SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
ชื่อ นางสาวสุดารัตน์ วันโพน
ทอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
เลขที่ 23
สอ เสถบุตร (๒๔๖๖-๒๕๑๓) เกิดในครอบครัวนักประดิษฐ์ เนื่องจากบิดา
เป็นลูกคหบดี แต่ชอบคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อาทิ เคยไปอยู่โรงงาน
ประดิษฐ์พิมพ์ดีดของพระอาจวิทยาคม (จอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์) ชอบ
เครื่องยนต์กลไกต่างๆ รวมทั้งสนใจภาพยนตร์ ถึงขนาดนาเครื่องฉายหนัง
ไปฉายหนังเร่ตามต่างจังหวัด จนเป็นมาลาเรียเสียชีวิตในภาคอีสาน ตั้งแต่
สอ เสถบุตรยังไม่จบมัธยมปลาย สอจึงเติบโตมาในความดูแลของมารดา
และมีมารดาเป็นบุคคลสาคัญมาตลอดชีวิต ดังเช่นที่ได้ส่งข้าวส่งน้าขณะ
ติดคุกการเมือง และเป็นผู้นาต้นฉบับปทานุกรมออกมาจัดพิมพ์จนโด่งดัง
ศรัณย์ทองปาน นักวิชาการจากศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ เจ้าของ
รางวัลสารคดีเยาวชนดีเด่นปี ๒๕๕๑ จากหนังสือ ช ช้าง กับ ฅ ฅน
ได้ฝากฝีไม้ลายมือนําเสนอชีวประวัติของสอ เสถบุตรไว้โดยมี
รูปแบบการเล่าเรื่องตามลําดับตัวอักษร A – Z เช่นเดียวกับ
ปทานุกรม!
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ให้คํานิยามว่า “หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่
ชีวประวัติฉบับสมบูรณ์ของสอ เสถบุตร หากแต่เป็นชีวประวัติ
(ถ้าหนังสือจะมีชีวิต) ของพจนานุกรมของสอ ซึ่งหลอมรวมจน
แทบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับตัวตนของเขา”
เรื่อง: ศรัณย์ทองปาน
เขาน้อมกายลงตรงพระพักตร์พระมหากษัตริย์
เมื่อก้มลงมอง เขาก็พบว่าตัวเองกําลังสวม
เครื่องแบบข้าราชสํานักเต็มยศ นุ่งผ้าม่วงใส่ถุงน่องรองเท้า
ประดับเหรียญตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เมื่อเหลือบตา
ขึ้นไป เขาก็ต้องแปลกใจเมื่อพบว่าพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่
ตนเองหมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทนี้ กลับไม่ใช่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราช
เจ้าของชาวสยาม จากนั้นภาพก็พร่าเลือนไป
ท่ามกลางคลื่นมหาชนที่กําลังตื่นเต้น สับสน กระสับกระส่าย
ในบรรยากาศที่ดูราวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างที่เคยอ่านจาก
หนังสือ เขาปีนขึ้นไปยืนบนม้าเตี้ยๆ เริ่มกล่าวปราศรัยกับ
ประชาชนที่กําลังห้อมล้อมยืนออฟังกันอยู่ ทันใดนั้น มี
นายตํารวจสองนายแหวกฝูงคนตรงเข้ามาหา เขารีบกระโดดเข้า
ไปแทรกในกลุ่มคนแล้ววิ่งหนี แต่ตํารวจก็ยังวิ่งไล่ตามจับไม่ละ
ลด เขาพยายามวิ่งหนีหัวซุกหัวซุน จนสะดุดล้มลง
เช้ามืดวันหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ นายสอ เศรษฐบุตร นักเรียน
ทุนคิงสกอลลาชิป ผู้กาลังศึกษาวิชาเหมืองแร่อยู่ ณ ประเทศ
อังกฤษ ตกใจตื่นขึ้นหลังจากความฝันอันแปลกประหลาดใน
ยามรุ่งสาง เขารู้สึกว่าความฝันนี้อาจเป็นลางสังหรณ์ ทั้ง
สาหรับอนาคตของเขา... และของประเทศสยาม
ข้าพเจ้าเกิดในรัชสมัยอันช่วงโชติแห่งพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อีกหลายปีต่อมา เมื่อสอ เศรษฐบุตร เริ่มต้นงานเขียน
ปทานุกรมภาษาอังกฤษ-ไทย (เดี๋ยวนี้ใช้คําว่า "พจนานุกรม"
แทน) แล้วจะอธิบายคําว่า bright ที่มีนัยความหมายว่า สว่าง
สดใส เขาเลือกใช้ประโยคตัวอย่างข้างต้นนั้น ซึ่งก็คือประวัติ
ชีวิตของเขานั่นเอง
สอถือกาเนิดขึ้น ณ เวลายิงปืนเที่ยง ของวันที่ ๑๐ เดือน
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ปีเถาะ (นับอย่างปัจจุบันจะเป็นต้นปี
๒๔๔๗ แต่สมัยนั้นถือเป็นปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ด้วยยังขึ้นปีใหม่
ในเดือนเมษายนอยู่) ตกในปลายรัชกาลพระปิยมหาราช
แม้สอเกิดมาในสกุลซึ่งจะได้รับพระราชทานนามต่อมาว่า
"เศรษฐบุตร" อันถือเป็นคหบดีตระกูลหนึ่งของกรุงสยามก็ดี ทว่า
ฐานะของเขาก็ใช่ว่าจะนับเป็นลูกเศรษฐีได้ จริงอยู่ว่านายสวัสดิ์
บิดาของสอ คือบุตรชายคนเล็กของพระประเสริฐวานิช (เจ๊สัว
เส็ง) นายอากรรังนกและเศรษฐีใหญ่คนหนึ่งในพระนคร หากแต่
นายสวัสดิ์ก็มิได้ยินดีด้วยโภคทรัพย์ของบิดา ทั้งยังไม่อินังขังขอบ
กับยศถาบรรดาศักดิ์ จึงมิได้เข้ารับราชการหรือสืบทอดกิจการ
ค้าขายใด ๆ
แต่นายสวัสดิ์ก็มิได้อนาทรร้อนใจอันใด คงมุ่งหน้าไปตามทางที่ตนได้
เลือกแล้ว บุตรชายคนเล็กของมหาเศรษฐีเมืองกรุงจึงไปทํางาน
ประดิษฐ์แป้นอักษรภาษาไทยให้แก่บริษัทพิมพ์ดีดสมิธ พรีเมียร์ ของ
พระอาจวิทยาคม (ยอร์ช แมคฟาร์แลนด์) เจ้าของกิจการผลิต
เครื่องพิมพ์ดีดรายเดียวของประเทศ นอกจากนั้นแล้ว คุณพระอาจฯ ยัง
เป็นผู้แต่งปทานุกรมอังกฤษ-ไทย ที่แพร่หลายที่สุดในสมัยนั้ติดตาม
บิดาไปบ้านคุณพระอาจฯ ที่หน้าโรงพยาบาลศิริราชหลายครั้ง และคุณ
พระอาจวิทยาคมนี้เอง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่งานแห่งชีวิตของสอ
ในกาลต่อมาน เด็กชายสอจําได้ว่าเคย
นี่เป็นการเริ่มยุคใหม่ (เปิดฉากใหม่)
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ กองทัพจากหัว
เมือง นําโดยพลเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวร
เดชกฤดากร ในนามของ "คณะกู้บ้านเมือง" ยกทัพลงมา
ประชิดพระนคร และเข้ายึดสนามบินดอนเมือง เพื่อกดดัน
รัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์
พหลโยธิน) ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นเผด็จการให้ลาออก
แล้วถวายพระราชอํานาจคืนแก่พระมหากษัตริย์ เพื่อให้
ทรงพระราชทานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอัน
แท้จริงให้แก่ทวยราษฎร์ ทว่า ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยินยอม มี
การปะทะกันหลายแห่ง
ในระหว่างนั้น บนเรือแมคอินทอช เรือชักลากแพซุง
ของบริษัทป่าไม้ศรีมหาราชา ที่ลอยลําอยู่กลางแม่นํ้า
เจ้าพระยา กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Bangkok
Daily Mail ของบริษัทสยามฟรีเปรสส์ (Siam Free
Press) ได้มาชุมนุมกัน มีอาทิ พระยาศราภัยพิพัฒ
(เลื่อน ศราภัยวานิช) นายหลุย คีรีวัต และหลวงมหา
สิทธิโวหาร อนึ่ง สมควรกล่าวไว้ณ ที่นี้ด้วยว่า ทั้ง
หนังสือพิมพ์Bangkok Daily Mail ก็ดี หรือบริษัทป่า
ไม้ศรีมหาราชาก็ดี ล้วนแล้วแต่มีพระคลังข้างที่ หรือที่
ปัจจุบันนี้เรียกกันว่า สํานักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งสิ้น
อีกหลายปีต่อมา เจ้าคุณศราภัยฯ เขียนเล่าว่าก่อนหน้านั้น ท่าน
และเพื่อนๆ ได้ไปโรเนียวใบปลิวโจมตีรัฐบาลที่บริษัทวิงเซ่ง
หลง บางลําพูล่าง ธนบุรี อันเป็นโรงเลื่อยที่บริษัทศรีมหาราชา
เช่าไว้เก็บไม้และใช้เป็นที่ทําการในกรุงเทพฯ
ใบปลิวที่ข้าพเจ้าพิมพ์ด้วยโรเนียวนั้นมีถ้อยคํารุนแรงมาก โจมตีรัฐบาลคณะ
ราษฎร์ ในเรื่องไม่ได้รักษาวาจาสัตย์ตามหลัก ๖ ประการ ประชาชนพลเมือง
ไม่ได้รับประชาธิปไตยอันแท้จริง...นอกจากนี้ยังมีข้อความอีกหลายประการที่
สามารถสงเคราะห์เข้าในความผิดกฎหมายอาญามาตรา ๑๐๔ หรือถ้าเกิดจลาจล
ขึ้น อาจสงเคราะห์เข้าในพวกกบฏ...เมื่อเราทราบว่าทหารหัวเมืองได้เข้ายึดกรม
อากาศยานดอนเมืองไว้แล้ว ประกอบด้วยมีงานนักขัตฤกษ์พระเจดีย์กลางนํ้าที่
สมุทรปราการ เราลงเรือแม๊คกินต๊อชของบริษัทศรีราชาไปเที่ยวกัน ก็เลยมี
ความคิดว่าใบปลิวชนิดนี้ไม่เหมาะกับกาลเทศะเสียแล้วควรจะเผาเสียดีกว่า เรา
จึงช่วยกันเผาเสียหมด
ในขณะที่หลวงมหาสิทธิฯ เล่าเรื่องนี้ต่างออกไปว่า สิ่งที่กระทํากันในเรือ
แมคอินทอช นั้น ก็คือการร่วมกันโรเนียวใบปลิวแถลงการณ์ของคณะกู้
บ้านเมืองที่หลวงมหาสิทธิฯ แปลเป็นภาษาอังกฤษ ขณะที่กําลังพิมพ์อยู่
นั้น เครื่องโรเนียวเกิดติดขัด คุณหลวงจึงต้องลงมือแก้ไขและหมุนเครื่อง
เอง แต่เมื่อมีข่าวออกมาว่ากองทัพพระองค์เจ้าบวรเดชฯ ถอยทัพจากดอน
เมืองแล้ว และกําลังมีทีท่าว่าจะเป็นฝ่ายแพ้พวกเขาก็ตัดสินใจเผาใบปลิว
ทั้งหมดในเตาหม้อนํ้าเรือ เพื่อไม่ให้หลงเหลือหลักฐานใด ๆ
สอ เสถบุตร

More Related Content

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

สอ เสถบุตร