SlideShare a Scribd company logo
1 of 56
Download to read offline
เปิดโลกสเต็มเซลล์
นัสสราหงษ์ร่อน,วท.บ.,วท.ม.,ศษ.ม.
วิทยากร นัสสรา หงษ์ร่อน (ครูส้ม)
ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์ชะลอวัยและฟื้ นฟูสุขภาพ
วิทยากรด้านการพัฒนาบุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง
การศึกษา
ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์)
มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาผู้ใหญ่และ
การศึกษาต่อเนื่อง) หลักสูตรการจัดฝึกอบรม
และเป็นวิทยากร มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
(Anti-aging and Regenerative Science)
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการบริษัท ซี-คอน โกลบอล บิซซิเนส จากัด
ผู้ผลิตและจาหน่ายชุดปรับสรีระแบรนด์ “นาซาร่า”
ประเมินสุขภาพเซลล์ของคุณ
1. เมื่อดูจากภายนอก คุณดูแก่แค่ไหน (คนอื่นมองคุณ)
- ฉันเด็กกว่าอายุจริง / เท่ากับอายุจริง / แก่กว่าอายุจริง
2. คุณให้คะแนนสุขภาพของคุณเท่าใด เมื่อเทียบกับคนในวัยเดียวกัน
- ฉันสุขภาพ ดีกว่า / พอๆกัน / แย่กว่า คนส่วนใหญ่ในวัยเดียวกัน
3. คุณรู้สึกว่าตัวเองแก่แค่ไหน
- ฉันรู้สึกเด็กกว่าอายุจริง / เท่ากับ / แก่กว่า
จากงานวิจัยพบว่า “ผู้คนที่รู้สึกแก่กว่าอายุจริงมีแนวโน้มที่จะล้มป่ วยเร็วกว่าคนที่รู้สึกเด็กกว่าอายุจริง”
โดยรวมแล้วสุขภาพเซลล์ของคุณเป็นอย่างไร
ปรากฏการณ์ภูเขาน้าแข็งแห่งความชรา
ความชราภายนอก
ความชรา (เสื่อม) ภายใน
สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น
Jens Martensson
เราเข้าสู่ยุคของการดูแลสุขภาพ
ระดับเซลล์
5
กระบวนการแก่ชราในระดับเซลล์
ส่งผลกระทบต่อการแก่ชราภายนอก และอายุที่สั้นลง
เราสามารถชะลอกระบวนการแก่นี้ได้แค่เรารู้หลักและทาความรู้จักกับ
กลไกการทางานของร่างกายในระดับเซลล์
ที่จะช่วยฟื้นคืนความเป็นหนุ่มเป็นสาวและป้องกันการแก่ก่อนวัยของเราได้
Jens Martensson
เซลล์คืออะไร
เซลล์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกายและเป็น
องค์ประกอบของโครงสร้างร่างกายเช่นเดียวกับกรดอมิโน
(AminoAcid) ซึ่งเป็นหน่วยในโครงสร้างของโปรตีน(Protein)
เซลล์เปรียบเสมือนอิฐแต่ละก้อนประกอบกันเป็นตัวตึกคือ
“ร่างกาย”ที่มีชีวิตนั่นเอง
8
Jens Martensson
ความมหัศจรรย์ของเซลล์
เซลล์แต่ละเซลล์สามารถดารงชีวิตอยู่
ได้ด้วยตัวมันเอง เช่น แบคทีเรียเกือบ
ทั้งหมดก็เป็นเพียงแค่เซลล์เดียวเท่านั้น
(Unicellular – single cell)
เซลล์เหล่านี้สามารถหาอาหารกินได้
ย่อยอาหารได้กาจัดของเสียจากการ
ย่อยทิ้ง มีบ้านรั้วรอบขอบชิด เพื่ออาศัย
โดยไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทาร้าย
เซลล์ได้
9
ถ้าเปรียบเซลล์เป็นประเทศ
มีแนวเขตชายแดนที่ชัดเจน คือ
เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)
มีรัฐบาลกลางคอยควบคุม คือ
นิวเคลียส (Nucleus)
มีโรงไฟฟ้าสร้างพลังงาน คือ
ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
มีโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
โปรตีน คือ ไรโบโซม (Ribosome)
คาว่า Cell มาจากภาษาลาติน คือ
Cellular มีความหมายว่า “ห้อง
เล็ก” (Small room)
ผู้ที่ใช้คานี้เป็นคนแรก เมื่อปี ค.ศ.
1665 คือ โรเบิร์ท ฮุก (Robert
Hook) ซึ่งฮุกได้อธิบายว่า เมื่อเขา
ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูจะเห็น
เซลล์เหมือนห้องเล็กๆ แบบกุฏิที่
พระอยู่อาศัย
โครงสร้างของเซลล์
1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)
2. ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)
3. ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
4. นิวเคลียส (Nucleus)
เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)
➢ เยื่อหุ้มเซลล์ให้น้าผ่านได้น้าเป็นตัวนาสารอาหาร ออกซิเจนและของเสีย
ที่เกิดจากการเผาผลาญผ่านเข้า-ออกได้
➢ เมื่ออนุมูลอิสระโจมตี ทาให้เยื่อหุ้มเซลล์เสื่อม เกิดสิ่งแปลกปลอม
เข้าสู่เซลล์ทาให้เซลล์เกิดความเสียหายและโรคภัยต่างๆได้
➢ เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย Phospholipid และ Glycoprotein
ยอมให้สารซึมผ่านอย่างมีเงื่อนไข (Semipermeable)
➢ โปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์เป็นส่วนสาคัญมาก
เป็นผู้นาคาสั่งจากยีน (gene) หรือหน่วยพันธุกรรม บังคับให้เซลล์ต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งเป็นสารตั้งต้นของ
เอนไซม์และฮอร์โมน
➢ เยื่อหุ้มเซลล์จะใช้โปรตีนที่ติดอยู่ เป็นตัวรับสัญญาณจากภายนอก เพื่อให้เซลล์ปฏิบัติตามคาสั่งจากรหัส
ภายนอกเซลล์เช่น ฮอร์โมน Growth Factor โปรตีนนี้ผลิตโดย RNA ซึ่งถูกให้ใช้งานโดย DNA จากยีน
ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)
➢ เนื้อในของเซลล์มีลักษณะเป็นวุ้น ประกอบด้วยน้าร้อยละ 70 ค่อนข้างขุ่น มีความเป็นด่าง
pH 7.4
➢ ถ้ามีน้าน้อยเกินไปหรือให้ค่าความเป็นกรด จะทาให้เซลล์เสื่อมสภาพ
➢ สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี กลูต้าไธโอน จะละลายได้ในไซโตพลาสซึม ช่วย
ป้องกันนิวเคลียสและไมโตคอนเดรีย จากการโจมตีของอนุมูลอิสระ
➢ ไซโตพลาสซึม มีบทบาทสาคัญมากในการทา “โคลนนิ่ง”
(Cloning) คือการสร้างตัวอ่อนโดยไม่มีการร่วมเพศ (Asexual)
ที่เรียกว่า Somatic Cell Nuclear Transfer (SCNT)
หรือวิธีย้ายฝากนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายที่ไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์
ซึ่งเป็นจุดหักเหสาคัญในเรื่องการสร้างสเต็มเซลล์
ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
➢ เป็นอวัยวะขนาดเล็กจิ๋วมาก อยู่ภายในไซโตพลาสซึม
➢ มีรูปร่างเป็นก้อนรีๆ ขนาด 5x1 ไมครอน
➢ มีหน้าที่สร้างสารให้พลังงานระดับเซลล์ ชื่อ ATP (Adenosine Triphosphate)
➢ เซลล์ที่ต้องใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ จะมีไมโตคอนเดรียถึง 2,000 ชิ้นต่อเซลล์
➢ เซลล์แต่ละชนิดจะมีปริมาณไมโตคอนเดรียไม่เท่ากัน และไม่พบในเม็ดเลือดแดง
นิวเคลียส
➢ เปรียบเสมือนหัวใจและสมองของเซลล์
➢ มีรหัสพันธุกรรมภายในนิวเคลียส เรียกว่า โครโมโซม (Chromosomes) 23 คู่ (46 ชิ้น) เป็น
โมเลกุลของ ดี เอน เอ (DNA – Deoxyribonucleic acid)
➢ ดีเอ็นเอเป็นเหมือนแหล่งเก็บข้อมูลที่ถูกบีบอัดไว้มีลักษณะเป็นสายยาวคล้ายกับเส้นด้าย
➢ ยีนหรือหน่วยพันธุกรรมคือบางส่วนของสายดีเอ็นเอที่มีหน้าที่กาหนดลักษณะหนึ่ง ๆ ของ
ร่างกายมนุษย์ซึ่งแต่ละยีนก็มีหน้าที่กาหนดลักษณะร่างกายที่ต่างกัน
ทฤษฎีเรื่องเซลล์ (Cell Theory)
1. สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต (All living things are composed of
living cells) สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะประกอบด้วยเซลล์ตั้งแต่เซลล์เดียวหรือมากกว่า
(All living organisms are composed of one or more cells)
2. เซลล์แต่ละเซลล์เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ต้องทางานให้กับร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้น
(The cell is the unit of function of living organisms)
3. เซลล์ใหม่เกิดขึ้นได้จากการแบ่งตัวของเซลล์ที่มีอยู่เดิมมาก่อน (All cells arise
only from pre – existing cells by division
หน้าที่ของเซลล์ (Cell Function)
1. ให้สารต่างๆ ซึมผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ (Movement of substances across the
cell membrane)
2. มีการแบ่งตัวของเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ (Cell division to make new cells)
3. สังเคราะห์โปรตีน (Protein synthesis)
เซลล์ (Cell) ในร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 220 ชนิด
แต่ละชนิดมีหน้าที่พิเศษเฉพาะเจาะจง
(Specialized function)
กลุ่มของเซลล์ซึ่งทาหน้าที่เหมือนกันจะอยู่รวมกัน
เพื่อทางานให้ร่างกายดารงชีวิต เรียกกลุ่มเซลล์นี้ว่า
เนื้อเยื่อ (Tissue)
เนื้อเยื่อ (Tissue) หลายๆกลุ่มจะอยู่ร่วมกันทางาน
ใหญ่ขึ้น เกิดเป็น อวัยวะ (Organ) ชนิดต่างๆ
ขึ้นมา ตัวอย่าง เช่น หัวใจ ตับ ไต
อวัยวะ (Organ) ในร่างกายเหล่านี้ต่างก็ทางานตาม
หน้าที่ของมันอย่างเป็น ระบบ (system) เช่น
ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ เมื่อรวมกันจึง
ก่อให้เกิดเป็นร่างกายของสิ่งมีชีวิตขึ้น
ความลี้ลับของเซลล์อันเป็ นที่มาของการวิจัย เซลล์ต้นกาเนิด
(Stem cell Research)
นักวิจัยได้ทดลองตัดหนอนแพลนาเรียออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน และใน
7 วันต่อมาก็เกิดเป็นหนอนแพลนาเรียอย่างสมบูรณ์ขึ้นมา 2 ตัว
จากนั้นนักวิจัยได้ตัดบางส่วนของหนอนแพลนาเรียออกมาชิ้นเดียว โดยมี
ขนาดเพียง 1 ใน 279 ของตัวหนอน ในเวลาต่อมาชิ้นเนื้อเล็กๆชิ้นนี้
สามารถเจริญกลับมาเป็นหนอนแพลนาเรียตัวใหม่ที่ครบถ้วนได้อีก 1ตัว
ถ้านักวิจัยอยากตัดเป็น 100 ชิ้น ก็จะได้หนอนแพลนาเรียกลับมาใหม่อีก
100 ตัว ซึ่งทาให้มันเป็นสัตว์ที่ไม่มีวันตาย
ตัวที่กู้ชีวิตของหนอนแพลนาเรียซึ่งธรรมชาติเป็นผู้สร้างให้ คือ
สเต็มเซลล์ (Stem Cell หรือ เซลล์ต้นกาเนิด)
ความลี้ลับของเซลล์อันเป็ นที่มาของการวิจัย เซลล์ต้นกาเนิด
(Stem cell Research)
มีเซลล์มหัศจรรย์ชนิดหนึ่งในตัวหนอนแพลนาเรีย ชื่อ นีโอบลาสท์
ทาหน้าที่ซ่อมแซมซึ่งจะเดินทางไปยังอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บหรือเป็นแผล
โดยทันที โดยร่วมกับเซลล์นีโอบลาสท์เดิมที่อยู่บริเวณนั้นแล้ว และ
แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อเกิดเซลล์นีโอบลาสท์ใหม่ให้มากขึ้นเสียก่อน
(Renew) และขณะเดียวกันก็จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวเอง (Differentiate)
ให้กลายรูปร่างและทาหน้าที่เป็นเซลล์ของอวัยวะที่ขาด โดยงอกแทนที่
บริเวณที่ขาดหายไปให้กลับมาเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์อย่างเดิมอีกครั้ง
ประวัติสเต็มเซลล์ (Stem Cell History)
ต้นศตวรรษที่ 19 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากประเทศในยุโรป ได้ศึกษาชีววิทยาของลักษณะเซลล์เม็ด
เลือดต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ตลอดจนเกล็ดเลือด
ผลการวิจัยพบว่า เซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด มีต้นกาเนิด (Stem) มาจากเซลล์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษ
นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นเรียกเซลล์มหัศจรรย์นี้ว่า “สเต็มเซลล์”
ประวัติสเต็มเซลล์ (Stem Cell History)
ค.ศ.1963 นักวิจัยชาวแคนาดา 2 ท่าน ชื่อ Ernest Mc Culloch และ James E. Till ได้บันทึก
ผลการค้นพบ คุณสมบัติพิเศษของสเต็มเซลล์ที่สามารถสร้างเซลล์ใหม่ๆ ให้มีจานวน
เพิ่มขึ้น (Self-renewing activities) ในไขกระดูกของหนู ซึ่งได้นาเอาไปปลูกถ่ายให้กับหนู
ทดลองอีกตัวหนึ่ง (Transplanted mouse bone marrow stem cells)
ประวัติสเต็มเซลล์ (Stem Cell History)
ค.ศ.1998 เจมส์ ทอมสัน (James Thomson) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
ประสบความสาเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์ที่สามารถแยกเอาเซลล์ตัวอ่อน
มนุษย์(Human Embryonic Stem Cell) ออกมาจากตัวอ่อน (Embryo) ในครรภ์และนามา
เพาะเลี้ยงให้มีชีวิตอยู่ต่อไปสาเร็จในห้องทดลอง
ผลของการค้นพบครั้งสาคัญนี้เป็นการเปิดประตูงานวิจัยเรื่อง สเต็มเซลล์ของมนุษย์ เพราะ
ในอดีตไม่สามารถหาตัวอย่างเซลล์ตัวอ่อนจากมนุษย์เพื่อนามาศึกษาได้เลย และที่สาคัญคือ
สายพันธุ์เซลล์ตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้ในห้องทดลองดังกล่าวยัง มีชีวิตอยู่ตั้งแต่นั้นมาจนถึง
ปัจจุบัน
ทอมสันได้สเต็มเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์จากการผสมเทียมในหลอดทดลอง (IVF) ซึ่งพบได้
ทั่วไปในคลีนิคผู้มีบุตรยากไม่ใช่จากการทาแท้ง
คุณสมบัติของสเต็มเซลล์ (Stem Cell Property)
1.สเต็มเซลล์จะไม่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง (Stem Cell are unspecialized) เปรียบเสมือนชิป
คอมพิวเตอร์ที่ว่างเปล่า ยังไม่มีโปรแกรมคาสั่งใดๆ เขียนใส่ลงไปเพื่อให้ปฏิบัติงาน
2. สเต็มเซลล์สามารถแบ่งตัวเองและสร้างสเต็มเซลล์ใหม่เหมือนตัวเองทุกอย่างได้เป็น
เวลานาน (Stem cells are capable of dividing and renewing themselves for long periods)
3. สเต็มเซลล์สามารถเปลี่ยนตัวเองไปเป็นเซลล์ที่พัฒนาแล้วเมื่อได้รับคาแนะนาเป็นรหัส
สัญญาณจากภายในหรือภายนอกเซลล์ (Stem cells can give rise to specialized cell. The
signals inside and/or outside stem cells trigger this differentiation)
ชนิดของสเต็มเซลล์
การแบ่งชนิดของสเต็มเซลล์ตามแหล่งที่มา (ที่พบ)
❖ สเต็มเซลล์ที่ได้มาหรือพบจากเนื้อเยื่อของร่างกาย จะได้ชื่อว่า Tissue stem cell หรือ
Adult stem cell หรือ Somatic stem cell
❖ ส่วนสเต็มเซลล์ที่ได้มาโดยแยกออกมาจากตัวอ่อนระยะ 5 วันหลังปฏิสนธิ จะเรียกว่า
Embryonic stem cell
ชนิดของสเต็มเซลล์
การแบ่งชนิดของสเต็มเซลล์ตามความสามารถในการพัฒนาตนเอง
1. Totipotent Stem Cell
เป็นสเต็มเซลล์ที่ได้มาจากไข่ที่ผสมแล้ว (Zygote หรือ Fertilized egg) อายุไม่เกิน 2 วัน
พบได้ในระยะที่ไข่ผสม แบ่งตัวได้เพียง 2-3 หนเท่านั้น
คาว่า Toti แปลว่า ทั้งหมด (Total) มาจากภาษาลาตินว่า Totus (entire), potent แปลว่า
ความสามารถ ดังนั้น Totipotent Stem Cell คือ สเต็มเซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนา
ไปเป็นเซลล์ของร่างกายชนิดใดก็ได้ทั้งหมด 220 ชนิด รวมทั้งพัฒนาตนเองมาเป็นสเต็ม
เซลล์ตัวอ่อนได้ทั้ง 2 แบบอีกด้วย (Embryonic stem cell and Embryonic germ cell )
ชนิดของสเต็มเซลล์
การแบ่งชนิดของสเต็มเซลล์ตามความสามารถในการพัฒนาตนเอง
2. Pluripotent Stem Cell
เป็นสเต็มเซลล์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเป็นเซลล์ต่างๆ ของร่างกายได้ทุกชนิด
ยกเว้น รก (Placenta) กับเซลล์สืบพันธุ์ทั้งหลาย
คาว่า Pluri มาจากภาษาลาตินว่า Plures (Plural) แปลว่า หลากหลายหรือมาก Pluripotent
stem cells จึงหมายถึงศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดต่างๆได้มากมาย พบได้ใน Inner
mass ของตัวอ่อนระยะ Blastocyst โดยกลายมาจาก Totipotent stem cell
ชนิดของสเต็มเซลล์
การแบ่งชนิดของสเต็มเซลล์ตามความสามารถในการพัฒนาตนเอง
3. Multipotent Stem Cell
เป็นสเต็มเซลล์ที่พบอยู่ในเนื้อเยื่อชนิดใดชนิดหนึ่งและพร้อมจะพัฒนาตัวเองเพื่อซ่อมแซม
เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่มันอาศัยอยู่เท่านั้น โดยเซลล์ที่บาดเจ็บจะส่งเป็นรหัสไปให้สเต็มเซลล์
ทางาน
ชนิดของสเต็มเซลล์
การแบ่งชนิดของสเต็มเซลล์ตามความสามารถในการพัฒนาตนเอง
4. Progenitor or Precursor Cell
เซลล์ที่พัฒนาต่อมาจาก Multipotent stem cell พบได้ในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทาหน้าที่
ซ่อมแซมส่วนที่ร่างกายสึกหรอ แต่ขาดคุณสมบัติจะสร้างเซลล์ทดแทนตนเอง (Self
Renewal) เหมือนสเต็มเซลล์ทั่วๆ ไป
ความก้าวหน้าของงานวิจัยสเต็มเซลล์
ค.ศ.1960 Joseph Altman และ Gopal Das ได้เสนอผลการศึกษาเรื่องการเกิดเซลล์ประสาท
ในผู้ใหญ่ (Neurogenesis) อันเนื่องจากการทางานของสเต็มเซลล์ในสมอง รายงานนี้ทาให้
เกิดข้อขัดแย้งกับความเชื่อมาก่อนในวงการวิทยาศาสตร์ที่ว่า จะไม่มีเซลล์ประสาทเกิดขึ้น
ใหม่ โดยให้ความเห็นว่าความจาต่างๆ จะไม่ต่อเนื่องถ้ามีเซลล์ใหม่เข้ามาแทนที่
ค.ศ.1963 Mc Culloch และ Till แสดงให้เห็นทางวิชาการว่ามีเซลล์ในไขกระดูกของหนู
ทดลอง สามารถแบ่งตัวเองสร้างเป็นเซลล์ใหม่
ค.ศ.1968 มีการปลูกถ่ายไขกระดูกรายแรกสาเร็จระหว่างพี่น้องท้องเดียวกัน เพื่อรักษาโรค
ภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรงในเด็กอ่อน (SCID)
ความก้าวหน้าของงานวิจัยสเต็มเซลล์
ค.ศ.1978 สเต็มเซลล์จากเลือดพบได้ในเลือดจากสายสะดือของมนุษย์
ค.ศ.1981 Martin Evans และคณะ ค้นพบสเต็มเซลล์ตัวอ่อนหนู (Mouse embryonic stem
cell) จากปุ่มก้อนเนื้อด้านในของตัวอ่อนระยะ 5 วันแรก (Inner cell mass ของ Blastocyst.)
Gail Martin เป็นผู้ตั้งชื่อ Embryonic stem cell (สเต็มเซลล์ตัวอ่อน)
ค.ศ.1998 James Thomson และ ทีมงานจากมหาวิทยาลัย Wisconsin สามารถเพาะเลี้ยง
สเต็มเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์ในห้องทดลองได้สาเร็จ
ค.ศ.2000 มีรายงานทางวิชาการออกมาหลายฉบับเรื่องสเต็มเซลล์ของร่างกายที่โตเต็มวัย
(Adult stem cell) สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ของอวัยวะอื่นๆ ได้อีก นอกจากของอวัยวะที่
มันอาศัยอยู่อย่างที่เคยทราบกัน เรียกคุณสมบัติพิเศษนี้ว่า Plasticity
ความก้าวหน้าของงานวิจัยสเต็มเซลล์
ค.ศ. 1996 เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) และคีธ แคมป์เบล (Keith Campbell) ประสบ
ความสาเร็จในการโคลนแกะตัวแรกของโลก (ดอลลี่) โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้า
ขาวตัวหนึ่ง ซึ่งเป็น “เซลล์ต้นแบบ” โดยดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนาไปใส่ใน
ไข่ที่มาจากรังไข่ของแกะหน้าดา ซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนาไปใส่แล้วก็นาเซลล์ที่
ได้ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดาอีกตัว ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อถึง
กาหนดคลอด ลูกแกะที่ออกมานั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับเซลล์ต้นแบบของ
แกะหน้าขาว
ความก้าวหน้าของงานวิจัยสเต็มเซลล์
ค.ศ.2003 Dr. Songtao Shi จากสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา พบสเต็มเซลล์
จากฟันน้านมของเด็กเป็นครั้งแรก
ค.ศ.2006 นักวิทยาศาสตร์อังกฤษ สามารถสร้างเซลล์ตับ โดยพัฒนามาจากสเต็มเซลล์ของ
เลือดสายสะดือซึ่งมีสเต็มเซลล์เข้มข้น
ค.ศ.2007 ดร.แอนโทนี่ อตาล่า (Dr.Anthony Atala) จากมหาวิทยาลัย Wake Forest ใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard) ได้รายงาน
ผลการค้นพบสเต็มเซลล์ชนิดใหม่จากน้าคร่า (Amniotic Fetus) ในมดลูกที่อยู่ล้อมรอบทารก
(Fetus) ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสเต็มเซลล์ตัวอ่อน (Embryonic stem cell)
ความก้าวหน้าของงานวิจัยสเต็มเซลล์
ค.ศ. 2007 มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นคว้าเรื่องยีน
ทาหน้าที่ควบคุมสเต็มเซลล์ตัวอ่อนในหนู (Mouse embryonic stem cell) นักวิทยาศาตร์ทั้ง 3
คนที่ได้รับรางวัลด้วยกันนี้ ได้แก่ Mario Capecchi, Martin Evans และ Oliver Smithies
ค.ศ.2008 สายพันธุ์ของสเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์(Embryonic Stem Cell Line) สามารถ
เพาะเลี้ยงได้สาเร็จในห้องทดลอง โดยไม่จาเป็นต้องทาลายตัวอ่อน เพราะทาจากวิธีโคลนนิ่ง
(Cloning)
การทาผสมเทียมชนิดโคลนนิ่ง โดยไม่ต้องมีปฏิสนธิ (เรียกว่าวิธี SCNT หรือ Somatic cell
nuclear transfer) ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เนื้อเยื่อของมนุษย์ที่โตสมบูรณ์แล้ว (โดยมากใช้เซลล์
ผิวหนัง) มีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัว (Adult fibroblast) ใส่เข้าไปในไข่ของผู้หญิงที่เอา
นิวเคลียสของมันออกไป (โครโมโซมมี 23 ตัว) มาสร้างเป็นตัวอ่อนระยะ Blastocyst ได้
ความก้าวหน้าของงานวิจัยสเต็มเซลล์
ค.ศ. 2012 ดร.ชินยะ ยามานากะ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวญี่ปุ่น ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาการแพทย์จากการค้นพบวิธีการสร้างเซลล์ไอพีเอส (Induced Pluripotent Stem Cell)
ขั้นตอนในการพัฒนาเซลล์ชนิดนี้เริ่มจากการใส่สารพันธุกรรมที่ใช้ในการสร้างโปรตีน 4
ชนิด (Oct4, Sox2, Klf4, c-MYC) ที่พบมากในเซลล์ต้นกาเนิดในระยะตัวอ่อน ให้กับเซลล์
ผิวหนังของตัวโตเต็มวัยที่นามาเพาะเลี้ยงในภาชนะ โปรตีนทั้ง 4 ชนิดที่ใส่เข้าไปนี้ จะส่งผล
ให้เซลล์ร่างกายมีการจัดรูปแบบในเซลล์ใหม่และเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไอพีเอส เราเรียก
กระบวนการนี้ว่าการโปรแกรมเซลล์ย้อนกลับ (cellular reprogramming) เซลล์ร่างกายหลัง
ผ่านกระบวนการนี้จะมีสภาพเหมือนกับสเต็มเซลล์ระยะตัวอ่อนทุกประการ นามาซึ่ง
ประโยชน์อันมหาศาลในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์และเปิดโลกของงานวิจัยในการใช้
Pluripotent Stem Cell เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ
การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาทางการแพทย์
การรักษาด้วยสเต็มเซลล์เพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นที่ยอมรับว่าได้ผลจริง เป็นการนาสเต็มเซลล์
ระบบเลือดที่พบในไขกระดูกหรือรกมารักษาโรคระบบเลือด
การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ที่เป็นความหวังของอนาคตจาเป็นจะต้องเปลี่ยนสเต็มเซลล์เป็น
เซลล์หรือเนื้อเยื่อจาเพาะก่อนปลูกถ่าย ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีห้องปฏิบัติการและ
นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง เนื่องจากในทุกๆ ขั้นตอนนับตั้งแต่การแยก การเพาะเลี้ยง การ
ควบคุมให้เปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดจาเพาะ จนกระทั่งสามารถนามาปลูกถ่ายในผู้ป่วยได้นั้นต้อง
อาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน ต้องมีระบบควบคุมคุณภาพ และมีทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความ
เชี่ยวชาญ
การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาทางการแพทย์
สาหรับการรักษาที่ยังไม่มาตรฐานต้องทาการศึกษาแบบโครงการวิจัย ผู้ป่วยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ป่วยไม่ให้ตกอยู่ภายใต้การหาผลประโยชน์ทางการค้า อีกประการหนึ่ง
คือได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่ดูแล เช่น แพทยสภา เพื่อความโปร่งใสและสามารถ
ตรวจสอบได้
8 วิธีการเพิ่มสเต็มเซลล์
นัสสรา หงษ์ร่อน (ครูส้ม)
M.S., M.Ed.
เซลล์ต้นกาเนิดหรือสเต็มเซลล์ คือ เซลล์ชนิดพิเศษ
พบได้ทุกช่วงเวลาของการเจริญเติบโตในสิ่งมีชีวิต
สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จากัดและสามารถ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดในร่างกาย
เช่น เซลล์ผิวหนัง สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และเซลล์
เม็ดเลือด มีหน้าที่สาคัญในการแบ่งตัวเพิ่มจานวน
และเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ เพื่อทดแทน
เซลล์ที่เสื่อมสภาพในร่างกาย
สเต็มเซลล์ (Stem Cell) คืออะไร
สเต็มเซลล์ เปลี่ยนเซลล์ใหม่
แทนที่เซลล์เก่าที่มี
ความจาเป็นต้องซ่อมแซม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
1. การทา Intermittent Fasting (IF) และการจากัดแคลอรี่ ช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของสเต็มเซลล์
➢ การทา IF เป็นวิธีการลดน้าหนักอีกวิธีหนึ่งโดยการควบคุมแคลอรี่ และจากัดเวลาในการ
ทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือ จากัดเวลาทาน
อาหาร 8 ชั่วโมง และอดอาหาร 16 ชั่วโมง
➢ จากงานวิจัยพบว่า มีความเชื่อมโยงของการควบคุม
หรือจากัดแคลอรี่กับการเพิ่มจานวนของสเต็มเซลล์
ในกระแสเลือด รวมไปถึงช่วงชีวิตของอวัยวะต่างๆ
ในร่างกายที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
2. การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)
➢ ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่ถูกสะสมจากคาร์โบไฮเดรตส่วนเกิน ผู้ที่บริโภคแป้งและน้าตาล
เกินกว่าที่ใช้ไปจะถูกสะสมเป็นไตรกลีเซอไรด์
➢ ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงๆ จะมีน้าหนักเกิน ส่งผลต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ
(Metabolic Syndrome) ที่สาคัญคือ สเต็มเซลล์จะไม่เติบโตในภาวะที่ร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์
สูงๆ
➢ การได้รับ Omega 3 จะช่วยปรับสมดุลไตรกลีเซอไรด์ และช่วยให้สเต็มเซลล์เติบโต โดย
กรดไขมัน Omega 3 ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ซึ่งส่งผลให้สเต็มเซลล์ทางานได้ดีขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
3. การออกกาลังกายช่วยกระตุ้นการทางานของสเต็มเซลล์
➢ การออกกาลังกาย โดยเฉพาะการออกกาลังกายแบบแอโรบิค ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่ม
จานวนสเต็มเซลล์
➢ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ พบว่า
สเต็มเซลล์ในกล้ามเนื้อและ Mesenchymal Stem Cell
ในไขกระดูก ถูกกระตุ้นระหว่างออกกาลังกาย
ซึ่งส่งผลดีต่อโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
4. ลดการบริโภคน้าตาลและคาร์โบไฮเดรต
➢ การลดการบริโภคน้าตาลและคาร์โบไฮเดรต ทาให้สเต็มเซลล์มีอายุยืนยาวและเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทางานของสเต็มเซลล์
➢ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ จะได้รับคาแนะนาให้งดน้าตาลและลดปริมาณการบริโภค
คาร์โบไฮเดรต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
5. ลดการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย
➢ การอักเสบยับยั้งการทางานของสเต็มเซลล์ ส่งผลต่อกระบวนการซ่อมแซมในร่างกาย
➢ ลดการอักเสบให้เหลือน้อยที่สุด ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงอาหารที่
ก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ เช่น อาหารแปรรูปต่างๆ โซดา และแอลกอฮอล์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
6. อาหารเสริมสเต็มเซลล์
➢ ใช้ได้ทั้งในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ และผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสเต็มเซลล์ตาม
ธรรมชาติ
➢ วิตามินดี 3 (Vitamin D3/ Cholecalciferol)
- ช่วยเสริมการทางานของสเต็มเซลล์ในการสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะใหม่ที่แข็งแรง
- ควบคุมการทางานของสเต็มเซลล์ทั้งในเซลล์ต้นกาเนิดจากตัวอ่อน และ Induce
Pluripotent Stem Cell
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
6. อาหารเสริมสเต็มเซลล์
➢ เรสเวอราทรอล (Resveratrol)
- เรสเวอราทรอล ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีบทบาทในการเสริมสร้างกระดูก และเป็น
อาหารเสริมที่สาคัญในการเสริมศักยภาพของสเต็มเซลล์ ลดการอักเสบในร่างกาย ฟื้นฟูเซลล์
โดยเฉพาะ Mesenchymal Stem Cell
- เรสเวอราทรอล เป็นสารกลุ่ม Polyphenol ที่พบได้มากในองุ่นและผลไม้ตระกูลเบอรี่
เช่น บลูเบอรี่ แครนเบอรี่ มัลเบอรี่ นอกจากนี้ยังพบในไวน์แดงอีกด้วย
- เรสเวอราทรอล มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในจานเพาะเชื้อ เช่น มะเร็งต่อมน้าเหลือง เต้านม
ลาไส้ใหญ่ ตับอ่อน กระเพาะอาหาร ปากมดลูก มะเร็งตับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
6. อาหารเสริมสเต็มเซลล์
➢ ขมิ้นชัน (Curcumin)
- ขมิ้นชันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการสะสมของอนุมูลอิสระ เพิ่มการแบ่งตัวของ
เซลล์ประสาทต้นกาเนิด (Neural Stem Cell)
- กระบวนการแก่เริ่มต้นจากการสูญเสียเซลล์จานวนมากใน Hypothalamus ดังนั้นการ
เติมเต็มเซลล์ประสาทต้นกาเนิด (Neural Stem Cell) ในไฮโปทาลามัส จึงสามารถสนับสนุน
กระบวนการต้านความชราได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
7. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
➢ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน
- เพิ่มการสะสมของไตรกลีเซอไรด์
- ยับยั้งการทางานของสเต็มเซลล์ (เอธานอลส่งผลต่อการแบ่งตัวและแพร่กระจายของ
สเต็มเซลล์)
- เปลี่ยนแปลงการสร้างเซลล์ประสาท
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของสเต็มเซลล์
8. การเพิ่มของสารคอปเปอร์เปปไทด์ในกระแสเลือด
Dr. Loren Pickart
ผู้ค้นพบ GHK Copper Peptide
ในปี 1973
GHK-Cu
คอปเปอร์เปปไทด์ - สารต้านความชรา
➢ ปริมาณในเลือด 200 ng/ml เมื่ออายุ 20 ปี
เหลือเพียง 80 ng/ml เมื่ออายุ 60 ปี
➢ มีบทบาทต่อการแสดงออกของยีนถึง 6,000 ยีน (ประมาณ
30%) ทาให้การแสดงออกของยีนกลับคืนสู่สภาวะที่ดีขึ้น
บทบาทของ GHK-Cu
✓ กระตุ้นสเต็มเซลล์
✓ ต้านการอักเสบ
✓ ต้านอนุมูลอิสระ
✓ การหายของแผล
✓ ฟื้นฟูผิว : ซ่อมแซม เสริมสร้าง ความยืดหยุ่น ความหนาของชั้นผิว การสร้างสเต็มเซลล์ผิว
การสร้างคอลลาเจน ลดรอยแผลเป็น ป้องกันผลกระทบจากแสงแดด
✓ การงอกของผมและเพิ่มปริมาณเม็ดสีของเส้นผม ป้องกันผมหงอก
✓ ฟื้นฟูระบบประสาทและการรับรู้
✓ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
✓ สร้างพลังงานในเซลล์
✓ ปรับสมดุลฮอร์โมน
✓ ต้านมะเร็ง
ประโยชน์ของ สเต็มเซลล์ (Stem Cell) ในทางการแพทย์ (Anti-aging)
➢ สามารถทดแทนเซลล์เก่าที่เสียหายได้ สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ของ
อวัยวะในร่างกายเราเองได้เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์ตับอ่อน เซลล์กระดูก เซลล์กล้ามเนื้อ
เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเซลล์อื่น ๆ เป็นต้น
➢ ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย โดยการหลั่งสาร Interleukin, Cytokine สามารถยับยั้งการ
อักเสบได้ทั่วร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมจากโรคที่รุนแรงจากการอักเสบได้ เช่น โรคกลุ่ม
ภูมิคุ้มกันผิดปกติ
➢ Rejuvenation Medicine สามารถใช้ในการชะลอวัย (Anti-Aging) เพื่อเข้าไปซ่อมแซม
ฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมทั่วร่างกาย หรือ สาหรับใช้ฉีดเฉพาะที่ เช่น ใบหน้าเพื่อให้ลดริ้วรอย จุด
ด่างดา ลบรอยแผลเป็น ลดกระฝ้า ลดเม็ดสี สร้างคอลลาเจน สร้างเซลล์ใหม่ๆขึ้นมา ข้อเข่า
ลดการอักเสบ ลดปวดจากความเสื่อม หรือฉีดหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการสร้างรากผม
Thank You

More Related Content

Similar to เปิดโลกสเต็มเซลล์ (วัดชลฯ) [Autosaved].pdf

หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
kanitnun
 
เสถียรธรรมสถาน1 Copy
เสถียรธรรมสถาน1   Copyเสถียรธรรมสถาน1   Copy
เสถียรธรรมสถาน1 Copy
Volunteer SdsElite
 
อาณาจักรสัตว์
อาณาจักรสัตว์อาณาจักรสัตว์
อาณาจักรสัตว์
tarcharee1980
 
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษาแบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
krulam007
 
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษาแบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
krulam007
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
Namthip Theangtrong
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
supreechafkk
 
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
Kobchai Khamboonruang
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ กระเพาะอาหาร ลำไส้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ  กระเพาะอาหาร ลำไส้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ  กระเพาะอาหาร ลำไส้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ กระเพาะอาหาร ลำไส้
tawitch58
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
Anana Anana
 

Similar to เปิดโลกสเต็มเซลล์ (วัดชลฯ) [Autosaved].pdf (20)

หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.2
 
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
 
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
 
Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561
 
เสถียรธรรมสถาน1 Copy
เสถียรธรรมสถาน1   Copyเสถียรธรรมสถาน1   Copy
เสถียรธรรมสถาน1 Copy
 
1 repro
1 repro1 repro
1 repro
 
Animal System
Animal SystemAnimal System
Animal System
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
 
Chapter6
Chapter6Chapter6
Chapter6
 
1
11
1
 
อาณาจักรสัตว์
อาณาจักรสัตว์อาณาจักรสัตว์
อาณาจักรสัตว์
 
1
11
1
 
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษาแบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
 
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษาแบบฝึกหัดสุขศึกษา
แบบฝึกหัดสุขศึกษา
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
 
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
 
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ กระเพาะอาหาร ลำไส้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ  กระเพาะอาหาร ลำไส้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ  กระเพาะอาหาร ลำไส้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ กระเพาะอาหาร ลำไส้
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 

เปิดโลกสเต็มเซลล์ (วัดชลฯ) [Autosaved].pdf