SlideShare a Scribd company logo
สมาคมประชาชาติแห่งตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations : ASEAN) รองศาสตราจารย์ สมประสงค์ น่วมบุญลือ บรรยาย ที่สำนักงานเขตการศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.
www.themegallery.com คำถาม? ทำไมจึงต้องเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ไทยได้รับประโยชน์อย่างไรในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน คำถาม ท่านรู้จักอาเซียนเพียงใด?
อาเซียน คืออะไร อาเซียน [ASEAN] มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Association of South East Asian Nations] เป็นองค์การความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ในเขตภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาร์ โดยอาเซียนมีสำนักงานศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียนเริ่มต้นเมื่อใด อาเซียนมีจุดเริ่มต้นเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้จับมือร่วมกันตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ก็ดำเนินการได้เพียง ๒ ปีเท่านั้น ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซีย
จุดเริ่มต้นอาเซียน สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ    (Bangkok Declaration)  เมื่อ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ (ค.ศ.1967)
ต่อมาเมื่อประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซียได้ฟื้นฟูสัมพันธภาพนี้ขึ้น จึงเกิดการฟื้นฟูความคิดการรวมกลุ่มขึ้นมาใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ รัฐมนตรีต่างประเทศ จาก ๕ ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสมาคมอาเซียน และยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี เพื่อจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาคขึ้นอีกครั้ง และได้มีการลงนามปฏิญญากรุงเทพ อย่างเป็นทางการ ณ วังสราญรมย์ ในวันที่ ๘สิงหาคม ๒๕๑๐ (๘/๘/๑๙๖๗)) เพื่อก่อตั้งเป็นสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคภายใต้ชื่อว่าสมาคมประชาชาติแห่งตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations : ASEAN)  โดยมีสมาชิกก่อตั้งเพียง ๕ ประเทศเท่านั้น เสริมรากฐานการเป็นประชาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ ๗ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ ส่งเสริม ! วัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม
www.themegallery.com วัตถุประสงค์การก่อตั้งอาเซียน (สรุป)   เร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม  ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค  ส่งเสริมความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร  อำนวยความสะดวกในด้านการฝึกอบรม และวิจัย ด้านการศึกษาวิชาชีพ วิชาการ และการบริหาร  ร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม  ส่งเสริมการศึกษา  ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค
ประเทศสมาชิกอาเซียน ASEAN และปีที่เข้าร่วม ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐
พ.ศ. ๒๕๑๘เกิดเหตุ ไซง่อน พนมเปญ เวียงจันทร์แตก ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาวเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่เวียดนามและลาวกลายเป็นคอมมิวนิสต์ เกิดปัญหาเขมรแดงที่พยายามจะเปลี่ยนกัมพูชาเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย อาเซียนยังไม่มีความสำคัญมากนัก ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหามากมายทั้งภายในและภายนอก เกิดสงครามเวียดนาม-เขมร สงครามอเมริกา-เวียดนาม ไทยกวาดล้างคอมมิวนิสต์ ฯลฯ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ประเทศบรูไนดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๓หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย ถือเป็นการจบสงครามเย็น เมื่อหมดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างทุนนิยมเสรีและคอมมิวนิสต์แล้ว เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ก็ทยอยเข้าร่วมตามลำดับ เวียดนามเข้าร่วมปี พ.ศ.๒๕๓๘ลาวเข้าร่วมปี พ.ศ. ๒๕๔๐และกัมพูชาเข้ารวมปี พ.ศ. ๒๕๔๒อาเซียนจึงแข็งแรงขึ้นและพร้อมจะพัฒนาไปข้างหน้า
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ครั้งสำคัญ) ประชาคมอาเซียน  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน  แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์  ลงนามความตกลงจัดตั้งกองทุน เร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน คำว่า ประชาคมอาเซียน ปรากฏครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน ฉบับที่ ๑ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย  อาเซียนคอมมิวนิตี้ปรากฏเป็นทางการ ในวันที่ ๒๔ก.พ. ๒๕๑๙ โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ นายกรัฐมนตรีร่วมลงนาม มีรัฐสมาชิก ๕ประเทศ “รัฐสมาชิกต้องพัฒนาการรับรู้อย่างแข็งขันในเรื่องอัตลักษณ์ภูมิภาค และต้องใช้ความพยายามทุกอย่างในอันที่จะสร้างประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งเป็นที่เคารพของทุกชาติ และให้ความเคารพต่อทุกประเทศ บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ตามหลักการตัดสินใจด้วยตนเอง อธิปไตยที่เท่าเทียมกัน และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของชาติอื่น”
www.themegallery.com สมาชิกอาเซียน  อาเซียนเริ่มต้นด้วยสมาชิกห้าประเทศ  คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกห้าประเทศ  ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม สปป ลาว พม่า และกัมพูชา
ประเทศสมาชิกอาเซียน ASEAN และปีที่เข้าร่วม ปี 2540 ปี 2540 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2538 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2542 ปี 2527 ปี 2510
การสร้างความเป็นภูมิภาค จุดประสงค์ของการรวมตัวเป็นภูมิภาค ,[object Object]
 สันติภาพและความปลอดภัย
 อำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน
ภูมิภาคที่เข้มแข็ง/ศักยภาพในการแข่งขัน15
วิธีการสร้างความเป็นภูมิภาค ,[object Object]
 กระชับความร่วมมือ
 ผสมผสานกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมเข้าด้วยกัน
 ยอมรับและเห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติ16
ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า สีเหลือง ความเจริญรุ่งเรือง ขาว คือ ความบริสุทธิ์ รวงข้าว ๑๐ ต้น คือ ๑๐ ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว   วงกลม  แสดงถึงความเป็นเอกภาพ
หลักการพื้นฐานของอาเซียน    การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน  การไม่แทรกแซงในกิจการภายใน  การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี 18
หลักการพื้นฐานของอาเซียน  ๑.การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน การตัดสินใจโดยหลักฉันทามติ ๒.การไม่แทรกแซงในกิจการภายใน ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน  ๓.การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ความร่วมมือเพื่อ พัฒนาอาเซียน
ภูมิหลัง ธันวาคม ๒๕๔๐ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐เพื่อกำหนดเป้าหมายว่า ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) อาเซียนจะเป็น ๑) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - A Concert of Southeast Asian Nations   ๒) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต -  A Partnership in Dynamic Development    ๓) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก - An Outward-Looking ASEAN ๔) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร - A Community of Caring Societies
“วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐” (พ.ศ. ๒๕๖๓)  ปี ๒๕๔๐ ในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปีการก่อตั้งอาเซียน ผู้นำอาเซียนให้การรับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐” (ASEAN Vision 2020)   เป็น ประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ.2020 ที่มีสำนึกในความเชื่อมโยงในประวัติศาสตร์ของตนรับรู้อยู่ตลอดเวลาในมรดกทางวัฒนธรรมของตน และผูกพันด้วยอัตลักษณ์ร่วมกันในภูมิภาค(Common Regional Identity) เป็นสังคมอาเซียนที่เปิดกว้างแต่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ประจำตัว(national identity) ผู้คนทุกหมู่เหล่ามีความเท่าเทียมกันมีโอกาสในการพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน (human development) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม เป็นสังคมที่ผนึกแน่น สามัคคีและเอื้ออาทรต่อกัน ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เพื่อทรัพยากรที่ยั่งยืน
ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๙ ระหว่างวันที่ ๗-๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓(ค.ศ. ๒๐๒๐)  ประชาคมอาเซียนนี้จะประกอบด้วย ๓ เสาหลัก (pillars) ได้แก่  ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)
และ ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันในปี ๒๕๔๖ ที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ให้เป็นผลภายในปี ๒๕๖๓ (ค.ศ. 2020) ที่ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้เสร็จภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. 2015) 23
การประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ ที่เวียงจันทน์ เมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ผู้นำอาเซียนได้รับรองและลงนามเอกสารสำคัญที่จะวางกรอบความร่วมมือเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป ได้แก่  	๑)แผนปฏิบัติการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน๒) กรอบความตกลงว่าด้วยสินค้าสำคัญซึ่งจะช่วยเร่งรัดความร่วมมือด้านสินค้าและบริการ ๑๑ สาขา (Wood-based products and automotives, Rubber-based products and textiles and apparels, Agro-based products and fisheries, Electronics, e-ASEAN and healthcare, Air Travel and tourism)ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐)  ๓) แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ ผู้นำอาเซียนยังได้รับรอง แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme - VAP) เป็นแผนดำเนินความร่วมมือในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๓  โดยได้กำหนดแนวคิดหลักหรือ Theme ของแผนปฏิบัติการฯ ไว้ว่า ไปสู่การกำหนดความมั่งคั่งในลักษณะบูรณาการ สันติ และดูแลรักษาชุมชนอาเซียนร่วมกัน  “Towards shared prosperity destiny in an integrated, peaceful and caring ASEAN Community” VAP จึงเท่ากับเป็นการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการของประชาคมอาเซียนที่จะเร่งปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดหลัก (theme) ดังกล่าว
กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน ที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ เห็นชอบให้จัดตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิมเพื่อนำมาเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP) อันจะเป็นการส่งเสริมการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และเป็นกองทุนที่สามารถระดมความสนับสนุนทั้งจากประเทศคู่เจรจาและแหล่งทุนอื่นๆ  ซึ่งขณะนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนดังกล่าวได้โดยจะมีการลงนามความตกลงจัดตั้งกองทุนดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๓๘ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘
ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ  ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท  ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือด้านนี้  ทั้งนี้ ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community-AEC) แนวคิดของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๘ เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา  ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงาน   ที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomicCommunity: AEC)
แถลงการณ์ Bali Concord II ในการประชุมผู้นำอาเซียน เมื่อปี ๒๕๔๖ ผู้นำได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord IIเห็นชอบให้มีการรวมตัวของอาเซียนไปสู่ASEAN Communityภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐)ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ 	- ASEAN Security Community - ASEAN Economic Community 	- ASEAN Socio-Cultural Community
เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓ (ค.ศ.2020) โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน      (single market and single production base) และจะมี    การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีและเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น (free flows of goods, services, investment, and skilled labors, and freer flow of capital)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐ ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย  มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว  ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน  ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ
ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน ๑๑สาขา ให้เป็นสาขานำร่อง ได้แก่  สินค้าเกษตร  สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง  สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) การบริการด้านสุขภาพ ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้
กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่                            ไทย: ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) พม่า: สินค้าเกษตรและสินค้าประมง  อินโดนีเซีย: ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้  มาเลเซีย: ยางและสิ่งทอ  ฟิลิปปินส์: อิเล็กทรอนิกส์  สิงคโปร์: เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ ๑๑ สาขาดังกล่าว คือ Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors  และพิธีสารสำหรับแต่ละสาขา คือ  ASEAN Sectoral Integration Protocol  อีก ๑๑ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน  การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่ง
กำหนดให้ปี ค.ศ. ๒๐๑๐เป็นวันเส้นตาย (deadline) สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ ๑๑สาขาดังกล่าว  โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.mfa.go.th/internet/document/740.doc )
ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๙ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ใน Bali Concord II เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปีพ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วยประชาคมในสามเสาหลัก ในส่วนของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน
ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community Plan of Action) ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action programme-VAP) และต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015 (พ.ศ.๒๕๕๘) เร่งรัดการเป็นประชาคมฯ เร็วขึ้นอีก ๕ ปี คือ จากปี พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นปี พ.ศ.๒๕๕๘
การมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนงาน ๔ ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ ๑ และ ๓ ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ มีนาคม และระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๑ กรกฎาคม , ลาว ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ เมษายน และฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้ให้การรับรองแผนงานฯ)
ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน  มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security)  โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ  การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม   การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio- Cultural Community Blueprint) ประกอบด้วยความร่วมมือใน ๖ ด้าน ได้แก่  การพัฒนามนุษย์ (Human Development)  การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)  สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)  ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)  การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity)  การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) องค์ประกอบย่อยของแต่ละด้านมีดังนี้
แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เน้นการดำเนินการใน๔ ประเด็นหลัก  คือ (๑)  สร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทรโดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเสมอภาค และการพัฒนามนุษย์  อาทิ การพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน  การส่งเสริมสวัสดิการสังคม  การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข และการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์  (human security) ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
(๒) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถแข่งขันได้ดีและมีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริมสร้างความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการสังคม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาธารณสุข (ปัญหาที่มากับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ)
(๓) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง โดยมีกลไกที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์สำหรับจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม  ตลอดจนการป้องกันและขจัดภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
(๔) เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.๒๐๒๐ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  ด้วยการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ  การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและสนเทศ)
A. การพัฒนามนุษย์ A1. ให้ความสำคัญกับการศึกษา A2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ A3. ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม A4. ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ A5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ A6. เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม B1. การขจัดความยากจน B2. เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัฒน์ B3. ส่งเสริมความมั่นคง และความปลอดภัยด้านอาหาร B4. การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ B5. การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ B6. รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด B7. การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
C. ความยุติธรรมและสิทธิ C1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ C1. การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน C1. ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
D. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม D1. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก D2. การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน D3. ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน D4. ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม (อีเอสที) D5. ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตเมือง D6. การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล D7. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน D8. ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน D9. ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด D10. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ D11. ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน E1. ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็น ประชาคม E2. การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน E3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม E4. การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
F. การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ข้อมูลเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 51 AEC อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAEC : ASEAN Economic Community กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
52 หัวข้อการนำเสนอ 1. แนะนำอาเซียน 2. อาเซียน -- จากอดีตสู่ปัจจุบัน 3. การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4. ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
53 AEC แนะนำอาเซียน
54 อาเซียน ASEAN  อาเซียน 6 สมาชิกใหม่ CLMV ปี 2540 ปี 2540 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2538 ปี 2510 ปี 2542 ปี 2527 ปี 2510 ปี 2510 ,[object Object]
จุดประสงค์เริ่มแรก – สร้างความมั่นคง เพื่อต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์สมาชิก และปีที่เข้าเป็นสมาชิก
55 ,[object Object],   ไทยพึ่งพาการค้าโลกในระดับสูง ,[object Object],             ต้องปรับตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ จึงจะอยู่รอด                มีแนวโน้มมุ่งการทำFTA – ทวิภาคี หรือ ภูมิภาค              ถ้าไทยอยู่นิ่ง = ถอยหลัง ทำไม ไทยต้องเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน? ,[object Object],[object Object]
57 ความสำคัญของอาเซียนต่อไทย นอกจากนั้น อาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย สัดส่วนตลาดอาเซียนได้ขยายตัวจาก 12.4%เป็น 21.3%
58 ,[object Object],   ต่างเร่งทำFTA   South America -  MERCOSUR (Mercado Comun del Sur 4 ประเทศ)            -  LAIA (Latin America Integration 12 ประเทศ)            สินค้าไทยเสียเปรียบในตลาดที่ประเทศคู่แข่งมี FTA อยู่            อาเซียนเองก็ต้องแข่งกับ อินเดีย จีน เพื่อดึงการลงทุน ,[object Object],Asia                -  CER (ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) Europe            -  EU ( 27 ประเทศ) North America  -  NAFTA (North America Free Trade Agreement) Africa -  SACU (South Africa Customs Union)
59 AEC อาเซียน -- จากอดีตถึงปัจจุบัน --
60 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญเท่าที่ผ่านมา 1.  เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ,[object Object],2.  กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (AFAS) ,[object Object],3.ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO) ,[object Object],4.เขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ,[object Object],[object Object]
62 AEC อาเซียนในมิติใหม่ -- การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน --
63 ,[object Object]
AEC Blueprintประชาคมอาเซียน ปี 2558 (2015) ประชาคม ความมั่นคง อาเซียน(ASC) กฎบัตรอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน(AEC) ตารางดำเนินการStrategic Schedule ประชาคม สังคม-วัฒนธรรม อาเซียน  (ASCC)
64 AEC เป้าหมาย AEC แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม มุ่งดำเนินการให้เกิด……. เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
65 AEC Blueprint วัตถุประสงค์ 4 ด้าน Single Market and  production base High competitive  economic region Equitable  economic  development Fully Integrated  into  global economy แผนงานส่งเสริมการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน และ เงินทุนที่เสรี โดยลด อุปสรรคในด้านต่างๆ แผนงานส่งเสริมขีด ความสามารถในด้าน ต่างๆ เช่น นโยบาย การแข่งขัน  ทรัพย์สินทางปัญญา  e-commerce ฯลฯ - แผนงานส่งเสริมการ รวมกลุ่มของประเทศ สมาชิก - ลดช่องว่าง/ความ แตกต่างของระดับ การพัฒนาระหว่าง สมาชิกเก่าและใหม่ - แผนงานส่งเสริมการ รวมกลุ่มเข้ากับ ประชาคมโลก ,[object Object],ในระดับภูมิภาค - สร้างเครือข่ายการ ผลิต/จำหน่าย 65
AEC เป้าหมาย AEC แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม มุ่งดำเนินการให้เกิด……. เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 66
67 AEC เป้าหมาย AEC 2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน ความร่วมมือในด้านต่างๆ e-ASEAN นโยบายภาษี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองผู้บริโภค
AEC เป้าหมาย AEC 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ สนับสนุนการพัฒนา SMEs 68
AEC เป้าหมาย AEC 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค ASEAN - China ASEAN - Korea ASEAN- Japan ASEAN- India สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย ASEAN- AUS/NZ ASEAN- EU ASEAN- US (TIFA) 69
70 AEC ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 ผลประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุน ตลาดขนาดใหญ่ ,[object Object]
Economy of Scale
ดึงดูดการค้าการลงทุนจากภายนอกอาเซียน71
72 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 ผลประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้าและลงทุน ส่งเสริมแหล่งวัตถุดิบ ,[object Object]
 วัตถุดิบถูกลง ต้นทุนผลิตสินค้าต่ำลง ขีดความสามารถแข่งขันสูงขึ้น
 เลือกหาวัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยี และสถานที่ผลิตที่ได้เปรียบที่สุดกลุ่มที่มีความถนัด ด้านเทคโนโลยี กลุ่มที่เป็นฐานการผลิต กลุ่มที่มีวัตถุดิบและ แรงงาน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 ผลประโยชน์จากการรวมกลุ่มของอาเซียน เพิ่มกำลังการต่อรอง ,[object Object]
 แนวร่วมในการเจรจาต่อรอง ในเวทีการค้าโลก เช่น WTO73
74 ,[object Object],    โดยการใช้แหล่งกำเนิดสินค้าสะสมในอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 ผลประโยชน์จากการรวมกลุ่มของอาเซียน FTAอาเซียน-คู่เจรจา อาเซียน – ญี่ปุ่น AJFTA อาเซียน – เกาหลี AKFTA อาเซียน – อินเดีย AIFTA อาเซียน – EU อาเซียน – CER(ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ,[object Object],[object Object]
76 ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน : สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.dtn.go.thwww.thaifta.com Tel   : 02 507 7246 Fax : 02 547 5614
กลุ่มประเทศคู่เจรจาของอาเซียน
ประโยชน์จากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจกับอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN ECONOMIC COMMUNITY = AEC

More Related Content

Viewers also liked

อุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลก
อุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลกอุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลก
อุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลก
Soratouch Punsuwan
 
Asset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับ
Asset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับAsset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับ
Asset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับ
Soratouch Punsuwan
 
แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)
แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)
แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)
Soratouch Punsuwan
 
AEC อาเซียน
AEC อาเซียนAEC อาเซียน
AEC อาเซียน
Soratouch Punsuwan
 
ประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchada
ประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchadaประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchada
ประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchada
Prachoom Rangkasikorn
 
Ribbed smoked sheet
Ribbed smoked sheetRibbed smoked sheet
Ribbed smoked sheet
Soratouch Punsuwan
 
กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตกระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต
Soratouch Punsuwan
 

Viewers also liked (8)

อุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลก
อุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลกอุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลก
อุปสงค์ อุปทาน และราคายางพาราของโลก
 
Asset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับ
Asset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับAsset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับ
Asset allocation ภาพรวมของกองทุนต่างๆดูกันเล่นๆครับ
 
1
11
1
 
แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)
แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)
แนวโน้มของสินค้าแบบวัฎจักร (ยางพารา)
 
AEC อาเซียน
AEC อาเซียนAEC อาเซียน
AEC อาเซียน
 
ประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchada
ประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchadaประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchada
ประชาคมอาเซียน สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว+Presentation 55-ratchada
 
Ribbed smoked sheet
Ribbed smoked sheetRibbed smoked sheet
Ribbed smoked sheet
 
กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตกระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต
 

Similar to ประชาคมอาเซียน%20(asean%20 community)[1]

Ed building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunityEd building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunitysiripon25
 
Dr.benjalug asean
Dr.benjalug aseanDr.benjalug asean
Dr.benjalug asean
vorravan
 
อาเซียน1
อาเซียน1อาเซียน1
อาเซียน1
อาเซียน1อาเซียน1
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พัฒนาการอาเซียน
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พัฒนาการอาเซียน1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พัฒนาการอาเซียน
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พัฒนาการอาเซียน
TSB1
 
Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์
Kruthai Kidsdee
 
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013stiu
 
Thailand and asean
Thailand and aseanThailand and asean
Thailand and asean
Teeranan
 
58210401121
5821040112158210401121
Overall asean
Overall aseanOverall asean
Overall aseani_cavalry
 
บทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษา
บทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษาบทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษา
บทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษา
Prachoom Rangkasikorn
 
58210401212 ส่งงาน 2 ss
58210401212  ส่งงาน 2 ss58210401212  ส่งงาน 2 ss
58210401212 ส่งงาน 2 ss
Rattiga Polyotha
 
58210401212 ส่งงาน 2 ss
58210401212  ส่งงาน 2 ss58210401212  ส่งงาน 2 ss
58210401212 ส่งงาน 2 ss
Rattiga Polyotha
 

Similar to ประชาคมอาเซียน%20(asean%20 community)[1] (20)

Asean
AseanAsean
Asean
 
Ed building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunityEd building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunity
 
Asean knowledge2012
Asean knowledge2012Asean knowledge2012
Asean knowledge2012
 
Dr.benjalug asean
Dr.benjalug aseanDr.benjalug asean
Dr.benjalug asean
 
อาเซียน1
อาเซียน1อาเซียน1
อาเซียน1
 
อาเซียน1
อาเซียน1อาเซียน1
อาเซียน1
 
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พัฒนาการอาเซียน
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พัฒนาการอาเซียน1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พัฒนาการอาเซียน
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พัฒนาการอาเซียน
 
Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์
 
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
 
กำเนิดอาเซียน1
กำเนิดอาเซียน1กำเนิดอาเซียน1
กำเนิดอาเซียน1
 
กำเนิดอาเซียน1
กำเนิดอาเซียน1กำเนิดอาเซียน1
กำเนิดอาเซียน1
 
กำเนิดอาเซียน1
กำเนิดอาเซียน1กำเนิดอาเซียน1
กำเนิดอาเซียน1
 
Thailand and asean
Thailand and aseanThailand and asean
Thailand and asean
 
Asean m3
Asean m3Asean m3
Asean m3
 
58210401121
5821040112158210401121
58210401121
 
Overall asean
Overall aseanOverall asean
Overall asean
 
บทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษา
บทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษาบทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษา
บทบาทประเทศไทยในเวทีโลก นโยบายด้านการศึกษา
 
58210401212 ส่งงาน 2 ss
58210401212  ส่งงาน 2 ss58210401212  ส่งงาน 2 ss
58210401212 ส่งงาน 2 ss
 
58210401212 ส่งงาน 2 ss
58210401212  ส่งงาน 2 ss58210401212  ส่งงาน 2 ss
58210401212 ส่งงาน 2 ss
 
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียนฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
 

ประชาคมอาเซียน%20(asean%20 community)[1]

  • 1. สมาคมประชาชาติแห่งตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations : ASEAN) รองศาสตราจารย์ สมประสงค์ น่วมบุญลือ บรรยาย ที่สำนักงานเขตการศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.
  • 2. www.themegallery.com คำถาม? ทำไมจึงต้องเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ไทยได้รับประโยชน์อย่างไรในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน คำถาม ท่านรู้จักอาเซียนเพียงใด?
  • 3. อาเซียน คืออะไร อาเซียน [ASEAN] มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Association of South East Asian Nations] เป็นองค์การความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ในเขตภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาร์ โดยอาเซียนมีสำนักงานศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
  • 4. อาเซียนเริ่มต้นเมื่อใด อาเซียนมีจุดเริ่มต้นเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้จับมือร่วมกันตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ก็ดำเนินการได้เพียง ๒ ปีเท่านั้น ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซีย
  • 5. จุดเริ่มต้นอาเซียน สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ (ค.ศ.1967)
  • 6. ต่อมาเมื่อประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซียได้ฟื้นฟูสัมพันธภาพนี้ขึ้น จึงเกิดการฟื้นฟูความคิดการรวมกลุ่มขึ้นมาใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ รัฐมนตรีต่างประเทศ จาก ๕ ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสมาคมอาเซียน และยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี เพื่อจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาคขึ้นอีกครั้ง และได้มีการลงนามปฏิญญากรุงเทพ อย่างเป็นทางการ ณ วังสราญรมย์ ในวันที่ ๘สิงหาคม ๒๕๑๐ (๘/๘/๑๙๖๗)) เพื่อก่อตั้งเป็นสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคภายใต้ชื่อว่าสมาคมประชาชาติแห่งตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations : ASEAN) โดยมีสมาชิกก่อตั้งเพียง ๕ ประเทศเท่านั้น เสริมรากฐานการเป็นประชาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • 7. ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ ๗ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ ส่งเสริม ! วัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม
  • 8. www.themegallery.com วัตถุประสงค์การก่อตั้งอาเซียน (สรุป) เร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร อำนวยความสะดวกในด้านการฝึกอบรม และวิจัย ด้านการศึกษาวิชาชีพ วิชาการ และการบริหาร ร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศึกษา ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค
  • 9. ประเทศสมาชิกอาเซียน ASEAN และปีที่เข้าร่วม ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐ ปี ๒๕๑๐
  • 10. พ.ศ. ๒๕๑๘เกิดเหตุ ไซง่อน พนมเปญ เวียงจันทร์แตก ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาวเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่เวียดนามและลาวกลายเป็นคอมมิวนิสต์ เกิดปัญหาเขมรแดงที่พยายามจะเปลี่ยนกัมพูชาเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย อาเซียนยังไม่มีความสำคัญมากนัก ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหามากมายทั้งภายในและภายนอก เกิดสงครามเวียดนาม-เขมร สงครามอเมริกา-เวียดนาม ไทยกวาดล้างคอมมิวนิสต์ ฯลฯ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ประเทศบรูไนดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๓หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย ถือเป็นการจบสงครามเย็น เมื่อหมดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างทุนนิยมเสรีและคอมมิวนิสต์แล้ว เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ก็ทยอยเข้าร่วมตามลำดับ เวียดนามเข้าร่วมปี พ.ศ.๒๕๓๘ลาวเข้าร่วมปี พ.ศ. ๒๕๔๐และกัมพูชาเข้ารวมปี พ.ศ. ๒๕๔๒อาเซียนจึงแข็งแรงขึ้นและพร้อมจะพัฒนาไปข้างหน้า
  • 11. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ครั้งสำคัญ) ประชาคมอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ลงนามความตกลงจัดตั้งกองทุน เร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน
  • 12. ประชาคมอาเซียน คำว่า ประชาคมอาเซียน ปรากฏครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน ฉบับที่ ๑ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย อาเซียนคอมมิวนิตี้ปรากฏเป็นทางการ ในวันที่ ๒๔ก.พ. ๒๕๑๙ โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ นายกรัฐมนตรีร่วมลงนาม มีรัฐสมาชิก ๕ประเทศ “รัฐสมาชิกต้องพัฒนาการรับรู้อย่างแข็งขันในเรื่องอัตลักษณ์ภูมิภาค และต้องใช้ความพยายามทุกอย่างในอันที่จะสร้างประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งเป็นที่เคารพของทุกชาติ และให้ความเคารพต่อทุกประเทศ บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ตามหลักการตัดสินใจด้วยตนเอง อธิปไตยที่เท่าเทียมกัน และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของชาติอื่น”
  • 13. www.themegallery.com สมาชิกอาเซียน อาเซียนเริ่มต้นด้วยสมาชิกห้าประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกห้าประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม สปป ลาว พม่า และกัมพูชา
  • 14. ประเทศสมาชิกอาเซียน ASEAN และปีที่เข้าร่วม ปี 2540 ปี 2540 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2538 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2542 ปี 2527 ปี 2510
  • 15.
  • 19.
  • 21. ผสมผสานกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมเข้าด้วยกัน
  • 23. ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า สีเหลือง ความเจริญรุ่งเรือง ขาว คือ ความบริสุทธิ์ รวงข้าว ๑๐ ต้น คือ ๑๐ ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว วงกลม แสดงถึงความเป็นเอกภาพ
  • 24. หลักการพื้นฐานของอาเซียน การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงในกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี 18
  • 25. หลักการพื้นฐานของอาเซียน ๑.การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน การตัดสินใจโดยหลักฉันทามติ ๒.การไม่แทรกแซงในกิจการภายใน ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ๓.การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ความร่วมมือเพื่อ พัฒนาอาเซียน
  • 26. ภูมิหลัง ธันวาคม ๒๕๔๐ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐เพื่อกำหนดเป้าหมายว่า ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) อาเซียนจะเป็น ๑) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - A Concert of Southeast Asian Nations ๒) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต - A Partnership in Dynamic Development ๓) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก - An Outward-Looking ASEAN ๔) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร - A Community of Caring Societies
  • 27. “วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐” (พ.ศ. ๒๕๖๓) ปี ๒๕๔๐ ในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปีการก่อตั้งอาเซียน ผู้นำอาเซียนให้การรับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐” (ASEAN Vision 2020) เป็น ประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ.2020 ที่มีสำนึกในความเชื่อมโยงในประวัติศาสตร์ของตนรับรู้อยู่ตลอดเวลาในมรดกทางวัฒนธรรมของตน และผูกพันด้วยอัตลักษณ์ร่วมกันในภูมิภาค(Common Regional Identity) เป็นสังคมอาเซียนที่เปิดกว้างแต่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ประจำตัว(national identity) ผู้คนทุกหมู่เหล่ามีความเท่าเทียมกันมีโอกาสในการพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน (human development) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม เป็นสังคมที่ผนึกแน่น สามัคคีและเอื้ออาทรต่อกัน ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เพื่อทรัพยากรที่ยั่งยืน
  • 28. ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๙ ระหว่างวันที่ ๗-๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓(ค.ศ. ๒๐๒๐) ประชาคมอาเซียนนี้จะประกอบด้วย ๓ เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)
  • 29. และ ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันในปี ๒๕๔๖ ที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ให้เป็นผลภายในปี ๒๕๖๓ (ค.ศ. 2020) ที่ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้เสร็จภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. 2015) 23
  • 30. การประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ ที่เวียงจันทน์ เมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ผู้นำอาเซียนได้รับรองและลงนามเอกสารสำคัญที่จะวางกรอบความร่วมมือเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป ได้แก่ ๑)แผนปฏิบัติการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน๒) กรอบความตกลงว่าด้วยสินค้าสำคัญซึ่งจะช่วยเร่งรัดความร่วมมือด้านสินค้าและบริการ ๑๑ สาขา (Wood-based products and automotives, Rubber-based products and textiles and apparels, Agro-based products and fisheries, Electronics, e-ASEAN and healthcare, Air Travel and tourism)ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐) ๓) แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
  • 31. แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ ผู้นำอาเซียนยังได้รับรอง แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme - VAP) เป็นแผนดำเนินความร่วมมือในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๓ โดยได้กำหนดแนวคิดหลักหรือ Theme ของแผนปฏิบัติการฯ ไว้ว่า ไปสู่การกำหนดความมั่งคั่งในลักษณะบูรณาการ สันติ และดูแลรักษาชุมชนอาเซียนร่วมกัน “Towards shared prosperity destiny in an integrated, peaceful and caring ASEAN Community” VAP จึงเท่ากับเป็นการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการของประชาคมอาเซียนที่จะเร่งปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดหลัก (theme) ดังกล่าว
  • 32. กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน ที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ เห็นชอบให้จัดตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิมเพื่อนำมาเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP) อันจะเป็นการส่งเสริมการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และเป็นกองทุนที่สามารถระดมความสนับสนุนทั้งจากประเทศคู่เจรจาและแหล่งทุนอื่นๆ ซึ่งขณะนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนดังกล่าวได้โดยจะมีการลงนามความตกลงจัดตั้งกองทุนดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๓๘ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘
  • 33. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือด้านนี้ ทั้งนี้ ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค
  • 34. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community-AEC) แนวคิดของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๘ เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomicCommunity: AEC)
  • 35. แถลงการณ์ Bali Concord II ในการประชุมผู้นำอาเซียน เมื่อปี ๒๕๔๖ ผู้นำได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord IIเห็นชอบให้มีการรวมตัวของอาเซียนไปสู่ASEAN Communityภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐)ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ - ASEAN Security Community - ASEAN Economic Community - ASEAN Socio-Cultural Community
  • 36. เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓ (ค.ศ.2020) โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (single market and single production base) และจะมี การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีและเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น (free flows of goods, services, investment, and skilled labors, and freer flow of capital)
  • 37. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐ ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ
  • 38. ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน ๑๑สาขา ให้เป็นสาขานำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) การบริการด้านสุขภาพ ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้
  • 39. กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่ ไทย: ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) พม่า: สินค้าเกษตรและสินค้าประมง อินโดนีเซีย: ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้ มาเลเซีย: ยางและสิ่งทอ ฟิลิปปินส์: อิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์: เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
  • 40. จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ ๑๑ สาขาดังกล่าว คือ Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสารสำหรับแต่ละสาขา คือ ASEAN Sectoral Integration Protocol อีก ๑๑ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่ง
  • 41. กำหนดให้ปี ค.ศ. ๒๐๑๐เป็นวันเส้นตาย (deadline) สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ ๑๑สาขาดังกล่าว โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.mfa.go.th/internet/document/740.doc )
  • 42. ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๙ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ใน Bali Concord II เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปีพ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วยประชาคมในสามเสาหลัก ในส่วนของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน
  • 43. ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community Plan of Action) ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action programme-VAP) และต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015 (พ.ศ.๒๕๕๘) เร่งรัดการเป็นประชาคมฯ เร็วขึ้นอีก ๕ ปี คือ จากปี พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นปี พ.ศ.๒๕๕๘
  • 44. การมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนงาน ๔ ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ ๑ และ ๓ ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ มีนาคม และระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๑ กรกฎาคม , ลาว ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ เมษายน และฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้ให้การรับรองแผนงานฯ)
  • 45. ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค
  • 46. แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio- Cultural Community Blueprint) ประกอบด้วยความร่วมมือใน ๖ ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ (Human Development) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) องค์ประกอบย่อยของแต่ละด้านมีดังนี้
  • 47. แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เน้นการดำเนินการใน๔ ประเด็นหลัก คือ (๑) สร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทรโดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเสมอภาค และการพัฒนามนุษย์ อาทิ การพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน การส่งเสริมสวัสดิการสังคม การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข และการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (human security) ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
  • 48. (๒) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถแข่งขันได้ดีและมีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริมสร้างความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาธารณสุข (ปัญหาที่มากับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ)
  • 50. (๔) เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.๒๐๒๐ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและสนเทศ)
  • 51. A. การพัฒนามนุษย์ A1. ให้ความสำคัญกับการศึกษา A2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ A3. ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม A4. ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ A5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ A6. เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
  • 52. B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม B1. การขจัดความยากจน B2. เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัฒน์ B3. ส่งเสริมความมั่นคง และความปลอดภัยด้านอาหาร B4. การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ B5. การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ B6. รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด B7. การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • 53. C. ความยุติธรรมและสิทธิ C1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ C1. การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน C1. ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
  • 54. D. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม D1. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก D2. การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน D3. ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน D4. ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม (อีเอสที) D5. ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตเมือง D6. การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล D7. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน D8. ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน D9. ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด D10. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ D11. ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
  • 55. E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน E1. ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็น ประชาคม E2. การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน E3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม E4. การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
  • 57. ข้อมูลเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 51 AEC อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAEC : ASEAN Economic Community กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • 58. 52 หัวข้อการนำเสนอ 1. แนะนำอาเซียน 2. อาเซียน -- จากอดีตสู่ปัจจุบัน 3. การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4. ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  • 60.
  • 61. จุดประสงค์เริ่มแรก – สร้างความมั่นคง เพื่อต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์สมาชิก และปีที่เข้าเป็นสมาชิก
  • 62.
  • 63. 57 ความสำคัญของอาเซียนต่อไทย นอกจากนั้น อาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย สัดส่วนตลาดอาเซียนได้ขยายตัวจาก 12.4%เป็น 21.3%
  • 64.
  • 65. 59 AEC อาเซียน -- จากอดีตถึงปัจจุบัน --
  • 66.
  • 67. 62 AEC อาเซียนในมิติใหม่ -- การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน --
  • 68.
  • 69. AEC Blueprintประชาคมอาเซียน ปี 2558 (2015) ประชาคม ความมั่นคง อาเซียน(ASC) กฎบัตรอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน(AEC) ตารางดำเนินการStrategic Schedule ประชาคม สังคม-วัฒนธรรม อาเซียน (ASCC)
  • 70. 64 AEC เป้าหมาย AEC แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม มุ่งดำเนินการให้เกิด……. เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
  • 71.
  • 72. AEC เป้าหมาย AEC แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม มุ่งดำเนินการให้เกิด……. เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 66
  • 73. 67 AEC เป้าหมาย AEC 2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน ความร่วมมือในด้านต่างๆ e-ASEAN นโยบายภาษี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองผู้บริโภค
  • 74. AEC เป้าหมาย AEC 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ สนับสนุนการพัฒนา SMEs 68
  • 75. AEC เป้าหมาย AEC 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค ASEAN - China ASEAN - Korea ASEAN- Japan ASEAN- India สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย ASEAN- AUS/NZ ASEAN- EU ASEAN- US (TIFA) 69
  • 77.
  • 80.
  • 81. วัตถุดิบถูกลง ต้นทุนผลิตสินค้าต่ำลง ขีดความสามารถแข่งขันสูงขึ้น
  • 82. เลือกหาวัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยี และสถานที่ผลิตที่ได้เปรียบที่สุดกลุ่มที่มีความถนัด ด้านเทคโนโลยี กลุ่มที่เป็นฐานการผลิต กลุ่มที่มีวัตถุดิบและ แรงงาน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย
  • 83.
  • 85.
  • 86. 76 ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน : สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.dtn.go.thwww.thaifta.com Tel : 02 507 7246 Fax : 02 547 5614
  • 87.
  • 89.
  • 91.
  • 93.
  • 94.
  • 95.
  • 96.
  • 97.
  • 98.
  • 99.
  • 100.
  • 101.
  • 102.
  • 103.
  • 104.
  • 105.
  • 106.
  • 107.