SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
จิตคืออะไร ตอน ๒<br />ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย!  ในกาลใดเหล่ามนุษย์ถึงความพอใจในเมถุนธรรมอันต่ำทราม  ในกาลนั้นสัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันสร้างเรือนอาศัยอยู่ เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดเมถุนธรรมนั้น  ครั้นเมื่อมีบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์บางคนซึ่งมีชาติ เกียจคร้านได้มีความคิดกันว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเรานี้ต้องนำข้าวสาลีมาเพื่อเป็นอาหารเย็นในเวลาเย็น และเพื่อเป็นอาหารเช้าในเวลาเช้าย่อมเดือดร้อนจริง  อย่ากระนั้นเลย เราควรนำข้าวสาลีมาเพียงครั้งเดียวให้พอ เพื่อบริโภคทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น”  ครั้งนั้นแล มนุษย์ผู้มีชาติเกียจคร้านจึงได้นำข้าวสาลีมาเก็บไว้เพื่อวันอื่นอีกหลายๆ วัน เพื่อบริโภค คราวนั้น ข้าวสาลีจึงมีรำห่อเมล็ด มีแกลบห่อเมล็ด  ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกอีก การขาดตอนก็ปรากฏขึ้น ข้าวสาลีจึงได้มีเป็นกลุ่ม เป็นกอขึ้นมา มนุษย์ทั้งหลายจึงคิดกันว่า “ไฉนหนอ เราควรแบ่งข้าวสาลีกัน และพึงกั้นเขตคันกัน”  มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและกั้นเขตคันกันขึ้น<br />ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! คราทีนั้น มนุษย์บางจำพวกมีความโลภ รักษาส่วนของตนไว้ ได้ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภคแล้วถูกจับได้  ครั้นจับได้แล้วจึงถูกกล่าวตักเตือนว่า “สูเจ้าทั้งหลาย อย่าได้ทำอย่างนี้อีก”  แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สามก็ได้ทำอีก  มนุษย์ทั้งหลายจึงได้พากันจับพวกมนุษย์ที่ขโมยนั้น เอามือทุบตี เอาก้อนดินขว้าง เอาท่อนไม้ตี พร้อมกับบอกว่า “พวกตูข้าบอกพวกสูเจ้าแล้วมิใช่หรือว่าอย่ามาขโมยอีก” แล้วก็ทุบตี...ทุบตี... ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! อทินนาทาน(การขโมย) และมุสาวาท(การโกหก) ของมนุษย์จึงได้ปรากฏขึ้น<br />ครั้งนั้นแล มนุษย์ผู้มีคุณธรรมจึงได้ประชุมพร้อมกันเพื่อหาบุคคลผู้ว่ากล่าวได้ ให้คอยติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ ได้พูดกันว่า “พวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น”  จึงได้มนุษย์ผู้หนึ่งที่มีรูปร่างงามกว่ามนุษย์ทั้งปวง ถูกคัดเลือกขึ้นมาแล้วได้นามอักขระว่า “มหาสมมติ” คอยติเตียนผู้ที่ควรติ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่  จึงได้เป็นหัวหน้าใหญ่แห่งเขต  เมื่อเป็นหัวหน้าใหญ่แห่งเขตจึงได้นามอักขระว่า “กษัตริย์”  ได้ตัดสินคดีโดยชอบธรรม จึงได้นามอักขระว่า “ราชา”<br />ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! คงจะมองกันออกแล้วนะว่าทำไมจึงมีระบบกษัตริย์ และชั้นวรรณะอื่นๆ รองลงมาอีกหลายระดับ จึงไม่ขออธิบายไว้ในที่นี้  เพราะในสังคมเราก็มีปรากฏให้เห็นกันอยู่ดาษดื่น นี่แหละคือเรื่องราวของมนุษย์ ที่ไม่รู้ว่า“จิตคืออะไร?”  จึงจำต้องเขียนขึ้นมาอีกเป็นตอนที่ ๒  เพราะถ้าอ่านจิตคืออะไรเล่มแรกแล้วไม่เข้าใจชัดเจน อยากจะทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ก็ติดตามอ่านมาเรื่อยๆ  เพื่อจะได้เห็นจิตใจของตัวเองว่าคืออะไรกันแน่? แต่น่าเสียดาย! ที่ผู้เขียนมีความรู้น้อย(ด้อยวาสนา) ปัญญามีไม่มาก (เพราะขี้เกียจอ่านพระไตรปิฎก) อาจจะทำความแจ่มแจ้งให้เข้าใจได้ไม่ง่าย จึงจะขออธิบายไปตามความเข้าใจของตนเอง  ขอท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย โปรดไตร่ตรองพิจารณาด้วย ไม่ควรเชื่อถือทั้งหมด!<br />คำว่า จิต, ใจ, มโน, วิญญาณ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?  ย่อมเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยอยู่แน่ๆ เพราะอ่านหนังสือธรรมะแล้วมักจะเจอคำว่า “จิต” บ้าง “ใจ” บ้าง “มโน” บ้าง หรือ “วิญญาณ” บ้าง  จึงทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านสับสน จับประเด็นเรื่องราวไม่ถูก จนทำให้เข้าใจธรรมะคลาดเคลื่อน เพราะไม่แจ่มแจ้งในเรื่องของจิต โปรดไตร่ตรองด้วยปัญญาตามคำอธิบายดังนี้ :-<br />จิต มาจากภาษาบาลี ว่า “จินเตตีติ จิตตัง” แปลว่า ธรรมชาติที่คิด<br />ใจ เป็นภาษาไทย ที่ใช้เรียกตัวรับอารมณ์ภายใน <br />มโน มาจากภาษาบาลีว่า “มนะติ ชานาตีติ มโน” แปลว่า ธรรมชาติที่รู้<br />วิญญาณ มาจากภาษาบาลีว่า “วิชานาตีติ วิญญาณัง” แปลว่า ธรรมชาติที่รู้แจ้ง<br />คำว่า “จิต” คือธรรมชาติที่คิด หรือ ผู้ทำการคิดอยู่ภายใน  ตามหลักอภิธรรมบอกว่า เป็นตัว วิญญาณขันธ์  จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลก เนื่องจากวิญญาณขันธ์มีหน้าที่เพียงการรับรู้เท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจในการคิดเลย  จึงไม่ทราบว่า นักอภิธรรมจะจัดจิตลงในวิญญาณขันธ์อย่างไรได้?<br />ถ้าดูตามอำนาจของการคิด การนึก น่าจะเป็นตัวสังขาร-ขันธ์มากกว่าที่จะเป็นตัววิญญาณขันธ์ได้ แต่หลักแห่งอภิธรรมบอกว่า “สังขารขันธ์เป็นตัวเจตสิก(สภาพที่ปรุงแต่งจิต) ไม่ใช่ตัวจิต!”  แสดงว่าจิตนี้ไม่มีตัวของตัวเอง เป็นแต่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่างหาก จึงเรียกสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานั้นว่าเป็น “จิต” เหมือนอย่างเช่น ร่างกายของคนถูกปรุงแต่งมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม  ธาตุทั้ง ๔ รวมตัวกันมาเป็นรูปร่างกาย ด้วยอำนาจแห่งกรรม จึงเรียกรูปร่างกายอันนี้ว่า “คน”<br />แล้วกรรมมาจากไหน?<br />“กรรม” ก็มาจากการกระทำของคนนี้แหละ.<br />ถ้ากรรมมาจากการกระทำของคน ก็แสดงว่าคนย่อมมีอำนาจเหนือกรรมนะสิ?<br />คนไม่ได้มีอำนาจเหนือกรรม แต่คนเป็นผู้กระทำกรรม  เพราะคนไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้ จะต้องมีการกระทำอะไรต่างๆ มากมายเยอะแยะ  ก็เพราะคนไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้นี่แหละ กรรมจึงมีอำนาจเหนือคน บังคับให้คนได้กระทำการสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว ผลแห่งกรรมย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้นแล้ว จิตก็เหมือนกัน ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากเหล่าเจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (หลักอภิธรรมไม่ได้บอกว่าวิญญาณเป็นเจตสิก  แต่ในที่นี้จะขออธิบายวิญญาณว่าเป็นตัวเจตสิกด้วย)  ร่างกายถูกปรุงแต่งมาจากธาตุทั้ง ๔  จิตถูกปรุงแต่งมาจากนามขันธ์ทั้ง ๔  หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายกับจิต  กายเป็นส่วนของรูป จิตเป็นส่วนของนาม จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งตามหลักอภิธรรมว่า “นามรูป” หรือจะเรียกตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า “ขันธ์ ๕” ก็ได้<br />คำว่า “ใจ” เป็นภาษาไทยที่ใช้เรียกสภาพอันหนึ่ง ที่ทำหน้าที่รับผลทางความคิด เช่น สบายใจ ไม่สบายใจ ดีใจ เสียใจ สุขใจ ทุกข์ใจ  ผู้รู้บางท่านบอกว่าจิตกับใจก็อันเดียวกัน หรือจิตอันใดใจก็อันนั้น  แต่คำว่า “ใจ” ในความหมายของคนไทย คือ ผู้ที่ครอบครองอาศัยอยู่ในร่างกายของคนเรานี้แหละ ทำหน้าที่สั่งการ คิด นึก รับรู้ รู้สึก และเสวยอารมณ์  เมื่อร่างกายดับ “ใจ” ก็ไปหาร่างใหม่ คือไปเกิดใหม่ การไปเกิดใหม่ก็ย่อมไปเกิดด้วยอำนาจของบุญ-บาป  แต่ก็เป็นที่โชคดีที่คนไทยเราเชื่อเรื่องของบุญ-บาป จึงได้ขวนขวายในบุญมากๆ เพื่อปรารถนาร่างที่ดี เช่น ร่างของเทวดาทั้ง ๖ ชั้น ร่างของพรหม  การปรารถนาภพชาติที่ดี ย่อมหมายถึงการปฏิเสธภพชาติเดิมที่เป็นอยู่ คือ ความเป็นมนุษย์ หรืออาจเพราะกลัวว่าจะได้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต ผี หรืออาจตกนรกเลยก็ได้  แต่ทำไมจึงยังมีมนุษย์มาเกิดตั้งเยอะแยะ ทั้งที่มนุษย์ปฏิเสธสภาพความเป็นอยู่นี้ อีกทั้งยังมีสัตว์เดรัจฉานมากมาย และยังมีเปรตผี ที่คอยหลอกหลอนผู้คนอยู่ จนทำให้ผู้คนสร้างศาลพระภูมิให้เหล่าเปรตผีเข้าอยู่อาศัย ส่วนผู้ที่จะไปเกิดเป็นเทวดาและพรหม มีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตเหล่าอื่น<br />ใจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ว่าคืออะไร เพราะใจเป็นสภาพที่มองเห็นไม่ได้นี่แหละ มนุษย์จึงไม่รู้ว่าใจคืออะไร? ทั้งๆ ที่ใจก็อยู่กับเรา เป็นของเรา คนไทยเราที่พูดว่า “มันอยู่ที่ใจ”  <br />แล้วใจมันอยู่ที่ไหน?<br />ถ้าถามคำถามนี้กับตัวเรา เราก็จะมองไปเห็น “ใจ” ซึ่งมีความรู้สึกอยู่บริเวณทรวงอก เป็นสภาพที่ไร้ตัวตน ไม่ปรากฏตัวชัด แต่รับรู้ได้เฉพาะตน ที่เรียกว่า “รู้อยู่แก่ใจ”  <br />ใจเป็นสภาพที่ไร้ตัวตนก็จริง  แต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรลงไป<br />ทั้งดีและไม่ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ใจมันรู้หมด  การที่ใจรับรู้การกระทำทั้งหมดของเรา ก็แสดงว่าใจมีอำนาจในการ “รู้”  เมื่อใจทำหน้าที่ในการรู้อยู่ภายใน  ใจจึงไม่ใช่จิตเพราะจิตทำหน้าที่ “คิด” ส่วนใจทำหน้าที่ “รู้”<br />“มโน” เป็นภาษาบาลีใช้เรียก “ธรรมชาติที่รู้” อันเป็นภายในที่ทำการรู้ การรู้ของมโนเป็นการรู้ตรงๆ เป็นการรู้ที่ตั้งมั่นในรู้อยู่ตลอดเวลา  แม้แต่เวลาหลับมโนก็ยังทำการรู้อยู่ ไม่ได้หลับไปด้วย เช่น เวลาเราหลับสนิทไม่รับรู้อะไร แต่ตัวมโนมันยังทำหน้าที่ “รู้” ในขณะที่เราหลับสนิท  เมื่อเราตื่นขึ้นมา ผู้ที่ทำการบอกเราว่า “เมื่อคืนนี้หลับสนิทดีจัง” ก็คือตัวมโนนี้เอง หรือเมื่อเรานอนหลับฝันต่างๆ นานาแล้วตื่นขึ้น  ผู้ที่คอยบอกเราว่า “เรานอนหลับฝัน” ก็คือตัวมโนนี้แหละ  แม้เมื่อเราตื่นขึ้นมา แล้วทำการทำงานตลอดวัน มโนก็ยังทำการรู้อยู่ตลอดเวลา  แต่ตัวมโนนี้ไม่ปรากฏชัด และมนุษย์เราก็ไม่ค่อยสนใจมโนตัวนี้  ตัวรู้ของมโนนี้จึงเป็นสภาพแฝงอยู่  แต่จะเปิดเผยตัวเองชัดเมื่อความเป็นอรหันต์ได้เกิดขึ้น ถ้าความเป็นอรหันต์ยังไม่เกิดขึ้น “มโน” ก็ยังต้องถูกปกปิดด้วยอำนาจของ“จิต” มโนจึงไม่ใช่จิต แต่ควรจะเป็นใจ เพราะคือธรรมชาติที่ “รู้” เหมือนกัน<br />“วิญญาณ” เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า วิ(แจ้ง) + อัญญา (รู้) = วิญญาณ แปลว่า รู้แจ้ง  คำว่า “รู้แจ้ง” ก็ไม่ใช่ว่ารู้ไปหมดทุกอย่าง แต่เป็นเพียงการรู้แจ้งตามสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น<br />คนไทยเราก็คุ้นเคยกับคำว่าวิญญาณดี เพราะคำว่า “วิญญาณ” ในความหมายของคนไทย คือตัววิญญาณของคนตายที่ออกจากร่าง  ซึ่งความเข้าใจแบบนี้ จะทำให้เราสับสนกับคำว่า “วิญญาณ” ในความหมายของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้ จึงทำให้เกิดความเห็นที่ผิดพลาด และอาจทำให้เข้าใจตัว “ธรรมะ” แบบไขว้เขว ซึ่งพระพุทธเจ้าได้อธิบายคำว่า “วิญญาณ” ไว้ในมหาตัณหาสังขยสูตร ว่า <br />“วิญญาณไม่ใช่สภาพที่พูดได้ ไม่ใช่สภาพที่เสวยอารมณ์ได้ ไม่ใช่สภาพที่เสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว ในที่ที่ไปเกิดได้”<br />เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงไม่ใช่รูปร่างของผู้ตาย ที่ออกจากร่างไปปรากฏให้คนเห็นในที่ต่างๆ ตามที่คนไทยเข้าใจ ผู้ที่เข้าใจเรื่องของวิญญาณดังที่ว่านี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ที่ร้ายแรงถึงกับขนาดว่าปิดกั้นมรรคผลนิพพานเลยทีเดียว ความหมายของคำว่า “วิญญาณ” ที่ถูกต้อง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็คือ “วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น  ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอันเว้นจากปัจจัย มิได้มี”  พูดง่ายๆ ก็คือ วิญญาณจะเกิดขึ้นมาแบบลอยๆ ไม่ได้  ต้องอาศัยเหตุปัจจัยตัวอื่นเกิดขึ้น วิญญาณจึงเกิด  ถ้าเหตุปัจจัยดับ วิญญาณก็ดับ เช่น<br />วิญญาณอาศัยตาที่มองเห็นรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า วิญญาณทางตา(ความรู้แจ้งทางตา), <br />วิญญาณอาศัยหูที่ได้ยินเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น  ก็นับว่าวิญญาณทางหู(ความรู้แจ้งทางหู)<br />วิญญาณอาศัยจมูกที่ดมกลิ่นเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางจมูก(ความรู้แจ้งทางจมูก), <br />วิญญาณอาศัยลิ้นที่ลิ้มรสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางลิ้น(ความรู้แจ้งทางลิ้น)<br />วิญญาณอาศัยกายที่รับสัมผัสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางกาย(ความรู้แจ้งทางกาย),<br />วิญญาณอาศัยใจที่รับอารมณ์เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางใจ(ความรู้แจ้งทางใจ)<br />เปรียบเหมือนไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟฟืน ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ  ไฟอาศัยเชื้อใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับว่าไฟเชื้อนั้นๆ  วิญญาณเกิดขึ้นในที่ใดก็ดับลงไปในที่นั้น แล้ววิญญาณก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา วิญญาณจึงไม่ใช่รูปร่างตัวตนของคนตายดังที่คนไทยเราเข้าใจ  นี้คือความหมายของวิญญาณที่ถูกต้อง ถ้าใครไม่เห็นตามเนื้อความนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า จะประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก เป็นไปเพื่อโทษ<br />แล้วจิตกับวิญญาณเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า?<br />ตามที่วินิจฉัย จิตเป็นสภาพคิด วิญญาณเป็นสภาพรู้ตามสิ่งที่เห็น รู้ตามสิ่งที่ได้ยิน รู้ตามสิ่งที่ได้กลิ่น รู้ตามสิ่งที่ลิ้มรส รู้ตามกายสัมผัส  รู้ตามอารมณ์ของใจ  จิตจึงไม่ใช่วิญญาณโดยประการทั้งปวง!<br />ในต่อเมื่อ “จิตไม่ใช่ใจ! จิตไม่ใช่มโน! จิตไม่ใช่วิญญาณ!”  แล้วจิตคืออะไร?<br />จิต คือ ความคิด.<br />อ้าว…!  แล้วที่ว่าจิตคือธาตุชีวิตล่ะ จะมิขัดกันหรือ?<br />ไม่ขัด..! เพราะจิตคือธาตุชีวิตนี้แหละจิตจึงคิดได้ สภาวะที่สามารถคิดได้นี้แหละจิตจึงเป็นเหมือนมีชีวิต จึงเรียกจิตที่มีความคิดว่า “ธาตุชีวิต” ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่มีความคิด จึงไม่มีชีวิต ตามเค้ามูลแห่งธาตุของภาษา คำว่า “จิต” มาจาก จินตะธาตุ - ธรรมชาติที่คิด เพราะฉะนั้นแล้ว ความคิดก็คือจิต จิตก็คือความคิด <br />แล้ว “ใจ” ล่ะมาจากไหน?  <br />“ใจ” เป็นธรรมชาติ “รู้”  ที่แฝงอยู่ในจิตเหมือนมโน ในที่นี้จะขอวินิจฉัยว่าใจกับมโนเป็นตัวเดียวกัน ใจ(มโน) เป็นสภาพที่มองไม่เห็น ถ้าเรามองไปที่ใจเราจะเห็นแต่ความคิด ใจจึงถูกปกปิดไว้ด้วยความคิด เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงจิตก็เท่ากับกล่าวถึงใจด้วย จิตกับใจจึงมาคู่กัน <br />เมื่อจิตเป็นสภาพที่คิด แล้วจิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?<br />จิตเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของเจตสิก (สภาพปรุงแต่งจิต)  ดั้งเดิมนั้น จิตไม่มีในหลักธรรมชาติ มีแต่เหล่าเจตสิก, รูป, มโน(ใจ), นิพพาน (หลักอภิธรรมบอกว่ามี จิต เจตสิก รูป นิพพาน) ๔ อย่างนี้ คือ สิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมในหลักธรรมชาติ ต่างก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน ในกาลคราวนั้นเจตสิกได้ปรุงแต่งจิตขึ้นมา เป็นความผ่องใสตามธรรมดาของเจตสิก แล้วก็สลายจากกัน(เกิด-ดับ) แต่เป็นเพราะตัวมโน(ใจ) ไม่ฉลาดในระบบของธรรมชาติ ไม่รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริง ว่าจิตอันที่ผ่องใสนี้ มันไม่เที่ยง(อนิจจัง), แปรปรวน ไม่คงที่(ทุกขัง), ต้องสลายตัว(อนัตตา), มโน(ใจ) จึงเข้าไปยึดจิต<br />จิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาในคราวแรกนั้น มีสภาพผ่องใส ดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตดั้งเดิมนั้นผ่องใส” มโน(ใจ) จึงเกิดความพึงพอใจในตัวจิต แต่จิตก็ไม่ตั้งมั่นให้ยึด เกิดความผ่องใสแล้วก็สลายไป มโน(ใจ) ไม่อยากให้จิตสลาย จึงสร้างเหตุปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ความผ่องใสของจิตคงอยู่ ด้วยการอาศัยเจตสิกเป็นผู้ปรุงแต่ง จิตจึงถูกเจตสิกปรุงแต่งมาจนถึงบัดนี้ โดยมีมโนเป็นผู้แฝงอยู่ แต่จิตจะเด่นกว่ามโน เพราะจิตมีสภาพหยาบกว่า<br />เปรียบเหมือนคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “กษัตริย์” แล้วได้ตกแต่งร่างกาย ทรงเครื่อง ทรงยศ ที่งดงามประดุจเทพ ผิดแผกจากคนทั่วไป ทำหน้าที่ตัดสินคดีโดยชอบธรรม เพราะความที่ตัดสินคดีโดยชอบธรรมนี้แหละ จึงมีชื่อเรียกจากเหล่ามหาชนว่า “พระราชา” คำว่า “พระราชา” เกิดจากการทำงานของผู้เป็น “กษัตริย์” ที่ทำการตัดสินคดีโดยชอบธรรม กษัตริย์เกิดจากความเป็นคน พระราชาเกิดจากการทำงานของกษัตริย์ พระราชากับกษัตริย์จึงไม่ใช่ผู้เดียวกัน แต่อาศัยกันเกิดขึ้น  เมื่อกล่าวถึงกษัตริย์  ก็เท่ากับกล่าวถึงพระราชาด้วย “คน” จึงเป็น “กษัตริย์” และ “พระราชา” ได้ด้วยประการฉะนี้...<br />จิตก็เหมือนกัน ถูกปรุงแต่งมาจากเจตสิก จิตจะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยอาศัยมโนเป็นผู้ครอบครองยึดถือเอา จิตจึงมีอยู่และดำเนินไปได้อยู่ แต่ดำเนินอยู่ด้วยการเกิด-ดับ ลักษณะการทำงานของจิตก็คือ “ความคิด” แต่จิตไม่ใช่ความคิด! เพียงแค่อาศัยกันเกิดขึ้น แต่ถ้ากล่าวถึงจิต ก็เท่ากับกล่าวถึงความคิดด้วย ความคิดจึงถูกเรียกว่า “จิต”  มโน จึงเป็น “จิต” และ “ความคิด” ได้ด้วยประการฉะนี้ <br />พออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ไม่รู้ว่าจะงงกันหรือเปล่า? โปรดอย่าเพิ่งงง ติดตามอ่านต่อไปอย่างช้าๆ และใจเย็นๆ<br />มโน มาจาก มนะธาตุ-ธรรมชาติรู้ บางครั้งพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า “มโนธาตุ” (ธาตุแห่งการรู้) เป็นธาตุดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส ไม่มีมลทิน ไม่มีทุกข์  เพราะไม่มีทุกข์นี่แหละ มโนจึงไม่สนใจ “พระนิพพาน” และเป็นเพราะมโนไม่ได้มี “ความรู้”(วิชชา) มโนจึงหลงไปตามสภาพการปรุงแต่งของเจตสิก เมื่อมโนติดอยู่กับจิต มโนจึงถูกเจตสิกปรุงแต่งไปด้วย จิตกับมโนจึงเป็นเหมือนอันเดียวกัน มโนไม่ได้มีความพอใจอยู่เพียงแค่จิต มโนต้องการมีรูปร่างด้วย จึงได้เกิด “นามกาย” ขึ้นมา นามกายนี้มี “ปีติ” เป็นอาหาร  เมื่อมีนามกายก็ต้องการที่อยู่อาศัย จึงเกิดมีวิมานทิพย์ขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “อาภัสสระพรหม” จากอาภัสสระพรหมก็มาสู่ความเป็นมนุษย์ เมื่อเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ต่างๆ กันมากมาย เพราะอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง มโนจึงมีทุกข์ เมื่อมโนมีทุกข์ เราก็มีทุกข์ด้วย<br />“มโน“ ถึงแม้จะมีสภาพ “รู้” แต่ก็ไม่ได้รู้เรื่องราวของความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง(อนิจจัง), ความแปรปรวน ไม่คงที่(ทุกขัง), ความไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้(อนัตตา), มโนจึงติดอยู่กับจิตมาอย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยากรู้เรื่องของ “จิต” ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้เรื่องของ “เจตสิก” ด้วย<br />ทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวของเจตสิกอีกเล่า แค่เรื่องของจิตก็ชวนให้ปวดหัว(ศีรษะ)มากพอแล้ว?<br />อย่าเพิ่งเดินไปที่ร้านขายยา แล้วซื้อยาแก้ปวดหัวมากิน จึงจะอ่านหนังสือเล่มนี้ต่อไปได้ล่ะ!<br />งั้นได้โปรดอธิบายให้หายปวดหัวด้วยเถิด... (สาธุ)<br />ท่านที่กำลังปวดหัวอยู่ตอนนี้ รู้ไหมว่าทำไมจึงปวดหัว?<br />ก็เพราะมีหัวนะซี. <br />ผิด !<br />แล้วเพราะอะไรล่ะ?<br />ก็เพราะ “เจตสิก” นี่แหละ<br />แล้ว... หัวกับเจตสิกมันเกี่ยวอะไรกันด้วย(วะ).<br />อาการที่ “ปวด” นี้ มันเป็น “ทุกขเวทนา” (อ่านว่า ทุก-ขะ-  เว-ทะ-นา) ซึ่งตัวทุกขเวทนานี้เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย อาศัยร่างกายเกิดขึ้นเพื่อปรุงแต่งจิต ให้ชอบใจและไม่ชอบใจ <br />ปรุงแต่งยังไงล่ะท่าน...?<br />ลองคิดดู เวลาอาการปวดหัวเกิดขึ้น เราชอบใจหรือไม่?<br />คนทั่วไปมักจะไม่ชอบใจ การที่เราไม่ชอบใจนี่แหละ จิตเราถูกปรุงแต่งแล้ว สภาวะที่ปรุงแต่งนี้แหละมันคือ “เจตสิก” จากนั้นเราก็ “ทุกข์” เพระการปวดหัว<br />อ้าว.! คนเราไม่ชอบอาการปวดหัวก็ถูกต้องแล้วนี่ มีคน(บ้า) ที่ไหน(วะ) ชอบปวดหัว<br />ถึงแม้คุณจะไม่ชอบอาการปวดหัว แล้วอาการปวดหัวได้หายไปเพราะความไม่ชอบของคุณหรือเปล่าล่ะ?<br />ไม่... หรือท่านมีวิธีแก้ไขอาการปวดหัวได้หรือ?<br />ไม่มี!<br />ถ้าไม่มี แล้วเขียนมา (กวนประสาท) ทำไมตั้งมากมายขนาดนี้.<br />ได้โปรด! อย่าเพิ่งโวยวาย ถึงแม้จะไม่แก้ไขอาการปวดหัวของคุณได้ แต่ที่เขียนขึ้นมานี้เพื่อแก้ไข “จิต” ของคุณไม่ให้ “ทุกข์” กับการปวดหัวได้ ที่เราทั้งหลายเป็นทุกข์กับอาการปวดหัว ก็เป็นเพราะเราทั้งหลายไม่รู้จักตัว “เจตสิก” นี่แหละ อะไรก็ตามที่ปรุงแต่งจิตให้ชอบใจและไม่ชอบใจหรือเฉยๆ ได้ อันนั้นเป็นเจตสิก “ความปวด” ถือว่าเป็นเจตสิก(เครื่องปรุงแต่งจิต) อย่างหนึ่งในบรรดาเจตสิกทั้งหลาย ถ้าเราไม่ชอบอาการปวดหัว เราก็จะมีหัวอีกมากมายหลายคราให้ปวดแล้วปวดอีกในภพหน้าชาติ  เราก็จะทุกข์<br />เพราะหัวอีก <br />คนเราปวดหัวได้ แต่เราไม่จำเป็นต้องทุกข์เพราะการปวดหัว วิธีแก้ไขก็คือ เวลาอาการปวดหัวเกิดขึ้น อย่ากระทำความไม่ชอบใจในอาการปวด แล้วให้ตั้งสติดูความปวดไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร (แต่ไม่ได้ห้ามการรักษา) จนเห็นการดับของความปวด เมื่อความปวดหายไป ก็อย่ากระทำความชอบใจในอาการที่หายปวดไว้ในใจ มีความปวดเกิดขึ้นมาอีก ก็ตั้งใจดูอีก เมื่อความปวดดับ ก็ให้เห็นการดับของความปวด เมื่อเกิดอีกก็ให้ดูอีก และดูอีก ดูไปเรื่อยๆ จนเห็นการดับอีกไปเรื่อยๆ  ข้อสำคัญ! ในขณะที่ดูการเกิด-ดับ ของความปวดอยู่นี้ ต้องระวังความชอบใจ-ไม่ชอบใจไว้ด้วย เพราะความชอบใจหรือไม่ชอบใจจะทำให้เราขาด “สติ” เมื่อเราขาดสติ เราก็จะทุกข์เพราะความปวด เพราะฉะนั้น ตัวที่จะสร้างสติให้กับเราก็คือการดูเวทนาเกิด-ดับ สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “สมาธิสูตร” เล่มที่ ๓๕ หน้า ๑๕๖ ว่า<br />ก็สมาธิภาวนาที่เจริญให้มาก กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน? <br /> ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เวทนาเกิดขึ้นก็รู้ เวทนาตั้งอยู่ก็รู้  เวทนาดับไปก็รู้ นี้สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ. <br />หรือ ถ้าต้องการกระทำอาสวะให้สิ้น (สิ้นกิเลส) ก็ต้องทำตามพุทธพจน์ (คำที่พระพุทธเจ้าตรัส) ที่ตรัสไว้ว่า...<br />ก็ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน?<br />ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาดูเนืองๆ ซึ่งความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า :-<br />รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้<br />เวทนา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้<br />สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้<br />สังขาร เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขารเป็นอย่างนี้<br />วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้<br />นี้ เป็นสมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ<br />ด้วยการปฏิบัติเพียงเท่านี้ก็สามารถ “ดับทุกข์” ได้แล้ว<br />  <br />การดูจิต<br />[๑๔๐]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ?<br />ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ. <br />จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ.    <br />จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ. <br /> จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน.<br />จิตเป็นมหัคคตะ (จิตเป็นฌาน) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ.  จิตไม่เป็นมหัคคตะ (จิตไม่เป็นฌาน)  ก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ.<br /> จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า. หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.   <br />จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น. หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น.  <br />จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น. หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น.  <br />ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตภายในบ้าง. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง. พิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง.<br />พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในจิตบ้างอยู่. <br />อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น. เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก    <br />ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.<br />  <br />คนเราปวดหัวได้<br />แต่เราไม่จำเป็นต้องทุกข์เพราะการปวดหัว<br />วิธีแก้ไขก็คือ...<br />เวลาอาการปวดหัวเกิดขึ้น<br />อย่ากระทำความไม่ชอบใจในอาการปวด !<br />ให้ตั้งสติดูความปวดไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร<br />จนเห็นการดับของความปวด<br />เมื่อความปวดหายไป<br />ก็อย่ากระทำความชอบใจ ในอาการที่หายปวดไว้ในใจ<br />
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ
กายกับจิต ใจ วิญญาณ

More Related Content

Similar to กายกับจิต ใจ วิญญาณ

คำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาคำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาSongsarid Ruecha
 
Makeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยาก
Makeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยากMakeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยาก
Makeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยากPhairot Odthon
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ CompleteMuttakeen Che-leah
 
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์Panda Jing
 
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
Dr yong 130331-cheon il guk era-thai
Dr yong 130331-cheon il guk era-thaiDr yong 130331-cheon il guk era-thai
Dr yong 130331-cheon il guk era-thaiNantawat Wangsan
 
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์Kiat Chaloemkiat
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตTaweedham Dhamtawee
 
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขniralai
 

Similar to กายกับจิต ใจ วิญญาณ (10)

คำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาคำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนา
 
Makeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยาก
Makeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยากMakeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยาก
Makeeasy - ชีวิตทำให้ง่าย ก็สุขได้ไม่ยาก
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
 
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
 
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
 
One Pointed Mind
One Pointed MindOne Pointed Mind
One Pointed Mind
 
Dr yong 130331-cheon il guk era-thai
Dr yong 130331-cheon il guk era-thaiDr yong 130331-cheon il guk era-thai
Dr yong 130331-cheon il guk era-thai
 
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
 
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
 

More from duangdee tung

จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์duangdee tung
 
โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514
โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514
โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514duangdee tung
 
How Old Is Your Brain
How Old Is Your BrainHow Old Is Your Brain
How Old Is Your Brainduangdee tung
 
สูตรการตั้งราคาสินค้า
สูตรการตั้งราคาสินค้าสูตรการตั้งราคาสินค้า
สูตรการตั้งราคาสินค้าduangdee tung
 
คำนวณงบดุล
คำนวณงบดุลคำนวณงบดุล
คำนวณงบดุลduangdee tung
 
ตารางคำนวณงบกำไรขาดทุน
ตารางคำนวณงบกำไรขาดทุนตารางคำนวณงบกำไรขาดทุน
ตารางคำนวณงบกำไรขาดทุนduangdee tung
 
วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัว
วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัววิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัว
วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัวduangdee tung
 
A Boy With No Left Hand
A Boy With No Left HandA Boy With No Left Hand
A Boy With No Left Handduangdee tung
 

More from duangdee tung (12)

จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์
 
ขันธ์5
ขันธ์5ขันธ์5
ขันธ์5
 
โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514
โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514
โลกสาม หลวงปู่เทสก์ 2514
 
How Old Is Your Brain
How Old Is Your BrainHow Old Is Your Brain
How Old Is Your Brain
 
Gods Pharmacy
Gods PharmacyGods Pharmacy
Gods Pharmacy
 
Forever Friendship
Forever FriendshipForever Friendship
Forever Friendship
 
สูตรการตั้งราคาสินค้า
สูตรการตั้งราคาสินค้าสูตรการตั้งราคาสินค้า
สูตรการตั้งราคาสินค้า
 
คำนวณงบดุล
คำนวณงบดุลคำนวณงบดุล
คำนวณงบดุล
 
ตารางคำนวณงบกำไรขาดทุน
ตารางคำนวณงบกำไรขาดทุนตารางคำนวณงบกำไรขาดทุน
ตารางคำนวณงบกำไรขาดทุน
 
Goodstory
GoodstoryGoodstory
Goodstory
 
วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัว
วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัววิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัว
วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น เล่าโดยหลวงตามหาบัว
 
A Boy With No Left Hand
A Boy With No Left HandA Boy With No Left Hand
A Boy With No Left Hand
 

กายกับจิต ใจ วิญญาณ

  • 1. จิตคืออะไร ตอน ๒<br />ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! ในกาลใดเหล่ามนุษย์ถึงความพอใจในเมถุนธรรมอันต่ำทราม ในกาลนั้นสัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันสร้างเรือนอาศัยอยู่ เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดเมถุนธรรมนั้น ครั้นเมื่อมีบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์บางคนซึ่งมีชาติ เกียจคร้านได้มีความคิดกันว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเรานี้ต้องนำข้าวสาลีมาเพื่อเป็นอาหารเย็นในเวลาเย็น และเพื่อเป็นอาหารเช้าในเวลาเช้าย่อมเดือดร้อนจริง อย่ากระนั้นเลย เราควรนำข้าวสาลีมาเพียงครั้งเดียวให้พอ เพื่อบริโภคทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น” ครั้งนั้นแล มนุษย์ผู้มีชาติเกียจคร้านจึงได้นำข้าวสาลีมาเก็บไว้เพื่อวันอื่นอีกหลายๆ วัน เพื่อบริโภค คราวนั้น ข้าวสาลีจึงมีรำห่อเมล็ด มีแกลบห่อเมล็ด ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกอีก การขาดตอนก็ปรากฏขึ้น ข้าวสาลีจึงได้มีเป็นกลุ่ม เป็นกอขึ้นมา มนุษย์ทั้งหลายจึงคิดกันว่า “ไฉนหนอ เราควรแบ่งข้าวสาลีกัน และพึงกั้นเขตคันกัน” มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและกั้นเขตคันกันขึ้น<br />ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! คราทีนั้น มนุษย์บางจำพวกมีความโลภ รักษาส่วนของตนไว้ ได้ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภคแล้วถูกจับได้ ครั้นจับได้แล้วจึงถูกกล่าวตักเตือนว่า “สูเจ้าทั้งหลาย อย่าได้ทำอย่างนี้อีก” แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สามก็ได้ทำอีก มนุษย์ทั้งหลายจึงได้พากันจับพวกมนุษย์ที่ขโมยนั้น เอามือทุบตี เอาก้อนดินขว้าง เอาท่อนไม้ตี พร้อมกับบอกว่า “พวกตูข้าบอกพวกสูเจ้าแล้วมิใช่หรือว่าอย่ามาขโมยอีก” แล้วก็ทุบตี...ทุบตี... ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! อทินนาทาน(การขโมย) และมุสาวาท(การโกหก) ของมนุษย์จึงได้ปรากฏขึ้น<br />ครั้งนั้นแล มนุษย์ผู้มีคุณธรรมจึงได้ประชุมพร้อมกันเพื่อหาบุคคลผู้ว่ากล่าวได้ ให้คอยติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ ได้พูดกันว่า “พวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น” จึงได้มนุษย์ผู้หนึ่งที่มีรูปร่างงามกว่ามนุษย์ทั้งปวง ถูกคัดเลือกขึ้นมาแล้วได้นามอักขระว่า “มหาสมมติ” คอยติเตียนผู้ที่ควรติ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ จึงได้เป็นหัวหน้าใหญ่แห่งเขต เมื่อเป็นหัวหน้าใหญ่แห่งเขตจึงได้นามอักขระว่า “กษัตริย์” ได้ตัดสินคดีโดยชอบธรรม จึงได้นามอักขระว่า “ราชา”<br />ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! คงจะมองกันออกแล้วนะว่าทำไมจึงมีระบบกษัตริย์ และชั้นวรรณะอื่นๆ รองลงมาอีกหลายระดับ จึงไม่ขออธิบายไว้ในที่นี้ เพราะในสังคมเราก็มีปรากฏให้เห็นกันอยู่ดาษดื่น นี่แหละคือเรื่องราวของมนุษย์ ที่ไม่รู้ว่า“จิตคืออะไร?” จึงจำต้องเขียนขึ้นมาอีกเป็นตอนที่ ๒ เพราะถ้าอ่านจิตคืออะไรเล่มแรกแล้วไม่เข้าใจชัดเจน อยากจะทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ก็ติดตามอ่านมาเรื่อยๆ เพื่อจะได้เห็นจิตใจของตัวเองว่าคืออะไรกันแน่? แต่น่าเสียดาย! ที่ผู้เขียนมีความรู้น้อย(ด้อยวาสนา) ปัญญามีไม่มาก (เพราะขี้เกียจอ่านพระไตรปิฎก) อาจจะทำความแจ่มแจ้งให้เข้าใจได้ไม่ง่าย จึงจะขออธิบายไปตามความเข้าใจของตนเอง ขอท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย โปรดไตร่ตรองพิจารณาด้วย ไม่ควรเชื่อถือทั้งหมด!<br />คำว่า จิต, ใจ, มโน, วิญญาณ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร? ย่อมเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยอยู่แน่ๆ เพราะอ่านหนังสือธรรมะแล้วมักจะเจอคำว่า “จิต” บ้าง “ใจ” บ้าง “มโน” บ้าง หรือ “วิญญาณ” บ้าง จึงทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านสับสน จับประเด็นเรื่องราวไม่ถูก จนทำให้เข้าใจธรรมะคลาดเคลื่อน เพราะไม่แจ่มแจ้งในเรื่องของจิต โปรดไตร่ตรองด้วยปัญญาตามคำอธิบายดังนี้ :-<br />จิต มาจากภาษาบาลี ว่า “จินเตตีติ จิตตัง” แปลว่า ธรรมชาติที่คิด<br />ใจ เป็นภาษาไทย ที่ใช้เรียกตัวรับอารมณ์ภายใน <br />มโน มาจากภาษาบาลีว่า “มนะติ ชานาตีติ มโน” แปลว่า ธรรมชาติที่รู้<br />วิญญาณ มาจากภาษาบาลีว่า “วิชานาตีติ วิญญาณัง” แปลว่า ธรรมชาติที่รู้แจ้ง<br />คำว่า “จิต” คือธรรมชาติที่คิด หรือ ผู้ทำการคิดอยู่ภายใน ตามหลักอภิธรรมบอกว่า เป็นตัว วิญญาณขันธ์ จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลก เนื่องจากวิญญาณขันธ์มีหน้าที่เพียงการรับรู้เท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจในการคิดเลย จึงไม่ทราบว่า นักอภิธรรมจะจัดจิตลงในวิญญาณขันธ์อย่างไรได้?<br />ถ้าดูตามอำนาจของการคิด การนึก น่าจะเป็นตัวสังขาร-ขันธ์มากกว่าที่จะเป็นตัววิญญาณขันธ์ได้ แต่หลักแห่งอภิธรรมบอกว่า “สังขารขันธ์เป็นตัวเจตสิก(สภาพที่ปรุงแต่งจิต) ไม่ใช่ตัวจิต!” แสดงว่าจิตนี้ไม่มีตัวของตัวเอง เป็นแต่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่างหาก จึงเรียกสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานั้นว่าเป็น “จิต” เหมือนอย่างเช่น ร่างกายของคนถูกปรุงแต่งมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุทั้ง ๔ รวมตัวกันมาเป็นรูปร่างกาย ด้วยอำนาจแห่งกรรม จึงเรียกรูปร่างกายอันนี้ว่า “คน”<br />แล้วกรรมมาจากไหน?<br />“กรรม” ก็มาจากการกระทำของคนนี้แหละ.<br />ถ้ากรรมมาจากการกระทำของคน ก็แสดงว่าคนย่อมมีอำนาจเหนือกรรมนะสิ?<br />คนไม่ได้มีอำนาจเหนือกรรม แต่คนเป็นผู้กระทำกรรม เพราะคนไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้ จะต้องมีการกระทำอะไรต่างๆ มากมายเยอะแยะ ก็เพราะคนไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้นี่แหละ กรรมจึงมีอำนาจเหนือคน บังคับให้คนได้กระทำการสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว ผลแห่งกรรมย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้นแล้ว จิตก็เหมือนกัน ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากเหล่าเจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (หลักอภิธรรมไม่ได้บอกว่าวิญญาณเป็นเจตสิก แต่ในที่นี้จะขออธิบายวิญญาณว่าเป็นตัวเจตสิกด้วย) ร่างกายถูกปรุงแต่งมาจากธาตุทั้ง ๔ จิตถูกปรุงแต่งมาจากนามขันธ์ทั้ง ๔ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายกับจิต กายเป็นส่วนของรูป จิตเป็นส่วนของนาม จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งตามหลักอภิธรรมว่า “นามรูป” หรือจะเรียกตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า “ขันธ์ ๕” ก็ได้<br />คำว่า “ใจ” เป็นภาษาไทยที่ใช้เรียกสภาพอันหนึ่ง ที่ทำหน้าที่รับผลทางความคิด เช่น สบายใจ ไม่สบายใจ ดีใจ เสียใจ สุขใจ ทุกข์ใจ ผู้รู้บางท่านบอกว่าจิตกับใจก็อันเดียวกัน หรือจิตอันใดใจก็อันนั้น แต่คำว่า “ใจ” ในความหมายของคนไทย คือ ผู้ที่ครอบครองอาศัยอยู่ในร่างกายของคนเรานี้แหละ ทำหน้าที่สั่งการ คิด นึก รับรู้ รู้สึก และเสวยอารมณ์ เมื่อร่างกายดับ “ใจ” ก็ไปหาร่างใหม่ คือไปเกิดใหม่ การไปเกิดใหม่ก็ย่อมไปเกิดด้วยอำนาจของบุญ-บาป แต่ก็เป็นที่โชคดีที่คนไทยเราเชื่อเรื่องของบุญ-บาป จึงได้ขวนขวายในบุญมากๆ เพื่อปรารถนาร่างที่ดี เช่น ร่างของเทวดาทั้ง ๖ ชั้น ร่างของพรหม การปรารถนาภพชาติที่ดี ย่อมหมายถึงการปฏิเสธภพชาติเดิมที่เป็นอยู่ คือ ความเป็นมนุษย์ หรืออาจเพราะกลัวว่าจะได้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต ผี หรืออาจตกนรกเลยก็ได้ แต่ทำไมจึงยังมีมนุษย์มาเกิดตั้งเยอะแยะ ทั้งที่มนุษย์ปฏิเสธสภาพความเป็นอยู่นี้ อีกทั้งยังมีสัตว์เดรัจฉานมากมาย และยังมีเปรตผี ที่คอยหลอกหลอนผู้คนอยู่ จนทำให้ผู้คนสร้างศาลพระภูมิให้เหล่าเปรตผีเข้าอยู่อาศัย ส่วนผู้ที่จะไปเกิดเป็นเทวดาและพรหม มีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตเหล่าอื่น<br />ใจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ว่าคืออะไร เพราะใจเป็นสภาพที่มองเห็นไม่ได้นี่แหละ มนุษย์จึงไม่รู้ว่าใจคืออะไร? ทั้งๆ ที่ใจก็อยู่กับเรา เป็นของเรา คนไทยเราที่พูดว่า “มันอยู่ที่ใจ” <br />แล้วใจมันอยู่ที่ไหน?<br />ถ้าถามคำถามนี้กับตัวเรา เราก็จะมองไปเห็น “ใจ” ซึ่งมีความรู้สึกอยู่บริเวณทรวงอก เป็นสภาพที่ไร้ตัวตน ไม่ปรากฏตัวชัด แต่รับรู้ได้เฉพาะตน ที่เรียกว่า “รู้อยู่แก่ใจ” <br />ใจเป็นสภาพที่ไร้ตัวตนก็จริง แต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรลงไป<br />ทั้งดีและไม่ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ใจมันรู้หมด การที่ใจรับรู้การกระทำทั้งหมดของเรา ก็แสดงว่าใจมีอำนาจในการ “รู้” เมื่อใจทำหน้าที่ในการรู้อยู่ภายใน ใจจึงไม่ใช่จิตเพราะจิตทำหน้าที่ “คิด” ส่วนใจทำหน้าที่ “รู้”<br />“มโน” เป็นภาษาบาลีใช้เรียก “ธรรมชาติที่รู้” อันเป็นภายในที่ทำการรู้ การรู้ของมโนเป็นการรู้ตรงๆ เป็นการรู้ที่ตั้งมั่นในรู้อยู่ตลอดเวลา แม้แต่เวลาหลับมโนก็ยังทำการรู้อยู่ ไม่ได้หลับไปด้วย เช่น เวลาเราหลับสนิทไม่รับรู้อะไร แต่ตัวมโนมันยังทำหน้าที่ “รู้” ในขณะที่เราหลับสนิท เมื่อเราตื่นขึ้นมา ผู้ที่ทำการบอกเราว่า “เมื่อคืนนี้หลับสนิทดีจัง” ก็คือตัวมโนนี้เอง หรือเมื่อเรานอนหลับฝันต่างๆ นานาแล้วตื่นขึ้น ผู้ที่คอยบอกเราว่า “เรานอนหลับฝัน” ก็คือตัวมโนนี้แหละ แม้เมื่อเราตื่นขึ้นมา แล้วทำการทำงานตลอดวัน มโนก็ยังทำการรู้อยู่ตลอดเวลา แต่ตัวมโนนี้ไม่ปรากฏชัด และมนุษย์เราก็ไม่ค่อยสนใจมโนตัวนี้ ตัวรู้ของมโนนี้จึงเป็นสภาพแฝงอยู่ แต่จะเปิดเผยตัวเองชัดเมื่อความเป็นอรหันต์ได้เกิดขึ้น ถ้าความเป็นอรหันต์ยังไม่เกิดขึ้น “มโน” ก็ยังต้องถูกปกปิดด้วยอำนาจของ“จิต” มโนจึงไม่ใช่จิต แต่ควรจะเป็นใจ เพราะคือธรรมชาติที่ “รู้” เหมือนกัน<br />“วิญญาณ” เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า วิ(แจ้ง) + อัญญา (รู้) = วิญญาณ แปลว่า รู้แจ้ง คำว่า “รู้แจ้ง” ก็ไม่ใช่ว่ารู้ไปหมดทุกอย่าง แต่เป็นเพียงการรู้แจ้งตามสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น<br />คนไทยเราก็คุ้นเคยกับคำว่าวิญญาณดี เพราะคำว่า “วิญญาณ” ในความหมายของคนไทย คือตัววิญญาณของคนตายที่ออกจากร่าง ซึ่งความเข้าใจแบบนี้ จะทำให้เราสับสนกับคำว่า “วิญญาณ” ในความหมายของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้ จึงทำให้เกิดความเห็นที่ผิดพลาด และอาจทำให้เข้าใจตัว “ธรรมะ” แบบไขว้เขว ซึ่งพระพุทธเจ้าได้อธิบายคำว่า “วิญญาณ” ไว้ในมหาตัณหาสังขยสูตร ว่า <br />“วิญญาณไม่ใช่สภาพที่พูดได้ ไม่ใช่สภาพที่เสวยอารมณ์ได้ ไม่ใช่สภาพที่เสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว ในที่ที่ไปเกิดได้”<br />เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงไม่ใช่รูปร่างของผู้ตาย ที่ออกจากร่างไปปรากฏให้คนเห็นในที่ต่างๆ ตามที่คนไทยเข้าใจ ผู้ที่เข้าใจเรื่องของวิญญาณดังที่ว่านี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ที่ร้ายแรงถึงกับขนาดว่าปิดกั้นมรรคผลนิพพานเลยทีเดียว ความหมายของคำว่า “วิญญาณ” ที่ถูกต้อง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็คือ “วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอันเว้นจากปัจจัย มิได้มี” พูดง่ายๆ ก็คือ วิญญาณจะเกิดขึ้นมาแบบลอยๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยตัวอื่นเกิดขึ้น วิญญาณจึงเกิด ถ้าเหตุปัจจัยดับ วิญญาณก็ดับ เช่น<br />วิญญาณอาศัยตาที่มองเห็นรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า วิญญาณทางตา(ความรู้แจ้งทางตา), <br />วิญญาณอาศัยหูที่ได้ยินเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็นับว่าวิญญาณทางหู(ความรู้แจ้งทางหู)<br />วิญญาณอาศัยจมูกที่ดมกลิ่นเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางจมูก(ความรู้แจ้งทางจมูก), <br />วิญญาณอาศัยลิ้นที่ลิ้มรสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางลิ้น(ความรู้แจ้งทางลิ้น)<br />วิญญาณอาศัยกายที่รับสัมผัสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางกาย(ความรู้แจ้งทางกาย),<br />วิญญาณอาศัยใจที่รับอารมณ์เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าวิญญาณทางใจ(ความรู้แจ้งทางใจ)<br />เปรียบเหมือนไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟฟืน ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ ไฟอาศัยเชื้อใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับว่าไฟเชื้อนั้นๆ วิญญาณเกิดขึ้นในที่ใดก็ดับลงไปในที่นั้น แล้ววิญญาณก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา วิญญาณจึงไม่ใช่รูปร่างตัวตนของคนตายดังที่คนไทยเราเข้าใจ นี้คือความหมายของวิญญาณที่ถูกต้อง ถ้าใครไม่เห็นตามเนื้อความนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า จะประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก เป็นไปเพื่อโทษ<br />แล้วจิตกับวิญญาณเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า?<br />ตามที่วินิจฉัย จิตเป็นสภาพคิด วิญญาณเป็นสภาพรู้ตามสิ่งที่เห็น รู้ตามสิ่งที่ได้ยิน รู้ตามสิ่งที่ได้กลิ่น รู้ตามสิ่งที่ลิ้มรส รู้ตามกายสัมผัส รู้ตามอารมณ์ของใจ จิตจึงไม่ใช่วิญญาณโดยประการทั้งปวง!<br />ในต่อเมื่อ “จิตไม่ใช่ใจ! จิตไม่ใช่มโน! จิตไม่ใช่วิญญาณ!” แล้วจิตคืออะไร?<br />จิต คือ ความคิด.<br />อ้าว…! แล้วที่ว่าจิตคือธาตุชีวิตล่ะ จะมิขัดกันหรือ?<br />ไม่ขัด..! เพราะจิตคือธาตุชีวิตนี้แหละจิตจึงคิดได้ สภาวะที่สามารถคิดได้นี้แหละจิตจึงเป็นเหมือนมีชีวิต จึงเรียกจิตที่มีความคิดว่า “ธาตุชีวิต” ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่มีความคิด จึงไม่มีชีวิต ตามเค้ามูลแห่งธาตุของภาษา คำว่า “จิต” มาจาก จินตะธาตุ - ธรรมชาติที่คิด เพราะฉะนั้นแล้ว ความคิดก็คือจิต จิตก็คือความคิด <br />แล้ว “ใจ” ล่ะมาจากไหน? <br />“ใจ” เป็นธรรมชาติ “รู้” ที่แฝงอยู่ในจิตเหมือนมโน ในที่นี้จะขอวินิจฉัยว่าใจกับมโนเป็นตัวเดียวกัน ใจ(มโน) เป็นสภาพที่มองไม่เห็น ถ้าเรามองไปที่ใจเราจะเห็นแต่ความคิด ใจจึงถูกปกปิดไว้ด้วยความคิด เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงจิตก็เท่ากับกล่าวถึงใจด้วย จิตกับใจจึงมาคู่กัน <br />เมื่อจิตเป็นสภาพที่คิด แล้วจิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?<br />จิตเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของเจตสิก (สภาพปรุงแต่งจิต) ดั้งเดิมนั้น จิตไม่มีในหลักธรรมชาติ มีแต่เหล่าเจตสิก, รูป, มโน(ใจ), นิพพาน (หลักอภิธรรมบอกว่ามี จิต เจตสิก รูป นิพพาน) ๔ อย่างนี้ คือ สิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมในหลักธรรมชาติ ต่างก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน ในกาลคราวนั้นเจตสิกได้ปรุงแต่งจิตขึ้นมา เป็นความผ่องใสตามธรรมดาของเจตสิก แล้วก็สลายจากกัน(เกิด-ดับ) แต่เป็นเพราะตัวมโน(ใจ) ไม่ฉลาดในระบบของธรรมชาติ ไม่รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริง ว่าจิตอันที่ผ่องใสนี้ มันไม่เที่ยง(อนิจจัง), แปรปรวน ไม่คงที่(ทุกขัง), ต้องสลายตัว(อนัตตา), มโน(ใจ) จึงเข้าไปยึดจิต<br />จิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาในคราวแรกนั้น มีสภาพผ่องใส ดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตดั้งเดิมนั้นผ่องใส” มโน(ใจ) จึงเกิดความพึงพอใจในตัวจิต แต่จิตก็ไม่ตั้งมั่นให้ยึด เกิดความผ่องใสแล้วก็สลายไป มโน(ใจ) ไม่อยากให้จิตสลาย จึงสร้างเหตุปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ความผ่องใสของจิตคงอยู่ ด้วยการอาศัยเจตสิกเป็นผู้ปรุงแต่ง จิตจึงถูกเจตสิกปรุงแต่งมาจนถึงบัดนี้ โดยมีมโนเป็นผู้แฝงอยู่ แต่จิตจะเด่นกว่ามโน เพราะจิตมีสภาพหยาบกว่า<br />เปรียบเหมือนคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “กษัตริย์” แล้วได้ตกแต่งร่างกาย ทรงเครื่อง ทรงยศ ที่งดงามประดุจเทพ ผิดแผกจากคนทั่วไป ทำหน้าที่ตัดสินคดีโดยชอบธรรม เพราะความที่ตัดสินคดีโดยชอบธรรมนี้แหละ จึงมีชื่อเรียกจากเหล่ามหาชนว่า “พระราชา” คำว่า “พระราชา” เกิดจากการทำงานของผู้เป็น “กษัตริย์” ที่ทำการตัดสินคดีโดยชอบธรรม กษัตริย์เกิดจากความเป็นคน พระราชาเกิดจากการทำงานของกษัตริย์ พระราชากับกษัตริย์จึงไม่ใช่ผู้เดียวกัน แต่อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่อกล่าวถึงกษัตริย์ ก็เท่ากับกล่าวถึงพระราชาด้วย “คน” จึงเป็น “กษัตริย์” และ “พระราชา” ได้ด้วยประการฉะนี้...<br />จิตก็เหมือนกัน ถูกปรุงแต่งมาจากเจตสิก จิตจะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยอาศัยมโนเป็นผู้ครอบครองยึดถือเอา จิตจึงมีอยู่และดำเนินไปได้อยู่ แต่ดำเนินอยู่ด้วยการเกิด-ดับ ลักษณะการทำงานของจิตก็คือ “ความคิด” แต่จิตไม่ใช่ความคิด! เพียงแค่อาศัยกันเกิดขึ้น แต่ถ้ากล่าวถึงจิต ก็เท่ากับกล่าวถึงความคิดด้วย ความคิดจึงถูกเรียกว่า “จิต” มโน จึงเป็น “จิต” และ “ความคิด” ได้ด้วยประการฉะนี้ <br />พออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ไม่รู้ว่าจะงงกันหรือเปล่า? โปรดอย่าเพิ่งงง ติดตามอ่านต่อไปอย่างช้าๆ และใจเย็นๆ<br />มโน มาจาก มนะธาตุ-ธรรมชาติรู้ บางครั้งพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า “มโนธาตุ” (ธาตุแห่งการรู้) เป็นธาตุดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส ไม่มีมลทิน ไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์นี่แหละ มโนจึงไม่สนใจ “พระนิพพาน” และเป็นเพราะมโนไม่ได้มี “ความรู้”(วิชชา) มโนจึงหลงไปตามสภาพการปรุงแต่งของเจตสิก เมื่อมโนติดอยู่กับจิต มโนจึงถูกเจตสิกปรุงแต่งไปด้วย จิตกับมโนจึงเป็นเหมือนอันเดียวกัน มโนไม่ได้มีความพอใจอยู่เพียงแค่จิต มโนต้องการมีรูปร่างด้วย จึงได้เกิด “นามกาย” ขึ้นมา นามกายนี้มี “ปีติ” เป็นอาหาร เมื่อมีนามกายก็ต้องการที่อยู่อาศัย จึงเกิดมีวิมานทิพย์ขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “อาภัสสระพรหม” จากอาภัสสระพรหมก็มาสู่ความเป็นมนุษย์ เมื่อเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ต่างๆ กันมากมาย เพราะอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง มโนจึงมีทุกข์ เมื่อมโนมีทุกข์ เราก็มีทุกข์ด้วย<br />“มโน“ ถึงแม้จะมีสภาพ “รู้” แต่ก็ไม่ได้รู้เรื่องราวของความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง(อนิจจัง), ความแปรปรวน ไม่คงที่(ทุกขัง), ความไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้(อนัตตา), มโนจึงติดอยู่กับจิตมาอย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยากรู้เรื่องของ “จิต” ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้เรื่องของ “เจตสิก” ด้วย<br />ทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวของเจตสิกอีกเล่า แค่เรื่องของจิตก็ชวนให้ปวดหัว(ศีรษะ)มากพอแล้ว?<br />อย่าเพิ่งเดินไปที่ร้านขายยา แล้วซื้อยาแก้ปวดหัวมากิน จึงจะอ่านหนังสือเล่มนี้ต่อไปได้ล่ะ!<br />งั้นได้โปรดอธิบายให้หายปวดหัวด้วยเถิด... (สาธุ)<br />ท่านที่กำลังปวดหัวอยู่ตอนนี้ รู้ไหมว่าทำไมจึงปวดหัว?<br />ก็เพราะมีหัวนะซี. <br />ผิด !<br />แล้วเพราะอะไรล่ะ?<br />ก็เพราะ “เจตสิก” นี่แหละ<br />แล้ว... หัวกับเจตสิกมันเกี่ยวอะไรกันด้วย(วะ).<br />อาการที่ “ปวด” นี้ มันเป็น “ทุกขเวทนา” (อ่านว่า ทุก-ขะ- เว-ทะ-นา) ซึ่งตัวทุกขเวทนานี้เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย อาศัยร่างกายเกิดขึ้นเพื่อปรุงแต่งจิต ให้ชอบใจและไม่ชอบใจ <br />ปรุงแต่งยังไงล่ะท่าน...?<br />ลองคิดดู เวลาอาการปวดหัวเกิดขึ้น เราชอบใจหรือไม่?<br />คนทั่วไปมักจะไม่ชอบใจ การที่เราไม่ชอบใจนี่แหละ จิตเราถูกปรุงแต่งแล้ว สภาวะที่ปรุงแต่งนี้แหละมันคือ “เจตสิก” จากนั้นเราก็ “ทุกข์” เพระการปวดหัว<br />อ้าว.! คนเราไม่ชอบอาการปวดหัวก็ถูกต้องแล้วนี่ มีคน(บ้า) ที่ไหน(วะ) ชอบปวดหัว<br />ถึงแม้คุณจะไม่ชอบอาการปวดหัว แล้วอาการปวดหัวได้หายไปเพราะความไม่ชอบของคุณหรือเปล่าล่ะ?<br />ไม่... หรือท่านมีวิธีแก้ไขอาการปวดหัวได้หรือ?<br />ไม่มี!<br />ถ้าไม่มี แล้วเขียนมา (กวนประสาท) ทำไมตั้งมากมายขนาดนี้.<br />ได้โปรด! อย่าเพิ่งโวยวาย ถึงแม้จะไม่แก้ไขอาการปวดหัวของคุณได้ แต่ที่เขียนขึ้นมานี้เพื่อแก้ไข “จิต” ของคุณไม่ให้ “ทุกข์” กับการปวดหัวได้ ที่เราทั้งหลายเป็นทุกข์กับอาการปวดหัว ก็เป็นเพราะเราทั้งหลายไม่รู้จักตัว “เจตสิก” นี่แหละ อะไรก็ตามที่ปรุงแต่งจิตให้ชอบใจและไม่ชอบใจหรือเฉยๆ ได้ อันนั้นเป็นเจตสิก “ความปวด” ถือว่าเป็นเจตสิก(เครื่องปรุงแต่งจิต) อย่างหนึ่งในบรรดาเจตสิกทั้งหลาย ถ้าเราไม่ชอบอาการปวดหัว เราก็จะมีหัวอีกมากมายหลายคราให้ปวดแล้วปวดอีกในภพหน้าชาติ เราก็จะทุกข์<br />เพราะหัวอีก <br />คนเราปวดหัวได้ แต่เราไม่จำเป็นต้องทุกข์เพราะการปวดหัว วิธีแก้ไขก็คือ เวลาอาการปวดหัวเกิดขึ้น อย่ากระทำความไม่ชอบใจในอาการปวด แล้วให้ตั้งสติดูความปวดไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร (แต่ไม่ได้ห้ามการรักษา) จนเห็นการดับของความปวด เมื่อความปวดหายไป ก็อย่ากระทำความชอบใจในอาการที่หายปวดไว้ในใจ มีความปวดเกิดขึ้นมาอีก ก็ตั้งใจดูอีก เมื่อความปวดดับ ก็ให้เห็นการดับของความปวด เมื่อเกิดอีกก็ให้ดูอีก และดูอีก ดูไปเรื่อยๆ จนเห็นการดับอีกไปเรื่อยๆ ข้อสำคัญ! ในขณะที่ดูการเกิด-ดับ ของความปวดอยู่นี้ ต้องระวังความชอบใจ-ไม่ชอบใจไว้ด้วย เพราะความชอบใจหรือไม่ชอบใจจะทำให้เราขาด “สติ” เมื่อเราขาดสติ เราก็จะทุกข์เพราะความปวด เพราะฉะนั้น ตัวที่จะสร้างสติให้กับเราก็คือการดูเวทนาเกิด-ดับ สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “สมาธิสูตร” เล่มที่ ๓๕ หน้า ๑๕๖ ว่า<br />ก็สมาธิภาวนาที่เจริญให้มาก กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน? <br /> ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เวทนาเกิดขึ้นก็รู้ เวทนาตั้งอยู่ก็รู้ เวทนาดับไปก็รู้ นี้สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ. <br />หรือ ถ้าต้องการกระทำอาสวะให้สิ้น (สิ้นกิเลส) ก็ต้องทำตามพุทธพจน์ (คำที่พระพุทธเจ้าตรัส) ที่ตรัสไว้ว่า...<br />ก็ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน?<br />ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาดูเนืองๆ ซึ่งความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า :-<br />รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้<br />เวทนา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้<br />สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้<br />สังขาร เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขารเป็นอย่างนี้<br />วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้<br />นี้ เป็นสมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ<br />ด้วยการปฏิบัติเพียงเท่านี้ก็สามารถ “ดับทุกข์” ได้แล้ว<br /> <br />การดูจิต<br />[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ?<br />ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ. <br />จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ. <br />จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ. <br /> จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน.<br />จิตเป็นมหัคคตะ (จิตเป็นฌาน) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ. จิตไม่เป็นมหัคคตะ (จิตไม่เป็นฌาน) ก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ.<br /> จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า. หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. <br />จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น. หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น. <br />จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น. หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น. <br />ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตภายในบ้าง. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง. พิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง.<br />พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในจิตบ้างอยู่. <br />อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น. เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก <br />ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.<br /> <br />คนเราปวดหัวได้<br />แต่เราไม่จำเป็นต้องทุกข์เพราะการปวดหัว<br />วิธีแก้ไขก็คือ...<br />เวลาอาการปวดหัวเกิดขึ้น<br />อย่ากระทำความไม่ชอบใจในอาการปวด !<br />ให้ตั้งสติดูความปวดไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร<br />จนเห็นการดับของความปวด<br />เมื่อความปวดหายไป<br />ก็อย่ากระทำความชอบใจ ในอาการที่หายปวดไว้ในใจ<br />