SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม
พ.ศ. 2424 เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง บิดาของท่าน
คือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะ
(มี ดุริยางกูร)
จังหวัดสมุทรสงครามนั้นเป็นถิ่นทองของดนตรีไทยมาตั้งแต่ครั้งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มี
ครูผู้ใหญ่หลายคนหลายกลุ่มซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังและถือกาเนิดมาจากดินแดนแห่งลุ่มแม่น้า
แม่กลองแห่งนี้อาทิเช่น ครูสิน ศิลปบรรเลง ครูกล้อย , ครูกล้า ณ บางช้าง ครูปาน, ครูปน
นิลวงศ์ ครูสมบุญ สมสุวรรณ ครูโต(ไม่ทราบนามสกุล) คนฆ้องฝีมือดี ครูเหล่านี้มีลูกศิษย์
ลูกหากระจายออกไปมากมาย ครูเนื่อง รัตนประดิษฐ์ (พ.ศ. 2439-2538) เล่าว่า สมัยที่
ท่านไปเรียนปี่พาทย์ที่บ้าน ครูสมบุญ สมสุวรรณ นั้นจากแม่กลองไปจนถึงอัมพวามีวงปี่
พาทย์มากกว่า 100 วง ส่วนมากเป็นเครื่องคู่
ครูสิน ศิลปบรรเลง เป็นครูผู้ใหญ่คนหนึ่งของอัมพวา บุตรชายคนโตซึ่งเกิดจากภรรยาคนแรก
ชื่อ สุวรรณ เป็นคนระนาดฝีมือดี แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังหนุ่ม ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ หรือ
นายศรเป็นบุตรชายคนเล็ก เกิดจากภรรยาคนที่สอง อายุห่างจากพี่ชายคนแรกถึงยี่สิบกว่าปี
หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นคนมีพรสวรรค์ทางดนตรี สามารถตีฆ้องวงใหญ่ได้เองตั้งแต่อายุ 5
ขวบ เริ่มเรียนปี่พาทย์จริงจังตั้งแต่อายุ 11 ปี และแตกฉานมีฝีมือดีอย่างรวดเร็ว ตีระนาดไหวจัด
มาตั้งแต่เด็ก ท่านได้แสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นครั้งแรกในงานโกนจุกเจ้าจอมผู้เป็นธิดา
คนหนึ่งของเจ้าพระยาสุรพันธุ์ พิสุทธิ์ ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีบุตรสาวถวายตัว ร.5 ถึง 5 คนคือ
เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอียม เจ้าจอมเอ็ย (เกิด พ.ศ. 2422) เจ้าจอมเอี่ยม (พ.ศ. 2424)
และเจ้าจอมเอื้อน (พ.ศ. 2430) ถ้าดูตามอายุน่าจะเป็นงานโกนจุกเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งถ้าเป็นไป
ตามปกติก็ควรเป็นปี พ.ศ. 2441 หรือก่อนนั้น (ขณะนั้นนายศร อายุ 17 ปี) ในงานนั้นมีปี่พาทย์
3 วง นายศรเป็นคนตีฆ้องวงเล็ก โขนเล่นตอนสุครีพหักฉัตร ปี่พาทย์บรรเลงเพลงเฉิดต่อตัวกัน
คนระนาดเอกวงครูสินต่อวงอื่นไม่ทันครูสินจึงเรียกนายศรไปตีระนาดเอกแทน วงไหนส่งมานาย
ศรก็รับส่งได้ไม่บกพร่อง พอถึงรอบสองตีไหวมากจนวงอื่นรับไม่ทัน นายศรต้องบรรเลงเพลง
ต่อไปเองจนจบ เจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ ถึงกับตบมือตะโกน ร้องว่า "นี่..ผู้ใหญ่แพ้เด็ก" ตั้งแต่นั้น
มาชื่อ นายศร ก็ลือกระฉ่อนไปทั่วลุ่มน้าแม่กลอง
ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ มีงานเปิดตลาดบ้านหม้อ มีปี่พาทย์ประชัน 3 วง คือ วง
มหาดเล็กหลวง วงพระนายไวย และ วงเจ้าพระยาเทเวศรฯ ขณะนั้นนายแช่ม (พระยาเสนาะ
ดุริยางค์)น่าจะเป็นคนระนาดเอกวงปี่พาทย์หลวงหรือไม่ก็วงปี่พาทย์ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ
นายศรได้เข้ามาดูงานนี้ด้วยบังเอิญพระนายไวยซึ่งน่าจะรู้จักนายศรเหลือบมาเห็นเข้ารู้ว่าเป็น
ระนาดบ้านนอกฝีมือดี ก็เลยเรียกให้เข้าไปตีระนาดในวงของท่าน นายศรได้ตีระนาดหลายเพลง
จนถึงเพลงเดี่ยวกราวในทาให้เจ้านายและผู้อยู่ในงานนั้นตะลึงในฝีมือ ได้รับรางวัลถึง 32 บาท
ซึ่งนับว่ามากมายอักโขอยู่ในสมัยนั้น
อีกครั้งหนึ่งในงานคล้ายวันเกิดของเจ้าคุณจอมมารดาสาลีชนนีของพระนางเจ้าสุขุมาล
มารศรี พระราชเทวีในรัชกาลที่ 5 นายศรได้มีโอกาสมาร่วมบรรเลงปี่พาทย์ด้วยโดยได้เดี่ยว
ระนาดเอกเพลงกราวในเถาด้วยชั้นเชิงและฝีมืออันยอดเยี่ยมจนได้รับพระราชทานรางวัล
จากสมเด็จเจ้าฟ้ ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และเจ้านายพระองค์อื่นอีกหลายพระองค์
ชื่อเสียงของนายศรก็เริ่มเข้ามาโด่งดังในกรุงเทพฯ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรง
เป็นนักดนตรีเอก ทรงระนาดได้ดี โปรดระนาดที่ไหวจริง ชัดเจน การที่ประทานรางวัลนาย
ศรแสดงว่าต้องตีได้เยี่ยมจริง ๆ
ในปี พ.ศ. 2442 เป็นหัวเลี้ยวสาคัญในชีวิตของนายศรดังที่ท่านบันทึกไว้เองว่า
"ปีกุน ร.ศ. 118 เจ้าเมืองสมุทรสงครามให้อาเภอคือ ขุนราชปุการเชย ไปหา
บิดาที่บ้านบอกว่าสมเด็จวังบูรพาฯให้ไปตีระนาดถวายที่เขางู เมืองราชบุรี ออก
จากบ้านมาก็เลยเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯทีเดียว ไปตามเสด็จเมืองพิษณุโลก หล่อ
พระพุทธชินศรีกลับลงมา รุ่งขึ้นปี ร.ศ. 119 เดือนยี่ ทาการสมรสที่บ้านหน้าวัง
ในปีนี้ท่านบิดาก็ถึงแก่กรรม"
เบื้องหลังและรายละเอียดอันเป็นต้นเหตุให้นายศรได้เข้ามาเป็นคนระนาดเอกวังบูรพาฯมีอยู่ว่า
สมเด็จกรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช (ครั้งดารงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงฯ)
เจ้าของวังบูรพาภิรมย์ทรงโปรดปี่พาทย์ยิ่งนักและไม่ยอมแพ้ใครในเรื่องนี้ทรงมีวงปี่พาทย์
ประจาวังของพระองค์เองแต่คนระนาดของพระองค์คนแล้วคนเล่า ก็ไม่มีใครสู้นายแช่ม (พระ
ยาเสนาะดุริยางค์) ได้ จึงทรงเสาะหาคนระนาดที่จะมาปราบนายแช่มให้ได้ เมื่อเสด็จออกไป
บัญชาการเตรียมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ที่จังหวัดราชบุรี ทรง
ทราบว่านายศรบุตรครูสินตีระนาดดีจึงให้หาตัวมาตีถวาย พอตีถึงเดี่ยวกราวในยังไม่ทันจบ
เพลง ก็ถอดพระธารงค์ประทานและขอตัวจากครูสินให้ตามเสด็จเข้าวังทันที แม้แต่เสื้อผ้าก็ไม่
ต้องกลับไปเอาที่บ้านทรงแต่งตั้งให้นายศรเป็นจางวางมหาดเล็ก ซึ่งปรากฏชื่อในหมู่นักดนตรี
ว่า "จางวางศร"
สมเด็จวังบูรพาฯโปรดให้จางวางศรเป็นคนระนาดเอกแทน ครูเพชร จรรย์นาฏ ซึ่ง
เปลี่ยนไปเป็นคนฆ้องใหญ่ ครูเพชรผู้นี้เป็นศิษย์รุ่นเล็กของครูช้อย สุนทรวาทิน มีฝีมือทั้ง
ระนาดและฆ้องวง ได้ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้กับจางวางศรเป็นอันมาก ส่วนครู
คนสาคัญที่ทาให้ฝีมือระนาดของจางวางศรก้าวหน้ายิ่งขึ้นคือ ครูแปลก (พระยาประสาน
ดุริยศัพท์) นอกจากนั้นจางวางศรยังได้เรียนและได้รับคาแนะนาจากครูผู้ใหญ่คนอื่นๆใน
ยุคนั้นอีกหลายท่านด้วย
สมเด็จวังบูรพาฯทรงหาครูมาฝึกสอนจางวางศรอยู่นานพอสมสมควรแล้วทรงจัดให้
จางวางศรตีระนาดประชันกับนาย แช่ม (พระยาเสนาะดุริยางค์) คนระนาดเอกของกรม
พิณพาทย์หลวง เมื่อราวปี พ.ศ. 2443 ขณะนั้นจางวางศรอายุ 19 ปี นายแช่มอายุ 34 ปี
เป็นการประชันระนาดเอกอย่างเป็นทางการครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติการดนตรีไทยผลการ
ประชันเป็นที่กล่าวขวัญกันมาอีกช้านาน รายละเอียดที่จะได้นาเสนอต่อไปนี้ได้ข้อมูลมา
จาก คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ครูจารัส เพชรยาง และศิษย์ครู
จางวางศรซึ่งส่วนใหญ่ไปดูการประชันครั้งนั้นมี ครูถวิล อรรถฤกษณ์ ศิษย์ ครูเพชร จรรย์
นาฏ
เมื่อจางวางศรรู้ว่าสมเด็จวังบูรพาฯจะให้ตีประชันกับนายแช่มก็ตกใจมาก เพราะใน
ขณะนั้นนายแช่มกาลังโด่งดังไม่มีใครกล้าสู้ อีกทั้งเป็นลูกครูช้อยครูของครูแปลกและครู
เพชรด้วย จางวางศรจึงทั้งเคารพและยาเกรงในฝีมือ ท่านเล่าให้ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ฟังว่า
"เพียงแต่ได้ยินชื่อก็ให้รู้สึกว่ามือเท้าอ่อนปวกเปียกไปเลยทีเดียว ความกลัวของท่านครูนั้น
ถึงกับทาให้หยุดซ้อมระนาดไปเลย ทั้งนี้เพราะเกิดความกังวลจนไม่เป็นอันกินอันนอน ใน
ที่สุดท่านก็ชวนเพื่อนไปรดน้ามนต์เพื่อทาให้จิตใจดีขึ้น" ด้วยความคร้ามเกรงฝีมือซึ่งกล่าว
กันว่า "จะมีใครสู้นายแช่มได้" จางวางศรจึงไปกราบขอร้องให้ครูผู้ใหญ่ที่ท่านนับถือท่าน
หนึ่งไปช่วยกราบขออภัยต่อนายแช่มว่า ที่จริงท่านไม่เคยคิดหาญจะประชันด้วย แต่ไม่อาจ
ขัดรับสั่งสมเด็จวังบูรพาฯได้ โปรดออมมือให้ท่านบ้าง แต่ปกติวิสัยของการประชันดนตรี
ย่อมต้องเล่นให้ดีเต็มฝีมือ ประกอบกับนายแช่มเป็นคนระนาดของวังหลวงย่อมต้องรัก
เกียรติรักศักดิ์ศรีของตน จึงไม่ยอมรับคาขอร้องโดยบอกว่าต่างฝ่ายต่างต้องเล่นเต็มฝีมือ
จางวางศรยิ่งวิตกกังวลถึงกับหนีไปอยู่กับพวกปี่พาทย์ที่คุ้นเคยกันตามต่างจังหวัด สมเด็จ
วังบูรพาฯทรงกริ้วมากสั่งให้เอาตัวนางโชติภรรยาจางวางศรมากักกันไว้ จนจางวางศรต้อง
กลับมา มุมานะฝึกซ้อม และคิดค้นหาวิธีตีที่จะทาให้ไม่แพ้คู่ต่อสู้ เข้าใจว่าท่านได้คิดวิธีจับ
ไม้ระนาดให้ตีไหวรัวได้ดียิ่งขึ้นในตอนนี้ตลอดจนเทคนิคต่างๆในการตีระนาดอีกมากมาย
เช่น ตีให้ไหวร่อน ผ่อนแรง ไหวทน เพราะนายแช่มหรือพระยาเสนาะดุริยางค์นั้นทั้งไหวทั้ง
จ้าหาคนสู้ได้ยากจริงๆ จางวางศรเองก็เคยปรารภกับครูเพชรว่า "ตีให้จ้าน่าเกรงขามอย่าง
ท่านยากต้องหาชั้นเชิงอื่นสู้" ความมุ่งมั่นมานะทาให้ท่านฝันว่าเทวดามาบอกทางเดี่ยว
เพลง กราวในที่ดีที่สุดให้และประสาทพรให้ท่านว่า "ต่อไปนี้เจ้าจะตีระนาดไม่แพ้ใคร"
การประชันครั้งนั้นใช้ปี่พาทย์เครื่องห้าเพราะต้องการดูฝีมือผู้ตีระนาดเอกเป็น
สาคัญ วงปี่พาทย์หลวงไม่ทราบว่าใครเป็น คนฆ้อง คนปี่ และ คนเครื่องหนังแต่วง
วังบูรพาฯครูเพชรเป็นคนฆ้อง ครูเนตรตีเครื่องหนัง ส่วนคนปี่ไม่ทราบนาม การ
ประชันเริ่มตั้งแต่เพลงโหมโรงเพลงรับร้องเรื่อยไปจนถึงเดี่ยวระนาดเอกกันแบบ
"เพลงต่อเพลง" เริ่มด้วยเพลงพญาโศก เชิดนอก (4 จับ) และเดี่ยวอื่นๆเรื่อยไป
จนถึงเพลงกราวใน ผลปรากฏว่าฝีมือก้ากึ่งคู่คี่กันตลอดจนกระทั่งถึงเพลงเดี่ยว
กราวในก็ยังไม่ปรากฏผลแพ้ชนะเด็ดขาด เพราะฝีมือเด่นกันคนละอย่างดังที่ ครู
เพชร จรรย์นาฏ เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า "พระยาเสนาะดุริยางค์ไหวจัดจ้ากว่า
แต่จางวางศรไหวร่อนวิจิตรโลดโผนกว่า" จึงต้องตัดสินกันที่เพลงเชิดต่อตัวซึ่งวัด
ความไหวทนเป็นสาคัญ
พระยาเสนาะดุริยางค์หรือนายแช่มนั้นตีระนาดไหวแบบเก่า และคงจะใช้ไม้ตีปื้นหนา พันไม้
แข็งนัก จึง "ดูดไหล่" คือกินแรง ประกอบกับท่านรักษาความเจิดจ้าชัดเจนของเสียงระนาดไม่
ยอมตีระหรือเกลือกให้เสียงเสีย ยิ่งตีไหวจ้าขึ้นมากเท่าใดก็ต้องใช้กาลังแขนไหล่มากขึ้นเท่านั้น
จึงย่อมจะล้าง่าย ส่วนจางวางศรคิดวิธีจับไม้ให้ไหวร่อนได้เร็วใช้การเคลื่อนไหวข้อมือช่วยผ่อน
กาลังแขน จึงไหวร่อนได้เร็วกว่าแม้เสียงจะไม่จ้าเท่าตีด้วยกาลังแขนแต่ก็ไหวทนกว่า
ผลแพ้ชนะของการต่อตัวเชิดนั้นจะดูที่อาการ "หลุด" หรือ "ตาย" หลุดคือ รับเชิดตัวต่อไปจากคู่
ต่อสู้ไม่ทันเพราะไม่สามารถตีให้ไหวเร็วเท่าคู่ต่อสู้ส่งมาได้ส่วน "ตาย" คือรับทัน แต่เมื่อตีด้วย
ความเร็วเท่าที่รับมาไปพักหนึ่งแล้วไม่สามารถรักษาความไหวเร็วในระดับนี้ต่อไปได้ ต้องหยุดตี
หรือเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งจนมือตายเคลื่อนไหวต่อไปไม่ได้
หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นบุตรคนเล็กของ ครูสิน ศิลปบรรเลง และ นางยิ้ม เกิดเมื่อวันที่ 6
สิงหาคม พ.ศ.2424 ที่บ้านตาบลคลองดาวดึงส์ อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวิถีชีวิต
และผลงานในเรื่องของดนตรีไทยสรุปได้ดังนี้
• ปี พ.ศ. 2442 ได้เข้าเป็นจางวางมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรม
พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
• ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯโปรดเกล้าฯให้เข้าไปบรรเลง
ปี่พาทย์ร่วมกับการแสดงโขนบรรดาศักดิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง
ประดิษฐไพเราะ
• ปี พ.ศ. 2469 เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง โดยสังกัดสานักพระราชวัง
• ปี พ.ศ. 2473 ดารงตาแหน่งปลัดกรมปี่พาทย์และโขนหลวงต่อมาโอนมาอยู่กรม
ศิลปากร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 ศิริรวมอายุได้ 72 ปี 7 เดือน 2 วัน
หลวงประดิษ

More Related Content

Viewers also liked

พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าพระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรสสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรส
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลี
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลีเครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลี
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลี
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
จอมพลแปลกพิบูลสงคราม
จอมพลแปลกพิบูลสงครามจอมพลแปลกพิบูลสงคราม
จอมพลแปลกพิบูลสงคราม
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Viewers also liked (14)

พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าพระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
 
สมุทรสงคราม
สมุทรสงครามสมุทรสงคราม
สมุทรสงคราม
 
ก.ศ.ร กุหลาบ
ก.ศ.ร กุหลาบก.ศ.ร กุหลาบ
ก.ศ.ร กุหลาบ
 
พระพุทธทาสภิกขุ
พระพุทธทาสภิกขุพระพุทธทาสภิกขุ
พระพุทธทาสภิกขุ
 
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรสสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโรรส
 
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลี
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลีเครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลี
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาหลี
 
ศิลป์ พีระศรี502
ศิลป์ พีระศรี502ศิลป์ พีระศรี502
ศิลป์ พีระศรี502
 
จอมพลแปลกพิบูลสงคราม
จอมพลแปลกพิบูลสงครามจอมพลแปลกพิบูลสงคราม
จอมพลแปลกพิบูลสงคราม
 
จังหวัดสระแก้ว
จังหวัดสระแก้วจังหวัดสระแก้ว
จังหวัดสระแก้ว
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่  สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
หมอ บรัดเลย์
หมอ บรัดเลย์หมอ บรัดเลย์
หมอ บรัดเลย์
 
คุณสืบนาคะเสถียร
คุณสืบนาคะเสถียรคุณสืบนาคะเสถียร
คุณสืบนาคะเสถียร
 
ศรีลังกา
ศรีลังกาศรีลังกา
ศรีลังกา
 
Industrialisation de Drupal : Usines à Sites, retour sur le cas CCI Alsace
Industrialisation de Drupal : Usines à Sites, retour sur le cas CCI AlsaceIndustrialisation de Drupal : Usines à Sites, retour sur le cas CCI Alsace
Industrialisation de Drupal : Usines à Sites, retour sur le cas CCI Alsace
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

หลวงประดิษ

  • 1.
  • 2.
  • 3. หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง บิดาของท่าน คือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
  • 4. จังหวัดสมุทรสงครามนั้นเป็นถิ่นทองของดนตรีไทยมาตั้งแต่ครั้งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มี ครูผู้ใหญ่หลายคนหลายกลุ่มซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังและถือกาเนิดมาจากดินแดนแห่งลุ่มแม่น้า แม่กลองแห่งนี้อาทิเช่น ครูสิน ศิลปบรรเลง ครูกล้อย , ครูกล้า ณ บางช้าง ครูปาน, ครูปน นิลวงศ์ ครูสมบุญ สมสุวรรณ ครูโต(ไม่ทราบนามสกุล) คนฆ้องฝีมือดี ครูเหล่านี้มีลูกศิษย์ ลูกหากระจายออกไปมากมาย ครูเนื่อง รัตนประดิษฐ์ (พ.ศ. 2439-2538) เล่าว่า สมัยที่ ท่านไปเรียนปี่พาทย์ที่บ้าน ครูสมบุญ สมสุวรรณ นั้นจากแม่กลองไปจนถึงอัมพวามีวงปี่ พาทย์มากกว่า 100 วง ส่วนมากเป็นเครื่องคู่
  • 5. ครูสิน ศิลปบรรเลง เป็นครูผู้ใหญ่คนหนึ่งของอัมพวา บุตรชายคนโตซึ่งเกิดจากภรรยาคนแรก ชื่อ สุวรรณ เป็นคนระนาดฝีมือดี แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังหนุ่ม ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ หรือ นายศรเป็นบุตรชายคนเล็ก เกิดจากภรรยาคนที่สอง อายุห่างจากพี่ชายคนแรกถึงยี่สิบกว่าปี
  • 6. หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นคนมีพรสวรรค์ทางดนตรี สามารถตีฆ้องวงใหญ่ได้เองตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เริ่มเรียนปี่พาทย์จริงจังตั้งแต่อายุ 11 ปี และแตกฉานมีฝีมือดีอย่างรวดเร็ว ตีระนาดไหวจัด มาตั้งแต่เด็ก ท่านได้แสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นครั้งแรกในงานโกนจุกเจ้าจอมผู้เป็นธิดา คนหนึ่งของเจ้าพระยาสุรพันธุ์ พิสุทธิ์ ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีบุตรสาวถวายตัว ร.5 ถึง 5 คนคือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอียม เจ้าจอมเอ็ย (เกิด พ.ศ. 2422) เจ้าจอมเอี่ยม (พ.ศ. 2424) และเจ้าจอมเอื้อน (พ.ศ. 2430) ถ้าดูตามอายุน่าจะเป็นงานโกนจุกเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งถ้าเป็นไป ตามปกติก็ควรเป็นปี พ.ศ. 2441 หรือก่อนนั้น (ขณะนั้นนายศร อายุ 17 ปี) ในงานนั้นมีปี่พาทย์ 3 วง นายศรเป็นคนตีฆ้องวงเล็ก โขนเล่นตอนสุครีพหักฉัตร ปี่พาทย์บรรเลงเพลงเฉิดต่อตัวกัน คนระนาดเอกวงครูสินต่อวงอื่นไม่ทันครูสินจึงเรียกนายศรไปตีระนาดเอกแทน วงไหนส่งมานาย ศรก็รับส่งได้ไม่บกพร่อง พอถึงรอบสองตีไหวมากจนวงอื่นรับไม่ทัน นายศรต้องบรรเลงเพลง ต่อไปเองจนจบ เจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ ถึงกับตบมือตะโกน ร้องว่า "นี่..ผู้ใหญ่แพ้เด็ก" ตั้งแต่นั้น มาชื่อ นายศร ก็ลือกระฉ่อนไปทั่วลุ่มน้าแม่กลอง
  • 7. ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ มีงานเปิดตลาดบ้านหม้อ มีปี่พาทย์ประชัน 3 วง คือ วง มหาดเล็กหลวง วงพระนายไวย และ วงเจ้าพระยาเทเวศรฯ ขณะนั้นนายแช่ม (พระยาเสนาะ ดุริยางค์)น่าจะเป็นคนระนาดเอกวงปี่พาทย์หลวงหรือไม่ก็วงปี่พาทย์ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ นายศรได้เข้ามาดูงานนี้ด้วยบังเอิญพระนายไวยซึ่งน่าจะรู้จักนายศรเหลือบมาเห็นเข้ารู้ว่าเป็น ระนาดบ้านนอกฝีมือดี ก็เลยเรียกให้เข้าไปตีระนาดในวงของท่าน นายศรได้ตีระนาดหลายเพลง จนถึงเพลงเดี่ยวกราวในทาให้เจ้านายและผู้อยู่ในงานนั้นตะลึงในฝีมือ ได้รับรางวัลถึง 32 บาท ซึ่งนับว่ามากมายอักโขอยู่ในสมัยนั้น
  • 8. อีกครั้งหนึ่งในงานคล้ายวันเกิดของเจ้าคุณจอมมารดาสาลีชนนีของพระนางเจ้าสุขุมาล มารศรี พระราชเทวีในรัชกาลที่ 5 นายศรได้มีโอกาสมาร่วมบรรเลงปี่พาทย์ด้วยโดยได้เดี่ยว ระนาดเอกเพลงกราวในเถาด้วยชั้นเชิงและฝีมืออันยอดเยี่ยมจนได้รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จเจ้าฟ้ ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และเจ้านายพระองค์อื่นอีกหลายพระองค์ ชื่อเสียงของนายศรก็เริ่มเข้ามาโด่งดังในกรุงเทพฯ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรง เป็นนักดนตรีเอก ทรงระนาดได้ดี โปรดระนาดที่ไหวจริง ชัดเจน การที่ประทานรางวัลนาย ศรแสดงว่าต้องตีได้เยี่ยมจริง ๆ
  • 9. ในปี พ.ศ. 2442 เป็นหัวเลี้ยวสาคัญในชีวิตของนายศรดังที่ท่านบันทึกไว้เองว่า "ปีกุน ร.ศ. 118 เจ้าเมืองสมุทรสงครามให้อาเภอคือ ขุนราชปุการเชย ไปหา บิดาที่บ้านบอกว่าสมเด็จวังบูรพาฯให้ไปตีระนาดถวายที่เขางู เมืองราชบุรี ออก จากบ้านมาก็เลยเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯทีเดียว ไปตามเสด็จเมืองพิษณุโลก หล่อ พระพุทธชินศรีกลับลงมา รุ่งขึ้นปี ร.ศ. 119 เดือนยี่ ทาการสมรสที่บ้านหน้าวัง ในปีนี้ท่านบิดาก็ถึงแก่กรรม"
  • 10.
  • 11. เบื้องหลังและรายละเอียดอันเป็นต้นเหตุให้นายศรได้เข้ามาเป็นคนระนาดเอกวังบูรพาฯมีอยู่ว่า สมเด็จกรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช (ครั้งดารงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงฯ) เจ้าของวังบูรพาภิรมย์ทรงโปรดปี่พาทย์ยิ่งนักและไม่ยอมแพ้ใครในเรื่องนี้ทรงมีวงปี่พาทย์ ประจาวังของพระองค์เองแต่คนระนาดของพระองค์คนแล้วคนเล่า ก็ไม่มีใครสู้นายแช่ม (พระ ยาเสนาะดุริยางค์) ได้ จึงทรงเสาะหาคนระนาดที่จะมาปราบนายแช่มให้ได้ เมื่อเสด็จออกไป บัญชาการเตรียมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ที่จังหวัดราชบุรี ทรง ทราบว่านายศรบุตรครูสินตีระนาดดีจึงให้หาตัวมาตีถวาย พอตีถึงเดี่ยวกราวในยังไม่ทันจบ เพลง ก็ถอดพระธารงค์ประทานและขอตัวจากครูสินให้ตามเสด็จเข้าวังทันที แม้แต่เสื้อผ้าก็ไม่ ต้องกลับไปเอาที่บ้านทรงแต่งตั้งให้นายศรเป็นจางวางมหาดเล็ก ซึ่งปรากฏชื่อในหมู่นักดนตรี ว่า "จางวางศร"
  • 12. สมเด็จวังบูรพาฯโปรดให้จางวางศรเป็นคนระนาดเอกแทน ครูเพชร จรรย์นาฏ ซึ่ง เปลี่ยนไปเป็นคนฆ้องใหญ่ ครูเพชรผู้นี้เป็นศิษย์รุ่นเล็กของครูช้อย สุนทรวาทิน มีฝีมือทั้ง ระนาดและฆ้องวง ได้ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้กับจางวางศรเป็นอันมาก ส่วนครู คนสาคัญที่ทาให้ฝีมือระนาดของจางวางศรก้าวหน้ายิ่งขึ้นคือ ครูแปลก (พระยาประสาน ดุริยศัพท์) นอกจากนั้นจางวางศรยังได้เรียนและได้รับคาแนะนาจากครูผู้ใหญ่คนอื่นๆใน ยุคนั้นอีกหลายท่านด้วย
  • 13.
  • 14. สมเด็จวังบูรพาฯทรงหาครูมาฝึกสอนจางวางศรอยู่นานพอสมสมควรแล้วทรงจัดให้ จางวางศรตีระนาดประชันกับนาย แช่ม (พระยาเสนาะดุริยางค์) คนระนาดเอกของกรม พิณพาทย์หลวง เมื่อราวปี พ.ศ. 2443 ขณะนั้นจางวางศรอายุ 19 ปี นายแช่มอายุ 34 ปี เป็นการประชันระนาดเอกอย่างเป็นทางการครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติการดนตรีไทยผลการ ประชันเป็นที่กล่าวขวัญกันมาอีกช้านาน รายละเอียดที่จะได้นาเสนอต่อไปนี้ได้ข้อมูลมา จาก คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ครูจารัส เพชรยาง และศิษย์ครู จางวางศรซึ่งส่วนใหญ่ไปดูการประชันครั้งนั้นมี ครูถวิล อรรถฤกษณ์ ศิษย์ ครูเพชร จรรย์ นาฏ
  • 15. เมื่อจางวางศรรู้ว่าสมเด็จวังบูรพาฯจะให้ตีประชันกับนายแช่มก็ตกใจมาก เพราะใน ขณะนั้นนายแช่มกาลังโด่งดังไม่มีใครกล้าสู้ อีกทั้งเป็นลูกครูช้อยครูของครูแปลกและครู เพชรด้วย จางวางศรจึงทั้งเคารพและยาเกรงในฝีมือ ท่านเล่าให้ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ฟังว่า "เพียงแต่ได้ยินชื่อก็ให้รู้สึกว่ามือเท้าอ่อนปวกเปียกไปเลยทีเดียว ความกลัวของท่านครูนั้น ถึงกับทาให้หยุดซ้อมระนาดไปเลย ทั้งนี้เพราะเกิดความกังวลจนไม่เป็นอันกินอันนอน ใน ที่สุดท่านก็ชวนเพื่อนไปรดน้ามนต์เพื่อทาให้จิตใจดีขึ้น" ด้วยความคร้ามเกรงฝีมือซึ่งกล่าว กันว่า "จะมีใครสู้นายแช่มได้" จางวางศรจึงไปกราบขอร้องให้ครูผู้ใหญ่ที่ท่านนับถือท่าน หนึ่งไปช่วยกราบขออภัยต่อนายแช่มว่า ที่จริงท่านไม่เคยคิดหาญจะประชันด้วย แต่ไม่อาจ ขัดรับสั่งสมเด็จวังบูรพาฯได้ โปรดออมมือให้ท่านบ้าง แต่ปกติวิสัยของการประชันดนตรี ย่อมต้องเล่นให้ดีเต็มฝีมือ ประกอบกับนายแช่มเป็นคนระนาดของวังหลวงย่อมต้องรัก เกียรติรักศักดิ์ศรีของตน จึงไม่ยอมรับคาขอร้องโดยบอกว่าต่างฝ่ายต่างต้องเล่นเต็มฝีมือ
  • 16. จางวางศรยิ่งวิตกกังวลถึงกับหนีไปอยู่กับพวกปี่พาทย์ที่คุ้นเคยกันตามต่างจังหวัด สมเด็จ วังบูรพาฯทรงกริ้วมากสั่งให้เอาตัวนางโชติภรรยาจางวางศรมากักกันไว้ จนจางวางศรต้อง กลับมา มุมานะฝึกซ้อม และคิดค้นหาวิธีตีที่จะทาให้ไม่แพ้คู่ต่อสู้ เข้าใจว่าท่านได้คิดวิธีจับ ไม้ระนาดให้ตีไหวรัวได้ดียิ่งขึ้นในตอนนี้ตลอดจนเทคนิคต่างๆในการตีระนาดอีกมากมาย เช่น ตีให้ไหวร่อน ผ่อนแรง ไหวทน เพราะนายแช่มหรือพระยาเสนาะดุริยางค์นั้นทั้งไหวทั้ง จ้าหาคนสู้ได้ยากจริงๆ จางวางศรเองก็เคยปรารภกับครูเพชรว่า "ตีให้จ้าน่าเกรงขามอย่าง ท่านยากต้องหาชั้นเชิงอื่นสู้" ความมุ่งมั่นมานะทาให้ท่านฝันว่าเทวดามาบอกทางเดี่ยว เพลง กราวในที่ดีที่สุดให้และประสาทพรให้ท่านว่า "ต่อไปนี้เจ้าจะตีระนาดไม่แพ้ใคร"
  • 17. การประชันครั้งนั้นใช้ปี่พาทย์เครื่องห้าเพราะต้องการดูฝีมือผู้ตีระนาดเอกเป็น สาคัญ วงปี่พาทย์หลวงไม่ทราบว่าใครเป็น คนฆ้อง คนปี่ และ คนเครื่องหนังแต่วง วังบูรพาฯครูเพชรเป็นคนฆ้อง ครูเนตรตีเครื่องหนัง ส่วนคนปี่ไม่ทราบนาม การ ประชันเริ่มตั้งแต่เพลงโหมโรงเพลงรับร้องเรื่อยไปจนถึงเดี่ยวระนาดเอกกันแบบ "เพลงต่อเพลง" เริ่มด้วยเพลงพญาโศก เชิดนอก (4 จับ) และเดี่ยวอื่นๆเรื่อยไป จนถึงเพลงกราวใน ผลปรากฏว่าฝีมือก้ากึ่งคู่คี่กันตลอดจนกระทั่งถึงเพลงเดี่ยว กราวในก็ยังไม่ปรากฏผลแพ้ชนะเด็ดขาด เพราะฝีมือเด่นกันคนละอย่างดังที่ ครู เพชร จรรย์นาฏ เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า "พระยาเสนาะดุริยางค์ไหวจัดจ้ากว่า แต่จางวางศรไหวร่อนวิจิตรโลดโผนกว่า" จึงต้องตัดสินกันที่เพลงเชิดต่อตัวซึ่งวัด ความไหวทนเป็นสาคัญ
  • 18. พระยาเสนาะดุริยางค์หรือนายแช่มนั้นตีระนาดไหวแบบเก่า และคงจะใช้ไม้ตีปื้นหนา พันไม้ แข็งนัก จึง "ดูดไหล่" คือกินแรง ประกอบกับท่านรักษาความเจิดจ้าชัดเจนของเสียงระนาดไม่ ยอมตีระหรือเกลือกให้เสียงเสีย ยิ่งตีไหวจ้าขึ้นมากเท่าใดก็ต้องใช้กาลังแขนไหล่มากขึ้นเท่านั้น จึงย่อมจะล้าง่าย ส่วนจางวางศรคิดวิธีจับไม้ให้ไหวร่อนได้เร็วใช้การเคลื่อนไหวข้อมือช่วยผ่อน กาลังแขน จึงไหวร่อนได้เร็วกว่าแม้เสียงจะไม่จ้าเท่าตีด้วยกาลังแขนแต่ก็ไหวทนกว่า ผลแพ้ชนะของการต่อตัวเชิดนั้นจะดูที่อาการ "หลุด" หรือ "ตาย" หลุดคือ รับเชิดตัวต่อไปจากคู่ ต่อสู้ไม่ทันเพราะไม่สามารถตีให้ไหวเร็วเท่าคู่ต่อสู้ส่งมาได้ส่วน "ตาย" คือรับทัน แต่เมื่อตีด้วย ความเร็วเท่าที่รับมาไปพักหนึ่งแล้วไม่สามารถรักษาความไหวเร็วในระดับนี้ต่อไปได้ ต้องหยุดตี หรือเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งจนมือตายเคลื่อนไหวต่อไปไม่ได้
  • 19. หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นบุตรคนเล็กของ ครูสิน ศิลปบรรเลง และ นางยิ้ม เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2424 ที่บ้านตาบลคลองดาวดึงส์ อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวิถีชีวิต และผลงานในเรื่องของดนตรีไทยสรุปได้ดังนี้ • ปี พ.ศ. 2442 ได้เข้าเป็นจางวางมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรม พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯโปรดเกล้าฯให้เข้าไปบรรเลง ปี่พาทย์ร่วมกับการแสดงโขนบรรดาศักดิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ประดิษฐไพเราะ • ปี พ.ศ. 2469 เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง โดยสังกัดสานักพระราชวัง • ปี พ.ศ. 2473 ดารงตาแหน่งปลัดกรมปี่พาทย์และโขนหลวงต่อมาโอนมาอยู่กรม ศิลปากร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 ศิริรวมอายุได้ 72 ปี 7 เดือน 2 วัน