SlideShare a Scribd company logo
1 of 49
อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น จัดทำโดย นายธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9 ชั้น ม.6/2 เสนอ อาจารย์รัฐพล ศิริพิมลวัฒน์ รหัสวิชา ง.43101
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace )       อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่าย โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย
การเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณจากดาวเทียม ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร             การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจอินเทอร์เน็ต จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วอินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต ISOC ( Internet Society ) ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด
ประวัติความเป็นมา             อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลัก เพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency) รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่า IMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
            กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ  มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )  สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie  มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT  มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex
ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์ปา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก อาร์ปา มาเป็น ดาร์พา DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) ตอนหลังเปลี่ยนเป็น Defence Communication Agency ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency            ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) เป็นครั้งแรก             ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET             และในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นเครือข่ายหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆแทน มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย             อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า  และไม่เป็นการถาวร  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา"
 	ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมา เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
 	ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)             	ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้
บริการบนอินเทอร์เน็ต อภิมหาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้  บริการด้านการสื่อสาร  บริการด้านข้อมูลต่างๆ
บริการด้านการสื่อสาร             เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งจะมีความรวดเร็วกว่าการติดต่อด้วยวิธีการแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ (E-mail)            ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้  เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลก
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดีในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ  	ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิคส์ ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ก็สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น  	ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่          หน้าจอ คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว          จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
	ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียนแจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบ หรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น  	การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทาง ของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา  	ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย  	ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์
จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้ ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์
สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)            ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ
มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร์คือ คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อรองรับ User หลายคน  เครื่องของเราจะทำหน้าที่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดา โดยที่ไม่ต้องการทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้            การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่นโปรแกรม Pirch, ICQ,                Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger
"กระดานข่าว" หรือบูเลตินบอร์ด            บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ             นอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่น กลุ่ม Thai Group เป็นต้น การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือ Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่านข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความคำถามคำตอบของเราไว้บนกระดานข่าวนั้นได้            ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไป เราก็อาจยกเลิกการเป็นสมาชิก (Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ แทนก็ได้ การเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิกของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น             กระดานข่าวที่น่าสนใจของไทยและมีสมาชิกร่วมในการสนทนามากที่สุดในปัจจุบันคือ กระดานข่าวพันทิพ ที่ URL : www.pantip.comซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใช้ที่มีความสนใจหลากหลายเช่น กระดานข่าวเทคนิคคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านระบบปฏิบัติการ ซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ สภากาแฟของคนชอบการเมือง ชอบด้านเครื่องยนต์กลไก และอื่นๆ อีกมากลองเข้าไปร่วมวงสนทนากันได้
บริการเข้าระบบระยะไกล Telnet            ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้             โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบตัวอักษร (Text mode) หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ และใช้บริการสำเนาไฟล์ รับส่งอีเมล์ได้
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต             การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้  การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account  การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า (ตลอด 24 ชั่วโมง)
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป  โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล๊อตบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย  โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C  PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตและหนาเพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
ภาพแสดงการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม  บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล             การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน (User) หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกัน สัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อกผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง            สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่? ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที
การเชื่อมต่อแบบองค์กร             จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ (Server) ด้านต่างๆ และมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้  คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร
ดิจิตอลโมเด็ม (NTU) และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อด้วยหมายเลข IP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ  คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลข IP Address ของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย  การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งานของเครือข่ายสูง มีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิกเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก และมีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนเป็นจำนวนมากและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
บริการด้านข้อมูล การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล หรือบริการ FTP (File Transfer Protocol) เป็นบริการของอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดิโอ หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ การถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเราไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ (Host) เรียกว่า    การอัปโหลด (Upload) ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถใช้งานจากข้อมูลของเราได้ การที่เราถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากโฮสต์อื่นมายังคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า การดาวน์โหลด (Download)
ในการนำดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ มาใช้นั้น มีบริการอยู่ 2 ประเภท คือ Private FTP หรือ เอฟทีพีเฉพาะกลุ่ม นิยมใช้ตามสถานศึกษาและภายในบริษัท   ผู้ใช้บริการจะต้องมีรหัสผ่านเฉพาะจึงจะใช้งานได้   ประเภทที่สองคือ Anonymous FTP เป็นเอฟทีพีสาธารณะให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลฟรีโดยไม่ต้องมีรหัสผ่าน ซึ่งปัจจุบันมีบริการในลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโปรแกรมซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่ทางบริษัทต่างๆ คิดค้นขึ้นมาและต้องการเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ก็จะนำโปรแกรมมานำเสนอไว้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนใดสนใจก็สามารถใช้เอฟทีพีดึงเอาโปรแกรมเหล่านั้นมาใช้งานได้ โดยโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เรียกว่า ฟรีแวร์ (Freeware) และโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้ก่อน ซึ่งหากพอใจก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อตัวโปรแกรม เรียกว่า แชร์แวร์ (Shareware)
การค้นหาข้อมูล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลก   โดยมีแฟ้มข้อมูลต่างๆ มากมายหลายพันล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน   ดังนั้น   จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือโปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อาร์คี (Archie) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อ แต่ไม่ทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดในอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูล เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใด ก็เพียงแต่เรียกใช้อาร์คีแล้วพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อมรายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วก็สามารถใช้เอฟทีพีเพื่อถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล มาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้ โกเฟอร์ (Gopher) เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบเมนู โกเฟอร์เป็นโปรแกรมที่มีรายการเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาแฟ้มข้อมูล ความหมาย และทรัพยากรอื่นๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่ระบุไว้   โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบและใช้รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับอินเทอร์เน็ต   สารบบ หรือชื่อแฟ้มข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น   เราเพียงแต่เลือกอ่านในรายการเลือกและกดแป้น Enter เท่านั้นเมื่อพบสิ่งที่น่าสนใจ   ในการใช้นี้เราจะเห็นรายการเลือกต่างๆ พร้อมด้วยสิ่งที่ให้เลือกใช้มากขึ้นจนกระทั่งเราเลือกสิ่งที่ต้องการและมีข้อมูลแสดงขึ้นมา เราสามารถอ่านข้อมูลหรือเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราได้
Veronica เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมาจากการทำงานของระบบโกเฟอร์ เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องผ่านระบบเมนูตามลำดับขั้นของโกเฟอร์ เพียงแต่พิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ลงไปให้ระบบค้นหาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ แทน เวส (Wide Area Information Server-WAIS) เป็นโปรแกรมสำหรับใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสืบค้นข้อมูล โดยการค้นจากเนื้อหาข้อมูลแทนการค้นตามชื่อของแฟ้มข้อมูล จากฐานข้อมูลจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วโลก   การใช้งานผู้ใช้ต้องระบุชื่อเรื่อง หรือ ชื่อคำหลักที่เกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูลที่ต้องการค้น หลังจากใช้คำสั่งค้นหาข้อมูล โปรแกรมเวสจะช่วยค้นไปยังแหล่งข้อมูลที่ต่อเชื่อมกันอยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยจะพยายามค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องตรงกับคำค้น หรือวลีสำคัญที่ผู้ใช้การค้นหาให้มากที่สุด Search Engines เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นลักษณะของโปรแกรมช่วยการค้นหาซึ่งมีอยู่มากมายในระบบอินเทอร์เน็ต โดยการพัฒนาขององค์กรต่างๆ เช่น Google,Yahoo, Infooseek, Alta Vista, HotBot, Excite เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลสารสนเทศต่างๆ โดยผู้ใช้พิมพ์คำหรือข้อความ ที่เป็น keyword เข้าไป โปรแกรม Search Engines ก็จะแสดงรายชื่อของแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นมา ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่รายชื่อต่างๆ เพื่อเข้าไปดูข้อมูลตัวนั้นๆ ได้ หรือจะเลือกค้นจากหัวข้อในหมวดต่างๆ (Categories) ที่ทาง Search Engines ได้แสดงไว้เป็นเมนูต่างๆ โดยเริ่มจากหมวดที่กว้างจนลึกเข้าไปสู่หมวดย่อยได้
ข้อมูลมัลติมีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก   เนื่องมาจากลักษณะเด่นของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่สามารถนำเสนอข้อมูลมัลติมีเดียที่แสดงได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งมีอยู่มากมาย และสามารถรวบรวมลักษณะการใช้งานอื่นๆ ในระบบอินเทอร์เน็ตเอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์   การถ่ายโอนข้อมูล   การสนทนา   การค้นหาข้อมูล  และอื่นๆ ทำให้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   โดยการเข้าสู่ระบบเวิลด์ไวด์เว็บ จะต้องใช้โปรแกรมการทำงานที่เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นตัวเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Internet Explorer และ Netscape Navigator ลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บ คือ การนำเสนอข้อมูลต่างๆ มากมายในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ หรือหน้านิตยสาร ซึ่งสามารถบรรจุข้อความ รูปภาพ และเสียงไว้ได้ด้วย โดยที่หน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) ซึ่งภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ให้สามารถดูได้ในเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language)
เมื่อเราเอาเว็บเพจหลายๆ เว็บเพจมารวมกันในแหล่งเดียวกัน เราเรียกว่า เว็บไซต์ (Website) เว็บไซต์แต่ละที่จะถูกเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) แต่ละแห่ง โดยแต่ละแห่งก็จะมีโฮสต์ของตนเองทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาข้อมูล ซึ่งโดยปกติจะเปิดอิสระให้ทุกคนเข้าไปเปิดดูข้อมูลได้ ขอเพียงแต่ให้ผู้ใช้ทราบที่อยู่ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นๆ ซึ่งที่อยู่นี้เรียกว่า ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator - URL) ซึ่งแต่ละยูอาร์แอลจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน เช่น www.hotmail.com และ www.inet.co.th เป็นต้น ส่วนประกอบของยูอาร์แอลมักจะเขียนดังตัวอย่างนี้  โฮมเพจหรือเว็บเพจของแต่ละเว็บไซต์ จะมีทั้งข้อความและรูปภาพ ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม เอกสารเหล่านี้จะมีข้อความที่บรรจุอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อ กลุ่มคำ หรือรูปภาพที่สัมพันธ์กับเนื้อหา แต่ไม่ได้แสดงเนื้อหาทั้งหมดไว้ในหน้าเดียว หากแต่มีคำสำคัญที่เน้นเป็นจุดเด่น มีสีสันชัดเจน หรือขีดเส้นใต้ไว้ ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเราเอาเมาส์ไปวางไว้บนข้อความหรือรูปภาพนั้นๆ สัญลักษณ์ของเมาส์ก็จะเปลี่ยนจากรูปลูกศรมาเป็นรูปมือ ถ้าหากผู้ใช้ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ก็คลิกที่ข้อความหรือรูปภาพนั้น เว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับข้อความหรือรูปภาพนั้นก็จะถูกเปิดขึ้นมา ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่าการเชื่อมโยงด้วย ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) ซึ่งทำให้เราสามารถเชื่อมโยงหรือลิงค์ไปยังเว็บเพจอื่นๆ ในเว็บไซต์เดียวกัน และลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้อย่างไม่จำกัด
โทษของอินเทอร์เน็ต             ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งด้านที่เป็นคุณประโยชน์และด้านที่เป็นโทษ เปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อเรา ขอยกตัวอย่างโทษที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตดังนี้  โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ? หากการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานหรือแม้แต่ทำลายสุขภาพ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเทอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลวในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)
คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเทอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่นบริการ AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต  รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต  มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น  ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้  รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้  ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น  หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง  การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก  มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต  ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ             สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับการเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหารหรือสุราเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)            เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา  แต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้  ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา            ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ             ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆ กัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม           
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง             ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆ มาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542              นอกจากนี้ ยังมีเรื่องหลอกหลวงต่างๆ อีกมากมายที่กลายเป็นข่าวให้เราได้รับทราบอยู่เสมอ การพยายามในการเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร กลั่นกรองจากหลายๆ แหล่งเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพไฮเทคเหล่านี้
อนาคตของอินเทอร์เน็ต             อนาคตของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊กไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เรียกกันว่า Palmtop และโทรศัพท์มือถือ  โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ได้ผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ส่งข้อความสั้น (Short Message Service) รวมทั้งการท่องเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol ) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้
ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการสื่อสารมากขึ้นเช่น การใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังต่างประเทศ (Net2Phone) บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริงๆ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสารจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริงๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งและจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการจากที่ซื้อไว้             ในประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ช่องความถี่ที่ว่าง) มาใช้ในการให้บริการโทรศัพท์ทางไกล Ytelทำให้ค่าบริการลดลง ด้วยการกดหมายเลข 1234 นำหน้ารหัสทางไกลและหมายเลขโทรศัพท์บ้าน ค่าบริการจะลดลงมากกว่าครึ่งด้วยคุณภาพของเสียงที่ชัดเจนยอมรับได้ เป็นต้น
ในอินเทอร์เน็ตยังมีบริการด้านความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์และวิทยุ เราสามารถเลือกใช้บริการเหล่านี้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก เราสามารถรับความบันเทิงใหม่ล่าสุดได้พร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ ทันทีเช่นเดียวกัน
โลกของอิเล็กทรอนิคส์            อนาคตของอินเทอร์เน็ตกำลังมุ่งไปสู่การให้บริการทางด้านธุรกิจที่เราได้ยินกันจนชินหูว่า e-Commerce เช่น การทำร้านค้าออนไลน์จำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ การชำระค่าบริการ (ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า โทรศัพท์ ภาษีรถยนต์ เบี้ยประกันภัย) ที่สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก          รัฐบาลไทยได้วางนโยบายและกำหนดเป้าหมายในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งาน โดยการปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลเป็นแบบ e-Government มีการนำเอาระบบฐานข้อมูลประชากร e-Citizen มาใช้ในการบริหารงานการให้บริการต่างๆ แก่ประชาชนในด้านต่างๆ              ประชาชนจะมีบัตรประจำตัวแบบสมาร์ทการ์ดที่บรรจุข้อมูลต่างๆ เพียงใบเดียว (รวมใบ ขับขี่ บัตรสุขภาพของสถานพยาบาล หรือบัตรอื่นๆ ไว้เพียงใบเดียว) การทำธุรกรรมต่างๆ ที่ต้องการอ้างอิงหลักฐานทางราชการสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพียงใบเดียวในการดำเนินการ
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail = E- Mail) วิธีการรับ-ส่ง Electronic Mail(E-Mail) ในการรับ – ส่ง E- Mail ในปัจจุบันเราสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับว่าเราใช้บริการ  E-Mail  ของ Site ใด เช่น ของ Hotmail.com , ของ Excite.com Thaimail.com และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ ทาง Site ที่เราใช้บริการอยู่จะมีบริการในการจัดส่ง E-Mail ให้ ซึ่งแต่ละ Site ก็จะมีรูปแบบการส่ง และวิธีการที่ต่างกันไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการรับส่ง E-Mail ของ thaimail.com เนื่องจากเป็น Site ที่มีผู้ใช้บริการมากและเป็นที่นิยมมากที่สุดทั้งยังเป็นภาษาไทยด้วย การเข้าสู่ thaimail.com ทำโดยการพิมพ์ที่ Address ว่า thaimail.com ดังภาพ จะแสดงหน้าจอแรก จากนั้นทำการใส่ User Name และ Password ของเรา แล้วนำ Mouse ไปคลิกที่ปุ่ม login
พิมพ์  User Name  พิมพ์  Password  จากนั้นใช้    Mouse  คลิกที่  Login
การรับ E -Mail หลังจากที่เราใส่ User Name และ Password ที่ถูกต้องลงไปแล้วกดปุ่ม จะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า ไม่มี Mail ใหม่ ๆ เข้ามา กรณีที่มี Mail ใหม่ ๆ เข้ามาจะปรากฏในหน้าจอนี้เองโดยอัตโนมัติในทุก ๆ ครั้งที่เราเข้ามาดู
การส่ง E- Mail ขั้นที่ 1  นำ Mouse ไป Click ที่เมนู เขียนจดหมาย  จากหน้าจอในรูปที่ 2 ขั้นที่ 2  หลังจากเลือกเมนูเขียนจดหมายแล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 3  หลังจากนั้นมีวิธีการดังนี้
หลังคำว่า ถึง : ให้ใส่ชื่อ E-Mail ของคนที่เราต้องการจะส่ง Mail ไปหา หากต้องการส่งไปให้หลายคนให้ใช้เครื่องหมายComma (,) คั่นระหว่าง E-Mail address ของแต่ละคนในช่อง สำเนา : เป็นการทำสำเนา (Carbon Copy )  ของ Mail ไปถึงผู้รับโดยการใส่ชื่อE-Mail ของคนที่เราต้องการส่ง Mail ไปให้ (เพิ่มเติมจากใน ถึง :  ) -    ในช่อง  สำเนาซ่อน :  เป็นการทำสำเนาแบบ Blind Carbon Copy  ใช้ในกรณีที่ต้องการส่ง       E-Mail ถึงบุคคลอื่น โดยบุคคลที่เราส่ง E-Mail ไปให้ใน ถึง : และ สำเนา :จะไม่ทราบว่า เราส่งไปให้บุคคลนี้ด้วย -    ในช่องหัวเรื่อง  : เป็นช่องสำหรับพิมพ์ชื่อเรื่องที่จะส่ง - .   กล่องใหญ่ในส่วนล่างจะเป็นพื้นที่ในการเขียนข้อความที่เราต้องการที่จะส่ง ,[object Object],-    ส่งข้อความเสร็จเรียบร้อยแล้วทาง thaimail.com ก็จะแจ้งให้ทราบว่าจดหมายส่งถึงผู้รับ  เรียบร้อยแล้วดังรูป หรือบางครั้งก็จะแจ้งกลับไปที่หน้าจดหมายเข้าเลย
การส่ง File ใดๆไปกับ  E-Mail ในกรณีที่เราต้องการส่ง File ใด ๆ ก็ตามแนบไปกับ E-mail ด้วย มีขั้นตอนการส่งดังนี้ 1.  นำ Mouseไป Click ที่ปุ่มที่มีคำว่า “แนบไฟล์ 0 ไฟล์”
เลือก File ที่ต้องการจะส่ง โดยกดปุ่มที่มีคำว่า “Browse”  แล้วจะปรากฏหน้าจอดังนี้
เมื่อเลือก File ที่ต้องการส่งได้แล้ว กดปุ่มที่มีคำว่า “Open” ในรูปแล้ว จะเห็นว่า ชื่อ File ที่เราเลือก  ขั้นต่อมากดปุ่มที่มีคำว่า “แนบไฟล์” เพื่อแนบ File ไปกับ E-mail  ดังรูป
จากรูปจะเห็นชื่อ File ที่ต้องการจะส่งจะปรากฏบนช่องว่างถ้าเราเกิดลังเล เปลี่ยนใจจะเปลี่ยนแปลง File ที่จะส่ง สามารถทำได้โดยการนำ Mouseไป  Clickที่ช่องสี่เหลี่ยมแล้วจะเกิดเครื่องหมาย / จากนั้น Click ลบไฟล์ ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้ Click เริ่มขั้นตอนที่ 2 ใหม่ (ในที่นี้ทาง thaimail.com มีขีดความสามารถในการส่ง File มีขนาดสูงที่สุดได้ไม่เกิน  1 Mb  เท่านั้น) จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายคือ นำ Mouseไป  Clickที่ช่องส่งจดหมายทาง thaimail.com ก็จะแจ้งให้ทราบว่าจดหมายส่งถึงผู้รับเรียบร้อยแล้วดังรูปหรือบางครั้งก็จะแจ้งกลับไปที่หน้าจดหมายเข้าเลย

More Related Content

What's hot

บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งานบทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งานPiyanoot Ch
 
รายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตรายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตnatlove220
 
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นChantana Papattha
 
ตัวอย่าง Report1
ตัวอย่าง Report1ตัวอย่าง Report1
ตัวอย่าง Report1Samorn Tara
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งานหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งานครู อินดี้
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็มความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็มSutin Yotyavilai
 
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตyutthapol maneesukrungrot
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตPp'dan Phuengkun
 
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)Krusine soyo
 
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ตคุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ตohhomm
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตkhemjiraacr2
 
บทที่ 4 เทคโน ม.6 copy - copy
บทที่ 4 เทคโน ม.6   copy - copyบทที่ 4 เทคโน ม.6   copy - copy
บทที่ 4 เทคโน ม.6 copy - copyครู อินดี้
 
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตyutthapol maneesukrungrot
 
งานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิปงานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิปguest0b1d15e4
 

What's hot (18)

บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งานบทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
 
รายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตรายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ต
 
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
 
ตัวอย่าง Report1
ตัวอย่าง Report1ตัวอย่าง Report1
ตัวอย่าง Report1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งานหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็มความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ม
 
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internetความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
 
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ตคุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
คุยเฟื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต
 
ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
 
บทที่ 4 เทคโน ม.6 copy - copy
บทที่ 4 เทคโน ม.6   copy - copyบทที่ 4 เทคโน ม.6   copy - copy
บทที่ 4 เทคโน ม.6 copy - copy
 
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
 
งานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิปงานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิป
 

Similar to อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นNoomim
 
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต วีรวัฒน์ สว่างแสง
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..runjaun
 
ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)
ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)
ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)Puangkaew Kingkaew
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าJenchoke Tachagomain
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าJenchoke Tachagomain
 
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ตความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ตpatchu0625
 
สื่อการสอน Internet 2559
สื่อการสอน Internet  2559สื่อการสอน Internet  2559
สื่อการสอน Internet 2559kkrunuch
 
บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตMinny Mimi
 
บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์Piyanoot Ch
 
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตKrieangsak Pholwiboon
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบี
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบีความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบี
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบีPheeranan Thetkham
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ยความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ยPheeranan Thetkham
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมว
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมวความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมว
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมวPheeranan Thetkham
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปายความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปายPheeranan Thetkham
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปายความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปายPheeranan Thetkham
 

Similar to อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9 (20)

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
 
Internet
InternetInternet
Internet
 
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต..
 
1
11
1
 
1
11
1
 
Communication Concept
Communication ConceptCommunication Concept
Communication Concept
 
ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)
ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)
ใบความรู้เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
 
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ตความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
 
สื่อการสอน Internet 2559
สื่อการสอน Internet  2559สื่อการสอน Internet  2559
สื่อการสอน Internet 2559
 
บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ต
 
บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่2เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบี
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบีความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบี
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบี
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ยความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตดุ่ย
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมว
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมวความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมว
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแมว
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปายความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
 
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปายความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปาย
 

More from Pop Areerob

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27
อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27
อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27Pop Areerob
 
ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์Pop Areerob
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9Pop Areerob
 

More from Pop Areerob (11)

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27
อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27
อุไรพร ศรีชนะ เลขที่ 27
 
ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9
 

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9

  • 1. อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น จัดทำโดย นายธีระศักดิ์ ขำแห้ว เลขที่ 9 ชั้น ม.6/2 เสนอ อาจารย์รัฐพล ศิริพิมลวัฒน์ รหัสวิชา ง.43101
  • 2. อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace )       อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่าย โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย
  • 3. การเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณจากดาวเทียม ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร             การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจอินเทอร์เน็ต จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วอินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต ISOC ( Internet Society ) ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด
  • 4. ประวัติความเป็นมา             อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลัก เพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency) รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่า IMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
  • 5.             กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive ) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex
  • 6. ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์ปา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก อาร์ปา มาเป็น ดาร์พา DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) ตอนหลังเปลี่ยนเป็น Defence Communication Agency ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency            ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) เป็นครั้งแรก             ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET             และในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นเครือข่ายหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆแทน มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก
  • 7. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย             อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา"
  • 8. ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมา เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
  • 9. ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)             ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้
  • 10. บริการบนอินเทอร์เน็ต อภิมหาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ บริการด้านการสื่อสาร บริการด้านข้อมูลต่างๆ
  • 11. บริการด้านการสื่อสาร             เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งจะมีความรวดเร็วกว่าการติดต่อด้วยวิธีการแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ (E-mail)            ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลก
  • 12. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดีในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิคส์ ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ก็สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอ คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
  • 13. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียนแจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบ หรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทาง ของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์
  • 14. จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้ ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์
  • 15. สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)            ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ
  • 16. มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร์คือ คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อรองรับ User หลายคน เครื่องของเราจะทำหน้าที่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดา โดยที่ไม่ต้องการทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้           การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่นโปรแกรม Pirch, ICQ, Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger
  • 17. "กระดานข่าว" หรือบูเลตินบอร์ด            บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ             นอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่น กลุ่ม Thai Group เป็นต้น การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือ Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่านข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความคำถามคำตอบของเราไว้บนกระดานข่าวนั้นได้            ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไป เราก็อาจยกเลิกการเป็นสมาชิก (Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ แทนก็ได้ การเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิกของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น             กระดานข่าวที่น่าสนใจของไทยและมีสมาชิกร่วมในการสนทนามากที่สุดในปัจจุบันคือ กระดานข่าวพันทิพ ที่ URL : www.pantip.comซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใช้ที่มีความสนใจหลากหลายเช่น กระดานข่าวเทคนิคคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านระบบปฏิบัติการ ซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ สภากาแฟของคนชอบการเมือง ชอบด้านเครื่องยนต์กลไก และอื่นๆ อีกมากลองเข้าไปร่วมวงสนทนากันได้
  • 18. บริการเข้าระบบระยะไกล Telnet            ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้             โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบตัวอักษร (Text mode) หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ และใช้บริการสำเนาไฟล์ รับส่งอีเมล์ได้
  • 19. การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต             การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้ การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า (ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • 20. อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
  • 21. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล๊อตบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตและหนาเพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
  • 22. ภาพแสดงการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
  • 23. ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล             การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน (User) หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกัน สัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อกผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง            สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่? ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที
  • 24. การเชื่อมต่อแบบองค์กร             จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ (Server) ด้านต่างๆ และมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร
  • 25. ดิจิตอลโมเด็ม (NTU) และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อด้วยหมายเลข IP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลข IP Address ของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งานของเครือข่ายสูง มีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิกเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก และมีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนเป็นจำนวนมากและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • 26. บริการด้านข้อมูล การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล หรือบริการ FTP (File Transfer Protocol) เป็นบริการของอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดิโอ หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ การถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเราไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ (Host) เรียกว่า การอัปโหลด (Upload) ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถใช้งานจากข้อมูลของเราได้ การที่เราถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากโฮสต์อื่นมายังคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า การดาวน์โหลด (Download)
  • 27. ในการนำดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ มาใช้นั้น มีบริการอยู่ 2 ประเภท คือ Private FTP หรือ เอฟทีพีเฉพาะกลุ่ม นิยมใช้ตามสถานศึกษาและภายในบริษัท   ผู้ใช้บริการจะต้องมีรหัสผ่านเฉพาะจึงจะใช้งานได้   ประเภทที่สองคือ Anonymous FTP เป็นเอฟทีพีสาธารณะให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลฟรีโดยไม่ต้องมีรหัสผ่าน ซึ่งปัจจุบันมีบริการในลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโปรแกรมซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่ทางบริษัทต่างๆ คิดค้นขึ้นมาและต้องการเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ก็จะนำโปรแกรมมานำเสนอไว้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนใดสนใจก็สามารถใช้เอฟทีพีดึงเอาโปรแกรมเหล่านั้นมาใช้งานได้ โดยโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เรียกว่า ฟรีแวร์ (Freeware) และโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้ก่อน ซึ่งหากพอใจก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อตัวโปรแกรม เรียกว่า แชร์แวร์ (Shareware)
  • 28. การค้นหาข้อมูล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลก   โดยมีแฟ้มข้อมูลต่างๆ มากมายหลายพันล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน   ดังนั้น   จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือโปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อาร์คี (Archie) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อ แต่ไม่ทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดในอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูล เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใด ก็เพียงแต่เรียกใช้อาร์คีแล้วพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อมรายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วก็สามารถใช้เอฟทีพีเพื่อถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล มาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้ โกเฟอร์ (Gopher) เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบเมนู โกเฟอร์เป็นโปรแกรมที่มีรายการเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาแฟ้มข้อมูล ความหมาย และทรัพยากรอื่นๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่ระบุไว้   โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบและใช้รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับอินเทอร์เน็ต สารบบ หรือชื่อแฟ้มข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น   เราเพียงแต่เลือกอ่านในรายการเลือกและกดแป้น Enter เท่านั้นเมื่อพบสิ่งที่น่าสนใจ   ในการใช้นี้เราจะเห็นรายการเลือกต่างๆ พร้อมด้วยสิ่งที่ให้เลือกใช้มากขึ้นจนกระทั่งเราเลือกสิ่งที่ต้องการและมีข้อมูลแสดงขึ้นมา เราสามารถอ่านข้อมูลหรือเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราได้
  • 29. Veronica เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมาจากการทำงานของระบบโกเฟอร์ เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องผ่านระบบเมนูตามลำดับขั้นของโกเฟอร์ เพียงแต่พิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ลงไปให้ระบบค้นหาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ แทน เวส (Wide Area Information Server-WAIS) เป็นโปรแกรมสำหรับใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสืบค้นข้อมูล โดยการค้นจากเนื้อหาข้อมูลแทนการค้นตามชื่อของแฟ้มข้อมูล จากฐานข้อมูลจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วโลก   การใช้งานผู้ใช้ต้องระบุชื่อเรื่อง หรือ ชื่อคำหลักที่เกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูลที่ต้องการค้น หลังจากใช้คำสั่งค้นหาข้อมูล โปรแกรมเวสจะช่วยค้นไปยังแหล่งข้อมูลที่ต่อเชื่อมกันอยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยจะพยายามค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องตรงกับคำค้น หรือวลีสำคัญที่ผู้ใช้การค้นหาให้มากที่สุด Search Engines เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นลักษณะของโปรแกรมช่วยการค้นหาซึ่งมีอยู่มากมายในระบบอินเทอร์เน็ต โดยการพัฒนาขององค์กรต่างๆ เช่น Google,Yahoo, Infooseek, Alta Vista, HotBot, Excite เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลสารสนเทศต่างๆ โดยผู้ใช้พิมพ์คำหรือข้อความ ที่เป็น keyword เข้าไป โปรแกรม Search Engines ก็จะแสดงรายชื่อของแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นมา ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่รายชื่อต่างๆ เพื่อเข้าไปดูข้อมูลตัวนั้นๆ ได้ หรือจะเลือกค้นจากหัวข้อในหมวดต่างๆ (Categories) ที่ทาง Search Engines ได้แสดงไว้เป็นเมนูต่างๆ โดยเริ่มจากหมวดที่กว้างจนลึกเข้าไปสู่หมวดย่อยได้
  • 30. ข้อมูลมัลติมีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก   เนื่องมาจากลักษณะเด่นของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่สามารถนำเสนอข้อมูลมัลติมีเดียที่แสดงได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งมีอยู่มากมาย และสามารถรวบรวมลักษณะการใช้งานอื่นๆ ในระบบอินเทอร์เน็ตเอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์   การถ่ายโอนข้อมูล   การสนทนา   การค้นหาข้อมูล  และอื่นๆ ทำให้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   โดยการเข้าสู่ระบบเวิลด์ไวด์เว็บ จะต้องใช้โปรแกรมการทำงานที่เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นตัวเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Internet Explorer และ Netscape Navigator ลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บ คือ การนำเสนอข้อมูลต่างๆ มากมายในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ หรือหน้านิตยสาร ซึ่งสามารถบรรจุข้อความ รูปภาพ และเสียงไว้ได้ด้วย โดยที่หน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) ซึ่งภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ให้สามารถดูได้ในเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language)
  • 31. เมื่อเราเอาเว็บเพจหลายๆ เว็บเพจมารวมกันในแหล่งเดียวกัน เราเรียกว่า เว็บไซต์ (Website) เว็บไซต์แต่ละที่จะถูกเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) แต่ละแห่ง โดยแต่ละแห่งก็จะมีโฮสต์ของตนเองทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาข้อมูล ซึ่งโดยปกติจะเปิดอิสระให้ทุกคนเข้าไปเปิดดูข้อมูลได้ ขอเพียงแต่ให้ผู้ใช้ทราบที่อยู่ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นๆ ซึ่งที่อยู่นี้เรียกว่า ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator - URL) ซึ่งแต่ละยูอาร์แอลจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน เช่น www.hotmail.com และ www.inet.co.th เป็นต้น ส่วนประกอบของยูอาร์แอลมักจะเขียนดังตัวอย่างนี้ โฮมเพจหรือเว็บเพจของแต่ละเว็บไซต์ จะมีทั้งข้อความและรูปภาพ ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม เอกสารเหล่านี้จะมีข้อความที่บรรจุอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อ กลุ่มคำ หรือรูปภาพที่สัมพันธ์กับเนื้อหา แต่ไม่ได้แสดงเนื้อหาทั้งหมดไว้ในหน้าเดียว หากแต่มีคำสำคัญที่เน้นเป็นจุดเด่น มีสีสันชัดเจน หรือขีดเส้นใต้ไว้ ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเราเอาเมาส์ไปวางไว้บนข้อความหรือรูปภาพนั้นๆ สัญลักษณ์ของเมาส์ก็จะเปลี่ยนจากรูปลูกศรมาเป็นรูปมือ ถ้าหากผู้ใช้ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ก็คลิกที่ข้อความหรือรูปภาพนั้น เว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับข้อความหรือรูปภาพนั้นก็จะถูกเปิดขึ้นมา ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่าการเชื่อมโยงด้วย ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) ซึ่งทำให้เราสามารถเชื่อมโยงหรือลิงค์ไปยังเว็บเพจอื่นๆ ในเว็บไซต์เดียวกัน และลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้อย่างไม่จำกัด
  • 32. โทษของอินเทอร์เน็ต             ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งด้านที่เป็นคุณประโยชน์และด้านที่เป็นโทษ เปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อเรา ขอยกตัวอย่างโทษที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตดังนี้ โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ? หากการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานหรือแม้แต่ทำลายสุขภาพ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเทอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลวในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)
  • 33. คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเทอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่นบริการ AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
  • 34. สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ             สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับการเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหารหรือสุราเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
  • 35. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)            เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา  แต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา            ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ             ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆ กัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม           
  • 36. หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง             ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆ มาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542             นอกจากนี้ ยังมีเรื่องหลอกหลวงต่างๆ อีกมากมายที่กลายเป็นข่าวให้เราได้รับทราบอยู่เสมอ การพยายามในการเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร กลั่นกรองจากหลายๆ แหล่งเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพไฮเทคเหล่านี้
  • 37. อนาคตของอินเทอร์เน็ต             อนาคตของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊กไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เรียกกันว่า Palmtop และโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ได้ผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ส่งข้อความสั้น (Short Message Service) รวมทั้งการท่องเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol ) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้
  • 38. ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการสื่อสารมากขึ้นเช่น การใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังต่างประเทศ (Net2Phone) บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริงๆ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสารจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริงๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งและจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการจากที่ซื้อไว้             ในประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ช่องความถี่ที่ว่าง) มาใช้ในการให้บริการโทรศัพท์ทางไกล Ytelทำให้ค่าบริการลดลง ด้วยการกดหมายเลข 1234 นำหน้ารหัสทางไกลและหมายเลขโทรศัพท์บ้าน ค่าบริการจะลดลงมากกว่าครึ่งด้วยคุณภาพของเสียงที่ชัดเจนยอมรับได้ เป็นต้น
  • 39. ในอินเทอร์เน็ตยังมีบริการด้านความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์และวิทยุ เราสามารถเลือกใช้บริการเหล่านี้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก เราสามารถรับความบันเทิงใหม่ล่าสุดได้พร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ ทันทีเช่นเดียวกัน
  • 40. โลกของอิเล็กทรอนิคส์           อนาคตของอินเทอร์เน็ตกำลังมุ่งไปสู่การให้บริการทางด้านธุรกิจที่เราได้ยินกันจนชินหูว่า e-Commerce เช่น การทำร้านค้าออนไลน์จำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ การชำระค่าบริการ (ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า โทรศัพท์ ภาษีรถยนต์ เบี้ยประกันภัย) ที่สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก          รัฐบาลไทยได้วางนโยบายและกำหนดเป้าหมายในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งาน โดยการปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลเป็นแบบ e-Government มีการนำเอาระบบฐานข้อมูลประชากร e-Citizen มาใช้ในการบริหารงานการให้บริการต่างๆ แก่ประชาชนในด้านต่างๆ             ประชาชนจะมีบัตรประจำตัวแบบสมาร์ทการ์ดที่บรรจุข้อมูลต่างๆ เพียงใบเดียว (รวมใบ ขับขี่ บัตรสุขภาพของสถานพยาบาล หรือบัตรอื่นๆ ไว้เพียงใบเดียว) การทำธุรกรรมต่างๆ ที่ต้องการอ้างอิงหลักฐานทางราชการสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพียงใบเดียวในการดำเนินการ
  • 41. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail = E- Mail) วิธีการรับ-ส่ง Electronic Mail(E-Mail) ในการรับ – ส่ง E- Mail ในปัจจุบันเราสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับว่าเราใช้บริการ E-Mail ของ Site ใด เช่น ของ Hotmail.com , ของ Excite.com Thaimail.com และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ ทาง Site ที่เราใช้บริการอยู่จะมีบริการในการจัดส่ง E-Mail ให้ ซึ่งแต่ละ Site ก็จะมีรูปแบบการส่ง และวิธีการที่ต่างกันไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการรับส่ง E-Mail ของ thaimail.com เนื่องจากเป็น Site ที่มีผู้ใช้บริการมากและเป็นที่นิยมมากที่สุดทั้งยังเป็นภาษาไทยด้วย การเข้าสู่ thaimail.com ทำโดยการพิมพ์ที่ Address ว่า thaimail.com ดังภาพ จะแสดงหน้าจอแรก จากนั้นทำการใส่ User Name และ Password ของเรา แล้วนำ Mouse ไปคลิกที่ปุ่ม login
  • 42. พิมพ์ User Name พิมพ์ Password จากนั้นใช้ Mouse คลิกที่ Login
  • 43. การรับ E -Mail หลังจากที่เราใส่ User Name และ Password ที่ถูกต้องลงไปแล้วกดปุ่ม จะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า ไม่มี Mail ใหม่ ๆ เข้ามา กรณีที่มี Mail ใหม่ ๆ เข้ามาจะปรากฏในหน้าจอนี้เองโดยอัตโนมัติในทุก ๆ ครั้งที่เราเข้ามาดู
  • 44. การส่ง E- Mail ขั้นที่ 1 นำ Mouse ไป Click ที่เมนู เขียนจดหมาย จากหน้าจอในรูปที่ 2 ขั้นที่ 2 หลังจากเลือกเมนูเขียนจดหมายแล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 3 หลังจากนั้นมีวิธีการดังนี้
  • 45.
  • 46. การส่ง File ใดๆไปกับ E-Mail ในกรณีที่เราต้องการส่ง File ใด ๆ ก็ตามแนบไปกับ E-mail ด้วย มีขั้นตอนการส่งดังนี้ 1. นำ Mouseไป Click ที่ปุ่มที่มีคำว่า “แนบไฟล์ 0 ไฟล์”
  • 47. เลือก File ที่ต้องการจะส่ง โดยกดปุ่มที่มีคำว่า “Browse” แล้วจะปรากฏหน้าจอดังนี้
  • 48. เมื่อเลือก File ที่ต้องการส่งได้แล้ว กดปุ่มที่มีคำว่า “Open” ในรูปแล้ว จะเห็นว่า ชื่อ File ที่เราเลือก ขั้นต่อมากดปุ่มที่มีคำว่า “แนบไฟล์” เพื่อแนบ File ไปกับ E-mail ดังรูป
  • 49. จากรูปจะเห็นชื่อ File ที่ต้องการจะส่งจะปรากฏบนช่องว่างถ้าเราเกิดลังเล เปลี่ยนใจจะเปลี่ยนแปลง File ที่จะส่ง สามารถทำได้โดยการนำ Mouseไป Clickที่ช่องสี่เหลี่ยมแล้วจะเกิดเครื่องหมาย / จากนั้น Click ลบไฟล์ ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้ Click เริ่มขั้นตอนที่ 2 ใหม่ (ในที่นี้ทาง thaimail.com มีขีดความสามารถในการส่ง File มีขนาดสูงที่สุดได้ไม่เกิน 1 Mb เท่านั้น) จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายคือ นำ Mouseไป Clickที่ช่องส่งจดหมายทาง thaimail.com ก็จะแจ้งให้ทราบว่าจดหมายส่งถึงผู้รับเรียบร้อยแล้วดังรูปหรือบางครั้งก็จะแจ้งกลับไปที่หน้าจดหมายเข้าเลย