SlideShare a Scribd company logo
1 of 41
Download to read offline
1
มหาโควินทสูตร
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
พระสูตรเรื่องมหาโควินทสูตรนี้ นามาจากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค เมื่ออ่าน
พระสูตรเรื่องนี้ แล้ว ได้เรียนรู้เพิ่มดังนี้
มนุษย์เราอย่าคิดว่าทาชั่วแล้วไม่มีคนเห็น หรือไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดได้ตามกฎหมาย ทาแล้ว
ได้ทรัพย์สินเงินทองมากมายด้วยวิธีที่ไม่สุจริต แต่ให้ระลึกไว้เสมอว่า ฟ้ามีตาเทวดามีจริง ดังที่ท่านปัญจะ
สิขะเทพบุตรได้มาเล่าให้องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าฟัง ณ เขาคิชฉกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ถึงการประชุมเหล่า
เทวดาที่เทวสภา ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โดยมีพระอินทร์เป็นประธาน ได้มีการรายงานความดีความชั่วของ
เหล่ามวลมนุษย์ในคืนเดือนเพ็ญ ดังนั้น พวกเราควรพึงสาเหนียกไว้ เมื่อจะกระทาความชั่วใด ๆ ควรมีสติ
ยับยั้งไว้เสมอ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าสมัยที่กาลังบาเพ็ญเพียรบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ที่
เสวยพระชาติเป็น มหาโควินทพราหมณ์ เป็นเวลาที่ว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา การบาเพ็ญเพียรจึงทาให้
พระโพธิสัตว์และเหล่าสาวกทั้งหลายได้สาเร็จเป็นพระพรหมหรือเทวดา ไม่สามารถบรรลุพระอรหัตผลได้
ตราบจนพระพุทธองค์ได้สาเร็จพระโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้สั่งสอนสาวกจนได้
สาเร็จมรรคผลนิพพาน
ในปัจจุบันนี้ ยังคงถือว่าเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนายังคงมีความรุ่งเรืองอยู่ ตราบใดที่ยังมีพระ
ธรรมคาสั่งสอนขององค์พระศาสดาอยู่ ก็ถือว่า พระธรรมและวินัยเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ที่เรา
ท่านทั้งหลายควรรีบขนขวายใส่ใจศึกษา และปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนเอาไว้เทอญฯ
--------------------
มหาโควินทสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย มหาวรรค
๖. มหาโควินทสูตร
ว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์
[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร เมื่อราตรีผ่านไป (เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงปฐมยาม คือยามที่
หนึ่งผ่านไป (ในคืนหนึ่งแบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมงเรียก ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม
2
ตามลาดับ)) มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์จะขอกราบทูลข้อความที่ได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพวกเทพชั้นดาวดึงส์แด่พระผู้มีพระภาค” พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า “เชิญบอกเราเถิด ปัญจสิขะ”
เทวสภา
[๒๙๔] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหลายวันมาแล้ว ในคืน
เพ็ญวันอุโบสถ ๑๕ ค่า อันเป็นวันปวารณา พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มี
เทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบ
ท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ คือ
๑. ทิศตะวันออกมีท้าวธตรฐมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก มีพวกเทพอยู่
เบื้องหน้า
๒. ทิศใต้มีท้าววิรุฬหกมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า
๓. ทิศตะวันตกมีท้าววิรูปักษ์มหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีพวกเทพอยู่
เบื้องหน้า
๔. ทิศเหนือมีท้าวเวสวัณมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศใต้ มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า
เมื่อครั้งที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มีพวกเทพบริษัทมากมายนั่ง
อยู่โดยรอบ มีท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้ เป็นธรรมเนียมในการนั่งของท้าวจาตุมหาราช ข้าง
หลังถัดออกมาเป็นที่นั่งของข้าพระองค์ทั้งหลาย
เทพเหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคแล้ว เดี๋ยวนี้ เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ นัยว่า ด้วยเหตุนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ
เกิดปีติและโสมนัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’
[๒๙๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความเลื่อมใสของพวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์ จึงทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคต
และความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่ง
มา ณ ที่นี้ (ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มี
พระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้ แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระ
ธรรม’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่า เพราะเหตุนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดีเบิกบานใจ เกิดปีติ
และโสมนัส สุดจะประมาณได้ กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’
3
พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ
[๒๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความเลื่อมใสของพวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์ จึงรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านปรารถนาจะฟัง
พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไหม’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กราบทูลว่า
‘พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะฟังพระคุณตามความเป็นจริงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพระเจ้าข้า’ ทีนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ว่า
‘เทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
๑. ตราบเท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่
มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่เคยเห็น
พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในอดีตกาลเลย ถึงใน
บัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๒. พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็นพระ
ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงแสดงธรรมที่ควรน้อมเข้ามาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้
เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็น
อกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นสิ่งมีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งควรเสพ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’
‘นี้ เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้ เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้ เป็นสิ่งดา สิ่งขาวและสิ่งมีส่วนเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้
ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรมที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสิ่งมีโทษ เป็นสิ่งไม่มีโทษ เป็นสิ่ง
ควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดา สิ่งขาว และสิ่งมีส่วนเปรียบอย่างนี้ ในอดีต
กาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๔. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวก
ทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ ย่อมเหมาะสมกัน น้าจากแม่น้าคงคากับน้าจากแม่น้ายมุนา ย่อม
กลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติ
ไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะสมกัน ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคยเห็นพระ
ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึง
ในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้องปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลาย
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็นพระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้
เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว
อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
4
๖. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมีคาสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย
เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวยพระกระยา
หารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยา
หารอย่างปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น
๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็
ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็
ตรัสอย่างนั้น (คานี้ แปลมาจากคาบาลีว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที หมายถึงมีปกติตรัสอย่างที่
ทรงทา และทรงทาอย่างที่ตรัส) เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น
๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดาริ
ด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้
ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้นความดาริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย
อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น’
[๒๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘
ประการนี้ ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ นัยว่าเพราะการประกาศนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ครั้น
สดับพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและ
โสมนัสสุดจะประมาณได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในจานวนเทพเหล่านั้น เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์
ทั้งหลาย ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๔ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มี
พระภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ จงยกไว้
ก่อนเถิด ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๓ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระ
ภาคเถิดหนอ(เพราะ)การเสด็จอุบัติขึ้น และการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไป
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ จงยกไว้
ก่อนเถิด ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๒ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระ
ภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไป
5
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
[๒๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวอย่างนี้ แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสแก่
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ดังนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ฐานะ (ไม่ใช่ฐานะ หมายถึงเหตุการณ์ที่มีไม่ได้
หรือเป็นไปไม่ได้) ไม่ใช่โอกาส ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุ
เดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง (พร้อมกัน) ฐานะอย่างนี้ มีไม่ได้เลย ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอให้พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ทรงมีโรคาพาธน้อย ดารงอยู่ยิ่งยืนนานเถิดหนอ (เพราะ) การที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงดารงอยู่ยิ่งยืนนานจะเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล แม้ท้าวจาตุมหาราชได้รับคาบอกเล่าเรื่องที่เป็นเหตุให้พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์ต้องมานั่งประชุมคิดพิจารณากันในสุธัมมาเทวสภาแล้ว ก็ยังดาเนินการในเรื่องนั้นอยู่ ทั้งได้รับ
คาแนะนาที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตามพร่าสอนเฉพาะแล้ว ก็ทรงดาเนินการในเรื่องนั้นอยู่ และต่างยังคง
ประทับยืนอยู่ ณ ที่ประทับของตนๆ ไม่ยอมจากไป
ท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้นได้รับคาบอกแล้ว ทั้งได้รับคาแนะนาแล้ว จึงมีพระทัยผ่องใส ประทับ
ยืนสงบอยู่ ณ ที่ประทับของตนๆ
[๒๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ได้เกิดแสงสว่างเจิดจ้าขึ้นทางทิศเหนือปรากฏโอภาส
เกินเทวานุภาพของเทพทั้งหลาย ทีนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้
นิรทุกข์ทั้งหลาย มีนิมิตที่สังเกตได้ (คือ) แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้น พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น
เพราะการที่แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้นนี้ จัดเป็นบุพนิมิตแห่งการปรากฏของพระพรหม’
เมื่อมีนิมิตที่สังเกตได้ พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะโอภาสอันเจิดจ้ายิ่ง เป็นนิมิตแห่ง
พระพรหม
เรื่องสนังกุมารพรหม
[๓๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาดับนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งอยู่บนอาสนะของตนๆ กล่าวว่า
‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ แม้ท้าวจาตุมหาราชประทับนั่งอยู่บนที่ประทับของ
ตนๆ ก็กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์สดับเรื่องนี้
แล้วเข้าฌานสงบอยู่ด้วยคิดว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ทรงเนรมิต
อัตภาพให้หยาบปรากฏขึ้น เพราะรูปร่างปกติของพรหมไม่อาจปรากฏในคลองจักษุของพวกเทพชั้นดาวดึงส์
ได้ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ
ร่างกายที่เป็นทองคา ย่อมงดงามเกินร่างกายมนุษย์ ฉันใด เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสนังกุมารพรหม
ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในเทพบริษัทนั้นเทพบางองค์ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ ไม่เชิญด้วยอาสนะ ทั้งหมด
6
พากันนั่งขัดสมาธิประนมมือนิ่งอยู่ด้วยคิดว่า ‘บัดนี้ สนังกุมารพรหมจะประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพที่
พระองค์ปรารถนา’
สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความ
โสมนัสอย่างยิ่ง ผู้กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วเพิ่งจะได้ครองราชย์ ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้
ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันใด สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ได้ความ
ยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน จากนั้น เมื่อสนังกุมารพรหมทรงทราบความ
เลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็ทรงหายตัวแล้วอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคต
และความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่ง
มา ณ ที่นี้ (ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มี
พระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้ แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระ
ธรรม’
เสียงของสนังกุมารพรหม
[๓๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้ อความนี้ ขณะที่สนังกุมารพรหมตรัส
เนื้ อความนี้ มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ (๑) แจ่มใส (๒) ชัดเจน (๓) นุ่มนวล (๔) ชวนฟัง (๕)
กลมกล่อม (๖) ไม่พร่า (๗) ลึกซึ้ง (๘) กังวาน สนังกุมารพรหมเปล่งเสียงให้รู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น
เสียงของสนังกุมารพรหมนั้นไม่ได้ดังออกไปภายนอกบริษัท ผู้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้
เรียกว่า ‘มีเสียงเหมือนเสียงพรหม’’
ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ทูลสนังกุมารพรหมดังนี้ ว่า ‘ขอโอกาสเถิดท่านท้าวมหาพรหม
พวกเราทราบเนื้ อความนี้ แล้วจึงเบิกบานใจ อนึ่ง ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสพระคุณตามความเป็นจริง ๘
ประการของพระผู้มีพระภาคไว้ พวกเราทราบแล้วก็เบิกบานใจ’
พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ
[๓๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมได้ตรัสกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ ว่า ‘ขอ
โอกาสเถิด ท่านจอมเทพ เราก็ควรได้ฟังพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคพระองค์
นั้นบ้าง’ ท้าวสักกะจอมเทพทูลรับสนองพระดารัสแล้ว ทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ
แก่สนังกุมารพรหมว่า
‘ท้าวมหาพรหมผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร’’
๑. ตราบเท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่
มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่เคยเห็น
พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
7
อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในอดีตกาลเลย ถึงใน
บัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๒. พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็นพระ
ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงแสดงธรรมที่ควรน้อมเข้ามาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้
เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็น
อกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นสิ่งมีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งควรเสพ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’
‘นี้ เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้ เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้ เป็นสิ่งดา เป็นสิ่งขาว และเป็นสิ่งไม่มีสิ่งเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระ
ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรมเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่มีโทษ เป็นสิ่งไม่มี
โทษ เป็นสิ่งควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดา เป็นสิ่งขาว และเป็นสิ่งไม่มีสิ่ง
เปรียบอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๔. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวก
ทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ ย่อมเหมาะสมกัน เปรียบเหมือนน้าจากแม่น้าคงคากับน้าจากแม่น้ายมุ
นาย่อมกลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง
บัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะสมกัน ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคย
เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานอย่างนี้ ในอดีตกาล
เลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้องปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลาย
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็นพระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้
เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว
อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๖. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมีคาสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย
เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวยพระกระยา
หารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยา
หารอย่างปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น
๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็
ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็
ตรัสอย่างนั้น เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดาริ
ด้วยอาทิพรหมจรรย์ อันเป็นไปตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้
8
ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้นความดาริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย
อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น’
[๓๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘
ประการนี้ ของพระผู้มีพระภาคแก่สนังกุมารพรหมแล้ว นัยว่า เพราะการประกาศนั้น สนังกุมารพรหมครั้น
ทรงสดับพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีพระทัยยินดี เบิกบาน เกิดปีติ
และโสมนัส จากนั้น สนังกุมารพรหมทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบเป็นกุมารรูปเช่นกับปัญจสิขะ คันธรรพ
บุตร ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ แล้วเหาะขึ้นบนอากาศ ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศ บนที่ว่างกลาง
อากาศเหมือนบุรุษมีกาลังนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้ดีแล้ว หรือบนพื้นที่ราบเรียบเสมอกันฉะนั้น แล้ว
รับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า
เรื่องโควินทพราหมณ์
[๓๐๔] ‘เทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง
เป็นผู้มีปัญญามากมานานเพียงไร
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าทิสัมบดี พราหมณ์ชื่อ
ว่าโควินทะ (โควินทะ ไม่ใช่ชื่อตัว เป็นชื่อตาแหน่ง หรือฐานันดรศักดิ์ของผู้ดารงตาแหน่งปุโรหิต
เช่นเดียวกับชาณุสโสณิ) เป็นปุโรหิตของพระเจ้าทิสัมบดี พระราชกุมารพระนามว่าเรณุเป็นราชบุตรของพระ
เจ้าทิสัมบดี มาณพชื่อว่าโชติปาละเป็นบุตรของโควินทพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านี้ คือ พระราช
บุตรเรณุ โชติปาลมาณพ และกษัตริย์อีก ๖ พระองค์รวมเป็น ๘ คน ได้เป็นสหายกัน ครั้นเมื่อวันคืนผ่านไป
โควินทพราหมณ์ได้ดับชีพ ครั้นโควินทพราหมณ์ดับชีพแล้ว พระเจ้าทิสัมบดีทรงเพ้อราพันว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย โควินทพราหมณ์ได้ดับชีพเสียในเวลาที่เรามอบราชกิจทั้งปวงไว้แล้ว (เรา) เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม
ได้รับการบาเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕’
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีตรัสอย่างนั้น พระราชบุตรเรณุกราบทูลพระเจ้าทิสัมบดี
ดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อโควินทพราหมณ์ได้ดับชีพ ขอพระองค์อย่าทรงเพ้อราพันให้
มากไปเลย ยังมีโชติปาลมาณพ บุตรของโควินทพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดกว่าบิดา และสามารถเล็งเห็นอรรถ
คดีได้ดีกว่าบิดาของเขาเสียอีกยัง เขาสามารถถวายคาปรึกษาอรรถคดีอย่างที่บิดาของเขาได้ถวาย
คาปรึกษา’
พระเจ้าทิสัมบดีตรัสถามว่า ‘อย่างนั้นหรือ ลูก’
พระราชบุตรเรณุทูลตอบว่า ‘อย่างนั้น พระเจ้าข้า’
เรื่องมหาโควินทะ
[๓๐๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ลาดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘มา
นี่พ่อหนุ่ม เธอจงเข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ บอกกับโชติปาลมาณพอย่างนี้ ว่า ‘ขอให้โชติปาลมาณพมี
ความสุข ความเจริญ พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีมีพระราชประสงค์จะพบท่าน’
9
ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดารัสแล้ว เข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ บอกเขาดังนี้ ว่า
‘ขอให้ท่านโชติปาลมาณพมีความสุข ความเจริญ พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีมีพระ
ราชประสงค์จะพบท่าน’
โชติปาลมาณพรับคาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดีถึงที่ประทับ ได้กราบทูลสนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ให้ทรงระลึกถึงกัน แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าทิสัมบดีได้ตรัสกับโชติปาล
มาณพดังนี้ ว่า ‘ท่านโชติปาลมาณพ จงให้คาปรึกษาเราเถิด อย่าปฏิเสธการให้คาปรึกษาเราเลย เราจะ
แต่งตั้งท่านให้ดารงตาแหน่งแทนบิดา จะทาพิธีอภิเษกไว้ในตาแหน่งโควินทพราหมณ’ โชติปาลมาณพทูล
รับสนองพระราชดารัสแล้ว
ลาดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกโชติปาลมาณพไว้ในตาแหน่งโควินทะ
ทรงแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งแทนบิดา
โชติปาลมาณพผู้ได้รับอภิเษกแต่งตั้งในตาแหน่งแทนบิดา ได้ถวายคาปรึกษาอรรถคดีที่บิดาเคย
ถวายคาปรึกษา ถวายคาปรึกษาอรรถคดีที่บิดาไม่เคยถวายคาปรึกษา จัดแจงการงานที่บิดาเคยจัดแจง
จัดแจงการงานที่บิดาไม่เคยจัดแจง ชาวบ้านจึงเรียกโชติปาลมาณพว่า ‘ท่านโควินทพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านโค
วินทพราหมณ์ผู้เจริญ’ เพราะเหตุนี้ แหละ โชติปาลมาณพจึงเกิดมีสมญาว่า ‘โควินทะ มหาโควินทะ’
การแบ่งราชสมบัติ
[๓๐๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่
ประทับแล้ว กราบทูลกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะฝ่าพระบาท พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่
เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลาดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอามาตย์ผู้สาเร็จราชการจะพึงอภิเษกพระ
ราชบุตรเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไปได้แน่นอน ขอท่านผู้เจริญ
เสด็จมาเถิด จงพากันไปเข้าเฝ้าพระราชบุตรเรณุถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลอย่างนี้ ว่า ‘พวกหม่อมฉันเป็น
พระสหายที่รัก ที่ถูกพระทัย ที่โปรดปรานของท่านเรณุ เมื่อท่านเรณุเป็นสุข พวกหม่อมฉันก็เป็นสุขด้วย เมื่อ
ท่านเรณุเป็นทุกข์ พวกหม่อมฉันก็เป็นทุกข์ด้วย พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดย
ลาดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอามาตย์ผู้สาเร็จราชการจะพึงอภิเษกท่านเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไปได้แน่นอน ถ้าท่านเรณุได้ครองราชย์ ขอจงทรงแบ่งราชสมบัติให้
พวกหม่อมฉันบ้าง’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นทรงรับคาของมหาโควินทพราหมณ์แล้วเข้าไปเฝ้าราชบุตรเรณุ
ถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘พวกหม่อมฉันเป็นสหายที่รัก ที่ถูกพระทัย ที่โปรดปรานของท่านเรณุ เมื่อ
ท่านเรณุเป็นสุข พวกหม่อมฉันก็เป็นสุขด้วย เมื่อท่านเรณุเป็นทุกข์ พวกหม่อมฉันก็เป็นทุกข์ด้วย พระ
เจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลาดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอามาตย์ผู้สาเร็จ
ราชการจะพึงอภิเษกท่านเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไปได้แน่นอน
ถ้าท่านเรณุได้ครองราชย์ ขอจงทรงแบ่งราชสมบัติให้พวกหม่อมฉันบ้าง’ พระราชบุตรเรณุตรัสตอบว่า ‘ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของเรา ใครอื่นเล่าจะพึงมีความสุขนอกจากท่านทั้งหลาย ถ้าหม่อมฉันได้
ครองราชย์ก็จะแบ่งราชสมบัติให้ท่านทั้งหลาย’
10
[๓๐๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมาครั้นวันคืนผ่านไป พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคต เมื่อท้าวเธอ
สวรรคต อามาตย์ผู้สาเร็จราชการได้อภิเษกราชบุตรเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ราชบุตรเรณุได้รับอภิเษก
เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบาเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕
ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า
‘ขอเดชะ พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว พระราชบุตรเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเอิบอิ่ม พรั่ง
พร้อม ได้รับการบาเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ก็ใครเล่าจะรู้ว่ากามารมณ์เป็นเหตุให้หลงมัวเมา ขอพระองค์เสด็จ
มาเถิด ขอจงไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับแล้วกราบทูลอย่างนี้ ว่า ‘พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว ท่าน
เรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดารัสนั้นได้อยู่หรือพระเจ้าข้า’
[๓๐๘] กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นทรงรับคาของท่านมหาโควินทพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้า
เรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว ท่านเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
แล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดารัสนั้นได้อยู่หรือพระเจ้าข้า’
พระเจ้าเรณุตรัสตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ เรายังระลึกถึงคานั้นได้อยู่ ใครหนอจะสามารถแบ่งมหา
ปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗
ส่วนเท่าๆ กัน’
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ กราบทูลว่า ‘จะมีใครอื่นอีกเล่าที่สามารถแบ่งได้ นอกจากมหาโควินท
พราหมณ์ พระเจ้าข้า’
ลาดับนั้น พระเจ้าเรณุรับสั่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิด ท่านผู้เจริญ จงเข้าไปหามหา
โควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘พระเจ้าเรณุรับสั่งเรียกหาท่าน’
ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดารัสแล้วเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่ บอกว่า ‘พระเจ้า
เรณุรับสั่งหาท่าน ขอรับ’
ท่านมหาโควินทพราหมณ์รับคาแล้ว ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้ทูลสนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ให้ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าเรณุตรัสกับท่านมหาโควินท
พราหมณ์ดังนี้ ว่า ‘มาเถิด ท่านโควินทะ จงแบ่งมหาปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้า
เหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน’
ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลรับสนองพระราชดารัสแล้ว แบ่งมหาปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผาย
ออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน สถาปนารัฐ
(อาณาจักร)ทั้งหมดให้มีลักษณะเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ทราบว่าในเนื้ อที่เหล่านั้น ชนบท(มหา
อาณาจักร)ของพระเจ้าเรณุอยู่ตรงกลางรัฐทั้งหมดนั้น (คือ)
[๓๐๙] ท่าน(มหา)โควินทะให้สร้างเมืองหลวงเหล่านี้ ไว้ (คือ)
ให้สร้างกรุงทันตปุระ เป็นเมืองหลวงของรัฐกาลิงคะ ให้สร้างกรุงโปตนะ เป็นเมือง
หลวงของรัฐอัสสกะ ให้สร้างกรุงมาหิสสติ เป็นเมืองหลวงของรัฐอวันตี ให้สร้างกรุงโรรุกะ เป็นเมืองหลวง
ของรัฐโสวีรานะ ให้สร้างกรุงมิถิลา เป็นเมืองหลวงของรัฐวิเทหะ ให้สร้างกรุงจัมปา เป็นเมืองหลวงของรัฐอัง
คะ ให้สร้างกรุงพาราณสี เป็นเมืองหลวงของรัฐกาสี
11
[๓๑๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้งนั้น กษัตริย์ ๖ พระองค์ มีพระทัยยินดีด้วยลาภส่วนของพระองค์
มีพระดาริสาเร็จบริบูรณ์ว่า ‘สิ่งใดที่เราอยากได้ สิ่งใดที่เราหวัง สิ่งใดที่เราประสงค์ สิ่งใดที่เราปรารถนา
อย่างยิ่ง สิ่งนั้นเราได้แล้ว’
พระเจ้าสัตตภู พระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าเวสสภู พระเจ้าภรตะ พระเจ้าเรณุ พระเจ้า
ธตรฐ ๒ พระองค์ รวมพระมหากษัตริย์ผู้ครองราชย์ในเวลานั้นมี ๗ พระองค์ (ถ้าถือตามลาดับที่ระบุไว้จะได้
ความดังนี้ ที่ ชื่อเมืองหลวง รัฐ ผู้ครองรัฐ ๑. กรุงทันตปุระ กาลิงคะ พระเจ้าสัตตภู ๒. กรุงโปตนะ อัสสกะ
พระเจ้าพรหมทัต ๓. กรุงมาหิสสติ อวันตี พระเจ้าเวสสภู ๔. กรุงโรรุกะ โสวีรานะ พระเจ้าภรตะ ๕. กรุงมิถิ
ลา วิเทหะ พระเจ้าเรณุ ๖. กรุงจัมปา อังคะ พระเจ้าธตรฐ ๗. กรุงพาราณสี กาสี พระเจ้าธตรฐ)
ภาณวารที่ ๑ จบ
---------------------
กิตติคุณของมหาโควินทพราหมณ์
[๓๑๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านโควินทพราหมณ์ถึง
ที่อยู่ ได้ตรัสดังนี้ ว่า ‘ขอท่านโควินทพราหมณ์จงเป็นสหายที่รัก ที่ชอบใจ ที่โปรดปรานของพวกเราดังที่ท่าน
โควินทะเป็นสหายที่รัก ที่ชอบใจ ที่โปรดปรานของพระเจ้าเรณุ ขอจงให้คาปรึกษาพวกเรา อย่าปฏิเสธการ
ให้คาปรึกษาพวกเราเลย’
มหาโควินทพราหมณ์ทูลรับสนองพระราชดารัสของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์เหล่านั้นผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้ว
ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์ถวายคาปรึกษาเกี่ยวกับราชกิจแด่กษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้ว ๗ พระองค์ ที่ตนต้องถวายคาปรึกษา และบอกมนตร์แก่พราหมณมหาศาล ๗ คน และ
พราหมณ์นหาดก (พราหมณ์นหาดก ในที่นี้ หมายถึงพราหมณ์ที่สาเร็จการศึกษา และได้ผ่านพิธีอาบน้า
เสร็จแล้ว (พ้นจากอาศรมที่ ๑ คือพรหมจารีแล้วเข้าสู่อาศรมที่ ๒ คือคฤหัสถ์ ตามคติของพราหมณ์) ๗๐๐
คน
[๓๑๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้นต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่าง
นี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหม
ได้’
ครั้งนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีความดาริดังนี้ ว่า ‘เรามีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า
‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ แต่
เราไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย เราได้สดับคาของพราหมณ์ผู้
แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌาน (กรุณาฌาน
หมายถึงฌานที่ประกอบด้วยวิหารธรรม ๔ ประการ อันบุคคลเจริญโดยมีกรุณาเป็นตัวนา) ตลอด ๔ เดือน
ในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหม สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ทางที่ดี เราควรหลีกเร้น เพ่ง
กรุณาฌานอยู่สัก ๔ เดือน’
12
[๓๑๓] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ
ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโค
วินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ข้าพระองค์
ไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ข้าพระองค์ได้สดับคานี้ ของ
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานตลอด
๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้‘’ ข้าพระองค์ปรารถนา
จะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่สัก ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ยกเว้นคนที่นาอาหาร
ไปให้คนเดียวเท่านั้น’
พระเจ้าเรณุรับสั่งว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’
[๓๑๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์
ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโค
วินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ แต่ข้า
พระองค์ไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ข้าพระองค์ได้สดับคา
นี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌาน
ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ข้าพระองค์
ปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ยกเว้นคน
ที่นาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’
[๓๑๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาพราหมณมหาศาล ๗
คน และพราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คนแล้วจึงได้กล่าวดังนี้ ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีกิตติศัพท์อันงาม
ขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับ
พระพรหมได้’ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยกับพระพรหมเลย แต่ข้าพเจ้าได้
สดับคานี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่ง
กรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ถ้า
อย่างนั้น พวกท่านจงสาธยายมนตร์ตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร และจงบอก
มนตร์แก่กันและกัน ข้าพเจ้าปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึง
เข้าไปหาข้าพเจ้า ยกเว้นคนที่นาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’
พวกพราหมณมหาศาลและพวกพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่
สมควร ณ บัดนี้ เถิด’
[๓๑๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาภรรยาผู้มีฐานะเท่ากัน
๔๐ คน ถึงที่อยู่ได้กล่าวดังนี้ ว่า ‘นางผู้เจริญ ฉันมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์
สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ฉันไม่เคยเห็นพระพรหม
ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ฉันได้สดับคานี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็น
13
อาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็น
พระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ฉันปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔
เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาฉัน ยกเว้นคนที่นาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’
ภรรยาเหล่านั้นกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’
[๓๑๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านโควินทพราหมณ์จึงให้สร้างสัณฐาคารหลังใหม่ทางทิศ
ตะวันออกแห่งเมืองแล้วหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ไม่มีใครๆ เข้าไปหา นอกจาก
คนนาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น ครั้นเวลาล่วงไป ๔ เดือนแล้ว ท่านมหาโควินทพราหมณ์เกิดความระอา
ท้อแท้ว่า ‘เราได้สดับคานี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีก
เร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระ
พรหมได้ แต่เรายังไม่เห็นพระพรหม ทั้งไม่ได้สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย’
การสนทนากับพระพรหม
[๓๑๘] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานั้น สนังกุมารพรหมทราบความคิดคานึงของท่านมหาโควินท
พราหมณ์ด้วยใจ ทรงหายไปจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะหน้าท่านมหาโควินทพราหมณ์ เหมือนบุรุษมี
กาลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า
เพราะเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น ครั้นมหาโควินทพราหมณ์เกิดความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าแล้ว ได้กราบ
ทูลสนังกุมารพรหมด้วยคาถาว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใคร จึงมีวรรณะ ยศ และสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จักท่านจึงขอถามว่า ข้าพเจ้าจะ
รู้จักท่านได้อย่างไร’
สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า
‘เทพทั้งปวงรู้จักเราดีว่า เป็นกุมารตลอดกาลอยู่ในพรหมโลก ท่านจงรู้อย่างนี้ เถิด โควินทะ’
ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลด้วยคาถาว่า
‘ข้าพเจ้าถวายของมีค่าเหล่านี้ คือ อาสนะ น้าดื่ม น้ามันทาเท้า น้าตาลเคี่ยว แด่พระพรหม ขอ
ท่านผู้เจริญจงรับของมีค่าของข้าพเจ้าเถิด ‘
สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า
‘ท่านโควินทะ เรายอมรับของมีค่าของท่าน ที่ท่านพูดถึง เราให้โอกาสท่านแล้ว จงถามเรื่องใดๆ
ก็ได้ที่ท่านปรารถนาจะถาม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันและเพื่อสุขในอนาคต’
[๓๑๙] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีความคิดดังนี้ ว่า ‘สนังกุมารพรหมให้
โอกาสแล้ว เราควรถามประโยชน์ในปัจจุบันหรือประโยชน์ในอนาคตกับท่านอย่างไหนหนอ’ คิดต่อไปอีกว่า
‘เราเป็นผู้ฉลาดเรื่องประโยชน์ในปัจจุบัน แม้ชนเหล่าอื่นก็ถามประโยชน์ในปัจจุบันกับเรา ทางที่ดี เราควร
ถามถึงประโยชน์ในอนาคตกับสนังกุมารพรหม’ จึงกราบทูลสนังกุมารพรหมด้วยพระคาถาว่า
‘ข้าพเจ้ามีความสงสัยจะขอถามท่านสนังกุมารพรหม ผู้ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่ผู้อื่นสงสัยว่า
สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ศึกษาอยู่ในธรรมอะไร จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะได้’
14
สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
‘พราหมณ์ ในหมู่มนุษย์ สัตว์ผู้ละความยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นผู้อยู่ผู้เดียว ผู้น้อมใจไปในกรุณา
ผู้ไม่มีกลิ่นชั่วร้าย เว้นจากเมถุน สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่ในธรรมนี้ จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็น
อมตะได้’
[๓๒๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘คาของท่านที่ว่า ‘ละความยึดถือว่า
เป็นของเรา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ ละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และละเครือญาติน้อย
ใหญ่ โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ คาของท่านที่ว่า ‘ละความ
ยึดถือว่าเป็นของเรา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้
คาของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ อาศัยเสนาสนะอันสงัด
คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง’ คาของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้า
เข้าใจดังว่ามานี้
คาของท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกรุณาจิตแผ่ไป
ตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่’ คาของท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้
อนึ่ง เมื่อท่านผู้เจริญ พูดถึงกลิ่นชั่วร้ายอยู่ ข้าพเจ้าไม่รู้จัก(กลิ่นนั้น)’
มหาโควินทพราหมณ์ทูลถามด้วยคาถาว่า
‘ข้าแต่พรหม บรรดามนุษย์พวกไหนมีกลิ่นชั่วร้าย ข้าพเจ้าไม่รู้จักพวกนั้น ขอท่านผู้เป็นปราชญ์
จงบอกมาในที่นี้ เถิด อะไรร้อยรัด หมู่สัตว์จึงเหม็นเน่าคลุ้ง ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’
สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า
‘โกธะ (ความโกรธ) โมสวัชชะ (การพูดเท็จ) นิกติ (การโกง) โทพภะ (การประทุษร้ายมิตร)
กทริยตา (ความตระหนี่จัด) อติมานะ (ความดูหมิ่น) อุสุยา (ความริษยา) อิจฉา (ความปรารถนา)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ปรเหฐนา (การเบียดเบียนผู้อื่น) โลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความคิด
ประทุษร้าย) มทะ (ความมัวเมา) โมหะ (ความหลง) สัตว์ผู้ประกอบด้วยกิเลสเหล่านี้ จัดว่าเป็นผู้มีกลิ่นชั่ว
ร้าย ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’
มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘เมื่อท่านผู้เจริญตรัสบอกกลิ่นชั่วร้าย ข้าพเจ้าจึงรู้จัก กลิ่นชั่ว
ร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกาจัดได้ง่ายนัก ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต’ สนังกุมารพรหมตรัสว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’
ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ
[๓๒๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ
ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ผู้จะถวายคาปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระ
เจ้าข้า ข้าพระองค์ปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf
๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf

More Related Content

Similar to ๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf

2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarmaTongsamut vorasan
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarmaTongsamut vorasan
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรSarod Paichayonrittha
 
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยาเรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยาTongsamut vorasan
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงSongsarid Ruecha
 

Similar to ๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf (11)

2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
 
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยาเรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวง
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

๐๔ มหาโควินทสูตร มจร.pdf

  • 1. 1 มหาโควินทสูตร พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา พระสูตรเรื่องมหาโควินทสูตรนี้ นามาจากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค เมื่ออ่าน พระสูตรเรื่องนี้ แล้ว ได้เรียนรู้เพิ่มดังนี้ มนุษย์เราอย่าคิดว่าทาชั่วแล้วไม่มีคนเห็น หรือไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดได้ตามกฎหมาย ทาแล้ว ได้ทรัพย์สินเงินทองมากมายด้วยวิธีที่ไม่สุจริต แต่ให้ระลึกไว้เสมอว่า ฟ้ามีตาเทวดามีจริง ดังที่ท่านปัญจะ สิขะเทพบุตรได้มาเล่าให้องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าฟัง ณ เขาคิชฉกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ถึงการประชุมเหล่า เทวดาที่เทวสภา ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โดยมีพระอินทร์เป็นประธาน ได้มีการรายงานความดีความชั่วของ เหล่ามวลมนุษย์ในคืนเดือนเพ็ญ ดังนั้น พวกเราควรพึงสาเหนียกไว้ เมื่อจะกระทาความชั่วใด ๆ ควรมีสติ ยับยั้งไว้เสมอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าสมัยที่กาลังบาเพ็ญเพียรบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ที่ เสวยพระชาติเป็น มหาโควินทพราหมณ์ เป็นเวลาที่ว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา การบาเพ็ญเพียรจึงทาให้ พระโพธิสัตว์และเหล่าสาวกทั้งหลายได้สาเร็จเป็นพระพรหมหรือเทวดา ไม่สามารถบรรลุพระอรหัตผลได้ ตราบจนพระพุทธองค์ได้สาเร็จพระโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้สั่งสอนสาวกจนได้ สาเร็จมรรคผลนิพพาน ในปัจจุบันนี้ ยังคงถือว่าเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนายังคงมีความรุ่งเรืองอยู่ ตราบใดที่ยังมีพระ ธรรมคาสั่งสอนขององค์พระศาสดาอยู่ ก็ถือว่า พระธรรมและวินัยเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ที่เรา ท่านทั้งหลายควรรีบขนขวายใส่ใจศึกษา และปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนเอาไว้เทอญฯ -------------------- มหาโควินทสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค ๖. มหาโควินทสูตร ว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์ [๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร เมื่อราตรีผ่านไป (เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงปฐมยาม คือยามที่ หนึ่งผ่านไป (ในคืนหนึ่งแบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมงเรียก ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม
  • 2. 2 ตามลาดับ)) มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า พระองค์จะขอกราบทูลข้อความที่ได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพวกเทพชั้นดาวดึงส์แด่พระผู้มีพระภาค” พระผู้มี พระภาคตรัสว่า “เชิญบอกเราเถิด ปัญจสิขะ” เทวสภา [๒๙๔] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหลายวันมาแล้ว ในคืน เพ็ญวันอุโบสถ ๑๕ ค่า อันเป็นวันปวารณา พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มี เทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบ ท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ คือ ๑. ทิศตะวันออกมีท้าวธตรฐมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก มีพวกเทพอยู่ เบื้องหน้า ๒. ทิศใต้มีท้าววิรุฬหกมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า ๓. ทิศตะวันตกมีท้าววิรูปักษ์มหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีพวกเทพอยู่ เบื้องหน้า ๔. ทิศเหนือมีท้าวเวสวัณมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศใต้ มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า เมื่อครั้งที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มีพวกเทพบริษัทมากมายนั่ง อยู่โดยรอบ มีท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้ เป็นธรรมเนียมในการนั่งของท้าวจาตุมหาราช ข้าง หลังถัดออกมาเป็นที่นั่งของข้าพระองค์ทั้งหลาย เทพเหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคแล้ว เดี๋ยวนี้ เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ นัยว่า ด้วยเหตุนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’ [๒๙๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความเลื่อมใสของพวกเทพ ชั้นดาวดึงส์ จึงทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคต และความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่ง มา ณ ที่นี้ (ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มี พระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้ แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระ ธรรม’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่า เพราะเหตุนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดีเบิกบานใจ เกิดปีติ และโสมนัส สุดจะประมาณได้ กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’
  • 3. 3 พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ [๒๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความเลื่อมใสของพวกเทพ ชั้นดาวดึงส์ จึงรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านปรารถนาจะฟัง พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไหม’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กราบทูลว่า ‘พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะฟังพระคุณตามความเป็นจริงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพระเจ้าข้า’ ทีนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้น ดาวดึงส์ว่า ‘เทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ๑. ตราบเท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่ มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่เคยเห็น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในอดีตกาลเลย ถึงใน บัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๒. พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงแสดงธรรมที่ควรน้อมเข้ามาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็น อกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นสิ่งมีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งควรเสพ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’ ‘นี้ เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้ เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้ เป็นสิ่งดา สิ่งขาวและสิ่งมีส่วนเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรมที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสิ่งมีโทษ เป็นสิ่งไม่มีโทษ เป็นสิ่ง ควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดา สิ่งขาว และสิ่งมีส่วนเปรียบอย่างนี้ ในอดีต กาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๔. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวก ทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ ย่อมเหมาะสมกัน น้าจากแม่น้าคงคากับน้าจากแม่น้ายมุนา ย่อม กลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติ ไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะสมกัน ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคยเห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึง ในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้องปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็นพระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้ เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
  • 4. 4 ๖. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมีคาสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวยพระกระยา หารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยา หารอย่างปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็ ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็ ตรัสอย่างนั้น (คานี้ แปลมาจากคาบาลีว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที หมายถึงมีปกติตรัสอย่างที่ ทรงทา และทรงทาอย่างที่ตรัส) เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดาริ ด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้นความดาริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น’ [๒๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการนี้ ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ นัยว่าเพราะการประกาศนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ครั้น สดับพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและ โสมนัสสุดจะประมาณได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในจานวนเทพเหล่านั้น เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ทั้งหลาย ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๔ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มี พระภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ จงยกไว้ ก่อนเถิด ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๓ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระ ภาคเถิดหนอ(เพราะ)การเสด็จอุบัติขึ้น และการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ จงยกไว้ ก่อนเถิด ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๒ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระ ภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไป
  • 5. 5 เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ [๒๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวอย่างนี้ แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสแก่ พวกเทพชั้นดาวดึงส์ดังนี้ ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ฐานะ (ไม่ใช่ฐานะ หมายถึงเหตุการณ์ที่มีไม่ได้ หรือเป็นไปไม่ได้) ไม่ใช่โอกาส ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุ เดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง (พร้อมกัน) ฐานะอย่างนี้ มีไม่ได้เลย ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอให้พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ทรงมีโรคาพาธน้อย ดารงอยู่ยิ่งยืนนานเถิดหนอ (เพราะ) การที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดารงอยู่ยิ่งยืนนานจะเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล แม้ท้าวจาตุมหาราชได้รับคาบอกเล่าเรื่องที่เป็นเหตุให้พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์ต้องมานั่งประชุมคิดพิจารณากันในสุธัมมาเทวสภาแล้ว ก็ยังดาเนินการในเรื่องนั้นอยู่ ทั้งได้รับ คาแนะนาที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตามพร่าสอนเฉพาะแล้ว ก็ทรงดาเนินการในเรื่องนั้นอยู่ และต่างยังคง ประทับยืนอยู่ ณ ที่ประทับของตนๆ ไม่ยอมจากไป ท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้นได้รับคาบอกแล้ว ทั้งได้รับคาแนะนาแล้ว จึงมีพระทัยผ่องใส ประทับ ยืนสงบอยู่ ณ ที่ประทับของตนๆ [๒๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ได้เกิดแสงสว่างเจิดจ้าขึ้นทางทิศเหนือปรากฏโอภาส เกินเทวานุภาพของเทพทั้งหลาย ทีนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้ นิรทุกข์ทั้งหลาย มีนิมิตที่สังเกตได้ (คือ) แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้น พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะการที่แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้นนี้ จัดเป็นบุพนิมิตแห่งการปรากฏของพระพรหม’ เมื่อมีนิมิตที่สังเกตได้ พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะโอภาสอันเจิดจ้ายิ่ง เป็นนิมิตแห่ง พระพรหม เรื่องสนังกุมารพรหม [๓๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาดับนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งอยู่บนอาสนะของตนๆ กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ แม้ท้าวจาตุมหาราชประทับนั่งอยู่บนที่ประทับของ ตนๆ ก็กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์สดับเรื่องนี้ แล้วเข้าฌานสงบอยู่ด้วยคิดว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ทรงเนรมิต อัตภาพให้หยาบปรากฏขึ้น เพราะรูปร่างปกติของพรหมไม่อาจปรากฏในคลองจักษุของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ได้ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ร่างกายที่เป็นทองคา ย่อมงดงามเกินร่างกายมนุษย์ ฉันใด เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้น ดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสนังกุมารพรหม ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในเทพบริษัทนั้นเทพบางองค์ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ ไม่เชิญด้วยอาสนะ ทั้งหมด
  • 6. 6 พากันนั่งขัดสมาธิประนมมือนิ่งอยู่ด้วยคิดว่า ‘บัดนี้ สนังกุมารพรหมจะประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพที่ พระองค์ปรารถนา’ สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความ โสมนัสอย่างยิ่ง ผู้กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วเพิ่งจะได้ครองราชย์ ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันใด สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ได้ความ ยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน จากนั้น เมื่อสนังกุมารพรหมทรงทราบความ เลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็ทรงหายตัวแล้วอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคต และความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่ง มา ณ ที่นี้ (ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มี พระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้ แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระ ธรรม’ เสียงของสนังกุมารพรหม [๓๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้ อความนี้ ขณะที่สนังกุมารพรหมตรัส เนื้ อความนี้ มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ (๑) แจ่มใส (๒) ชัดเจน (๓) นุ่มนวล (๔) ชวนฟัง (๕) กลมกล่อม (๖) ไม่พร่า (๗) ลึกซึ้ง (๘) กังวาน สนังกุมารพรหมเปล่งเสียงให้รู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น เสียงของสนังกุมารพรหมนั้นไม่ได้ดังออกไปภายนอกบริษัท ผู้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ เรียกว่า ‘มีเสียงเหมือนเสียงพรหม’’ ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ทูลสนังกุมารพรหมดังนี้ ว่า ‘ขอโอกาสเถิดท่านท้าวมหาพรหม พวกเราทราบเนื้ อความนี้ แล้วจึงเบิกบานใจ อนึ่ง ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคไว้ พวกเราทราบแล้วก็เบิกบานใจ’ พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ [๓๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมได้ตรัสกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ ว่า ‘ขอ โอกาสเถิด ท่านจอมเทพ เราก็ควรได้ฟังพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้นบ้าง’ ท้าวสักกะจอมเทพทูลรับสนองพระดารัสแล้ว ทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ แก่สนังกุมารพรหมว่า ‘ท้าวมหาพรหมผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร’’ ๑. ตราบเท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่ มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่เคยเห็น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
  • 7. 7 อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในอดีตกาลเลย ถึงใน บัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๒. พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงแสดงธรรมที่ควรน้อมเข้ามาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็น อกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้ เป็นสิ่งมีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ‘นี้ เป็นสิ่งควรเสพ’ ‘นี้ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’ ‘นี้ เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้ เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้ เป็นสิ่งดา เป็นสิ่งขาว และเป็นสิ่งไม่มีสิ่งเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรมเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่มีโทษ เป็นสิ่งไม่มี โทษ เป็นสิ่งควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดา เป็นสิ่งขาว และเป็นสิ่งไม่มีสิ่ง เปรียบอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๔. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวก ทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ ย่อมเหมาะสมกัน เปรียบเหมือนน้าจากแม่น้าคงคากับน้าจากแม่น้ายมุ นาย่อมกลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง บัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะสมกัน ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคย เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานอย่างนี้ ในอดีตกาล เลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้องปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็นพระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้ เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๖. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมีคาสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวยพระกระยา หารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยา หารอย่างปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็ ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทาอย่างนั้น ทรงมีปกติทาอย่างไรก็ ตรัสอย่างนั้น เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดาริ ด้วยอาทิพรหมจรรย์ อันเป็นไปตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้
  • 8. 8 ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้นความดาริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น’ [๓๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการนี้ ของพระผู้มีพระภาคแก่สนังกุมารพรหมแล้ว นัยว่า เพราะการประกาศนั้น สนังกุมารพรหมครั้น ทรงสดับพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีพระทัยยินดี เบิกบาน เกิดปีติ และโสมนัส จากนั้น สนังกุมารพรหมทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบเป็นกุมารรูปเช่นกับปัญจสิขะ คันธรรพ บุตร ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ แล้วเหาะขึ้นบนอากาศ ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศ บนที่ว่างกลาง อากาศเหมือนบุรุษมีกาลังนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้ดีแล้ว หรือบนพื้นที่ราบเรียบเสมอกันฉะนั้น แล้ว รับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า เรื่องโควินทพราหมณ์ [๓๐๔] ‘เทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง เป็นผู้มีปัญญามากมานานเพียงไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าทิสัมบดี พราหมณ์ชื่อ ว่าโควินทะ (โควินทะ ไม่ใช่ชื่อตัว เป็นชื่อตาแหน่ง หรือฐานันดรศักดิ์ของผู้ดารงตาแหน่งปุโรหิต เช่นเดียวกับชาณุสโสณิ) เป็นปุโรหิตของพระเจ้าทิสัมบดี พระราชกุมารพระนามว่าเรณุเป็นราชบุตรของพระ เจ้าทิสัมบดี มาณพชื่อว่าโชติปาละเป็นบุตรของโควินทพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านี้ คือ พระราช บุตรเรณุ โชติปาลมาณพ และกษัตริย์อีก ๖ พระองค์รวมเป็น ๘ คน ได้เป็นสหายกัน ครั้นเมื่อวันคืนผ่านไป โควินทพราหมณ์ได้ดับชีพ ครั้นโควินทพราหมณ์ดับชีพแล้ว พระเจ้าทิสัมบดีทรงเพ้อราพันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย โควินทพราหมณ์ได้ดับชีพเสียในเวลาที่เรามอบราชกิจทั้งปวงไว้แล้ว (เรา) เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบาเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีตรัสอย่างนั้น พระราชบุตรเรณุกราบทูลพระเจ้าทิสัมบดี ดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อโควินทพราหมณ์ได้ดับชีพ ขอพระองค์อย่าทรงเพ้อราพันให้ มากไปเลย ยังมีโชติปาลมาณพ บุตรของโควินทพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดกว่าบิดา และสามารถเล็งเห็นอรรถ คดีได้ดีกว่าบิดาของเขาเสียอีกยัง เขาสามารถถวายคาปรึกษาอรรถคดีอย่างที่บิดาของเขาได้ถวาย คาปรึกษา’ พระเจ้าทิสัมบดีตรัสถามว่า ‘อย่างนั้นหรือ ลูก’ พระราชบุตรเรณุทูลตอบว่า ‘อย่างนั้น พระเจ้าข้า’ เรื่องมหาโควินทะ [๓๐๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ลาดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘มา นี่พ่อหนุ่ม เธอจงเข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ บอกกับโชติปาลมาณพอย่างนี้ ว่า ‘ขอให้โชติปาลมาณพมี ความสุข ความเจริญ พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีมีพระราชประสงค์จะพบท่าน’
  • 9. 9 ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดารัสแล้ว เข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ บอกเขาดังนี้ ว่า ‘ขอให้ท่านโชติปาลมาณพมีความสุข ความเจริญ พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีมีพระ ราชประสงค์จะพบท่าน’ โชติปาลมาณพรับคาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดีถึงที่ประทับ ได้กราบทูลสนทนาปราศรัยพอ เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ให้ทรงระลึกถึงกัน แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าทิสัมบดีได้ตรัสกับโชติปาล มาณพดังนี้ ว่า ‘ท่านโชติปาลมาณพ จงให้คาปรึกษาเราเถิด อย่าปฏิเสธการให้คาปรึกษาเราเลย เราจะ แต่งตั้งท่านให้ดารงตาแหน่งแทนบิดา จะทาพิธีอภิเษกไว้ในตาแหน่งโควินทพราหมณ’ โชติปาลมาณพทูล รับสนองพระราชดารัสแล้ว ลาดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกโชติปาลมาณพไว้ในตาแหน่งโควินทะ ทรงแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งแทนบิดา โชติปาลมาณพผู้ได้รับอภิเษกแต่งตั้งในตาแหน่งแทนบิดา ได้ถวายคาปรึกษาอรรถคดีที่บิดาเคย ถวายคาปรึกษา ถวายคาปรึกษาอรรถคดีที่บิดาไม่เคยถวายคาปรึกษา จัดแจงการงานที่บิดาเคยจัดแจง จัดแจงการงานที่บิดาไม่เคยจัดแจง ชาวบ้านจึงเรียกโชติปาลมาณพว่า ‘ท่านโควินทพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านโค วินทพราหมณ์ผู้เจริญ’ เพราะเหตุนี้ แหละ โชติปาลมาณพจึงเกิดมีสมญาว่า ‘โควินทะ มหาโควินทะ’ การแบ่งราชสมบัติ [๓๐๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ ประทับแล้ว กราบทูลกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะฝ่าพระบาท พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่ เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลาดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอามาตย์ผู้สาเร็จราชการจะพึงอภิเษกพระ ราชบุตรเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไปได้แน่นอน ขอท่านผู้เจริญ เสด็จมาเถิด จงพากันไปเข้าเฝ้าพระราชบุตรเรณุถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลอย่างนี้ ว่า ‘พวกหม่อมฉันเป็น พระสหายที่รัก ที่ถูกพระทัย ที่โปรดปรานของท่านเรณุ เมื่อท่านเรณุเป็นสุข พวกหม่อมฉันก็เป็นสุขด้วย เมื่อ ท่านเรณุเป็นทุกข์ พวกหม่อมฉันก็เป็นทุกข์ด้วย พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดย ลาดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอามาตย์ผู้สาเร็จราชการจะพึงอภิเษกท่านเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไปได้แน่นอน ถ้าท่านเรณุได้ครองราชย์ ขอจงทรงแบ่งราชสมบัติให้ พวกหม่อมฉันบ้าง’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นทรงรับคาของมหาโควินทพราหมณ์แล้วเข้าไปเฝ้าราชบุตรเรณุ ถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘พวกหม่อมฉันเป็นสหายที่รัก ที่ถูกพระทัย ที่โปรดปรานของท่านเรณุ เมื่อ ท่านเรณุเป็นสุข พวกหม่อมฉันก็เป็นสุขด้วย เมื่อท่านเรณุเป็นทุกข์ พวกหม่อมฉันก็เป็นทุกข์ด้วย พระ เจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลาดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอามาตย์ผู้สาเร็จ ราชการจะพึงอภิเษกท่านเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไปได้แน่นอน ถ้าท่านเรณุได้ครองราชย์ ขอจงทรงแบ่งราชสมบัติให้พวกหม่อมฉันบ้าง’ พระราชบุตรเรณุตรัสตอบว่า ‘ท่าน ผู้เจริญทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของเรา ใครอื่นเล่าจะพึงมีความสุขนอกจากท่านทั้งหลาย ถ้าหม่อมฉันได้ ครองราชย์ก็จะแบ่งราชสมบัติให้ท่านทั้งหลาย’
  • 10. 10 [๓๐๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมาครั้นวันคืนผ่านไป พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคต เมื่อท้าวเธอ สวรรคต อามาตย์ผู้สาเร็จราชการได้อภิเษกราชบุตรเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ราชบุตรเรณุได้รับอภิเษก เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบาเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะ พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว พระราชบุตรเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเอิบอิ่ม พรั่ง พร้อม ได้รับการบาเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ก็ใครเล่าจะรู้ว่ากามารมณ์เป็นเหตุให้หลงมัวเมา ขอพระองค์เสด็จ มาเถิด ขอจงไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับแล้วกราบทูลอย่างนี้ ว่า ‘พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว ท่าน เรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดารัสนั้นได้อยู่หรือพระเจ้าข้า’ [๓๐๘] กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นทรงรับคาของท่านมหาโควินทพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้า เรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว ท่านเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดารัสนั้นได้อยู่หรือพระเจ้าข้า’ พระเจ้าเรณุตรัสตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ เรายังระลึกถึงคานั้นได้อยู่ ใครหนอจะสามารถแบ่งมหา ปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ กราบทูลว่า ‘จะมีใครอื่นอีกเล่าที่สามารถแบ่งได้ นอกจากมหาโควินท พราหมณ์ พระเจ้าข้า’ ลาดับนั้น พระเจ้าเรณุรับสั่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิด ท่านผู้เจริญ จงเข้าไปหามหา โควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘พระเจ้าเรณุรับสั่งเรียกหาท่าน’ ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดารัสแล้วเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่ บอกว่า ‘พระเจ้า เรณุรับสั่งหาท่าน ขอรับ’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์รับคาแล้ว ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้ทูลสนทนาปราศรัยพอ เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ให้ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าเรณุตรัสกับท่านมหาโควินท พราหมณ์ดังนี้ ว่า ‘มาเถิด ท่านโควินทะ จงแบ่งมหาปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้า เหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลรับสนองพระราชดารัสแล้ว แบ่งมหาปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผาย ออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน สถาปนารัฐ (อาณาจักร)ทั้งหมดให้มีลักษณะเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ทราบว่าในเนื้ อที่เหล่านั้น ชนบท(มหา อาณาจักร)ของพระเจ้าเรณุอยู่ตรงกลางรัฐทั้งหมดนั้น (คือ) [๓๐๙] ท่าน(มหา)โควินทะให้สร้างเมืองหลวงเหล่านี้ ไว้ (คือ) ให้สร้างกรุงทันตปุระ เป็นเมืองหลวงของรัฐกาลิงคะ ให้สร้างกรุงโปตนะ เป็นเมือง หลวงของรัฐอัสสกะ ให้สร้างกรุงมาหิสสติ เป็นเมืองหลวงของรัฐอวันตี ให้สร้างกรุงโรรุกะ เป็นเมืองหลวง ของรัฐโสวีรานะ ให้สร้างกรุงมิถิลา เป็นเมืองหลวงของรัฐวิเทหะ ให้สร้างกรุงจัมปา เป็นเมืองหลวงของรัฐอัง คะ ให้สร้างกรุงพาราณสี เป็นเมืองหลวงของรัฐกาสี
  • 11. 11 [๓๑๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้งนั้น กษัตริย์ ๖ พระองค์ มีพระทัยยินดีด้วยลาภส่วนของพระองค์ มีพระดาริสาเร็จบริบูรณ์ว่า ‘สิ่งใดที่เราอยากได้ สิ่งใดที่เราหวัง สิ่งใดที่เราประสงค์ สิ่งใดที่เราปรารถนา อย่างยิ่ง สิ่งนั้นเราได้แล้ว’ พระเจ้าสัตตภู พระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าเวสสภู พระเจ้าภรตะ พระเจ้าเรณุ พระเจ้า ธตรฐ ๒ พระองค์ รวมพระมหากษัตริย์ผู้ครองราชย์ในเวลานั้นมี ๗ พระองค์ (ถ้าถือตามลาดับที่ระบุไว้จะได้ ความดังนี้ ที่ ชื่อเมืองหลวง รัฐ ผู้ครองรัฐ ๑. กรุงทันตปุระ กาลิงคะ พระเจ้าสัตตภู ๒. กรุงโปตนะ อัสสกะ พระเจ้าพรหมทัต ๓. กรุงมาหิสสติ อวันตี พระเจ้าเวสสภู ๔. กรุงโรรุกะ โสวีรานะ พระเจ้าภรตะ ๕. กรุงมิถิ ลา วิเทหะ พระเจ้าเรณุ ๖. กรุงจัมปา อังคะ พระเจ้าธตรฐ ๗. กรุงพาราณสี กาสี พระเจ้าธตรฐ) ภาณวารที่ ๑ จบ --------------------- กิตติคุณของมหาโควินทพราหมณ์ [๓๑๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านโควินทพราหมณ์ถึง ที่อยู่ ได้ตรัสดังนี้ ว่า ‘ขอท่านโควินทพราหมณ์จงเป็นสหายที่รัก ที่ชอบใจ ที่โปรดปรานของพวกเราดังที่ท่าน โควินทะเป็นสหายที่รัก ที่ชอบใจ ที่โปรดปรานของพระเจ้าเรณุ ขอจงให้คาปรึกษาพวกเรา อย่าปฏิเสธการ ให้คาปรึกษาพวกเราเลย’ มหาโควินทพราหมณ์ทูลรับสนองพระราชดารัสของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์เหล่านั้นผู้ได้รับ มูรธาภิเษกแล้ว ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์ถวายคาปรึกษาเกี่ยวกับราชกิจแด่กษัตราธิราชผู้ได้รับ มูรธาภิเษกแล้ว ๗ พระองค์ ที่ตนต้องถวายคาปรึกษา และบอกมนตร์แก่พราหมณมหาศาล ๗ คน และ พราหมณ์นหาดก (พราหมณ์นหาดก ในที่นี้ หมายถึงพราหมณ์ที่สาเร็จการศึกษา และได้ผ่านพิธีอาบน้า เสร็จแล้ว (พ้นจากอาศรมที่ ๑ คือพรหมจารีแล้วเข้าสู่อาศรมที่ ๒ คือคฤหัสถ์ ตามคติของพราหมณ์) ๗๐๐ คน [๓๑๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้นต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่าง นี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหม ได้’ ครั้งนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีความดาริดังนี้ ว่า ‘เรามีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ แต่ เราไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย เราได้สดับคาของพราหมณ์ผู้ แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌาน (กรุณาฌาน หมายถึงฌานที่ประกอบด้วยวิหารธรรม ๔ ประการ อันบุคคลเจริญโดยมีกรุณาเป็นตัวนา) ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหม สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ทางที่ดี เราควรหลีกเร้น เพ่ง กรุณาฌานอยู่สัก ๔ เดือน’
  • 12. 12 [๓๑๓] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโค วินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ข้าพระองค์ ไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ข้าพระองค์ได้สดับคานี้ ของ พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้‘’ ข้าพระองค์ปรารถนา จะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่สัก ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ยกเว้นคนที่นาอาหาร ไปให้คนเดียวเท่านั้น’ พระเจ้าเรณุรับสั่งว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’ [๓๑๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโค วินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ แต่ข้า พระองค์ไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ข้าพระองค์ได้สดับคา นี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌาน ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ข้าพระองค์ ปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ยกเว้นคน ที่นาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’ [๓๑๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาพราหมณมหาศาล ๗ คน และพราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คนแล้วจึงได้กล่าวดังนี้ ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีกิตติศัพท์อันงาม ขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับ พระพรหมได้’ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยกับพระพรหมเลย แต่ข้าพเจ้าได้ สดับคานี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่ง กรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ถ้า อย่างนั้น พวกท่านจงสาธยายมนตร์ตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร และจงบอก มนตร์แก่กันและกัน ข้าพเจ้าปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึง เข้าไปหาข้าพเจ้า ยกเว้นคนที่นาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’ พวกพราหมณมหาศาลและพวกพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่ สมควร ณ บัดนี้ เถิด’ [๓๑๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาภรรยาผู้มีฐานะเท่ากัน ๔๐ คน ถึงที่อยู่ได้กล่าวดังนี้ ว่า ‘นางผู้เจริญ ฉันมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ฉันไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ฉันได้สดับคานี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็น
  • 13. 13 อาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็น พระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ฉันปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาฉัน ยกเว้นคนที่นาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’ ภรรยาเหล่านั้นกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’ [๓๑๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านโควินทพราหมณ์จึงให้สร้างสัณฐาคารหลังใหม่ทางทิศ ตะวันออกแห่งเมืองแล้วหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ไม่มีใครๆ เข้าไปหา นอกจาก คนนาอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น ครั้นเวลาล่วงไป ๔ เดือนแล้ว ท่านมหาโควินทพราหมณ์เกิดความระอา ท้อแท้ว่า ‘เราได้สดับคานี้ ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีก เร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระ พรหมได้ แต่เรายังไม่เห็นพระพรหม ทั้งไม่ได้สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย’ การสนทนากับพระพรหม [๓๑๘] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานั้น สนังกุมารพรหมทราบความคิดคานึงของท่านมหาโควินท พราหมณ์ด้วยใจ ทรงหายไปจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะหน้าท่านมหาโควินทพราหมณ์ เหมือนบุรุษมี กาลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า เพราะเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น ครั้นมหาโควินทพราหมณ์เกิดความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าแล้ว ได้กราบ ทูลสนังกุมารพรหมด้วยคาถาว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใคร จึงมีวรรณะ ยศ และสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จักท่านจึงขอถามว่า ข้าพเจ้าจะ รู้จักท่านได้อย่างไร’ สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า ‘เทพทั้งปวงรู้จักเราดีว่า เป็นกุมารตลอดกาลอยู่ในพรหมโลก ท่านจงรู้อย่างนี้ เถิด โควินทะ’ ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลด้วยคาถาว่า ‘ข้าพเจ้าถวายของมีค่าเหล่านี้ คือ อาสนะ น้าดื่ม น้ามันทาเท้า น้าตาลเคี่ยว แด่พระพรหม ขอ ท่านผู้เจริญจงรับของมีค่าของข้าพเจ้าเถิด ‘ สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า ‘ท่านโควินทะ เรายอมรับของมีค่าของท่าน ที่ท่านพูดถึง เราให้โอกาสท่านแล้ว จงถามเรื่องใดๆ ก็ได้ที่ท่านปรารถนาจะถาม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันและเพื่อสุขในอนาคต’ [๓๑๙] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีความคิดดังนี้ ว่า ‘สนังกุมารพรหมให้ โอกาสแล้ว เราควรถามประโยชน์ในปัจจุบันหรือประโยชน์ในอนาคตกับท่านอย่างไหนหนอ’ คิดต่อไปอีกว่า ‘เราเป็นผู้ฉลาดเรื่องประโยชน์ในปัจจุบัน แม้ชนเหล่าอื่นก็ถามประโยชน์ในปัจจุบันกับเรา ทางที่ดี เราควร ถามถึงประโยชน์ในอนาคตกับสนังกุมารพรหม’ จึงกราบทูลสนังกุมารพรหมด้วยพระคาถาว่า ‘ข้าพเจ้ามีความสงสัยจะขอถามท่านสนังกุมารพรหม ผู้ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่ผู้อื่นสงสัยว่า สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ศึกษาอยู่ในธรรมอะไร จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะได้’
  • 14. 14 สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ‘พราหมณ์ ในหมู่มนุษย์ สัตว์ผู้ละความยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นผู้อยู่ผู้เดียว ผู้น้อมใจไปในกรุณา ผู้ไม่มีกลิ่นชั่วร้าย เว้นจากเมถุน สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่ในธรรมนี้ จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็น อมตะได้’ [๓๒๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘คาของท่านที่ว่า ‘ละความยึดถือว่า เป็นของเรา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ ละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และละเครือญาติน้อย ใหญ่ โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ คาของท่านที่ว่า ‘ละความ ยึดถือว่าเป็นของเรา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้ คาของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง’ คาของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้า เข้าใจดังว่ามานี้ คาของท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกรุณาจิตแผ่ไป ตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก หมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่’ คาของท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้ อนึ่ง เมื่อท่านผู้เจริญ พูดถึงกลิ่นชั่วร้ายอยู่ ข้าพเจ้าไม่รู้จัก(กลิ่นนั้น)’ มหาโควินทพราหมณ์ทูลถามด้วยคาถาว่า ‘ข้าแต่พรหม บรรดามนุษย์พวกไหนมีกลิ่นชั่วร้าย ข้าพเจ้าไม่รู้จักพวกนั้น ขอท่านผู้เป็นปราชญ์ จงบอกมาในที่นี้ เถิด อะไรร้อยรัด หมู่สัตว์จึงเหม็นเน่าคลุ้ง ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’ สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า ‘โกธะ (ความโกรธ) โมสวัชชะ (การพูดเท็จ) นิกติ (การโกง) โทพภะ (การประทุษร้ายมิตร) กทริยตา (ความตระหนี่จัด) อติมานะ (ความดูหมิ่น) อุสุยา (ความริษยา) อิจฉา (ความปรารถนา) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ปรเหฐนา (การเบียดเบียนผู้อื่น) โลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความคิด ประทุษร้าย) มทะ (ความมัวเมา) โมหะ (ความหลง) สัตว์ผู้ประกอบด้วยกิเลสเหล่านี้ จัดว่าเป็นผู้มีกลิ่นชั่ว ร้าย ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’ มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘เมื่อท่านผู้เจริญตรัสบอกกลิ่นชั่วร้าย ข้าพเจ้าจึงรู้จัก กลิ่นชั่ว ร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกาจัดได้ง่ายนัก ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต’ สนังกุมารพรหมตรัสว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกาหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้ เถิด’ ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ [๓๒๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ผู้จะถวายคาปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระ เจ้าข้า ข้าพระองค์ปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่