SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
อารยธรรมโลกสมัยโบราณ
เมโสโปเตเมีย
ผู้จัดทา
นางสาว พิมพ์นภา นราจารุภา เลขที่ 1
นางสาว วิถีธาร ธรรมโรจนกุล เลขที่ 34
นางสาว ธรรม์ชนก โลมะวิสัย เลขที่ 38
มัธยมศึกษาปีที่ 5.4
ส่ง
ครู เตือนใจ ชัยศิลป์
สารสนเทศชิ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์สากล ส32102
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เชียงราย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
หัวเรื่อง
• อารยธรรมสุเมเรียน
• ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค
• ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าอินโดยูโรเปียน
อารยธรรมสุเมเรียน
ชนชาติสสุเมเรียน เป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รวมตัวกันในรูปองค์กรทางการเมือง
แบบนครรัฐแห่งแรกของโลก สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโสโปเตเมีย เชื่อกันว่าชาวสุเมเรียนได้อพยพมา
จากที่ราบสูงอิหร่าน และได้มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้าไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติด
กับอ่าวเปอร์เซีย โดยเรียกบริเวณแห่งนี้ว่า ซูเมอร์
การตั้งถิ่นฐานเริ่มแรกของชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านกสิกรรม ต่อมาเมื่อรวมตัวกันและได้มีการสร้าง
ชลประทานขึ้น ทาให้หมู่บ้านได้รวมเป็นศูนย์กลางการปกครองในลักษณะของเมือง เมืองที่สาคัญได้แก่ อิเรค
(Erech) อิริดู (Eridu) เออร์ (UR) ลาร์ซา (Larsa) ลาร์กาซ (Lagash) อุมมา (Umma) นิปเปอร์ (Nippur) คิช
(Kish) เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางการปกครองที่ไม่ขึ้นต่อกัน ที่เรียกว่า “นครรัฐ” โดยแต่ละนคร
รัฐ จะดูแลความเป็นอยู่ของคนในนครรัฐตน
แผนที่แสดงดินแดนเมโสโปเตเมียเมื่อ 2,000 – 1,600 ปี ก่อนคริสตกาล
ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
การปกครองในรูปแบบของนครรัฐ
เริ่มแรกนั้นชาวสุเมเรียนเริ่มจากชีวิตแบบ
หมู่บ้านเล็กๆ ต่อมาจึงปกครองแบบนครรัฐ มีพระ
เป็นผู้ดูแลและมีอานาจสูงสุด เรียกว่า ปะเตซี
(Patesi) ปกครองในนามของพระเจ้า ในภายหลังเมื่อ
เกิดการแข่งขันและสงครามขึ้นระหว่างนครรัฐ
อานาจการปกครองจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่นักรบหรือ
กษัตริย์แทน มีตาแหน่งเรียกว่า ลูกัล (Lugal)
ด้านชลประทาน
ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ได้สร้าง
ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง โดยได้สร้าง
ทานบใหญ่ขึ้นสองฟากฝั่งแม่น้ายูเฟรติส สร้างคลอง
ระบายน้า เขื่อนกั้นน้า ประตูน้า และอ่างเก็บน้า
เพื่อให้ระบายน้าออกไปได้ไกลที่สุด และสามารถเก็บ
กักไว้ใช้ในยามต้องการ
ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
ด้านการเพาะปลูก
มีการใช้คันไถเทียมด้วยวัว ทาให้สามารถ
หว่านไถที่ดินได้เป็นบริเวณกว้างกว่าเดิม มี
ความสาคัญในแง่ที่ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักใช้และควบคุม
ที่มาของพลังงาน นอกเหนือไปจากพลังงานของ
มนุษย์เอง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือประดิษฐ์อื่น เช่น
เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์พืช โดยเครื่องนี้จะทาการกรุย
ดินเป็นร่อง จากนั้นจึงหยอดเมล็ดลงในร่องผ่านกรวย
เล็ก และคนบังคับเครื่องจะเดินย้าเพื่อกลบเป็นอัน
เสร็จกรรมวิธี
การเขียนตัวหนังสือ
การเขียนตัวหนังสือของชาวสุเมเรียนจะใช้
ไม้เสี้ยนปลายให้แหลมหรือกระดูกทาปลายเป็นรูป
ลิ่ม กดลงแผ่นดินเหนียวที่อ่อนอยู่ให้เกิดเป็นรอย
แล้วนาไปตากแดดหรือเผาไฟ เรียกตัวอักษรนี้ว่า
ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform)
ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
วรรณกรรม
จากความสาเร็จในระบบการเขียนทาให้
ชาวสุเมเรียนสามารถสร้างวรรณกรรมที่สาคัญ คือ
มหากาพย์กิลกาเมซ (Gilgamehsepic) ซึ่งอยู่บนดิน
เผาขนาดใหญ่ 12 แผ่น รวม 3,000 บรรทัด เป็น
อิทธิพลต่อคัมภีร์ไบเบิลเรื่องน้าท่วมโลก
ด้านคณิตศาสตร์
ชาวสุเมเรียนเป็นพวกแรกที่คิดค้นวิธีการ
คิดเลขทั้งการลบ การบวก และการคูณ ชาวสุเมเรียน
นิยมใช้หลัก 60 ซึ่งหลักนี้ยังถูกนามาใช้เรื่องการนับ
เวลาและการนับองศาของวงกลมต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
การสร้างระบบชั่งตวงวัดและปฏิทิน
มาตราชั่ง ตวง วัด ของชาวสุเมเรียน
แบ่งเป็น เชคเคิล (shekel) มีน่า (Mina) และ เทเลน
(talent) โดยใช้หลัก 60 คือ 60 เชคเคิลคือ 1 มีน่า
และ 60 มีน่า เป็น 1 ทาเลน
ชาวสุเมเรียนได้คิดค้นหลักใหญ่ของปฏิทิน
ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเฝ้าสังเกตการโคจรของดวง
จันทร์ ปฏิทินของชาวสุเมเรียนจึงเป็นแบบจันทรคติ
ปีหนึ่งมี 12 เดือน เดือนหนึ่งมี 29 วันครึ่ง ปีหนึ่งจึงมี
354 วัน การนับชั่วโมงสมัยนั้น 1 ชั่วโมงเท่ากับ 2
ชั่วโมงในปัจจุบัน
ด้านสถาปัตยกรรม
ชาวสุเมเรียนใช้อิฐในการก่อสร้าง โดยมี 2
ประเภท คือ ประเภทตากแห้ง ซึ่งไม่ทนทานต่อ
ความชื้น ใช้ก่อสร้างอาคารส่วนที่ไม่กระทบกับ
ความชื้น และ ประเภทอบร้อนหรือเผาไฟ ซึ่งทน
ความชื้นได้ดี
สิ่งก่อสร้างที่สาคัญคือ ซิกกูแรต หรือ
หอคอยระฟ้า เป็นหอคอยสูง ลดหลั่นลงมาสามระดับ
ยอดบนสุดเป็นวิหารเทพเจ้าสูงสุดประจานครรัฐ
ชนกลุ่มใหม่ที่เข้ามารุกรานและผลัดกันยึดครองดินแดนเมโสโปเตเมียต่อจากชาวสุเมเรียน แบ่งได้
โดยกว้าง 2 ชนเผ่า คือ
• ชนเผ่าเซมิติค ได้แก่ ชาวอัคคาเดียน ชาวอมอไรต์ ชาวอัสซีเรียน และชาวคาลเดียน
• ชนเผ่าอินโดยูโรเปียน ได้แก่ ชาวฮิตไทต์ และชาวเปอร์เซีย
การรุกรานเข้ามาของทั้งสองชนเผ่าในดินแดนเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นด้วยกัน 2 ระลอก คือ
• การรุกรานในระรอกแรกที่เข้ามายังดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้แก่ กลุ่มชาวอัคคาเดียน ชาวอมอไรต์
และชาวฮิตไทต์
• การรุกรานในระลอกสอง เริ่มขึ้นเมื่อระยะประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล กลุ่มที่เข้ามารุกราน
ได้แก่ ชาวอัสซีเรียน ชาวคาลเดียน และชาวเปอร์เซีย
ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค
ชาวอัคคาเดียน
เป็นชนเร่ร่อนเซเมติคพวกแรกที่เข้ามาใน
ดินแดนเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 2,400 ปี ก่อน
คริสตกาล ภายใต้การนาของพระเจ้าซาร์กอนที่ 1
โดยยึดครองนครรัฐทั้งหลายของชาวสุเมเรียน และได้
ขยายดินแดนไปจนถึงฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิ-
เตอร์เรเนียน จนกระทั่งหลังสิ้นรัชกาลของพระเจ้า
ซาร์กอนที่ 1 แล้ว ชาวสุเมเรียนก็ยึดดินแดนคืนมาได้
ชาวอมอไรต์
ชนเผ่าเซมิติคอีกพวกที่อพยพมาจาก
ทะเลทรายอาราเบีย โดยได้เข้ายึดครองนครรัฐของ
ชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปได้อย่าง
กว้างขวาง โดยมีผู้นาที่เข้มแข็งพระนามว่า ฮัมมูราบี
ซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักรวรรดิบาบิโลเนียขึ้น โดนมี
นครบาบิโลนเป็นศูนย์กลาง
ประมวลกฎหมายที่สาคัญที่เกิดขึ้นคือ
ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ใช้หลักความคิดแบบตา
ต่อตา ฟันต่อฟัน
ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค
ชาวแคสไซท์
เป็นอนารยชนกลุ่มอินโดยูโรเปียนอพยพ
จากฝั่งตะวันออกของแม่น้าไทกริส โดยกลุ่มนี้ไม่ได้
สนใจต่อวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้แต่ให้ความสาคัญ
ต่อการค้าขายและคมนาคม เป็นจุดเริ่มต้นที่ทาให้
อียิปต์และบาบิโลนนาม้าเทียมใช้กับรถศึกและงาน
อื่นๆ
ชาวอัสซีเรียน
เป็นชนเผ่าเซมิติคที่ในระยะแรก ได้เริ่มตั้ง
ถิ่นฐานและสร้างอารยธรรมบริเวณ ในบริเวณทาง
เหนือของลุ่มแม่น้าไทกริส และได้ขยายอานาจจน
ครอบคลุมเขตภูเขาทางเหนือ ภายหลังได้เข้าล้ม
อานาจของชาวแคสไซท์ลงและสถาปนาจักรวรรดิอัส
ซีเรียขึ้น
อัสซีเรียนเป็นจักรวรรดิแรกที่เจริญขึ้นในยุค
เหล็ก อีกทั้งสถาปัตยกรรมเริ่มมีการใช้ประตูโค้งซึ่ง
เป็นเทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้ามากอีกด้วย
ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค
ชาวคาลเดียน
เป็นชนเผ่าที่พิชิตจักรวรรดิอัสซีเรียได้สาเร็จ
และสถาปานานครบาบิโลนเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง
โดยชื่อว่า บาบิโลเนียนใหม่
ชาวคาลเดียนเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์
มาก สามารถหาเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก
ช่วงเวลาที่จะเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้
อย่างแม่นยา และได้สร้างสถาปัตยกรรมที่สาคัญขึ้น
คือ สวนลอยแห่งบาบิโลน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ
โลกยุคโบราณ
ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าอินโดยูโรเปียน
ชาวฮิตไทต์
เป็นชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งมีถิ่นที่อยู่เดิมคือเขตทุ่ง
หญ้าทางตอนใต้ของรัสเซีย เชี่ยวชาญการเลี้ยงสัตว์
ใช้ม้าเป็นพาหนะ และรู้จักการใช้ล้อเกวียน เป็นชน
เผ่าที่มีความสามารถในการทาสงคราม โดยการใช้
รถม้าเทียมเข้าช่วยในการทาศึก เป็นชนเผ่าแรกที่รู้จัก
การใช้เหล็กนอกเหนือจากการใช้ทองแดงและสาริด
ชาวเปอร์เซีย
เป็นพวกอินโดยูโรเปียนที่มีความชานาญ
ด้านการรบและเลี้ยงสัตว์ โดยอพยพมาจากเอเชีย
กลางจนในที่สุดได้ตั้งรกรากอยู่ระหว่างอ่าวเปอร์เซีย
และทะเลสาบแคสเปียน เมื่อสมัยภายใต้การปกครอง
โดยพระเจ้าไซรัส จักรวรรดิของไซรัสได้มีชัยเหนือ
ดินแดนเมโสโปเตเมียและขยายอนาเขตแผ่ออกไป
จรดลุ่มแม่น้าสินธุ
จักรวรรดิเปอร์เซียได้ถูกพิชิตได้โดยพระ
เจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่ง
มาเกโดนีอา)
บรรณานุกรม
กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร บรรณาธิการ อารยธรรมตะวันตก ฉบับปรับปรุง เชียงใหม่ 2528
รองศาสตราจารย์สุวิทย์ ไพทยวัฒน์ “อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
อารธรรมมนุษย์ สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ปี 2553
ค้นคืนวันที่ 9 กันยายน 2560 “Mesopotamia.” จาก http://www.ancient.eu/Mesopotamia/
ค้นคืนวันที่ 9 กันยายน 2560 “Mesopotamia: Crash Course World History.” จาก
https://www.youtube.com/watch?v=sohXPx_XZ6Y

More Related Content

Similar to อารยธรรมโลกสมัยโบราณ เมโสโปเตเมีย

Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครูPat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Suwaraporn Chaiyajina
 
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครูPat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Jutarat Piamrod
 
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครูPat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
shalala2
 
ข้อสอบ 2553
ข้อสอบ 2553ข้อสอบ 2553
ข้อสอบ 2553
KNuengnit Swn
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
Sasiyada Promsuban
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
Thidarat Termphon
 

Similar to อารยธรรมโลกสมัยโบราณ เมโสโปเตเมีย (20)

Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครูPat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
 
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครูPat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
 
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครูPat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
Pat5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
 
Pat5 53
Pat5 53Pat5 53
Pat5 53
 
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันโครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
 
ข้อสอบ
ข้อสอบข้อสอบ
ข้อสอบ
 
M3social+science2553
M3social+science2553M3social+science2553
M3social+science2553
 
ข้อสอบ 2553
ข้อสอบ 2553ข้อสอบ 2553
ข้อสอบ 2553
 
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
 
สรุปวิชาการศึกษา
สรุปวิชาการศึกษาสรุปวิชาการศึกษา
สรุปวิชาการศึกษา
 
บทที่ 4 วัฒนธรรมไทย
บทที่ 4 วัฒนธรรมไทยบทที่ 4 วัฒนธรรมไทย
บทที่ 4 วัฒนธรรมไทย
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
 
กลุ่มโรงเรียนเรียนร่วม
กลุ่มโรงเรียนเรียนร่วมกลุ่มโรงเรียนเรียนร่วม
กลุ่มโรงเรียนเรียนร่วม
 
พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ส16101 สังคม ป.6
พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ส16101 สังคม ป.6พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ส16101 สังคม ป.6
พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ส16101 สังคม ป.6
 
สถานการณ์ภาคใต้ของไทย
สถานการณ์ภาคใต้ของไทยสถานการณ์ภาคใต้ของไทย
สถานการณ์ภาคใต้ของไทย
 
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
 
So
SoSo
So
 

อารยธรรมโลกสมัยโบราณ เมโสโปเตเมีย