SlideShare a Scribd company logo
1 of 64
Download to read offline
การวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย
นางสาววนิดา คำเกิด รหัสนักศึกษา 62190240370
นายธีระยุทธ ไทยลือนาม รหัสนักศึกษา 62190240220
รายวิชา 1902 408-59 การวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2565
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ใบรับรองการวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่อง การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากเสียอินทรีย์
จากระบบบำบัดน้ำเสีย
ชื่อผู้ทำการวิจัย นางสาววนิดา คำเกิด รหัสนักศึกษา 62190240370
นายธีระยุทธ ไทยลือนาม รหัสนักศึกษา 62190240220
อาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
………………………………………….……………......อาจารย์ที่ปรึกษา
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิชัย ใจขาน)
….……………………………………………………….…กรรมการสอบ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ทองดำรงธรรม)
…..……………………………………………………….…กรรมการสอบ
(นายนุกุล มงคล)
ลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ก
นางสาววนิดา คำเกิด และ ธีระยุทธ ไทยลือนาม [2565]. การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสม
กากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย
การวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิชัย ใจขาน
คำสำคัญ: ไส้เดือนดิน,ปุ๋ยไส้เดือนดิน,ของเสียอินทรีย์,ระบบบำบัดน้ำเสีย,การเจริญเติบโตไส้เดือนดิน
อัตราการย่อยสลายชองเสียอินทรีย์
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องแนวการผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากของเสียอินทรีย์ของระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นงานวิจัยเชิง
ทดลอง (Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและการย่อยสลายของของเสีย
อินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วยของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน 3 ชุดการ
ทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุมใช้เศษผลไม้(แตงโม)ไม่มีการเติมของเสียอินทรีย์ ชุดทดลองที่ 1 ใช้เศษผลไม้ (แตงโม)
ผสมกับของเสียอินทรีย์อัตราส่วน 5/1000 กรัม และชุดทดลองที่ 2 ใช้เศษผลไม้ (แตงโม) ผสมกับของเสีย
อินทรีย์อัตราส่วน 10/1000 กรัม การทดลองละ 3 ลิ้นชัก ลิ้นชักละ 300 กรัม เป็นทั้งหมด 9 ลิ้นชัก เก็บข้อมูล
โดยใช้แบบบันทึกการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนักของไส้เดือนดิน จำนวนของไส้เดือนดิน และน้ำหนักเฉลี่ยต่อ
ตัวของไส้เดือนดิน และแบบบันทึกสภาพแวดล้อมในการทดลอง ได้แก่ pH , ความชื้น , และอุณหภูมิ บันทึก
ข้อมูลทุก 15 วัน ทดลองเป็นระยะเวลา 90 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยที่มากที่สุดคือชุดทดลองที่ 1 มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 10.1±8.96 กรัม
รองลงมาคือ ชุดทดลอง 2 และชุดควบคุม มีค่าเฉลี่ย 8.3±7 และ 5.2±4.51 ตามลำดับ จำนวนเฉลี่ยที่มาก
ที่สุดคือชุดทดลองที่ 1 จำนวนเฉลี่ยที่มากที่สุดคือชุดทดลองที่ 1 มีจำนวนไส้เดือนดินเฉลี่ย 54.1±16.5 ตัว
รองลงมาคือ ชุดทดลอง 2 และชุดควบคุม มีค่าเฉลี่ย 39.4±3 ตัว และ 26.1±10.15 ตัว ตามลำดับ น้ำหนักตัว
เฉลี่ยที่มากที่สุดคือชุดทดลองที่ 2 มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 0.33±0.48 กรัม/ตัว รองลงมาคือชุดควบคุม และชุด
ทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 0.21.±0.06 กรัม/ตัว และ 0.18±0.07 กรัม/ตัว ตามลำดับ ชุดทดลองที่มีอัตราการย่อย
สลายมากที่สุดคือ ชุดควบคุม ที่มีอัตราการย่อยเฉลี่ยสลายอยู่ที่ 0.8 กรัม/วัน/ตัว รองลงมาคือ ชุดทดลอง 2
และชุดทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 0.56 กรัม/วัน/ตัว และ 0.23 กรัม/วัน/ตัว ตามลำดับผลผลิตที่ได้เป็นปุ๋ยมูล
ไส้เดือนดินที่มีน้ำหนักมากกว่า 900 กรัมต่อทุดการทดลอง กองบริหารกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวิธีการลดของเสียอินทรีย์โดยนำมาใช้ประโยชน์เพื่อในรูปของปุ๋ยมูล
ไส้เดือนดินได้
ข
Ms. Wanida Khamkerd and Teerayut Thaileunam [2022]. Production of
vermicompost from fruit scraps mixed with organic waste from wastewater
treatment systems.
environmental health research Bachelor of Science Program Department of
Environmental Health College of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani
Advisor: Asst. Prof. Sittichai Chaikan
Keywords: earthworms, earthworm fertilizer, organic waste, wastewater treatment
system, earthworm growth, organic waste decomposition rate
Abstract
Research on the production of vermicompost from organic waste of wastewater
treatment system It's an experimental research. This experimental research aims to study the
growth and decomposition of organic wastes of mineral eyeworms (Perionyx sp.1) fed with 3
different organic wastes. Use fruit scraps (watermelon) without adding organic waste.
Experiment set 1 uses fruit scraps (watermelon) mixed with organic waste at a ratio of 5/1000
grams and experiment set 2 uses fruit scraps (watermelon) mixed with waste. Organic ratio
10/1000 g. Each experiment was 3 drawers, 300 g each, total of 9 drawers. number of
earthworms and average body weight of earthworms and the experimental environment
record form, i.e. pH, humidity, and temperature, was recorded every 15 days for a period of
90 days. Data were analyzed using descriptive statistics, i.e. mean and standard deviation.
The study found that The highest mean weight was experimental set 1 with an average
weight of 10.1±8.96 g, followed by experimental set 2 and control with an average of 8.3±7
and 5.2±4.51, respectively. 1 The highest average number was experimental set 1 with an
average number of earthworms 54.1±16.5 individuals, followed by experimental set 2 and
control with an average of 39.4±3 individuals and 26.1±10.15 individuals, respectively. was the
second experimental set with an average body weight of 0.33±0.48 g/each, followed by the
control set. and experimental set 1 had an average of 0.21.±0.06 g/animal and 0.18±0.07
g/animal, respectively. The experimental set with the highest degradation rate was the control
set with an average degradation rate of 0.8 g/day. /animal, followed by experimental set 2
and experimental set 1, with an average of 0.56 g/day/animal and 0.23 g/day/pcs, respectively,
with vermicompost yields weighing more than 900 g per each experiment. Division of Physical
and Environmental Administration Ubon Ratchathani University It can be applied as a way to
reduce organic waste by using it in the form of vermicompost.
ค
กิตติกรรมประกาศ
การวิจัยครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยการ ความช่วยเหลือ และคำชี้แนะจากอาจารย์หลายๆท่าน ซึ่งให้การ
สนับสนุนผู้วิจัยตั้งแต่เริ่มต้นงานวิจัยจนงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์
ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิชัย ใจขาน ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยนี้ ที่สละเวลาใน
การให้คำแนะนำ และให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับแนวทางการทำวิจัย ทำให้ผู้วิจัยได้รับข้อมูลที่
ครบถ้วน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลได้
ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ทองดำรงธรรม และ นายนุกุล มงคล กรรมการสอบ
วิจัย ที่ให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อให้วิจัยนี้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณ นายนุกุล มงคล ตำแหน่งหัวหน้างานบำบัดน้ำเสียและขยะมูลฝอย ให้ความรู้
คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในด้านการจัดเตรียมพื้นที่ในการวิจัย บริเวณโรงบำบัดน้ำ
เสียของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการของ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการ
สาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ให้ความรู้ คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในด้าน
อุปกรณ์ และเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์
คณะผู้ทำวิจัย
นางสาว วนิดา คำเกิด
นาย ธีระยุทธ ไทยลือนาม
ง
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง ฉ
สารบัญรูปภาพ ซ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2 คำถามการวิจัย 2
1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
1.4 ขอบเขตของการวิจัย 2
1.5 คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย 3
บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ไส้เดือน 4
2.2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน 14
2.3 ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน 19
2.4 คุณสมบัติของเศษผลไม้ 19
2.5 คุณสมบัติของไขมัน 19
2.6 ข้อมูลทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชานี 21
2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 22
2.8 สรุปการทบทวนวรรณกรรม 24
2.9 กรอบแนวคิด 25
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
3.1 รูปแบบการวิจัย 26
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 26
3.3 เครื่องมือที่ใช้ 26
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 26
3.5 วิธีการทดลอง 27
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 30
จ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการศึกษา
4.1 ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน 31
4.2 การเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) 32
ที่เลี้ยงด้วยอาหารเศษอาหารและของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน
4.3 อัตราการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) 35
ที่เลี้ยงด้วยอาหารเศษอาหารและของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน
4.4 ผลผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน 36
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล
5.1 สรุปผลการวิจัย 37
5.2 อภิปรายผลการวิจัย 38
5.3 ข้อเสนอแนะและการนำไปใช้ประโยชน์ 40
บรรณานุกรม 41
ภาคผนวก 43
ภาคผนวก ก 44
ภาคผนวก ข 50
ฉ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 2-1 ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดินจำพวกลัมบริซิด 3 กลุ่มใหญ่ของ Bouche 5
ตารางที่ 4-1 ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน 31
ตารางที่ 4-2 การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของไส้เดือนดินในแต่ละชุดการทดลอง 32
ตารางที่ 4-3 การเปลี่ยนแปลงจำนวนของไส้เดือนดินในแต่ละชุดการทดลอง 33
ตารางที่ 4-4 การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักเฉลี่ยต่อจำนวนตัวของไส้เดือนดินในแต่ละชุดการทดลอง 34
ตารางที่ 4-5 อัตราการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินในลิ้นชัก 35
ตารางที่ 4-6 ภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดินวันที่ 90 ของ ทั้ง 3 ชุดการทดลอง 36
ช
สารบัญรูปภาพ
หน้า
ภาพที่ 2-1 อายชิเนีย ฟูทิดา (Bisenia foetida) 6
ภาพที่ 2-2 ยูตริลลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae) 7
ภาพที่ 2-3 ลัมบริคัสรูเบลลัส (Lumbricus rebellus) 8
ภาพที่ 2-4 เพอริโอนีกซ์ (Perionyx sp.) 8
ภาพที่ 2-5 ฟีเรททิมา โพสธูมา (Pheretima posthuma) 9
ภาพที่ 2-6 ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris) 9
ภาพที่ 2-7 โพลิฟเรททิมา อีลองกาตา (Polypheretimza elongate) 10
ภาพที่ 2-8 เดนโตรแบนา วีนาตา (Dendrobaena veneta) 10
ภาพที่ 2-9 เพอริโอนีกซ์ เอกซ์คาวาตัส (Perionyx excavatus) 11
ภาพที่ 2-10 วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน 11
ภาพที่ 2-11 การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังหรืออ่างพลาสติก 14
ภาพที่ 2-12 การเพาะเลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก 15
ภาพที่ 2-13 การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์ 16
ภาพที่ 2-14 การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือนขนาดเล็ก 17
ภาพที่ 2-15 แผงผังมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 21
ภาพที่ 2-16 ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศทรงแคปซูล 21
ภาพที่ 3-17 ตู้ลิ้นชักพลาสติดที่เจาะรูแล้ว 27
ภาพที่ 3-18 โรงเรือนสำหรับเพราะเลี้ยงไส้เดือนดิน 27
ภาพที่ 3-19 ดินและมูลวัวนมโค 28
ภาพที่ 3-20 มูลวัวนมโคและดินผสมกันกับน้ำจนปั้นเป็นก้อนได้ 28
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นสถาบันการศึกษาที่ประกอบด้วยนักศึกษาและบุคลากรจำนวนมาก โดย
ในปี 2562 มีนักศึกษาทั้งหมด16,651และบุคลากร ทั้งหมด 1501 คน (กองแผนงานสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2562) และมีโรงอาหารกลางซึ่งเป็นสถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหารที่เป็นของ
มหาวิทยาลัย มีผู้เข้าใช้บริการ คือ บุคลากร นักศึกษา บุคคลทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี โดยมีการประกอบอาหารและล้างทำความสะอาดภาชนะทุกวัน ทำให้เกิดน้ำเสียประกอบด้วย
เศษอาหาร คราบน้ำมันและไขมัน รวมไปถึงการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ติดจากการล้างภาชนะ (พงศธร ทวี
ธนวาณิชย์ และ ทองปักษ์ ดอนประจำ, 2563) พบว่า ปริมาณมีน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงอาหาร
แห่งนี้ ประมาณ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (นุกูล มงคล, 2563) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้มีการติดตั้ง
ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับศูนย์อาหารกลาง คือ ระบบปิดแบบเติมอากาศ ร่วมกับการบำบัดขั้นต้นโดยการ
กรองเศษอาหารที่มากับน้ำก่อนปล่อยไปยังบ่อดักไขมัน จากนั้นน้ำจะเข้าสู่ถังบำบัดน้ำเสียทรงแคปซูลชนิด
บำบัดเติมอากาศ ฝังอยู่ใต้ดินจำนวน 3 ถัง จากนั้นน้ำจะเข้าบ่อที่มีหินกรองและไหลต่อไปยังบึงประดิษฐ์ หลัง
การบำบัดจะมีการปล่อยน้ำทิ้งไปยังสระน้ำ 70 ไร่ โดยระบบบำบัดน้ำเสียบริเวณโรงอาหารกลางมีการติดตั้ง
เมื่อ พ.ศ. 2560 การจัดการกากไขมันจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงอาหารกลางมหาวิทยาลัยมีวิธี คือ การดัก
กากไขมันจากถังดักไขมันเพื่อนำไปฝังกลบโดยไม่มีการแปรสภาพหรือนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่น โดยมี
ปริมาณของเสียที่ไม่ถูกจัดการให้มีการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของกากไขมันโดยปริมาตรเปียก
ประมาณ 50-100 ลิตรต่อวัน (ในช่วงที่มีการเรียนการสอนตามปกติ) ซึ่งยังไม่มีการน้ำไปใช้ประโยชน์และยังไม่
มีการกำจัดแบบถูกสุขาภิบาล หากไม่มีการนำของเสียอินทรีย์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิด
การเน่าเหม็นและส่งกลิ่นรบกวนในบริเวณโดยรอบได้
ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยกระบวนการผลิตเกิดจาก
การนำขยะอินทรีย์ไปเป็นอาหารในการเลี้ยงไส้เดือนดิน ผ่านกระบวนการย่อยสลายขยะอินทรีย์ ภายในลำไส้
ของไส้เดือนดินแล้วจึงขับถ่ายเป็นมูลและฉี่ออกมาทางรูทวาร ไส้เดือนดินสามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ได้แก่
ไส้เดือนดินสีแดง และ ไส้เดือนดินสีเทา สายพันธ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ส่วนมากเป็นไส้เดือนดินกลุ่ม
ผิวดินที่มีลําตัวสีแดงไม่เกิน 15 ชนิด ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์จะเป็นไส้เดือนดินสี
แดงที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์หรือใต้กองขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ซึ่งจะเป็นไส้เดือนดินกลุ่มผิวดินที่กินอินทรีย์วัตถุ
มากกว่ากินดิน ซึ่งปุ๋ยมูลไส้เดือนมีธาตุอาหารพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่มีส่วนช่วยสร้าง
ดอกติดผลในกลุ่มไม้ดอกและไม้ผล เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในแปลงได้ นอกจากจัดการขยะอินทรีย์ได้แล้ว
ยังสามารถปรับปรุงดินได้ไปพร้อมๆกัน (อานัฐ ตันโช, 2563)
ประเทศไทยนิยมใช้ไส้เดือนดินสีแดงซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมูลวัวชาวบ้านเรียกว่า “ขี้ตาแร่”
หรือ “Perionyx sp.” มีลำตัวกลมขนาดใหญ่ปานกลางซึ่งสามารถย่อยสลายของเสียอินทรีย์และแพร่พันธุ์ได้ดี
2
เช่นกันกับสายพันธุ์การค้าในต่างประเทศ และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในประเทศไทยได้
ดีกว่าสายพันธุ์ทางการค้าจากต่างประเทศ สามารถพบได้ในธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นในฟาร์มวัวนม
และบริเวณซักล้างที่มีเศษอาหาร จึงมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย
ได้ดีและมีความต้องการความชื้นสูงในการอยู่อาศัย สามารถทนอยู่ในน้ำขังได้นานกินขยะอินทรีย์ที่เน่าสลายได้
หลากหลายชนิด จึงเป็นตัวเลือกที่นิยมนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์อย่างกว้างขวาง ไส้เดือนสายพันธ์ขี้ตาแร่
สามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีเทียบเท่ากับสายพันธุ์การค้าโดยผลผลิตมูลไส้เดือนที่ได้นำมาตรวจวัดคุณค่า
ธาตุอาหารพืช ประกอบด้วย ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ได้สูงกว่าร้อยละ 50
(อานัฐ ตันโช, 2550) โดยจาการศึกษาของ (Wani, 2002) ไส้เดือนดินจะกินกากของเสีย เศษอินทรียวัตถุ ทั้ง
เศษซากไม้ ใบไม้ มูลสัตว์ และเศษอินทรียวัตถุอื่นๆ และจะสามารถขับถ่ายสารอินทรีย์ออกมาได้ประมาณ 40-
60 % ไส้เดือนดินโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 0.5-0.6 กรัม ไส้เดือดินจะกินซากอินทรีย์เท่ากับน้ำหนัก
ของตัวมันและจะผลิตสารอินทรีย์เป็นขุย ออกมาประมาณ 50 % ของที่กินเข้าไปในแต่ล่ะวัน
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาแนวการผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากของเสียอินทรีย์ของระบบ
บำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.)
เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดการจัดการของเสียอินทรีย์อย่างเหมาะสมมากขึ้น และส่งเสริมการนำกากไขมันซึ่งเป็น
ของเสียอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ อันจะสามารถนำไปสู่การเพิ่มการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใน
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มากขึ้น
1.2 คำถามของการวิจัย
1. การเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วยเศษผลไม้และกาก
ของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรเป็นอย่างไร
2. อัตราการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วย
เศษผลไม้และกากของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรเป็นอย่างไร
3. ปริมาณปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจากที่เลี้ยงด้วยเศษผลไม้และกากของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรเป็นอย่างไร
1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วยเศษผลไม้
และของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยง
ด้วยเศษผลไม้และกากของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรที่แตกต่างกัน
1.4 ขอบเขตของการวิจัย
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยการนำของเสียอินทรีย์ ได้แก่ ของเสียอินทรีย์ของถังดักไขมัน
ระบบบำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาใช้เป็นส่วนผสมในการเลี้ยงใส้เดือนดินเพื่อ
ผลิตปุ๋ยจากมูลใส้เดือนดิน โดยใช้ใส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1)
3
1.5 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
1) ไส้เดือนดิน หมายถึง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มี
ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดินใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน
โดยในงานวิจัยครั้งนี้ คือ สายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ได้มาจากโครงการสร้างธุรกิจสีเขียวผ่านการแปลง
ขยะในระบบอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพในจังหวัดอุบลราชธานี
2) ปุ๋ยไส้เดือนดิน หมายถึง ปัสสาวะและมูลของใส้เดือนดินที่มีลักษณะเป็นเม็ดร่วนละเอียดสีดำ ที่มี
ธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยในงานวิจัยครั้งนี้ คือ มูลของใส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่
(Perionyx sp.1)
3) ของเสียอินทรีย์ หมายถึง กากของเสียจากบริเวณผิวน้ำถังดักไขมันระบบบำบัดน้ำเสีย โรงอาหาร
กลางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4) ระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึง สถานที่สำหรับปรับสภาพน้ำเสียให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นก่อนระบายเป็น
น้ำทิ้งสู่ภายกนอก โดยในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5) การเจริญเติบโตไส้เดือนดิน หมายถึง ความเปลี่ยนแปลงของไส้เดือนดินหลังทำการเลี้ยงด้วย
อาหารในสัดส่วนต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น เป็นระยะเวลา 0, 15, 30, 45, 60, 75, และ 90 วัน โดยวัดจาก
ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไส้เดือน สี น้ำหนัก (กรัม/ตัว)
6) อัตราการย่อยสลายชองเสียอินทรีย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอาหารในการเลี้ยง
ไส้เดือนดินที่ถูกย่อยสลายทางชีวภาพในการดำรงชีวิตโดยวัดเป็นอัตราการย่อยสลายเป็นหน่วย (กรัม/วัน/ตัว)
บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยการนำเอาของเสียอินทรีย์ ได้แก่ กากไขมันจากถังดักไขมัน
ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงอาหารกลางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาใช้เป็นส่วนผสมอาหารในการเลี้ยงใส้เดือนดิน
โดยมีการศึกษาวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ไส้เดือนดิน
2.2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน
2.3 ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน
2.4 คุณสมบัติของเศษผลไม้
2.5 คุณสมบัติของไขมัน
2.6 ข้อมูลทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชานี
2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.8 สรุปการทบทวนวรรณกรรม
2.9 กรอบแนวคิด
2.1 ไส้เดือนดิน
2.1.1 ความหมาย
ไส้เดือนดินถูกจัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (Kingdom: Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida)
ชั้นโอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order Opisthopora) สำหรับวงศ์ (Family) ของ
ไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ ที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
2.1.2 ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินเป็นโอลิโกคีตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีประมาณ 500 ชนิด ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์
(Kingdom Animalia) ไฟลั้มแอนนิลิดา (Phylum Annelida) ชั้นโอลิโกคีตา (Class : Oligochaeta) อันดับ
โอพิสโธโพรา (Order : Opisthopora) นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป
การจำแนก สายพันธุ์ของไส้เดือน ดินอยู่ในอันดับโอพิสโธโพราทั้งหมด 21 วงศ์ ไส้เดือนดินจะดำรงชีวิตอยู่ใน
ดินลึกประมาณ 12-18 นิ้ว ซึ่งมีสารอินทรีย์และความชื้นพอเหมาะในเวลาที่อากาศร้อนจัดอาจไส้เดือนดิน
อาจจะขุดลึกลงไปและ ม้วนตัวเป็นก้อนกลม การที่ไส้เดือนดินชอนไซไปตามดินทำให้ดินร่วนซุย นอกจากนี้
ไส้เดือนดินกินอาหาร โดยการกินดินเข้าไปเพื่อดึงสารอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์์ แล้วจึงขับถ่ายดินออกมา มี
ไส้เดือนดินเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น ที่สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรีย์วัตถุสูง และ
สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วไส้เดือนดินที่มีขนาดใหญ่และขุดโพรงลึกไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้
5
ในการกำจัดขยะ เนื่องจากจะมีอัตราการขยายพันธุ์ต่ำ ไม่สามารถที่จะผลิตอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่มากได้
และเป็นผู้ใบริโภคมากกว่าที่จะเป็นผู้ผลิตอินทรีย์วัตถุในการย่อยอินทรีย์ที่เป็นของเสีย ไส้เดือนดินชนิดที่ใช้
กำจัดของเสียอินทรีย์จะกินจุลินทรีย์ ซึ่งเจริญเติบโตบนของเสียเป็นอาหาร ในขณะเดียวกันก็ช่วยเร่งกิจกรรม
ของจุลินทรีย์ดังนั้นมูลของไส้เดือนดินจึงร่วน ไม่เกาะตัวเป็นก้อน และมีจุลินทรีย์มากกว่าที่กินเข้าไป ไส้เดือน
ดินสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามพฤติกรรมในเชิงนิเวศ ดังนี้ (สามารถ ใจเตี้ย, 2558)
ตารางที่ 2-1 ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดินจำพวกลัมบริซิด 3 กลุ่มใหญ่ของ Bouche
ลักษณะ
ไส้เดือนดินในกลุ่ม
Epigeic
ไส้เดือนดินในกลุ่ม
Anecic
ไส้เดือนดินในกลุ่ม
Endogeic
อาหาร
เศษอินทรีย์วัตถุที่เน่า
เปื่อยบริเวณผิวดิน เศษ
ซากพืชที่ไม่มีส่วนผสมของ
ดิน
เศษอินทรีย์วัตถุ ที่เน่า
เปื่อย บริเวณผิวดินและ
ดิน
แร่ธาตุในดินและ
อินทรีย์วัตถุบริเวณผิวดิน
รงควัตถุ
มีสีเข้มทั้งบริเวณด้านหลัง
และด้านท้อง
สีปานกลาง สีเข้มเฉพาะ
บริเวณด้านหลัง
ไม่มีสี หรือมีสีจาง
ขนาดของตัวเต็มวัย ตัวเล็ก-ตัวปานกลาง ตัวใหญ่ ตัวปานกลาง
การขุดรู
ไม่มีรู แต่บางครั้งจะขุดรู
อยู่บริเวณผิวดินไม่ลึกมาก
มีรูขนาดใหญ่และเป็นรู
ถาวร และขุดลึกลงไปใน
ดิน
เป็นรูที่ยาวต่อเนื่องกัน
และยาวตามแนวนอน
การเคลื่อนที่
เคลื่อนที่ได้เร็วมากใน
ขณะที่ถูกกระตุ้น
เขื่อนที่ไหนรู้ได้อย่าง
รวดเร็ว แต่บริเวณผิวดิน
จะช้ากว่าพวกที่อยู่ผิวดิน
ค่อนข้างเฉื่อย ช้า
ความยืดยาวของอายุ อายุค่อนข้างสั้น อายุค่อนข้างยาว ปานกลาง
ระยะเวลาผสมพันธุ์ สั้น ยาว สั้น
การดำรงชีวิตในช่วงแห้ง
แล้ง
ดำรงชีวิตในระยะถุงไข่
เข้าสู่ระยะพักตัวหยุดนิ่ง
กิจกรรมต่างๆ
เข้าสู่ระยะหยุดนิ่งกิจกรรม
ต่างๆแบบชั่วคราว
การถูกล่าเป็นอาหาร
ถูกล่าโดยนกหลายชนิด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ
แมลงต่างๆ
ถูกล่าในอัตราที่สูง
โดยเฉพาะขณะที่อยู่
บริเวณผิวดิน
ถูกล่าน้อย โดยสัตว์ที่อยู่
อาศัยในดิน
ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2560)
6
2.1.3 สายพันธุ์ใส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไส้เดือนดินสีเทาและไส้เดือนดินสีแดง โดยไส้เดือนดินสีเทาเป็น
ไส้เดือนดินที่มีขนาดใหญ่ กินอาหารน้อย และแพร่พันธุ์ได้น้อย ส่วนไส้เดือนดินสีแดงจะมีขนาดเล็กกว่า
ไส้เดือนดินสีเทา ลำตัวมีสีแดง อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่มีแหล่งอาหารและความชื้นสูงตลอดปี กินอาหาร เก่ง
แพร่พันธุ์ได้เร็ว เหมาะสำหรับใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์ สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์มี
ประมาณ 9 ชนิด ดังนี้ (อานัฐ ตันโช, 2563)
1.) อายชิเนีย ฟูทิดา (Bisenia foetida) ชื่อสามัญ The Tiger worm, Manure worm, Compost
worm ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร มีร่องระหว่างปล้อง และบริเวณปลายหางบางมีสีเหลือง มีอายุ
ยืนยาว 4-5 ปี แต่มักจะอยู่ได้ 1-2 ปี ในสภาพที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์ม สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ สร้างถุงไขได้โดยเฉลี่ย
ประมาณ 150-198 ถุง/ตัว/ปี สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32-40
วัน, โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัวถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 3-6 เดือน อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซาก
อินทรียวัตถุที่เน่าสลายแล้วและมี ธนุภาคขนาดเล็ก เป็นไส้เดือนสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด
มีปล้อง แต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และมีกลิ่นตัวที่รุนแรง โดยทั่วไป
ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกามักจะใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida หรือ สายพันธุ์ใกล้เคียงกัน คือ
สายพันธุ์ Eisenia andrei ในการกำจัดขยะอินทรีย์ เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่ทั่วไปในบริเวณ
ที่มีขยะอินทรีย์อยู่ โดยพวกมันจะสร้างกลุ่มและเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น มีความทนทานต่อ
ช่วงอุณหภูมิที่กว้าง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้น ได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็น
ไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีมากและเลี้ยงง่าย เหมาะสมในการนำมาเลี้ยงเพื่อกำจัด
ขยะอินทรีย์ได้หลายชนิดที่ปะปนกัน เมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์อื่นภายในฟาร์ม พบว่า จะมี
ความทนทานมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่น ๆ มีอัตราส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้นของไส้เดือนสายพันธุ์ Eisenia
foetda อยู่เป็นจำนวนมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นที่เลี้ยงพร้อมกัน ดังนั้นจึง สามารถนำมาเลี้ยงใช้กำจัดขยะ
อินทรีย์ได้ดี
ภาพที่ 2-1 อายชิเนีย ฟูทิดา (Bisenia foetida)
ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
7
2.) ยูตริลลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae) ชื่อสามัญ African night crawler
ลำตัวมีขนาด 130-250 x 5-8 มิลลิเมตรลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทาสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสม
พันธุ์ใต้ดินสร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162-188 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13-27 วัน,
โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 10-12 เดือนอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซาก
อินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหารมีอายุยืนยาว 4-5 ปี ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่
สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและไต่ขึ้นขอบบ่อได้ดีในต่างประเทศมีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่าง
กว้างขวางไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมี
ขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์สูงมากแต่มีข้อเสียคือไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เจริญเติบโตภายใต้อุณหภูมิจำ
เพาะเลี้ยงยากสำหรับด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลาย
ขยะในปริมาณมากได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ในเขตร้อนซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้าง
ร้อนโดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศา
เซลเซียส ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือง
ที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้สำหรับการเลี้ยงแบบภายนอกโรงเรือนจะเหมาสม
กับเฉพาะพื้นที่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนเท่านั้น
ภาพที่ 2-2 ยูตริลลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae)
ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
3.) ลัมบริคัสรูเบลลัส (Lumbricus rebellus) ชื่อสามัญ Red worm, Red Marsh worm, Red
wriggler ลำตัวมีขนาด 60-150 x 4-6 มิลลิเมตรผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่อง
ระหว่างปล้องมีสีเหลืองเป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์กินเศษซาก
พืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหารสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริงจับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79-106 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 27-45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 179 วันมีชีวิตยืนยาว 2-3 ปีเป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวแบนและมีลำตัวขนาด
กลางไม่ใหญ่มาก แต่ใหญ่กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์อายซิเนีย ฟูทิตา ในขณะเดียวกันเล็กกว่าไส้เดือนดินสาย
พันธุ์แอฟริกันไนท์ คลอเลอร์ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์
8
หรือกากสิ่งปฏิกูล ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื่นในช่วงกว้าง ไม่ค่อย
เคลื่อนไหวมาก กินเศษชากอินทรีย์วัตถุได้มาก และเจริญเติบโดเร็ว ถือเป็นไส้เดือนดินพันธุ์การค้าที่มีความ
เหมาะสมและนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิดเป็นปุ๋ยหมักในต่างประเทศ
ภาพที่ 2-3 ลัมบริคัสรูเบลลัส (Lumbricus rebellus)
ที่มา : ( อานัฐ ตันโซ, 2547)
4.) เพอริโอนีกซ์ (Perionyx sp.) ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่ ลำตัวมีขนาด 130-200 x 5-6 มิลลิเมตรลำตัวมีสี
น้ำตาลแดงเข้มสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดินสร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 24-40 ถุง/
ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25-30 วัน, โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 5-6
เดือนอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลาย และมูลสัตว์เป็น
อาหารมีอายุยืนยาว 2-4 ปี เป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไส้เดือนดิน
สายพันธุ์แอฟริกันไนท์ ครอเลอร์ พบได้ทั่วไปในแถบเอเชีย ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดกลางอาศัยอยู่
ในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมาก เช่น ใต้กองปุ๋ยหมัก ใต้กองมูลวัวในโรงเลี้ยงวัวนม ใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้ง โดยจะ
อาศัยอยู่บริเวณผิวดินไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึก ลักษณะพิเศษ ของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ คือ มีความตื่นตัวสูงมาก
เมื่อถูกจับตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนี อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การนำไปใช้กำจัดขยะอินทรีย์ พบว่า
ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้สามารถกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผักและผลไม้ได้อย่างรวดเร็ว จากการทดลองนำ
ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มากำจัดขยะอินทรีย์ เช่น มูลวัวสด เศษต้นกล้วย หรือเปลือกแตงโม พบว่า สามารถถูกย่อย
หมดอย่างรวดเร็ว และยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
ภาพที่ 2-4 เพอริโอนีกซ์ (Perionyx sp.)
ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
9
5.) ฟีเรททิมา โพสธูมา (Pheretima posthuma) ชื่อท้องถิ่น ขี้คู้ ลำตัวมีขนาด 200-250 x 6-10
มิลลิเมตรลำตัวมีสีเทา วาว สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอาศัยอยู่บริเวณผิวดินใน ฤดูฝน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่า
เปื่อย และในฤดูร้อนหรือฤดูหนาวจะอาศัยอยู่ในดินที่ลึกลงไปและ กินดินหรืออินทรียวัตถุในดินที่เน่าสลายเข้า
สู่สภาพการหยุดนิ่ง ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมมีอายุยืนยาวหลายปี ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มักพบอยู่
ในดินภายในสวนสนามหญ้าหรือ พื้นดินในป่า ซึ่งลำตัวจะมีสีเทาผิวลำตัวเป็นมันวาวสะท้อนกับแสงอาทิตย์จะ
ออกเป็นสีรุ้ง เมื่อจับจะดิ้นอย่างรุนแรง และเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมาก แพร่พันธุ์และเจริญเติบโตได้น้อย อาศัย
อยู่ในดินที่ค่อนข้างลึก และจะขุดรูแบบชั่วคราวอาศัยอยู่ในดิน จากลักษณะนิสัยดังที่กล่าวไส้เดือนดินสายพันธุ์
นี้ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ เนื่องจากสภาพความเข้มข้นของขยะอินทรีย์ไม่
เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้แต่เหมาะกับการปรับปรุงดินในพื้นที่ทางการเกษตร และใช้
เป็นโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์เพื่อเพิ่มน้ำหนักก่อนส่งจำหน่าย
ภาพที่ 2-5 ฟีเรททิมา โพสธูมา (Pheretima posthuma)
ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557)
6.) ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris) ชื่อสามัญ Nightcrawler ลำตัวมีขนาด 6-10
มิลลิเมตรผิวบริเวณท้องมีสีเทาขุ่น ผิวบริเวณด้านหลังมีสีเทาเป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม แอนเนชิคกินเศษซากใบไม้
ที่เน่าเปื่อยที่อยู่ใต้ดินและดินบางส่วนเป็นอาหารอาศัยอยู่ในรูที่ถาวร ที่ความลึก 2.4 เมตรสืบพันธุ์โดยอาศัย
เพศอย่างแท้จริงสร้างถุงไข่ได้ 38 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาเติบโตเต็มวัย 350 วันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 862-887 วัน
หรือมากกว่า 6 ปี สามารถแพร่กระจายกลุ่มได้ประมาณ 3-5 เมตร/ปี
ภาพที่ 2-6 ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris)
ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557)
10
7.) โพลิฟเรททิมา อีลองกาตา (Polypheretimza elongate)
ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เคยถูกนำมาทดลองใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ เช่น ขยะจากเทศบาล
ขยะหรือของเสียที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์สิ่งขับถ่ายจากมนุษย์ สัตว์ปีก มูลวัว และเศษเหลือทิ้งจากการผลิตเห็ดใน
อินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียได้ใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในการทำปุ๋ยหมักทางการค้า ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้
พบเฉพาะในเขตร้อน และไม่สามารถดำรงชีวิตได้ในเขตหนาว
ภาพที่ 2-7 โพลิฟเรททิมา อีลองกาตา (Polypheretimza elongate)
ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557)
8.) เดนโตรแบนา วีนาตา (Dendrobaena veneta) ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดใหญ่ และมี
ศักยภาพเพียงพอสำหรับนำไปใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ มักอาศัยอยู่ใน ดินลึก เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ช้า
ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จึงไม่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์
ภาพที่ 2-8 เดนโตรแบนา วีนาตา (Dendrobaena veneta)
ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557)
9.) เพอริโอนีกซ์ เอกซ์คาวาตัส (Perionyx excavatus) ชื่อสามัญ Indian blue ตัวเล็กผอม ยาว
ประมาณ 8 เซนติเมตร ลำตัวสีแดงเหลือบม่วงน้ำเงินจึงได้ชื่อว่า Indian Blue worm ถิ่นกำเนิด อินเดีย
ฟิลิปปินส์ เป็นไส้เดือนดินในเขตร้อน ซึ่งขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเลี้ยงง่ายเหมือนกับไส้เดือนดินสายพันธุ์
Eisenia foetida การแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักทำได้ง่าย แต่มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของ
อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ค่อนข้างต่ำในเขตหนาว ในสภาพเขตร้อนจะเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดิน
11
สายพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่พบทั่วไปในเอเชีย ได้มีการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูล
ไส้เดือนดินในประเทศฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์พีเรททิมา
พีกัวนา (Pheretima peguana) เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายในระดับครัวเรือน เพื่อขายตัวไส้เดือนดินและปุ๋ย
หมัก (สามารถ ใจเตี้ย, 2558)
ภาพที่ 2-9 เพอริโอนิกซ์ เอกซ์คาวาตัส (Perionyx excavatus)
ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
2.1.4 วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน
วงจรชีวิตของไส้เดือนดินประกอบด้วยระยะถุงไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะก่อนตัวเต็มวัย และระยะเต็มวัย
ไดเทลลัมเจริญเต็มที่ โดยทั่วไปไส้เตือนดินจะจับคู่ผสมพันธุ์บริเวณใต้ดิน ลักษณะการผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน
จะนำส่วนท้องที่เป็นส่วนของไดเทลลัมมาแนบติดกันในลักบณะสลับหัวสลับหาง เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์แล้วไส้เดือน
ดินแต่ละตัวจะสร้างถุงไข่เคลื่อนผ่านส่วนหัว รับไข่และสเปิร์มข้าไปภายใน และเคลื่อนออกมานอกลำตัวใน
บริเวณช่องสืบพันธุ์เพศเมีย ตัวอ่อนพัฒนาอยู่ภายในถุงและฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา ถุงไข่ของไส้เดือนดินจะมี
สีเหลืองอ่อน ๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา
สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ไส้เดือนดินบางชนิดอาจมีไข่มากถึง
60 ฟอง ดังรูปต่อไปนี้ (อานัฐ ตันโซ, 2547)
ภาพที่ 2-10 วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน
ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
12
2.1.5 ศัตรูของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของผู้ล่าที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งพวกมันมักจะถูกจับกินโดยสัตว์ปีก
สัตว์เลื้อยคานหลายชนิด ดังนี้
1) สัตว์ปีก นก ที่กินไส้เดือนเป็นอาหาร เช่น นกสีดำ นกกระสา นกนางนวล ซึ่งเป็นนกขนาด
เล็ก มีขนสีแดงตรงหน้าอก เป็นต้น เป็ด และไก่
2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เม่น ตัวตุ่น หมาจิ้งจอก และสุกร
3) สัตว์เลื้อยคลาน อย่างเช่น งู จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งกือ ตะเข็บ
4) สัตว์ครึ่งน้ำ ครึ่งบก เช่น กบ คางคก
5) สัตว์พันธุ์แทะ เช่น หนู
6) สัตว์อื่นๆ เช่น ไรแดง มด ตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ทาก
2.1.6 การแพร่พันธุ์ของไส้เดือนดิน
การแพร่กระจายของไส้เดือนดินขนอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ปัจจัยทางด้านเคมีและชีวภาพของ
ดิน อาหารและความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ศักยภาพในการแพร่พันธุ์และความสามารถ ในการแพร่กระจาย
ของไส้เดือนดินแต่ละชนิด เป็นต้น ไส้เดือนดินสามารถอาศัยอยู่ได้ดีในดินที่มีความชื้นมากกว่าในดินที่แห้งและ
ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง ลักษณะการกระจายของไส้เดือนดินอาจมีลักษณะเป็นแบบการ
กระจายปกติหรือการกระจายแบบสุ่ม หรือเป็นกลุ่ม ประเภทของดินมีผลมากต่อการกระจายในแนวระนาบ
ขณะที่ชนิดของอาหารความชื่น และอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายตัวของไส้เดือน
ดินแบบแนวดิ่ง (Edwards and Bohlen, 1996; Lavelle et al. 1999; Lee, 1985) ไส้เดือนดินสามารถ
แพร่กระจายตัวัหรือเคลื่อนย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานทีหนึ่งได้ 2 แบบ ดังนี้
1) การแพร่กระจายตัวแบบแอคทีฟเป็นการเคลื่อนย้ายที่อยู่ของไส้เดือนดินบริเวณผิวดินด้วยตัว
ไส้เดือนเอง โดยปราศจากสิ่งช่วยใด ๆ ซึ่งการเกิดจะเกิดแบบช้า ๆ ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น สิ่งแวดล้อม
ไม่เหมาะสม ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ เช่น ที่อยู่เดิมมีน้ำท่วมขัง แห้งแล้งเกินไป เป็นต้น
2) การแพร่กระจายแบบพาสซีพเป็นการเคลื่อนย้ายตัวของไส้เดือนดินแบบอาศัยสิ่งต่างๆในการนํา
พาไส้เดือนไปยังที่อยู่ใหม่โดยที่ตัวไส้เดือนไม่ได้ย้ายที่อยู่ด้วยตัวมันเอง เช่น การย้ายที่อยู่โดยมนุษย์หรือถูก
สายน้ำพัดพาในช่วงน้ำฝนตกหนัก หรือถุงไข่ของไส้เดือนดินถูกนำพาไปโดยสัตว์อื่น ๆ เช่น ติดมากับรองเท้า
ของมนุษย์
2.1.7 ประโยชน์ของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลําตัวเป็นปล้อง เป็นสัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum
Annelida) ชั้นซีโตโพดา (Class Chaetopoda) ตระกูลโอลิโกซีตา (Order Oligochaeta) (Kozloff, 1990)
วงศ์แลมบริซิลี (Family Lambricidae) ซึ่งประเมินกันว่ามีอยู่มากกว่า 800 สกุล 8,000 ชนิด พบกระจายอยู่
ใน ส่วนต่าง ๆ ของโลก ยกเว้นพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศรุนแรง เช่น ทะเลทราย หรือพื้นที่ที่อยู่ใต้หิมะหรือ
13
น้ำแข็งตลอดเวลา ไส้เดือนมีความยาวตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึง 2 เมตร น้ำหนัก ตั้งแต่ 10 กรัม ไปจนเกือบ
1กิโลกรัม และมีขนาดใหญ่ได้ถึง 4 เซนติเมตร (Edwards and Bohlen, 1996; Edwards,2004) ส่วนมาก
อาศัยอยู่บนบกในดินที่ค่อนข้างชื่นและมีอินทรียวัตถุ ไส้เดือนดินในเมืองไทยที่สามารถพบได้นั้นมีหลายชนิดแต่
ชนิดที่ใหญ่และหาง่ายตามดินร่วนซุยชื้น ๆ มักเป็นชนิด Pheretima peguana (สุรินทร์ มัจฉาชีพ, 2536) และ
(Pheretima posthuman) ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกันมากไส้เดือนดินในยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่
เป็นไส้เดือนในวงศ์ Umbricidae (Stephenson, 1930; Kozloff, 1990) และไส้เดือนดินในทวีปแอฟริกา คือ
ไส้เดือนดินวงศ์ Eudrilidae (Edwards, 1977)
การจำแนกชนิดล่าสุดโดย (Reynolds and Cook, 1993) มีสมาชิกประมาณ 3,500 ชนิด 21วงศ์
หนอนปล้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ไส้เดือนดินออสเตรเลีย Megascolides sp. มีความยาวประมาณ 3 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวประมาณ 1 นิ้ว มีปล้องประมาณ 250 ปล้อง ชนิดที่พบในไทยได้แก่ Pheretima
peguna และ P. posthuma (บพิธและ นันทพร, 2547) ซึ่งมีลกัษณะต่างๆ คล้ายกันมาก (เชาว์และ พรรณี,
2528)
สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยและแถบเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ พันธุ์ขี้ตาแร่ (Pheretima peguana)
และ พันธุ์ขี้คู้ (Pheretimaposthum) ยังไม่เคยมีรายงานว่าไส้เดือนดินเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคสู่คนหรือสัตว์
เลี้ยงอื่น ๆ ไส้เดือนดินมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ร้อยละ 80 หายใจทางผิวหนัง อ่อนไวต่อแสง ย่อยสลาย
อินทรีย์วัตถุได้ทุกชนิด และขับถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยไส้เดือนดินกำเนิดมานานกว่า 600 ล้านปีแล้ว โดยมีบทบาท
สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Lavelle et al., 1999) มีการนําไส้เดือน
มาประยุกต์ใช้ด้านต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงดิน กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชเป็นอาหารสัตว์การกำจัดขยะ
และสิ่งปฏิกูลเป็นดัชนีในการวัดความเป็นพิษของสารเคมีที่ปนเปื้อนในดินเป็นอาหารของมนุษย์และเป็นยาบา
บัดโรคบางชนิดของมนุษย์เป็นต้น (Edwards, 2004) นอกจากนั้นไส้เดือนดินมีความสำคัญต่อความอุดม
สมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงสภาพของดินอย่างมากในบรรดาสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังในดินไส้เดือนมีมวล
ชีวภาพมากที่สุด นับแต่โบราณกาลไส้เดือนถูกใช้เป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน พื้นที่ใดที่มีไส้เดือน
จำนวนมากแสดงว่า ดินแถบนั้นมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุธาตุอาหารของพืชและสภาพที่เหมาะสม
ต่อการเจริญเติบโตของพืชผลเนื่องจาก ไส้เดือนจะกินดินและอินทรียวัตถุในดินช่วยย่อยสลายให้กลายเป็นธาตุ
อาหาร ไส้เดือนดินช่วยปรับโครงสร้างทางกายภาพของดิน การไชชอนของไส้เดือนดินในดินทำให้มีช่องระบาย
อากาศได้ดีขึ้น ดินมีความพรุนและอ่อนตัวมากขึ้น ขุยไส้เดือนดินสามารถดูดซับน้ำได้เร็วกว่าดินปกติดังนั้นจึง
ช่วยเพิ่มความชื้นดิน และเพิ่มความเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น (Edwards and Bohlen, 1996; Lavelle et
al., 1999 ; Lee, 1985)
14
2.2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน
2.2.1 สายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน
ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในกระบวนการจะเป็นไส้เดือนดินสีแดงที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือใต้กอง
อินทรียวัตถุ ซึ่งจะเป็นไส้เดือนดินกลุ่มผิวดินที่กินอินทรียวัตถุ มากกว่ากินดินและแร่ธาตุ โดยสามารถแพร่พันธุ์
ได้รวดเร็วและมีจำนวนมาก ที่สำคัญคือมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้สูง ปัจจุบันไส้เดือน
ดินสายพันธุ์ที่มีการนำมาใช้ในในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมัก มูลไส้เดือนดินที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ
ประกอบด้วยไส้เดือนสายพันธุ์ Tiger worm (Eisenia fetida) , Red Worm (Lumbricus rubellus) ,
African Nightcrawler (Eudrilus eugeniae) , Indian blue (Perionyx excavatus) , ขี้ตาแร่ (Perionyx
sp.)
2.2.2 วิธีการเลี้ยงใส้เดือนดิน
1.) การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังหรืออ่างพลาสติก
ภาพที่ 2-11 การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังหรืออ่างพลาสติก
ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2551)
1.1 เลือกถังน้ำหรืออ่างน้ำพลาสติกสำหรับใช้เลี้ยงไส้เดือนดินขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่
น้อยกว่า 12 นิ้ว พร้อมอ่างรองน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่พอดีกับ
1.2 เจาะรูกันอ่างหรือถังน้ำเพื่อระบายน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และ เจาะรูฝาปิดถังน้ำ และ
แผ่นปิดอ่างน้ำพลาสติก (ฟิวเจอร์บอร์ด) สำหรับ ระบายอากาศ
1.3 ทำพื้นเลี้ยงไส้เดือนดินโดยผสมดินร่วนกับมูลวัว อัตราส่วน 4:1 เพิ่มความชื้น 80-90%
ด้วยน้ำ (ปั้นเป็นก้อนได้)
1.4 นำก้อนกรวดขนาดเล็กใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มแบนๆ วางไว้ที่ก้นถังน้ำหรืออ่างน้ำ
1.5 ใส่พื้นเลี้ยงในถังหรืออ่างน้ำหนา 3 นิ้ว
15
1.6 ปล่อยไส้เดือนดินความหนาแน่น อัตรา 1 กิโลกรัม/ 1 ตาราง เมตร (ถังน้ำและอ่างน้ำดู
จากเส้นผ่านศูนย์กลางของปากภาชนะ อ่างที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร /ใส่ไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม)
1.7 ปิดฝาถังน้ำหรือแผ่นปิดปากอ่างน้ำที่เจาะรูระบายอากาศไว้เพื่อ ป้องกันการระเหยน้ำ
และป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆที่จะเข้าไปในถังน้ำ กันถังหรืออ่างเลี้ยง
1.8 ใส่มูลวัวตรงกลาง 1 กอง เพื่อให้ไส้เดือนดินกินและเป็นการล่อ ให้ไส้เดือนดินอยู่ภายใน
ถังไม่หนีออกนอกถังเลี้ยง
1.9 ทาปากถังน้ำหรืออ่างน้ำด้วยน้ำยาล้างจานเข็มข้นหรือสบู่ ป้องกันไม่ให้ไส้เดือนดิน หนี
ออกจากถังเลี้ยง (ระวังอย่าให้น้ำยาล้างจาน ย้อยลงไปในพื้นเลี้ยง)
1.10 นำถังเลี้ยงไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด / ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทได้สะดวก
(ตั้งบริเวณใกล้ๆ กับห้องครัว)
1.11 ใส่ขยะอินทรีย์ในบ้านให้ไส้เดือนดินย่อยสลาย (โดยระวังไม่ให้ หนาเกินไป เพราะจะ
เกิดความร้อนทำให้ไส้เดือนดินหนีออกจากถังหรือตาย หากหนีออกไม่ได้)
2) การเพาะเลี้ยงในตู้ลิ้นชักพลาสติก
ภาพที่ 2-12 การเพาะเลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก
ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2551)
2.1 เลือกลิ้นชักพลาสติก สำหรับเพาะเลี้ยงไส้เดือน ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 12
นิ้ว
2.2 เจาะรูที่พื้นของภาชนะเพื่อระบายน้ำมูลไส้เดือน และเจาะฝาปิดภาชนะเพื่อระบาย
อากาศ
2.3 ผสมดินร่วนกับมูลวัว อัตราส่วน 4:1 แล้วรดน้ำให้ความชื้น 80-90 %
16
2.4 นำส่วนผสมระหว่างดินร่วนกับมูลวัว ใส่ลงในภาชนะให้มีความหนาจากพื้นของภาชนะ
อย่างน้อย 3 นิ้ว
2.5 นำไส้เดือนปริมาณ 1 กิโลกรัม ใส่ลงไปในลิ้นชักพลาสติก (โดยพิจารณาจากปากภาชนะ
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ใช้ไส้เดือน 1 กรัม หรือ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
2.6 เทมูลวัว เพื่อเป็นอาหารและป้องกันการหลบหนีของไส้เดือน
2.7 นำน้ำยาล้างจานหรือสบู่ทาที่บริเวณปากภาชนะ เพื่อป้องกันการเลื้อยหนีออกจาก
ภาชนะเลี้ยงในระยะแรก
2.8 ปิดฝาภาชนะเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแมลง
2.9 นำภาชนะไปตั้งไว้บริเวณที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
2.10 นำเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ให้ไส้เดือนย่อยสลาย
3) การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์
ภาพที่ 2-13 การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์
ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2551)
3.1 ซื้อวงบ่อชีเมนต์ที่เทพื้นและต่อท่อระบายน้ำหมัก
3.2 นำวงบ่อไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด/ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทได้สะดวก (ตั้ง
บริเวณใกล้ๆ กับห้องครัว หรือ บริเวณใต้ ชายคา)
3.3 ล้างวงบอซีเมนต์ 2-3 รอบ และขังน้ำในวงบ่อโดยแช่ต้นกล้วย ทิ้งไว้ ประมาณ 3-5 วัน
(ลดความเค็มของปูนซึ่งเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน)
3.4 นำก้อนกรวดขนาดเล็กใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มวางไว้ที่ ปากท่อระบายน้ำหมักด้าน
ในของบ่อ (ป้องกันพื้นเลี้ยงอุดตันท่อ)
3.5 ใส่พื้นเลี้ยงในวงบ่อหนา 3 นิ้ว
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf

More Related Content

Similar to การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf

โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์0636830815
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้citylong117
 
เทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริ
เทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริเทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริ
เทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริsoonthon100
 
โครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพ
โครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพโครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพ
โครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพbeau1234
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...Sircom Smarnbua
 
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106Kinyokung
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56krupornpana55
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56krupornpana55
 
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัยFulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัยMayko Chan
 
Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1Yuwadee
 
บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖
บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖ บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖
บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖ กิตติพงษ์ กุมภาพงษ์
 
วัยใส ใส่ใจสุขภาพ
วัยใส ใส่ใจสุขภาพวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
วัยใส ใส่ใจสุขภาพPreeya Leelahagul
 
สารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อม
สารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อมสารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อม
สารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลสารภี
 
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)The Field Alliance
 

Similar to การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf (20)

โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
 
เทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริ
เทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริเทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริ
เทคโนโลยีการสื่อสารตามแนวพระราชดำริ
 
โครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพ
โครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพโครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพ
โครงงานสุขภาพนำหมักชีวภาพ
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
 
Wichaiclassresearch2560
Wichaiclassresearch2560Wichaiclassresearch2560
Wichaiclassresearch2560
 
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
 
Anhperf6
Anhperf6Anhperf6
Anhperf6
 
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัยFulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
 
Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1
 
Biology m4
Biology m4Biology m4
Biology m4
 
บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖
บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖ บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖
บทความเชียงใหม่สัตวเเพทยสาร ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖
 
วัยใส ใส่ใจสุขภาพ
วัยใส ใส่ใจสุขภาพวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
วัยใส ใส่ใจสุขภาพ
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
 
แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.
 
สารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อม
สารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อมสารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อม
สารก่อมะเร็งปอดในสิ่งแวดล้อม
 
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
 

การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf

  • 1. การวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย นางสาววนิดา คำเกิด รหัสนักศึกษา 62190240370 นายธีระยุทธ ไทยลือนาม รหัสนักศึกษา 62190240220 รายวิชา 1902 408-59 การวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • 2. ใบรับรองการวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ชื่อเรื่อง การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสมกากเสียอินทรีย์ จากระบบบำบัดน้ำเสีย ชื่อผู้ทำการวิจัย นางสาววนิดา คำเกิด รหัสนักศึกษา 62190240370 นายธีระยุทธ ไทยลือนาม รหัสนักศึกษา 62190240220 อาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ………………………………………….……………......อาจารย์ที่ปรึกษา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิชัย ใจขาน) ….……………………………………………………….…กรรมการสอบ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ทองดำรงธรรม) …..……………………………………………………….…กรรมการสอบ (นายนุกุล มงคล) ลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • 3. ก นางสาววนิดา คำเกิด และ ธีระยุทธ ไทยลือนาม [2565]. การผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากเศษผลไม้ผสม กากของเสียอินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย การวิจัยในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิชัย ใจขาน คำสำคัญ: ไส้เดือนดิน,ปุ๋ยไส้เดือนดิน,ของเสียอินทรีย์,ระบบบำบัดน้ำเสีย,การเจริญเติบโตไส้เดือนดิน อัตราการย่อยสลายชองเสียอินทรีย์ บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องแนวการผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากของเสียอินทรีย์ของระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นงานวิจัยเชิง ทดลอง (Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและการย่อยสลายของของเสีย อินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วยของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน 3 ชุดการ ทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุมใช้เศษผลไม้(แตงโม)ไม่มีการเติมของเสียอินทรีย์ ชุดทดลองที่ 1 ใช้เศษผลไม้ (แตงโม) ผสมกับของเสียอินทรีย์อัตราส่วน 5/1000 กรัม และชุดทดลองที่ 2 ใช้เศษผลไม้ (แตงโม) ผสมกับของเสีย อินทรีย์อัตราส่วน 10/1000 กรัม การทดลองละ 3 ลิ้นชัก ลิ้นชักละ 300 กรัม เป็นทั้งหมด 9 ลิ้นชัก เก็บข้อมูล โดยใช้แบบบันทึกการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนักของไส้เดือนดิน จำนวนของไส้เดือนดิน และน้ำหนักเฉลี่ยต่อ ตัวของไส้เดือนดิน และแบบบันทึกสภาพแวดล้อมในการทดลอง ได้แก่ pH , ความชื้น , และอุณหภูมิ บันทึก ข้อมูลทุก 15 วัน ทดลองเป็นระยะเวลา 90 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยที่มากที่สุดคือชุดทดลองที่ 1 มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 10.1±8.96 กรัม รองลงมาคือ ชุดทดลอง 2 และชุดควบคุม มีค่าเฉลี่ย 8.3±7 และ 5.2±4.51 ตามลำดับ จำนวนเฉลี่ยที่มาก ที่สุดคือชุดทดลองที่ 1 จำนวนเฉลี่ยที่มากที่สุดคือชุดทดลองที่ 1 มีจำนวนไส้เดือนดินเฉลี่ย 54.1±16.5 ตัว รองลงมาคือ ชุดทดลอง 2 และชุดควบคุม มีค่าเฉลี่ย 39.4±3 ตัว และ 26.1±10.15 ตัว ตามลำดับ น้ำหนักตัว เฉลี่ยที่มากที่สุดคือชุดทดลองที่ 2 มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 0.33±0.48 กรัม/ตัว รองลงมาคือชุดควบคุม และชุด ทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 0.21.±0.06 กรัม/ตัว และ 0.18±0.07 กรัม/ตัว ตามลำดับ ชุดทดลองที่มีอัตราการย่อย สลายมากที่สุดคือ ชุดควบคุม ที่มีอัตราการย่อยเฉลี่ยสลายอยู่ที่ 0.8 กรัม/วัน/ตัว รองลงมาคือ ชุดทดลอง 2 และชุดทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 0.56 กรัม/วัน/ตัว และ 0.23 กรัม/วัน/ตัว ตามลำดับผลผลิตที่ได้เป็นปุ๋ยมูล ไส้เดือนดินที่มีน้ำหนักมากกว่า 900 กรัมต่อทุดการทดลอง กองบริหารกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวิธีการลดของเสียอินทรีย์โดยนำมาใช้ประโยชน์เพื่อในรูปของปุ๋ยมูล ไส้เดือนดินได้
  • 4. ข Ms. Wanida Khamkerd and Teerayut Thaileunam [2022]. Production of vermicompost from fruit scraps mixed with organic waste from wastewater treatment systems. environmental health research Bachelor of Science Program Department of Environmental Health College of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani Advisor: Asst. Prof. Sittichai Chaikan Keywords: earthworms, earthworm fertilizer, organic waste, wastewater treatment system, earthworm growth, organic waste decomposition rate Abstract Research on the production of vermicompost from organic waste of wastewater treatment system It's an experimental research. This experimental research aims to study the growth and decomposition of organic wastes of mineral eyeworms (Perionyx sp.1) fed with 3 different organic wastes. Use fruit scraps (watermelon) without adding organic waste. Experiment set 1 uses fruit scraps (watermelon) mixed with organic waste at a ratio of 5/1000 grams and experiment set 2 uses fruit scraps (watermelon) mixed with waste. Organic ratio 10/1000 g. Each experiment was 3 drawers, 300 g each, total of 9 drawers. number of earthworms and average body weight of earthworms and the experimental environment record form, i.e. pH, humidity, and temperature, was recorded every 15 days for a period of 90 days. Data were analyzed using descriptive statistics, i.e. mean and standard deviation. The study found that The highest mean weight was experimental set 1 with an average weight of 10.1±8.96 g, followed by experimental set 2 and control with an average of 8.3±7 and 5.2±4.51, respectively. 1 The highest average number was experimental set 1 with an average number of earthworms 54.1±16.5 individuals, followed by experimental set 2 and control with an average of 39.4±3 individuals and 26.1±10.15 individuals, respectively. was the second experimental set with an average body weight of 0.33±0.48 g/each, followed by the control set. and experimental set 1 had an average of 0.21.±0.06 g/animal and 0.18±0.07 g/animal, respectively. The experimental set with the highest degradation rate was the control set with an average degradation rate of 0.8 g/day. /animal, followed by experimental set 2 and experimental set 1, with an average of 0.56 g/day/animal and 0.23 g/day/pcs, respectively, with vermicompost yields weighing more than 900 g per each experiment. Division of Physical and Environmental Administration Ubon Ratchathani University It can be applied as a way to reduce organic waste by using it in the form of vermicompost.
  • 5. ค กิตติกรรมประกาศ การวิจัยครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยการ ความช่วยเหลือ และคำชี้แนะจากอาจารย์หลายๆท่าน ซึ่งให้การ สนับสนุนผู้วิจัยตั้งแต่เริ่มต้นงานวิจัยจนงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิชัย ใจขาน ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยนี้ ที่สละเวลาใน การให้คำแนะนำ และให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับแนวทางการทำวิจัย ทำให้ผู้วิจัยได้รับข้อมูลที่ ครบถ้วน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลได้ ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ทองดำรงธรรม และ นายนุกุล มงคล กรรมการสอบ วิจัย ที่ให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อให้วิจัยนี้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณ นายนุกุล มงคล ตำแหน่งหัวหน้างานบำบัดน้ำเสียและขยะมูลฝอย ให้ความรู้ คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในด้านการจัดเตรียมพื้นที่ในการวิจัย บริเวณโรงบำบัดน้ำ เสียของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการของ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการ สาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ให้ความรู้ คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในด้าน อุปกรณ์ และเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์ คณะผู้ทำวิจัย นางสาว วนิดา คำเกิด นาย ธีระยุทธ ไทยลือนาม
  • 6. ง สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ก บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ ง สารบัญตาราง ฉ สารบัญรูปภาพ ซ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 คำถามการวิจัย 2 1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 2 1.5 คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย 3 บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ไส้เดือน 4 2.2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน 14 2.3 ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน 19 2.4 คุณสมบัติของเศษผลไม้ 19 2.5 คุณสมบัติของไขมัน 19 2.6 ข้อมูลทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชานี 21 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 22 2.8 สรุปการทบทวนวรรณกรรม 24 2.9 กรอบแนวคิด 25 บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 3.1 รูปแบบการวิจัย 26 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 26 3.3 เครื่องมือที่ใช้ 26 3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 26 3.5 วิธีการทดลอง 27 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 30
  • 7. จ สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ผลการศึกษา 4.1 ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน 31 4.2 การเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) 32 ที่เลี้ยงด้วยอาหารเศษอาหารและของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน 4.3 อัตราการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) 35 ที่เลี้ยงด้วยอาหารเศษอาหารและของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน 4.4 ผลผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน 36 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล 5.1 สรุปผลการวิจัย 37 5.2 อภิปรายผลการวิจัย 38 5.3 ข้อเสนอแนะและการนำไปใช้ประโยชน์ 40 บรรณานุกรม 41 ภาคผนวก 43 ภาคผนวก ก 44 ภาคผนวก ข 50
  • 8. ฉ สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 2-1 ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดินจำพวกลัมบริซิด 3 กลุ่มใหญ่ของ Bouche 5 ตารางที่ 4-1 ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน 31 ตารางที่ 4-2 การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของไส้เดือนดินในแต่ละชุดการทดลอง 32 ตารางที่ 4-3 การเปลี่ยนแปลงจำนวนของไส้เดือนดินในแต่ละชุดการทดลอง 33 ตารางที่ 4-4 การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักเฉลี่ยต่อจำนวนตัวของไส้เดือนดินในแต่ละชุดการทดลอง 34 ตารางที่ 4-5 อัตราการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินในลิ้นชัก 35 ตารางที่ 4-6 ภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดินวันที่ 90 ของ ทั้ง 3 ชุดการทดลอง 36
  • 9. ช สารบัญรูปภาพ หน้า ภาพที่ 2-1 อายชิเนีย ฟูทิดา (Bisenia foetida) 6 ภาพที่ 2-2 ยูตริลลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae) 7 ภาพที่ 2-3 ลัมบริคัสรูเบลลัส (Lumbricus rebellus) 8 ภาพที่ 2-4 เพอริโอนีกซ์ (Perionyx sp.) 8 ภาพที่ 2-5 ฟีเรททิมา โพสธูมา (Pheretima posthuma) 9 ภาพที่ 2-6 ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris) 9 ภาพที่ 2-7 โพลิฟเรททิมา อีลองกาตา (Polypheretimza elongate) 10 ภาพที่ 2-8 เดนโตรแบนา วีนาตา (Dendrobaena veneta) 10 ภาพที่ 2-9 เพอริโอนีกซ์ เอกซ์คาวาตัส (Perionyx excavatus) 11 ภาพที่ 2-10 วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน 11 ภาพที่ 2-11 การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังหรืออ่างพลาสติก 14 ภาพที่ 2-12 การเพาะเลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก 15 ภาพที่ 2-13 การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์ 16 ภาพที่ 2-14 การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือนขนาดเล็ก 17 ภาพที่ 2-15 แผงผังมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 21 ภาพที่ 2-16 ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศทรงแคปซูล 21 ภาพที่ 3-17 ตู้ลิ้นชักพลาสติดที่เจาะรูแล้ว 27 ภาพที่ 3-18 โรงเรือนสำหรับเพราะเลี้ยงไส้เดือนดิน 27 ภาพที่ 3-19 ดินและมูลวัวนมโค 28 ภาพที่ 3-20 มูลวัวนมโคและดินผสมกันกับน้ำจนปั้นเป็นก้อนได้ 28
  • 10. บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นสถาบันการศึกษาที่ประกอบด้วยนักศึกษาและบุคลากรจำนวนมาก โดย ในปี 2562 มีนักศึกษาทั้งหมด16,651และบุคลากร ทั้งหมด 1501 คน (กองแผนงานสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2562) และมีโรงอาหารกลางซึ่งเป็นสถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหารที่เป็นของ มหาวิทยาลัย มีผู้เข้าใช้บริการ คือ บุคลากร นักศึกษา บุคคลทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี โดยมีการประกอบอาหารและล้างทำความสะอาดภาชนะทุกวัน ทำให้เกิดน้ำเสียประกอบด้วย เศษอาหาร คราบน้ำมันและไขมัน รวมไปถึงการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ติดจากการล้างภาชนะ (พงศธร ทวี ธนวาณิชย์ และ ทองปักษ์ ดอนประจำ, 2563) พบว่า ปริมาณมีน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงอาหาร แห่งนี้ ประมาณ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (นุกูล มงคล, 2563) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้มีการติดตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับศูนย์อาหารกลาง คือ ระบบปิดแบบเติมอากาศ ร่วมกับการบำบัดขั้นต้นโดยการ กรองเศษอาหารที่มากับน้ำก่อนปล่อยไปยังบ่อดักไขมัน จากนั้นน้ำจะเข้าสู่ถังบำบัดน้ำเสียทรงแคปซูลชนิด บำบัดเติมอากาศ ฝังอยู่ใต้ดินจำนวน 3 ถัง จากนั้นน้ำจะเข้าบ่อที่มีหินกรองและไหลต่อไปยังบึงประดิษฐ์ หลัง การบำบัดจะมีการปล่อยน้ำทิ้งไปยังสระน้ำ 70 ไร่ โดยระบบบำบัดน้ำเสียบริเวณโรงอาหารกลางมีการติดตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2560 การจัดการกากไขมันจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงอาหารกลางมหาวิทยาลัยมีวิธี คือ การดัก กากไขมันจากถังดักไขมันเพื่อนำไปฝังกลบโดยไม่มีการแปรสภาพหรือนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่น โดยมี ปริมาณของเสียที่ไม่ถูกจัดการให้มีการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของกากไขมันโดยปริมาตรเปียก ประมาณ 50-100 ลิตรต่อวัน (ในช่วงที่มีการเรียนการสอนตามปกติ) ซึ่งยังไม่มีการน้ำไปใช้ประโยชน์และยังไม่ มีการกำจัดแบบถูกสุขาภิบาล หากไม่มีการนำของเสียอินทรีย์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิด การเน่าเหม็นและส่งกลิ่นรบกวนในบริเวณโดยรอบได้ ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยกระบวนการผลิตเกิดจาก การนำขยะอินทรีย์ไปเป็นอาหารในการเลี้ยงไส้เดือนดิน ผ่านกระบวนการย่อยสลายขยะอินทรีย์ ภายในลำไส้ ของไส้เดือนดินแล้วจึงขับถ่ายเป็นมูลและฉี่ออกมาทางรูทวาร ไส้เดือนดินสามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ได้แก่ ไส้เดือนดินสีแดง และ ไส้เดือนดินสีเทา สายพันธ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ส่วนมากเป็นไส้เดือนดินกลุ่ม ผิวดินที่มีลําตัวสีแดงไม่เกิน 15 ชนิด ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์จะเป็นไส้เดือนดินสี แดงที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์หรือใต้กองขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ซึ่งจะเป็นไส้เดือนดินกลุ่มผิวดินที่กินอินทรีย์วัตถุ มากกว่ากินดิน ซึ่งปุ๋ยมูลไส้เดือนมีธาตุอาหารพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่มีส่วนช่วยสร้าง ดอกติดผลในกลุ่มไม้ดอกและไม้ผล เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในแปลงได้ นอกจากจัดการขยะอินทรีย์ได้แล้ว ยังสามารถปรับปรุงดินได้ไปพร้อมๆกัน (อานัฐ ตันโช, 2563) ประเทศไทยนิยมใช้ไส้เดือนดินสีแดงซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมูลวัวชาวบ้านเรียกว่า “ขี้ตาแร่” หรือ “Perionyx sp.” มีลำตัวกลมขนาดใหญ่ปานกลางซึ่งสามารถย่อยสลายของเสียอินทรีย์และแพร่พันธุ์ได้ดี
  • 11. 2 เช่นกันกับสายพันธุ์การค้าในต่างประเทศ และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในประเทศไทยได้ ดีกว่าสายพันธุ์ทางการค้าจากต่างประเทศ สามารถพบได้ในธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นในฟาร์มวัวนม และบริเวณซักล้างที่มีเศษอาหาร จึงมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ได้ดีและมีความต้องการความชื้นสูงในการอยู่อาศัย สามารถทนอยู่ในน้ำขังได้นานกินขยะอินทรีย์ที่เน่าสลายได้ หลากหลายชนิด จึงเป็นตัวเลือกที่นิยมนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์อย่างกว้างขวาง ไส้เดือนสายพันธ์ขี้ตาแร่ สามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีเทียบเท่ากับสายพันธุ์การค้าโดยผลผลิตมูลไส้เดือนที่ได้นำมาตรวจวัดคุณค่า ธาตุอาหารพืช ประกอบด้วย ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ได้สูงกว่าร้อยละ 50 (อานัฐ ตันโช, 2550) โดยจาการศึกษาของ (Wani, 2002) ไส้เดือนดินจะกินกากของเสีย เศษอินทรียวัตถุ ทั้ง เศษซากไม้ ใบไม้ มูลสัตว์ และเศษอินทรียวัตถุอื่นๆ และจะสามารถขับถ่ายสารอินทรีย์ออกมาได้ประมาณ 40- 60 % ไส้เดือนดินโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 0.5-0.6 กรัม ไส้เดือดินจะกินซากอินทรีย์เท่ากับน้ำหนัก ของตัวมันและจะผลิตสารอินทรีย์เป็นขุย ออกมาประมาณ 50 % ของที่กินเข้าไปในแต่ล่ะวัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาแนวการผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากของเสียอินทรีย์ของระบบ บำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.) เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดการจัดการของเสียอินทรีย์อย่างเหมาะสมมากขึ้น และส่งเสริมการนำกากไขมันซึ่งเป็น ของเสียอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ อันจะสามารถนำไปสู่การเพิ่มการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มากขึ้น 1.2 คำถามของการวิจัย 1. การเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วยเศษผลไม้และกาก ของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรเป็นอย่างไร 2. อัตราการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วย เศษผลไม้และกากของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรเป็นอย่างไร 3. ปริมาณปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจากที่เลี้ยงด้วยเศษผลไม้และกากของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรเป็นอย่างไร 1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยงด้วยเศษผลไม้ และของเสียอินทรีย์ที่แตกต่างกัน 2. เพื่อศึกษาการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ของไส้เดือนดินสายพันธ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ที่เลี้ยง ด้วยเศษผลไม้และกากของเสียอินทรีย์ในแต่ละสูตรที่แตกต่างกัน 1.4 ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยการนำของเสียอินทรีย์ ได้แก่ ของเสียอินทรีย์ของถังดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาใช้เป็นส่วนผสมในการเลี้ยงใส้เดือนดินเพื่อ ผลิตปุ๋ยจากมูลใส้เดือนดิน โดยใช้ใส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1)
  • 12. 3 1.5 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1) ไส้เดือนดิน หมายถึง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มี ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดินใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน โดยในงานวิจัยครั้งนี้ คือ สายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) ได้มาจากโครงการสร้างธุรกิจสีเขียวผ่านการแปลง ขยะในระบบอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพในจังหวัดอุบลราชธานี 2) ปุ๋ยไส้เดือนดิน หมายถึง ปัสสาวะและมูลของใส้เดือนดินที่มีลักษณะเป็นเม็ดร่วนละเอียดสีดำ ที่มี ธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยในงานวิจัยครั้งนี้ คือ มูลของใส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.1) 3) ของเสียอินทรีย์ หมายถึง กากของเสียจากบริเวณผิวน้ำถังดักไขมันระบบบำบัดน้ำเสีย โรงอาหาร กลางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4) ระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึง สถานที่สำหรับปรับสภาพน้ำเสียให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นก่อนระบายเป็น น้ำทิ้งสู่ภายกนอก โดยในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5) การเจริญเติบโตไส้เดือนดิน หมายถึง ความเปลี่ยนแปลงของไส้เดือนดินหลังทำการเลี้ยงด้วย อาหารในสัดส่วนต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น เป็นระยะเวลา 0, 15, 30, 45, 60, 75, และ 90 วัน โดยวัดจาก ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไส้เดือน สี น้ำหนัก (กรัม/ตัว) 6) อัตราการย่อยสลายชองเสียอินทรีย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอาหารในการเลี้ยง ไส้เดือนดินที่ถูกย่อยสลายทางชีวภาพในการดำรงชีวิตโดยวัดเป็นอัตราการย่อยสลายเป็นหน่วย (กรัม/วัน/ตัว)
  • 13. บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยการนำเอาของเสียอินทรีย์ ได้แก่ กากไขมันจากถังดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงอาหารกลางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาใช้เป็นส่วนผสมอาหารในการเลี้ยงใส้เดือนดิน โดยมีการศึกษาวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 ไส้เดือนดิน 2.2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน 2.3 ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน 2.4 คุณสมบัติของเศษผลไม้ 2.5 คุณสมบัติของไขมัน 2.6 ข้อมูลทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสียโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชานี 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.8 สรุปการทบทวนวรรณกรรม 2.9 กรอบแนวคิด 2.1 ไส้เดือนดิน 2.1.1 ความหมาย ไส้เดือนดินถูกจัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (Kingdom: Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida) ชั้นโอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order Opisthopora) สำหรับวงศ์ (Family) ของ ไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ ที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ 2.1.2 ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินเป็นโอลิโกคีตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีประมาณ 500 ชนิด ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ไฟลั้มแอนนิลิดา (Phylum Annelida) ชั้นโอลิโกคีตา (Class : Oligochaeta) อันดับ โอพิสโธโพรา (Order : Opisthopora) นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป การจำแนก สายพันธุ์ของไส้เดือน ดินอยู่ในอันดับโอพิสโธโพราทั้งหมด 21 วงศ์ ไส้เดือนดินจะดำรงชีวิตอยู่ใน ดินลึกประมาณ 12-18 นิ้ว ซึ่งมีสารอินทรีย์และความชื้นพอเหมาะในเวลาที่อากาศร้อนจัดอาจไส้เดือนดิน อาจจะขุดลึกลงไปและ ม้วนตัวเป็นก้อนกลม การที่ไส้เดือนดินชอนไซไปตามดินทำให้ดินร่วนซุย นอกจากนี้ ไส้เดือนดินกินอาหาร โดยการกินดินเข้าไปเพื่อดึงสารอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์์ แล้วจึงขับถ่ายดินออกมา มี ไส้เดือนดินเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น ที่สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรีย์วัตถุสูง และ สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วไส้เดือนดินที่มีขนาดใหญ่และขุดโพรงลึกไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้
  • 14. 5 ในการกำจัดขยะ เนื่องจากจะมีอัตราการขยายพันธุ์ต่ำ ไม่สามารถที่จะผลิตอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่มากได้ และเป็นผู้ใบริโภคมากกว่าที่จะเป็นผู้ผลิตอินทรีย์วัตถุในการย่อยอินทรีย์ที่เป็นของเสีย ไส้เดือนดินชนิดที่ใช้ กำจัดของเสียอินทรีย์จะกินจุลินทรีย์ ซึ่งเจริญเติบโตบนของเสียเป็นอาหาร ในขณะเดียวกันก็ช่วยเร่งกิจกรรม ของจุลินทรีย์ดังนั้นมูลของไส้เดือนดินจึงร่วน ไม่เกาะตัวเป็นก้อน และมีจุลินทรีย์มากกว่าที่กินเข้าไป ไส้เดือน ดินสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามพฤติกรรมในเชิงนิเวศ ดังนี้ (สามารถ ใจเตี้ย, 2558) ตารางที่ 2-1 ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดินจำพวกลัมบริซิด 3 กลุ่มใหญ่ของ Bouche ลักษณะ ไส้เดือนดินในกลุ่ม Epigeic ไส้เดือนดินในกลุ่ม Anecic ไส้เดือนดินในกลุ่ม Endogeic อาหาร เศษอินทรีย์วัตถุที่เน่า เปื่อยบริเวณผิวดิน เศษ ซากพืชที่ไม่มีส่วนผสมของ ดิน เศษอินทรีย์วัตถุ ที่เน่า เปื่อย บริเวณผิวดินและ ดิน แร่ธาตุในดินและ อินทรีย์วัตถุบริเวณผิวดิน รงควัตถุ มีสีเข้มทั้งบริเวณด้านหลัง และด้านท้อง สีปานกลาง สีเข้มเฉพาะ บริเวณด้านหลัง ไม่มีสี หรือมีสีจาง ขนาดของตัวเต็มวัย ตัวเล็ก-ตัวปานกลาง ตัวใหญ่ ตัวปานกลาง การขุดรู ไม่มีรู แต่บางครั้งจะขุดรู อยู่บริเวณผิวดินไม่ลึกมาก มีรูขนาดใหญ่และเป็นรู ถาวร และขุดลึกลงไปใน ดิน เป็นรูที่ยาวต่อเนื่องกัน และยาวตามแนวนอน การเคลื่อนที่ เคลื่อนที่ได้เร็วมากใน ขณะที่ถูกกระตุ้น เขื่อนที่ไหนรู้ได้อย่าง รวดเร็ว แต่บริเวณผิวดิน จะช้ากว่าพวกที่อยู่ผิวดิน ค่อนข้างเฉื่อย ช้า ความยืดยาวของอายุ อายุค่อนข้างสั้น อายุค่อนข้างยาว ปานกลาง ระยะเวลาผสมพันธุ์ สั้น ยาว สั้น การดำรงชีวิตในช่วงแห้ง แล้ง ดำรงชีวิตในระยะถุงไข่ เข้าสู่ระยะพักตัวหยุดนิ่ง กิจกรรมต่างๆ เข้าสู่ระยะหยุดนิ่งกิจกรรม ต่างๆแบบชั่วคราว การถูกล่าเป็นอาหาร ถูกล่าโดยนกหลายชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ แมลงต่างๆ ถูกล่าในอัตราที่สูง โดยเฉพาะขณะที่อยู่ บริเวณผิวดิน ถูกล่าน้อย โดยสัตว์ที่อยู่ อาศัยในดิน ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2560)
  • 15. 6 2.1.3 สายพันธุ์ใส้เดือนดิน ไส้เดือนดินแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไส้เดือนดินสีเทาและไส้เดือนดินสีแดง โดยไส้เดือนดินสีเทาเป็น ไส้เดือนดินที่มีขนาดใหญ่ กินอาหารน้อย และแพร่พันธุ์ได้น้อย ส่วนไส้เดือนดินสีแดงจะมีขนาดเล็กกว่า ไส้เดือนดินสีเทา ลำตัวมีสีแดง อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่มีแหล่งอาหารและความชื้นสูงตลอดปี กินอาหาร เก่ง แพร่พันธุ์ได้เร็ว เหมาะสำหรับใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์ สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์มี ประมาณ 9 ชนิด ดังนี้ (อานัฐ ตันโช, 2563) 1.) อายชิเนีย ฟูทิดา (Bisenia foetida) ชื่อสามัญ The Tiger worm, Manure worm, Compost worm ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร มีร่องระหว่างปล้อง และบริเวณปลายหางบางมีสีเหลือง มีอายุ ยืนยาว 4-5 ปี แต่มักจะอยู่ได้ 1-2 ปี ในสภาพที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์ม สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ สร้างถุงไขได้โดยเฉลี่ย ประมาณ 150-198 ถุง/ตัว/ปี สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32-40 วัน, โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัวถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 3-6 เดือน อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซาก อินทรียวัตถุที่เน่าสลายแล้วและมี ธนุภาคขนาดเล็ก เป็นไส้เดือนสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด มีปล้อง แต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และมีกลิ่นตัวที่รุนแรง โดยทั่วไป ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกามักจะใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida หรือ สายพันธุ์ใกล้เคียงกัน คือ สายพันธุ์ Eisenia andrei ในการกำจัดขยะอินทรีย์ เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่ทั่วไปในบริเวณ ที่มีขยะอินทรีย์อยู่ โดยพวกมันจะสร้างกลุ่มและเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น มีความทนทานต่อ ช่วงอุณหภูมิที่กว้าง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้น ได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็น ไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีมากและเลี้ยงง่าย เหมาะสมในการนำมาเลี้ยงเพื่อกำจัด ขยะอินทรีย์ได้หลายชนิดที่ปะปนกัน เมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์อื่นภายในฟาร์ม พบว่า จะมี ความทนทานมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่น ๆ มีอัตราส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้นของไส้เดือนสายพันธุ์ Eisenia foetda อยู่เป็นจำนวนมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นที่เลี้ยงพร้อมกัน ดังนั้นจึง สามารถนำมาเลี้ยงใช้กำจัดขยะ อินทรีย์ได้ดี ภาพที่ 2-1 อายชิเนีย ฟูทิดา (Bisenia foetida) ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
  • 16. 7 2.) ยูตริลลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae) ชื่อสามัญ African night crawler ลำตัวมีขนาด 130-250 x 5-8 มิลลิเมตรลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทาสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสม พันธุ์ใต้ดินสร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162-188 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13-27 วัน, โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 10-12 เดือนอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซาก อินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหารมีอายุยืนยาว 4-5 ปี ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและไต่ขึ้นขอบบ่อได้ดีในต่างประเทศมีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่าง กว้างขวางไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมี ขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์สูงมากแต่มีข้อเสียคือไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เจริญเติบโตภายใต้อุณหภูมิจำ เพาะเลี้ยงยากสำหรับด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลาย ขยะในปริมาณมากได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ในเขตร้อนซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้าง ร้อนโดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศา เซลเซียส ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือง ที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้สำหรับการเลี้ยงแบบภายนอกโรงเรือนจะเหมาสม กับเฉพาะพื้นที่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนเท่านั้น ภาพที่ 2-2 ยูตริลลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae) ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547) 3.) ลัมบริคัสรูเบลลัส (Lumbricus rebellus) ชื่อสามัญ Red worm, Red Marsh worm, Red wriggler ลำตัวมีขนาด 60-150 x 4-6 มิลลิเมตรผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่อง ระหว่างปล้องมีสีเหลืองเป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์กินเศษซาก พืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหารสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริงจับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79-106 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 27-45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 179 วันมีชีวิตยืนยาว 2-3 ปีเป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวแบนและมีลำตัวขนาด กลางไม่ใหญ่มาก แต่ใหญ่กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์อายซิเนีย ฟูทิตา ในขณะเดียวกันเล็กกว่าไส้เดือนดินสาย พันธุ์แอฟริกันไนท์ คลอเลอร์ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์
  • 17. 8 หรือกากสิ่งปฏิกูล ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื่นในช่วงกว้าง ไม่ค่อย เคลื่อนไหวมาก กินเศษชากอินทรีย์วัตถุได้มาก และเจริญเติบโดเร็ว ถือเป็นไส้เดือนดินพันธุ์การค้าที่มีความ เหมาะสมและนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิดเป็นปุ๋ยหมักในต่างประเทศ ภาพที่ 2-3 ลัมบริคัสรูเบลลัส (Lumbricus rebellus) ที่มา : ( อานัฐ ตันโซ, 2547) 4.) เพอริโอนีกซ์ (Perionyx sp.) ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่ ลำตัวมีขนาด 130-200 x 5-6 มิลลิเมตรลำตัวมีสี น้ำตาลแดงเข้มสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดินสร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 24-40 ถุง/ ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25-30 วัน, โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 5-6 เดือนอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลาย และมูลสัตว์เป็น อาหารมีอายุยืนยาว 2-4 ปี เป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไส้เดือนดิน สายพันธุ์แอฟริกันไนท์ ครอเลอร์ พบได้ทั่วไปในแถบเอเชีย ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดกลางอาศัยอยู่ ในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมาก เช่น ใต้กองปุ๋ยหมัก ใต้กองมูลวัวในโรงเลี้ยงวัวนม ใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้ง โดยจะ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึก ลักษณะพิเศษ ของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ คือ มีความตื่นตัวสูงมาก เมื่อถูกจับตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนี อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การนำไปใช้กำจัดขยะอินทรีย์ พบว่า ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้สามารถกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผักและผลไม้ได้อย่างรวดเร็ว จากการทดลองนำ ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มากำจัดขยะอินทรีย์ เช่น มูลวัวสด เศษต้นกล้วย หรือเปลือกแตงโม พบว่า สามารถถูกย่อย หมดอย่างรวดเร็ว และยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ภาพที่ 2-4 เพอริโอนีกซ์ (Perionyx sp.) ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
  • 18. 9 5.) ฟีเรททิมา โพสธูมา (Pheretima posthuma) ชื่อท้องถิ่น ขี้คู้ ลำตัวมีขนาด 200-250 x 6-10 มิลลิเมตรลำตัวมีสีเทา วาว สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอาศัยอยู่บริเวณผิวดินใน ฤดูฝน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่า เปื่อย และในฤดูร้อนหรือฤดูหนาวจะอาศัยอยู่ในดินที่ลึกลงไปและ กินดินหรืออินทรียวัตถุในดินที่เน่าสลายเข้า สู่สภาพการหยุดนิ่ง ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมมีอายุยืนยาวหลายปี ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มักพบอยู่ ในดินภายในสวนสนามหญ้าหรือ พื้นดินในป่า ซึ่งลำตัวจะมีสีเทาผิวลำตัวเป็นมันวาวสะท้อนกับแสงอาทิตย์จะ ออกเป็นสีรุ้ง เมื่อจับจะดิ้นอย่างรุนแรง และเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมาก แพร่พันธุ์และเจริญเติบโตได้น้อย อาศัย อยู่ในดินที่ค่อนข้างลึก และจะขุดรูแบบชั่วคราวอาศัยอยู่ในดิน จากลักษณะนิสัยดังที่กล่าวไส้เดือนดินสายพันธุ์ นี้ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ เนื่องจากสภาพความเข้มข้นของขยะอินทรีย์ไม่ เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้แต่เหมาะกับการปรับปรุงดินในพื้นที่ทางการเกษตร และใช้ เป็นโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์เพื่อเพิ่มน้ำหนักก่อนส่งจำหน่าย ภาพที่ 2-5 ฟีเรททิมา โพสธูมา (Pheretima posthuma) ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557) 6.) ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris) ชื่อสามัญ Nightcrawler ลำตัวมีขนาด 6-10 มิลลิเมตรผิวบริเวณท้องมีสีเทาขุ่น ผิวบริเวณด้านหลังมีสีเทาเป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม แอนเนชิคกินเศษซากใบไม้ ที่เน่าเปื่อยที่อยู่ใต้ดินและดินบางส่วนเป็นอาหารอาศัยอยู่ในรูที่ถาวร ที่ความลึก 2.4 เมตรสืบพันธุ์โดยอาศัย เพศอย่างแท้จริงสร้างถุงไข่ได้ 38 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาเติบโตเต็มวัย 350 วันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 862-887 วัน หรือมากกว่า 6 ปี สามารถแพร่กระจายกลุ่มได้ประมาณ 3-5 เมตร/ปี ภาพที่ 2-6 ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris) ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557)
  • 19. 10 7.) โพลิฟเรททิมา อีลองกาตา (Polypheretimza elongate) ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เคยถูกนำมาทดลองใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ เช่น ขยะจากเทศบาล ขยะหรือของเสียที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์สิ่งขับถ่ายจากมนุษย์ สัตว์ปีก มูลวัว และเศษเหลือทิ้งจากการผลิตเห็ดใน อินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียได้ใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในการทำปุ๋ยหมักทางการค้า ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ พบเฉพาะในเขตร้อน และไม่สามารถดำรงชีวิตได้ในเขตหนาว ภาพที่ 2-7 โพลิฟเรททิมา อีลองกาตา (Polypheretimza elongate) ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557) 8.) เดนโตรแบนา วีนาตา (Dendrobaena veneta) ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดใหญ่ และมี ศักยภาพเพียงพอสำหรับนำไปใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ มักอาศัยอยู่ใน ดินลึก เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ช้า ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จึงไม่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ ภาพที่ 2-8 เดนโตรแบนา วีนาตา (Dendrobaena veneta) ที่มา : (สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และ สุชาดา สานุสันต์, 2557) 9.) เพอริโอนีกซ์ เอกซ์คาวาตัส (Perionyx excavatus) ชื่อสามัญ Indian blue ตัวเล็กผอม ยาว ประมาณ 8 เซนติเมตร ลำตัวสีแดงเหลือบม่วงน้ำเงินจึงได้ชื่อว่า Indian Blue worm ถิ่นกำเนิด อินเดีย ฟิลิปปินส์ เป็นไส้เดือนดินในเขตร้อน ซึ่งขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเลี้ยงง่ายเหมือนกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida การแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักทำได้ง่าย แต่มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ค่อนข้างต่ำในเขตหนาว ในสภาพเขตร้อนจะเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดิน
  • 20. 11 สายพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่พบทั่วไปในเอเชีย ได้มีการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูล ไส้เดือนดินในประเทศฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์พีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana) เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายในระดับครัวเรือน เพื่อขายตัวไส้เดือนดินและปุ๋ย หมัก (สามารถ ใจเตี้ย, 2558) ภาพที่ 2-9 เพอริโอนิกซ์ เอกซ์คาวาตัส (Perionyx excavatus) ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547) 2.1.4 วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน วงจรชีวิตของไส้เดือนดินประกอบด้วยระยะถุงไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะก่อนตัวเต็มวัย และระยะเต็มวัย ไดเทลลัมเจริญเต็มที่ โดยทั่วไปไส้เตือนดินจะจับคู่ผสมพันธุ์บริเวณใต้ดิน ลักษณะการผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน จะนำส่วนท้องที่เป็นส่วนของไดเทลลัมมาแนบติดกันในลักบณะสลับหัวสลับหาง เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์แล้วไส้เดือน ดินแต่ละตัวจะสร้างถุงไข่เคลื่อนผ่านส่วนหัว รับไข่และสเปิร์มข้าไปภายใน และเคลื่อนออกมานอกลำตัวใน บริเวณช่องสืบพันธุ์เพศเมีย ตัวอ่อนพัฒนาอยู่ภายในถุงและฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา ถุงไข่ของไส้เดือนดินจะมี สีเหลืองอ่อน ๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ไส้เดือนดินบางชนิดอาจมีไข่มากถึง 60 ฟอง ดังรูปต่อไปนี้ (อานัฐ ตันโซ, 2547) ภาพที่ 2-10 วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน ที่มา : (อานัฐ ตันโซ, 2547)
  • 21. 12 2.1.5 ศัตรูของไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของผู้ล่าที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งพวกมันมักจะถูกจับกินโดยสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคานหลายชนิด ดังนี้ 1) สัตว์ปีก นก ที่กินไส้เดือนเป็นอาหาร เช่น นกสีดำ นกกระสา นกนางนวล ซึ่งเป็นนกขนาด เล็ก มีขนสีแดงตรงหน้าอก เป็นต้น เป็ด และไก่ 2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เม่น ตัวตุ่น หมาจิ้งจอก และสุกร 3) สัตว์เลื้อยคลาน อย่างเช่น งู จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งกือ ตะเข็บ 4) สัตว์ครึ่งน้ำ ครึ่งบก เช่น กบ คางคก 5) สัตว์พันธุ์แทะ เช่น หนู 6) สัตว์อื่นๆ เช่น ไรแดง มด ตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ทาก 2.1.6 การแพร่พันธุ์ของไส้เดือนดิน การแพร่กระจายของไส้เดือนดินขนอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ปัจจัยทางด้านเคมีและชีวภาพของ ดิน อาหารและความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ศักยภาพในการแพร่พันธุ์และความสามารถ ในการแพร่กระจาย ของไส้เดือนดินแต่ละชนิด เป็นต้น ไส้เดือนดินสามารถอาศัยอยู่ได้ดีในดินที่มีความชื้นมากกว่าในดินที่แห้งและ ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง ลักษณะการกระจายของไส้เดือนดินอาจมีลักษณะเป็นแบบการ กระจายปกติหรือการกระจายแบบสุ่ม หรือเป็นกลุ่ม ประเภทของดินมีผลมากต่อการกระจายในแนวระนาบ ขณะที่ชนิดของอาหารความชื่น และอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายตัวของไส้เดือน ดินแบบแนวดิ่ง (Edwards and Bohlen, 1996; Lavelle et al. 1999; Lee, 1985) ไส้เดือนดินสามารถ แพร่กระจายตัวัหรือเคลื่อนย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานทีหนึ่งได้ 2 แบบ ดังนี้ 1) การแพร่กระจายตัวแบบแอคทีฟเป็นการเคลื่อนย้ายที่อยู่ของไส้เดือนดินบริเวณผิวดินด้วยตัว ไส้เดือนเอง โดยปราศจากสิ่งช่วยใด ๆ ซึ่งการเกิดจะเกิดแบบช้า ๆ ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น สิ่งแวดล้อม ไม่เหมาะสม ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ เช่น ที่อยู่เดิมมีน้ำท่วมขัง แห้งแล้งเกินไป เป็นต้น 2) การแพร่กระจายแบบพาสซีพเป็นการเคลื่อนย้ายตัวของไส้เดือนดินแบบอาศัยสิ่งต่างๆในการนํา พาไส้เดือนไปยังที่อยู่ใหม่โดยที่ตัวไส้เดือนไม่ได้ย้ายที่อยู่ด้วยตัวมันเอง เช่น การย้ายที่อยู่โดยมนุษย์หรือถูก สายน้ำพัดพาในช่วงน้ำฝนตกหนัก หรือถุงไข่ของไส้เดือนดินถูกนำพาไปโดยสัตว์อื่น ๆ เช่น ติดมากับรองเท้า ของมนุษย์ 2.1.7 ประโยชน์ของไส้เดือนดิน ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลําตัวเป็นปล้อง เป็นสัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) ชั้นซีโตโพดา (Class Chaetopoda) ตระกูลโอลิโกซีตา (Order Oligochaeta) (Kozloff, 1990) วงศ์แลมบริซิลี (Family Lambricidae) ซึ่งประเมินกันว่ามีอยู่มากกว่า 800 สกุล 8,000 ชนิด พบกระจายอยู่ ใน ส่วนต่าง ๆ ของโลก ยกเว้นพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศรุนแรง เช่น ทะเลทราย หรือพื้นที่ที่อยู่ใต้หิมะหรือ
  • 22. 13 น้ำแข็งตลอดเวลา ไส้เดือนมีความยาวตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึง 2 เมตร น้ำหนัก ตั้งแต่ 10 กรัม ไปจนเกือบ 1กิโลกรัม และมีขนาดใหญ่ได้ถึง 4 เซนติเมตร (Edwards and Bohlen, 1996; Edwards,2004) ส่วนมาก อาศัยอยู่บนบกในดินที่ค่อนข้างชื่นและมีอินทรียวัตถุ ไส้เดือนดินในเมืองไทยที่สามารถพบได้นั้นมีหลายชนิดแต่ ชนิดที่ใหญ่และหาง่ายตามดินร่วนซุยชื้น ๆ มักเป็นชนิด Pheretima peguana (สุรินทร์ มัจฉาชีพ, 2536) และ (Pheretima posthuman) ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกันมากไส้เดือนดินในยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ เป็นไส้เดือนในวงศ์ Umbricidae (Stephenson, 1930; Kozloff, 1990) และไส้เดือนดินในทวีปแอฟริกา คือ ไส้เดือนดินวงศ์ Eudrilidae (Edwards, 1977) การจำแนกชนิดล่าสุดโดย (Reynolds and Cook, 1993) มีสมาชิกประมาณ 3,500 ชนิด 21วงศ์ หนอนปล้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ไส้เดือนดินออสเตรเลีย Megascolides sp. มีความยาวประมาณ 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวประมาณ 1 นิ้ว มีปล้องประมาณ 250 ปล้อง ชนิดที่พบในไทยได้แก่ Pheretima peguna และ P. posthuma (บพิธและ นันทพร, 2547) ซึ่งมีลกัษณะต่างๆ คล้ายกันมาก (เชาว์และ พรรณี, 2528) สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยและแถบเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ พันธุ์ขี้ตาแร่ (Pheretima peguana) และ พันธุ์ขี้คู้ (Pheretimaposthum) ยังไม่เคยมีรายงานว่าไส้เดือนดินเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคสู่คนหรือสัตว์ เลี้ยงอื่น ๆ ไส้เดือนดินมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ร้อยละ 80 หายใจทางผิวหนัง อ่อนไวต่อแสง ย่อยสลาย อินทรีย์วัตถุได้ทุกชนิด และขับถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยไส้เดือนดินกำเนิดมานานกว่า 600 ล้านปีแล้ว โดยมีบทบาท สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Lavelle et al., 1999) มีการนําไส้เดือน มาประยุกต์ใช้ด้านต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงดิน กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชเป็นอาหารสัตว์การกำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูลเป็นดัชนีในการวัดความเป็นพิษของสารเคมีที่ปนเปื้อนในดินเป็นอาหารของมนุษย์และเป็นยาบา บัดโรคบางชนิดของมนุษย์เป็นต้น (Edwards, 2004) นอกจากนั้นไส้เดือนดินมีความสำคัญต่อความอุดม สมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงสภาพของดินอย่างมากในบรรดาสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังในดินไส้เดือนมีมวล ชีวภาพมากที่สุด นับแต่โบราณกาลไส้เดือนถูกใช้เป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน พื้นที่ใดที่มีไส้เดือน จำนวนมากแสดงว่า ดินแถบนั้นมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุธาตุอาหารของพืชและสภาพที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืชผลเนื่องจาก ไส้เดือนจะกินดินและอินทรียวัตถุในดินช่วยย่อยสลายให้กลายเป็นธาตุ อาหาร ไส้เดือนดินช่วยปรับโครงสร้างทางกายภาพของดิน การไชชอนของไส้เดือนดินในดินทำให้มีช่องระบาย อากาศได้ดีขึ้น ดินมีความพรุนและอ่อนตัวมากขึ้น ขุยไส้เดือนดินสามารถดูดซับน้ำได้เร็วกว่าดินปกติดังนั้นจึง ช่วยเพิ่มความชื้นดิน และเพิ่มความเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น (Edwards and Bohlen, 1996; Lavelle et al., 1999 ; Lee, 1985)
  • 23. 14 2.2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน 2.2.1 สายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในกระบวนการจะเป็นไส้เดือนดินสีแดงที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือใต้กอง อินทรียวัตถุ ซึ่งจะเป็นไส้เดือนดินกลุ่มผิวดินที่กินอินทรียวัตถุ มากกว่ากินดินและแร่ธาตุ โดยสามารถแพร่พันธุ์ ได้รวดเร็วและมีจำนวนมาก ที่สำคัญคือมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้สูง ปัจจุบันไส้เดือน ดินสายพันธุ์ที่มีการนำมาใช้ในในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมัก มูลไส้เดือนดินที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ประกอบด้วยไส้เดือนสายพันธุ์ Tiger worm (Eisenia fetida) , Red Worm (Lumbricus rubellus) , African Nightcrawler (Eudrilus eugeniae) , Indian blue (Perionyx excavatus) , ขี้ตาแร่ (Perionyx sp.) 2.2.2 วิธีการเลี้ยงใส้เดือนดิน 1.) การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังหรืออ่างพลาสติก ภาพที่ 2-11 การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังหรืออ่างพลาสติก ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2551) 1.1 เลือกถังน้ำหรืออ่างน้ำพลาสติกสำหรับใช้เลี้ยงไส้เดือนดินขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่ น้อยกว่า 12 นิ้ว พร้อมอ่างรองน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่พอดีกับ 1.2 เจาะรูกันอ่างหรือถังน้ำเพื่อระบายน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และ เจาะรูฝาปิดถังน้ำ และ แผ่นปิดอ่างน้ำพลาสติก (ฟิวเจอร์บอร์ด) สำหรับ ระบายอากาศ 1.3 ทำพื้นเลี้ยงไส้เดือนดินโดยผสมดินร่วนกับมูลวัว อัตราส่วน 4:1 เพิ่มความชื้น 80-90% ด้วยน้ำ (ปั้นเป็นก้อนได้) 1.4 นำก้อนกรวดขนาดเล็กใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มแบนๆ วางไว้ที่ก้นถังน้ำหรืออ่างน้ำ 1.5 ใส่พื้นเลี้ยงในถังหรืออ่างน้ำหนา 3 นิ้ว
  • 24. 15 1.6 ปล่อยไส้เดือนดินความหนาแน่น อัตรา 1 กิโลกรัม/ 1 ตาราง เมตร (ถังน้ำและอ่างน้ำดู จากเส้นผ่านศูนย์กลางของปากภาชนะ อ่างที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร /ใส่ไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม) 1.7 ปิดฝาถังน้ำหรือแผ่นปิดปากอ่างน้ำที่เจาะรูระบายอากาศไว้เพื่อ ป้องกันการระเหยน้ำ และป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆที่จะเข้าไปในถังน้ำ กันถังหรืออ่างเลี้ยง 1.8 ใส่มูลวัวตรงกลาง 1 กอง เพื่อให้ไส้เดือนดินกินและเป็นการล่อ ให้ไส้เดือนดินอยู่ภายใน ถังไม่หนีออกนอกถังเลี้ยง 1.9 ทาปากถังน้ำหรืออ่างน้ำด้วยน้ำยาล้างจานเข็มข้นหรือสบู่ ป้องกันไม่ให้ไส้เดือนดิน หนี ออกจากถังเลี้ยง (ระวังอย่าให้น้ำยาล้างจาน ย้อยลงไปในพื้นเลี้ยง) 1.10 นำถังเลี้ยงไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด / ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทได้สะดวก (ตั้งบริเวณใกล้ๆ กับห้องครัว) 1.11 ใส่ขยะอินทรีย์ในบ้านให้ไส้เดือนดินย่อยสลาย (โดยระวังไม่ให้ หนาเกินไป เพราะจะ เกิดความร้อนทำให้ไส้เดือนดินหนีออกจากถังหรือตาย หากหนีออกไม่ได้) 2) การเพาะเลี้ยงในตู้ลิ้นชักพลาสติก ภาพที่ 2-12 การเพาะเลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2551) 2.1 เลือกลิ้นชักพลาสติก สำหรับเพาะเลี้ยงไส้เดือน ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 12 นิ้ว 2.2 เจาะรูที่พื้นของภาชนะเพื่อระบายน้ำมูลไส้เดือน และเจาะฝาปิดภาชนะเพื่อระบาย อากาศ 2.3 ผสมดินร่วนกับมูลวัว อัตราส่วน 4:1 แล้วรดน้ำให้ความชื้น 80-90 %
  • 25. 16 2.4 นำส่วนผสมระหว่างดินร่วนกับมูลวัว ใส่ลงในภาชนะให้มีความหนาจากพื้นของภาชนะ อย่างน้อย 3 นิ้ว 2.5 นำไส้เดือนปริมาณ 1 กิโลกรัม ใส่ลงไปในลิ้นชักพลาสติก (โดยพิจารณาจากปากภาชนะ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ใช้ไส้เดือน 1 กรัม หรือ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) 2.6 เทมูลวัว เพื่อเป็นอาหารและป้องกันการหลบหนีของไส้เดือน 2.7 นำน้ำยาล้างจานหรือสบู่ทาที่บริเวณปากภาชนะ เพื่อป้องกันการเลื้อยหนีออกจาก ภาชนะเลี้ยงในระยะแรก 2.8 ปิดฝาภาชนะเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแมลง 2.9 นำภาชนะไปตั้งไว้บริเวณที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทสะดวก 2.10 นำเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ให้ไส้เดือนย่อยสลาย 3) การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์ ภาพที่ 2-13 การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์ ที่มา : (อานัฐ ตันโช, 2551) 3.1 ซื้อวงบ่อชีเมนต์ที่เทพื้นและต่อท่อระบายน้ำหมัก 3.2 นำวงบ่อไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด/ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทได้สะดวก (ตั้ง บริเวณใกล้ๆ กับห้องครัว หรือ บริเวณใต้ ชายคา) 3.3 ล้างวงบอซีเมนต์ 2-3 รอบ และขังน้ำในวงบ่อโดยแช่ต้นกล้วย ทิ้งไว้ ประมาณ 3-5 วัน (ลดความเค็มของปูนซึ่งเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน) 3.4 นำก้อนกรวดขนาดเล็กใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มวางไว้ที่ ปากท่อระบายน้ำหมักด้าน ในของบ่อ (ป้องกันพื้นเลี้ยงอุดตันท่อ) 3.5 ใส่พื้นเลี้ยงในวงบ่อหนา 3 นิ้ว