SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
บทที่ 2
ทฤษฎีหลักสูตร
มโนทัศน์(Concept)
ทฤษฎีหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็ น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
(curriculum design) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร(curriculum engineering) ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของสาขาวิชา
ศึกษาศาสตร์ โดยสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มีที่มาจากการจัดกลุ่มความรู้ 3 กลุ่มหลัก คือ 1.วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
(the natural sciences) 2.สังคมศาสตร์ (the social sciences) และ 3. มนุษย์ศาสตร์ (the humanities) โดยที่
สาขาวิชาต่าง ๆ มีที่มาจากความรู้ทั้งสามกลุ่ม อาทิ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
รวมถึงศึกษาศาสตร์ เป็นต้น
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร
2. สามารถนาความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สาระเนื้อหา(Content)
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสม
กับความต้องการของผู้เรียน สามารถนาความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนาความรู้ที่ได้รับนั้น
ไปทาประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาศึกษา มีการผสมผสาน
มโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นาทฤษฎี
ทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตร เนื้อหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตร การ
สร้างทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
1. ทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้
จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนามาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และ
นาไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมี
ส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทาหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการ
ดาเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นาไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนาไปสู้การ
ยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
Smith and others (1957) มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทาง
การศึกษา เพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นาทฤษฎี
หลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน กาหนดขึ้นเพื่อการ
นามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ที่
สามารถนามาปรับใช้การวางแผนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ และ
โยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ พิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมนามาบรรจุไว้ในหลักสูตร
คานึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม (Kelly.1995)
Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทานายและคาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นทาให้มนุษย์สามารถ
ควบคุมปรากฏการณ์ หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตร จึงเป็นการ
ผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนาไปปฏิบัติในโรงเรียน โดยการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง
องค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา
ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคาอธิบายสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนา
หลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร และการนาผลที่ได้รับจากการประเมินผลมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
(Kelly.2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่างๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างจุดมุ่งหมายกับ
เนื้อหาวิชา ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด ปรัชญาต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการวาง
จุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม (Gardner and others.2000) โดยสภาพ
ความจริงแล้วทฤษฎีและปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึง
ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติจะดาเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้กล่าวอีก
นัยหนึ่งก็คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กาหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง โดยเหตุนี้ทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและ
จะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุความสาเร็จตามเป้าหมาย
2. การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
Beauchamp (1981:77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือทฤษฎีการออกแบบ
หลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
2.1 ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของ
หลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล (Zais.1976:16) Herrick
and Tyler (1950:41) ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตรดังภาพ 4.1
จุดประสงค์
เนื้อหาวิชา วิธีการจัดการเรียนการสอน
การประเมินผล
ภาพประกอบ 1 ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตร
Taba (1962:422) มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรที่จะขาดเสีย มิได้ก็คือจุดมุ่งหมายทั่วไป
และจุดมุ่งหมายเฉพาะเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผล Beauchamp (1975:107-
109) ได้สรุปองค์ประกอบสาคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด
จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนาหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผล
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นและสาคัญยิ่งสาหรับหลักสูตร
Zais (1976:431-437) ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2
แบบคือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic design)
หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทางได้แก่ความมีเหตุผล
(Rationalism) จะนาไปสู่การค้นพบความจริงการสังเกต (Empiricism) รับรู้จากการมอง การได้กลิ่น การได้
ยิน การได้สัมผัส ฯลฯ สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าวก็เป็นวิธีหนึ่งที่
มนุษย์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ และความเชื่อในสิ่งที่มีอานาจ (Authoritarianism) เช่น ความเชื่อในทางศาสนา
ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์ผู้รู้ได้กล่าวไว้ เป็นต้น ส่วนหลักสูตรมนุษยนิยมก็มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรเพื่อ
ความหลุดพ้นแต่การจัดหลักสูตรแบบนี้จะมุ่งเน้นเนื้อหา สาระมากกว่ากระบวนการการจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหา
สาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง
2.2 ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
วิศวกรรมหลักสูตร (Curriculum engineering) หมายถึงกระบวนการทุกอย่างที่จาเป็นในการทาให้
ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทาหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมิน
ประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร (Beauchamp.1975:108) หลักสูตรที่มีคุณภาพและ
สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มากที่สุดนั้นมีอยู่หลายรูปแบบได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการ
ปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสาหรับการ
กาหนดหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรมี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมาก
ยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร
การทาให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนาไปใช้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
3. การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกาหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทานั้นมี
เป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม วัสดุ
ประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ กิจกรรมทั้งในทั้งนอก ห้องเรียน การกาหนดระบบการ
จัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือก การเรียนการ
สอนที่เหมาะสม หรือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้ นักพัฒนา
หลักสูตรต้องคานึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ อย่างละเอียด และรอบคอบก่อน ตัดสินใจเลือกทางเลือก
ใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคานึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ การ
พัฒนาหลักสูตรมีข้อควรคานึงหลายประการที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องหาคาตอบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
จัดทาหลักสูตร Tyler (1949) ได้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายการศึกษาของโรงเรียน คืออะไร?
2.การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาของโรงเรียนนั้น ต้องใช้ประสบการณ์การศึกษาอะไร?
3. ประสบการณ์การศึกษาดังกล่าวจะจัดอย่างไร?
4. คุณภาพของหลักสูตรได้มาอย่างไร?
สาราญ คงชะวัน (2456: 13-14) ได้สรุปว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนา
ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และ
ประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน (Marsh and Willis. 1995:129)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดาเนินการได้ระยะเวลา ซึ่งต้องดาเนินการให้เป็นไปตาม
ความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยัง
ไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดาเนินการได้ทุกระยะเวลา และต้องดาเนินการให้เป็นไป
ตามความเหมาะสม และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน
บุญชม ศรีสะอาด (2546: 21-46) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรว่าต้องอาศัย
พื้นฐานที่สาคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical foundation) อิทธิพลขอพื้นฐานดังกล่าวมี 2
ลักษณะ
- หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบ และแนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของ
หลักสูตร
- ความสาเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตร
ใหม่
2. พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical foundation) ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตร เนื่องจาก
ปรัชญามีส่วนในการช่วยกาหนดจุดประสงค์และการจัดการสอน ซึ่งมีแนวปรัชญาต่างๆ มากมาย
- ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism) เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ ทักษะ อุดมการณ์
ที่เป็นแกนกลาง หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่ หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบ
สหสัมพันธ์ (Broadfields curriculum)
- ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสาคัญที่สุดคือความสามารถในการใช้ความคิด
ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้เหตุผล การตัดสินแยกแยะ และความเชื่อเกี่ยวกับพระ
เจ้า การจัดหลักสูตรจึงเน้นความสาคัญของวิชาพื้นฐานได้แก่ การอ่าน เขียน และการคิดคานวณ
- ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์ ผู้สอน
แบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
- ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เน้นเรื่องชีวิตและสังคม ได้แก่ หลักสูตรที่ยึดหลักสังคม
และการดารงชีวิต (Social process and life function curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core curriculum)
- ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกาหนดของชีวิตของตนเองได้แก่ หลักสูตร
แบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด
3. พื้นฐานจากสังคม (Sociogical foundation) หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุด สมาชิกใน
สังคมเป็ นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน รากฐานทางสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการ
เปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทาให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
4. พื้นฐานจากจิตวิทยา (Psychologial foundation) จิตวิทยามีส่วนสาคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการ
สอน โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้
4.1 จิตวิทยาพัฒนาการ การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางใน
การวางแผนหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล วุฒิภาวะทางกาย
พัฒนาการ และ สัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งผลการวิจัยของนักทฤษฎีพัฒนาการ Hevighurst development theory กล่าวว่า งานพัฒนาการแต่ละวัยนั้น ถ้า
หากประสบความสาเร็จในการพัฒนาในงานใด ก็จะทาให้มีความสุขและส่งผลต่อความสาเร็จในงานต่างๆ มาก
ทฤษฎีพัฒนาการ Erikson’s psychosocialtheory ที่เชื่อว่าพัฒนาการแต่ละชั้นถ้าได้รับการส่งเสริมตามต้องการจะ
เกิดความพึงพอใจและมั่นใจ สามารถพัฒนาการขั้นตอนต่อไปได้อย่างสมบูรณ์เป็นผลให้มีบุคลิกภาพดี แต่ถ้าขั้น
ใดไม่ได้รับการส่งเสริมจะเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พึงพอใจและเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพ ทฤษฎี
พัฒนาการทางสติปัญญา Cognitive development theory ที่เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด
จนกระทั่งถึงวัยที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์
4.2 จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสาคัญของเนื้อหาหลักสูตรและ
กิจกรรมการสอน ทฤษฎีที่สาคัญ ได้แก่
- ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีการ
เสริมแรง และทฤษฎีเงื่อนไข นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner
- ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสาคัญมากจะต้อง
มาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สาคัญของกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีมนุษย์นิยม
- ทฤษฎีผสมผสาน (lntegrated theory) มีแนวคิดพื้นฐานที่สาคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการ
เรียนรู้ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม
- ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ Bloom เป็ นทฤษฏีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และ
คุณลักษณะของแต่ละคน
5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่างๆ (Disciplines of knowledge foundations) ความรู้ของวิทยาการและ
เทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งความรู้ทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้
ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ (Concept) และวิธีการของวิชานั้นๆ
นักวิทยาการด้านหลักสูตรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรไว้หลาย
รูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งรูปแยกการพัฒนาหลักสูตรแต่ละรูปแบบ ไม่ว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือการนา
หลักสูตรเก่ามาพัฒนา ประกอบด้วยขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันพอสรุปเป็นขั้นตอน (ยุทธนา ปฐมวรชาติ. 2545 :
15-18 ; Saylor and Aleylor and Alexander. 1974 : 6) ดังนี้ การออกแบบและการสร้างหลักสูตร (การกาหนด
จุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดทารายละเอียดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ การกาหนดแนวทางการจัดประสบการณ์
เรียนรู้กาหนดเวลา (การนาหลักสูตรไปใช้และการประเมินหลักสูตร Tyler (1949 : 1) ได้กาหนดกระบวนการ
วางแผนหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะสาหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อผู้เรียน โดยเสนอแนะว่า
สิ่งที่ต้องคานึงในการวางแผนหลักสูตร อะไรคือจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา
ปฏิบัติ? ทาอย่างไรจึงจัดประสบการณ์การศึกษาให้สอดคล้องกับจุดหมายมุ่งกาหนดไว้? ทาอย่างไรจึงจะจัดการ
ประเมินประสบการณ์การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ?
Taba (1962 : 345-425) ได้เสนอรูปแบบการวางแผนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความ
ต้องการของผู้เรียนตามความเชื่อเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันโดยกาหนดกระบวนการวางแผนพัฒนา
หลักสูตรไว้7 ขั้นตอนดังนี้
1. การวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียน ต้องเริ่มจากการค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดย
วิเคราะห์ช่องว่าง จุดบกพร่องและหลังของผู้เรียน
2. การกาหนดจุดมุ่งหมาย หลังจากวิเคราะห์หาความต้องการของผู้เรียนแล้ว ผู้วางแผนพัฒนา
หลักสูตร ต้องกาหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยใช้คาว่าเป้าหมายหรือจุดหมาย
3. การเลือกเนื้อหา เนื้อหาที่กาหนดในแต่ละหัวข้อจะต้องมาจากจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้
4. การเรียงลาดับเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ จะต้องตัดสินใจว่าจะจัดลาดับเนื้อหา
อย่างไร จึงจะเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ความพร้อม และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
5. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้วางแผนหลักสูตรจะต้องเลือกหรือกาหนดวิธีการที่จะทาให้
ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่กาหนดไว้
6. การเรียงลาดับประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องหาวิธีการที่จัดและเรียงลาดับให้
กิจกรรมการเรียนรู้ผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
7. การกาหนดรู้แบบการประเมินผลและแนวทางในการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งผู้พัฒนา
หลักสูตรจะต้องคานึงถึงการบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น รู้แบบการประเมินที่ดี คือ การที่
ครูผู้สอนใช้เทคนิควิธีการหลายวิธีเหมาะกับผู้เรียน
Stenhouse (1975 : 4-5) ได้เสนอหลักการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. การเลือกเนื้อหา (Selec tof cotent) เป็นการคัดเลือกเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการจัดการเรียนรู้ใน
หลักสูตร
2. การกาหนดยุทธวิธีการสอน (Teaching strategy) เป็นการกาหนดว่าจะทาวิธีการสอนด้วยวิธีใด
และมีกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการใด
3. การเรียงลาดับเนื้อหา (Make decisionse about seqence) เป็นการนาเนื้อหาที่กาหนดในหลักสูตร
มาเรียงลาดับก่อนหลังอย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
4. การพิจารณาจุดอ่อนจุดแข็งของผู้เรียนรายบุคคลและหลักการที่กาหนดมาแล้ว (Diagnose the
strengths and weakness of individual students and general principles)
ชูศรี สุวรรณโชติ (2542: 97-99) ได้หาแนวคิดกระบวนการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้
1. การศึกษาปัญหาหรือกาหนดปัญหา เป็นขั้นแรกของการวางแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตรซึ่งผู้พัฒนา
หลักสูตรต้องรู้ถึงสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมในทุกๆ ด้าน
2. การกาหนดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา เป็นสิ่งที่ช่วยในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรให้
เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแน่นนอน ข้อมูลที่กาหนดจะต้องเป็นข้อมูลที่สนองตอบปัญหาที่ได้รับจาก
การศึกษา
3. การกาหนดสมมุติฐาน การวางแผนพัฒนาหลักสูตรทุกครั้งต้องกาหนดสมมุติฐานไว้เสมอว่า
หลักสูตรจะต้องพัฒนาจะบังเกิดผลอย่างไรต่อผู้เรียน สมมุติฐานของการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นทางบวกมากกว่า
ทางลบ
4. การกาหนดแนวทางในการดาเนินงานเป็นขั้นตอนที่ต้องกาหนดการพัฒนาหลักสูตรโดยกาหนด
กระบวนการตั้งแต่ต้นจนสาเร็จลุล่วง ขั้นตอนเหล่านี้ต้องกาหนดเวลาที่แน่นอน
5. การเลือกบุคลากรมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ผู้กาหนดแผนต้องกาหนดตัวบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี
4. การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การเรียนการสอนจะดาเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหาร
และครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตรและวิธีใช้ ด้วยการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน อ่านหลักสูตรได้
เข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่างๆ
1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท (Nationai level) เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและ
บรรจุสาระที่จาเป็นต่อทุกคนในประเทศที่จะต้องเรียนรู้เหมือนกัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ไว้หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียนการพัฒนา
2. หลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่พัฒนาหลักสูตร คือ สูตรพัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการบรับปรุงหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
หลักสูตรระดับท้องถิ่น (Local level) เป็นการนาเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้พิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่น
เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่นาไปใช้
ในชีวิตจริง
3. หลักสูตรระดับห้องเรียน (Classroom level) สังคมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับ
นี้ ผู้สอนส่วนมากมักเข้าใจผิดมักคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วผู้สอนนาเอา
หลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะสมและบรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรที่กาหนดไว้ผู้สอน
แต่ละคนในวิชาต่างๆ ก็จะทาให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นทั้งระบบ คือ รู้จักจุดมุ่งหมายการสอนเรื่อง
วิชานั้นๆ ว่ามีความหมายความจาเป็นต่อผู้เรียนอย่างไร ทาไมจึงต้องสอน สามารถใช้วิธีการสอน สื่อการสอน
หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไป
ตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
การพัฒนาหลักสูตร จาเป็นต้องมีการดาเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป การวางแผน
จุดมุ่งหมายในการดาเนินงานนี้จะต้องคานึงถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่
ใดก่อน และดาเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
หลักสูตรเดิม ต้องคานึงถึงการดาเนินงานวิธีการต่างๆ รวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนา
หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมครูประจาการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะใน
ด้านต่างๆ และต้องคานึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของผู้เรียนด้วย ต้องได้รับความ
ร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านทางด้านหลักสูตรทุกๆ ด้าน
ระดับประถมศึกษา การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง ชุมชน และ
สังคม โดยเชื่อว่าหากพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถอ่านออก เขียนได้คานวณได้ ซึ่ง
นับว่าเป็นทักษะที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตในอนาคต ผู้เรียนรู้จักรักและเข้าใจในธรรมชาติ สามารถสื่อสารได้
อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและทาความเข้าใจสุขพลานามัยส่วนร่วมแล้ว ย่อมรู้จักรัก
ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจิตภาพต่อการดารงชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข และคานึงถึงการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดโยชน์คุ้มค่า วิเคราะห์เหตุผลและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว รัก
การอ่านและแสวงหาความรู้อยู่เสมอทางานร่วมกับคนอื่นได้ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น รักการทางาน และทางานเป็น รู้
เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่บ้าน สามารถปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้าน
ตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักรักและแสวงหา
ความรู้ กาแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทาประโยชน์ให้แก่สังคม มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ เข้าใจใน
การเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ
ต่างๆ รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตน
และชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านต่างๆ สาหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียน
สามารถเสนอแนะทางเลือกอย่างหลากหลายในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ปรับปรุงการ
ปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ รักการทางานและรู้กระบวนการจัดการ เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลง
สังคมในชุมชน สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนภูมิใจในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะ
สมาชิกที่ดีในชุมชน สิ่งแวดล้อมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคุณค่าตนเอง
วัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน ตลอดจนเกิดความรู้สึกรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทาประโยชน์ให้
สังคมตามความสามารถของตน มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันความเจริญก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการสร้างเสริมสุขภาพ วางแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม
ได้ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทางานร่วมกับผู้อื่น
ได้ รักการทางานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลก
มุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าใจร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุรักษ์
และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคล
อื่นตามแนวทางประชาธิปไตย
การที่จะช่วยให้ผู้สอนเกิดความชานาญ และมั่นใจในการใช้หรือพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะมีบริการ
ช่วยผู้สอนให้คาปรึกษาหรือวิธีสอนในการจัดบริการหลักสูตรนี้ ซึ่งจะช่วยผู้สอนในการพัฒนาหลักสูตรในการ
นาหลักสูตรไปใช้โดยเป็นไปอย่างมีเหตุผล การพัฒนาหลักสูตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีวิทยาการต่างๆ ของสังคมและ
ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ปรัชญา และแนวทางการพัฒนาการศึกษา
สรุป(Summary)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้อง
คานึงถึงสังคม ปรัชญาการศึกษา และผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาหลักสูตร
จะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันนับแต่นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร
ครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักพัฒนาหลักสูตรที่จะให้การหลักสูตรดาเนินไปจนบรรลุผลสูงสุด
ทฤษฎีหลักสูตรที่ได้มาจากศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่างๆ เพื่อ
อธิบายเหตุผลการได้มาขององค์ความรู้ การรักษาไว้และการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลได้อย่างไร ทฤษฎี
หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักพัฒนาหลักสูตรกาหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกาหนดคาทานายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้
สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้สามารถพัฒนาหลักสูตร การนาหลักวิชา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
การสอน เทคนิค และวิธีการต่างๆ วิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และทาให้นักเรียนบรรลุตาม
จุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์
ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1. ทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
2. การพัฒนาหลักสูตรในแง่ของปรัชญา ปรัชญาใดที่สมควรนามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อ
ตอบสนองการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุผลใด
กิจกรรม(Activity)
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎี ทฤษฎี
หลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
2. ศึกษาทาความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การ
พัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตร”
3. แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
และการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาเอกดังกล่าว

More Related Content

What's hot

Theoretical foundation by math ed kku sec2
Theoretical  foundation by math ed kku sec2Theoretical  foundation by math ed kku sec2
Theoretical foundation by math ed kku sec2chatruedi
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2nattawad147
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2kanwan0429
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 

What's hot (7)

Theoretical foundation by math ed kku sec2
Theoretical  foundation by math ed kku sec2Theoretical  foundation by math ed kku sec2
Theoretical foundation by math ed kku sec2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 4 new
บทที่ 4 newบทที่ 4 new
บทที่ 4 new
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
รูปแบบ Powerpoint
รูปแบบ Powerpointรูปแบบ Powerpoint
รูปแบบ Powerpoint
 

Similar to บทที่ 2

Similar to บทที่ 2 (20)

บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
นายธนศิษฎ์ ศรีเมือง 525050434-9
นายธนศิษฎ์ ศรีเมือง 525050434-9นายธนศิษฎ์ ศรีเมือง 525050434-9
นายธนศิษฎ์ ศรีเมือง 525050434-9
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 

More from Dook dik

บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรมDook dik
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11Dook dik
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10Dook dik
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9Dook dik
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8Dook dik
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7Dook dik
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6Dook dik
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5Dook dik
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4Dook dik
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3Dook dik
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1Dook dik
 

More from Dook dik (11)

บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 

บทที่ 2

  • 1. บทที่ 2 ทฤษฎีหลักสูตร มโนทัศน์(Concept) ทฤษฎีหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็ น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (curriculum design) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร(curriculum engineering) ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของสาขาวิชา ศึกษาศาสตร์ โดยสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มีที่มาจากการจัดกลุ่มความรู้ 3 กลุ่มหลัก คือ 1.วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (the natural sciences) 2.สังคมศาสตร์ (the social sciences) และ 3. มนุษย์ศาสตร์ (the humanities) โดยที่ สาขาวิชาต่าง ๆ มีที่มาจากความรู้ทั้งสามกลุ่ม อาทิ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมถึงศึกษาศาสตร์ เป็นต้น ผลการเรียนรู้(Learning Outcome) 1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร 2. สามารถนาความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สาระเนื้อหา(Content) ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสม กับความต้องการของผู้เรียน สามารถนาความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนาความรู้ที่ได้รับนั้น ไปทาประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาศึกษา มีการผสมผสาน มโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นาทฤษฎี ทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตร เนื้อหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตร การ สร้างทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
  • 2. 1. ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้ จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนามาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และ นาไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมี ส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทาหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการ ดาเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นาไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนาไปสู้การ ยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด Smith and others (1957) มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทาง การศึกษา เพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นาทฤษฎี หลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน กาหนดขึ้นเพื่อการ นามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ที่ สามารถนามาปรับใช้การวางแผนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ และ โยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ พิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมนามาบรรจุไว้ในหลักสูตร คานึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม (Kelly.1995) Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทานายและคาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นทาให้มนุษย์สามารถ ควบคุมปรากฏการณ์ หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตร จึงเป็นการ ผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนาไปปฏิบัติในโรงเรียน โดยการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคาอธิบายสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนา หลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร และการนาผลที่ได้รับจากการประเมินผลมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (Kelly.2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่างๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างจุดมุ่งหมายกับ เนื้อหาวิชา ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด ปรัชญาต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการวาง จุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม (Gardner and others.2000) โดยสภาพ ความจริงแล้วทฤษฎีและปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึง ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติจะดาเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้กล่าวอีก
  • 3. นัยหนึ่งก็คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กาหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง โดยเหตุนี้ทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและ จะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุความสาเร็จตามเป้าหมาย 2. การสร้างทฤษฎีหลักสูตร Beauchamp (1981:77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือทฤษฎีการออกแบบ หลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) 2.1 ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของ หลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล (Zais.1976:16) Herrick and Tyler (1950:41) ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตรดังภาพ 4.1 จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา วิธีการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล ภาพประกอบ 1 ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตร Taba (1962:422) มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรที่จะขาดเสีย มิได้ก็คือจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผล Beauchamp (1975:107- 109) ได้สรุปองค์ประกอบสาคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนาหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นและสาคัญยิ่งสาหรับหลักสูตร Zais (1976:431-437) ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2 แบบคือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic design) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทางได้แก่ความมีเหตุผล (Rationalism) จะนาไปสู่การค้นพบความจริงการสังเกต (Empiricism) รับรู้จากการมอง การได้กลิ่น การได้
  • 4. ยิน การได้สัมผัส ฯลฯ สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าวก็เป็นวิธีหนึ่งที่ มนุษย์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ และความเชื่อในสิ่งที่มีอานาจ (Authoritarianism) เช่น ความเชื่อในทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์ผู้รู้ได้กล่าวไว้ เป็นต้น ส่วนหลักสูตรมนุษยนิยมก็มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรเพื่อ ความหลุดพ้นแต่การจัดหลักสูตรแบบนี้จะมุ่งเน้นเนื้อหา สาระมากกว่ากระบวนการการจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหา สาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง 2.2 ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร วิศวกรรมหลักสูตร (Curriculum engineering) หมายถึงกระบวนการทุกอย่างที่จาเป็นในการทาให้ ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทาหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมิน ประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร (Beauchamp.1975:108) หลักสูตรที่มีคุณภาพและ สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มากที่สุดนั้นมีอยู่หลายรูปแบบได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการ ปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสาหรับการ กาหนดหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรมี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมาก ยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทาให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนาไปใช้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น 3. การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกาหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทานั้นมี เป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม วัสดุ ประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ กิจกรรมทั้งในทั้งนอก ห้องเรียน การกาหนดระบบการ จัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือก การเรียนการ สอนที่เหมาะสม หรือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้ นักพัฒนา หลักสูตรต้องคานึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ อย่างละเอียด และรอบคอบก่อน ตัดสินใจเลือกทางเลือก ใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคานึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ การ พัฒนาหลักสูตรมีข้อควรคานึงหลายประการที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องหาคาตอบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ จัดทาหลักสูตร Tyler (1949) ได้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายการศึกษาของโรงเรียน คืออะไร? 2.การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาของโรงเรียนนั้น ต้องใช้ประสบการณ์การศึกษาอะไร?
  • 5. 3. ประสบการณ์การศึกษาดังกล่าวจะจัดอย่างไร? 4. คุณภาพของหลักสูตรได้มาอย่างไร? สาราญ คงชะวัน (2456: 13-14) ได้สรุปว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนา ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และ ประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน (Marsh and Willis. 1995:129) การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดาเนินการได้ระยะเวลา ซึ่งต้องดาเนินการให้เป็นไปตาม ความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยัง ไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดาเนินการได้ทุกระยะเวลา และต้องดาเนินการให้เป็นไป ตามความเหมาะสม และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน บุญชม ศรีสะอาด (2546: 21-46) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรว่าต้องอาศัย พื้นฐานที่สาคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical foundation) อิทธิพลขอพื้นฐานดังกล่าวมี 2 ลักษณะ - หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบ และแนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของ หลักสูตร - ความสาเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตร ใหม่ 2. พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical foundation) ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตร เนื่องจาก ปรัชญามีส่วนในการช่วยกาหนดจุดประสงค์และการจัดการสอน ซึ่งมีแนวปรัชญาต่างๆ มากมาย - ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism) เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ ทักษะ อุดมการณ์ ที่เป็นแกนกลาง หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่ หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบ สหสัมพันธ์ (Broadfields curriculum) - ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสาคัญที่สุดคือความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้เหตุผล การตัดสินแยกแยะ และความเชื่อเกี่ยวกับพระ เจ้า การจัดหลักสูตรจึงเน้นความสาคัญของวิชาพื้นฐานได้แก่ การอ่าน เขียน และการคิดคานวณ - ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์ ผู้สอน แบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
  • 6. - ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เน้นเรื่องชีวิตและสังคม ได้แก่ หลักสูตรที่ยึดหลักสังคม และการดารงชีวิต (Social process and life function curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core curriculum) - ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกาหนดของชีวิตของตนเองได้แก่ หลักสูตร แบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด 3. พื้นฐานจากสังคม (Sociogical foundation) หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุด สมาชิกใน สังคมเป็ นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน รากฐานทางสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการ เปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทาให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย 4. พื้นฐานจากจิตวิทยา (Psychologial foundation) จิตวิทยามีส่วนสาคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการ สอน โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้ 4.1 จิตวิทยาพัฒนาการ การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางใน การวางแผนหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล วุฒิภาวะทางกาย พัฒนาการ และ สัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผลการวิจัยของนักทฤษฎีพัฒนาการ Hevighurst development theory กล่าวว่า งานพัฒนาการแต่ละวัยนั้น ถ้า หากประสบความสาเร็จในการพัฒนาในงานใด ก็จะทาให้มีความสุขและส่งผลต่อความสาเร็จในงานต่างๆ มาก ทฤษฎีพัฒนาการ Erikson’s psychosocialtheory ที่เชื่อว่าพัฒนาการแต่ละชั้นถ้าได้รับการส่งเสริมตามต้องการจะ เกิดความพึงพอใจและมั่นใจ สามารถพัฒนาการขั้นตอนต่อไปได้อย่างสมบูรณ์เป็นผลให้มีบุคลิกภาพดี แต่ถ้าขั้น ใดไม่ได้รับการส่งเสริมจะเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พึงพอใจและเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพ ทฤษฎี พัฒนาการทางสติปัญญา Cognitive development theory ที่เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึงวัยที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ 4.2 จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสาคัญของเนื้อหาหลักสูตรและ กิจกรรมการสอน ทฤษฎีที่สาคัญ ได้แก่ - ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีการ เสริมแรง และทฤษฎีเงื่อนไข นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner - ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสาคัญมากจะต้อง มาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สาคัญของกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีมนุษย์นิยม - ทฤษฎีผสมผสาน (lntegrated theory) มีแนวคิดพื้นฐานที่สาคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการ เรียนรู้ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม - ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ Bloom เป็ นทฤษฏีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และ คุณลักษณะของแต่ละคน
  • 7. 5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่างๆ (Disciplines of knowledge foundations) ความรู้ของวิทยาการและ เทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งความรู้ทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ (Concept) และวิธีการของวิชานั้นๆ นักวิทยาการด้านหลักสูตรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรไว้หลาย รูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งรูปแยกการพัฒนาหลักสูตรแต่ละรูปแบบ ไม่ว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือการนา หลักสูตรเก่ามาพัฒนา ประกอบด้วยขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันพอสรุปเป็นขั้นตอน (ยุทธนา ปฐมวรชาติ. 2545 : 15-18 ; Saylor and Aleylor and Alexander. 1974 : 6) ดังนี้ การออกแบบและการสร้างหลักสูตร (การกาหนด จุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดทารายละเอียดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ การกาหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เรียนรู้กาหนดเวลา (การนาหลักสูตรไปใช้และการประเมินหลักสูตร Tyler (1949 : 1) ได้กาหนดกระบวนการ วางแผนหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะสาหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อผู้เรียน โดยเสนอแนะว่า สิ่งที่ต้องคานึงในการวางแผนหลักสูตร อะไรคือจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา ปฏิบัติ? ทาอย่างไรจึงจัดประสบการณ์การศึกษาให้สอดคล้องกับจุดหมายมุ่งกาหนดไว้? ทาอย่างไรจึงจะจัดการ ประเมินประสบการณ์การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ? Taba (1962 : 345-425) ได้เสนอรูปแบบการวางแผนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความ ต้องการของผู้เรียนตามความเชื่อเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันโดยกาหนดกระบวนการวางแผนพัฒนา หลักสูตรไว้7 ขั้นตอนดังนี้ 1. การวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียน ต้องเริ่มจากการค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดย วิเคราะห์ช่องว่าง จุดบกพร่องและหลังของผู้เรียน 2. การกาหนดจุดมุ่งหมาย หลังจากวิเคราะห์หาความต้องการของผู้เรียนแล้ว ผู้วางแผนพัฒนา หลักสูตร ต้องกาหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยใช้คาว่าเป้าหมายหรือจุดหมาย 3. การเลือกเนื้อหา เนื้อหาที่กาหนดในแต่ละหัวข้อจะต้องมาจากจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ 4. การเรียงลาดับเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ จะต้องตัดสินใจว่าจะจัดลาดับเนื้อหา อย่างไร จึงจะเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ความพร้อม และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 5. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้วางแผนหลักสูตรจะต้องเลือกหรือกาหนดวิธีการที่จะทาให้ ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่กาหนดไว้ 6. การเรียงลาดับประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องหาวิธีการที่จัดและเรียงลาดับให้ กิจกรรมการเรียนรู้ผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 8. 7. การกาหนดรู้แบบการประเมินผลและแนวทางในการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งผู้พัฒนา หลักสูตรจะต้องคานึงถึงการบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น รู้แบบการประเมินที่ดี คือ การที่ ครูผู้สอนใช้เทคนิควิธีการหลายวิธีเหมาะกับผู้เรียน Stenhouse (1975 : 4-5) ได้เสนอหลักการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 4 ประการ ดังนี้ 1. การเลือกเนื้อหา (Selec tof cotent) เป็นการคัดเลือกเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการจัดการเรียนรู้ใน หลักสูตร 2. การกาหนดยุทธวิธีการสอน (Teaching strategy) เป็นการกาหนดว่าจะทาวิธีการสอนด้วยวิธีใด และมีกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการใด 3. การเรียงลาดับเนื้อหา (Make decisionse about seqence) เป็นการนาเนื้อหาที่กาหนดในหลักสูตร มาเรียงลาดับก่อนหลังอย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ 4. การพิจารณาจุดอ่อนจุดแข็งของผู้เรียนรายบุคคลและหลักการที่กาหนดมาแล้ว (Diagnose the strengths and weakness of individual students and general principles) ชูศรี สุวรรณโชติ (2542: 97-99) ได้หาแนวคิดกระบวนการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้ 1. การศึกษาปัญหาหรือกาหนดปัญหา เป็นขั้นแรกของการวางแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตรซึ่งผู้พัฒนา หลักสูตรต้องรู้ถึงสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมในทุกๆ ด้าน 2. การกาหนดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา เป็นสิ่งที่ช่วยในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรให้ เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแน่นนอน ข้อมูลที่กาหนดจะต้องเป็นข้อมูลที่สนองตอบปัญหาที่ได้รับจาก การศึกษา 3. การกาหนดสมมุติฐาน การวางแผนพัฒนาหลักสูตรทุกครั้งต้องกาหนดสมมุติฐานไว้เสมอว่า หลักสูตรจะต้องพัฒนาจะบังเกิดผลอย่างไรต่อผู้เรียน สมมุติฐานของการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นทางบวกมากกว่า ทางลบ 4. การกาหนดแนวทางในการดาเนินงานเป็นขั้นตอนที่ต้องกาหนดการพัฒนาหลักสูตรโดยกาหนด กระบวนการตั้งแต่ต้นจนสาเร็จลุล่วง ขั้นตอนเหล่านี้ต้องกาหนดเวลาที่แน่นอน 5. การเลือกบุคลากรมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ผู้กาหนดแผนต้องกาหนดตัวบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี 4. การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียนการสอนจะดาเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหาร และครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตรและวิธีใช้ ด้วยการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน อ่านหลักสูตรได้ เข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่างๆ
  • 9. 1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท (Nationai level) เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและ บรรจุสาระที่จาเป็นต่อทุกคนในประเทศที่จะต้องเรียนรู้เหมือนกัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ไว้หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียนการพัฒนา 2. หลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่พัฒนาหลักสูตร คือ สูตรพัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการบรับปรุงหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หลักสูตรระดับท้องถิ่น (Local level) เป็นการนาเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้พิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่น เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่นาไปใช้ ในชีวิตจริง 3. หลักสูตรระดับห้องเรียน (Classroom level) สังคมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับ นี้ ผู้สอนส่วนมากมักเข้าใจผิดมักคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วผู้สอนนาเอา หลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะสมและบรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรที่กาหนดไว้ผู้สอน แต่ละคนในวิชาต่างๆ ก็จะทาให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นทั้งระบบ คือ รู้จักจุดมุ่งหมายการสอนเรื่อง วิชานั้นๆ ว่ามีความหมายความจาเป็นต่อผู้เรียนอย่างไร ทาไมจึงต้องสอน สามารถใช้วิธีการสอน สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไป ตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ การพัฒนาหลักสูตร จาเป็นต้องมีการดาเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป การวางแผน จุดมุ่งหมายในการดาเนินงานนี้จะต้องคานึงถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ ใดก่อน และดาเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า หลักสูตรเดิม ต้องคานึงถึงการดาเนินงานวิธีการต่างๆ รวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนา หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมครูประจาการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะใน ด้านต่างๆ และต้องคานึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของผู้เรียนด้วย ต้องได้รับความ ร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านทางด้านหลักสูตรทุกๆ ด้าน ระดับประถมศึกษา การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง ชุมชน และ สังคม โดยเชื่อว่าหากพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถอ่านออก เขียนได้คานวณได้ ซึ่ง นับว่าเป็นทักษะที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตในอนาคต ผู้เรียนรู้จักรักและเข้าใจในธรรมชาติ สามารถสื่อสารได้ อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและทาความเข้าใจสุขพลานามัยส่วนร่วมแล้ว ย่อมรู้จักรัก ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจิตภาพต่อการดารงชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข และคานึงถึงการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดโยชน์คุ้มค่า วิเคราะห์เหตุผลและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว รัก การอ่านและแสวงหาความรู้อยู่เสมอทางานร่วมกับคนอื่นได้ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น รักการทางาน และทางานเป็น รู้
  • 10. เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่บ้าน สามารถปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้าน ตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักรักและแสวงหา ความรู้ กาแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทาประโยชน์ให้แก่สังคม มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ เข้าใจใน การเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ ต่างๆ รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตน และชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านต่างๆ สาหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียน สามารถเสนอแนะทางเลือกอย่างหลากหลายในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ปรับปรุงการ ปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ รักการทางานและรู้กระบวนการจัดการ เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลง สังคมในชุมชน สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนภูมิใจในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะ สมาชิกที่ดีในชุมชน สิ่งแวดล้อมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคุณค่าตนเอง วัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน ตลอดจนเกิดความรู้สึกรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทาประโยชน์ให้ สังคมตามความสามารถของตน มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการสร้างเสริมสุขภาพ วางแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม ได้ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทางานร่วมกับผู้อื่น ได้ รักการทางานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลก มุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าใจร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุรักษ์ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคล อื่นตามแนวทางประชาธิปไตย การที่จะช่วยให้ผู้สอนเกิดความชานาญ และมั่นใจในการใช้หรือพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะมีบริการ ช่วยผู้สอนให้คาปรึกษาหรือวิธีสอนในการจัดบริการหลักสูตรนี้ ซึ่งจะช่วยผู้สอนในการพัฒนาหลักสูตรในการ นาหลักสูตรไปใช้โดยเป็นไปอย่างมีเหตุผล การพัฒนาหลักสูตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีวิทยาการต่างๆ ของสังคมและ ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ปรัชญา และแนวทางการพัฒนาการศึกษา สรุป(Summary) การพัฒนาหลักสูตรเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้อง คานึงถึงสังคม ปรัชญาการศึกษา และผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาหลักสูตร
  • 11. จะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันนับแต่นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร ครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักพัฒนาหลักสูตรที่จะให้การหลักสูตรดาเนินไปจนบรรลุผลสูงสุด ทฤษฎีหลักสูตรที่ได้มาจากศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่างๆ เพื่อ อธิบายเหตุผลการได้มาขององค์ความรู้ การรักษาไว้และการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลได้อย่างไร ทฤษฎี หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักพัฒนาหลักสูตรกาหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกาหนดคาทานายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้สามารถพัฒนาหลักสูตร การนาหลักวิชา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การสอน เทคนิค และวิธีการต่างๆ วิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และทาให้นักเรียนบรรลุตาม จุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์ ตรวจสอบทบทวน(Self-Test) 1. ทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 2. การพัฒนาหลักสูตรในแง่ของปรัชญา ปรัชญาใดที่สมควรนามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อ ตอบสนองการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุผลใด กิจกรรม(Activity) 1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎี ทฤษฎี หลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร 2. ศึกษาทาความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การ พัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตร” 3. แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาเอกดังกล่าว