SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
229
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ
จรรยาบรรณวิชาชีพสาหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
Relationship between Transformational Leadership of School
Administrators and Professional Code of Conduct for School
Administrators in Chiang Mai Province
ดร.จิราภรณ์ สุภิสิงห์
Dr.Jiraporn Supising,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
Graduate School, Western University
รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชีพ พุทธประเสริฐ
Associate Professor Dr.Choocheep Puthaprasert
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Education, Chiang Mai University
ดร.ภูเบศ พวงแก้ว
Dr.Phubet Poungkaew
คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
Faculty of Social Sciences and Liberal Arts, North Chiang Mai University
ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง
Dr.Yongyouth Yaboonthong
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Education, Chiang Mai University
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา
3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
230
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
กับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง
ของการวิจัยครั้งนี้ เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 31 คน ครู
จํานวน 93 คน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
เฉพาะเขตอําเภอเมืองเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งหมด จํานวน 124 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามด้านภาวะผู้นําและด้าน
จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่
โดยรวม 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ใน
ระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ภาวะผู้นําเชิงอุดมคติ รองลงมา
ภาวะผู้นําเชิงใส่ใจเฉพาะรายบุคคล ภาวะผู้นําเชิงกระตุ้นให้เกิดปัญญา และภาวะ
ผู้นําเชิงจูงใจให้เกิดแรงบันดาลใจ ตามลําดับ
2. จรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
โดยรวม 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ใน
ระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง รองลงมา
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อ
ผู้รับบริการ และจรรยาบรรณต่อสังคม ตามลําดับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
กับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทุกด้าน
มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง
คาสาคัญ: ความสัมพันธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ภาวะผู้นํา, จรรยาบรรณวิชาชีพ
Abstract
The purposes of this study were 1) to study transformational
leadership of school administrators, 2) to study professional code of ethics for
school administrators, and 3) to study relationship between transformational
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
231
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
leadership of school administrators and professional code of conduct for
school administrators in Chiang Mai province. The sampling of this research
selected by purposive selection consisted of 31 school administrators and 93
teachers under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 1
in Muang Chiang Mai district, Chiang Mai province, in academic year 2016,
for a total of 124 respondents. Instrument used for collecting data was a
questionnaire with a reliability of 0.87. The data were analyzed using
frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product-
Moment Correlation Coefficient. The results of this study were as follows:
1. Regarding the overall transformational leadership of school
administrators in Chiang Mai Province in 4 aspects, it was at a high level.
When considering each aspect from high to low, they were as follows:
idealized influence, individualized consideration, intellectual stimulation, and
inspirational motivation, respectively.
2. Regarding the overall professional code of conduct for educational
administrators in Chiang Mai Province in 5 aspects, it was at a high level.
When considering each aspect from high to low, they were as follows: code
of conduct to oneself, to profession, to professional colleagues, to clients,
and to society, respectively.
3. Regarding the relationship between transformational leadership
for educational administrators and professional code of conduct for educational
administrators in Chiang Mai Province, it was at a moderate level of
relationship with statistical significant at 0.01.
Keywords: Relationship, School Administrators, Transformational Leadership,
Professional Code of Conduct
232
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
บทนา
จากสังคมยุคความรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่
ยุคสังคมไทยแลนด์ 4.0 การใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ของทุกภูมิภาค
ของโลกเข้าด้วยกัน พลังขับของเทคโนโลยียุคดิจิทัล ส่งผลทําให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นความรวดเร็วที่นักวิชาการเห็นตรงกันว่าเพิ่งจะ
เริ่มต้นเท่านั้น ในระยะถัดไปจะยิ่งทวีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามไปด้วยอย่างไม่
อาจหลีกเลี่ยงได้ สถานศึกษาจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการ
เรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
รวมทั้งสารสนเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และได้เข้ามามี
บทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีการดําเนินชีวิตประจําวันของเราได้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (2559) กล่าวว่า การศึกษาในยุค Thailand 4.0 มีความหมาย
มากกว่าการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียม
มนุษย์ให้เป็นมนุษย์ กล่าวคือ นอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องทําให้เขาเป็นคนที่รักที่จะ
เรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือ การสร้างคนให้มีทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน
Thailand 4.0 คือ การพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย มีรายได้มากขึ้น และก้าวพ้น
จากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยจะต้องผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นฐาน
ในการพัฒนาประเทศ และต้องสามารถติดต่อค้าขายกับนานาประเทศได้ด้วย
นอกจากนี้ เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์ (2559) มองว่าการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือ
สําคัญในการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ เพื่อเตรียมกําลังคนให้
พร้อมในการเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย สู่เวทีเศรษฐกิจใน
ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยที่ขณะนี้โลกของเรามีการเชื่อมต่อด้วย
เทคโนโลยีไร้สาย โดยการเชื่อมต่อได้เข้าไปถึงระดับบุคคล และจํานวนการเชื่อมต่อ
เข้าใกล้จํานวนประชากรโลกเข้าทุกขณะ อีกทั้งอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ส่วนบุคคลมี
ประสิทธิภาพในการคํานวณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถเชื่อมต่อผู้คนจํานวน
มหาศาลในเวลาเดียวกัน ประกอบกับความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
233
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
และยังไม่มีแนวโน้มที่จะถึงจุดอิ่มตัวเลยแม้แต่น้อย ในยุคดิจิทัลการเรียนรู้และการ
เข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างอิสระ ความพร้อมในการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่ม
มากขึ้น และการเข้าถึงการศึกษาขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและ
ในประเทศกําลังพัฒนา ซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในบทบาทของ
มหาวิทยาลัยจะทําหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มและผู้เก็บรักษาองค์ความรู้เทคโนโลยี
ยุคดิจิทัล
เมื่อการศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ผู้อํานวยการ
สถานศึกษา ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือว่าเป็นกุญแจแห่งความสําเร็จ
เพราะนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสถานศึกษาแล้ว ผู้อํานวยการ
สถานศึกษา ยังเป็นจุดเชื่อมของนโยบายกับการปฏิบัติที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด
ซึ่งแน่นอนว่าผู้อํานวยการสถานศึกษา นอกจากจะต้องคุณลักษณะที่ดี มีความรู้
ความสามารถ เป็นผู้นําครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน
ให้มาร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้บรรลุผล ผู้บริหารระดับ
นโยบายมีความใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับ เรืองยศ พจนนุสนธ์ (2541:
11) ได้กล่าวว่า บทบาทของผู้บริหาร หมายถึง ภารกิจหน้าที่ที่ถูกกําหนดขึ้นมา
ควบคู่กับตําแหน่งทางสังคมในสถาบัน ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดํารงตําแหน่งใดก็
ตามต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามภารกิจหน้าที่ ตามที่ได้กําหนดไว้เฉพาะตําแหน่ง
นั้นๆ และบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนั้นๆ ต้องนําความรู้ความสามารถ
ทักษะและประสบการณ์หรือมโนทัศน์ของตนที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
ให้เหมาะสมตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม อย่างมีศาสตร์และศิลป์ในบทบาท
หน้าที่ดังกล่าว เป็นที่แน่นอนว่า การที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การศึกษาไทยใน
ยุค 4.0 ได้อย่างยั่งยืนได้นั้น จะต้องมีการเชื่อมโยงในหลากหลายมิติ ให้สอดคล้องต่อ
การพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสร้างคนให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ทิศทางการเปลี่ยนแปลง
ของโลกในอนาคต
ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นํา มีการศึกษาวิจัยมากในช่วงทศวรรษ 1980
เป็นต้นมา ได้แก่ ผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) ตามแนวคิด
ของ Bass and Avolio (อ้างถึงใน แพรภัทร ยอดแก้ว, 2549) ประกอบด้วย
องค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2) การสร้างแรง
234
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
บันดาลใจ 3) การกระตุ้นทางปัญญา และ 4) การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
ดังนั้น ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) จึงเป็นทฤษฏีที่
สามารถอธิบายกระบวนการมีอิทธิพลได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับจุลภาคระหว่าง
ผู้นํากับผู้ตาม ไปจนถึงระดับมหาภาคระหว่างผู้นํากับบุคลากรทั้งองค์การ ซึ่งจะเป็น
การสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดความผูกพันต่อกันอย่างมั่นคง ซึ่ง Burns เป็นบุคคลแรก
ที่นําเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับภาวะผู้นําเชิงปริวรรตว่า “เป็นกระบวนการที่ทั้งผู้นําและ
ผู้ตามต่างช่วยยกระดับคุณธรรมและแรงจูงใจของกันและกันให้สูงขึ้น” ผู้นําดังกล่าว
จะพยายามยกระดับจิตใจของผู้ตามด้วยการดึงดูดความสนใจมาสู่อุดมการณ์และ
ค่านิยมทางศีลธรรมที่ดีงาม (สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, 2549)
ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษา
ยังคงมีข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่ง
สํานักราชกิจจานุเบกษา (2556: 72) ได้กําหนดจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นมาตรฐาน
การปฏิบัติตนที่กําหนดขึ้นและเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะ
นํามาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อ
วิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นมีความสําคัญ เนื่องจากเป็น
ข้อกําหนดที่ควบคุมไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติหรือปฏิบัติสิ่งที่
ไม่ถูกต้อง หากผู้ประกอบวิชาชีพสามารถกระทําได้ตามที่จรรยาบรรณวิชาชีพ
กําหนดไว้ ก็จะทําให้ได้รับความเชื่อถือและศรัทธาจากบุคคลต่างๆ และจะส่งผลให้
วิชาชีพนั้นๆ เป็นวิชาชีพชันสูงอย่างแท้จริง
จากความสําคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา
รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อเป็นประโยชน์ในการนําไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาตามบริบทของ
แต่ละสถานศึกษา
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
235
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาใน
จังหวัดเชียงใหม่
2. เพื่อศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด
เชียงใหม่
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
กรอบแนวความคิดการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยกําหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับจรรยาบรรณวิชาชีพ
สําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดภาวะผู้นําการ
เปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ตามแนวคิดของ Bass and Avolio
(อ้างถึงใน แพรภัทร ยอดแก้ว, 2549) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่
1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นทาง
ปัญญา และ 4) การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และยึดข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
จรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (สํานักราชกิจจานุเบกษา, 2556: 72) จํานวน
5 ด้าน ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อ
ผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อสังคม นํามาเป็น
กรอบแนวคิดการวิจัย ดังภาพที่ 1
236
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย
วิธีดาเนินการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เฉพาะเขตอําเภอเมือง
เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 ทําการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร
สถานศึกษา จํานวน 31 คน และครู จํานวน 93 คน รวมทั้งหมด จํานวน 124 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เกี่ยวกับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพ
สําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้แก่
อายุ วุฒิการศึกษาตําแหน่ง อายุราชการ และขนาดโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบ
ตรวจสอบรายการ
จรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5. จรรยาบรรณต่อสังคม
ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน
1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์
2. การสร้างแรงบันดาลใจ
3. การกระตุ้นทางปัญญา
4. การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
237
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงและจรรยาบรรณ
วิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 55 ข้อ
ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีลักษณะเป็นคําถาม
ปลายเปิด โดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้ทําการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
จํานวน 5 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.87 แสดงว่า
แบบสอบถามมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้
3.1 ผู้วิจัยทําหนังสือถึงศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอความ
อนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.2 ดําเนินการส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง 2 รูปแบบ คือ 1)
จัดส่งทางไปรษณีย์ และ 2) จัดส่งในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยผู้วิจัยได้รับแบบสอบถาม
กลับคืนจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 124 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 100
3.3 นําแบบสอบถามที่รวบรวมมาได้ทําการตรวจสอบความถูกต้อง
และจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนต่อไป
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยกําหนดการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการ
หาค่าความถี่และร้อยละ
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหาร
สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้ว
แปลความหมายของคะแนนตามเกณฑ์ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545: 100) ดังต่อไปนี้
238
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 มีการปฏิบัติในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 มีการปฏิบัติในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 มีการปฏิบัติในระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ
จรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีหาค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกําหนดเกณฑ์การแปลความหมาย (ชูศรี
วงศ์รัตนะ, 2553: 316) ดังนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.71 – 1.00 หมายถึง มีความสัมพันธ์สูง
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.31 – 0.70 หมายถึง มีความสัมพันธ์ปานกลาง
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.01 – 0.30 หมายถึง มีความสัมพันธ์ตํ่า
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.00 หมายถึง ไม่มีความสัมพันธ์กัน
สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1 - 3
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะผู้นําการ
เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่
ภาวะผู้นาเชิงการเปลี่ยนแปลง X S.D. ระดับ
1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 3.69 0.67 มาก
2. การสร้างแรงบันดาลใจ 3.65 0.65 มาก
3. การกระตุ้นทางปัญญา 3.67 0.66 มาก
4. การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 3.68 0.66 มาก
รวม 3.67 0.66 มาก
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
239
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
จากตารางที่ 1 พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
ในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การ
มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( X = 3.69) รองลงมาคือ การคํานึงถึงความเป็นปัจเจก
บุคคล ( X = 3.68) การกระตุ้นทางปัญญา ( X = 3.67) และการสร้างแรงบันดาลใจ
( X = 3.65) ตามลําดับ
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับ
ผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
จรรยาบรรณวิชาชีพ X S.D. ระดับ
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง 4.12 0.60 มาก
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 4.05 0.71 มาก
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 3.95 0.86 มาก
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 4.00 0.78 มาก
5. จรรยาบรรณต่อสังคม 3.73 0.89 มาก
รวม 4.09 0.79 มาก
จากตารางที่ 2 พบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาใน
จังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จรรยาบรรณ
ต่อตนเอง ( X = 4.12) รองลงมาคือ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ( X = 4.05) จรรยาบรรณ
ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ( X = 4.00) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ( X = 3.95) และ
จรรยาบรรณต่อสังคม ( X = 3.73)
240
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
ตารางที่ 3 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด
เชียงใหม่
ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารสถานศึกษา
(X)
จรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (Y)
ต่อตนเอง
(Y1)
ต่อ
วิชาชีพ
(Y2)
ต่อรับ
บริการ
(Y3)
ต่อผู้ร่วม
ประกอบ
วิชาชีพ
(Y4)
ต่อ
สังคม
(Y5)
ภาพรวม
(Ytot)
การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) .644** .679** .678** .635** .732** .673**
การสร้างแรงบันดาลใจ (X2) .724** .711** .722** .714** .716** .721**
การกระตุ้นทางปัญญา (X3) .105 .055 .077 .086 .088 .082
การคํานึงถึงความเป็น
ปัจเจกบุคคล (X4)
.654** .623** .618** .630** .632** .631**
ภาพรวม (Xtot) .529** .517** .524** .516** .542** .527**
** ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ .01
จากตารางที่ 3 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด
เชียงใหม่ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.527) ระดับ
นัยสําคัญทางสถิติที่ .01
อภิปรายผล
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การ
มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา
และการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลําดับ คล้ายคลึงกับการศึกษาของ ยุวดี แก้วสอน
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
241
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
(2558: 103) ที่ได้ศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ
คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมอยู่ในระดับสูง
เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย คือ การสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างบารมีอย่างมี
อุดมการณ์ การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการกระตุ้นการใช้ปัญญา
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา
ในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุก
ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อ
ผู้รับบริการ และจรรยาบรรณต่อสังคม สอดคล้องกับการศึกษาของจินตนา เย็นทรวง
(2556: 5) ได้ศึกษาเรื่อง จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็น
ของครู อําเภอวิหารแดง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี
เขต 2 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับ
มากทุกด้าน โดยเรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจรรยาบรรณต่อ
ผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง และด้านจรรยาบรรณต่อสังคม
3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด
เชียงใหม่โดยรวม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 แตกต่างจากการศึกษาของ ศุภรัตน์ ทิพยะพร (2558: 81) ได้ศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์กรแห่งการ
เรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับ
ค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
242
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้
1.1 ผลการศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารควรมีความ
ตระหนักในคุณธรรมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ด้านการคํานึงถึง
ความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารควรมอบหมายให้ครูแต่ละคนปฏิบัติงานตามความรู้
ความสามารถและความถนัดอย่างมีเหตุผล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารควร
ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองกระตุ้นให้ครูเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ
ส่งเสริมให้ครูทําวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอนและสร้าง
องค์ความรู้ที่รอบด้านให้เกิดกับตัวผู้เรียน ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารควรมี
ทักษะในการพูดจูงใจให้ครูเสียสละและอุทิศตนในการปฏิบัติงาน และสร้างกําลังใจใน
การปฏิบัติงานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างสมํ่าเสมอ
1.2 ผลการศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาใน
จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวินัย
ในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ มีความใฝ่รู้ หมั่นศึกษาหาความรู้ความชํานาญ
อยู่เสมอ มีแผนหรือปฏิบัติงานตามแผน ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้บริหาร
สถานศึกษาต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดี
ขององค์กรวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ควรศึกษาริเริ่ม
สร้างสรรค์ในการบริหาร เพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ให้
คําปรึกษาหรือจัดให้มีผู้ให้คําปรึกษาในการจัดทําผลงานทางวิชาการแก่เพื่อนครูด้วย
ความเต็มใจ และไม่ใช้อํานาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทําผิด ด้าน
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทําบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
และพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้ง ด้านจรรยาบรรณต่อ
สังคม ผู้บริหารสถานศึกษายึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีความสัมพันธ์อันดีกับ
ผู้ปกครองบุคคลในชุมชน และผู้นําส่วนท้องถิ่น
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
243
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
1.3 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด
เชียงใหม่ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ อาจเนื่องจากว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาอาจมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์
ตามนโยบาย โดยที่ไม่ได้ควรส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่าง
ต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเพื่อ
พัฒนาทักษะการบริหารด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมใน
ด้านความรู้และต้องทําให้ทุกคนเป็นคนที่รักที่จะเรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือ การสร้างคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 พร้อมรับกับ
ความท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก
รู้จักนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง
การศึกษาถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ
สร้างวัฒนธรรมคุณภาพและวัฒนธรรมประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานโดย
กระบวนการมีส่วนร่วม มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมทั้ง
สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
เพื่อพัฒนาตนเองและนํามาพัฒนาองค์กร
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการ
เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร
สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
2.2 ควรศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคไทยแลนด์ 4.0
2.3 ควรศึกษาปัญหาในการพัฒนาไปสู่มีจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับ
ผู้บริหารสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคไทยแลนด์ 4.0
244
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
เอกสารอ้างอิง
Jaroensettasin, Teerakiat. (2016). Education in the age of Thailand 4.0.
Retrieved November 15, 2016, from
http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540274. (in Thai).
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ
15 พฤศจิกายน 2559, จาก
http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540274.
Jojjananusone, Ruangyos. (2008). The Role Implementation of the Primary
School Committees in Maha Sarakham Province. Thesis, Master
of Education (Educational Administration), Sukhothai Thammathirat
University. (in Thai).
เรืองยศ พจนนุสนธ์. (2541). การปฏิบัติงานตามบทบาทของคณะกรรมการ
โรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร
มหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรรมาธิราช.
Kaewsorn, Yuwadee. (2015). Transformational Leadership of School
Administrator Affecting Students' Quality as Basic Educational
Standard. Thesis, Master of Education, Rambhai Barni Rajabhat
University. (in Thai).
ยุวดี แก้วสอน. (2558). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่
ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
245
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
Pisitpaiboon, Saowalak. (2016). Educational Implementation towards
Thailand 4.0. Retrieved November 15, 2016, from
http://www.thaihealth.or.th/Content/33499ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่
ไทยแลนด์ 4.0.html. (in Thai).
เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0.
สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก
http://www.thaihealth.or.th/Content/33499ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่
ไทยแลนด์ 4.0.html.
Pongsriwat, Suthep. (2003). TheCharacteristicsofTransformational
Leadership in Educational Institutions. Retrieved November 15,
2016, from http://suthep.ricr.ac.th. (in Thai).
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2549). คุณลักษณะภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงใน
สถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก
http://suthep.ricr.ac.th.
Royal Gazette. (2013). Regulation of the Teachers Council of Thailand on
Professional Code of Conduct B.E. 2556. Retrieved November 15,
2016, from http://ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพพ.ศ.
2556.pdf. (in Thai).
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://ข้อบังคับคุรุ
สภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพพ.ศ.2556.pdf.
246
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
Srisa-Ard, Boonchom. (2010). The Basic of Research. (8th
ed.). Bangkok:
Suweeriyasan. (in Thai).
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Tipayaporn, Suparat. (2015). A Study of Relationship between
Transformational Leadership of Administrators and Learning
Organization of Schools under Phranakhon Si Ayutthaya
Primary Educational Service Area Office 1. Thesis, Master of
Education (Educational Administration), Phranakhon Si Ayutthaya
Rajabhat University. (in Thai).
ศุภรัตน์ ทิพยะพร. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการ
เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครนครศรี
อยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Wongrattana, Chusri. (2010). Techniques for Using Statistics for Research.
(9th
ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
247
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017
Yensuang, Jintana. (2013). Code of Ethics of the School Administrators as
Perceived by Teachers in Wihan Daeng District under the Office
of Saraburi Primary Educational Service Area 2. Retrieved
November 15, 2016, from
www.ptu.ac.th/StudentServe/input/thesis/[1][060916125439].pdf.
(in Thai).
จินตนา เย็นทรวง. (2556). จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ตามความ
คิดเห็นของครูอาเภอวิหารแดง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก
www.ptu.ac.th/StudentServe/input/thesis/[1][060916125439].pdf.
Yodkaew, Praepat. (2003). Transformational Leadership. Retrieved
November 15, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/236686.
(in Thai).
แพรภัทร ยอดแก้ว. (2549). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 15
พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/236686.
248
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017

More Related Content

What's hot

บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1luanrit
 
Best01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครูBest01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครูPrasong Somarat
 
หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24
หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24
หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
Best Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริต
Best Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริตBest Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริต
Best Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริตSahaporn Vimuktananda
 
ยางนาสาร ฉบับที่ 70
ยางนาสาร ฉบับที่  70ยางนาสาร ฉบับที่  70
ยางนาสาร ฉบับที่ 70Mr-Dusit Kreachai
 
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...widsanusak srisuk
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 

What's hot (11)

Paper tci 2
Paper tci 2Paper tci 2
Paper tci 2
 
บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1
 
Best01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครูBest01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครู
 
หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24
หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24
หนังสือขอความอนุเคราะห์ ค่ายแสงเทียน 24
 
Document (1)
Document (1)Document (1)
Document (1)
 
A3
A3A3
A3
 
Best Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริต
Best Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริตBest Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริต
Best Practice ประเภทนักเรียน โรงเรียนสุจริต
 
ยางนาสาร ฉบับที่ 70
ยางนาสาร ฉบับที่  70ยางนาสาร ฉบับที่  70
ยางนาสาร ฉบับที่ 70
 
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
 
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศกิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 

Similar to วิจัย

วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02Tam Taam
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำruathai
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมAiphie Sonia Haji
 
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีมบทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีมKanitta Fon
 
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...Siriratbruce
 
บทความวิจัย
บทความวิจัยบทความวิจัย
บทความวิจัยampai numpar
 
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนYumisnow Manoratch
 
เครื่องดื่มสมุนไพรไทย
เครื่องดื่มสมุนไพรไทยเครื่องดื่มสมุนไพรไทย
เครื่องดื่มสมุนไพรไทยWaraporn Chiangbun
 
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric NursingA Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric NursingSean Flores
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาวิทวัส รัตนวิรุฬห์
 

Similar to วิจัย (20)

T6
T6T6
T6
 
วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีมบทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
 
2
22
2
 
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
 
Tci 3
Tci 3Tci 3
Tci 3
 
T2
T2T2
T2
 
บทความวิจัย
บทความวิจัยบทความวิจัย
บทความวิจัย
 
2559 project -1
2559 project -12559 project -1
2559 project -1
 
Document
DocumentDocument
Document
 
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
 
เครื่องดื่มสมุนไพรไทย
เครื่องดื่มสมุนไพรไทยเครื่องดื่มสมุนไพรไทย
เครื่องดื่มสมุนไพรไทย
 
Abc2.pdf
Abc2.pdfAbc2.pdf
Abc2.pdf
 
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 3 swot
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 3 swotแผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 3 swot
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 3 swot
 
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric NursingA Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
 
Wanchai s
Wanchai sWanchai s
Wanchai s
 
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยนโครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
 

วิจัย

  • 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 229 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ จรรยาบรรณวิชาชีพสาหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ Relationship between Transformational Leadership of School Administrators and Professional Code of Conduct for School Administrators in Chiang Mai Province ดร.จิราภรณ์ สุภิสิงห์ Dr.Jiraporn Supising, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น Graduate School, Western University รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชีพ พุทธประเสริฐ Associate Professor Dr.Choocheep Puthaprasert คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Faculty of Education, Chiang Mai University ดร.ภูเบศ พวงแก้ว Dr.Phubet Poungkaew คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ Faculty of Social Sciences and Liberal Arts, North Chiang Mai University ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง Dr.Yongyouth Yaboonthong คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Faculty of Education, Chiang Mai University บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
  • 2. 230 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 กับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ของการวิจัยครั้งนี้ เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 31 คน ครู จํานวน 93 คน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เฉพาะเขตอําเภอเมืองเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งหมด จํานวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามด้านภาวะผู้นําและด้าน จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวม 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ใน ระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ภาวะผู้นําเชิงอุดมคติ รองลงมา ภาวะผู้นําเชิงใส่ใจเฉพาะรายบุคคล ภาวะผู้นําเชิงกระตุ้นให้เกิดปัญญา และภาวะ ผู้นําเชิงจูงใจให้เกิดแรงบันดาลใจ ตามลําดับ 2. จรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวม 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ใน ระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง รองลงมา จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อ ผู้รับบริการ และจรรยาบรรณต่อสังคม ตามลําดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทุกด้าน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง คาสาคัญ: ความสัมพันธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ภาวะผู้นํา, จรรยาบรรณวิชาชีพ Abstract The purposes of this study were 1) to study transformational leadership of school administrators, 2) to study professional code of ethics for school administrators, and 3) to study relationship between transformational
  • 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 231 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 leadership of school administrators and professional code of conduct for school administrators in Chiang Mai province. The sampling of this research selected by purposive selection consisted of 31 school administrators and 93 teachers under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 1 in Muang Chiang Mai district, Chiang Mai province, in academic year 2016, for a total of 124 respondents. Instrument used for collecting data was a questionnaire with a reliability of 0.87. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product- Moment Correlation Coefficient. The results of this study were as follows: 1. Regarding the overall transformational leadership of school administrators in Chiang Mai Province in 4 aspects, it was at a high level. When considering each aspect from high to low, they were as follows: idealized influence, individualized consideration, intellectual stimulation, and inspirational motivation, respectively. 2. Regarding the overall professional code of conduct for educational administrators in Chiang Mai Province in 5 aspects, it was at a high level. When considering each aspect from high to low, they were as follows: code of conduct to oneself, to profession, to professional colleagues, to clients, and to society, respectively. 3. Regarding the relationship between transformational leadership for educational administrators and professional code of conduct for educational administrators in Chiang Mai Province, it was at a moderate level of relationship with statistical significant at 0.01. Keywords: Relationship, School Administrators, Transformational Leadership, Professional Code of Conduct
  • 4. 232 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 บทนา จากสังคมยุคความรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่ ยุคสังคมไทยแลนด์ 4.0 การใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ของทุกภูมิภาค ของโลกเข้าด้วยกัน พลังขับของเทคโนโลยียุคดิจิทัล ส่งผลทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นความรวดเร็วที่นักวิชาการเห็นตรงกันว่าเพิ่งจะ เริ่มต้นเท่านั้น ในระยะถัดไปจะยิ่งทวีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามไปด้วยอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ สถานศึกษาจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการ เรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม รวมทั้งสารสนเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และได้เข้ามามี บทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีการดําเนินชีวิตประจําวันของเราได้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (2559) กล่าวว่า การศึกษาในยุค Thailand 4.0 มีความหมาย มากกว่าการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียม มนุษย์ให้เป็นมนุษย์ กล่าวคือ นอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องทําให้เขาเป็นคนที่รักที่จะ เรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือ การสร้างคนให้มีทักษะ ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน Thailand 4.0 คือ การพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย มีรายได้มากขึ้น และก้าวพ้น จากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยจะต้องผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นฐาน ในการพัฒนาประเทศ และต้องสามารถติดต่อค้าขายกับนานาประเทศได้ด้วย นอกจากนี้ เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์ (2559) มองว่าการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือ สําคัญในการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ เพื่อเตรียมกําลังคนให้ พร้อมในการเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย สู่เวทีเศรษฐกิจใน ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยที่ขณะนี้โลกของเรามีการเชื่อมต่อด้วย เทคโนโลยีไร้สาย โดยการเชื่อมต่อได้เข้าไปถึงระดับบุคคล และจํานวนการเชื่อมต่อ เข้าใกล้จํานวนประชากรโลกเข้าทุกขณะ อีกทั้งอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ส่วนบุคคลมี ประสิทธิภาพในการคํานวณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถเชื่อมต่อผู้คนจํานวน มหาศาลในเวลาเดียวกัน ประกอบกับความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง
  • 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 233 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะถึงจุดอิ่มตัวเลยแม้แต่น้อย ในยุคดิจิทัลการเรียนรู้และการ เข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างอิสระ ความพร้อมในการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่ม มากขึ้น และการเข้าถึงการศึกษาขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและ ในประเทศกําลังพัฒนา ซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในบทบาทของ มหาวิทยาลัยจะทําหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มและผู้เก็บรักษาองค์ความรู้เทคโนโลยี ยุคดิจิทัล เมื่อการศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ผู้อํานวยการ สถานศึกษา ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือว่าเป็นกุญแจแห่งความสําเร็จ เพราะนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสถานศึกษาแล้ว ผู้อํานวยการ สถานศึกษา ยังเป็นจุดเชื่อมของนโยบายกับการปฏิบัติที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าผู้อํานวยการสถานศึกษา นอกจากจะต้องคุณลักษณะที่ดี มีความรู้ ความสามารถ เป็นผู้นําครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน ให้มาร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้บรรลุผล ผู้บริหารระดับ นโยบายมีความใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับ เรืองยศ พจนนุสนธ์ (2541: 11) ได้กล่าวว่า บทบาทของผู้บริหาร หมายถึง ภารกิจหน้าที่ที่ถูกกําหนดขึ้นมา ควบคู่กับตําแหน่งทางสังคมในสถาบัน ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดํารงตําแหน่งใดก็ ตามต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามภารกิจหน้าที่ ตามที่ได้กําหนดไว้เฉพาะตําแหน่ง นั้นๆ และบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนั้นๆ ต้องนําความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์หรือมโนทัศน์ของตนที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม อย่างมีศาสตร์และศิลป์ในบทบาท หน้าที่ดังกล่าว เป็นที่แน่นอนว่า การที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การศึกษาไทยใน ยุค 4.0 ได้อย่างยั่งยืนได้นั้น จะต้องมีการเชื่อมโยงในหลากหลายมิติ ให้สอดคล้องต่อ การพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสร้างคนให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ทิศทางการเปลี่ยนแปลง ของโลกในอนาคต ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นํา มีการศึกษาวิจัยมากในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ได้แก่ ผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) ตามแนวคิด ของ Bass and Avolio (อ้างถึงใน แพรภัทร ยอดแก้ว, 2549) ประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2) การสร้างแรง
  • 6. 234 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 บันดาลใจ 3) การกระตุ้นทางปัญญา และ 4) การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ดังนั้น ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) จึงเป็นทฤษฏีที่ สามารถอธิบายกระบวนการมีอิทธิพลได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับจุลภาคระหว่าง ผู้นํากับผู้ตาม ไปจนถึงระดับมหาภาคระหว่างผู้นํากับบุคลากรทั้งองค์การ ซึ่งจะเป็น การสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดความผูกพันต่อกันอย่างมั่นคง ซึ่ง Burns เป็นบุคคลแรก ที่นําเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับภาวะผู้นําเชิงปริวรรตว่า “เป็นกระบวนการที่ทั้งผู้นําและ ผู้ตามต่างช่วยยกระดับคุณธรรมและแรงจูงใจของกันและกันให้สูงขึ้น” ผู้นําดังกล่าว จะพยายามยกระดับจิตใจของผู้ตามด้วยการดึงดูดความสนใจมาสู่อุดมการณ์และ ค่านิยมทางศีลธรรมที่ดีงาม (สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, 2549) ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษา ยังคงมีข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่ง สํานักราชกิจจานุเบกษา (2556: 72) ได้กําหนดจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นมาตรฐาน การปฏิบัติตนที่กําหนดขึ้นและเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะ นํามาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อ วิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อสังคม ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นมีความสําคัญ เนื่องจากเป็น ข้อกําหนดที่ควบคุมไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติหรือปฏิบัติสิ่งที่ ไม่ถูกต้อง หากผู้ประกอบวิชาชีพสามารถกระทําได้ตามที่จรรยาบรรณวิชาชีพ กําหนดไว้ ก็จะทําให้ได้รับความเชื่อถือและศรัทธาจากบุคคลต่างๆ และจะส่งผลให้ วิชาชีพนั้นๆ เป็นวิชาชีพชันสูงอย่างแท้จริง จากความสําคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการนําไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาตามบริบทของ แต่ละสถานศึกษา
  • 7. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 235 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาใน จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กรอบแนวความคิดการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยกําหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับจรรยาบรรณวิชาชีพ สําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดภาวะผู้นําการ เปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ตามแนวคิดของ Bass and Avolio (อ้างถึงใน แพรภัทร ยอดแก้ว, 2549) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นทาง ปัญญา และ 4) การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และยึดข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (สํานักราชกิจจานุเบกษา, 2556: 72) จํานวน 5 ด้าน ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อ ผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อสังคม นํามาเป็น กรอบแนวคิดการวิจัย ดังภาพที่ 1
  • 8. 236 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย วิธีดาเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เฉพาะเขตอําเภอเมือง เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 ทําการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษา จํานวน 31 คน และครู จํานวน 93 คน รวมทั้งหมด จํานวน 124 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เกี่ยวกับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพ สําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ อายุ วุฒิการศึกษาตําแหน่ง อายุราชการ และขนาดโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบ ตรวจสอบรายการ จรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 1. จรรยาบรรณต่อตนเอง 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 5. จรรยาบรรณต่อสังคม ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน 1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2. การสร้างแรงบันดาลใจ 3. การกระตุ้นทางปัญญา 4. การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
  • 9. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 237 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงและจรรยาบรรณ วิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 55 ข้อ ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีลักษณะเป็นคําถาม ปลายเปิด โดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้ทําการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.87 แสดงว่า แบบสอบถามมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้ 3.1 ผู้วิจัยทําหนังสือถึงศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอความ อนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.2 ดําเนินการส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง 2 รูปแบบ คือ 1) จัดส่งทางไปรษณีย์ และ 2) จัดส่งในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยผู้วิจัยได้รับแบบสอบถาม กลับคืนจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 124 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 100 3.3 นําแบบสอบถามที่รวบรวมมาได้ทําการตรวจสอบความถูกต้อง และจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนต่อไป 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยกําหนดการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการ หาค่าความถี่และร้อยละ ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหาร สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้ว แปลความหมายของคะแนนตามเกณฑ์ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545: 100) ดังต่อไปนี้
  • 10. 238 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 มีการปฏิบัติในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 มีการปฏิบัติในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 มีการปฏิบัติในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ จรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกําหนดเกณฑ์การแปลความหมาย (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2553: 316) ดังนี้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.71 – 1.00 หมายถึง มีความสัมพันธ์สูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.31 – 0.70 หมายถึง มีความสัมพันธ์ปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.01 – 0.30 หมายถึง มีความสัมพันธ์ตํ่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.00 หมายถึง ไม่มีความสัมพันธ์กัน สรุปผลการวิจัย ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1 - 3 ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะผู้นําการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่ ภาวะผู้นาเชิงการเปลี่ยนแปลง X S.D. ระดับ 1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 3.69 0.67 มาก 2. การสร้างแรงบันดาลใจ 3.65 0.65 มาก 3. การกระตุ้นทางปัญญา 3.67 0.66 มาก 4. การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 3.68 0.66 มาก รวม 3.67 0.66 มาก
  • 11. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 239 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 จากตารางที่ 1 พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การ มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( X = 3.69) รองลงมาคือ การคํานึงถึงความเป็นปัจเจก บุคคล ( X = 3.68) การกระตุ้นทางปัญญา ( X = 3.67) และการสร้างแรงบันดาลใจ ( X = 3.65) ตามลําดับ ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จรรยาบรรณวิชาชีพ X S.D. ระดับ 1. จรรยาบรรณต่อตนเอง 4.12 0.60 มาก 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 4.05 0.71 มาก 3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 3.95 0.86 มาก 4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 4.00 0.78 มาก 5. จรรยาบรรณต่อสังคม 3.73 0.89 มาก รวม 4.09 0.79 มาก จากตารางที่ 2 พบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาใน จังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จรรยาบรรณ ต่อตนเอง ( X = 4.12) รองลงมาคือ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ( X = 4.05) จรรยาบรรณ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ( X = 4.00) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ( X = 3.95) และ จรรยาบรรณต่อสังคม ( X = 3.73)
  • 12. 240 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 ตารางที่ 3 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่ ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษา (X) จรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (Y) ต่อตนเอง (Y1) ต่อ วิชาชีพ (Y2) ต่อรับ บริการ (Y3) ต่อผู้ร่วม ประกอบ วิชาชีพ (Y4) ต่อ สังคม (Y5) ภาพรวม (Ytot) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) .644** .679** .678** .635** .732** .673** การสร้างแรงบันดาลใจ (X2) .724** .711** .722** .714** .716** .721** การกระตุ้นทางปัญญา (X3) .105 .055 .077 .086 .088 .082 การคํานึงถึงความเป็น ปัจเจกบุคคล (X4) .654** .623** .618** .630** .632** .631** ภาพรวม (Xtot) .529** .517** .524** .516** .542** .527** ** ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 จากตารางที่ 3 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.527) ระดับ นัยสําคัญทางสถิติที่ .01 อภิปรายผล 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การ มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา และการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลําดับ คล้ายคลึงกับการศึกษาของ ยุวดี แก้วสอน
  • 13. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 241 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 (2558: 103) ที่ได้ศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย คือ การสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างบารมีอย่างมี อุดมการณ์ การคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการกระตุ้นการใช้ปัญญา 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุก ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อ ผู้รับบริการ และจรรยาบรรณต่อสังคม สอดคล้องกับการศึกษาของจินตนา เย็นทรวง (2556: 5) ได้ศึกษาเรื่อง จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็น ของครู อําเภอวิหารแดง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับ มากทุกด้าน โดยเรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจรรยาบรรณต่อ ผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง และด้านจรรยาบรรณต่อสังคม 3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่โดยรวม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 แตกต่างจากการศึกษาของ ศุภรัตน์ ทิพยะพร (2558: 81) ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • 14. 242 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ผลการศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารควรมีความ ตระหนักในคุณธรรมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ด้านการคํานึงถึง ความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารควรมอบหมายให้ครูแต่ละคนปฏิบัติงานตามความรู้ ความสามารถและความถนัดอย่างมีเหตุผล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารควร ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองกระตุ้นให้ครูเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ ส่งเสริมให้ครูทําวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอนและสร้าง องค์ความรู้ที่รอบด้านให้เกิดกับตัวผู้เรียน ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารควรมี ทักษะในการพูดจูงใจให้ครูเสียสละและอุทิศตนในการปฏิบัติงาน และสร้างกําลังใจใน การปฏิบัติงานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างสมํ่าเสมอ 1.2 ผลการศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาใน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวินัย ในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ มีความใฝ่รู้ หมั่นศึกษาหาความรู้ความชํานาญ อยู่เสมอ มีแผนหรือปฏิบัติงานตามแผน ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้บริหาร สถานศึกษาต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ควรศึกษาริเริ่ม สร้างสรรค์ในการบริหาร เพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ให้ คําปรึกษาหรือจัดให้มีผู้ให้คําปรึกษาในการจัดทําผลงานทางวิชาการแก่เพื่อนครูด้วย ความเต็มใจ และไม่ใช้อํานาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทําผิด ด้าน จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทําบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า และพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้ง ด้านจรรยาบรรณต่อ สังคม ผู้บริหารสถานศึกษายึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีความสัมพันธ์อันดีกับ ผู้ปกครองบุคคลในชุมชน และผู้นําส่วนท้องถิ่น
  • 15. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 243 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 1.3 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ อาจเนื่องจากว่า ผู้บริหารสถานศึกษาอาจมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ ตามนโยบาย โดยที่ไม่ได้ควรส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเพื่อ พัฒนาทักษะการบริหารด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมใน ด้านความรู้และต้องทําให้ทุกคนเป็นคนที่รักที่จะเรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือ การสร้างคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 พร้อมรับกับ ความท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก รู้จักนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง การศึกษาถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ สร้างวัฒนธรรมคุณภาพและวัฒนธรรมประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานโดย กระบวนการมีส่วนร่วม มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมทั้ง สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อพัฒนาตนเองและนํามาพัฒนาองค์กร 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 2.2 ควรศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคไทยแลนด์ 4.0 2.3 ควรศึกษาปัญหาในการพัฒนาไปสู่มีจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคไทยแลนด์ 4.0
  • 16. 244 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 เอกสารอ้างอิง Jaroensettasin, Teerakiat. (2016). Education in the age of Thailand 4.0. Retrieved November 15, 2016, from http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540274. (in Thai). ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540274. Jojjananusone, Ruangyos. (2008). The Role Implementation of the Primary School Committees in Maha Sarakham Province. Thesis, Master of Education (Educational Administration), Sukhothai Thammathirat University. (in Thai). เรืองยศ พจนนุสนธ์. (2541). การปฏิบัติงานตามบทบาทของคณะกรรมการ โรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรรมาธิราช. Kaewsorn, Yuwadee. (2015). Transformational Leadership of School Administrator Affecting Students' Quality as Basic Educational Standard. Thesis, Master of Education, Rambhai Barni Rajabhat University. (in Thai). ยุวดี แก้วสอน. (2558). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
  • 17. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 245 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 Pisitpaiboon, Saowalak. (2016). Educational Implementation towards Thailand 4.0. Retrieved November 15, 2016, from http://www.thaihealth.or.th/Content/33499ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0.html. (in Thai). เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/33499ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0.html. Pongsriwat, Suthep. (2003). TheCharacteristicsofTransformational Leadership in Educational Institutions. Retrieved November 15, 2016, from http://suthep.ricr.ac.th. (in Thai). สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2549). คุณลักษณะภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงใน สถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://suthep.ricr.ac.th. Royal Gazette. (2013). Regulation of the Teachers Council of Thailand on Professional Code of Conduct B.E. 2556. Retrieved November 15, 2016, from http://ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพพ.ศ. 2556.pdf. (in Thai). ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://ข้อบังคับคุรุ สภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพพ.ศ.2556.pdf.
  • 18. 246 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 Srisa-Ard, Boonchom. (2010). The Basic of Research. (8th ed.). Bangkok: Suweeriyasan. (in Thai). บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. Tipayaporn, Suparat. (2015). A Study of Relationship between Transformational Leadership of Administrators and Learning Organization of Schools under Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1. Thesis, Master of Education (Educational Administration), Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai). ศุภรัตน์ ทิพยะพร. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครนครศรี อยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. Wongrattana, Chusri. (2010). Techniques for Using Statistics for Research. (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai). ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES 247 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017 Yensuang, Jintana. (2013). Code of Ethics of the School Administrators as Perceived by Teachers in Wihan Daeng District under the Office of Saraburi Primary Educational Service Area 2. Retrieved November 15, 2016, from www.ptu.ac.th/StudentServe/input/thesis/[1][060916125439].pdf. (in Thai). จินตนา เย็นทรวง. (2556). จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ตามความ คิดเห็นของครูอาเภอวิหารแดง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก www.ptu.ac.th/StudentServe/input/thesis/[1][060916125439].pdf. Yodkaew, Praepat. (2003). Transformational Leadership. Retrieved November 15, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/236686. (in Thai). แพรภัทร ยอดแก้ว. (2549). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/236686.
  • 20. 248 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Vol.6 No.1 January-June 2017