SlideShare a Scribd company logo
1 of 115
Download to read offline
คํานํา
                  ธรณีพิบัติภัย เป็นพิบัติภัยธรรมชาติ ที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทางธรณีวิทยา เพื่อปรับสภาพพื้นผิวโลกให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญของการ
เกิดธรณีพิบัติภัยต่างๆ ซึ่งพิบัติภัยเหล่านี้ทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้าง
ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมของ
ประเทศด้วย

                ธรณี พิ บั ติ ภั ย ในปั จ จุ บั น ได้ ท วี ค วามรุ น แรงและเกิ ด บ่ อ ยครั้ ง ขึ้ น เนื่ อ งจากปั จ จั ย ทาง
ธรรมชาติ เช่น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้เกิดพายุฝนที่มีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้น
ของประชากรที่ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การขยายตั ว ของชุ ม ชน เข้ า ไปตั้ ง ถิ่ น ฐานในพื้ น ที่ เ สี่ ย งภั ย มากขึ้ น
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ทําการเกษตร ปัจจัยเหล่านี้
ล้วนมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดธรณีพิบัติภัยต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะหยุดยั้งการเกิดธรณีพิบัติภัยได้
แต่สามารถบรรเทาและลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยได้

                          กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานหลัก
มี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการศึ ก ษาหาแนวทางบรรเทาลดผลกระทบจากธรณี พิ บั ติ ภั ย ของประเทศ จึ ง ได้
ดําเนินการสํารวจศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจัดทําแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาส
เกิดธรณีพิบัติภัยแต่ละชนิด จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย
เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศและประกาศแจ้งเตือนภัยถึงเครือข่ายฯ โดยส่งผ่านข้อความสั้น (SMS) และจัดส่ง
นักธรณีวิทยาเข้าตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดธรณีพิบัติภัยเพื่อหาสาเหตุ สภาพความเสียหาย ประเมินความเสี่ยงของ
พื้นที่เกิดเหตุและบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทําเป็นรายงานสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัย
                                                                                                    ิ

                  รายงานสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยฉบับนี้ นําเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๕๓ (ระหว่ า งเดื อ นตุ ล าคม ๒๕๕๒ – กั น ยายน ๒๕๕๓) รวมทั้ ง ให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ สาเหตุ
การเกิดธรณีพิบัติภัย ธรณีวิทยาและภูมประเทศ พร้อมทั้งข้อแนะนําในการป้องกันและแก้ไขธรณีพิบัติภัยชนิดต่างๆ
                                    ิ
กรมทรัพยากรธรณี หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จักเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
การเตรียมพร้อมเฝ้าระวังและการปฏิบตตนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
                                    ัิ




                                                                           (นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ)
                                                                           อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
                                                                               ตุลาคม ๒๕๕๓
สารบัญ
      บทนํา                                                                                         ก
      แนวทางการปฏิบัติของกรมทรัพยากรธรณี                                                            ซ
      ดินถล่ม                                                                                       ๑
      ดินไหล                                                                                        ๖
      รอยแยก                                                                                        ๒๐
      หลุมยุบ                                                                                       ๒๖
      ตลิ่งทรุด                                                                                     ๕๐
      น้ําป่าไหลหลาก                                                                                ๕๒
      การตรวจสอบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย อื่นๆ                                                        ๗๖
      แผ่นดินไหวในประเทศไทย                                                                         ๗๙
      แผ่นดินไหวต่างประเทศ                                                                          ๘๔



                                                            สารบัญรูปภาพ
      แผนทีแสดงตําแหน่งเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๓
            ่                                                                                       ข
      สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ และการดําเนินการของกรมทรัพยากรธรณี               ค



                                                            สารบัญตาราง
      ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยรายเดือน ปีงบประมาณ ๒๕๕๓                                       จ
      ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภยรายจังหวัด ปีงบประมาณ ๒๕๕๓
                                   ั                                                                ฉ




ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                     ิ ัิ ั                                                       สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี
                                  ิ                                        ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
ก


                                                             บทนํา
                     ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตร
และเส้ น ทรอปิ ก ออฟ แคนเซอร์ ซึ่ งถื อ ว่ า อยู่ ใ นเขตร้อ นทางซีก โลกเหนื อ ได้รั บ อิท ธิ พ ลจากดวงอาทิ ต ย์
อย่างเต็มที่ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีภูเขาสูง มีทะเลขนาบทั้ง ๒ ด้าน โครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ
และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน มีลักษณะธรณีวิทยาเป็นหินแกรนิต หินปูน และหินทราย สภาพภูมิอากาศอยู่ภายใต้
อิทธิพลของลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากน้ําเข้าสู่ภาคพื้นทวีป และลมมรสุมฤดูหนาวที่พัดจากภาคพื้นทวีปลงสู่ทะเล
ทําให้มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจาย
ของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ําฝน จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยดังที่ได้กล่าวมานั้น
ทําให้เห็นว่า ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัย เช่น พื้นที่ที่มีรอยเลื่อน
มีพลังพาดผ่านก็จะเสี่ ยงต่อการแผ่นดิ นไหว หรือบริ เวณที่เป็นพื้นที่ ลาดชันสูง ธรณีวิทยาเป็นหิน แกรนิ ต
หรือหินภูเขาไฟก็จะเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ดินไหล และรอยดินแยก พื้นที่ที่มีสภาพธรณีวิทยาเป็นหินปูน
หรือชั้นเกลือหิน ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบ ในคาบสมุทรภาคใต้ที่มีทะเลขนาบทั้ง ๒ ด้าน ก็เสี่ยงต่อการ
ถูกกัดเซาะชายฝั่งทะเล หรือถูกคลื่นสินามิซัดถล่มชายฝั่งได้ เป็นต้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทย
นับเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัย แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับโอกาสและปัจจัยด้านต่างๆ
ที่ต้องมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กน       ั
                     ที่ผ่านมาเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับว่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์คลื่นสึนามิพัดถล่ม ๖ จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๔๗
ทําให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๕,๐๐๐ คน เหตุการณ์ดินถล่มเมื่อปี ๒๕๔๙ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย
ทําให้มีผู้เสียชีวิต ๘๓ คน หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๓ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์หลุมยุบในพื้นที่อําเภอโนนไทย
จังหวัดนครราชสี ม า มีขนาดเส้นผ่ าศู นย์กลาง ๑๐ เมตร ลึก ๑๐ เมตร เหตุการณ์ดินไหลทําให้ถนนสาย
แม่ สรวย-ดอยวาวี จังหวั ดเชี ยงราย ทรุ ดตั วยาวกว่ า ๑๐๐ เมตร หรือเหตุการณ์ดิน ทรุดตัว และรอยแยก
ที่บ้านสันติคีรี ตําบลแม่สลองนอก อําเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ทําให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย
๙ หลัง และโรงแรม ๑ แห่ง
                     จากเหตุ ก ารณ์ ท่ี ไ ด้ ก ล่ า วมานั้ น กรมทรั พ ยากรธรณี โดยสํ า นั ก ธรณี วิ ท ยาสิ่ ง แวดล้ อ ม
และธรณีพิบัติภัย ได้ตระหนักถึงภัยพิบัติภัยที่เกิดขึ้น จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย ทําหน้าที่ในการ
เฝ้าระวังและตรวจสอบสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย พร้อมทั้งประสานงานอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน
ธรณีพิบัติภัย ในพื้นที่เสี่ยงภัย ผ่านทางโทรศัพท์และสอบถามข้อมูลสภาพอากาศและสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย
ในพื้นที่ เพื่อแจ้งเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก โดยการออกประกาศแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
ต่อธรณีพิบัติภัยทราบผ่านทางสื่อต่างๆ และข้อความสั้น (SMS) รวมทั้งการตรวจสอบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
ในกรณี เ ร่ ง ด่ ว น ภายหลั ง ที่ ไ ด้ รั บ แจ้ ง จากประชาชนหรื อ หน่ ว ยงานในพื้ น ที่ เพื่ อ หาสาเหตุ แ ละประเมิ น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้คําแนะและแนวทางการแก้ไข เพื่อลดผลกระทบจากธรณีพบัติภัย และเกิดความ
                                                                                                 ิ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย

 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                       สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี
                                   ิ                                                        ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
ข




ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                     ิ ัิ ั                                             สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี       ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
ค

                                      สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓
                                                              ั
                                           และการดําเนินการของกรมทรัพยากรธรณี

           เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย เป็นภัยธรรมชาติที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
เป็นอย่างมาก ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ - กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓) มีเหตุการณ์
ธรณีพิบัติภยเกิดขึ้นใน ๓๕ จังหวัด รวมทั้งหมด ๑๐๔ ครั้ง ประกอบด้วย ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ๓ ครั้ง
             ั
ดินถล่ม ๒ ครั้ง ดินไหล ๑๔ ครั้ง รอยแยก ๖ ครั้ง หลุมยุบ ๒๔ ครั้ง ตลิ่งทรุดตัว ๒ ครั้ง น้ําป่าไหลหลาก ๔๕ ครั้ง
แผ่ น ดิ น ไหว ๕ ครั้ ง ตรวจสอบการพั งทลายของผนั งถ้ํ า ๑ ครั้ ง ตรวจสอบหาสาเหตุ ของรอยร้ าว ๑ ครั้ ง
และตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของน้ํา ๑ ครั้ง
           จากตารางแสดงเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยรายเดือน พบว่าในเดือนสิงหาคม เกิดธรณีพิบัติภัยมากที่สุด
จํานวน ๓๔ ครั้ง เหตุธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด คือ น้ําป่าไหลหลากเกิดขึ้น ๔๕ ครั้ง ส่งผลให้เกิด
ดินไหลและน้ําหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร สะพาน และถนนชํารุดเสียหายเป็นจํานวนมาก
และเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด คือ เหตุการณ์ดินถล่มที่บ้านตลาดนิคม
หมู่ ๖ ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ทําให้มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย และบ้านไอร์เจี๊ยะ หมู่ ๕ ตําบลซากอ
อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส มีบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง ๓ หลัง และมีผู้เสียชีวต ๘ ราย
                                                                               ิ



                                                      กันยายน          ตุลาคม
                                                                                        พฤศจิกายน
                                                          ๘           ๘           ๑๕                       ธันวาคม ๑
                         ๓๖                                                                               มกราคม ๓
                                                              ๘         ๑๒         ๖                    กุมภาพันธ ๓
  สิงหาคม
                                                                                                       มีนาคม ๑
                                                                                                  เมษายน ๓
                                                   กรกฎาคม             มิถุนายน
                                                                                       พฤษภาคม




               กราฟแสดงสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นรายเดือน ประจําปีงบประมาณ ๒๕๕๓
                             ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                       สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                 ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
ง




                                           การเพิ่มขึ้นของน้ํา 1
                            รอยราว 1                        แผนดินไหว
                           ผนังถ้ําพัง 1                                  ดินถลม
     ตรวจสอบพื้นที่
                                                                                         ดินไหล
     เสี่ยงภัยดินถลม                                ๓             ๕ ๒              ๑๔                       รอยแยก
                                                                                                    ๖
                                        ๔๕                                                     ๒๔
                                                                                ๒

            น้ําปาไหลหลาก                                                                                หลุมยุบ
                                                                                ตลิ่งทรุดตัว



           กราฟแสดงสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นรายเหตุการณ์ ประจําปีงบประมาณ ๒๕๕๓
                            ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓




ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                     ิ ัิ ั                                                                                    สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                              ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัยรายเดือนปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (เดือนตุลาคม ๕๒ - กันยายน ๕๓)
                                                              ิ
        เหตุการณ์                                                             น้ําป่าไหล   ตรวจสอบพื้นที่                         การเพิ่มขึ้น
เดือน               ดินถล่ม   ดินไหล      รอยแยก    หลุมยุบ    ตลิ่งทรุดตัว                                 ผนังถ้ําพัง รอยร้าว                แผ่นดินไหว รวม
                                                                                 หลาก      เสี่ยงภัยดินถล่ม                        ของน้ํา
  ตุลาคม              -        ๒            -          ๒            -              ๓                -           ๑          -          -             -      ๘
  พฤศจิกายน           ๒         ๔           -          ๒            -              ๗                -           -          -          -             -      ๑๕
  ธันวาคม             -         -           -          ๑            -              -                -           -          -          -             -       ๑
  มกราคม              -         -           -          ๓            -              -                -           -          -          -             -       ๓
  กุมภาพันธ์          -         -           -          ๓            -              -                -           -          -          -             -       ๓
  มีนาคม              -         -           -          ๑            -              -                -           -          -          -             -      ๑
  เมษายน              -         -           -          ๑            -              -               ๑            -          -          -            ๑        ๓
  พฤษภาคม             -         -           ๓          ๑            ๑              -               ๑            -          -          -             -       ๖




                                                                                                                                                                จ
  มิถุนายน            -         ๑           -          ๔            ๑              ๒                -           -         ๑           ๑            ๒       ๑๒
  กรกฎาคม             -         -           ๑          ๔            -              ๒               ๑            -          -          -             -       ๘
  สิงหาคม             -         ๖           ๑          ๒            -             ๒๕                -           -          -          -            ๒       ๓๖
  กันยายน             -         ๑           ๑          -            -              ๖                -           -          -          -             -       ๘
         รวม          ๒        ๑๔           ๖         ๒๔            ๒             ๔๕               ๓            ๑         ๑           ๑            ๕      ๑๐๔
ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัยรายจังหวัดปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (เดือนตุลาคม ๕๒ - กันยายน ๕๓)
                                                       ิ
         เหตุการณ                                                          น้ําป่า  ตรวจสอบ                  ตรวจสอ
                     ดินถล่ม   ดินไหล รอยแยก หลุมยุบ ตลิ่งทรุด                                    ผนังถ้ําพัง          การเพิ่มขึ้นของน้ํา แผ่นดินไหว   รวม
 เดือน                                                                    ไหลหลาก พื้นที่เสียงภัย
                                                                                            ่                 บรอยร้าว
ภาคใต้
ระนอง                  -         ๑         -         ๓         -            ๒             -           -         -              -               -        ๖
ชุมพร                  -         ๒         -         -         -            ๒             -           -         -              -               -        ๔
สุราษฎร์ธานี           -         -         -         -         -            -             -           -         ๑              -               -        ๑
นครศรีธรรมราช          -         ๒         -         ๒         -            ๑             -           -         -              -               -        ๕
พังงา                  -         -         -         -         -            ๑             -           -         -              -               -        ๑
ภูเก็ต                 -         ๑         -         -         -            -             -           -         -              -               -        ๑
สงขลา                  -         -         -         -         -            ๒             -           -         -              -               -        ๒
กระบี่                 -         -         -         ๓         -            -             -           -         -              -               -        ๓
ตรัง                   -         -         -         ๓         -            ๑             -           -         -              ๑               -        ๕




                                                                                                                                                              ฉ
สตูล                   -         ๑         -         ๔         -            ๓             -           -         -              -               -        ๘
พัทลุง                 -         -         -         -         -            ๑             -           -         -              -               -        ๑
ยะลา                   ๑         -         -         -         -            -             -           -         -              -               -        ๑
นราธิวาส               ๑         -         -         -         -            -             -           -         -              -               -        ๑
ภาคเหนือ
แม่ฮ่องสอน              -        ๒         -         -         -            ๑            -           ๑           -             -               -        ๔
เชียงใหม่               -        -         -         ๒         -            ๑            ๑           -           -             -               -        ๔
เชียงราย                -        ๒         ๑         -         -            ๔            -           -           -             -               ๒        ๙
พะเยา                   -        -         ๑         -         -            ๓            ๑           -           -             -               -        ๕
น่าน                    -        ๑         ๑         ๑         -            ๔            -           -           -             -               -        ๗
แพร่                    -        -         -         -         -            ๓            -           -           -             -               -        ๓
ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัยปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (เดือนตุลาคม ๕๒ - กันยายน ๕๓) -ต่อ-
                                                         ิ
           เหตุการณ์                                                    น้ําป่าไหล   ตรวจสอบ                   ตรวจสอบ
 เดือน               ดินถล่ม ดินไหล รอยแยก หลุมยุบ ตลิ่งทรุด                                       ผนังถ้ําพัง          การเพิ่มขึ้นของน้ํา แผ่นดินไหว รวม
                                                                           หลาก    พื้นที่เสียงภัย
                                                                                             ่                  รอยร้าว
ลําพูน                  -       -        -          -           -            ๑             -           -           -            -                -      ๑
ลําปาง                  -       -        -          -           -            ๔             -           -           -            -                -      ๔
อุตรดิตถ์               -       ๑       ๑           -           -            ๔             -           -           -            -                -      ๖
เพชรบูรณ์               -       -        -          -           -            ๒             -           -           -            -                -      ๒
ตาก                     -       -        -          ๑           -            -             -           -           -            -                -      ๑
ภาคตะวันออก
ระยอง                   -       -        -          ๑           -            ๒             -           -           -            -                -      ๓
จันทบุรี                -       -        -          -           -            ๑             -           -           -            -                -      ๑
ตราด                    -       ๑        -          -           -            ๒             -           -           -            -                -      ๓
ปราจีนบุรี              -       -        -          -           ๑            -             -           -           -            -                -      ๑




                                                                                                                                                             ช
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นครราชสีมา              -      -        -          ๒          -            -            -           -          -              -               -        ๒
ร้อยเอ็ด                -      -        ๑          -          -            -            -           -          -              -               -        ๑
อุดรธานี                -      -        -          ๑          -            -            -           -          -              -               -        ๑
สระแก้ว                 -      -        -          -          -            -            ๑           -          -              -               -        ๑
ภาคตะวันตก
กาญจนบุรี               -      -         -         ๑          -            -            -           -          -              -              ๓         ๔
ภาคกลาง
ปทุมธานี                -      -        ๑          -          -            -            -          -           -              -              -         ๑
อ่างทอง                 -      -        -          -          ๑            -            -          -           -              -              -         ๑
    รวม ๓๕ จังหวัด      ๒     ๑๔        ๖         ๒๔          ๒           ๔๕            ๓          ๑           ๑              ๑              ๕        ๑๐๔
ซ

                                              แนวทางการปฏิบัติของกรมทรัพยากรธรณี
               เมื่อได้รับการแจ้งข่าวเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยทั้งจากหน่วยงานราชการ อาสาสมัครเครือข่าย
เฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย ประชาชน หรือสื่อมวลชน กรมทรัพยากรธรณี จะดําเนินการ ดังนี้
               ๑. ติดต่ อเจ้ าหน้ าที่ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) สํ านัก งานทรัพ ยากรธรรมชาติ แ ละ
สิ่ ง แวดล้ อ มจั ง หวั ด สํ า นั ก งานป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย จั ง หวั ด เพื่ อ ตรวจสอบความถู ก ต้ อ ง
และขอรายละเอียดเพิ่มเติม
               ๒. จัดเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัย แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่
ภูมิประเทศ และภาพถ่ายทางอากาศ
               ๓. ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่
                     ๓.๑ กรณีดินถล่ม ดินไหล หินถล่ม ดินแยก และตลิ่งพัง เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบหา
สาเหตุ สภาพความเสียหาย ประเมินโอกาสเกิดพิบัติภัยในพื้นที่ข้างเคียง และให้คําแนะนําแนวทางการแก้ไข
ป้องกันให้เหมาะสมกับสภาพธรณีวิทยา
                     ๓.๒ กรณีหลุมยุบในชุมชน เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์
เพื่อหาขอบเขตของหลุมยุบ และตรวจสอบหาโพรงใต้ดินในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง
                     ๓.๓ กรณี แ ผ่ น ดิ น ไหว (ที่ มี ศู น ย์ ก ลางอยู่ ใ นประเทศไทย) เจ้ า หน้ า ที่ จ ะตรวจสอบ
เพื่อประเมินความเสียหายและความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น และให้ข้อมูลของการเกิดแผ่นดินไหว
ในแต่ละครั้ง ว่าเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนใด และลักษณะการเคลื่อนตัวเป็นแบบใด

                                            ข้อควรปฏิบัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
                                                        ิ
               กรณีเกิดธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี มีข้อแนะนําให้ อปท. ดําเนินการให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิด
ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ โดยก่อนแจ้งเหตุมายัง กรมทรัพยากรธรณี
ให้ อปท. ดําเนินการดังรายละเอียดต่อไปนี้
               ๑. กรณีดินถล่ม ดินไหล หินถล่ม ดินแยก และตลิ่งพัง ให้แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการ
ใช้ประโยชน์พื้นที่ และทําป้ายประกาศเตือนภัยใกล้พื้นที่เกิดเหตุ
               ๒. กรณี ห ลุ ม ยุ บ ให้ วั ด ขนาดของหลุ ม และล้ อ มบริ เ วณโดยรอบด้ ว ยวั ส ดุ ชั่ ว คราว ห่ า งจาก
ขอบหลุมไม่ต่ํากว่า ๑.๕ เมตร เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนหรือสัตว์เลี้ยงตกลงไปในหลุม อันอาจก่อให้เกิดอันตราย
ถึงชีวิต และที่สําคัญอย่าทิ้งขยะ ของเสีย หรือสารพิษลงในหลุม เนื่องจากจะทําให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ํา
               ๓. กรณี เ กิ ด แผ่ น ดิ น ไหว ถ้ า เป็ น พื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ทะเลแล้ ว รู้ สึ ก ถึ ง แรงสั่ น สะเทื อ นของพื้ น ดิ น
ให้แจ้งเตือนประชาชนระวังภัยอันอาจเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และคอยรับฟังข่าวสารจากสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด
               หลั ง จากนั้ น ให้ แ จ้ ง เหตุ ธ รณี พิ บั ติ ภั ย พร้ อ มกั บ รายละเอี ย ดที่ ไ ด้ ดํ า เนิ น การมาแล้ ว
มาที่ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี หมายเลข
โทรศัพท์ ๐๒-๖๒๑-๙๗๐๑-๕ โทรสาร ๐๒-๖๒๑-๙๗๐๐ และสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
เพื่อให้ดําเนินการตรวจสอบพื้นที่ต่อไป

  ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                       ิ ัิ ั                                                                                สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
  สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                          ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๑

                                                              ดินถล่ม
(๑) ดินถล่ม บ้านตลาดนิคม หมู่ ๖ ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

วันที่เกิดเหตุการณ์                            ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ธรณีพิบัติภัย                                  เกิดดินถล่มและน้ําป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านตลาดนิคม
                                               หมู่ ๖ ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ                         สภาพธรณีวิทยาเป็นหินอัคนีชนิดหินแกรนิตและหินตะกอนชนิดหินดินดาน
                                               ซึ่งผุพังให้ช้นดินหนา
                                                             ั
สาเหตุ                                         เกิดจากฝนที่ตกหนักและต่อเนื่องกว่า ๒ วัน ปริมาณน้ําฝนที่อําเภอบันนังสตา
                                               วัดได้ ๒๒๐.๘ มิลลิเมตร ทําให้ชั้นดินบนภูเขาชุ่มน้ํา และตลอดทั้งวันยังคงมี
                                               ฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงทําให้เกิดดินถล่มลงมา
การดําเนินการของ ทธ.                           ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและ
                                               แผนที่พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มรายจังหวัดแก่หน่วยงานในพื้นที่




        สภาพพื้นที่เกิดดินถล่มบริเวณพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา          ดินถล่มทับบ้านเรือนพังเสียหายในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา




       สภาพพื้นที่เกิดดินถล่มทับบ้านเรือน อ.บันนังสตา จ.ยะลา            ดินถล่มทับบ้านเรือนพังเสียหายในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                          ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๒

(๒) บ้านไอร์เจี๊ยะ หมู่ ๕ ตําบลซากอ อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
วันที่เกิดเหตุการณ์                            ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ธรณีพิบัติภัย                                  เกิ ด ดิ น ถล่ ม และน้ํ า ป่ า ไหลหลากในหลายพื้ น ที่ โดยเฉพาะในพื้ น ที่
                                               บ้านไอร์เจี๊ยะ หมู่ ๕ ตําบลซากอ อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส บ้านเรือน
                                               ราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง ๓ หลัง มีผู้เสียชีวิต ๘ ราย
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ                         สภาพธรณีวิทยาเป็นหินอัคนีชนิดหินแกรนิตและหินตะกอนชนิดหินดินดาน
                                               ซึ่งผุพังให้ชั้นดินหนา
สาเหตุ                                         เกิ ดจากฝนที่ ตกหนั กและต่ อเนื่ องกว่ า ๒ วั น ปริ มาณน้ํ าฝนที่ อํ าเภอศรี สาคร
                                               วัดได้ ๔๖๓.๐ มิลลิเมตร ทําให้ช้ันดินบนภูเขาชุ่มน้ํา และตลอดทั้งวันยังคง
                                               มีฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงทําให้เกิดดินถล่มลงมา
การดําเนินการของ ทธ.                           ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและ
                                               แผนที่พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มรายจังหวัดแก่หน่วยงานในพื้นที่




              สภาพพื้นที่เกิดดินถล่ม อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส                        สภาพพื้นที่เกิดดินถล่ม อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส




                            แผนที่แสดงตําแหน่งเกิดดินถล่มจังหวัดยะลาและนราธิวาส เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒



 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                  สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                            ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๓

(๓) ตรวจสอบพื้นที่ เสี่ ยงภั ยดินถล่ ม บริเวณเทือกเขาพรานนุช บ้านหนองผักแว่ น หมู่ ๙ ตําบลทัพราช
    อําเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
วันที่ได้รับแจ้ง                                ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓
ธรณีพิบัติภัย                                   พบร่องรอยดินถล่มบริเวณเทือกเขาพรานนุช ขนาดกว้างประมาณ ๑๕ เมตร
                                                ยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร ตะกอนดินถล่มไหลลงตามแนวร่องห้วยทราย
                                                และติดต้นไม้ค้างอยู่บริเวณไหล่เขา
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ                          เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา ภูเขามีลักษณะเป็นที่ราบ บริเวณสันเขาและไหล่
                                                เขาเป็ น หน้ า ผาชั น สภาพธรณี วิ ท ยาเป็ น หิ น ตะกอนชนิ ด หิ น ทราย
                                                เนื้ อ ปานกลางถึ ง หยาบ และหิ น ทรายปนกรวด ผุ พั ง ให้ ชั้ น ดิ น บางๆ
                                                บางแห่งให้ชั้นดินหนาปนก้อนหิน
สาเหตุ                                          เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันหลายวัน เมื่อชั้นดินบริเวณไหล่เขาอุ้มน้ําไม่ไหว
                                                จึงเกิดการลื่นไถลลงตามไหล่
การดําเนินการของ ทธ.                            ส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ เ ข้ า ตรวจสอบพื้ น ที่ และเสนอแนะให้ ห มู่ บ้ า นเสี่ ย งภั ย
                                                ดินถล่ม ดําเนินการวัดปริมาณน้ําฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน
                                                ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดติดน้ําหรือร่องน้ําไหล และบริเวณสะพาน ทั้งนี้ได้
                                                มอบกระบอกวัดน้ําฝนจํานวน ๒ กระบอก เพื่อทําการวัดปริมาณน้ําฝนและ
                                                แจ้งเตือนประชาชน เมื่อน้ําฝนถึงจุดวิกฤติ




    รอยดินถล่มบนไหล่เขา และสภาพพืนที่บริเวณห้วยทราย
                                 ้




  หินทรายเนื้อหยาบและหินทรายปนกรวดสะสมตัวบนไหล่เขา                       ร่องรอยดินถล่ม กว้างประมาณ ๑๕ ม. ยาวประมาณ ๖๐๐ ม.




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                   สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                             ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๔

(๔) ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม บ้านแม่หลุ หมู่ ๒ ตําบลกองแขก อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

วันที่เข้าตรวจสอบ                               ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ธรณีพิบัติภัย                                   จากการตรวจสอบ พบว่า บริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดดินถล่มมี
                                                ๓ บริเวณ คือ บริเวณห้วยป่าเลาน้อย หลังโรงเรียนบ้านกองแขก บริเวณแนว
                                                เทือกเขาดอยกิ่วหอบและบริเวณด้านหลังโบสถ์นักบุญเปโตร
สาเหตุ                                          พื้นที่ดงกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีโอกาสเกิดดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณี
                                                         ั
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ                          เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ส ภาพภู มิ ป ระเทศเป็ น แนวเทื อ กเขาสู ง ชั น สลั บ ซั บ ซ้ อ น
                                                ประกอบด้วยหินตะกอนและหินแกรนิตซึ่งผุพังให้ชั้นดินหนา
การดําเนินการของ ทธ.                            ส่ งเจ้ าหน้ าที่ เข้ าตรวจสอบร่ วมกั บผู้ นํ า ชุ ม ชน และหน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่ น
                                                ทั้งนี้ได้สํารวจและจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยไปแล้ว
                                                เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๘ และมีอาสาสมัครในพื้นที่รวม ๑๐๓ คน




                                             แผนที่แสดงพื้นทีที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม จังหวัดเชียงใหม่
                                                             ่




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                      สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                                ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๕

(๕) ตรวจสอบเขตเสี่ยงภัยดินถล่ม บ้านปางผักหม หมู่ ๗ ตําบลงิม อําเภอปง จังหวัดพะเยา

วันที่ได้รับแจ้ง                                ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ธรณีพิบัติภัย                                   ตรวจสอบความเสี่ยงจากพิบัติภัยดินถล่มบริเวณพื้นที่ที่สถาบันเพื่อการบริหาร
                                                และพั ฒ นา ได้ ดํ า เนิ น โครงการจั ด ตั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย นานาชาติ ล้ า นนา
                                                ณ บ้านปางผักหม หมู่ ๗ ตําบลงิม อําเภอปง จังหวัดพะเยา
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ                          สภาพธรณีวิทยารองรับด้วยหินทราย มีชั้นดินบาง
สาเหตุ                                          การตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเนินหลังเต่ามีความสูงประมาณ ๖๐ เมตร
                                                รองรับด้วยหินทราย มีชั้นดินบาง จึงมีความเสี่ยงต่อดินถล่มน้อย
การดําเนินการของ ทธ.                            ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และแนะนําแนวทางการป้องกันน้ําไหลหลาก
                                                จากพื้นที่ดังกล่าวไปยังหมู่บ้าน ได้แนะนําให้ทางโครงการจัดทําทางระบาย
                                                น้ําไปยังพื้นที่อื่น และปลูกต้นไม้เป็นแนวกั้น รวมทั้งปลูกพืชคลุมดิน ทั้งนี้
                                                ได้ชี้แจงให้ผู้นําชุมชนและประชาชนในพื้นที่บางส่วนทราบแล้ว




                แผนที่แสดงตําแหน่งโครงการจัดตั้ง                       บริเวณพื้นที่ทสถาบันเพื่อการบริหารและพัฒนาได้ดําเนินโครงการ
                                                                                     ี่
                  มหาวิทยาลัยนานาชาติลานนา
                                       ้                                                จัดตั้ง มหาวิทยาลัยนานาชาติล้านนา




                       สภาพพื้นที่บานปางผักหม เป็นเนินหลังเต่ามีความสูงประมาณ ๖๐ เมตร รองรับด้วยหินทราย
                                   ้




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                  สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                            ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๖

                                                              ดินไหล
(๖) ดินไหล ปิดทับถนนเพชรเกษม หมู่ ๑ ตําบลบางนอน อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
สถานการณ์                                       พายุใต้ฝุ่น “กิสนา (KETSANA)” อ่อนกําลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น บริเวณ
                                                จังหวัดอุบลราชธานี และเคลื่อนตัวไปทางจังหวัดกาญจนบุรี แล้วอ่อนกําลัง
                                                ลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ําปกคลุมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลให้
                                                ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกําลังแรงขึ้น ทําให้เกิดฝนตกหนัก เกิดดินไหล
                                                และน้ําป่าไหลหลาก
ความเสียหายที่เกิดขึ้น                          เกิ ด ดิ น ไหลปิ ด ทั บ ถนนเพชรเกษมระหว่ า ง กม.๖๐๓-๖๐๔ ใกล้ กั บ
                                                หมวดการทางระนอง บริเวณหมู่ ๑ ตําบลบางนอน อําเภอเมืองระนอง
                                                จังหวัดระนอง ดินไหลเป็นระยะทางประมาณ ๕๐ เมตร นอกจากนี้ยังมี
                                                ก้อนหินขนาดใหญ่และต้นไม้ขวางถนน ทําให้รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศ ฉบับที่ ๑๙/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน
                                                ธรณีพิบัติภัยเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชุมพร
                                                และระนอง พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้งเครือข่ายฯ และประสานสถานีวิทยุ
                                                เพื่อประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังภัย




      ดินไหลปิดทับถนนเพชรเกษมระหว่าง กม.๖๐๓-๖๐๔                           ดินไหลทําให้ต้นไม้โค่นล้มขวางถนนเพชรเกษม




      ดินไหลปิดทับถนนเพชรเกษมระหว่าง กม.๖๐๓-๖๐๔ ใกล้หมวดการทางระนอง บริเวณหมู่ ๑ ต.บางนอน อ.เมือง จ.ระนอง


 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                           สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                     ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๗

(๗) ดินไหล บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๘๙-๙๐ ของทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ สายฮอด – แม่สะเรียง
    ตําบลแม่เหาะ อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๒
ธรณีพิบัติภัย                                   ดินไหล ทําให้ถนนทรุดตัวและขาด มีขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร
                                                ลึก ๔๐ – ๑๐๐ เมตร ไม่สามารถเดินทางสัญจรไปมาได้
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ                          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและเป็นดินทราย
สาเหตุ                                          เนื่องจากน้ําฝนที่ไหลลงมาสะสมและท่วมขังบริเวณจุดเกิดเหตุ จึงเกิดการ
                                                กัดเซาะ ทําให้ชั้นดินด้านล่างของถนนไม่สามารถต้านทานแรงน้ําได้จึงไหล
                                                ลงมา และเกิดเป็นช่องว่าง เป็นสาเหตุให้ถนนสายดังกล่าวทรุดตัว
การดําเนินการของ ทธ.                            ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์และ
                                                ติดตามเฝ้าระวังหากยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่องอยู่




        ดินไหลกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร ลึก ๔๐ – ๑๐๐ เมตร                           ทิศทางการไหลของน้ําจากภูเขา ลงมายังถนนที่เกิดเหตุ




                                                      ร่องรอยดินไหลและความเสียหายของถนนที่ทรุดตัว




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                  สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                            ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๘

(๘) ดินไหล บ้านสองแพรก หมู่ ๑๐ ตําบลกรุงชิง อําเภอนบพิตํา จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
สถานการณ์                                       เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และ
                                                อ่าวไทย มีกําลังแรงขึ้น ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณพื้นที่ดังกล่าว
ความเสียหายที่เกิดขึ้น                          เกิดดินไหลปิดทับเส้นทางหลายจุดที่บ้านสองแพรก หมู่ ๑๐ ตําบลกรุงชิง
                                                อําเภอนบพิตํา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทําให้รถสัญจรได้ไม่สะดวกชั่วคราว
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณี
                                                พิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้ง
                                                เครือข่ายฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานีวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์
                                                การเฝ้าระวังภัย




                  เกิดดินไหลหลายจุดบริเวณ                                    น้ําหลากกัดเซาะถนนได้รับความเสียหาย
             บ.สองแพรก ม.๑๐ ต.กรุงชิง อ.นบพิตํา                                         ต.กรุงชิง อ.นบพิตา
                                                                                                         ํ




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                             สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                       ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๙



(๙) ดินไหล บ้านคลองเรือ หมู่ ๙ ตําบลปากทรง อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
สถานการณ์                                       เนื่องจากอิท ธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนื อกําลังแรงที่ พัดปกคลุม
                                                ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณพื้นที่ดังกล่าว
ความเสียหายที่เกิดขึ้น                          เกิ ดดิ นไหลขนาดเล็ กปิ ดทั บเส้ นทาง บริเวณทางเข้ าบ้ านคลองเรื อ หมู่ ๙
                                                ตําบลปากทรง อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ทําให้รถสัญจรได้ไม่สะดวก
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณี
                                                พิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้ง
                                                เครือข่ายฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานีวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์
                                                การเฝ้าระวังภัย




                                    ดินไหลปิดทับเส้นทาง บ.คลองเรือ หมู่ ๙ ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                 สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                           ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๑๐



(๑๐) ดินไหล บ้านผังปาล์ม ๗ หมู่ ๗ ตําบลปาล์มพัฒนา อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
สถานการณ์                                       เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และ
                                                อ่ า วไทยมี กํ า ลั ง แรง ทํ า ให้ มี ฝ นตกหนั ก และตกต่ อ เนื่ อ ง เมื่ อ ชั้ น ดิ น
                                                ไม่สามารถอุ้มน้ําไว้ได้ จึงเกิดดินไหลและน้ําป่าไหลหลากลงมาในพื้นที่ลุ่ม
ความเสียหายที่เกิดขึ้น                          เกิดดินไหลลงมาปิดทับบ้านเสียหาย ๑ หลัง ที่บ้านผังปาล์ม ๗ หมู่ ๗ ตําบล
                                                ปาล์มพัฒนา อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศฉบับที่ ๒๑/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณี
                                                พิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งให้อาสาสมัคร
                                                เครือข่ายฯ ปฏิบัติตามแผนที่อบรมไว้ โดยเครือข่ายหมู่บ้านต้นน้ําได้ทําการ
                                                แจ้ ง เตื อ นไปยั ง หมู่ บ้ า นท้ า ยน้ํ า ให้ มี ก ารเฝ้ า ระวั ง น้ํ า ป่ า ไหลหลากด้ ว ย
                                                และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง




           บ้านนางศิริขวัญ ไชยหมาด บ้านผังปาล์ม ๗ ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ได้รบความเสียหายจากดินไหลลงมาปิดทับ
                                                                                  ั




                                                        ดินไหลลงมาทับบ้านก่อให้เกิดความเสียหาย




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                        สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                                  ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๑๑

(๑๑) ดินไหล บ้านน้ําใส หมู่ ๗ ตําบลลานสกา อําเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
สถานการณ์                                       เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และ
                                                อ่าวไทยยังคงมีกําลังแรง                   ทําให้มีฝนตกชุกและตกหนัก เมื่อชั้นดิน
                                                ไม่สามารถอุ้มน้ําไว้ได้ จึงเกิดดินไหลและน้ําป่าไหลหลากลงมาในพื้นที่ลุ่ม
ความเสียหายที่เกิดขึ้น                          เนื่ อ งจากเกิ ด ฝนตกหนั ก เกิ ดดิ นไหลบริ เวณภู เขาประมาณ ๑-๒ เมตร
                                                ทําให้สวนยางพาราและสวนผลไม้ได้รบความเสียหาย    ั
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศฉบับที่ ๒๑/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน
                                                ธรณี พิ บั ติ ภั ย เฝ้ า ระวั ง ภั ย ดิ น ถล่ ม และน้ํ า ป่ า ไหลหลาก พร้ อมทั้ งให้
                                                อาสาสมัครเครือข่ายฯ ปฏิบัติตามแผนที่อบรมไว้ โดยเครือข่ายหมู่บ้านต้นน้ํา
                                                ได้ทําการแจ้งเตือนไปยังหมู่บ้านท้ายน้ําให้มีการเฝ้าระวังน้ําป่าไหลหลากด้วย
                                                และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง




                                        แผนที่แสดงพื้นทีที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม จังหวัดนครศรีธรรมราช
                                                        ่



 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                    สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                              ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๑๒

(๑๒) ดินไหล สถานที่ก่อสร้างโรงแรมป่าตองซีวิว ซอยนาใน ๑ ตําบลป่าตอง อําเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
ธรณีพิบัติภัย                                   เกิดดินไหลทับคนงานก่อสร้างเสียชีวิต รวม ๒ ราย บริเวณสถานที่ก่อสร้าง
                                                โรงแรมป่าตองซีวิว ซอยนาใน ๑ ตําบลป่าตอง อําเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต
ธรณีวทยาและภูมิประเทศ
     ิ                                          เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งผุพงให้ชั้นดินหนา
                                                                              ั
สาเหตุ                                          การตั ดหน้ า ดิ นทํ า ให้ ล าดเขาขาดเสถี ย รภาพ ประกอบกั บ มี ฝ นตกหนั ก
                                                ติดต่อกันมา ๒ วันก่อนหน้า จึงทําให้ดินไหลลงมาทับคนงานก่อสร้างที่อยู่
                                                ในบริเวณดังกล่าว
การดําเนินการของ ทธ.                            ตรวจสอบ ประสาน และทํารายงานแจ้งหน่วยงานในจังหวัดให้ได้รับทราบถึง
                                                สาเหตุของการเกิดดินไหล




          ภาพการตัดหน้าดินทําให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ                            ภาพการตัดหน้าดินทําให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ




          ภาพการตัดหน้าดินทําให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ                          ภาพเหตุการณ์ดินไหลลงมาทับคนงานเสียชีวิต ๒ ราย




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                             สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                       ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๑๓


(๑๓) ดินไหล ปิดทับเส้นทางบริเวณถนนสายมาบค้างคาว-บ้านบางเบ้า ตําบลเกาะช้าง อําเภอเกาะช้าง
จังหวัดตราด
วันที่ได้รับแจ้ง                                ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓
ธรณีพิบัติภัย                                   เกิดดินไหลปิดทับเส้นทางบริเวณถนนสายมาบค้างคาว-บ้านบางเบ้า ตําบล
                                                เกาะช้าง อําเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ระยะทางยาวกว่า ๓๐ เมตร ทําให้
                                                รถยนต์สามารถเดินรถได้เพียงหนึ่งช่องทาง
สาเหตุ                                          เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ํา พาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และ
                                                ภาคตะวั นออกเฉี ยงเหนื อ ประกอบกั บ มรสุ ม ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ที่ พั ด
                                                ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกําลังแรง ทําให้เกิดฝนตกหนัก
                                                และตกต่อเนื่อง
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศ ฉบับที่ ๔/๒๕๕๓ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน
                                                ธรณีพิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งโทรศัพท์
                                                แจ้งให้เครือข่ายฯ มีการเฝ้าระวังตามแผนที่ได้อบรมแล้ว




       ดินไหลปิดทับเส้นทาง บริเวณถนนสายมาบค้างคาว-บ้านบางเบ้า ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ระยะทางยาวกว่า ๓๐ ม.




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                           สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                     ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
๑๔



(๑๔) ดินไหล บ้านเขาตะเภาทอง ตําบลพะโต๊ะ อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

วันที่เกิดเหตุการณ์                             ๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
ธรณีพิบัติภัย                                   เกิดดินไหลข้างทางบริเวณบ้านเขาตะเภาทอง ตําบลพะโต๊ะ อําเภอพะโต๊ะ
                                                จังหวัดชุมพร
สาเหตุ                                          เนื่ อ งจากอิ ท ธิ พ ลของร่ อ งมรสุ ม พาดผ่ า นบริ เ วณประเทศไทยตอนบน
                                                ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกําลังค่อนข้างแรง ทําให้มีฝนตกหนัก
                                                และตกต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดดินไหลข้างทาง
การดําเนินการของ ทธ.                            ออกประกาศฉบับที่ ๘/๒๕๕๓ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน
                                                ธรณีพิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มน้ําป่าไหลหลาก ทั้งนี้อาสาสมัครเครือข่ายฯ
                                                ได้ปฎิบัติตามแผนเฝ้าระวังที่ได้มีการอบรมไว้ โดยการวัดปริมาณน้ําฝน
                                                อย่างต่อเนื่องและประกาศเสียงตามสายให้ราษฎรในหมู่บ้านได้รบทราบ  ั




                                       ดินไหลข้างทางบริเวณ บ.เขาตะเภาทอง ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร




 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย
                      ิ ัิ ั                                                                                สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
 สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี                                          ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53
hazard_53

More Related Content

More from Ninenrv Songkhla (6)

phuket seminar2
phuket seminar2phuket seminar2
phuket seminar2
 
Phuket Seminars1
Phuket Seminars1Phuket Seminars1
Phuket Seminars1
 
H S0 A P
H S0 A PH S0 A P
H S0 A P
 
20110910173938obobc
20110910173938obobc20110910173938obobc
20110910173938obobc
 
 
Flood2
Flood2Flood2
Flood2
 

hazard_53

  • 1.
  • 2. คํานํา ธรณีพิบัติภัย เป็นพิบัติภัยธรรมชาติ ที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยา เพื่อปรับสภาพพื้นผิวโลกให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญของการ เกิดธรณีพิบัติภัยต่างๆ ซึ่งพิบัติภัยเหล่านี้ทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้าง ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมของ ประเทศด้วย ธรณี พิ บั ติ ภั ย ในปั จ จุ บั น ได้ ท วี ค วามรุ น แรงและเกิ ด บ่ อ ยครั้ ง ขึ้ น เนื่ อ งจากปั จ จั ย ทาง ธรรมชาติ เช่น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้เกิดพายุฝนที่มีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้น ของประชากรที่ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การขยายตั ว ของชุ ม ชน เข้ า ไปตั้ ง ถิ่ น ฐานในพื้ น ที่ เ สี่ ย งภั ย มากขึ้ น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ทําการเกษตร ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดธรณีพิบัติภัยต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะหยุดยั้งการเกิดธรณีพิบัติภัยได้ แต่สามารถบรรเทาและลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยได้ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานหลัก มี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการศึ ก ษาหาแนวทางบรรเทาลดผลกระทบจากธรณี พิ บั ติ ภั ย ของประเทศ จึ ง ได้ ดําเนินการสํารวจศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจัดทําแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาส เกิดธรณีพิบัติภัยแต่ละชนิด จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศและประกาศแจ้งเตือนภัยถึงเครือข่ายฯ โดยส่งผ่านข้อความสั้น (SMS) และจัดส่ง นักธรณีวิทยาเข้าตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดธรณีพิบัติภัยเพื่อหาสาเหตุ สภาพความเสียหาย ประเมินความเสี่ยงของ พื้นที่เกิดเหตุและบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทําเป็นรายงานสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัย ิ รายงานสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยฉบับนี้ นําเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๓ (ระหว่ า งเดื อ นตุ ล าคม ๒๕๕๒ – กั น ยายน ๒๕๕๓) รวมทั้ ง ให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ สาเหตุ การเกิดธรณีพิบัติภัย ธรณีวิทยาและภูมประเทศ พร้อมทั้งข้อแนะนําในการป้องกันและแก้ไขธรณีพิบัติภัยชนิดต่างๆ ิ กรมทรัพยากรธรณี หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จักเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ การเตรียมพร้อมเฝ้าระวังและการปฏิบตตนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ัิ (นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ) อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๓
  • 3. สารบัญ บทนํา ก แนวทางการปฏิบัติของกรมทรัพยากรธรณี ซ ดินถล่ม ๑ ดินไหล ๖ รอยแยก ๒๐ หลุมยุบ ๒๖ ตลิ่งทรุด ๕๐ น้ําป่าไหลหลาก ๕๒ การตรวจสอบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย อื่นๆ ๗๖ แผ่นดินไหวในประเทศไทย ๗๙ แผ่นดินไหวต่างประเทศ ๘๔ สารบัญรูปภาพ แผนทีแสดงตําแหน่งเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ่ ข สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ และการดําเนินการของกรมทรัพยากรธรณี ค สารบัญตาราง ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยรายเดือน ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ จ ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภยรายจังหวัด ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ั ฉ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ิ ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 4. บทนํา ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตร และเส้ น ทรอปิ ก ออฟ แคนเซอร์ ซึ่ งถื อ ว่ า อยู่ ใ นเขตร้อ นทางซีก โลกเหนื อ ได้รั บ อิท ธิ พ ลจากดวงอาทิ ต ย์ อย่างเต็มที่ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีภูเขาสูง มีทะเลขนาบทั้ง ๒ ด้าน โครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน มีลักษณะธรณีวิทยาเป็นหินแกรนิต หินปูน และหินทราย สภาพภูมิอากาศอยู่ภายใต้ อิทธิพลของลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากน้ําเข้าสู่ภาคพื้นทวีป และลมมรสุมฤดูหนาวที่พัดจากภาคพื้นทวีปลงสู่ทะเล ทําให้มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจาย ของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ําฝน จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยดังที่ได้กล่าวมานั้น ทําให้เห็นว่า ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัย เช่น พื้นที่ที่มีรอยเลื่อน มีพลังพาดผ่านก็จะเสี่ ยงต่อการแผ่นดิ นไหว หรือบริ เวณที่เป็นพื้นที่ ลาดชันสูง ธรณีวิทยาเป็นหิน แกรนิ ต หรือหินภูเขาไฟก็จะเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ดินไหล และรอยดินแยก พื้นที่ที่มีสภาพธรณีวิทยาเป็นหินปูน หรือชั้นเกลือหิน ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบ ในคาบสมุทรภาคใต้ที่มีทะเลขนาบทั้ง ๒ ด้าน ก็เสี่ยงต่อการ ถูกกัดเซาะชายฝั่งทะเล หรือถูกคลื่นสินามิซัดถล่มชายฝั่งได้ เป็นต้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทย นับเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัย แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับโอกาสและปัจจัยด้านต่างๆ ที่ต้องมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กน ั ที่ผ่านมาเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับว่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์คลื่นสึนามิพัดถล่ม ๖ จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๔๗ ทําให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๕,๐๐๐ คน เหตุการณ์ดินถล่มเมื่อปี ๒๕๔๙ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย ทําให้มีผู้เสียชีวิต ๘๓ คน หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๓ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์หลุมยุบในพื้นที่อําเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสี ม า มีขนาดเส้นผ่ าศู นย์กลาง ๑๐ เมตร ลึก ๑๐ เมตร เหตุการณ์ดินไหลทําให้ถนนสาย แม่ สรวย-ดอยวาวี จังหวั ดเชี ยงราย ทรุ ดตั วยาวกว่ า ๑๐๐ เมตร หรือเหตุการณ์ดิน ทรุดตัว และรอยแยก ที่บ้านสันติคีรี ตําบลแม่สลองนอก อําเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ทําให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ๙ หลัง และโรงแรม ๑ แห่ง จากเหตุ ก ารณ์ ท่ี ไ ด้ ก ล่ า วมานั้ น กรมทรั พ ยากรธรณี โดยสํ า นั ก ธรณี วิ ท ยาสิ่ ง แวดล้ อ ม และธรณีพิบัติภัย ได้ตระหนักถึงภัยพิบัติภัยที่เกิดขึ้น จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย ทําหน้าที่ในการ เฝ้าระวังและตรวจสอบสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย พร้อมทั้งประสานงานอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน ธรณีพิบัติภัย ในพื้นที่เสี่ยงภัย ผ่านทางโทรศัพท์และสอบถามข้อมูลสภาพอากาศและสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย ในพื้นที่ เพื่อแจ้งเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก โดยการออกประกาศแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ต่อธรณีพิบัติภัยทราบผ่านทางสื่อต่างๆ และข้อความสั้น (SMS) รวมทั้งการตรวจสอบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ในกรณี เ ร่ ง ด่ ว น ภายหลั ง ที่ ไ ด้ รั บ แจ้ ง จากประชาชนหรื อ หน่ ว ยงานในพื้ น ที่ เพื่ อ หาสาเหตุ แ ละประเมิ น สถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้คําแนะและแนวทางการแก้ไข เพื่อลดผลกระทบจากธรณีพบัติภัย และเกิดความ ิ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ิ ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 5. ข ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 6. สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ั และการดําเนินการของกรมทรัพยากรธรณี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย เป็นภัยธรรมชาติที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นอย่างมาก ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ - กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓) มีเหตุการณ์ ธรณีพิบัติภยเกิดขึ้นใน ๓๕ จังหวัด รวมทั้งหมด ๑๐๔ ครั้ง ประกอบด้วย ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ๓ ครั้ง ั ดินถล่ม ๒ ครั้ง ดินไหล ๑๔ ครั้ง รอยแยก ๖ ครั้ง หลุมยุบ ๒๔ ครั้ง ตลิ่งทรุดตัว ๒ ครั้ง น้ําป่าไหลหลาก ๔๕ ครั้ง แผ่ น ดิ น ไหว ๕ ครั้ ง ตรวจสอบการพั งทลายของผนั งถ้ํ า ๑ ครั้ ง ตรวจสอบหาสาเหตุ ของรอยร้ าว ๑ ครั้ ง และตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของน้ํา ๑ ครั้ง จากตารางแสดงเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยรายเดือน พบว่าในเดือนสิงหาคม เกิดธรณีพิบัติภัยมากที่สุด จํานวน ๓๔ ครั้ง เหตุธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด คือ น้ําป่าไหลหลากเกิดขึ้น ๔๕ ครั้ง ส่งผลให้เกิด ดินไหลและน้ําหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร สะพาน และถนนชํารุดเสียหายเป็นจํานวนมาก และเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด คือ เหตุการณ์ดินถล่มที่บ้านตลาดนิคม หมู่ ๖ ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ทําให้มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย และบ้านไอร์เจี๊ยะ หมู่ ๕ ตําบลซากอ อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส มีบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง ๓ หลัง และมีผู้เสียชีวต ๘ ราย ิ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ๘ ๘ ๑๕ ธันวาคม ๑ ๓๖ มกราคม ๓ ๘ ๑๒ ๖ กุมภาพันธ ๓ สิงหาคม มีนาคม ๑ เมษายน ๓ กรกฎาคม มิถุนายน พฤษภาคม กราฟแสดงสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นรายเดือน ประจําปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 7. การเพิ่มขึ้นของน้ํา 1 รอยราว 1 แผนดินไหว ผนังถ้ําพัง 1 ดินถลม ตรวจสอบพื้นที่ ดินไหล เสี่ยงภัยดินถลม ๓ ๕ ๒ ๑๔ รอยแยก ๖ ๔๕ ๒๔ ๒ น้ําปาไหลหลาก หลุมยุบ ตลิ่งทรุดตัว กราฟแสดงสรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นรายเหตุการณ์ ประจําปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 8. ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัยรายเดือนปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (เดือนตุลาคม ๕๒ - กันยายน ๕๓) ิ เหตุการณ์ น้ําป่าไหล ตรวจสอบพื้นที่ การเพิ่มขึ้น เดือน ดินถล่ม ดินไหล รอยแยก หลุมยุบ ตลิ่งทรุดตัว ผนังถ้ําพัง รอยร้าว แผ่นดินไหว รวม หลาก เสี่ยงภัยดินถล่ม ของน้ํา ตุลาคม - ๒ - ๒ - ๓ - ๑ - - - ๘ พฤศจิกายน ๒ ๔ - ๒ - ๗ - - - - - ๑๕ ธันวาคม - - - ๑ - - - - - - - ๑ มกราคม - - - ๓ - - - - - - - ๓ กุมภาพันธ์ - - - ๓ - - - - - - - ๓ มีนาคม - - - ๑ - - - - - - - ๑ เมษายน - - - ๑ - - ๑ - - - ๑ ๓ พฤษภาคม - - ๓ ๑ ๑ - ๑ - - - - ๖ จ มิถุนายน - ๑ - ๔ ๑ ๒ - - ๑ ๑ ๒ ๑๒ กรกฎาคม - - ๑ ๔ - ๒ ๑ - - - - ๘ สิงหาคม - ๖ ๑ ๒ - ๒๕ - - - - ๒ ๓๖ กันยายน - ๑ ๑ - - ๖ - - - - - ๘ รวม ๒ ๑๔ ๖ ๒๔ ๒ ๔๕ ๓ ๑ ๑ ๑ ๕ ๑๐๔
  • 9. ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัยรายจังหวัดปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (เดือนตุลาคม ๕๒ - กันยายน ๕๓) ิ เหตุการณ น้ําป่า ตรวจสอบ ตรวจสอ ดินถล่ม ดินไหล รอยแยก หลุมยุบ ตลิ่งทรุด ผนังถ้ําพัง การเพิ่มขึ้นของน้ํา แผ่นดินไหว รวม เดือน ไหลหลาก พื้นที่เสียงภัย ่ บรอยร้าว ภาคใต้ ระนอง - ๑ - ๓ - ๒ - - - - - ๖ ชุมพร - ๒ - - - ๒ - - - - - ๔ สุราษฎร์ธานี - - - - - - - - ๑ - - ๑ นครศรีธรรมราช - ๒ - ๒ - ๑ - - - - - ๕ พังงา - - - - - ๑ - - - - - ๑ ภูเก็ต - ๑ - - - - - - - - - ๑ สงขลา - - - - - ๒ - - - - - ๒ กระบี่ - - - ๓ - - - - - - - ๓ ตรัง - - - ๓ - ๑ - - - ๑ - ๕ ฉ สตูล - ๑ - ๔ - ๓ - - - - - ๘ พัทลุง - - - - - ๑ - - - - - ๑ ยะลา ๑ - - - - - - - - - - ๑ นราธิวาส ๑ - - - - - - - - - - ๑ ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน - ๒ - - - ๑ - ๑ - - - ๔ เชียงใหม่ - - - ๒ - ๑ ๑ - - - - ๔ เชียงราย - ๒ ๑ - - ๔ - - - - ๒ ๙ พะเยา - - ๑ - - ๓ ๑ - - - - ๕ น่าน - ๑ ๑ ๑ - ๔ - - - - - ๗ แพร่ - - - - - ๓ - - - - - ๓
  • 10. ตารางสรุปเหตุการณ์ธรณีพบัติภัยปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (เดือนตุลาคม ๕๒ - กันยายน ๕๓) -ต่อ- ิ เหตุการณ์ น้ําป่าไหล ตรวจสอบ ตรวจสอบ เดือน ดินถล่ม ดินไหล รอยแยก หลุมยุบ ตลิ่งทรุด ผนังถ้ําพัง การเพิ่มขึ้นของน้ํา แผ่นดินไหว รวม หลาก พื้นที่เสียงภัย ่ รอยร้าว ลําพูน - - - - - ๑ - - - - - ๑ ลําปาง - - - - - ๔ - - - - - ๔ อุตรดิตถ์ - ๑ ๑ - - ๔ - - - - - ๖ เพชรบูรณ์ - - - - - ๒ - - - - - ๒ ตาก - - - ๑ - - - - - - - ๑ ภาคตะวันออก ระยอง - - - ๑ - ๒ - - - - - ๓ จันทบุรี - - - - - ๑ - - - - - ๑ ตราด - ๑ - - - ๒ - - - - - ๓ ปราจีนบุรี - - - - ๑ - - - - - - ๑ ช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา - - - ๒ - - - - - - - ๒ ร้อยเอ็ด - - ๑ - - - - - - - - ๑ อุดรธานี - - - ๑ - - - - - - - ๑ สระแก้ว - - - - - - ๑ - - - - ๑ ภาคตะวันตก กาญจนบุรี - - - ๑ - - - - - - ๓ ๔ ภาคกลาง ปทุมธานี - - ๑ - - - - - - - - ๑ อ่างทอง - - - - ๑ - - - - - - ๑ รวม ๓๕ จังหวัด ๒ ๑๔ ๖ ๒๔ ๒ ๔๕ ๓ ๑ ๑ ๑ ๕ ๑๐๔
  • 11. แนวทางการปฏิบัติของกรมทรัพยากรธรณี เมื่อได้รับการแจ้งข่าวเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยทั้งจากหน่วยงานราชการ อาสาสมัครเครือข่าย เฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย ประชาชน หรือสื่อมวลชน กรมทรัพยากรธรณี จะดําเนินการ ดังนี้ ๑. ติดต่ อเจ้ าหน้ าที่ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) สํ านัก งานทรัพ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่ ง แวดล้ อ มจั ง หวั ด สํ า นั ก งานป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย จั ง หวั ด เพื่ อ ตรวจสอบความถู ก ต้ อ ง และขอรายละเอียดเพิ่มเติม ๒. จัดเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัย แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่ ภูมิประเทศ และภาพถ่ายทางอากาศ ๓. ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่ ๓.๑ กรณีดินถล่ม ดินไหล หินถล่ม ดินแยก และตลิ่งพัง เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบหา สาเหตุ สภาพความเสียหาย ประเมินโอกาสเกิดพิบัติภัยในพื้นที่ข้างเคียง และให้คําแนะนําแนวทางการแก้ไข ป้องกันให้เหมาะสมกับสภาพธรณีวิทยา ๓.๒ กรณีหลุมยุบในชุมชน เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อหาขอบเขตของหลุมยุบ และตรวจสอบหาโพรงใต้ดินในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง ๓.๓ กรณี แ ผ่ น ดิ น ไหว (ที่ มี ศู น ย์ ก ลางอยู่ ใ นประเทศไทย) เจ้ า หน้ า ที่ จ ะตรวจสอบ เพื่อประเมินความเสียหายและความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น และให้ข้อมูลของการเกิดแผ่นดินไหว ในแต่ละครั้ง ว่าเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนใด และลักษณะการเคลื่อนตัวเป็นแบบใด ข้อควรปฏิบัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ิ กรณีเกิดธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี มีข้อแนะนําให้ อปท. ดําเนินการให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ โดยก่อนแจ้งเหตุมายัง กรมทรัพยากรธรณี ให้ อปท. ดําเนินการดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑. กรณีดินถล่ม ดินไหล หินถล่ม ดินแยก และตลิ่งพัง ให้แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการ ใช้ประโยชน์พื้นที่ และทําป้ายประกาศเตือนภัยใกล้พื้นที่เกิดเหตุ ๒. กรณี ห ลุ ม ยุ บ ให้ วั ด ขนาดของหลุ ม และล้ อ มบริ เ วณโดยรอบด้ ว ยวั ส ดุ ชั่ ว คราว ห่ า งจาก ขอบหลุมไม่ต่ํากว่า ๑.๕ เมตร เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนหรือสัตว์เลี้ยงตกลงไปในหลุม อันอาจก่อให้เกิดอันตราย ถึงชีวิต และที่สําคัญอย่าทิ้งขยะ ของเสีย หรือสารพิษลงในหลุม เนื่องจากจะทําให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ํา ๓. กรณี เ กิ ด แผ่ น ดิ น ไหว ถ้ า เป็ น พื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ทะเลแล้ ว รู้ สึ ก ถึ ง แรงสั่ น สะเทื อ นของพื้ น ดิ น ให้แจ้งเตือนประชาชนระวังภัยอันอาจเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และคอยรับฟังข่าวสารจากสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด หลั ง จากนั้ น ให้ แ จ้ ง เหตุ ธ รณี พิ บั ติ ภั ย พร้ อ มกั บ รายละเอี ย ดที่ ไ ด้ ดํ า เนิ น การมาแล้ ว มาที่ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี หมายเลข โทรศัพท์ ๐๒-๖๒๑-๙๗๐๑-๕ โทรสาร ๐๒-๖๒๑-๙๗๐๐ และสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อให้ดําเนินการตรวจสอบพื้นที่ต่อไป ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 12. ดินถล่ม (๑) ดินถล่ม บ้านตลาดนิคม หมู่ ๖ ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา วันที่เกิดเหตุการณ์ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ธรณีพิบัติภัย เกิดดินถล่มและน้ําป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านตลาดนิคม หมู่ ๖ ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ สภาพธรณีวิทยาเป็นหินอัคนีชนิดหินแกรนิตและหินตะกอนชนิดหินดินดาน ซึ่งผุพังให้ช้นดินหนา ั สาเหตุ เกิดจากฝนที่ตกหนักและต่อเนื่องกว่า ๒ วัน ปริมาณน้ําฝนที่อําเภอบันนังสตา วัดได้ ๒๒๐.๘ มิลลิเมตร ทําให้ชั้นดินบนภูเขาชุ่มน้ํา และตลอดทั้งวันยังคงมี ฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงทําให้เกิดดินถล่มลงมา การดําเนินการของ ทธ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและ แผนที่พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มรายจังหวัดแก่หน่วยงานในพื้นที่ สภาพพื้นที่เกิดดินถล่มบริเวณพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ดินถล่มทับบ้านเรือนพังเสียหายในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา สภาพพื้นที่เกิดดินถล่มทับบ้านเรือน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ดินถล่มทับบ้านเรือนพังเสียหายในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 13. ๒ (๒) บ้านไอร์เจี๊ยะ หมู่ ๕ ตําบลซากอ อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส วันที่เกิดเหตุการณ์ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ธรณีพิบัติภัย เกิ ด ดิ น ถล่ ม และน้ํ า ป่ า ไหลหลากในหลายพื้ น ที่ โดยเฉพาะในพื้ น ที่ บ้านไอร์เจี๊ยะ หมู่ ๕ ตําบลซากอ อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส บ้านเรือน ราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง ๓ หลัง มีผู้เสียชีวิต ๘ ราย ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ สภาพธรณีวิทยาเป็นหินอัคนีชนิดหินแกรนิตและหินตะกอนชนิดหินดินดาน ซึ่งผุพังให้ชั้นดินหนา สาเหตุ เกิ ดจากฝนที่ ตกหนั กและต่ อเนื่ องกว่ า ๒ วั น ปริ มาณน้ํ าฝนที่ อํ าเภอศรี สาคร วัดได้ ๔๖๓.๐ มิลลิเมตร ทําให้ช้ันดินบนภูเขาชุ่มน้ํา และตลอดทั้งวันยังคง มีฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงทําให้เกิดดินถล่มลงมา การดําเนินการของ ทธ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและ แผนที่พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มรายจังหวัดแก่หน่วยงานในพื้นที่ สภาพพื้นที่เกิดดินถล่ม อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส สภาพพื้นที่เกิดดินถล่ม อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส แผนที่แสดงตําแหน่งเกิดดินถล่มจังหวัดยะลาและนราธิวาส เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 14. ๓ (๓) ตรวจสอบพื้นที่ เสี่ ยงภั ยดินถล่ ม บริเวณเทือกเขาพรานนุช บ้านหนองผักแว่ น หมู่ ๙ ตําบลทัพราช อําเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว วันที่ได้รับแจ้ง ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓ ธรณีพิบัติภัย พบร่องรอยดินถล่มบริเวณเทือกเขาพรานนุช ขนาดกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร ตะกอนดินถล่มไหลลงตามแนวร่องห้วยทราย และติดต้นไม้ค้างอยู่บริเวณไหล่เขา ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา ภูเขามีลักษณะเป็นที่ราบ บริเวณสันเขาและไหล่ เขาเป็ น หน้ า ผาชั น สภาพธรณี วิ ท ยาเป็ น หิ น ตะกอนชนิ ด หิ น ทราย เนื้ อ ปานกลางถึ ง หยาบ และหิ น ทรายปนกรวด ผุ พั ง ให้ ชั้ น ดิ น บางๆ บางแห่งให้ชั้นดินหนาปนก้อนหิน สาเหตุ เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันหลายวัน เมื่อชั้นดินบริเวณไหล่เขาอุ้มน้ําไม่ไหว จึงเกิดการลื่นไถลลงตามไหล่ การดําเนินการของ ทธ. ส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ เ ข้ า ตรวจสอบพื้ น ที่ และเสนอแนะให้ ห มู่ บ้ า นเสี่ ย งภั ย ดินถล่ม ดําเนินการวัดปริมาณน้ําฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดติดน้ําหรือร่องน้ําไหล และบริเวณสะพาน ทั้งนี้ได้ มอบกระบอกวัดน้ําฝนจํานวน ๒ กระบอก เพื่อทําการวัดปริมาณน้ําฝนและ แจ้งเตือนประชาชน เมื่อน้ําฝนถึงจุดวิกฤติ รอยดินถล่มบนไหล่เขา และสภาพพืนที่บริเวณห้วยทราย ้ หินทรายเนื้อหยาบและหินทรายปนกรวดสะสมตัวบนไหล่เขา ร่องรอยดินถล่ม กว้างประมาณ ๑๕ ม. ยาวประมาณ ๖๐๐ ม. ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 15. ๔ (๔) ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม บ้านแม่หลุ หมู่ ๒ ตําบลกองแขก อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วันที่เข้าตรวจสอบ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ธรณีพิบัติภัย จากการตรวจสอบ พบว่า บริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดดินถล่มมี ๓ บริเวณ คือ บริเวณห้วยป่าเลาน้อย หลังโรงเรียนบ้านกองแขก บริเวณแนว เทือกเขาดอยกิ่วหอบและบริเวณด้านหลังโบสถ์นักบุญเปโตร สาเหตุ พื้นที่ดงกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีโอกาสเกิดดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณี ั ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ส ภาพภู มิ ป ระเทศเป็ น แนวเทื อ กเขาสู ง ชั น สลั บ ซั บ ซ้ อ น ประกอบด้วยหินตะกอนและหินแกรนิตซึ่งผุพังให้ชั้นดินหนา การดําเนินการของ ทธ. ส่ งเจ้ าหน้ าที่ เข้ าตรวจสอบร่ วมกั บผู้ นํ า ชุ ม ชน และหน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่ น ทั้งนี้ได้สํารวจและจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๘ และมีอาสาสมัครในพื้นที่รวม ๑๐๓ คน แผนที่แสดงพื้นทีที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม จังหวัดเชียงใหม่ ่ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 16. ๕ (๕) ตรวจสอบเขตเสี่ยงภัยดินถล่ม บ้านปางผักหม หมู่ ๗ ตําบลงิม อําเภอปง จังหวัดพะเยา วันที่ได้รับแจ้ง ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ธรณีพิบัติภัย ตรวจสอบความเสี่ยงจากพิบัติภัยดินถล่มบริเวณพื้นที่ที่สถาบันเพื่อการบริหาร และพั ฒ นา ได้ ดํ า เนิ น โครงการจั ด ตั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย นานาชาติ ล้ า นนา ณ บ้านปางผักหม หมู่ ๗ ตําบลงิม อําเภอปง จังหวัดพะเยา ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ สภาพธรณีวิทยารองรับด้วยหินทราย มีชั้นดินบาง สาเหตุ การตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเนินหลังเต่ามีความสูงประมาณ ๖๐ เมตร รองรับด้วยหินทราย มีชั้นดินบาง จึงมีความเสี่ยงต่อดินถล่มน้อย การดําเนินการของ ทธ. ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และแนะนําแนวทางการป้องกันน้ําไหลหลาก จากพื้นที่ดังกล่าวไปยังหมู่บ้าน ได้แนะนําให้ทางโครงการจัดทําทางระบาย น้ําไปยังพื้นที่อื่น และปลูกต้นไม้เป็นแนวกั้น รวมทั้งปลูกพืชคลุมดิน ทั้งนี้ ได้ชี้แจงให้ผู้นําชุมชนและประชาชนในพื้นที่บางส่วนทราบแล้ว แผนที่แสดงตําแหน่งโครงการจัดตั้ง บริเวณพื้นที่ทสถาบันเพื่อการบริหารและพัฒนาได้ดําเนินโครงการ ี่ มหาวิทยาลัยนานาชาติลานนา ้ จัดตั้ง มหาวิทยาลัยนานาชาติล้านนา สภาพพื้นที่บานปางผักหม เป็นเนินหลังเต่ามีความสูงประมาณ ๖๐ เมตร รองรับด้วยหินทราย ้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 17. ดินไหล (๖) ดินไหล ปิดทับถนนเพชรเกษม หมู่ ๑ ตําบลบางนอน อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง วันที่เกิดเหตุการณ์ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ สถานการณ์ พายุใต้ฝุ่น “กิสนา (KETSANA)” อ่อนกําลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น บริเวณ จังหวัดอุบลราชธานี และเคลื่อนตัวไปทางจังหวัดกาญจนบุรี แล้วอ่อนกําลัง ลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ําปกคลุมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลให้ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกําลังแรงขึ้น ทําให้เกิดฝนตกหนัก เกิดดินไหล และน้ําป่าไหลหลาก ความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิ ด ดิ น ไหลปิ ด ทั บ ถนนเพชรเกษมระหว่ า ง กม.๖๐๓-๖๐๔ ใกล้ กั บ หมวดการทางระนอง บริเวณหมู่ ๑ ตําบลบางนอน อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ดินไหลเป็นระยะทางประมาณ ๕๐ เมตร นอกจากนี้ยังมี ก้อนหินขนาดใหญ่และต้นไม้ขวางถนน ทําให้รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศ ฉบับที่ ๑๙/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน ธรณีพิบัติภัยเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชุมพร และระนอง พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้งเครือข่ายฯ และประสานสถานีวิทยุ เพื่อประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังภัย ดินไหลปิดทับถนนเพชรเกษมระหว่าง กม.๖๐๓-๖๐๔ ดินไหลทําให้ต้นไม้โค่นล้มขวางถนนเพชรเกษม ดินไหลปิดทับถนนเพชรเกษมระหว่าง กม.๖๐๓-๖๐๔ ใกล้หมวดการทางระนอง บริเวณหมู่ ๑ ต.บางนอน อ.เมือง จ.ระนอง ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 18. ๗ (๗) ดินไหล บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๘๙-๙๐ ของทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ สายฮอด – แม่สะเรียง ตําบลแม่เหาะ อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่เกิดเหตุการณ์ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ธรณีพิบัติภัย ดินไหล ทําให้ถนนทรุดตัวและขาด มีขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร ลึก ๔๐ – ๑๐๐ เมตร ไม่สามารถเดินทางสัญจรไปมาได้ ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและเป็นดินทราย สาเหตุ เนื่องจากน้ําฝนที่ไหลลงมาสะสมและท่วมขังบริเวณจุดเกิดเหตุ จึงเกิดการ กัดเซาะ ทําให้ชั้นดินด้านล่างของถนนไม่สามารถต้านทานแรงน้ําได้จึงไหล ลงมา และเกิดเป็นช่องว่าง เป็นสาเหตุให้ถนนสายดังกล่าวทรุดตัว การดําเนินการของ ทธ. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์และ ติดตามเฝ้าระวังหากยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่องอยู่ ดินไหลกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร ลึก ๔๐ – ๑๐๐ เมตร ทิศทางการไหลของน้ําจากภูเขา ลงมายังถนนที่เกิดเหตุ ร่องรอยดินไหลและความเสียหายของถนนที่ทรุดตัว ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 19. ๘ (๘) ดินไหล บ้านสองแพรก หมู่ ๑๐ ตําบลกรุงชิง อําเภอนบพิตํา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่เกิดเหตุการณ์ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สถานการณ์ เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และ อ่าวไทย มีกําลังแรงขึ้น ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดดินไหลปิดทับเส้นทางหลายจุดที่บ้านสองแพรก หมู่ ๑๐ ตําบลกรุงชิง อําเภอนบพิตํา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทําให้รถสัญจรได้ไม่สะดวกชั่วคราว การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณี พิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้ง เครือข่ายฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานีวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังภัย เกิดดินไหลหลายจุดบริเวณ น้ําหลากกัดเซาะถนนได้รับความเสียหาย บ.สองแพรก ม.๑๐ ต.กรุงชิง อ.นบพิตํา ต.กรุงชิง อ.นบพิตา ํ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 20. ๙ (๙) ดินไหล บ้านคลองเรือ หมู่ ๙ ตําบลปากทรง อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร วันที่เกิดเหตุการณ์ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สถานการณ์ เนื่องจากอิท ธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนื อกําลังแรงที่ พัดปกคลุม ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิ ดดิ นไหลขนาดเล็ กปิ ดทั บเส้ นทาง บริเวณทางเข้ าบ้ านคลองเรื อ หมู่ ๙ ตําบลปากทรง อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ทําให้รถสัญจรได้ไม่สะดวก การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณี พิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้ง เครือข่ายฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานีวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังภัย ดินไหลปิดทับเส้นทาง บ.คลองเรือ หมู่ ๙ ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 21. ๑๐ (๑๐) ดินไหล บ้านผังปาล์ม ๗ หมู่ ๗ ตําบลปาล์มพัฒนา อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล วันที่เกิดเหตุการณ์ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สถานการณ์ เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และ อ่ า วไทยมี กํ า ลั ง แรง ทํ า ให้ มี ฝ นตกหนั ก และตกต่ อ เนื่ อ ง เมื่ อ ชั้ น ดิ น ไม่สามารถอุ้มน้ําไว้ได้ จึงเกิดดินไหลและน้ําป่าไหลหลากลงมาในพื้นที่ลุ่ม ความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดดินไหลลงมาปิดทับบ้านเสียหาย ๑ หลัง ที่บ้านผังปาล์ม ๗ หมู่ ๗ ตําบล ปาล์มพัฒนา อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศฉบับที่ ๒๑/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณี พิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งให้อาสาสมัคร เครือข่ายฯ ปฏิบัติตามแผนที่อบรมไว้ โดยเครือข่ายหมู่บ้านต้นน้ําได้ทําการ แจ้ ง เตื อ นไปยั ง หมู่ บ้ า นท้ า ยน้ํ า ให้ มี ก ารเฝ้ า ระวั ง น้ํ า ป่ า ไหลหลากด้ ว ย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บ้านนางศิริขวัญ ไชยหมาด บ้านผังปาล์ม ๗ ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ได้รบความเสียหายจากดินไหลลงมาปิดทับ ั ดินไหลลงมาทับบ้านก่อให้เกิดความเสียหาย ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 22. ๑๑ (๑๑) ดินไหล บ้านน้ําใส หมู่ ๗ ตําบลลานสกา อําเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่เกิดเหตุการณ์ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สถานการณ์ เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และ อ่าวไทยยังคงมีกําลังแรง ทําให้มีฝนตกชุกและตกหนัก เมื่อชั้นดิน ไม่สามารถอุ้มน้ําไว้ได้ จึงเกิดดินไหลและน้ําป่าไหลหลากลงมาในพื้นที่ลุ่ม ความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่ อ งจากเกิ ด ฝนตกหนั ก เกิ ดดิ นไหลบริ เวณภู เขาประมาณ ๑-๒ เมตร ทําให้สวนยางพาราและสวนผลไม้ได้รบความเสียหาย ั การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศฉบับที่ ๒๑/๒๕๕๒ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน ธรณี พิ บั ติ ภั ย เฝ้ า ระวั ง ภั ย ดิ น ถล่ ม และน้ํ า ป่ า ไหลหลาก พร้ อมทั้ งให้ อาสาสมัครเครือข่ายฯ ปฏิบัติตามแผนที่อบรมไว้ โดยเครือข่ายหมู่บ้านต้นน้ํา ได้ทําการแจ้งเตือนไปยังหมู่บ้านท้ายน้ําให้มีการเฝ้าระวังน้ําป่าไหลหลากด้วย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนที่แสดงพื้นทีที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม จังหวัดนครศรีธรรมราช ่ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 23. ๑๒ (๑๒) ดินไหล สถานที่ก่อสร้างโรงแรมป่าตองซีวิว ซอยนาใน ๑ ตําบลป่าตอง อําเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต วันที่เกิดเหตุการณ์ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ธรณีพิบัติภัย เกิดดินไหลทับคนงานก่อสร้างเสียชีวิต รวม ๒ ราย บริเวณสถานที่ก่อสร้าง โรงแรมป่าตองซีวิว ซอยนาใน ๑ ตําบลป่าตอง อําเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต ธรณีวทยาและภูมิประเทศ ิ เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งผุพงให้ชั้นดินหนา ั สาเหตุ การตั ดหน้ า ดิ นทํ า ให้ ล าดเขาขาดเสถี ย รภาพ ประกอบกั บ มี ฝ นตกหนั ก ติดต่อกันมา ๒ วันก่อนหน้า จึงทําให้ดินไหลลงมาทับคนงานก่อสร้างที่อยู่ ในบริเวณดังกล่าว การดําเนินการของ ทธ. ตรวจสอบ ประสาน และทํารายงานแจ้งหน่วยงานในจังหวัดให้ได้รับทราบถึง สาเหตุของการเกิดดินไหล ภาพการตัดหน้าดินทําให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ ภาพการตัดหน้าดินทําให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ ภาพการตัดหน้าดินทําให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ ภาพเหตุการณ์ดินไหลลงมาทับคนงานเสียชีวิต ๒ ราย ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 24. ๑๓ (๑๓) ดินไหล ปิดทับเส้นทางบริเวณถนนสายมาบค้างคาว-บ้านบางเบ้า ตําบลเกาะช้าง อําเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด วันที่ได้รับแจ้ง ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ ธรณีพิบัติภัย เกิดดินไหลปิดทับเส้นทางบริเวณถนนสายมาบค้างคาว-บ้านบางเบ้า ตําบล เกาะช้าง อําเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ระยะทางยาวกว่า ๓๐ เมตร ทําให้ รถยนต์สามารถเดินรถได้เพียงหนึ่งช่องทาง สาเหตุ เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ํา พาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และ ภาคตะวั นออกเฉี ยงเหนื อ ประกอบกั บ มรสุ ม ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ที่ พั ด ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกําลังแรง ทําให้เกิดฝนตกหนัก และตกต่อเนื่อง การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศ ฉบับที่ ๔/๒๕๕๓ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน ธรณีพิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ําป่าไหลหลาก พร้อมทั้งโทรศัพท์ แจ้งให้เครือข่ายฯ มีการเฝ้าระวังตามแผนที่ได้อบรมแล้ว ดินไหลปิดทับเส้นทาง บริเวณถนนสายมาบค้างคาว-บ้านบางเบ้า ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ระยะทางยาวกว่า ๓๐ ม. ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓
  • 25. ๑๔ (๑๔) ดินไหล บ้านเขาตะเภาทอง ตําบลพะโต๊ะ อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร วันที่เกิดเหตุการณ์ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ธรณีพิบัติภัย เกิดดินไหลข้างทางบริเวณบ้านเขาตะเภาทอง ตําบลพะโต๊ะ อําเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร สาเหตุ เนื่ อ งจากอิ ท ธิ พ ลของร่ อ งมรสุ ม พาดผ่ า นบริ เ วณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกําลังค่อนข้างแรง ทําให้มีฝนตกหนัก และตกต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดดินไหลข้างทาง การดําเนินการของ ทธ. ออกประกาศฉบับที่ ๘/๒๕๕๓ ให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน ธรณีพิบัติภัย เฝ้าระวังภัยดินถล่มน้ําป่าไหลหลาก ทั้งนี้อาสาสมัครเครือข่ายฯ ได้ปฎิบัติตามแผนเฝ้าระวังที่ได้มีการอบรมไว้ โดยการวัดปริมาณน้ําฝน อย่างต่อเนื่องและประกาศเสียงตามสายให้ราษฎรในหมู่บ้านได้รบทราบ ั ดินไหลข้างทางบริเวณ บ.เขาตะเภาทอง ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพบตภย ิ ัิ ั สรุปเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สํานักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ตุลาคม ๒๕๕๒ – กันยายน ๒๕๕๓