SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
โครงงานเรื่อง จิตรกรรมจัดทำโดยนายปะเชิญ เหลาฤทธิ์เลขที่ 5  ชั้น ม.6/1เสนอ อ. คเชนทร์ กองพิลา
ความหมายของงานจิตรกรรม
ความหมายของงานจิตรกรรม จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว[1]ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้นจิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
คุณค่าของงานจิตรกรรม
คุณค่าของงานจิตรกรรม หากใช้แนวคิดที่ต่างกัน การประเมินคุณค่าจิตรกรรมไทย (และงานศิลปะอื่น) ก็มีคำตอบที่แตกต่างกันมาก แต่สามารถอธิบายได้กว้าง ๆ ดังนี้๑. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ : จิตรกรรมไทยล้วนมีอายุนับร้อยปีขึ้นไป จิตรกรไม่ได้เขียนเล่าเรื่องราวทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกวิถีชีวิตของสังคม และผู้คนในอดีตตั้งแต่ชีวิตในวัง เช่นการแต่งกายของสาวชาววัง การแต่งกาย เสื้อผ้าของกษัตริย์ จนถึงชาวบ้าน สถาปัตยกรรม ตั้งแต่ปราสาทราชวัง จนถึงเรือนชาวบ้าน ตามสภาพที่เป็นจริงเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งปัจจุบันหาดูภาพเหล่านั้นในความเป็นจริงไม่มีแล้ว จึงเป็นข้อมูลให้ศึกษาชีวิตของผู้คนในอดีตได้ดี๒. คุณค่าทางศิลปกรรม : สะท้อนถึงลักษณะความงามของจิตรกรรมไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของไทย เช่น การไม่ให้ความสำคัญต่อความเป็นจริงตามแบบวิทยาศาสตร์ หรือความเป็นจริงที่ตาเห็น เช่น ตัวภาพบุคคลในจิตรกรรมไทยจะไม่มีกล้ามเนื้อและแสงเงา การใช้สีสัน จะไม่อ้างอิงกับข้อเท็จจริงตามที่ตาเห็น เช่น ท้องฟ้าจริง ๆ จะสีฟ้า แต่ท้องฟ้าหลายฉากในจิตรกรรมไทย กลับใช้สีแดงระบายท้องฟ้า แทนที่จะใช้สีฟ้าเป็นต้น และตัวภาพเหล่านั้นหากเป็นตัวภาพชนชั้นสูง ก็ล้วนมีกิริยาอาการในรูปแบบที่คล้ายท่าทางของตัวละครในงานนาฏศิลป์ไทย หรือเรียกว่าท่าทางแบบนาฏลักษณ์ และงานช่างชั้นครูที่เหลืออยู่ ก็ยังเป็นแบบฉบับที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียนจิตรกรรมไทยในปัจจุบัน ในการนำมาสร้างสรรค์และพัฒนางานในปัจจุบันด้วย๓. คุณค่าทางพุทธศาสนา : เนื่องจากจิตรกรรมไทยล้วนเขียนเรื่องทางศาสนาแทบทั้งสิ้น จึงย่อมสะท้อนโลกทัศน์ทางพุทธศาสนาของคนโบราณ ซึ่งแม้ว่าโดยผิวเผินก็คล้ายคลึงกับที่คนปัจจุบันรู้กัน แต่ว่าโดยแท้จริงแล้วกลับมีโลกทัศน์ที่ต่างจากเราไม่น้อย เช่น เรื่องพระพุทธเจ้า คนโบรณให้ความสำคัญกับอดีตพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ อีกหลายองค์ เรื่องราวต่าง ๆ เช่น ชาดก ก็ล้วนสะท้อนถึงการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในบั้นปลาย และไตรภูมิก็เป็นเรื่องราวที่สอนให้มนุษย์มองจักรวาลตามกรอบแนวคิดของพุทธศาสนา ว่าถึงจะยิ่งใหญ่และงดงามแค่ไหน สุดท้ายก็ไม่มีอะไรที่แน่นอน และจีรัง พระนิพพานเท่านั้นที่แน่นอนไม่ผันแปร พูดง่าย ๆ คือสอนให้คนทำดี…..ดีตามแบบพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงดำเนินมาก่อนนั้นแล้ว๔. คุณค่าอื่น ๆ : มีหลายอย่างมาก แต่จะไม่เน้นมาก เพราะคงทราบกันดี เช่น ในช่วงเวลาปัจจุบันการท่องเที่ยวสามารถสร้างมูลค่าทางเงินตราสูงมาก จึงทำให้งานศิลปะไทยคือสินค้าชั้นเยี่ยม สำหรับให้ชาวต่างชาติมาชมเกิดรายได้ ซึ่งนับเป็นคุณค่าใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นและโบราณไม่ได้คิดหรือตั้งใจไว้ แต่ถึงอย่างไรเสียการท่องเที่ยวที่ดี ก็ต้องนำเสนอสาระที่ดีที่บอกไปให้นักท่องเที่ยวรู้ด้วย
วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างงานจิตรกรรม 	ในการวาดภาพหรือเขียนภาพมีวัสดุอุปกรณ์หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติต่างกันไปตามสภาพการใช้งาน ได้แก่ 1.       ดินสอดำ มีหลายชนิดตามระดับความอ่อนแข็งของไส้ดินสอ คือ -ไส้แข็ง H – 6H เหมาะในการขีดเขียนแบบ -ไส้ปานกลาง HB	เหมาะในการร่างภาพ -ไส้อ่อน B – 6B	และ EE เหมาะในการแรเงา 2.    ถ่านชาร์โคล มีลักษณะเป็นแท่งถ่าน ให้ความนุ่ม น้ำหนักเข้ม ผิวไม่มัน เขียนได้หลายวิธีจะใช้วิธีลูบหรือปาดก็ได้ มักลบเลือนได้ง่าย 3.     ถ่านเกรยอง เป็นแท่งเหลี่ยม มีให้เลือกหลายสี เช่น สีดำ แดง ขาว มีความเข้มมากแลชะไม่ลบเลือนง่าย 4.    ยางลบ ควรใช้ยางลบอ่อนสำหรับลบรอยดินสอโดยเฉพาะ ลบแล้วกระดาษสะอาด ไม่ทำให้เนื้อกระดาษเป็นขลุย 5.   กระดาษ กระดาษที่ใช้เขียนภาพมีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ กระดาษแต่ละชนิดจะให้ผลในการเขียนภาพต่างกัน การฝึกหัดเขียนภาพอาจใช้กระดาษปรู๊ฟ ซึ่งมีเนื้อกระดาษหยาบและบางแต่ใช้ได้ผลดี หรือจะใช้กระดาษหนาและละเอียดกว่า คือ กระดาษ 60 ปอนด์ 80 ปอนด์ ที่เรียกว่ากระดาษวาดเขียน ถ้าเป็นกระดาษ 100 ปอนด์จะหนาขึ้นจึงเหมาะสำหรับการเขียนภาพและการระบายสี 6.  สี มีหลายชนิดที่นำมาใช้ได้ทันที เช่น สีเทียน สีดินสอ สีชอล์ก และชนิดผสมน้ำ เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ 7. จานสี มีหลายขนาดให้เลือกใช้ เพราะทำให้มองเห็นสีที่อยู่ในจานผสมสีได้ชัดเจน 8. พู่กัน มีทั้งชนิดกลมและชนิดแบนให้เลือกใช้หลายชนิด พู่กันชนิดกลม มีขนอ่อนกว่าชนิดแบน ใช้ระบายกับสีน้ำ สีโปสเตอร์ หรือสีฝุ่น
ศิลปินที่สร้างงานจิตรกรรม
ครูสังคม ทองมี        - เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีการศึกษา2509 - ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเมืองเลย2512 - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย เมือง จ.เลย     - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( แผนกวิทยาศาสตร์ ) โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย อ.เมือง จ.เลย โดยทุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น
 เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์     เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2498) จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายอย่าง ได้มีผลงานเช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย
ชื่อศิลปิน: นาย ประเทือง เอมเจริญสาขา: ทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์)สาขาย่อย: จิตรกรรมปีที่ได้รับ: ๒๕๔๘
ถวัลย์ ดัชนี  ถวัลย์ ดัชนี (27 กันยายนพ.ศ. 2482 - ) จิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544 เกิดที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย
อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต  อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร บุตร นายชุบและนางสว่างจันทร์ โปษยกฤต ระยะแรกเข้าศึกษา ต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร  ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2543 ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อาจารย์จักรพันธุ์ เคยเป็นพระอาจารย์พิเศษถวายการสอนวิชาจิตรกรรมให้กับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันได้ก่อตั้งมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ มูลนิธิ สถานที่ทำงาน และโรงละครหุ่นกระบอก ขึ้นที่บริเวณบ้านพัก ถนนเอกมัย
ตัวอย่างผลงานจิตรกรรม
โครงงานเรื่องจิตรกรรม
โครงงานเรื่องจิตรกรรม
โครงงานเรื่องจิตรกรรม

More Related Content

Viewers also liked

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วงแผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วงอภิชิต กลีบม่วง
 
โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.
โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.
โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.Bunnaruenee
 
ดนตรี ม.3
ดนตรี ม.3ดนตรี ม.3
ดนตรี ม.3Kruanchalee
 
แผนพอเพียงอ21101
แผนพอเพียงอ21101แผนพอเพียงอ21101
แผนพอเพียงอ21101atthaniyamai2519
 
การผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทยการผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทยพัน พัน
 
แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3
แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3
แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3teerachon
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วงแผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วงอภิชิต กลีบม่วง
 
แบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
แบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียนแบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
แบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียนธนิสร ยางคำ
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้thanapisit marakul na ayudhya
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์Kobwit Piriyawat
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 

Viewers also liked (13)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วงแผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วง
 
โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.
โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.
โครงงานสีน้ำจากแป้งธรรมชาติ มมว.
 
ดนตรี ม.3
ดนตรี ม.3ดนตรี ม.3
ดนตรี ม.3
 
แผนพอเพียงอ21101
แผนพอเพียงอ21101แผนพอเพียงอ21101
แผนพอเพียงอ21101
 
Generation
GenerationGeneration
Generation
 
การผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทยการผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทย
 
แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3
แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3
แบบทดสอบ ดนตรี นาฏศิลป์ ม.3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วงแผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5  ครูอภิชิต กลีบม่วง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ศ 32101 วิชาดนตรี ม.5 ครูอภิชิต กลีบม่วง
 
แบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
แบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียนแบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
แบบฟอร์ม แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 

โครงงานเรื่องจิตรกรรม

  • 3. ความหมายของงานจิตรกรรม จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว[1]ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้นจิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
  • 5. คุณค่าของงานจิตรกรรม หากใช้แนวคิดที่ต่างกัน การประเมินคุณค่าจิตรกรรมไทย (และงานศิลปะอื่น) ก็มีคำตอบที่แตกต่างกันมาก แต่สามารถอธิบายได้กว้าง ๆ ดังนี้๑. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ : จิตรกรรมไทยล้วนมีอายุนับร้อยปีขึ้นไป จิตรกรไม่ได้เขียนเล่าเรื่องราวทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกวิถีชีวิตของสังคม และผู้คนในอดีตตั้งแต่ชีวิตในวัง เช่นการแต่งกายของสาวชาววัง การแต่งกาย เสื้อผ้าของกษัตริย์ จนถึงชาวบ้าน สถาปัตยกรรม ตั้งแต่ปราสาทราชวัง จนถึงเรือนชาวบ้าน ตามสภาพที่เป็นจริงเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งปัจจุบันหาดูภาพเหล่านั้นในความเป็นจริงไม่มีแล้ว จึงเป็นข้อมูลให้ศึกษาชีวิตของผู้คนในอดีตได้ดี๒. คุณค่าทางศิลปกรรม : สะท้อนถึงลักษณะความงามของจิตรกรรมไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของไทย เช่น การไม่ให้ความสำคัญต่อความเป็นจริงตามแบบวิทยาศาสตร์ หรือความเป็นจริงที่ตาเห็น เช่น ตัวภาพบุคคลในจิตรกรรมไทยจะไม่มีกล้ามเนื้อและแสงเงา การใช้สีสัน จะไม่อ้างอิงกับข้อเท็จจริงตามที่ตาเห็น เช่น ท้องฟ้าจริง ๆ จะสีฟ้า แต่ท้องฟ้าหลายฉากในจิตรกรรมไทย กลับใช้สีแดงระบายท้องฟ้า แทนที่จะใช้สีฟ้าเป็นต้น และตัวภาพเหล่านั้นหากเป็นตัวภาพชนชั้นสูง ก็ล้วนมีกิริยาอาการในรูปแบบที่คล้ายท่าทางของตัวละครในงานนาฏศิลป์ไทย หรือเรียกว่าท่าทางแบบนาฏลักษณ์ และงานช่างชั้นครูที่เหลืออยู่ ก็ยังเป็นแบบฉบับที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียนจิตรกรรมไทยในปัจจุบัน ในการนำมาสร้างสรรค์และพัฒนางานในปัจจุบันด้วย๓. คุณค่าทางพุทธศาสนา : เนื่องจากจิตรกรรมไทยล้วนเขียนเรื่องทางศาสนาแทบทั้งสิ้น จึงย่อมสะท้อนโลกทัศน์ทางพุทธศาสนาของคนโบราณ ซึ่งแม้ว่าโดยผิวเผินก็คล้ายคลึงกับที่คนปัจจุบันรู้กัน แต่ว่าโดยแท้จริงแล้วกลับมีโลกทัศน์ที่ต่างจากเราไม่น้อย เช่น เรื่องพระพุทธเจ้า คนโบรณให้ความสำคัญกับอดีตพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ อีกหลายองค์ เรื่องราวต่าง ๆ เช่น ชาดก ก็ล้วนสะท้อนถึงการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในบั้นปลาย และไตรภูมิก็เป็นเรื่องราวที่สอนให้มนุษย์มองจักรวาลตามกรอบแนวคิดของพุทธศาสนา ว่าถึงจะยิ่งใหญ่และงดงามแค่ไหน สุดท้ายก็ไม่มีอะไรที่แน่นอน และจีรัง พระนิพพานเท่านั้นที่แน่นอนไม่ผันแปร พูดง่าย ๆ คือสอนให้คนทำดี…..ดีตามแบบพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงดำเนินมาก่อนนั้นแล้ว๔. คุณค่าอื่น ๆ : มีหลายอย่างมาก แต่จะไม่เน้นมาก เพราะคงทราบกันดี เช่น ในช่วงเวลาปัจจุบันการท่องเที่ยวสามารถสร้างมูลค่าทางเงินตราสูงมาก จึงทำให้งานศิลปะไทยคือสินค้าชั้นเยี่ยม สำหรับให้ชาวต่างชาติมาชมเกิดรายได้ ซึ่งนับเป็นคุณค่าใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นและโบราณไม่ได้คิดหรือตั้งใจไว้ แต่ถึงอย่างไรเสียการท่องเที่ยวที่ดี ก็ต้องนำเสนอสาระที่ดีที่บอกไปให้นักท่องเที่ยวรู้ด้วย
  • 7. วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างงานจิตรกรรม ในการวาดภาพหรือเขียนภาพมีวัสดุอุปกรณ์หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติต่างกันไปตามสภาพการใช้งาน ได้แก่ 1.       ดินสอดำ มีหลายชนิดตามระดับความอ่อนแข็งของไส้ดินสอ คือ -ไส้แข็ง H – 6H เหมาะในการขีดเขียนแบบ -ไส้ปานกลาง HB เหมาะในการร่างภาพ -ไส้อ่อน B – 6B และ EE เหมาะในการแรเงา 2.    ถ่านชาร์โคล มีลักษณะเป็นแท่งถ่าน ให้ความนุ่ม น้ำหนักเข้ม ผิวไม่มัน เขียนได้หลายวิธีจะใช้วิธีลูบหรือปาดก็ได้ มักลบเลือนได้ง่าย 3.     ถ่านเกรยอง เป็นแท่งเหลี่ยม มีให้เลือกหลายสี เช่น สีดำ แดง ขาว มีความเข้มมากแลชะไม่ลบเลือนง่าย 4.    ยางลบ ควรใช้ยางลบอ่อนสำหรับลบรอยดินสอโดยเฉพาะ ลบแล้วกระดาษสะอาด ไม่ทำให้เนื้อกระดาษเป็นขลุย 5.   กระดาษ กระดาษที่ใช้เขียนภาพมีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ กระดาษแต่ละชนิดจะให้ผลในการเขียนภาพต่างกัน การฝึกหัดเขียนภาพอาจใช้กระดาษปรู๊ฟ ซึ่งมีเนื้อกระดาษหยาบและบางแต่ใช้ได้ผลดี หรือจะใช้กระดาษหนาและละเอียดกว่า คือ กระดาษ 60 ปอนด์ 80 ปอนด์ ที่เรียกว่ากระดาษวาดเขียน ถ้าเป็นกระดาษ 100 ปอนด์จะหนาขึ้นจึงเหมาะสำหรับการเขียนภาพและการระบายสี 6.  สี มีหลายชนิดที่นำมาใช้ได้ทันที เช่น สีเทียน สีดินสอ สีชอล์ก และชนิดผสมน้ำ เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ 7. จานสี มีหลายขนาดให้เลือกใช้ เพราะทำให้มองเห็นสีที่อยู่ในจานผสมสีได้ชัดเจน 8. พู่กัน มีทั้งชนิดกลมและชนิดแบนให้เลือกใช้หลายชนิด พู่กันชนิดกลม มีขนอ่อนกว่าชนิดแบน ใช้ระบายกับสีน้ำ สีโปสเตอร์ หรือสีฝุ่น
  • 9. ครูสังคม ทองมี - เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีการศึกษา2509 - ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเมืองเลย2512 - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย เมือง จ.เลย - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( แผนกวิทยาศาสตร์ ) โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย อ.เมือง จ.เลย โดยทุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 10. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2498) จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายอย่าง ได้มีผลงานเช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย
  • 11. ชื่อศิลปิน: นาย ประเทือง เอมเจริญสาขา: ทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์)สาขาย่อย: จิตรกรรมปีที่ได้รับ: ๒๕๔๘
  • 12. ถวัลย์ ดัชนี ถวัลย์ ดัชนี (27 กันยายนพ.ศ. 2482 - ) จิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544 เกิดที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย
  • 13. อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร บุตร นายชุบและนางสว่างจันทร์ โปษยกฤต ระยะแรกเข้าศึกษา ต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2543 ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อาจารย์จักรพันธุ์ เคยเป็นพระอาจารย์พิเศษถวายการสอนวิชาจิตรกรรมให้กับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันได้ก่อตั้งมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ มูลนิธิ สถานที่ทำงาน และโรงละครหุ่นกระบอก ขึ้นที่บริเวณบ้านพัก ถนนเอกมัย