SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ
มาตรฐานเพื่อให้ทั้งมนุษย์และเครื่องจักรเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก
1 กรกฎาคม 2553 10:10-12:00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด arthit@opendream.co.th



       “ไอเดียมีอยู่ง่าย ๆ
       ให้คนเข้าถึงได้มากที่สุดง่ายที่สุด ให้ข้อมูลถูกนำไปใช้ต่อได้มากที่สุด
       ห้องสมุดต้องไม่ใช่หลุมศพ ที่ ๆ ข้อมูลมาตาย
       แต่เป็นที่ ๆ ข้อมูลรอจะมีชีวิตใหม่ ๆ อีกมากมาย เกินกว่าจินตนาการ”
          ในสัมมนาสองชั่วโมงนี้ เราจะมาดูด้วยกันว่า ทำไมเราถึงต้องสนใจเทคโนโลยีชื่อประหลาดมากมายเหล่านี้ และมันมีผลยังไงกับ
คุณภาพการให้บริการห้องสมุด รวมไปถึงการให้บริการสารสนเทศสาธารณะโดยทั่วไปในภาพกว้าง ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ในการจะพัฒนา
เว็บไซต์ห้องสมุดให้ได้ตามหลักการข้อมูลสาธารณะแบบเปิด หรือหลักการ “Universal Access” นั้น จุดเริ่มต้นไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี
แต่อยู่ที่ความตระหนักร่วมกันของทั้งองค์กรในการที่จะให้บริการสารสนเทศสู่สาธารณะเพื่อประโยชน์สูงสุดของสาธารณะ ซึ่งจะนำไปสู่
นโยบายที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ในเรื่องมาตรฐานและเทคโนโลยีในที่สุด
        ระบบ เทคนิค และมาตรฐานทั้งหมดที่จะพูดถึงในสัมมนานี้ บางอย่างก็มีมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว บางอย่างก็เป็นเรื่องใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดก็จะถูกแทนที่ด้วยเทคนิควิธีและมาตรฐานใหม่ ๆ ในอนาคต สิ่งสำคัญในการจะเข้าใจเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนไป
อย่างรวดเร็ว คือการเข้าใจแนวคิดพื้นฐานและบริบทที่เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้น
         หลักการใหญ่ที่เราสามารถใช้เพื่อมองเทคโนโลยีห้องสมุดและการบริการสารสนเทศได้ก็คือ คิดมันในกรอบของการบริการ
ข้อมูลสาธารณะ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยไม่เลือกปฏิบัติ และเสรีภาพในการนำข้อมูลข่าวสาร
สาธารณะเหล่านี้ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ต่อได้อย่างไม่จำกัด → จากหลักการใหญ่นี้ เราจะมองเห็นประเด็นย่อยที่จำเป็นต้องบรรลุ
เพื่อรับประกันหลักการพื้นฐาน → จากประเด็นย่อยเหล่านั้น ก็จะนำไปสู่ ระบบ เทคนิค และมาตรฐาน ที่เราสามารถเลือกนำมาใช้
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้
        ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปเพียงใด มีสื่อใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมายแค่ไหนในอนาคต แต่ความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน จะช่วย
ให้เราสามารถมองได้ว่า ผลกระทบและโอกาสจากสื่อใหม่เหล่านั้นคืออะไร และจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่ช่วยให้เราสามารถบริการ
สารสนเทศห้องสมุดให้แก่สาธารณะได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด :)
ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ 2010.07.03                                                   2/4

การบ้านก่อนเข้าร่วม

            •    เข้าดูเว็บไซต์ห้องสมุดสถานศึกษาต่าง ๆ ของทั้งไทยและต่างประเทศ
                 ◦    บันทึก จุดเด่น 2 ข้อ ที่เราชอบและคิดว่าน่าสนใจนำมาใช้ในเว็บไซต์ห้องสมุดของเรา
                 ◦    บันทึก จุดด้อย 2 ข้อ ที่เราคิดว่าควรหลีกเลี่ยง เพราะน่าจะให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก
            •    เข้าดูเว็บไซต์บริการภาครัฐ/ภาคสาธารณะ ของทั้งไทยและต่างประเทศ
                 ◦    บันทึก 1 เว็บไซต์ ที่อยากแนะนำให้เพื่อน ๆ ในสัมมนาเข้าดู
            •    ลองดูคร่าว ๆ เกี่ยวกับ OpenURL, Linked Data, Microformat, Semantic HTML, Web Accessibility,
                 Creative Commons (ถ้าไม่มีเวลา ขอให้อ่านผ่าน ๆ มาสัก 2 เรื่อง)
                 ◦    บันทึกสรุปเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เรื่องละ 2 บรรทัด


ข้อมูลสาธารณะและการบริการห้องสมุด

         หลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิด หรือ หลักการข้อมูลสาธารณะแบบเปิด ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะหรือข้อมูลที่ค้นพบหรือได้มาโดยใช้งบประมาณของภาคสาธารณะ สิทธิ
เหล่านี้ถูกรับรองตามกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย หลักการเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้สำหรับบริการข้อมูลข่าวสาร
สำหรับสาธารณะอย่างเช่นห้องสมุดได้ เพื่อออกแบบการบริการห้องสมุด ให้มีลักษณะที่เรียกว่า “universal design” หรือ
“inclusive design” เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ และรับประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สารสนเทศห้องสมุดอย่างสูงสุดเท่าที่จะ
เป็นไปได้ แก่ผู้ใช้ห้องสมุดทุกกลุ่มโดยเสมอหน้ากัน
       ในสัมมนาสองชั่วโมงนี้ เราจะมาดูแง่มุมบางประการจากหลักการเหล่านี้ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการห้องสมุด

หลักการข้อมูลสาธารณะแบบเปิด
       ข้อมูลภาคสาธารณะจะถูกนับว่าเปิด หากมันถูกเปิดเผยต่อสาธารณะในวิธีที่ต้องตรงตามหลักการดังต่อไปนี้ :
            1. สมบูรณ์ (complete) – ข้อมูลสาธารณะทั้งหมดถูกเปิดให้ใช้ได้ ข้อมูลสาธารณะหมายถึงข้อมูลที่ไม่ขัดกับข้อ
               กำหนดความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง หรือเอกสิทธิ์ที่ชอบด้วยเหตุผล
            2. ชั้นแรก (primary) – ข้อมูลถูกรวบรวมที่ต้นทาง มีความละเอียดข้อมูลถึงระดับสูงสุดที่เป็นไปได้ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบ
               ผลรวมหรือรูปแบบที่ถูกแก้ไข
            3. ทันการณ์ (timely) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้อย่างรวดเร็วที่สุดตามความจำเป็น เพื่อรักษาคุณค่าของข้อมูลดังกล่าว
            4. เข้าถึงได้ (accessible) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ได้โดยประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ที่กว้างที่สุด
            5. ประมวลได้โดยเครื่อง (machine processable) – ข้อมูลถูกจัดโครงสร้างอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประมวลผล
               อัตโนมัติได้
            6. ไม่เลือกปฏิบัติ (non-discriminatory) – ข้อมูลถูกเปิดแก่ทุกคน โดยไม่ต้องลงทะเบียนเพื่อใช้
            7. ปลอดกรรมสิทธิ์ (non-proprietary) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ในรูปแบบข้อมูลที่ไม่มีองค์กรใดมีสิทธิขาดในการควบคุม
               แต่ผู้เดียว
            8. ไม่ต้องขออนุญาต (license-free) – ข้อมูลไม่ตกอยู่ภายใต้กฎระเบียบใด ๆ ด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ 2010.07.03                                           3/4

                  เครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า การกำหนดขอบเขตความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง และเอกสิทธิ์ที่ชอบ
                  ด้วยเหตุผล นั้นอาจอนุญาตให้ทำได้
        การระบุว่าทำตามหลักการนี้หรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาตรวจสอบซ้ำได้

นิยาม

        “สาธารณะ” หมายถึง
        หลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิดดังกล่าวนี้ ไม่ได้ระบุว่าข้อมูลใดที่ควรเป็นข้อมูลสาธารณะและควรเปิด ข้อกังวลเรื่องความเป็น
ส่วนตัว ความมั่นคง และข้อกังวลอื่น ๆ อาจกันไม่ให้ชุดข้อมูลจำนวนหนึ่งถูกเปิดให้สาธารณะร่วมใช้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายและตาม
ความเป็นธรรม สิ่งที่หลักการเหล่านี้ระบุคือ เงื่อนไขที่ข้อมูลสาธารณะควรจะทำตามให้ได้ เพื่อจะถูกนับว่า “เปิด”

        “ข้อมูล” หมายถึง
       สารสนเทศหรือบันทึกที่ถูกจัดเก็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เอกสาร ฐานข้อมูลหนังสือสัญญา บันทึกการพิจารณาคดี
และ บันทึกภาพและเสียงของเหตุการณ์
      แม้ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ได้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัตถุทางกายภาพ จะไม่อยู่ในหลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิด แต่การทำ
ทรัพยากรต่าง ๆ ดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเรื่องที่ได้การสนับสนุนเสนอ เพราะจะทำให้มันเป็นไปได้ที่จะเปิด
สารสนเทศดังกล่าว

        “พิจารณาตรวจสอบซ้ำได้” หมายถึง
        ต้องมีบุคคลติดต่อที่รับมอบหมายโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองคนที่พยายามจะใช้ข้อมูลดังกล่าว
        ต้องมีบุคคลติดต่อที่รับมอบหมายโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดหลักการดังกล่าว
       ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมต้องมีอำนาจศาลที่จะพิจารณาตรวจสอบได้ว่า หน่วยงานได้ปฏิบัติตามหลักการข้างต้นอย่างถูก
ต้องเหมาะสม


เข้าถึงได้ (accessible)

        “ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ได้โดยประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ที่กว้างที่สุด”

          การพัฒนาเว็บให้ผ่านมาตรฐานการเข้าถึงเว็บได้ (Web Accessibility) จะช่วยให้ผู้ใช้ที่อาจมีข้อจำกัดทางกายภาพหรือทางการ
รับรู้ ไม่ว่าจะจากความพิการ อายุ สถานการณ์ หรืออุปกรณ์การเข้าถึงเว็บ
        มาตรฐาน: Web Content Accessibility Guidelines
       ประเด็นสำคัญอีกอย่าง การจัดประเภทข้อมูล การตั้งชื่อ และการใช้ภาษาในเว็บไซต์ ที่ควรใช้ภาษาเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และ
สม่ำเสมอสอดคล้องกันทั่วทั้งเว็บไซต์
         เทคนิค: การจัดประเภทข้อมูลจากมุมมองของผู้ใช้บริการ (ไม่ใช่มุมมองของผู้ให้บริการ), การทำรายการคำที่จะใช้ในหน้าเว็บ-
เพื่อให้ใช้คำเดียวกันตลอดทั่วทั้งเว็บไซต์, การหลีกเลี่ยงประโยคเชิงซ้อน
ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ 2010.07.03                                      4/4

ประมวลได้โดยเครื่อง (machine processable)

       “ข้อมูลถูกจัดโครงสร้างอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประมวลผลอัตโนมัติได้”

      เทคนิค เช่น Semantic HTML และมาตรฐานเช่น Microformat และ OpenURL ช่วยให้ข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด
สามารถนำไปใช้ได้โดยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
            •   มีผลต่อซอฟต์แวร์จัดการบรรณานุกรม เช่น Zotero, Mendeley, CiteULike
                ◦    นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ทำรายการอ้างอิงจากห้องสมุดได้สะดวกมากขึ้น ถูกต้องตรงกันมากขึ้น
            •   มีผลต่อเสิร์ชเอนจิ้นและเว็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น Wikipedia
                ◦    ข้อมูลถูกค้นเจอ และถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
            •   มีผลต่อ Webometrics, Citation Index


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

            •   Future Media Standards & Guidelines
                มาตรฐานและแนวทางสำหรับสื่อในอนาคต ครอบคลุมเทคโนโลยี มาตรฐาน การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการใช้ภาษา
                บนสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต จัดทำโดยองค์การกระจายเสียงสาธารณะแห่งสหราชอาณาจักร (บีบีซี)
                http://www.bbc.co.uk/guidelines/futuremedia/
            •   Web Accessibility Initiative (WAI)
                โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงเว็บได้ โดยคณะทำงานมาตรฐานเว็บ (W3C)
                http://www.w3.org/WAI/
                ◦    ภาษาไทย: สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก http://j.mp/thweba11y
            •   CIS India - Accessibility
                รวมรวมบทความและทรัพยากรเกี่ยวกับการเข้าถึงได้ ในบริบทที่กว้างกว่าการออกแบบเว็บไซต์ เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วง
                โทรศัพท์มือถือ นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษา จัดทำโดย ศูนย์เพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม อินเดีย
                http://accessibility.cis-india.org/
            •   data.gov.uk Resources
                อธิบายมาตรฐานสำคัญ ๆ สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสาธารณะ
                http://data.gov.uk/resources
                http://data.gov.uk/wiki/Public_Data_Principles
            •   E-government in New Zealand
                มีส่วนของนโยยาย ข้อกำหนด และมาตรฐาน สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ภาคสาธารณะ จัดทำโดยรัฐบาลนิวซีแลนด์
                http://www.e.govt.nz/
            •   The Guardian Open Platform
                รวมเว็บไซต์และบริการข้อมูลออนไลน์น่าสนใจโดยหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน แสดงให้เห็นว่า เมื่อข้อมูลสาธารณะ
                ถูกเปิดตามมาตรฐานแล้ว มันสามารถนำมาสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจได้อย่างไร
                http://www.guardian.co.uk/open-platform

More Related Content

What's hot

ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Nawanan Theera-Ampornpunt
 
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์
คิง เกอร์
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Nawanan Theera-Ampornpunt
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็มความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
Sutin Yotyavilai
 
การจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัล
การจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัลการจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัล
การจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัล
Thai Netizen Network
 
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
teerapongpongsorn
 

What's hot (16)

155555555555555555555555555555555+
155555555555555555555555555555555+155555555555555555555555555555555+
155555555555555555555555555555555+
 
Books
BooksBooks
Books
 
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ตคุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
 
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ กฤษฎิ์
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
MOOC - OER ... Royal Project in Thailand
MOOC - OER ... Royal Project in ThailandMOOC - OER ... Royal Project in Thailand
MOOC - OER ... Royal Project in Thailand
 
Learning about internet
Learning about internetLearning about internet
Learning about internet
 
Learning about internet
Learning about internetLearning about internet
Learning about internet
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็มความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
 
การจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัล
การจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัลการจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัล
การจำกัดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสาร - ข้อเสนอต่อชุดร่างกฎหมาย
ความมั่นคงดิจิทัล
 
Health IT Laws and PDPA (October 12, 2021)
Health IT Laws and PDPA (October 12, 2021)Health IT Laws and PDPA (October 12, 2021)
Health IT Laws and PDPA (October 12, 2021)
 
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
 

Viewers also liked

Viewers also liked (7)

Mekong ICT Camp 2010 Call @ BarCamp Phnom Penh 2
Mekong ICT Camp 2010 Call @ BarCamp Phnom Penh 2Mekong ICT Camp 2010 Call @ BarCamp Phnom Penh 2
Mekong ICT Camp 2010 Call @ BarCamp Phnom Penh 2
 
Creative Commons .. ยังไง?
Creative Commons .. ยังไง?Creative Commons .. ยังไง?
Creative Commons .. ยังไง?
 
มาตรฐานคำอธิบายภาพ + NextGen Gallery
มาตรฐานคำอธิบายภาพ + NextGen Galleryมาตรฐานคำอธิบายภาพ + NextGen Gallery
มาตรฐานคำอธิบายภาพ + NextGen Gallery
 
Some Ideas and Works Behind Mekong ICT Camp 2
Some Ideas and Works Behind Mekong ICT Camp 2Some Ideas and Works Behind Mekong ICT Camp 2
Some Ideas and Works Behind Mekong ICT Camp 2
 
Writerly Web: Writing as an Open Web Interface (Mozilla Drumbeat)
Writerly Web: Writing as an Open Web Interface (Mozilla Drumbeat)Writerly Web: Writing as an Open Web Interface (Mozilla Drumbeat)
Writerly Web: Writing as an Open Web Interface (Mozilla Drumbeat)
 
บาร์แคมป์เชียงใหม่: แนะนำ
บาร์แคมป์เชียงใหม่: แนะนำบาร์แคมป์เชียงใหม่: แนะนำ
บาร์แคมป์เชียงใหม่: แนะนำ
 
Data Protection
 in the Age of Big Data
Data Protection
 in the Age of Big DataData Protection
 in the Age of Big Data
Data Protection
 in the Age of Big Data
 

Similar to ระบบ เทคนิค และมาตรฐาน ในการพัฒนา(เว็บไซต์)ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ (เอกสาร)

ใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งาน
ใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งานใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งาน
ใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งาน
kwangslideshare
 
ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2
ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2
ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2
Hitsuji12
 
Digital Content and Website Standard
Digital Content and Website StandardDigital Content and Website Standard
Digital Content and Website Standard
Boonlert Aroonpiboon
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Ariya Soparux
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
commyzaza
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
commyzaza
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
commyzaza
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
commyzaza
 
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
Krusine soyo
 
ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้
ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้
ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้
guest6bc2ef1
 

Similar to ระบบ เทคนิค และมาตรฐาน ในการพัฒนา(เว็บไซต์)ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ (เอกสาร) (20)

ใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งาน
ใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งานใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งาน
ใบงานที่ 7 การประยุกต์ใช้งาน
 
ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2
ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2
ธันยพร นกศิริ ม409 เลขที่2
 
Slide จริยธรรมคอมพิวเตอร์
Slide จริยธรรมคอมพิวเตอร์Slide จริยธรรมคอมพิวเตอร์
Slide จริยธรรมคอมพิวเตอร์
 
Digital Content and Website Standard
Digital Content and Website StandardDigital Content and Website Standard
Digital Content and Website Standard
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1
 
กระแสเทคโนโลยีเพื่อบริการสารสนเทศยุคใหม่
กระแสเทคโนโลยีเพื่อบริการสารสนเทศยุคใหม่กระแสเทคโนโลยีเพื่อบริการสารสนเทศยุคใหม่
กระแสเทคโนโลยีเพื่อบริการสารสนเทศยุคใหม่
 
บทที่ 2 ทวีชัย
บทที่ 2 ทวีชัยบทที่ 2 ทวีชัย
บทที่ 2 ทวีชัย
 
หน่วยที่1
หน่วยที่1หน่วยที่1
หน่วยที่1
 
ใบงาน K2
ใบงาน K2ใบงาน K2
ใบงาน K2
 
New media and national security contents
New media and national security contentsNew media and national security contents
New media and national security contents
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
 
Thai Research
Thai ResearchThai Research
Thai Research
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้
ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้
ฮินเตอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้
 

More from Arthit Suriyawongkul

กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
Arthit Suriyawongkul
 
Rights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้ง
Rights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้งRights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้ง
Rights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้ง
Arthit Suriyawongkul
 
คนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัล
คนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัลคนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัล
คนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัล
Arthit Suriyawongkul
 

More from Arthit Suriyawongkul (20)

Beyond retailer-consumer relationships
Beyond retailer-consumer relationshipsBeyond retailer-consumer relationships
Beyond retailer-consumer relationships
 
ทุน ข้อมูล และสภาพแวดล้อม: เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบแล...
 ทุน ข้อมูล และสภาพแวดล้อม: เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบแล... ทุน ข้อมูล และสภาพแวดล้อม: เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบแล...
ทุน ข้อมูล และสภาพแวดล้อม: เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบแล...
 
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
 
พ.ร.บ.คุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิในความเป็นส่วนตัว
พ.ร.บ.คุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิในความเป็นส่วนตัวพ.ร.บ.คุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิในความเป็นส่วนตัว
พ.ร.บ.คุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิในความเป็นส่วนตัว
 
Rights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้ง
Rights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้งRights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้ง
Rights-based Internet Governance: การอภิบาลอินเทอร์เน็ตโดยคิดจากสิทธิเป็นที่ตั้ง
 
ว่าด้วยสื่อสังคม
ว่าด้วยสื่อสังคมว่าด้วยสื่อสังคม
ว่าด้วยสื่อสังคม
 
โดนอุ้มในโลกเสมือน
โดนอุ้มในโลกเสมือน โดนอุ้มในโลกเสมือน
โดนอุ้มในโลกเสมือน
 
คนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัล
คนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัลคนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัล
คนทำงานและแรงงานในยุคดิจิทัล
 
Three-Layer Model for the Control of Online Content: A Study on Thailand
Three-Layer Model for the Control of Online Content: A Study on ThailandThree-Layer Model for the Control of Online Content: A Study on Thailand
Three-Layer Model for the Control of Online Content: A Study on Thailand
 
Mapping Stakeholders, Decision-makers, and Implementers in Thailand’s Cyber P...
Mapping Stakeholders, Decision-makers, and Implementers in Thailand’s Cyber P...Mapping Stakeholders, Decision-makers, and Implementers in Thailand’s Cyber P...
Mapping Stakeholders, Decision-makers, and Implementers in Thailand’s Cyber P...
 
Anonymity in the Digital Age #digitalcitizen16
Anonymity in the Digital Age #digitalcitizen16Anonymity in the Digital Age #digitalcitizen16
Anonymity in the Digital Age #digitalcitizen16
 
Information Laws in Mekong Countries
Information Laws in Mekong CountriesInformation Laws in Mekong Countries
Information Laws in Mekong Countries
 
แนะนำมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง
แนะนำมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมืองแนะนำมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง
แนะนำมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง
 
การส่งเสริมการกำกับกันเอง
ในกิจการสื่อใหม่ยุคหลอมรวม
การส่งเสริมการกำกับกันเอง
ในกิจการสื่อใหม่ยุคหลอมรวมการส่งเสริมการกำกับกันเอง
ในกิจการสื่อใหม่ยุคหลอมรวม
การส่งเสริมการกำกับกันเอง
ในกิจการสื่อใหม่ยุคหลอมรวม
 
Cybercrime and Cybersecurity Differences
Cybercrime and Cybersecurity DifferencesCybercrime and Cybersecurity Differences
Cybercrime and Cybersecurity Differences
 
Development and Concerns over "Digital Economy" Bills in Thailand
Development and Concerns over "Digital Economy" Bills in ThailandDevelopment and Concerns over "Digital Economy" Bills in Thailand
Development and Concerns over "Digital Economy" Bills in Thailand
 
Thailand on LINE
Thailand on LINEThailand on LINE
Thailand on LINE
 
The Junta Digital Agenda: 76 Days Later
The Junta Digital Agenda: 76 Days LaterThe Junta Digital Agenda: 76 Days Later
The Junta Digital Agenda: 76 Days Later
 
The state of Internet freedom after the coup in Thailand
The state of Internet freedom after the coup in ThailandThe state of Internet freedom after the coup in Thailand
The state of Internet freedom after the coup in Thailand
 
เร็วขึ้น ดีขึ้น มากขึ้น ด้วยข้อมูลเปิด
เร็วขึ้น ดีขึ้น มากขึ้น ด้วยข้อมูลเปิดเร็วขึ้น ดีขึ้น มากขึ้น ด้วยข้อมูลเปิด
เร็วขึ้น ดีขึ้น มากขึ้น ด้วยข้อมูลเปิด
 

ระบบ เทคนิค และมาตรฐาน ในการพัฒนา(เว็บไซต์)ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ (เอกสาร)

  • 1. ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ มาตรฐานเพื่อให้ทั้งมนุษย์และเครื่องจักรเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก 1 กรกฎาคม 2553 10:10-12:00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด arthit@opendream.co.th “ไอเดียมีอยู่ง่าย ๆ ให้คนเข้าถึงได้มากที่สุดง่ายที่สุด ให้ข้อมูลถูกนำไปใช้ต่อได้มากที่สุด ห้องสมุดต้องไม่ใช่หลุมศพ ที่ ๆ ข้อมูลมาตาย แต่เป็นที่ ๆ ข้อมูลรอจะมีชีวิตใหม่ ๆ อีกมากมาย เกินกว่าจินตนาการ” ในสัมมนาสองชั่วโมงนี้ เราจะมาดูด้วยกันว่า ทำไมเราถึงต้องสนใจเทคโนโลยีชื่อประหลาดมากมายเหล่านี้ และมันมีผลยังไงกับ คุณภาพการให้บริการห้องสมุด รวมไปถึงการให้บริการสารสนเทศสาธารณะโดยทั่วไปในภาพกว้าง ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ในการจะพัฒนา เว็บไซต์ห้องสมุดให้ได้ตามหลักการข้อมูลสาธารณะแบบเปิด หรือหลักการ “Universal Access” นั้น จุดเริ่มต้นไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่ความตระหนักร่วมกันของทั้งองค์กรในการที่จะให้บริการสารสนเทศสู่สาธารณะเพื่อประโยชน์สูงสุดของสาธารณะ ซึ่งจะนำไปสู่ นโยบายที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ในเรื่องมาตรฐานและเทคโนโลยีในที่สุด ระบบ เทคนิค และมาตรฐานทั้งหมดที่จะพูดถึงในสัมมนานี้ บางอย่างก็มีมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว บางอย่างก็เป็นเรื่องใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดก็จะถูกแทนที่ด้วยเทคนิควิธีและมาตรฐานใหม่ ๆ ในอนาคต สิ่งสำคัญในการจะเข้าใจเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว คือการเข้าใจแนวคิดพื้นฐานและบริบทที่เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้น หลักการใหญ่ที่เราสามารถใช้เพื่อมองเทคโนโลยีห้องสมุดและการบริการสารสนเทศได้ก็คือ คิดมันในกรอบของการบริการ ข้อมูลสาธารณะ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยไม่เลือกปฏิบัติ และเสรีภาพในการนำข้อมูลข่าวสาร สาธารณะเหล่านี้ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ต่อได้อย่างไม่จำกัด → จากหลักการใหญ่นี้ เราจะมองเห็นประเด็นย่อยที่จำเป็นต้องบรรลุ เพื่อรับประกันหลักการพื้นฐาน → จากประเด็นย่อยเหล่านั้น ก็จะนำไปสู่ ระบบ เทคนิค และมาตรฐาน ที่เราสามารถเลือกนำมาใช้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปเพียงใด มีสื่อใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมายแค่ไหนในอนาคต แต่ความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน จะช่วย ให้เราสามารถมองได้ว่า ผลกระทบและโอกาสจากสื่อใหม่เหล่านั้นคืออะไร และจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่ช่วยให้เราสามารถบริการ สารสนเทศห้องสมุดให้แก่สาธารณะได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด :)
  • 2. ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ 2010.07.03 2/4 การบ้านก่อนเข้าร่วม • เข้าดูเว็บไซต์ห้องสมุดสถานศึกษาต่าง ๆ ของทั้งไทยและต่างประเทศ ◦ บันทึก จุดเด่น 2 ข้อ ที่เราชอบและคิดว่าน่าสนใจนำมาใช้ในเว็บไซต์ห้องสมุดของเรา ◦ บันทึก จุดด้อย 2 ข้อ ที่เราคิดว่าควรหลีกเลี่ยง เพราะน่าจะให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก • เข้าดูเว็บไซต์บริการภาครัฐ/ภาคสาธารณะ ของทั้งไทยและต่างประเทศ ◦ บันทึก 1 เว็บไซต์ ที่อยากแนะนำให้เพื่อน ๆ ในสัมมนาเข้าดู • ลองดูคร่าว ๆ เกี่ยวกับ OpenURL, Linked Data, Microformat, Semantic HTML, Web Accessibility, Creative Commons (ถ้าไม่มีเวลา ขอให้อ่านผ่าน ๆ มาสัก 2 เรื่อง) ◦ บันทึกสรุปเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เรื่องละ 2 บรรทัด ข้อมูลสาธารณะและการบริการห้องสมุด หลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิด หรือ หลักการข้อมูลสาธารณะแบบเปิด ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะหรือข้อมูลที่ค้นพบหรือได้มาโดยใช้งบประมาณของภาคสาธารณะ สิทธิ เหล่านี้ถูกรับรองตามกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย หลักการเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้สำหรับบริการข้อมูลข่าวสาร สำหรับสาธารณะอย่างเช่นห้องสมุดได้ เพื่อออกแบบการบริการห้องสมุด ให้มีลักษณะที่เรียกว่า “universal design” หรือ “inclusive design” เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ และรับประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สารสนเทศห้องสมุดอย่างสูงสุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ แก่ผู้ใช้ห้องสมุดทุกกลุ่มโดยเสมอหน้ากัน ในสัมมนาสองชั่วโมงนี้ เราจะมาดูแง่มุมบางประการจากหลักการเหล่านี้ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการห้องสมุด หลักการข้อมูลสาธารณะแบบเปิด ข้อมูลภาคสาธารณะจะถูกนับว่าเปิด หากมันถูกเปิดเผยต่อสาธารณะในวิธีที่ต้องตรงตามหลักการดังต่อไปนี้ : 1. สมบูรณ์ (complete) – ข้อมูลสาธารณะทั้งหมดถูกเปิดให้ใช้ได้ ข้อมูลสาธารณะหมายถึงข้อมูลที่ไม่ขัดกับข้อ กำหนดความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง หรือเอกสิทธิ์ที่ชอบด้วยเหตุผล 2. ชั้นแรก (primary) – ข้อมูลถูกรวบรวมที่ต้นทาง มีความละเอียดข้อมูลถึงระดับสูงสุดที่เป็นไปได้ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบ ผลรวมหรือรูปแบบที่ถูกแก้ไข 3. ทันการณ์ (timely) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้อย่างรวดเร็วที่สุดตามความจำเป็น เพื่อรักษาคุณค่าของข้อมูลดังกล่าว 4. เข้าถึงได้ (accessible) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ได้โดยประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ที่กว้างที่สุด 5. ประมวลได้โดยเครื่อง (machine processable) – ข้อมูลถูกจัดโครงสร้างอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประมวลผล อัตโนมัติได้ 6. ไม่เลือกปฏิบัติ (non-discriminatory) – ข้อมูลถูกเปิดแก่ทุกคน โดยไม่ต้องลงทะเบียนเพื่อใช้ 7. ปลอดกรรมสิทธิ์ (non-proprietary) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ในรูปแบบข้อมูลที่ไม่มีองค์กรใดมีสิทธิขาดในการควบคุม แต่ผู้เดียว 8. ไม่ต้องขออนุญาต (license-free) – ข้อมูลไม่ตกอยู่ภายใต้กฎระเบียบใด ๆ ด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
  • 3. ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ 2010.07.03 3/4 เครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า การกำหนดขอบเขตความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง และเอกสิทธิ์ที่ชอบ ด้วยเหตุผล นั้นอาจอนุญาตให้ทำได้ การระบุว่าทำตามหลักการนี้หรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาตรวจสอบซ้ำได้ นิยาม “สาธารณะ” หมายถึง หลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิดดังกล่าวนี้ ไม่ได้ระบุว่าข้อมูลใดที่ควรเป็นข้อมูลสาธารณะและควรเปิด ข้อกังวลเรื่องความเป็น ส่วนตัว ความมั่นคง และข้อกังวลอื่น ๆ อาจกันไม่ให้ชุดข้อมูลจำนวนหนึ่งถูกเปิดให้สาธารณะร่วมใช้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายและตาม ความเป็นธรรม สิ่งที่หลักการเหล่านี้ระบุคือ เงื่อนไขที่ข้อมูลสาธารณะควรจะทำตามให้ได้ เพื่อจะถูกนับว่า “เปิด” “ข้อมูล” หมายถึง สารสนเทศหรือบันทึกที่ถูกจัดเก็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เอกสาร ฐานข้อมูลหนังสือสัญญา บันทึกการพิจารณาคดี และ บันทึกภาพและเสียงของเหตุการณ์ แม้ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ได้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัตถุทางกายภาพ จะไม่อยู่ในหลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิด แต่การทำ ทรัพยากรต่าง ๆ ดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเรื่องที่ได้การสนับสนุนเสนอ เพราะจะทำให้มันเป็นไปได้ที่จะเปิด สารสนเทศดังกล่าว “พิจารณาตรวจสอบซ้ำได้” หมายถึง ต้องมีบุคคลติดต่อที่รับมอบหมายโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองคนที่พยายามจะใช้ข้อมูลดังกล่าว ต้องมีบุคคลติดต่อที่รับมอบหมายโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดหลักการดังกล่าว ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมต้องมีอำนาจศาลที่จะพิจารณาตรวจสอบได้ว่า หน่วยงานได้ปฏิบัติตามหลักการข้างต้นอย่างถูก ต้องเหมาะสม เข้าถึงได้ (accessible) “ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ได้โดยประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ที่กว้างที่สุด” การพัฒนาเว็บให้ผ่านมาตรฐานการเข้าถึงเว็บได้ (Web Accessibility) จะช่วยให้ผู้ใช้ที่อาจมีข้อจำกัดทางกายภาพหรือทางการ รับรู้ ไม่ว่าจะจากความพิการ อายุ สถานการณ์ หรืออุปกรณ์การเข้าถึงเว็บ มาตรฐาน: Web Content Accessibility Guidelines ประเด็นสำคัญอีกอย่าง การจัดประเภทข้อมูล การตั้งชื่อ และการใช้ภาษาในเว็บไซต์ ที่ควรใช้ภาษาเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และ สม่ำเสมอสอดคล้องกันทั่วทั้งเว็บไซต์ เทคนิค: การจัดประเภทข้อมูลจากมุมมองของผู้ใช้บริการ (ไม่ใช่มุมมองของผู้ให้บริการ), การทำรายการคำที่จะใช้ในหน้าเว็บ- เพื่อให้ใช้คำเดียวกันตลอดทั่วทั้งเว็บไซต์, การหลีกเลี่ยงประโยคเชิงซ้อน
  • 4. ระบบ เทคนิค และมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด ในฐานะบริการสาธารณะ 2010.07.03 4/4 ประมวลได้โดยเครื่อง (machine processable) “ข้อมูลถูกจัดโครงสร้างอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประมวลผลอัตโนมัติได้” เทคนิค เช่น Semantic HTML และมาตรฐานเช่น Microformat และ OpenURL ช่วยให้ข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด สามารถนำไปใช้ได้โดยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ • มีผลต่อซอฟต์แวร์จัดการบรรณานุกรม เช่น Zotero, Mendeley, CiteULike ◦ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ทำรายการอ้างอิงจากห้องสมุดได้สะดวกมากขึ้น ถูกต้องตรงกันมากขึ้น • มีผลต่อเสิร์ชเอนจิ้นและเว็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น Wikipedia ◦ ข้อมูลถูกค้นเจอ และถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น • มีผลต่อ Webometrics, Citation Index แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม • Future Media Standards & Guidelines มาตรฐานและแนวทางสำหรับสื่อในอนาคต ครอบคลุมเทคโนโลยี มาตรฐาน การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการใช้ภาษา บนสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต จัดทำโดยองค์การกระจายเสียงสาธารณะแห่งสหราชอาณาจักร (บีบีซี) http://www.bbc.co.uk/guidelines/futuremedia/ • Web Accessibility Initiative (WAI) โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงเว็บได้ โดยคณะทำงานมาตรฐานเว็บ (W3C) http://www.w3.org/WAI/ ◦ ภาษาไทย: สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก http://j.mp/thweba11y • CIS India - Accessibility รวมรวมบทความและทรัพยากรเกี่ยวกับการเข้าถึงได้ ในบริบทที่กว้างกว่าการออกแบบเว็บไซต์ เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วง โทรศัพท์มือถือ นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษา จัดทำโดย ศูนย์เพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม อินเดีย http://accessibility.cis-india.org/ • data.gov.uk Resources อธิบายมาตรฐานสำคัญ ๆ สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสาธารณะ http://data.gov.uk/resources http://data.gov.uk/wiki/Public_Data_Principles • E-government in New Zealand มีส่วนของนโยยาย ข้อกำหนด และมาตรฐาน สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ภาคสาธารณะ จัดทำโดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ http://www.e.govt.nz/ • The Guardian Open Platform รวมเว็บไซต์และบริการข้อมูลออนไลน์น่าสนใจโดยหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน แสดงให้เห็นว่า เมื่อข้อมูลสาธารณะ ถูกเปิดตามมาตรฐานแล้ว มันสามารถนำมาสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจได้อย่างไร http://www.guardian.co.uk/open-platform