SlideShare a Scribd company logo
1 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ 
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 
ปีการศึกษา 2557 
ชื่อโครงงาน สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน 
ชื่อผู้ทาโครงงาน 1.นางสาวเวธกา มิชสินธ์ เลขที่ 15 ชั้น ม.6 ห้อง 8 
2.นางสาวสุพิชชา พร้อมสัมพันธ์ เลขที่ 16 ชั้น ม.6 ห้อง 8 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ 
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557 
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ 
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2 
ใบงาน 
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ 
สมาชิกในกลุ่ม สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน 
1.นางสาวเวธกา มิชสินธ์ เลขที่ 15 
2.นางสาวสุพิชชา พร้อมสัมพันธ์ เลขที่ 16 
คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ 
ชื่อโครงงาน 
สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน 
ชื่อโครงงาน Culture of Asean leaning 
ประเภทโครงงาน สื่อการเรียนการสอน 
ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาวเวธกา มิชสินธ์ 
นางสาวสุพิชชา พร้อมสัมพันธ์ 
ชื่อที่ปรึกษา คุณครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ 
ระยะเวลาดาเนินงาน 3 เดือน
3 
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 
อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations)ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็น สมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็น สมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ 
ในขณะนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจะเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิก ซึ่งประเทศต่างๆในกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นก็จะมีวัฒนธรรมต่างๆที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านอาหาร การ แต่งกาย พิธีกรรมต่างๆและทางด้านภาษา นอกจากนี้วัฒนธรรมต่างๆเหล่านี้อาจจะมีบางสิ่งที่อาจจะมีความขัดแย้ง ขึ้นเช่นวัฒนธรรมบางอย่างของบ้านเราอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำของประเทศเพื่อนบ้าน หรือวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อนบ้านบางอย่างกลับกลายเป็นสิ่งที่แปลกและไม่ควรทำในประเทศไทย 
ดังนั้น เราจึงควรศึกษาวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ในปัจจุบันละอนาคต ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดที่จะทำโครงงาน เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในอาเซียนในด้านอาหาร การแต่งกาย ประเพณี 
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆของประเทศสมาชิกอาเซียน 
2.เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ และปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 
3.เพื่อให้ข้าใจถึงวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในเขตการค้าเสรีอาเซียน 
ขอบเขตโครงงาน 
1.ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เรื่องวัฒนธรรมต่างในประเทศสมาชิกอาเซียน 
2. ศึกษาและใช้โปรแกรม Power Point ในการทำสื่อการเรียนการสอน 
3.ศึกษาหาความรู้ และรวบรวมจากเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในประเทศสมาชิกอาเซียน
4 
หลักการและทฤษฎี 
ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน 
ประเทศบรูไน 
ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงานของชาวมูรุตโดยเฉพาะชาวมูรุตตาโฮล (Murut Tahol) 
หรือมูรุตกากัล Tagal มีความพิเศษจากชนเผ่ามูรุตอื่นๆ ยังคงมีพิธีแต่งงานที่บ้านยาว(Long house ) และ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า tina’uh และ barian sampai mati ยังมีการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน 
พิธีกรรม tana’uh ถือเป็นพิธีกรรมขั้นสูงสุดของขนบธรรมเนียมการแต่งงานของชาวมูรุตำตาโฮล หรือตากัล คือการให้สินสอดของฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง 
พิธีกรรม tana’uh นี้สามารถปฏิบัติได้หลังจากการแต่งงานผ่านไปแล้ว 20 ปีหรือ 30ส่วนพิธีbarian sampaimati ในปัจจุบันมีน้อยมาก 
บรูไนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมาเลเซีย และอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก มีวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย และการดำรงชีวิตที่คล้ายกัน วัฒนธรรมส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากศาสนาอิสลามเป็นหลัก เช่น สตรีชาวบรูไนจะ แต่งตัวมิดชิด และจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับมือทักทาย เป็นต้น 
ชุดประจาชาติบรูไน 
หญิง 
สวมเสื้อคลุมยาว ที่เรียกว่า "บาจูกูรง" ใส่กระโปรงมิดชิด และสวม "ฮิญาบ" ผ้าคลุมศีรษะสำหรับ 
หญิงอิสลาม 
ชาย 
สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กางเกงขายาว มีผ้าพันรอบเอว และสวมหมวก หรือมีผ้าพันศีรษะ 
อาหารประจาชาติ คือ อัมบูยัติ (Ambuyat) 
มีลักษณะคล้ายโจ๊กแต่ข้นกว่า มีส่วนผสมหลักคือแป้งสาคู รับประทานแทนข้าวคู่กับซ๊อสเปรี้ยว และเครื่องเคียง 
ประเทศกัมพูชา 
ในประเทศกัมพูชา มีการทำบุญประเพณีต่างๆ เหมือนกับเมืองไทยเช่นกัน เช่น วันสงกรานต์ เริ่มจากวันที่ 
13 เดือนเมษายน ถึง 15 เมษายน ประเพณีวันลอยกระทง ช่วงสิ้นเดือนตุลาคม และอีกมากมาย วิธีบุญต่างๆ 
จัดขึ้นทุก ๆ ปีเพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวกัมพูชา กัมพูชาเป็นประเทศที่มี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมและประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิตของคนในประเทศ เช่นระบำอัปสรา (Apsara Dance) จำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด 
เทศกาลน้ำ หรือ "บอน อม ตุก" (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณ ของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุ ดอกไม้ไฟ และการแสดงขบวน เรือประดับไฟ
5 
ชุดประจาชาติ 
หญิง สวมเสื้อมีลายลูกไม้ที่คอและแขน อาจห่มสไบทับ และนุ่งผ้าทอมือ ที่เรียกว่า ซัมปอต (Sampot) และคาดเข็ม ขัดทับ 
ชาย สวมเสื้อคอปิด แบบราชปะแตนที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายกับกางเกงขายาว และสวมรองเท้าหนัง 
แบบสากล 
อาหารประจาชาติ อาม็อก (Amok) :ทำจากเนื้อปลา ปรุงรสด้วยเครื่องแกงและกะทิ มีลักษณะคล้ายห่อหมกของ ไทยบางตำรับอาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทน สาเหตุหนึ่งที่คนในประเทศนี้นิยมรับประทานปลา เพราะเป็นอาหารที่หาได้ ง่าย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง 
ประเทศอินโดนีเซีย 
วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละ 
ท้องถิ่น อาทิเช่นวายัง กูลิต (Wayang Kulit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็น ศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่น เชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง 
ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมี การเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด 
ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ที่มีวิธีการทาโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้ เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ่าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่ เรียกว่า "ปาเต๊ะ" คือ ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสัน ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง 
ชุดประจาชาติ 
หญิง สวมเสื้อ "คะบาย่า" เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับ 
ผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ" หรือ "บาติก" โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้น 
สูงแบบสากล 
ชาย สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลวดลายเข้ากับหมวก 
สวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไป 
ตามแต่ละเกาะ 
อาหารประจาชาติ 
กาโด กาโด (Gado Gado) 
เป็นอาหารที่ประกอบด้วย ผักและธัญพืช ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเกรียบกุ้ง รบประทานคู่กับซ๊อส 
ถั่วคล้ายกับซ๊อสสะเต๊ะ (คล้ายกับสลัดแขกของไทย)
6 
ประเทศลาว 
ด้านวัฒนธรรม 
ลาวนั้นมี "แคน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือ วงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนอง ของการขับลำจะแตกต่างกันไป ตามท้องถิ่น และมีรำวงบัดสลบ (Paslop Dance) ซึ่งเป็นการเต้น ท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อม กันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ รำวงบัดสลบ (Paslop Dance) 
การตักบาตรข้าวเหนียวถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียว เพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า "ถวายจังหัน" โดยเวลาใส่ บาตร จะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบ พระ เหมือนกัน 
ชุดประจาชาติ 
หญิง นุ่งผ้าซิ่นทอลาย ใส่เสื้อแขนยาว ทรงกระบอก และมีสไบเฉียงพาดไหล่ 
ชาย นุ่งโจงกระเบน และสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด 
อาหารประจาชาติ 
ซุปไก่ (Chicken Soup) 
เป็นอาหารยอดนิยม มีส่วนผสมสำคัญได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติ 
เปรี้ยวๆ เผ็ดๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว 
ประเทศมาเลเซีย 
- การรำซาบิน (Zapin) 
เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมา 
จาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบีย และ กลอง เล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว 
- เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) 
เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและ 
เริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบท 
เพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย 
ชุดประจาชาติหญิง 
สวมเสื้อ "บาราจูกุง" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาว ที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ "คะบาย่า" ซึ่งเป็นเสื้อแขน 
ยาวสีสันสดในและมีฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมี 
ผ้ากคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะ หรือร้องเท้าส้นสูงแบบสากล 
ชาย สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงขายาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด "บาจูมลายู" 
ซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมี่เรียกว่า "ซอเกาะ" สวมรองเท้าหนังแบบสากล
7 
อาหารประจาชาติ 
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) 
เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร พร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ 
นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า 
ประเทศพม่า 
ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long)หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียน มาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัวงานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี 
ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย 
ชุดประจาชาติ 
หญิง สวมเสื้อข้างในเป็นคอกลม เอวสั้น โดยมีเสื้อนอกแขนกระบอกยาว ซึ่งนิยมใช้ผ้าเนื้อบางลายลูกไม้สี 
สดเข้ากับสีของ "ลองยี" หรือโสร่ง ที่ยาวจรดข้อเท้าที่ต้องเหน็บชายผ้าไว้ที่เอวให้แน่นโดยไม่ใช้เข็มขัด อาจมี 
ผ้าบางคล้องไหล่และสวมรองเท้าแตะ 
ชาย สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น ติดกระดุมป้ายมาดานข้างแบบจีนที่เรียกว่า "กุยตั๋ง" หรืออาจจะใส่เสื้อตัว 
ยาวถึงสะโพก ติดกระดุมตรงกลางที่เรียกว่า "กุยเฮง" นุ่งโสร่งลองยี และมีผ้าแพรสีขาวหรือสีชมพูโพกศีรษะ 
และสวมรองเท้าแตะ 
อาหารประจาชาติ 
หล่าเพ็ด (Laphet) 
เป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย แต่เป็นใบชาหมัก ซึ่งต้องคลุกกินกับเครื่องเคียง เช่น 
มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง กระเทียมเจียว และถั่วชนิดต่างๆ 
ประเทศฟิลิปปินส์ 
- เทศกาลอาติ - อาติหาน (Ati-Atihan) : 
จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ "เอตาส (Aetas)" ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บน 
เกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้ว 
ออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu) 
- เทศกาลซินูล็อก (Sinulog) : 
งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญ 
ซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะ จัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู 
- เทศกาลดินาญัง (Dinagyang) : 
งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกันกับเทศกาลซินูล็อก 
แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน มกราคมที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)
8 
ชุดประจาชาติ 
หญิง นุ่งกระโปรงยาว และสวมเสื้อแขนสั้น จับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก 
ชาย ใส่กางเกงขายาว และสวมเสื้อที่เรียกว่าบารองตากาล๊อก (Barong Tagalog) 
อาหารประจาชาติ 
อะโดโบ (Adobo) 
เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อหมูหรือไก่ เคี่ยวให้สุกในซ๊อสถั่วเหลือง น้ำสมสายชู กระเทียมบด ใบกระวานและพริกไทยดำ มักมีสีน้ำตาลจากการทอดหรืออบในกระทะ 
ประเทศเวียดนาม 
- เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ "เต็ดเหงียนดาน" (Tet Nguyen Dan) : 
หมายถึง เทศกาลรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด โดยจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะถึงวัน ขึ้นปีใหม่ ตามจันทรคติคือ อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวัน 
ขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวกับวันที่ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 
(วิษุวัต) ในฤดูใบไม้ผลิเป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็น 
การแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย 
- เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง 
จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการ 
จัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ 
ชุดประจาชาติ 
หญิง สวมชุด "อ่าว หญ่าย" (Ao Dai) เป็นเสื้อคลุมยาวคอตั้ง กับกางเกงขายาว 
ชาย สวมชุดที่คล้ายกับผู้หญิง แต่มีกระดุมที่ตัวเสื้อ 
อาหารประจาชาติ 
แหนม (Nem) หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม 
เป็นแผ่นแป้งข้าวเจ้าห่อเนื้อสัตว์รวมกับผักต่างๆ รับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน และเครื่องเคียงอื่นๆ 
ประเทศสิงคโปร์ 
- เทศกาลตรุษจีนของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน - เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้า 
- เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้ กางเขน 
- เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า 
- เทศกาล Hari Raya Puasa ในเดือนตุลาคม เป็น การเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมหลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอด หรือรอมฎอน (Ramadan)
9 
- เทศกาล Deepavali ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็น งานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูใน 
สิงคโปร์ 
ชุดประจาชาติ 
หญิง สวมเสื้อและผ้าถุงพิมพ์ลาย สีสันสดใส 
ชาย สวมสูทสากล 
อาหารประจาชาติ 
ลักซา เลอมัก (Luksa Lermak) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ คล้ายๆข้าวซอยของไทย 
ประเทศไทย 
- การไหว้เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมีสัมมา 
คารวะ และให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทายแล้ว การไหว้ยังสื่อถึงการขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวลา 
- โขน เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ 
และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทานองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจา 
เรื่องที่นิยม นำมาแสดงโขนคือ รามเกียรติ์ 
- เทศกาลสงกรานต์ (Songkran Festival) : ประเพณีเก่าแก่ ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทาบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทราย เข้าวัด และก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่นสาดน้ำ เพื่อความสนุกสนานด้วย 
ชุดประจาชาติ 
หญิง สวมชุดไทยจักรี ประกอบด้วยสไบเฉียง เปิดบ่าข้างขวา ชายสไบคลุมด้านซ้าย ทิ้งชายด้านหลังยาวตาม 
สมควร และนุ่งทับ ด้วยผ้าซิ่นไหมยก คาดเข็มขัด และสวมเครื่องประดับ 
ชาย สวมชุดพระราชทาน ตัวเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย คอตั้ง ผ่าอกตลอด ติดกระดุม 5 เม็ด มีทั้งแขนสั้นและแขนยาว 
โดยจะเป็นสีเรียบ หรือมีลวดลายก็ได้ 
อาหารประจาชาติ 
ต้มยำากุ้ง 
เป็นอาหารประเภทแกงที่เน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก มีส่วนประกอบสมุนไพรที่มีประโยชน์ 
หลายชนิด เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยมะนาว พริก และน้ำปลา
10 
วิธีดาเนินงาน 
แนวทางการดาเนินงาน 
1.เสนอหัวข้อโครงงาน 
2.เลือกหัวข้อโครงงานที่เหมาะสม 
3.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน 
4.นำมาจัดทำสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Power Point 
5.ตรวจสอบและแก้ไข 
6.รายงายผลและดำเนินการ 
7.จัดทำเอกสาร 
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 
- เครื่องคอมพิวเตอร์ 
งบประมาณ - 
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน 
ลาดับ 
ที่ 
ขั้นตอน 
สัปดาห์ที่ 
ผู้รับผิดชอบ 
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 
8 
9 
10 
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
1 
คิดหัวข้อโครงงาน 
เวธกา 
2 
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 
เวธกา 
3 
จัดทำโครงร่างงาน 
สุพิชชา 
4 
ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 
เวธกา, สุพิชชา 
5 
ปรับปรุงทดสอบ 
เวธกา 
6 
การทำเอกสารรายงาน 
สุพิชชา 
7 
ประเมินผลงาน 
สุพิชชา 
8 
นำเสนอโครงงาน 
เวธกา
11 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
ผู้ที่อ่านหรือศึกษาโครงงานฉบับนี้จะมีความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆของประเทศในสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นและสามรถนำไปปรับใช้หรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
สถานที่ดาเนินการ โรงเรียน ยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 
รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และรายวิชาการงานอาชีพละเทคโนโลยี 
แหล่งอ้างอิง 
http://www.onechildok.org

More Related Content

What's hot

วรสารเดือน มิ.ย.
วรสารเดือน มิ.ย.วรสารเดือน มิ.ย.
วรสารเดือน มิ.ย.
สำเริง ยิ้มดี
 
คำสั่งมหกรรมที่สุรนารี
คำสั่งมหกรรมที่สุรนารีคำสั่งมหกรรมที่สุรนารี
คำสั่งมหกรรมที่สุรนารีSurathampitak School
 
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพ
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพ
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพ
Somchai Phaeumnart
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
อธิวัฒน์ จันทินมาธร
 
มหกรรมวิชาการ
มหกรรมวิชาการมหกรรมวิชาการ
มหกรรมวิชาการNarapong Asarin
 
ในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญู
ในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญูในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญู
ในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญู
niralai
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD_RSU
 
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
ungpao
 
กษัตริย์ยอดกตัญญู
กษัตริย์ยอดกตัญญูกษัตริย์ยอดกตัญญู
กษัตริย์ยอดกตัญญู
niralai
 

What's hot (10)

วรสารเดือน มิ.ย.
วรสารเดือน มิ.ย.วรสารเดือน มิ.ย.
วรสารเดือน มิ.ย.
 
คำสั่งมหกรรมที่สุรนารี
คำสั่งมหกรรมที่สุรนารีคำสั่งมหกรรมที่สุรนารี
คำสั่งมหกรรมที่สุรนารี
 
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพ
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพ
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์นำเสนอรายงานพระเทพ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
มหกรรมวิชาการ
มหกรรมวิชาการมหกรรมวิชาการ
มหกรรมวิชาการ
 
25550830044005no0411637file01
25550830044005no0411637file0125550830044005no0411637file01
25550830044005no0411637file01
 
ในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญู
ในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญูในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญู
ในหลวงกษัตริย์ยอดกตัญญู
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
 
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
 
กษัตริย์ยอดกตัญญู
กษัตริย์ยอดกตัญญูกษัตริย์ยอดกตัญญู
กษัตริย์ยอดกตัญญู
 

Similar to โครงงานคอมอาเซ ยน

โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน
โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน
โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน Siriphak Mankhong
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือtonsocial
 
His ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสาน
His ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสานHis ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสาน
His ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสาน
Montira Hokjaroen
 
ภาคเหนือ
ภาคเหนือภาคเหนือ
ภาคเหนือ
Chittraporn Phalao
 
ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...
ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ  อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ  อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...
ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...tie_weeraphon
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
KKloveyou
 
วัฒนธรรมอาเซียน
วัฒนธรรมอาเซียนวัฒนธรรมอาเซียน
วัฒนธรรมอาเซียนSupitcha Promsampan
 
ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์rungthiphotmail
 
ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์rungthiphotmail
 
ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์rungthiphotmail
 
เทศกาลชักพระ - ลากพระ
เทศกาลชักพระ - ลากพระเทศกาลชักพระ - ลากพระ
เทศกาลชักพระ - ลากพระ
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
มาโซะยาวี
มาโซะยาวีมาโซะยาวี
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิตพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิตTongsamut vorasan
 
เรื่องประเพณีลอยกระทง
เรื่องประเพณีลอยกระทงเรื่องประเพณีลอยกระทง
เรื่องประเพณีลอยกระทงSasimapornnan
 

Similar to โครงงานคอมอาเซ ยน (20)

โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน
โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน
โครงงานวัฒนธรรมอาเซียน
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือ
 
His ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสาน
His ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสานHis ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสาน
His ค่ายผู้นำเยาวชน สี่สังฆมณฑลอีสาน
 
ภาคเหนือ
ภาคเหนือภาคเหนือ
ภาคเหนือ
 
ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...
ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ  อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ  อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...
ประเพณีผีตาโขน งานนำเสนอ อาจารย์ ณัฐนันท์ สีดาแก้ว ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ...
 
Art
ArtArt
Art
 
Art
ArtArt
Art
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
 
วัฒนธรรมอาเซียน
วัฒนธรรมอาเซียนวัฒนธรรมอาเซียน
วัฒนธรรมอาเซียน
 
ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์
 
ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์
 
ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์ประเพณี สงกรานต์
ประเพณี สงกรานต์
 
เทศกาลชักพระ - ลากพระ
เทศกาลชักพระ - ลากพระเทศกาลชักพระ - ลากพระ
เทศกาลชักพระ - ลากพระ
 
มาโซะยาวี
มาโซะยาวีมาโซะยาวี
มาโซะยาวี
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิตพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิต
 
เรื่องประเพณีลอยกระทง
เรื่องประเพณีลอยกระทงเรื่องประเพณีลอยกระทง
เรื่องประเพณีลอยกระทง
 
Ppt ลีซู
Ppt ลีซูPpt ลีซู
Ppt ลีซู
 
Ppt ลีซู
Ppt ลีซูPpt ลีซู
Ppt ลีซู
 
Ppt ลีซู
Ppt ลีซูPpt ลีซู
Ppt ลีซู
 

More from Supitcha Promsampan

Book2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-mathBook2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-math
Supitcha Promsampan
 
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบล
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบลแนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบล
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบล
Supitcha Promsampan
 
เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)
เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)
เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)Supitcha Promsampan
 
ความรู้เรื่อง Blog
ความรู้เรื่อง Blogความรู้เรื่อง Blog
ความรู้เรื่อง BlogSupitcha Promsampan
 

More from Supitcha Promsampan (10)

Book2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-mathBook2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-math
 
Book2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-mathBook2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-math
 
Book2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-mathBook2013 oct 05-math
Book2013 oct 05-math
 
Book2013 oct 06-chem
Book2013 oct 06-chemBook2013 oct 06-chem
Book2013 oct 06-chem
 
Book2013 oct 08-bio_part_i
Book2013 oct 08-bio_part_iBook2013 oct 08-bio_part_i
Book2013 oct 08-bio_part_i
 
Book2013 oct 07-physics
Book2013 oct 07-physicsBook2013 oct 07-physics
Book2013 oct 07-physics
 
Book2013 oct 04-social (o-net)
Book2013 oct 04-social (o-net)Book2013 oct 04-social (o-net)
Book2013 oct 04-social (o-net)
 
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบล
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบลแนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบล
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ครูเบล
 
เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)
เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)
เฉลยข้อสอบภาษาไทย O net ปี 2553 (ครูลิลลี่)
 
ความรู้เรื่อง Blog
ความรู้เรื่อง Blogความรู้เรื่อง Blog
ความรู้เรื่อง Blog
 

โครงงานคอมอาเซ ยน

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2557 ชื่อโครงงาน สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน ชื่อผู้ทาโครงงาน 1.นางสาวเวธกา มิชสินธ์ เลขที่ 15 ชั้น ม.6 ห้อง 8 2.นางสาวสุพิชชา พร้อมสัมพันธ์ เลขที่ 16 ชั้น ม.6 ห้อง 8 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน 1.นางสาวเวธกา มิชสินธ์ เลขที่ 15 2.นางสาวสุพิชชา พร้อมสัมพันธ์ เลขที่ 16 คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน ชื่อโครงงาน Culture of Asean leaning ประเภทโครงงาน สื่อการเรียนการสอน ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาวเวธกา มิชสินธ์ นางสาวสุพิชชา พร้อมสัมพันธ์ ชื่อที่ปรึกษา คุณครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน 3 เดือน
  • 3. 3 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations)ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็น สมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็น สมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ในขณะนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจะเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิก ซึ่งประเทศต่างๆในกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นก็จะมีวัฒนธรรมต่างๆที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านอาหาร การ แต่งกาย พิธีกรรมต่างๆและทางด้านภาษา นอกจากนี้วัฒนธรรมต่างๆเหล่านี้อาจจะมีบางสิ่งที่อาจจะมีความขัดแย้ง ขึ้นเช่นวัฒนธรรมบางอย่างของบ้านเราอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำของประเทศเพื่อนบ้าน หรือวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อนบ้านบางอย่างกลับกลายเป็นสิ่งที่แปลกและไม่ควรทำในประเทศไทย ดังนั้น เราจึงควรศึกษาวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ในปัจจุบันละอนาคต ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดที่จะทำโครงงาน เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในอาเซียนในด้านอาหาร การแต่งกาย ประเพณี วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆของประเทศสมาชิกอาเซียน 2.เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ และปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 3.เพื่อให้ข้าใจถึงวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในเขตการค้าเสรีอาเซียน ขอบเขตโครงงาน 1.ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เรื่องวัฒนธรรมต่างในประเทศสมาชิกอาเซียน 2. ศึกษาและใช้โปรแกรม Power Point ในการทำสื่อการเรียนการสอน 3.ศึกษาหาความรู้ และรวบรวมจากเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในประเทศสมาชิกอาเซียน
  • 4. 4 หลักการและทฤษฎี ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไน ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงานของชาวมูรุตโดยเฉพาะชาวมูรุตตาโฮล (Murut Tahol) หรือมูรุตกากัล Tagal มีความพิเศษจากชนเผ่ามูรุตอื่นๆ ยังคงมีพิธีแต่งงานที่บ้านยาว(Long house ) และ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า tina’uh และ barian sampai mati ยังมีการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน พิธีกรรม tana’uh ถือเป็นพิธีกรรมขั้นสูงสุดของขนบธรรมเนียมการแต่งงานของชาวมูรุตำตาโฮล หรือตากัล คือการให้สินสอดของฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง พิธีกรรม tana’uh นี้สามารถปฏิบัติได้หลังจากการแต่งงานผ่านไปแล้ว 20 ปีหรือ 30ส่วนพิธีbarian sampaimati ในปัจจุบันมีน้อยมาก บรูไนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมาเลเซีย และอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก มีวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย และการดำรงชีวิตที่คล้ายกัน วัฒนธรรมส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากศาสนาอิสลามเป็นหลัก เช่น สตรีชาวบรูไนจะ แต่งตัวมิดชิด และจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับมือทักทาย เป็นต้น ชุดประจาชาติบรูไน หญิง สวมเสื้อคลุมยาว ที่เรียกว่า "บาจูกูรง" ใส่กระโปรงมิดชิด และสวม "ฮิญาบ" ผ้าคลุมศีรษะสำหรับ หญิงอิสลาม ชาย สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กางเกงขายาว มีผ้าพันรอบเอว และสวมหมวก หรือมีผ้าพันศีรษะ อาหารประจาชาติ คือ อัมบูยัติ (Ambuyat) มีลักษณะคล้ายโจ๊กแต่ข้นกว่า มีส่วนผสมหลักคือแป้งสาคู รับประทานแทนข้าวคู่กับซ๊อสเปรี้ยว และเครื่องเคียง ประเทศกัมพูชา ในประเทศกัมพูชา มีการทำบุญประเพณีต่างๆ เหมือนกับเมืองไทยเช่นกัน เช่น วันสงกรานต์ เริ่มจากวันที่ 13 เดือนเมษายน ถึง 15 เมษายน ประเพณีวันลอยกระทง ช่วงสิ้นเดือนตุลาคม และอีกมากมาย วิธีบุญต่างๆ จัดขึ้นทุก ๆ ปีเพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวกัมพูชา กัมพูชาเป็นประเทศที่มี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมและประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิตของคนในประเทศ เช่นระบำอัปสรา (Apsara Dance) จำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด เทศกาลน้ำ หรือ "บอน อม ตุก" (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณ ของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุ ดอกไม้ไฟ และการแสดงขบวน เรือประดับไฟ
  • 5. 5 ชุดประจาชาติ หญิง สวมเสื้อมีลายลูกไม้ที่คอและแขน อาจห่มสไบทับ และนุ่งผ้าทอมือ ที่เรียกว่า ซัมปอต (Sampot) และคาดเข็ม ขัดทับ ชาย สวมเสื้อคอปิด แบบราชปะแตนที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายกับกางเกงขายาว และสวมรองเท้าหนัง แบบสากล อาหารประจาชาติ อาม็อก (Amok) :ทำจากเนื้อปลา ปรุงรสด้วยเครื่องแกงและกะทิ มีลักษณะคล้ายห่อหมกของ ไทยบางตำรับอาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทน สาเหตุหนึ่งที่คนในประเทศนี้นิยมรับประทานปลา เพราะเป็นอาหารที่หาได้ ง่าย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ประเทศอินโดนีเซีย วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละ ท้องถิ่น อาทิเช่นวายัง กูลิต (Wayang Kulit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็น ศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่น เชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมี การเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ที่มีวิธีการทาโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้ เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ่าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่ เรียกว่า "ปาเต๊ะ" คือ ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสัน ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง ชุดประจาชาติ หญิง สวมเสื้อ "คะบาย่า" เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับ ผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ" หรือ "บาติก" โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้น สูงแบบสากล ชาย สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลวดลายเข้ากับหมวก สวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไป ตามแต่ละเกาะ อาหารประจาชาติ กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นอาหารที่ประกอบด้วย ผักและธัญพืช ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเกรียบกุ้ง รบประทานคู่กับซ๊อส ถั่วคล้ายกับซ๊อสสะเต๊ะ (คล้ายกับสลัดแขกของไทย)
  • 6. 6 ประเทศลาว ด้านวัฒนธรรม ลาวนั้นมี "แคน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือ วงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนอง ของการขับลำจะแตกต่างกันไป ตามท้องถิ่น และมีรำวงบัดสลบ (Paslop Dance) ซึ่งเป็นการเต้น ท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อม กันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ รำวงบัดสลบ (Paslop Dance) การตักบาตรข้าวเหนียวถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียว เพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า "ถวายจังหัน" โดยเวลาใส่ บาตร จะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบ พระ เหมือนกัน ชุดประจาชาติ หญิง นุ่งผ้าซิ่นทอลาย ใส่เสื้อแขนยาว ทรงกระบอก และมีสไบเฉียงพาดไหล่ ชาย นุ่งโจงกระเบน และสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด อาหารประจาชาติ ซุปไก่ (Chicken Soup) เป็นอาหารยอดนิยม มีส่วนผสมสำคัญได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติ เปรี้ยวๆ เผ็ดๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ประเทศมาเลเซีย - การรำซาบิน (Zapin) เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมา จาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบีย และ กลอง เล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว - เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและ เริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบท เพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย ชุดประจาชาติหญิง สวมเสื้อ "บาราจูกุง" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาว ที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ "คะบาย่า" ซึ่งเป็นเสื้อแขน ยาวสีสันสดในและมีฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมี ผ้ากคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะ หรือร้องเท้าส้นสูงแบบสากล ชาย สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงขายาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด "บาจูมลายู" ซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมี่เรียกว่า "ซอเกาะ" สวมรองเท้าหนังแบบสากล
  • 7. 7 อาหารประจาชาติ นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร พร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ประเทศพม่า ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long)หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียน มาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัวงานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย ชุดประจาชาติ หญิง สวมเสื้อข้างในเป็นคอกลม เอวสั้น โดยมีเสื้อนอกแขนกระบอกยาว ซึ่งนิยมใช้ผ้าเนื้อบางลายลูกไม้สี สดเข้ากับสีของ "ลองยี" หรือโสร่ง ที่ยาวจรดข้อเท้าที่ต้องเหน็บชายผ้าไว้ที่เอวให้แน่นโดยไม่ใช้เข็มขัด อาจมี ผ้าบางคล้องไหล่และสวมรองเท้าแตะ ชาย สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น ติดกระดุมป้ายมาดานข้างแบบจีนที่เรียกว่า "กุยตั๋ง" หรืออาจจะใส่เสื้อตัว ยาวถึงสะโพก ติดกระดุมตรงกลางที่เรียกว่า "กุยเฮง" นุ่งโสร่งลองยี และมีผ้าแพรสีขาวหรือสีชมพูโพกศีรษะ และสวมรองเท้าแตะ อาหารประจาชาติ หล่าเพ็ด (Laphet) เป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย แต่เป็นใบชาหมัก ซึ่งต้องคลุกกินกับเครื่องเคียง เช่น มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง กระเทียมเจียว และถั่วชนิดต่างๆ ประเทศฟิลิปปินส์ - เทศกาลอาติ - อาติหาน (Ati-Atihan) : จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ "เอตาส (Aetas)" ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บน เกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้ว ออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu) - เทศกาลซินูล็อก (Sinulog) : งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญ ซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะ จัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู - เทศกาลดินาญัง (Dinagyang) : งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกันกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน มกราคมที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)
  • 8. 8 ชุดประจาชาติ หญิง นุ่งกระโปรงยาว และสวมเสื้อแขนสั้น จับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก ชาย ใส่กางเกงขายาว และสวมเสื้อที่เรียกว่าบารองตากาล๊อก (Barong Tagalog) อาหารประจาชาติ อะโดโบ (Adobo) เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อหมูหรือไก่ เคี่ยวให้สุกในซ๊อสถั่วเหลือง น้ำสมสายชู กระเทียมบด ใบกระวานและพริกไทยดำ มักมีสีน้ำตาลจากการทอดหรืออบในกระทะ ประเทศเวียดนาม - เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ "เต็ดเหงียนดาน" (Tet Nguyen Dan) : หมายถึง เทศกาลรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด โดยจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะถึงวัน ขึ้นปีใหม่ ตามจันทรคติคือ อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวัน ขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวกับวันที่ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน (วิษุวัต) ในฤดูใบไม้ผลิเป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็น การแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย - เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการ จัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ ชุดประจาชาติ หญิง สวมชุด "อ่าว หญ่าย" (Ao Dai) เป็นเสื้อคลุมยาวคอตั้ง กับกางเกงขายาว ชาย สวมชุดที่คล้ายกับผู้หญิง แต่มีกระดุมที่ตัวเสื้อ อาหารประจาชาติ แหนม (Nem) หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นแผ่นแป้งข้าวเจ้าห่อเนื้อสัตว์รวมกับผักต่างๆ รับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน และเครื่องเคียงอื่นๆ ประเทศสิงคโปร์ - เทศกาลตรุษจีนของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน - เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้า - เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้ กางเขน - เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า - เทศกาล Hari Raya Puasa ในเดือนตุลาคม เป็น การเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมหลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอด หรือรอมฎอน (Ramadan)
  • 9. 9 - เทศกาล Deepavali ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็น งานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูใน สิงคโปร์ ชุดประจาชาติ หญิง สวมเสื้อและผ้าถุงพิมพ์ลาย สีสันสดใส ชาย สวมสูทสากล อาหารประจาชาติ ลักซา เลอมัก (Luksa Lermak) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ คล้ายๆข้าวซอยของไทย ประเทศไทย - การไหว้เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมีสัมมา คารวะ และให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทายแล้ว การไหว้ยังสื่อถึงการขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวลา - โขน เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทานองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจา เรื่องที่นิยม นำมาแสดงโขนคือ รามเกียรติ์ - เทศกาลสงกรานต์ (Songkran Festival) : ประเพณีเก่าแก่ ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทาบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทราย เข้าวัด และก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่นสาดน้ำ เพื่อความสนุกสนานด้วย ชุดประจาชาติ หญิง สวมชุดไทยจักรี ประกอบด้วยสไบเฉียง เปิดบ่าข้างขวา ชายสไบคลุมด้านซ้าย ทิ้งชายด้านหลังยาวตาม สมควร และนุ่งทับ ด้วยผ้าซิ่นไหมยก คาดเข็มขัด และสวมเครื่องประดับ ชาย สวมชุดพระราชทาน ตัวเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย คอตั้ง ผ่าอกตลอด ติดกระดุม 5 เม็ด มีทั้งแขนสั้นและแขนยาว โดยจะเป็นสีเรียบ หรือมีลวดลายก็ได้ อาหารประจาชาติ ต้มยำากุ้ง เป็นอาหารประเภทแกงที่เน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก มีส่วนประกอบสมุนไพรที่มีประโยชน์ หลายชนิด เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยมะนาว พริก และน้ำปลา
  • 10. 10 วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน 1.เสนอหัวข้อโครงงาน 2.เลือกหัวข้อโครงงานที่เหมาะสม 3.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน 4.นำมาจัดทำสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Power Point 5.ตรวจสอบและแก้ไข 6.รายงายผลและดำเนินการ 7.จัดทำเอกสาร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ - เครื่องคอมพิวเตอร์ งบประมาณ - ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน เวธกา 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล เวธกา 3 จัดทำโครงร่างงาน สุพิชชา 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน เวธกา, สุพิชชา 5 ปรับปรุงทดสอบ เวธกา 6 การทำเอกสารรายงาน สุพิชชา 7 ประเมินผลงาน สุพิชชา 8 นำเสนอโครงงาน เวธกา
  • 11. 11 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้ที่อ่านหรือศึกษาโครงงานฉบับนี้จะมีความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆของประเทศในสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นและสามรถนำไปปรับใช้หรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ สถานที่ดาเนินการ โรงเรียน ยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และรายวิชาการงานอาชีพละเทคโนโลยี แหล่งอ้างอิง http://www.onechildok.org