่ถูกอ้างในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุด 3 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ดังกล่าว ได้แก่ ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ความกล้าเผชิญความเสี่ยง (Risk-Taking) และการท�ำงานเชิงรุก (Proactiveness) แหล่งที่มา : 1 = Hughes & Morgan (2007), 2 = A. Rauch, M. Frese, C. Koenig, and Z.M. Wang (2006), 3 = Wouter Stam and Tom Elfring (2006), 4 = Gregory. G. Dess, Lumpkin, and Taylor (2005), 5 = Ari Jantunen, Kaisu Puumalainen, Sami Saarenketo, and Kalevi Kyläheiko (2005), 6 = Justin Tan and David Tan (2005), 7 = J.B. Arbaugh, Larry W. Cox, and S. Michael Camp (2005), 8 = M.Hult, Robert F.Hurley, and Gary A.Knight (2004), 9 = Pavlos Dimitratos et al. (2004), 10 = Dirk De Clercq, Harry J. Sapienza, and Hans Crijns (2003), 11 = Johan Wiklund and Dean Shepherd (2003), 12 = Montserrat. Entrialgo (2002), 13 = Lumpkin & Dess (2001), 14 = Choonwoo Lee et al. (2001), 15 = G.T. Lumpkin and Gregory G. Dess (2001), 16 = So-Jin Yoo (2001), 17 = June M.L. Poon, Raja Azimah Ainuddin, and Sa’odahhaji Junit (2006), 18 = Stanley F. Slater and John C. Narver (2000), 19 = Phil E. Stetzetal. (2000), 20 = Li Haiyang, A.-G. Kwaku, and Z. Yan (2000), 21 = Shaker A. Zahra and Dennis M. Garvis (2000), 22 = Richard C. Becherer and John G. Maurer (1999), 23 = A. Richter (1999), 24 = K. Chadwick (1999), 25 = J.L. Van Gelder (1999), 26 = Shaker A. Zahra and Donald O. Neubaum (1998), 27 = Hilton Barrett and Art Weinstein (1998), 28 = J. Covin & D. Slevin, 1991; G.T. (1996), 29 = G.T. Lumpkin & Dess, (1996), 30 = Shaker A. Zahra (1996), 31 = Jeffrey G. Covin et al. (1994), 32 = Denise T. Smart and Jeffrey S. Conant (1994), 33 = John L. Naman and Dennis P. Slevin (1993), 34 = J. Covin and D. Slevin (1991), 35 = Shaker A. Zahra (1991), 36 = Shaker A. Zahra (1991), 37 = Jeffrey G. Covin and Teresa Joyce Covin (1990), 38 = Jeffrey G. Covin, J.E. Prescott, and D.P Slevin (1990), 39 = N. Venkatraman (1989), 40 = Covin and Slevin (1988), 41 = Danny Miller and Jean-Marie Toulouse (1986), 42 = Jeffrey G. Covin and Dennis P. Slevin (1986), 43 = Danny Miller (1983), 44 = Danny Miller (1983) 8
  • 14. ความมีนวัตกรรม (innovativeness) ตามที่ G.T. Lumpkin and Dess (1996) ได้กล่าวไว้ซึ่งถือเป็นเป็นหนึ่ง ในคนแรกที่เน้นบทบาทของนวัตกรรมในกระบวนการผู้ประกอบการ (Schumpeter, 1934) อธิบายถึงกระบวนการ “ท�ำลายอย่างสร้างสรรค์” (creative destruction) คือ การสร้างความมั่งคั่งเกิดขึ้นโดย เมื่อมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ท�ำลาย สิ่งที่มีอยู่เดิม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างก�ำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กรซึ่งจะช่วยให้การเติบโตของบริษัทใหม่ๆ G.T. Lumpkin and Dess (1996) ยืนยันว่ากระบวนการของการท�ำลายอย่างคิดสร้างสรรค์ (creative destruction) ที่ริเริ่ม โดยผู้ประกอบการซึ่งท�ำให้นวัตกรรมเป็นปัจจัยความส�ำเร็จที่ส�ำคัญภายใน EO นอกจากนี้การเชื่อมโยงระหว่างการเป็นผู้ประกอบการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้รับการสนับสนุนจาก ผลงานของ Shane, Kolvereid, and Westhead (1991) ผู้พบว่านวัตกรรมเป็นหนึ่งในแรงจูงใจหลักในการเริ่มต้นธุรกิจ G.T. Lumpkin and Dess (1996) กล่าวว่า “นวัตกรรมสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของบริษัทที่มีส่วนร่วมและสนับสนุน แนวคิดใหม่ๆ แปลกใหม่ การทดลองและกระบวนการสร้างสรรค์ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความใหม่ ผลิตภัณฑ์บริการหรือ กระบวนการทางเทคโนโลยี” ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความเต็มใจที่จะก้าวไปข้างหน้าจากเทคโนโลยีหรือแนวทางปฏิบัติ ที่มีอยู่แล้วและส�ำรวจเกินขอบเขตปัจจุบัน (Kimberly, 1981) และแสดงให้เห็นว่าบริษัทก�ำลังทุ่มเทความพยายามในการ น�ำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลตลาด (Zahra, 1993) ดังนั้นความคิดริเริ่มมีความส�ำคัญส�ำหรับการรักษาความเป็นอยู่ ของบริษัท เนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของความคิดที่น�ำไปสู่การปรับปรุงและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงช่วยในการรักษาบริษัท ให้เจริญรุ่งเรือง (G.T. Lumpkin, Brigham, & Moss, 2010) นวัตกรรมที่มีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นตลาด ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน, การรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นสิ่งส�ำคัญ นวัตกรรมสามารถเป็น กุญแจส�ำคัญในการนี้เพราะสามารถเป็นแหล่งความก้าวหน้าและการเติบโตที่ส�ำคัญของบริษัท (Gregory. G. Dess, Lumpkin, & Taylor, 2005) ขณะที่ความคิดริเริ่มมีบทบาทส�ำคัญในการสร้าง EO ความส�ำคัญในการศึกษานี้จะมีผลต่อมากขึ้น นี่คือ ความจริงที่ว่าในภายหลังจะปรากฏในวิทยานิพนธ์นี้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้เห็นว่า ระดับและผลกระทบของมันอาจแตกต่างไปจากอุปสรรคทางวัฒนธรรมแตกต่าง ดังนั้นการมองไปที่ความสร้างสรรค์ ในสองสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอาจท�ำให้ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับบทบาทและความส�ำคัญ ความกล้าเผชิญกับความเสี่ยง (risk-taking) ความกล้าเผชิญกับความเสี่ยง ถือเป็นความเต็มใจที่จะติดตามโอกาส ที่มีความส�ำคัญ ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดความสูญเสียหรือความแตกต่างของผลการด�ำเนินงาน (Morris, Kuratko, & Covin, 2008) ความเสี่ยงโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ เนื่องจากแนวคิดเรื่องการประกอบการในรูปแบบเดิม ประกอบไปด้วยสมมติฐานเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยส่วนบุคคล (G.T. Lumpkin & Dess, 1996) ในระดับบริษัทการบริหาร ความเสี่ยงหมายถึงแนวโน้มที่จะสนับสนุนโครงการที่ไม่แน่นอน ในผลตอบแทนที่คาดหวัง (Walter, Auer, & Ritter, 2006) ตามที่ G.G. Dess and Lumpkin (2005) กล่าว องค์กรและผู้บริหารของบริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยง สามประเภท ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงิน และความเสี่ยงส่วนบุคคล ความเสี่ยงทางธุรกิจหมายถึง ความเสี่ยงจากการเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้ทดสอบหรือการกระท�ำที่ไม่ได้รับการยืนยัน (Baird & Thomas, 1985; G.G. Dess & Lumpkin, 2005) ความเสี่ยงทางการเงินเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินมากหรือมีภาระผูกพันเป็นจ�ำนวนมาก ทรัพยากร ส�ำหรับการเจริญเติบโต (Baird & Thomas, 1985; G.G. Dess & Lumpkin, 2005) บริษัทที่มี EO เข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและภาระผูกพันด้านทรัพยากรที่มีนัยส�ำคัญในความต้องการ (G.T. Lumpkin & Dess, 1996) ซึ่งมีผลตอบแทนสูง สุดท้ายความเสี่ยงส่วนบุคคลเกี่ยวข้องกับบุคคลปกติผู้บริหาร ที่ตัดสินใจที่จะสนับสนุนบางอย่าง ยุทธศาสตร์การด�ำเนินการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลที่ผู้บริหารมีต่อทิศทางของ บริษัท ซึ่งสามารถในกรณีของความล้มเหลวยังน�ำไปสู่ผลกระทบส่วนบุคคล (G.G. Dess & Lumpkin, 2005) 9
  • 15. การท�ำงานเชิงรุก (proactiveness) Lieberman and Montgomery (1988) ระบุว่าผู้ที่ริเริ่มด�ำเนินการตาม กลยุทธ์ก่อน คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดส�ำหรับการพึ่งพาโอกาสทางการตลาด หากบริษัทเห็นโอกาสในตลาดและเป็นครั้งแรก การด�ำเนินการดังกล่าวจะท�ำให้เกิดผลก�ำไรที่ผิดปกติ และได้รับประโยชน์จากการรับรู้แบรนด์ (Lumpkin and Dess, 1996) (G.T. Lumpkin & Dess, 1996) ดังนั้นการด�ำเนินการเชิงรุกซึ่งหมายถึงการริเริ่มการคาดการณ์และการด�ำเนินการใหม่ โอกาสและการสร้างตลาดใหม่ๆ หรือการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่ก็เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการและเป็นมิติที่ส�ำคัญ ของ EO (Entrialgo, Fernandéz, & Vázquez, 2000; Walter & Auer, 2006) ตามที่ G.T. Lumpkin and Dess (1996) อภิปรายไว้ว่า การมีส่วนร่วมในการท�ำธุรกิจเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับ EO เนื่องจากมุมมองเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า บริษัทเชิงรุกสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้และหาค�ำตอบส�ำหรับพวกเขาในการ ด�ำเนินกิจการ (G.G. Dess & Lumpkin, 2005) ด้วยเหตุนี้การท�ำกิจกรรมเชิงรุกจึงสามารถเป็นกุญแจส�ำคัญได้ เนื่องจาก คู่แข่งจ�ำเป็นต้องตอบสนองต่อความคิดริเริ่มที่ประสบความส�ำเร็จของผู้บุกเบิก (G.G. Dess & Lumpkin, 2005) ผู้บุกเบิก อาจประสบความส�ำเร็จในการรักษาลูกค้าเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าสูง (high switching costs) (Smith, Ferrier, & Grimm, 2001) ในขณะที่ Venkatraman (1989) ได้อภิปรายว่า การท�ำกิจกรรมเชิงรุกไม่ใช่แค่เรื่องที่เห็นในอนาคต เงื่อนไขของ ผลิตภัณฑ์และโอกาสใหม่ๆVenkatraman(1989)แต่เสนอว่าการท�ำงานเชิงรุก(proactiveness)หมายถึงกระบวนการ ที่มุ่งหวังและตอบสนองความต้องการในอนาคตโดยการค้นหาโอกาสใหม่ๆ อาจเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานในปัจจุบัน หรือแตกต่างจากที่กล่าวมา ดังนั้น การท�ำงานเชิงรุก (proactiveness) สามารถอ้างถึงการแนะน�ำผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่ ก่อนคู่แข่งและเพื่อก�ำจัดการด�ำเนินการเหล่านั้นของคู่แข่งอีกด้วย ผู้ประกอบการที่จะริเริ่มและแสวงหาโอกาสใหม่ๆ อย่างน้อยก็เป็นบางส่วนเมื่อพูดถึงการท�ำกิจกรรมเชิงรุกก็ไม่มีการศึกษามากมาย เรื่องคุณลักษณะในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และบริการโดยเฉพาะ ผลสรุป ธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวนั้นมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เนื่องจากเป็น ส่วนประกอบหลักที่ส�ำคัญในการดึงดูด และอ�ำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ประกอบกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ของไทยมีส่วนส�ำคัญในการผลักดัน GDP ของประเทศให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาถึงสัดส่วนของจ�ำนวนธุรกิจ การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการผลักดัน GDP ของประเทศนั้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็น สัดส่วนจ�ำนวนที่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงอาจขาดความเชี่ยวชาญหรือ ระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ล้มเหลว ไม่ประสบความส�ำเร็จ หรือประสบปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการด�ำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว ปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุด ในการด�ำเนินธุรกิจคือผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้ก�ำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ทิศทาง และวิธีการด�ำเนินงาน ทั้งหมดของกิจการ และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Orientation) สุงจะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่ออผลการด�ำเนินกิจการด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาในเรื่องคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Orientation) ที่ผ่านมา ในอดีต ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในกลุ่มธุรกิจนอกภาคบริการ หรือในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งยังไม่มีการศึกษา เฉพาะเจาะจงในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ทั้งๆ ที่กลุ่มธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวนั้น มีอิธิพลสูงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ผู้วิจัยจึงได้ท�ำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเนื้อหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) โดยการสืบค้นงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ หนังสือ และหลักฐานทางวิชาการ 10
  • 16. ที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) จากแหล่งข้อมูลในการสืบค้น โดยสืบค้น จากฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resource) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงได้ข้อสรุปจากนักวิชาการทั่วโลก เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ในธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีข้อบ่งชี้ที่มีการศึกษามากที่สุด ได้แก่ ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ที่ได้อธิบายถึง กระบวนการ “ท�ำลายอย่างสร้างสรรค์” (creative destruction) คือ การสร้างความมั่งคั่งเกิดขึ้นโดย เมื่อมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ท�ำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมาย เพื่อสร้างก�ำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กรซึ่งจะช่วยให้การเติบโตของบริษัทใหม่ ๆ และได้รับการยืนยันว่ากระบวนการของการท�ำลาย อย่างคิดสร้างสรรค์ (creative destruction) ที่ริเริ่มโดยผู้ประกอบการซึ่ง ท�ำให้นวัตกรรมเป็นปัจจัยความส�ำเร็จที่ส�ำคัญ ภายในคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ความกล้าเผชิญกับความเสี่ยง (risk-taking) เป็นความเต็มใจที่จะติดตามโอกาสที่มีความส�ำคัญ ความเป็นไปได้ ที่อาจจะเกิดความสูญเสียหรือความแตกต่างของผลการด�ำเนินงาน ความเสี่ยงโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ เนื่องจากแนวคิดเรื่องการประกอบการในรูปแบบเดิมประกอบไปด้วยสมมติฐานเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยส่วนบุคคลในระดับ บริษัท การบริหารความเสี่ยงหมายถึงแนวโน้มที่จะสนับสนุนโครงการที่ไม่แน่นอน ในผลตอบแทนที่องค์กรหรือบริษัทนั้นๆ คาดหวัง และข้อบ่งชี้สุดท้าย คือ การท�ำงานเชิงรุก (Proactiveness) คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดส�ำหรับการพึ่งพาโอกาส ทางการตลาด หากบริษัทเห็นโอกาสในตลาดและเป็นครั้งแรก การด�ำเนินการดังกล่าวจะท�ำให้เกิดผลก�ำไรที่ผิดปกติ และ ได้รับประโยชน์จากการรับรู้แบรนด์ ดังนั้นการด�ำเนินการเชิงรุกซึ่งหมายถึงการริเริ่มการคาดการณ์และการด�ำเนินการใหม่ โอกาสและการสร้างตลาดใหม่ๆ หรือการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่ก็เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการและเป็นมิติที่ส�ำคัญ ของคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ข้อเสนอแนะ ประการที่ 1 หากผู้ที่มีความสนในการศึกษามิติของคุณลักษณะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ในครั้งต่อไปนั้นมีข้อแนะน�ำให้ศึกษามุ่งไปในธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งให้เฉพาะเจาะจง เรื่องจากการศึกษาในครั้งนี้ เป็นกระบวนการของการศึกษาที่มุ่งเฉพาะการศึกษารายอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยวในครั้งแรกเท่านั้น หากมีการศึกษาแยกรายธุรกิจ จะท�ำให้ผลการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการสามารถน�ำไปพัฒนา ผู้ประกอบการตามรายธุรกิจที่ศึกษา ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น ประการที่ 2 การศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาเฉพาะตัวผู้ประกอบการซึ่งเป็นการศึกษา ในระดับบุลคลเท่านั้น หากมีการศึกษาในเรื่องนี้จากนักวิชาการให้แนะน�ำให้ศึกษา ถึงระดับองค์กรเนื่องจากความเป็นผู้ประกอบการไม่เพียงเเต่ สร้างได้ในผู้ประกอบการเท่านั้น แต่หากคนในองค์กรมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการด้วยอาจส่งผลถึงภาพรวม ของผลการด�ำเนินกิจการได้ ดังนั้นจึงแนะน�ำให้มีการศึกษาคุณลักษณะการเป็นจผู้ประกอบการในระดับองค์กรในการศึกษา ในอนาคต เอกสารอ้างอิง Baird, I. S., & Thomas, H. (1985). Toward a contingency model of strategic risk taking. Academy of Management Review, 10(2), pp. 230–243. Dess, G. G., & Lumpkin, G. T. (2005). The role of entrepreneurial orientation in stimulating effective corporate entrepreneurship. Academy of Management Executive, 19(1), pp. 147–156. 11
  • 17. Dess, G. G., Lumpkin, G. T., & Taylor, M. L. (2005). Strategic management : Creating competitive advantage. New York: McGraw-Hill. Entrialgo, M., Fernandéz, E., & Vázquez, C. J. (2000). Linking entrepreneurship and strategic management: evidence from Spanish SMEs. Technovation, 20(8), pp. 427– 436. Henderson, J., & Weiler, S. (2010). Entrepreneurs and Job Growth: Probing the Boundaries of Time and Space. Economic Development Quarterly, 24(1), 23-32. Kimberly, J. R. (1981). Managerial innovation. In P. C. Nystrom and W. H. Starbuck (eds.) (Vol. 1). New York: Oxford University. Lieberman, M. B., & Montgomery, D. B. (1988). First-Mover Advantages. Strategic. Management Journal, 9((Special Issue)), pp. 41–58. Lumpkin, G. T., Brigham, K. H., & Moss, T. W. (2010). Entrepreneurship & Regional Development. Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking It to Performance. The Academy of Management Review, 21(1), 35-172. Morris, M. H., Kuratko, D. F., & Covin, J. G. (2008). Corporate Entrepreneurship & Innovation (2nd ed. ed.). OH, USA: Thomson Higher Education. Schumpeter, J. A. (1934). The Theory of Economic Development. Harvard University Press. Shane, S. A., Kolvereid, L., & Westhead, P. (1991). An exploratory examination of the reasons leading to new firm formation across country and gender. Journal of Business Venturing, 6(6), pp. 431–446. Smith, K., Ferrier, W., & Grimm, C. (2001). King of the hill: Dethroning the industry leader. Academy of Management Executive, 15(2), pp. 59–70. Valliere, D. (2006). Consequences of growth: Shaping entrepreneurial attitudes. International Journal of Entrepreneurship and Innovation, 7(3), 141–148. Venkatraman, N. (1989). Strategic orientation of business enterprises: The construct, dimensionality, and measurement. Management Science, 35(8), pp. 942–962. Walter, A., Auer, M., & Ritter, T. (2006). The impact of network capabilities and entrepreneurial orientation on university spin-off performance. Journal of Business Venturing, 21(4), pp. 541–567. Walter, A., & Auer, M. a. R., T.,. (2006). The impact of network capabilities and entrepreneurial orientation on university spin-off performance. Journal of Business Venturing, 21(4), pp. 541–567. Zahra, S. A. (1993). Environment, corporate entrepreneurship, and financial performance: A taxonomic approach. Journal of Business Venturing, 8(4), 319–340. จันทิมา จตุพรเสถียรกุล. (2554). บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความช�ำนาญกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจ และความส�ำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการประเภทธุรกิจร้านยาคุณภาพในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 12
  • 18. ชญานันท์ ใสกระจ่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของบริษัทน�ำเท่ียวขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยการ เสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ. (การจัดการมหาบัณฑิต), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม. (2560) สถิตติจ�ำนวน SME ในประเทศไทย. Retrieved from http:// www.tcg.or.th/news_inside.php?news_id=37 ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). รายงาน สถานการณ์ และ ตัวชี้วัดเชิงเศรษฐกิจของ SME ปี 2560. สุธีรา อะทะวงษา, & สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2557). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และ ลักษณะของ สถานประกอบการ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 28(85), 61-79. 13