SlideShare a Scribd company logo
1 of 79
บทที่ 12การรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Surveying) อ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เส้นชั้นความสูง(Contour Line) Part 1
ความสำคัญของเนื้อหา เพื่อให้ทราบถึงการนำเสนอข้อมูลความสูงต่ำของพื้นที่ด้วยเส้นชั้นความสูง เพื่อให้รู้ถึงคุณลักษณะเส้นชั้นความสูงในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เขียนเส้นชั้นความสูงจากข้อมูลจุดระดับความสูงได้ เพื่อให้ประยุกต์ใช้ข้อมูลเส้นชั้นความสูงในงานวิศวกรรม เช่น การเขียนรูป ตัด การคำนวณค่าความลาดชัน การคำนวณปริมาตร เป็นต้น
นิยามที่เกี่ยวข้อง เส้นชั้นความสูง (Contour Lines) เป็นวิธีการทั่วไปที่ใช้ในการแสดงความสูงต่ำของแผนที่ภุมิประเทศ ด้วยการจินตนาการเป็นเส้นบนพื้นผิวโลก โดยที่ทุก ๆ จุดบนเส้นชั้นความสูงนั้นมีค่าระดับความสูงเท่ากัน ซึ่งค่าระดับความสูงของเส้นก็คือระยะดิ่งจากตำแหน่งจุดบนเส้นถึงผิวระดับน้ำทะเล ช่วงชั้นความสูง (Contour Interval) คือ ระยะห่างแนวดิ่งหรือค่าต่างระดับระหว่างคู่เส้นชั้นความสูง โดยจะมีค่าคงที่สำหรับแผนที่หนึ่ง ๆ จุดระดับความสูง (Spot Height) คือ จุดที่บอกค่าระดับความสูง ณ ตำแหน่งนั้น
นิยามที่เกี่ยวข้อง
ชนิดเส้นชั้นความสูง เส้นชั้นความสูงดัชนี (Index Contour) คือ เส้นชั้นความสูงเริ่มต้นที่ค่าระดับ 0 เมตรหรือระดับน้ำทะลปานกลาง (mean sea level) โดยเส้นชั้นความสูงทุกเส้นที่ห้าจะเป็นเส้นชั้นความสูงดัชนีและมีลักษณะเด่นชัดด้วยการใช้ความหนาหรือสีที่แตกต่างจากเส้นชั้นความสูงปกติ พร้อมทั้งกำกับด้วยค่าระดับความสูงบนเส้นที่ระยะห่างกันอย่างสม่ำเสมอสวยงาม เส้นชั้นความสูงระหว่างกลาง (Intermediate Contour Line) คือ เส้นชั้นความสูงที่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงดัชนี จะมีจำนวน 4 เส้น โดยจะเขียนด้วยเส้นที่บางกว่าหรือใช้สีที่อ่อนกว่าเส้นชั้นความสูงดัชนี และไม่มีตัวเลขค่าระดับความสูงกำกับไว้ เส้นชั้นความสูงเสริม (Supplementary Contour Line) คือ เส้นชั้นความสูงเขียนแทรกเพิ่มเติมระหว่างเส้นชั้นความสูงระหว่างกลาง กรณีที่มีระยะห่างมากเกินไปเนื่องจากพื้นที่มีความลาดชันน้อย มักจะเขียนด้วยเส้นประ
ชนิดเส้นชั้นความสูง
คุณลักษณะเส้นชั้นความสูง ระยะราบระหว่างเส้นชั้นความสูงเป็นปฏิภาคกลับกับความลาดเอียงของพื้นดิน บริเวณพื้นที่ขรุขระและไม่สม่ำเสมอเส้นชั้นความสูงจะไม่เป็นเส้นเรียบ บริเวณพื้นที่ผิวดินเรียบเส้นชั้นความสูงจะมีระยะห่างสม่ำเสมอและขนานกัน ทิศทางของเส้นชั้นความสูงจะตั้งฉากกับแนวลาดเอียงสูงสุด เส้นชั้นความสูงจะลากตัดกับสันเขาหรือร่องน้ำเป็นมุมฉาก
คุณลักษณะเส้นชั้นความสูง เส้นชั้นความสูงที่แสดงลักษณะของพื้นที่เนินหรือแอ่งจะมีลักษณะเป็นวงเส้นปิด โดยพิจารณาจากค่าระดับของเส้นข้างเคียง หากค่าระดับของเส้นชั้นความสูงข้างเคียงไม่แสดงให้ทราบว่า เป็นเนินหรือแอ่งจะใช้สัญลักษณ์แสดงให้ทราบ เช่นใช้วิธีแรเงาส่วนที่เป็นแอ่ง เรียกว่า “Depression Contour” เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจะไม่รวมเป็นเส้นเดียวกันหรือตัดกัน นอกจากในกรณีของหน้าผาสูงชันหรือเป็นชะโงกเขาและถ้ำ เส้นชั้นความสูงเส้นหนึ่งจะไม่แยกออกเป็นสองเส้น
คุณลักษณะเส้นชั้นความสูง เส้นชั้นความสูงเส้นหนึ่งจะไม่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูง 2 เส้น ที่มีค่าระดับสูงกว่าหรือต่ำกว่า แต่จะมีลักษณะเป็นคู่กันได้ เส้นชั้นความสูงที่ลากผ่านแนวเส้นร่องน้ำที่เรียกว่า Stream Line จะมีลักษณะเป็นรูปตัววี (V-Shape) หรือหักมุมกลับ โดยหันมุมชี้ขึ้นไปทางด้านที่สูงกว่าหรือ ต้นน้ำ เส้นชั้นความสูงที่ลากผ่านแนวสันเขาที่เรียกว่า Ridge Line จะมีลักษณะเป็นรูปโค้งวกกลับคล้ายตัวยู (U-Shape) หันด้านมนไปทางที่มีค่าระดับต่ำกว่า
Contour เมื่อเจอหน้าผา (Vertical Cliff)
Contour เมื่อเจอชะง่อนผา
Contour เมื่อผ่านทางน้ำ จะเป็นรูปตัว V
Contour ที่แสดงสันเขา จะเป็นรูปตัว U
Depression ContourแสดงContour บริเวณที่เป็นแอ่ง
Contour บริเวณยอดเขา
ลักษณะเส้นชั้นความสูงบริเวณภูมิประเทศต่าง ๆ
การกำหนดช่วงชั้นความสูง
การเก็บข้อมูลในสนาม (Data Collection) การเก็บข้อมูลจุดระดับความสูง (Spot Height)เฉพาะจุดเปลี่ยนระดับ
การเก็บข้อมูลในสนาม (Data Collection) การเก็บข้อมูลจุดระดับความสูง (Spot Height) ตามแนว Break line อาทิ ร่องน้ำ, ขอบถนน หรือ สันเขา เป็นต้น
21 การเก็บข้อมูลในสนาม (Data Collection) การเก็บข้อมูลจุดระดับความสูง ด้วยวิธี Grid Method
การเขียนเส้นชั้นความสูง ชนิดสุ่ม (Random Pattern) ชนิดตารางกริด (Grid Pattern)
การเขียนเส้นชั้นความสูง
การเขียนเส้นชั้นความสูง
25 Interpolation by Calculation and Measurement Start by selecting an contour interval and two grid points. This example starts with the 110 foot interval. The first step is to calculate the position of the 110 foot contour between stations A1 and A2.
26 Interpolation by Calculation and measurement--cont. The next step is to measure and mark the position of 0.6. Next, determine which direction the contour goes between the diagonal and the other three sides of the grid. Mark the next points.
27 Interpolation by Calculation and measurement--cont. The 110 foot contour line passes between B1 and B2, therefore the next station is the diagonal. These steps are followed one grid line at a time until the contour closes, or reaches the edge of the map.
28 Interpolation by Calculation and measurement--cont. Determining the proportion for line B1:B2.
29 Interpolation by Calculation and measurement--cont. The grid lines and diagonals for each square are considered and the contour is extended.
30 Interpolation by Calculation and measurement--cont. The next grid line is between B2 and C2.
31 Interpolation by Calculation and measurement--cont. ,[object Object]
The contour lines must be labeled.,[object Object]
การใช้ประโยชน์เส้นชั้นความสูง เขียนรูปตัดตามแนวยาวและตามขวาง
การปรับพื้นผิวหน้าเขาชีจรรย์ก่อนและหลังการก่อสร้าง
พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา
แผนที่แสดงเชดสีสูงต่ำตามค่าระดับเส้นชั้นความสูง
การสำรวจรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ(Topographic Surveying) Part 2
ความสำคัญของเนื้อหา เพื่อให้รู้กระบวนการสำรวจรังวัดเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อให้รู้วิธีการประกอบแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อให้สามารถออกแบบและระบุข้อกำหนดการรังวัดแผนที่ภูมิประเทศได้
มาตราส่วนแผนที่ภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ มาตราส่วนเล็ก คือ แผนที่มีมาตราส่วน 1:50,000, 1:250,000, 1:1,000,0000 มาตราส่วนกลาง คือ แผนที่มีมาตราส่วน 1:10,000, 1:20,000, 1:25,000 มาตราส่วนใหญ่ คือ แผนที่มีมาตราส่วน 1:250, 1:500, 1:1,000, 1:2,500, 1:4,000, 1:5,000
ขั้นตอนการรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ การสำรวจสังเขป (Reconnaissance) การสำรวจรังวัดหมุดหลักฐาน (Control Surveys) การสำรวจรังวัดเก็บรายละเอียด (Details Surveys) การเขียนแผนที่ภูมิประเทศ การตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ
ผังงานรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ
การสำรวจสังเขป (Reconnaissance) การสำรวจสังเขป คือ การลงพื้นที่เพื่อประเมินสภาพภูมิประเทศก่อนเข้าทำการรังวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างหมุดหลักฐานทั้งทางราบและทางดิ่ง กำหนดตำแหน่งหมุดสถานีวงรอบเพื่อใช้ในการจัดเก็บรายละเอียด กำหนดมาตรฐานการดำเนินงานรังวัดหมุดหลักฐาน วิเคราะห์ความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่ต้องการ และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม จัดหาหมุดหลักฐานที่ใช้ในการโยงยึดทั้งทางราบและทางดิ่งในบริเวณใกล้เคียง ประเมินเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การสำรวจรังวัดหมุดควบคุม (Control Surveys) หลังจากได้ข้อกำหนดการทำงานจากการวิเคราะห์พื้นที่ด้วยการสำรวจสังเขป การสร้างหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องดำเนินการก่อน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ โยงยึดหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่งจากภายนอกมายังหมุดหลักฐานภายใน พื้นที่โครงการรังวัดหมุดควบคุมสำหรับใช้ในพื้นที่โครงการอย่างทั่วถึง
วิธีรังวัดหมุดควบคุม การรังวัดหมุดหลักฐานทางราบ (Horizontal Control Surveys) Traverse Triangulation Network GPS การรังวัดหมุดหลักฐานทางดิ่ง (Vertical Control Surveys) Differential Leveling
การสำรวจรังวัดรายละเอียด (Details Surveys) เมื่อได้สร้างหมุดสถานีที่ทราบค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่ง จึงใช้สถานีดังกล่าวในการรังวัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ ซึ่งวิธีการสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ วิธีการวัดระยะฉาก (Offset Surveying) วิธีรังวัดแบบสเตเดีย (Stadia) วิธีรังวัดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทัชโอมิตรี (Electronic Tacheometry)
การรังวัดด้วยโซ่ (Chain Surveying)
วิธีรังวัดแบบสเตเดีย (Stadia)
วิธีรังวัดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทัชโอมิตรี(Electronic Tacheometry)
การคำนวณค่าพิกัด
การประกอบแผนที่(Map Compilation) Part 3
องค์ประกอบแผนที่ภูมิประเทศ
การเขียนแผนที่ (Mapping Plotting) จาก การวัดมุมและระยะ
การเขียนแผนที่ (Mapping Plotting)จากข้อมูลค่าพิกัด
ตัวอย่างสัญลักษณ์การเขียนแผนที่ 1:50,000 กรมแผนที่ทหาร
55 ตัวอย่างสัญลักษณ์การเขียนแผนที่
56 ตัวอย่างสัญลักษณ์การเขียนแผนที่ http://erg.usgs.gov/isb/pubs/booklets/symbols/
การตรวจสอบคุณภาพแผนที่ ความครบถ้วนของข้อมูลแผนที่ (Completeness) คือ การตรวจสอบในด้านปริมาณ (Quantities) ของรายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การใช้งานหรือไม่ ความถูกต้องเชิงตำแหน่ง (Positional Accuracy) คือ การตรวจสอบความถูกต้องทางตำแหน่งของรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ เป็นการตรวจสอบด้านคุณภาพ (Qualities) แบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบ (Horizontal Positional Accuracy) และ ความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางดิ่ง (Vertical Positional Accuracy)
ความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบ(Horizontal Positional Accuracy) การวัดปริมาณต่างๆ บนแผนที่ ขนาดจุดที่เล็กที่สุดที่สามารถจะวัดได้เท่ากับ 0.2 มิลลิเมตร ดังนั้นค่าพิกัดตำแหน่งที่อ่านได้ควรมีความถูกต้องในเกณฑ์เท่ากับ ขนาด 0.2 มิลลิเมตรคูณด้วยมาตราส่วนของแผนที่กระดาษนั้น เช่น แผนที่มาตราส่วน 1:1,000 ความถูกต้องของตำแหน่งจุดที่อ่านได้จะอยู่ในเกณฑ์ 0.2 x 1,000 = 200 มิลลิเมตร หรือ 0.20 เมตร
ความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางดิ่ง (Vertical Positional Accuracy) ความถูกต้องทางค่าระดับความสูงของแผนที่ภูมิประเทศ ทำได้ด้วย การอ่านค่าระดับความสูงที่ตำแหน่งที่ต้องการ และทำการเปรียบเทียบกับค่าที่รังวัดได้จริงในสนามที่ตำแหน่งนั้น โดยยอมให้ผิดพลาดได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของช่วงเส้นชั้นความสูง เช่น แผนที่ที่มีช่วงเส้นชั้นความสูง 1 เมตร จะยอมให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน 0.50 เมตร เป็นต้น การเขียนรูปตัดตามแนวต่าง ๆ จากเส้นชั้นความสูง และเปรียบเทียบกับรูปตัดแนวเดียวกันนั้นที่รังวัดได้ในสนาม เพื่อดูลักษณะความสอดคล้องของพื้นที่เปรียบเทียบกัน
ระบบงานสำรวจรังวัดอัตโนมัติ (Survey Automation System) Part 4
ความสำคัญของเนื้อหา เพื่อให้รู้ถึงเทคโนโลยีการสำรวจรังวัด เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของระบบงานสำรวจอัตโนมัติ เพื่อให้เข้าใจในการวางระบบงานสำรวจอัตโนมัติ
ระบบงานสำรวจอัตโนมัติ
ปัญหาในการดำเนินงานระบบสำรวจอัตโนมัติ ไม่มีระบบงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลที่ได้ไม่สามารถนำมาใช้ในการประมวลผลได้ทันที เสียเวลาในการปรับแต่งข้อมูลค่อนข้างมาก ความหลากหลายของเครื่องมือที่มีอยู่ในองค์กร วิธีใช้งานแตกต่างกัน รูปแบบการบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน ยากต่อปรับวิธีการให้สอดคล้องกับการทำงานของซอฟแวร์
การดำเนินงานอย่างไร
ระบบรหัสภาคสนาม(Field Coding System) ทำไมต้องใช้ระบบรหัส เพื่อให้โปรแกรมสามารถเขียนรูปรายละเอียดได้ทันทีจากข้อมูลสนาม โดยลดการแก้ไขข้อมูลในสำนักงานให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีการจัดระบบข้อมูลเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน และสะดวกต่อการประมวลผลข้อมูลเชิงวิศวกรรม เช่น การสร้าง DTM เพื่อลดความยุ่งยากในการจัดการข้อมูลในระบบ GIS เพื่อให้เกิดมาตรฐานการทำงาน และสามารถตรวจสอบคุณภาพได้
ลักษณะข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลจุด (Point feature) จุดระดับความสูง ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หมุดหลักฐานงานสำรวจ ข้อมูลเส้น (Line feature) เส้นกึ่งกลางถนน ขอบเขตทาง แนวรั้ว ขอบเขตอาคาร เส้นทางน้ำ ร่องน้ำ
ประเภทระบบรหัส ระบบตัวเลข เป็นระบบที่ใช้ตัวเลขอย่างเดียว เช่น ตัวเลข 5 หลัก ##### โดยที่  3 หลักแรกระบุรหัสข้อมูลว่าคืออะไร 2 หลักหลังระบุประเภทกราฟิกของข้อมูล เป็นระบบที่สื่อความหมายกับผู้ใช้ยาก แต่อาจจะสะดวกในการทำงานในสนาม ระบบตัวอักษร เป็นระบบที่ใช้คำย่อของสิ่งนั้นๆ ในภาษาอังกฤษ ไม่มีการบอกประเภทของกราฟิกของข้อมูลที่รังวัด เป็นระบบที่ไม่สะดวกกับงานขึ้นรูปแผนที่ในสำนักงาน ระบบตัวอักษรและตัวเลข คือระบบตัวอักษรและมีการให้ระบบตัวเลขเพื่อบอกประเภทกราฟิก
ระบบรหัสที่เหมาะสม ต้องสามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ชัดเจน ต้องสามารถจัดประเภทกราฟิกของข้อมูลเพื่อประมวลผลได้อย่างถูกต้องโดยแก้ไข เพิ่มเติมน้อยที่สุด ต้องสามารถครอบคลุมวิธีการทำงานสำรวจในสนามได้ โดยไม่มีการทำงานซ้ำซ้อน และอำนวยความสะดวกในการทำงานทั้งภาคสนามและสำนักงาน
ตัวอย่างรหัสคุณลักษณะ (Feature Code)
ตัวอย่างรหัสคุณลักษณะ (Feature Code)
ตัวอย่างการใช้รหัส ข้อมูลจุด (Point feature) ให้ใช้ตามปกติ เช่น EP, LP, WV เป็นต้น จุดที่ต้องการบอกรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น TR145 (ต้นไม้ขนาด 1.45 เมตร) ,MHE124(manhole ขนาด 1.24 เมตร) , CCC150 ( เสากลมขนาด 1.50 เมตร)
ตัวอย่างการใช้รหัส ข้อมูลเส้น (Line feature) เส้นตรงที่มีโค้งผสม เช่น เส้นขอบถนนคอนกรีต (EOR01) ให้code เป็น EOR01 เมื่อเส้นเริ่มเปลี่ยนโค้งให้ทำการเก็บตำแหน่งของจุดบนโค้ง 3 จุด คือ ตำแหน่งเริ่มโค้ง,กลางโค้ง ,ปลายโค้ง และให้ต่อท้าย code ด้วย “A” เป็น EOR01A รูปปิดต่างๆ เช่น แนวรั้วลวดหนาม (FX04) ให้รังวัดจุดต่อเนื่องและเรียงกันไปในทิศทางเดียวกัน ให้ code เป็น FX04 เมื่อรังวัดมาถึงจุดสุดท้ายให้ต่อท้าย code ด้วย“C” (close) เป็น FX04C เพื่อปิดรูปทรงดังกล่าว
การให้รหัสข้อมูลจุด
การให้รหัสข้อมูลเส้น
ผังงานระบบสำรวจอัตโนมัติ
ตัวอย่างการประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จบบทที่ 12

More Related Content

What's hot

บทที่ 7 E D M Total Station
บทที่ 7  E D M  Total  Stationบทที่ 7  E D M  Total  Station
บทที่ 7 E D M Total StationChattichai
 
ปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าว
ปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าวปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าว
ปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าวNut Seraphim
 
บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์
บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์
บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์Thepsatri Rajabhat University
 
18.azimuth ดวงอาทิตย์
18.azimuth  ดวงอาทิตย์18.azimuth  ดวงอาทิตย์
18.azimuth ดวงอาทิตย์Kasetsart University
 
บทที่ 4 การระดับ 2
บทที่ 4 การระดับ 2บทที่ 4 การระดับ 2
บทที่ 4 การระดับ 2Chattichai
 
บทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยม
บทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยมบทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยม
บทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยมChattichai
 
ตารางคำนวน งานระดับ
ตารางคำนวน งานระดับตารางคำนวน งานระดับ
ตารางคำนวน งานระดับKasetsart University
 
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ศุภชัย พุทธรักษ์
 
บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2
บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2
บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2Chattichai
 
โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)
โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)
โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)waranyuati
 
เรื่องเวกเตอร์คำนวณ
เรื่องเวกเตอร์คำนวณเรื่องเวกเตอร์คำนวณ
เรื่องเวกเตอร์คำนวณพัน พัน
 
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทปNut Seraphim
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศthnaporn999
 
01 หลักการของงานสำรวจ
01 หลักการของงานสำรวจ01 หลักการของงานสำรวจ
01 หลักการของงานสำรวจNut Seraphim
 
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...Kasetsart University
 
ตัวชี้วัดม.2
ตัวชี้วัดม.2ตัวชี้วัดม.2
ตัวชี้วัดม.2Yoon Yoon
 
การเขียนภาพแผ่นคลี่
การเขียนภาพแผ่นคลี่การเขียนภาพแผ่นคลี่
การเขียนภาพแผ่นคลี่prasong singthom
 

What's hot (20)

บทที่ 7 E D M Total Station
บทที่ 7  E D M  Total  Stationบทที่ 7  E D M  Total  Station
บทที่ 7 E D M Total Station
 
ปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าว
ปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าวปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าว
ปฏิบัติงานการวัดระยะด้วยการนับก้าว
 
บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์
บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์
บทที่ 1 หน่วยวัดและปริมาณทางฟิสิกส์
 
18.azimuth ดวงอาทิตย์
18.azimuth  ดวงอาทิตย์18.azimuth  ดวงอาทิตย์
18.azimuth ดวงอาทิตย์
 
ภาพฉายมุมที่1 3
ภาพฉายมุมที่1 3ภาพฉายมุมที่1 3
ภาพฉายมุมที่1 3
 
บทที่ 4 การระดับ 2
บทที่ 4 การระดับ 2บทที่ 4 การระดับ 2
บทที่ 4 การระดับ 2
 
บทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยม
บทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยมบทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยม
บทที่ 10 งานโครงข่ายสามเหลี่ยม
 
ตารางคำนวน งานระดับ
ตารางคำนวน งานระดับตารางคำนวน งานระดับ
ตารางคำนวน งานระดับ
 
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2
บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2
บทที่ 2 ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน 2
 
ภาคผนวก
ภาคผนวกภาคผนวก
ภาคผนวก
 
โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)
โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)
โครงงานเอ็นโอการ์ด (Number and Operation Card)
 
เรื่องเวกเตอร์คำนวณ
เรื่องเวกเตอร์คำนวณเรื่องเวกเตอร์คำนวณ
เรื่องเวกเตอร์คำนวณ
 
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
 
01 หลักการของงานสำรวจ
01 หลักการของงานสำรวจ01 หลักการของงานสำรวจ
01 หลักการของงานสำรวจ
 
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
 
ตัวชี้วัดม.2
ตัวชี้วัดม.2ตัวชี้วัดม.2
ตัวชี้วัดม.2
 
รากที่สอง..
รากที่สอง..รากที่สอง..
รากที่สอง..
 
การเขียนภาพแผ่นคลี่
การเขียนภาพแผ่นคลี่การเขียนภาพแผ่นคลี่
การเขียนภาพแผ่นคลี่
 

More from Chattichai

แบบฝึกหัด Strength Of Figure
แบบฝึกหัด  Strength Of  Figureแบบฝึกหัด  Strength Of  Figure
แบบฝึกหัด Strength Of FigureChattichai
 
Triangulation Sample
Triangulation  SampleTriangulation  Sample
Triangulation SampleChattichai
 
แบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม New
แบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม Newแบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม New
แบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม NewChattichai
 
แบบฝึกหัด Strength Of Figure เฉลย
แบบฝึกหัด  Strength Of  Figure   เฉลยแบบฝึกหัด  Strength Of  Figure   เฉลย
แบบฝึกหัด Strength Of Figure เฉลยChattichai
 
บทที่ 11 ทัชโอเมตรี
บทที่ 11 ทัชโอเมตรีบทที่ 11 ทัชโอเมตรี
บทที่ 11 ทัชโอเมตรีChattichai
 
บทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Version
บทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Versionบทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Version
บทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full VersionChattichai
 
บทที่ 6 กล้องวัดมุม
บทที่ 6 กล้องวัดมุมบทที่ 6 กล้องวัดมุม
บทที่ 6 กล้องวัดมุมChattichai
 

More from Chattichai (8)

Final 2
Final 2Final 2
Final 2
 
แบบฝึกหัด Strength Of Figure
แบบฝึกหัด  Strength Of  Figureแบบฝึกหัด  Strength Of  Figure
แบบฝึกหัด Strength Of Figure
 
Triangulation Sample
Triangulation  SampleTriangulation  Sample
Triangulation Sample
 
แบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม New
แบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม Newแบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม New
แบบฝึกหัด โครงข่ายสามเหลี่ยม New
 
แบบฝึกหัด Strength Of Figure เฉลย
แบบฝึกหัด  Strength Of  Figure   เฉลยแบบฝึกหัด  Strength Of  Figure   เฉลย
แบบฝึกหัด Strength Of Figure เฉลย
 
บทที่ 11 ทัชโอเมตรี
บทที่ 11 ทัชโอเมตรีบทที่ 11 ทัชโอเมตรี
บทที่ 11 ทัชโอเมตรี
 
บทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Version
บทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Versionบทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Version
บทที่ 9 ดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น Full Version
 
บทที่ 6 กล้องวัดมุม
บทที่ 6 กล้องวัดมุมบทที่ 6 กล้องวัดมุม
บทที่ 6 กล้องวัดมุม
 

บทที่ 12 การสำรวจแผนที่ภูมิประเทศ