SlideShare a Scribd company logo
1 of 23
Von Neumann Model จัดทำโดย นางสาว ปรียาภรณ์  กาญจนะ เลขที่  25  ม .4/3 นำเสนอ  อาจารย์ ณัฐพล  บัวอุไร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา
ภาพที่  1.1   ลูกคิด  ( Abacus )  มนุษย์ได้พยามยามคิดค้นสร้างเครื่องมือช่วยคำนวณมาเป็นเวลานาน เริ่มจากชาวจีนได้คิดค้นลูกคิด  ( Abacus )  ใช้มานานกว่าสองพันปีแล้ว มีการพัฒนามาเป็นเครื่องคำนวณที่ใช้กลไกเครื่องแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คือ เบลส ปาสกาล  (Blaise Pascal)  ทว่าเครื่องคำนวณนี้มีความสามารถจำกัด คือ คำนวณได้เฉพาะการบวกและลบเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการคำนวณที่ค่อนข้างหยาบ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเครื่องคำนวณแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นระบบกลไกและระบบใช้ไฟฟ้ามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน      
ภาพที่  1.2   เบลส ปาสกาล  ( Blaise Pascal )   ภาพที่  1.3   ชาร์ลส์ แบบเบจ  (  Charles Babbage  )
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อว่าผู้ที่สามารถสร้างเครื่องคำนวณให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติเป็นคนแรก คือ ชาร์ลส์ แบบเบจ  ( Charles Babbage )  ชาวอังกฤษ ได้ออกแบบเครื่องคำนวณไว้สองแบบ เมื่อประมาณ ค . ศ . 1834  ( พ . ศ . 2377 )  คือ  Differemce Engine  และ  Analytical Engine  ดังแสดงในภาพที่  1.4   และ  1.5   ตามลำดับ ซึ่งเครื่องคำนวณแบบหลังนี้ใช้หลักการและแนวคิดที่ก้าวหน้ามากในยุคนั้น คือ การเก็บคำสั่งไว้ให้เครื่องทำงานโดยอัตโนมัติ แบบเดียวกับที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเก็บโปรแกรมไว้ทำงาน ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงยกย่องว่า ชาร์ลส์ แบบเบจ เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม แบบเบจเองไม่สามารถสร้างเครื่องคำนวณทั้งสองแบบได้สำเร็จ เพราะขาดความสามารถที่จะผลิตเฟือง และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความละเอียดเที่ยงตรงสูงมาก  ภาพที่  1.4   เครื่องคำนวณ  Difference Engine  ของชาร์ลส์ แบบเบจ
ภาพที่  1.5   เครื่องคำนวณ  Analytical Engine  ของชาร์ลส์ แบบเบจ     ในปี ค  .  ศ  . 1815  (  พ  .  ศ  . 2358 )  เอดา ออกุสตา  ( Ada Auguata)  ในฐานะเพื่อนสนิทของแบบเบจ ได้เป็นผู้ที่นำเอาเครื่อง  Analytical Engine  ของแบบเบจ ไปใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ออกุสตา จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์  ( Programmer )  คนแรกของโลก   
ภาพที่  1.6   เอดา ออกุสตา  (  Ada Auguata )   ภาพที่  1.7   ยอร์จ บูล  ( George Boole )
ปี ค  .  ศ  .  1815-1864  (  พ  .  ศ  . 2358-2407 )  นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ยอร์จ บูล  (George Boole)  ได้คิดค้นพีชคณิตที่เรียกว่า  Boolean Algebra  ซึ่งเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ระบบตรรกวิทยา  ( Symbolic Logic )  โดยใช้เหตุผลต่างๆ ที่เป็นเงื่อนไขสำหรับหาข้อเท็จจริง ทำให้  Boolean Algebra  นี้เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง  ( Binary Number )  ที่เกี่ยวพันสถานะทางไฟฟ้าแบบสวิทชิ่ง  ( Swiching )  ซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์  ( Digital Computer )  มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน  ภาพที่  1.8   ดร  .  เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ  ( Dr . Herman Hollerith )
ค  .  ศ  . 1860-1929  (  พ  .  ศ  . 2403-2470 )  นักประดิษฐ์คิดค้นชาวอเมริกันชื่อ ดร  .  เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ  (Dr.Herman Hollerith)  ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตรเจาะรูได้ เรียกว่า  Tabulating Machine  ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร  .  เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัสแบบอยู่ภายนอกเครื่องคำนวณซึ่งเรียกบัตรนี้ว่า  “  บัตรฮอลเลอริธ  ”  ( Hollerith Card )  ถือเป็นต้นแบบในการพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา  ภาพที่  1.9   เครื่องเจาะบัตรฮอลเลอริธ  ( Hollerith Card Punch )   ค  .  ศ  . 1860-1929  (  พ  .  ศ  . 2403-2470 )  นักประดิษฐ์คิดค้นชาวอเมริกันชื่อ ดร  .  เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ  (Dr.Herman Hollerith)  ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตรเจาะรูได้ เรียกว่า  Tabulating Machine  ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร  .  เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัสแบบอยู่ภายนอกเครื่องคำนวณซึ่งเรียกบัตรนี้ว่า  “  บัตรฮอลเลอริธ  ”  ( Hollerith Card )  ถือเป็นต้นแบบในการพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา
ภาพที่  1 . 10  ตัวอย่างบัตรฮอลเลอริธ  ( Hollerith Card )
จากหลักฐานที่ปรากฏ เชื่อกันว่าผู้ที่สร้างคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้จริงเป็นเครื่องแรกในปี ค  .  ศ  . 1946  (  พ  .  ศ  . 2489 )  คือ จอห์น ดับบลิว .  มอชลีย์  (John W. Mauchley)  และ เจ  .  เพรสเพอร์ เอคเกิร์ต  (J. Presper Eckert)  แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาสำเร็จนี้มีชื่อว่า เอนิแอค  ( ENIAC )  ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า  Electronic Numerical Integrator And Calculation  ดังแสดงในภาพที่  1.13   จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในด้านการทหาร เนื่องจากในช่วงเวลานั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดสรรทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยตามมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ เพื่อคิดค้นอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำสงคราม และเครื่องเอนิแอคนี้ เดิมทีวางแผนจะใช้สำหรับคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ และต่อมาได้นำไปใช้ในการคำนวณเพื่อสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรกอีกด้วย                                  ภาพที่  1 . 11  จอห์น ดับบลิว .  มอชลีย์  ( John W .  Mauchley )
                            ภาพที่  1 . 12  เจ  .  เพรสเพอร์ เอคเกิร์ต  ( J .  Presper Eckert )                                                         ภาพที่  1 . 13  เครื่องคอมพิวเตอร์ เอนิแอค  ( ENIAC )
    ในช่วงแรก มอชลีย์และเอคเกิร์ต ผู้สร้างเครื่องเอนิแอค ได้ระดมทุนเพื่อทำการเปิดบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ แต่ระหว่างการดำเนินการนั้นกลับมีปัญหาด้านการเงินและการจัดการ จึงจำเป็นต้องขายกิจการให้แก่บริษัท เรมิงตัน แรนด์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูนิแวค  ( UNNIVAC Company )  แต่ยังคงมี มอชย์ลี และเอคเกิร์ต เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและดำเนินการผลิต คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถผลิตสำหรับใช้ในงานธุรกิจได้สำเร็จภายใต้ บริษัท ยูนิแวค คือ  UNIVAC I  ดังแสดงในภาพที่  1.14   ซึ่งได้จำหน่ายให้แก่สำนักงานสำรวจประชากรแห่งสหรัฐอเมริกา  ( American Population Surveying Office )                                                                     ภาพที่  1 . 14   เครื่องคอมพิวเตอร์ ยูนิแวค  1  ( UNIVAC I )
ขณะเดียวกันกับการเปิดตัว บริษัท ยูนิแวค และเครื่อง  UNIVAC I  บริษัท ไอบีเอ็ม  ( International Business Machine  :  IBM )  ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องคำนวณรายใหญ่ ได้มองเห็นลู่ทางอันสดใสในธุรกิจคอมพิวเตอร์ จึงได้ลงทุนทำการศึกษาวิจัยด้านเครื่องคำนวณอัตโนมัติ  ( Automatic Calculator )  และได้แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรบางอย่างกับบริษัท ยูนิแวค เพื่อเปิดกิจการทางด้านการผลิตคอมพิวเตอร์   การดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัท  IBM  ก้าวมาสู่จุดยอดเมื่อเริ่มสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในชุด  360/370  ( 360/370 Model )  อันเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถต่าง ๆ กันหลายระดับ แต่ล้วนสามารถใช้คำสั่ง  ( Command )  ในชุดเดียวกันได้ การผลิตคอมพิวเตอร์ชุดนี้ ทำให้บริษัทไอบีเอ็มได้ลูกค้าจำนวนมากทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมกับเป็นการจุดกระแสความความสนใจในการใช้คอมพิวเตอร์ และการลงทุนทางธุรกิจคอมพิวเตอร์มากขึ้นทั้งในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกอีกคนหนึ่ง ได้แก่ จอห์น ฟอน นอยมานน์  (John Von Neumann)  นักคณิตศาสตร์สัญชาติอเมริกัน เชื้อสายฮังกาเรียน ซึ่งได้ร่วมเสนอแนวคิดในการสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำสำหรับใช้เก็บคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ ล้วนใช้หลักการทำงานแบบนี้ และนิยมเรียกกันว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฟอน นอยมานน์  ( Von Neumann Model )  ภาพที่  1 . 15  จอห์น ฟอน นอยมานน์ กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฟอน นอยมานน์
ในปี ค  .  ศ  . 1977  (  พ  .  ศ  . 2520 )  ได้มีผู้คิดผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  (  Personal Computer  :  PC  )  ซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก มีระบบไม่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว และทำให้ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการประยุกต์คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ เติบโตรวดเร็วมากยิ่งกว่ายุคใดๆในอดีตจากการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ดังกล่าว ทำให้เกิดบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ( Hardware )  และที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ( Software )  นำโดยบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์  ( Apple Computer Company )  เป็นบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์  Macintosh  ที่เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ขณะที่ บริษัท ไอบีเอ็ม กลายมาเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดมาตรฐานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ด้วยเครื่องชุด  IBM PC , PC / XT, PC / AT  และ  PS / 2   ตามด้วยบริษัทไมโครซอฟต์  (  Microsoft Company  )  ที่เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจซอฟต์แวร์ด้วยผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการดอส  (  Disk Operating System  :  DOS  )  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์  (  Windows Operating System  )  และโปรแกรมประยุกต์ใช้งานอื่น ๆ รวมถึงชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  ( Microsoft Office Program Pack )  ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อันประกอบด้วย
-  โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  ( Microsoft Word )  เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ  ( Word Processing )                       -  โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล  ( Microsoft Excel )  เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษทำการ  ( Spread Sheet )                       -  โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พ้อยต์  ( Microsoft PowerPoint )  เป็นโปรแกรมประเภทงานนำเสนอ  ( Presentation )                       -  โปรแกรมไมโครซอฟต์แอ็คเซส  ( Microsoft Access )  เป็นโปรแกรมประเภทงานฐานข้อมูล  ( Data Base )  1.2  ความหมาย และคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์             ( 1 )  คอมพิวเตอร์  ( Computer )  มีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก คือ  Computare  ซึ่งแปลว่า การนับ หรือการคำนวณ แต่ในปัจจุบัน จะหมายถึง เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ( Electronic Tools )  ที่ใช้ในการคำนวณต่างๆ เช่น ทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ สถิติและงานบัญชี รวมทั้งใช้ในการวางแผนงาน การจัดการและควบคุมงานต่างๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในงานวิจัยค้นคว้า งานธุรกิจการพาณิชย์ งานด้านการศึกษา งานด้านสาธารณสุข ตลอดจนใช้เพื่อการนันทนาการและการบันเทิง
ข้อมูลดังกล่าว คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจเก็บบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมากสุดแล้วแต่ขนาดของหน่วยความจำ  ( Memory Unit )  ของ เครื่องนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนคนไทยเกือบ  60   ล้านคนทั่วประเทศ ขณะที่คอมพิวเตอร์ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค  6   ขอนแก่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน บันทึกข้อมูลประวัติผู้รับการฝึก จำนวนสองหมื่นคน 2 .  มีความสามารถในการนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาประมวลผลตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว                  ยกตัวอย่าง เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย อาจนำข้อมูลประชาชนคนไทยทั่วประเทศมาจำแนกทางสถิติทางด้านเพศ อายุ ภูมิลำเนา ได้อย่างรวดเร็ว หรือเจ้าของสถานประกอบการสามารถขอใช้ข้อมูล ผู้สำเร็จการฝึกจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยโสธร เพื่อทำการคัดเลือกเป็นพนักงานได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว ค้นหาข้อมูลเพื่อความต้องการแรงงานของสถานประกอบการก็อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีก็ได้  3 .  มีความสามารถในการจัดทำและแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ                ยกตัวอย่าง เช่น การจัดทำรายการวัสดุที่ต้องการใช้เป็นรายงานการเก็บสินค้า แสดงแผนภูมิเปรียบเทียบผล แสดงแบบรูปงานก่อสร้าง 4 .  มีความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์และเครื่องมืออื่นๆ                 ยกตัวอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถผลิตชิ้นงานตามกระบวนการ  ( Process )  เพื่อให้มีรูปร่าง  ขนาดและสัดส่วน ตรงตามแบบที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ
1.3   ประเภทของคอมพิวเตอร์                 การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามความสามารถ แบ่งคอมพิวเตอร์ได้เป็น  4   ประเภท ดังต่อไปนี้ ( 1 )  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์  (Super Computer)                คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีขีดความสามารถมากกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ กล่าวคือ สามารถคำนวณหรือทำงานตามคำสั่งที่กำหนดให้ได้เร็วตั้งแต่พันล้านคำสั่งต่อวินาทีขึ้นไป การวัดความเร็วนี้นิยมวัดเป็นหน่วย เมกะฟลอปส์  (  Megaflops )  ย่อมาจาก  Mega Floating Point Instruction Per Second                 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก จึงนิยมใช้ในงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ซับซ้อนขององค์กรใหญ่ ๆ เช่น งานวิจัยด้านนิวเคลียร์ งานจำลองแบบโมเลกุล งานพยากรณ์อากาศ งานค้นคว้าด้านอวกาศ และงานวิจัยทางการทหาร ในด้านธุรกิจเองเริ่มมีความสนใจนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้แต่ยังไม่มากนัก                  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ เครื่องเครย์ รุ่นต่างๆ ได้แก่  Cray I , Cray II  และ  Cray XMP  ของบริษัท เครย์ รีเสิร์ช  ( Cray Research Company )  แห่งสหรัฐอเมริกา     ภาพที่  1.2  3  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์  ( Super Computer )
( 2 )  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์  (Mainframe Computer)                    คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง คือ ทำงานได้เร็วประมาณ  50   ล้านคำสั่งต่อวินาทีขึ้นไป การวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ประเภทนี้นิยมใช้หน่วยวัด มิพส์  ( MIPS )  ซึ่งย่อมาจาก  Million Instruction Per Second                                        ภาพที่  1.2  4  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์  ( Mainframe Computer   เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นิยมใช้กันมากในหน่วยงาน และกิจการขนาดใหญ่ เช่น สถาบันการศึกษาใหญ่ ๆ ธนาคาร สายการบิน กระทรวงต่างๆ เพราะมีความสามารถในการคำนวณเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์รอบข้าง  (  Peripheral  )  ได้เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ของธนาคาร สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ  (  Automated Teller Machine  :  ATM  )  ได้หลายเครื่อง หรือคอมพิวเตอร์ของบริษัทการบินไทย สามารถต่อพ่วงกับจอภาพและแป้นพิมพ์ เพื่อใช้ในการให้บริการสำรองที่นั่งผู้โดยสารได้หลายพันชุด                    เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้นิยมใช้กันมาก คือ เครื่องของบริษัท ไอบีเอ็ม  ,  ของบริษัท ซีดีซี  ( CDC )  และของบริษัท เอ็นอีซี  ( NEC )  ของประเทศญี่ปุ่น
( 3 )  มินิคอมพิวเตอร์  (Mini Computer : Minis)                   คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถ ต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น มีความเร็วในการประมวลผลประมาณ  10 MIPS  อีกทั้งยังต่อพ่วงกับอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่าอีกด้วย แต่ก็ถือว่ามีความสามารถในการคำนวณสูงในระดับหนึ่ง คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ นิยมใช้ตามบริษัทหรือกิจการขนาดเล็ก หน่วยงานราชการขนาดเล็ก มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม                     มินิคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากเป็นเครื่องของบริษัท ดีอีซี  ( DEC )  ,  บริษัท ไอบีเอ็ม  ,  บริษัท ฮิวเลทท์ แพ็คการ์ด  (  Hewlette Packard )  เป็นต้น  ภาพที่  1.2  5   มินิคอมพิวเตอร์  ( Mini Computer )
( 4 )  ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  (Micro Computer or Personal Computer : PC)                   ในปัจจุบันถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีมากที่สุดในโลกจัดเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ในอดีตมีขีดความสามารถต่ำ แต่ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจมีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ามินิคอมพิวเตอร์บางรุ่นด้วยซ้ำไป ไมโคร คอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ของการทำงานในหน่วยงานและบริษัทห้างร้านต่างๆ ว่ากันว่าการที่โลกสนใจใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง เป็นเพราะมีผู้คิดผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ได้นั่นเอง   ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยอีกหลายชนิด ได้แก่       -  ชนิดตั้งพื้น   (  Floor Standing  หรือ  Tower Case  )  ทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมสำหรับตั้งบนพื้นข้างๆ หรือใต้โต๊ะทำงานแล้วตั้งจอภาพกับวางแผงแป้นพิมพ์ไว้บนโต๊ะทำงาน แต่ในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ใช้การวางคู่กับจอภาพบนโต๊ะทำงาน                                                                        
    -  ชนิดตั้งโต๊ะ   (  Desktop  หรือ  Base Case  )  ทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมวางบนโต๊ะทำงาน และมักนำจอภาพวางทับบนกล่องสี่เหลี่ยมอีกต่อหนึ่ง จัดเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่พบมากในสิบกว่าปีที่แล้ว แต่ในปัจจุบันก็พอจะมีพบเห็นอยู่บ้าง                                                                           -  ชนิดวางบนตัก  (  Laptop  )  ทำเป็นรูปกระเป๋าหิ้ว มีจอภาพในตัวพร้อมแบตเตอรี่ สามารถหิ้วไปใช้งานในที่ต่างๆได้ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็น โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์  (  Notebook  )  ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า กว้างยาวเท่ากับกระดาษ  A 4   และสามารถบรรจุในกระเป๋าเอกสารได้        
                     -  ชนิดมือถือ  (  Handheld  )  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์แบบพิเศษและมักใช้ในงานบันทึกข้อมูล แต่ในปัจจุบันมีความสามารถเทียบเท่าไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป และกำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันในชื่อ พ็อคเก็ต พีซี  ( Pocket Personal Computer )  โดยบางรุ่นสามารถใช้ร่วมกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งพื้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วย                             ภาพที่  1.29   ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ  -  ชนิดฝ่ามือ   (  Palmtop  )  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถจำกัดลงไปมาก เพราะแป้นพิมพ์มีขนาดเล็ก และต้องใช้ดินสอดิจิตอลที่เรียกว่า สไตลัส  ( Stylus )  จิ้มบนหน้าจอแทนการพิมพ์นิยมใช้ในการบันทึกข้อมูล และจัดลำดับงานคล้ายๆกับอุปกรณ์ช่วยงานบริหารที่เรียกว่า ออร์กาไนเซอร์ (  Organizer  )  ภาพที่  1.30   ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดฝ่ามือพร้อม สไตลัส  ( Stylus )
อ้างอิง www.google.co.th http :// tc . mengrai . ac . th / chanon / webnews / M1_30206/01 / index . php

More Related Content

Similar to Von neumann model2

ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์krupan
 
ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์krupan
 
อานนท์
อานนท์อานนท์
อานนท์Arnon2516
 
ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์uthenmada
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์Sakulrut
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์Sakulrut
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์Sakulrut
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมsuphawadeebb
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์piyarut084
 
บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นบทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นPises Tantimala
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์Chadarat37
 
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์เบื้องต้นคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์เบื้องต้นWithawat Na Wanma
 
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์Kanyawee Sriphongpraphai
 
Historycom 2
Historycom 2Historycom 2
Historycom 2paween
 
Historycom 2
Historycom 2Historycom 2
Historycom 2paween
 
E:\works\turing machine2
E:\works\turing machine2E:\works\turing machine2
E:\works\turing machine2bewhands
 

Similar to Von neumann model2 (20)

ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่  1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
อานนท์
อานนท์อานนท์
อานนท์
 
ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
ก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นบทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
รายงานประวัติคอมพิวเตอร์
 
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์เบื้องต้นคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
 
Historycom 2
Historycom 2Historycom 2
Historycom 2
 
Historycom 2
Historycom 2Historycom 2
Historycom 2
 
ประวัติคอมพิวเตอร์
ประวัติคอมพิวเตอร์ประวัติคอมพิวเตอร์
ประวัติคอมพิวเตอร์
 
2 evaluation
2 evaluation2 evaluation
2 evaluation
 
E:\works\turing machine2
E:\works\turing machine2E:\works\turing machine2
E:\works\turing machine2
 

Von neumann model2

  • 1. Von Neumann Model จัดทำโดย นางสาว ปรียาภรณ์ กาญจนะ เลขที่ 25 ม .4/3 นำเสนอ อาจารย์ ณัฐพล บัวอุไร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา
  • 2. ภาพที่ 1.1 ลูกคิด ( Abacus ) มนุษย์ได้พยามยามคิดค้นสร้างเครื่องมือช่วยคำนวณมาเป็นเวลานาน เริ่มจากชาวจีนได้คิดค้นลูกคิด ( Abacus ) ใช้มานานกว่าสองพันปีแล้ว มีการพัฒนามาเป็นเครื่องคำนวณที่ใช้กลไกเครื่องแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คือ เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) ทว่าเครื่องคำนวณนี้มีความสามารถจำกัด คือ คำนวณได้เฉพาะการบวกและลบเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการคำนวณที่ค่อนข้างหยาบ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเครื่องคำนวณแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นระบบกลไกและระบบใช้ไฟฟ้ามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน    
  • 3. ภาพที่ 1.2 เบลส ปาสกาล ( Blaise Pascal ) ภาพที่ 1.3 ชาร์ลส์ แบบเบจ ( Charles Babbage )
  • 4. ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อว่าผู้ที่สามารถสร้างเครื่องคำนวณให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติเป็นคนแรก คือ ชาร์ลส์ แบบเบจ ( Charles Babbage ) ชาวอังกฤษ ได้ออกแบบเครื่องคำนวณไว้สองแบบ เมื่อประมาณ ค . ศ . 1834 ( พ . ศ . 2377 ) คือ Differemce Engine และ Analytical Engine ดังแสดงในภาพที่ 1.4 และ 1.5 ตามลำดับ ซึ่งเครื่องคำนวณแบบหลังนี้ใช้หลักการและแนวคิดที่ก้าวหน้ามากในยุคนั้น คือ การเก็บคำสั่งไว้ให้เครื่องทำงานโดยอัตโนมัติ แบบเดียวกับที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเก็บโปรแกรมไว้ทำงาน ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงยกย่องว่า ชาร์ลส์ แบบเบจ เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม แบบเบจเองไม่สามารถสร้างเครื่องคำนวณทั้งสองแบบได้สำเร็จ เพราะขาดความสามารถที่จะผลิตเฟือง และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความละเอียดเที่ยงตรงสูงมาก ภาพที่ 1.4 เครื่องคำนวณ Difference Engine ของชาร์ลส์ แบบเบจ
  • 5. ภาพที่ 1.5 เครื่องคำนวณ Analytical Engine ของชาร์ลส์ แบบเบจ   ในปี ค . ศ . 1815 ( พ . ศ . 2358 ) เอดา ออกุสตา ( Ada Auguata) ในฐานะเพื่อนสนิทของแบบเบจ ได้เป็นผู้ที่นำเอาเครื่อง Analytical Engine ของแบบเบจ ไปใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ออกุสตา จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คนแรกของโลก  
  • 6. ภาพที่ 1.6 เอดา ออกุสตา ( Ada Auguata ) ภาพที่ 1.7 ยอร์จ บูล ( George Boole )
  • 7. ปี ค . ศ . 1815-1864 ( พ . ศ . 2358-2407 ) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ยอร์จ บูล (George Boole) ได้คิดค้นพีชคณิตที่เรียกว่า Boolean Algebra ซึ่งเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ระบบตรรกวิทยา ( Symbolic Logic ) โดยใช้เหตุผลต่างๆ ที่เป็นเงื่อนไขสำหรับหาข้อเท็จจริง ทำให้ Boolean Algebra นี้เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง ( Binary Number ) ที่เกี่ยวพันสถานะทางไฟฟ้าแบบสวิทชิ่ง ( Swiching ) ซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ( Digital Computer ) มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน ภาพที่ 1.8 ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ( Dr . Herman Hollerith )
  • 8. ค . ศ . 1860-1929 ( พ . ศ . 2403-2470 ) นักประดิษฐ์คิดค้นชาวอเมริกันชื่อ ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ (Dr.Herman Hollerith) ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตรเจาะรูได้ เรียกว่า Tabulating Machine ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัสแบบอยู่ภายนอกเครื่องคำนวณซึ่งเรียกบัตรนี้ว่า “ บัตรฮอลเลอริธ ” ( Hollerith Card ) ถือเป็นต้นแบบในการพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา ภาพที่ 1.9 เครื่องเจาะบัตรฮอลเลอริธ ( Hollerith Card Punch ) ค . ศ . 1860-1929 ( พ . ศ . 2403-2470 ) นักประดิษฐ์คิดค้นชาวอเมริกันชื่อ ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ (Dr.Herman Hollerith) ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตรเจาะรูได้ เรียกว่า Tabulating Machine ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัสแบบอยู่ภายนอกเครื่องคำนวณซึ่งเรียกบัตรนี้ว่า “ บัตรฮอลเลอริธ ” ( Hollerith Card ) ถือเป็นต้นแบบในการพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา
  • 9. ภาพที่ 1 . 10 ตัวอย่างบัตรฮอลเลอริธ ( Hollerith Card )
  • 10. จากหลักฐานที่ปรากฏ เชื่อกันว่าผู้ที่สร้างคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้จริงเป็นเครื่องแรกในปี ค . ศ . 1946 ( พ . ศ . 2489 ) คือ จอห์น ดับบลิว . มอชลีย์ (John W. Mauchley) และ เจ . เพรสเพอร์ เอคเกิร์ต (J. Presper Eckert) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาสำเร็จนี้มีชื่อว่า เอนิแอค ( ENIAC ) ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า Electronic Numerical Integrator And Calculation ดังแสดงในภาพที่ 1.13 จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในด้านการทหาร เนื่องจากในช่วงเวลานั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดสรรทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยตามมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ เพื่อคิดค้นอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำสงคราม และเครื่องเอนิแอคนี้ เดิมทีวางแผนจะใช้สำหรับคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ และต่อมาได้นำไปใช้ในการคำนวณเพื่อสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรกอีกด้วย                                ภาพที่ 1 . 11 จอห์น ดับบลิว . มอชลีย์ ( John W . Mauchley )
  • 11.                             ภาพที่ 1 . 12 เจ . เพรสเพอร์ เอคเกิร์ต ( J . Presper Eckert )                                                       ภาพที่ 1 . 13 เครื่องคอมพิวเตอร์ เอนิแอค ( ENIAC )
  • 12.     ในช่วงแรก มอชลีย์และเอคเกิร์ต ผู้สร้างเครื่องเอนิแอค ได้ระดมทุนเพื่อทำการเปิดบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ แต่ระหว่างการดำเนินการนั้นกลับมีปัญหาด้านการเงินและการจัดการ จึงจำเป็นต้องขายกิจการให้แก่บริษัท เรมิงตัน แรนด์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูนิแวค ( UNNIVAC Company ) แต่ยังคงมี มอชย์ลี และเอคเกิร์ต เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและดำเนินการผลิต คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถผลิตสำหรับใช้ในงานธุรกิจได้สำเร็จภายใต้ บริษัท ยูนิแวค คือ UNIVAC I ดังแสดงในภาพที่ 1.14 ซึ่งได้จำหน่ายให้แก่สำนักงานสำรวจประชากรแห่งสหรัฐอเมริกา ( American Population Surveying Office )                                                                  ภาพที่ 1 . 14 เครื่องคอมพิวเตอร์ ยูนิแวค 1 ( UNIVAC I )
  • 13. ขณะเดียวกันกับการเปิดตัว บริษัท ยูนิแวค และเครื่อง UNIVAC I บริษัท ไอบีเอ็ม ( International Business Machine : IBM ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องคำนวณรายใหญ่ ได้มองเห็นลู่ทางอันสดใสในธุรกิจคอมพิวเตอร์ จึงได้ลงทุนทำการศึกษาวิจัยด้านเครื่องคำนวณอัตโนมัติ ( Automatic Calculator ) และได้แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรบางอย่างกับบริษัท ยูนิแวค เพื่อเปิดกิจการทางด้านการผลิตคอมพิวเตอร์ การดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ก้าวมาสู่จุดยอดเมื่อเริ่มสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในชุด 360/370 ( 360/370 Model ) อันเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถต่าง ๆ กันหลายระดับ แต่ล้วนสามารถใช้คำสั่ง ( Command ) ในชุดเดียวกันได้ การผลิตคอมพิวเตอร์ชุดนี้ ทำให้บริษัทไอบีเอ็มได้ลูกค้าจำนวนมากทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมกับเป็นการจุดกระแสความความสนใจในการใช้คอมพิวเตอร์ และการลงทุนทางธุรกิจคอมพิวเตอร์มากขึ้นทั้งในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกอีกคนหนึ่ง ได้แก่ จอห์น ฟอน นอยมานน์ (John Von Neumann) นักคณิตศาสตร์สัญชาติอเมริกัน เชื้อสายฮังกาเรียน ซึ่งได้ร่วมเสนอแนวคิดในการสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำสำหรับใช้เก็บคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ ล้วนใช้หลักการทำงานแบบนี้ และนิยมเรียกกันว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฟอน นอยมานน์ ( Von Neumann Model ) ภาพที่ 1 . 15 จอห์น ฟอน นอยมานน์ กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฟอน นอยมานน์
  • 14. ในปี ค . ศ . 1977 ( พ . ศ . 2520 ) ได้มีผู้คิดผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( Personal Computer : PC ) ซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก มีระบบไม่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว และทำให้ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการประยุกต์คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ เติบโตรวดเร็วมากยิ่งกว่ายุคใดๆในอดีตจากการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ดังกล่าว ทำให้เกิดบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Hardware ) และที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ( Software ) นำโดยบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ ( Apple Computer Company ) เป็นบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ Macintosh ที่เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ขณะที่ บริษัท ไอบีเอ็ม กลายมาเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดมาตรฐานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ด้วยเครื่องชุด IBM PC , PC / XT, PC / AT และ PS / 2 ตามด้วยบริษัทไมโครซอฟต์ ( Microsoft Company ) ที่เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจซอฟต์แวร์ด้วยผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการดอส ( Disk Operating System : DOS ) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ( Windows Operating System ) และโปรแกรมประยุกต์ใช้งานอื่น ๆ รวมถึงชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ( Microsoft Office Program Pack ) ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อันประกอบด้วย
  • 15. - โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด ( Microsoft Word ) เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ ( Word Processing )                      - โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ( Microsoft Excel ) เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษทำการ ( Spread Sheet )                      - โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พ้อยต์ ( Microsoft PowerPoint ) เป็นโปรแกรมประเภทงานนำเสนอ ( Presentation )                      - โปรแกรมไมโครซอฟต์แอ็คเซส ( Microsoft Access ) เป็นโปรแกรมประเภทงานฐานข้อมูล ( Data Base ) 1.2 ความหมาย และคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์            ( 1 ) คอมพิวเตอร์ ( Computer ) มีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก คือ Computare ซึ่งแปลว่า การนับ หรือการคำนวณ แต่ในปัจจุบัน จะหมายถึง เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Tools ) ที่ใช้ในการคำนวณต่างๆ เช่น ทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ สถิติและงานบัญชี รวมทั้งใช้ในการวางแผนงาน การจัดการและควบคุมงานต่างๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในงานวิจัยค้นคว้า งานธุรกิจการพาณิชย์ งานด้านการศึกษา งานด้านสาธารณสุข ตลอดจนใช้เพื่อการนันทนาการและการบันเทิง
  • 16. ข้อมูลดังกล่าว คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจเก็บบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมากสุดแล้วแต่ขนาดของหน่วยความจำ ( Memory Unit ) ของ เครื่องนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนคนไทยเกือบ 60 ล้านคนทั่วประเทศ ขณะที่คอมพิวเตอร์ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 6 ขอนแก่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน บันทึกข้อมูลประวัติผู้รับการฝึก จำนวนสองหมื่นคน 2 . มีความสามารถในการนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาประมวลผลตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว                 ยกตัวอย่าง เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย อาจนำข้อมูลประชาชนคนไทยทั่วประเทศมาจำแนกทางสถิติทางด้านเพศ อายุ ภูมิลำเนา ได้อย่างรวดเร็ว หรือเจ้าของสถานประกอบการสามารถขอใช้ข้อมูล ผู้สำเร็จการฝึกจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยโสธร เพื่อทำการคัดเลือกเป็นพนักงานได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว ค้นหาข้อมูลเพื่อความต้องการแรงงานของสถานประกอบการก็อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีก็ได้ 3 . มีความสามารถในการจัดทำและแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ                ยกตัวอย่าง เช่น การจัดทำรายการวัสดุที่ต้องการใช้เป็นรายงานการเก็บสินค้า แสดงแผนภูมิเปรียบเทียบผล แสดงแบบรูปงานก่อสร้าง 4 . มีความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์และเครื่องมืออื่นๆ                 ยกตัวอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถผลิตชิ้นงานตามกระบวนการ ( Process ) เพื่อให้มีรูปร่าง ขนาดและสัดส่วน ตรงตามแบบที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ
  • 17. 1.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์                 การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามความสามารถ แบ่งคอมพิวเตอร์ได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)                คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีขีดความสามารถมากกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ กล่าวคือ สามารถคำนวณหรือทำงานตามคำสั่งที่กำหนดให้ได้เร็วตั้งแต่พันล้านคำสั่งต่อวินาทีขึ้นไป การวัดความเร็วนี้นิยมวัดเป็นหน่วย เมกะฟลอปส์ ( Megaflops ) ย่อมาจาก Mega Floating Point Instruction Per Second                ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก จึงนิยมใช้ในงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ซับซ้อนขององค์กรใหญ่ ๆ เช่น งานวิจัยด้านนิวเคลียร์ งานจำลองแบบโมเลกุล งานพยากรณ์อากาศ งานค้นคว้าด้านอวกาศ และงานวิจัยทางการทหาร ในด้านธุรกิจเองเริ่มมีความสนใจนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้แต่ยังไม่มากนัก                 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ เครื่องเครย์ รุ่นต่างๆ ได้แก่ Cray I , Cray II และ Cray XMP ของบริษัท เครย์ รีเสิร์ช ( Cray Research Company ) แห่งสหรัฐอเมริกา   ภาพที่ 1.2 3 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Super Computer )
  • 18. ( 2 ) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)                    คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง คือ ทำงานได้เร็วประมาณ 50 ล้านคำสั่งต่อวินาทีขึ้นไป การวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ประเภทนี้นิยมใช้หน่วยวัด มิพส์ ( MIPS ) ซึ่งย่อมาจาก Million Instruction Per Second                                       ภาพที่ 1.2 4 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ( Mainframe Computer เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นิยมใช้กันมากในหน่วยงาน และกิจการขนาดใหญ่ เช่น สถาบันการศึกษาใหญ่ ๆ ธนาคาร สายการบิน กระทรวงต่างๆ เพราะมีความสามารถในการคำนวณเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์รอบข้าง ( Peripheral ) ได้เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ของธนาคาร สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ ( Automated Teller Machine : ATM ) ได้หลายเครื่อง หรือคอมพิวเตอร์ของบริษัทการบินไทย สามารถต่อพ่วงกับจอภาพและแป้นพิมพ์ เพื่อใช้ในการให้บริการสำรองที่นั่งผู้โดยสารได้หลายพันชุด                   เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้นิยมใช้กันมาก คือ เครื่องของบริษัท ไอบีเอ็ม , ของบริษัท ซีดีซี ( CDC ) และของบริษัท เอ็นอีซี ( NEC ) ของประเทศญี่ปุ่น
  • 19. ( 3 ) มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer : Minis)                   คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถ ต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น มีความเร็วในการประมวลผลประมาณ 10 MIPS อีกทั้งยังต่อพ่วงกับอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่าอีกด้วย แต่ก็ถือว่ามีความสามารถในการคำนวณสูงในระดับหนึ่ง คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ นิยมใช้ตามบริษัทหรือกิจการขนาดเล็ก หน่วยงานราชการขนาดเล็ก มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม                   มินิคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากเป็นเครื่องของบริษัท ดีอีซี ( DEC ) , บริษัท ไอบีเอ็ม , บริษัท ฮิวเลทท์ แพ็คการ์ด ( Hewlette Packard ) เป็นต้น ภาพที่ 1.2 5 มินิคอมพิวเตอร์ ( Mini Computer )
  • 20. ( 4 ) ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Micro Computer or Personal Computer : PC)                   ในปัจจุบันถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีมากที่สุดในโลกจัดเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ในอดีตมีขีดความสามารถต่ำ แต่ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจมีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ามินิคอมพิวเตอร์บางรุ่นด้วยซ้ำไป ไมโคร คอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ของการทำงานในหน่วยงานและบริษัทห้างร้านต่างๆ ว่ากันว่าการที่โลกสนใจใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง เป็นเพราะมีผู้คิดผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ได้นั่นเอง ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยอีกหลายชนิด ได้แก่      - ชนิดตั้งพื้น ( Floor Standing หรือ Tower Case ) ทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมสำหรับตั้งบนพื้นข้างๆ หรือใต้โต๊ะทำงานแล้วตั้งจอภาพกับวางแผงแป้นพิมพ์ไว้บนโต๊ะทำงาน แต่ในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ใช้การวางคู่กับจอภาพบนโต๊ะทำงาน                                                                        
  • 21.     - ชนิดตั้งโต๊ะ ( Desktop หรือ Base Case ) ทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมวางบนโต๊ะทำงาน และมักนำจอภาพวางทับบนกล่องสี่เหลี่ยมอีกต่อหนึ่ง จัดเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่พบมากในสิบกว่าปีที่แล้ว แต่ในปัจจุบันก็พอจะมีพบเห็นอยู่บ้าง                                                                           - ชนิดวางบนตัก ( Laptop ) ทำเป็นรูปกระเป๋าหิ้ว มีจอภาพในตัวพร้อมแบตเตอรี่ สามารถหิ้วไปใช้งานในที่ต่างๆได้ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็น โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ ( Notebook ) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า กว้างยาวเท่ากับกระดาษ A 4 และสามารถบรรจุในกระเป๋าเอกสารได้      
  • 22.                     - ชนิดมือถือ ( Handheld ) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์แบบพิเศษและมักใช้ในงานบันทึกข้อมูล แต่ในปัจจุบันมีความสามารถเทียบเท่าไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป และกำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันในชื่อ พ็อคเก็ต พีซี ( Pocket Personal Computer ) โดยบางรุ่นสามารถใช้ร่วมกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งพื้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วย                            ภาพที่ 1.29 ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ - ชนิดฝ่ามือ ( Palmtop ) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถจำกัดลงไปมาก เพราะแป้นพิมพ์มีขนาดเล็ก และต้องใช้ดินสอดิจิตอลที่เรียกว่า สไตลัส ( Stylus ) จิ้มบนหน้าจอแทนการพิมพ์นิยมใช้ในการบันทึกข้อมูล และจัดลำดับงานคล้ายๆกับอุปกรณ์ช่วยงานบริหารที่เรียกว่า ออร์กาไนเซอร์ ( Organizer ) ภาพที่ 1.30 ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดฝ่ามือพร้อม สไตลัส ( Stylus )
  • 23. อ้างอิง www.google.co.th http :// tc . mengrai . ac . th / chanon / webnews / M1_30206/01 / index . php