SlideShare a Scribd company logo
1 of 32
Download to read offline
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
671
แนวการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้
เพื่อสร้างคุณลักษณะ
ดี เก่ง มีสุข
๕
หน่วยการเรียนรู้ที่
เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง นํ้า ฟ้า ดวงดาว
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้น ป.๔ - ๖
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
672
การวิเคราะห์แผนผังจากสาระการเรียนรู้
เที่ยวทั่วไทย
(นํ้า ฟ้า ดวงดาว)
อุณหภูมิของอากาศ
ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศ เครื่องมือวัดความเร็วลม
การเกิดลม
ความดันอากาศ
การเกิดเมฆ หมอก ฝน
นํ้าค้าง ลูกเห็บ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
673
๑.	มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว ๖.๑	 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการ
ต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ
จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำ�ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ป. ๕/๑	 สำ�รวจ ทดลองและอธิบายการเกิดเมฆ หมอก นํ้าค้าง และลูกเห็บ
ป. ๕/๒	 ทดลองและอธิบายการเกิดวัฏจักรนํ้า
ป. ๕/๓	 ออกแบบและสร้างเครื่องมืออย่างง่ายในการวัดอุณหภูมิความชื้น และความกดอากาศ
ป. ๕/๔	 ทดลองและอธิบายการเกิดลมและนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน
๒.	กำ�หนดสาระสำ�คัญของการเรียนรู้
	 ๑.	 สภาวะไอนํ้าที่ควบแน่นเป็นละอองนํ้าเล็กๆรวมตัวกันและลอยอยู่เหนือพื้นดินเล็กน้อยเรียกว่าหมอกหาก
ลอยอยู่ในระดับสูงเรียกว่าเมฆ เมื่อละอองนํ้าในเมฆรวมกันจนเป็นหยดนํ้าขนาดใหญ่จะตกลงมาเป็นฝน
	 ๒.	 ลูกเห็บเป็นฝนที่เกิดในเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเย็นจัดจนเป็นนํ้าแข็งที่ถูกพายุพัดวนในชั้นเมฆนี้ จนเกิดการ
พอกตัวใหญ่ขึ้น แล้วตกลงมาในลักษณะที่ยังเป็นก้อนนํ้าแข็ง
	 ๓.	 นํ้าค้างเกิดจากไอนํ้าควบแน่นเป็นหยดนํ้าเกาะอยู่ตามบริเวณต่างๆ ใกล้พื้นดิน
	 ๔.	 บริเวณที่อุณหภูมิของอากาศตํ่ามาก ไอนํ้าในอากาศกลายเป็นผลึกนํ้าแข็งแล้วตกลงสู่พื้นโลกเรียกว่า หิมะ
	 ๕.	 อากาศเป็นส่วนประกอบของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ ความชื้น และความดันตลอดเวลา
	 ๖.	 อุณหภูมิของอากาศที่แตกต่างกันระหว่างสถานที่ต่างๆ ทำ�ให้เกิดลม
	 ๗.	 ลมบก ลมทะเล เป็นลมประจำ�ถิ่นที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นดินที่อยู่ใกล้ทะเล
	 ๘.	 ศรลมเป็นเครื่องมือวัดทิศทางลม และแอนนิโมมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอัตราเร็วลม
	 ๙.	 การพยากรณ์อากาศเกิดจากการที่นักอุตุนิยมวิทยาตรวจวัดและรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพแล้ว
นำ�มาประมวลผล
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง นํ้า ฟ้า ดวงดาว ระยะเวลาในการสอน ๑๒ ชั่วโมงป.๕
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
674
๓.	คุณลักษณะที่ต้องการพัฒนา
	 ๑.	 ให้ผู้เรียนเป็นคนดีโดยสร้างให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ด้านความมุ่งมั่น
ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์
	 ๒.	 ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง โดยมีความรู้ความเข้าใจ
	 	 –	การเกิดเมฆ หมอก ฝน ลูกเห็บ นํ้าค้าง หิมะ
	 	 –	ลักษณะเมฆในท้องฟ้า
	 	 –	ความดันของบรรยากาศ
	 	 –	ความชื้นของอากาศ
	 	 –	การเกิดลม
	 	 –	วัฏจักรของนํ้า
	 ๓.	 ให้ผู้เรียนมีความสุข โดย
	 	 –	เห็นคุณค่า และมีเจตนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และสร้างผลงานอย่างสร้างสรรค์
	 	 –	ภูมิใจในผลงานของตนเอง ชื่นชมผลงานของผู้อื่น
	 	 –	มีความสนุกในการเรียนรู้ การทดลอง
๔.	การวางแผนการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ
เที่ยวทั่วไทย
(นํ้า ฟ้า ดวงดาว)
ภาษาไทย
การบันทึกการทดลอง
และสรุป
ศิลปะ
–	 การวาดภาพวัฏจักร
	 ของนํ้า
–	 ลักษณะเมฆชนิดต่างๆ
ภาษาอังกฤษ
–	 คำ�ศัพท์เกี่ยวกับการเกิด
	 เมฆหมอกฝน
–	 วัฏจักรของนํ้า
การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี(กทอ.)
     –การออกแบบและสร้าง
        เครื่องมือการวัดความเร็วลม
             การวัดปริมาณนํ้าฝน
                     การวัดความชื้น
                               ของอากาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
675
๒
๑๘
๗
๖
๕ ๔
๓
๕.	การวางแผนการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�แผนภาพ
องค์ประกอบของอากาศ
มาให้นักเรียนดู
–ครูซักถามนักเรียนไอนํ้า
ในอากาศมีความสำ�คัญต่อ
ชีวิตประจำ�วันอย่างไร
นักเรียนปฏิบัติ
การทดลอง
–	 เมฆหมอกฝน
	 เกิดขึ้นได้อย่างไร
–	 ความดันบรรยากาศ
–	 ความชื้นของอากาศ
–	 การเกิดลม
นักเรียนนำ�เสนอ
ผลการทดลองและสรุป
–	 นักเรียนปฏิบัติตาม
กิจกรรมตามใบงาน
ที่ครูมอบหมาย
นักเรียนสร้างชิ้นงานตามความสนใจ
–สร้างเครื่องมือวัดปริมาณนํ้าฝน
    –สร้างเครื่องมือวัดความดัน
          บรรยากาศ
         –สร้างเครื่องมือวัด
           ความชื้นอากาศ
	
นักเรียนนำ�เสนอผลงานของตนเอง
–ครูและนักเรียนร่วมกันแสดง
ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
ครูและนักเรียนประเมินชิ้นงาน
   นำ�ผลงานมาจัดแสดง
   ในชั้นเรียนและแลกเปลี่ยน
           ความรู้ซึ่งกันและกัน
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องการเกิด
เมฆหมอกฝนลักษณะเมฆในท้องฟ้า
	   ความสัมพันธ์อุณหภูมิความชื้น
                และความดันบรรยากาศ
                         ที่มีต่อวัฏจักรนํ้า
นักเรียนร่วมกันคิดอภิปราย
	 เมฆหมอกฝนหิมะนํ้าค้าง
  เกิดขึ้นได้อย่างไร
–ลักษณะเมฆในท้องฟ้าเป็นอย่างไรเที่ยวทั่วไทย
(นํ้า ฟ้า ดวงดาว)
๖.	รายละเอียดของกิจกรรม
	 ๑.	 ครูนำ�แผนภาพองค์ประกอบของอากาศมาให้นักเรียนดู และซักถามนักเรียนไอนํ้าในอากาศมีความสำ�คัญ
ต่อชีวิตประจำ�วันอย่างไร
	 ๒.	 นักเรียนร่วมกันคิดและอภิปราย เมฆ หมอก ฝน หิมะ นํ้าค้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะเมฆในท้องฟ้าเป็น
อย่างไร
	 ๓.	 นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องการเกิดเมฆหมอกฝนลูกเห็บนํ้าค้างหิมะความดันบรรยากาศการเกิดลมความ
สัมพันธ์อุณหภูมิ ความชื้น ความดันบรรยากาศที่มีต่อวัฏจักรของนํ้า
	 ๔.	 นักเรียนปฏิบัติการทดลอง เมฆ ฝน เกิดขึ้นได้อย่างไร ความดันบรรยากาศ ความชื้นของอากาศ การเกิดลม
	 ๕.	 นักเรียนนำ�เสนอผลงานทดลองและสรุป นักเรียนปฏิบัติตามกิจกรรม ตามใบงานที่ครูมอบหมาย
	 ๖.	 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามความสนใจสร้างเครื่องมือวัดปริมาณนํ้าฝนสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศ
สร้างเครื่องมือวัดความชื้น
	 ๗.	 นักเรียนนำ�เสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
	 ๘.	 ครูและนักเรียนประเมินชิ้นงาน นำ�ผลงานมาจัดแสดงในชั้นเรียนและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
676
๗.	สื่อการเรียนการสอน
	 ๑.	ขวดพลาสติกใส	 ๒.	 นํ้าแข็ง
	 ๓.	นํ้าร้อน	 ๔.	 ภาพเมฆชนิดต่างๆ
	 ๕.	ดินนํ้ามัน	 ๖.	 เทอร์มอมิเตอร์
	 ๗.	แก้วนํ้าใส	 ๘.	 ลูกโป่ง
	 ๙.	หลอดกาแฟ	 ๑๐.	 ถุงพลาสติก
	 ๑๑.	ฟองนํ้า	 ๑๒.	 เทียนไข
	 ๑๓.	นํ้าแข็งปนเกลือ	 ๑๔.	 ขวดนํ้า ขวดปากกว้าง
	 ๑๕.	ดิน	 ๑๖.	 ที่จับหลอดทดลองพร้อมขาตั้ง
	 ๑๗.	ภาพการเกิดลมบก ลมทะเล	 ๑๘.	 ริบบิ้น
	 ๑๙.	เครื่องมือวัดทิศทางลม	 ๒๐.	 เครื่องมือวัดปริมาณนํ้าฝน
	 ๒๑.	โปสเตอร์วัฏจักรของนํ้า
๘.	การประเมินตามสภาพจริง
กิจกรรม / พฤติกรรม / ผลงานที่ต้องประเมิน วิธีการ เครื่องมือ
๑.	 สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม การเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม การสังเกต แบบสังเกต การสัมภาษณ์
๒.	ตรวจผลงานเป็นกลุ่ม รายบุคคล ความถูกต้อง
	 ความสมบูรณ์ ความสะอาด ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตรวจผลงาน ใบกิจกรรม
๓.	การนำ�เสนอผลงาน การรายงาน การสังเกต แบบประเมินผลงาน
ผู้ประเมิน
–	 นักเรียนและเพื่อนนักเรียน
–	 ครู
–	 ผู้ปกครอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
๙.	สรุปผลการเรียนการสอน
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
677
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง เมฆ หมอก ฝน เกิดขึ้นได้อย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ให้นักเรียนเติมคำ�ใน ให้สมบูรณ์ พร้อมระบายสีให้สวยงาม
วิธีทดลอง ผลการทดลอง
๑.	 ต้มนํ้าจนเริ่มมีไอเกิดขึ้น แล้ววางถ้วยใส่นํ้าแข็งบนบีกเกอร์ ...........................................................................................................................
๒.	เมื่อต้มนํ้าต่อไป ...........................................................................................................................
๓.	เมื่อต้มนํ้าต่อไปจนนํ้าเริ่มเดือด ...........................................................................................................................
สรุปผลการทดลอง
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
คำ�ชี้แจง	 ให้นักเรียนเขียนภาพการทดลอง
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
678
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ชนิดของเมฆ
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๒
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ให้นักเรียนตอบคำ�ถามต่อไปนี้
	 ๑.	 เมฆมีทั้งหมดกี่ชนิด.............................................................................................................................................................................................................................
	 ๒.	 เมฆแบ่งตามระดับความสูงได้แก่
	 	 ๒.๑	 เมฆระดับล่าง  ได้แก่............................................................................................................................................................................................................
	 	 ๒.๒	 เมฆระดับกลาง  ได้แก่.........................................................................................................................................................................................................
	 	 ๒.๓	 เมฆระดับสูง  ได้แก่...............................................................................................................................................................................................................
	 ๓.	 ให้นักเรียนบอกสภาพอากาศของเมฆชนิดต่างๆ ในตาราง พร้อมทั้งวาดภาพเมฆและระบายสีให้สวยงาม
ชื่อเมฆ สภาพอากาศ วาดภาพเมฆ
๑.	 เมฆสเตรตัส (เมฆแผ่น)
.....................................................................................
.....................................................................................
๒.	เมฆคิวมูลัส (เมฆก้อน)
.....................................................................................
.....................................................................................
๓.	เมฆเซอรัส (เมฆริ้ว)
.....................................................................................
.....................................................................................
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
679
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง เมฆในท้องฟ้ามีลักษณะอย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๓
ใบกิจกรรม
ลักษณะเมฆที่พบบนท้องฟ้า
ชนิดเมฆ...............................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 	 สังเกตที่.................................................................................................................................
	 	 	 วันที่.....................เดือน........................................................ พ.ศ...................................
	 	 	 เวลา......................................................น.
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
680
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง เราจะวัดปริมาณนํ้าฝนได้อย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๔
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 บันทึกปริมาณฝนที่วัดได้เปรียบเทียบกับปริมาณฝนที่วัดโดยกรมอุตุนิยมวิทยา จำ�นวน ๗ วัน
สถานที่
ที่นักเรียนวัด
ปริมาณฝนรายวัน (มิลลิเมตร) สถานีวัด
กรมอุตุนิยม
วิทยา
ปริมาณฝนรายวัน (มิลลิเมตร)
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ เฉลี่ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ เฉลี่ย
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
681
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ลูกเห็บ นํ้าค้าง และหิมะเป็นอย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๕
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 บันทึกผลการสังเกต บริเวณต่างๆ ใกล้พื้นดิน
บริเวณที่สังเกต วันที่หนึ่ง วันที่สอง วันที่สาม
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
682
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ในวันหนึ่งๆ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๖
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ตารางบันทึกอุณหภูมิของอากาศ
บริเวณที่ตรวจวัด
อุณหภูมิอากาศ ( ํC)
๘.๐๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น.
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
683
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ความดันบรรยากาศวัดได้อย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๗
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
สถานที่วัดความดันบรรยากาศ
วันที่..................ถึง.................. เดือน...................................................พ.ศ. ..............................
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
684
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ความชื้นของอากาศคืออะไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๘
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
กิจกรรมการทดลอง ผลการสังเกต
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
685
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ความชื้นของอากาศวัดได้อย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๙
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
ผลการตรวจวัดความชื้นในอากาศ
สถานที่วัดความชื้น
ความชื้นในอากาศ (หน่วย)
๘.๐๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น.
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
686
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๐
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
ตารางบันทึกผลการสังเกต
กิจกรรม
ผลการสังเกต
ก่อนแช่นํ้าร้อน ขณะที่แช่นํ้าร้อน
กิจกรรม ผลการสังเกต
๑.	 รินอากาศจากขวดที่แช่ในตู้เย็นลงบนเปลวเทียน ............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
๒.	รินอากาศจากขวดที่อุณหภูมิห้องลงบนเปลวเทียน ............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
	 w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
687
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ลมแรงแค่ไหน
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๑
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ให้นักเรียนศึกษาลักษณะของลม และความเร็วของลมจากสไลด์แล้วตอบลงในตารางให้ถูกต้อง
ชื่อลม ลักษณะของลม ความเร็วของลม (กม./ชม.)
๑.	 ลมสงบ ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๒.	ลมเบา ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๓.	ลมเฉื่อยเบา ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๔.	ลมเฉื่อยปานกลาง ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๕.	ลมเฉื่อยค่อนข้างแรง .
......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๖.	 ลมแรง ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๗.	พายุ ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
๘.	พายุไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน ......................................................................................................................
......................................................................................................................
...........................................................................
...........................................................................
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
688
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ดินและนํ้ารับและคายความร้อนได้เร็วเท่ากันหรือไม่
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๒
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
ตารางบันทึกผลการสังเกต (วันที่........................ เดือน................................................ พ.ศ. ........................ เวลา ๑๒.๔๕ น. ถึง ๑๓.๓๐ น.)
เวลา (นาที)
อุณหภูมิเมื่ออยู่กลางแดด ( ํC) อุณหภูมิเมื่ออยู่ในที่ร่ม ( ํC)
ดิน นํ้า ดิน นํ้า
เริ่มทดลอง ................................................ ................................................ ................................................ ................................................
๕ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................
๑๐ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................
๑๕ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................
๒๐ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
689
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ลมพัดไปทางทิศใด มีความเร็วเท่าไร
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๓
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
ตารางบันทึกการตรวจวัดทิศทางและความเร็วลม
สถานที่วัด..........................................................................................................................
เวลา
วันที่..........เดือน......................พ.ศ............... วันที่..........เดือน......................พ.ศ............... วันที่..........เดือน......................พ.ศ...............
ทิศทาง
ความเร็ว
(รอบ/นาที)
ทิศทาง
ความเร็ว
(รอบ/นาที)
ทิศทาง
ความเร็ว
(รอบ/นาที)
๐๘.๐๐ ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... .......................................
๑๒.๐๐ ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... .......................................
๑๕.๐๐ ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... .......................................
	 ระยะทางที่ถ้วยหมุน	 =	 จำ�นวนรอบ × 2πr
			 22	 เมื่อ π	 =	 ––––––			 7
	 r = รัศมีของถ้วย	 =	 ๑๐ เซนติเมตร
	 	 	 ระยะทางที่ถ้วยหมุน	 อัตราเร็วของลม	 =	 ——————————
	 	 	 เวลาที่วัด
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
690
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ใครบอกเราเกี่ยวกับสภาพอากาศ
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๔
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
สถานที่ตรวจวัดอากาศ..............................................................................................................................................................
ระหว่างวันที่..................ถึง..................เดือน......................................................พ.ศ...................
ตารางบันทึกผลการตรวจวัดสภาพอากาศ วันที่..................เดือน......................................................พ.ศ.....................................
รายการที่สังเกต
สภาพอากาศ
เวลา ๘.๐๐ น. เวลา ๑๒.๐๐ น. เวลา ๑๕.๐๐ น.
อุณหภูมิ ( ํC) ............................................................... ............................................................... ...............................................................
ปริมาณนํ้าฝน (มิลลิเมตร) ............................................................... ............................................................... ...............................................................
ทิศทางลม ............................................................... ............................................................... ...............................................................
ชนิดลม ............................................................... ............................................................... ...............................................................
ลักษณะเมฆ ............................................................... ............................................................... ...............................................................
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
691
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง ปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๕
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
ตอนที่ ๑
	 ๑.	 ตัวเลขบนซองของแผนที่ดาวแสดงข้อมูลอะไร
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๒.	 อันดับความสว่างของดาวฤกษ์จัดไว้ในช่วงใดถึงช่วงใด อย่างไร ใช้แทนด้วยสัญลักษณ์ใด
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ..........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๓.	 ในวันที่ ๕ กรกฎาคม เวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. ดาวใดที่ตำ�แหน่งทำ�มุมเงย 15 ํ ทางทิศตะวันออก
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ..........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๔.	 ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ดาวตานกอินทรีทำ�มุมเงย 90 ํ ที่ประมาณเวลาใด
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ..........................................................................................................................................................................................................................................................................
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
692
	 ๕.	 ในวันที่ ๑๓ เมษายน เวลา ๒๐.๐๐ น. มีกลุ่มดาวอะไรบ้างอยู่บนฟ้าทางทิศใต้ ลองวาดรูปกลุ่มดาวที่พบ เขียนทิศ
และตำ�แหน่งกำ�กับไว้ด้วย ๒ - ๓ กลุ่ม
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ..........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๕.	 เปลี่ยนเวลาที่สังเกต และสังเกตว่า กลุ่มดาวในแผนที่ดาวมีการเคลื่อนที่อย่างไรในคืนหนึ่งๆ
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ..........................................................................................................................................................................................................................................................................
ตอนที่ ๒	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
วันที่...............................เดือน.................................................................พ.ศ..............................
ชื่อกลุ่มดาว......................................................................................................................................
เวลา
ตำ�แหน่ง
ภาพวาดของกลุ่มดาว
ทิศ มุมเงย
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
693
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง โลกหมุนรอบตัวเองเกิดอะไรขึ้น
ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่.................................
แผ่นที่
๑๖
ใบกิจกรรม
คำ�ชี้แจง	 ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้
	 ๑.	 เมื่อหมุนลูกโลกไป แสงไฟฉายจะตกกระทบตุ๊กตาที่ตำ�แหน่งเดิมของตุ๊กตาหรือไม่ อย่างไร
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๒.	 ในขณะที่โลกหมุนไป แสงไฟตกกระทบตุ๊กตาตลอดเวลาหรือไม่ เพราะเหตุใด
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๓.	 แสงไฟฉายจะเริ่มตกกระทบตุ๊กตาทางด้านใดของตุ๊กตา และเริ่มตกกระทบอีกเมื่อโลกหมุนไปกี่รอบ
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๔.	 ถ้าเปรียบเทียบไฟฉายเป็นดวงอาทิตย์ และกำ�หนดให้ทิศที่เริ่มเห็นแสงอาทิตย์ในตอนเช้าเป็นทิศตะวันออก ทิศที่
เห็นแสงอาทิตย์ลับไปในตอนเย็นให้เป็นทิศอะไร
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 ๕.	 การทดลองนี้จะสรุปผลได้อย่างไร
		...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
	 	 ...........................................................................................................................................................................................................................................................................
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
694
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง เมฆ
เนื้อหาสาระสำ�หรับนักเรียน
เมฆ (Clouds)
นํ้าในบรรยากาศอยู่ในสถานะแก๊ส (ไอนํ้า) ของเหลว (หยดนํ้าฝน) และของแข็ง (ผลึกนํ้าแข็งหรือลูกเห็บ)
ไอนํ้าในบรรยากาศมีลักษณะคล้ายกับแก๊สชนิดอื่นๆ คือ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะ
สม ไอนํ้าซึ่งอยู่ในสถานะแก๊สจะเปลี่ยนเป็นอนุภาคของแข็งหรืออนุภาคของเหลวได้ ลักษณะเช่นนี้แตกต่างจากแก๊สชนิด
อื่นๆ ถ้าอุณหภูมิอากาศเท่ากับอุณหภูมิจุดนํ้าค้าง ไอนํ้าจะกลั่นตัวเป็นหยดนํ้า (อนุภาคของเหลว) ถ้าอุณหภูมิตํ่ากว่า
จุดเยือกแข็งซึ่งมักจะพบในบริเวณที่สูงขึ้นไปในบรรยากาศ ไอนํ้าจะกลายเป็นก้อนนํ้าแข็งเล็กๆ (อนุภาคของแข็ง) อาจ
กล่าวได้ว่าเมฆ คือรูปแบบที่มองเห็นได้ของผลึกนํ้าแข็งหรือหยดนํ้า
การที่เรามองเห็นเมฆชนิดใดขึ้นอยู่กับสภาพอากาศขณะนั้นหรือที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นเมฆบางชนิดเกิดขึ้นเมื่ออากาศ
ดีเท่านั้น ในขณะที่บางชนิดจะพาฝนหรือฝนฟ้าคะนองมาด้วย ชนิดของเมฆสามารถบอกถึงระดับความสูงต่างๆ กันได้  
ดังนั้นนักเรียนสามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการเกิดเมฆลักษณะต่างๆ
ทุกคนคงรู้จักเมฆแต่ไม่ใช่ทุกคนที่ตระหนักว่าเมฆมีบทบาทสำ�คัญต่อทั้งสภาพอากาศและภูมิอากาศ เมฆเป็น
แหล่งของนํ้าฝนและมีอิทธิพลต่อปริมาณของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่โลกจะได้รับ นอกจากนี้เมฆยังเป็นฉนวนป้องกัน
พื้นผิวและบรรยากาศระดับตํ่าของโลกด้วย ดังนั้นเมฆจึงมีบทบาทที่สลับซับซ้อนต่อสภาพภูมิอากาศทั้งระบบในระยะ
เวลาหนึ่งปริมาณพื้นที่ผิวของโลกครึ่งหนึ่งถูกปกคลุมด้วยเมฆที่จะสะท้อนแสงแดดส่วนหนึ่งกลับออกไปจึงทำ�ให้โลกเย็น
กว่าที่ควรจะเป็น และในขณะเดียวกันเมฆก็ได้รับพลังงานความร้อนจากพื้นผิวโลกแล้วจึงปล่อยกลับคืนออกมา ทำ�ให้
บริเวณนั้นร้อนกว่าที่ควรจะเป็น จากการตรวจวัดด้วยดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าโดยเฉลี่ยแล้วเมฆทำ�ให้อุณหภูมิของ
บรรยากาศลดลง นักวิทยาศาสตร์คำ�นวณว่าถ้าหากไม่มีเมฆอยู่ในบรรยากาศโลกเลย อุณหภูมิของบรรยากาศโลกโดยเฉลี่ย
จะสูงขึ้นกว่าเดิมประมาณ ๓๐ องศาเซลเซียส
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
695
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง หยาดนํ้าฝน
เนื้อหาสาระสำ�หรับนักเรียน
หยาดนํ้าฟ้า (Precipitation)
การตรวจวัดที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งคือการตรวจวัดหยาดนํ้าฟ้า คำ�ว่า “หยาดนํ้าฟ้า” หมายถึงนํ้าทุกรูปแบบที่ตก
จากฟ้าลงสู่พื้นโลก หยาดนํ้าฟ้าที่เป็นของเหลว ได้แก่ นํ้าฝนและนํ้าค้าง หยาดนํ้าฟ้าที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิมะและลูกเห็บ
โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ที่มีนํ้า และเป็นความจริงที่โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีนํ้า
ในรูปของเหลวปกคลุมพื้นผิว สิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดมีชีวิตอยู่ได้ด้วยนํ้า นํ้าจากมหาสมุทร พื้นดิน ระเหยกลายเป็นไอ
สู่บรรยากาศ และกลับคืนสู่ผิวโลก ในรูปหยาดนํ้าฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรของนํ้า (Hydrologic cycle) ในวัฏจักรนํ้า
หยาดนํ้าฟ้าเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของสภาพภูมิอากาศบริเวณที่มีหยาดนํ้าฟ้าน้อยจะเกิดทะเลทราย บริเวณที่มีหยาดนํ้า
ฟ้ามากจะมีพืชปกคลุมสมบูรณ์ นํ้าเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการเกษตร เป็นแหล่งนํ้าจืดและในบางแห่งใช้
เป็นแหล่งพลัังงานด้วย
บทบาทที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งของนํ้าบนผิวโลก คือ การถ่ายเทความร้อนจากเขตร้อน ไปยังเขตอบอุ่นที่อยู่
ณ เส้นละติจูดที่สูงขึ้นไปโดยการเคลื่อนที่ของมวลนํ้าในมหาสมุทร (กระแสนํ้า) และนํ้าในบรรยากาศ การที่พื้นที่ใน
เขตร้อนมีอากาศร้อนแต่พื้นที่ในเขตอาร์กติกและแอนตาร์กติกมีอากาศเย็นเนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์ที่เข้ามายังผิวโลก
บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีความเข้มมากกว่าในบริเวณขั้วโลกนั่นเอง
พลังงานจากดวงอาทิตย์ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนโดยมหาสมุทรเป็นผลให้นํ้าในมหาสมุทร
ระเหยกลายเป็นไอเข้าสู่บรรยากาศ และเคลื่อนตัวสูงขึ้นหรือเคลื่อนตัวไปยังบริเวณเส้นละติจูดที่สูงขึ้น ซึ่งมีอุณหภูมิ
ตํ่ากว่าทำ�ให้ไอนํ้าควบแน่น(เปลี่ยนจากสถานะแก๊สเป็นของเหลว)เป็นละอองนํ้าเล็กๆจำ�นวนมากและกลายเป็นเมฆแล้ว
กลายเป็นหยาดนํ้าฟ้า พร้อมๆ กับปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศ อาจกล่าวได้ว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์สามารถส่งผ่าน
จากบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ไปยังบริเวณขั้วโลก โดยเปลี่ยนแปลงสภาวะของนํ้าจากของเหลวเป็นแก๊ส และจากแก๊ส
กลับกลายเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่งในบรรยากาศ
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
696
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง ความเป็นกรดของหยาดนํ้าฝน
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
นํ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ดังนั้นองค์ประกอบทางเคมีของนํ้าจึงส่งผลกระทบ
ต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและในนํ้า หยาดนํ้าฟ้าตามปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อย (pH ประมาณ ๕.๖) ที่เป็นเช่นนี้
เนื่องจากแก๊สชนิดต่างๆ ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศของโลกตามธรรมชาติ และการเผาไหม้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดแก๊สที่
ทำ�ปฏิกิริยากับไอนํ้าแล้วทำ�ให้เกิดหยาดนํ้าฟ้าที่มี pH ลดลงตํ่ากว่า ๕.๖ “ความเป็นกรดของหยาดนํ้าฟ้า” สร้างความ
เสียหายโดยตรงต่อพืชในระยะยาว ผลที่สำ�คัญที่สุดคือ ทำ�ให้พืชอ่อนแอลง ขาดความต้านทานโรค แมลงและความ
แห้งแล้งนอกจากนี้หยาดนํ้าฟ้าที่มีสภาพเป็นกรดชะล้างสารอาหารในดินและทำ�ปฏิกิริยากับอะลูมินัมในดินทำ�ให้อะลูมินัม
กลายเป็นอะลูมินัมไอออน (aluminum ions) เป็นอันตรายต่อรากพืช ถ้าปริมาณอะลูมินัมไอออนถูกพัดพาลงไปใน
ทะเลสาบหรือลำ�ธารจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปลาหลายชนิด
นอกเหนือจากสิ่งมีชีวิตแล้ว หยาดนํ้าฟ้าที่มีความเป็นกรดยังสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างต่างๆ อีกด้วย
ตัวอย่างที่พบคือ ทำ�ให้มีการกัดกร่อนของโลหะ และการสึกหรอของโครงสร้างหินรวมทั้งรูปปั้นต่างๆ เพิ่มขึ้น ในหลาย
ประเทศอาคารที่มีชื่อเสียงและงานประติมากรรมหลายแห่งได้รับความเสียหายในอัตราที่เพิ่มขึ้น
ความเป็นกรดหรือค่าpHของนํ้ามีการเปลี่ยนแปลงเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปนํ้าควบแน่นในบรรยากาศ
จะมีความเป็นกลางคือค่า pH 7.0 ต่อมาเมื่อมีแก๊สต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และอนุภาคเล็กๆ จากบรรยากาศ
ละลายเข้าไปในหยดนํ้า จะทำ�ให้นํ้ามี pH ลดลง เมื่อนํ้าไหลบนพื้นผิวและซึมลงดินเกิดปฏิกิริยาเคมีทำ�ให้ค่า pH ของ
นํ้าเปลี่ยนแปลงไปอีก นํ้าจากแหล่งต่างๆ จะค่อยๆ ไหลมารวมกันในแม่นํ้า ลำ�ธาร ทะเลสาบแล้วไหลลงสู่มหาสมุทร
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
ลูกเห็บเกิดช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ทางภาคตะวัันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน
เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ตามภูมิภาคดังกล่าว มีแนวปะทะของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อนเกิดขึ้น ทำ�ให้เกิดพายุ
ฝนฟ้าคะนอง ซึ่งกระแสอากาศจะหอบเอาเม็ดฝนขึ้นลงภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งอุณหภูมิตํ่ากว่าศูนย์องศาจึงเกิด
การพอกนํ้าแข็งเป็นชัั้นๆ จนมีขนาดใหญ่ หนักเกินกว่าบรรยากาศจะอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมาในสภาพก้อนนํ้าแข็ง ขนาด
ของลูกเห็บมีตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า ๑ เซนติเมตร จนขนาดใหญ่กว่าลูกเทนนิส
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
697
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง วัฏจักรของนํ้า
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนํ้า
ตัวเรามิใช่แค่ดื่มนํ้าเท่านั้น แต่ตัวเรายังเป็นนํ้าอีกด้วย เพราะในสิ่งมีชีวิตมีนํ้าเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ
๕๐ - ๙๐ ของนํ้าหนักตัวนํ้าเป็นสิ่งที่มากที่สุดและสำ�คัญที่สุดในโลก นํ้าหล่อเลี้ยงชีวิตพืชและสัตว์นํ้ามีบทบาทสำ�คัญ
ที่ทำ�ให้เกิดสภาพภูมิอากาศของโลกช่วยรักษารูปทรงของโลกไว้ด้วยการกัดเซาะและกระบวนการอื่นๆและนํ้ายังปกคลุม
ผิวโลกของเราอยู่ถึงร้อยละ ๗๐ อีกด้วย
นํ้ามีการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องระหว่างนํ้าที่ผิวโลกกับนํ้าในบรรยากาศ ซึ่งเรียกว่า วัฏจักรของนํ้า และจัดเป็น
หนึ่งในกระบวนการพื้นฐานที่มีในธรรมชาติ ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือจากปัจจัยอื่นๆ จะทำ�ให้นํ้าที่อยู่ในมหาสมุทร
แม่นํ้าทะเลสาบดินและพืชระเหยสู่อากาศกลายเป็นไอนํ้าเมื่อไอนํ้าลอยตัวสู่บรรยากาศจะเย็นตัวลงและเปลี่ยนสภาพจาก
ไอนํ้ากลายเป็นของเหลวหรือนํ้าแข็ง ซึ่งทำ�ให้เกิดเมฆขึ้น เมื่อหยดนํ้าเล็กๆ หรือผลึกนํ้าแข็งมีขนาดใหญ่มากพอ แล้วก็จะ
ตกกลับลงสู่ผิวโลกในรูปของฝนหรือหิมะเมื่อนํ้าหรือฝนหรือหิมะตกลงบนผิวโลกแล้วเราพบว่านํ้าจะสร้างปรากฏการณ์
อย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างต่อไปนี้คือนํ้าบางส่วนจะซึมหายลงไปในดินซึ่งอาจจะถูกพืชดูดไปใช้ต่อหรืออาจจะซึมลึก
ลงไปจนถึงแหล่งนํ้าใต้ดินนํ้าบางส่วนจะไหลลงสู่ลำ�ธารแม่นํ้าหรือมหาสมุทรและนํ้าบางส่วนจะระเหยกลายเป็นไอกลับ
คืนสู่สภาพอากาศอีกครั้ง
นํ้าที่อยู่ในทะเลสาบ หิมะที่อยู่บนภูเขา ความชื้นในอากาศหรือหยดนํ้าค้างยามเช้า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดก็คือ ส่วน
ของวัฏจักรของนํ้าทั้งสิ้นการสูญเสียปริมาณนํ้าจากผิวโลกทั้งหมดในแต่ละปีจะมีค่าเท่ากับปริมาณหยาดนํ้าฟ้าทั้งหมดบน
โลกนี้การเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในวัฏจักรของนํ้าส่วนใดส่วนหนึ่งนั้นเช่นการตัดไม้ทำ�ลายป่าหรือการใช้ที่ดิน
ไม่ถูกต้องในรูปแบบต่างๆ โดยมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของนํ้าในส่วนที่เหลือ
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
698
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง ชนิดของเมฆ
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
การสังเกตชนิดของเมฆ
กลุ่มคำ�ที่ใช้บรรยายลักษณะของเมฆชนิดต่างๆ มีอยู่ ๕ กลุ่มคำ� ดังต่อไปนี้
เซอร์โร (CIRRO) หรือ เมฆระดับสูง
อัลโต (ALTO) หรือ เมฆระดับกลาง
คิวมูลัส (CUMULUS) หรือ เมฆเป็นก้อนกระจุก
สตราตัส (STRATUS) หรือ เมฆเป็นชั้นๆ
นิมบัส (NIMBUS) หรือ เมฆที่ก่อให้เกิดฝน
เมฆจัดจำ�แนกได้ ๑๐ ชนิด โดยใช้ชื่อตามคำ�อธิบายลักษณะข้างต้น และใช้
เมื่อรายงานชนิดของเมฆในพื้นที่ของนักเรียนดังต่อไปนี้
เมฆระดัับสูง
–	 เซอร์รัส เมฆชนิดนี้มีลักษณะเบา มองดูคล้ายขนนกสีขาว มักเป็นริ้วๆ
ประกอบด้วยผลึกนํ้าแข็ง
–	 เซอร์โรคิวมูลัส เมฆชนิดนี้มีรูปแบบเป็นชั้นบางสีขาว ลักษณะคล้ายปุย
ฝ้ายแต่ไม่มีเงาเมฆ ประกอบด้วยผลึกนํ้าแข็ง หรือบางครั้งอาจเป็นหยด
นํ้าที่เย็นจัด
–	 เซอร์โรสตราตัสเมฆชนิดนี้มีลักษณะบางเกือบโปร่งใสหรือเป็นชั้นสีขาว
ประกอบด้วยผลึกนํ้าแข็ง มักปกคลุมท้องฟ้าบางส่วนหรือเกือบทั้งหมด
บนท้องฟ้าและสามารถทำ�ให้เกิดลักษณะอาทิตย์ทรงกลด
เมฆระดับกลาง
–	 อัลโตสตราตัส เมฆชนิดนี้มีรูปแบบคล้ายม่านสีฟ้าหรือเทาปกคลุม
ท้องฟ้าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน สามารถมองเห็นแสงลอดออกมาได้
โดยไม่ทำ�ให้เกิดอาทิตย์ทรงกลด
เซอร์รัส
เซอร์โรคิวมูลัส
เซอร์โรสตราตัส
อัลโตสตราตัส
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
699
–	 อัลโตคิวมูลัส เมฆชนิดนี้มีรูปแบบคล้ายคลื่นในทะเล มีสีขาวหรือเทา
และทำ�ให้เกิดเงาประกอบด้วยหยดนํ้าเป็นส่วนใหญ่และบางครั้งมีผลึก
นํ้าแข็ง
เมฆระดับตํ่า
–	 สตราตัสเมฆชนิดนี้มีสีเทาและทอดตัวใกล้กับพื้นผิวโลกมีลักษณะเป็น
แผ่นแต่บางครั้งอาจพบเป็นแบบหย่อม เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝน
–	 สตราโตคิวมูลัสเมฆชนิดนี้มีสีขาวหรือเทาส่วนฐานของเมฆจะค่อนข้าง
กลมมากกว่าแบนและสามารถก่อตัวขึ้นจากเมฆที่เป็นสตราตัสเดิมหรือ
จากการที่เมฆชนิดคิวมูลัสกระจายตัวออกส่วนบนจะมีลักษณะค่อนข้าง
แบน
–	 นิมโบสตราตัสเมฆชนิดนี้มีรูปแบบเป็นชั้นสีเข้มหรือสีเทาซึ่งจะบดบัง
แสงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่ และมีฝนตกต่อเนื่อง
–	 คิวมูลัส เมฆชนิดนี้มีส่วนฐานแบน ส่วนบนนูนแน่นขึ้น คล้ายดอก
กะหลํ่าขนาดใหญ่ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นแสงสว่างสีขาว ส่วน
ฐานมักมีสีเข้ม เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝน
–	 คิวมูโลนิมบัส เมฆชนิดนี้มีขนาดใหญ่แน่น มีผิวราบ และมีส่วนบน
ของเมฆสูงใหญ่มีลัักษณะคล้ายภูเขาไฟขนาดใหญ่หรือทั่งมักทำ�ให้เกิด
ฟ้าแลบฟ้าร้อง ลูกเห็บ บางครั้งมักก่อให้เกิดพายุทอร์นาโด
w w w w w w w w
อัลโตคิวมูลัส
สตราตัส
สตราโตคิวมูลัส
นิมโบสตราตัส
คิวมูลัส
คิวมูโลนิมบัส
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
700
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง ลม
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
โลกมีบรรยากาศที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราเรียกว่า ลม ลมเกิดขึ้นเมื่อเกิดความแตกต่างระหว่างความ
กดอากาศ อิทธิพลจากดวงอาทิตย์ ทำ�ให้บริเวณต่างๆ ของโลกร้อนไม่เท่ากัน บริเวณที่อากาศร้อน อากาศจะลอยตัวสูงขึ้น
ทำ�ให้ความกดอากาศตํ่าลงในขณะที่บริเวณอากาศเย็น อุณหภูมิจะตํ่า ความกดอากาศจะสูงขึ้นเพราะอากาศจะจมตัว ซึ่ง
เกิดการหมุนเวียนอากาศ จากบริเวณอากาศเย็นที่มีความกดอากาศสูง ไปยังบริเวณอากาศร้อนที่มีความกดอากาศตํ่า
บรรยากาศของโลกจะมีการปรับตัวให้มีความกดอากาศเท่าๆ กัน ดังนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอากาศจะไหลไปแทนที่
อากาศที่มีความกดอากาศตํ่ากว่าตลอดเวลา
–	 ลมหุบเขา (Valley Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางวัน อากาศตามภูเขาและลาดเขาร้อน เพราะได้รับความร้อน
จากดวงอาทิตย์เต็มที่ส่วนอากาศที่หุบเขาเบื้องล่างมีความเย็นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ ทำ�ให้มีลมเย็นจากหุบเขา
เบื้องล่างมีความเย็นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ ทำ�ให้มีลมเย็นจากหุบเขาเบื้องล่างพัดไปตามลาดเขาขึ้นสู่เบื้องบน
–	 ลมภูเขา​ (Mountain Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางคืน อากาศตามภูเขาและลาดเขาจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว
ด้วยการคายความร้อนออก อากาศตามลาดเขาที่เย็นและหนักกว่าอากาศบริเวณใกล้เคียงจึงไหลออกมา
ทำ�ให้มีลมพัดลงมาตามลาดเขาสู่หุบเขาเบื้องล่าง
–	 ลมตะเภาและลมว่าว เป็นลมท้องถิ่นในประเทศไทย โดยลมตะเภาเป็นลมที่พัดจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือคือ
พัดจากอ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง ในสมัยโบราณลมนี้จะช่วยพัดเรือสำ�เภาซึ่งเข้ามาค้าขายให้แล่นไป
ตามลำ�นํ้าเจ้าพระยา และพัดในช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หรืออาจจะเรียกว่าลมข้าวเบาเพราะพัดในช่วงที่ข้าวเบากำ�ลังออกรวง
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ลักษณะอากาศถูกควบคุมโดยการหมุนเวียนของกระแส
อากาศประจำ�ฤดูกาลและเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะประจำ�ท้องถิ่นของพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นลมที่เราควรรู้จัักจึงแบ่งเป็น ๒
พวกใหญ่ๆ คือ ลมประจำ�ฤดูกาล และลมประจำ�ถิ่น
–	 ลมประจำ�ฤดูกาล เป็นลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยช่วงระยะเวลาค่อนข้างยาวนานอย่างน้อยตั้งแต่ ๓ เดือน
ขึ้นไป เช่น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมอุตรา) และลมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมตะโก้) ลมตะวัน
ออกเฉียงใต้ (ลมหัวเขา) ลมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมพัทยา) ลมใต้ (ลมตะเภา) ลมเหนือ (ลมว่าว) ลมตะวันตก
ลมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสภาวะอากาศ ของแต่ละภาคของประเทศไทยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ของภาค
นั้นๆ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓
701
–	 ลมประจำ�ถิ่นเป็นลมที่เกิดขึ้นกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะเช่นลมภูเขาลมหุบเขาซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณ
เทือกเขา และลมบก ลมทะเล ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล
เกณฑ์ความเร็วลมผิวพื้น คือ ความเร็วลมที่ระดับสูง มาตรฐาน ๑๐ เมตร เหนือพื้นที่ดินในบริเวณที่โล่งแจ้ง
เครื่องมือวัดทิศทางลม เรียกว่า ศรลม มีลักษณะเป็นลูกศรที่มีหางเป็นแผ่นใหญ่กว่าหัวลูกศร บางชนิดแพนหางเดียว
บางชนิดแพนหางสองหาง ศรลมจะหมุนรอบตัวตามแนวราบ ศรลมจะลู่ลมอยู่ในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัด เมื่อ
ลมพัดมาหางลูกศรซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกลมผลักแรงกว่าหัวลูกศร หัวลูกศรจึงชี้ไปทิศทางที่ลมพัดมา เครื่องมือวัดอัตรา
เร็วลม เรียกว่า แอนนีมอมิเตอร์ มีหลายรูปแบบ บางรูปแบบทำ�เป็นถุงปล่อยลู่ บางรูปแบบทำ�เป็นรูปถ้วยครึ่งทรงกลม
วัดอัตราเร็วลมโดยสังเกตการยกตัวของถุง หรือนับจำ�นวนรอบของถ้วยที่หมุนในหนึ่งหน่วยเวลา
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
702
ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เรื่อง ความชื้นของอากาศ
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
ขณะที่มนุษย์และสัตว์หายใจออกจะเอาไอนํ้าออกมาด้วย โดยปกติจะมองไม่เห็น เพราะไอนํ้ามีสถานะเป็นแก๊ส
แต่ถ้าไปสัมผัสกับพื้นผิวที่เย็นกว่า ไอนํ้าในลมหายใจจะควบแน่นกลายเป็นละอองนํ้าเล็กๆ มองเห็นเป็นฝ้าขาวๆ เช่น
เดียวกับในฤดูหนาว ขณะเราหายใจออกจะมองเ็นลมหายใจออกเป็นหมอกขาวๆ เหมือนปรากฏการณ์ขณะนํ้าเดือด
ไอนํ้าเดือดออกจากพวกกาออกมาสัมผัสอากาศที่เย็นกว่า ก็จะควบแน่นเป็นละอองนํ้าเล็กๆ
ข้อเสนอแนะ
ถ้าหากกระดาษดำ�เก่ามีรอยแตกซึ่งจะมีผลทำ�ให้นํ้าซึมเช้าไปในเนื้อไม่ได้ในการทดลองวาดรูปด้ยนํ้าบนกระดาศ
ให้เปลี่ยนเป็นให้นักเรียนใช้มือชุบนํ้าแล้ทาที่แขน และสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู
การวัดความชื้นของอากาศนิยมบอกเป็นความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งอัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงใน
อากาศกับมวลของไอนํ้าสูงสุดที่อากาศสามารถรับไว้ได้ ณ อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกันคิดเป็นร้อยละ ดังนั้นจึงสามารถ
หาความชื้นสัมพัทธ์ได้
	 มวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริง
	 _________________________________________	 ×	๑๐๐
	 มวลไอนํ้าที่อากาศรับได้มากที่สุด
	 ณ อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน
หากอากาศอิ่มตัวด้วยไอนํ้า หมายความว่า อากาศไม่สามารถรับไอนํ้าไว้ได้อีก ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
ขณะนั้นจะเป็น ๑๐๐% ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งมีค่าพอดีที่ทำ�ให้รู้สึกสบายมีค่าประมาณ ๖๐%
w w w w w w w w

More Related Content

Similar to ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง น้ำ ฟ้า ดวงดาว+ป.6+290+dltvscip6+P4 6 u05-03

ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_socPrachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_socPrachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_socแผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_socPrachoom Rangkasikorn
 
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...Prachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา ป.2+...
ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา  ป.2+...ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา  ป.2+...
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา ป.2+...Prachoom Rangkasikorn
 
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Proud N. Boonrak
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...Prachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...Prachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...
ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05Prachoom Rangkasikorn
 
เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36
เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36
เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36krupornpana55
 

Similar to ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง น้ำ ฟ้า ดวงดาว+ป.6+290+dltvscip6+P4 6 u05-03 (20)

Astroplan15
Astroplan15Astroplan15
Astroplan15
 
Astroplan12
Astroplan12Astroplan12
Astroplan12
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอ...
 
Astroplan14
Astroplan14Astroplan14
Astroplan14
 
Astroplan20
Astroplan20Astroplan20
Astroplan20
 
PISA2015THAILAND
PISA2015THAILANDPISA2015THAILAND
PISA2015THAILAND
 
Astroplan16
Astroplan16Astroplan16
Astroplan16
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u4_soc
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 4+426+dltvsocp2+T2 p1 3-u4_soc
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_socแผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 1-3 หน่วย 4+409+dltvsocp1+T2 p1 3-u4_soc
 
Astroplan13
Astroplan13Astroplan13
Astroplan13
 
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3...
 
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา ป.2+...
ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา  ป.2+...ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา  ป.2+...
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ดิน น้ำ อากาศ บ้านเรา ป.2+...
 
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง แรง ความดัน+ป.5+273+dltvsci...
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง แรงความดัน+ป.6+290+dltvscip6+...
 
Sun
SunSun
Sun
 
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...
ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...
 
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05
แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรือง ท้องฟ้าบ้านเรา+ป.3+239+dltvscip3+P1 3 u05
 
เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36
เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36
เฉลยข้อสอบ O net ปี 2552 ข้อ 36
 

More from Prachoom Rangkasikorn

129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....Prachoom Rangkasikorn
 
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....Prachoom Rangkasikorn
 
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 

More from Prachoom Rangkasikorn (20)

129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
 
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
 
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
 
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
 
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
 
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
 
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
 
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
 
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
 
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
 
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
 
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
 
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
 
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
 
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
 
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
 
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
 
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
 
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
 
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
 

ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง น้ำ ฟ้า ดวงดาว+ป.6+290+dltvscip6+P4 6 u05-03

  • 1. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 671 แนวการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างคุณลักษณะ ดี เก่ง มีสุข ๕ หน่วยการเรียนรู้ที่ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง นํ้า ฟ้า ดวงดาว สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.๔ - ๖
  • 3. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 673 ๑. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการ ต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำ�ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด ป. ๕/๑ สำ�รวจ ทดลองและอธิบายการเกิดเมฆ หมอก นํ้าค้าง และลูกเห็บ ป. ๕/๒ ทดลองและอธิบายการเกิดวัฏจักรนํ้า ป. ๕/๓ ออกแบบและสร้างเครื่องมืออย่างง่ายในการวัดอุณหภูมิความชื้น และความกดอากาศ ป. ๕/๔ ทดลองและอธิบายการเกิดลมและนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน ๒. กำ�หนดสาระสำ�คัญของการเรียนรู้ ๑. สภาวะไอนํ้าที่ควบแน่นเป็นละอองนํ้าเล็กๆรวมตัวกันและลอยอยู่เหนือพื้นดินเล็กน้อยเรียกว่าหมอกหาก ลอยอยู่ในระดับสูงเรียกว่าเมฆ เมื่อละอองนํ้าในเมฆรวมกันจนเป็นหยดนํ้าขนาดใหญ่จะตกลงมาเป็นฝน ๒. ลูกเห็บเป็นฝนที่เกิดในเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเย็นจัดจนเป็นนํ้าแข็งที่ถูกพายุพัดวนในชั้นเมฆนี้ จนเกิดการ พอกตัวใหญ่ขึ้น แล้วตกลงมาในลักษณะที่ยังเป็นก้อนนํ้าแข็ง ๓. นํ้าค้างเกิดจากไอนํ้าควบแน่นเป็นหยดนํ้าเกาะอยู่ตามบริเวณต่างๆ ใกล้พื้นดิน ๔. บริเวณที่อุณหภูมิของอากาศตํ่ามาก ไอนํ้าในอากาศกลายเป็นผลึกนํ้าแข็งแล้วตกลงสู่พื้นโลกเรียกว่า หิมะ ๕. อากาศเป็นส่วนประกอบของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ ความชื้น และความดันตลอดเวลา ๖. อุณหภูมิของอากาศที่แตกต่างกันระหว่างสถานที่ต่างๆ ทำ�ให้เกิดลม ๗. ลมบก ลมทะเล เป็นลมประจำ�ถิ่นที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นดินที่อยู่ใกล้ทะเล ๘. ศรลมเป็นเครื่องมือวัดทิศทางลม และแอนนิโมมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอัตราเร็วลม ๙. การพยากรณ์อากาศเกิดจากการที่นักอุตุนิยมวิทยาตรวจวัดและรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพแล้ว นำ�มาประมวลผล แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง นํ้า ฟ้า ดวงดาว ระยะเวลาในการสอน ๑๒ ชั่วโมงป.๕
  • 4. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 674 ๓. คุณลักษณะที่ต้องการพัฒนา ๑. ให้ผู้เรียนเป็นคนดีโดยสร้างให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ด้านความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ ๒. ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง โดยมีความรู้ความเข้าใจ – การเกิดเมฆ หมอก ฝน ลูกเห็บ นํ้าค้าง หิมะ – ลักษณะเมฆในท้องฟ้า – ความดันของบรรยากาศ – ความชื้นของอากาศ – การเกิดลม – วัฏจักรของนํ้า ๓. ให้ผู้เรียนมีความสุข โดย – เห็นคุณค่า และมีเจตนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และสร้างผลงานอย่างสร้างสรรค์ – ภูมิใจในผลงานของตนเอง ชื่นชมผลงานของผู้อื่น – มีความสนุกในการเรียนรู้ การทดลอง ๔. การวางแผนการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ เที่ยวทั่วไทย (นํ้า ฟ้า ดวงดาว) ภาษาไทย การบันทึกการทดลอง และสรุป ศิลปะ – การวาดภาพวัฏจักร ของนํ้า – ลักษณะเมฆชนิดต่างๆ ภาษาอังกฤษ – คำ�ศัพท์เกี่ยวกับการเกิด เมฆหมอกฝน – วัฏจักรของนํ้า การงานอาชีพและ เทคโนโลยี(กทอ.) –การออกแบบและสร้าง เครื่องมือการวัดความเร็วลม การวัดปริมาณนํ้าฝน การวัดความชื้น ของอากาศ
  • 5. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 675 ๒ ๑๘ ๗ ๖ ๕ ๔ ๓ ๕. การวางแผนการจัดการเรียนรู้ ครูนำ�แผนภาพ องค์ประกอบของอากาศ มาให้นักเรียนดู –ครูซักถามนักเรียนไอนํ้า ในอากาศมีความสำ�คัญต่อ ชีวิตประจำ�วันอย่างไร นักเรียนปฏิบัติ การทดลอง – เมฆหมอกฝน เกิดขึ้นได้อย่างไร – ความดันบรรยากาศ – ความชื้นของอากาศ – การเกิดลม นักเรียนนำ�เสนอ ผลการทดลองและสรุป – นักเรียนปฏิบัติตาม กิจกรรมตามใบงาน ที่ครูมอบหมาย นักเรียนสร้างชิ้นงานตามความสนใจ –สร้างเครื่องมือวัดปริมาณนํ้าฝน –สร้างเครื่องมือวัดความดัน บรรยากาศ –สร้างเครื่องมือวัด ความชื้นอากาศ นักเรียนนำ�เสนอผลงานของตนเอง –ครูและนักเรียนร่วมกันแสดง ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ ครูและนักเรียนประเมินชิ้นงาน นำ�ผลงานมาจัดแสดง ในชั้นเรียนและแลกเปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องการเกิด เมฆหมอกฝนลักษณะเมฆในท้องฟ้า ความสัมพันธ์อุณหภูมิความชื้น และความดันบรรยากาศ ที่มีต่อวัฏจักรนํ้า นักเรียนร่วมกันคิดอภิปราย เมฆหมอกฝนหิมะนํ้าค้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร –ลักษณะเมฆในท้องฟ้าเป็นอย่างไรเที่ยวทั่วไทย (นํ้า ฟ้า ดวงดาว) ๖. รายละเอียดของกิจกรรม ๑. ครูนำ�แผนภาพองค์ประกอบของอากาศมาให้นักเรียนดู และซักถามนักเรียนไอนํ้าในอากาศมีความสำ�คัญ ต่อชีวิตประจำ�วันอย่างไร ๒. นักเรียนร่วมกันคิดและอภิปราย เมฆ หมอก ฝน หิมะ นํ้าค้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะเมฆในท้องฟ้าเป็น อย่างไร ๓. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องการเกิดเมฆหมอกฝนลูกเห็บนํ้าค้างหิมะความดันบรรยากาศการเกิดลมความ สัมพันธ์อุณหภูมิ ความชื้น ความดันบรรยากาศที่มีต่อวัฏจักรของนํ้า ๔. นักเรียนปฏิบัติการทดลอง เมฆ ฝน เกิดขึ้นได้อย่างไร ความดันบรรยากาศ ความชื้นของอากาศ การเกิดลม ๕. นักเรียนนำ�เสนอผลงานทดลองและสรุป นักเรียนปฏิบัติตามกิจกรรม ตามใบงานที่ครูมอบหมาย ๖. นักเรียนสร้างชิ้นงานตามความสนใจสร้างเครื่องมือวัดปริมาณนํ้าฝนสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศ สร้างเครื่องมือวัดความชื้น ๗. นักเรียนนำ�เสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ ๘. ครูและนักเรียนประเมินชิ้นงาน นำ�ผลงานมาจัดแสดงในชั้นเรียนและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
  • 6. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 676 ๗. สื่อการเรียนการสอน ๑. ขวดพลาสติกใส ๒. นํ้าแข็ง ๓. นํ้าร้อน ๔. ภาพเมฆชนิดต่างๆ ๕. ดินนํ้ามัน ๖. เทอร์มอมิเตอร์ ๗. แก้วนํ้าใส ๘. ลูกโป่ง ๙. หลอดกาแฟ ๑๐. ถุงพลาสติก ๑๑. ฟองนํ้า ๑๒. เทียนไข ๑๓. นํ้าแข็งปนเกลือ ๑๔. ขวดนํ้า ขวดปากกว้าง ๑๕. ดิน ๑๖. ที่จับหลอดทดลองพร้อมขาตั้ง ๑๗. ภาพการเกิดลมบก ลมทะเล ๑๘. ริบบิ้น ๑๙. เครื่องมือวัดทิศทางลม ๒๐. เครื่องมือวัดปริมาณนํ้าฝน ๒๑. โปสเตอร์วัฏจักรของนํ้า ๘. การประเมินตามสภาพจริง กิจกรรม / พฤติกรรม / ผลงานที่ต้องประเมิน วิธีการ เครื่องมือ ๑. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม การเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม การสังเกต แบบสังเกต การสัมภาษณ์ ๒. ตรวจผลงานเป็นกลุ่ม รายบุคคล ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความสะอาด ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตรวจผลงาน ใบกิจกรรม ๓. การนำ�เสนอผลงาน การรายงาน การสังเกต แบบประเมินผลงาน ผู้ประเมิน – นักเรียนและเพื่อนนักเรียน – ครู – ผู้ปกครอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ๙. สรุปผลการเรียนการสอน ............................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................ w w w w w w w w
  • 7. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 677 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง เมฆ หมอก ฝน เกิดขึ้นได้อย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำ�ใน ให้สมบูรณ์ พร้อมระบายสีให้สวยงาม วิธีทดลอง ผลการทดลอง ๑. ต้มนํ้าจนเริ่มมีไอเกิดขึ้น แล้ววางถ้วยใส่นํ้าแข็งบนบีกเกอร์ ........................................................................................................................... ๒. เมื่อต้มนํ้าต่อไป ........................................................................................................................... ๓. เมื่อต้มนํ้าต่อไปจนนํ้าเริ่มเดือด ........................................................................................................................... สรุปผลการทดลอง ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... คำ�ชี้แจง ให้นักเรียนเขียนภาพการทดลอง w w w w w w w w
  • 8. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 678 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ชนิดของเมฆ ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๒ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำ�ถามต่อไปนี้ ๑. เมฆมีทั้งหมดกี่ชนิด............................................................................................................................................................................................................................. ๒. เมฆแบ่งตามระดับความสูงได้แก่ ๒.๑ เมฆระดับล่าง ได้แก่............................................................................................................................................................................................................ ๒.๒ เมฆระดับกลาง ได้แก่......................................................................................................................................................................................................... ๒.๓ เมฆระดับสูง ได้แก่............................................................................................................................................................................................................... ๓. ให้นักเรียนบอกสภาพอากาศของเมฆชนิดต่างๆ ในตาราง พร้อมทั้งวาดภาพเมฆและระบายสีให้สวยงาม ชื่อเมฆ สภาพอากาศ วาดภาพเมฆ ๑. เมฆสเตรตัส (เมฆแผ่น) ..................................................................................... ..................................................................................... ๒. เมฆคิวมูลัส (เมฆก้อน) ..................................................................................... ..................................................................................... ๓. เมฆเซอรัส (เมฆริ้ว) ..................................................................................... ..................................................................................... w w w w w w w w
  • 9. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 679 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง เมฆในท้องฟ้ามีลักษณะอย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๓ ใบกิจกรรม ลักษณะเมฆที่พบบนท้องฟ้า ชนิดเมฆ............................................................................................................................................................................................................................................................................... สังเกตที่................................................................................................................................. วันที่.....................เดือน........................................................ พ.ศ................................... เวลา......................................................น. w w w w w w w w
  • 10. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 680 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง เราจะวัดปริมาณนํ้าฝนได้อย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๔ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง บันทึกปริมาณฝนที่วัดได้เปรียบเทียบกับปริมาณฝนที่วัดโดยกรมอุตุนิยมวิทยา จำ�นวน ๗ วัน สถานที่ ที่นักเรียนวัด ปริมาณฝนรายวัน (มิลลิเมตร) สถานีวัด กรมอุตุนิยม วิทยา ปริมาณฝนรายวัน (มิลลิเมตร) ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ เฉลี่ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ เฉลี่ย w w w w w w w w
  • 11. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 681 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ลูกเห็บ นํ้าค้าง และหิมะเป็นอย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๕ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง บันทึกผลการสังเกต บริเวณต่างๆ ใกล้พื้นดิน บริเวณที่สังเกต วันที่หนึ่ง วันที่สอง วันที่สาม w w w w w w w w
  • 12. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 682 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ในวันหนึ่งๆ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๖ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ตารางบันทึกอุณหภูมิของอากาศ บริเวณที่ตรวจวัด อุณหภูมิอากาศ ( ํC) ๘.๐๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น. w w w w w w w w
  • 13. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 683 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ความดันบรรยากาศวัดได้อย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๗ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ สถานที่วัดความดันบรรยากาศ วันที่..................ถึง.................. เดือน...................................................พ.ศ. .............................. ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ w w w w w w w w
  • 14. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 684 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ความชื้นของอากาศคืออะไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๘ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ กิจกรรมการทดลอง ผลการสังเกต w w w w w w w w
  • 15. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 685 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ความชื้นของอากาศวัดได้อย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๙ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ ผลการตรวจวัดความชื้นในอากาศ สถานที่วัดความชื้น ความชื้นในอากาศ (หน่วย) ๘.๐๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. w w w w w w w w
  • 16. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 686 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๐ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ ตารางบันทึกผลการสังเกต กิจกรรม ผลการสังเกต ก่อนแช่นํ้าร้อน ขณะที่แช่นํ้าร้อน กิจกรรม ผลการสังเกต ๑. รินอากาศจากขวดที่แช่ในตู้เย็นลงบนเปลวเทียน ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ ๒. รินอากาศจากขวดที่อุณหภูมิห้องลงบนเปลวเทียน ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ w w w w w w w w
  • 17. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 687 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ลมแรงแค่ไหน ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๑ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาลักษณะของลม และความเร็วของลมจากสไลด์แล้วตอบลงในตารางให้ถูกต้อง ชื่อลม ลักษณะของลม ความเร็วของลม (กม./ชม.) ๑. ลมสงบ ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๒. ลมเบา ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๓. ลมเฉื่อยเบา ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๔. ลมเฉื่อยปานกลาง ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๕. ลมเฉื่อยค่อนข้างแรง . ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๖. ลมแรง ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๗. พายุ ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... ๘. พายุไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ........................................................................... ........................................................................... w w w w w w w w
  • 18. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 688 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ดินและนํ้ารับและคายความร้อนได้เร็วเท่ากันหรือไม่ ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๒ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ ตารางบันทึกผลการสังเกต (วันที่........................ เดือน................................................ พ.ศ. ........................ เวลา ๑๒.๔๕ น. ถึง ๑๓.๓๐ น.) เวลา (นาที) อุณหภูมิเมื่ออยู่กลางแดด ( ํC) อุณหภูมิเมื่ออยู่ในที่ร่ม ( ํC) ดิน นํ้า ดิน นํ้า เริ่มทดลอง ................................................ ................................................ ................................................ ................................................ ๕ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................ ๑๐ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................ ๑๕ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................ ๒๐ ................................................ ................................................ ................................................ ................................................ w w w w w w w w
  • 19. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 689 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ลมพัดไปทางทิศใด มีความเร็วเท่าไร ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๓ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ ตารางบันทึกการตรวจวัดทิศทางและความเร็วลม สถานที่วัด.......................................................................................................................... เวลา วันที่..........เดือน......................พ.ศ............... วันที่..........เดือน......................พ.ศ............... วันที่..........เดือน......................พ.ศ............... ทิศทาง ความเร็ว (รอบ/นาที) ทิศทาง ความเร็ว (รอบ/นาที) ทิศทาง ความเร็ว (รอบ/นาที) ๐๘.๐๐ ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ๑๒.๐๐ ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ๑๕.๐๐ ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ....................................... ระยะทางที่ถ้วยหมุน = จำ�นวนรอบ × 2πr 22 เมื่อ π = –––––– 7 r = รัศมีของถ้วย = ๑๐ เซนติเมตร ระยะทางที่ถ้วยหมุน อัตราเร็วของลม = —————————— เวลาที่วัด w w w w w w w w
  • 20. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 690 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ใครบอกเราเกี่ยวกับสภาพอากาศ ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๔ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ สถานที่ตรวจวัดอากาศ.............................................................................................................................................................. ระหว่างวันที่..................ถึง..................เดือน......................................................พ.ศ................... ตารางบันทึกผลการตรวจวัดสภาพอากาศ วันที่..................เดือน......................................................พ.ศ..................................... รายการที่สังเกต สภาพอากาศ เวลา ๘.๐๐ น. เวลา ๑๒.๐๐ น. เวลา ๑๕.๐๐ น. อุณหภูมิ ( ํC) ............................................................... ............................................................... ............................................................... ปริมาณนํ้าฝน (มิลลิเมตร) ............................................................... ............................................................... ............................................................... ทิศทางลม ............................................................... ............................................................... ............................................................... ชนิดลม ............................................................... ............................................................... ............................................................... ลักษณะเมฆ ............................................................... ............................................................... ............................................................... w w w w w w w w
  • 21. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 691 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง ปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๕ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ ตอนที่ ๑ ๑. ตัวเลขบนซองของแผนที่ดาวแสดงข้อมูลอะไร ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ๒. อันดับความสว่างของดาวฤกษ์จัดไว้ในช่วงใดถึงช่วงใด อย่างไร ใช้แทนด้วยสัญลักษณ์ใด ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................................................... ๓. ในวันที่ ๕ กรกฎาคม เวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. ดาวใดที่ตำ�แหน่งทำ�มุมเงย 15 ํ ทางทิศตะวันออก ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................................................... ๔. ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ดาวตานกอินทรีทำ�มุมเงย 90 ํ ที่ประมาณเวลาใด ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................................................................................................................................
  • 22. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 692 ๕. ในวันที่ ๑๓ เมษายน เวลา ๒๐.๐๐ น. มีกลุ่มดาวอะไรบ้างอยู่บนฟ้าทางทิศใต้ ลองวาดรูปกลุ่มดาวที่พบ เขียนทิศ และตำ�แหน่งกำ�กับไว้ด้วย ๒ - ๓ กลุ่ม ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................................................... ๕. เปลี่ยนเวลาที่สังเกต และสังเกตว่า กลุ่มดาวในแผนที่ดาวมีการเคลื่อนที่อย่างไรในคืนหนึ่งๆ ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................................................... ตอนที่ ๒ ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ วันที่...............................เดือน.................................................................พ.ศ.............................. ชื่อกลุ่มดาว...................................................................................................................................... เวลา ตำ�แหน่ง ภาพวาดของกลุ่มดาว ทิศ มุมเงย w w w w w w w w
  • 23. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 693 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง โลกหมุนรอบตัวเองเกิดอะไรขึ้น ชื่อ..................................................................................................................ชั้น............................................เลขที่................................. แผ่นที่ ๑๖ ใบกิจกรรม คำ�ชี้แจง ผลที่สังเกตได้จากการทำ�กิจกรรมเป็นดังนี้ ๑. เมื่อหมุนลูกโลกไป แสงไฟฉายจะตกกระทบตุ๊กตาที่ตำ�แหน่งเดิมของตุ๊กตาหรือไม่ อย่างไร ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ๒. ในขณะที่โลกหมุนไป แสงไฟตกกระทบตุ๊กตาตลอดเวลาหรือไม่ เพราะเหตุใด ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ๓. แสงไฟฉายจะเริ่มตกกระทบตุ๊กตาทางด้านใดของตุ๊กตา และเริ่มตกกระทบอีกเมื่อโลกหมุนไปกี่รอบ ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ๔. ถ้าเปรียบเทียบไฟฉายเป็นดวงอาทิตย์ และกำ�หนดให้ทิศที่เริ่มเห็นแสงอาทิตย์ในตอนเช้าเป็นทิศตะวันออก ทิศที่ เห็นแสงอาทิตย์ลับไปในตอนเย็นให้เป็นทิศอะไร ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ๕. การทดลองนี้จะสรุปผลได้อย่างไร ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................... w w w w w w w w
  • 24. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 694 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง เมฆ เนื้อหาสาระสำ�หรับนักเรียน เมฆ (Clouds) นํ้าในบรรยากาศอยู่ในสถานะแก๊ส (ไอนํ้า) ของเหลว (หยดนํ้าฝน) และของแข็ง (ผลึกนํ้าแข็งหรือลูกเห็บ) ไอนํ้าในบรรยากาศมีลักษณะคล้ายกับแก๊สชนิดอื่นๆ คือ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะ สม ไอนํ้าซึ่งอยู่ในสถานะแก๊สจะเปลี่ยนเป็นอนุภาคของแข็งหรืออนุภาคของเหลวได้ ลักษณะเช่นนี้แตกต่างจากแก๊สชนิด อื่นๆ ถ้าอุณหภูมิอากาศเท่ากับอุณหภูมิจุดนํ้าค้าง ไอนํ้าจะกลั่นตัวเป็นหยดนํ้า (อนุภาคของเหลว) ถ้าอุณหภูมิตํ่ากว่า จุดเยือกแข็งซึ่งมักจะพบในบริเวณที่สูงขึ้นไปในบรรยากาศ ไอนํ้าจะกลายเป็นก้อนนํ้าแข็งเล็กๆ (อนุภาคของแข็ง) อาจ กล่าวได้ว่าเมฆ คือรูปแบบที่มองเห็นได้ของผลึกนํ้าแข็งหรือหยดนํ้า การที่เรามองเห็นเมฆชนิดใดขึ้นอยู่กับสภาพอากาศขณะนั้นหรือที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นเมฆบางชนิดเกิดขึ้นเมื่ออากาศ ดีเท่านั้น ในขณะที่บางชนิดจะพาฝนหรือฝนฟ้าคะนองมาด้วย ชนิดของเมฆสามารถบอกถึงระดับความสูงต่างๆ กันได้ ดังนั้นนักเรียนสามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการเกิดเมฆลักษณะต่างๆ ทุกคนคงรู้จักเมฆแต่ไม่ใช่ทุกคนที่ตระหนักว่าเมฆมีบทบาทสำ�คัญต่อทั้งสภาพอากาศและภูมิอากาศ เมฆเป็น แหล่งของนํ้าฝนและมีอิทธิพลต่อปริมาณของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่โลกจะได้รับ นอกจากนี้เมฆยังเป็นฉนวนป้องกัน พื้นผิวและบรรยากาศระดับตํ่าของโลกด้วย ดังนั้นเมฆจึงมีบทบาทที่สลับซับซ้อนต่อสภาพภูมิอากาศทั้งระบบในระยะ เวลาหนึ่งปริมาณพื้นที่ผิวของโลกครึ่งหนึ่งถูกปกคลุมด้วยเมฆที่จะสะท้อนแสงแดดส่วนหนึ่งกลับออกไปจึงทำ�ให้โลกเย็น กว่าที่ควรจะเป็น และในขณะเดียวกันเมฆก็ได้รับพลังงานความร้อนจากพื้นผิวโลกแล้วจึงปล่อยกลับคืนออกมา ทำ�ให้ บริเวณนั้นร้อนกว่าที่ควรจะเป็น จากการตรวจวัดด้วยดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าโดยเฉลี่ยแล้วเมฆทำ�ให้อุณหภูมิของ บรรยากาศลดลง นักวิทยาศาสตร์คำ�นวณว่าถ้าหากไม่มีเมฆอยู่ในบรรยากาศโลกเลย อุณหภูมิของบรรยากาศโลกโดยเฉลี่ย จะสูงขึ้นกว่าเดิมประมาณ ๓๐ องศาเซลเซียส w w w w w w w w
  • 25. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 695 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง หยาดนํ้าฝน เนื้อหาสาระสำ�หรับนักเรียน หยาดนํ้าฟ้า (Precipitation) การตรวจวัดที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งคือการตรวจวัดหยาดนํ้าฟ้า คำ�ว่า “หยาดนํ้าฟ้า” หมายถึงนํ้าทุกรูปแบบที่ตก จากฟ้าลงสู่พื้นโลก หยาดนํ้าฟ้าที่เป็นของเหลว ได้แก่ นํ้าฝนและนํ้าค้าง หยาดนํ้าฟ้าที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิมะและลูกเห็บ โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ที่มีนํ้า และเป็นความจริงที่โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีนํ้า ในรูปของเหลวปกคลุมพื้นผิว สิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดมีชีวิตอยู่ได้ด้วยนํ้า นํ้าจากมหาสมุทร พื้นดิน ระเหยกลายเป็นไอ สู่บรรยากาศ และกลับคืนสู่ผิวโลก ในรูปหยาดนํ้าฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรของนํ้า (Hydrologic cycle) ในวัฏจักรนํ้า หยาดนํ้าฟ้าเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของสภาพภูมิอากาศบริเวณที่มีหยาดนํ้าฟ้าน้อยจะเกิดทะเลทราย บริเวณที่มีหยาดนํ้า ฟ้ามากจะมีพืชปกคลุมสมบูรณ์ นํ้าเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการเกษตร เป็นแหล่งนํ้าจืดและในบางแห่งใช้ เป็นแหล่งพลัังงานด้วย บทบาทที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งของนํ้าบนผิวโลก คือ การถ่ายเทความร้อนจากเขตร้อน ไปยังเขตอบอุ่นที่อยู่ ณ เส้นละติจูดที่สูงขึ้นไปโดยการเคลื่อนที่ของมวลนํ้าในมหาสมุทร (กระแสนํ้า) และนํ้าในบรรยากาศ การที่พื้นที่ใน เขตร้อนมีอากาศร้อนแต่พื้นที่ในเขตอาร์กติกและแอนตาร์กติกมีอากาศเย็นเนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์ที่เข้ามายังผิวโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีความเข้มมากกว่าในบริเวณขั้วโลกนั่นเอง พลังงานจากดวงอาทิตย์ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนโดยมหาสมุทรเป็นผลให้นํ้าในมหาสมุทร ระเหยกลายเป็นไอเข้าสู่บรรยากาศ และเคลื่อนตัวสูงขึ้นหรือเคลื่อนตัวไปยังบริเวณเส้นละติจูดที่สูงขึ้น ซึ่งมีอุณหภูมิ ตํ่ากว่าทำ�ให้ไอนํ้าควบแน่น(เปลี่ยนจากสถานะแก๊สเป็นของเหลว)เป็นละอองนํ้าเล็กๆจำ�นวนมากและกลายเป็นเมฆแล้ว กลายเป็นหยาดนํ้าฟ้า พร้อมๆ กับปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศ อาจกล่าวได้ว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์สามารถส่งผ่าน จากบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ไปยังบริเวณขั้วโลก โดยเปลี่ยนแปลงสภาวะของนํ้าจากของเหลวเป็นแก๊ส และจากแก๊ส กลับกลายเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่งในบรรยากาศ w w w w w w w w
  • 26. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 696 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง ความเป็นกรดของหยาดนํ้าฝน ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู นํ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ดังนั้นองค์ประกอบทางเคมีของนํ้าจึงส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและในนํ้า หยาดนํ้าฟ้าตามปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อย (pH ประมาณ ๕.๖) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากแก๊สชนิดต่างๆ ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศของโลกตามธรรมชาติ และการเผาไหม้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดแก๊สที่ ทำ�ปฏิกิริยากับไอนํ้าแล้วทำ�ให้เกิดหยาดนํ้าฟ้าที่มี pH ลดลงตํ่ากว่า ๕.๖ “ความเป็นกรดของหยาดนํ้าฟ้า” สร้างความ เสียหายโดยตรงต่อพืชในระยะยาว ผลที่สำ�คัญที่สุดคือ ทำ�ให้พืชอ่อนแอลง ขาดความต้านทานโรค แมลงและความ แห้งแล้งนอกจากนี้หยาดนํ้าฟ้าที่มีสภาพเป็นกรดชะล้างสารอาหารในดินและทำ�ปฏิกิริยากับอะลูมินัมในดินทำ�ให้อะลูมินัม กลายเป็นอะลูมินัมไอออน (aluminum ions) เป็นอันตรายต่อรากพืช ถ้าปริมาณอะลูมินัมไอออนถูกพัดพาลงไปใน ทะเลสาบหรือลำ�ธารจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปลาหลายชนิด นอกเหนือจากสิ่งมีชีวิตแล้ว หยาดนํ้าฟ้าที่มีความเป็นกรดยังสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างต่างๆ อีกด้วย ตัวอย่างที่พบคือ ทำ�ให้มีการกัดกร่อนของโลหะ และการสึกหรอของโครงสร้างหินรวมทั้งรูปปั้นต่างๆ เพิ่มขึ้น ในหลาย ประเทศอาคารที่มีชื่อเสียงและงานประติมากรรมหลายแห่งได้รับความเสียหายในอัตราที่เพิ่มขึ้น ความเป็นกรดหรือค่าpHของนํ้ามีการเปลี่ยนแปลงเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปนํ้าควบแน่นในบรรยากาศ จะมีความเป็นกลางคือค่า pH 7.0 ต่อมาเมื่อมีแก๊สต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และอนุภาคเล็กๆ จากบรรยากาศ ละลายเข้าไปในหยดนํ้า จะทำ�ให้นํ้ามี pH ลดลง เมื่อนํ้าไหลบนพื้นผิวและซึมลงดินเกิดปฏิกิริยาเคมีทำ�ให้ค่า pH ของ นํ้าเปลี่ยนแปลงไปอีก นํ้าจากแหล่งต่างๆ จะค่อยๆ ไหลมารวมกันในแม่นํ้า ลำ�ธาร ทะเลสาบแล้วไหลลงสู่มหาสมุทร ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู ลูกเห็บเกิดช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ทางภาคตะวัันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ตามภูมิภาคดังกล่าว มีแนวปะทะของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อนเกิดขึ้น ทำ�ให้เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนอง ซึ่งกระแสอากาศจะหอบเอาเม็ดฝนขึ้นลงภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งอุณหภูมิตํ่ากว่าศูนย์องศาจึงเกิด การพอกนํ้าแข็งเป็นชัั้นๆ จนมีขนาดใหญ่ หนักเกินกว่าบรรยากาศจะอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมาในสภาพก้อนนํ้าแข็ง ขนาด ของลูกเห็บมีตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า ๑ เซนติเมตร จนขนาดใหญ่กว่าลูกเทนนิส w w w w w w w w
  • 27. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 697 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรของนํ้า ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนํ้า ตัวเรามิใช่แค่ดื่มนํ้าเท่านั้น แต่ตัวเรายังเป็นนํ้าอีกด้วย เพราะในสิ่งมีชีวิตมีนํ้าเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ ๕๐ - ๙๐ ของนํ้าหนักตัวนํ้าเป็นสิ่งที่มากที่สุดและสำ�คัญที่สุดในโลก นํ้าหล่อเลี้ยงชีวิตพืชและสัตว์นํ้ามีบทบาทสำ�คัญ ที่ทำ�ให้เกิดสภาพภูมิอากาศของโลกช่วยรักษารูปทรงของโลกไว้ด้วยการกัดเซาะและกระบวนการอื่นๆและนํ้ายังปกคลุม ผิวโลกของเราอยู่ถึงร้อยละ ๗๐ อีกด้วย นํ้ามีการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องระหว่างนํ้าที่ผิวโลกกับนํ้าในบรรยากาศ ซึ่งเรียกว่า วัฏจักรของนํ้า และจัดเป็น หนึ่งในกระบวนการพื้นฐานที่มีในธรรมชาติ ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือจากปัจจัยอื่นๆ จะทำ�ให้นํ้าที่อยู่ในมหาสมุทร แม่นํ้าทะเลสาบดินและพืชระเหยสู่อากาศกลายเป็นไอนํ้าเมื่อไอนํ้าลอยตัวสู่บรรยากาศจะเย็นตัวลงและเปลี่ยนสภาพจาก ไอนํ้ากลายเป็นของเหลวหรือนํ้าแข็ง ซึ่งทำ�ให้เกิดเมฆขึ้น เมื่อหยดนํ้าเล็กๆ หรือผลึกนํ้าแข็งมีขนาดใหญ่มากพอ แล้วก็จะ ตกกลับลงสู่ผิวโลกในรูปของฝนหรือหิมะเมื่อนํ้าหรือฝนหรือหิมะตกลงบนผิวโลกแล้วเราพบว่านํ้าจะสร้างปรากฏการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างต่อไปนี้คือนํ้าบางส่วนจะซึมหายลงไปในดินซึ่งอาจจะถูกพืชดูดไปใช้ต่อหรืออาจจะซึมลึก ลงไปจนถึงแหล่งนํ้าใต้ดินนํ้าบางส่วนจะไหลลงสู่ลำ�ธารแม่นํ้าหรือมหาสมุทรและนํ้าบางส่วนจะระเหยกลายเป็นไอกลับ คืนสู่สภาพอากาศอีกครั้ง นํ้าที่อยู่ในทะเลสาบ หิมะที่อยู่บนภูเขา ความชื้นในอากาศหรือหยดนํ้าค้างยามเช้า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดก็คือ ส่วน ของวัฏจักรของนํ้าทั้งสิ้นการสูญเสียปริมาณนํ้าจากผิวโลกทั้งหมดในแต่ละปีจะมีค่าเท่ากับปริมาณหยาดนํ้าฟ้าทั้งหมดบน โลกนี้การเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในวัฏจักรของนํ้าส่วนใดส่วนหนึ่งนั้นเช่นการตัดไม้ทำ�ลายป่าหรือการใช้ที่ดิน ไม่ถูกต้องในรูปแบบต่างๆ โดยมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของนํ้าในส่วนที่เหลือ w w w w w w w w
  • 28. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 698 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชนิดของเมฆ ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู การสังเกตชนิดของเมฆ กลุ่มคำ�ที่ใช้บรรยายลักษณะของเมฆชนิดต่างๆ มีอยู่ ๕ กลุ่มคำ� ดังต่อไปนี้ เซอร์โร (CIRRO) หรือ เมฆระดับสูง อัลโต (ALTO) หรือ เมฆระดับกลาง คิวมูลัส (CUMULUS) หรือ เมฆเป็นก้อนกระจุก สตราตัส (STRATUS) หรือ เมฆเป็นชั้นๆ นิมบัส (NIMBUS) หรือ เมฆที่ก่อให้เกิดฝน เมฆจัดจำ�แนกได้ ๑๐ ชนิด โดยใช้ชื่อตามคำ�อธิบายลักษณะข้างต้น และใช้ เมื่อรายงานชนิดของเมฆในพื้นที่ของนักเรียนดังต่อไปนี้ เมฆระดัับสูง – เซอร์รัส เมฆชนิดนี้มีลักษณะเบา มองดูคล้ายขนนกสีขาว มักเป็นริ้วๆ ประกอบด้วยผลึกนํ้าแข็ง – เซอร์โรคิวมูลัส เมฆชนิดนี้มีรูปแบบเป็นชั้นบางสีขาว ลักษณะคล้ายปุย ฝ้ายแต่ไม่มีเงาเมฆ ประกอบด้วยผลึกนํ้าแข็ง หรือบางครั้งอาจเป็นหยด นํ้าที่เย็นจัด – เซอร์โรสตราตัสเมฆชนิดนี้มีลักษณะบางเกือบโปร่งใสหรือเป็นชั้นสีขาว ประกอบด้วยผลึกนํ้าแข็ง มักปกคลุมท้องฟ้าบางส่วนหรือเกือบทั้งหมด บนท้องฟ้าและสามารถทำ�ให้เกิดลักษณะอาทิตย์ทรงกลด เมฆระดับกลาง – อัลโตสตราตัส เมฆชนิดนี้มีรูปแบบคล้ายม่านสีฟ้าหรือเทาปกคลุม ท้องฟ้าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน สามารถมองเห็นแสงลอดออกมาได้ โดยไม่ทำ�ให้เกิดอาทิตย์ทรงกลด เซอร์รัส เซอร์โรคิวมูลัส เซอร์โรสตราตัส อัลโตสตราตัส
  • 29. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 699 – อัลโตคิวมูลัส เมฆชนิดนี้มีรูปแบบคล้ายคลื่นในทะเล มีสีขาวหรือเทา และทำ�ให้เกิดเงาประกอบด้วยหยดนํ้าเป็นส่วนใหญ่และบางครั้งมีผลึก นํ้าแข็ง เมฆระดับตํ่า – สตราตัสเมฆชนิดนี้มีสีเทาและทอดตัวใกล้กับพื้นผิวโลกมีลักษณะเป็น แผ่นแต่บางครั้งอาจพบเป็นแบบหย่อม เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝน – สตราโตคิวมูลัสเมฆชนิดนี้มีสีขาวหรือเทาส่วนฐานของเมฆจะค่อนข้าง กลมมากกว่าแบนและสามารถก่อตัวขึ้นจากเมฆที่เป็นสตราตัสเดิมหรือ จากการที่เมฆชนิดคิวมูลัสกระจายตัวออกส่วนบนจะมีลักษณะค่อนข้าง แบน – นิมโบสตราตัสเมฆชนิดนี้มีรูปแบบเป็นชั้นสีเข้มหรือสีเทาซึ่งจะบดบัง แสงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่ และมีฝนตกต่อเนื่อง – คิวมูลัส เมฆชนิดนี้มีส่วนฐานแบน ส่วนบนนูนแน่นขึ้น คล้ายดอก กะหลํ่าขนาดใหญ่ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นแสงสว่างสีขาว ส่วน ฐานมักมีสีเข้ม เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝน – คิวมูโลนิมบัส เมฆชนิดนี้มีขนาดใหญ่แน่น มีผิวราบ และมีส่วนบน ของเมฆสูงใหญ่มีลัักษณะคล้ายภูเขาไฟขนาดใหญ่หรือทั่งมักทำ�ให้เกิด ฟ้าแลบฟ้าร้อง ลูกเห็บ บางครั้งมักก่อให้เกิดพายุทอร์นาโด w w w w w w w w อัลโตคิวมูลัส สตราตัส สตราโตคิวมูลัส นิมโบสตราตัส คิวมูลัส คิวมูโลนิมบัส
  • 30. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 700 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง ลม ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู โลกมีบรรยากาศที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราเรียกว่า ลม ลมเกิดขึ้นเมื่อเกิดความแตกต่างระหว่างความ กดอากาศ อิทธิพลจากดวงอาทิตย์ ทำ�ให้บริเวณต่างๆ ของโลกร้อนไม่เท่ากัน บริเวณที่อากาศร้อน อากาศจะลอยตัวสูงขึ้น ทำ�ให้ความกดอากาศตํ่าลงในขณะที่บริเวณอากาศเย็น อุณหภูมิจะตํ่า ความกดอากาศจะสูงขึ้นเพราะอากาศจะจมตัว ซึ่ง เกิดการหมุนเวียนอากาศ จากบริเวณอากาศเย็นที่มีความกดอากาศสูง ไปยังบริเวณอากาศร้อนที่มีความกดอากาศตํ่า บรรยากาศของโลกจะมีการปรับตัวให้มีความกดอากาศเท่าๆ กัน ดังนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอากาศจะไหลไปแทนที่ อากาศที่มีความกดอากาศตํ่ากว่าตลอดเวลา – ลมหุบเขา (Valley Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางวัน อากาศตามภูเขาและลาดเขาร้อน เพราะได้รับความร้อน จากดวงอาทิตย์เต็มที่ส่วนอากาศที่หุบเขาเบื้องล่างมีความเย็นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ ทำ�ให้มีลมเย็นจากหุบเขา เบื้องล่างมีความเย็นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ ทำ�ให้มีลมเย็นจากหุบเขาเบื้องล่างพัดไปตามลาดเขาขึ้นสู่เบื้องบน – ลมภูเขา​ (Mountain Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางคืน อากาศตามภูเขาและลาดเขาจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการคายความร้อนออก อากาศตามลาดเขาที่เย็นและหนักกว่าอากาศบริเวณใกล้เคียงจึงไหลออกมา ทำ�ให้มีลมพัดลงมาตามลาดเขาสู่หุบเขาเบื้องล่าง – ลมตะเภาและลมว่าว เป็นลมท้องถิ่นในประเทศไทย โดยลมตะเภาเป็นลมที่พัดจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือคือ พัดจากอ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง ในสมัยโบราณลมนี้จะช่วยพัดเรือสำ�เภาซึ่งเข้ามาค้าขายให้แล่นไป ตามลำ�นํ้าเจ้าพระยา และพัดในช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออาจจะเรียกว่าลมข้าวเบาเพราะพัดในช่วงที่ข้าวเบากำ�ลังออกรวง ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ลักษณะอากาศถูกควบคุมโดยการหมุนเวียนของกระแส อากาศประจำ�ฤดูกาลและเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะประจำ�ท้องถิ่นของพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นลมที่เราควรรู้จัักจึงแบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ ลมประจำ�ฤดูกาล และลมประจำ�ถิ่น – ลมประจำ�ฤดูกาล เป็นลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยช่วงระยะเวลาค่อนข้างยาวนานอย่างน้อยตั้งแต่ ๓ เดือน ขึ้นไป เช่น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมอุตรา) และลมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมตะโก้) ลมตะวัน ออกเฉียงใต้ (ลมหัวเขา) ลมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมพัทยา) ลมใต้ (ลมตะเภา) ลมเหนือ (ลมว่าว) ลมตะวันตก ลมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสภาวะอากาศ ของแต่ละภาคของประเทศไทยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ของภาค นั้นๆ
  • 31. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๓ 701 – ลมประจำ�ถิ่นเป็นลมที่เกิดขึ้นกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะเช่นลมภูเขาลมหุบเขาซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณ เทือกเขา และลมบก ลมทะเล ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล เกณฑ์ความเร็วลมผิวพื้น คือ ความเร็วลมที่ระดับสูง มาตรฐาน ๑๐ เมตร เหนือพื้นที่ดินในบริเวณที่โล่งแจ้ง เครื่องมือวัดทิศทางลม เรียกว่า ศรลม มีลักษณะเป็นลูกศรที่มีหางเป็นแผ่นใหญ่กว่าหัวลูกศร บางชนิดแพนหางเดียว บางชนิดแพนหางสองหาง ศรลมจะหมุนรอบตัวตามแนวราบ ศรลมจะลู่ลมอยู่ในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัด เมื่อ ลมพัดมาหางลูกศรซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกลมผลักแรงกว่าหัวลูกศร หัวลูกศรจึงชี้ไปทิศทางที่ลมพัดมา เครื่องมือวัดอัตรา เร็วลม เรียกว่า แอนนีมอมิเตอร์ มีหลายรูปแบบ บางรูปแบบทำ�เป็นถุงปล่อยลู่ บางรูปแบบทำ�เป็นรูปถ้วยครึ่งทรงกลม วัดอัตราเร็วลมโดยสังเกตการยกตัวของถุง หรือนับจำ�นวนรอบของถ้วยที่หมุนในหนึ่งหน่วยเวลา w w w w w w w w
  • 32. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 702 ใบความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง ความชื้นของอากาศ ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู ขณะที่มนุษย์และสัตว์หายใจออกจะเอาไอนํ้าออกมาด้วย โดยปกติจะมองไม่เห็น เพราะไอนํ้ามีสถานะเป็นแก๊ส แต่ถ้าไปสัมผัสกับพื้นผิวที่เย็นกว่า ไอนํ้าในลมหายใจจะควบแน่นกลายเป็นละอองนํ้าเล็กๆ มองเห็นเป็นฝ้าขาวๆ เช่น เดียวกับในฤดูหนาว ขณะเราหายใจออกจะมองเ็นลมหายใจออกเป็นหมอกขาวๆ เหมือนปรากฏการณ์ขณะนํ้าเดือด ไอนํ้าเดือดออกจากพวกกาออกมาสัมผัสอากาศที่เย็นกว่า ก็จะควบแน่นเป็นละอองนํ้าเล็กๆ ข้อเสนอแนะ ถ้าหากกระดาษดำ�เก่ามีรอยแตกซึ่งจะมีผลทำ�ให้นํ้าซึมเช้าไปในเนื้อไม่ได้ในการทดลองวาดรูปด้ยนํ้าบนกระดาศ ให้เปลี่ยนเป็นให้นักเรียนใช้มือชุบนํ้าแล้ทาที่แขน และสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความรู้ส่วนนี้สำ�หรับครู การวัดความชื้นของอากาศนิยมบอกเป็นความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งอัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงใน อากาศกับมวลของไอนํ้าสูงสุดที่อากาศสามารถรับไว้ได้ ณ อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกันคิดเป็นร้อยละ ดังนั้นจึงสามารถ หาความชื้นสัมพัทธ์ได้ มวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริง _________________________________________ × ๑๐๐ มวลไอนํ้าที่อากาศรับได้มากที่สุด ณ อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน หากอากาศอิ่มตัวด้วยไอนํ้า หมายความว่า อากาศไม่สามารถรับไอนํ้าไว้ได้อีก ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ขณะนั้นจะเป็น ๑๐๐% ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งมีค่าพอดีที่ทำ�ให้รู้สึกสบายมีค่าประมาณ ๖๐% w w w w w w w w