SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
2008 
ซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติ 
[CU Textile Design] 
ทีมพัฒนาโครงการ 
นายณัฐ ศรีกฤษณพล 
นางสาวอัจฉริยา วิเศษเกษม 
นายอาชว์ สรรพอาษา 
อาจารย์ที่ปรึกษา 
โครงการ 
ผศ.ดร พิษณุ คนองชัยยศ 
หัวหน้าภาควิชา 
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 
จุฬาลงกรณ์ 
มหาวิทยาลัย 
รศ.ดร.สาธิต วงศ์ประทีป
1 หลักการและเหตุผล 
อุตสาหกรรมแฟชัน ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้า 
และเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว 
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานแฟชัน ไม่ต่ำกว่า 10,207 โรงงาน คนงาน ประมาณ 1.58 ล้านคน และมี 
มูลค่าการส่งออกในปี 2545 ประมาณ 346,822.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของ GDP 
ปัญหาที่ประสบของอุตสาหกรรมแฟชันในปัจจุบัน คือ ปัญหาแนวโน้มการส่งออกที่ลดลงอย่าง 
ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยปัจจัยของการถดถอย ได้แก่ ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้ 
รับจ้างผลิต หรือ โออีเอ็ม (Original Equipment Manufacture: OEM) ผลิตสินค้าคุณภาพระดับล่าง 
และไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีการแข่งขันสูงขึ้นจากประเทศที่มีต้นทุนและค่าจ้างแรงงานต่ำ เช่น จีน 
เวียดนามและอินโดนีเซีย เป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริม 
อุตสาหกรรมแฟชัน จึงได้มีมติเห็นชอบในกิจกรรมการเปิดตัวโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชัน โดยคำสั่ง 
จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างธุรกิจ จากการที่ประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดดเด่นด้านแฟชัน และ 
เพื่อให้ตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก งบประมาณและรายได้ รวมทั้ง 
เป็นศูนย์กลางแฟชันอย่างแท้จริง 
หนึ่งในกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าว คือการวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้ 
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้น การ 
เพิ่มศักยภาพของขั้นตอนการออกแบบลายผ้าสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มได้อย่างสูง 
จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเครื่องมือในลักษณะโปรแกรมจำลองลายผ้าสามมิติขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาขีด 
ความสามารถในการออกแบบลายผ้าสำหรับนักออกแบบหรือดีไซเนอร์ ให้ผลิตสินค้าที่มีรูปแบบและ 
คุณภาพระดับสากล อีกทั้งยังลดระยะเวลา ค้นทุน และความผิดพลาดในการผลิต 
การออกแบบลายผ้า (Textile design) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคนิค การผลิต และ 
ความคิดสร้างสรรค์ ให้ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งลวดลายผ้าในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท 
คือ ลวดลายที่เกิดจากสี และลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย หากลวดลายที่เกิดจากสีนั้นหลุด 
ไป ผ้าก็ยังคงเป็นผืนผ้าและใช้ประโยชน์ได้ เรียกลวดลายประเภทนี้ว่า ลวดลายตกแต่ง (Decorative 
design) เกิดจากการย้อม และพิมพ์พลิกแพลงแบบต่างๆ ส่วนลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย 
หากดึงเอาเส้นด้าย ที่เป็นลวดลายออก ลายผ้าบริเวณนั้นจะเสื่อมสภาพไป ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ 
เรียกว่าลวดลายโครงสร้าง (Structural) ซึ่งเกิดจากการทอ
การออกแบบสิ่งทอนี้ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุดิบ อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการ 
ตกแต่ง แล้วจึงเริ่มออกแบบลวดลายผ้าซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนที่จะตัดสินว่า 
ผ้าจะสวยงามและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน จึงต้องอาศัย 
ผู้ชำนาญเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งโปรแกรมจำลองลายผ้าสามมิติ จะช่วยให้ผู้ผลิตเห็น 
โครงร่างของลายผ้าที่ออกแบบไว้ ในลักษณะเสมือนจริง เป็น สามมิติ เพื่อให้เห็นจุดบกพร่องของการ 
ออกแบบนั้นๆ อย่างชัดเจน และสามารถแก้ไขได้โดยสะดวก ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งเป็นการ 
ลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และยังสนับสนุนการเชื่อมโยงวงจรการผลิตให้มีศักยภาพในภาคธุรกิจ 
อุตสาหกรรมมากขึ้น 
ในปัจจุบัน มีซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถใช้งานในการออกแบบลายผ้าได้ เช่น Photoshop หรือการ 
จำลองสามมิติโดยโปรแกรมมายา (Maya) หรือ ทรีดีสตูดิโอแม๊กซ์ (3D Studio Max) รวมทั้ง อราห์วีฟ 
แคด แคม (Aearah Weave CAD CAM) ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองลายผ้าโดยเฉพาะ แต่โปรแกรม 
ดังกล่าวอาจทำให้ผู้ผลิตต้องใช้ต้นทุนทางด้านเวลาสูงยิ่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาและอบรบโปรแกรมหลาย 
โปรแกรมประกอบกัน รวมทั้งต้องอาศัยความชำนาญมากกว่า เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ ที่อำนวยความ 
สะดวก ในการออกแบบลายผ้าโดยเฉพาะ อีกทั้งมีปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ (license) ทำให้มีต้นทุนใน 
การผลิตสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า โปรแกรมออกแบบลายผ้าสามมิติ สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่าง 
ครบถ้วน และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมวงการอุตสาหกรรมแฟชันของประเทศไทยซึ่งเป็น 
อุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกด้วย 
2 สาระสำคัญของโครงการ 
โปรแกรมสำหรับแปลงภาพร่างลายผ้า หรือภาพลายผ้าจริงแบบสองมิติเป็นภาพสามมิติแบบนูน 
ต่ำ หรือเป็นแบบร่างลายผ้า โดยประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ ที่ไม่ต้องใช้เครื่องทอผ้า 
หรือเครื่องปักในการปักลายผ้าจริง ใช้เพียงการประมวลผลโดยโปรแกรมนี้เท่านั้น โดยโปรแกรมนี้ถูก 
ออกแบบให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) 
โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาให้สนับสนุนกระบวนการออกแบบลายผ้า ซึ่งผู้ออกแบบลายผ้าหรือผู้ใช้ 
ทั่วไปๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านลายผ้ามากนักสามารถเห็นผลลัพธ์ของการออกแบบได้ในทันที ไม่ต้อง 
เสียเวลาในการปักลายผ้าจริงออกมาเป็นชิ้นงานต้นแบบก่อน ซึ่งบางครั้ง การผลิตชิ้นงานต้นแบบอาจเสีย 
ค่าใช้จ่ายสูง 
ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชันเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศไทย 
รองลงมาจากอุตสาหกรรมการเกษตร รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมทางด้านแฟชันโดยมีการ 
เปิดตัวโครงการ "กรุงเทพฯ เมืองแฟชัน" ขึ้น ส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมแฟชันคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ
เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งขั้นตอนในการผลิตนั้นส่งผลอย่างมากต่อความสวยงาม และคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 
และเครื่องนุ่งห่ม การใช้งานโปรแกรมที่มีความสามารถทางด้านการออกแบบลายผ้าในปัจจุบันนั้น ยังมี 
ขีดจำกัดในหลายๆ อย่าง ทำให้ต้นทุนการผลิตทางด้านเวลาสูง ยกตัวอย่างเช่น การใช้บุคคลากรที่มี 
ความสามารถทางด้านการออกแบบลายผ้า ผู้ชำนาญการด้านการผลิต และการปักลาย ข้อจำกัดทางด้าน 
เวลาตั้งแต่การออกแบบลายผ้า จนถึงการผลิตลายผ้าออกมาเป็นต้นแบบ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดทางด้าน 
ลิขสิทธิ์ของโปรแกรมที่นำมาใช้ในการออกแบบอีกด้วย 
หากสามารถเห็นผลลัพธ์ของการออกแบบลายผ้าได้ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบลายผ้า 
เหมือนกับการสร้างต้นแบบสำเร็จออกมาหลังจากการออกแบบลายผ้าแล้วนั้น จะทำให้สามารถสร้างลาย 
ผ้าจริงได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะมีคุณภาพทัดเทียมกับการสร้างต้นแบบจริง และที่สำคัญคือ 
ทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนในการผลิตงานทางด้านสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มอย่างมีนัยสำคัญ 
นอกจากนี้ โปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows 
XP) จึงสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 
มาตรฐานสามารถประมวลผลผลลัพธ์โปรแกรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้ยังมีการ 
พัฒนาอยู่ในรูปแบบของ Open Source เพื่อให้ผู้ที่สนใจ สามารถนำไปพัฒนา และศึกษาแนวคิดการ 
ทำงานต่อได้อีกด้วย 
ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสนับสนุนกระบวนการออกแบบลายผ้านี้จะมีการกำหนด 
ตารางเวลาการพัฒนาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ มีรายละเอียดการทำงานดังต่อไปนี้ 
1. รวบรวม และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่สามารถใช้โปรแกรมเข้าช่วยในการทำงาน 
2. ศึกษารูปแบบ และขั้นตอนในการผลิตลายต่างๆ 
3. เก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการทำงาน 
4. กำหนดข้อจำกัดของโปรแกรมที่จะทำการพัฒนา 
5. วิเคราะห์โปรแกรมที่จะทำการพัฒนา 
6. ออกแบบการทำงานของโปรแกรมที่จะพัฒนา 
7. พัฒนาโปรแกรม และควบคุมคุณภาพของโปรแกรม 
8. ประมวลผล และทดสอบโปรแกรมที่ได้พัฒนา 
9. นำโปรแกรมไปใช้งานจริง
1/6/2008 15/6/2008 29/6/2008 13/7/2008 27/7/2008 10/8/2008 24/8/2008 7/9/2008 21/9/2008 5/10/2008 19/10/2008 2/11/2008 16/11/2008 30/11/2008 
1. รวบรวม และศึกษาข้อมูล 
2. ศึกษาขั้นตอนการทำงาน 
3. เก็บรวบรวมข้อมูลอนื่ๆ 
4. กำหนดข้อจำกัดของโปรแกรม 
5. วิเคราะห์โปรแกรม 
6. ออกแบบการทำงานของโปรแกรม 
7. พัฒนา และควบคุมคุณภาพ 
8. ประมวลผล และทดสอบ 
9. นำโปรแกรมไปใช้งานจริง 
รูปที่ 2-1 แผนภาพแก๊นต์ (Gantt chart) แสดงระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ
3 วัตถุประสงค์ของโครงการ 
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบลายผ้าจากลวดลายที่มีอยู่แล้ว 
2. เพื่อลดระยะเวลาในการออกแบบลายผ้าในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 
3. เพื่อเพิ่มความรวดเร็วของขั้นตอนการผลิตลายผ้าจากลวดลายที่มีอยู่แล้ว 
4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมประยุกต์ ออกแบบลายผ้าที่มีอยู่เดิม 
5. เพื่อลดภาระที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการในการออกแบบลายผ้าในอุตสาหกรรม 
6. เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในระหว่างชั้นตอนการออกแบบ และสร้างลวดลายผ้า 
7. เพื่อเสนอโปรแกรมประยุกต์ที่จะนำมาช่วยในการออกแบบลายผ้าสำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 
8. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของลายผ้าที่จะสามารถนำมาพัฒนากับอุตสาหกรรมในอนาคตได้ 
4 ปัญหาหรือประโยชน์ที่เป็นเหตุผลให้ควรพัฒนาโปรแกรม 
ในกระบวนการออกแบบลายผ้านั้น มีขั้นตอนตั้งแต่การพิจารณาวัตถุดิบในการทำลายผ้า อันได้แก่ 
เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการตกแต่ง การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน ต้องมีผู้ชำนาญงานแต่ละอย่างช่วยกัน 
แม้กระทั่งการจัดจำหน่าย ก็ต้องมีผู้ชำนาญอยู่ด้วย เพื่อให้สิ่งทอนั้นๆ เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภค เมื่อได้ 
วัตถุดิบที่ต้องการแล้วต่อมาจะต้องทำการออกแบบลายผ้าโดยการใช้เส้น และสีให้มีความสัมพันธ์อันอย่าง 
ประณีต ผลที่ออกมาจะทำให้รูปแบบลวดลายนั้นสวยสดงดงาม เมื่อได้รูปแบบของลวดลายออกมาแล้วนั้น 
จะต้องมีการคำนึงถึงคุณภาพ และความสวยงามของลวดลายที่เกิดขึ้นด้วย การสร้างลวดลายให้เห็นจริงได้ 
นั้นจะต้องมีการสร้างต้นแบบของลายผ้า เพื่อที่จะสามารถพิจารณาลายผ้าสำเร็จที่ออกมาได้อย่างถูกต้อง 
ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นหาเครื่องจักรที่ทันสมัยในการทอผ้าให้มีคุณภาพ และมีความแปลกใหม่ 
ในด้านการออกแบบโครงสร้างผ้าโดยรวมไปถึงการคิดค้นผสมเส้นใยใหม่ๆ เพื่อการทอ และการตัดเย็บสวม 
ใส่ให้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการคำนวณการผลิตให้ตรงกับแผนงานหรือเป้าหมายการ 
ผลิต เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดหรือลูกค้า แต่ขบวนการผลิตผ้าประเภทที่ต้องมีการออกแบบ 
ลายปัก และถักนั้น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตยังมีขอบเขต และขีดความสามารถในการทำงานของ 
เครื่องจักรอย่างจำกัด
จากขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบลายจนถึงการจัดวางตัวลายจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอย่าง 
ละเอียดถี่ถ้วน โดยการตรวจสอบนั้นจะต้องทำการตรวจสอบจากต้นแบบของลายผ้าที่ทำการผลิตออกมา 
จริง ซึ่งระยะเวลาในการนำลายผ้าที่ออกแบบมาผลิตจริงนั้นจะต้องใช้เวลานาน ก่อนที่ต้นแบบของลายผ้า 
จะออกมาให้เห็นจริงได้ การนำเครื่องมือเข้าไปช่วยในการออกแบบลายผ้าจึงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรม 
การผลิตเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการออกแบบลายผ้า สามารถเห็นผลการออกแบบ 
ลายผ้าได้ในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งช่วยให้ผู้ออกแบบลายผ้าสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของลายผ้าตามที่ 
ต้องการได้ โปรแกรมที่สร้างขึ้นจะอำนวยความสะดวกต่ออุตสาหกรรมในเรื่องของผลลัพธ์ที่สามารถเห็นได้ 
จริงจากลายผ้าที่ทำการออกแบบ ตลอดจนการนำลายผ้าจริงที่ได้เคยออกแบบไว้มาประยุกต์ใช้กับ 
โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น 
นอกจากนี้โปรแกรมที่พัฒนายังช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลายผ้าที่นำมาใช้งานเพื่อการ 
ออกแบบในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงในการออกแบบต่อไป และเป็นพื้นฐานใน 
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับการออกแบบลายผ้าในอนาคต 
5 เป้าหมายและขอบเขตของโครงการ 
โครงการซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุน 
กระบวนการการออกแบบลายผ้า ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพของกระบวนการออกแบบการปักลาย 
โดยที่โปรแกรมที่จะพัฒนามีความสามารถในการสร้างภาพสามมิติในรูปแบบของภาพนูนต่ำ ได้จาก 
ภาพต้นแบบ ทั้งภาพถ่าย และแบบร่าง และยังความสามารถในการสร้างแบบร่าง จากรูปถ่ายต้นแบบ 
อีกด้วย รวมถึงยังสามารถในการนำออกภาพเป็นไฟล์รูปมาตรฐานอีกด้วย 
ซึ่งโครงการซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติมุ่งเน้นแต่กระบวนการในการจำลอง 
ภาพปักลาย โดยไม่ได้รวมถึงการสร้างและแก้ไขลายผ้า รวมถึงกระบวนการในการตัดเย็บเสื้อผ้า 
นอกจากนี้รูปถ่ายต้นแบบจะต้องมีความเหมาะสมในการใช้งาน เพื่อที่จะให้โปรแกรมสามารถทำงาน 
ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
6 รายละเอียดของโครงการ 
เนื้อเรื่องย่อ 
ก่อนที่ผู้ใช้จะสามารถใช้งานโปรแกรมได้นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการเตรียมอินพุต (Input) ซึ่ง 
ประกอบด้วย 
- ภาพแบบร่างลายผ้า ผู้ใช้สามารถสร้างแบบร่างลายผ้าได้เองจากโปรแกรมสร้างภาพทั่วไป 
หรือ สามารถวาดแบบร่างลายผ้าเอง แล้วทำการสแกน (scan) แบบร่างลายผ้าโดยใช้ 
เครื่องสแกนที่มีความละเอียด 1200 จุดต่อนิ้ว (Dots per inch: dpi) โดยแบบร่างลายผ้านี้ 
จะต้องประกอบด้วยพื้นที่สีขาวที่ล้อมรอบด้วยลายสีดำรูปปิด และมีรูปแบบเป็นไฟล์รูป 
มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ 
- ภาพลายผ้าปัก ผู้ใช้สามารถหาภาพลายผ้าปักได้จากการถ่ายภาพลายผ้าปักจริงในมุมตั้ง 
ฉากกับระนาบผ้า หรือผู้ใช้สามารถสแกน (scan) ภาพลายผ้าปักจริงโดยใช้เครื่องสแกนได้ 
โดยภาพลายผ้าปักที่ได้นี้จะต้องมีความละเอียดอย่างต่ำ 1200 จุดต่อนิ้ว (Dots per inch: 
dpi) 
เมื่อผู้ใช้เข้ามาสู่หน้าจอหลักการทำงานของโปรแกรม ผู้ใช้สามารถเลือกฟังก์ชันการทำงานได้ว่า 
ต้องการที่จะใช้งานในรูปแบบใด ฟังก์ชันที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานในโปรแกรมนั้นมีอยู่ด้วยกันจำนวน 
สองฟังก์ชันหลักๆ คือ Sketch to Model และ Pic to Model 
นอกจากฟังก์ชันทั้งสองแล้ว หน้าจอการใช้งานของโปรแกรมจะประกอบไปด้วยขั้นตอนในการใช้ 
งานโปรแกรม โดยจะอธิบายเป็นลำดับขั้นตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ของการทำงานออกมา เพื่อทำ 
ให้ผู้ใช้เกิดความสะดวก และความรวดเร็วในการทำงาน ตลอดจนสร้างความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม 
สัดส่วนของส่วนต่อประสานผู้ใช้งานโปรแกรมจะมีขนาดพอเหมาะกับผู้ใช้งาน เพื่อทำให้ผู้ใช้ไม่เกิดความ 
ยากลำบากในการใช้งาน สัญลักษณ์ที่เลือกใช้มีความชัดเจนเป็นรูปแบบมาตรฐานของโปรแกรมที่ใช้งาน 
ทั่วไป ผู้ใช้สามารถเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้องไม่สับสนกับสัญลักษณ์อื่น ผู้ใช้สามารถบันทึกผลการ 
ทำงานที่สร้างจากโปรแกรมได้ โดยผลลัพธ์จะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพมาตรฐาน และไฟล์ภาพสามมิติใน 
รูปแบบภาพนูนต่ำ ซึ่งแสดงการขั้นตอนการทำงาน ดังรูปที่ 6-3
แบบร่างลายผ้า 
Sketch to 
Model 
ภาพสามมิติ 
รูปที่ 6-1 Sketch to Model 
Pic to Model 
รูปภาพจากผ้าที่ปักไว้แล้ว แบบร่างลายผ้า 
ภาพสามมิติ 
รูปที่ 6-1 Pic to Model
รูปที่ 6-3 Flow Chart การทำงาน
เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ 
ใช้ภาษา C# ในการพัฒนา สร้างแบบร่างโดยการใช้ Edge Detection Algorithm เช่น Sobel 
Canny เพื่อนำมาสร้างเป็นแบบร่าง นำผลที่ได้มาทำการลด noise ที่มีอยู่ในรูปภาพ เพื่อทำให้ลายเส้นที่ได้ 
นั้นมีความคมชัดมากยิ่งขึ้น ส่วนการแปลงภาพจากรูปถ่ายเป็นภาพสามมิติ ได้เลือกใช้วิธีการ Shape from 
Shading ซึ่งเป็นการวัดเงาของวัตถุที่อยู่ภายในภาพ เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ ระหว่างระยะทางในแนว 
ลึก แล้วนำค่าที่ได้มาสร้างเป็นโมเดล 3 มิติ เพื่อใช้ในการแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ผ่านทางส่วนต่อประสานผู้ 
ใช้ได้ 
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา 
ทางผู้พัฒนาเลือกใช้ภาษา C# ในการพัฒนา ผ่านIDE Microsoft Visual C# 2008 โดยติดต่อกับ 
API ของ Open GL ในการแสดงผลภาพเป็นสามมิติ
7 รายละเอียดโปรแกรมที่จะพัฒนา 
Input Specfication 
1. แบบร่างภาพลายผ้า เป็นไฟล์รูปมาตรฐาน เช่น JPEG GIF PNG 
2. รูปจากผ้าที่ได้ทำการปักไว้แล้ว โดยจะต้องเป็นรูปที่ถ่ายในมุมตั้งฉากกับระนาบผ้า โดยมีแสง 
เงาที่เหมาะสมเพียงพอ จากต้นกำเนิดแสงเพียงแหล่งเดียว เป็นไฟล์รูปมาตรฐาน เช่น JPEG 
GIF PNG 
Output Specfication 
1. แบบร่างภาพลายผ้า เป็นรูปขนาด 800 x 600 pixels 
2. รูปสามมิติในรูปแบบภาพนูนต่ำ นำมาแสดงผลในขนาด 800 x 600 pixels 
Functional Specification 
1. โปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากการรับภาพร่างของการออกแบบเพื่อนำมาแสดงผลเป็นภาพ 
นูนต่ำ 
2. โปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากการรับภาพของลายผ้าที่ได้ทำการปักแล้วมาแปลงเป็นแบบร่าง 
3. โปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากการรับภาพของลายผ้าที่ได้ทำการปักแล้วมาแสดงผลเป็นภาพ 
นูนต่ำ 
4. โปรแกรมสามารถสนับสนุนการส่งออกไฟล์เป็นรูปแบบ JPEG ได้
โครงสร้างของซอฟต์แวร์ (Design) 
รูปที่ 7-4 โครงสร้างซอฟต์แวร์ 
การออกแบบแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 
1. UI (User Interface) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประสานกับผู้ใช้ โดยในส่วนนี้ทำหน้าที่รับภาพ 
ร่าง หรือ ภาพถ่ายมาจากผู้ใช้ เพื่อนำเข้าสู่ส่วนอื่นๆ 
2. Edge Detection เป็นส่วนที่รับรูปภาพจาก UI เพื่อนำมาเข้า Edge Detection Algorithm เพื่อหา 
เส้นขอบที่มีภายในรูป รวมถึงการลด noise และปรับภาพให้คมชัดขึ้น 
3. Shape from Shading เป็นการใช้ Algorithm สำหรับการหาค่าความลึกของภาพ จากภาพถ่ายที่ 
ได้ เพื่อนำมาสร้างเป็นภาพสามมิติ 
4. Rendering 3D Model เป็นส่วนที่ทำการสร้าง model 3 มิติ เพื่อใช้ในการแสดงผล จากข้อมูลที่มี 
เพื่อนำไปแสดงในส่วนของ UI
ขอบเขตและข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนา 
1.ภาพร่างที่นำเข้ามานั้นจะต้องมีความละเอียดไม่เกิน 1024 x 768 pixels และจะต้องตัดเส้น 
ด้วยสีดำ ที่มีความชัดเจน ไม่มี noise รบกวน 
2. ภาพถ่ายที่จะนำเข้ามาในโปรแกรม จะต้องมีความละเอียดไม่เกิน 1024 x 768 pixels บน 
พิ้นหลังสีขาว โดยจะต้องเป็นรูปในลักษณะของการถ่ายตรง ซึ่งจะต้องมีความเข้มแสงพอสมควร และไม่ 
สามารถใช้กับวัตถุที่มีความใสได้ 
3. โปรแกรมสามารถใช้ในการออกแบบเฉพาะลายผ้า โดยเฉพาะผ้าปัก และไม่สามารถใช้ในการ 
ออกแบบเสื้อผ้าได้ 
8 บรรณานุกรม (Bibliography) 
[1] Forsyth and Ponce,” Computer Vision: A Modern Approach”, Prentice Hall 2002. 
[2] Prados, E.[Emmanuel], Faugeras, O.D.[Olivier D.], "A rigorous and realistic shape from 
shading method and some of its applications, "INRIARR-5133, March 2004. 
[3] Thomas Funkhouser, Michael Kazhdan, Patrick Min, and Philip Shilane, "Shape-based 
Retrieval and Analysis of 3D Models," Communications of the ACM, 48(6):58-64, June 
2005. 
[4] Ping-Sing Tsai and Mubarak Shah “Shape From Shading Using Linear Approximation” 
Image and Vision Computing, 12:487-498, 1994 
[5] Ruo Zhang and Ping-sing Tsai and James Edwin Cryer and Mubarak Shah “Analysis of 
shape from shading techniques” Computer Vision and Pattern Recognition, pages 337- 
384, June 1994. 
[6] MacEachren, Alan. "GVIS Facilitating Visual Thinking." In How Maps Work: 
Representation, Visualization, and Design, 355-458. New York: The Guilford Press, 
1995.
9 ประวัติและผลงานวิจัยดีเด่นของผู้พัฒนา 
1. นางสาวอัจฉริยา วิเศษเกษม 
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชินี 
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ 
มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 
ประวัติและผลงาน 
- หัวหน้าโครงการ เปิดโลกการอ่านผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ ร่วมกับคณะอาจารย์โรงเรียนราชินี 
- วิทยากรประจำค่ายถึงบิตถึงไบต์ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเพชรบุรี ในความร่วมมือของภาควิชา 
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา 
Macromedia Flash Adobe Photoshop และ Java Programming 
- พัฒนาระบบสารสนเทศให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็น 
หน่วยงานย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการพัฒนาระบบ "Job Request 
Management” 
2. นายณัฐ ศรีกฤษณพล 
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล 
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล 
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ 
มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 
ประวัติและผลงาน 
- เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ประจำปี 2546 
- รองประธานฝ่ายคอมพิวเตอร์ งาน Saint Gabriel’s Colleges Academic Tournament 
ครั้งที่ 4 (SGAT 4th)
- ประธานฝ่ายสวัสดิการ และการจัดการค่ายถึงบิตถึงไบต์ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเพชรบุรี ใน 
ความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 
มหาวิทยาลัย 
- เป็นสตาฟงาน ฝ่ายปฏิคม (สร้างแอฟพลิเคชันสำหรับแผนที่ทั้งหมดในงานจุฬาวิชาการ) ใน 
ปี 2548 
- พัฒนาระบบสารสนเทศให้กับฝ่าย Human Resource ของบริษัท IBM Solution Delivery 
Co., Ltd.ภายใต้ หัวข้อ “Resource Report Project” 
3. นายอาชว์ สรรพอาษา 
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล 
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ 
มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 
ประวัติและผลงาน 
- เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ประจำปี 2546 
- ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนในโครงการโอลิมปิควิชาการ (สอวน. และสสวท.) สาขา 
เคมี 
- ประธานฝ่ายเคมี งาน Saint Gabriel’s Colleges Academic Tournament ครั้งที่ 4 
(SGAT 4th) 
- รองประธานฝ่ายสวัสดิการ และการจัดการค่ายถึงบิตถึงไบต์ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเพชรบุรี ใน 
ความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 
มหาวิทยาลัย 
- พัฒนาระบบสารสนเทศให้กับฝ่าย Human Resource ของบริษัท ITOne Co., Ltd.ภายใต้ 
หัวข้อ “HR Training Tools”

More Related Content

Similar to 499 1

โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7JoyCe Zii Zii
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7Aungkana Na Na
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7JoyCe Zii Zii
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7Aungkana Na Na
 
Future of living (1)
Future of living (1)Future of living (1)
Future of living (1)Pattie Pattie
 
NSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology IndustryNSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology IndustryNSTDA Thailand
 
โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557
โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557
โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557Buslike Year
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภทใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภทPermtrakul Khammoon
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศKrunee Thitthamon
 
Emerging technologies in teaching and learning (2) extend
Emerging technologies in teaching and learning (2) extendEmerging technologies in teaching and learning (2) extend
Emerging technologies in teaching and learning (2) extendPitanya Candy
 
Information Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyInformation Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyBoonlert Aroonpiboon
 
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกBeerii Prasamon
 
ใบความรู้แผนที่ 2
ใบความรู้แผนที่  2ใบความรู้แผนที่  2
ใบความรู้แผนที่ 2Warakon Phommanee
 
โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”
โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”
โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”Mymi Santikunnukan
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์Mymi Santikunnukan
 

Similar to 499 1 (20)

7
77
7
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
 
Future of living (1)
Future of living (1)Future of living (1)
Future of living (1)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
 
NSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology IndustryNSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology Industry
 
Emerging technologies
Emerging technologiesEmerging technologies
Emerging technologies
 
โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557
โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557
โครงการศึกษาดูงานที่ ทีโอที 2557
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภทใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Lesson1
Lesson1Lesson1
Lesson1
 
Emerging technologies in teaching and learning (2) extend
Emerging technologies in teaching and learning (2) extendEmerging technologies in teaching and learning (2) extend
Emerging technologies in teaching and learning (2) extend
 
Information Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyInformation Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge society
 
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก
 
ใบความรู้แผนที่ 2
ใบความรู้แผนที่  2ใบความรู้แผนที่  2
ใบความรู้แผนที่ 2
 
โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”
โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”
โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”
 
Emerging
EmergingEmerging
Emerging
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
 

499 1

  • 1. 2008 ซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติ [CU Textile Design] ทีมพัฒนาโครงการ นายณัฐ ศรีกฤษณพล นางสาวอัจฉริยา วิเศษเกษม นายอาชว์ สรรพอาษา อาจารย์ที่ปรึกษา โครงการ ผศ.ดร พิษณุ คนองชัยยศ หัวหน้าภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย รศ.ดร.สาธิต วงศ์ประทีป
  • 2. 1 หลักการและเหตุผล อุตสาหกรรมแฟชัน ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้า และเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานแฟชัน ไม่ต่ำกว่า 10,207 โรงงาน คนงาน ประมาณ 1.58 ล้านคน และมี มูลค่าการส่งออกในปี 2545 ประมาณ 346,822.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของ GDP ปัญหาที่ประสบของอุตสาหกรรมแฟชันในปัจจุบัน คือ ปัญหาแนวโน้มการส่งออกที่ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยปัจจัยของการถดถอย ได้แก่ ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้ รับจ้างผลิต หรือ โออีเอ็ม (Original Equipment Manufacture: OEM) ผลิตสินค้าคุณภาพระดับล่าง และไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีการแข่งขันสูงขึ้นจากประเทศที่มีต้นทุนและค่าจ้างแรงงานต่ำ เช่น จีน เวียดนามและอินโดนีเซีย เป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริม อุตสาหกรรมแฟชัน จึงได้มีมติเห็นชอบในกิจกรรมการเปิดตัวโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชัน โดยคำสั่ง จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างธุรกิจ จากการที่ประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดดเด่นด้านแฟชัน และ เพื่อให้ตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก งบประมาณและรายได้ รวมทั้ง เป็นศูนย์กลางแฟชันอย่างแท้จริง หนึ่งในกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าว คือการวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้น การ เพิ่มศักยภาพของขั้นตอนการออกแบบลายผ้าสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มได้อย่างสูง จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเครื่องมือในลักษณะโปรแกรมจำลองลายผ้าสามมิติขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาขีด ความสามารถในการออกแบบลายผ้าสำหรับนักออกแบบหรือดีไซเนอร์ ให้ผลิตสินค้าที่มีรูปแบบและ คุณภาพระดับสากล อีกทั้งยังลดระยะเวลา ค้นทุน และความผิดพลาดในการผลิต การออกแบบลายผ้า (Textile design) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคนิค การผลิต และ ความคิดสร้างสรรค์ ให้ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งลวดลายผ้าในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ลวดลายที่เกิดจากสี และลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย หากลวดลายที่เกิดจากสีนั้นหลุด ไป ผ้าก็ยังคงเป็นผืนผ้าและใช้ประโยชน์ได้ เรียกลวดลายประเภทนี้ว่า ลวดลายตกแต่ง (Decorative design) เกิดจากการย้อม และพิมพ์พลิกแพลงแบบต่างๆ ส่วนลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย หากดึงเอาเส้นด้าย ที่เป็นลวดลายออก ลายผ้าบริเวณนั้นจะเสื่อมสภาพไป ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เรียกว่าลวดลายโครงสร้าง (Structural) ซึ่งเกิดจากการทอ
  • 3. การออกแบบสิ่งทอนี้ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุดิบ อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการ ตกแต่ง แล้วจึงเริ่มออกแบบลวดลายผ้าซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนที่จะตัดสินว่า ผ้าจะสวยงามและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน จึงต้องอาศัย ผู้ชำนาญเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งโปรแกรมจำลองลายผ้าสามมิติ จะช่วยให้ผู้ผลิตเห็น โครงร่างของลายผ้าที่ออกแบบไว้ ในลักษณะเสมือนจริง เป็น สามมิติ เพื่อให้เห็นจุดบกพร่องของการ ออกแบบนั้นๆ อย่างชัดเจน และสามารถแก้ไขได้โดยสะดวก ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งเป็นการ ลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และยังสนับสนุนการเชื่อมโยงวงจรการผลิตให้มีศักยภาพในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมมากขึ้น ในปัจจุบัน มีซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถใช้งานในการออกแบบลายผ้าได้ เช่น Photoshop หรือการ จำลองสามมิติโดยโปรแกรมมายา (Maya) หรือ ทรีดีสตูดิโอแม๊กซ์ (3D Studio Max) รวมทั้ง อราห์วีฟ แคด แคม (Aearah Weave CAD CAM) ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองลายผ้าโดยเฉพาะ แต่โปรแกรม ดังกล่าวอาจทำให้ผู้ผลิตต้องใช้ต้นทุนทางด้านเวลาสูงยิ่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาและอบรบโปรแกรมหลาย โปรแกรมประกอบกัน รวมทั้งต้องอาศัยความชำนาญมากกว่า เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ ที่อำนวยความ สะดวก ในการออกแบบลายผ้าโดยเฉพาะ อีกทั้งมีปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ (license) ทำให้มีต้นทุนใน การผลิตสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า โปรแกรมออกแบบลายผ้าสามมิติ สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่าง ครบถ้วน และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมวงการอุตสาหกรรมแฟชันของประเทศไทยซึ่งเป็น อุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกด้วย 2 สาระสำคัญของโครงการ โปรแกรมสำหรับแปลงภาพร่างลายผ้า หรือภาพลายผ้าจริงแบบสองมิติเป็นภาพสามมิติแบบนูน ต่ำ หรือเป็นแบบร่างลายผ้า โดยประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ ที่ไม่ต้องใช้เครื่องทอผ้า หรือเครื่องปักในการปักลายผ้าจริง ใช้เพียงการประมวลผลโดยโปรแกรมนี้เท่านั้น โดยโปรแกรมนี้ถูก ออกแบบให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาให้สนับสนุนกระบวนการออกแบบลายผ้า ซึ่งผู้ออกแบบลายผ้าหรือผู้ใช้ ทั่วไปๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านลายผ้ามากนักสามารถเห็นผลลัพธ์ของการออกแบบได้ในทันที ไม่ต้อง เสียเวลาในการปักลายผ้าจริงออกมาเป็นชิ้นงานต้นแบบก่อน ซึ่งบางครั้ง การผลิตชิ้นงานต้นแบบอาจเสีย ค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชันเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศไทย รองลงมาจากอุตสาหกรรมการเกษตร รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมทางด้านแฟชันโดยมีการ เปิดตัวโครงการ "กรุงเทพฯ เมืองแฟชัน" ขึ้น ส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมแฟชันคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ
  • 4. เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งขั้นตอนในการผลิตนั้นส่งผลอย่างมากต่อความสวยงาม และคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม การใช้งานโปรแกรมที่มีความสามารถทางด้านการออกแบบลายผ้าในปัจจุบันนั้น ยังมี ขีดจำกัดในหลายๆ อย่าง ทำให้ต้นทุนการผลิตทางด้านเวลาสูง ยกตัวอย่างเช่น การใช้บุคคลากรที่มี ความสามารถทางด้านการออกแบบลายผ้า ผู้ชำนาญการด้านการผลิต และการปักลาย ข้อจำกัดทางด้าน เวลาตั้งแต่การออกแบบลายผ้า จนถึงการผลิตลายผ้าออกมาเป็นต้นแบบ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดทางด้าน ลิขสิทธิ์ของโปรแกรมที่นำมาใช้ในการออกแบบอีกด้วย หากสามารถเห็นผลลัพธ์ของการออกแบบลายผ้าได้ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบลายผ้า เหมือนกับการสร้างต้นแบบสำเร็จออกมาหลังจากการออกแบบลายผ้าแล้วนั้น จะทำให้สามารถสร้างลาย ผ้าจริงได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะมีคุณภาพทัดเทียมกับการสร้างต้นแบบจริง และที่สำคัญคือ ทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนในการผลิตงานทางด้านสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ โปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) จึงสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ มาตรฐานสามารถประมวลผลผลลัพธ์โปรแกรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้ยังมีการ พัฒนาอยู่ในรูปแบบของ Open Source เพื่อให้ผู้ที่สนใจ สามารถนำไปพัฒนา และศึกษาแนวคิดการ ทำงานต่อได้อีกด้วย ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสนับสนุนกระบวนการออกแบบลายผ้านี้จะมีการกำหนด ตารางเวลาการพัฒนาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ มีรายละเอียดการทำงานดังต่อไปนี้ 1. รวบรวม และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่สามารถใช้โปรแกรมเข้าช่วยในการทำงาน 2. ศึกษารูปแบบ และขั้นตอนในการผลิตลายต่างๆ 3. เก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการทำงาน 4. กำหนดข้อจำกัดของโปรแกรมที่จะทำการพัฒนา 5. วิเคราะห์โปรแกรมที่จะทำการพัฒนา 6. ออกแบบการทำงานของโปรแกรมที่จะพัฒนา 7. พัฒนาโปรแกรม และควบคุมคุณภาพของโปรแกรม 8. ประมวลผล และทดสอบโปรแกรมที่ได้พัฒนา 9. นำโปรแกรมไปใช้งานจริง
  • 5. 1/6/2008 15/6/2008 29/6/2008 13/7/2008 27/7/2008 10/8/2008 24/8/2008 7/9/2008 21/9/2008 5/10/2008 19/10/2008 2/11/2008 16/11/2008 30/11/2008 1. รวบรวม และศึกษาข้อมูล 2. ศึกษาขั้นตอนการทำงาน 3. เก็บรวบรวมข้อมูลอนื่ๆ 4. กำหนดข้อจำกัดของโปรแกรม 5. วิเคราะห์โปรแกรม 6. ออกแบบการทำงานของโปรแกรม 7. พัฒนา และควบคุมคุณภาพ 8. ประมวลผล และทดสอบ 9. นำโปรแกรมไปใช้งานจริง รูปที่ 2-1 แผนภาพแก๊นต์ (Gantt chart) แสดงระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ
  • 6. 3 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบลายผ้าจากลวดลายที่มีอยู่แล้ว 2. เพื่อลดระยะเวลาในการออกแบบลายผ้าในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 3. เพื่อเพิ่มความรวดเร็วของขั้นตอนการผลิตลายผ้าจากลวดลายที่มีอยู่แล้ว 4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมประยุกต์ ออกแบบลายผ้าที่มีอยู่เดิม 5. เพื่อลดภาระที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการในการออกแบบลายผ้าในอุตสาหกรรม 6. เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในระหว่างชั้นตอนการออกแบบ และสร้างลวดลายผ้า 7. เพื่อเสนอโปรแกรมประยุกต์ที่จะนำมาช่วยในการออกแบบลายผ้าสำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 8. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของลายผ้าที่จะสามารถนำมาพัฒนากับอุตสาหกรรมในอนาคตได้ 4 ปัญหาหรือประโยชน์ที่เป็นเหตุผลให้ควรพัฒนาโปรแกรม ในกระบวนการออกแบบลายผ้านั้น มีขั้นตอนตั้งแต่การพิจารณาวัตถุดิบในการทำลายผ้า อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการตกแต่ง การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน ต้องมีผู้ชำนาญงานแต่ละอย่างช่วยกัน แม้กระทั่งการจัดจำหน่าย ก็ต้องมีผู้ชำนาญอยู่ด้วย เพื่อให้สิ่งทอนั้นๆ เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภค เมื่อได้ วัตถุดิบที่ต้องการแล้วต่อมาจะต้องทำการออกแบบลายผ้าโดยการใช้เส้น และสีให้มีความสัมพันธ์อันอย่าง ประณีต ผลที่ออกมาจะทำให้รูปแบบลวดลายนั้นสวยสดงดงาม เมื่อได้รูปแบบของลวดลายออกมาแล้วนั้น จะต้องมีการคำนึงถึงคุณภาพ และความสวยงามของลวดลายที่เกิดขึ้นด้วย การสร้างลวดลายให้เห็นจริงได้ นั้นจะต้องมีการสร้างต้นแบบของลายผ้า เพื่อที่จะสามารถพิจารณาลายผ้าสำเร็จที่ออกมาได้อย่างถูกต้อง ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นหาเครื่องจักรที่ทันสมัยในการทอผ้าให้มีคุณภาพ และมีความแปลกใหม่ ในด้านการออกแบบโครงสร้างผ้าโดยรวมไปถึงการคิดค้นผสมเส้นใยใหม่ๆ เพื่อการทอ และการตัดเย็บสวม ใส่ให้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการคำนวณการผลิตให้ตรงกับแผนงานหรือเป้าหมายการ ผลิต เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดหรือลูกค้า แต่ขบวนการผลิตผ้าประเภทที่ต้องมีการออกแบบ ลายปัก และถักนั้น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตยังมีขอบเขต และขีดความสามารถในการทำงานของ เครื่องจักรอย่างจำกัด
  • 7. จากขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบลายจนถึงการจัดวางตัวลายจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน โดยการตรวจสอบนั้นจะต้องทำการตรวจสอบจากต้นแบบของลายผ้าที่ทำการผลิตออกมา จริง ซึ่งระยะเวลาในการนำลายผ้าที่ออกแบบมาผลิตจริงนั้นจะต้องใช้เวลานาน ก่อนที่ต้นแบบของลายผ้า จะออกมาให้เห็นจริงได้ การนำเครื่องมือเข้าไปช่วยในการออกแบบลายผ้าจึงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรม การผลิตเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการออกแบบลายผ้า สามารถเห็นผลการออกแบบ ลายผ้าได้ในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งช่วยให้ผู้ออกแบบลายผ้าสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของลายผ้าตามที่ ต้องการได้ โปรแกรมที่สร้างขึ้นจะอำนวยความสะดวกต่ออุตสาหกรรมในเรื่องของผลลัพธ์ที่สามารถเห็นได้ จริงจากลายผ้าที่ทำการออกแบบ ตลอดจนการนำลายผ้าจริงที่ได้เคยออกแบบไว้มาประยุกต์ใช้กับ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้โปรแกรมที่พัฒนายังช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลายผ้าที่นำมาใช้งานเพื่อการ ออกแบบในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงในการออกแบบต่อไป และเป็นพื้นฐานใน การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับการออกแบบลายผ้าในอนาคต 5 เป้าหมายและขอบเขตของโครงการ โครงการซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุน กระบวนการการออกแบบลายผ้า ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพของกระบวนการออกแบบการปักลาย โดยที่โปรแกรมที่จะพัฒนามีความสามารถในการสร้างภาพสามมิติในรูปแบบของภาพนูนต่ำ ได้จาก ภาพต้นแบบ ทั้งภาพถ่าย และแบบร่าง และยังความสามารถในการสร้างแบบร่าง จากรูปถ่ายต้นแบบ อีกด้วย รวมถึงยังสามารถในการนำออกภาพเป็นไฟล์รูปมาตรฐานอีกด้วย ซึ่งโครงการซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติมุ่งเน้นแต่กระบวนการในการจำลอง ภาพปักลาย โดยไม่ได้รวมถึงการสร้างและแก้ไขลายผ้า รวมถึงกระบวนการในการตัดเย็บเสื้อผ้า นอกจากนี้รูปถ่ายต้นแบบจะต้องมีความเหมาะสมในการใช้งาน เพื่อที่จะให้โปรแกรมสามารถทำงาน ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  • 8. 6 รายละเอียดของโครงการ เนื้อเรื่องย่อ ก่อนที่ผู้ใช้จะสามารถใช้งานโปรแกรมได้นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการเตรียมอินพุต (Input) ซึ่ง ประกอบด้วย - ภาพแบบร่างลายผ้า ผู้ใช้สามารถสร้างแบบร่างลายผ้าได้เองจากโปรแกรมสร้างภาพทั่วไป หรือ สามารถวาดแบบร่างลายผ้าเอง แล้วทำการสแกน (scan) แบบร่างลายผ้าโดยใช้ เครื่องสแกนที่มีความละเอียด 1200 จุดต่อนิ้ว (Dots per inch: dpi) โดยแบบร่างลายผ้านี้ จะต้องประกอบด้วยพื้นที่สีขาวที่ล้อมรอบด้วยลายสีดำรูปปิด และมีรูปแบบเป็นไฟล์รูป มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ - ภาพลายผ้าปัก ผู้ใช้สามารถหาภาพลายผ้าปักได้จากการถ่ายภาพลายผ้าปักจริงในมุมตั้ง ฉากกับระนาบผ้า หรือผู้ใช้สามารถสแกน (scan) ภาพลายผ้าปักจริงโดยใช้เครื่องสแกนได้ โดยภาพลายผ้าปักที่ได้นี้จะต้องมีความละเอียดอย่างต่ำ 1200 จุดต่อนิ้ว (Dots per inch: dpi) เมื่อผู้ใช้เข้ามาสู่หน้าจอหลักการทำงานของโปรแกรม ผู้ใช้สามารถเลือกฟังก์ชันการทำงานได้ว่า ต้องการที่จะใช้งานในรูปแบบใด ฟังก์ชันที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานในโปรแกรมนั้นมีอยู่ด้วยกันจำนวน สองฟังก์ชันหลักๆ คือ Sketch to Model และ Pic to Model นอกจากฟังก์ชันทั้งสองแล้ว หน้าจอการใช้งานของโปรแกรมจะประกอบไปด้วยขั้นตอนในการใช้ งานโปรแกรม โดยจะอธิบายเป็นลำดับขั้นตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ของการทำงานออกมา เพื่อทำ ให้ผู้ใช้เกิดความสะดวก และความรวดเร็วในการทำงาน ตลอดจนสร้างความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม สัดส่วนของส่วนต่อประสานผู้ใช้งานโปรแกรมจะมีขนาดพอเหมาะกับผู้ใช้งาน เพื่อทำให้ผู้ใช้ไม่เกิดความ ยากลำบากในการใช้งาน สัญลักษณ์ที่เลือกใช้มีความชัดเจนเป็นรูปแบบมาตรฐานของโปรแกรมที่ใช้งาน ทั่วไป ผู้ใช้สามารถเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้องไม่สับสนกับสัญลักษณ์อื่น ผู้ใช้สามารถบันทึกผลการ ทำงานที่สร้างจากโปรแกรมได้ โดยผลลัพธ์จะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพมาตรฐาน และไฟล์ภาพสามมิติใน รูปแบบภาพนูนต่ำ ซึ่งแสดงการขั้นตอนการทำงาน ดังรูปที่ 6-3
  • 9. แบบร่างลายผ้า Sketch to Model ภาพสามมิติ รูปที่ 6-1 Sketch to Model Pic to Model รูปภาพจากผ้าที่ปักไว้แล้ว แบบร่างลายผ้า ภาพสามมิติ รูปที่ 6-1 Pic to Model
  • 10. รูปที่ 6-3 Flow Chart การทำงาน
  • 11. เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ ใช้ภาษา C# ในการพัฒนา สร้างแบบร่างโดยการใช้ Edge Detection Algorithm เช่น Sobel Canny เพื่อนำมาสร้างเป็นแบบร่าง นำผลที่ได้มาทำการลด noise ที่มีอยู่ในรูปภาพ เพื่อทำให้ลายเส้นที่ได้ นั้นมีความคมชัดมากยิ่งขึ้น ส่วนการแปลงภาพจากรูปถ่ายเป็นภาพสามมิติ ได้เลือกใช้วิธีการ Shape from Shading ซึ่งเป็นการวัดเงาของวัตถุที่อยู่ภายในภาพ เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ ระหว่างระยะทางในแนว ลึก แล้วนำค่าที่ได้มาสร้างเป็นโมเดล 3 มิติ เพื่อใช้ในการแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ผ่านทางส่วนต่อประสานผู้ ใช้ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ทางผู้พัฒนาเลือกใช้ภาษา C# ในการพัฒนา ผ่านIDE Microsoft Visual C# 2008 โดยติดต่อกับ API ของ Open GL ในการแสดงผลภาพเป็นสามมิติ
  • 12. 7 รายละเอียดโปรแกรมที่จะพัฒนา Input Specfication 1. แบบร่างภาพลายผ้า เป็นไฟล์รูปมาตรฐาน เช่น JPEG GIF PNG 2. รูปจากผ้าที่ได้ทำการปักไว้แล้ว โดยจะต้องเป็นรูปที่ถ่ายในมุมตั้งฉากกับระนาบผ้า โดยมีแสง เงาที่เหมาะสมเพียงพอ จากต้นกำเนิดแสงเพียงแหล่งเดียว เป็นไฟล์รูปมาตรฐาน เช่น JPEG GIF PNG Output Specfication 1. แบบร่างภาพลายผ้า เป็นรูปขนาด 800 x 600 pixels 2. รูปสามมิติในรูปแบบภาพนูนต่ำ นำมาแสดงผลในขนาด 800 x 600 pixels Functional Specification 1. โปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากการรับภาพร่างของการออกแบบเพื่อนำมาแสดงผลเป็นภาพ นูนต่ำ 2. โปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากการรับภาพของลายผ้าที่ได้ทำการปักแล้วมาแปลงเป็นแบบร่าง 3. โปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากการรับภาพของลายผ้าที่ได้ทำการปักแล้วมาแสดงผลเป็นภาพ นูนต่ำ 4. โปรแกรมสามารถสนับสนุนการส่งออกไฟล์เป็นรูปแบบ JPEG ได้
  • 13. โครงสร้างของซอฟต์แวร์ (Design) รูปที่ 7-4 โครงสร้างซอฟต์แวร์ การออกแบบแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. UI (User Interface) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประสานกับผู้ใช้ โดยในส่วนนี้ทำหน้าที่รับภาพ ร่าง หรือ ภาพถ่ายมาจากผู้ใช้ เพื่อนำเข้าสู่ส่วนอื่นๆ 2. Edge Detection เป็นส่วนที่รับรูปภาพจาก UI เพื่อนำมาเข้า Edge Detection Algorithm เพื่อหา เส้นขอบที่มีภายในรูป รวมถึงการลด noise และปรับภาพให้คมชัดขึ้น 3. Shape from Shading เป็นการใช้ Algorithm สำหรับการหาค่าความลึกของภาพ จากภาพถ่ายที่ ได้ เพื่อนำมาสร้างเป็นภาพสามมิติ 4. Rendering 3D Model เป็นส่วนที่ทำการสร้าง model 3 มิติ เพื่อใช้ในการแสดงผล จากข้อมูลที่มี เพื่อนำไปแสดงในส่วนของ UI
  • 14. ขอบเขตและข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนา 1.ภาพร่างที่นำเข้ามานั้นจะต้องมีความละเอียดไม่เกิน 1024 x 768 pixels และจะต้องตัดเส้น ด้วยสีดำ ที่มีความชัดเจน ไม่มี noise รบกวน 2. ภาพถ่ายที่จะนำเข้ามาในโปรแกรม จะต้องมีความละเอียดไม่เกิน 1024 x 768 pixels บน พิ้นหลังสีขาว โดยจะต้องเป็นรูปในลักษณะของการถ่ายตรง ซึ่งจะต้องมีความเข้มแสงพอสมควร และไม่ สามารถใช้กับวัตถุที่มีความใสได้ 3. โปรแกรมสามารถใช้ในการออกแบบเฉพาะลายผ้า โดยเฉพาะผ้าปัก และไม่สามารถใช้ในการ ออกแบบเสื้อผ้าได้ 8 บรรณานุกรม (Bibliography) [1] Forsyth and Ponce,” Computer Vision: A Modern Approach”, Prentice Hall 2002. [2] Prados, E.[Emmanuel], Faugeras, O.D.[Olivier D.], "A rigorous and realistic shape from shading method and some of its applications, "INRIARR-5133, March 2004. [3] Thomas Funkhouser, Michael Kazhdan, Patrick Min, and Philip Shilane, "Shape-based Retrieval and Analysis of 3D Models," Communications of the ACM, 48(6):58-64, June 2005. [4] Ping-Sing Tsai and Mubarak Shah “Shape From Shading Using Linear Approximation” Image and Vision Computing, 12:487-498, 1994 [5] Ruo Zhang and Ping-sing Tsai and James Edwin Cryer and Mubarak Shah “Analysis of shape from shading techniques” Computer Vision and Pattern Recognition, pages 337- 384, June 1994. [6] MacEachren, Alan. "GVIS Facilitating Visual Thinking." In How Maps Work: Representation, Visualization, and Design, 355-458. New York: The Guilford Press, 1995.
  • 15. 9 ประวัติและผลงานวิจัยดีเด่นของผู้พัฒนา 1. นางสาวอัจฉริยา วิเศษเกษม สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชินี ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ประวัติและผลงาน - หัวหน้าโครงการ เปิดโลกการอ่านผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ ร่วมกับคณะอาจารย์โรงเรียนราชินี - วิทยากรประจำค่ายถึงบิตถึงไบต์ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเพชรบุรี ในความร่วมมือของภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา Macromedia Flash Adobe Photoshop และ Java Programming - พัฒนาระบบสารสนเทศให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็น หน่วยงานย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการพัฒนาระบบ "Job Request Management” 2. นายณัฐ ศรีกฤษณพล สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ประวัติและผลงาน - เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ประจำปี 2546 - รองประธานฝ่ายคอมพิวเตอร์ งาน Saint Gabriel’s Colleges Academic Tournament ครั้งที่ 4 (SGAT 4th)
  • 16. - ประธานฝ่ายสวัสดิการ และการจัดการค่ายถึงบิตถึงไบต์ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเพชรบุรี ใน ความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย - เป็นสตาฟงาน ฝ่ายปฏิคม (สร้างแอฟพลิเคชันสำหรับแผนที่ทั้งหมดในงานจุฬาวิชาการ) ใน ปี 2548 - พัฒนาระบบสารสนเทศให้กับฝ่าย Human Resource ของบริษัท IBM Solution Delivery Co., Ltd.ภายใต้ หัวข้อ “Resource Report Project” 3. นายอาชว์ สรรพอาษา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ประวัติและผลงาน - เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ประจำปี 2546 - ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนในโครงการโอลิมปิควิชาการ (สอวน. และสสวท.) สาขา เคมี - ประธานฝ่ายเคมี งาน Saint Gabriel’s Colleges Academic Tournament ครั้งที่ 4 (SGAT 4th) - รองประธานฝ่ายสวัสดิการ และการจัดการค่ายถึงบิตถึงไบต์ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเพชรบุรี ใน ความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย - พัฒนาระบบสารสนเทศให้กับฝ่าย Human Resource ของบริษัท ITOne Co., Ltd.ภายใต้ หัวข้อ “HR Training Tools”