SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
หลั ก สู ต รท้ อ งถิ ่ น

                   เรื ่ อ ง ปั น จั ก สี ล ั ต
١. สาระสำ า คั ญ ของหลั ก สู ต ร / หลั ก การของหลั ก สู ต ร
     สิละ หรือซีละ เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในอดีตที่นิยม
แพร่หลายในหมู่ชนชาวมลายูพื้นที่เอเซียอาคเนย์ รวมทั้งชาวไทย
ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันกำาลังได้รับความนิยมแพร่
หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ




                รูปการแสดงปันจักสีลัตของนักเรียนโรงเรียน
บ้านแป๊ะบุญในพิธีเปิดการแข่งขันปันจักสีลัตชิงชนะเลิศแห่ง
ประเทศไทยชิงถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าที่
ปังกรรัศมีโชติ ณ ศูนย์การค้าจางซีลอน อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เมื่อ -٤
٨ เมษายน ٢٥٥٢

      สิละ เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เน้นลีลาการเคลื่อนไหวที่
สวยงาม ประหนึ่งการแหวกว่ายของมัจฉาขณะต่อสู้กับปกปักษ์
หรือ เสมือนหนึ่งการเคลื่อนไหวของดอกอินทนิน ซึ่งลอยอยู่บน
ระลอกคลื่นคอยหาจังหวะประชิดตัว ใช้มือหรือเท้าเข้าจู่โจมคู่ต่อสู้
อย่าง รวดเร็ว ปานสายฟ้าแลบ ท่ามกลางการโหมกระชั้นของ
จังหวะดนตรี
      สิละ เป็นตำานานการต่อสู้ของชาวหมู่เกาะสุมาตรา มากกว่า
400 ปี มีเรื่องเล่าขานสิบต่อกันมาว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสาย
สุมาตราได้ไปศึกษาวิทยายุทธขณะที่อยู่ในสำานักวิทยายุทธนั้น
สหายคนหนึ่งชื่อ ฮามินนุดดิน ได้สังเกตุเห็นลีลาการเคลื่อนไหว
ของดอก บอเมอร์ หรือดอกอินทนิน ทีหล่นลงไปท่ามกลางสระ
                                     ่
นำ้าตก มีระลอกคลื่นหมุนเวียนทำาให้ดอกบอมอร์ลอยกลับไปกลับ
มาประหนึ่งมีชีวิต ฮามินนุดดิน จึงได้นำาลีลาลอยของดอกบอมอร์
มาประยุกต์สอนร่ายรำาให้แก่เพื่อน และช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหว
ของแขนขา เพื่อป้องกัน ฝ่ายศัตรูถ่ายทอดเป็นวิชาสีละ สืบต่อกัน
มาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

             ซีละ ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat
โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว แม้แต่ที่
Boro bodar ทีอินโดนีเซีย ก็ยังมีการแกะสลักศิลปะการป้องกันตัว
                 ่
ของชนชาวมลายูไว้ นั้นแสดงว่า Silat ได้กำาเนินขึ้นมาเป็นเวลานับ
ร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat
นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการ
โจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้
โจมตีตัวเรา

      ส่วนคำาว่า ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำาที่มาจาก
ภาษาอินโดนีเซียมาจากคำาว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการ
ป้องกันตนเอง และคำาว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความ
แล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะ
การต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่
มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล
นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็น
ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการ
เคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำาว่า ศิละ
ภาษาสันสกฤต

      ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดน
อาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำาคัญ จึง
มีคำาสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น
มีตำานานเล่าต่อกันมาหลายตำานาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่าง
กันบ้างโดยเฉพาะต้นกำาเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่งเขียนขึ้นอยู่กับ
แต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็
เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำาเสนอในโอกาสต่อไป แต่
สำาหรับครั้งนี้จะขอนำาบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดย อาจารย์
ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เรื่องสิละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสิละที่ชาวไทย
มุสลิมในจังหวัดทางภาคใต้รู้จักกันดี
ท่ารำากำาเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระแสนำ้าวน
      Mubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำานานสิละไว้ว่า การต่อสู้แบบ
สิละมีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้วโดยกำาเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้
สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำานานว่า สมัยหนึ่งสาม
สหายเชื้อสายสุมาตรา ชือ บูฮันนุดดิน ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน
                           ่
เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไป
ศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของสุมาตรา สำานักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระนำ้าใหญ่ นำ้าในสระ
ไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดก
ลมกลืนกับสีนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นนำ้าเนืองนิตย์ วันหนึ่ง ฮา
มินนุดดินไปตักนำ้าที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงนำ้าตกทำาให้
นำ้าในสระเป็นระลอกคลื่นหมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมอร์
ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกนำ้าพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อน
กลับไปใกล้ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิต จิตใจ ฮา
มินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุนำ้า แล้ว
จ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้า
ดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาได้นำาลีลาการลอยของดอกบอมอร์มา
ประยุกต์สอนการร่ายรำาให้แก่เพื่อนทั้งสองและช่วยกันคิดวิธี
เคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละจึง
เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้
      เมื่อสามสหายเดินทางกลับถิ่นเดิมแล้ว ต่างตั้งตัวเป็นครูสอน
วิทยายุทธและศาสนาอิสลาม ปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครฝึกฝนการ
ต่อสู้แบบสิละจนเป็นที่แพร่หลายออกไปตามลำาดับ เมื่อจะฝึกสิละ ผู้
สมัครใจต้องนำาไหว้ครู โดยนำาผ้าขาว ข้าวสมางัด ด้ายขาว และ
แหวน 1 วง มามอบให้กับครูฝึก ผู้เป็นศิษย์ใหม่จะต้องมีอายุไม่
น้อยกว่า 15 ปี ระยะเวลาที่เรียน 3 เดือน 10 วัน จึงจะจบ หลักสูตร
การสอนนั้นจะมีครูสิละคนหนึ่งต่อศิษย์ 14 คน ในรุ่นหนึ่ง ๆ ผู้ที่เก่ง
ที่สุดจะได้รับแหวนจากครู และได้รับเกียรติเป็นหัวหน้าทีมและ
สอนแทนครูได้ การแต่งกายของนักสิละเท่าที่สังเกตมุ่งที่ความ
สวยงามเป็นประการสำาคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสือคอกลม้
หรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วมีผ้าโสร่งเรียกผ้าชอเกตลาย สด
สวยสวมทับพร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอวหรือมิฉะนั้นก็คาด
เข็มขัดทับโสร่งให้กระชับ นอกจากนั้นเหน็บกริชตามฉบับนักสู้
ไทยมุสลิม
      เครื่องดนตรีสิละประกอบด้วยกลองยาว 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ
ฆ้อง 1 คู่ และปี่ยาว 1 เลา เมื่อนักสิละขึ้นบนสังเวียนแล้ว ดนตรีจะ
ประโคมเรียกความสนใจคนดู โดยเฉพาะเสียงปี่เร้าอารมณ์ไม่ยิ่ง
หย่อนกว่ามวยไทย การไหว้ครูแบบสิละนั้น เขาไหว้ทีละคน วิธี
การไหว้ครูแต่ละสำานักแตกต่างกันไป สังเกตว่าขณะรำาไหว้ครูนั้น
นักสิละจะทำาปากขมุบขมิบว่าคาถาเป็นภาษาอาหรับ และที่สำาคัญ
คือขอพรสี่ประการ สรุปเป็นภาษาไทยดังนี้
o ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย
o ขอให้ปลอดภัยจากปรปักษ์
o ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน
o ขอให้ท่านผู้ชมนิยมศรัทธา

       เริ่มต้นด้วยการสาลามัต
      ก่อนนักสิละลงมือต่อสู้ ทังคู่จะทำาความเคารพกันและกัน
                               ้
เรียกว่า “ สาลามัต” คือต่างสัมผัสมือแล้วแตะที่หน้าผาก หลังจาก
นั้นจึงเริ่มวาดลวดลายร่ายรำาตามศิลปะสิละ บางครั้งนักสู้ต่าง
กระทืบเท้าให้เกิดเสียงหรือมิฉะนั้นเอาฝ่ามือตีที่ต้นขาของตนเอง
เพื่อให้เกิดเสียงข่มขวัญปรปักษ์ เมื่อรำาไปรำามา หรือก้าวไปถอยมา
ประหนึ่งว่าเป็นการลองเชิงพอสมควรแล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้
คือหาจังหวะให้มือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงกันข้าม
จังหวะการประชิดตัวนั้นดูเหมือนว่าจะหำ้าหั่นกันชั่วฟ้าแลบ ขณะนั้น
ดนตรีก็โหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ ฝ่ายใดทำาให้คู่
ต่อสู้ล้มลงหรืออาศัยการตัดสินจากผู้ดูรอบสนามว่าเป็นเสียงปรบ
มือให้ฝ่ายใดดัง ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ
       กติกาข้อห้ามที่นักสิละต้องเว้น ได้แก่ ห้ามเอานิวมือแทงตา
                                                      ้
คู่ต่อสู้เพราะต่างไม่สวมนวมและไม่กำามือแน่นอย่างชกมวยไทย
หรือมวยสากล ถัดมาคือห้ามบีบคอ ห้ามต่อยแบบมวยไทย เช่น
ใช้ศอก และเข่า
       กระบวนชั้นเชิงสิละ ตามที่ Mobin Shoppard เขียนไว้ใน
หนังสือ Teran Mndera มีมากมายหลายท่าเช่น
o ซังคะ ตั้งท่าป้องกัน
o ลังคะดาน ท่ายืนตรงพร้อมต่อสู้
o ลังคะทีฆา ท่ายกมือป้องกัน คือมือขวาปิดท้องน้อยแขนซ้ายยก
เสมอบ่า
o ลังคะเลิมปัด ท่าก้าวไปตั้งหลักเบื้องหน้าปรปักษ์ โดยก้าวเท้า
ทั้งสองอย่างรวดเร็ว
             สิละของมุสลิมภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
• สิละยาโต๊ะ คือ สิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุกอีกฝ่าย
หนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เลยเรียกว่า สิละยาโต๊ะ (ตก)
ส่วนมากใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
• สิละตารี (รำา) คือ สิละที่ต่อกรด้วยความชำานาญในจังหวะลีลา
การร่ายรำา ส่วนมากแสดงเฉพาะ หน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง
• สิละกายอ (กริช) คือ สิละใช้กริชประกอบการร่ายรำาไม่ใช้การ
ต่อสู้จริง ๆ แต่อวดลีลากระบวนท่าทางต่อสู้ ส่วนมากแสดงในเวลา
กลางคืน
            รวมความแล้ว จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของสิละมุ่งศิลปะ
การร่ายรำามากกว่าศิลปะการต่อสู้แบบสมจริง ท่าทางยกไม้ยกมือมี
ส่วนคล้ายคลึงกับมวยจีนหรือกังฟู ชวนให้คิดไปว่าต้นกำาเนิดสิละ
นั้น อาจมิใช่อย่าง Mubin Sheppard เสนอไว้ขางต้นคงสืบเนื่อง
                                               ้
มาจากพ่อค้าจีน นำาศิลปะของตนมาเผยแพร่ ณ เมืองปัตตานีครั้ง
โบราณ ตำานานปัตตานีมักปรากฏชาวจีนเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอไม่
ว่าเป็นตำานานของลิ่มโต๊ะเคี่ยมนายช่างปืนใหญ่ นางพญาตานี
และตำานานลิ่มกอเหนี่ยวผู้เป็นน้อง เมื่อชาวจีนเข้ามาค้าขายที่
เมืองปัตตานีแล้วก็นำาศิลปะการต่อสู้ของตนมาเผยแพร่ ผสมผสาน
กับมวยพื้นเมือง จึงเป็นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่เรียกว่า สิละ
อย่างไรก็ตาม ยังมีที่มาของสิละอีกหลายสำานวนซึ่งยังสรุปแน่นอน
มิได้

        กีฬาปันจักสีลัตในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
        กีฬาปันจักสีลัตที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ ในปัจจุบัน
นี้อยู่ภายใต้กติกาและระเบียบการแข่งขันของสหพันธ์ปันจักสีลัต
นานาชาติ ตั้งอยู่ ณ นครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทีได้จัดให้
                                                         ่
มีการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้าย
จัดขึ้นที่อำาเภอหาดใหญ่ ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2537 มีนักกีฬาจาก
18 ประเทศเข้าร่วมในการแข่งขันครังนี้ และกีฬาปันจักสีลัตก็ได้รับ
                                      ้
บรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ
นครจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการ
แข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ครังล่าสุดในกีฬา
                                                  ้
ซีเกมส์ ครั้งที่ 20
กีฬาปันจักสีลัตในปัจจุบัน
       กีฬาปันจักสีลัตได้เปลี่ยนโครงสร้าง โดยจัดประเภทของการ
แข่งขันซึ่งเดิมจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภท ในการแข่งขันชิง
แชมป์นานาชาติ และการแข่งขันชิงแชมป์โลก คือ ประเภทการ
ต่อสู้จริง และการแสดงศิลปะการต่อสู้ (เป็นการแสดง) แต่การ
แข่งขันปันจักสีลัตในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13-18 มีการแข่งขันเพียง
ประเภทเดียว คือ ประเภทการต่อสู้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง
โดยแยกการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในการ
แข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก ปี 1997 ณ ประเทศมาเลเซีย
และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย จนถึง
ปัจจุบัน
             ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้
ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ทถูก     ี่
มนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการ
ป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้ ในการเรียนเกี่ยวกับ
ศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรูที่อยู่ในระดับ
                                                   ้
ทีแตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน
  ่
โดยปกติแล้วระดับความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มี
อยู่ 5 ระดับ คือ
             1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการ
เคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
             2.ระดับ Budaya Seni เป็นระดับการเรียนรูวิถีชีวิตและ
                                                      ้
คำาสั่งการ พร้อมการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat
             3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของ
ศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
             4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้า
ใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
             5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำานึกในศิลปะ
การป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกัน
ตัว Silat
             6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการ
ป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการ
ป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว
Silat ทุกคน
             ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา
การก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่
แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของ
ศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลาก
หลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
                                         ่
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
                                       ่
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่
เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุดใน
                                           ่
มาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุด
                                                     ่
ในมาเลเซีย




      ซีละ เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่สืบทอดกันมาเนิ่นนานของ
ชาวไทยเชื้อสายมุสลิม ลักษณะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟู
หรือมวยไทย การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยจะไหว้ที
ละคน ผู้เล่นจะท่องบ่นคาถามีใจความว่า “ขออโหสิกรรมแก่คู่
ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา” ผู้
แสดงจะแสดงเป็นคู่ๆ เน้นการแต่งกายที่สวยงาม โดยสวมเสื้อ
แขนสั้น นุ่งโสร่ง สีสดทับกางเกงขายาว คาดเอวด้วยผ้า หรือ
เข็มขัดคาดทับโสร่งให้กระชับ เหน็บกริชที่เอวและมีผ้าโพกศีรษะ
ดังนั้นเพื่อเป็นการให้นักเรียนและชาวบ้านได้รับความรู้ และ
แนวทางการฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงได้จัดทำาหลักสูตรซีละขึ้น เพื่อ
ให้กลุ่มได้เรียนรู้และสามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวัน
ได้




2. ขอบเขตของเนื ้ อ หา
      ٢.١ ท่ า ทางต่ า งๆของปั น จั ก สี ล ั ต
   1. Stance with kuda-kuda – Front feet in a line with the
      back feet วางเท้าตรงด้านหน้ากับด้านหลัง ค.ท.ตรง
   2. Stance with kuda-kuda – Body twisted การไขว้หรือบิด
      เกลียวลำาตัว
   3. Stance with kuda-kuda – Forward diagonally เดิน
      ทแยงมุมไปข้างหน้า
   4. Stance with kuda-kuda – Middle, facing forward ตรง
      กลาง,หน้าตรง
   5. Stance with kuda-kuda – Legs crossed (Behind) ไขว้
      ขาไปข้างหลัง
   6. Stance with kuda-kuda – Middle, facing sideways
      ตรงกลาง,หน้าเอียง
   7. Stance with kuda-kuda – Legs crossed (In front) ไขว้
      ขาไปข้างหน้า
   8. Stance with kuda-kuda – One leg raised เท้าใดเท้า
      หนึ่งยก
      ٢.٢ การเคลื ่ อ นไหว ٥ แบบ
   1. Angkatan – Moving with raising your feet“อังกัตตัน”
            การเดินแบบยกเท้า
   2. Geseran – Moving with shifting your feet “กือซือรัน”
            การเคลื่อนที่แบบสืบเท้า
3. Ingsutan – Moving with edging / inching (forward /
   backwards / sideways) with your feet “อังสุทตัน”
           การเคลื่อนที่แบบข้าง เคลื่อนทีละน้อย(ไปข้างหน้า/
   ข้างหลัง/ข้างๆ)ด้วยเท้า
4. Lompatan / Loncatan – Moving with jumping“ล็อมปัต
   ตัน” เคลื่อนที่แบบกระโดด
5. Putaran – Moving with raising your leg and rotating /
   twisting feet“ปูตารัน”              การเคลื่อนที่แบบยกเท้า
   แล้วหมุน/การไขว้เท้า
   2.3 รู ป แบบการก้ า วเท้ า
1. ทางตรง
2. ซิกแซก
3. สามเหลี่ยม
4. ตัว U
5. ตัว s/z
6. สี่เหลี่ยม
7. กากบาท

More Related Content

What's hot

การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกPannaray Kaewmarueang
 
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)Mahidol University, Thailand
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์dnavaroj
 
หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว
หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว
หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว Terapong Piriyapan
 
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีสWijitta DevilTeacher
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุหลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุAiman Sadeeyamu
 
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยNarenthorn EMS Center
 
การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17
การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17
การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17DoraPari Pari
 
การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซีย
การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซียการศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซีย
การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซียkrupanisara
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2Wichai Likitponrak
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 Bom Anuchit
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 

What's hot (20)

การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
 
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
 
รายงาน ฟุตซอล
รายงาน ฟุตซอลรายงาน ฟุตซอล
รายงาน ฟุตซอล
 
Schizophrenia
SchizophreniaSchizophrenia
Schizophrenia
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ
 
หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว
หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว
หน่วยที่ 1 การวางแผนดูเเลสุขภาพของตนเองเเละครอบครัว
 
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุหลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
 
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
 
การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17
การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17
การใส่สวนปัสสาวะ หญิง 16 sep17
 
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
แนวข้อสอบ  100  ข้อแนวข้อสอบ  100  ข้อ
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
 
การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซีย
การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซียการศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซีย
การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซีย
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
 
เฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
เฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
เฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 

หลักสูตรปันจักสีลัต1

  • 1. หลั ก สู ต รท้ อ งถิ ่ น เรื ่ อ ง ปั น จั ก สี ล ั ต ١. สาระสำ า คั ญ ของหลั ก สู ต ร / หลั ก การของหลั ก สู ต ร สิละ หรือซีละ เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในอดีตที่นิยม แพร่หลายในหมู่ชนชาวมลายูพื้นที่เอเซียอาคเนย์ รวมทั้งชาวไทย ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันกำาลังได้รับความนิยมแพร่ หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ รูปการแสดงปันจักสีลัตของนักเรียนโรงเรียน บ้านแป๊ะบุญในพิธีเปิดการแข่งขันปันจักสีลัตชิงชนะเลิศแห่ง ประเทศไทยชิงถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าที่ ปังกรรัศมีโชติ ณ ศูนย์การค้าจางซีลอน อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เมื่อ -٤ ٨ เมษายน ٢٥٥٢ สิละ เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เน้นลีลาการเคลื่อนไหวที่ สวยงาม ประหนึ่งการแหวกว่ายของมัจฉาขณะต่อสู้กับปกปักษ์ หรือ เสมือนหนึ่งการเคลื่อนไหวของดอกอินทนิน ซึ่งลอยอยู่บน ระลอกคลื่นคอยหาจังหวะประชิดตัว ใช้มือหรือเท้าเข้าจู่โจมคู่ต่อสู้ อย่าง รวดเร็ว ปานสายฟ้าแลบ ท่ามกลางการโหมกระชั้นของ จังหวะดนตรี สิละ เป็นตำานานการต่อสู้ของชาวหมู่เกาะสุมาตรา มากกว่า 400 ปี มีเรื่องเล่าขานสิบต่อกันมาว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสาย สุมาตราได้ไปศึกษาวิทยายุทธขณะที่อยู่ในสำานักวิทยายุทธนั้น สหายคนหนึ่งชื่อ ฮามินนุดดิน ได้สังเกตุเห็นลีลาการเคลื่อนไหว
  • 2. ของดอก บอเมอร์ หรือดอกอินทนิน ทีหล่นลงไปท่ามกลางสระ ่ นำ้าตก มีระลอกคลื่นหมุนเวียนทำาให้ดอกบอมอร์ลอยกลับไปกลับ มาประหนึ่งมีชีวิต ฮามินนุดดิน จึงได้นำาลีลาลอยของดอกบอมอร์ มาประยุกต์สอนร่ายรำาให้แก่เพื่อน และช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหว ของแขนขา เพื่อป้องกัน ฝ่ายศัตรูถ่ายทอดเป็นวิชาสีละ สืบต่อกัน มาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซีละ ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว แม้แต่ที่ Boro bodar ทีอินโดนีเซีย ก็ยังมีการแกะสลักศิลปะการป้องกันตัว ่ ของชนชาวมลายูไว้ นั้นแสดงว่า Silat ได้กำาเนินขึ้นมาเป็นเวลานับ ร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการ โจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้ 2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว 3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้ โจมตีตัวเรา ส่วนคำาว่า ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำาที่มาจาก ภาษาอินโดนีเซียมาจากคำาว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการ ป้องกันตนเอง และคำาว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความ แล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะ การต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็น ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการ เคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำาว่า ศิละ ภาษาสันสกฤต ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดน อาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำาคัญ จึง มีคำาสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำานานเล่าต่อกันมาหลายตำานาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่าง กันบ้างโดยเฉพาะต้นกำาเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่งเขียนขึ้นอยู่กับ แต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็
  • 3. เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำาเสนอในโอกาสต่อไป แต่ สำาหรับครั้งนี้จะขอนำาบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดย อาจารย์ ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องสิละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสิละที่ชาวไทย มุสลิมในจังหวัดทางภาคใต้รู้จักกันดี ท่ารำากำาเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระแสนำ้าวน Mubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำานานสิละไว้ว่า การต่อสู้แบบ สิละมีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้วโดยกำาเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้ สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำานานว่า สมัยหนึ่งสาม สหายเชื้อสายสุมาตรา ชือ บูฮันนุดดิน ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน ่ เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไป ศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของสุมาตรา สำานักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระนำ้าใหญ่ นำ้าในสระ ไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดก ลมกลืนกับสีนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นนำ้าเนืองนิตย์ วันหนึ่ง ฮา มินนุดดินไปตักนำ้าที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงนำ้าตกทำาให้ นำ้าในสระเป็นระลอกคลื่นหมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมอร์ ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกนำ้าพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อน กลับไปใกล้ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิต จิตใจ ฮา มินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุนำ้า แล้ว จ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้า ดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาได้นำาลีลาการลอยของดอกบอมอร์มา ประยุกต์สอนการร่ายรำาให้แก่เพื่อนทั้งสองและช่วยกันคิดวิธี เคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละจึง เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ เมื่อสามสหายเดินทางกลับถิ่นเดิมแล้ว ต่างตั้งตัวเป็นครูสอน วิทยายุทธและศาสนาอิสลาม ปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครฝึกฝนการ ต่อสู้แบบสิละจนเป็นที่แพร่หลายออกไปตามลำาดับ เมื่อจะฝึกสิละ ผู้ สมัครใจต้องนำาไหว้ครู โดยนำาผ้าขาว ข้าวสมางัด ด้ายขาว และ แหวน 1 วง มามอบให้กับครูฝึก ผู้เป็นศิษย์ใหม่จะต้องมีอายุไม่ น้อยกว่า 15 ปี ระยะเวลาที่เรียน 3 เดือน 10 วัน จึงจะจบ หลักสูตร การสอนนั้นจะมีครูสิละคนหนึ่งต่อศิษย์ 14 คน ในรุ่นหนึ่ง ๆ ผู้ที่เก่ง ที่สุดจะได้รับแหวนจากครู และได้รับเกียรติเป็นหัวหน้าทีมและ สอนแทนครูได้ การแต่งกายของนักสิละเท่าที่สังเกตมุ่งที่ความ สวยงามเป็นประการสำาคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสือคอกลม้ หรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วมีผ้าโสร่งเรียกผ้าชอเกตลาย สด สวยสวมทับพร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอวหรือมิฉะนั้นก็คาด
  • 4. เข็มขัดทับโสร่งให้กระชับ นอกจากนั้นเหน็บกริชตามฉบับนักสู้ ไทยมุสลิม เครื่องดนตรีสิละประกอบด้วยกลองยาว 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ ฆ้อง 1 คู่ และปี่ยาว 1 เลา เมื่อนักสิละขึ้นบนสังเวียนแล้ว ดนตรีจะ ประโคมเรียกความสนใจคนดู โดยเฉพาะเสียงปี่เร้าอารมณ์ไม่ยิ่ง หย่อนกว่ามวยไทย การไหว้ครูแบบสิละนั้น เขาไหว้ทีละคน วิธี การไหว้ครูแต่ละสำานักแตกต่างกันไป สังเกตว่าขณะรำาไหว้ครูนั้น นักสิละจะทำาปากขมุบขมิบว่าคาถาเป็นภาษาอาหรับ และที่สำาคัญ คือขอพรสี่ประการ สรุปเป็นภาษาไทยดังนี้ o ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย o ขอให้ปลอดภัยจากปรปักษ์ o ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน o ขอให้ท่านผู้ชมนิยมศรัทธา เริ่มต้นด้วยการสาลามัต ก่อนนักสิละลงมือต่อสู้ ทังคู่จะทำาความเคารพกันและกัน ้ เรียกว่า “ สาลามัต” คือต่างสัมผัสมือแล้วแตะที่หน้าผาก หลังจาก นั้นจึงเริ่มวาดลวดลายร่ายรำาตามศิลปะสิละ บางครั้งนักสู้ต่าง กระทืบเท้าให้เกิดเสียงหรือมิฉะนั้นเอาฝ่ามือตีที่ต้นขาของตนเอง เพื่อให้เกิดเสียงข่มขวัญปรปักษ์ เมื่อรำาไปรำามา หรือก้าวไปถอยมา ประหนึ่งว่าเป็นการลองเชิงพอสมควรแล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ คือหาจังหวะให้มือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงกันข้าม จังหวะการประชิดตัวนั้นดูเหมือนว่าจะหำ้าหั่นกันชั่วฟ้าแลบ ขณะนั้น ดนตรีก็โหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ ฝ่ายใดทำาให้คู่ ต่อสู้ล้มลงหรืออาศัยการตัดสินจากผู้ดูรอบสนามว่าเป็นเสียงปรบ มือให้ฝ่ายใดดัง ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ กติกาข้อห้ามที่นักสิละต้องเว้น ได้แก่ ห้ามเอานิวมือแทงตา ้ คู่ต่อสู้เพราะต่างไม่สวมนวมและไม่กำามือแน่นอย่างชกมวยไทย หรือมวยสากล ถัดมาคือห้ามบีบคอ ห้ามต่อยแบบมวยไทย เช่น ใช้ศอก และเข่า กระบวนชั้นเชิงสิละ ตามที่ Mobin Shoppard เขียนไว้ใน หนังสือ Teran Mndera มีมากมายหลายท่าเช่น o ซังคะ ตั้งท่าป้องกัน o ลังคะดาน ท่ายืนตรงพร้อมต่อสู้ o ลังคะทีฆา ท่ายกมือป้องกัน คือมือขวาปิดท้องน้อยแขนซ้ายยก เสมอบ่า
  • 5. o ลังคะเลิมปัด ท่าก้าวไปตั้งหลักเบื้องหน้าปรปักษ์ โดยก้าวเท้า ทั้งสองอย่างรวดเร็ว สิละของมุสลิมภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ • สิละยาโต๊ะ คือ สิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุกอีกฝ่าย หนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เลยเรียกว่า สิละยาโต๊ะ (ตก) ส่วนมากใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ • สิละตารี (รำา) คือ สิละที่ต่อกรด้วยความชำานาญในจังหวะลีลา การร่ายรำา ส่วนมากแสดงเฉพาะ หน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง • สิละกายอ (กริช) คือ สิละใช้กริชประกอบการร่ายรำาไม่ใช้การ ต่อสู้จริง ๆ แต่อวดลีลากระบวนท่าทางต่อสู้ ส่วนมากแสดงในเวลา กลางคืน รวมความแล้ว จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของสิละมุ่งศิลปะ การร่ายรำามากกว่าศิลปะการต่อสู้แบบสมจริง ท่าทางยกไม้ยกมือมี ส่วนคล้ายคลึงกับมวยจีนหรือกังฟู ชวนให้คิดไปว่าต้นกำาเนิดสิละ นั้น อาจมิใช่อย่าง Mubin Sheppard เสนอไว้ขางต้นคงสืบเนื่อง ้ มาจากพ่อค้าจีน นำาศิลปะของตนมาเผยแพร่ ณ เมืองปัตตานีครั้ง โบราณ ตำานานปัตตานีมักปรากฏชาวจีนเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอไม่ ว่าเป็นตำานานของลิ่มโต๊ะเคี่ยมนายช่างปืนใหญ่ นางพญาตานี และตำานานลิ่มกอเหนี่ยวผู้เป็นน้อง เมื่อชาวจีนเข้ามาค้าขายที่ เมืองปัตตานีแล้วก็นำาศิลปะการต่อสู้ของตนมาเผยแพร่ ผสมผสาน กับมวยพื้นเมือง จึงเป็นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่เรียกว่า สิละ อย่างไรก็ตาม ยังมีที่มาของสิละอีกหลายสำานวนซึ่งยังสรุปแน่นอน มิได้ กีฬาปันจักสีลัตในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ กีฬาปันจักสีลัตที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ ในปัจจุบัน นี้อยู่ภายใต้กติกาและระเบียบการแข่งขันของสหพันธ์ปันจักสีลัต นานาชาติ ตั้งอยู่ ณ นครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทีได้จัดให้ ่ มีการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้าย จัดขึ้นที่อำาเภอหาดใหญ่ ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2537 มีนักกีฬาจาก 18 ประเทศเข้าร่วมในการแข่งขันครังนี้ และกีฬาปันจักสีลัตก็ได้รับ ้ บรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ นครจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการ แข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ครังล่าสุดในกีฬา ้ ซีเกมส์ ครั้งที่ 20
  • 6. กีฬาปันจักสีลัตในปัจจุบัน กีฬาปันจักสีลัตได้เปลี่ยนโครงสร้าง โดยจัดประเภทของการ แข่งขันซึ่งเดิมจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภท ในการแข่งขันชิง แชมป์นานาชาติ และการแข่งขันชิงแชมป์โลก คือ ประเภทการ ต่อสู้จริง และการแสดงศิลปะการต่อสู้ (เป็นการแสดง) แต่การ แข่งขันปันจักสีลัตในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13-18 มีการแข่งขันเพียง ประเภทเดียว คือ ประเภทการต่อสู้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยแยกการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในการ แข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก ปี 1997 ณ ประเทศมาเลเซีย และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย จนถึง ปัจจุบัน ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ทถูก ี่ มนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการ ป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้ ในการเรียนเกี่ยวกับ ศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรูที่อยู่ในระดับ ้ ทีแตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน ่ โดยปกติแล้วระดับความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มี อยู่ 5 ระดับ คือ 1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้ 2.ระดับ Budaya Seni เป็นระดับการเรียนรูวิถีชีวิตและ ้ คำาสั่งการ พร้อมการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat 3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของ ศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat 4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้า ใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat 5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำานึกในศิลปะ การป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกัน ตัว Silat 6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการ ป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการ ป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา การก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่
  • 7. แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของ ศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลาก หลายชื่อเช่น 1. Seni Silat Gayong 2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ่ 3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ่ 4. Silat Lintau 5. Silat Kalimah 6. Silat kuntau Melayu 7. Silat Minangkabau 8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุดใน ่ มาเลเซีย 9. Silat Sendeng 10. Silat Sunting 11. Silat Abjad 12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ทีใหญ่ที่สุด ่ ในมาเลเซีย ซีละ เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่สืบทอดกันมาเนิ่นนานของ ชาวไทยเชื้อสายมุสลิม ลักษณะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟู หรือมวยไทย การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยจะไหว้ที ละคน ผู้เล่นจะท่องบ่นคาถามีใจความว่า “ขออโหสิกรรมแก่คู่ ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา” ผู้ แสดงจะแสดงเป็นคู่ๆ เน้นการแต่งกายที่สวยงาม โดยสวมเสื้อ แขนสั้น นุ่งโสร่ง สีสดทับกางเกงขายาว คาดเอวด้วยผ้า หรือ เข็มขัดคาดทับโสร่งให้กระชับ เหน็บกริชที่เอวและมีผ้าโพกศีรษะ
  • 8. ดังนั้นเพื่อเป็นการให้นักเรียนและชาวบ้านได้รับความรู้ และ แนวทางการฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงได้จัดทำาหลักสูตรซีละขึ้น เพื่อ ให้กลุ่มได้เรียนรู้และสามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวัน ได้ 2. ขอบเขตของเนื ้ อ หา ٢.١ ท่ า ทางต่ า งๆของปั น จั ก สี ล ั ต 1. Stance with kuda-kuda – Front feet in a line with the back feet วางเท้าตรงด้านหน้ากับด้านหลัง ค.ท.ตรง 2. Stance with kuda-kuda – Body twisted การไขว้หรือบิด เกลียวลำาตัว 3. Stance with kuda-kuda – Forward diagonally เดิน ทแยงมุมไปข้างหน้า 4. Stance with kuda-kuda – Middle, facing forward ตรง กลาง,หน้าตรง 5. Stance with kuda-kuda – Legs crossed (Behind) ไขว้ ขาไปข้างหลัง 6. Stance with kuda-kuda – Middle, facing sideways ตรงกลาง,หน้าเอียง 7. Stance with kuda-kuda – Legs crossed (In front) ไขว้ ขาไปข้างหน้า 8. Stance with kuda-kuda – One leg raised เท้าใดเท้า หนึ่งยก ٢.٢ การเคลื ่ อ นไหว ٥ แบบ 1. Angkatan – Moving with raising your feet“อังกัตตัน” การเดินแบบยกเท้า 2. Geseran – Moving with shifting your feet “กือซือรัน” การเคลื่อนที่แบบสืบเท้า
  • 9. 3. Ingsutan – Moving with edging / inching (forward / backwards / sideways) with your feet “อังสุทตัน” การเคลื่อนที่แบบข้าง เคลื่อนทีละน้อย(ไปข้างหน้า/ ข้างหลัง/ข้างๆ)ด้วยเท้า 4. Lompatan / Loncatan – Moving with jumping“ล็อมปัต ตัน” เคลื่อนที่แบบกระโดด 5. Putaran – Moving with raising your leg and rotating / twisting feet“ปูตารัน” การเคลื่อนที่แบบยกเท้า แล้วหมุน/การไขว้เท้า 2.3 รู ป แบบการก้ า วเท้ า 1. ทางตรง 2. ซิกแซก 3. สามเหลี่ยม 4. ตัว U 5. ตัว s/z 6. สี่เหลี่ยม 7. กากบาท