SlideShare a Scribd company logo
1 of 64
Download to read offline
สมัย
จักรวรรดิ
นิยม
ดินแดนในทวีปแอฟริกา
วิธีในการลาอาณานิคมชาติมหาอํานาจ
ประเทศโปรตุเกส
ประเทศเยอรมนี
ประเทศอิตาลี
ลัทธิจักรวรรดินิยม
จักรวรรดินิยม (Imperialism)
หมายถึง ลัทธิการปกครองและการดําเนินนโยบาย
ต่างประเทศของชาติมหาอํานาจ ในการที่จะขยายอิทธิพลเข้า ไป
ปกครอง ครอบงํา และแสวงหา ผลประโยชน์ในประเทศด้อย
การพัฒนาหรือในดินแดนที่อ่อนแอกว่า
สาเหตุที่ทําให้เกิดสมัยจักรวรรดินิยม
1. ความสําเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศยุโรป ทําให้เกิดความ
ต้องการ ยึดครองดินแดนที่มีวัตถุดิบอันเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
และต้องการแสวงหาเมืองขึ้น
2. เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดสินค้าสําเร็จรูปและเป็นแหล่งลงทุนเพื่อ
ผลประโยชน์
3. เป็นแหล่งขยายพลเมืองประเทศของตนที่มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น
4. เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาและอารยธรรมตะวันตก
1.อาศัยชัยชนะในการทําสงคราม
2.ใช้รูปแบบของการค้าขาย
3.เผยแผ่คริสต์ศาสนา
4.ขู่เข็ญเจ้าผู้ครองพื้นเมืองให้มอบ
ดินแดนให้เป็นเมืองอารักขา
ดินแดนในทวีปแอฟริกา
เยอรมันกับอิตาลีเป็นประเทศที่ล้าหลังในการแสวงหาอาณา
นิคมแต่ดินแดนที่มีค่าทางเศรษฐกิจถูกมหาอํานาจอื่นๆ ยึดครองไป
เกือบหมดแล้วคงเหลือทวีปแอฟริกาหรือทวีปมืด (Dark Continent)
เป็นดินแดนที่มีความกันดารล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจสังคมและ
วัฒนธรรม รวมไปถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นที่ราบสูงยากต่อการ
เข้าถึง และพื้นที่ทะเลทราย แต่ตามดินแดนที่ตั้งอยู่ตามริมนํ้าฝั่งทะเลก็
มักจะถูกประเทศอื่นยึดครองแล้ว
ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน ชาวสกอตแลนด์ เป็นหมอสอนศาสนา และนัก
สํารวจ เขาได้ศึกษาขนบธรรมเนียมของชาวพื้นเมือง คือ พวกแขกนิโกร
ค้นพบแม่นํ้าแซมเบซิ
(The Zambesi)
ค้นพบนํ้าตก“นํ้าตกวิกตอเรีย”
ที่ตั้งชื่อตามพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ค้นพบทะเลสาบทันกันยิกา
ต่อมา ค.ศ 1873 นักหนังสือพิมพ์ คนหนึ่งชื่อเฮนรี่ มอร์แกน สแตนเลีย์
นักสํารวจชาวอเมริกัน ได้ไปสํารวจแอฟริกา เพราะเขาได้ข่าวคราวของ ดร.ลิฟวิ่งสโตน
และนําเรื่องราวของ ดร.ลิฟวิ่งสโตน มาลงข่าวในปี ค.ศ 1875 ร่วมถึงการพบแม่นํ้าคองโก
ด้วย แสดงให้เห็นว่าชาวพื้นเมืองคองโกมีของป่า
งาช้าง
ทองแดง
ฝ้ ายโอปอล
ที่มีค่าที่จะใช้จะแลกกับพวกสินค้าผ้า ทําให้ประเทศต่างๆ พากันสนใจในทวีปแอฟริกามากขึ้น
บัวร์ซึ่งเป็นชาวฮอลันดาที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปแอฟริกา ซึ่ง
พวกบัวร์ได้ปกครองดินแดนในแอฟริกา 2 รัฐ คือ สาธารณรัฐทราน
สวาท และ เสรีรัฐออเรนจ์แอฟริกานั้นอุดมไปสมบูรณ์ไปด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติต่อมาเมื่ออังกฤษได้ปกครองเคปโคโลนีตรงปลายแหลมทาง
ตอนใต้ของแอฟริกา อังกฤษก็แสดงความดีใจกับชาวพื้นเมือง
โดยการยกเลิกการมีทาสประมาณ 30000 คน เป็นอิสระในประเทศ ค.ศ
1834 ทําให้พวกบัวร์เรียกเกิดความไม่พอใจต่อมาพวกบัวร์ประมาณ 10,000
คนอพยพไปทางเหนือของแอฟริกาไปจับจองที่ดินแถวแม่นํ้าวัล ประกาศตั้ง
สาธารณรัฐขึ้น 2 แห่ง
หลังจากที่อังกฤษเข้าไปจับจองเคปโคโลนีแล้ว
ก็ส่งเสริมทหารที่ลาออกจากกองบัญชาการให้ไปทํามาหากิน ต่อมาให้
เคปโคโลนีได้รับการปกครองตนเองในปี ค.ศ 1872 แต่เมื่อไปเทียบกับพวกสา
ธารรัฐของพวกบัวร์แล้ว ปรากฏว่าดินแดนของพวกบัวร์นั้นอุดมไปด้วย
เพชรกับทองคํา ในปี ค.ศ 1897 ทําให้พวกอังกฤษ โดยเฉพาะเชชิลโรดส์
ค่อยๆอพยพผู้คนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในดินแดนของพวกบัวร์มากขึ้น
เหตุการณ์ดั่งกล่าวทําให้เจ้าของถิ่นไม่พอใจ ทําให้ขัดใจกันเสมอๆระหว่าง
อังกฤษกับพวกบัวร์
นอกจากนี้ชาวอังกฤษ ยังคิดที่จะเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบ
สาธารณรัฐ ในปี ค.ศ 1897 ดร.เจมสัน พาพรรคพวกไปปล้นพวกบัวร์ แต่ถูก
จับได้ พระเจ้าไกเซอร์ วิลเลียมที่2 จึงทรงมีโทรเลขไปแสดงความหวังดีต่อ
ประธานาธิบดีปอล ธีโอดอร์ ค.ศ 1825-1904 ซึ่งมีสมญาว่า Oom Paul เท่ากับ
ทรงประณามการกระทําของชาวอังกฤษ ต่อมาเรื่องจดหมายระหว่างอังกฤษและ
พวกบัวร์ทําให้เกิดสงคราม ตั้งแต่ปี ค.ศ 1899-1902 อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ
แต่ได้แสดงความอลุ่มอล่วยกับพวกบัวร์ เห็นได้จาก Treaty of Vereening
ฉบับ ค.ศ 1902 ตามสนธิสัญญานี้ อังกฤษยอมเสียสละเงินจํานวนหนึ่งเพื่อให้
พวกบัวร์นําไปก่อสร้างที่อยู่แทนของเก่าตอนทําลาย
โปรตุเกสได้ปกครองอาณานิคมทวีปแอฟริกาตั้งแต่ศตวรรษ16
อาณานิคมโปรตุเกส ได้แก่ อังโกลา และโมซัมบิก
ส่วนฝรั่งเศสได้ครอบครองแคว้นแอลจีเรียและตูนิเซีย
(นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังได้ฝั่งขวาทั้งหมดของแม่นํ้าคองโก ในขณะเดียวกัน
ก็ได้เซเนกัล และฝรั่งเศสได้พยายามแผ่อาณาเขตของตนเข้าไปในทะเลทราย
สะฮารา)
ประเทศโปรตุเกส
ออทโท ฟอน บิสมาร์ค (Otto von
Bismarck) เสนาบดีและรัฐบุรุษของปรัสเซีย-เยอรมนี
ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ค.ศ. 1861
เป็นผู้รวมประเทศเยอรมนีกับปรัสเซียเข้าด้วยกัน
และสถาปนาจักรวรรดิเยอรมนีขึ้น
ดํารงตําแหน่งเสนาบดีแห่งจักรวรรดิเยอรมนี
จนได้รับฉายาว่า "เสนาบดีเหล็ก"
สําหรับเยอรมนีนี้บิสมาร์กไม่ค่อยเชื่อในผลประโยชน์ที่เยอรมนีจะได้จาก
อาณานิคมแต่ต่อมาปรากฏว่าพ่อค้าชาวเยอรมนีที่เดินทางไปค้าขายต่างประเทศก็
ได้รบเร้าบิสมาร์กให้แสวงอาณานิคมเหมือนประเทศมหาอํานาจอื่นๆบิสมาร์กก็
เห็นชอบด้วยและก็ทําการได้ผลดีอย่างรวดเร็วในเดือนเมษายน ค.ศ 1884
เยอรมนีก็ได้ปกครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้
หลังจาก นั้นเยอรมนีก็ได้ปกครองแอฟริกาตะวันออก นอกจากนี้เยอรมนียัง
สนใจในดินแดนภาคตะวันออก คือที่เกาะนิวกินี และได้เกิดข้อพิพาทอังกฤษและ
ฮอลันดาแต่ทั้ง 3 ประเทศทําความตกลงกันได้ เยอรมันปกครองทางเหนือ
อังกฤษปกครองทางใต้ และฮอลันดาปกครองทางตะวันตก
เบลเยียมก็สนใจในดินแดนในแอฟริกาเช่นเดียวกัน หลังจากที่
สแตนลีย์นักสํารวจชาวอังกฤษได้เดินทางกลับไปยังอังกฤษแล้วได้ลงข่าวเกี่ยวกับ
แอฟริกาในหนังสือพิมพ์ปี ค.ศ 1875 แล้ว ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์ประเทศใดสนใจ
นอกจากนี้กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ได้ทรงอ้างสิทธิในการยึดครอง มี
จุดมุ่งหมายที่จะยึดดินแดนคองโกต่อมาประเทศมหาอํานาจ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา
และประเทศมหาอํานาจในทวีปยุโรปทั้งหลายยกเว้นสวิตเซอร์แลนด์ก็กลัวว่า
เลโอโปลด์ที่2 จะยึดคองโกเป็นอาณานิคม ก็จัดให้มีการประชุมกันที่กรุง
เบอร์ลินและได้ทําการตกลงกันว่าให้กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2เป็นผู้ดูแลคองโก
แต่ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ชาวต่างประเทศเข้ามาทําการพาณิชย์ในคองโกได้
โดยอิสระเสรี
อิตาลีกว่าจะลงมือล่าอาณานิคมก็เหลือดินแดนที่ไม่ค่อยมีค่าทาง
เศรษฐกิจ ดินแดนที่อิตาลียึดได้ก็คือ แคว้นเอริเตรอา และยึดโซมาลิแลนด์
แต่ดินแดนทั้ง 2 แห่งไม่อุดมสมบูรณ์
ประเทศอิตาลี
วิธีการปกครองอาณานิคม
1.ในอาณานิคมที่มีชาวอังกฤษหรือชาวขาวที่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่
และที่ได้รับการศึกษาดีพอที่จะทําการปกครองได้ อังกฤษก็จะอนุมัติให้ได้รับ
การปกครองเอง
2.ถ้าพลเมืองในอาณานิคมส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมือง ซึ่งได้รับ
การศึกษาดีพอที่จะปกครองตัวเองได้ อังกฤษก็จะเปิดโอกาสให้มีการปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตยจะให้มีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติขึ้น
3.ถ้าในอาณานิคมได้รับการศึกษาไม่ดีพอหรือว่ายังไม่เจริญ
พอที่จะทําการปกครองตนเองได้ อังกฤษก็เข้าปกครองโดยโดยตรงเป็น
อาณานิคม
4.รัฐในอารักขาตามปกติก็มีเจ้าผู้ปกครองของตนเอง อังกฤษ
เพียงแต่แต่งตั้งข้าราชการไปเป็นผู้ปรึกษา และตัวแทนภายในรัฐนั้นๆ
อังกฤษพยายามส่งเสริมให้ประชาชน
รู้จักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ต้องการจะเผยแผ่วัฒนธรรมอังกฤษ ให้
การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ประชาชนในรัฐใน
อารักขาทั้งหลาย
กรณีพิพาทระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส
เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ
1.เรื่องเกี่ยวกับประเทศอียิปต์ อียิปต์อยู่ใต้การปกครองของสุลตาล
แห่งตุรกี แต่มีเจ้าผู้ครองของตนเอง ชื่อว่า อิสเมล ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสสนใจ
ในอียิปต์มาตั้งแต่อียิปต์เปิดการเดินเรือคลองสุเอซ ในปี ค.ศ. 1869 ต่อมาอีก 6 ปี
นายกรัฐมนตรีอังกฤษก็ได้ซื้อหุ้นคลองสุเอซ จํานวน 44% เพื่อเปิดโอกาสให้
อังกฤษได้เข้าควบคลุมคลองสุเอซ ซึ่งเป็นการคมนาคมที่สําคัญ
แต่ขณะเดียวกันกันอิสเมลก็ทรงใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ข้าราชการก็ฉ้อราษฏร์บัง
หลวง
2.เกาะมาดากัสการ์ มีเจ้าปกครองของตัวเอง ทั้งอังกฤษและ
ฝรั่งเศสก็เพ่งเล็งและสนใจที่ได้ปกครองเกาะนี้ ในที่สุดฝรั่งเศสได้ชิง
เกาะได้ก่อนอังกฤษ โดยยกกองทหารยึดเกาะในปี ค.ศ . 1876 และ
ประกาศตั้งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังเรียกร้องให้
อังกฤษสละสิทธิต่างๆทั้งๆที่อังกฤษไม่เต็มใจ
3.เกี่ยวกับเรื่องเมืองไทย ค.ศ. 1893 ฝรั่งเศสประสงค์ที่จะยึด
ไทยเป็นเมืองขึ้น อังกฤษได้ทําการขัดขว้างทางการทูต เพื่อประโยชน์ของตน
ทางด้านการค้า และเพื่อรักษาประเทศไทยเป็นรัฐกันกระทบ
4.เรื่องหมู่เกาะนิวเฮบริดีสริดีส ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองหมู่เกาะ
นิวแคลีโดเนีย ฝรั่งเศสก็อยากจะขยายอํานาจเข้าไปครอบครองหมู่เกาะนิวเฮบริ
ดีส แต่อังกฤษก็อ้างว่าอังกฤษมีผลประโยชน์ในหมูเกาะนิวเฮบริดิส อยู่ก่อน
เพราะฉะนั้นจึงได้เกิดปัญหาขึ้นระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส
5.เหตุการณ์ที่เมืองฟาโซดะ อังกฤษกับฝรั่งเศสแข่งขันกันขยาย
ดินแดนขยายอาณานิคมในทวีปแอฟริกา ในค.ศ 1898 นายร้อยเอกมาร์ชองค์
ได้เข้ายึดเมืองฟาโซดะ และก็ชักธงฝรั่งเศสขึ้น ประกาศว่าเมืองฟาโซดะอยู่ใน
ความยึดครองของฝรั่งเศส นายพลอังกฤษก็ทําการประท้วงและได้รัฐบาล
อังกฤษก็แสดงท่าทีว่าจะตัดสินปัญหานี้ด้วยสงคราม
ความเข้าใจฉันมิตรระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
นายร้อยเอกมาร์ชองค์ต้องถอนกองทัพฝรั่งเศสออกจากเมืองฟาโซตะ
แล้ว ทําให้รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสต้องลาออกจากตําแหน่งเพราะว่าเขาเป็น
คนสนับสนุนนายร้อยเอกมาร์ชองค์ให้ยึดเมืองฟาโซตะ เคลกาสเซ ค.ศ 1852
– 1923 ได้ขึ้นดํารงตําแหน่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ เขาได้เปลี่ยนวิเทโศบาย
เกี่ยวกับประเทศใหม่ เดลกาสเซมีความเห็นว่าอังกฤษเป็นประเทศมหาอํานาจ
และมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทองและมีกองทัพบกและกองทัพเรือที่มี
ประสิทธิภาพ จึงเป็นการยากที่ฝรั่งเศสจะเอาชนะอังกฤษด้วยสงครามถ้าฝรั่งเศส
ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง
ฝรั่งเศสควรเป็นไมตรีกับอังกฤษ รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษและ
ฝรั่งเศสได้พบปะสนทนาทําความเข้าใจกัน ในที่สุดรัฐบาลทั้ง 2 ได้ตกลงกันเป็น
ผลสําเร็จ
ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1904 อังกฤษกับฝรั่งเศสก็ได้ทําความตกลงกัน
ฉบับหนึ่งที่เรียกว่า Entente Cordial
ฝรั่งเศสได้ดินแดนในทวีปแอฟริกาประมาณ 4 ล้าน 2 แสนตารางไมล์
อังกฤษได้ดินแดนในทวีปแอฟริกาประมาณ 3 ล้าน 3 แสนไมล์
เยอรมนีได้ดินแดนในแอฟริกาประมาณ 1ล้าน 1 แสนไมล์
ปอล แคมบอง เอกอัคราชทูตฝรั่งเศสประจํากรุงลอนดอนได้ประสาน
ไมตรีกับอังกฤษตามที่เดลกาสเซ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส
ยอมรับว่าอังกฤษมีอิทธิพลในอียิปต์ และอังกฤษยอมรับว่าฝรั่งเศสมีอิทธิพลใน
โมร็อกโก
ความตกลงฉบับที่1 เกี่ยวกับอียิปต์และโมร็อกโก สําหรับอียิปต์
อังกฤษรับรองว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงสภาพทางการเมืองของอียิปต์ และฝรั่งเศสก็จะ
ไม่ยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับอียิปต์ เพียงแต่ในอังกฤษกําหนดเป็นที่
แน่นอนว่าอังกฤษถอนทหารออกจากอียิปต์เมื่อไร สําหรับโมร็อกโกอังกฤษ รับรองว่า
ไม่ขัดขวางฝรั่งเศส
สภาพทางการเมืองโมร็อกโกขณะนั้น ปี ค.ศ 1904-05
โมร็อกโกเป็นประเทศราชของตรุกี แต่ว่าสุลต่านอับดุล อชิล ใช้จ่ายเงินทอง
ฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ราษฏรในโมร็อกโกไม่มีความเป็นระเบียบ มักจะพาพรรค
พวกไปปล้นสะดมในเมืองแอลเจียร์ของฝรั่งเศสอยู่ตลอดเวลา ดั้งนั้นฝรั่งเศสจึง
หันไปขนาบเจ้าผู้ครองของโมร็อกโกเมื่อรู้ว่าอังกฤษ เยอรมนี ไม่สนับสนุนตน
เจ้าผู้ครองแห่งโมร็อกโกจึงทําอนุสัญญา 2 ฉบับกับฝรั่ง
1.ให้ฝรั่งเศสเป็นผู้ดูแลรักษาความสงบชายแดน
2.ให้ฝรั่งเศสเป็นผู้ฝึกสอน วิชาทหารให้แก่พวกโมร็อกโก ให้ฝรั่งเศสจัดตั้ง
ธนาคารขึ้นในโมร็อกโก
เกี่ยวกับการหาปลาบนชายฝั่งบนเกาะนิวฟันด์แลนด์ ตาม
สนธิสัญญาอูเทรนต์ ฉบับปี ค. ศ 1713 นี้ฝรั่งเศสมีสิทธิที่จะจับปลาบน
ชายฝั่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ และก็เอาไปตากแห้งบนชายฝั่งได้
ความตกลง
ฉบับที่2
ความตกลงฉบับที่ 3
เกี่ยวกับประเทศไทย เกาะมาดากัสการ์ และหมู่เกาะนิวเฮบริดีส
เกี่ยวกับประเทศไทย อังกฤษและฝรั่งเศสตกลงที่จะดํารงไว้ซึ่งเอกราชของไทย
แต่ให้ดินแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทยอยู่ในเขตปริมลฑลอิทธิพล
ฝรั่งเศส ส่วนดินแดนทางภาคตะวันตกให้อยู่ในเขตปริมลทลอิทธิพลของ
อังกฤษ
ได้มีกรณีพิพาทกันหลายเรื่องซึ่งทําให้ทั้งสองประเทศไม่
ไว้วางใจซึ้งกัน
1 เกี่ยวกับเรื่องประเทศเปอร์เซีย ทั้งอังกฤษ และรุสเชีย
ต่างแย่งชิงกันหาผลประโยชน์ในเปอร์เซีย อังกฤษค่อยกีดกัดไม่ให้รุสเชียไป
เกี่ยวข้องทางการค้าทางอ่าวเปอร์เซีย
2 เกี่ยวกับเรื่องอัฟกานิสถาน ต่างก็ระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน
อังกฤษกลัวว่ารุสเชียจะสร้างทางรถไฟไปบรรจบกับอัฟกานิสถาน เพื่ออํานวย
ความสะดวกให้แก่การขนส่งทางทหารเพื่อ คุมคามไปยังอินเดีย
3. เกี่ยวกับเรื่องทิเบต อังกฤษกลัวว่าทิเบตตกอยู่ภายใต้
อิทธิพลของรุสเซีย
เพราะว่าในปี ค.ศ1904 อังกฤษได้ส่งคณะทูตคนหนึ่งมีชื่อว่า เซอร์
ยังหัสแบนด์ ก็ได้ทําความตกลงกับเจ้าครองทิเบตมีใจว่าก่อนที่ทิเบตจะ
ทําการให้เช่า จะขายหรือเช่าโอนที่ดินให้แก่ชาวต่างประเทศหรือก่อนที่ทิเบตจะ
ให้สัมปทานทางรถไฟ ไปรษณีย์ โทรเลข ตลอดจนสัมปทานเกี่ยวกับการ
สร้างถนนเกี่ยวกับชาวต่างชาติ ทิเบตจะขอคําปรึกษาจากอังกฤษ
ก่อนจะตกลงฉบับนี้ก็ทําให้อังกฤษโล่งใจ
4. ปัญหาเกี่ยวกับจีน รุสเซียได้แผ่อิทธิพลเข้าไปถึงแมนจูเรีย ก็
ทําให้อังกฤษนี้ไม่ไว้วางใจ กลัวว่ารุสเซียจะไม่หยุดยั้งเพียงเท่านั้น จะเลยเข้า
ไปถึงภาคกลางของจีน ซึ่งจะเป็นการกระทบกระเทือนถึงผลประโยชน์ของ
อังกฤษ
5. ปัญหา ด็อกเกอร์แบงค์ ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลตอนเหนือของทะเล
เหนือ ในระหว่างที่รุสเซียต้องทําสงครามกับญี่ปุ่น รุสเซียจําเป็นต้องส่ง
กองทัพเรือไปรบกับญี่ปุ่น 2 ทางด้วยกัน ทางหนึ่งไปทางทะเลบอลติก
ส่วนอีกทางหนึ่งไปทาง ทะเลดํา แต่ว่าสําหรับเรือรบในทะเลดําไม่มีโอกาส
ที่จะผ่านไปได้ ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ 1904 เรือสองลํา ของรุสเซียนี้ได้แล่น
ผ่านช่องแคบไปได้ รัฐบาลอังกฤษจึงทําการประท้วง โดยอ้างว่าเป็นการทําผิด
ระหว่างประเทศ
อังกฤษและรุสเซีย ได้ทําความข้อตกลง 3 ฉบับ tiple entente
หรือความตกลงระหว่างประเทศมหาอํานาจ 3 ประเทศ
อนุสัญญาที่รุสเซียทํากับอังกฤษ ในปี ค.ศ.1907 ตกลงฉบับที่ หนึ่ง ได้แก่
1 เกี่ยวกับเปอร์เซีย รุสเซียกับอังกฤษรับรองเอกภาพของอาณาจักรเปอร์เซียทาง
ตอนเหนือ ส่วนทางตอนใต้อยู่ในเขตปริมลทลอิทธิของอังกฤษ
2 เกี่ยวกับอัฟกานิสถาน อังกฤษรับรองว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงสภาพทางการเมือง
และไม่สนับสนุนให้อัฟกานิสถานรุกรานรุสเซีย
3 เกี่ยวกับทิเบต รุสเซียกับอังกฤษรับรองเอกภาพของอาณาเขตทิเบต โดย
อาศัยสัญญาฉบับปี ค.ศ 1907ซึ่งรุสเซียกับอังกฤษมีความสัมพันธ์ที่ดี จึงเป็นโอกาสดี
ที่ทําให้ความตกลงนั้นเป็นมิตรระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในปี1904 กลายเป็นความ
เข้าใจระหว่าง สามประเทศ อังกฤษ รุสเซีย ฝรั่งเศส
ค.ศ. 1907 มหาอํานาจแบ่งออกเป็นสองฝ่ายใหญ่ๆ
ฝ่ายที่สอง
(tripe alliancee)
ฝ่ายสนธิสัญญาไตร
มิตร เยอรมนี
ออสเตรีย - ฮังการี
อิตาลี
ฝ่ายที่หนึ่ง
( tripe entente )
ฝ่ายสนธิสัญญาตรีมิตร
อังกฤษ
ฝรั่งเศส
รุสเซีย
ออสเตรีย - ฮังการียึดบอลเนีย-เฮอร์เซโกวินา
ในปีค.ศ. 1908 และปัญหาแหลมบอลข่าน
- วันที่ 5 ตุลาคม 1908 บัลแกเรียได้ประกาศเอกราชขึ้นซึ่งเป็นการละเมิด
สนธิสัญญาแห่งกรุงเบอร์ลิน
- วันที่ 7 ตุลาคม 1908 ออสเตรียและฮังการีได้ยึดมณฑลบอสเนียและ
เฮอร์เซโกวินา เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย การประกาศเอกราชของ
บัลแกเรีย และการกระทําของออสเตรียเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแห่งกรุงเบอร์ลิน
ทําให้เสนาบดีการต่างประเทศของรุสเซียไม่พอใจ พยายามให้มีการประชุมเพื่อพิพาท
การกระทําของออสเตรียและฮังการี แต่เยอรมนีขัดขวาง ในที่สุด อังกฤษ ฝรั่งเศส และ
รุสเซีย ตกลงยกเลิกสนธิสัญญาเบอร์ลินแห่งปี ค.ศ 1878
สงครามแหลมบอลข่าน
ระหว่างปี ค.ศ 1912-1913
เป็นสงครามระหว่างตุรกีกับบัลแกเรีย เซอร์เบีย กรีซ และมอน
เตเนโกร สาเหตุเนื่องจากนายกรัฐมนตรีกรีกเป็นตัวการสําคัญที่จะขับไล่ตุรกี
ให้ออกไปจากแคว้นมาซีโดเนียอันที่จริงรุสเซียก็มีส่วนที่จะทําให้สงครามนี้เกิดขึ้น
ด้วย เพราะว่ารุสเซียผิดหวังที่ไม่สามารถจะเปิดช่องแคบบอสฟอรัสและดาร์
ดะแนลส์ได้ รุสเซียยุให้ประเทศทั้ง 4 ทําสงครามกับตุรกี ในขณะเดียวกันก็
ทําลายอํานาจของออสเตรีย-ฮังการีให้อ่อนแอลงในชั้นต้นบัลแกเรียก็ได้ทํา
สนธิสัญญาพันธมิตรกับเซอร์เบียในปี ค.ศ 1912 ในเดือนมีนาคม
สาระสําคัญสนธิสัญญาฉบับนี้
ได้แก่ ..........
1.รับประกันเอกราชและบูรณภาพของประเทศภาคีสัญญา
2. จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแบ่งแยกดินแดนตุรกี
3. ทูลเชิญให้พระเจ้าชาร์ นิโคลัสที่2 แห่งรุสเซียให้เป็นผู้ตัดสินชี้
ขาด ถ้าเกิดกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดน
-ค.ศ 1912 บัลแกเรียก็ได้ทําสนธิสัญญาพันธมิตรเช่นเดียวกับมอเตเน
โกและตกลงที่จะเปิดฉากการโจมตีตุรกี
- 8 ตุลาคม ค.ศ 1912 มอนเตเนโกก็ส่งกองทัพไปโจมตีตุรกี
ประเทศกรีซ เซอร์เบียและบัลแกเรีย ก็ส่งกองทัพเข้าโจมตีตุรกี
เช่นเดียวกัน ทําให้ตุรกีต้องทําสงครามสงบศึกกับอิตาลี ในการลงนาม
สนธิสัญญาลอร์เรน
-8 พฤศจิกายน คศ 1912 ปรากฤว่ากองทัพของบัลแกเรียได้รับ
ชัยชนะที่เมือง kerk kilisse
-22 ตุลาคม คศ 1912 บัลแกเรียได้ชัยชนะที่เมือง kunaroo
-8 พฤศจิกายน คศ 1912 กองทัพกรีซได้รับชัยชนะที่เมืองสโลนิกา ฝ่าย
เสนาบดีว่าการต่างประทศของรุสเซียชื่อ เซอร์ไจ ซาโซนอฟประกาศว่า
รุสเซียประกาศการเข้าครอบครองดินแดนที่ตีได้ของประเทสที่มีชัยชนะ โดย
อาศัยสิทธิของการยึดครอง ที่เรียกว่า “สิทธิที่จะเข้ายึดครอง”
สาระสําคัญข้อความของสนธิสัญญา
แห่งกรุงลอนดอน
1.กรีซได้เมืองท่าสโลนิกา เกาะครีส และภาคใต้ของแคว้นมาซีโดเนีย
2.ส่วนเซอร์เบียได้ภาคกลางและภาคเหนือของมาซีโดเนีย ส่วนบัลแกเรียก็
ได้ส่วนใหญ่ของแคว้นเทรช และทางออกทะเลอีเจียน และในสงคราม
สมุทรบอลข่านครั้งที่ 2 บัลแกเรียเปิดฉากโจมตีประเทศเพื่อนบ้านใน
ปี ค.ศ1913 โดยบัลแกเรียเปิดฉากโจมตีเซอร์เบียและกรีซ โรมาเนียและ
ตุรกีอยู่ฝ่ายเดียวกับเซอร์เบียและกรีซ บัลแกเรียเป็นฝ่ายปราชัย ต้องลง
นามในสนธิสัญญาบูคาเรสต์แห่งปี คศ1913
บัลแกเรีย
- สูญเสียส่วนใหญ่ของมาซีโดเนียและทางออกทะเลอีเจียน
แอลเบเนีย
- เป็นรัฐอิสระ
เซอร์เบีย
-ได้ส่วนแบ่งมาจากมาซีเนียทําให้มีอาณาเขตเป็น 2 เท่า แต่ไม่มีทางออกทางทะเล
กรีซ
–มีอาณาเขตกว้างขวางขึ้น
วัตถุประสงคของสันนิบาตจักรพรรดิ 3พระองค
สนธิสัญญาสันติภาพแหงกรุงเบอรลิน
สนธิสัญญาแหงไตรมิตร หรือ Triple Alliance
ความสัมพันธระหวางรุสเซียและฝรั่งเศส
กอนสงครามโลกครั้งที่ 1
เนื่องจากการลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ ทําให
มหาอํานาจแบงออกเปน 2 ฝาย
สมัยที่มหาอํานาจแบงเปน 2 ฝาย
-ค.ศ. 1853 สาเหตุของสงครามไครเมีย เริ่มขึ้นจากการที่รุสเซียต้องการจะเข้า
ไปมีอิทธิพลในดินแดนใต้การปกครองของตุรกี ต้องการจะทําตนเป็นผู้คุ้มครอง
พวกสลาฟในแหลมบอลข่าน
-ค.ศ. 1856 การยุติศึกสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส ซาร์ดิเนีย
และตุรกี และรุสเซีย จึงมีการเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพแห่งกรุงปารีส
-ค.ศ. 1863 บิสมาร์กซึ่งเป็นผู้เดียวที่ปฏิเสธการประท้วงรุสเซียพร้อมกับชาติ
มหาอํานาจ ยังเสนอที่จะให้รุสเซียเดินผ่านแคว้นปรัสเซียถ้าจําเป็น ถึงแม้ว่าจะ
เป็นสิ่งที่ผิดมาตรการทางการเมืองระหว่างประเทศ
-ค.ศ. 1866 สําหรับรุสเซีย บิสมาร์กเสนอส่งกองทัพจะไปช่วยรุสเซีย
ปราบกบฏชาวโปล
-ค.ศ. 1867 ปรัสเซียทําสงครามกับเดนมาร์ก เรื่องแย่งชิงแคว้นชเลส
วิกและโฮลสไตน์ รุสเซียยังเสนอที่จะยกกองทัพไปช่วยปรัสเซียตามพรมแดน
ของสวีเดน ถ้าสวีเดนจะเข้าข้างเดนมาร์ก
-ค.ศ. 1870 ปรัสเซียทําสงครามกับฝรั่งเศส
--ค.ศ. 1870 – 1871 ปรัสเซียวางแผนที่จะรวมชาติเยอรมัน
อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทรงรับว่ารุสเซียจะวางตนเป็นกลางและจะช่วยเกลี้ยกล่อม
ไม่ให้ออสเตรียเข้าช่วยฝรั่งเศส อีกเหตุผลหนึ่งที่ทําให้อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่ง
รุสเซียรู้สึกว่าบิสมาร์กแห่งเยอรมนีเป็นมิตรที่แท้จริงของรุสเซีย
-ค.ศ. 1870 อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรุสเซีย ได้ทรงฉีกสนธิสัญญาสันติภาพ
แห่งกรุงปารีสแห่งปี ค.ศ. 1856 อันเป็นสนธิสัญญาที่รุสเซียต้องจําเป็นกับฝ่าย
สัมพันธมิตรซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่ง และตุรกี ในสงครามที่เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า
สงครามไครเมีย สิ้นสุดลง
-ค.ศ. 1871 เยอรมนีรวมกันได้เป็นผลสําเร็จก็กลายเป็นประเทศมหาอํานาจมี
ฐานะเท่าเทียมกับอังกฤษและฝรั่งเศส
-ค.ศ. 1871 หลังการรวมเยอรมนีบิสมาร์กก็ยังเป็นอัครมหาเสนาบดี ซึ่งมีนโยบาย
ที่จะกีดกันฝรั่งเศสไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นพันธมิตร
-ค.ศ. 1872 บิสมาร์กได้จัดตั้งพรรคสันนิบาตของจักรพรรดิ 3 พระองค์ด้วยกัน
สมาชิกได้แก่ จักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ แห่งออสเตรีย ไกเซอร์ วิลเลียมที่1แห่ง
เยอรมนี พระเจ้าชาร์อเล็กซานเดอร์ที่2แห่งรุสเซียออสเตรียรู้สึกบุญคุณปรัสเซีย
(แคว้นเยอรมนี)ที่ไม่ยกไปตีกรุงเวียนนา(ออสเตรีย)
วัตถุประสงค์ของสันนิบาตจักรพรรดิ 3พระองค์
มีจุดประสงค์ที่จะต้องดํารงไว้ซึ่งสันติภาพ ประชุมก็จะมาปรึกษาหารือเพื่อหา
สาเหตุระงับปัญหา ในขณะเดียวกันสันนิบาตของจักรพรรดิ 3พระองค์ ก็เป็นเครื่องกีด
กัน ไม่ให้ประเทศมหาอํานาจมาเป็นมิตรกับฝรั่งเศส
-ค.ศ. 1875 กบฏได้เริ่มขึ้นซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากมอนเตเนโกร และเซอร์เบีย
-ค.ศ. 1876 ปลายเดือนธันวาคมบิสมาร์กได้เชิญให้ผู้แทนของออสเตรีย-ฮังการีและ
รุสเซียมาปรึกษาหารือกัน ก็เป็นที่ตกลงกันว่าจะทําบันทึกแห่งกรุงเบอร์ลินขึ้น บันทึก
ที่วางการปกครองตุรกี
-ค.ศ. 1878 ได้มีการลงนามใน treaty of berlin ออสเตรียอยากให้เซอร์เบียมา
รวมกับตนและต้องการที่จะให้ตุรกีเป็นเอกราชเพื่อจะได้เป็นรัฐกันกระทบระหว่าง
ออสเตรียกับรุสเซีย
ตุรกีสัญญาว่าจะปรับปรุงการปกครองดินแดนต่างๆ ในแหลมบอล
ข่าน และนอกจากนี้ตุรกีจะต้องเสียค่าปรับสงครามให้กับรุสเซีย ฝ่ายผู้แทนของ
อังกฤษก็มีความพึงพอใจในสนธิสัญญาฉบับนี้มาก ต่อมาสนธิสัญญาแห่งกรุงเบอร์ลิน
นี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ คือ
1. การแบ่งรัฐบัลแกเรีย ให้เป็นรัฐเล็กและแบ่งเป็นมณฑลโรมาเนีย
ตะวันออกซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถาวร เพราะว่าปรากฏว่าต่อมามณฑลโรมาเนียตะวันออก
ได้ประกาศรวมกับบัลแกเรียเป็นรัฐใหม่ และได้เชิญเจ้าชายเยอรมันองค์หนึ่งชื่อ
เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งซักส์-โคบูร์ ผู้มีเชื้อสายเป็นชาวออสเตรีย-ฮังการี
2. สุลต่านตุรกี ได้ปกครองดินแดนที่ได้บรรจุในสัญญา
3. ต่อมามอนเตเนโก เซอร์เบีย และโรมาเนีย ก็ได้ประกาศอิสรภาพ
ของตน ถึงอย่างไรก็ตามมหาอํานาจตะวันตกต่างก็พอใจในสนธิสัญญาแห่ง
กรุงเบอร์ลินแห่งปี ค.ศ. 1878
สนธิสัญญาแห่งไตรมิตร (Triple Alliance)
-บิสมาร์กก็เริ่มรู้สึกความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับเยอรมนีไม่สู้จะราบรื่น
เหมือนแต่ก่อน
-7 ตุลาคม คศ 1879 ได้มีการลงนามระหว่างเยอรมนีและออสเตรีย-
ฮังการีที่เรียกว่า Dual Alliance
1.ถ้าประเทศภาคีสนธิสัญญาฝ่ ายหนึ่งฝ่ ายใด ถูกโจมตีโดย
รุสเซีย ประเทศภาคีอีกฝ่ ายหนึ่งจะเข้าช่วยเหลือทันที และทําสนธิสัญญา
สันติภาพร่วมกัน
2.ถ้าประเทศภาคีสนธิสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ถูกโจมตีโดยมหาอํานาจที่
3 ประเทศฝ่ายภาคีจะต้องตั้งตัวเป็นกลาง3.สนธิสัญญาฉบับนี้มีอายุ 5ปี
ซึ่งในการทําสนธิสัญญานี้ บิสมาร์กก็เกรงว่าอังกฤษจะไม่พอใจ จึงได้
ส่งผู้แทนไปทาบทามอังกฤษไว้ ซึ่งอังกฤษก็มีท่าทีที่ดี
ต่อมาอิตาลีได้เข้ามาเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ออสเตรีย-
ฮังการี เนื่องจากผิดหวังจากเรื่องแคว้นตูนิเซียที่ตกเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศส
ตามสนธิสัญญาสันติภาพบาร์โด อิตาลีจึงเปิดการเจรจากับบิสมาร์ก
บิสมาร์กจึงให้ออสเตรีย-ฮังการีกับอิตาลีทําความตกลงกัน เนื่องจากอิตาลียังมี
ปัญหากันกับออสเตรีย-ฮังการีในเรื่องเกี่ยวกับแคว้นไทรอลทางใต้ (South Tyrol)
,เตรนติโน(Trentino) ตริเอสเต (Trieste)
Italy Germany
หลังจากที่ได้มีการเจรจากันแล้ว ก็ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี
(Triple Alliance) ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1882 ระหว่างอิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี
และเยอรมณี มีเงื่อนไขหลายประการ ดังนี้คือ
5.ถ้าหากว่ามีเหตุการณ์ใดที่คุกคามสันติภาพเกิดขึ้น จะปรึกษาหารือกันก่อนที่จะ
เคลื่อนกองทัพจากข้อตกลงทําสนธิสัญญาจะมีอายุ 5 ปีและสนธิสัญญาสันติภาพฉบับนี้
จะต้องเก็บไว้เป็นความลับ
4.ถ้าประเทศภาคีสนธิสัญญาต้องทําสงครามกับมหาอํานาจอื่นตัวต่อตัว ประเทศ
ภาคีสัญญาจะตั้งตัวเป็นกลาง และสงวนสิทธิ์ที่จะช่วยเหลือในโอกาสอันเหมาะ
3.ถ้าประเทศภาคีสนธิสัญญาต้องทําสงครามกับประเทศมหาอํานาจอื่นๆ ตั้งแต่ 2
ประเทศขึ้นไป ประเทศภาคีสนธิสัญญานี้จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน2.ถ้าฝรั่งเศสโจมตีเยอรมณี อิตาลีจะเข้าช่วยเหลือเยอรมณี
1. ถ้าอิตาลีถูกรุกราน โดยไม่ได้ยั่วให้ฝรั่งเศสโกรธเคือง เยอรมณีและ
ออสเตรีย-ฮังการี จะเข้าช่วยเหลืออิตาลี
ต่อมาทั้ง 3 ชาตินี้ ยังได้ออกประกาศอีกฉบับหนึ่งว่า
สนธิสัญญานี้ไม่ได้มุ่งร้ายต่ออังกฤษ เพราะว่าอิตาลีมีฝั่งทะเลอัน
ยาวอาจจะถูกกองทัพอังกฤษรุกราน จึงได้มีการบรรจุข้อความดังกล่าวในคําประกาศ
เพื่อเป็นการเอาใจอังกฤษ และหลีกเลี่ยงการรุกราน
เยอรมณี อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี
ได้ทําสนธิสัญญากัน แต่บิสมาร์กก็ยังไม่วางใจ เพราะว่าฝรั่งเศส
ได้มีคณะรักชาติคณะหนึ่งที่นายพลบูลองเยร์ เป็นหัวหน้าบูลองเยร์มีนโยบายที่
จะแก้แค้นเยอรมณีและจะเรียกร้องเอาแคว้นอัลซาสกับลอร์เรนคืน
ถึงแม้ว่าเยอรมณีจะมีอิตาลีและออสเตรียเป็นพันธมิตรแล้วก็ตาม แต่เยอรมณีก็
ยังไม่ไว้ใจรุสเซีย จึงพยายามจะให้ฝ่ายรุสเซียมาเป็นพวกเดียวกันแต่รุสเซียไม่
ต้องการจะเป็นพวกเดียวกับออสเตรีย-ฮังการี รุสเซียไม่ยอมที่จะต่ออายุ
สัญญาที่ว่าด้วยการจัดตั้งสันนิบาตของจักรพรรดิ 3 พระองค์
ฉะนั้นสันนิบาตจักรพรรดิทั้ง 3 จึงสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1887
การลงนามทําสนธิสัญญาสันติภาพ ระหว่างเยอรมนีกับรุสเซีย ที่เรียกว่า
รีอินชัวเรนซ์ ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1887 โดยมีสาระสําคัญ
ดังต่อไปนี้
3.เยอรมณียอมรับว่ารุสเซียมีสิทธิ์ในแหลมบอลข่าน ตลอดไปถึงรัฐต่างๆในบัลกาเลีย
2.ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะรักษาสถานะเดิมของรัฐต่างๆในแหลมบอลข่าน
1.ถ้าประเทศภาคีสนธิสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกโจมตีโดยประเทศที่ 3 ประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง
จะต้องตั้งตนเป็นกลางและจะพยายามไม่ให้การรบนี้ลุกลามต่อไป แต่ข้อความนี้จะไม่ใช้
บังคับในกรณีที่ประเทศภาคีสนธิสัญญาโจมตีฝรั่งเศสหรือออสเตรีย-ฮังการี
สรุปสนธิสัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยของบิสมาร์ก
1.ในปี ค.ศ. 1872 รุสเซีย + เยอรมนี + ออสเตรีย – ฮังการี = สันติบาต
จักรพรรดิ 3 พระองค์
2.ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1879 เยอรมนี + ออสเตรีย – ฮังการี = ทวิภาคีหรือทวิ
มิตร
3. ในปี ค.ศ. 1887 เยอรมนี + รุสเซีย = รีอินชัวเรนซ์
มีพระราโชบายที่จะปกครองประเทศ
ด้วยตัวพระองค์เอง และทรงมีความคิดเห็น
ขัดแย้งกับบิสมาร์กในเรื่องการใช้กฎหมาย
กําจัดพวกสังคมนิยม และในเรื่องการประชุม
เกี่ยวกับกรรมกรนานาชาติและป้องกันพรมแดน
ตะวันออก พระองค์ทรงปลดบิสมาร์ก
ออกจากตําแหน่งในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.
1890 และปล่อยให้สนธิสัญญาระหว่างรุสเซีย
สิ้นสุดลง และเป็นการเปิดโอกาสให้รุสเซียไปมี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝรั่งเศสแทน
ในปี ค.ศ. 1887 ต่อมาใน
เยอรมนี ไกเซอร์ วิลเลียมที่ 1 สวรรคต ไก
เซอร์ เฟรเดอริก ที่ 3 ซึ่งเป็นราชโอรถ แต่ก็ทรง
ครองบัลลังค์เพียง 99 วัน โดยโรคมะเร็งในพระ
ศอ ต่อมาพระโอรถของพระองค์ ไกเซอร์ วิ
ลเลียมที่ 2 ก็เสด็จขึ้นครองราชย์ ในวันที่ 15
มิถุนายน ค.ศ.1888 พระชนมายุเพียง 29
พรรษา
อันที่จริงรุสเซียแสดงไมตรีต่อฝรั่งเศสมาก่อน คือ ในปี ค.ศ. 1875
ต่อมาพระเจ้าชาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ก็ทรงอนุมัติให้ลงนามในความตกลงทางการ
เมือง ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1891 เรียกว่า France-Russian Alliance
อันมีสาระสําคัญคือ
ความสัมพันธระหวางรุสเซียและฝรั่งเศสกอน
สงครามโลกครั้งที่ 1
1.รัฐบาลทั้งสองประเทศว่าจะจัดหารือซึ่งกันและกันในปัญหา
ทุกๆข้อ ซึ่งมีลักษณะคุกคามสันติภาพ
2.ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกคุกคามโดยการรุกราน ทั้งสองฝ่ายตก
ลงที่จะดําเนินการร่วมกัน
ฝ่ายฝรั่งเศสต้องการให้ข้อความนี้มีความหมายที่แน่นอน โดยทําเป็น
อนุสัญญาว่าด้วยการทหารบก จึงพยายามที่จะหาหนทางเจรจากับรุสเซียในที่สุดในวันที่
27 ตุลาคม ค.ศ. 1893 พระเจ้าชาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ก็ทรงทําสัญญาทหารบก
หรืออนุสัญญาทวิมิตร ข้อความก็มีหลายประการด้วยกัน คือ
6. สนธิสัญญาทวิมิตรนี้ จะต้องเก็บไว้เป็นความลับ และใช้บังคับได้นานเท่ากับสนธิสัญญา
ไตรมิตร5.ฝรั่งเศสและรุสเซียจะไม่แยกกันทําสนธิสัญญาสันติภาพ
4.กรมเสนาธิการทหารบกทั้งสองประเทศจะติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับกําลังกองทัพ
ของสัญญาไตรมิตร (ฝ่ายเยอรมนี) และจะตระเตรียมแผนการไว้
3.ในการต่อสู้เยอรมนี ฝรั่งเศสจะให้ทหารประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน รุสเซียให้ 7-8 แสน
คน เพื่อบังคับให้เยอรมนีต้องทําศึกทั้ง 2 ด้าน
2.ในกรณีที่กองทัพฝ่ายสนธิสัญญาไตรมิตร (ฝ่ายตรงข้ามเยอรมนี อิตาลี-ฮังการี) ระดมพล
ฝรั่งเศสและรุสเซียจะระดมพลทั้งหมด และจะส่งให้เข้าประจําการให้ใกล้พรมแดนที่สุด
เท่าที่จะทําได้
1. ถ้าฝรั่งเศสถูกรุกรานโดยเยอรมนี หรือโดยอิตาลีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี
รุสเซียจะใช้กําลังทั้งหมดเข้าโจมตีเยอรมนี ในทํานองเดียวกัน ถ้าเยอรมนีโจมตีรุสเซีย
ฝรั่งเศสจะให้กําลังทั้งหมดเข้ารบเยอรมนี
เนื่องจากการลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ ทําให
มหาอํานาจแบงออกเปน 2 ฝาย
1.ค่ายสนธิสัญญาไตรมิตร ในปี ค.ศ.1882 ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-
ฮังการี และอิตาลี
2.ค่ายสนธิสัญญาทวิมิตร ในปี ค.ศ. 1893 ประกอบด้วย รุสเซียและฝรั่งเศส
ส่วนอังกฤษได้ตั้งตนเป็นกลาง อันเป็นนโยบายต่างประเทศของ
อังกฤษ คือ การโดดเดี่ยวอย่างมีศักดิ์ศรีตามความต้องการของลอร์ด ซอลส์เบอรี่
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
จัดทําโดย
1. นางสาว ณัฐวดี จิตรว่องไว ส.561 เลขที่ 16
2. นางสาว เปียทิพย์ บุญแพง ส.561 เลขที่ 25
3. นาย พันธกานต์ รองพล ส.561 เลขที่ 27
4. นางสาว อรนุช ทําศรี ส.561 เลขที่ 36

More Related Content

What's hot

เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21Pannaray Kaewmarueang
 
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)พัน พัน
 
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยthnaporn999
 
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกSompak3111
 
สงครามโลกครั้งที่ 2 pdf
สงครามโลกครั้งที่ 2 pdfสงครามโลกครั้งที่ 2 pdf
สงครามโลกครั้งที่ 2 pdfSzo'k JaJar
 
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายenksodsoon
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์โทโต๊ะ บินไกล
 
สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2Taraya Srivilas
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์Srinthip Chaiya
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงBoomCNC
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายSantichon Islamic School
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาfriend209
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันPannaray Kaewmarueang
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีSivagon Soontong
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกFah Philip
 

What's hot (20)

สงครามโลก
สงครามโลกสงครามโลก
สงครามโลก
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
 
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
 
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
 
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
 
สงครามโลกครั้งที่ 2 pdf
สงครามโลกครั้งที่ 2 pdfสงครามโลกครั้งที่ 2 pdf
สงครามโลกครั้งที่ 2 pdf
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่าย
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
 
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมัน
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
 

Viewers also liked

ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปNattha Namm
 
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformationการปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious ReformationWarinthorn Limpanakorn
 
Renaissance และ การปฏิรูปศาสนา
Renaissance และ การปฏิรูปศาสนาRenaissance และ การปฏิรูปศาสนา
Renaissance และ การปฏิรูปศาสนาfuangfaa
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียDe'Icejoong Ice
 
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมPloynaput Kritsornluk
 
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยMild Jirachaya
 
การปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนาการปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนาJeeji Supadda Phokaew
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นBeau Pitchaya
 
Age of Exploration Power Point
Age of Exploration Power PointAge of Exploration Power Point
Age of Exploration Power Pointjanetdiederich
 

Viewers also liked (14)

ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
 
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformationการปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
 
Renaissance และ การปฏิรูปศาสนา
Renaissance และ การปฏิรูปศาสนาRenaissance และ การปฏิรูปศาสนา
Renaissance และ การปฏิรูปศาสนา
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
 
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
 
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
 
การปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนาการปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนา
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
Age of Exploration Power Point
Age of Exploration Power PointAge of Exploration Power Point
Age of Exploration Power Point
 
สำรวจทะเล2
สำรวจทะเล2สำรวจทะเล2
สำรวจทะเล2
 
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
 
ปฏิรูปศาสนา
ปฏิรูปศาสนาปฏิรูปศาสนา
ปฏิรูปศาสนา
 
การปฏิวัติทางภูมิปัญญา
การปฏิวัติทางภูมิปัญญาการปฏิวัติทางภูมิปัญญา
การปฏิวัติทางภูมิปัญญา
 

สมัยจักรวรรดินิยม