SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
อติญา ศุกลวิริยะกุล ม.๖/๖ เลขที่ ๒๒
ใบงานที่ ๑
ท๓๓๑๐๑
ให้นักเรียนค้นคว้าความหมายของการแต่งฉันท์ ๓ ประเภท
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
วสันตดิลาฉันท์ ๑๔
!!!!
ฉันท์
!
ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ
และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และ
สันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า
"คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น
เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย
!
ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ
ฉันท์ใดกำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ
ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ
ฉันท์ใดกำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น 1
มาตรา คำครุ นับเป็น 2 มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า
มาตราพฤติ
!
!
!
!
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
หมายถึง เพชรของพระอินทร์ ซึ่งมีแสงสวยงามระยิบระยับ เป็นฉันท์ที่ไพเราะรองจากวสันตดิลกฉันท์
สำหรับแต่งเรื่องโน้มน้าวจิตใจให้หวั่นไหว บังเกิดความเอ็นดู สงสาร เศร้าสลด หรือบรรยายความ
คณะและพยางค์
บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๕ คำ วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ วรรคที่ ๓ มี ๕ คำ วรรคที่ ๔ มี ๖ คำ หนึ่ง
บทมี ๒๒ คำ
สัมผัส
มีสัมผัสในบท ๒ แห่ง คือ
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสระหว่างบท คือคำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
คำครุลหุ
บทหนึ่งมีคำครุ ๑๔ คำ คำลหุ ๘ คำ
วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๓ มีคำครุ ๔ คำ คำลหุ ๑ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ ๕ เป็นคำครุ คำที่ ๓ เป็นคำลหุ
วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ มีคำครุ ๓ คำ คำลหุ ๓ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ เป็นคำลหุ คำที่ ๓ ๕
๖ เป็นคำครุ
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาว
ก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่
ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์
ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่าง
ราชาพระมิ่งขวัญ สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์ กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย ชุติโชติเชวงเวียง
! !!!!!!!!
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
!
“วิชชุมมาลาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “วิชชุมมาลาคาถา”
ท่านเป็นอนุฏฐุภาฉันท์ ฯ “วิชชุมมาลา” แปลว่า “คาถาที่เป็นครุล้วนเหมือนสายฟ้าแลบ” เป็นฉันท์ที่มี ๔ บาท ๆ
ละ ๘ คำ รวมเป็น ๓๒ คำ มีสูตรว่า “โม โม โค โค วิชฺชุมฺมาลา” แปลว่า “คาถาที่มี ม คณะ ม คณะ ครุลอย ๒
คำ ชื่อว่า “วิชฺชุมฺมาลา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท แล้วปรับปรุง
ให้เป็น ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๘” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของ
วรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓,
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒
ของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๖ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๘ ส่ง
สัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป
!!
ตัวอย่าง
กลีบรานก้านร่วง เซ่นสรวงบัดสี
เสียงปืนครืนคลี ปลิดดอกปลดดวง
กล้วยไม้ไกลมั่น ปลูกปันเปลี่ยนหวง
ตันหยงปรงพลวง หวังร่มห่มใบ
แต่ดินผ่าวเดือด กรังเลือดเกลื่อนร่าง
ช่อกล่นบนทาง กลบถมเด็กไทย
สิ้นแล้วสายรุ้ง หมดมุ่งวันใหม่
ฉีกวิ่นสิ้นใจ รากมอดยอดโรย ฯ
!
!
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
มีความหมายเรียกกันว่า ฉันท์สายฝน เป็นฉันท์ที่มีลีลางดงามที่สุดประดุจความงามของน้ำฝนในวสันตฤดู มี
ความไพเราะเหมาะสำหรับแต่งเรื่องพรรณนา ชมเชย ให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะซาบซึ้งกินใจ
คณะและพยางค์
บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๘ คำ
วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ วรรคที่ ๓ มี ๘ คำ วรรคที่ ๔ มี ๖ คำ ๑ บทมี ๒๘ คำ
สัมผัส
มีสัมผัสในบท ๒ แห่ง คือ
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
คำครุ ลหุ
บทหนึ่งมีคำครุทั้งหมด ๑๔ คำ คำลหุ ๑๔ คำ
วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๓ มีคำครุ ๔ คำ คำลหุ ๔ คำ คื่อ คำที่ ๑ ๒ ๔ ๘
เป็นคำครุ คำที่ ๓ ๕ ๖ ๗ เป็นคำลหุ
วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ เป็นครุ ๓ คำ คำลหุ ๓ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ เป็นคำครุ คำที่ ๓ ๕ ๖ เป็นคำลหุ
!! ! !!!!!!!!!!!!!!!
!!!!!
แผนผัง
! !!!!!!!!!!!!!!
ตัวอย่าง
อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์
อัพภันตรไพจิตรและพา- หิรภาคก็พึงชม
เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา น มหาพิมานรมย์
มารังสฤษฎ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน

More Related Content

Similar to test upload

ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์krudow14
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรองMong Chawdon
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรองPairor Singwong
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรองNimnoi Kamkiew
 
การแต่งคำประพันธ์
การแต่งคำประพันธ์การแต่งคำประพันธ์
การแต่งคำประพันธ์Ku'kab Ratthakiat
 
ธัมมปทัฏฐกถา
ธัมมปทัฏฐกถาธัมมปทัฏฐกถา
ธัมมปทัฏฐกถาPphat Thadhol
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยพัน พัน
 

Similar to test upload (20)

ใบความรู้ ฉันท์
ใบความรู้ ฉันท์ใบความรู้ ฉันท์
ใบความรู้ ฉันท์
 
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์
 
Satthatharachan
SatthatharachanSatthatharachan
Satthatharachan
 
Kamalachan
KamalachanKamalachan
Kamalachan
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
การแต่งคำประพันธ์
การแต่งคำประพันธ์การแต่งคำประพันธ์
การแต่งคำประพันธ์
 
ธัมมปทัฏฐกถา
ธัมมปทัฏฐกถาธัมมปทัฏฐกถา
ธัมมปทัฏฐกถา
 
ฉันทลักษณะ
ฉันทลักษณะฉันทลักษณะ
ฉันทลักษณะ
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 

test upload

  • 1. อติญา ศุกลวิริยะกุล ม.๖/๖ เลขที่ ๒๒ ใบงานที่ ๑ ท๓๓๑๐๑ ให้นักเรียนค้นคว้าความหมายของการแต่งฉันท์ ๓ ประเภท อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ วสันตดิลาฉันท์ ๑๔ !!!! ฉันท์ ! ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และ สันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ! ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ ฉันท์ใดกำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ ฉันท์ใดกำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น 1 มาตรา คำครุ นับเป็น 2 มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ ! ! ! ! อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ หมายถึง เพชรของพระอินทร์ ซึ่งมีแสงสวยงามระยิบระยับ เป็นฉันท์ที่ไพเราะรองจากวสันตดิลกฉันท์ สำหรับแต่งเรื่องโน้มน้าวจิตใจให้หวั่นไหว บังเกิดความเอ็นดู สงสาร เศร้าสลด หรือบรรยายความ คณะและพยางค์ บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๕ คำ วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ วรรคที่ ๓ มี ๕ คำ วรรคที่ ๔ มี ๖ คำ หนึ่ง บทมี ๒๒ คำ สัมผัส มีสัมผัสในบท ๒ แห่ง คือ ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสระหว่างบท คือคำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป คำครุลหุ บทหนึ่งมีคำครุ ๑๔ คำ คำลหุ ๘ คำ วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๓ มีคำครุ ๔ คำ คำลหุ ๑ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ ๕ เป็นคำครุ คำที่ ๓ เป็นคำลหุ วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ มีคำครุ ๓ คำ คำลหุ ๓ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ เป็นคำลหุ คำที่ ๓ ๕
  • 2. ๖ เป็นคำครุ คำครุ หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาว ก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด คำลหุ หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน ตัวอย่าง ราชาพระมิ่งขวัญ สุนิรันดร์ประเสริฐศรี ไพร่ฟ้าประดามี มนชื่นสราญใจ ทรงเป็นบิดรราษฎร์ กิติชาติขจรไกล กอปรบารมีชัย ชุติโชติเชวงเวียง ! !!!!!!!! วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ! “วิชชุมมาลาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “วิชชุมมาลาคาถา” ท่านเป็นอนุฏฐุภาฉันท์ ฯ “วิชชุมมาลา” แปลว่า “คาถาที่เป็นครุล้วนเหมือนสายฟ้าแลบ” เป็นฉันท์ที่มี ๔ บาท ๆ ละ ๘ คำ รวมเป็น ๓๒ คำ มีสูตรว่า “โม โม โค โค วิชฺชุมฺมาลา” แปลว่า “คาถาที่มี ม คณะ ม คณะ ครุลอย ๒ คำ ชื่อว่า “วิชฺชุมฺมาลา” ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท แล้วปรับปรุง ให้เป็น ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๘” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของ วรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๖ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๘ ส่ง สัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป !!
  • 3. ตัวอย่าง กลีบรานก้านร่วง เซ่นสรวงบัดสี เสียงปืนครืนคลี ปลิดดอกปลดดวง กล้วยไม้ไกลมั่น ปลูกปันเปลี่ยนหวง ตันหยงปรงพลวง หวังร่มห่มใบ แต่ดินผ่าวเดือด กรังเลือดเกลื่อนร่าง ช่อกล่นบนทาง กลบถมเด็กไทย สิ้นแล้วสายรุ้ง หมดมุ่งวันใหม่ ฉีกวิ่นสิ้นใจ รากมอดยอดโรย ฯ ! ! วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มีความหมายเรียกกันว่า ฉันท์สายฝน เป็นฉันท์ที่มีลีลางดงามที่สุดประดุจความงามของน้ำฝนในวสันตฤดู มี ความไพเราะเหมาะสำหรับแต่งเรื่องพรรณนา ชมเชย ให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะซาบซึ้งกินใจ คณะและพยางค์ บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๘ คำ วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ วรรคที่ ๓ มี ๘ คำ วรรคที่ ๔ มี ๖ คำ ๑ บทมี ๒๘ คำ สัมผัส มีสัมผัสในบท ๒ แห่ง คือ ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป คำครุ ลหุ บทหนึ่งมีคำครุทั้งหมด ๑๔ คำ คำลหุ ๑๔ คำ วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๓ มีคำครุ ๔ คำ คำลหุ ๔ คำ คื่อ คำที่ ๑ ๒ ๔ ๘ เป็นคำครุ คำที่ ๓ ๕ ๖ ๗ เป็นคำลหุ วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ เป็นครุ ๓ คำ คำลหุ ๓ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ เป็นคำครุ คำที่ ๓ ๕ ๖ เป็นคำลหุ !! ! !!!!!!!!!!!!!!!
  • 4. !!!!! แผนผัง ! !!!!!!!!!!!!!! ตัวอย่าง อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา- หิรภาคก็พึงชม เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา น มหาพิมานรมย์ มารังสฤษฎ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน