SlideShare a Scribd company logo
 
1.  ลำดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์ ปลายยุคก่อนราชวงศ์ราว  3100  ปีก่อน ค . ศ .            ในช่วงปลายยุคก่อนราชวงศ์ มีการแยกการปกครองออกเป็น  2  อาณาจักร คือ อียิปต์เหนือ และอียิปต์ใต้             อียิปต์เหนือ   หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม  “ Red Land”   ประกอบด้วยอาณาเขตทางตอนล่างของแม่น้ำไนล์ รวมไปถึงทะเลทรายรอบข้าง โดยมีผู้ปกครองดังนี้ สกอร์เปียนที่  1  ,  โร  ,  กา  ,  คิง สกอร์เปียน        คิง สกอร์เปียน  ( King Scorpion)  หรือ สกอร์เปียน ที่  2 ( Scorpion II)   ฟาโรห์ผู้รวบรวมอาณาจักรอียิปต์ทั้งบนและใต้เข้าไว้ด้วยกัน ในราว  3 , 200  ปีก่อนคริสตกาล ในปลายยุคก่อนราชวงศ์ เป็นผู้ครองนครธีส  ( This)   ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่าง ๆ ในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน พระองค์ปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกัน แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์  ( ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระองค์ น่าจะเกี่ยวดองกัน )  ที่มีนามว่า นาเมอร์  ( Namer)   ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฟาโรห์เมเนส  ( Menese)  พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส  ( Memphis)  ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้นับฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่  1  ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ
    อียิปต์ใต้            อิยิปต์ใต้ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม  “ Black   Land”  ประกอบด้วยอาณาเขตทางตอนเหนือของแม่น้ำไนล์ รวมไปถึงพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ มีผู้ปกครองดังนี้    ตีอู  ,  เทช  ,   เซคีอู  ,  วาสเนอร์
2.  เทพเจ้าแห่งอียิปต์ เทพรา รา คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ใน ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์             ในช่วงที่มีการสร้างโลก เทพรา ( Ra)  เร ( Re)  อาเมน - รา ( Amen-Ra)  หรือ อามอน - รา  ( Amon-Ra)  ถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้             สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู ( Bennu bird)   เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์             เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทวีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทวีนุต เทวีแห่งท้องฟ้าและเทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพฮาปี             เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี ( Khepri)  หรือ เฆเปรา ( Khepera)  เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม ( Tum)  หรืออาตุม ( Atum)  ในตอนเย็น    เทพราจะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง  12  แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด  12  ชั่วโมงใน  1  วัน             มีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้ บางครั้งสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว
เทพโอซีริส  ( Osiris) คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ เทพแห่งเกษตรกรรม โบราณ ซึ่งผู้นับถือมาจากซีเรีย  ( Syria)  ทรงเป็นพระโอรสองค์แรกของเทพเกบและเทวีนุต ทรงเกิดที่เมืองธีบส์  ( Thebes)  เมื่อทรงประสูติ มีเสียงร้องดังเข้าไปถึงในวิหารร้องว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเพียบพร้อมได้ประสูติแล้ว หรือเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดได้เข้ามาสู่แสงสว่างแล้ว กล่าวกันว่าเทพโอซีริส และเทวีไอซิสตกหลุมรักกันตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ บางกรณีก็กล่าวว่าทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกกัน และเทพโอซีริสได้บัลลังค์จากเทพเกบผู้เป็นบิดา     ตามตำนานของเทพโอซีริส พระองค์ได้สอนศิลปวิทยาการทั้งหลายแก่มวลมนุษย์ โดยมีเทพธอธเป็นผู้ช่วย ในช่วงที่เทพโอซีริสไม่อยู่นั้น เทพเซ็ตซึ่งเป็นพระอนุชาคิดกบฎ อยากได้บัลลังค์และตัวเทวีไอซิส ทั้งยังต้องการเปลี่ยนกฎระเบียบใหม่ แต่เทวีไอซิสรู้ทันทุกครั้ง  ครั้งเมื่อเทพโอซีริสเสด็จกลับมาไม่นาน เทพเซ็ตและอาโส  ( Aso)  ราชินีแห่งเอธิโอเปียและกบฏอีก  72  คน ได้ร่วมกันล้มล้างเทพโอซีริสจนสำเร็จ ร่างของเทพโอสซีริสถูกจับโยนลงแม่น้ำนิล เทวีไอซิสพยายามค้นหาจนพบแล้วใช้พลังมายิกของพระนางร่วมกับความช่วยเหลือของเทพธอธเทวีเนฟธีสเทพอานูบิสและเทพฮอรัส ทำให้เทพโอซีริสซึ่งได้เดินทางไปยังโลกแห่งความตายหรือมตภพดูอัตแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่พระองค์อยากปกครองโลกแห่งความตายมากกว่า ดังนั้นจึงยกราชสมบัติให้เทพฮอรัสผู้เป็นโอรสแทน            สัญลักษณ์ของพระองค์มักเป็นชาย ประทับยืนอยู่หรือประทับนั่งบนบังลังค์ หรือวาดเป็นมนุษย์กำลังลุกจากแท่นตั้งศพ หรือเป็นกษัตริย์พระหัตถ์โผล่ขึ้นมาจากผ้าพันมัมมี่ ถือแส้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจสูงสุด พระวรกายเป็นสีแดงแสดงถึงพื้นดิน หรือสีเขียวที่แสดงถึงพืชพันธุ์ ทรงสวมมงกุฏสีขาวแสดงถึงไอยคุปต์ตอนบน และมีขนนกสีแดงสองเส้นแห่งเมืองบูสีริส ( Busiris)  ประดับอยู่ บางครั้งจะสวมวงสุริยะและเขาสัตว์
เทพฮอรัส  คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์            เทพฮอรัส ( Horus)   ทรงเป็นพระโอรสของเทพโอซีริส และเทวีไอซิสและเป็นพระสวามีของเทวีฮาธอร์ทรงเป็นเทพที่เกิดจากการรวมกันของเทพนกเหยี่ยวและเทพแห่งแสงสว่างทรงมีพระเนตรขวาเป็นดวงอาทิตย์และพระเนตรซ้ายเป็นดวงจันทร์สัญลักษณ์ของเทพฮอรัสคือเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยวทรงสวมมงกุฎสองชั้นหรือแกะสลักเป็นรูปวงสุริยะมีปีกอยู่ที่รั้ววิหารประจำพระองค์หรือคือนกเหยี่ยวกำลังบินอยู่เหนือการสู้รบของฟาโรห์ที่อุ้งเล็บมีแส้แห่งความจงรักภักดีและแหวนแห่งความเป็นนิรันดร์อยู่            เทพฮอรัสทรงมีพระนามมากมายตามท้องที่ที่สักการะและความเชื่อ เช่นเทพฮาโรเอริส ( Haroeris)  ฮอรัส เบฮ์เดตี  ( Horus Behdety)   ฮาราเคตฮาร์มาฆิส ( Harmakhis)  และ ฮาร์สีเอสิส ( Harsiesis)
เทพอานูบิส คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์            เทพอานูบิส ( Anubis) เป็นพระโอรสของเทวีเนฟธีส และเทพโอสิริสทรงมีสัญลักษณ์เป็นสุนัขหรือสุนัขจิ้งจอกซึ่งเป็นสัตว์ในทะเลทรายใกล้สุสานทรงได้รับความเคารพมากในไอยคุปต์โดยเฉพาะในทะเลทรายแห่งตะวันตกที่เรียกว่าบ้านแห่งความตาย            ทรงเคยเป็นเทพแห่งความตายมาก่อนเทพโอสีริสและเป็นเทพแห่งความตายสำหรับฟาโรห์องค์แรกเทวีอีสิสทรงเลี้ยงพระองค์มาดั่งลูกในไส้เมื่อโตขึ้นเทพอานูบิสจึงเป็นผู้ปกป้องพระนาง            พระองค์เป็นผู้เสาะหาน้ำมันหอมหรือยาที่หายากในการทำมัมมี่ศพเทพโอสีริสร่วมกับเทวีอีสิสและเทวีเนฟธีสพระมารดาจากนั้นพระองค์จะทำพิธีศพให้เทพโอสีริสพิธีที่พระองค์ทรงคิดขึ้นนั้นเป็นรูปแบบพิธีการฝังศพในเวลาต่อมา
เทวีไอซิส ( Isis) ทรงประสูติในวันที่  4  ที่เพิ่มเข้ามา ทรงเป็นเทวีที่มักได้รับความเคารพคู่กับเทพโอซีริสกล่าวกันว่าทั้งสองพระองค์ให้กำเนิดเทพฮอรัสโดยการรวมตัวกัน ในขณะที่เทพฮอรัสยังอยู่ในพระครรภ์หรือหลังจากเทพโอซีริสสิ้นพระชนม์แล้ว            ในช่วงที่เทพโอซีริสยังอยู่ พระนางมีบทบาทเพียงช่วยพระสวามีในการสร้างอารยธรรมแก่มวลมนุษย์ เพราะพระนางคือเทวีแห่งมารดร หลังจากเทพโอซีริสวรรคตแล้วพระนางจึงมีบทบาทมากขึ้น ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระนาง เทพโอซีริสและพระโอรสอีกมากมาย            สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีหลายแบบ พระนางอาจเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นวัว หรือมีดวงจันทร์สวมบนศีรษะ หรือสวมมงกุฎรูปดอกบัวและมีหูเป็นข้าวโพด หรือถือขาแพะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นรูปปั้นมักเป็นรูปพระมารดากำลังให้นมเทพเจ้าฮฮรัสอยู่ แสดงถึงการปกป้องเด็กๆจากโรคภัย บนศีรษะมีเขาสองเขาและมีวงสุริยะอยู่ตรงกลาง            คำว่าไอซิส ( Isis)   เป็นนามในภาษากรีกเป็นพระนามของเทวีที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดองค์หนึ่งของชาวไอยคุปต์ที่เรียกกันว่า เทวีเอเซ็ท
เทวีเสลเคต  ( Selket)  หรือเสร์คูเอต  ( Serquet) เทวีแมงป่อง มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยราชาแมงป่อง กษัตริยก่อนราชวงศ์ พระนางเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เพราะพระนางเป็นหนึ่งในเทวีผู้พิทักษ์ต้นน้ำทั้งสี่แห่งแม่น้ำนิล หน้าที่ของเทวีเสลเคตคือ เป็นคนเฝ้างูอาโปฟิส ศัตรูของเทพราที่ถูกมัดและขังไว้ใต้พิภพ พระนางเป็นชายาของเทพเนเฆบคาอู  ( Nekhebkau)   เทพแห่งงูใหญ่ มีแขนเป็นมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล่าปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ใต้โลก กล่าวกันว่าเทวีเสลเคตถูกมัดด้วยโซ่จนสวรรคต แต่พระสวามีของเธอบางครั้งก็เป็นเทพที่ดี คอยให้อาหารแก่วิญญาณของผู้ตาย ถ้าในกรณีนี้ เทวีเสลเคตก็เป็นเทวีที่ดีด้วย            โดยปกติแล้วเทวีเสลเคตจะช่วยเทวีไอสิสทำพิธีศพเทพโอสิริสและเป็นผู้ช่วยคอยดูแลเทพโฮรุส พระนางจะประทับยืนอยู่กับเทวีอีสิสตรงปลายโลงศพ และเป็นเทพ  1  ใน  4  ที่ประจำที่ไหเก็บเครื่องในมัมมี่ที่เก็บลำไส้            เทวีเสลเคตมีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นแมงป่อง หรือกายเป็นแมงป่อง ศีรษะเป็นมนุษย์ บางครั้งก็เป็นเช่นเดียวกับอิมโฮเตป  ( Imhotep)  เป็นหนึ่งในมนุษย์เทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์
3.  ศิลปะอียิปต์โบราณ  (2650  ปีก่อน พ . ศ .- พ . ศ .501) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม     และสถาปัตยกรรมส่วนมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ    ซึ่งมีความเชื่อ ว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี    และนำสิ่งของเครื่อง ใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย              ลักษณะงานจิตรกรรมของอียิปต์  เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมา ผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบนอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ    มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญ ในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว             ลักษณะงานประติมากรรมของอียิปต์  จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ    เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์    หรือบางทีก็เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหิน ทราย    นอกจากนี้ยังมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็ก มักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม    หินลาปิสลาซูลี    เซรามิค
ฯลฯ ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว       แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง    บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว    ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย              ลักษณะสถาปัตยกรรมอียิปต์  ใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและแข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตรพิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ  พีระมิด     พีระมิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มาสตาบา ต่อมามีการพัฒนารูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปพีระมิดที่เห็นในปัจจุบัน     นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้าเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักร ใหม่  (1020  ปีก่อน พ . ศ .  –   พ . ศ .510)  วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม     ทำจากอิฐและหินซึ่งนำรูปแบบวิหารมากจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์ และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
4.  อักษรอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์โบราณมีอักษรของตนเอง ซึ่งเรียกว่าอักษร ฮีโรกลีฟิค  ( Hieroglyphic)   ซึ่งคำว่า ฮีโรกลีฟิคนี้ เป็นชื่อที่ชาวกรีกเรียกเครื่องหมายราณที่ปรากฏอยู่ตามโบราณสถาน สุสาน หีบศพ และตามรูปแกะสลักต่างๆ             ความหมายของคำนี้คือ  “ อักษรศักดิ์สิทธิ์ ”  ทั้งนี้ก็เพราะในสมัยที่ชาวกรีกติดต่อสัมพันธ์กับชาวอียิปต์นั้น ชาวอียิปต์นี้ใช้อักษรชนิดนี้สำหรับบันทึกเรื่องราวทางศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ             ในตอนแรกเวลาชาวอียิปต์จะเขียนหรือแกะสลักภาษาฮีโรกลีฟิคบน กระดาษปาปิรุส หรือบนผนังหินในสุสาน พวกเขาก็จะพยายามแกะสลักรูปภาพต่างๆ อย่างประณีตบรรจง เพราะนอกจากจะได้เนื้อความทางภาษาแล้ว ภาษาของพวกเขายังดูสวยงามใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งไปด้วยในตัว แต่ในระยะหลังเมื่อพวกเขามีความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่วุ่นวายซับซ้อนมากขึ้น พวกเขาก็ไม่มีเวลาที่จะมานั่งประดิดประดอยภาษารูปภาพของตนให้สวยงามดังแต่ก่อน             โดยเฉพาะเวลารีบๆ เขียนหนังสือลงบน กระดาษปาปิรุสด้วยปากกาทำด้วยต้นกกนั้น พวกเสมียนที่ทำหน้าที่เขียนจะต้องดัดแปลงอักษรบางตัวให้เขียนได้สะดวกยิ่งขึ้น เหตุนี้ทำให้รูปของอักษรเปลี่ยนแปลงไปเป็น อักษรตวัด ซึ่งเรียกว่า อักษรแบบ ฮีราติค  ( Hieratic)   ในระยะแรกอักษรชนิดนี้ก็ไม่แตกต่างจากอักษร ฮีโรกลิฟิคมากเท่าใดนัก เพียงแค่มีการใช้เครื่องหมายย่อๆ มากขึ้น และเขียนตัวอักษรหวัดขึ้น แต่ในระยะหลัง อักษรแบบฮีราติคนี้ก็มีแบบและหน้าตาแปลกออกไปเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ คงเหลือแต่เค้าให้เห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างคล้ายคลึงกันกับอักษร ฮีโรกลิฟิคเท่านั้น
5.  เลขอียิปต์โบราณ    เมื่อกล่าวถึงคณิตศาสตร์ ทุกคนคงคิดว่าเป็น  “ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องตัวเลข ”  ซึ่งอันที่จริงแล้วคำจำกัดความนี้เป็นเพียงคำจำกัดความดั่งเดิมของคณิตศาสตร์เท่านั้น ปัจจุบันคณิตศาสตร์ได้ถูกพัฒนาจนไม่สามารถใช้คำจำกัดความดังกล่าวได้อีกต่อไป ซึ่งหากน้องๆ อยากรู้ว่าคณิตศาสตร์มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีอะไรมากไปกว่าตัวเลข พี่ก็คงบอกได้แต่เพียงว่า น้องๆต้องติดตามกันต่อไป อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้สามารถชี้ให้เห็นถึงรากฐาน และที่มาของคณิตศาสตร์ได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือ ตัวเลข นั่นเอง แน่นอนทีเดียวที่แต่ละประเทศย่อมมีสัญลักษณ์แทนตัวเลขที่แตกต่างกันไป พี่จึงขอเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ด้วยตัวเลขที่แต่ละอารยธรรมคิดค้นขึ้น โดยอารยธรรมแรกที่จะขอกล่าวถึงคือ อียิปต์โบราณ             อียิปต์โบราณได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ  5 , 464 - 30  ปีก่อนคริสตกาล มีอาณาเขตครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์จากเมืองแอสวาน  ( Aswan)   จนจรดชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรนียนของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน  ( ดังแสดงในรูปที่  1)  อียิปต์โบราณเป็นอารยธรรมหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็นอารยธรรมแรกที่ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ชาวอียิปต์โบราณให้ความสำคัญอย่างมากกับการจดบันทึก และการสื่อสารจึงได้ประดิษฐ์กระดาษปาปิรุส  ( papyrus)  ขึ้น ซึ่งทำมาจากต้นกกที่เติบโตอย่างแพร่หลายในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์นั่นเอง ชาวอียิปต์โบราณสื่อความหมายด้วยอักษรภาพที่เรียกว่า ไฮโรกลิฟ  ( Hieroglyph)   ซึ่งรวมไปถึงตัวเลขด้วย
6.  พีระมิดแห่งอียิปต์ พีระมิดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร คำว่า  “ พีระมิด ” มาจากคำว่า  “ Pyramid”   ในภาษา กรีก ซึ่งแปลว่า  “ ขนมเค้กข้าวสาลี ”  อาจเป็นเพราะพีระมิดมีลักษณะคล้ายกับขนมเค้กก็ได้ ชาวกรีกเป็นผู้เริ่มใช้คำว่า พีระมิด ส่วนคำว่าพีระมิดในภาษาอียิปต์โบราณ เรียกว่า  “ เมอร์ ”   (  mer  )  ในสมัยก่อน  ( ราชวงศ์ที่  1  เรื่อยมาจนถึงปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่  3  ของอียิปต์ )  สุสานของฟาโรห์เป็นลักษณะที่เรียกว่า  “ มาสตาบา ”  เป็นการสร้างสุสานอย่างง่ายๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยมสร้างด้วยอิฐมีประตูหลอกหลายประตู แต่มีประตูจริงเพียงบานเดียว ห้องเก็บพระศพเจาะป็นอุโมงค์ลึกไปตามผืนดินโดให้มีความลึกและเป็นความลับตามพระขององค์ฟาโรห์ จนกระทั่งสมัยของฟาโรห์ซอเซอร์ การสร้างสุสานของฟาโรห์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยมีเสนาบดีอิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างพีระมิด โดยพีระมิดสมัยนั้น เรียกว่า  “ พีระมิดขั้นบันได ”  ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นพีระมิดแท้ในที่สุด สถานที่ตั้ง เมืองกิซา ประเทศอียิปต์   ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้     มหาพีระมิดแห่งอียิปต์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ เพียงสิ่งเดียวที่ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์เหมือนในอดีต ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกิซ่า  ตอนเหนือของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ประกอบไปด้วยพีระมิดใหญ่  3  องค์ คือ พีระมิดที่บรรจุพระศพของฟาโรห์ คีออปส์  ( Cheops)  คีเฟรน  (  Chephren)  และไมเซอรินัส  ( Mycerinus)
พีระมิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมใช้เพื่อเป็นที่เก็บมัมมี่หรือพระศพของฟาโรห์นั่นเอง แต่ก่อนจะมาเป็นพีระมิดนั้น ที่ฝังศพในยุคแรกๆของกษัตริย์และราชวงศ์รวมถึงขุนนางชั้นสูง นิยมใช้หินก่อเป็นห้องลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาแบนราบทับอยู่บนที่ฝังศพ เรียกกันว่ามาสตาบา  ( Mastaba)  มีช่องทางลงไปยังที่เก็บศพหรือหลุมศพจากด้านหลังคา ภายในวาดภาพหรือสลักภาพต่างๆบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าของสุสาน ต่อมาฟาโรห์โซเซอร์  ( Djoser)  ในราชวงศ์ที่  3  ประมาณ  2 , 600  ปีก่อนคริสต์กาล พระองค์ได้มีคำสั่งให้อิมโฮเทปผู้เป็นสถาปนิกและคนสนิทของพระองค์ ทำการออกแบบและก่อสร้างสุสานสำหรับบรรจุพระศพของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่ขึ้น อิมโฮเทปจึงออกแบบให้เป็นมาสตาบาก่อซ้อนกันขึ้นไป  6  ชั้นลดหลั่นกันทุกระดับ จึงถูกเรียกว่าพีระมิดขั้นบันไดหรือ  Step pyramid
สาเหตุในการสร้างพีระมิด             ชาวอียิปต์โบราณเชื่อเรื่อง  “ ชีวิตหลังความตาย ”  เมื่อตายไปแล้วจะมีโลกหน้าเพื่อใช้ชีวิตยืนยงและจำเป็นต้องรักษาร่างกายหรือศพไว้ไม่ให้หายสาบสูญ จึงสร้างพีระมิดไว้เพื่อเก็บรักษาศพ และยังเชื่อเรื่องการติดตามฟาโรห์ไปยังโลกหน้า โดยเชื่อว่าฟาโรห์คือพระเจ้า  และเพื่อให้ดวงวิญญาณกษัตริย์ของพวกเขามีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับโลกหน้าจึงได้ฝังทรัพย์สินและสิ่งของส่วนพระองค์ไปพร้อมกัน ดังจะเห็นจากหลักฐานที่นักโบราณคดีค้นพบเป็นจำนวนมากในห้องเก็บสมบัติในพีระมิด ได้แก่ เพชรพลอย อาหาร เครื่องเรือน เครื่องดนตรี และอุปกรณ์ล่าสัตว์ รวมถึงหนังสือที่เขียนประวัติผู้ตายจารึกด้วยภาษาอียิปต์ลงบนกระดานปาปิรุส ที่เรียกว่า  “ หนังสือของคนตาย ”  (Book of the Dead)     การก่อสร้างพีระมิดในอารยธรรมอียิปต์โบราณชาวนาชาวไร่จึงต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างพีระมิด โดยหวังว่าเมื่อเสียชีวิตแล้วจะได้ตามฟาโรห์ไปใช้ชีวิตในโลกหน้า การสร้างพีระมิดในสมัยนั้นจึงเป็นการกระทำด้วยความเต็นใจไม่ได้มีใครบังคับขู่เข็ญ แต่เมื่อสมัยฟาโรห์คูฟู ความเชื่อนั้นก็ค่อยๆเลือนหายไป ฟาโรห์ลดระดับจากพระเจ้าเป็นเพียงแค่มนุษย์ธรรมดา ทำให้การก่อสร้างพีระมิดในสมัยนั้นเป็นการบังคับ ทั้งยังมีกาใช้แรงงานทาสอีกด้วย จากความยากลำบากในการสร้างและความยิ่งใหญ่งดงามอลังการจนยากที่จะเชื่อได้ว่า พีระมิดแห่งนี้
7.  มัมมี่  1000 ปี    มัมมี่  ( Mummy)  เชื่อกันว่ามาจากคำว่า มัมมียะ  ( Mummiya)   คำในภาษาเปอร์เชียซึ่งหมายถึงร่างของศพที่ถูกทำให้มีสีดำ             มัมมี่ คือ ศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า  " มัมมี่ "  มาจากคำว่า  " มัมมียะ " ( Mummiya)   ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซียร์ มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา  พิธีพระศพของฟาโรห์หรือขั้นตอนการทำมัมมี่ พีระมิดและพิธีศพของฟาโรห์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอย่างเลี่ยงกันไม่ได้ เพระพิธีพระศพของฟาโรห์ถือเป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในศาสนาอียิปต์โบราณต่างทำพิธีในบริเวณที่พีระมิดทั้งสิ้น มีการเตรียมพิธีการตั้งแต่ฟาโรห์มีชีวิตอยู่  กล่าวคือ มีการสร้างพีระมิดและหลุมเก็บพระศพขึ้นมาก่อน เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนแล้วจึงจัดพิธีการ พิธีชำระล้างพระศพ  จะชำระล้างให้สะอาดในทะเลสาบอันศักดิ์สิทธิของวิหารเทพเจ้าเรแห่งนครเฮลิโอโพลิส แล้จึงนำเข้าสู่วิหารหุบเขา
พิธีดองพระศพ  ทำในวิหารหุบเขา พระจะทำพิธีผ่าเอาอวัยวะภายในของร่างกายไปเก็บไว้ในโถ เรียกว่า  “ คาปิก ” มีทั้งหมดสี่โถ เมื่อบรรจุแล้วก็นำไปเก็บไว้ในกล่องคาโนปิก ส่วนร่างกายจะแช่น้ำยาตรอนเป็นเวลา  70  วัน ก่อนที่จะล้างออกและห่อด้วยผ้าลินินชุบน้ำยาตรอน เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของร่างกาย พิธีเปิดปากมัมมี่  พระและพระโอรสองค์ใดองค์หนึ่งของฟาณห์ที่สิ้นพระชนจะเดนไปที่รูปปั้นของฟาโรห์  23  รูป ที่อยู่บริเวณห้องโถงรูปตัวที ในมือมีธูปเทียนที่จุดแล้ว พระโอรสจะพรมน้ำบนรูปปั้นเหล่านี้ แล้วให้ขวานหรือสิ่วแตะบนปากรูปปั้นเบาๆแล้วชโลมปากรูปปั้นทั้งหมดด้วยน้ำนม พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ตายหรือมัมมี่มีพลังในการพูด และหวนกลับมาเพื่อรอคอยการใช้ชีวิตในภพใหม่     ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา
เอกสารอ้างอิง ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/ 41865 นิตยสารยูงทอง ฉบับ  “ ค้นหา ” การก่อสร้างพีระมิด อาณาจักรอียิปต์โบราณ ลี้ลับเหนือโลก Edwards,   I.E.S. ,   The Pyramids of Egypt   Penguin Books Ltd; New Ed edition ( 5  Dec  1991) ,   ISBN  978-0-14-013634-0 Lehner,   Mark ,   The Complete Pyramids , Thames   &   Hudson,  1997 ,   ISBN  978-0-500-05084-2 Mendelssohn,   Kurt ,   The Riddle of the Pyramids , Thames   &   Hudson Ltd ( 6  May  1974) ,   ISBN  978-0-500-05015-6 วารสารเพื่อนเดินทาง ปีที่  14  ฉบับที่  147  มีนาคม  2535

More Related Content

Similar to โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์

อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
Jungko
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
mminmmind
 
เทพเจ ากร ก (2)
เทพเจ ากร ก (2)เทพเจ ากร ก (2)
เทพเจ ากร ก (2)Khemjira Plongsawai
 
ศิลปะศรีลังกา
ศิลปะศรีลังกาศิลปะศรีลังกา
ศิลปะศรีลังกาnanpun54
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมDos Zaa
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันJungko
 
อารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมันอารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมัน
Jungko
 

Similar to โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์ (11)

อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
 
เทพเจ ากร ก (2)
เทพเจ ากร ก (2)เทพเจ ากร ก (2)
เทพเจ ากร ก (2)
 
ศิลปะศรีลังกา
ศิลปะศรีลังกาศิลปะศรีลังกา
ศิลปะศรีลังกา
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
Egypt
EgyptEgypt
Egypt
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
 
อารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมันอารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมัน
 
ซูส
ซูสซูส
ซูส
 
Zeus
Zeus Zeus
Zeus
 
Greek roman
Greek romanGreek roman
Greek roman
 

โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์

  • 1.  
  • 2. 1. ลำดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์ ปลายยุคก่อนราชวงศ์ราว 3100 ปีก่อน ค . ศ .           ในช่วงปลายยุคก่อนราชวงศ์ มีการแยกการปกครองออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อียิปต์เหนือ และอียิปต์ใต้           อียิปต์เหนือ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม “ Red Land” ประกอบด้วยอาณาเขตทางตอนล่างของแม่น้ำไนล์ รวมไปถึงทะเลทรายรอบข้าง โดยมีผู้ปกครองดังนี้ สกอร์เปียนที่ 1 , โร , กา , คิง สกอร์เปียน       คิง สกอร์เปียน ( King Scorpion) หรือ สกอร์เปียน ที่ 2 ( Scorpion II) ฟาโรห์ผู้รวบรวมอาณาจักรอียิปต์ทั้งบนและใต้เข้าไว้ด้วยกัน ในราว 3 , 200 ปีก่อนคริสตกาล ในปลายยุคก่อนราชวงศ์ เป็นผู้ครองนครธีส ( This) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่าง ๆ ในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน พระองค์ปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกัน แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์ ( ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระองค์ น่าจะเกี่ยวดองกัน ) ที่มีนามว่า นาเมอร์ ( Namer) ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฟาโรห์เมเนส ( Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส ( Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้นับฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1 ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ
  • 3.    อียิปต์ใต้           อิยิปต์ใต้ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม “ Black Land” ประกอบด้วยอาณาเขตทางตอนเหนือของแม่น้ำไนล์ รวมไปถึงพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ มีผู้ปกครองดังนี้   ตีอู , เทช , เซคีอู , วาสเนอร์
  • 4. 2. เทพเจ้าแห่งอียิปต์ เทพรา รา คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ใน ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์           ในช่วงที่มีการสร้างโลก เทพรา ( Ra) เร ( Re) อาเมน - รา ( Amen-Ra) หรือ อามอน - รา ( Amon-Ra) ถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้           สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู ( Bennu bird) เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์           เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทวีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทวีนุต เทวีแห่งท้องฟ้าและเทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพฮาปี           เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี ( Khepri) หรือ เฆเปรา ( Khepera) เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม ( Tum) หรืออาตุม ( Atum) ในตอนเย็น   เทพราจะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง 12 แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด 12 ชั่วโมงใน 1 วัน           มีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้ บางครั้งสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว
  • 5. เทพโอซีริส ( Osiris) คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ เทพแห่งเกษตรกรรม โบราณ ซึ่งผู้นับถือมาจากซีเรีย ( Syria) ทรงเป็นพระโอรสองค์แรกของเทพเกบและเทวีนุต ทรงเกิดที่เมืองธีบส์ ( Thebes) เมื่อทรงประสูติ มีเสียงร้องดังเข้าไปถึงในวิหารร้องว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเพียบพร้อมได้ประสูติแล้ว หรือเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดได้เข้ามาสู่แสงสว่างแล้ว กล่าวกันว่าเทพโอซีริส และเทวีไอซิสตกหลุมรักกันตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ บางกรณีก็กล่าวว่าทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกกัน และเทพโอซีริสได้บัลลังค์จากเทพเกบผู้เป็นบิดา    ตามตำนานของเทพโอซีริส พระองค์ได้สอนศิลปวิทยาการทั้งหลายแก่มวลมนุษย์ โดยมีเทพธอธเป็นผู้ช่วย ในช่วงที่เทพโอซีริสไม่อยู่นั้น เทพเซ็ตซึ่งเป็นพระอนุชาคิดกบฎ อยากได้บัลลังค์และตัวเทวีไอซิส ทั้งยังต้องการเปลี่ยนกฎระเบียบใหม่ แต่เทวีไอซิสรู้ทันทุกครั้ง ครั้งเมื่อเทพโอซีริสเสด็จกลับมาไม่นาน เทพเซ็ตและอาโส ( Aso) ราชินีแห่งเอธิโอเปียและกบฏอีก 72 คน ได้ร่วมกันล้มล้างเทพโอซีริสจนสำเร็จ ร่างของเทพโอสซีริสถูกจับโยนลงแม่น้ำนิล เทวีไอซิสพยายามค้นหาจนพบแล้วใช้พลังมายิกของพระนางร่วมกับความช่วยเหลือของเทพธอธเทวีเนฟธีสเทพอานูบิสและเทพฮอรัส ทำให้เทพโอซีริสซึ่งได้เดินทางไปยังโลกแห่งความตายหรือมตภพดูอัตแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่พระองค์อยากปกครองโลกแห่งความตายมากกว่า ดังนั้นจึงยกราชสมบัติให้เทพฮอรัสผู้เป็นโอรสแทน           สัญลักษณ์ของพระองค์มักเป็นชาย ประทับยืนอยู่หรือประทับนั่งบนบังลังค์ หรือวาดเป็นมนุษย์กำลังลุกจากแท่นตั้งศพ หรือเป็นกษัตริย์พระหัตถ์โผล่ขึ้นมาจากผ้าพันมัมมี่ ถือแส้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจสูงสุด พระวรกายเป็นสีแดงแสดงถึงพื้นดิน หรือสีเขียวที่แสดงถึงพืชพันธุ์ ทรงสวมมงกุฏสีขาวแสดงถึงไอยคุปต์ตอนบน และมีขนนกสีแดงสองเส้นแห่งเมืองบูสีริส ( Busiris) ประดับอยู่ บางครั้งจะสวมวงสุริยะและเขาสัตว์
  • 6. เทพฮอรัส คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์           เทพฮอรัส ( Horus) ทรงเป็นพระโอรสของเทพโอซีริส และเทวีไอซิสและเป็นพระสวามีของเทวีฮาธอร์ทรงเป็นเทพที่เกิดจากการรวมกันของเทพนกเหยี่ยวและเทพแห่งแสงสว่างทรงมีพระเนตรขวาเป็นดวงอาทิตย์และพระเนตรซ้ายเป็นดวงจันทร์สัญลักษณ์ของเทพฮอรัสคือเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยวทรงสวมมงกุฎสองชั้นหรือแกะสลักเป็นรูปวงสุริยะมีปีกอยู่ที่รั้ววิหารประจำพระองค์หรือคือนกเหยี่ยวกำลังบินอยู่เหนือการสู้รบของฟาโรห์ที่อุ้งเล็บมีแส้แห่งความจงรักภักดีและแหวนแห่งความเป็นนิรันดร์อยู่           เทพฮอรัสทรงมีพระนามมากมายตามท้องที่ที่สักการะและความเชื่อ เช่นเทพฮาโรเอริส ( Haroeris) ฮอรัส เบฮ์เดตี ( Horus Behdety) ฮาราเคตฮาร์มาฆิส ( Harmakhis) และ ฮาร์สีเอสิส ( Harsiesis)
  • 7. เทพอานูบิส คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์           เทพอานูบิส ( Anubis) เป็นพระโอรสของเทวีเนฟธีส และเทพโอสิริสทรงมีสัญลักษณ์เป็นสุนัขหรือสุนัขจิ้งจอกซึ่งเป็นสัตว์ในทะเลทรายใกล้สุสานทรงได้รับความเคารพมากในไอยคุปต์โดยเฉพาะในทะเลทรายแห่งตะวันตกที่เรียกว่าบ้านแห่งความตาย           ทรงเคยเป็นเทพแห่งความตายมาก่อนเทพโอสีริสและเป็นเทพแห่งความตายสำหรับฟาโรห์องค์แรกเทวีอีสิสทรงเลี้ยงพระองค์มาดั่งลูกในไส้เมื่อโตขึ้นเทพอานูบิสจึงเป็นผู้ปกป้องพระนาง           พระองค์เป็นผู้เสาะหาน้ำมันหอมหรือยาที่หายากในการทำมัมมี่ศพเทพโอสีริสร่วมกับเทวีอีสิสและเทวีเนฟธีสพระมารดาจากนั้นพระองค์จะทำพิธีศพให้เทพโอสีริสพิธีที่พระองค์ทรงคิดขึ้นนั้นเป็นรูปแบบพิธีการฝังศพในเวลาต่อมา
  • 8. เทวีไอซิส ( Isis) ทรงประสูติในวันที่ 4 ที่เพิ่มเข้ามา ทรงเป็นเทวีที่มักได้รับความเคารพคู่กับเทพโอซีริสกล่าวกันว่าทั้งสองพระองค์ให้กำเนิดเทพฮอรัสโดยการรวมตัวกัน ในขณะที่เทพฮอรัสยังอยู่ในพระครรภ์หรือหลังจากเทพโอซีริสสิ้นพระชนม์แล้ว           ในช่วงที่เทพโอซีริสยังอยู่ พระนางมีบทบาทเพียงช่วยพระสวามีในการสร้างอารยธรรมแก่มวลมนุษย์ เพราะพระนางคือเทวีแห่งมารดร หลังจากเทพโอซีริสวรรคตแล้วพระนางจึงมีบทบาทมากขึ้น ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระนาง เทพโอซีริสและพระโอรสอีกมากมาย           สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีหลายแบบ พระนางอาจเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นวัว หรือมีดวงจันทร์สวมบนศีรษะ หรือสวมมงกุฎรูปดอกบัวและมีหูเป็นข้าวโพด หรือถือขาแพะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นรูปปั้นมักเป็นรูปพระมารดากำลังให้นมเทพเจ้าฮฮรัสอยู่ แสดงถึงการปกป้องเด็กๆจากโรคภัย บนศีรษะมีเขาสองเขาและมีวงสุริยะอยู่ตรงกลาง           คำว่าไอซิส ( Isis) เป็นนามในภาษากรีกเป็นพระนามของเทวีที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดองค์หนึ่งของชาวไอยคุปต์ที่เรียกกันว่า เทวีเอเซ็ท
  • 9. เทวีเสลเคต ( Selket) หรือเสร์คูเอต ( Serquet) เทวีแมงป่อง มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยราชาแมงป่อง กษัตริยก่อนราชวงศ์ พระนางเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เพราะพระนางเป็นหนึ่งในเทวีผู้พิทักษ์ต้นน้ำทั้งสี่แห่งแม่น้ำนิล หน้าที่ของเทวีเสลเคตคือ เป็นคนเฝ้างูอาโปฟิส ศัตรูของเทพราที่ถูกมัดและขังไว้ใต้พิภพ พระนางเป็นชายาของเทพเนเฆบคาอู ( Nekhebkau) เทพแห่งงูใหญ่ มีแขนเป็นมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล่าปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ใต้โลก กล่าวกันว่าเทวีเสลเคตถูกมัดด้วยโซ่จนสวรรคต แต่พระสวามีของเธอบางครั้งก็เป็นเทพที่ดี คอยให้อาหารแก่วิญญาณของผู้ตาย ถ้าในกรณีนี้ เทวีเสลเคตก็เป็นเทวีที่ดีด้วย           โดยปกติแล้วเทวีเสลเคตจะช่วยเทวีไอสิสทำพิธีศพเทพโอสิริสและเป็นผู้ช่วยคอยดูแลเทพโฮรุส พระนางจะประทับยืนอยู่กับเทวีอีสิสตรงปลายโลงศพ และเป็นเทพ 1 ใน 4 ที่ประจำที่ไหเก็บเครื่องในมัมมี่ที่เก็บลำไส้           เทวีเสลเคตมีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นแมงป่อง หรือกายเป็นแมงป่อง ศีรษะเป็นมนุษย์ บางครั้งก็เป็นเช่นเดียวกับอิมโฮเตป ( Imhotep) เป็นหนึ่งในมนุษย์เทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์
  • 10. 3. ศิลปะอียิปต์โบราณ (2650 ปีก่อน พ . ศ .- พ . ศ .501) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม    และสถาปัตยกรรมส่วนมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ   ซึ่งมีความเชื่อ ว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี   และนำสิ่งของเครื่อง ใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย             ลักษณะงานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมา ผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบนอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ   มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญ ในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว           ลักษณะงานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ   เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์   หรือบางทีก็เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหิน ทราย   นอกจากนี้ยังมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็ก มักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม   หินลาปิสลาซูลี   เซรามิค
  • 11. ฯลฯ ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว      แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง   บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว   ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย           ลักษณะสถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและแข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตรพิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ พีระมิด พีระมิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มาสตาบา ต่อมามีการพัฒนารูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปพีระมิดที่เห็นในปัจจุบัน    นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้าเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักร ใหม่ (1020 ปีก่อน พ . ศ . – พ . ศ .510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม    ทำจากอิฐและหินซึ่งนำรูปแบบวิหารมากจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์ และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
  • 12. 4. อักษรอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์โบราณมีอักษรของตนเอง ซึ่งเรียกว่าอักษร ฮีโรกลีฟิค ( Hieroglyphic) ซึ่งคำว่า ฮีโรกลีฟิคนี้ เป็นชื่อที่ชาวกรีกเรียกเครื่องหมายราณที่ปรากฏอยู่ตามโบราณสถาน สุสาน หีบศพ และตามรูปแกะสลักต่างๆ           ความหมายของคำนี้คือ “ อักษรศักดิ์สิทธิ์ ” ทั้งนี้ก็เพราะในสมัยที่ชาวกรีกติดต่อสัมพันธ์กับชาวอียิปต์นั้น ชาวอียิปต์นี้ใช้อักษรชนิดนี้สำหรับบันทึกเรื่องราวทางศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ           ในตอนแรกเวลาชาวอียิปต์จะเขียนหรือแกะสลักภาษาฮีโรกลีฟิคบน กระดาษปาปิรุส หรือบนผนังหินในสุสาน พวกเขาก็จะพยายามแกะสลักรูปภาพต่างๆ อย่างประณีตบรรจง เพราะนอกจากจะได้เนื้อความทางภาษาแล้ว ภาษาของพวกเขายังดูสวยงามใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งไปด้วยในตัว แต่ในระยะหลังเมื่อพวกเขามีความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่วุ่นวายซับซ้อนมากขึ้น พวกเขาก็ไม่มีเวลาที่จะมานั่งประดิดประดอยภาษารูปภาพของตนให้สวยงามดังแต่ก่อน           โดยเฉพาะเวลารีบๆ เขียนหนังสือลงบน กระดาษปาปิรุสด้วยปากกาทำด้วยต้นกกนั้น พวกเสมียนที่ทำหน้าที่เขียนจะต้องดัดแปลงอักษรบางตัวให้เขียนได้สะดวกยิ่งขึ้น เหตุนี้ทำให้รูปของอักษรเปลี่ยนแปลงไปเป็น อักษรตวัด ซึ่งเรียกว่า อักษรแบบ ฮีราติค ( Hieratic) ในระยะแรกอักษรชนิดนี้ก็ไม่แตกต่างจากอักษร ฮีโรกลิฟิคมากเท่าใดนัก เพียงแค่มีการใช้เครื่องหมายย่อๆ มากขึ้น และเขียนตัวอักษรหวัดขึ้น แต่ในระยะหลัง อักษรแบบฮีราติคนี้ก็มีแบบและหน้าตาแปลกออกไปเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ คงเหลือแต่เค้าให้เห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างคล้ายคลึงกันกับอักษร ฮีโรกลิฟิคเท่านั้น
  • 13. 5. เลขอียิปต์โบราณ   เมื่อกล่าวถึงคณิตศาสตร์ ทุกคนคงคิดว่าเป็น “ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องตัวเลข ” ซึ่งอันที่จริงแล้วคำจำกัดความนี้เป็นเพียงคำจำกัดความดั่งเดิมของคณิตศาสตร์เท่านั้น ปัจจุบันคณิตศาสตร์ได้ถูกพัฒนาจนไม่สามารถใช้คำจำกัดความดังกล่าวได้อีกต่อไป ซึ่งหากน้องๆ อยากรู้ว่าคณิตศาสตร์มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีอะไรมากไปกว่าตัวเลข พี่ก็คงบอกได้แต่เพียงว่า น้องๆต้องติดตามกันต่อไป อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้สามารถชี้ให้เห็นถึงรากฐาน และที่มาของคณิตศาสตร์ได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือ ตัวเลข นั่นเอง แน่นอนทีเดียวที่แต่ละประเทศย่อมมีสัญลักษณ์แทนตัวเลขที่แตกต่างกันไป พี่จึงขอเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ด้วยตัวเลขที่แต่ละอารยธรรมคิดค้นขึ้น โดยอารยธรรมแรกที่จะขอกล่าวถึงคือ อียิปต์โบราณ           อียิปต์โบราณได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ 5 , 464 - 30 ปีก่อนคริสตกาล มีอาณาเขตครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์จากเมืองแอสวาน ( Aswan) จนจรดชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรนียนของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน ( ดังแสดงในรูปที่ 1) อียิปต์โบราณเป็นอารยธรรมหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็นอารยธรรมแรกที่ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ชาวอียิปต์โบราณให้ความสำคัญอย่างมากกับการจดบันทึก และการสื่อสารจึงได้ประดิษฐ์กระดาษปาปิรุส ( papyrus) ขึ้น ซึ่งทำมาจากต้นกกที่เติบโตอย่างแพร่หลายในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์นั่นเอง ชาวอียิปต์โบราณสื่อความหมายด้วยอักษรภาพที่เรียกว่า ไฮโรกลิฟ ( Hieroglyph) ซึ่งรวมไปถึงตัวเลขด้วย
  • 14. 6. พีระมิดแห่งอียิปต์ พีระมิดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร คำว่า “ พีระมิด ” มาจากคำว่า “ Pyramid” ในภาษา กรีก ซึ่งแปลว่า “ ขนมเค้กข้าวสาลี ” อาจเป็นเพราะพีระมิดมีลักษณะคล้ายกับขนมเค้กก็ได้ ชาวกรีกเป็นผู้เริ่มใช้คำว่า พีระมิด ส่วนคำว่าพีระมิดในภาษาอียิปต์โบราณ เรียกว่า “ เมอร์ ” ( mer ) ในสมัยก่อน ( ราชวงศ์ที่ 1 เรื่อยมาจนถึงปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 3 ของอียิปต์ ) สุสานของฟาโรห์เป็นลักษณะที่เรียกว่า “ มาสตาบา ” เป็นการสร้างสุสานอย่างง่ายๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยมสร้างด้วยอิฐมีประตูหลอกหลายประตู แต่มีประตูจริงเพียงบานเดียว ห้องเก็บพระศพเจาะป็นอุโมงค์ลึกไปตามผืนดินโดให้มีความลึกและเป็นความลับตามพระขององค์ฟาโรห์ จนกระทั่งสมัยของฟาโรห์ซอเซอร์ การสร้างสุสานของฟาโรห์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยมีเสนาบดีอิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างพีระมิด โดยพีระมิดสมัยนั้น เรียกว่า “ พีระมิดขั้นบันได ” ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นพีระมิดแท้ในที่สุด สถานที่ตั้ง เมืองกิซา ประเทศอียิปต์ ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ มหาพีระมิดแห่งอียิปต์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ เพียงสิ่งเดียวที่ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์เหมือนในอดีต ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกิซ่า ตอนเหนือของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ประกอบไปด้วยพีระมิดใหญ่ 3 องค์ คือ พีระมิดที่บรรจุพระศพของฟาโรห์ คีออปส์ ( Cheops) คีเฟรน ( Chephren) และไมเซอรินัส ( Mycerinus)
  • 15. พีระมิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมใช้เพื่อเป็นที่เก็บมัมมี่หรือพระศพของฟาโรห์นั่นเอง แต่ก่อนจะมาเป็นพีระมิดนั้น ที่ฝังศพในยุคแรกๆของกษัตริย์และราชวงศ์รวมถึงขุนนางชั้นสูง นิยมใช้หินก่อเป็นห้องลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาแบนราบทับอยู่บนที่ฝังศพ เรียกกันว่ามาสตาบา ( Mastaba) มีช่องทางลงไปยังที่เก็บศพหรือหลุมศพจากด้านหลังคา ภายในวาดภาพหรือสลักภาพต่างๆบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าของสุสาน ต่อมาฟาโรห์โซเซอร์ ( Djoser) ในราชวงศ์ที่ 3 ประมาณ 2 , 600 ปีก่อนคริสต์กาล พระองค์ได้มีคำสั่งให้อิมโฮเทปผู้เป็นสถาปนิกและคนสนิทของพระองค์ ทำการออกแบบและก่อสร้างสุสานสำหรับบรรจุพระศพของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่ขึ้น อิมโฮเทปจึงออกแบบให้เป็นมาสตาบาก่อซ้อนกันขึ้นไป 6 ชั้นลดหลั่นกันทุกระดับ จึงถูกเรียกว่าพีระมิดขั้นบันไดหรือ Step pyramid
  • 16. สาเหตุในการสร้างพีระมิด            ชาวอียิปต์โบราณเชื่อเรื่อง “ ชีวิตหลังความตาย ” เมื่อตายไปแล้วจะมีโลกหน้าเพื่อใช้ชีวิตยืนยงและจำเป็นต้องรักษาร่างกายหรือศพไว้ไม่ให้หายสาบสูญ จึงสร้างพีระมิดไว้เพื่อเก็บรักษาศพ และยังเชื่อเรื่องการติดตามฟาโรห์ไปยังโลกหน้า โดยเชื่อว่าฟาโรห์คือพระเจ้า และเพื่อให้ดวงวิญญาณกษัตริย์ของพวกเขามีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับโลกหน้าจึงได้ฝังทรัพย์สินและสิ่งของส่วนพระองค์ไปพร้อมกัน ดังจะเห็นจากหลักฐานที่นักโบราณคดีค้นพบเป็นจำนวนมากในห้องเก็บสมบัติในพีระมิด ได้แก่ เพชรพลอย อาหาร เครื่องเรือน เครื่องดนตรี และอุปกรณ์ล่าสัตว์ รวมถึงหนังสือที่เขียนประวัติผู้ตายจารึกด้วยภาษาอียิปต์ลงบนกระดานปาปิรุส ที่เรียกว่า “ หนังสือของคนตาย ” (Book of the Dead)   การก่อสร้างพีระมิดในอารยธรรมอียิปต์โบราณชาวนาชาวไร่จึงต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างพีระมิด โดยหวังว่าเมื่อเสียชีวิตแล้วจะได้ตามฟาโรห์ไปใช้ชีวิตในโลกหน้า การสร้างพีระมิดในสมัยนั้นจึงเป็นการกระทำด้วยความเต็นใจไม่ได้มีใครบังคับขู่เข็ญ แต่เมื่อสมัยฟาโรห์คูฟู ความเชื่อนั้นก็ค่อยๆเลือนหายไป ฟาโรห์ลดระดับจากพระเจ้าเป็นเพียงแค่มนุษย์ธรรมดา ทำให้การก่อสร้างพีระมิดในสมัยนั้นเป็นการบังคับ ทั้งยังมีกาใช้แรงงานทาสอีกด้วย จากความยากลำบากในการสร้างและความยิ่งใหญ่งดงามอลังการจนยากที่จะเชื่อได้ว่า พีระมิดแห่งนี้
  • 17. 7. มัมมี่ 1000 ปี   มัมมี่ ( Mummy) เชื่อกันว่ามาจากคำว่า มัมมียะ ( Mummiya) คำในภาษาเปอร์เชียซึ่งหมายถึงร่างของศพที่ถูกทำให้มีสีดำ           มัมมี่ คือ ศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า " มัมมี่ " มาจากคำว่า " มัมมียะ " ( Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซียร์ มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา พิธีพระศพของฟาโรห์หรือขั้นตอนการทำมัมมี่ พีระมิดและพิธีศพของฟาโรห์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอย่างเลี่ยงกันไม่ได้ เพระพิธีพระศพของฟาโรห์ถือเป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในศาสนาอียิปต์โบราณต่างทำพิธีในบริเวณที่พีระมิดทั้งสิ้น มีการเตรียมพิธีการตั้งแต่ฟาโรห์มีชีวิตอยู่ กล่าวคือ มีการสร้างพีระมิดและหลุมเก็บพระศพขึ้นมาก่อน เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนแล้วจึงจัดพิธีการ พิธีชำระล้างพระศพ จะชำระล้างให้สะอาดในทะเลสาบอันศักดิ์สิทธิของวิหารเทพเจ้าเรแห่งนครเฮลิโอโพลิส แล้จึงนำเข้าสู่วิหารหุบเขา
  • 18. พิธีดองพระศพ ทำในวิหารหุบเขา พระจะทำพิธีผ่าเอาอวัยวะภายในของร่างกายไปเก็บไว้ในโถ เรียกว่า “ คาปิก ” มีทั้งหมดสี่โถ เมื่อบรรจุแล้วก็นำไปเก็บไว้ในกล่องคาโนปิก ส่วนร่างกายจะแช่น้ำยาตรอนเป็นเวลา 70 วัน ก่อนที่จะล้างออกและห่อด้วยผ้าลินินชุบน้ำยาตรอน เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของร่างกาย พิธีเปิดปากมัมมี่ พระและพระโอรสองค์ใดองค์หนึ่งของฟาณห์ที่สิ้นพระชนจะเดนไปที่รูปปั้นของฟาโรห์ 23 รูป ที่อยู่บริเวณห้องโถงรูปตัวที ในมือมีธูปเทียนที่จุดแล้ว พระโอรสจะพรมน้ำบนรูปปั้นเหล่านี้ แล้วให้ขวานหรือสิ่วแตะบนปากรูปปั้นเบาๆแล้วชโลมปากรูปปั้นทั้งหมดด้วยน้ำนม พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ตายหรือมัมมี่มีพลังในการพูด และหวนกลับมาเพื่อรอคอยการใช้ชีวิตในภพใหม่   ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา
  • 19. เอกสารอ้างอิง ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/ 41865 นิตยสารยูงทอง ฉบับ “ ค้นหา ” การก่อสร้างพีระมิด อาณาจักรอียิปต์โบราณ ลี้ลับเหนือโลก Edwards, I.E.S. , The Pyramids of Egypt Penguin Books Ltd; New Ed edition ( 5 Dec 1991) , ISBN 978-0-14-013634-0 Lehner, Mark , The Complete Pyramids , Thames & Hudson, 1997 , ISBN 978-0-500-05084-2 Mendelssohn, Kurt , The Riddle of the Pyramids , Thames & Hudson Ltd ( 6 May 1974) , ISBN 978-0-500-05015-6 วารสารเพื่อนเดินทาง ปีที่ 14 ฉบับที่ 147 มีนาคม 2535