SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
สอนนาวาฝ่าวิกฤติให้เป็นสะเต็มและ SEEEM
ความนำ
บทความสั้น 3 ตอนนี้เขียนจากประสบการณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ครูท่านหนึ่งที่เอาเรื่องการสอนสะเต็มเรื่องนาวาฝ่า
วิกฤติมาเล่าในวง PLC การสอนสะเต็มจากเรื่องนาวาฝ่าวิกฤติมีปรากฎในคู่มือการสอนสะเต็มของ สสวท. เมื่อ
ประมาณ 10 ปีมาแล้ว ซึ่งผมใช้เป็นวัตถุดิบเขียนหนังสือเกี่ยวกับสะเต็มเล่มแรก ชื่อ “สะเต็มศึกษา: ความท้าทาย
ใหม่ของการศึกษาไทย” (ตุลาคม 2558, 177 หน้า) download ได้ที่ www.พพปญ.net
ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา Clip ใน YouTube ยืนยันได้ว่าครูยังสอนเรื่องนี้ในรูปแบบเดิม ๆ ไม่ต่างจาก clip ที่เอา
มาทำ PLC ครั้งนี้ ผมจึงทำงานในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอย่างตั้งใจมากกว่าทุกครั้ง ดู clip อ่านเอกสารของครู ฟัง
ครูเล่าเรื่องแล้วคิดว่าจะต้องเขียนเรื่องนี้อีกสักครั้ง
ตอนที่ 1 สะเต็มที่ไม่เป็นสะเต็ม แต่คิดว่าเป็น
“ในโลกพัฒนาการมนุษย์มีหน้าที่สร้างเหตุให้เกิดผลตามกฎ “ผลเกิดจากเหตุ” STEM คือการเข้าใจความสัมพันธ์
ระหว่างเหตุกับผล ที่มี S อธิบายได้ และมี M ทำให้คาดการณ์ผลได้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะสร้างเหตุไม่ถูก สิ่งที่ทำ
จะกลายเป็นการ “กะ ๆ เอาตามที่มโนได้” ย่อมไม่เป็น STEM”
เป็นบทสรุปทิ้งท้ายการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำ PLC ของครูสอนโครงงานสะเต็มเรื่องนาวาฝ่าวิกฤติชั้น ม. 2 ท่านหนึ่ง
เมื่อ 15 มีนาคม 2566
ครูตั้งเป้าหมายการสอน “นักเรียนเป็นวิศวกรที่จะต้องออกแบบและสร้างแพสำหรับบรรทุกสิ่งของในช่วงวิกฤติ
น้ำท่วมให้ได้ปริมาณมากที่สุด โดยใช้งบประมาณในการสร้างอย่างคุ้มค่า และระบุปริมาณสิ่งของที่แพจะ
สามารถบรรทุกได้อย่างแม่นยำ เพื่อป้องกันไม่ให้แพจมน้ำจนทำให้สิ่งของเปียกน้ำ” ครูผู้อ่านที่คุ้นเคยกับการ
สอนสะเต็มฟังแล้วเหมือนเคยได้ยิน/อ่านมาจากที่หนึ่งใช่ไหม?
ครูต้นเรื่องเล่าเนื้อหาที่มาของการสอนสะเต็ม บรรยากาศการสอนตามแผน เงื่อนไขการประเมินโครงงาน เช่น
งบประมาณไม่เกิน 100 บาท บรรทุกน้ำหนักได้ตามคาดการณ์จะได้คะแนนเพิ่ม เป็นต้น เมื่อเปิด Clip การสอน
ให้ดู ผมเห็นนักเรียนเลือกวัสดุ คือ ขวดเปล่า ไม้ไอศกรีม เทปกาว แผ่นฟิวเจอร์ ฯลฯ มาประกอบเป็นแพลอยใน
กะละมัง บรรจงวางแท่งดินน้ำมัน (แทนน้ำหนักบรรทุก) ประเมินความสำเร็จการเรียนรู้ คือ แพบรรทุกของได้
น้ำหนักตามที่ทำนายโดยไม่พลิกคว่ำ เป็นต้น
นาวาฝ่าวิกฤติเป็นโครงงานสะเต็มที่ สสวท. ออกมาสู่สาธารณะชุดแรกเมื่อราว ๆ ปลายปี 2556 ใน YouTube มี
clip เรื่องนี้จากโรงเรียนต่าง ๆ เต็มไปหมด
ผมให้ข้อแนะนำแก่ครูว่า ครูควรพัฒนา “นิสัยสะเต็ม” เบื้องต้น คือ เชื่อว่าโครงงานสะเต็ม (ส่วนมากคือ
สิ่งประดิษฐ์) ที่นักเรียนเสนอทำนั้นส่วนมากมีอยู่แล้ว การจะทำสิ่งนั้นต้องมีเป้าหมายทำให้ดีกว่าเดิม วิศวกรจะ
ทำอะไรออกมาขายเขามีนิสัยอย่างนี้ทั้งนั้น (พวกที่ไม่ทำอย่างนี้เจ๊งหมดตัวกันหมดแล้ว) ครูจึงต้องมี “นิสัยสะ
เต็ม” ก่อนนักเรียน กล่าวคือครูควรดู clip เหล่านั้นเพื่อสรุปเทคนิค เครื่องมือที่ใช้ แผนการสอน กระบวนการ
ห้องเรียน บทบาทครู ฯลฯ ข้อแนะนำนี้ต้องการให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการสอนสะเต็มให้ดีขึ้นนั่นเอง การ
review clip การสอนเพื่อทำใหเดีกว่าคือการสร้างนิสัยสะเต็ม นั่นเอง
ครูตั้งเป้าหมาย “บรรทุกของให้ได้ปริมาณมากที่สุดโดยใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า” อันนี้ก็เป็นนิสัยวิศวกร
เพราะคุ้มค่าหมายความว่า “ดีโดยเปรียบเทียบ” จึงเป็นค่าสัมพัทธ์ (relative) ระหว่าง “สิ่งที่ได้” กับ “สิ่งที่เสีย
ไป” เช่น เราได้ความสามารถบรรทุก (กก.) โดยเสียเงินลงทุน (บาท) ดังนั้นเป้าหมายแบบ Engineering คือ “นน.
บรรทุก/บาทของราคาแพมากที่สุด” (ต้องสร้างแพราคาต่ำ แต่บรรทุกน้ำหนักได้มาก หน่วย กก./บาท คล้ายกับ
รถยนต์ใช้น้ำมัน กม./ลิตร) ผมเสนอครูให้เอามาใช้เป็นเกณฑ์ที่ 1 ในการประเมิน “ความเป็นสะเต็ม”
เมื่อเห็นเป็นเด็ก ม. 2 ผมเสนอเพิ่มเกณฑ์ที่ 2 “น้ำหนักบรรทุก/นน. แพมากที่สุด” (ต้องสร้างแพน้ำหนักเบา แต่
บรรทุกน้ำหนักได้มาก)
สุดยอดของความเป็นครูสะเต็ม คือ การอออกแบบเงื่อนไขให้เกณฑ์ทั้ง 2 ขัดแย้งกันเอง มีขวดหลายขนาดให้เลือก
โดยราคาไม่แปรผันโดยตรง (linear) กับความสามารถบรรทุก เช่น ขวดเล็กรับน้ำหนักบรรทุกได้ 50% ของขวด
ใหญ่ แต่ราคาเป็น 40% ของขวดใหญ่ และมีน้ำหนัก 60% ของขวดใหญ่ ความขัดแย้ง คือ ขวดเล็กได้เปรียบใน
เกณฑ์ที่ 1 แต่เสียเปรียบในเกณฑ์ที่ 2
เป้าหมายสำคัญอีกประการที่ครูระบุ คือ “ระบุปริมาณสิ่งของที่แพจะสามารถบรรทุกได้อย่างแม่นยำ”
ที่น่าเสียดายคือ clip การสอนที่ส่งมาทำ PLC นั้น ผมไม่เห็นตาชั่งและกระบอกตวงเลย นักเรียนคาดเอาเองว่าแพ
ของตนบรรทุกดินน้ำมันได้กี่ก้อนแล้วลองวางให้ครูเห็น ไชโยดีใจได้เพิ่ม 5 คะแนนเมื่อคาดได้ถูก โดยไม่ตระหนัก
ว่าไม่ใช่การบรรทุกได้มากที่สุดตามเป้าหมายการสร้างแพ ผมเห็นแพพลิกคว่ำเพราะวางน้ำหนักไม่สมดุลแล้วครู
สรุปผลให้คะแนน จึงสงสัยว่าสมมุตินักเรียนแจ้งครูว่า “คาดว่า” บรรทุกดินน้ำมันได้ 7 ก้อน พอวางก้อนที่ 8 แพ
พลิกคว่ำ หมายความว่าทำนายผลได้แม่นยำใช่ไหม (ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่ว่าเมื่อวาง 7 ก้อนนั้นแพลอยพ้นน้ำอีกมาก
ถ้าไม่ล่มเสียก่อน อาจจะบรรทุกได้ถึง 10 ก้อนก็เป็นได้) การสอนอย่างนี้ไม่ใช่สะเต็มแน่ ๆ เพราะไม่ได้ใช้ความรู้ S
และ M มาคาดการณ์
วิทยาศาสตร์คือแรงพยุงให้วัตถุลอยเหนือน้ำ มีความรู้ที่รู้แล้วว่า “แรงพยุงเท่ากับน้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่ากับ
ส่วนที่จม” เราเรียกความรู้นี้ว่า “รู้ส่วนผิว” คือ รู้ตามนิยามที่จำได้ เทียบกับ Bloom’s cognitive ขั้นที่ 1 รู้ขั้นที่
2 คือ “รู้ลึก” (เข้าใจ) คือรู้ 3 ปรากฏการณ์เมื่อวัตถุอยู่ในน้ำ ต่อไปนี้
1. ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ มันจะลอยน้ำ
2. ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ มันจะจมน้ำ
3. ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นเท่ากับน้ำ มันจะไม่ลอยไม่จมน้ำ
สองขั้นความรู้นี้คือ “รู้” และ “เข้าใจ” S คือ เข้าใจว่าขวดลอยน้ำเพราะ “น้ำหนัก/ปริมาตร” (ความหนาแน่น) มี
ค่าน้อยกว่า 1 g/cc เมื่อเติมน้ำหนักบรรทุกเข้าไป (ใส่ดินน้ำมันเข้าไปในขวด) ขวดจะค่อย ๆ ลดระดับลง เหมือน
เรือบรรทุกของจะลดระดับลง ดังนั้นน้ำหนักบรรทุกสูงสุดคือเกิดในปรากฏการณ์ที่ 3 น้ำหนักบรรทุกมากที่สุดจะ
ทำให้ขวดมีความหนาแน่นเท่ากันความหนาแน่นน้ำ (1 g./cc.)
ครูที่เข้าใจทั้ง S ของการลอยและ M ที่เป็นตัวแทนรูปร่างขวดจะจินตนาการเห็นภาพที่ 1 ในหัว
น้าหนักบรรทุก
ความหนาแน่นขวด ระดับจมของขวด
ความหนาแน่นน้า
ความยาวเส้น
ผ่านศูนย์กลางขวด
ระดับจมของขวดเปล่า
ขวดจมปริ่มน้า
ความหนาแน่นขวดเปล่า
รปที่ 1
เข้าใจไม่ยากว่าทำไมความหนาแน่นขวดแปรเป็นเส้นตรงกับน้ำหนักบรรทุก (ดินน้ำมันที่ใส่ในขวด) แต่ระดับจม
ของขวดต้องใช้จินตนาการสูงกว่าเพื่อเข้าใจว่าทำไมเป็นเส้นโค้งกลับไปมาอย่างนั้น ผมขอละไว้ให้ครูที่อ่านเรื่องนี้
หาคำตอบเอาเอง ความรู้ที่ได้เส้นนี้คือรู้เชื่อมโยง S และ M เข้าด้วยกัน
รู้ขั้นที่ 3 คือ “รู้เชื่อมโยง” (ประยุกต์ความรู้) เกิดจากประยุกต์ความเข้าใจ 3 ข้อข้างต้น ครูที่เข้าใจความรู้และ
เชื่อมโยงความรู้ได้จะประยุกต์ S ร่วมกับ M หา
นน. บรรทุกสงสุด (g) = ปริมาตรขวด (cc) x ความหนาแน่นน้ำ (1 g/cc) – นน. ขวด (g)
สมการนี้คือ M ที่เป็นตัวแทน S เพื่อเอาไปใช้งานต่อ
ทางซ้ายของสมการคือ “ผล” เกิดจาก 3 “เหตุ”ขวามือ คือ 1) ปริมาตรขวด 2) ความหนาแน่นน้ำ และ 3) น้ำหนัก
ขวด โดย 2 เหตุแรกมีความสัมพันธ์ที่แปรไปในทิศทางเดียวกับผล (การเพิ่มของเหตุทำให้ผลเพิ่ม ขวดใหญ่บรรทุก
ได้มาก แทนความสัมพันธ์ด้วยลูกศรเส้นทึบ) และเหตุที่ 3 แปรแบบสวนทางกัน (เพิ่มเหตุทำให้ผลลดลง ลูกศร
เส้นประ) ซึ่งเขียนเป็นไดอะแกรมเหตุและผลได้ดังรูปที่ 2
การเพิ่มของเหตุทั้ง 3 ทำให้น้ำหนักบรรทุก (ผล) เพิ่ม 2 เส้นทางและลดลง 1 เส้นทาง เพียงเท่านี้นักเรียนก็
สามารถทำนายน้ำหนักบรรทุกได้อย่างแม่นยำ โดยมีเครื่องมือ คือ ตาชั่งและกระบอกวัดปริมาตร เราเรียกการ
ทำงานตามผังนี้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์
นน บรรทุก
ความหนาแน่นน้า
ปริมาตรขวด
นน ขวด
รปที่ 2
น่าเสียดายที่ดู clip ไม่เห็นนักเรียนหาปริมาตรกับน้ำหนักขวด น่าเสียดายที่ครูไม่ได้เตรียมเครื่องมือให้เด็ก น่า
เสียดายที่เด็กไม่รู้ว่าต้องใช้ตาชั่งกับกระบอกตวง ความน่าเสียดายเหล่านี้ทำให้การสอนเรื่องนาวาฝ่าวิกฤตินี้ไม่เป็น
สะเต็ม ทำไมเป็นเช่นนั้น? เป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบพัฒนาครูสอนสะเต็มควรหาคำตอบกันเอง
ผมกล่าวแล้วว่า ข้างต้นนั้นเราได้เพียงโครงงานวิทยาศาสตร์ คือมีแค่ S และ M เท่านั้น นาวาฝ่าวิกฤติจะเป็น
STEM ที่แท้จริงเกิดเมื่อครูท้าทายการคิดสูงขึ้นโดยเอาเกณฑ์สมรรถนะแบบสัมพัทธ์ (relative) ในแนวคิดของ
Engineering มาใช้ คือ “น้ำหนักบรรทุก/ราคาแพ” และ “นน. บรรทุก/นน. แพ” ที่กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งจะเห็น
ความสัมพันธ์ของเหตุและผลซับซ้อนขึ้นดังรูปที่ 3
เกณฑ์สมรรถนะที่ 1 “นน. บรรทุก/ราคา” จะมีเหตุใหม่เพิ่มเข้ามา คือ “ราคาขวด/ปริมาตร” และเกณฑ์
สมรรถนะที่ 2 “นน. บรรทุก/นน. แพ” จะมีเหตุ “นน. ขวด/ปริมาตร” ซึ่งเหตุใหม่ทั้ง 2 นี้ครูตั้งเงื่อนไขให้ขัดแย้ง
กันเอง ดังได้กล่าวมาแล้ว (ไม่แปรตามกันแบบเชิงเส้น)
จากผังไดอะแกรมความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล และเงื่อนไขการประเมินความเป็นสะเต็ม (ที่คะแนนของเกณฑ์ไม่
เท่ากัน) นักเรียนจะทราบทันทีว่าหากต้องการได้คะแนนประเมินสูงสุด เขาต้องตัดสินใจสร้างแพอย่างไร อย่างนี้จึง
จะเป็น STEM
นน บรรทุก
ความหนาแน่นน้า
ปริมาตรขวด
นน ขวด
ราคาขวด ปริมาตร
นน บรรทุก ราคา
นน ขวด ปริมาตร
นน บรรทุก นน แพ
ลข้นกับ 4 เหตุ
1st criteria
2nd criteria
Science Project
STEM Project
รปที่ 3
โครงงานนี้จะมีความเป็นสะเต็มมากขึ้น ถ้าครูประเมินด้วยเกณฑ์ที่ 3 “นน. บรรทุก/พื้นที่ มากที่สุด” เกณฑ์นี้
ต้องการแพมีพื้นที่น้อย ซึ่งจะมีปัญหา stability คือ พลิกคว่ำง่าย นักเรียนต้องแลกสิ่งที่ได้กับสิ่งที่เสีย หากยอม
ให้แพมีพื้นที่มากจะได้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มแลกกับไม่พลิกคว่ำ แต่อาจจะได้คะแนนจากเกณฑ์ที่ 3 น้อยลง
“ราคา” “น้ำหนัก” “พื้นที่” ที่เอามาสัมพันธ์กับ “น้ำหนักบรรทุก” ให้เป็นเกณฑ์เหล่านี้คือการคิดออกแบบการ
สอนของครู ที่ต่างออกไปจากนาวาฝ่าวิกฤติอื่นที่เป็นอยู่ ครูที่คิดอย่างนี้ได้ต้องมี attitude แบบ engineering
ก่อน เพราะเกณฑ์ทั้ง 3 คือแนวคิดของวิศวกรในการทำของให้ดีกว่าคนอื่น
จุดอ่อนของการฝึกครูสอนโครงงานสะเต็ม คือไม่ได้ฝึกให้ครูเข้าใจ engineering และมี engineering attitude
เราจึงเห็นโครงงานวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่าเป็นสะเต็มเกลื่อนไปหมด
ตอนที่ 2 การโค้ชสะเต็มให้เป็น experiential learning
รูปที่ 4 (Kolb. D., 1984) อธิบายเรื่องการเรียนรู้จากปฏิบัติ ทำให้ผมเข้าใจเลยว่าปัญหาการสอนโครงงานอยู่ที่
ไหน
เรียนรู้จากการลงมือทำ (Hand-on Learning) คือ การเรียนจากการทำงานโดยไม่มีกระบวนการคิด เด็กปักลาย
ผ้า เขาได้ประสบการณ์ เกิดทักษะการร้อยเข็ม การลงเข็ม การคาดระยะฝีเข็มไม่ให้แทงมือ ทำไปนาน ๆ เขาได้
ทักษะ อาจจะคล่องถึงกับหลับตาปักผ้าได้ (เหมือนคนถักโครเชต์ ที่ถักไปดูโทรทัศน์ไปด้วย)
เรียนรู้ ่านประสบการณ์ (Experiential Learning) ผมตั้งใจใช้คำว่า “ผ่าน” เพราะ mean สำคัญอยู่ที่การโค้ช
ของครู เด็กทำงาน เด็กได้ประสบการณ์แบบ Hand-on Learning แต่มีขั้นตอนของครูให้เด็กเกิดการคิดจนเด็ก
เป็นผู้สรุปรวบยอดเป็นความรู้ได้เอง (abstract conceptualization)
เมื่อเด็กลงมือทำงาน (act/do) สิ่งที่เขาได้โดยอัตโนมัติคือสภาวะรับรู้ประสบการณ์และรู้สึก (experience/feel)
เป็นประสบการณ์จากประสาทสัมผัส ตา หู ลิ้น จมูก กาย ที่เอาเข้าไปประกอบกับ V A อันเป็นฐานของเจตคติเดิม
เกิดเป็นความรู้สึก (feel) ในโครงงานนาวาฝ่าวิกฤติ การทำแพคือ act/do เป็นเครื่องมือนำไปสู่
experience/feel
Experiential learning is the process of learning through experience, and is
more narrowly defined as "learning through reflection on doing".
Hands-on learning can be a form of experiential learning, but does not
necessarily involve students reflecting on their product.
จาก HoL เป็น EL
ทัก ะใหม่ของ
ครเพื่อเปลี่ยน
HoL ให้เป็น EL
ทัก ะเดิมของ
ครออกแบบให้
นร ทางาน HoL
รปที่ 4
การเรียนเกิดเมื่อครูทำขั้นที่ 3 (รูปที่ 5) โดยการตั้งคำถามให้นักเรียนได้ reflect/watch คือสะท้อนคิดแบบ
ไตร่ตรองใน 2 ด้าน คือ
1) ด้านอารมณ์ความร้สก คือเฝ้าดูและพิจารณาความรู้สึกเมื่อเกิดการรับรู้ คำถามที่ทรงพลังจะกระแทกไป
ที่จิตใจ ทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลง value และ attitude ได้ (ร้อง อ๋อ.. ฉันควร/ต้อง/จะเปลี่ยนแปลง
มุมมอง/ความเชื่อ/ทัศนคติ)
2) ด้านการใช้เหตุและ ลของสมองซีกซ้าย ให้เอาความรู้เดิมมาบูรณาการจนเกิดความคิดรวบยอดได้
หลักการ เป็นการสร้าง knowledge ขึ้นมาเอง (ร้อง อ๋อ... ฉันรู้แล้ว)
เมื่อดู clip ที่เด็กวางก้อนดินน้ำมัน ผมเห็น 2 อย่าง คือ
1) ก้อนสุดท้ายที่วางได้ยังไม่บรรลุเกณฑ์ทั้ง 3 ของ STEM (“นน. บรรทุก/ราคาแพ” “นน. บรรทุก/นน.
แพ” “นน. บรรทุก/พื้นที่แพ”) เพราะก้อนสุดท้ายไม่ใช่น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (แพยังลอยเหนือน้ำอีกมาก
แต่ล่มเสียก่อน) เป็นการเห็นความรู้ในสะเต็ม เรื่องนี้อธิบายไปมากแล้ว
2) ปฏิกิริยาของนักเรียน ที่แสดงออกมาจากอารมณ์ความรู้สึกขณะนั้น เป็นการเห็นโอกาสสร้างการเรียนรู้
ซึ่งขออธิบายเพิ่ม
ประสบการณ์ตรง
ความคิดรวบยอด
หลักการเชิงนาม รรม
ลงมือทา
สังเกตแบบคิด
ไตร่ตรองเหตุ ผล
การเรียนร้
สร้างความร้
จาก ปสก
รับร้
สร้างร้
กระทา เฝาด
ครูโค้ชความคิด
ถามคือสอน
นักเรียนคิด
นักเรียนบรรลุ
อ๋อ! ฉันรู้แล้ว
ครูออกแบบ
นักเรียนทา
นักเรียน รู้ จาก
personal sensors
VA
S
K
ทัก ะใหม่ของ
ครเพื่อการเรียนร้
จากการป ิบัติ
ครทา AaL ให้เด็ก
ทา AfL ให้ตน
นาไปส่ PLC
นักเรียนบรรลุ อ๋อ!
ฉันต้องเปลี่ยน
รปที่ 5
เมื่อแพพลิกล่ม ครูต้องสังเกตแล้วทำ reflection (ขั้นที่ 3 ของ Kolb’ cycle) ด้วยถาม 2 อย่างให้เกิดการเรียนรู้
1) ถามความร้สก “รู้สึกอย่างไรเมื่อล้มเหลว” “ทำไมเรารู้สึกอย่างนั้น” “คิดว่าเพื่อนร่วมทีมจะรู้สึกอย่างไร
ถ้าที่ล่มนั้นเกิดเพราะเราเป็นคนวางดินน้ำมัน”
2) ถามเข้าหาสาระวิชาและพฤติกรรม “สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงอะไรกับแพ เมื่อเราวางดินน้ำมันบนแพ”
“ใครสังเกตเห็นอะไร ใครสังเกตุเห็นไม่เหมือนเพื่อน เพราะอะไร?” “ทำไมล่ม?” “คิดว่าถ้าไม่ให้ล่มต้อง
ขยับมาวางตรงไหน? เพราะอะไร?” “ระหว่างซ้อนดินน้ำมันขึ้นบนกับแผ่กว้าง เราควรวางแบบไหน?
เพราะอะไร?” “ลองย้อนกลับไปดูตอนที่เราทำงาน.. ว่าทำไมเราลืมคิดเรื่องเหล่านี้ไป”
โครงงานสะเต็มส่วนมากจบที่ให้นักเรียนออกไปเล่าขั้นตอน 1 และ 2 ของ Kolb’s experiential learning cycle
นักเรียนไม่สามารถแสดงให้เห็นการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง V และ A พร้อมการสร้าง K ได้ เพราะครูขาดทักษะใน
ขั้น reflective observation ของ Kolb’s cycle ขั้นตอนที่ 3 (เพาะพันธุ์ปัญญาเรียก “ถามคือสอน” เพื่อให้
นักเรียนได้ “สะท้อนคิดคือเรียน”)
การเรียนรู้จากขั้นตอนนี้ต้องการบรรยากาศที่ประณีต ผมขอแนะนำให้วางแผนใช้เวลาร่วมกับ Kolb’s cycle
โดยใช้เวลา 30-40% ทำขั้นตอนที่ 1 และ 2 และอีก 60-70% ทำขั้นตอนที่ 3 และ 4
หน้าที่ครูในขั้นตอนที่ 3 ขอให้ตั้งเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ
1) ที่ให้นักเรียนทำ Assessment as Learning (AaL) คือนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง เห็นการ
เรียนรู้ของตนเอง (Visible Learning) คือ เห็นเป้าหมายการเรียนรู้ เห็นผลการเรียนรู้ เห็นพฤติกรรมการ
เรียนรู้ และพัฒนา/ปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เอง AaL ทำให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
2) เป้าหมายที่ครู observe ตนเอง (ทำวิจัยในชั้นเรียน โดยวิจัยตัวครูเอง) แล้วทำ reflection เพื่อเกิด
Assessment for Learning (AfL)
เป้าหมายของ AfL มี 2 ประการคือ
1) เพื่อเอาไปปรับปรุงตนเอง เพื่อให้เด็กเกิด AaL อันเป็นเป้าหมายสูงสุด (ultimate goal)
2) เพื่อเอาไปขยายผลให้เกิดสังคมการเรียนรู้ในหมู่เพื่อนครูผ่าน PLC ดังนั้น PLC จะต้องเล่าเรื่อง AfL
การทำโครงงานจำนวนมาก (รวมทั้งที่สอนสะเต็มขณะนี้) จบที่ Hand-on Learning คือเอาที่รู้และรู้สึกไปนำเสนอ
ส่วนกรรมการก็ตัดสินด้วย “ความรู้สึก” ที่มีต่อประสบการณ์ฟัง/ดูการนำเสนอของนักเรียน เราจึงเห็นการ
นำเสนอพร้อมร้องรำทำเพลงอยู่เสมอ เมื่อประเมินชิ้นงาน ก็ยังประเมินจากความรู้สึกที่ตาเห็น ไม่ต่างกับเด็ก
ตัดสินใจซื้อขนมจาก packaging โดยไม่อ่านคุณค่าทางโภชนาการ
เมื่อมีการประเมินความดีความชอบครู เขาก็ดูจากรางวัลที่ได้มา โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่าเป็นรางวัลที่ผ่านการ
ตัดสินด้วยความรู้สึก เราแทบไม่เห็นใครประเมินความสามารถครูที่ยกระดับ hand-on learning ให้เป็น
experiential learning เลย
ขั้นตอนที่ 3 ที่กล่าวมานี้ คือ สิ่งที่ขาดหายไปในการ train ครู ประกอบกับการที่วงการการศึกษาเอา “ความรู้สึก”
ในชิ้นงานมาบังตา ไม่เห็นการเรียนรู้ที่เด็กควรได้จากการทำงาน มันจึงเป็นสะเต็มที่นอกจากไม่เป็นสะเต็มแล้ว
เด็กยังไม่ได้รับการศึกษาจากสะเต็ม.. จึงไม่อาจเป็น “สะเต็มศึกษา”
ตอนที่ 3 การโค้ชสะเต็มให้หลอมรวมกับปรัชญาของเศร ฐกิจพอเพียง (SEP)
“จำนวนขวดในโรงเรียนสัมพันธ์กับ % พื้นที่นาอย่างไร?” คำถามนี้ทำให้สะเต็มนาวาฝ่าวิกฤติกลายเป็นความ
เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คุณหมอวิจารณ์ พานิช ที่ร่วมในการทำ PLC ให้ความเห็นว่านักเรียนวัยนี้ (ม. 2) ควรทำให้เป็น authentic STEM
project คือทำโครงงานในสภาพจริงกับหนองน้ำชุมชน จะดีกว่าแค่เอาขวดมาพันเทปบรรทุกดินน้ำมันลอยใน
กะละมัง การคิดถึงคำถามข้างต้นผุดขึ้นมาจาก authentic STEM ที่ตั้งใจให้หลอมรวมกับปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง
สะเต็มเป็นแนวคิดสร้างนวัตกรรม (เทคโนโลยี T) ซึ่งโดยหลักแล้วคือ “ใช้กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ที่อาศัย
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไปดัดแปลงธรรมชาติ” สะเต็มจึงรบกวนธรรมชาติแล้วส่งผลต่อเนื่องไปที่
ความไม่ยั่งยืน จึงขัดกับ SEP ที่เป็นมรรคของ SDG เราจึงต้องรวม STEM กับ SEP ให้ได้ (เพาะพันธุ์ปัญญาเรียก
SEEEM project)
ผมขอเสนอแนวคิดแผนการจัดการเรียนรู้กรณีนาวาฝ่าวิกฤติเป็น 12 ขั้นตอน ดังนี้
1) ให้นักเรียนรวบรวมขวดน้ำพลาสติกทั้งหมด ทำสถิติปริมาณตามเวลา 1 ปี แยกขวดออกเป็นในและนอก
โรงเรียน
2) หาราคาที่จ่ายเป็นค่าเครื่องดื่มจากขวดที่รวบรวมได้ แยกเป็นเครื่องดื่มที่จำเป็นมากน้อยต่างกัน (กำหนด
criteria ความจำเป็นกันเอง) คำนวณค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สืบสาวไปถึงต้นตอว่าเงินใช้จ่ายไปอยู่ที่ใคร
และเงินที่เอามาจ่ายนั้นมาจากไหน (supply and value chain)
3) หารายรับและต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่จากการทำนาในพื้นที่ แล้วหาคำตอบว่าค่าเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็นในข้อ 2
เทียบเท่ากำไรที่ได้จากการทำนากี่ไร่
4) ครูทบทวนความรู้แรงลอยตัว พฤติกรรมการลอยการจมเมื่อความหนาแน่นเปลี่ยนไป (3 ปรากฏการณ์ที่
เขียนในตอนที่ 1)
5) ให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามรูปที่ 2 (น้ำหนักบรรทุกสูงสุดขึ้นกับปริมาตรขวด น้ำหนักขวด
และความหนาแน่นน้ำ) หาความสามารถรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของขวดชนิดต่าง ๆ
6) ครูกำหนดเกณฑ์สมรรถนะที่เป็นค่าสัมพัทธ์และเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันเอง (ที่เขียนในตอนที่ 1) พร้อมเกณฑ์
การประเมิน แล้วให้นักเรียนใช้ความรู้จากข้อ 5 ออกแบบแพโดยใช้ S และ M ที่ครูทบทวนในข้อ 4
สร้างและทดสอบ (เป็น RBL-Based STEM)
7) ให้นักเรียนเอาที่เรียนรู้การผูกเงื่อนในวิชาลูกเสือมาผูกขวดติดกัน ทดสอบการยึดติดกันเมื่อถูกโยก
(จำลองสภาพแพถูกคลื่น) แก้จุดอ่อนของจุดเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของแพ ได้คำตอบเป็นวิธีการผูกแพ
8) ให้นักเรียนช่วยกันกำหนดสมรรถนะใช้งานตามสภาพใช้งานในชุมชน เช่น พื้นที่บรรทุก ระยะพ้นน้ำของ
พื้นแพ น้ำหนักบรรทุกและการกระจายของน้ำหนักบรรทุก ฯลฯ กำหนดวิธีทดสอบสมรรถนะ
9) ให้นักเรียนใช้ความรู้จาก RBL-Based STEM จากข้อ 6 ออกแบบลักษณะทางกายภาพของแพตาม
สมรรถนะที่กำหนดในข้อ 8 กำหนดวัสดุที่ต้องใช้ หลังครูตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้นักเรียนจัดทีม
แบ่งงานกันทำแพ ทดสอบสมรรถนะที่กำหนดในสภาพใช้งานจริง
10) ประเมินความต้องการแพในขณะใดขณะหนึ่งตอนน้ำท่วม หาความต้องการขวดทั้งหมด เอาข้อมูล
ปริมาณขวดที่สำรวจจากข้อ 1 มาวางแผนรับมือน้ำท่วม เสนอต่อ อบต.
11) เอาความรู้จากข้อ 1-10 มาแตกประเด็น จัดกลุ่มเขียนบทความจากข้อมูล (น่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 5 บทความ)
12) เอาความรู้ที่ตกผลึกจากข้อ 11 คืนให้ชุมชน
พิจารณาให้ดีจะเห็นว่าการเอาบริบทเข้ามาเป็น authentic RBL-Based STEM อย่างนี้มีโอกาสให้เกิดการเรียน
STEM และ SEP ไปพร้อม ๆ กัน
ครูที่อ่านจนจบมองเห็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ต่างไปจากการทำโครงงานอิงเกษตรกรรมแบบที่เราเห็นกัน
ทั่วไปหรือไม่
STEM และ SEP ไม่ได้อยู่ในคู่มือ แต่อยู่ในสิ่งรอบตัวนักเรียน ในครอบครัว ในโรงเรียน ในชุมชน มันขึ้นกับ
ความสามารถของครูในการเห็นโจทย์ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ครูต้องพัฒนาความเข้าใจ Kolb experiential
learning cycle และพัฒนาสมรรถนะการสอนโครงงานฐานวิจัยขึ้นมาก่อน

More Related Content

More from Pattie Pattie

Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdfPattie Pattie
 
๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf
๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf
๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdfPattie Pattie
 
LifeLongLearner.pptx
LifeLongLearner.pptxLifeLongLearner.pptx
LifeLongLearner.pptxPattie Pattie
 
High-education-vicharn.pptx
High-education-vicharn.pptxHigh-education-vicharn.pptx
High-education-vicharn.pptxPattie Pattie
 
660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx
660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx
660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptxPattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
 
๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf
๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf
๓๖ ปี แพทย์ศิรราช ๗๑.pdf
 
LifeLongLearner.pptx
LifeLongLearner.pptxLifeLongLearner.pptx
LifeLongLearner.pptx
 
Ravivan.pdf
Ravivan.pdfRavivan.pdf
Ravivan.pdf
 
Siriraj71.pdf
Siriraj71.pdfSiriraj71.pdf
Siriraj71.pdf
 
37Years_Sampran.pdf
37Years_Sampran.pdf37Years_Sampran.pdf
37Years_Sampran.pdf
 
High-education-vicharn.pptx
High-education-vicharn.pptxHigh-education-vicharn.pptx
High-education-vicharn.pptx
 
660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx
660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx
660316_ปัญญาจักรวาล_HA 23 (1).pptx
 

สอนนาวาฝ่าวิกฤติให้เป็นสะเต็มและ SEEEM.pdf

  • 1. สอนนาวาฝ่าวิกฤติให้เป็นสะเต็มและ SEEEM ความนำ บทความสั้น 3 ตอนนี้เขียนจากประสบการณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ครูท่านหนึ่งที่เอาเรื่องการสอนสะเต็มเรื่องนาวาฝ่า วิกฤติมาเล่าในวง PLC การสอนสะเต็มจากเรื่องนาวาฝ่าวิกฤติมีปรากฎในคู่มือการสอนสะเต็มของ สสวท. เมื่อ ประมาณ 10 ปีมาแล้ว ซึ่งผมใช้เป็นวัตถุดิบเขียนหนังสือเกี่ยวกับสะเต็มเล่มแรก ชื่อ “สะเต็มศึกษา: ความท้าทาย ใหม่ของการศึกษาไทย” (ตุลาคม 2558, 177 หน้า) download ได้ที่ www.พพปญ.net ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา Clip ใน YouTube ยืนยันได้ว่าครูยังสอนเรื่องนี้ในรูปแบบเดิม ๆ ไม่ต่างจาก clip ที่เอา มาทำ PLC ครั้งนี้ ผมจึงทำงานในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอย่างตั้งใจมากกว่าทุกครั้ง ดู clip อ่านเอกสารของครู ฟัง ครูเล่าเรื่องแล้วคิดว่าจะต้องเขียนเรื่องนี้อีกสักครั้ง ตอนที่ 1 สะเต็มที่ไม่เป็นสะเต็ม แต่คิดว่าเป็น “ในโลกพัฒนาการมนุษย์มีหน้าที่สร้างเหตุให้เกิดผลตามกฎ “ผลเกิดจากเหตุ” STEM คือการเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุกับผล ที่มี S อธิบายได้ และมี M ทำให้คาดการณ์ผลได้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะสร้างเหตุไม่ถูก สิ่งที่ทำ จะกลายเป็นการ “กะ ๆ เอาตามที่มโนได้” ย่อมไม่เป็น STEM” เป็นบทสรุปทิ้งท้ายการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำ PLC ของครูสอนโครงงานสะเต็มเรื่องนาวาฝ่าวิกฤติชั้น ม. 2 ท่านหนึ่ง เมื่อ 15 มีนาคม 2566 ครูตั้งเป้าหมายการสอน “นักเรียนเป็นวิศวกรที่จะต้องออกแบบและสร้างแพสำหรับบรรทุกสิ่งของในช่วงวิกฤติ น้ำท่วมให้ได้ปริมาณมากที่สุด โดยใช้งบประมาณในการสร้างอย่างคุ้มค่า และระบุปริมาณสิ่งของที่แพจะ สามารถบรรทุกได้อย่างแม่นยำ เพื่อป้องกันไม่ให้แพจมน้ำจนทำให้สิ่งของเปียกน้ำ” ครูผู้อ่านที่คุ้นเคยกับการ สอนสะเต็มฟังแล้วเหมือนเคยได้ยิน/อ่านมาจากที่หนึ่งใช่ไหม? ครูต้นเรื่องเล่าเนื้อหาที่มาของการสอนสะเต็ม บรรยากาศการสอนตามแผน เงื่อนไขการประเมินโครงงาน เช่น งบประมาณไม่เกิน 100 บาท บรรทุกน้ำหนักได้ตามคาดการณ์จะได้คะแนนเพิ่ม เป็นต้น เมื่อเปิด Clip การสอน ให้ดู ผมเห็นนักเรียนเลือกวัสดุ คือ ขวดเปล่า ไม้ไอศกรีม เทปกาว แผ่นฟิวเจอร์ ฯลฯ มาประกอบเป็นแพลอยใน กะละมัง บรรจงวางแท่งดินน้ำมัน (แทนน้ำหนักบรรทุก) ประเมินความสำเร็จการเรียนรู้ คือ แพบรรทุกของได้ น้ำหนักตามที่ทำนายโดยไม่พลิกคว่ำ เป็นต้น
  • 2. นาวาฝ่าวิกฤติเป็นโครงงานสะเต็มที่ สสวท. ออกมาสู่สาธารณะชุดแรกเมื่อราว ๆ ปลายปี 2556 ใน YouTube มี clip เรื่องนี้จากโรงเรียนต่าง ๆ เต็มไปหมด ผมให้ข้อแนะนำแก่ครูว่า ครูควรพัฒนา “นิสัยสะเต็ม” เบื้องต้น คือ เชื่อว่าโครงงานสะเต็ม (ส่วนมากคือ สิ่งประดิษฐ์) ที่นักเรียนเสนอทำนั้นส่วนมากมีอยู่แล้ว การจะทำสิ่งนั้นต้องมีเป้าหมายทำให้ดีกว่าเดิม วิศวกรจะ ทำอะไรออกมาขายเขามีนิสัยอย่างนี้ทั้งนั้น (พวกที่ไม่ทำอย่างนี้เจ๊งหมดตัวกันหมดแล้ว) ครูจึงต้องมี “นิสัยสะ เต็ม” ก่อนนักเรียน กล่าวคือครูควรดู clip เหล่านั้นเพื่อสรุปเทคนิค เครื่องมือที่ใช้ แผนการสอน กระบวนการ ห้องเรียน บทบาทครู ฯลฯ ข้อแนะนำนี้ต้องการให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการสอนสะเต็มให้ดีขึ้นนั่นเอง การ review clip การสอนเพื่อทำใหเดีกว่าคือการสร้างนิสัยสะเต็ม นั่นเอง ครูตั้งเป้าหมาย “บรรทุกของให้ได้ปริมาณมากที่สุดโดยใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า” อันนี้ก็เป็นนิสัยวิศวกร เพราะคุ้มค่าหมายความว่า “ดีโดยเปรียบเทียบ” จึงเป็นค่าสัมพัทธ์ (relative) ระหว่าง “สิ่งที่ได้” กับ “สิ่งที่เสีย ไป” เช่น เราได้ความสามารถบรรทุก (กก.) โดยเสียเงินลงทุน (บาท) ดังนั้นเป้าหมายแบบ Engineering คือ “นน. บรรทุก/บาทของราคาแพมากที่สุด” (ต้องสร้างแพราคาต่ำ แต่บรรทุกน้ำหนักได้มาก หน่วย กก./บาท คล้ายกับ รถยนต์ใช้น้ำมัน กม./ลิตร) ผมเสนอครูให้เอามาใช้เป็นเกณฑ์ที่ 1 ในการประเมิน “ความเป็นสะเต็ม” เมื่อเห็นเป็นเด็ก ม. 2 ผมเสนอเพิ่มเกณฑ์ที่ 2 “น้ำหนักบรรทุก/นน. แพมากที่สุด” (ต้องสร้างแพน้ำหนักเบา แต่ บรรทุกน้ำหนักได้มาก) สุดยอดของความเป็นครูสะเต็ม คือ การอออกแบบเงื่อนไขให้เกณฑ์ทั้ง 2 ขัดแย้งกันเอง มีขวดหลายขนาดให้เลือก โดยราคาไม่แปรผันโดยตรง (linear) กับความสามารถบรรทุก เช่น ขวดเล็กรับน้ำหนักบรรทุกได้ 50% ของขวด ใหญ่ แต่ราคาเป็น 40% ของขวดใหญ่ และมีน้ำหนัก 60% ของขวดใหญ่ ความขัดแย้ง คือ ขวดเล็กได้เปรียบใน เกณฑ์ที่ 1 แต่เสียเปรียบในเกณฑ์ที่ 2 เป้าหมายสำคัญอีกประการที่ครูระบุ คือ “ระบุปริมาณสิ่งของที่แพจะสามารถบรรทุกได้อย่างแม่นยำ” ที่น่าเสียดายคือ clip การสอนที่ส่งมาทำ PLC นั้น ผมไม่เห็นตาชั่งและกระบอกตวงเลย นักเรียนคาดเอาเองว่าแพ ของตนบรรทุกดินน้ำมันได้กี่ก้อนแล้วลองวางให้ครูเห็น ไชโยดีใจได้เพิ่ม 5 คะแนนเมื่อคาดได้ถูก โดยไม่ตระหนัก ว่าไม่ใช่การบรรทุกได้มากที่สุดตามเป้าหมายการสร้างแพ ผมเห็นแพพลิกคว่ำเพราะวางน้ำหนักไม่สมดุลแล้วครู สรุปผลให้คะแนน จึงสงสัยว่าสมมุตินักเรียนแจ้งครูว่า “คาดว่า” บรรทุกดินน้ำมันได้ 7 ก้อน พอวางก้อนที่ 8 แพ พลิกคว่ำ หมายความว่าทำนายผลได้แม่นยำใช่ไหม (ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่ว่าเมื่อวาง 7 ก้อนนั้นแพลอยพ้นน้ำอีกมาก
  • 3. ถ้าไม่ล่มเสียก่อน อาจจะบรรทุกได้ถึง 10 ก้อนก็เป็นได้) การสอนอย่างนี้ไม่ใช่สะเต็มแน่ ๆ เพราะไม่ได้ใช้ความรู้ S และ M มาคาดการณ์ วิทยาศาสตร์คือแรงพยุงให้วัตถุลอยเหนือน้ำ มีความรู้ที่รู้แล้วว่า “แรงพยุงเท่ากับน้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่ากับ ส่วนที่จม” เราเรียกความรู้นี้ว่า “รู้ส่วนผิว” คือ รู้ตามนิยามที่จำได้ เทียบกับ Bloom’s cognitive ขั้นที่ 1 รู้ขั้นที่ 2 คือ “รู้ลึก” (เข้าใจ) คือรู้ 3 ปรากฏการณ์เมื่อวัตถุอยู่ในน้ำ ต่อไปนี้ 1. ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ มันจะลอยน้ำ 2. ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ มันจะจมน้ำ 3. ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นเท่ากับน้ำ มันจะไม่ลอยไม่จมน้ำ สองขั้นความรู้นี้คือ “รู้” และ “เข้าใจ” S คือ เข้าใจว่าขวดลอยน้ำเพราะ “น้ำหนัก/ปริมาตร” (ความหนาแน่น) มี ค่าน้อยกว่า 1 g/cc เมื่อเติมน้ำหนักบรรทุกเข้าไป (ใส่ดินน้ำมันเข้าไปในขวด) ขวดจะค่อย ๆ ลดระดับลง เหมือน เรือบรรทุกของจะลดระดับลง ดังนั้นน้ำหนักบรรทุกสูงสุดคือเกิดในปรากฏการณ์ที่ 3 น้ำหนักบรรทุกมากที่สุดจะ ทำให้ขวดมีความหนาแน่นเท่ากันความหนาแน่นน้ำ (1 g./cc.) ครูที่เข้าใจทั้ง S ของการลอยและ M ที่เป็นตัวแทนรูปร่างขวดจะจินตนาการเห็นภาพที่ 1 ในหัว น้าหนักบรรทุก ความหนาแน่นขวด ระดับจมของขวด ความหนาแน่นน้า ความยาวเส้น ผ่านศูนย์กลางขวด ระดับจมของขวดเปล่า ขวดจมปริ่มน้า ความหนาแน่นขวดเปล่า รปที่ 1
  • 4. เข้าใจไม่ยากว่าทำไมความหนาแน่นขวดแปรเป็นเส้นตรงกับน้ำหนักบรรทุก (ดินน้ำมันที่ใส่ในขวด) แต่ระดับจม ของขวดต้องใช้จินตนาการสูงกว่าเพื่อเข้าใจว่าทำไมเป็นเส้นโค้งกลับไปมาอย่างนั้น ผมขอละไว้ให้ครูที่อ่านเรื่องนี้ หาคำตอบเอาเอง ความรู้ที่ได้เส้นนี้คือรู้เชื่อมโยง S และ M เข้าด้วยกัน รู้ขั้นที่ 3 คือ “รู้เชื่อมโยง” (ประยุกต์ความรู้) เกิดจากประยุกต์ความเข้าใจ 3 ข้อข้างต้น ครูที่เข้าใจความรู้และ เชื่อมโยงความรู้ได้จะประยุกต์ S ร่วมกับ M หา นน. บรรทุกสงสุด (g) = ปริมาตรขวด (cc) x ความหนาแน่นน้ำ (1 g/cc) – นน. ขวด (g) สมการนี้คือ M ที่เป็นตัวแทน S เพื่อเอาไปใช้งานต่อ ทางซ้ายของสมการคือ “ผล” เกิดจาก 3 “เหตุ”ขวามือ คือ 1) ปริมาตรขวด 2) ความหนาแน่นน้ำ และ 3) น้ำหนัก ขวด โดย 2 เหตุแรกมีความสัมพันธ์ที่แปรไปในทิศทางเดียวกับผล (การเพิ่มของเหตุทำให้ผลเพิ่ม ขวดใหญ่บรรทุก ได้มาก แทนความสัมพันธ์ด้วยลูกศรเส้นทึบ) และเหตุที่ 3 แปรแบบสวนทางกัน (เพิ่มเหตุทำให้ผลลดลง ลูกศร เส้นประ) ซึ่งเขียนเป็นไดอะแกรมเหตุและผลได้ดังรูปที่ 2 การเพิ่มของเหตุทั้ง 3 ทำให้น้ำหนักบรรทุก (ผล) เพิ่ม 2 เส้นทางและลดลง 1 เส้นทาง เพียงเท่านี้นักเรียนก็ สามารถทำนายน้ำหนักบรรทุกได้อย่างแม่นยำ โดยมีเครื่องมือ คือ ตาชั่งและกระบอกวัดปริมาตร เราเรียกการ ทำงานตามผังนี้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ นน บรรทุก ความหนาแน่นน้า ปริมาตรขวด นน ขวด รปที่ 2
  • 5. น่าเสียดายที่ดู clip ไม่เห็นนักเรียนหาปริมาตรกับน้ำหนักขวด น่าเสียดายที่ครูไม่ได้เตรียมเครื่องมือให้เด็ก น่า เสียดายที่เด็กไม่รู้ว่าต้องใช้ตาชั่งกับกระบอกตวง ความน่าเสียดายเหล่านี้ทำให้การสอนเรื่องนาวาฝ่าวิกฤตินี้ไม่เป็น สะเต็ม ทำไมเป็นเช่นนั้น? เป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบพัฒนาครูสอนสะเต็มควรหาคำตอบกันเอง ผมกล่าวแล้วว่า ข้างต้นนั้นเราได้เพียงโครงงานวิทยาศาสตร์ คือมีแค่ S และ M เท่านั้น นาวาฝ่าวิกฤติจะเป็น STEM ที่แท้จริงเกิดเมื่อครูท้าทายการคิดสูงขึ้นโดยเอาเกณฑ์สมรรถนะแบบสัมพัทธ์ (relative) ในแนวคิดของ Engineering มาใช้ คือ “น้ำหนักบรรทุก/ราคาแพ” และ “นน. บรรทุก/นน. แพ” ที่กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งจะเห็น ความสัมพันธ์ของเหตุและผลซับซ้อนขึ้นดังรูปที่ 3 เกณฑ์สมรรถนะที่ 1 “นน. บรรทุก/ราคา” จะมีเหตุใหม่เพิ่มเข้ามา คือ “ราคาขวด/ปริมาตร” และเกณฑ์ สมรรถนะที่ 2 “นน. บรรทุก/นน. แพ” จะมีเหตุ “นน. ขวด/ปริมาตร” ซึ่งเหตุใหม่ทั้ง 2 นี้ครูตั้งเงื่อนไขให้ขัดแย้ง กันเอง ดังได้กล่าวมาแล้ว (ไม่แปรตามกันแบบเชิงเส้น) จากผังไดอะแกรมความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล และเงื่อนไขการประเมินความเป็นสะเต็ม (ที่คะแนนของเกณฑ์ไม่ เท่ากัน) นักเรียนจะทราบทันทีว่าหากต้องการได้คะแนนประเมินสูงสุด เขาต้องตัดสินใจสร้างแพอย่างไร อย่างนี้จึง จะเป็น STEM นน บรรทุก ความหนาแน่นน้า ปริมาตรขวด นน ขวด ราคาขวด ปริมาตร นน บรรทุก ราคา นน ขวด ปริมาตร นน บรรทุก นน แพ ลข้นกับ 4 เหตุ 1st criteria 2nd criteria Science Project STEM Project รปที่ 3
  • 6. โครงงานนี้จะมีความเป็นสะเต็มมากขึ้น ถ้าครูประเมินด้วยเกณฑ์ที่ 3 “นน. บรรทุก/พื้นที่ มากที่สุด” เกณฑ์นี้ ต้องการแพมีพื้นที่น้อย ซึ่งจะมีปัญหา stability คือ พลิกคว่ำง่าย นักเรียนต้องแลกสิ่งที่ได้กับสิ่งที่เสีย หากยอม ให้แพมีพื้นที่มากจะได้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มแลกกับไม่พลิกคว่ำ แต่อาจจะได้คะแนนจากเกณฑ์ที่ 3 น้อยลง “ราคา” “น้ำหนัก” “พื้นที่” ที่เอามาสัมพันธ์กับ “น้ำหนักบรรทุก” ให้เป็นเกณฑ์เหล่านี้คือการคิดออกแบบการ สอนของครู ที่ต่างออกไปจากนาวาฝ่าวิกฤติอื่นที่เป็นอยู่ ครูที่คิดอย่างนี้ได้ต้องมี attitude แบบ engineering ก่อน เพราะเกณฑ์ทั้ง 3 คือแนวคิดของวิศวกรในการทำของให้ดีกว่าคนอื่น จุดอ่อนของการฝึกครูสอนโครงงานสะเต็ม คือไม่ได้ฝึกให้ครูเข้าใจ engineering และมี engineering attitude เราจึงเห็นโครงงานวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่าเป็นสะเต็มเกลื่อนไปหมด
  • 7. ตอนที่ 2 การโค้ชสะเต็มให้เป็น experiential learning รูปที่ 4 (Kolb. D., 1984) อธิบายเรื่องการเรียนรู้จากปฏิบัติ ทำให้ผมเข้าใจเลยว่าปัญหาการสอนโครงงานอยู่ที่ ไหน เรียนรู้จากการลงมือทำ (Hand-on Learning) คือ การเรียนจากการทำงานโดยไม่มีกระบวนการคิด เด็กปักลาย ผ้า เขาได้ประสบการณ์ เกิดทักษะการร้อยเข็ม การลงเข็ม การคาดระยะฝีเข็มไม่ให้แทงมือ ทำไปนาน ๆ เขาได้ ทักษะ อาจจะคล่องถึงกับหลับตาปักผ้าได้ (เหมือนคนถักโครเชต์ ที่ถักไปดูโทรทัศน์ไปด้วย) เรียนรู้ ่านประสบการณ์ (Experiential Learning) ผมตั้งใจใช้คำว่า “ผ่าน” เพราะ mean สำคัญอยู่ที่การโค้ช ของครู เด็กทำงาน เด็กได้ประสบการณ์แบบ Hand-on Learning แต่มีขั้นตอนของครูให้เด็กเกิดการคิดจนเด็ก เป็นผู้สรุปรวบยอดเป็นความรู้ได้เอง (abstract conceptualization) เมื่อเด็กลงมือทำงาน (act/do) สิ่งที่เขาได้โดยอัตโนมัติคือสภาวะรับรู้ประสบการณ์และรู้สึก (experience/feel) เป็นประสบการณ์จากประสาทสัมผัส ตา หู ลิ้น จมูก กาย ที่เอาเข้าไปประกอบกับ V A อันเป็นฐานของเจตคติเดิม เกิดเป็นความรู้สึก (feel) ในโครงงานนาวาฝ่าวิกฤติ การทำแพคือ act/do เป็นเครื่องมือนำไปสู่ experience/feel Experiential learning is the process of learning through experience, and is more narrowly defined as "learning through reflection on doing". Hands-on learning can be a form of experiential learning, but does not necessarily involve students reflecting on their product. จาก HoL เป็น EL ทัก ะใหม่ของ ครเพื่อเปลี่ยน HoL ให้เป็น EL ทัก ะเดิมของ ครออกแบบให้ นร ทางาน HoL รปที่ 4
  • 8. การเรียนเกิดเมื่อครูทำขั้นที่ 3 (รูปที่ 5) โดยการตั้งคำถามให้นักเรียนได้ reflect/watch คือสะท้อนคิดแบบ ไตร่ตรองใน 2 ด้าน คือ 1) ด้านอารมณ์ความร้สก คือเฝ้าดูและพิจารณาความรู้สึกเมื่อเกิดการรับรู้ คำถามที่ทรงพลังจะกระแทกไป ที่จิตใจ ทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลง value และ attitude ได้ (ร้อง อ๋อ.. ฉันควร/ต้อง/จะเปลี่ยนแปลง มุมมอง/ความเชื่อ/ทัศนคติ) 2) ด้านการใช้เหตุและ ลของสมองซีกซ้าย ให้เอาความรู้เดิมมาบูรณาการจนเกิดความคิดรวบยอดได้ หลักการ เป็นการสร้าง knowledge ขึ้นมาเอง (ร้อง อ๋อ... ฉันรู้แล้ว) เมื่อดู clip ที่เด็กวางก้อนดินน้ำมัน ผมเห็น 2 อย่าง คือ 1) ก้อนสุดท้ายที่วางได้ยังไม่บรรลุเกณฑ์ทั้ง 3 ของ STEM (“นน. บรรทุก/ราคาแพ” “นน. บรรทุก/นน. แพ” “นน. บรรทุก/พื้นที่แพ”) เพราะก้อนสุดท้ายไม่ใช่น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (แพยังลอยเหนือน้ำอีกมาก แต่ล่มเสียก่อน) เป็นการเห็นความรู้ในสะเต็ม เรื่องนี้อธิบายไปมากแล้ว 2) ปฏิกิริยาของนักเรียน ที่แสดงออกมาจากอารมณ์ความรู้สึกขณะนั้น เป็นการเห็นโอกาสสร้างการเรียนรู้ ซึ่งขออธิบายเพิ่ม ประสบการณ์ตรง ความคิดรวบยอด หลักการเชิงนาม รรม ลงมือทา สังเกตแบบคิด ไตร่ตรองเหตุ ผล การเรียนร้ สร้างความร้ จาก ปสก รับร้ สร้างร้ กระทา เฝาด ครูโค้ชความคิด ถามคือสอน นักเรียนคิด นักเรียนบรรลุ อ๋อ! ฉันรู้แล้ว ครูออกแบบ นักเรียนทา นักเรียน รู้ จาก personal sensors VA S K ทัก ะใหม่ของ ครเพื่อการเรียนร้ จากการป ิบัติ ครทา AaL ให้เด็ก ทา AfL ให้ตน นาไปส่ PLC นักเรียนบรรลุ อ๋อ! ฉันต้องเปลี่ยน รปที่ 5
  • 9. เมื่อแพพลิกล่ม ครูต้องสังเกตแล้วทำ reflection (ขั้นที่ 3 ของ Kolb’ cycle) ด้วยถาม 2 อย่างให้เกิดการเรียนรู้ 1) ถามความร้สก “รู้สึกอย่างไรเมื่อล้มเหลว” “ทำไมเรารู้สึกอย่างนั้น” “คิดว่าเพื่อนร่วมทีมจะรู้สึกอย่างไร ถ้าที่ล่มนั้นเกิดเพราะเราเป็นคนวางดินน้ำมัน” 2) ถามเข้าหาสาระวิชาและพฤติกรรม “สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงอะไรกับแพ เมื่อเราวางดินน้ำมันบนแพ” “ใครสังเกตเห็นอะไร ใครสังเกตุเห็นไม่เหมือนเพื่อน เพราะอะไร?” “ทำไมล่ม?” “คิดว่าถ้าไม่ให้ล่มต้อง ขยับมาวางตรงไหน? เพราะอะไร?” “ระหว่างซ้อนดินน้ำมันขึ้นบนกับแผ่กว้าง เราควรวางแบบไหน? เพราะอะไร?” “ลองย้อนกลับไปดูตอนที่เราทำงาน.. ว่าทำไมเราลืมคิดเรื่องเหล่านี้ไป” โครงงานสะเต็มส่วนมากจบที่ให้นักเรียนออกไปเล่าขั้นตอน 1 และ 2 ของ Kolb’s experiential learning cycle นักเรียนไม่สามารถแสดงให้เห็นการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง V และ A พร้อมการสร้าง K ได้ เพราะครูขาดทักษะใน ขั้น reflective observation ของ Kolb’s cycle ขั้นตอนที่ 3 (เพาะพันธุ์ปัญญาเรียก “ถามคือสอน” เพื่อให้ นักเรียนได้ “สะท้อนคิดคือเรียน”) การเรียนรู้จากขั้นตอนนี้ต้องการบรรยากาศที่ประณีต ผมขอแนะนำให้วางแผนใช้เวลาร่วมกับ Kolb’s cycle โดยใช้เวลา 30-40% ทำขั้นตอนที่ 1 และ 2 และอีก 60-70% ทำขั้นตอนที่ 3 และ 4 หน้าที่ครูในขั้นตอนที่ 3 ขอให้ตั้งเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ 1) ที่ให้นักเรียนทำ Assessment as Learning (AaL) คือนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง เห็นการ เรียนรู้ของตนเอง (Visible Learning) คือ เห็นเป้าหมายการเรียนรู้ เห็นผลการเรียนรู้ เห็นพฤติกรรมการ เรียนรู้ และพัฒนา/ปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เอง AaL ทำให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เป้าหมายที่ครู observe ตนเอง (ทำวิจัยในชั้นเรียน โดยวิจัยตัวครูเอง) แล้วทำ reflection เพื่อเกิด Assessment for Learning (AfL) เป้าหมายของ AfL มี 2 ประการคือ 1) เพื่อเอาไปปรับปรุงตนเอง เพื่อให้เด็กเกิด AaL อันเป็นเป้าหมายสูงสุด (ultimate goal) 2) เพื่อเอาไปขยายผลให้เกิดสังคมการเรียนรู้ในหมู่เพื่อนครูผ่าน PLC ดังนั้น PLC จะต้องเล่าเรื่อง AfL การทำโครงงานจำนวนมาก (รวมทั้งที่สอนสะเต็มขณะนี้) จบที่ Hand-on Learning คือเอาที่รู้และรู้สึกไปนำเสนอ ส่วนกรรมการก็ตัดสินด้วย “ความรู้สึก” ที่มีต่อประสบการณ์ฟัง/ดูการนำเสนอของนักเรียน เราจึงเห็นการ
  • 10. นำเสนอพร้อมร้องรำทำเพลงอยู่เสมอ เมื่อประเมินชิ้นงาน ก็ยังประเมินจากความรู้สึกที่ตาเห็น ไม่ต่างกับเด็ก ตัดสินใจซื้อขนมจาก packaging โดยไม่อ่านคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อมีการประเมินความดีความชอบครู เขาก็ดูจากรางวัลที่ได้มา โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่าเป็นรางวัลที่ผ่านการ ตัดสินด้วยความรู้สึก เราแทบไม่เห็นใครประเมินความสามารถครูที่ยกระดับ hand-on learning ให้เป็น experiential learning เลย ขั้นตอนที่ 3 ที่กล่าวมานี้ คือ สิ่งที่ขาดหายไปในการ train ครู ประกอบกับการที่วงการการศึกษาเอา “ความรู้สึก” ในชิ้นงานมาบังตา ไม่เห็นการเรียนรู้ที่เด็กควรได้จากการทำงาน มันจึงเป็นสะเต็มที่นอกจากไม่เป็นสะเต็มแล้ว เด็กยังไม่ได้รับการศึกษาจากสะเต็ม.. จึงไม่อาจเป็น “สะเต็มศึกษา”
  • 11. ตอนที่ 3 การโค้ชสะเต็มให้หลอมรวมกับปรัชญาของเศร ฐกิจพอเพียง (SEP) “จำนวนขวดในโรงเรียนสัมพันธ์กับ % พื้นที่นาอย่างไร?” คำถามนี้ทำให้สะเต็มนาวาฝ่าวิกฤติกลายเป็นความ เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณหมอวิจารณ์ พานิช ที่ร่วมในการทำ PLC ให้ความเห็นว่านักเรียนวัยนี้ (ม. 2) ควรทำให้เป็น authentic STEM project คือทำโครงงานในสภาพจริงกับหนองน้ำชุมชน จะดีกว่าแค่เอาขวดมาพันเทปบรรทุกดินน้ำมันลอยใน กะละมัง การคิดถึงคำถามข้างต้นผุดขึ้นมาจาก authentic STEM ที่ตั้งใจให้หลอมรวมกับปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง สะเต็มเป็นแนวคิดสร้างนวัตกรรม (เทคโนโลยี T) ซึ่งโดยหลักแล้วคือ “ใช้กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ที่อาศัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไปดัดแปลงธรรมชาติ” สะเต็มจึงรบกวนธรรมชาติแล้วส่งผลต่อเนื่องไปที่ ความไม่ยั่งยืน จึงขัดกับ SEP ที่เป็นมรรคของ SDG เราจึงต้องรวม STEM กับ SEP ให้ได้ (เพาะพันธุ์ปัญญาเรียก SEEEM project) ผมขอเสนอแนวคิดแผนการจัดการเรียนรู้กรณีนาวาฝ่าวิกฤติเป็น 12 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ให้นักเรียนรวบรวมขวดน้ำพลาสติกทั้งหมด ทำสถิติปริมาณตามเวลา 1 ปี แยกขวดออกเป็นในและนอก โรงเรียน 2) หาราคาที่จ่ายเป็นค่าเครื่องดื่มจากขวดที่รวบรวมได้ แยกเป็นเครื่องดื่มที่จำเป็นมากน้อยต่างกัน (กำหนด criteria ความจำเป็นกันเอง) คำนวณค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สืบสาวไปถึงต้นตอว่าเงินใช้จ่ายไปอยู่ที่ใคร และเงินที่เอามาจ่ายนั้นมาจากไหน (supply and value chain) 3) หารายรับและต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่จากการทำนาในพื้นที่ แล้วหาคำตอบว่าค่าเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็นในข้อ 2 เทียบเท่ากำไรที่ได้จากการทำนากี่ไร่ 4) ครูทบทวนความรู้แรงลอยตัว พฤติกรรมการลอยการจมเมื่อความหนาแน่นเปลี่ยนไป (3 ปรากฏการณ์ที่ เขียนในตอนที่ 1) 5) ให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามรูปที่ 2 (น้ำหนักบรรทุกสูงสุดขึ้นกับปริมาตรขวด น้ำหนักขวด และความหนาแน่นน้ำ) หาความสามารถรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของขวดชนิดต่าง ๆ 6) ครูกำหนดเกณฑ์สมรรถนะที่เป็นค่าสัมพัทธ์และเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันเอง (ที่เขียนในตอนที่ 1) พร้อมเกณฑ์ การประเมิน แล้วให้นักเรียนใช้ความรู้จากข้อ 5 ออกแบบแพโดยใช้ S และ M ที่ครูทบทวนในข้อ 4 สร้างและทดสอบ (เป็น RBL-Based STEM)
  • 12. 7) ให้นักเรียนเอาที่เรียนรู้การผูกเงื่อนในวิชาลูกเสือมาผูกขวดติดกัน ทดสอบการยึดติดกันเมื่อถูกโยก (จำลองสภาพแพถูกคลื่น) แก้จุดอ่อนของจุดเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของแพ ได้คำตอบเป็นวิธีการผูกแพ 8) ให้นักเรียนช่วยกันกำหนดสมรรถนะใช้งานตามสภาพใช้งานในชุมชน เช่น พื้นที่บรรทุก ระยะพ้นน้ำของ พื้นแพ น้ำหนักบรรทุกและการกระจายของน้ำหนักบรรทุก ฯลฯ กำหนดวิธีทดสอบสมรรถนะ 9) ให้นักเรียนใช้ความรู้จาก RBL-Based STEM จากข้อ 6 ออกแบบลักษณะทางกายภาพของแพตาม สมรรถนะที่กำหนดในข้อ 8 กำหนดวัสดุที่ต้องใช้ หลังครูตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้นักเรียนจัดทีม แบ่งงานกันทำแพ ทดสอบสมรรถนะที่กำหนดในสภาพใช้งานจริง 10) ประเมินความต้องการแพในขณะใดขณะหนึ่งตอนน้ำท่วม หาความต้องการขวดทั้งหมด เอาข้อมูล ปริมาณขวดที่สำรวจจากข้อ 1 มาวางแผนรับมือน้ำท่วม เสนอต่อ อบต. 11) เอาความรู้จากข้อ 1-10 มาแตกประเด็น จัดกลุ่มเขียนบทความจากข้อมูล (น่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 5 บทความ) 12) เอาความรู้ที่ตกผลึกจากข้อ 11 คืนให้ชุมชน พิจารณาให้ดีจะเห็นว่าการเอาบริบทเข้ามาเป็น authentic RBL-Based STEM อย่างนี้มีโอกาสให้เกิดการเรียน STEM และ SEP ไปพร้อม ๆ กัน ครูที่อ่านจนจบมองเห็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ต่างไปจากการทำโครงงานอิงเกษตรกรรมแบบที่เราเห็นกัน ทั่วไปหรือไม่ STEM และ SEP ไม่ได้อยู่ในคู่มือ แต่อยู่ในสิ่งรอบตัวนักเรียน ในครอบครัว ในโรงเรียน ในชุมชน มันขึ้นกับ ความสามารถของครูในการเห็นโจทย์ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ครูต้องพัฒนาความเข้าใจ Kolb experiential learning cycle และพัฒนาสมรรถนะการสอนโครงงานฐานวิจัยขึ้นมาก่อน