SlideShare a Scribd company logo
1 of 85
Download to read offline
รายงานผล
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพ
ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
สาหรับนิสิตระดับปริญญาเอก
ณ Communication Studies Department
California State University, Sacramento, USA.
ระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม 2547 – 3 ธันวาคม 2547 (รวม 58 วัน)
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาเอก
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำนำ
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี
โครงสร้างหลักสูตร แบบที่2 (2) ซึ่งนอกจากจะกาหนดให้นิสิตลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่างๆ ไม่
น้อยกว่า 25 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต รวม 61 หน่วยกิตแล้ว ยังกาหนด
ให้นิสิตจะต้องผ่านกระบวนการเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาในระดับนานา
ชาติ โดยมุ่งหวังให้นิสิตได้รับประสบการณ์ ความรู้ในสาขาวิชา ในระดับนานาชาติ และยังเป็นส่วน
สาคัญในการฝึกฝนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตที่สาเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถ มี
ความเชี่ยวชาญ สามารถพัฒนาองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ มีขีดความสามารถในด้านการวิจัย
และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้ตามปรัชญาของหลักสูตร และสามารถนาความรู้ ความ
สามารถและประสบการณ์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาตนเอง หน่วยงานของตน และสังคมได้ทั้งในระดับ
ท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ
ในฐานะนิสิตหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ รุ่น 1 จานวนทั้งหมด 6 คนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการเพิ่มพูนความรู้ด้าน
เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อการศึกษาซึ่งเป็นกระบวนการเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยี
การศึกษาตามหลักสูตร เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม 2547 – 3 ธันวาคม 2547
(รวม 58 วัน) ณ California State University: Sacramento ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นความ
ร่วมมือระหว่างภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Communication Studies Department. California State University: Sacramento ภายใต้การควบคุม
ของรองศาสตราจารย์ดร.สาโรช โศภีรักษ์ และภายใต้การกากับดูแลของ ดร.ศศิฉาย ธนะมัย และ
Professor Dr. Thomas J .Knutson ตลอดระยะเวลาดังกล่าว มีการกาหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้น
ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาทิเช่น การจัดให้เข้าเรียนร่วมกับนิสิตของ
California State University: Sacramento ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา เช่น
Multimedia Authoring, Media Aesthetic หรือ TV Production เป็นต้น นอกจากนั้นยังจัดการ
ฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการใช้งาน Web CT และรวมไปถึงการทัศนศึกษาหน่วยงานต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือ
ศูนย์ผลิตสื่อเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตารวจ เป็นต้น
รายงานฉบับนี้เป็นการรายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวโดยแสดงข้อมูล
กิจกรรมต่างๆ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้รายงานในฐานะที่เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยการอาชีพ
ร้อยเอ็ด และเป็นนิสิตศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางและยังประโยชน์แก่สานักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา และผู้ที่อ่านรายงานฉบับนี้ได้เห็นถึงคุณค่า ประโยชน์ ตลอดจนความเข้าใจและความ
ตั้งใจอันดีของคณาจารย์ในภาควิชาที่กาหนดกิจกรรมดังกล่าวนี้ไว้ในหลักสูตร
คณะนิสิตระดับปริญญาเอก รุ่นที่ 1
สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์
ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์
ประภาส นวลเนตร
สุเกษม อิงคนินันท์
จารุรินทร์ ภู่ระย้า
ทศพร อินทะนิน
สารบัญ
หน้า
คำนำ ก
สำรบัญ ค
กิจกรรมในโครงกำร 1
1. กิจกรรมการเรียนร่วมในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา 1
2. การฝึกอบรมระยะสั้น 6
- Web CT (Web Course Tool) 6
3. การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ 19
4. การศึกษาดูงาน 21
4.1 Central Library, California State University Sacramento 21
4.2 The California Peace Offices Standards and Training 22
4.3 California, Cable & Telecommunication Association 29
4.4 Learning Resources Center, California City College 37
4.5 Public Television Station Channel 6 (KVIE) 47
4.6 California Congress man office, Mr. Robert T.Musi 51
4.7 Commercial Television Channel 3 (KCRA) 52
4.8 CSUS College of Continuing Education 56
4.9 University Media Service and Distance & Distributed Education 57
4.10 Capital Public Radio. California State University Sacramento 68
4.11 Meet University President 73
5. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมและฝึกฝนภาษา 73
สรุป 76
บรรณำนุกรม 77
1
กิจกรรมในโครงการเพิ่มพูนความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อการศึกษา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่กาหนดขึ้นในโครงการเพิ่มพูนความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและ
สื่อการศึกษาในครั้งนี้สามารถจาแนกเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ได้ กิจกรรม คือ
1. การเรียนร่วมในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. การฝึกอบรมระยะสั้น
3. การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ
4. การศึกษาดูงาน
5. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมและฝึกฝนภาษา
กิจกรรมดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมทั้งในด้านเวลา สถานที่ ตลอดจนตัว
บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งนี้เนื่องจากมีระยะเวลาจากัดและบางครั้งวิทยากรติดภารกิจ เพื่อให้เห็นถึงภาพ
ของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน ผู้รายงานขอแยกนาเสนอกิจกรรมแต่ละกิจกรรมใน
ภาพรวมเป็นลาดับ ดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมการเรียนร่วมในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
Communication Studies Department, California State University: Sacramento ได้จัด
ตารางเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 และ4 โดยอนุญาตให้เข้าร่วมเรียนใน
ชั้นเรียน เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อสร้างประสบการณ์และสังเกตการณ์ระบบ วิธีการและ
พฤติกรรมการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา ตามความสนใจของนิสิตโดยมีสภาพเป็น
Visiting Student แต่มีบางวิชาที่มีช่วงเวลาเรียนตรงกัน และบางวิชาผู้สอนได้สั่งงานแก่นักศึกษา
แล้วจึงไม่มีการบรรยายจนกว่าผู้เรียนจะนาเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้กาหนด เป็น
ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม 2547 – 3 ธันวาคม 2547 (รวม 58 วัน) ซึ่ง
ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้
1. Multimedia design and Training
รหัสวิชา Coms154 ผู้สอน Mary Beal, ED.D
2. Multimedia Project Planning and Management
รหัสวิชา Coms184A ผู้สอน Mary Beal, ED.D
3. Introduction to Multimedia Authoring
รหัสวิชา Coms149A ผู้สอน Diego Bonilla, Ph.D
2
4. Advance Multimedia Authoring
รหัสวิชา Coms149B ผู้สอน Diego Bonilla, Ph.D
5. Multimedia Completion
รหัสวิชา Coms154B ผู้สอน Diego Bonilla, Ph.D
6. Audio Production
รหัสวิชา Coms020A ผู้สอน Steve Buss, MFA
7. Non-studio Production
รหัสวิชา Coms128 ผู้สอน Steve Buss, MFA
8. TV Production
รหัสวิชา Coms027A ผู้สอน Paul Cahil, PhD.
9. TV Production Lab
รหัสวิชา Coms027B ผู้สอน Paul Cahil, PhD.
10. Producing and Directing for TV
รหัสวิชา Coms127 ผู้สอน Paul Cahil, PhD.
11. Introduction to Digital Media
รหัสวิชา Coms106 ผู้สอน Ray Koegel, PhD.
12. Media Aesthetic
รหัสวิชา Coms124 ผู้สอน Ray Koegel,PhD
13. Multimedia for WWW
รหัสวิชา Coms144 ผู้สอน Ray Koegel,PhD
14. Advance Capturing and Editing Digital Media
รหัสวิชา Coms126 ผู้สอน Jenny Stark,PhD
15. Practicum in Video Production
รหัสวิชา Coms185 ผู้สอน Jenny Stark,PhD
เนื่องด้วยเวลามีจากัด และบ้างวิชาช่วงเวลาเรียนตรงกัน ในช่วงสัปดาห์แรกทุกคนจึง
พยายามเข้าร่วมชั้นเรียนในทุกๆ วิชาและ เลือกกาหนดวิชาที่จะเข้าเรียนประจาเพื่อประโยชน์แต่ละ
คน โดยเลือกรายวิชาบางวิชาที่ไม่เหมือนกันทุกคน
3
การเข้าศึกษาในรายวิชาต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื้อหาของหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกัน
กับของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ทั้งหลักสูตรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และหลักสูตร
นิเทศาสตร์ โดยเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวกับสื่อได้แก่ การผลิตสื่อทุกชนิด จะมุ่งสู่ระบบดิจิตอล ทั้งสื่อ
ประเภท เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เน้นการ
วางแผนผลิต และทักษะของนักศึกษาในการใช้เครื่องมือ ตลอดจนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน
การผลิตสื่อ จากการสอบถามผู้สอน พบว่าจะต้องมีการสารวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตว่า
ต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะด้านอะไร ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียนส่วนใหญ่
พยายามจัดหาที่มีสมรรถภาพ ศักยภาพ ตลอดจนรูปแบบที่ใกล้เคียงกับการทางานจริง แต่เป็น
อุปกรณ์และเครื่องมือในระดับที่มีราคาไม่สูงมากนัก
ภาพ 1 ภายในห้องเรียนวิชา Coms128 Non-Studio Production โดยอาจารย์ Steve Buss
ใช้อุปกรณ์เพียงกระดานดากับชอล์คเท่านั้น
ในด้านสื่อการสอน ส่วนใหญ่ผู้สอนนิยมใช้คอมพิวเตอร์ Laptop ในการนาเสนอสื่อต่างๆ
แก่ผู้เรียน ทั้งภาพและเสียง และผู้สอนบางท่านใช้เพื่อการทบทวนระหว่างรอเรียน หรือในการสอบ
ทั้งนี้ในห้องเรียนที่มีการใช้งานเป็นประจาจะติดตั้งระบบโสตทัศนูปกรณ์ไว้ถาวรพร้อมคู่มือการใช้
กากับไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ Multimedia Projector ,Audio Amplifier, DVD Player, Video Cassette
Player , Internet LAN เป็นต้น
4
ภาพ 2 Laptop และ Video Projector ที่ใช้ในชั้นเรียน
ภาพ 3 ภายในห้องเรียนวิชา Coms027A TV Production โดยอาจารย์ Paul Cahil ใช้ห้อง
TV Studio เป็นห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์จริง
ด้านเทคนิคการสอน ผู้สอนใช้ทั้งวิธีการบรรยาย การจัดกิจกรรมกลุ่ม และการให้นักศึกษา
เป็นผู้แนะนาเพื่อน ผู้สอนจะมี Course Syllabus ที่แนะนากิจกรรมตลอดภาคเรียน ตลอดจน Course
Material ต่าง ๆ และ Assignment ล่วงหน้าชัดเจน ผู้เรียนจะรู้ว่าต้องมีชิ้นงานอะไรและเวลาส่งงาน
5
ล่วงหน้า ดังนั้นผู้เรียนต้องไปศึกษามาก่อน ในชั้นเรียนจะไม่มีการทบทวนในเนื้อหาดังกล่าว แต่จะ
เป็นการสอนเทคนิคพิเศษ หรือเพิ่มเติมรายละเอียดที่ทันสมัย รวมทั้งตอบข้อสงสัยหรือถกเถียง และ
ความคิดเห็นในเนื้อหาที่ได้กาหนดให้ผู้เรียนได้ไปศึกษามาก่อน ผู้เรียนจึงต้องมีความรับผิดชอบสูง
มาก การสอนด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะเน้นในการสอนใช้งานที่จริงจังในระดับลึก ไม่เน้น
การใช้ Tool ต่าง ๆ มาก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานที่ผู้เรียนสามารถหาศึกษาได้ด้วยตนเอง แต่จะเน้น
การใช้คาสั่งประเภท Script เพื่อให้สามารถใช้งานในระดับสูง ๆ ที่ซับซ้อนได้ซึ่งถือว่าเป็น
ข้อสังเกตที่จะทาให้มีโอกาสในการได้งานทาสูง อนึ่งในการเข้าเรียนหากช้ากว่า 15 นาทีผู้สอนจะ
ปิดประตู และถือเป็นมารยาทที่จะไม่เข้าไปรบกวน
ด้านสื่อการเรียนการสอน ผู้สอนใช้ทั้งสื่อเกือบทุกประเภท โดยเลือกให้สอดคล้องกับ
เนื้อหา และสามารถที่จะใช้ในการสื่อสารกับผู้เรียนได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
รายวิชานั้นๆ เช่น Transparency, Video Tape, DVD Video, PowerPoint รวมทั้งให้นักศึกษาไป
Self Study กับสื่อต่าง ๆ ในห้องสมุด ซึ่งมี Resources Center ที่ได้จัดเตรียม Course Material ตามที่
ผู้สอนแจ้งไว้ให้เป็นพิเศษ
การจัดตารางเรียนไม่มีการกาหนดเวลาพักเที่ยง แต่ละวิชาช่วงเวลาจะห่างกันไม่เกิน 5 นาที
แต่ผู้สอนจะผ่อนปรนให้ประมาณ 15 นาที ชั้นเรียนเป็นแบบเดินเรียน ห้องบรรยายประจาภาคจะใช้
เฉพาะของภาควิชาส่วนห้องปฏิบัติการจะประจาที่ในแต่ละสาขาวิชา แต่มีอาคารเรียนที่เป็น
ส่วนกลาง ห้องปฏิบัติการจะมีช่างเทคนิคประจาห้องคอยดูแล และแก่ไขปัญหาต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่
เข้าเรียนจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้เรียนติดตั้ง หรือลงโปรแกรมก็จะใช้วิธี
แก้ปัญหาโดยการติดตั้งโปรแกรม Deep Freeze ซึ่งวันต่อมาโปรแกรมในเครื่องจะ อยู่ในสภาพเดิม
ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในชั้นเรียนจะใช้วิธีการ Down Load Evaluation Version ซึ่งมี
กาหนดใช้งานประมาณ 1 เดือนหลังจากนั้นก็จะติดตั้งใหม่ ทาให้ไม่ต้องจ่ายค่าโปรแกรมใหม่
ตลอดเวลา แต่จะซื้อโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ไว้โดยเป็น Instructor and Student Version และบางห้อง
มีลักษณะเป็นการจัดซื้อแบบ Education Group License
การบริการผู้เรียนในรายวิชา ผู้เรียนจะได้รับบริการในการเรียนวิชาต่าง ๆ ผ่าน Web CT
รายวิชาต่าง ๆที่อาจารย์จัดทาขึ้น ซึ่งอาจจะจัดทาขึ้นเองผ่าน Course Management System ของ
มหาวิทยาลัย หรือโดยความร่วมมือจาก Instructional Technologist ทั้งนี้จะมีเอกสารคาแนะนาใน
การจัดทา ร่วมทั้งบริการช่วยเหลือและฝึกอบรมจาก Instructional Technology Department เมื่อ
6
นิสิตลงทะเบียนก็จะได้รับ Internet Account โดยอัตโนมัติ นักศึกษาสามารถต่อเข้าระบบ
มหาวิทยาลัยทางโทรศัพท์และระบบ LAN ภายในมหาวิทยาลัย มีระยะเวลา 1 ภาคเรียน ซึ่งส่วน
ใหญ่เป็นระบบ Wireless LAN ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนที่มี Laptop สามารถใช้งานได้ตามจุดต่าง ๆ ใน
มหาวิทยาลัยได้โดยสะดวก เช่น ห้องอาหาร ที่พักริมอาคาร หรือ University Student Union เป็นต้น
ซึ่งนับว่าน่าสนใจและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็นามาใช้แล้ว เพราะไม่ต้องเดินสายใน
มหาวิทยาลัย และระบบจะเป็นระบบปิดให้บริการLog In ได้เฉพาะนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่
ที่มีรหัสเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลของของอาจารย์และนิสิต
จากการได้เข้าร่วมเรียนในรายวิชาต่าง ๆ พบว่ามีสภาพคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยใน
ประเทศไทย จะแตกต่างเฉพาะในแง่แนวคิดของผู้สอนที่พยายามจะถ่ายทอดและเสริมสร้างผู้เรียน
ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ให้เกิดผลกับผู้เรียนทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียมมากที่สุด ส่วนนักศึกษาจะมี
ความรับผิดชอบค่อนข้างสูง
2. การฝึกอบรมระยะสั้น
นอกจากรายวิชาดังกล่าวแล้ว ยังได้รับความกรุณาจาก Professor. Dr. Ray Koegel, PhD.
จัดอบรมการใช้งาน Web CT ให้เฉพาะและให้ทดลองจัดทา Web CT ของมหาวิทยาลัยในฐานะ
Co-Instructor ในวันพุธบ่าย และศุกร์เช้า ครั้งละ 3 ชั่วโมงรวม 6 ครั้ง โดยเรียนรู้โครงสร้างของ
Web CT และเครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดทา Web CT ในแต่ละรายวิชา ซึ่งพบว่ามีความคล้ายคลึงกับ
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาก และได้สอบถามถึงแนวคิดในการเลือกและนาเอา Web Ct มาใช้
ซึ่งพบว่าในมีการพิจารณา ตลอดจนสารวจและทาวิจัยแล้วจึงได้ตัดสินใจเลือกระบบดังกล่าวโดยให้
จัดทาตามเงื่อนไขความต้องการที่มหาวิทยาลัยสารวจพบ อย่างไรก็ตามพบว่ามีอาจารย์เพียง
บางส่วนที่เข้าร่วมจัดทาWeb CT และบางส่วนยังรู้สึกว่าต้องเสียเวลา และยังกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ทาง
ปัญญาอยู่ รวมทั้งบางส่วนยังต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจในงานด้านนี้อยู่ ซึ่งน่าจะเป็นเช่นเดียวกับ
ในประเทศไทย
7
Web CT (Web Course Tool)
วิวัฒนาการทางการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ผ่านมาเป็น
อย่างมาก เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet)
ได้เข้ามามีบทบาทเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งเป็นการบูรณาการวิธีการสอน
โดยการนาเทคโนโลยี ลักษณะ รูปแบบของการใช้ ICT และสื่อต่างๆ มาใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ทาให้ผู้สอนและผู้เรียนต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทและต้องพัฒนา
ทักษะความสามารถของตนเอง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน
ซึ่งเป็นยุค ICT ได้ ส่งผลต่อรูปแบบการเรียนการสอนให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการเรียนแบบผู้เรียน
เป็นจุดศูนย์กลาง และเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน
สาหรับบทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียนในยุค ICT นั้น กิดานันท์ มลิทอง (2548 :
168-169) ได้กล่าวว่า การใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอนทาให้ครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทหน้าที่
จากการเรียนการสอนในห้องแบบเดิมที่มีครูเป็นจุดศูนย์กลางเป็นบทบาทของ
- ผู้จัดการของการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
- ผู้กากับการสอน
- ผู้อานวยความสะดวก
- ผู้ออกแบบ
ส่วนผู้เรียนนั้นจะต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากผู้รับฝ่ายเดียวมาเป็นผู้มีส่วน
ร่วมในการเรียนการสอน สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักคิดในลักษณะต่างๆ ที่ทาให้
เกิดความรู้ที่กว้างและแตกฉานมากขึ้น ไม่คิดแบบอยู่กับที่ แต่ต้องมีความคิดแบบเชื่อมโยง คิดแบบ
สร้างสรรค์และคิดแบบนอกกรอบ (Lateral thinking) คือ ความสามารถที่คิดออกจากความคิดเดิมที่
ครอบงาอยู่เพื่อให้ได้ความคิดใหม่ๆ (กิดานันท์ : 2548,143)
สาหรับรูปแบบการเรียนการสอนในยุค ICT นั้น Stamper (2002 :15) กล่าวถึง
รูปแบบการเรียนแบบผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนว่า หมายถึง การให้ผู้เรียนมีบทบาทใน
กระบวนการเรียนมากกว่าผู้สอน ผู้เรียนจะเป็นจุดสนใจและเป็นบุคคลที่ต้องคานึงถึงมากที่สุดใน
กระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิดและกาหนดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กาหนดการทา
กิจกรรมและมีการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ส่วนผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ให้คาแนะนาและ
8
อานวยความสะดวกเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สาหรับรูปแบบการ
เรียนจะไม่ใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนด้วย
ตนเอง และเรียนรู้แบบการให้ความร่วมมือ และ/หรือ การเรียนตามอัตราการกระทาของตน (self-
paced learning)
การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มากกว่าการ
ร่วมมือ เพราะการเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นการเรียนรู้ทั้งกระบวนการ ผู้เรียนซึ่งอาจจะเป็นทั้งชั้นเรียน
หรือแบ่งกลุ่มกันเองเพื่อร่วมกันประสานความพยายามในการแก้ปัญหา ผู้เรียนอาจสอนกันเอง
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยผู้สอนเข้ามามีบทบาทในลักษณะของผู้ให้คาแนะนาและผู้อานวย
ความสะดวก ผลลัพธ์ที่ได้ทาให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทาร่วมกัน และอาจสร้างเป็นองค์ความรู้
ใหม่ขึ้นมาได้ (Lehtinen and Other : มปป, Tinzmann : 1990, Wiersema : 2000)
เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนทั้งสองลักษณะดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็น
ถึงการความเปลี่ยนแปลงในการได้มาซึ่งสารสนเทศทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถที่จะสืบได้เอง
ด้วยวิธีการและจากสื่อต่างๆ เพื่อนามาใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่
โดยเฉพาะการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ทั้งแบบไม่ต่อเครือข่าย (Stand alone) และระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ (Internet) ซึ่งเป็นสื่อทางด้าน ICT ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระบบ
การศึกษา Walker (1997 : 209) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ร่วมกันไม่สามารถแก้ปัญหาการสร้างทักษะ
ความเข้าใจในระดับสูงและโครงสร้างความรู้ที่ซับซ้อนได้ จึงต้องมีสื่อที่สามารถสร้างการมี
ปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอต่อการเชื่อมโยงความคิดใหม่ที่จะเรียนและความรู้เดิมของผู้เรียนเข้าด้วยกัน
ซึ่งสื่อที่ดีที่สุด คือ คอมพิวเตอร์ โดยใช้ในลักษณะ Computer Supported Collaborative Learning
(CSCL)
การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะระบบเครือข่าย (Internet) นอกจากผู้สอนผู้เรียนจะ
สามารถสืบค้นสารสนเทศทางการศึกษาได้โดยไม่มีข้อจากัดเรื่องระยะทาง ระยะเวลา และสถานที่แล้ว
ยังสามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรื่องการสอนในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นการช่วยสนับสนุน
การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ ทาให้เกิดบรรยากาศทางการเรียนการสอนที่มิได้จากัดเฉพาะ
ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เป็นห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และห้องเรียนไร้พรหมแดน
(Global Classroom) ที่มีการเรียนลักษณะออนไลน์ โดยการใช้ Web page, Web based , Web CT
,WebBoard,Chat, E-mailเป็นต้น
9
Web CT (Web Course Tools) หมายถึง ส่วนประกอบที่สาคัญของ Web-Based
Learning ซึ่งเป็นการรวบรวมสาระการเรียนรู้ ข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ในลักษณะที่เป็น
สภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (virtual learning environment
(VLE)) ข้อมูลและทรัพยากรการเรียนต่างๆ จะถูกจัดเตรียมไว้เป็นโมดูล มีเนื้อหาที่เป็นบทเรียน
แบบฝึกหัด การมอบหมายกิจกรรมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แบบทดสอบ ตลอดจนการ
ประเมินผลการเรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่จากัดเรื่องเวลาและสถานที่
โดยผู้สอนสามารถที่จะประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และผู้เรียนก็สามารถตรวจสอบผลการ
เรียนเพื่อพัฒนาตนเองได้ รวมทั้ง ยังมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทั้งในลักษณะ
การอภิปราย การสนทนาโต้ตอบแบบ Real time ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้สอนกับผู้เรียนได้
ในรูปแบบที่เป็นกลุ่มและเดี่ยว ซึ่งเป็นการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ (E-Learning) ทั้งการเรียนในลักษณะทางไกล และการเรียนแบบปกติ
( http://www.brunel.ac.uk/shssc/webct.htm )
WebCT เป็นสิ่งที่มีความจาเป็นและนิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนของ
อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วโลก รวมทั้ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ California State
University of Sacramento (CSUS) ด้วย ซึ่งได้นา Web CT มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียน
การสอนแบบปกติที่มีการจัดชั้นเรียน โดยผู้สอนจะจัดเตรียมเนื้อหาบทเรียนในรายวิชาต่างๆ ที่มี
การจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษานั้น ในลักษณะที่เป็นโมดูล ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาได้
ตลอดเวลาเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า หรือผู้สอนอาจจะมอบหมายกิจกรรมให้ผู้เรียนทาหรือค้นคว้า
ก่อนเข้าชั้นเรียน หรือเป็นการทบทวน การทาแบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังจากที่ได้เรียนในชั้น
เรียนแล้ว ตลอดจน การประกาศ การแจ้งเรื่องราวต่างๆ การติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน
อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านการใช้
คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนาเสนอเนื้อหาบทเรียน ตลอดจนการสร้าง Web CT ตามรายวิชาที่เปิด
สอนในภาคการศึกษานั้น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่ง CSUS ได้ จัดให้มีการฝึกอบรม
อาจารย์ผู้สอน ในการสร้าง Web CT โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ A Division of
Computing, Communications & Media Services และ Staff Resource Center ในการจัดหลักสูตร
การฝึกอบรม การหาวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้ง สถานที่และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการ
ฝึกอบรม โดยอาจารย์ทุกคนใน CSUS สามารถที่จะเข้ารับการฝึกอบรมหรือไม่ก็ได้ตามความ
10
ต้องการ เมื่ออาจารย์ผู้สอนได้รับการฝึกอบรมแล้ว และต้องการที่จะสร้าง Web CT สาหรับรายวิชา
ของตนเองก็จะติดต่อขอรับ Account ID และ Password ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สามารถที่จะติดต่อ
กับผู้ดูแล Home page เพื่อ Link กับ Home page ของ CSUS ต่อไป ส่วนผู้เรียนก็จะได้รับ Account
ID และ Password เพื่อเข้าไปศึกษารายละเอียดในเนื้อหาวิชาในแต่ละโมดูล และร่วมกิจกรรมการ
เรียนทาง Web CT ตลอดจนได้รับผลการเรียนของตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนของตนเองต่อไป ใน
ขณะเดียวกันก็ยังมีการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติ Web CT เป็นส่วนเสริมในการ
เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพทางการเรียนมากขึ้น
11
แผนผัง 1 รายละเอียดของกระบวนการฝึกอบรม Web CT (Web Course Tools)
WebCT1: WebCT2: WebCT3: WebCT4: WebCT5:
AnIntroduction Management Communication Assessment Management/
Student andContent Tools Tools Tracking/Grade
book
AdvancedTools
Creating Web CT Creating Interactive Creating Movies
Quizzes with Quizzes with Video Series with movies
Responds Tool Book Creating Movies
WithPinnacle
DigitalCameras&
ImageAcquisition
Digital Imaging Series ImageScanning
Photoshop
Elements
12
ภาพ 4 Home page ของ CSUS (http://www.csus.edu)
ภาพ 5 การเข้า Web CT จาก Home page ของ CSUS
13
[ Contact Us | Site Map | CSUS ]
Welcome to WebCT at CSUS
Announcements
Log in to your WebCT course by clicking on the Login myWebCT link above. Your WebCT
username is the same as your Sac Link username. The password is your Sac Link password. If you
have problems logging in, fill out the login problem form.
If you are experiencing problems once logged into WebCT, see the WebCT System Check page to
make sure you are using one of the recommended browsers.
Winter and Spring 2005 Students: Check the Active Course List to see a list of courses.
What if I forgot my Sac Link Password?
If you do not remember your Sac Link password, please see the "What if I Forgot My Sac Link
Account or Password" Web page located at http://www.csus.edu/saclink/faq/forgotPass.stm. If you
are at a distance you may contact the Sac Link Help Desk at (916) 278-7337, or via e-mail at
saclink@csus.edu for information on how to reset your password.
New to WebCT?
Discover how to get started with WebCT. Obtain a Sac Link account, check your system and
browser, and follow our login instructions.
About WebCT
To view the full list of WebCT Courses at CSUS check the Course Listing.
ภาพ 6 หน้าแรก Web CT ของ CSUS
14
ภาพ 7 การ Login เข้า Web CT ของ CSUS
ภาพ 8 รายวิชาที่มีรายละเอียดข้อมูลและสร้างเป็น Web CT
15
ภาพ 9 เนื้อหาวิชาที่มีการแบ่งเป็นโมดูล
ภาพ10 เนื้อหาวิชาที่มีการแบ่งเป็นโมดูล
16
ภาพ 11-12 บรรยากาศในการเรียนการสร้าง Web CT
ภาพ 12 บรรยากาศในการเรียนการสร้าง Web CT อีกมุมหนึ่ง
17
ภาพ 13 Professor Dr. Raymond Koegel อาจารย์ผู้สอนการสร้าง Web CT
ภาพ 14 บรรยากาศในการเรียน Web CT
18
ภาพ 15 มอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณอาจารย์ผู้สอน
ภาพ 16 งานเลี้ยงขอบคุณอาจารย์ผู้สอน
19
นอกจากนี้ Professor Dr. Richard Adam Ph.D สาเร็จการศึกษาจาก Oxford University.ซึ่ง
สอนเกี่ยวกับ Shakespeare อยู่ที่ English Department เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาอังกฤษ
ได้ฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษให้เป็นกรณีพิเศษในวันศุกร์ช่วงเวลา 18.00-19.00 น. โดยเน้นการ
พูด การฟังเป็นพิเศษโดยหวังให้สามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ และชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพ 17 Professor Dr. Richard Adam Ph.D (คนที่ 2 จากซ้าย)
20
3. การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ
ภาพ 18 Professor Dr.Diego Bonilla, Ph.D
ซึ่งทราบว่านิสิตผู้มาเยี่ยมเป็นผู้สนใจงานด้าน Educational Technology จึงได้จัดนาเสนอ
Dissertation Abstract ของตนเองซึ่งเกี่ยวโยงกับงานด้าน Educational Technology ซึ่งเป็น
การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคการ
จาลองเหตุการณ์การเดินเข้าสารวจอาคารสร้างภาพโดยใช้เทคนิค Virtual Simulation ด้วย
โปรแกรม QuickTime VR มีการ Track ผู้ทดลองด้วยการศึกษาการเคลื่อนไหวของสายตา การ
ตอบสนองของการเคลื่อนไหว และจานวนและความถี่ในการตอบสนองตอบ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า
มีความสนใจในเรื่องของพฤติกรรมการใช้ Computer Multimedia โดยพยายามหาแนวทางที่จะ
สามารถทาให้เกิดผลต่อผู้เรียนมากที่สุด ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด และความรู้ตลอดจน
ประสบการณ์กับ Professor Dr.Diego Bonilla อย่างเป็นกันเอง
นอกจากนี้คณะนิสิตยังได้รับความกรุณาจาก Professor. Dr. Robert Curry Ph. D ซึ่งเป็น
Merit Professor ได้จัดบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ Thailand: Economic Challenge and
The Road Ahead. ให้เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นการนาเอาผลงานที่ท่านได้เขียนขึ้นและจัดพิมพ์ใน
วารสาร The Institute of Southeast Asian studies.ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงการเปิดเสรีทางการ
ค้า Asia Free Trade Area (AFTA) มานาเสนอ ซึ่งจากการรับฟังพบว่าสหรัฐอเมริกากังวลต่อเรื่อง
ดังกล่าว และพยายามที่หาทางในการลดการเสียเปรียบ ซึ่งในส่วนตัวเห็นว่าสหรัฐอเมริกาศึกษา
ประเทศไทยอย่างละเอียดในทุกแง่มุม และพยายามที่เอาชนะในทางการค้าต่อประเทศต่าง ๆ ที่จะ
21
ส่งผลต่อเศรษฐกิจของตนเอง อย่างไรก็ตามนับเป็นความรู้ที่สามารถนามาคิดวิเคราะห์และใช้ใน
การปฏิบัติงานได้เช่นกัน
ภาพ 19-1 Professor. Dr.Robert Curry Ph.D กำลังบรรยำยและแลกเปลี่ยนควำมรู้
ในหัวข้อ Thailand: Economic Challenge and the Road Ahead.
ภาพ 19-2 ถ่ายรูปร่วมกับ Professor. Dr.Robert Curry Ph.D
22
4. การศึกษาดูงาน
ในการศึกษาดูงานทั้งหมดเป็นการศึกษาดูงานทั้งในแง่เทคนิค อุปกรณ์เครื่องมือ
เทคโนโลยี ตลอดจนแนวคิดในการดาเนินการ โดยประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
4.1 Central Library, California State University Sacramento
วันที่ 14 ตุลาคม 2547 เวลา 13.00-15.00 น.
ผู้บรรยาย Linda J.Goff, M.S.,M,L,S. ตาแหน่ง Head, Instructional Service
ผู้นาชม H.Reza PeiGahi ตาแหน่ง Instructional Service
ภาพ 20 Linda J.Goff (คนซ้ำย) หัวหน้ำ Instructional Servicede กำลังอธิบำย
23
ภาพ 21 ภำยในห้องสมุดของ CSUS
Central Library, California State University Sacramento เป็นห้องสมุดกลางของ
มหาวิทยาลัยมีบริการด้านต่าง ๆ ให้นักศึกษา เช่นเดียวกับห้องสมุดในมหาวิทยาลัยทั่วไป
ในประเทศไทย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือ วารสาร หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์
และโสตทัศน์ เช่น วิดีโอเทป เทปเสียง ดีวีดี เป็นต้น ระบบการบริการมีทั้งแบบบุคคล และ
ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของมหาวิทยาลัย สามารถจอง ต่ออายุการยืมผ่านเครือข่าย
ภายใน บริการที่น่าสนใจคือ สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกจะมีการแปลงให้อยุ่ในรูปของ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น Scan เป็น Image file หรือในรูป Text files แล้วจัดทาเป็น
ฐานข้อมูลแยกเป็นหมวดหมู่ตามสาขาวิชา และให้บริการแก่นักศึกษาในการ Download ไป
ใช้งาน นอกจากนั้นในห้องสมุดยังมีจุดบริการ คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสืบค้นจานวน
มากกว่า 30 เครื่อง และให้บริการ Wireless Internet ในทุก ๆ ชั้น และกรณีหนังสือเก่า หรือ
สื่อที่ไม่ใช้แล้วจะมีการนาออกจาหน่ายโดยรับเป็นเงินบริจาค ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ
ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากต่างกันที่จานวนหนังสือที่มี
มากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่
4.2 The California Peace Offices Standards and Training.
1601 Alhambra Blvd.Scramento.CA 95816-7083 (http://www.post.ca.gov)
วันที่ 20 ตุลาคม 2547 เวลา 09.00 -12.00 น.
ผู้บรรยาย Mice ตาแหน่ง Instructional Designer
24
ภาพ 22 กำรบรรยำยในห้องประชุมPOST
ภาพ 23 ภำยในห้องผลิตสื่ออบรม
The California Peace Offices Standards and Training (POST) เป็นศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
ตารวจเพื่อให้การออกปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย และอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธี และขั้นตอน
เจ้าหน้าที่ตารวจจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมอย่างสม่าเสมอ รูปแบบการฝึกอบรมมีทั้ง การบรรยาย
และใช้สื่อต่าง ๆ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ที่ใช้สาหรับการฝึกอบรม โดยผลิต
จากโปรแกรม Macromedia Authorware ที่เน้นการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ฝึกอบรมโดยมีภาพวีดีโอ
แทรกเป็นระยะ เช่นการฝึกการจับกุมในรูปแบบต่าง ๆ
25
ภาพ 24 หัวหน้ำหน่วยงำนกำลังสำธิตกำรใช้ Interactive DVD
สาหรับ Interactive DVD Training นั้น สามารถผลิตได้ไม่ซับซ้อน แต่ต้องมีการศึกษาในเชิงเทคนิค
เพื่อให้เป็นลักษณะการนาเสนอที่น่าสนใจ โดยมีเล่ม Catalog รวมรายการ Interactive DVD
Training ที่ผลิตให้เลือกไปสาหรับฝึกอบรม
ภาพ 25 Logo ของ POSTใน DVD
26
ภาพ 26 Title Index ใน DVD
Interactive DVD ซึ่งเป็นเสมือนบทเรียนสาเร็จรูปที่ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนเป็นภาพ
วิดีโอเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการเข้าจับกุมที่ถูกต้อง ขั้นตอนการพูดกับประชาชน หรือ
ขั้นตอนการแสดงตนควรกระทาอย่างไร และมีแบบทดสอบผู้เรียน ซึ่งบรรจุในแผ่น Interactive
DVD จัดส่งไปยังเจ้าหน้าที่ตารวจที่รับผิดชอบในการพัฒนาบุคลากรตามสถานีต่าง ๆ ซึ่งทั้งภาพ
และเสียงมีคุณภาพสูงมาก เหมาะสาหรับการนามาประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมที่ต้องมีการแสดง
ภาพในรูปวิดีโอ เช่น การเล่นกีฬา ขั้นตอนการทางานของช่างอุตสาหกรรม การทางานที่ต้องการ
แสดงขั้นตอนชัดเจนเป็นลาดับ
ตารวจจะได้รับการฝึกการขับขี่ยานพาหนะที่เป็นการจาลองสถานการณ์จากเครื่อง
Driving Simulation Training
27
ภาพ 27 การฝึกการขับขี่ยานพาหนะที่เป็นการจาลองสถานการณ์จากเครื่อง
Driving Simulation Training
28
ภาพ 28 เครื่องมือสำหรับฝึกกำรใช้วิทยุสื่อสำร Radio Simulation Training
รวมทั้ง ตารวจจะได้รับการฝึกการใช้วิทยุสื่อสารที่เป็นการจาลองสถานการณ์จากเครื่อง
Radio Simulation Training อีกด้วย
ภาพ 29 เครื่องมือสำหรับฝึก Real-life Simulation Training
การจาลองสถานการณ์ (Simulator) แบบ Real-life Simulation Training เป็นการฝึกการ
เข้าจู่โจม การจับกุม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการจาลองสถานการณ์ฝึกขับเครื่องบิน (Flight Simulator)
29
ที่ใช้ฝึกนักบิน โดยฉายภาพบนจอขนาดใหญ่แล้วให้ผู้เข้ารับการฝึกยืนต่อหน้าแสดงการปฏิบัติงาน
โดยมีการบันทึกวิดีโอเทปไว้เพื่อนากลับมาตรวจสอบ หาข้อบกพร่อง และแนวทางแก้ไข เป็นการ
นาเทคโนโลยีมาใช้ในการฝึกอบรมที่น่าสนใจมาก แต่มีค่าใช้จ่ายสูง
ภาพ 30 เครือข่ำยของPOST ที่ประสำนงำนกัน
มีการจัดส่งสื่อสาหรับการฝึกอบรมไปยังเจ้าหน้าที่ตารวจตามสถานีต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งใน
ปัจจุบัน The California Peace Offices Standards and Training (POST) กาลังพัฒนาใช้ Web CT
ในการอบรมเจ้าหน้าที่แบบออนไลน์ ในอนาคตต่อไป
30
4.3 California, Cable & Telecommunication Association.
1121 L Street Suite 110 Sacramento, CA 9581
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 เวลา 11.00 - 14.00 น.
ผู้บรรยาย Dennis Mangers, ตาแหน่ง President
ภาพ 31 ด้านหน้าประตูสานักงาน CCTA
สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นประเทศมีพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ละมลรัฐมีอาณาเขตที่กว้างขวาง
คลอบคลุมระหว่าง 2 คาบสมุทร จากชายฝั่งทิศตะวันตกถึงชายฝั่งทิศตะวันออก มีเวลาที่แตกต่างกัน
ถึง 3 ชั่วโมง ในกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ จึงไม่สามารถที่จะดาเนินการออกอากาศในเครือข่ายได้
พร้อมกันในเวลาที่ตรงกันได้ การจัดรายการ (Programming) ในส่วนที่เป็นเครือข่าย (Network)
จะต้องมีการจัดสรรให้เหมาะสม โดยทาการฉายซ้า (Re-run) สาหรับรายการที่ออกอากาศทั่ว
ประเทศในเวลาท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ การดาเนินการเช่นนี้หมายรวมถึงสถานีวิทยุโทรทัศน์ตาม
สาย (Cable Television) ทั้งส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายด้วย
31
ภาพ 32 Website CCTA
ในมลรัฐคาลิฟอร์เนีย องค์การ CCTA (California Cable & Telecommunications
Association) เป็นองค์การร่วมมือระหว่าง สถานีโทรทัศน์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ตามสาย
บริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่ร่วมมือกันดูแลและบริการงานการบริการต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงาน
อิสระที่ทาหน้าที่เสมือนคอยควบคุมดูแลสมาชิกด้วยกันเอง และยังมีหน้าที่ในการให้บริการสังคม
เช่น การให้บริการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแก่โรงเรียนต่าง ๆ เป็นการคืนประโยชน์แก่สังคม รับ
ร้องเรียนจากผู้ชม ผู้รับบริการ และยังมีศุนย์ผลิตรายการขนาดเล็กที่คอยช่วยเหลือการผลิตให้แก่
หน่วยงานต่าง ๆ ด้วย การควบคุมดูแลกิจการด้านสถานีวิทยุโทรทัศน์ตามสาย (Cable Television)
และระบบโทรคมนาคม (Telecommunications) ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนที่ใช้บริการติดตั้ง
ระบบควบคุมเนื้อหาของรายการให้เหมาะสมกับวัยของผู้ชม ทั้งนี้ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ที่ผลิต
ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา และมีขนาดตั้งแต่ 13 นิ้วขึ้นไป ทางบริษัทผู้ผลิตทุกบริษัทจะดาเนินการ
ติดตั้งระบบ “V -chip” ที่สามารถกาหนดวุฒิภาวะของผู้ชมรายการ (Rating) ได้ การแบ่งเนื้อหา
32
ของรายการวิทยุโทรทัศน์ทั่วไปจะใช้อายุของผู้ชมเป็นตัวกาหนด สาหรับภาพยนตร์เรื่องยาวทาง
วิทยุโทรทัศน์ ยังคงใช้มาตรฐานของ MPAA เป็นมาตรฐานกาหนดเช่นในโรงภาพยนตร์
การกาหนดว่ารายการใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม นอกเหนือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์
จะส่งออกอากาศมากับรายการนั้นและสามารถเช็คดูได้จากจอวิทยุโทรทัศน์แล้ว ผู้ปกครองยัง
สามารถใช้เครื่องควบคุม (Remote Control) ในการกาหนดให้ผู้ชมที่เป็นเด็กในบ้านดูรายการระดับ
ใดได้บ้าง ทั้งนี้ ผู้ปกครองจะกาหนดเลขรหัส (Password) สาหรับรายการที่ไม่เหมาะสมไว้
ภาพ 33 การใช้รีโมทในการควบคุมของผู้ปกครอง
การกาหนดวุฒิภาวะของผู้ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (TV Parental Guidelines) แบ่ง
ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มรายการเด็กและเยาวชน และกลุ่มผู้ชมทั่วไป
ภาพ 34 การแบ่งวุฒิภาวะของผู้ชมรายการโทรทัศน์ในอเมริกา
33
1. กลุ่มรายการสาหรับเด็กและเยาวชน (Children’s Programming) แบ่งออกเป็น2 ระดับ คือ
1.1 TV Y (All Children) เป็นรายการมีเหมะสมสาหรับเด็กและเยาวชนทั่วไป เนื้อหา สาหรับ
เด็กอายุ 2-6 ขวบโดยเฉพาะ
1.2 TV Y7 (Direct to Older Children) เนื้อหาของรายการมักจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อและเป็น
จริงได้ในความคิดของเด็ก เป็นรายการที่เด็กอายุต่ากว่า 7 ขวบ ต้องมีผู้ปกครองคอยดูหรือแนะนา
ปัจจุบัน ได้มีการกาหนดเนื้อหารายการ ขึ้นมาอีก 1 ประเภท คือ TV Y7 FV (Direct to
Children-Fantasy Violence) สาหรับเนื้อหาที่มีภาพกราฟิกหรือภาพจินตนาการที่สร้างให้เกิดความ
รุนแรงแฝงอยู่ (Fantasy Violence)
2. กลุ่มรายการสาหรับผู้ชมทั่วไป (General Audience Programming) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
2.1 TV G (General Audience) เป็นรายการทั่วไปที่ผู้ชมส่วนใหญ่รับชม เนื้อแฝงความรุนแรง
ไม่มากนักหรือไม่มีเลย ไม่มีถ้อยคารุนแรง อาจมีบทรักบ้าง แต่ไม่อนาจาร
2.2 TV PG (Parental Guidance Suggested) เนื้อหาของรายการไม่เหมาะสมหรับเยาวชนมาก
นัก ควรมีผู้ปกครองคอยให้คาแนะนาหรืออยู่ด้วย เนื้อหาประกอบด้วยความรุนแรงปานกลาง
(Moderate Violence (V)) มีบทรักบางตอน (Some Sexual Situation(S)) มีการใช้ภาษาไม่เหมาะสม
บ้าง อาจต้องมีคาเตือน(Infrequent Coarse Language (L) or Some Suggestive Dialogue(D))
2.3 TV14 (Parents Strongly Cautioned) เนื้อหาของรายการไม่เหมาะสาหรับเยาวชนอายุต่า
กว่า 14 ปี เนื้อหารายการที่มีความรุนแรง (Intense Violence (V)) และบทรักที่วาบหวาม (Intense
Sexual Situation (S)) การใช้ถ้อยคาที่ไม่เหมาะสมหยาบคาย (Strong Coarse Language(L) จะต้องมี
คาเตือนอยู่ด้วย (Intensely Suggestive Dialogue(D))
2.4 TV MA (Mature Audience Only) เนื้อรายการสาหรับผู้ที่มีวุฒิภาวะแล้ว ไม่เหมาะสม
สาหรับเยาวชนอายุต่ากว่า 17 ปี เนื้อหาอาจเต็มไปด้วยเทคนิคกราฟิกที่สร้างความรุนแรงให้เกิดมาก
34
ขึ้นกว่าความเป็นจริง (Graphic Violence (V)) ภาพกิจกรรมทางเพศ (Explicit Sexual Activity(S))
หรือถ้อยคาสบถด่าที่หยาบคายมาก (Crude Indecent Language)
Dennis H. Mangers ประธานองค์การ CCTA ได้ให้ความสาคัญด้านการศึกษา
อย่างมาก โดยมีนโยบายการนาระบบวิทยุโทรทัศน์ตามสาย (Cable Television) มาช่วยในการเรียน
การสอน ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านสื่อการสอนที่ใช้สาหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ (Media Literacy
Resources) และเป็นศูนย์กลางที่จะเผยแพร่ไปสู่ประชาชนต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาด้านการ
นาระบบดิจิตอล และระบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงมาใช้อีกด้วย
ภาพ 35 Dennis H. Mangers ประธานองค์การ CCTA
แผนผัง 2 แนวนโยบายของ CCTA ในปัจจุบัน
What's New
Beyond "Basic" - It's Not Your Parents' Cable Anymore!
Get rid of the old perceptions about cable television. Greater competition and new technologies have
changed all that.
35
Good For California
Cable - An Economic Force for California
The cable industry is a significant, influential force within the California economy which generates
substantial revenues and jobs and provides in-demand broadband services to millions of residents and
businesses.
Part of Our Community
California Cable - Giving Back to Our Communities
Unlike most communications competitors, cable is regulated at the federal, state and local levels—so it
never loses sight of the importance of remaining actively involved in all communities.
Competition
Competition Has Arrived!
Competition in the cable and communications industries is not just something we anticipate for the
future - it's here, now!
New Technology
New Technologies Mean More Customer Choices and High Tech Growth for California
Cable is no longer just a delivery system for one-way television. A new range of cable technologies is
changing how customers use communications services, improving the ways we learn and play.
Broadband
Coming Soon to Your Neighborhood.
Cable companies are investing billions of dollars nationally to upgrade their infrastructure and improve
their facilities - almost $11 billion in 1999 alone.
Education
Cable Wires Schools & Libraries to High-Speed Services.
In 1996, the cable industry made a national commitment to bring the advantages of high-speed Internet
access via cable modems to all students and citizens through public schools and local libraries.
36
Digital Divide
Providing High-Speed Services to all Neighborhoods.
The "Digital Divide" means different things to different people. But in a time of incredible economic
growth and technological advancement, there remains concern that many Americans may be left behind
in the "Internet Revolution" because of race, gender, economic status or where they live
ภาพ 36 DSL vs. Cable Modem Competition
The FCC reported that in the first six months of 2000, customers using high-speed lines to the
Internet increased by 57 percent for a total of 4.3 million subscribers overall. The graphs below
show the national growth rates of DSL and cable modem lines in service. In addition, the FCC
reported an18 percent growth in high-speed lines delivered by satellite, fixed wireless, fiber and
wireline technologies.
4.4 Learning Resources Center (LRC), California City College
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 เวลา 17.00 - 19.00 น.
37
ภาพ 37 ด้านหน้า Sacramento City College
นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ไปศึกษาดูงานที่ Sacramento City
College ในวันพฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2547 เมื่อเวลา 14.30 – 18.00 น. โดยข้อมูลใน
การศึกษาดูงานในครั้งนี้มีรายละเอียดดังนี้
Sacramento City College เป็นวิทยาลัยแห่งหนึ่งของเมือง Sacramento โดยเปิดสอนใน
ระดับอนุปริญญา หน่วยงานที่ได้เข้าไปศึกษาดูงานในครั้งนี้คือ Learning Resource Center (LRC)
ซึ่งจากการศึกษารูปแบบการบริหารงานนั้น พบว่าห้องสมุดของวิทยาลัยแห่งนี้จะอยู่ภายใต้การดูแล
ของ Learning Resource Center (LRC) แห่งนี้ด้วย
Learning Resource Center (LRC) จะเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยชั้นที่ 3 และชั้นที่ 2 จะเป็น
ส่วนที่ให้บริการเหมือนกับการบริการในห้องสมุดทั่ว ๆ ไป คือจะเปิดให้บริการในส่วนที่เป็นตารา
หนังสือ และวารสาร ส่วนในชั้นที่ 1 นั้น จะเน้นไปในด้านการให้บริการในด้านคอมพิวเตอร์ โดย
ในแต่ละชั้นจะมีแผนผังดังนี้
ชั้นที่ 3
38
ภาพ 38 การจัดส่วนการใช้พื้นที่ชั้นที่ 3 ของ Sacramento City College
ชั้นที่ 3 จะเป็นชั้นหนังสือทั้งหมด มีพื้นที่จัดไว้สาหรับศึกษาค้นคว้า และส่วนให้บริการ
ซ่อมบารุงเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ไว้ให้บริการ โดยนักศึกษา
สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือใน Learning Resource Center
(LRC) ได้เท่านั้น (LOIS : the Library Catalog) แต่จะไม่สามารถใช้เล่น Internet หรือพิมพ์งาน
ได้เลย
39
ชั้นที่ 2
ภาพ 39 การจัดส่วนการใช้พื้นที่ชั้นที่2 ของ Sacramento City College
ชั้นที่ 2 จะเป็นบริเวณที่จัดวางหนังสืออ้างอิง นิตยสาร วารสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ใน
การสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือใน Learning Resource Center (LRC) และห้องสาหรับศึกษาค้นคว้า
เป็นรายกลุ่ม ห้องเรียน นอกจากนั้นยังมีส่วนที่เป็น Office และมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ
40
ชั้นที่ 1
ภาพ 40 การจัดส่วนการใช้พื้นที่ชั้นที่1 ของ Sacramento City College
ชั้นนี้จะเป็นชั้นล่างสุดของอาคาร จะไม่มีการจัดวางชั้นหนังสือ พื้นที่ของชั้นนี้จะแบ่ง
ออกเป็นสองส่วนอย่างเด่นชัดคือ ฝั่งด้านขวา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ไว้
ให้บริการพิมพ์งาน เล่น Internet ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีมุมที่จัดไว้
สาหรับให้บริการ Video ส่วนฝั่งทางด้านซ้ายของตึกนั้นจะเป็นห้องที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าราย
กลุ่ม ห้องทางานของเจ้าหน้าที่ และมีส่วนที่เป็นห้องสตูดิโอ และห้องผลิตสื่อการเรียนการสอน
41
จากการศึกษาดูงานที่ Learning Resource Center (LRC) ของ Sacramento City College
ในครั้งนี้สามารถนาเสนอการประมวลภาพได้ดังนี้คือ
Tutorial Services ในการให้บริการในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้น Learning
Resource Center (LRC) จะมีห้องเล็ก ๆ แยกไว้หลายห้องเพื่อให้นักศึกษาสามารถที่จะใช้ใน
การศึกษาค้นคว้า หรืออาจารย์ใช้สาหรับการติวเป็นรายกลุ่ม ซึ่งห้องดังกล่าวจะเครื่องคอมพิวเตอร์
และมีโทรทัศน์และเครื่องเล่น Video ไว้ให้บริการ โดยนักศึกษาสามารถเปิดดู TV Course ที่
ถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านทาง Cable TV ของทางวิทยาลัยได้โดยนักศึกษาหรืออาจารย์ที่
ต้องการจะใช้บริการของห้องนี้จะต้องติดต่อขอจองห้องกับทางเจ้าหน้าที่ของทาง Learning
Resource Center (LRC) ก่อนการเข้ารับการใช้บริการ
ภาพ 41 การใช้บริการ Tutorial Services
Audio / Visual Stations พื้นที่ในส่วนนี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ให้บริการ
คอมพิวเตอร์ และทีวี โดยส่วนที่เป็นคอมพิวเตอร์นั้นนักศึกษาสามารถเข้ามาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ในการพิมพ์รายงาน สืบค้นข้อมูลหนังสือและสื่ออื่น ๆ ภายในห้องสมุดโดยใช้โปรแกรมสืบค้น
ฐานข้อมูล (LOIS : the Library Catalog) และสามารถใช้เล่น Internet ได้
42
ภาพ 42 การใช้บริการ Audio / Visual Stations
โดยนักศึกษาที่จะเข้ามาใช้จะต้องเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับทางวิทยาลัยแห่งนี้
เท่านั้น เพราะก่อนการเข้าใช้งานทุกครั้งจะต้องมีการ Log in Password ส่วนในการที่จะทาการ
พิมพ์งานนั้น นักศึกษาจะต้องซื้อบัตรจากเครื่องขายบัตรอัตโนมัติที่ทางวิทยาลัยได้จัดไว้ให้ แล้ว
ใช้รหัสจากบัตรในการสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการ และเมื่อจานวนเงินในบัตรหมด นักศึกษาก็
สามารถที่จะเติมเงินจากเครื่องเติมเงินอัตโนมัติได้จากที่นี่เช่นเดียวกัน
ภาพ 43 เครื่องขายบัตรอัตโนมัติ
43
นอกจากจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการส่วนบุคคลแล้ว ที่ Learning Resource
Center ยังจัดให้มีห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อการเรียนการสอนเป็นกลุ่มอีกด้วย โดยใน
แต่ละห้องเรียนจะมีคอมพิวเตอร์ชุดพิเศษเพื่อไว้ให้บริการแก่คนพิการด้วย
ภาพ 44 ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
สาหรับพื้นที่ส่วนที่เป็นการให้บริการด้าน TV นั้น เนื่องจาก Sacramento City
College มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลด้วย โดยผู้เรียนสามารถเข้ามาใช้บริการใน Learning
Resource Center (LRC) เพื่อศึกษาในรายวิชาที่จัดเป็น TV Course จากที่นี่ได้
ภาพ 45 ส่วนบริการด้าน Video และTV
44
นอกจากนี้นักศึกษาที่อยู่ที่บ้านก็สามารถรับชมได้ทาง Cable TV ช่อง 15 และช่อง16 โดย
รายวิชา TV Course นี้ สถานศึกษาที่เป็นสมาชิกของ Sacramento Educational Cable Consortium
ก็สามารถที่จะรับชมรายการ TV นี้ได้เช่นเดียวกัน
ภาพ 46 เจ้าหน้าที่กาลังอธิบายการใช้ Cable TV ช่อง 15 และช่อง 16
สาหรับพื้นที่ในโซนด้านซ้ายของตึกนี้จะเป็นห้อง Studio เพื่อใช้ในการถ่ายทารายการ
TV และมีห้องตัดต่อ และห้องถ่ายทอดรายการ โดยทางวิทยาลัยจะมีเจ้าหน้าที่เพียง 1 คนเท่านั้นที่
ทาการดูแลรายการทั้งหมด
45
ภาพ 47-48 ภายในห้องผลิตรายการโทรทัศน์
46
นอกจากนี้ในส่วนที่เป็น E – Learning นั้น ทางวิทยาลัยได้ใช้ โปรแกรม Blackboard เพื่อ
ทาการจัดการรายวิชาที่เป็น Online Courses
ภาพ 49 ผู้อานวยการกาลังอธิบายการใช้โปรแกรม Blackboard
การเยี่ยมชมครั้งนี้ได้ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งพบว่ามีการใช้เทคโนโลยี
Video conference และการออกอากาศรายการการศึกษาผ่านโทรทัศน์ตามสาย คล้ายกับ UMS มี
ห้องควบคุมการผลิต และสตูดิโอโทรทัศน์ที่ได้มาตรฐานในระดับสถาบันการศึกษา ส่วนที่น่าสนใจ
คือ มีการจัดห้องเรียนเล็ก ๆ ที่ให้เพื่อน หรือรุ่นพี่ที่มีผลการเรียนดีมาสอนเสริมแก่เพื่อน ๆ และน้อง
ๆ โดยต้องมีอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานั้นเป็นผู้รับรอง นอกนั้นระบบบริการสื่อ เป็นเช่นเดียวกับ
ห้องสมุด หรือ Learning Resources Center (LRC) ในประเทศไทย
4.5 Public Television Station Channel 6 (KVIE)
2595 Capitol Oaks Dr. Sacramento, CA 95833
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 เวลา 11.00-14.00 น.
47
ภาพ 50 บริเวณด้านหน้า Public Television Station Channel 6 (KVIE)
สถานีวิทยุโทรทัศน์ KVIE ช่อง 6 ถือเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่เป็นผู้ผลิตสารคดี
นามPBSที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ออกอากาศด้วยระบบดิจิตอล จากข้อมูลใน Hard Disk ที่มี
ความจุถึง 0.5 - 7.5 Terabyte (TB) KVIE6 ยังถือได้ว่าเป็นสถานวิทยุโทรทัศน์ที่สาคัญที่ให้ความรู้
ทั่วไปแก่ประชาชนอีกด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์ KVIE มีลักษณะคล้ายสถานีโทรทัศน์ของกรม
ประชาสัมพันธ์ รายการส่วนใหญ่รับช่วงมาจากส่วนกลาง ซึ่งออกอากาศทั้งวันโดยไม่มีสปอท
โฆษณา เป็นรายการเพื่อการศึกษา ทุกระดับ โดยในตอนเช้าจะเป็นรายการเด็ก สาย ๆ เป็นรายการ
สารคดีความรู้ทั่วไป เสาร์อาทิตย์เป็นรายการสาระประโยชน์สาหรับพ่อบ้านแม่บ้าน รายการส่วน
ใหญ่มีคุณภาพดี เป็นรายการที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย เช่น Sesame Street , Animal Planet
เป็นต้น
48
ภาพ 51 Website :Public Television Station Channel 6 (KVIE)
ภาพ 52 บริเวณด้านหน้าและห้อง Lobby สถานีวิทยุโทรทัศน์ KVIE 6
49
ภาพ 53 ห้องควบคุมขนาดเล็กเนื่องจากรายการสารคดีส่วนใหญ่จะถ่ายทานอกสถานที่
ภาพ 54 Hard Disk Rack ที่ใช้ในการออกอากาศ ความจุ 0.5 - 7.5 TB
50
ภาพ 55-1 รูปถ่ายภายในห้องจัดรายการของ KVIE
ภาพ 55-2 หัวหน้า Engineer Director (คนกลางเสื้อฟ้า)
51
4.6 California Congress man office, Mr. Robert T. Musi,
United State Course House. Amtrak Station
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 เวลา 09.00-12.00 น.
ผู้บรรยาย Mr. Khan ตาแหน่ง Secretary
ภาพ 56 ด้านหน้า California Congress man office
การเข้าเยี่ยมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งเป็นการเข้าไปแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองระหว่างทั้ง 2 ประเทศ แต่เนื่องจาก Mr. Robert T.Musi ต้อง
เดินทางไป Los Angelis เพื่อร่วมประชุมสภาจึงส่งผู้แทนมาร่วมพูดคุยแทน ซึ่งได้มีการ
แลกเปลี่ยนและซักถามเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนโดยเฉพาะในด้านการ
สนับสนุนการศึกษา โดย Mr. Robert T.Musi ได้พยายามผลักดันให้ครูมีรายได้ที่สูงขึ้น มี
การจัดงบประมาณในการสนับสนุนการพัฒนาครู ร่วมทั้งการพัฒนาโรงเรียน เช่น การ
จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ การสนับสนุนการใช้โทรทัศน์ตามสายเพื่อใช้ทรัพยากร
บุคคลร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาทั่วไป ๆ และนโยบายหลัก
ๆ ในการแก้ปัญหาของ Sacramento เช่น ปัญหาน้าท่วมที่กาลังดาเนินการจัดทาคันกั้นน้า
หรือการปรับปรุงสภาพเมืองทั่วไป เป็นต้น ท่านผู้แทน Robert T.Musi เป็นผู้แทนราษฎรที่
ได้รีบเลือกมาทั้งสิ้น 13 สมัย นับเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเป็นอย่างมาก และ
สานักงานของท่านก็เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนเป็นอย่างมาก และการเข้าพบครั้งนี้ก็
ได้รับตอนรับเป็นอย่างดีแม้ว่าท่านผู้แทนราษฎร Robert T.Musi จะไม่อยู่ก็ตาม
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

More Related Content

Similar to โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษางานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาThitaporn Chobsanchon
 
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...khon Kaen University
 
รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเอง
รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองรายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเอง
รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองKhunkrunuch
 
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์Kutjung Rmuti
 
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1AseansTradition55
 
Projectm6
Projectm6Projectm6
Projectm6Nat Ty
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์keeree samerpark
 
มาตรฐานMoocมจธ
มาตรฐานMoocมจธมาตรฐานMoocมจธ
มาตรฐานMoocมจธSurapon Boonlue
 
Toeic, test of english for international communication, 2013
Toeic, test of english for international communication, 2013Toeic, test of english for international communication, 2013
Toeic, test of english for international communication, 2013Thai Cooperate in Academic
 
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงานใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงานPompao
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8Thitaree Permthongchuchai
 
แบบเสนอโครงร่างคอม -----
แบบเสนอโครงร่างคอม  -----แบบเสนอโครงร่างคอม  -----
แบบเสนอโครงร่างคอม -----Alatreon Deathqz
 
Computer project 11-37
Computer project  11-37Computer project  11-37
Computer project 11-37ssuserde26cf
 

Similar to โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (20)

งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษางานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
 
Report it541 trainfreshy_v2.2
Report it541 trainfreshy_v2.2Report it541 trainfreshy_v2.2
Report it541 trainfreshy_v2.2
 
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
 
รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเอง
รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองรายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเอง
รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเอง
 
( Course syllabus) คอมฯม.4
( Course  syllabus) คอมฯม.4( Course  syllabus) คอมฯม.4
( Course syllabus) คอมฯม.4
 
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
 
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
 
Projectm6
Projectm6Projectm6
Projectm6
 
ทักษะกระบวนการวิทย์
ทักษะกระบวนการวิทย์ทักษะกระบวนการวิทย์
ทักษะกระบวนการวิทย์
 
Email system
Email systemEmail system
Email system
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
 
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
 
มาตรฐานMoocมจธ
มาตรฐานMoocมจธมาตรฐานMoocมจธ
มาตรฐานMoocมจธ
 
Toeic, test of english for international communication, 2013
Toeic, test of english for international communication, 2013Toeic, test of english for international communication, 2013
Toeic, test of english for international communication, 2013
 
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงานใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
 
แบบเสนอโครงร่างคอม -----
แบบเสนอโครงร่างคอม  -----แบบเสนอโครงร่างคอม  -----
แบบเสนอโครงร่างคอม -----
 
Ictoutdoor2012
Ictoutdoor2012Ictoutdoor2012
Ictoutdoor2012
 
Computer project 11-37
Computer project  11-37Computer project  11-37
Computer project 11-37
 

More from Totsaporn Inthanin

ทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdf
ทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdfทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdf
ทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdfTotsaporn Inthanin
 
ทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdf
ทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdfทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdf
ทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdfTotsaporn Inthanin
 
อานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdf
อานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdfอานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdf
อานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdfTotsaporn Inthanin
 
สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้
สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้
สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้Totsaporn Inthanin
 
คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)
คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)
คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)Totsaporn Inthanin
 
ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...
ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...
ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...Totsaporn Inthanin
 
ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...
ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...
ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...Totsaporn Inthanin
 
สูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
สูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดสูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
สูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดTotsaporn Inthanin
 
คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560
คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560
คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560Totsaporn Inthanin
 
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตรา
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตราวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตรา
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตราTotsaporn Inthanin
 
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา ...
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา ...วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา ...
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา ...Totsaporn Inthanin
 
แม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอก
แม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอกแม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอก
แม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอกTotsaporn Inthanin
 
อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560
อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560
อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560Totsaporn Inthanin
 
การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...
การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...
การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...Totsaporn Inthanin
 
ผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
ผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
ผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดTotsaporn Inthanin
 
คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60
คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60
คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60Totsaporn Inthanin
 
กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3
กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3
กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3Totsaporn Inthanin
 
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3Totsaporn Inthanin
 
ขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลาง
ขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลางขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลาง
ขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลางTotsaporn Inthanin
 
ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311
ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311
ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311Totsaporn Inthanin
 

More from Totsaporn Inthanin (20)

ทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdf
ทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdfทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdf
ทำวัตรเย็น แปล powerpoint 18 หน้า.pdf
 
ทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdf
ทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdfทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdf
ทำวัตรเช้า แปล powerpoint 81 หน้า.pdf
 
อานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdf
อานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdfอานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdf
อานาปานสติ 16 ขั้น สอนโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร (ป.ธ.6).pdf
 
สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้
สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้
สอศ. เรียกบรรจุครู 737 อัตรา รายงานตัว 12 14 ก.พ. 2561 นี้
 
คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)
คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)
คำสั่งออกค่ายอาสา นักศึกษาปริญญาตรี ฉ.3 รุ่น 5 (ฉบับแก้ไข)
 
ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...
ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...
ประกาศรับสมัคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนื...
 
ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...
ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...
ประกาศรายชื่อ นศ. โควต้า เข้าศึกษาต่อวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา...
 
สูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
สูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดสูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
สูจิบัตร กีฬาสี 60 วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
 
คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560
คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560
คำสั่งย้ายครู สังกัด สอศ. จำนวน 364 ราย สั่ง ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560
 
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตรา
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตราวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตรา
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รับสมัครครูช่างยนต์ 1 อัตรา
 
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา ...
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา ...วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา ...
วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประกาศรับสมัครนักเรียนนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา ...
 
แม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอก
แม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอกแม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอก
แม่พิมพ์ไม่มีวันตายหรอก
 
อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560
อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560
อนุมัติใช้หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2560
 
การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...
การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...
การอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด...
 
ผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
ผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
ผลเกรดกิจกรรม 1/2560 ของ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
 
คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60
คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60
คำสั่งอบรมภาวะผู้นำ ฉ.3 วันที่ 3-4 ก.ย. 60
 
กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3
กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3
กำหนดการซ้อมและรับพระราชทานปริญญาบัตรและลำดับที่นั่งบัณฑิต ฉ.3
 
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ซ้อมย่อย) ฉ.3
 
ขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลาง
ขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลางขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลาง
ขั้นตอนการตรวจสอบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ผ่านระบบ e-filling ของกรมบัญชีกลาง
 
ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311
ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311
ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย สอศ. ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค. รหัสสาขา 301-311
 

โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

  • 1.
  • 2. รายงานผล โครงการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพ ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาหรับนิสิตระดับปริญญาเอก ณ Communication Studies Department California State University, Sacramento, USA. ระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม 2547 – 3 ธันวาคม 2547 (รวม 58 วัน) โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 3. คำนำ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี โครงสร้างหลักสูตร แบบที่2 (2) ซึ่งนอกจากจะกาหนดให้นิสิตลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่างๆ ไม่ น้อยกว่า 25 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต รวม 61 หน่วยกิตแล้ว ยังกาหนด ให้นิสิตจะต้องผ่านกระบวนการเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาในระดับนานา ชาติ โดยมุ่งหวังให้นิสิตได้รับประสบการณ์ ความรู้ในสาขาวิชา ในระดับนานาชาติ และยังเป็นส่วน สาคัญในการฝึกฝนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตที่สาเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถ มี ความเชี่ยวชาญ สามารถพัฒนาองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ มีขีดความสามารถในด้านการวิจัย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้ตามปรัชญาของหลักสูตร และสามารถนาความรู้ ความ สามารถและประสบการณ์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาตนเอง หน่วยงานของตน และสังคมได้ทั้งในระดับ ท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ ในฐานะนิสิตหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ รุ่น 1 จานวนทั้งหมด 6 คนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการเพิ่มพูนความรู้ด้าน เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อการศึกษาซึ่งเป็นกระบวนการเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยี การศึกษาตามหลักสูตร เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม 2547 – 3 ธันวาคม 2547 (รวม 58 วัน) ณ California State University: Sacramento ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นความ ร่วมมือระหว่างภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Communication Studies Department. California State University: Sacramento ภายใต้การควบคุม ของรองศาสตราจารย์ดร.สาโรช โศภีรักษ์ และภายใต้การกากับดูแลของ ดร.ศศิฉาย ธนะมัย และ Professor Dr. Thomas J .Knutson ตลอดระยะเวลาดังกล่าว มีการกาหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้น ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาทิเช่น การจัดให้เข้าเรียนร่วมกับนิสิตของ California State University: Sacramento ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา เช่น Multimedia Authoring, Media Aesthetic หรือ TV Production เป็นต้น นอกจากนั้นยังจัดการ ฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการใช้งาน Web CT และรวมไปถึงการทัศนศึกษาหน่วยงานต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือ ศูนย์ผลิตสื่อเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตารวจ เป็นต้น
  • 4. รายงานฉบับนี้เป็นการรายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวโดยแสดงข้อมูล กิจกรรมต่างๆ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้รายงานในฐานะที่เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยการอาชีพ ร้อยเอ็ด และเป็นนิสิตศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางและยังประโยชน์แก่สานักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา และผู้ที่อ่านรายงานฉบับนี้ได้เห็นถึงคุณค่า ประโยชน์ ตลอดจนความเข้าใจและความ ตั้งใจอันดีของคณาจารย์ในภาควิชาที่กาหนดกิจกรรมดังกล่าวนี้ไว้ในหลักสูตร คณะนิสิตระดับปริญญาเอก รุ่นที่ 1 สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์ ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ ประภาส นวลเนตร สุเกษม อิงคนินันท์ จารุรินทร์ ภู่ระย้า ทศพร อินทะนิน
  • 5. สารบัญ หน้า คำนำ ก สำรบัญ ค กิจกรรมในโครงกำร 1 1. กิจกรรมการเรียนร่วมในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา 1 2. การฝึกอบรมระยะสั้น 6 - Web CT (Web Course Tool) 6 3. การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ 19 4. การศึกษาดูงาน 21 4.1 Central Library, California State University Sacramento 21 4.2 The California Peace Offices Standards and Training 22 4.3 California, Cable & Telecommunication Association 29 4.4 Learning Resources Center, California City College 37 4.5 Public Television Station Channel 6 (KVIE) 47 4.6 California Congress man office, Mr. Robert T.Musi 51 4.7 Commercial Television Channel 3 (KCRA) 52 4.8 CSUS College of Continuing Education 56 4.9 University Media Service and Distance & Distributed Education 57 4.10 Capital Public Radio. California State University Sacramento 68 4.11 Meet University President 73 5. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมและฝึกฝนภาษา 73 สรุป 76 บรรณำนุกรม 77
  • 6. 1 กิจกรรมในโครงการเพิ่มพูนความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อการศึกษา กิจกรรมต่าง ๆ ที่กาหนดขึ้นในโครงการเพิ่มพูนความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและ สื่อการศึกษาในครั้งนี้สามารถจาแนกเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ได้ กิจกรรม คือ 1. การเรียนร่วมในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา 2. การฝึกอบรมระยะสั้น 3. การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ 4. การศึกษาดูงาน 5. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมและฝึกฝนภาษา กิจกรรมดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมทั้งในด้านเวลา สถานที่ ตลอดจนตัว บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งนี้เนื่องจากมีระยะเวลาจากัดและบางครั้งวิทยากรติดภารกิจ เพื่อให้เห็นถึงภาพ ของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน ผู้รายงานขอแยกนาเสนอกิจกรรมแต่ละกิจกรรมใน ภาพรวมเป็นลาดับ ดังต่อไปนี้ 1. กิจกรรมการเรียนร่วมในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา Communication Studies Department, California State University: Sacramento ได้จัด ตารางเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 และ4 โดยอนุญาตให้เข้าร่วมเรียนใน ชั้นเรียน เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อสร้างประสบการณ์และสังเกตการณ์ระบบ วิธีการและ พฤติกรรมการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา ตามความสนใจของนิสิตโดยมีสภาพเป็น Visiting Student แต่มีบางวิชาที่มีช่วงเวลาเรียนตรงกัน และบางวิชาผู้สอนได้สั่งงานแก่นักศึกษา แล้วจึงไม่มีการบรรยายจนกว่าผู้เรียนจะนาเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้กาหนด เป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม 2547 – 3 ธันวาคม 2547 (รวม 58 วัน) ซึ่ง ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้ 1. Multimedia design and Training รหัสวิชา Coms154 ผู้สอน Mary Beal, ED.D 2. Multimedia Project Planning and Management รหัสวิชา Coms184A ผู้สอน Mary Beal, ED.D 3. Introduction to Multimedia Authoring รหัสวิชา Coms149A ผู้สอน Diego Bonilla, Ph.D
  • 7. 2 4. Advance Multimedia Authoring รหัสวิชา Coms149B ผู้สอน Diego Bonilla, Ph.D 5. Multimedia Completion รหัสวิชา Coms154B ผู้สอน Diego Bonilla, Ph.D 6. Audio Production รหัสวิชา Coms020A ผู้สอน Steve Buss, MFA 7. Non-studio Production รหัสวิชา Coms128 ผู้สอน Steve Buss, MFA 8. TV Production รหัสวิชา Coms027A ผู้สอน Paul Cahil, PhD. 9. TV Production Lab รหัสวิชา Coms027B ผู้สอน Paul Cahil, PhD. 10. Producing and Directing for TV รหัสวิชา Coms127 ผู้สอน Paul Cahil, PhD. 11. Introduction to Digital Media รหัสวิชา Coms106 ผู้สอน Ray Koegel, PhD. 12. Media Aesthetic รหัสวิชา Coms124 ผู้สอน Ray Koegel,PhD 13. Multimedia for WWW รหัสวิชา Coms144 ผู้สอน Ray Koegel,PhD 14. Advance Capturing and Editing Digital Media รหัสวิชา Coms126 ผู้สอน Jenny Stark,PhD 15. Practicum in Video Production รหัสวิชา Coms185 ผู้สอน Jenny Stark,PhD เนื่องด้วยเวลามีจากัด และบ้างวิชาช่วงเวลาเรียนตรงกัน ในช่วงสัปดาห์แรกทุกคนจึง พยายามเข้าร่วมชั้นเรียนในทุกๆ วิชาและ เลือกกาหนดวิชาที่จะเข้าเรียนประจาเพื่อประโยชน์แต่ละ คน โดยเลือกรายวิชาบางวิชาที่ไม่เหมือนกันทุกคน
  • 8. 3 การเข้าศึกษาในรายวิชาต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื้อหาของหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกัน กับของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ทั้งหลักสูตรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และหลักสูตร นิเทศาสตร์ โดยเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวกับสื่อได้แก่ การผลิตสื่อทุกชนิด จะมุ่งสู่ระบบดิจิตอล ทั้งสื่อ ประเภท เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เน้นการ วางแผนผลิต และทักษะของนักศึกษาในการใช้เครื่องมือ ตลอดจนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน การผลิตสื่อ จากการสอบถามผู้สอน พบว่าจะต้องมีการสารวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตว่า ต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะด้านอะไร ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียนส่วนใหญ่ พยายามจัดหาที่มีสมรรถภาพ ศักยภาพ ตลอดจนรูปแบบที่ใกล้เคียงกับการทางานจริง แต่เป็น อุปกรณ์และเครื่องมือในระดับที่มีราคาไม่สูงมากนัก ภาพ 1 ภายในห้องเรียนวิชา Coms128 Non-Studio Production โดยอาจารย์ Steve Buss ใช้อุปกรณ์เพียงกระดานดากับชอล์คเท่านั้น ในด้านสื่อการสอน ส่วนใหญ่ผู้สอนนิยมใช้คอมพิวเตอร์ Laptop ในการนาเสนอสื่อต่างๆ แก่ผู้เรียน ทั้งภาพและเสียง และผู้สอนบางท่านใช้เพื่อการทบทวนระหว่างรอเรียน หรือในการสอบ ทั้งนี้ในห้องเรียนที่มีการใช้งานเป็นประจาจะติดตั้งระบบโสตทัศนูปกรณ์ไว้ถาวรพร้อมคู่มือการใช้ กากับไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ Multimedia Projector ,Audio Amplifier, DVD Player, Video Cassette Player , Internet LAN เป็นต้น
  • 9. 4 ภาพ 2 Laptop และ Video Projector ที่ใช้ในชั้นเรียน ภาพ 3 ภายในห้องเรียนวิชา Coms027A TV Production โดยอาจารย์ Paul Cahil ใช้ห้อง TV Studio เป็นห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์จริง ด้านเทคนิคการสอน ผู้สอนใช้ทั้งวิธีการบรรยาย การจัดกิจกรรมกลุ่ม และการให้นักศึกษา เป็นผู้แนะนาเพื่อน ผู้สอนจะมี Course Syllabus ที่แนะนากิจกรรมตลอดภาคเรียน ตลอดจน Course Material ต่าง ๆ และ Assignment ล่วงหน้าชัดเจน ผู้เรียนจะรู้ว่าต้องมีชิ้นงานอะไรและเวลาส่งงาน
  • 10. 5 ล่วงหน้า ดังนั้นผู้เรียนต้องไปศึกษามาก่อน ในชั้นเรียนจะไม่มีการทบทวนในเนื้อหาดังกล่าว แต่จะ เป็นการสอนเทคนิคพิเศษ หรือเพิ่มเติมรายละเอียดที่ทันสมัย รวมทั้งตอบข้อสงสัยหรือถกเถียง และ ความคิดเห็นในเนื้อหาที่ได้กาหนดให้ผู้เรียนได้ไปศึกษามาก่อน ผู้เรียนจึงต้องมีความรับผิดชอบสูง มาก การสอนด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะเน้นในการสอนใช้งานที่จริงจังในระดับลึก ไม่เน้น การใช้ Tool ต่าง ๆ มาก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานที่ผู้เรียนสามารถหาศึกษาได้ด้วยตนเอง แต่จะเน้น การใช้คาสั่งประเภท Script เพื่อให้สามารถใช้งานในระดับสูง ๆ ที่ซับซ้อนได้ซึ่งถือว่าเป็น ข้อสังเกตที่จะทาให้มีโอกาสในการได้งานทาสูง อนึ่งในการเข้าเรียนหากช้ากว่า 15 นาทีผู้สอนจะ ปิดประตู และถือเป็นมารยาทที่จะไม่เข้าไปรบกวน ด้านสื่อการเรียนการสอน ผู้สอนใช้ทั้งสื่อเกือบทุกประเภท โดยเลือกให้สอดคล้องกับ เนื้อหา และสามารถที่จะใช้ในการสื่อสารกับผู้เรียนได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน รายวิชานั้นๆ เช่น Transparency, Video Tape, DVD Video, PowerPoint รวมทั้งให้นักศึกษาไป Self Study กับสื่อต่าง ๆ ในห้องสมุด ซึ่งมี Resources Center ที่ได้จัดเตรียม Course Material ตามที่ ผู้สอนแจ้งไว้ให้เป็นพิเศษ การจัดตารางเรียนไม่มีการกาหนดเวลาพักเที่ยง แต่ละวิชาช่วงเวลาจะห่างกันไม่เกิน 5 นาที แต่ผู้สอนจะผ่อนปรนให้ประมาณ 15 นาที ชั้นเรียนเป็นแบบเดินเรียน ห้องบรรยายประจาภาคจะใช้ เฉพาะของภาควิชาส่วนห้องปฏิบัติการจะประจาที่ในแต่ละสาขาวิชา แต่มีอาคารเรียนที่เป็น ส่วนกลาง ห้องปฏิบัติการจะมีช่างเทคนิคประจาห้องคอยดูแล และแก่ไขปัญหาต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่ เข้าเรียนจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้เรียนติดตั้ง หรือลงโปรแกรมก็จะใช้วิธี แก้ปัญหาโดยการติดตั้งโปรแกรม Deep Freeze ซึ่งวันต่อมาโปรแกรมในเครื่องจะ อยู่ในสภาพเดิม ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในชั้นเรียนจะใช้วิธีการ Down Load Evaluation Version ซึ่งมี กาหนดใช้งานประมาณ 1 เดือนหลังจากนั้นก็จะติดตั้งใหม่ ทาให้ไม่ต้องจ่ายค่าโปรแกรมใหม่ ตลอดเวลา แต่จะซื้อโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ไว้โดยเป็น Instructor and Student Version และบางห้อง มีลักษณะเป็นการจัดซื้อแบบ Education Group License การบริการผู้เรียนในรายวิชา ผู้เรียนจะได้รับบริการในการเรียนวิชาต่าง ๆ ผ่าน Web CT รายวิชาต่าง ๆที่อาจารย์จัดทาขึ้น ซึ่งอาจจะจัดทาขึ้นเองผ่าน Course Management System ของ มหาวิทยาลัย หรือโดยความร่วมมือจาก Instructional Technologist ทั้งนี้จะมีเอกสารคาแนะนาใน การจัดทา ร่วมทั้งบริการช่วยเหลือและฝึกอบรมจาก Instructional Technology Department เมื่อ
  • 11. 6 นิสิตลงทะเบียนก็จะได้รับ Internet Account โดยอัตโนมัติ นักศึกษาสามารถต่อเข้าระบบ มหาวิทยาลัยทางโทรศัพท์และระบบ LAN ภายในมหาวิทยาลัย มีระยะเวลา 1 ภาคเรียน ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นระบบ Wireless LAN ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนที่มี Laptop สามารถใช้งานได้ตามจุดต่าง ๆ ใน มหาวิทยาลัยได้โดยสะดวก เช่น ห้องอาหาร ที่พักริมอาคาร หรือ University Student Union เป็นต้น ซึ่งนับว่าน่าสนใจและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็นามาใช้แล้ว เพราะไม่ต้องเดินสายใน มหาวิทยาลัย และระบบจะเป็นระบบปิดให้บริการLog In ได้เฉพาะนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่มีรหัสเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลของของอาจารย์และนิสิต จากการได้เข้าร่วมเรียนในรายวิชาต่าง ๆ พบว่ามีสภาพคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยใน ประเทศไทย จะแตกต่างเฉพาะในแง่แนวคิดของผู้สอนที่พยายามจะถ่ายทอดและเสริมสร้างผู้เรียน ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ให้เกิดผลกับผู้เรียนทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียมมากที่สุด ส่วนนักศึกษาจะมี ความรับผิดชอบค่อนข้างสูง 2. การฝึกอบรมระยะสั้น นอกจากรายวิชาดังกล่าวแล้ว ยังได้รับความกรุณาจาก Professor. Dr. Ray Koegel, PhD. จัดอบรมการใช้งาน Web CT ให้เฉพาะและให้ทดลองจัดทา Web CT ของมหาวิทยาลัยในฐานะ Co-Instructor ในวันพุธบ่าย และศุกร์เช้า ครั้งละ 3 ชั่วโมงรวม 6 ครั้ง โดยเรียนรู้โครงสร้างของ Web CT และเครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดทา Web CT ในแต่ละรายวิชา ซึ่งพบว่ามีความคล้ายคลึงกับ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาก และได้สอบถามถึงแนวคิดในการเลือกและนาเอา Web Ct มาใช้ ซึ่งพบว่าในมีการพิจารณา ตลอดจนสารวจและทาวิจัยแล้วจึงได้ตัดสินใจเลือกระบบดังกล่าวโดยให้ จัดทาตามเงื่อนไขความต้องการที่มหาวิทยาลัยสารวจพบ อย่างไรก็ตามพบว่ามีอาจารย์เพียง บางส่วนที่เข้าร่วมจัดทาWeb CT และบางส่วนยังรู้สึกว่าต้องเสียเวลา และยังกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ทาง ปัญญาอยู่ รวมทั้งบางส่วนยังต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจในงานด้านนี้อยู่ ซึ่งน่าจะเป็นเช่นเดียวกับ ในประเทศไทย
  • 12. 7 Web CT (Web Course Tool) วิวัฒนาการทางการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ผ่านมาเป็น อย่างมาก เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet) ได้เข้ามามีบทบาทเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งเป็นการบูรณาการวิธีการสอน โดยการนาเทคโนโลยี ลักษณะ รูปแบบของการใช้ ICT และสื่อต่างๆ มาใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ทาให้ผู้สอนและผู้เรียนต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทและต้องพัฒนา ทักษะความสามารถของตนเอง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุค ICT ได้ ส่งผลต่อรูปแบบการเรียนการสอนให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการเรียนแบบผู้เรียน เป็นจุดศูนย์กลาง และเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน สาหรับบทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียนในยุค ICT นั้น กิดานันท์ มลิทอง (2548 : 168-169) ได้กล่าวว่า การใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอนทาให้ครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ จากการเรียนการสอนในห้องแบบเดิมที่มีครูเป็นจุดศูนย์กลางเป็นบทบาทของ - ผู้จัดการของการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน - ผู้กากับการสอน - ผู้อานวยความสะดวก - ผู้ออกแบบ ส่วนผู้เรียนนั้นจะต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากผู้รับฝ่ายเดียวมาเป็นผู้มีส่วน ร่วมในการเรียนการสอน สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักคิดในลักษณะต่างๆ ที่ทาให้ เกิดความรู้ที่กว้างและแตกฉานมากขึ้น ไม่คิดแบบอยู่กับที่ แต่ต้องมีความคิดแบบเชื่อมโยง คิดแบบ สร้างสรรค์และคิดแบบนอกกรอบ (Lateral thinking) คือ ความสามารถที่คิดออกจากความคิดเดิมที่ ครอบงาอยู่เพื่อให้ได้ความคิดใหม่ๆ (กิดานันท์ : 2548,143) สาหรับรูปแบบการเรียนการสอนในยุค ICT นั้น Stamper (2002 :15) กล่าวถึง รูปแบบการเรียนแบบผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนว่า หมายถึง การให้ผู้เรียนมีบทบาทใน กระบวนการเรียนมากกว่าผู้สอน ผู้เรียนจะเป็นจุดสนใจและเป็นบุคคลที่ต้องคานึงถึงมากที่สุดใน กระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิดและกาหนดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กาหนดการทา กิจกรรมและมีการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ส่วนผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ให้คาแนะนาและ
  • 13. 8 อานวยความสะดวกเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สาหรับรูปแบบการ เรียนจะไม่ใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนด้วย ตนเอง และเรียนรู้แบบการให้ความร่วมมือ และ/หรือ การเรียนตามอัตราการกระทาของตน (self- paced learning) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มากกว่าการ ร่วมมือ เพราะการเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นการเรียนรู้ทั้งกระบวนการ ผู้เรียนซึ่งอาจจะเป็นทั้งชั้นเรียน หรือแบ่งกลุ่มกันเองเพื่อร่วมกันประสานความพยายามในการแก้ปัญหา ผู้เรียนอาจสอนกันเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยผู้สอนเข้ามามีบทบาทในลักษณะของผู้ให้คาแนะนาและผู้อานวย ความสะดวก ผลลัพธ์ที่ได้ทาให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทาร่วมกัน และอาจสร้างเป็นองค์ความรู้ ใหม่ขึ้นมาได้ (Lehtinen and Other : มปป, Tinzmann : 1990, Wiersema : 2000) เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนทั้งสองลักษณะดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็น ถึงการความเปลี่ยนแปลงในการได้มาซึ่งสารสนเทศทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถที่จะสืบได้เอง ด้วยวิธีการและจากสื่อต่างๆ เพื่อนามาใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยเฉพาะการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ทั้งแบบไม่ต่อเครือข่าย (Stand alone) และระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ (Internet) ซึ่งเป็นสื่อทางด้าน ICT ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระบบ การศึกษา Walker (1997 : 209) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ร่วมกันไม่สามารถแก้ปัญหาการสร้างทักษะ ความเข้าใจในระดับสูงและโครงสร้างความรู้ที่ซับซ้อนได้ จึงต้องมีสื่อที่สามารถสร้างการมี ปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอต่อการเชื่อมโยงความคิดใหม่ที่จะเรียนและความรู้เดิมของผู้เรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งสื่อที่ดีที่สุด คือ คอมพิวเตอร์ โดยใช้ในลักษณะ Computer Supported Collaborative Learning (CSCL) การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะระบบเครือข่าย (Internet) นอกจากผู้สอนผู้เรียนจะ สามารถสืบค้นสารสนเทศทางการศึกษาได้โดยไม่มีข้อจากัดเรื่องระยะทาง ระยะเวลา และสถานที่แล้ว ยังสามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรื่องการสอนในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นการช่วยสนับสนุน การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ ทาให้เกิดบรรยากาศทางการเรียนการสอนที่มิได้จากัดเฉพาะ ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เป็นห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และห้องเรียนไร้พรหมแดน (Global Classroom) ที่มีการเรียนลักษณะออนไลน์ โดยการใช้ Web page, Web based , Web CT ,WebBoard,Chat, E-mailเป็นต้น
  • 14. 9 Web CT (Web Course Tools) หมายถึง ส่วนประกอบที่สาคัญของ Web-Based Learning ซึ่งเป็นการรวบรวมสาระการเรียนรู้ ข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ในลักษณะที่เป็น สภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (virtual learning environment (VLE)) ข้อมูลและทรัพยากรการเรียนต่างๆ จะถูกจัดเตรียมไว้เป็นโมดูล มีเนื้อหาที่เป็นบทเรียน แบบฝึกหัด การมอบหมายกิจกรรมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แบบทดสอบ ตลอดจนการ ประเมินผลการเรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่จากัดเรื่องเวลาและสถานที่ โดยผู้สอนสามารถที่จะประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และผู้เรียนก็สามารถตรวจสอบผลการ เรียนเพื่อพัฒนาตนเองได้ รวมทั้ง ยังมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทั้งในลักษณะ การอภิปราย การสนทนาโต้ตอบแบบ Real time ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้สอนกับผู้เรียนได้ ในรูปแบบที่เป็นกลุ่มและเดี่ยว ซึ่งเป็นการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ (E-Learning) ทั้งการเรียนในลักษณะทางไกล และการเรียนแบบปกติ ( http://www.brunel.ac.uk/shssc/webct.htm ) WebCT เป็นสิ่งที่มีความจาเป็นและนิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนของ อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วโลก รวมทั้ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ California State University of Sacramento (CSUS) ด้วย ซึ่งได้นา Web CT มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียน การสอนแบบปกติที่มีการจัดชั้นเรียน โดยผู้สอนจะจัดเตรียมเนื้อหาบทเรียนในรายวิชาต่างๆ ที่มี การจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษานั้น ในลักษณะที่เป็นโมดูล ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาได้ ตลอดเวลาเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า หรือผู้สอนอาจจะมอบหมายกิจกรรมให้ผู้เรียนทาหรือค้นคว้า ก่อนเข้าชั้นเรียน หรือเป็นการทบทวน การทาแบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังจากที่ได้เรียนในชั้น เรียนแล้ว ตลอดจน การประกาศ การแจ้งเรื่องราวต่างๆ การติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านการใช้ คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนาเสนอเนื้อหาบทเรียน ตลอดจนการสร้าง Web CT ตามรายวิชาที่เปิด สอนในภาคการศึกษานั้น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่ง CSUS ได้ จัดให้มีการฝึกอบรม อาจารย์ผู้สอน ในการสร้าง Web CT โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ A Division of Computing, Communications & Media Services และ Staff Resource Center ในการจัดหลักสูตร การฝึกอบรม การหาวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้ง สถานที่และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการ ฝึกอบรม โดยอาจารย์ทุกคนใน CSUS สามารถที่จะเข้ารับการฝึกอบรมหรือไม่ก็ได้ตามความ
  • 15. 10 ต้องการ เมื่ออาจารย์ผู้สอนได้รับการฝึกอบรมแล้ว และต้องการที่จะสร้าง Web CT สาหรับรายวิชา ของตนเองก็จะติดต่อขอรับ Account ID และ Password ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สามารถที่จะติดต่อ กับผู้ดูแล Home page เพื่อ Link กับ Home page ของ CSUS ต่อไป ส่วนผู้เรียนก็จะได้รับ Account ID และ Password เพื่อเข้าไปศึกษารายละเอียดในเนื้อหาวิชาในแต่ละโมดูล และร่วมกิจกรรมการ เรียนทาง Web CT ตลอดจนได้รับผลการเรียนของตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนของตนเองต่อไป ใน ขณะเดียวกันก็ยังมีการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติ Web CT เป็นส่วนเสริมในการ เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพทางการเรียนมากขึ้น
  • 16. 11 แผนผัง 1 รายละเอียดของกระบวนการฝึกอบรม Web CT (Web Course Tools) WebCT1: WebCT2: WebCT3: WebCT4: WebCT5: AnIntroduction Management Communication Assessment Management/ Student andContent Tools Tools Tracking/Grade book AdvancedTools Creating Web CT Creating Interactive Creating Movies Quizzes with Quizzes with Video Series with movies Responds Tool Book Creating Movies WithPinnacle DigitalCameras& ImageAcquisition Digital Imaging Series ImageScanning Photoshop Elements
  • 17. 12 ภาพ 4 Home page ของ CSUS (http://www.csus.edu) ภาพ 5 การเข้า Web CT จาก Home page ของ CSUS
  • 18. 13 [ Contact Us | Site Map | CSUS ] Welcome to WebCT at CSUS Announcements Log in to your WebCT course by clicking on the Login myWebCT link above. Your WebCT username is the same as your Sac Link username. The password is your Sac Link password. If you have problems logging in, fill out the login problem form. If you are experiencing problems once logged into WebCT, see the WebCT System Check page to make sure you are using one of the recommended browsers. Winter and Spring 2005 Students: Check the Active Course List to see a list of courses. What if I forgot my Sac Link Password? If you do not remember your Sac Link password, please see the "What if I Forgot My Sac Link Account or Password" Web page located at http://www.csus.edu/saclink/faq/forgotPass.stm. If you are at a distance you may contact the Sac Link Help Desk at (916) 278-7337, or via e-mail at saclink@csus.edu for information on how to reset your password. New to WebCT? Discover how to get started with WebCT. Obtain a Sac Link account, check your system and browser, and follow our login instructions. About WebCT To view the full list of WebCT Courses at CSUS check the Course Listing. ภาพ 6 หน้าแรก Web CT ของ CSUS
  • 19. 14 ภาพ 7 การ Login เข้า Web CT ของ CSUS ภาพ 8 รายวิชาที่มีรายละเอียดข้อมูลและสร้างเป็น Web CT
  • 20. 15 ภาพ 9 เนื้อหาวิชาที่มีการแบ่งเป็นโมดูล ภาพ10 เนื้อหาวิชาที่มีการแบ่งเป็นโมดูล
  • 21. 16 ภาพ 11-12 บรรยากาศในการเรียนการสร้าง Web CT ภาพ 12 บรรยากาศในการเรียนการสร้าง Web CT อีกมุมหนึ่ง
  • 22. 17 ภาพ 13 Professor Dr. Raymond Koegel อาจารย์ผู้สอนการสร้าง Web CT ภาพ 14 บรรยากาศในการเรียน Web CT
  • 24. 19 นอกจากนี้ Professor Dr. Richard Adam Ph.D สาเร็จการศึกษาจาก Oxford University.ซึ่ง สอนเกี่ยวกับ Shakespeare อยู่ที่ English Department เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาอังกฤษ ได้ฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษให้เป็นกรณีพิเศษในวันศุกร์ช่วงเวลา 18.00-19.00 น. โดยเน้นการ พูด การฟังเป็นพิเศษโดยหวังให้สามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ และชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพ 17 Professor Dr. Richard Adam Ph.D (คนที่ 2 จากซ้าย)
  • 25. 20 3. การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ภาพ 18 Professor Dr.Diego Bonilla, Ph.D ซึ่งทราบว่านิสิตผู้มาเยี่ยมเป็นผู้สนใจงานด้าน Educational Technology จึงได้จัดนาเสนอ Dissertation Abstract ของตนเองซึ่งเกี่ยวโยงกับงานด้าน Educational Technology ซึ่งเป็น การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคการ จาลองเหตุการณ์การเดินเข้าสารวจอาคารสร้างภาพโดยใช้เทคนิค Virtual Simulation ด้วย โปรแกรม QuickTime VR มีการ Track ผู้ทดลองด้วยการศึกษาการเคลื่อนไหวของสายตา การ ตอบสนองของการเคลื่อนไหว และจานวนและความถี่ในการตอบสนองตอบ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า มีความสนใจในเรื่องของพฤติกรรมการใช้ Computer Multimedia โดยพยายามหาแนวทางที่จะ สามารถทาให้เกิดผลต่อผู้เรียนมากที่สุด ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด และความรู้ตลอดจน ประสบการณ์กับ Professor Dr.Diego Bonilla อย่างเป็นกันเอง นอกจากนี้คณะนิสิตยังได้รับความกรุณาจาก Professor. Dr. Robert Curry Ph. D ซึ่งเป็น Merit Professor ได้จัดบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ Thailand: Economic Challenge and The Road Ahead. ให้เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นการนาเอาผลงานที่ท่านได้เขียนขึ้นและจัดพิมพ์ใน วารสาร The Institute of Southeast Asian studies.ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงการเปิดเสรีทางการ ค้า Asia Free Trade Area (AFTA) มานาเสนอ ซึ่งจากการรับฟังพบว่าสหรัฐอเมริกากังวลต่อเรื่อง ดังกล่าว และพยายามที่หาทางในการลดการเสียเปรียบ ซึ่งในส่วนตัวเห็นว่าสหรัฐอเมริกาศึกษา ประเทศไทยอย่างละเอียดในทุกแง่มุม และพยายามที่เอาชนะในทางการค้าต่อประเทศต่าง ๆ ที่จะ
  • 26. 21 ส่งผลต่อเศรษฐกิจของตนเอง อย่างไรก็ตามนับเป็นความรู้ที่สามารถนามาคิดวิเคราะห์และใช้ใน การปฏิบัติงานได้เช่นกัน ภาพ 19-1 Professor. Dr.Robert Curry Ph.D กำลังบรรยำยและแลกเปลี่ยนควำมรู้ ในหัวข้อ Thailand: Economic Challenge and the Road Ahead. ภาพ 19-2 ถ่ายรูปร่วมกับ Professor. Dr.Robert Curry Ph.D
  • 27. 22 4. การศึกษาดูงาน ในการศึกษาดูงานทั้งหมดเป็นการศึกษาดูงานทั้งในแง่เทคนิค อุปกรณ์เครื่องมือ เทคโนโลยี ตลอดจนแนวคิดในการดาเนินการ โดยประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 4.1 Central Library, California State University Sacramento วันที่ 14 ตุลาคม 2547 เวลา 13.00-15.00 น. ผู้บรรยาย Linda J.Goff, M.S.,M,L,S. ตาแหน่ง Head, Instructional Service ผู้นาชม H.Reza PeiGahi ตาแหน่ง Instructional Service ภาพ 20 Linda J.Goff (คนซ้ำย) หัวหน้ำ Instructional Servicede กำลังอธิบำย
  • 28. 23 ภาพ 21 ภำยในห้องสมุดของ CSUS Central Library, California State University Sacramento เป็นห้องสมุดกลางของ มหาวิทยาลัยมีบริการด้านต่าง ๆ ให้นักศึกษา เช่นเดียวกับห้องสมุดในมหาวิทยาลัยทั่วไป ในประเทศไทย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือ วารสาร หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ และโสตทัศน์ เช่น วิดีโอเทป เทปเสียง ดีวีดี เป็นต้น ระบบการบริการมีทั้งแบบบุคคล และ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของมหาวิทยาลัย สามารถจอง ต่ออายุการยืมผ่านเครือข่าย ภายใน บริการที่น่าสนใจคือ สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกจะมีการแปลงให้อยุ่ในรูปของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น Scan เป็น Image file หรือในรูป Text files แล้วจัดทาเป็น ฐานข้อมูลแยกเป็นหมวดหมู่ตามสาขาวิชา และให้บริการแก่นักศึกษาในการ Download ไป ใช้งาน นอกจากนั้นในห้องสมุดยังมีจุดบริการ คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสืบค้นจานวน มากกว่า 30 เครื่อง และให้บริการ Wireless Internet ในทุก ๆ ชั้น และกรณีหนังสือเก่า หรือ สื่อที่ไม่ใช้แล้วจะมีการนาออกจาหน่ายโดยรับเป็นเงินบริจาค ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากต่างกันที่จานวนหนังสือที่มี มากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ 4.2 The California Peace Offices Standards and Training. 1601 Alhambra Blvd.Scramento.CA 95816-7083 (http://www.post.ca.gov) วันที่ 20 ตุลาคม 2547 เวลา 09.00 -12.00 น. ผู้บรรยาย Mice ตาแหน่ง Instructional Designer
  • 29. 24 ภาพ 22 กำรบรรยำยในห้องประชุมPOST ภาพ 23 ภำยในห้องผลิตสื่ออบรม The California Peace Offices Standards and Training (POST) เป็นศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ตารวจเพื่อให้การออกปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย และอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธี และขั้นตอน เจ้าหน้าที่ตารวจจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมอย่างสม่าเสมอ รูปแบบการฝึกอบรมมีทั้ง การบรรยาย และใช้สื่อต่าง ๆ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ที่ใช้สาหรับการฝึกอบรม โดยผลิต จากโปรแกรม Macromedia Authorware ที่เน้นการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ฝึกอบรมโดยมีภาพวีดีโอ แทรกเป็นระยะ เช่นการฝึกการจับกุมในรูปแบบต่าง ๆ
  • 30. 25 ภาพ 24 หัวหน้ำหน่วยงำนกำลังสำธิตกำรใช้ Interactive DVD สาหรับ Interactive DVD Training นั้น สามารถผลิตได้ไม่ซับซ้อน แต่ต้องมีการศึกษาในเชิงเทคนิค เพื่อให้เป็นลักษณะการนาเสนอที่น่าสนใจ โดยมีเล่ม Catalog รวมรายการ Interactive DVD Training ที่ผลิตให้เลือกไปสาหรับฝึกอบรม ภาพ 25 Logo ของ POSTใน DVD
  • 31. 26 ภาพ 26 Title Index ใน DVD Interactive DVD ซึ่งเป็นเสมือนบทเรียนสาเร็จรูปที่ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนเป็นภาพ วิดีโอเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการเข้าจับกุมที่ถูกต้อง ขั้นตอนการพูดกับประชาชน หรือ ขั้นตอนการแสดงตนควรกระทาอย่างไร และมีแบบทดสอบผู้เรียน ซึ่งบรรจุในแผ่น Interactive DVD จัดส่งไปยังเจ้าหน้าที่ตารวจที่รับผิดชอบในการพัฒนาบุคลากรตามสถานีต่าง ๆ ซึ่งทั้งภาพ และเสียงมีคุณภาพสูงมาก เหมาะสาหรับการนามาประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมที่ต้องมีการแสดง ภาพในรูปวิดีโอ เช่น การเล่นกีฬา ขั้นตอนการทางานของช่างอุตสาหกรรม การทางานที่ต้องการ แสดงขั้นตอนชัดเจนเป็นลาดับ ตารวจจะได้รับการฝึกการขับขี่ยานพาหนะที่เป็นการจาลองสถานการณ์จากเครื่อง Driving Simulation Training
  • 33. 28 ภาพ 28 เครื่องมือสำหรับฝึกกำรใช้วิทยุสื่อสำร Radio Simulation Training รวมทั้ง ตารวจจะได้รับการฝึกการใช้วิทยุสื่อสารที่เป็นการจาลองสถานการณ์จากเครื่อง Radio Simulation Training อีกด้วย ภาพ 29 เครื่องมือสำหรับฝึก Real-life Simulation Training การจาลองสถานการณ์ (Simulator) แบบ Real-life Simulation Training เป็นการฝึกการ เข้าจู่โจม การจับกุม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการจาลองสถานการณ์ฝึกขับเครื่องบิน (Flight Simulator)
  • 34. 29 ที่ใช้ฝึกนักบิน โดยฉายภาพบนจอขนาดใหญ่แล้วให้ผู้เข้ารับการฝึกยืนต่อหน้าแสดงการปฏิบัติงาน โดยมีการบันทึกวิดีโอเทปไว้เพื่อนากลับมาตรวจสอบ หาข้อบกพร่อง และแนวทางแก้ไข เป็นการ นาเทคโนโลยีมาใช้ในการฝึกอบรมที่น่าสนใจมาก แต่มีค่าใช้จ่ายสูง ภาพ 30 เครือข่ำยของPOST ที่ประสำนงำนกัน มีการจัดส่งสื่อสาหรับการฝึกอบรมไปยังเจ้าหน้าที่ตารวจตามสถานีต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งใน ปัจจุบัน The California Peace Offices Standards and Training (POST) กาลังพัฒนาใช้ Web CT ในการอบรมเจ้าหน้าที่แบบออนไลน์ ในอนาคตต่อไป
  • 35. 30 4.3 California, Cable & Telecommunication Association. 1121 L Street Suite 110 Sacramento, CA 9581 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 เวลา 11.00 - 14.00 น. ผู้บรรยาย Dennis Mangers, ตาแหน่ง President ภาพ 31 ด้านหน้าประตูสานักงาน CCTA สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นประเทศมีพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ละมลรัฐมีอาณาเขตที่กว้างขวาง คลอบคลุมระหว่าง 2 คาบสมุทร จากชายฝั่งทิศตะวันตกถึงชายฝั่งทิศตะวันออก มีเวลาที่แตกต่างกัน ถึง 3 ชั่วโมง ในกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ จึงไม่สามารถที่จะดาเนินการออกอากาศในเครือข่ายได้ พร้อมกันในเวลาที่ตรงกันได้ การจัดรายการ (Programming) ในส่วนที่เป็นเครือข่าย (Network) จะต้องมีการจัดสรรให้เหมาะสม โดยทาการฉายซ้า (Re-run) สาหรับรายการที่ออกอากาศทั่ว ประเทศในเวลาท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ การดาเนินการเช่นนี้หมายรวมถึงสถานีวิทยุโทรทัศน์ตาม สาย (Cable Television) ทั้งส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายด้วย
  • 36. 31 ภาพ 32 Website CCTA ในมลรัฐคาลิฟอร์เนีย องค์การ CCTA (California Cable & Telecommunications Association) เป็นองค์การร่วมมือระหว่าง สถานีโทรทัศน์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ตามสาย บริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่ร่วมมือกันดูแลและบริการงานการบริการต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงาน อิสระที่ทาหน้าที่เสมือนคอยควบคุมดูแลสมาชิกด้วยกันเอง และยังมีหน้าที่ในการให้บริการสังคม เช่น การให้บริการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแก่โรงเรียนต่าง ๆ เป็นการคืนประโยชน์แก่สังคม รับ ร้องเรียนจากผู้ชม ผู้รับบริการ และยังมีศุนย์ผลิตรายการขนาดเล็กที่คอยช่วยเหลือการผลิตให้แก่ หน่วยงานต่าง ๆ ด้วย การควบคุมดูแลกิจการด้านสถานีวิทยุโทรทัศน์ตามสาย (Cable Television) และระบบโทรคมนาคม (Telecommunications) ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนที่ใช้บริการติดตั้ง ระบบควบคุมเนื้อหาของรายการให้เหมาะสมกับวัยของผู้ชม ทั้งนี้ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ที่ผลิต ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา และมีขนาดตั้งแต่ 13 นิ้วขึ้นไป ทางบริษัทผู้ผลิตทุกบริษัทจะดาเนินการ ติดตั้งระบบ “V -chip” ที่สามารถกาหนดวุฒิภาวะของผู้ชมรายการ (Rating) ได้ การแบ่งเนื้อหา
  • 37. 32 ของรายการวิทยุโทรทัศน์ทั่วไปจะใช้อายุของผู้ชมเป็นตัวกาหนด สาหรับภาพยนตร์เรื่องยาวทาง วิทยุโทรทัศน์ ยังคงใช้มาตรฐานของ MPAA เป็นมาตรฐานกาหนดเช่นในโรงภาพยนตร์ การกาหนดว่ารายการใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม นอกเหนือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ จะส่งออกอากาศมากับรายการนั้นและสามารถเช็คดูได้จากจอวิทยุโทรทัศน์แล้ว ผู้ปกครองยัง สามารถใช้เครื่องควบคุม (Remote Control) ในการกาหนดให้ผู้ชมที่เป็นเด็กในบ้านดูรายการระดับ ใดได้บ้าง ทั้งนี้ ผู้ปกครองจะกาหนดเลขรหัส (Password) สาหรับรายการที่ไม่เหมาะสมไว้ ภาพ 33 การใช้รีโมทในการควบคุมของผู้ปกครอง การกาหนดวุฒิภาวะของผู้ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (TV Parental Guidelines) แบ่ง ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มรายการเด็กและเยาวชน และกลุ่มผู้ชมทั่วไป ภาพ 34 การแบ่งวุฒิภาวะของผู้ชมรายการโทรทัศน์ในอเมริกา
  • 38. 33 1. กลุ่มรายการสาหรับเด็กและเยาวชน (Children’s Programming) แบ่งออกเป็น2 ระดับ คือ 1.1 TV Y (All Children) เป็นรายการมีเหมะสมสาหรับเด็กและเยาวชนทั่วไป เนื้อหา สาหรับ เด็กอายุ 2-6 ขวบโดยเฉพาะ 1.2 TV Y7 (Direct to Older Children) เนื้อหาของรายการมักจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อและเป็น จริงได้ในความคิดของเด็ก เป็นรายการที่เด็กอายุต่ากว่า 7 ขวบ ต้องมีผู้ปกครองคอยดูหรือแนะนา ปัจจุบัน ได้มีการกาหนดเนื้อหารายการ ขึ้นมาอีก 1 ประเภท คือ TV Y7 FV (Direct to Children-Fantasy Violence) สาหรับเนื้อหาที่มีภาพกราฟิกหรือภาพจินตนาการที่สร้างให้เกิดความ รุนแรงแฝงอยู่ (Fantasy Violence) 2. กลุ่มรายการสาหรับผู้ชมทั่วไป (General Audience Programming) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 2.1 TV G (General Audience) เป็นรายการทั่วไปที่ผู้ชมส่วนใหญ่รับชม เนื้อแฝงความรุนแรง ไม่มากนักหรือไม่มีเลย ไม่มีถ้อยคารุนแรง อาจมีบทรักบ้าง แต่ไม่อนาจาร 2.2 TV PG (Parental Guidance Suggested) เนื้อหาของรายการไม่เหมาะสมหรับเยาวชนมาก นัก ควรมีผู้ปกครองคอยให้คาแนะนาหรืออยู่ด้วย เนื้อหาประกอบด้วยความรุนแรงปานกลาง (Moderate Violence (V)) มีบทรักบางตอน (Some Sexual Situation(S)) มีการใช้ภาษาไม่เหมาะสม บ้าง อาจต้องมีคาเตือน(Infrequent Coarse Language (L) or Some Suggestive Dialogue(D)) 2.3 TV14 (Parents Strongly Cautioned) เนื้อหาของรายการไม่เหมาะสาหรับเยาวชนอายุต่า กว่า 14 ปี เนื้อหารายการที่มีความรุนแรง (Intense Violence (V)) และบทรักที่วาบหวาม (Intense Sexual Situation (S)) การใช้ถ้อยคาที่ไม่เหมาะสมหยาบคาย (Strong Coarse Language(L) จะต้องมี คาเตือนอยู่ด้วย (Intensely Suggestive Dialogue(D)) 2.4 TV MA (Mature Audience Only) เนื้อรายการสาหรับผู้ที่มีวุฒิภาวะแล้ว ไม่เหมาะสม สาหรับเยาวชนอายุต่ากว่า 17 ปี เนื้อหาอาจเต็มไปด้วยเทคนิคกราฟิกที่สร้างความรุนแรงให้เกิดมาก
  • 39. 34 ขึ้นกว่าความเป็นจริง (Graphic Violence (V)) ภาพกิจกรรมทางเพศ (Explicit Sexual Activity(S)) หรือถ้อยคาสบถด่าที่หยาบคายมาก (Crude Indecent Language) Dennis H. Mangers ประธานองค์การ CCTA ได้ให้ความสาคัญด้านการศึกษา อย่างมาก โดยมีนโยบายการนาระบบวิทยุโทรทัศน์ตามสาย (Cable Television) มาช่วยในการเรียน การสอน ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านสื่อการสอนที่ใช้สาหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ (Media Literacy Resources) และเป็นศูนย์กลางที่จะเผยแพร่ไปสู่ประชาชนต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาด้านการ นาระบบดิจิตอล และระบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงมาใช้อีกด้วย ภาพ 35 Dennis H. Mangers ประธานองค์การ CCTA แผนผัง 2 แนวนโยบายของ CCTA ในปัจจุบัน What's New Beyond "Basic" - It's Not Your Parents' Cable Anymore! Get rid of the old perceptions about cable television. Greater competition and new technologies have changed all that.
  • 40. 35 Good For California Cable - An Economic Force for California The cable industry is a significant, influential force within the California economy which generates substantial revenues and jobs and provides in-demand broadband services to millions of residents and businesses. Part of Our Community California Cable - Giving Back to Our Communities Unlike most communications competitors, cable is regulated at the federal, state and local levels—so it never loses sight of the importance of remaining actively involved in all communities. Competition Competition Has Arrived! Competition in the cable and communications industries is not just something we anticipate for the future - it's here, now! New Technology New Technologies Mean More Customer Choices and High Tech Growth for California Cable is no longer just a delivery system for one-way television. A new range of cable technologies is changing how customers use communications services, improving the ways we learn and play. Broadband Coming Soon to Your Neighborhood. Cable companies are investing billions of dollars nationally to upgrade their infrastructure and improve their facilities - almost $11 billion in 1999 alone. Education Cable Wires Schools & Libraries to High-Speed Services. In 1996, the cable industry made a national commitment to bring the advantages of high-speed Internet access via cable modems to all students and citizens through public schools and local libraries.
  • 41. 36 Digital Divide Providing High-Speed Services to all Neighborhoods. The "Digital Divide" means different things to different people. But in a time of incredible economic growth and technological advancement, there remains concern that many Americans may be left behind in the "Internet Revolution" because of race, gender, economic status or where they live ภาพ 36 DSL vs. Cable Modem Competition The FCC reported that in the first six months of 2000, customers using high-speed lines to the Internet increased by 57 percent for a total of 4.3 million subscribers overall. The graphs below show the national growth rates of DSL and cable modem lines in service. In addition, the FCC reported an18 percent growth in high-speed lines delivered by satellite, fixed wireless, fiber and wireline technologies. 4.4 Learning Resources Center (LRC), California City College วันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 เวลา 17.00 - 19.00 น.
  • 42. 37 ภาพ 37 ด้านหน้า Sacramento City College นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ไปศึกษาดูงานที่ Sacramento City College ในวันพฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2547 เมื่อเวลา 14.30 – 18.00 น. โดยข้อมูลใน การศึกษาดูงานในครั้งนี้มีรายละเอียดดังนี้ Sacramento City College เป็นวิทยาลัยแห่งหนึ่งของเมือง Sacramento โดยเปิดสอนใน ระดับอนุปริญญา หน่วยงานที่ได้เข้าไปศึกษาดูงานในครั้งนี้คือ Learning Resource Center (LRC) ซึ่งจากการศึกษารูปแบบการบริหารงานนั้น พบว่าห้องสมุดของวิทยาลัยแห่งนี้จะอยู่ภายใต้การดูแล ของ Learning Resource Center (LRC) แห่งนี้ด้วย Learning Resource Center (LRC) จะเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยชั้นที่ 3 และชั้นที่ 2 จะเป็น ส่วนที่ให้บริการเหมือนกับการบริการในห้องสมุดทั่ว ๆ ไป คือจะเปิดให้บริการในส่วนที่เป็นตารา หนังสือ และวารสาร ส่วนในชั้นที่ 1 นั้น จะเน้นไปในด้านการให้บริการในด้านคอมพิวเตอร์ โดย ในแต่ละชั้นจะมีแผนผังดังนี้ ชั้นที่ 3
  • 43. 38 ภาพ 38 การจัดส่วนการใช้พื้นที่ชั้นที่ 3 ของ Sacramento City College ชั้นที่ 3 จะเป็นชั้นหนังสือทั้งหมด มีพื้นที่จัดไว้สาหรับศึกษาค้นคว้า และส่วนให้บริการ ซ่อมบารุงเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ไว้ให้บริการ โดยนักศึกษา สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือใน Learning Resource Center (LRC) ได้เท่านั้น (LOIS : the Library Catalog) แต่จะไม่สามารถใช้เล่น Internet หรือพิมพ์งาน ได้เลย
  • 44. 39 ชั้นที่ 2 ภาพ 39 การจัดส่วนการใช้พื้นที่ชั้นที่2 ของ Sacramento City College ชั้นที่ 2 จะเป็นบริเวณที่จัดวางหนังสืออ้างอิง นิตยสาร วารสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ใน การสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือใน Learning Resource Center (LRC) และห้องสาหรับศึกษาค้นคว้า เป็นรายกลุ่ม ห้องเรียน นอกจากนั้นยังมีส่วนที่เป็น Office และมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ
  • 45. 40 ชั้นที่ 1 ภาพ 40 การจัดส่วนการใช้พื้นที่ชั้นที่1 ของ Sacramento City College ชั้นนี้จะเป็นชั้นล่างสุดของอาคาร จะไม่มีการจัดวางชั้นหนังสือ พื้นที่ของชั้นนี้จะแบ่ง ออกเป็นสองส่วนอย่างเด่นชัดคือ ฝั่งด้านขวา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ไว้ ให้บริการพิมพ์งาน เล่น Internet ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีมุมที่จัดไว้ สาหรับให้บริการ Video ส่วนฝั่งทางด้านซ้ายของตึกนั้นจะเป็นห้องที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าราย กลุ่ม ห้องทางานของเจ้าหน้าที่ และมีส่วนที่เป็นห้องสตูดิโอ และห้องผลิตสื่อการเรียนการสอน
  • 46. 41 จากการศึกษาดูงานที่ Learning Resource Center (LRC) ของ Sacramento City College ในครั้งนี้สามารถนาเสนอการประมวลภาพได้ดังนี้คือ Tutorial Services ในการให้บริการในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้น Learning Resource Center (LRC) จะมีห้องเล็ก ๆ แยกไว้หลายห้องเพื่อให้นักศึกษาสามารถที่จะใช้ใน การศึกษาค้นคว้า หรืออาจารย์ใช้สาหรับการติวเป็นรายกลุ่ม ซึ่งห้องดังกล่าวจะเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีโทรทัศน์และเครื่องเล่น Video ไว้ให้บริการ โดยนักศึกษาสามารถเปิดดู TV Course ที่ ถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านทาง Cable TV ของทางวิทยาลัยได้โดยนักศึกษาหรืออาจารย์ที่ ต้องการจะใช้บริการของห้องนี้จะต้องติดต่อขอจองห้องกับทางเจ้าหน้าที่ของทาง Learning Resource Center (LRC) ก่อนการเข้ารับการใช้บริการ ภาพ 41 การใช้บริการ Tutorial Services Audio / Visual Stations พื้นที่ในส่วนนี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ให้บริการ คอมพิวเตอร์ และทีวี โดยส่วนที่เป็นคอมพิวเตอร์นั้นนักศึกษาสามารถเข้ามาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการพิมพ์รายงาน สืบค้นข้อมูลหนังสือและสื่ออื่น ๆ ภายในห้องสมุดโดยใช้โปรแกรมสืบค้น ฐานข้อมูล (LOIS : the Library Catalog) และสามารถใช้เล่น Internet ได้
  • 47. 42 ภาพ 42 การใช้บริการ Audio / Visual Stations โดยนักศึกษาที่จะเข้ามาใช้จะต้องเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับทางวิทยาลัยแห่งนี้ เท่านั้น เพราะก่อนการเข้าใช้งานทุกครั้งจะต้องมีการ Log in Password ส่วนในการที่จะทาการ พิมพ์งานนั้น นักศึกษาจะต้องซื้อบัตรจากเครื่องขายบัตรอัตโนมัติที่ทางวิทยาลัยได้จัดไว้ให้ แล้ว ใช้รหัสจากบัตรในการสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการ และเมื่อจานวนเงินในบัตรหมด นักศึกษาก็ สามารถที่จะเติมเงินจากเครื่องเติมเงินอัตโนมัติได้จากที่นี่เช่นเดียวกัน ภาพ 43 เครื่องขายบัตรอัตโนมัติ
  • 48. 43 นอกจากจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการส่วนบุคคลแล้ว ที่ Learning Resource Center ยังจัดให้มีห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อการเรียนการสอนเป็นกลุ่มอีกด้วย โดยใน แต่ละห้องเรียนจะมีคอมพิวเตอร์ชุดพิเศษเพื่อไว้ให้บริการแก่คนพิการด้วย ภาพ 44 ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ สาหรับพื้นที่ส่วนที่เป็นการให้บริการด้าน TV นั้น เนื่องจาก Sacramento City College มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลด้วย โดยผู้เรียนสามารถเข้ามาใช้บริการใน Learning Resource Center (LRC) เพื่อศึกษาในรายวิชาที่จัดเป็น TV Course จากที่นี่ได้ ภาพ 45 ส่วนบริการด้าน Video และTV
  • 49. 44 นอกจากนี้นักศึกษาที่อยู่ที่บ้านก็สามารถรับชมได้ทาง Cable TV ช่อง 15 และช่อง16 โดย รายวิชา TV Course นี้ สถานศึกษาที่เป็นสมาชิกของ Sacramento Educational Cable Consortium ก็สามารถที่จะรับชมรายการ TV นี้ได้เช่นเดียวกัน ภาพ 46 เจ้าหน้าที่กาลังอธิบายการใช้ Cable TV ช่อง 15 และช่อง 16 สาหรับพื้นที่ในโซนด้านซ้ายของตึกนี้จะเป็นห้อง Studio เพื่อใช้ในการถ่ายทารายการ TV และมีห้องตัดต่อ และห้องถ่ายทอดรายการ โดยทางวิทยาลัยจะมีเจ้าหน้าที่เพียง 1 คนเท่านั้นที่ ทาการดูแลรายการทั้งหมด
  • 51. 46 นอกจากนี้ในส่วนที่เป็น E – Learning นั้น ทางวิทยาลัยได้ใช้ โปรแกรม Blackboard เพื่อ ทาการจัดการรายวิชาที่เป็น Online Courses ภาพ 49 ผู้อานวยการกาลังอธิบายการใช้โปรแกรม Blackboard การเยี่ยมชมครั้งนี้ได้ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งพบว่ามีการใช้เทคโนโลยี Video conference และการออกอากาศรายการการศึกษาผ่านโทรทัศน์ตามสาย คล้ายกับ UMS มี ห้องควบคุมการผลิต และสตูดิโอโทรทัศน์ที่ได้มาตรฐานในระดับสถาบันการศึกษา ส่วนที่น่าสนใจ คือ มีการจัดห้องเรียนเล็ก ๆ ที่ให้เพื่อน หรือรุ่นพี่ที่มีผลการเรียนดีมาสอนเสริมแก่เพื่อน ๆ และน้อง ๆ โดยต้องมีอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานั้นเป็นผู้รับรอง นอกนั้นระบบบริการสื่อ เป็นเช่นเดียวกับ ห้องสมุด หรือ Learning Resources Center (LRC) ในประเทศไทย 4.5 Public Television Station Channel 6 (KVIE) 2595 Capitol Oaks Dr. Sacramento, CA 95833 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 เวลา 11.00-14.00 น.
  • 52. 47 ภาพ 50 บริเวณด้านหน้า Public Television Station Channel 6 (KVIE) สถานีวิทยุโทรทัศน์ KVIE ช่อง 6 ถือเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่เป็นผู้ผลิตสารคดี นามPBSที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ออกอากาศด้วยระบบดิจิตอล จากข้อมูลใน Hard Disk ที่มี ความจุถึง 0.5 - 7.5 Terabyte (TB) KVIE6 ยังถือได้ว่าเป็นสถานวิทยุโทรทัศน์ที่สาคัญที่ให้ความรู้ ทั่วไปแก่ประชาชนอีกด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์ KVIE มีลักษณะคล้ายสถานีโทรทัศน์ของกรม ประชาสัมพันธ์ รายการส่วนใหญ่รับช่วงมาจากส่วนกลาง ซึ่งออกอากาศทั้งวันโดยไม่มีสปอท โฆษณา เป็นรายการเพื่อการศึกษา ทุกระดับ โดยในตอนเช้าจะเป็นรายการเด็ก สาย ๆ เป็นรายการ สารคดีความรู้ทั่วไป เสาร์อาทิตย์เป็นรายการสาระประโยชน์สาหรับพ่อบ้านแม่บ้าน รายการส่วน ใหญ่มีคุณภาพดี เป็นรายการที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย เช่น Sesame Street , Animal Planet เป็นต้น
  • 53. 48 ภาพ 51 Website :Public Television Station Channel 6 (KVIE) ภาพ 52 บริเวณด้านหน้าและห้อง Lobby สถานีวิทยุโทรทัศน์ KVIE 6
  • 55. 50 ภาพ 55-1 รูปถ่ายภายในห้องจัดรายการของ KVIE ภาพ 55-2 หัวหน้า Engineer Director (คนกลางเสื้อฟ้า)
  • 56. 51 4.6 California Congress man office, Mr. Robert T. Musi, United State Course House. Amtrak Station วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 เวลา 09.00-12.00 น. ผู้บรรยาย Mr. Khan ตาแหน่ง Secretary ภาพ 56 ด้านหน้า California Congress man office การเข้าเยี่ยมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งเป็นการเข้าไปแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองระหว่างทั้ง 2 ประเทศ แต่เนื่องจาก Mr. Robert T.Musi ต้อง เดินทางไป Los Angelis เพื่อร่วมประชุมสภาจึงส่งผู้แทนมาร่วมพูดคุยแทน ซึ่งได้มีการ แลกเปลี่ยนและซักถามเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนโดยเฉพาะในด้านการ สนับสนุนการศึกษา โดย Mr. Robert T.Musi ได้พยายามผลักดันให้ครูมีรายได้ที่สูงขึ้น มี การจัดงบประมาณในการสนับสนุนการพัฒนาครู ร่วมทั้งการพัฒนาโรงเรียน เช่น การ จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ การสนับสนุนการใช้โทรทัศน์ตามสายเพื่อใช้ทรัพยากร บุคคลร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาทั่วไป ๆ และนโยบายหลัก ๆ ในการแก้ปัญหาของ Sacramento เช่น ปัญหาน้าท่วมที่กาลังดาเนินการจัดทาคันกั้นน้า หรือการปรับปรุงสภาพเมืองทั่วไป เป็นต้น ท่านผู้แทน Robert T.Musi เป็นผู้แทนราษฎรที่ ได้รีบเลือกมาทั้งสิ้น 13 สมัย นับเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเป็นอย่างมาก และ สานักงานของท่านก็เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนเป็นอย่างมาก และการเข้าพบครั้งนี้ก็ ได้รับตอนรับเป็นอย่างดีแม้ว่าท่านผู้แทนราษฎร Robert T.Musi จะไม่อยู่ก็ตาม