SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
ภาษาสุภาพ
(敬語)
1
ภาษาสุภาพ (敬語)
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาสุภาพในภาษาญี่ปุ่น
2. ประเภทของภาษาสุภาพ
2.1 คำายกย่อง (尊敬語)
2.1.1 รูปคำากริยาพิเศษ
2.1.2 รูปผันคำากริยา お + Vますになる
2.1.3 รูปผันคำากริยา ~(ら)れる
2.1.4 รูปผันคำากริยา お/ご + Vください
2.2 คำาถ่อมตนแสดงการยกย่อง (謙譲語)
2.2.1 รูปคำากริยาพิเศษ
2.2.2 รูปผันคำากริยา お/ご + Vますする/いたす
2.3 คำาถ่อมตนแสดงความสุภาพ (丁重語)
2.3.1 รูปคำากริยาพิเศษ
2.3.2 รูปผันคำากริยากลุ่มที่ 3 Vますいたす
2.4 คำาสุภาพ (丁寧語)
2.4.1 รูปการเปลี่ยนคำา
2.4.2 รูปการใช้ お หรือ ご นำาหน้าคำานามหรือคำาคุณศัพท์
3. คำาที่ใช้ตามหลังชื่อเพื่อแสดงความสุภาพ
4. คำาพูดหรือสำานวนภาษาสุภาพในสถานการณ์ที่เป็นทางการหรือในที่สาธารณชน
5. สำานวนภาษาสุภาพในการเขียนอีเมล
6. ลักษณะประโยคที่ไม่ใช้ภาษาสุภาพ
お仕事は
何をなさって
いらっしゃいますか
えっと 。。。。
どう言えば
いいでしょう?
2
1. คำวามรูเบื้องตนำเกี่ยวกับภาษาสุภาพในำภาษาญี่ปุนำ
ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่สำาคัญอย่างหนึ่ง การใช้ภาษายังแสดงถึงมารยาททางสังคม
ของบุคคล หากบุคคลใดใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับกาลเทศะ ก็จะได้รับการประเมินจากสังคม
ว่าเป็นผู้มีมารยาทในการสื่อสารที่ดี แต่หากใช้ภาษาไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็อาจจะถูกมองจากสังคม
ว่าเป็นบุคคลที่ไม่รู้กาลเทศะหรือขาดมารยาทที่ดีทางสังคมได้ ดังนั้น การใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาสุภาพ
ในภาษาญี่ปุ่นนั้นผู้พูดจะต้องมีความระมัดระวังและพิจารณาอย่างถ้วนถี่ว่ากำาลังสนทนาอยู่กับใครสถานที่ใด
ในสถานการณ์ใดหรือเวลาใดโดยเลือกใช้ภาษาสุภาพให้ถูกต้องและเหมาะสมกับฝ่ายตรงข้ามที่สนทนาด้วย
การกำาหนดสถานภาพทางสังคมของบุคคลในสังคมญี่ปุ่นนั้นมีปจจัยกำาหนดที่หลากหลายเช่นตำาแหน่ง
หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ ซึ่งบุคคลคนหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพหรือหลายบทบาทในสังคม ดังนั้น
ในการสนทนา ผู้พูดจะต้องคำานึงถึงสถานภาพทางสังคมของฝ่ายตรงข้าม พิจารณาเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้อง
และคำานึงถึงระดับภาษาที่เหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และกาลเทศะด้วย
ระดับภาษาสุภาพในภาษาญี่ปุ่นมีดังต่อไปนี้
「~だ 」 หรือ 「~である」 เป็นภาษาเขียนรูปธรรมดา
「~です」 เป็นภาษาพูดรูปสุภาพที่เป็นทางการ
「~でございます」 เป็นภาษาสุภาพรูปถ่อมตน
「~でいらっしゃいます」 เป็นภาษาสุภาพรูปยกย่อง
นอกจากนี้ “เพศ” ยังเป็นอีกปจจัยหนึ่งที่ทำาให้มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่แตกต่างกันของผู้หญิงและผู้ชาย
สาเหตุที่ทำาให้มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันนั้น อาจสืบเนื่องมาจากประเทศญี่ปุ่นในอดีตที่ปกครองโดยโชกุน
Tokugawa ได้จัดระบบการปกครองโดยแบ่งคนออกเป็น 4 ชนชั้น คือ ซามูไร ชาวนา ช่างฝมือ และพ่อค้า
ในแต่ละชนชั้นผู้หญิงจะมีฐานะตำ่ากว่าผู้ชายและต้องเคารพผู้ชายในฐานะที่เป็นผู้นำาการแสดงความเคารพ
นอกจากการปฏิบัติตนให้สุภาพอ่อนโยนและนอบน้อมต่อผู้ชายแล้วผู้หญิงจะต้องใช้ภาษาที่นุ่มนวลสุภาพ
จะมีทั้งรูปแสดงการยกย่องฝ่ายตรงข้ามและรูปถ่อมตน
ภาษาสุภาพ หรือในภาษาญี่ปุ่นใช้คำาว่า 「敬語」 เป็นภาษาที่ใช้เพื่อแสดงความเคารพยกย่องต่อ
อีกฝ่ายขณะเดียวกันก็เป็นการถ่อมตนด้วยโดยที่ฝ่ายตรงข้ามมักจะเป็นผู้ที่มีอาวุโสกว่าตนเช่นครูอาจารย์
ประธานบริษัท หัวหน้างาน นอกจากนี้ภาษาสุภาพก็ยังนิยมใช้กับผู้ที่พบเจอเป็นครั้งแรก หรือผู้ที่ยังไม่รู้จัก
หรือยังไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน
3
การใช้ภาษาสุภาพในภาษาญี่ปุ่น ดังเช่นสถานการณ์การชักชวนในกรณีที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก
มักจะใช้ภาษาในการกล่าวชักชวนดังนี้ 「ご一緒にお飲みになりませんか」 แต่เมื่อรู้จักกันและคุ้นเคยกันบ้าง
ก็จะค่อย ๆ ลดระดับภาษาเป็นรูปสุภาพทั่ว ๆ ไป เช่น 「一緒に飲みませんか」 เมื่อสนิทสนมกันมากขึ้น
จนเป็นเพื่อนกันก็จะเปลี่ยนเป็นภาษาพูดธรรมดาเช่น「一緒に飲もう」 หลังจากที่ได้รู้จักและสนิทสนมกันแล้ว
หากยังใช้ภาษาสุภาพต่อกัน แสดงให้เห็นว่าคู่สนทนานั้นมีเหตุผลอื่นที่ทำาให้ต้องใช้ภาษาสุภาพต่อกัน
ดังเช่นตัวอย่างบทสนทนาระหว่างเพื่อนชายและหญิงต่อไปนี้
男 : その髪型、変だよ。
(ทรงผมนั่น... แปลก ๆ นะ)
女 : ??????
男 : あ、明日家に来る時にさ・・・。
(อะ ตอนที่จะมาบ้านฉันพรุ่งนี้...)
男 : ごめん!髪型素敵だよ!。
(ขอโทษ ! ทรงผมดูดีนะ !)
男 : なんで敬語使うんだよ!!!。
(ทำาไมใช้ภาษาสุภาพอย่างนั้นล่ะ !!!)
女 : 時間がないかもしれませんので、伺えるかどうか・・・。
(จะไปได้หรือไม่... เพราะว่าอาจจะไม่มีเวลา)
女 : おわかりになりませんか?
(ไม่เข้าใจหรือคะ)
女: もう遅いわよ!
(ช้าไปแล้วจ้ะ !)
ดังตัวอย่างบทสนทนา ทั้ง 2 คนเป็นเพื่อนสนิทกัน ซึ่งปกติจะใช้ภาษาพูดธรรมดาในการสนทนา ในที่นี้
จะเห็นได้ว่ามีบางประโยคที่ผู้หญิงใช้ภาษาสุภาพ เพื่อแสดงให้เพื่อนชายรู้ว่าตนเองมีความรู้สึกไม่พอใจ
หรือโกรธต่อคำาทักทายของเพื่อนชาย
かみがた
うかが
へん
すてき
4
สรุปก็คือ ภาษาสุภาพ ไม่ใช่สิ่งที่นำามาใช้เพียงเพราะว่าจะแสดงความเคารพต่อฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น
แต่สามารถนำามาใช้ในการแสดงระยะห่างกับคู่สนทนาได้ดังตัวอย่างข้างต้นในสังคมคนญี่ปุ่นภาษาหรือวิธี
การพูดจะถูกกำาหนดด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือภาษาสุภาพเป็นรูปแบบหนึ่งของ
การแสดงทางภาษาที่สื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้
การใช้ภาษาสุภาพได้อย่างถูกต้องนั้น จึงเป็นสิ่งสำาคัญที่จะดำารงรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม
ได้อย่างราบรื่น ดังตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพในที่ทำางานในสถานการณ์ต่อไปนี้
อรุณีเป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง หัวหน้าฝ่ายได้โทรศัพท์
เข้ามาถามถึงประธานบริษัท อรุณีรับสาย ดังบทสนทนาต่อไปนี้
部長 : 社長はいらっしゃる。
(หัวหน้าฝ่าย : ท่านประธานอยู่ไหม)
アリニー : ええ、いらっしゃいます。
(อรุณี : ค่ะ อยู่ค่ะ)
ต่อมามีคนจากบริษัทอื่นโทรศัพท์มาหาประธานบริษัท แต่คราวนี้ อรุณีตอบฝ่ายตรงข้าม
ดังบทสนทนาต่อไปนี้
他社の人 : 田中社長はいらっしゃいますか。
(คนจากบริษัทอื่น : ท่านประธานทะนะกะอยู่ไหมครับ)
アリニー : いいえ、社長は今おりませんが…。
(อรุณี : ประธานไม่อยู่ค่ะ)
※ คิดสักนิด : คำาว่า 「いらっしゃいます」 เป็นคำายกย่องที่ใช้กับการกระทำาของผู้ที่อาวุโสกว่าหรือ
ผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกันส่วนคำาว่า「おります」 เป็นคำาถ่อมตนที่ใช้กับการกระทำาของตนหรือกลุ่มของตน
ต่อผู้ที่อาวุโสกว่าหรือผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน
จากบทสนทนาข้างต้นจะเห็นว่าอรุณีใช้คำายกย่อง「いらっしゃいます」 เมื่อกล่าวถึงการกระทำาของประธาน
บริษัทกับหัวหน้าฝ่ายซึ่งอยู่บริษัทเดียวกันขณะเดียวกันได้ใช้คำาถ่อมตน「おりません」 เมื่อกล่าวถึงการกระทำา
ของประธานบริษัทตนเองกับคนจากบริษัทอื่นเพราะถือว่าประธานบริษัทและตัวผู้ที่รับสายเป็นบุคคลที่ทำางาน
5
ในบริษัทเดียวกัน ต้องใช้คำาพูดถ่อมตนกับการกระทำาของประธานบริษัทด้วยเช่นกัน กรณีเช่นนี้จะใช้ภาษา
รูปธรรมดาที่แสดงถึงความสนิทสนมกับประธานบริษัท เช่น คำาว่า 「いないです」 หรือจะใช้ภาษารูปยกย่อง
ประธานบริษัท ด้วยการใช้คำาว่า 「いらっしいません」 ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการเสียมารยาทต่อฝ่ายตรงข้าม
และยังแสดงถึงการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องตามกาลเทศะ
จะเห็นว่า ในสังคมญี่ปุ่นดังเช่นบริษัทที่มีคนหลายระดับ กล่าวคือ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงาน
บริษัททั่วไป หากสนทนาระหว่างกันภายในบริษัท จะพิจารณาการใช้ภาษาสุภาพตามระดับความอาวุโส
มากน้อยและ/หรือตามระดับตำาแหน่งหน้าที่การงาน หากแต่เป็นการสนทนากับคนนอกบริษัท และกล่าวถึง
การกระทำาของคนในบริษัทตน แม้บุคคลนั้นจะเป็นประธานบริษัทที่มีอาวุโสและตำาแหน่งสูงสุดก็ตาม
จะต้องใช้ภาษาถ่อมตนกับการกระทำานั้น เพราะถือว่าคนในบริษัทเป็นกลุ่มในเช่นเดียวกับผู้พูด ลักษณะ
เช่นนี้เป็นตัวอย่างของสังคมญี่ปุ่นที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มใน (内) และกลุ่มนอก (外) ที่ชัดเจน
ดังนั้น กลุ่มใน (内) จึงหมายถึง คนหรือกลุ่มคนที่ผู้พูดสนิทสนม เช่น คนในครอบครัว เพื่อน รวมถึง
คนที่ทำางานในสถานที่เดียวกัน อาจไม่ได้สนิทสนมกันแต่กล่าวถึงขณะที่สนทนากับคนนอกสถานที่ทำางาน
ของตน ซึ่งนับเป็นคนกลุ่มนอก (外) ของตน ดังนั้น กลุ่มนอก (外) จึงหมายถึง คนหรือกลุ่มคนที่ผู้พูด
ไม่ค่อยสนิทสนมด้วยเช่นคนที่ไม่เคยรู้จักหรือเพิ่งจะรู้จักกันคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวตนเองหรือไม่ใช่คนใน
สถานที่ทำางานตนเอง ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
1. 《 ABC 社の受付で》
DEF 社の社員 : 人材部の野村様とお会いしたいのですが。
(พนักงานบริษัท DEF : อยากจะขอพบกับคุณโนะมุระฝ่ายบุคคลหน่อยครับ)
ABC 社の受付 : 野村はただ今外出しております。
(ประชาสัมพันธ์บริษัท ABC : โนะมุระขณะนี้กำาลังออกไปข้างนอกค่ะ)
2. 《 ABC 社で》
社員 : 社長は来週の会議にご出席なさいますか。
(พนักงานบริษัท : ท่านประธานจะเข้าร่วมประชุมสัปดาห์หน้าไหมคะ)
社長 : いえ、私は用があって出られないので、田村部
長に行ってもらうことにしました。
(ประธานบริษัท : เผอิญผมติดธุระเข้าร่วมไม่ได้จึงให้หัวหน้าแผนกทะมุระ
เข้าแทนนะ)
じんざいぶ
6
จากตัวอย่างที่ 1 เป็นการใช้ภาษาถ่อมตนต่อบุคคลอื่นที่เป็นคนนอกบริษัทตน และใช้ภาษาถ่อมตน
กับการกระทำาของบุคคลในบริษัทตนต่อคนนอกบริษัท ถึงแม้คนในบริษัทตนจะเป็นเจ้านายก็ตาม สำาหรับ
ตัวอย่างที่ 2 เป็นการใช้ภาษายกย่องการกระทำาของบุคคลที่อาวุโสกว่าตนในบริษัทเดียวกัน กรณีที่สนทนา
กันเฉพาะคนภายในบริษัท
สรุป การเรียนภาษาญี่ปุ่น ผู้เรียนจะพูดภาษาญี่ปุ่นได้ดี ได้เก่ง และเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้อย่างถ่องแท้นั้น
จำาเป็นต้องรู้และเข้าใจทั้งภาษาที่เป็นรูปแบบไวยากรณ์และภาษาที่คนญี่ปุ่นใช้สนทนาในสังคมในหน่วยงาน
หรือองค์กรต่าง ๆ และในชีวิตประจำาวันอย่างเป็นธรรมชาติ ตลอดจนต้องรู้และเข้าใจวัฒนธรรม วิธีการคิด
ของคนญี่ปุ่นขนบธรรมเนียมประเพณีของคนญี่ปุ่นการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จำาเป็นต้องใช้เวลาและประสบการณ์
ในการฝึกฝนที่มากพอจึงจะเข้าใจและสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างเป็นธรรมชาติ
2. ประเภทของภาษาสุภาพ
ภาษาสุภาพ (敬語) ในภาษาญี่ปุ่น แบ่งได้ 4 ประเภท1
คือ คำายกย่อง (尊敬語) คำาถ่อมตนแสดงการ
ยกย่อง (謙譲語) คำาถ่อมตนแสดงความสุภาพ (丁重語) และคำาสุภาพ (丁寧語)
2.1 คำายกย่อง(尊敬語)เป็นคำาที่ผู้พูดใช้กล่าวถึงการกระทำาเรื่องราวของฝ่ายตรงข้ามที่อาวุโสมากกว่า
ตน ทั้งด้านวัยวุฒิ คุณวุฒิ หรือผู้ที่ยังไม่สนิทสนม
คำายกย่องมีรูปคำาที่สามารถใช้ได้หลากหลายลักษณะดังนี้
2.1.1 รูปคำากริยาพิเศษ ดังตัวอย่างในตารางที่ 1 ต่อไปนี้
そ ん け い ご
けんじょう ご てい ねい ご
そんけい ご
1
แหล่งอ้างอิง : ยูตากะ คูซานางิริ, 2552 : 12
7
ตารางที่ 1
※ คิดสักนิด : おいでになる เป็นรูปยกย่องรูปพิเศษของคำากริยา 「来る」 และ 「いる」
※ คิดสักนิด : คำากริยาที่มีเครื่องหมาย ✰ แสดงอยู่ ดังเช่น いらっしゃる✰、おっしゃる✰、なさる✰、
くださる✰ กรณีจะผันเป็นรูป 「ます」 จะไม่ผันตามกฎ แต่จะผันดังนี้
いらっしゃいます、おっしゃいます、なさいます、くださいます✰
กริยาเดิม กริยารูปพิเศษ ความหมาย
行く/来る/いる
飲む/食べる
言う
知っている
着る
寝る
見る
くれる
する
いらっしゃる✰/おいでになる
召し上がる
おっしゃる✰
ご存知です
お召しになっている
(ใช้เฉพาะแสดงสภาพขณะสวมใส่เท่านั้น)
お休みになる
ご覧 になる
くださる✰
なさる✰
ไป, มา, อยู่
ดื่ม, รับประทาน
พูด
รู้จัก
สวมใส่
นอน
ดู
ให้มา
ทำา
らん
ตัวอย่างประโยค เช่น
1. いつ チェンマイへいらっしゃいましたか。 (ท่านมาเชียงใหม่เมื่อไรคะ)
2. 失礼ですが、お名前は何とおっしゃいますか。 (ขอโทษนะคะ ท่านชื่ออะไรคะ)
3. 教師 A : 先生、先週の日曜日にはテニスをなさいましたか。
(ครู A : อาจารย์ได้เล่นเทนนิสเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วไหมครับ)
教師 B : いいえ、忙しくて、できませんでした。先生はなさいましたか。
(ครู B : ไม่ครับ ยุ่งเลยไม่ได้เล่นครับ อาจารย์ล่ะครับได้เล่นไหมครับ)
8
คำากริยาเดิมในตารางที่ 1 กรณีที่อยู่ในรูปคำากริยาเสริม สามารถทำาเป็นรูปยกย่องรูปพิเศษได้ดังนี้
~ていく、~てくる、~ている รูปยกย่อง ~ていらっしゃる
~てみる รูปยกย่อง ~てご覧になる
2.1.2 รูปผันคำากริยา お + Vますになる ตัวอย่างการผันคำากริยารูปยกย่องดังตารางที่2ต่อไปนี้
ตารางที่ 2
กริยาเดิม รูปผัน お + Vますになる ความหมาย
使う
すわる
帰る
やすむ
お使いになる
おすわりになる
お帰りになる
お帰りになる
ใช้
นั่ง
กลับ
หยุด, พัก
ตัวอย่างประโยค เช่น
1. 部長はお疲れになった時、いつも散歩をなさいます。
(ตอนที่หัวหน้าฝ่ายเหนื่อย ท่านจะเดินเล่นเป็นประจำา)
2. 社長は毎日、新聞をお読みになりますか。
(ท่านประธานครับ ท่านอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันหรือเปล่าครับ)
คำากริยาในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนเป็นรูปยกย่องโดยการผัน ดังตารางที่ 2 นี้ ยกเว้น
คำากริยาที่มีรูปคำากริยาพิเศษ ดังตารางที่ 1 จะไม่นิยมใช้รูปการผันนี้ได้ แต่บางคำาใช้ได้ทั้ง 2 ลักษณะ
ดังเช่น
คำากริยา 「飲む」 ใช้ได้ทั้ง 「召し上がる」 และ 「お飲みになる」 แต่มักนิยมใช้รูปคำากริยาพิเศษ คือ
「召し上がる」 มากกว่า
นอกจากนี้ยังมีคำากริยาที่ไม่สามารถผันเป็นรูปยกย่องโดยรูป お + Vますになる ได้ คือ คำากริยา
ที่กรณีผันเป็นรูป ます แล้ว หน้า ます เป็นเสียง /i/ หรือ /e/ และมีแค่ 1 พยางค์ ดังเช่น
います จะไม่มีรูป X おいになります
来ます จะไม่มีรูป X お来になります
9
見ます จะไม่มีรูป X お見になります
着ます จะไม่มีรูป X お着になります
寝ます จะไม่มีรูป X お寝になります
คำาเหล่านี้ กรณีใช้เป็นคำายกย่อง จะใช้ในรูปคำากริยาพิเศษ ดังข้อ 2.1.1 คือ
います รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ おいでになります
来ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ おいでになります
見ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ ご覧になります
着ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ お召しになっています
(ใช้เฉพาะแสดงสภาพขณะสวมใส่เท่านั้น)
寝ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ お休みになります
2.1.3 รูปผันคำากริยา ~ (ら) れる ผันรูปเช่นเดียวกับรูปถูกกระทำา (受け身) คือ
คำากริยากลุ่มที่ 1 จะเปลี่ยนเสียงเป็นเสียง a + れる เช่น
いく → 行かれる、飲む → 飲まれる
คำากริยากลุ่มที่ 2 อยู่ในรูป ~られる เช่น
食べる → 食べられる
คำากริยากลุ่มที่ 3
来る → 来られる และ ~する  → ~される
ตัวอย่างประโยค เช่น
1. 田中さんのお父さんは3年前に亡くなられたそうです。
(ได้ยินว่าคุณพ่อของคุณทะนะกะเสียชีวิตเมื่อ 3 ปก่อน)
2. 先生は 先ほど 来られました。
(อาจารย์ได้มาแล้วเมื่อสักครู่นี้ค่ะ)
คำากริยาในภาษาญี่ปุ่นที่เป็นรูปยกย่องโดยการผันเป็นรูป 「~(ら)れる」 หากเปรียบเทียบกับรูปคำา
กริยาพิเศษและรูปการผัน 「お + Vますになる」 แล้ว จะมีระดับความสุภาพน้อยกว่า 2 รูปตามลำาดับ
らん
10
2.1.4 รูปผันคำากริยา お/ご + Vください คำายกย่องรูปแบบนี้ มักนิยมใช้เป็นคำาเตือนให้
ระมัดระวัง หรือใช้เป็นคำาแนะนำา ขอร้องในสถานที่สาธารณะเพื่อผลประโยชน์ของอีกฝ่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. 《駅で》危ないですから、黄色い線の内側にお下がりください。
((ที่สถานีรถไฟ) เนื่องจากอันตราย กรุณาถอยลงมาในเส้นสีเหลืองด้วยครับ)
2. 《駅で》駆け込み乗車は危険ですから、おやめください。
((ที่สถานีรถไฟ) การวิ่งขึ้นรถไฟอันตรายมาก กรุณางดเว้นด้วยครับ)
3. 《空港のカウンターで》パスポートと航空券をお見せください。
((ที่เคาน์เตอร์สนามบิน) ขอดูหนังสือเดินทางและตั๋วเครื่องบินด้วยครับ)
4. 《店で》どうぞおかけください。
((ที่ร้าน) เชิญนั่งครับ)
5. 《デパートで》紳士服売り場へは、エレベーターをご利用ください。
((ที่ห้างสรรพสินค้า) ท่านที่จะไปแผนกเสื้อผ้าสุภาพบุรุษ กรุณาใช้บริการลิฟต์ค่ะ)
6. ここにあるものはどうぞご自由にお使いください。
(สิ่งของที่มีอยู่ในที่นี้ เชิญหยิบใช้ได้ตามสะดวกค่ะ)
きいろ せん うち がわ
か こ じょうしゃ
くうこう こうくうけん
し ん し ふ く う
きけん
แต่ไม่นิยมใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นการร้องขอให้คนอื่นทำาอะไรเพื่อตนเองฝ่ายเดียว เช่น
(X)先先、私の作文をお直しください。
เนื่องจากสำานวน 「 ~ください」 จะมีความหมายแฝงเชิงบังคับด้วย จึงไม่สามารถใช้ในการขอร้อง
เพื่อตนเองได้ กรณีนี้หากเปลี่ยนเป็น 「先先、私の作文を直してくださいませんか。」 ซึ่งมีความหมายแสดง
การร้องขออย่างสุภาพ ก็จะสามารถใช้ได้
※ คิดสักนิด : คำากริยาที่มีความหมายแสดงการกระทำาเชิงลบที่ไม่สามารถแสดงการยกย่องได้ เช่น
คำาว่า 盗む (ขโมย) หรือ 殴る (ชก, ต่อย) 刺す (แทง, จี้) คำาเหล่านี้ไม่มีรูปพิเศษยกย่องและไม่สามารถ
ผันคำากริยาให้เป็นรูปยกย่องใด ๆ ได้
ぬす なぐ さ

More Related Content

What's hot

สูตรแคลคูลัส
สูตรแคลคูลัสสูตรแคลคูลัส
สูตรแคลคูลัส
Manode Boonpeng
 
สูตรอินทิเกรต และ ดิฟ
สูตรอินทิเกรต และ ดิฟสูตรอินทิเกรต และ ดิฟ
สูตรอินทิเกรต และ ดิฟ
Trae Treesien
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
Dashodragon KaoKaen
 
พันธุเทคโน
พันธุเทคโนพันธุเทคโน
พันธุเทคโน
Wichai Likitponrak
 
ปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
เกษรา จุ้งลก
 

What's hot (20)

แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplayแบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
 
สูตรแคลคูลัส
สูตรแคลคูลัสสูตรแคลคูลัส
สูตรแคลคูลัส
 
การแก้อสมการเชิงเส้น3
การแก้อสมการเชิงเส้น3การแก้อสมการเชิงเส้น3
การแก้อสมการเชิงเส้น3
 
สรุปสูตรตรีโกณมิติ
สรุปสูตรตรีโกณมิติสรุปสูตรตรีโกณมิติ
สรุปสูตรตรีโกณมิติ
 
ปลายภาค คณิต ม.5 เทอม 1 ฉบับ 1
ปลายภาค คณิต ม.5 เทอม 1 ฉบับ 1ปลายภาค คณิต ม.5 เทอม 1 ฉบับ 1
ปลายภาค คณิต ม.5 เทอม 1 ฉบับ 1
 
สูตรอินทิเกรต และ ดิฟ
สูตรอินทิเกรต และ ดิฟสูตรอินทิเกรต และ ดิฟ
สูตรอินทิเกรต และ ดิฟ
 
Pediatric dose from angthong hospital
Pediatric dose from angthong hospital Pediatric dose from angthong hospital
Pediatric dose from angthong hospital
 
การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
 
31202 final532
31202 final53231202 final532
31202 final532
 
03. ใบงาน 5 ปรับ
03. ใบงาน 5 ปรับ03. ใบงาน 5 ปรับ
03. ใบงาน 5 ปรับ
 
เฉลย O net ม.3 ปี 56
เฉลย O net ม.3 ปี 56เฉลย O net ม.3 ปี 56
เฉลย O net ม.3 ปี 56
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
พันธุเทคโน
พันธุเทคโนพันธุเทคโน
พันธุเทคโน
 
Project Presentation
Project PresentationProject Presentation
Project Presentation
 
ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์
ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์
ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์
 
ปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ปกวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
 
Pat2 มี.ค. 57
Pat2 มี.ค. 57Pat2 มี.ค. 57
Pat2 มี.ค. 57
 
Gsp สำหรับมัธยม Geometer's Sketchpad
Gsp สำหรับมัธยม Geometer's SketchpadGsp สำหรับมัธยม Geometer's Sketchpad
Gsp สำหรับมัธยม Geometer's Sketchpad
 
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันแรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740336099

  • 2. ภาษาสุภาพ (敬語) 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาสุภาพในภาษาญี่ปุ่น 2. ประเภทของภาษาสุภาพ 2.1 คำายกย่อง (尊敬語) 2.1.1 รูปคำากริยาพิเศษ 2.1.2 รูปผันคำากริยา お + Vますになる 2.1.3 รูปผันคำากริยา ~(ら)れる 2.1.4 รูปผันคำากริยา お/ご + Vください 2.2 คำาถ่อมตนแสดงการยกย่อง (謙譲語) 2.2.1 รูปคำากริยาพิเศษ 2.2.2 รูปผันคำากริยา お/ご + Vますする/いたす 2.3 คำาถ่อมตนแสดงความสุภาพ (丁重語) 2.3.1 รูปคำากริยาพิเศษ 2.3.2 รูปผันคำากริยากลุ่มที่ 3 Vますいたす 2.4 คำาสุภาพ (丁寧語) 2.4.1 รูปการเปลี่ยนคำา 2.4.2 รูปการใช้ お หรือ ご นำาหน้าคำานามหรือคำาคุณศัพท์ 3. คำาที่ใช้ตามหลังชื่อเพื่อแสดงความสุภาพ 4. คำาพูดหรือสำานวนภาษาสุภาพในสถานการณ์ที่เป็นทางการหรือในที่สาธารณชน 5. สำานวนภาษาสุภาพในการเขียนอีเมล 6. ลักษณะประโยคที่ไม่ใช้ภาษาสุภาพ お仕事は 何をなさって いらっしゃいますか えっと 。。。。 どう言えば いいでしょう?
  • 3. 2 1. คำวามรูเบื้องตนำเกี่ยวกับภาษาสุภาพในำภาษาญี่ปุนำ ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่สำาคัญอย่างหนึ่ง การใช้ภาษายังแสดงถึงมารยาททางสังคม ของบุคคล หากบุคคลใดใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับกาลเทศะ ก็จะได้รับการประเมินจากสังคม ว่าเป็นผู้มีมารยาทในการสื่อสารที่ดี แต่หากใช้ภาษาไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็อาจจะถูกมองจากสังคม ว่าเป็นบุคคลที่ไม่รู้กาลเทศะหรือขาดมารยาทที่ดีทางสังคมได้ ดังนั้น การใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาสุภาพ ในภาษาญี่ปุ่นนั้นผู้พูดจะต้องมีความระมัดระวังและพิจารณาอย่างถ้วนถี่ว่ากำาลังสนทนาอยู่กับใครสถานที่ใด ในสถานการณ์ใดหรือเวลาใดโดยเลือกใช้ภาษาสุภาพให้ถูกต้องและเหมาะสมกับฝ่ายตรงข้ามที่สนทนาด้วย การกำาหนดสถานภาพทางสังคมของบุคคลในสังคมญี่ปุ่นนั้นมีปจจัยกำาหนดที่หลากหลายเช่นตำาแหน่ง หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ ซึ่งบุคคลคนหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพหรือหลายบทบาทในสังคม ดังนั้น ในการสนทนา ผู้พูดจะต้องคำานึงถึงสถานภาพทางสังคมของฝ่ายตรงข้าม พิจารณาเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้อง และคำานึงถึงระดับภาษาที่เหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และกาลเทศะด้วย ระดับภาษาสุภาพในภาษาญี่ปุ่นมีดังต่อไปนี้ 「~だ 」 หรือ 「~である」 เป็นภาษาเขียนรูปธรรมดา 「~です」 เป็นภาษาพูดรูปสุภาพที่เป็นทางการ 「~でございます」 เป็นภาษาสุภาพรูปถ่อมตน 「~でいらっしゃいます」 เป็นภาษาสุภาพรูปยกย่อง นอกจากนี้ “เพศ” ยังเป็นอีกปจจัยหนึ่งที่ทำาให้มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่แตกต่างกันของผู้หญิงและผู้ชาย สาเหตุที่ทำาให้มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันนั้น อาจสืบเนื่องมาจากประเทศญี่ปุ่นในอดีตที่ปกครองโดยโชกุน Tokugawa ได้จัดระบบการปกครองโดยแบ่งคนออกเป็น 4 ชนชั้น คือ ซามูไร ชาวนา ช่างฝมือ และพ่อค้า ในแต่ละชนชั้นผู้หญิงจะมีฐานะตำ่ากว่าผู้ชายและต้องเคารพผู้ชายในฐานะที่เป็นผู้นำาการแสดงความเคารพ นอกจากการปฏิบัติตนให้สุภาพอ่อนโยนและนอบน้อมต่อผู้ชายแล้วผู้หญิงจะต้องใช้ภาษาที่นุ่มนวลสุภาพ จะมีทั้งรูปแสดงการยกย่องฝ่ายตรงข้ามและรูปถ่อมตน ภาษาสุภาพ หรือในภาษาญี่ปุ่นใช้คำาว่า 「敬語」 เป็นภาษาที่ใช้เพื่อแสดงความเคารพยกย่องต่อ อีกฝ่ายขณะเดียวกันก็เป็นการถ่อมตนด้วยโดยที่ฝ่ายตรงข้ามมักจะเป็นผู้ที่มีอาวุโสกว่าตนเช่นครูอาจารย์ ประธานบริษัท หัวหน้างาน นอกจากนี้ภาษาสุภาพก็ยังนิยมใช้กับผู้ที่พบเจอเป็นครั้งแรก หรือผู้ที่ยังไม่รู้จัก หรือยังไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน
  • 4. 3 การใช้ภาษาสุภาพในภาษาญี่ปุ่น ดังเช่นสถานการณ์การชักชวนในกรณีที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก มักจะใช้ภาษาในการกล่าวชักชวนดังนี้ 「ご一緒にお飲みになりませんか」 แต่เมื่อรู้จักกันและคุ้นเคยกันบ้าง ก็จะค่อย ๆ ลดระดับภาษาเป็นรูปสุภาพทั่ว ๆ ไป เช่น 「一緒に飲みませんか」 เมื่อสนิทสนมกันมากขึ้น จนเป็นเพื่อนกันก็จะเปลี่ยนเป็นภาษาพูดธรรมดาเช่น「一緒に飲もう」 หลังจากที่ได้รู้จักและสนิทสนมกันแล้ว หากยังใช้ภาษาสุภาพต่อกัน แสดงให้เห็นว่าคู่สนทนานั้นมีเหตุผลอื่นที่ทำาให้ต้องใช้ภาษาสุภาพต่อกัน ดังเช่นตัวอย่างบทสนทนาระหว่างเพื่อนชายและหญิงต่อไปนี้ 男 : その髪型、変だよ。 (ทรงผมนั่น... แปลก ๆ นะ) 女 : ?????? 男 : あ、明日家に来る時にさ・・・。 (อะ ตอนที่จะมาบ้านฉันพรุ่งนี้...) 男 : ごめん!髪型素敵だよ!。 (ขอโทษ ! ทรงผมดูดีนะ !) 男 : なんで敬語使うんだよ!!!。 (ทำาไมใช้ภาษาสุภาพอย่างนั้นล่ะ !!!) 女 : 時間がないかもしれませんので、伺えるかどうか・・・。 (จะไปได้หรือไม่... เพราะว่าอาจจะไม่มีเวลา) 女 : おわかりになりませんか? (ไม่เข้าใจหรือคะ) 女: もう遅いわよ! (ช้าไปแล้วจ้ะ !) ดังตัวอย่างบทสนทนา ทั้ง 2 คนเป็นเพื่อนสนิทกัน ซึ่งปกติจะใช้ภาษาพูดธรรมดาในการสนทนา ในที่นี้ จะเห็นได้ว่ามีบางประโยคที่ผู้หญิงใช้ภาษาสุภาพ เพื่อแสดงให้เพื่อนชายรู้ว่าตนเองมีความรู้สึกไม่พอใจ หรือโกรธต่อคำาทักทายของเพื่อนชาย かみがた うかが へん すてき
  • 5. 4 สรุปก็คือ ภาษาสุภาพ ไม่ใช่สิ่งที่นำามาใช้เพียงเพราะว่าจะแสดงความเคารพต่อฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น แต่สามารถนำามาใช้ในการแสดงระยะห่างกับคู่สนทนาได้ดังตัวอย่างข้างต้นในสังคมคนญี่ปุ่นภาษาหรือวิธี การพูดจะถูกกำาหนดด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือภาษาสุภาพเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแสดงทางภาษาที่สื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ การใช้ภาษาสุภาพได้อย่างถูกต้องนั้น จึงเป็นสิ่งสำาคัญที่จะดำารงรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม ได้อย่างราบรื่น ดังตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพในที่ทำางานในสถานการณ์ต่อไปนี้ อรุณีเป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง หัวหน้าฝ่ายได้โทรศัพท์ เข้ามาถามถึงประธานบริษัท อรุณีรับสาย ดังบทสนทนาต่อไปนี้ 部長 : 社長はいらっしゃる。 (หัวหน้าฝ่าย : ท่านประธานอยู่ไหม) アリニー : ええ、いらっしゃいます。 (อรุณี : ค่ะ อยู่ค่ะ) ต่อมามีคนจากบริษัทอื่นโทรศัพท์มาหาประธานบริษัท แต่คราวนี้ อรุณีตอบฝ่ายตรงข้าม ดังบทสนทนาต่อไปนี้ 他社の人 : 田中社長はいらっしゃいますか。 (คนจากบริษัทอื่น : ท่านประธานทะนะกะอยู่ไหมครับ) アリニー : いいえ、社長は今おりませんが…。 (อรุณี : ประธานไม่อยู่ค่ะ) ※ คิดสักนิด : คำาว่า 「いらっしゃいます」 เป็นคำายกย่องที่ใช้กับการกระทำาของผู้ที่อาวุโสกว่าหรือ ผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกันส่วนคำาว่า「おります」 เป็นคำาถ่อมตนที่ใช้กับการกระทำาของตนหรือกลุ่มของตน ต่อผู้ที่อาวุโสกว่าหรือผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน จากบทสนทนาข้างต้นจะเห็นว่าอรุณีใช้คำายกย่อง「いらっしゃいます」 เมื่อกล่าวถึงการกระทำาของประธาน บริษัทกับหัวหน้าฝ่ายซึ่งอยู่บริษัทเดียวกันขณะเดียวกันได้ใช้คำาถ่อมตน「おりません」 เมื่อกล่าวถึงการกระทำา ของประธานบริษัทตนเองกับคนจากบริษัทอื่นเพราะถือว่าประธานบริษัทและตัวผู้ที่รับสายเป็นบุคคลที่ทำางาน
  • 6. 5 ในบริษัทเดียวกัน ต้องใช้คำาพูดถ่อมตนกับการกระทำาของประธานบริษัทด้วยเช่นกัน กรณีเช่นนี้จะใช้ภาษา รูปธรรมดาที่แสดงถึงความสนิทสนมกับประธานบริษัท เช่น คำาว่า 「いないです」 หรือจะใช้ภาษารูปยกย่อง ประธานบริษัท ด้วยการใช้คำาว่า 「いらっしいません」 ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการเสียมารยาทต่อฝ่ายตรงข้าม และยังแสดงถึงการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องตามกาลเทศะ จะเห็นว่า ในสังคมญี่ปุ่นดังเช่นบริษัทที่มีคนหลายระดับ กล่าวคือ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงาน บริษัททั่วไป หากสนทนาระหว่างกันภายในบริษัท จะพิจารณาการใช้ภาษาสุภาพตามระดับความอาวุโส มากน้อยและ/หรือตามระดับตำาแหน่งหน้าที่การงาน หากแต่เป็นการสนทนากับคนนอกบริษัท และกล่าวถึง การกระทำาของคนในบริษัทตน แม้บุคคลนั้นจะเป็นประธานบริษัทที่มีอาวุโสและตำาแหน่งสูงสุดก็ตาม จะต้องใช้ภาษาถ่อมตนกับการกระทำานั้น เพราะถือว่าคนในบริษัทเป็นกลุ่มในเช่นเดียวกับผู้พูด ลักษณะ เช่นนี้เป็นตัวอย่างของสังคมญี่ปุ่นที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มใน (内) และกลุ่มนอก (外) ที่ชัดเจน ดังนั้น กลุ่มใน (内) จึงหมายถึง คนหรือกลุ่มคนที่ผู้พูดสนิทสนม เช่น คนในครอบครัว เพื่อน รวมถึง คนที่ทำางานในสถานที่เดียวกัน อาจไม่ได้สนิทสนมกันแต่กล่าวถึงขณะที่สนทนากับคนนอกสถานที่ทำางาน ของตน ซึ่งนับเป็นคนกลุ่มนอก (外) ของตน ดังนั้น กลุ่มนอก (外) จึงหมายถึง คนหรือกลุ่มคนที่ผู้พูด ไม่ค่อยสนิทสนมด้วยเช่นคนที่ไม่เคยรู้จักหรือเพิ่งจะรู้จักกันคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวตนเองหรือไม่ใช่คนใน สถานที่ทำางานตนเอง ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ 1. 《 ABC 社の受付で》 DEF 社の社員 : 人材部の野村様とお会いしたいのですが。 (พนักงานบริษัท DEF : อยากจะขอพบกับคุณโนะมุระฝ่ายบุคคลหน่อยครับ) ABC 社の受付 : 野村はただ今外出しております。 (ประชาสัมพันธ์บริษัท ABC : โนะมุระขณะนี้กำาลังออกไปข้างนอกค่ะ) 2. 《 ABC 社で》 社員 : 社長は来週の会議にご出席なさいますか。 (พนักงานบริษัท : ท่านประธานจะเข้าร่วมประชุมสัปดาห์หน้าไหมคะ) 社長 : いえ、私は用があって出られないので、田村部 長に行ってもらうことにしました。 (ประธานบริษัท : เผอิญผมติดธุระเข้าร่วมไม่ได้จึงให้หัวหน้าแผนกทะมุระ เข้าแทนนะ) じんざいぶ
  • 7. 6 จากตัวอย่างที่ 1 เป็นการใช้ภาษาถ่อมตนต่อบุคคลอื่นที่เป็นคนนอกบริษัทตน และใช้ภาษาถ่อมตน กับการกระทำาของบุคคลในบริษัทตนต่อคนนอกบริษัท ถึงแม้คนในบริษัทตนจะเป็นเจ้านายก็ตาม สำาหรับ ตัวอย่างที่ 2 เป็นการใช้ภาษายกย่องการกระทำาของบุคคลที่อาวุโสกว่าตนในบริษัทเดียวกัน กรณีที่สนทนา กันเฉพาะคนภายในบริษัท สรุป การเรียนภาษาญี่ปุ่น ผู้เรียนจะพูดภาษาญี่ปุ่นได้ดี ได้เก่ง และเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้อย่างถ่องแท้นั้น จำาเป็นต้องรู้และเข้าใจทั้งภาษาที่เป็นรูปแบบไวยากรณ์และภาษาที่คนญี่ปุ่นใช้สนทนาในสังคมในหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ และในชีวิตประจำาวันอย่างเป็นธรรมชาติ ตลอดจนต้องรู้และเข้าใจวัฒนธรรม วิธีการคิด ของคนญี่ปุ่นขนบธรรมเนียมประเพณีของคนญี่ปุ่นการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จำาเป็นต้องใช้เวลาและประสบการณ์ ในการฝึกฝนที่มากพอจึงจะเข้าใจและสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างเป็นธรรมชาติ 2. ประเภทของภาษาสุภาพ ภาษาสุภาพ (敬語) ในภาษาญี่ปุ่น แบ่งได้ 4 ประเภท1 คือ คำายกย่อง (尊敬語) คำาถ่อมตนแสดงการ ยกย่อง (謙譲語) คำาถ่อมตนแสดงความสุภาพ (丁重語) และคำาสุภาพ (丁寧語) 2.1 คำายกย่อง(尊敬語)เป็นคำาที่ผู้พูดใช้กล่าวถึงการกระทำาเรื่องราวของฝ่ายตรงข้ามที่อาวุโสมากกว่า ตน ทั้งด้านวัยวุฒิ คุณวุฒิ หรือผู้ที่ยังไม่สนิทสนม คำายกย่องมีรูปคำาที่สามารถใช้ได้หลากหลายลักษณะดังนี้ 2.1.1 รูปคำากริยาพิเศษ ดังตัวอย่างในตารางที่ 1 ต่อไปนี้ そ ん け い ご けんじょう ご てい ねい ご そんけい ご 1 แหล่งอ้างอิง : ยูตากะ คูซานางิริ, 2552 : 12
  • 8. 7 ตารางที่ 1 ※ คิดสักนิด : おいでになる เป็นรูปยกย่องรูปพิเศษของคำากริยา 「来る」 และ 「いる」 ※ คิดสักนิด : คำากริยาที่มีเครื่องหมาย ✰ แสดงอยู่ ดังเช่น いらっしゃる✰、おっしゃる✰、なさる✰、 くださる✰ กรณีจะผันเป็นรูป 「ます」 จะไม่ผันตามกฎ แต่จะผันดังนี้ いらっしゃいます、おっしゃいます、なさいます、くださいます✰ กริยาเดิม กริยารูปพิเศษ ความหมาย 行く/来る/いる 飲む/食べる 言う 知っている 着る 寝る 見る くれる する いらっしゃる✰/おいでになる 召し上がる おっしゃる✰ ご存知です お召しになっている (ใช้เฉพาะแสดงสภาพขณะสวมใส่เท่านั้น) お休みになる ご覧 になる くださる✰ なさる✰ ไป, มา, อยู่ ดื่ม, รับประทาน พูด รู้จัก สวมใส่ นอน ดู ให้มา ทำา らん ตัวอย่างประโยค เช่น 1. いつ チェンマイへいらっしゃいましたか。 (ท่านมาเชียงใหม่เมื่อไรคะ) 2. 失礼ですが、お名前は何とおっしゃいますか。 (ขอโทษนะคะ ท่านชื่ออะไรคะ) 3. 教師 A : 先生、先週の日曜日にはテニスをなさいましたか。 (ครู A : อาจารย์ได้เล่นเทนนิสเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วไหมครับ) 教師 B : いいえ、忙しくて、できませんでした。先生はなさいましたか。 (ครู B : ไม่ครับ ยุ่งเลยไม่ได้เล่นครับ อาจารย์ล่ะครับได้เล่นไหมครับ)
  • 9. 8 คำากริยาเดิมในตารางที่ 1 กรณีที่อยู่ในรูปคำากริยาเสริม สามารถทำาเป็นรูปยกย่องรูปพิเศษได้ดังนี้ ~ていく、~てくる、~ている รูปยกย่อง ~ていらっしゃる ~てみる รูปยกย่อง ~てご覧になる 2.1.2 รูปผันคำากริยา お + Vますになる ตัวอย่างการผันคำากริยารูปยกย่องดังตารางที่2ต่อไปนี้ ตารางที่ 2 กริยาเดิม รูปผัน お + Vますになる ความหมาย 使う すわる 帰る やすむ お使いになる おすわりになる お帰りになる お帰りになる ใช้ นั่ง กลับ หยุด, พัก ตัวอย่างประโยค เช่น 1. 部長はお疲れになった時、いつも散歩をなさいます。 (ตอนที่หัวหน้าฝ่ายเหนื่อย ท่านจะเดินเล่นเป็นประจำา) 2. 社長は毎日、新聞をお読みになりますか。 (ท่านประธานครับ ท่านอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันหรือเปล่าครับ) คำากริยาในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนเป็นรูปยกย่องโดยการผัน ดังตารางที่ 2 นี้ ยกเว้น คำากริยาที่มีรูปคำากริยาพิเศษ ดังตารางที่ 1 จะไม่นิยมใช้รูปการผันนี้ได้ แต่บางคำาใช้ได้ทั้ง 2 ลักษณะ ดังเช่น คำากริยา 「飲む」 ใช้ได้ทั้ง 「召し上がる」 และ 「お飲みになる」 แต่มักนิยมใช้รูปคำากริยาพิเศษ คือ 「召し上がる」 มากกว่า นอกจากนี้ยังมีคำากริยาที่ไม่สามารถผันเป็นรูปยกย่องโดยรูป お + Vますになる ได้ คือ คำากริยา ที่กรณีผันเป็นรูป ます แล้ว หน้า ます เป็นเสียง /i/ หรือ /e/ และมีแค่ 1 พยางค์ ดังเช่น います จะไม่มีรูป X おいになります 来ます จะไม่มีรูป X お来になります
  • 10. 9 見ます จะไม่มีรูป X お見になります 着ます จะไม่มีรูป X お着になります 寝ます จะไม่มีรูป X お寝になります คำาเหล่านี้ กรณีใช้เป็นคำายกย่อง จะใช้ในรูปคำากริยาพิเศษ ดังข้อ 2.1.1 คือ います รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ おいでになります 来ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ おいでになります 見ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ ご覧になります 着ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ お召しになっています (ใช้เฉพาะแสดงสภาพขณะสวมใส่เท่านั้น) 寝ます รูปยกย่องกริยาพิเศษคือ お休みになります 2.1.3 รูปผันคำากริยา ~ (ら) れる ผันรูปเช่นเดียวกับรูปถูกกระทำา (受け身) คือ คำากริยากลุ่มที่ 1 จะเปลี่ยนเสียงเป็นเสียง a + れる เช่น いく → 行かれる、飲む → 飲まれる คำากริยากลุ่มที่ 2 อยู่ในรูป ~られる เช่น 食べる → 食べられる คำากริยากลุ่มที่ 3 来る → 来られる และ ~する  → ~される ตัวอย่างประโยค เช่น 1. 田中さんのお父さんは3年前に亡くなられたそうです。 (ได้ยินว่าคุณพ่อของคุณทะนะกะเสียชีวิตเมื่อ 3 ปก่อน) 2. 先生は 先ほど 来られました。 (อาจารย์ได้มาแล้วเมื่อสักครู่นี้ค่ะ) คำากริยาในภาษาญี่ปุ่นที่เป็นรูปยกย่องโดยการผันเป็นรูป 「~(ら)れる」 หากเปรียบเทียบกับรูปคำา กริยาพิเศษและรูปการผัน 「お + Vますになる」 แล้ว จะมีระดับความสุภาพน้อยกว่า 2 รูปตามลำาดับ らん
  • 11. 10 2.1.4 รูปผันคำากริยา お/ご + Vください คำายกย่องรูปแบบนี้ มักนิยมใช้เป็นคำาเตือนให้ ระมัดระวัง หรือใช้เป็นคำาแนะนำา ขอร้องในสถานที่สาธารณะเพื่อผลประโยชน์ของอีกฝ่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. 《駅で》危ないですから、黄色い線の内側にお下がりください。 ((ที่สถานีรถไฟ) เนื่องจากอันตราย กรุณาถอยลงมาในเส้นสีเหลืองด้วยครับ) 2. 《駅で》駆け込み乗車は危険ですから、おやめください。 ((ที่สถานีรถไฟ) การวิ่งขึ้นรถไฟอันตรายมาก กรุณางดเว้นด้วยครับ) 3. 《空港のカウンターで》パスポートと航空券をお見せください。 ((ที่เคาน์เตอร์สนามบิน) ขอดูหนังสือเดินทางและตั๋วเครื่องบินด้วยครับ) 4. 《店で》どうぞおかけください。 ((ที่ร้าน) เชิญนั่งครับ) 5. 《デパートで》紳士服売り場へは、エレベーターをご利用ください。 ((ที่ห้างสรรพสินค้า) ท่านที่จะไปแผนกเสื้อผ้าสุภาพบุรุษ กรุณาใช้บริการลิฟต์ค่ะ) 6. ここにあるものはどうぞご自由にお使いください。 (สิ่งของที่มีอยู่ในที่นี้ เชิญหยิบใช้ได้ตามสะดวกค่ะ) きいろ せん うち がわ か こ じょうしゃ くうこう こうくうけん し ん し ふ く う きけん แต่ไม่นิยมใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นการร้องขอให้คนอื่นทำาอะไรเพื่อตนเองฝ่ายเดียว เช่น (X)先先、私の作文をお直しください。 เนื่องจากสำานวน 「 ~ください」 จะมีความหมายแฝงเชิงบังคับด้วย จึงไม่สามารถใช้ในการขอร้อง เพื่อตนเองได้ กรณีนี้หากเปลี่ยนเป็น 「先先、私の作文を直してくださいませんか。」 ซึ่งมีความหมายแสดง การร้องขออย่างสุภาพ ก็จะสามารถใช้ได้ ※ คิดสักนิด : คำากริยาที่มีความหมายแสดงการกระทำาเชิงลบที่ไม่สามารถแสดงการยกย่องได้ เช่น คำาว่า 盗む (ขโมย) หรือ 殴る (ชก, ต่อย) 刺す (แทง, จี้) คำาเหล่านี้ไม่มีรูปพิเศษยกย่องและไม่สามารถ ผันคำากริยาให้เป็นรูปยกย่องใด ๆ ได้ ぬす なぐ さ