SlideShare a Scribd company logo
1 of 49
Download to read offline
1 
ข้อเสนอนโยบาย 
การดาเนินงานส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและปกป้องคุ้มครองเด็กโดยชุมชน 
รูปแบบการจัดตั้ง คณะทางานเด็กในชุมชน (คทด.) 
(Child Action Group: CAG) 
โครงการ 
พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการสนับสนุนและพัฒนาระบบดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน 
โครงการ CHILDLIFE :2557 
สนับสนุน 
กองทุนโกลบอลฟันด์ รอบ 10 (The Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria : Round 10) 
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (AIDS ACCESS FOUNDATION) 
จัดทาโดย 
มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (มสช.) 
กันยายน 2557
2 
บทนำ 
โครงการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการสนับสนุนและพัฒนาระบบดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิต 
เด็กโดยชุมชน เป็นโครงการภายใต้การสรุปผลการดาเนินงานโครงการ CHILDLIFE ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกองทุนโกลบอลฟันด์ รอบ10(The Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria : Round 10) ซึ่งดาเนินการโดยมูลนิธิเข้าถึงเอดส์(แอคเซส) ในเวลา 3 ปี ระหว่างพ.ศ. 2555-2557 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ พัฒนาการทางานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ระบบการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพและการปกป้องคุ้มครองเด็กในชุมชน ทั้งเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี และเด็กในภาวะเปราะบางที่จาเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ เยียวยาอย่างทันเหตุการณ์และต่อเนื่องอย่างเป็นองค์รวม โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้มีส่วนร่วมใน การดาเนินการในฐานะเป็น 1 ใน 3 ระบบคือ ระบบบริการด้านสุขภาพ ระบบปกป้องคุ้มครองสิทธิ/สวัสดิภาพ และ ระบบการจัดการโดยชุมชน ทั้งนี้ ระบบด้านสุขภาพและปกป้องคุ้มครองสิทธิ/สวัสดิภาพ เป็นระบบทีมีอยู่แล้ว ดาเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ 2 กระทรวงคือ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ การดาเนินโครงการCHILDLIFE เป็นการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการ มีส่วนร่วมทางานด้านเด็กเป็นการจัดตั้งคณะทางานด้านเด็กในชุมชน(คทด.) ซึ่งเป็นกลไกในระดับตาบล/ชุมชน ใน การทางานคุ้มครองเด็กภายใต้พรบ.คุ้มครองเด็กพ.ศ.2546 ร่วมกับการประสานให้ 3 ระบบได้บูรณาการกันในการ ดาเนินงานทั้งคนทางาน องค์ความรู้ งบประมาณ กลไกที่มีอยู่แล้วตามกฏหมายทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ ระดับ จังหวัด ระดับอาเภอ และตาบล 
โครงการCHILDLIFE มุ่งเน้นในการสร้างกลไกระดับตาบล/ชุมชนให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพ 
ในการทางานแบบองค์รวมในทุกมิติของชีวิตเด็กและบูรณาการการทางานของระบบสุขภาพและระบบปกป้อง คุ้มครองเด็ก โดยให้แกนนาภาคประชาสังคม อาสาสมัคร แกนนากลุ่มต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้มี ส่วนร่วมในการสร้างกลไก คทด.ที่มีองค์ประกอบของคนทางานที่มีจิตอาสา คนที่มีบทบาทภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 5 ฝ่ายคือ แกนนาชุมชน/อาสาสมัครชุมชน ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายสุขภาพ ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกป้องคุ้มครองทางสังคม ให้ใช้พื้นที่ คทด.ทางานร่วมกัน โดยเน้นทั้งการทางานเชิงรุกเพื่อค้นหาปัญหา การ จัดระบบฐานข้อมูลเด็ก การเข้าถึงเด็กที่เปราะบางและอยู่ในภาวะเสี่ยง การประเมินสภาพความเสี่ยง การให้การ ช่วยเหลือ การส่งต่อรับบริการ การรับกลับ การเตรียมชุมชนและครอบครัว 
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้พัฒนาระบบชุมชนด้วยการสนับสนุนแกนนาชุมชน อาสาสมัครชุมชน กลุ่ม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในการจัดตั้ง คทด. การเสริมศักยภาพ คทด.โดยสนับสนุนให้เกิดองค์กรพี่เลี้ยงในการจัดตั้ง คทด. การเสริมศักยภาพด้วยการพัฒนาหลักสูตรเสริมศักยภาพคนทางาน การจัดทาคู่มือการทางานปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยชุมชน การจัดอบรมวิทยากรการทางานคทด.ในพื้นที่ ตลอดจนการสนับสนุนกลไกองค์กรพี่เลี้ยงให้สามารถ พัฒนาทักษะความสามารถในการติดตามหนุนเสริมการทางาน คทด.อย่างต่อเนื่อง การติดตามประเมินผล และ การสรุปบทเรียนเพื่อเป็นชุดองค์ความรู้ในการทางานเด็กโดยชุมชน
3 
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
จังหวัด(พมจ.)ได้ร่วมดาเนินโครงการCHILDLIFE ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง คทด. ที่มีการวางแผน คัดเลือกพื้นที่ในการจัดตั้งร่วมกันกับแกนนาชุมชน การจัดตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กแบบองค์รวม 
(อนุCHILDLIFE) ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด การจัดการงบประมาณช่วยเหลือกรณีเด็กประสบ ปัญหา เด็กไร้สัญชาติ การจัดเงินช่วยเหลือครอบครัวที่ยากลาบาก ที่ส่งผลให้เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงในการดารงชีวิต โดยเป็นการคัดเลือกร่วมกันระหว่าง พมจ.กับ คทด. 
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ดาเนินการพัฒนาเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้สามารถทา หน้าที่เป็นผู้จัดการรายกรณี (Case Manager) การดาเนินการวางแผนดูแลช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) ให้สามารถดาเนินการได้ในระดับอาเภอโดยมุ่งเน้นให้บุคคลากรจากโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล(รพ.สต.)ที่ได้รับการอบรมจากกรมอนามัย เพื่อเป็นหน่วยกลาง(Case Management Unit :CMU) ในการให้การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาซับซ้อน ต้องการการช่วยเหลือแบบสหวิชาชีพ และมีการติดตามการดาเนินการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง 
จุดเด่นของ คทด.คือความสามารถในการทางานเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนา 
รูปแบบกิจกรรมสาหรับเด็กและครอบครัวเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับความรุนแรง การถูกละเมิด การจัด สิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการดูแลช่วยเหลือเด็ก การปรับเปลี่ยนทัศนคติของชุมชนให้เข้าใจและร่วมมือกันใน การปกป้องคุ้มครองเด็กโดยเฉพาะเด็กที่เคยถูกตีตราว่าเป็นเด็กมีปัญหา การเชื่อมประสานระบบ 3 ระบบให้ ทางานร่วมกันในการช่วยเหลือเด็กตั้งแต่ในระดับชุมชนด้วยกัน การส่งต่อไปรับการช่วยเหลือในระดับอาเภอและ จังหวัดต่อไปด้วย 
จุดด้อยคือ การทางานแบบอาสาสมัครไม่มีความต่อเนื่อง การสร้างการยอมรับจากองค์กร 
ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นฐานในการสนับสนุนการทางาน กลไก คทด.ยังไม่เป็นกลไกทางการของ 
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ซึ่งสามารถตั้งเป็นอนุกรรมการคุ้มครองเด็กระดับตาบล/ชุมชนได้ การที่มีหลาย ฝ่ายเข้าเป็น คทด.โดยเฉพาะคนที่มาจากภาครัฐ ถึงแม้จะมาร่วมงานด้วยจิตอาสา แต่ก็ต้องมีภาระหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งจาเป็นต้องมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้เป็นคทด.จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจาก คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด เพื่อช่วยให้ คทด.มีกลไกหลายฝ่ายช่วยในการขับเคลื่อนงาน 
การได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จึง 
นับว่ามีความสาคัญและจาเป็น ทั้งเรื่องการจัดตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กแบบองค์รวม(อนุ CHILDLIFE) ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด การสนับสนุนการดาเนินงานของ คทด. การสนับสนุนให้ เกิด คทด.ในพื้นที่ตาบล/ชุมชนอื่นๆที่พร้อมและมีศักยภาพเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งสู่การสร้างความ มั่นคงในชีวิตของเด็ก ลดความเสี่ยงของเด็กที่เปราะบาง โดยชุมชนเพื่อชุมชน 
กันยายน 2557
4 
สารบัญ 
ผลกำรดำเนินงำนปี 2554-2557 
1. การจัดตั้งคณะทางานเด็กในชุมชน(คทด.) หน้า 5 
2. การเสริมศักยภาพ คทด. และบทบาทองค์กรพี่เลี้ยง หน้า 7 
3. การทางาน คทด.ในชุมชน หน้า 10 
4. ผลที่เกิดขึ้นของการทางาน คทด.ในชุมชน หน้า 13 
5. สรุปบทเรียนการทางาน คทด. หน้า 19 
6. กลไกสนับสนุนการทางาน คทด. 
อนุกรรมการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กแบบองค์รวม(อนุฯCHILDLIFE) หน้า 21 
7. บทบาทของ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) หน้า 24 
ข้อเสนอนโยบำย 
8. ข้อเสนอนโยบาย สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทางานด้านเด็ก หน้า 26 
ในรูปแบบการ จัดตั้ง คณะทางานด้านเด็กในชุมชน(คทด.)ในระดับตาบล/ชุมชน 
9. พมจ.กลไกหลักขับเคลื่อนการดาเนินงานด้าน เด็กในชุมชน หน้า 28 
10. ข้อเสนอต่อ พมจ. ในการสนับสนุนการดาเนินงาน คทด. หน้า 28 
การแต่งตั้ง คทด. องค์ประกอบ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ 
แนวทางดาเนินงาน คทด. หน้า 31 
แนวทางสนับสนุนการดาเนินงาน คทด. หน้า 33 
แนวทางการสนับสนุน คทด. 
ในรูปแบบความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน้า 34 
แนวทางสนับสนุนองค์กรพี่เลี้ยง หน้า 37 
11. การดาเนินงาน คทด.ในกรุงเทพฯ หน้า 41 
ภำคผนวก 
12. องค์กรร่วมดาเนินโครงการCHILDLIFE หน้า 42 
13. รายชื่อองค์กรพี่เลี้ยงในการดาเนินงาน คทด.ในโครงการCHILDLIFE หน้า 44 
14. จานวน คทด.ใน29 จังหวัด หน้า 46 
15. รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ หน้า 47 
16. เอกสารอ้างอิง หน้า 49 
สารบัญ แผนผัง 
ผังการทางาน คทด.ในตาบล/ชุมชน หน้า 20 
ผังบทบาท พมจ. หน้า 29
5 
1.กำรจัดตั้งคณะทำงำนเด็กในชุมชน 
กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรทำงำนด้ำนเด็ก : 
บทเรียน กำรตั้งคณะทำงำนด้ำนเด็กในชุมชน(คทด.) Community Action Group: CAG: 
ของโครงกำร CHILDLIFE 
ชุมชนในที่นี้หมายถึง ชุมชนระดับตาบล การมีส่วนร่วมของชุมชน จึงหมายถึงการที่สมาชิกในตาบลให้ ความสาคัญต่อการกาหนดทิศทางการบริหารและการดาเนินการการทางานเด็กในตาบลของตนเอง 
การมีส่วนร่วมหมายถึง ร่วมคิดร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผน ร่วมดาเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วม รับผลที่เกิดขึ้น ตลอดจนร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย 
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำงำนด้ำนเด็ก หมายถึง การที่คนในตาบล ผู้ใหญ่ใจดี ตระหนักและให้ ความสาคัญต่อการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในชุมชนและอาสาเข้ามาดาเนินการอย่างเป็นองค์รวมในมิติ ของการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเด็ก การช่วยเหลือ การลดความรุนแรง การบาบัดเยียวยา โดยอาศัยระบบบริการที่รัฐได้จัดไว้แล้วโดยเฉพาะระบบบริการด้านสุขภาพ ระบบปกป้อง คุ้มครองสิทธิ/สวัสดิภาพเด็กในระดับตาบล อาเภอ จังหวัด 
กรณีกรุงเทพมหำนคร ชุมชน หมายถึง ชุมชนแออัด ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนชานเมือง ชุมชนเมือง และเคหะชุมชน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ประกาศกาหนดเป็นเขตชุมชน 
คณะทำงำนด้ำนเด็ก(คทด.) คือคนที่ช่วยเหลือตัวเด็กและครอบครัว ให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติ สุข มีที่ยืนในสังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี คณะทางานจึงเป็นหัวใจสาคัญในการเชื่อมประสานการช่วยเหลือ การส่ง ต่อ เพื่อให้เด็กและครอบครัวได้รับการช่วยเหลือและดูแล และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน ซึ่งเป็น กระบวนการทางานร่วมกันระหว่างภาคชุมชนกับภาครัฐ 
ชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถดูแลและช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ที่กาลังเผชิญภาวะวิกฤตให้ผ่านพ้น สภาพปัญหาไปได้ จาเป็นต้องมีบุคลากรภายในชุมชนที่สนใจ เข้าใจสภาพหรือสภาวะการเผชิญปัญหา การให้ ความสาคัญกับเด็ก และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการดูแลเด็กลูกหลานของชุมชน แล้วเชื่อมประสาน การทางานกับตัวแทนของภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการ “หนุนเสริมกำรทำงำนช่วยเหลือเด็กและครอบครัว” ทั้งทางด้านวิชาการ วางแผน และประสานส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
รูปแบบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรทำงำนด้ำนเด็ก 
กำรจัดตั้งคณะทำงำนด้ำนเด็กในชุมชน (คทด.) Community Action Group: CAGในตำบล 
ที่มำ ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (แอคเซส) ได้เสนอโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน (CHILDLIFE) เพื่อรับการ สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกเพื่อต่อสู้เอดส์วัณโรคและมาลาเรีย(The Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria: Round10) เพื่อดาเนินการสนับสนุนให้ ชุมชน มีส่วนร่วมในการ 
1. พัฒนำคุณภำพชีวิต ส่งเสริม ปกป้องคุ้มครองเด็กที่ได้รับเชื้อเอชไอวี/หรือรับผลกระทบ รวมกับ เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง 7 ประเภทตามนิยามขึ้นในโครงการโดยสอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก 2546 (1)เด็ก
6 
เร่ร่อน (2)เด็กกาพร้า (3)เด็กที่อยู่ในสภาพยากลาบาก – ยากจน – หย่าร้าง – ทิ้งร้าง – ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ฯลฯ (4)เด็กพิการ (5)เด็กที่ถูกทารุณกรรม (6)เด็กไร้สถานะทางกฎหมาย (7) เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 
2. เชื่อมประสำนระบบบริกำรสุขภาพ ระบบปกป้องคุ้มครองเด็ก และระบบชุมชน ในการทางานด้าน เด็กอย่างเป็นองค์รวม โดยใช้ระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ การใช้ระบบส่งต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
3. เสริมศักยภำพชุมชน ให้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก การตระหนักและเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิด้าน เด็ก การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การวางแผนพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก การวิเคราะห์ปัญหาและการ ใช้ทรัพยากร สหวิชาชีพ ระบบบริการในการแก้ไขปัญหาเด็กอย่างครบวงจร 
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก(CHILDLIFE)ดาเนินการใน 29 จังหวัดทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย มีการ 
จัดตั้ง คทด. จานวน 1,130 แห่ง/ตาบล มีองค์กรพี่เลี้ยงซึ่งหมายถึงองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรประชา สังคมทาหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง คทด. การพัฒนาเสริมศักยภาพ และการติดตามหนุนเสริม คทด. ในพื้นที่จานวน 37 องค์กร 
กำรจัดตั้งคณะทำงำนเด็กในชุมชน (คทด.)(Child Action Group: CAG) 
องค์ประกอบสาคัญ 5 ฝ่าย เพื่อเข้ามาเป็นกลไกในการดูแล ติดตาม และช่วยเหลือเด็กในชุมชนแบบองค์รวม 
(1) ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้นาชุมชน ประธานชุมชน 
(2) ฝ่ายการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา โรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบ ศูนย์เด็กเล็ก 
(3) ฝ่ายปกป้องคุ้มครองทางสังคม เช่น อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) 
พัฒนาชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กและครอบครัว 
(4) ฝ่ายสุขภาพ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล 
(รพ.สต.) คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กรรมการกองทุนฯ) 
(5) ฝ่ายองค์กรชุมชน เช่น สภาเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มสตรี องค์กรศาสนา 
กำรเข้ำมำเป็นคณะทำงำนด้ำนเด็กชุมชนได้นั้น บางพื้นที่จะมีการจัดเวทีประชาคม หรือจัดเวทีประชุมผู้นา ชุมชน เพื่อคัดเลือกคนที่เหมาะสม มีประสบการณ์ในการทางานด้านเด็ก และมีจิตอาสาเข้ามาเป็นคณะทางาน หรือบางพื้นที่ อปท. จะเป็นฝ่ายคัดเลือกคนทางานทั้ง 5 ฝ่ายเองโดยตรง เพราะทราบตัวคนที่เหมาะสมในการ ทางาน 
เมื่อมีกลุ่มคนทางานในชุมชนริเริ่มจัดตั้งเป็น คทด.แล้ว จึงมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการใน 2 ลักษณะ แตกต่างกันตามพื้นที่จังหวัดคือ 
(1) แต่งตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
(2) แต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด เช่น ที่จังหวัดขอนแก่น
7 
2. กำรเสริมศักยภำพคณะทำงำนด้ำนเด็กในชุมชน(คทด.)และ บทบำทองค์กรพี่เลี้ยง 
กำรเสริมศักยภำพ คทด. ก่อนเริ่มดาเนินงาน คทด.ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพี่เลี้ยง เช่น พมจ. ศูนย์อนามัย สาธารณสุขจังหวัด และองค์กรพี่เลี้ยงต่างๆ เช่น มูลนิธิ เครือข่ายผู้ติด เชื้อเอชไอวี มูลนิธิรักษ์เด็ก ฯลฯ ในการสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน ทัศนคติต่อเด็ก แนวทางการ ทางานเด็ก พระราชบัญญัติ (พรบ.) ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น พรบ. คุ้มครองเด็ก พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทาความ รุนแรงในครอบครัว พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เห็นว่ากฎหมายไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว แต่ทุก คนมีบทบาทสาคัญในการคุ้มครองสิทธิเด็ก รวมถึงสามารถเชื่อมโยงการทางานด้านเด็กได้เป็นระบบ 
อีกทั้งยังมีการหนุนเสริมทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหารายกรณี การจัดลาดับความสาคัญของ ปัญหา เทคนิคและกระบวนการจัดกิจกรรม และที่สาคัญ คทด. ยังต้องผ่านกระบวนปรับทัศนะในการเห็นคุณค่า และมีความเชื่อมั่นในตัวเด็ก และหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก รวมถึงอนุสัญญาคุ้มครองเด็ก (Convention on The Rights of the Child) ที่ประเทศไทยได้ลงนามแล้วด้วย 
สรุปชุดเครื่องมือในการเสริมศักยภาพ คทด.คือ 
1. หลักสูตร 
1.1 การพัฒนาทักษะการทางานปกป้องและคุ้มครองเด็กในชุมชน” และการใช้ “คู่มือการทางาน 
คณะทางานด้านเด็กในชุมชน” พัฒนาหลักสูตรและคู่มือโดย มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึง 
เอดส์ 
1.2 “การประชุมรายกรณี Case Conference” “การบริหารจัดการรายกรณี Case management” “ 
“Facilitating skill for Case Conference” “การบริการปรึกษาในวัยรุ่น” พัฒนาหลักสูตรโดย กรม 
อนามัย ร่วมกับ มูลนิธิPath to Health 
1.3 การลดการตีตรา การเลือกปฏิบัติ กรณีเอชไอวี/เอดส์ และชุดสื่อเพื่อรณรงค์เช่น หนังสั้น มิวสิควีดี 
โอ ชุดเอกสารข้อมูล จัดทาโดยมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิ 
เข้าถึงเอดส์(แอคเซส) 
2. การได้รับการติดตามหนุนเสริมอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด 
3. การประชุมสรุปประเมินผลเป็นประจาร่วมกับองค์กรพี่เลี้ยง และเวทีแลกเปลี่ยนในระดับจังหวัด 
บทบำทขององค์กรพี่เลี้ยง ในกำรสนับสนุนกำรจัดตั้งและเสริมศักยภำพ คทด. 
หมายถึงองค์กรที่ทาหน้าที่ สนับสนุน หนุนเสริม ติดตามประเมินผล คณะทางาน รวมถึงการกระตุ้นให้ เกิดการจัดตั้ง คทด.ในตาบล บทบาทหลักคือ 
1. ประสานสื่อสารให้ข้อมูลเพื่อการจัดตั้ง คทด.ในตาบล เช่น การจัดประชุมเครือข่ายประชาสังคม แกนนา ประชาชน กลุ่มประชาชน อาสาสมัครจิตอาสาต่างๆ การให้ข้อมูลกับ อปท. ร่วมมือกับ อปท.ในการ สนับสนุนการจัดตั้ง คทด.
8 
2. ฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้ คทด. ทั้งนี้มีหลักสูตร และ คู่มือการทางานเด็กในชุมชน เป็นเครื่องมือหลักที่ ได้รับการพัฒนามาจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก(CHILDLIFE) เป็นการจัดอบรมก่อนดาเนินงาน อบรมเสริมระหว่างการดาเนินงาน การทบทวนเพิ่มเติมข้อมูล และการอบรมฟื้นฟูทักษะและหนุนใจใน การทางาน (Refreshing course) 
3. ที่ปรึกษาการทางาน การเยี่ยมติดตามสนับสนุนการทางานในพื้นที่ การหนุนเสริมกระบวนการศึกษา ช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) การประสานระบบการทางานจากระดับตาบล ถึงระดับอาเภอ และระดับจังหวัด 
4. จัดเวทีสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน การทางานระหว่าง คทด.ในระดับจังหวัด 
รำยละเอียดกำรทำงำนที่ปรึกษำและติดตำมสนับสนุนขององค์กรพี่เลี้ยง 
บทบาทการปรึกษา การเยี่ยมติดตามสนับสนุนการทางานในพื้นที่ หลังอบรม คทด.องค์กรพี่เลี้ยงจะมีทีม หนุนเสริมไปหนุนการทางานในพื้นที่ เพราะการอบรมเพียงครั้งเดียว ยังไม่สามารถนาเอาแนวทางการจัดกิจกรรม สาหรับเด็กไปใช้ได้เลย จึงต้องมีทีมหนุนเสริมมาช่วยการทางานของ คทด.อีกต่อหนึ่ง เป็นการเสริมความมั่นใจ ให้กับการทางานในตาบล 
ทุกๆ เดือนจะมีการติดตาม คทด. ว่าจัดกิจกรรมอะไรไปบ้าง ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของคนที่เป็น คทด.หลายคนว่าเขาสามารถทากิจกรรมได้ เห็นการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์เด็กในพื้นที่ได้ เช่น ถ้าในพื้นที่มี สถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็มีการออกแบบกิจกรรมในเรื่องเพศและการ ป้องกัน แหล่งให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย การคุมกาเนิด และยาเสพติดประเภทเหล้า บุหรี่ เป็นต้น 
ทุกๆ 3 เดือนองค์กรพี่เลี้ยง จะไปประชุมไตรมาสร่วมกับ คทด. ทุกครั้ง รวมถึงการไปช่วยทากิจกรรมด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพื้นที่ 
เป้าหมายของประชุมรายไตรมาสทาไปเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ในการทางาน ประเมินสถานการณ์เด็ก วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่ทากิจกรรม รวมไปถึงวางแผนการทากิจกรรมในแต่ละไตรมาส การนาข้อมูลที่เก็บ รวบรวมตามแบบ CAG 1 มาพิจารณาร่วมกันเพื่อดูความก้าวหน้าว่ามีเด็กเปราะบางกี่คน กี่คนอยู่ในความเสี่ยง กี่ คนได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อเอชไอวีหรือเกี่ยวข้องกับเอดส์ ที่ผ่านมา คทด.ได้ทากิจกรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เพียงใด 
CAG 1 คือฐานข้อมูลเด็ก เป็นแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานเด็กในชุมชน ชื่อเด็ก อายุ ชื่อตาบล สถานะทาง ครอบครัว ความเสี่ยงหรือแนวโน้มที่จะถูกล่วงละเมิด เช่น บางพื้นที่เด็กมีแนวโน้มถูกล่วงละเมิดทางเพศ คทด. ก็ จะมาสะท้อนว่าเริ่มเห็นสถานการณ์เด็กเสี่ยงเพราะมีพื้นที่อยู่ห่างไกลชุมชน หลังจากนั้นก็จะนาสถานการณ์ไป ออกแบบกิจกรรม เช่น ตัวฉันเป็นของฉัน เพื่อให้รู้เรื่องสิทธิเด็ก และประเมินความเสี่ยงของตัวเองได้ 
ส่วน CAG 3 เป็นแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเด็กภายหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ คทด.จัดขึ้น แล้ว เป็นการจัดทาข้อมูลความก้าวหน้าการทางาน เป็นการติดตามว่าเด็กได้รับการแก้ไขปัญหาแล้วหรือยัง รวมถึง ดูความเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายด้วย จึงมองเห็นพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของเด็ก เช่น ทักษะในการทา กิจกรรม ในการอยู่ร่วมกับสังคม ความช่วยเหลือที่ได้รับ เช่น เบี้ยยังชีพในกลุ่มชาติพันธุ์ ทาให้คนทางานเห็น
9 
สถานการณ์ว่าเด็กคนหนึ่งอาจได้รับความช่วยเหลือจากหลายแห่ง หรือลดการให้ความช่วยเหลือซ้าซ้อน บาง อปท. เห็นสถานการณ์ก็มีทุนการศึกษาให้กับเด็ก 
การติดตามพัฒนาการเกี่ยวกับทัศนคติ ความเชื่อของ คทด.ในการทางาน เพราะเมื่อจัดอบรมนั้น ใน 
หลักสูตรจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การปรับทัศนคติเกี่ยวกับเด็กและการทางานกับเด็ก มักจะสังเกตเห็นว่าคณะทางาน บางคนยังมีความคิดว่าเด็กติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถเติบโตได้ ต้องตายเหมือนแม่ เวลาทากิจกรรมก็ยังคง หวาดกลัวถ้าต้องทากิจกรรมกับเด็กที่ติดเชื้อ สิ่งสาคัญ คทด.ต้องเชื่อว่าเด็กทุกคนเติบโตได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ จึงต้องปรับฐานทัศนะของคนทางานเป็นระยะผ่านกระบวนการติดตามประเมินผลการทางาน เพราะแม้ คทด.มา ทางานด้วยใจ จิตอาสา มาทางานอย่างเดียวไม่พอต้องมาพร้อมกับทัศนะที่มองเด็กในเชิงบวกมากขึ้น คณะทางานบางคนมีประสบการณ์ส่วนตัวในการเลี้ยงดูเด็กมาก่อน ก็เอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนการทางาน ร่วมกัน ดังนั้น ในบางประเด็นองค์กรพี่เลี้ยงเพียงเติมข้อมูลนิดหน่อย คทด. ก็เข้าใจ แต่บางพื้นที่ต้องเริ่มต้นใหม่ หมด แต่ก็ต้องยอมรับว่าการปรับทัศนะกับคนนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าไม่ทาเลย คทด. ก็จะมองเด็กแบบเหมารวม เช่น เด็กเกเร เด็กขี้เกียจเรียน เด็กชอบใช้ความรุนแรง เป็นต้น 
บทบาทสาคัญของการติดตามหนุนเสริมการทางานของ คทด.โดยองค์กรพี่เลี้ยง คือการหนุนเสริมให้ คทด.สามารถประเมินสถานการณ์เด็กได้อย่างรอบด้าน ไม่ได้เน้นด้านสงเคราะห์อย่างเดียว ต้องรู้ช่องทางในการ ส่งต่อ และมีระบบติดตามด้วย ซึ่งต้องมีการวางแผนต่อเนื่อง หากสุดท้ายเด็กต้องกลับไปในชุมชนก็ต้องมีแผน รองรับเด็ก
10 
3. กำรทำงำนของ คทด.ในชุมชน 
หลักกำรสำคัญในกำรทำงำน คทด. 
• หลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็กไม่ละเมิดสิทธิเด็ก รักษาความลับ 
• หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กเสมอภาคกัน 
• หลักการมีทัศนคติเชิงบวกต่อเด็ก คือ “ ไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา ไม่เหมารวม” ความเชื่อมั่นและเห็น คุณค่าในตัวเด็ก เด็กไม่ใช่ตัวปัญหาเด็กทุกคนมีศักยภาพและด้านบวก รวมทั้งมีวิธีการพัฒนา เด็กเชิงบวก เพิ่มต้นทุนชีวิตเด็กผ่านกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและให้โอกาสเด็ก 
ปฏิบัติกำรของ คทด.ในชุมชน 
 เมื่อมีการจัดตั้ง คทด. และได้รับการอบรมเสริมทักษะแล้ว คทด.จะเริ่มปฏิบัติการโดยจะทาการ สารวจและเก็บข้อมูลเด็กเปราะบาง 8 กลุ่ม คือ เด็กเร่ร่อน เด็กกาพร้า เด็กที่อยู่ในภาวะยากลาบาก เด็กพิการ เด็ก ถูกทารุณกรรม เด็กไร้สัญชาติ เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ผ่าน เครื่องมือที่เป็นแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานเด็กในชุมชน เพื่อนาสถานการณ์มาใช้ในการวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่และ ลาดับความสาคัญของสถานการณ์ แล้วจึงนาไปวางแผนกระบวนการทางานทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหาใน ชุมชน 
 ถ้าเป็นการทางานในเชิงป้องกัน คทด.จะนาข้อมูลที่สารวจได้ไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมให้ สอดคล้องกับสถานการณ์และตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมพบกลุ่มเด็กเป็นประจาทุก สามเดือน การจัดอบรมผู้ดูแลเด็ก ค่ายเด็ก ค่ายครอบครัว เป็นต้น 
สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก 
หลักการสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาค หลักไม่เลือกปฏิบัติ 
s 
 
สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา 
สิทธิในการมีส่วนร่วม 
สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง 
สิทธิที่จะมีชีวิตรอด 
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 
Convention on the Rights of the Child 
สิทธิมนุษยชน คือ 
 สิทธิที่ติดตัวมากับความเป็นมนุษย์  สิทธิที่เป็นสากลไม่ว่าเชื้อชาติ ศาสนา เพศใด 
 สิทธิที่ไม่อาจถูกพรากไปได้ หรือยกให้แก่กันได้ 
 สิทธิที่ไม่ถูกแยกออกจากกันระหว่างสิทธิพลเมือง/การเมือง/และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
11 
เช่น คณะทางานเด็กชุมชนวิเคราะห์ว่าชุมชนมีสถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น การจัดกิจกรรมก็จะเน้นในประเด็นเพศศึกษา การคุมกาเนิด และแนะนาแหล่งบริการที่ ให้คาปรึกษาเรื่องเพศและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย 
 หาก คทด.ลงไปสารวจสถานการณ์เด็กในชุมชนแล้วพบปัญหาในกลุ่มเด็กเปราะบาง หรือการใช้ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในตาบล เช่น บันทึกการเยี่ยมบ้านของครู แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพผ่านเครือข่ายอสม. ของ รพ. สต. ข้อมูลด้านพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสารเสพติดของฝ่ายปกครอง ซึ่งสามารถนามาพิจารณาร่วมกัน เพื่อค้นหา เด็กที่ต้องการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนได้ รวมทั้ง กำรสังเกตควำมผิดปกติของเด็ก โดย คทด.ในชุมชนเอง เช่น พยาบาลคลินิกสังเกตว่า เด็กผู้หญิงวัยเรียนมาช่วยดูแลพ่อที่เจ็บป่วยทุกวันจึงสอบถามพบว่าเด็กไม่ไปโรงเรียน และไม่มีเอกสารแสดงตน,ผู้ใหญ่บ้านเห็นพ่อทุบตีลูกบ่อยๆ, ครูประจาชั้นพบเด็กขาดเรียนบ่อยหรือไม่ยอมมา โรงเรียน ซึมเศร้าไม่ร่าเริงเหมือนเด็กวัยเดียวกัน ไม่เข้ากลุ่มหรือมีเพื่อน, คทด.พบเด็กคนเดิมหนีเรียนเป็นประจา เป็นต้น การสังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ได้เร็วย่อมหมายถึงการทาให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หรือไม่ล่าช้าเกินไป รวมถึงการรับแจ้งเหตุจากคนในชุมชน เช่น วัยรุ่นทะเลาะวิวาทกัน การใช้สารเสพติด เป็นต้น 
เมื่อพบเจอปัญหาเหล่านี้ ทาง คทด.ก็จะนาเรื่องมาประชุมหารือกันเพื่อหาทางแก้ปัญหา โดยขั้นตอน สาคัญคือการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่สามารถตรวจสอบได้จาก แบบบันทึกข้อมูลรายบุคคล(CAG1)ที่คทด.ได้ทา ไว้แล้ว และจากแหล่งข้อมูลแวดล้อม และการพูดคุยกับเด็กโดยตรง กรณีต้องส่งต่อก็จะมีการติดต่อประสานงาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้คาแนะนาและช่วยจัดการปัญหา เป็นการจัดการวางแผนช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) โดย คทด.ในระดับตาบล กรณีต้องมีการส่งต่อ คทด.ต้องมีการประสานงานกับระบบบริการ ต่างๆที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะระบบบริการด้านสุขภาพ ระบบปกป้อง คุ้มครองทางสังคม ระบบปกครอง กระบวนการยุติธรรม 
อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนหนึ่งต้องเผชิญปัญหามากกว่า 1 ด้าน และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ภาคส่วน จึงต้องมีการวางแผนดูแลช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) ในระดับอาเภอ ซึ่งจะมีฝ่ายปกป้อง คุ้มครองทางสังคม ฝ่ายสุขภาพ และฝ่ายชุมชน มาช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา ให้ความช่วยเหลือ และติดตามความ คืบหน้าเป็นระยะจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข หากมีอนุกรรมการคุ้มครองเด็กอาเภอ ก็จะเป็นการดาเนินการ โดยอนุกรรมการคุ้มครองเด็กระดับอาเภอ หากไม่มี ก็จะมีกลไกสาคัญที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนคือ Case manager ที่ได้รับการอบรมจากกรมอนามัย ศูนย์อนามัยเขต และได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ดูแลจัดการปัญหาที่ ส่งต่อมาจาก คทด.และอื่นๆ 
 สาหรับการติดตามผลการดาเนินการ คทด.จะมีการประชุมกันทุกไตรมาส เพื่อทบทวนแผนการ ทางาน ทบทวนสถานการณ์ปัญหา รวมถึงวิเคราะห์การทากิจกรรมที่ผ่านมาว่ามีความสอดคล้องหรือเป็น ประโยชน์กับพื้นที่มากน้อยเพียงใด เพื่อนาผลที่ได้มาใช้ในการวางแผนการทางานในไตรมาสต่อไป 
นอกจากนั้น คทด.ยังมีการติดตามความคืบหน้าผ่านการเก็บข้อมูลของเด็กที่มาร่วมกิจกรรมผ่านแบบ บันทึกการเปลี่ยนแปลง (CAG3) ในเด็กคนเดียวกันกับที่เคยถูกเก็บข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานเด็กใน ชุมชน (CAG1) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงของเด็กทั้งทางร่างกาย ทักษะในการทากิจกรรม ร่วมกับผู้อื่น การสื่อสารกับคนในครอบครัว รวมไปถึงติดตามความช่วยเหลือที่เด็กพึงจะได้รับ เช่น ทุนในการต่อ
12 
ยอดอาชีพจาก พมจ. ทุนการศึกษาจากมูลนิธิต่างๆ หรือ อปท. เบี้ยยังชีพจากศูนย์พัฒนาสังคมเดือนละ 500 บาท ในกรณีที่เป็นเด็กชาติพันธุ์ หรือการช่วยเหลือในด้านสุขภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการ ช่วยเหลือ ลดความช่วยเหลือที่ซ้าซ้อน หรือช่วยให้การช่วยเหลือเด็กเป็นไปอย่างรอบด้านมากขึ้น
13 
4. ผลที่เกิดขึ้นของกำรทำงำน คทด.ในชุมชน 
ผลกำรทำงำนของ คทด. 
 การดาเนินการจัดตั้ง คทด.ใน 29 จังหวัด(2555-2557) มีจานวน คทด.ที่จัดตั้งรวม 1,130 แห่ง มีการ จัดเก็บข้อมูลเด็กในภาวะเปราะบางได้จานวนรวม 121,741 ราย แยกเป็นประเภทความเปราะบางดังนี้ 
1) เร่ร่อน 51 
2) กาพร้า 30,410 
3) อยู่ในสภาพยากลาบาก 79,834 (ยากจน 39,179 / ไม่ได้รับการศึกษา 4,001/ ปัญหาสุขภาพต้อง 
รักษาต่อเนื่อง-เอชไอวี-อื่นๆ 6,384 /พ่อและหรือแม่ถูกคุมขังอยู่ 1,747 / รับภาระเกินวัย-กาลัง 4,911 /พ่อแม่หย่าร้าง-แยกกันอยู่ 31,671 /ขาดผู้ดูแล 36,926 ) 
4) พิการ 3,230 
5) ถูกทารุณกรรม 30,618 (เคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกทาร้ายร่างกาย-ละเมิดกฎหมาย 25,948 / เคย และ/หรือมีแนวโน้มถูกรังเกียจ กีดกัน หรือเลือกปฏิบัติ 11,407) 
6) ไร้สถานะทางกฎหมาย 1,688 (ไม่มีเลข 13หลัก /เลข 13 หลักตัวแรกเป็น 0,6,7) 
7) เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 799 
** หมายเหตุ เด็กหนึ่งราย มีภาวะเปราะบางซ้าซ้อนกันมากกว่าหนึ่ง**
14 
ตัวอย่ำงกำรดำเนินงำนของ คทด. จังหวัดอุบลรำชธำนี 
สภำวะเปรำะบำง รวม 
1 
เด็กเร่ร่อน 3 
2 
เด็กกาพร้า 2,587 
3 
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลาบาก 6,295 
3.1 ยากจน 5,095 
3.2 ไม่ได้รับการศึกษา 324 
3.3 ปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง 455 
3.4 พ่อ และ/หรือ แม่ถูกคุมขังอยู่ 59 
3.5 เด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกาลังความสามารถและสติปัญญา 94 
3.6 พ่อแม่หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 1,876 
3.7 ขาดผู้ดูแล 2,786 
4 
เด็กพิการ 371 
5 
เด็กที่ถูกทารุณกรรม 363 
5.1 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกทาร้ายร่างกาย ทั้งนี้รวมถึง การล่วงละเมิดทางเพศ, การ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม, มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย, ละเมิดกฎหมาย 255 
5.2 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกรังเกียจ กีดกัน หรือเลือกปฏิบัติไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทาง สังคมในชุมชน 165 
6 
เด็กไร้สถานะทางกฎหมาย 91 
6.1 ไม่มีเลข 13 หลัก 54 
6.2 มีเลขตัวแรกของเลข 13 หลักเป็นเลข 0,6,7 37 
7 
เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 10 
รวม 6,651 
CAG1 =แบบเก็บบันทึกข้อมูลเด็กเบื้องต้น OVC = เด็กในภาวะเปราะบาง CABA = เด็กติดเชื้อเอชไอวีและหรือได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์
15 
จำนวนเด็กที่ได้รับกำรช่วยเหลือรำยกรณี (จังหวัดอุบลราชธานี) สภำวะเปรำะบำง ชำย หญิง รวม 
1 
เด็กเร่ร่อน 
0 
0 
0 
2 
เด็กกาพร้า 
45 
24 
69 
3 
เด็กอยู่ในสภาวะยากลาบาก 
69 
45 
114 
3.1 ยากจน 
62 
38 
100 
3.2 ไม่ได้รับการศึกษา 
3 
5 
8 
3.3 ปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง 
10 
12 
22 
3.4 พ่อและ/หรือแม่ถูกคุมขัง 
1 
1 
2 
3.5 เด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกาลังความสามารถ 
2 
2 
4 
3.6 พ่อแม่หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 
14 
13 
27 
3.7 ขาดผู้ดูแล 
39 
18 
57 
4 
เด็กพิการ 
6 
7 
13 
5 
เด็กถูกทารุณกรรม 
9 
12 
21 
5.1 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกทาร้ายร่างกาย ทั้งนี้รวมถึงถูกล่วงละเมิดทางเพศ การ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีเพศสัมพันธุ์ไม่ปลอดภัย ละเมิดกฎหมย 
3 
5 
8 
5.2 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกรังเกียจ กีดกัน หรือถูกเลือกปฏิบัติไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมในชุมชน 
9 
9 
18 
6 
เด็กไร้สถานะทางกฎหมาย 
1 
0 
1 
6.1 ไม่มีเลข 13 หลัก 
0 
0 
0 
6.2 มีเลขตัวแรกของเลข 13 หลักเป็น 0,6,7 
1 
0 
1 
7 
เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 
0 
0 
0 
8 
เด็กได้รับเชื้อเอชไอวี/หรือได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ 
9 
9 
18 
ได้รับกำรส่งต่อ 
จำนวนรำย 
จำนวนครั้ง 
ด้านสังคม 
96 
113 
ด้านสุขภาพ 
20 
20 
ด้านสังคมและสุขภาพ 
2 
4 
กรณีตัวอย่ำงกำรวำงแผนช่วยเหลือรำยกรณี (Case Conference)ของ คทด.แห่งหนึ่งในภำคใต้ 
จัดตั้ง คทด.เมื่อ 11 ธ.ค.2555 
คทด.มีการทางานเป็นทีม การประชุมและจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง คทด. จะให้ความสาคัญ ช่วยกันแบ่ง บทบาท วางแผนร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ซึ่งในช่วงแรกของการทางานพื้นที่ ยังไม่ค่อยได้ เชื่อมประสาน 3 ฝ่าย เมื่อมีกรณีเด็กที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเร่งด่วนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต ทาง คทด. โดยฝ่ายสุขภาพ จึงได้ประสานงานไปยังหน่วยงานภายนอก คือภาควิชาพยาบาลจิตเวชมหาวิทยาลัยในจังหวัด เพื่อให้ช่วยมาทาการประเมินสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว เชิญอาจารย์พยาบาลจิตเวช เข้าร่วมประชุมวางแผน ร่วมกันกับ คทด.ด้วยในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง
16 
อีกกิจกรรมที่ คทด.ดาเนินการเป็นประจาคือ จัดกิจกรรมพบกลุ่มเด็กและผู้ดูแลเด็ก เพื่อติดตามความ คืบหน้าของเด็กที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม และประเมินสถานการณ์ เด็กรายใหม่ โดยเลือกเด็กที่มีสถานการณ์ ใกล้เคียงกันมาทากิจกรรมร่วมกัน เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับสถานการณ์ของเด็ก 
ในช่วงการจัดกิจกรรมทาง คทด. จะมาร่วมกิจกรรม แบ่งหน้าที่ในการสังเกตการณ์และทากิจกรรม ร่วมกับเด็ก เข้าไปพูดคุยกับเด็กแต่ละคนให้เด็กรู้สึกเป็นกันเอง 
และหลังเสร็จกิจกรรมจะมีการสรุปผลร่วมกัน 
มีการวางแผนติดตามเยี่ยมบ้านเด็กทุกรายที่มาร่วมกิจกรรม และคัดแยกเด็กรายกรณีที่ต้องทางาน ช่วยเหลือติดตามเร่งด่วน ซึ่งการไปเยี่ยมบ้านเด็กทุกคนนั้น ทาให้ คทด.และผู้ปกครองเด็กมีสัมพันธภาพที่ดียิ่งขึ้น คทด.เห็นสถานการณ์ที่เด็กต้องเผชิญในครอบครัวหรือชุมชนมากยิ่งขึ้น 
เมื่อจัดกิจกรรมค่ายครอบครัว ผู้ปกครองหลายรายก็เห็นประโยชน์และมาร่วมกิจกรรมในโครงการ สำหรับกรณีเด็กที่ต้องวำงแผนช่วยเหลือเร่งด่วน 
กรณีเด็กผู้หญิง กาลังจบชั้น ป.6 มาเข้าร่วมกิจกรรมกับ คทด.ตั้งแต่ ป.5 มีสถานการณ์เรื่องยาเสพติด เพศสัมพันธ์/พ่อเลี้ยง/แฟนพี่สาวที่อยู่ในบ้านเดียวกันกับเด็ก มีแนวโน้มที่เด็กจะถูกล่วงละเมิด และมีปัญหา ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับแม่ เด็กเคยทะเลาะกับแม่แล้วหนีออกจากบ้าน ในบ้านเด็กมียายที่เด็กรู้สึกว่ารักตนเอง ซึ่ง คทด.ได้ทราบรายละเอียดจากคุณครู และครูส่งต่อมาให้ช่วยเหลือ ชวนมาร่วมกิจกรรมพบกลุ่ม คทด.สังเกตความ เปลี่ยนแปลง วางแผนร่วมกันในการติดตามเด็กทั้งจากพัฒนาการในการมาร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง การเยี่ยมบ้าน เชิญแม่เด็กมาร่วมค่ายครอบครัว เด็กเปิดใจและชอบที่จะมาร่วมกิจกรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมดี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งใจเรียนและมีผลการเรียนดีขึ้น เด็กไว้ใจเล่าให้ คทด. ฟังเวลามีปัญหาเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่ง ล่าสุดเด็กประสบปัญหาที่โรงเรียน คือ มีตารวจชุมชน เข้าไปจับเด็กใน ร.ร. โดยกล่าวหาว่าเด็กขโมยรถมอเตอร์ ไซด์คนในชุมชนใกล้ๆโรงเรียน ซึ่งตารวจชุมชนได้ใช้คาพูดและแสดงกิริยาไม่เหมาะสม แสดงท่าทางข่มขู่เด็ก ทาให้ เด็กอับอาย ไม่กล้าไปโรงเรียน ทางโรงเรียนและจนท.ตารวจ ได้ว่ากล่าว ตารวจชุมชน ถึงการกระทาที่ไม่เหมาะสม ของตารวจชุมชนในครั้งนั้น แต่เด็กก็ตกเป็นผู้เสียหาย เพราะถูกพูดต่อๆจนเด็กตัดสินใจไม่ไปโรงเรียน คุณครู อนุญาตให้เด็กนางานไปทาที่บ้านแล้วค่อยมาสอบได้ เมื่อ คทด.ทราบเรื่องได้เข้าไปสอบถามข้อเท็จจริงจากคุณครู และปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ OSCC รพ.ชุมชน เพื่อช่วยเหลือเด็ก โดยจะช่วยพิทักษ์สิทธิในส่วนที่เด็กถูกตารวจ ชุมชนทาให้อับอาย และช่วยสร้างแรงจูงใจในการอยากกลับไปเรียนอีกครั้งให้แก่เด็ก เพราะเด็กตัดสินใจว่าจะ เรียนจบ แค่ ป.6และออกไปขายของกับป้า ไม่อยากเรียนต่อในระบบอีกแล้ว รู้สึกอับอายเพื่อนๆ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ เด็กมีความฝันอยากเป็นพยาบาล ทางOSCCและคทด. จึงวางแผนร่วมกันจากความชอบความสนใจ และ ความสามารถพิเศษที่พบเด็กเวลาทากิจกรรม คือเด็กจะชอบดูแลน้องๆที่เล็กกว่าตนเอง จึงชวนเด็กมาฝึกเป็นพี่ เลี้ยงเด็กอ่อนที่ถูกทอดทิ้งในโรงพยาบาล เพื่อให้เด็กได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกระตุ้นแรงจูงใจตามความ ฝันที่เด็กตั้งใจไว้ อีกทั้งให้เด็กได้เห็นถึงชีวิตของเด็กตัวเล็กที่ขาดทั้งพ่อแม่ เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีกับแม่ของ ตนเองมาก รายนี้มีการเปลี่ยนแปลงตนเอง เชื่อมั่นตนเองยิ่งขึ้น ทาง คทด.มีแผนติดตามอย่างต่อเนื่อง
17 
 จากเดิมที่องค์กร/หน่วยงานในชุมชนไม่ว่าจะเป็น รพ.สต. โรงเรียน อพม. ศพค. พัฒนาชุมชน รวมไป ถึง อปท. ต่างแยกกันทางานตามบทบาทของตัวเอง แต่เมื่อมี คทด.ทาให้เกิดการเชื่อมประสานการทางานด้านเด็ก ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบมากขึ้น เพราะ คทด. มีองค์ประกอบของทุกภาคส่วน ได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนสถานการณ์เด็กในพื้นที่ร่วมกันผ่านการประชุม พร้อมทั้งช่วยกันวิเคราะห์แนวทางการให้ความ ช่วยเหลือที่รอบด้าน และมีการทากิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าให้ความสาคัญกับ การทางานด้านเด็ก รู้สึกตัวเองเป็นเจ้าของปัญหา และพร้อมที่จะลุกขึ้นมาทางานกันเองโดยไม่ต้องรอคาสั่งจาก หน่วยงานใด หากปัญหาใดจัดการได้ในชุมชนก็ดาเนินการเองได้เลย แต่ถ้าปัญหาใดจัดการไม่ได้ก็จะรู้แหล่งใน การประสานส่งต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
เมื่อคทด.ต่างให้ความสาคัญกับการทางานเด็กในระดับพื้นที่มากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือการระดม ทรัพยากรในการทางานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อปท. กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ โรงเรียน และการเขียนโครงการ เสนอไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทุนคุ้มครองเด็ก เพื่อมาใช้ในการทากิจกรรมให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม กับเด็กทุกกลุ่มในชุมชน 
 กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากการออกแบบกิจกรรมเป็นการทางานเชิงรุก เข้า ไปค้นหาปัญหา การจัดกิจกรรมป้องกัน และการเข้าไปทางานอย่างต่อเนื่องและอิงตามการวิเคราะห์ข้อมูลที่คทด. ช่วยกันเก็บมาในพื้นที่ จึงทาให้กิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และมีความหลากหลายไม่ น่าเบื่อ จึงได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี และมองเห็นผลลัพธ์จากการทากิจกรรมอย่าง ชัดเจน สร้างความภาคภูมิใจในการทางานให้กับคทด. เช่น การจัดค่ายครอบครัวทาให้เด็กและผู้ปกครองมี สัมพันธภาพที่ดีขึ้น มีการสื่อสารกันภายในครอบครัวมากขึ้น 
“ปัญหาการไม่ไปโรงเรียนของเด็ก อาจจะมองดูเป็นเรื่องง่ายที่จะจัดการ แต่พอเราลงไปทางานแล้วมัน ไม่ง่าย มันเป็นเรื่องยากกว่าที่คิด เพราะเมื่อวิเคราะห์เชิงลึกแล้ว มีความซับซ้อนและจัดการได้ค่อนข้างยากจึง ต้องช่วยกันหลายฝ่าย โรงเรียนก็พยายามแก้ไขปัญหานี้ คนในชุมชนจึงต้องร่วมมือกัน” 
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบล อาเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 
“เด็กมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อันเนี้ยะคือเป้าหมายของเรา อย่างที่นี่มีเด็กติดยา โตๆ หน่อยเขา ก็ไม่ไปโรงเรียนเลยนะ เขาจะหนี ไปมั่วสุม แต่พอดึงเขามาตรงนี้ได้มาทากิจกรรมกับเรา เราก็ค่อยๆ พูดกันไป ทาเป็นทีมนะ จนเขาเริ่มกลับไปเรียน แม่ผมอยากเรียน ก็จะพาเขาไปเรียน เรียนจริงนะอย่าให้เสียค่าโรงเรียนฟรี แบบปีก่อนๆ นะ ครับผมมั่นใจ .. แล้วมันก็มีตัวตนจริง ทุกวันนี้ก็เป็นเด็กดี พูดจาดี ครอบครัวเขาก็ดีใจ ได้ลูก กลับคืนมา” 
ตัวแทนชุมชนลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 
“มันทาให้เรามองเห็นสภาพหรือสภาวะของเด็กที่มีปัญหา ปกติแล้วก็ไม่เคยเจอ เราอาจจะฟังเฉยๆ ไม่ รู้ลึกลงไป แต่การทางานมันทาให้เห็นว่าสังคมปัจจุบันมันมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นด้วย มันทาให้เห็นความเชื่อมโยง
18 
กัน แต่ก่อนเราเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ครอบครัวหย่าร้าง ตีกัน ทะเลาะกัน หนีไป แต่การลงทาเคสทาให้รู้ว่า ปัญหาของคนสองคนมันทาให้เกิดปัญหาลึกลงไปในตัวเด็กได้มากขนาดนี้” 
ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบล อาเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 
“รู้สึกได้เลยว่ากลไกที่เกี่ยวข้องกับการทางานคุ้มครอง ป้องกัน และส่งเสริมเด็ก มันเห็นได้ชัดเจนมาก ขึ้น และรู้ว่ามีตัวคนทางาน มันส่องไปทุกที่เลย แล้วก็ทาให้การประสานการทางานง่ายขึ้น เป็นจริง เมื่อก่อนเรา เคยทางานอยู่ในระดับพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายก็จริง แต่การทางานมันยังเป็นตอนๆ ไม่มีข้อต่อ แต่พอมาทา รูปแบบนี้ รู้สึกได้เลยว่ามันเป็นกระบวนการ มีทั้งส่งไปส่งกลับ ข้อมูลถ่ายเทถึงกัน และอีกความภูมิใจคือ เราเปิด ฝั่งการทางานในชุมชน จากที่ไม่เคยทาไม่รู้จักกัน พอมีเคสก็ช่วยกันไปกันมา เหมือนเป็นการตอบโจทย์ ตอบสนองสิ่งที่กาลังหาๆ กันอยู่ เป็นสิ่งที่ดีและอยากให้มีในที่อื่นๆ ด้วย” 
นักสังคมสงเคราะห์เทศบาล อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา 
ข้อมูลจากหนังสือ “ประสบการณ์ บทเรียน และแนวปฏิบัติงานที่ดีของคณะทางานเด็กในชุมชน” 
โครงการCHILDLIFE จัดพิมพ์ 2557
19 
5. สรุป – บทเรียนกำรทำงำน คทด. 
บทเรียนกำรทำงำน คทด. 
 กำรทำงำนเชิงรุกจำกภำยในชุมชน หน่วยงานสนับสนุนจากภาครัฐมีระบบการทางานที่เชื่อมต่อ กัน ตั้งแต่ระดับชุมชน อาเภอ จังหวัด ดังนั้น ชุมชนที่เข้มแข็ง คณะทางานด้านเด็กในชุมชนที่เข้มแข็ง จะเป็นฝ่าย ดึงทรัพยากรต่างๆ จากภายนอกชุมชน เพื่อเข้ามาสนับสนุนการทางานด้านเด็กได้อีกหนทางหนึ่ง เป็นกระบวนการ ทางานที่สอดคล้องกัน และมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม การมีคทด.ในชุมชนเป็นการลดช่องว่างในการให้บริการจาก ภาครัฐ ที่มีเงื่อนไขและข้อจากัด ทั้งด้านเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและกระบวนการทางานที่ต้องประสานเชิงบูรณาการ ส่งผลต่อความครอบคลุมการทางานดูแลช่วยเหลือเด็กในชุมชน 
 คุณสมบัติของคณะทำงำนเด็กชุมชน นอกจากจะต้องมีจิตอาสาในการทางานแล้ว สิ่งสาคัญอีก ประการหนึ่งคือทัศนะในการทางานด้านเด็กที่ต้องมีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเด็ก โดยไม่มองว่าเด็กคือ ปัญหา แต่ให้มองว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพและมีด้านบวกในตัวเอง ซึ่งจะมีผลต่อการทางานกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่จะได้สถานการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริง ทาให้การออกแบบกิจกรรมตอบโจทย์ได้ตรง ตามสถานการณ์ 
 องค์กรท้องถิ่น การทางานด้านเด็กในชุมชนจะขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืน ผู้บริหารท้องถิ่นต้องให้ ความสาคัญ ซึ่ง คณะทางานเด็กชุมชนต้องมีกระบวนการทางานกับฝ่ายบริหารทั้งในเชิงวิธีคิดเรื่องการพัฒนา คุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน การรายงานความคืบหน้าของการทางานอย่างต่อเนื่อง และมีผลการทางานที่เป็น รูปธรรม 
 กำรมีกระบวนกำรติดตำม หนุนเสริม สนับสนุน การดาเนินโครงการCHILDLIFE จะมีองค์กร เอกชนสาธารณประโยชน์ มูลนิธิ และองค์กรภาคประชาสังคม ทาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาศักยภาพให้กับ คทด. ไม่ว่าจะเป็นการอบรมเสริมศักยภาพ การร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์เด็ก การวางแผนการทางาน การเสริม ทักษะการทากิจกรรม และการเติมข้อมูล องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทางานเป็นระยะ จะช่วยเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับคณะทางานเด็กชุมชนในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 กลไกขับเคลื่อน คทด. คทด.ที่ประสบผลสาเร็จ พบว่าใน คทด.นั้นๆจะมีเจ้าหน้าที่ขององค์กร ปกครองท้องถิ่นโดยเฉพาะ นักพัฒนาชุมชน และนักสังคมสงเคราะห์ หรือบางแห่งมีเพียงนักสังคมฯ ทั้งสองคนนี้ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน คทด.ทั้งทาหน้าที่เป็นเลขานุการ การจัดประชุม การดาเนินการศึกษารายกรณี และเชื่อมประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายสุขภาพ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หน่วยงานการศึกษา และส่วน ที่เกี่ยวข้องกับระบบปกครองและกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ และคทด.บางคนเป็น อพม.หรือ กรรมการศูนย์พัฒนา ครอบครัว (ศพค.) องค์ประกอบสาคัญของ คทด.ในการดาเนินงานจึงเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น สาหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักจะไม่ค่อยมีเวลาในการประชุม สามารถเป็นที่ปรึกษาหรือ ช่วยเหลืออื่นๆ ได้หากให้ความสนใจในการทางานด้านเด็ก 
 คทด.ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการด้วย จะทาให้สมาชิกที่มาจากหน่วยงานรัฐในพื้นที่ สามารถ ร่วมงานได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภารกิจด้วยจิตอาสาที่เกี่ยวโยงกับภาระหน้าที่ขององค์กรไปในตัว และคทด. สามารถเป็นกลไกของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด หรืออาเภอได้ด้วย
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife
21 Nov.2014 childlife

More Related Content

Viewers also liked

Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?
Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?
Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?Matt Radbourne
 
Oer 7.1
Oer 7.1Oer 7.1
Oer 7.1jbaas1
 
Belief in god (new)
Belief in god (new)Belief in god (new)
Belief in god (new)morpheus_00
 
Light presentation
Light presentationLight presentation
Light presentationBikram2001
 
Tnca assembly
Tnca assemblyTnca assembly
Tnca assemblyjoansr9
 
Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2
Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2
Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2taylorm1206
 
Introducing creative commons
Introducing creative commonsIntroducing creative commons
Introducing creative commonsmariatipaldo
 
Blog en la Educación
Blog en la EducaciónBlog en la Educación
Blog en la EducaciónKarina Mazzei
 
10 Easy Steps to Stellar Merchandising
10 Easy Steps to Stellar Merchandising10 Easy Steps to Stellar Merchandising
10 Easy Steps to Stellar MerchandisingTribal Textiles
 
Very good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudaira
Very good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudairaVery good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudaira
Very good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudaira才雄 呂
 
Reversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detection
Reversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detectionReversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detection
Reversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detectionRodrigo Montoro
 

Viewers also liked (15)

Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?
Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?
Windows 8: Does Microsoft have a lesson to learn about UX?
 
Oer 7.1
Oer 7.1Oer 7.1
Oer 7.1
 
Heat
HeatHeat
Heat
 
Geo estructural
Geo estructuralGeo estructural
Geo estructural
 
Belief in god (new)
Belief in god (new)Belief in god (new)
Belief in god (new)
 
Light presentation
Light presentationLight presentation
Light presentation
 
RaviKuraba_4
RaviKuraba_4RaviKuraba_4
RaviKuraba_4
 
Logo
LogoLogo
Logo
 
Tnca assembly
Tnca assemblyTnca assembly
Tnca assembly
 
Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2
Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2
Cs ppt2010 1a_taylor_moloney_2
 
Introducing creative commons
Introducing creative commonsIntroducing creative commons
Introducing creative commons
 
Blog en la Educación
Blog en la EducaciónBlog en la Educación
Blog en la Educación
 
10 Easy Steps to Stellar Merchandising
10 Easy Steps to Stellar Merchandising10 Easy Steps to Stellar Merchandising
10 Easy Steps to Stellar Merchandising
 
Very good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudaira
Very good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudairaVery good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudaira
Very good pmda 介紹上市後監督(英文)-s401 03 tomoko okudaira
 
Reversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detection
Reversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detectionReversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detection
Reversing Engineering a Web Application - For fun, behavior and detection
 

Similar to 21 Nov.2014 childlife

4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖
4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖
4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖Junior Bush
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4Suwakhon Phus
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคมjirapom
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมchanhom357
 
การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555dentalfund
 
Oral Health Ponetong
Oral Health PonetongOral Health Ponetong
Oral Health PonetongNithimar Or
 
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...Pattie Pattie
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...omsnooo
 
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครองบทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครองPitchayakarn Nitisahakul
 

Similar to 21 Nov.2014 childlife (20)

4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖
4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖
4.สรุปรายงานประจำปี ๒๕๕๖
 
ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]
 
ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]
 
W 2
W 2W 2
W 2
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
ชื่อโครงการ 57
ชื่อโครงการ 57ชื่อโครงการ 57
ชื่อโครงการ 57
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
กลไกสังคม
กลไกสังคมกลไกสังคม
กลไกสังคม
 
5
55
5
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรม
 
การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555
 
Oral Health Ponetong
Oral Health PonetongOral Health Ponetong
Oral Health Ponetong
 
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ระบบสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ...
 
996 File
996 File996 File
996 File
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
 
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครองบทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
 
การวางแผนการใช้งบประมาณประจำปี 2559
การวางแผนการใช้งบประมาณประจำปี 2559การวางแผนการใช้งบประมาณประจำปี 2559
การวางแผนการใช้งบประมาณประจำปี 2559
 

More from joansr9

อปสข
อปสขอปสข
อปสขjoansr9
 
กำหนดการ8เมษา
กำหนดการ8เมษากำหนดการ8เมษา
กำหนดการ8เมษาjoansr9
 
Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014 Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014 joansr9
 
Draft meeting
Draft meetingDraft meeting
Draft meetingjoansr9
 
PR IDU issue
PR IDU issuePR IDU issue
PR IDU issuejoansr9
 
เจตนารมณ์
เจตนารมณ์เจตนารมณ์
เจตนารมณ์joansr9
 
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.joansr9
 
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.joansr9
 
ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่joansr9
 
ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่joansr9
 
Name list tnca thai assembly
Name list tnca thai assemblyName list tnca thai assembly
Name list tnca thai assemblyjoansr9
 

More from joansr9 (11)

อปสข
อปสขอปสข
อปสข
 
กำหนดการ8เมษา
กำหนดการ8เมษากำหนดการ8เมษา
กำหนดการ8เมษา
 
Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014 Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014
 
Draft meeting
Draft meetingDraft meeting
Draft meeting
 
PR IDU issue
PR IDU issuePR IDU issue
PR IDU issue
 
เจตนารมณ์
เจตนารมณ์เจตนารมณ์
เจตนารมณ์
 
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
 
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
กำหนดการ ผู้บริโภค ชม.
 
ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง ผู้บริโภค เชียงใหม่
 
ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่
ร่าง กำหนดการ ผู้บริโภค เชียงใหม่
 
Name list tnca thai assembly
Name list tnca thai assemblyName list tnca thai assembly
Name list tnca thai assembly
 

21 Nov.2014 childlife

  • 1. 1 ข้อเสนอนโยบาย การดาเนินงานส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและปกป้องคุ้มครองเด็กโดยชุมชน รูปแบบการจัดตั้ง คณะทางานเด็กในชุมชน (คทด.) (Child Action Group: CAG) โครงการ พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการสนับสนุนและพัฒนาระบบดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน โครงการ CHILDLIFE :2557 สนับสนุน กองทุนโกลบอลฟันด์ รอบ 10 (The Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria : Round 10) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (AIDS ACCESS FOUNDATION) จัดทาโดย มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (มสช.) กันยายน 2557
  • 2. 2 บทนำ โครงการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการสนับสนุนและพัฒนาระบบดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็กโดยชุมชน เป็นโครงการภายใต้การสรุปผลการดาเนินงานโครงการ CHILDLIFE ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกองทุนโกลบอลฟันด์ รอบ10(The Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria : Round 10) ซึ่งดาเนินการโดยมูลนิธิเข้าถึงเอดส์(แอคเซส) ในเวลา 3 ปี ระหว่างพ.ศ. 2555-2557 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ พัฒนาการทางานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ระบบการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพและการปกป้องคุ้มครองเด็กในชุมชน ทั้งเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี และเด็กในภาวะเปราะบางที่จาเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ เยียวยาอย่างทันเหตุการณ์และต่อเนื่องอย่างเป็นองค์รวม โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้มีส่วนร่วมใน การดาเนินการในฐานะเป็น 1 ใน 3 ระบบคือ ระบบบริการด้านสุขภาพ ระบบปกป้องคุ้มครองสิทธิ/สวัสดิภาพ และ ระบบการจัดการโดยชุมชน ทั้งนี้ ระบบด้านสุขภาพและปกป้องคุ้มครองสิทธิ/สวัสดิภาพ เป็นระบบทีมีอยู่แล้ว ดาเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ 2 กระทรวงคือ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ การดาเนินโครงการCHILDLIFE เป็นการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการ มีส่วนร่วมทางานด้านเด็กเป็นการจัดตั้งคณะทางานด้านเด็กในชุมชน(คทด.) ซึ่งเป็นกลไกในระดับตาบล/ชุมชน ใน การทางานคุ้มครองเด็กภายใต้พรบ.คุ้มครองเด็กพ.ศ.2546 ร่วมกับการประสานให้ 3 ระบบได้บูรณาการกันในการ ดาเนินงานทั้งคนทางาน องค์ความรู้ งบประมาณ กลไกที่มีอยู่แล้วตามกฏหมายทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ ระดับ จังหวัด ระดับอาเภอ และตาบล โครงการCHILDLIFE มุ่งเน้นในการสร้างกลไกระดับตาบล/ชุมชนให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพ ในการทางานแบบองค์รวมในทุกมิติของชีวิตเด็กและบูรณาการการทางานของระบบสุขภาพและระบบปกป้อง คุ้มครองเด็ก โดยให้แกนนาภาคประชาสังคม อาสาสมัคร แกนนากลุ่มต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้มี ส่วนร่วมในการสร้างกลไก คทด.ที่มีองค์ประกอบของคนทางานที่มีจิตอาสา คนที่มีบทบาทภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 5 ฝ่ายคือ แกนนาชุมชน/อาสาสมัครชุมชน ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายสุขภาพ ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกป้องคุ้มครองทางสังคม ให้ใช้พื้นที่ คทด.ทางานร่วมกัน โดยเน้นทั้งการทางานเชิงรุกเพื่อค้นหาปัญหา การ จัดระบบฐานข้อมูลเด็ก การเข้าถึงเด็กที่เปราะบางและอยู่ในภาวะเสี่ยง การประเมินสภาพความเสี่ยง การให้การ ช่วยเหลือ การส่งต่อรับบริการ การรับกลับ การเตรียมชุมชนและครอบครัว มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้พัฒนาระบบชุมชนด้วยการสนับสนุนแกนนาชุมชน อาสาสมัครชุมชน กลุ่ม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในการจัดตั้ง คทด. การเสริมศักยภาพ คทด.โดยสนับสนุนให้เกิดองค์กรพี่เลี้ยงในการจัดตั้ง คทด. การเสริมศักยภาพด้วยการพัฒนาหลักสูตรเสริมศักยภาพคนทางาน การจัดทาคู่มือการทางานปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยชุมชน การจัดอบรมวิทยากรการทางานคทด.ในพื้นที่ ตลอดจนการสนับสนุนกลไกองค์กรพี่เลี้ยงให้สามารถ พัฒนาทักษะความสามารถในการติดตามหนุนเสริมการทางาน คทด.อย่างต่อเนื่อง การติดตามประเมินผล และ การสรุปบทเรียนเพื่อเป็นชุดองค์ความรู้ในการทางานเด็กโดยชุมชน
  • 3. 3 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด(พมจ.)ได้ร่วมดาเนินโครงการCHILDLIFE ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง คทด. ที่มีการวางแผน คัดเลือกพื้นที่ในการจัดตั้งร่วมกันกับแกนนาชุมชน การจัดตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กแบบองค์รวม (อนุCHILDLIFE) ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด การจัดการงบประมาณช่วยเหลือกรณีเด็กประสบ ปัญหา เด็กไร้สัญชาติ การจัดเงินช่วยเหลือครอบครัวที่ยากลาบาก ที่ส่งผลให้เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงในการดารงชีวิต โดยเป็นการคัดเลือกร่วมกันระหว่าง พมจ.กับ คทด. กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ดาเนินการพัฒนาเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้สามารถทา หน้าที่เป็นผู้จัดการรายกรณี (Case Manager) การดาเนินการวางแผนดูแลช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) ให้สามารถดาเนินการได้ในระดับอาเภอโดยมุ่งเน้นให้บุคคลากรจากโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล(รพ.สต.)ที่ได้รับการอบรมจากกรมอนามัย เพื่อเป็นหน่วยกลาง(Case Management Unit :CMU) ในการให้การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาซับซ้อน ต้องการการช่วยเหลือแบบสหวิชาชีพ และมีการติดตามการดาเนินการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของ คทด.คือความสามารถในการทางานเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนา รูปแบบกิจกรรมสาหรับเด็กและครอบครัวเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับความรุนแรง การถูกละเมิด การจัด สิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการดูแลช่วยเหลือเด็ก การปรับเปลี่ยนทัศนคติของชุมชนให้เข้าใจและร่วมมือกันใน การปกป้องคุ้มครองเด็กโดยเฉพาะเด็กที่เคยถูกตีตราว่าเป็นเด็กมีปัญหา การเชื่อมประสานระบบ 3 ระบบให้ ทางานร่วมกันในการช่วยเหลือเด็กตั้งแต่ในระดับชุมชนด้วยกัน การส่งต่อไปรับการช่วยเหลือในระดับอาเภอและ จังหวัดต่อไปด้วย จุดด้อยคือ การทางานแบบอาสาสมัครไม่มีความต่อเนื่อง การสร้างการยอมรับจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นฐานในการสนับสนุนการทางาน กลไก คทด.ยังไม่เป็นกลไกทางการของ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ซึ่งสามารถตั้งเป็นอนุกรรมการคุ้มครองเด็กระดับตาบล/ชุมชนได้ การที่มีหลาย ฝ่ายเข้าเป็น คทด.โดยเฉพาะคนที่มาจากภาครัฐ ถึงแม้จะมาร่วมงานด้วยจิตอาสา แต่ก็ต้องมีภาระหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งจาเป็นต้องมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้เป็นคทด.จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจาก คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด เพื่อช่วยให้ คทด.มีกลไกหลายฝ่ายช่วยในการขับเคลื่อนงาน การได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จึง นับว่ามีความสาคัญและจาเป็น ทั้งเรื่องการจัดตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กแบบองค์รวม(อนุ CHILDLIFE) ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด การสนับสนุนการดาเนินงานของ คทด. การสนับสนุนให้ เกิด คทด.ในพื้นที่ตาบล/ชุมชนอื่นๆที่พร้อมและมีศักยภาพเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งสู่การสร้างความ มั่นคงในชีวิตของเด็ก ลดความเสี่ยงของเด็กที่เปราะบาง โดยชุมชนเพื่อชุมชน กันยายน 2557
  • 4. 4 สารบัญ ผลกำรดำเนินงำนปี 2554-2557 1. การจัดตั้งคณะทางานเด็กในชุมชน(คทด.) หน้า 5 2. การเสริมศักยภาพ คทด. และบทบาทองค์กรพี่เลี้ยง หน้า 7 3. การทางาน คทด.ในชุมชน หน้า 10 4. ผลที่เกิดขึ้นของการทางาน คทด.ในชุมชน หน้า 13 5. สรุปบทเรียนการทางาน คทด. หน้า 19 6. กลไกสนับสนุนการทางาน คทด. อนุกรรมการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กแบบองค์รวม(อนุฯCHILDLIFE) หน้า 21 7. บทบาทของ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) หน้า 24 ข้อเสนอนโยบำย 8. ข้อเสนอนโยบาย สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทางานด้านเด็ก หน้า 26 ในรูปแบบการ จัดตั้ง คณะทางานด้านเด็กในชุมชน(คทด.)ในระดับตาบล/ชุมชน 9. พมจ.กลไกหลักขับเคลื่อนการดาเนินงานด้าน เด็กในชุมชน หน้า 28 10. ข้อเสนอต่อ พมจ. ในการสนับสนุนการดาเนินงาน คทด. หน้า 28 การแต่งตั้ง คทด. องค์ประกอบ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ แนวทางดาเนินงาน คทด. หน้า 31 แนวทางสนับสนุนการดาเนินงาน คทด. หน้า 33 แนวทางการสนับสนุน คทด. ในรูปแบบความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน้า 34 แนวทางสนับสนุนองค์กรพี่เลี้ยง หน้า 37 11. การดาเนินงาน คทด.ในกรุงเทพฯ หน้า 41 ภำคผนวก 12. องค์กรร่วมดาเนินโครงการCHILDLIFE หน้า 42 13. รายชื่อองค์กรพี่เลี้ยงในการดาเนินงาน คทด.ในโครงการCHILDLIFE หน้า 44 14. จานวน คทด.ใน29 จังหวัด หน้า 46 15. รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ หน้า 47 16. เอกสารอ้างอิง หน้า 49 สารบัญ แผนผัง ผังการทางาน คทด.ในตาบล/ชุมชน หน้า 20 ผังบทบาท พมจ. หน้า 29
  • 5. 5 1.กำรจัดตั้งคณะทำงำนเด็กในชุมชน กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรทำงำนด้ำนเด็ก : บทเรียน กำรตั้งคณะทำงำนด้ำนเด็กในชุมชน(คทด.) Community Action Group: CAG: ของโครงกำร CHILDLIFE ชุมชนในที่นี้หมายถึง ชุมชนระดับตาบล การมีส่วนร่วมของชุมชน จึงหมายถึงการที่สมาชิกในตาบลให้ ความสาคัญต่อการกาหนดทิศทางการบริหารและการดาเนินการการทางานเด็กในตาบลของตนเอง การมีส่วนร่วมหมายถึง ร่วมคิดร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผน ร่วมดาเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วม รับผลที่เกิดขึ้น ตลอดจนร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย การมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำงำนด้ำนเด็ก หมายถึง การที่คนในตาบล ผู้ใหญ่ใจดี ตระหนักและให้ ความสาคัญต่อการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในชุมชนและอาสาเข้ามาดาเนินการอย่างเป็นองค์รวมในมิติ ของการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเด็ก การช่วยเหลือ การลดความรุนแรง การบาบัดเยียวยา โดยอาศัยระบบบริการที่รัฐได้จัดไว้แล้วโดยเฉพาะระบบบริการด้านสุขภาพ ระบบปกป้อง คุ้มครองสิทธิ/สวัสดิภาพเด็กในระดับตาบล อาเภอ จังหวัด กรณีกรุงเทพมหำนคร ชุมชน หมายถึง ชุมชนแออัด ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนชานเมือง ชุมชนเมือง และเคหะชุมชน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ประกาศกาหนดเป็นเขตชุมชน คณะทำงำนด้ำนเด็ก(คทด.) คือคนที่ช่วยเหลือตัวเด็กและครอบครัว ให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติ สุข มีที่ยืนในสังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี คณะทางานจึงเป็นหัวใจสาคัญในการเชื่อมประสานการช่วยเหลือ การส่ง ต่อ เพื่อให้เด็กและครอบครัวได้รับการช่วยเหลือและดูแล และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน ซึ่งเป็น กระบวนการทางานร่วมกันระหว่างภาคชุมชนกับภาครัฐ ชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถดูแลและช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ที่กาลังเผชิญภาวะวิกฤตให้ผ่านพ้น สภาพปัญหาไปได้ จาเป็นต้องมีบุคลากรภายในชุมชนที่สนใจ เข้าใจสภาพหรือสภาวะการเผชิญปัญหา การให้ ความสาคัญกับเด็ก และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการดูแลเด็กลูกหลานของชุมชน แล้วเชื่อมประสาน การทางานกับตัวแทนของภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการ “หนุนเสริมกำรทำงำนช่วยเหลือเด็กและครอบครัว” ทั้งทางด้านวิชาการ วางแผน และประสานส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรทำงำนด้ำนเด็ก กำรจัดตั้งคณะทำงำนด้ำนเด็กในชุมชน (คทด.) Community Action Group: CAGในตำบล ที่มำ ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (แอคเซส) ได้เสนอโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน (CHILDLIFE) เพื่อรับการ สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกเพื่อต่อสู้เอดส์วัณโรคและมาลาเรีย(The Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria: Round10) เพื่อดาเนินการสนับสนุนให้ ชุมชน มีส่วนร่วมในการ 1. พัฒนำคุณภำพชีวิต ส่งเสริม ปกป้องคุ้มครองเด็กที่ได้รับเชื้อเอชไอวี/หรือรับผลกระทบ รวมกับ เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง 7 ประเภทตามนิยามขึ้นในโครงการโดยสอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก 2546 (1)เด็ก
  • 6. 6 เร่ร่อน (2)เด็กกาพร้า (3)เด็กที่อยู่ในสภาพยากลาบาก – ยากจน – หย่าร้าง – ทิ้งร้าง – ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ฯลฯ (4)เด็กพิการ (5)เด็กที่ถูกทารุณกรรม (6)เด็กไร้สถานะทางกฎหมาย (7) เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 2. เชื่อมประสำนระบบบริกำรสุขภาพ ระบบปกป้องคุ้มครองเด็ก และระบบชุมชน ในการทางานด้าน เด็กอย่างเป็นองค์รวม โดยใช้ระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ การใช้ระบบส่งต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. เสริมศักยภำพชุมชน ให้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก การตระหนักและเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิด้าน เด็ก การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การวางแผนพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก การวิเคราะห์ปัญหาและการ ใช้ทรัพยากร สหวิชาชีพ ระบบบริการในการแก้ไขปัญหาเด็กอย่างครบวงจร โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก(CHILDLIFE)ดาเนินการใน 29 จังหวัดทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย มีการ จัดตั้ง คทด. จานวน 1,130 แห่ง/ตาบล มีองค์กรพี่เลี้ยงซึ่งหมายถึงองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรประชา สังคมทาหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง คทด. การพัฒนาเสริมศักยภาพ และการติดตามหนุนเสริม คทด. ในพื้นที่จานวน 37 องค์กร กำรจัดตั้งคณะทำงำนเด็กในชุมชน (คทด.)(Child Action Group: CAG) องค์ประกอบสาคัญ 5 ฝ่าย เพื่อเข้ามาเป็นกลไกในการดูแล ติดตาม และช่วยเหลือเด็กในชุมชนแบบองค์รวม (1) ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้นาชุมชน ประธานชุมชน (2) ฝ่ายการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา โรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบ ศูนย์เด็กเล็ก (3) ฝ่ายปกป้องคุ้มครองทางสังคม เช่น อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) พัฒนาชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กและครอบครัว (4) ฝ่ายสุขภาพ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล (รพ.สต.) คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กรรมการกองทุนฯ) (5) ฝ่ายองค์กรชุมชน เช่น สภาเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มสตรี องค์กรศาสนา กำรเข้ำมำเป็นคณะทำงำนด้ำนเด็กชุมชนได้นั้น บางพื้นที่จะมีการจัดเวทีประชาคม หรือจัดเวทีประชุมผู้นา ชุมชน เพื่อคัดเลือกคนที่เหมาะสม มีประสบการณ์ในการทางานด้านเด็ก และมีจิตอาสาเข้ามาเป็นคณะทางาน หรือบางพื้นที่ อปท. จะเป็นฝ่ายคัดเลือกคนทางานทั้ง 5 ฝ่ายเองโดยตรง เพราะทราบตัวคนที่เหมาะสมในการ ทางาน เมื่อมีกลุ่มคนทางานในชุมชนริเริ่มจัดตั้งเป็น คทด.แล้ว จึงมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการใน 2 ลักษณะ แตกต่างกันตามพื้นที่จังหวัดคือ (1) แต่งตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) แต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด เช่น ที่จังหวัดขอนแก่น
  • 7. 7 2. กำรเสริมศักยภำพคณะทำงำนด้ำนเด็กในชุมชน(คทด.)และ บทบำทองค์กรพี่เลี้ยง กำรเสริมศักยภำพ คทด. ก่อนเริ่มดาเนินงาน คทด.ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพี่เลี้ยง เช่น พมจ. ศูนย์อนามัย สาธารณสุขจังหวัด และองค์กรพี่เลี้ยงต่างๆ เช่น มูลนิธิ เครือข่ายผู้ติด เชื้อเอชไอวี มูลนิธิรักษ์เด็ก ฯลฯ ในการสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน ทัศนคติต่อเด็ก แนวทางการ ทางานเด็ก พระราชบัญญัติ (พรบ.) ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น พรบ. คุ้มครองเด็ก พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทาความ รุนแรงในครอบครัว พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เห็นว่ากฎหมายไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว แต่ทุก คนมีบทบาทสาคัญในการคุ้มครองสิทธิเด็ก รวมถึงสามารถเชื่อมโยงการทางานด้านเด็กได้เป็นระบบ อีกทั้งยังมีการหนุนเสริมทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหารายกรณี การจัดลาดับความสาคัญของ ปัญหา เทคนิคและกระบวนการจัดกิจกรรม และที่สาคัญ คทด. ยังต้องผ่านกระบวนปรับทัศนะในการเห็นคุณค่า และมีความเชื่อมั่นในตัวเด็ก และหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก รวมถึงอนุสัญญาคุ้มครองเด็ก (Convention on The Rights of the Child) ที่ประเทศไทยได้ลงนามแล้วด้วย สรุปชุดเครื่องมือในการเสริมศักยภาพ คทด.คือ 1. หลักสูตร 1.1 การพัฒนาทักษะการทางานปกป้องและคุ้มครองเด็กในชุมชน” และการใช้ “คู่มือการทางาน คณะทางานด้านเด็กในชุมชน” พัฒนาหลักสูตรและคู่มือโดย มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึง เอดส์ 1.2 “การประชุมรายกรณี Case Conference” “การบริหารจัดการรายกรณี Case management” “ “Facilitating skill for Case Conference” “การบริการปรึกษาในวัยรุ่น” พัฒนาหลักสูตรโดย กรม อนามัย ร่วมกับ มูลนิธิPath to Health 1.3 การลดการตีตรา การเลือกปฏิบัติ กรณีเอชไอวี/เอดส์ และชุดสื่อเพื่อรณรงค์เช่น หนังสั้น มิวสิควีดี โอ ชุดเอกสารข้อมูล จัดทาโดยมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิ เข้าถึงเอดส์(แอคเซส) 2. การได้รับการติดตามหนุนเสริมอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด 3. การประชุมสรุปประเมินผลเป็นประจาร่วมกับองค์กรพี่เลี้ยง และเวทีแลกเปลี่ยนในระดับจังหวัด บทบำทขององค์กรพี่เลี้ยง ในกำรสนับสนุนกำรจัดตั้งและเสริมศักยภำพ คทด. หมายถึงองค์กรที่ทาหน้าที่ สนับสนุน หนุนเสริม ติดตามประเมินผล คณะทางาน รวมถึงการกระตุ้นให้ เกิดการจัดตั้ง คทด.ในตาบล บทบาทหลักคือ 1. ประสานสื่อสารให้ข้อมูลเพื่อการจัดตั้ง คทด.ในตาบล เช่น การจัดประชุมเครือข่ายประชาสังคม แกนนา ประชาชน กลุ่มประชาชน อาสาสมัครจิตอาสาต่างๆ การให้ข้อมูลกับ อปท. ร่วมมือกับ อปท.ในการ สนับสนุนการจัดตั้ง คทด.
  • 8. 8 2. ฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้ คทด. ทั้งนี้มีหลักสูตร และ คู่มือการทางานเด็กในชุมชน เป็นเครื่องมือหลักที่ ได้รับการพัฒนามาจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก(CHILDLIFE) เป็นการจัดอบรมก่อนดาเนินงาน อบรมเสริมระหว่างการดาเนินงาน การทบทวนเพิ่มเติมข้อมูล และการอบรมฟื้นฟูทักษะและหนุนใจใน การทางาน (Refreshing course) 3. ที่ปรึกษาการทางาน การเยี่ยมติดตามสนับสนุนการทางานในพื้นที่ การหนุนเสริมกระบวนการศึกษา ช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) การประสานระบบการทางานจากระดับตาบล ถึงระดับอาเภอ และระดับจังหวัด 4. จัดเวทีสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน การทางานระหว่าง คทด.ในระดับจังหวัด รำยละเอียดกำรทำงำนที่ปรึกษำและติดตำมสนับสนุนขององค์กรพี่เลี้ยง บทบาทการปรึกษา การเยี่ยมติดตามสนับสนุนการทางานในพื้นที่ หลังอบรม คทด.องค์กรพี่เลี้ยงจะมีทีม หนุนเสริมไปหนุนการทางานในพื้นที่ เพราะการอบรมเพียงครั้งเดียว ยังไม่สามารถนาเอาแนวทางการจัดกิจกรรม สาหรับเด็กไปใช้ได้เลย จึงต้องมีทีมหนุนเสริมมาช่วยการทางานของ คทด.อีกต่อหนึ่ง เป็นการเสริมความมั่นใจ ให้กับการทางานในตาบล ทุกๆ เดือนจะมีการติดตาม คทด. ว่าจัดกิจกรรมอะไรไปบ้าง ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของคนที่เป็น คทด.หลายคนว่าเขาสามารถทากิจกรรมได้ เห็นการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์เด็กในพื้นที่ได้ เช่น ถ้าในพื้นที่มี สถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็มีการออกแบบกิจกรรมในเรื่องเพศและการ ป้องกัน แหล่งให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย การคุมกาเนิด และยาเสพติดประเภทเหล้า บุหรี่ เป็นต้น ทุกๆ 3 เดือนองค์กรพี่เลี้ยง จะไปประชุมไตรมาสร่วมกับ คทด. ทุกครั้ง รวมถึงการไปช่วยทากิจกรรมด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพื้นที่ เป้าหมายของประชุมรายไตรมาสทาไปเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ในการทางาน ประเมินสถานการณ์เด็ก วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่ทากิจกรรม รวมไปถึงวางแผนการทากิจกรรมในแต่ละไตรมาส การนาข้อมูลที่เก็บ รวบรวมตามแบบ CAG 1 มาพิจารณาร่วมกันเพื่อดูความก้าวหน้าว่ามีเด็กเปราะบางกี่คน กี่คนอยู่ในความเสี่ยง กี่ คนได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อเอชไอวีหรือเกี่ยวข้องกับเอดส์ ที่ผ่านมา คทด.ได้ทากิจกรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เพียงใด CAG 1 คือฐานข้อมูลเด็ก เป็นแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานเด็กในชุมชน ชื่อเด็ก อายุ ชื่อตาบล สถานะทาง ครอบครัว ความเสี่ยงหรือแนวโน้มที่จะถูกล่วงละเมิด เช่น บางพื้นที่เด็กมีแนวโน้มถูกล่วงละเมิดทางเพศ คทด. ก็ จะมาสะท้อนว่าเริ่มเห็นสถานการณ์เด็กเสี่ยงเพราะมีพื้นที่อยู่ห่างไกลชุมชน หลังจากนั้นก็จะนาสถานการณ์ไป ออกแบบกิจกรรม เช่น ตัวฉันเป็นของฉัน เพื่อให้รู้เรื่องสิทธิเด็ก และประเมินความเสี่ยงของตัวเองได้ ส่วน CAG 3 เป็นแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเด็กภายหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ คทด.จัดขึ้น แล้ว เป็นการจัดทาข้อมูลความก้าวหน้าการทางาน เป็นการติดตามว่าเด็กได้รับการแก้ไขปัญหาแล้วหรือยัง รวมถึง ดูความเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายด้วย จึงมองเห็นพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของเด็ก เช่น ทักษะในการทา กิจกรรม ในการอยู่ร่วมกับสังคม ความช่วยเหลือที่ได้รับ เช่น เบี้ยยังชีพในกลุ่มชาติพันธุ์ ทาให้คนทางานเห็น
  • 9. 9 สถานการณ์ว่าเด็กคนหนึ่งอาจได้รับความช่วยเหลือจากหลายแห่ง หรือลดการให้ความช่วยเหลือซ้าซ้อน บาง อปท. เห็นสถานการณ์ก็มีทุนการศึกษาให้กับเด็ก การติดตามพัฒนาการเกี่ยวกับทัศนคติ ความเชื่อของ คทด.ในการทางาน เพราะเมื่อจัดอบรมนั้น ใน หลักสูตรจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การปรับทัศนคติเกี่ยวกับเด็กและการทางานกับเด็ก มักจะสังเกตเห็นว่าคณะทางาน บางคนยังมีความคิดว่าเด็กติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถเติบโตได้ ต้องตายเหมือนแม่ เวลาทากิจกรรมก็ยังคง หวาดกลัวถ้าต้องทากิจกรรมกับเด็กที่ติดเชื้อ สิ่งสาคัญ คทด.ต้องเชื่อว่าเด็กทุกคนเติบโตได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ จึงต้องปรับฐานทัศนะของคนทางานเป็นระยะผ่านกระบวนการติดตามประเมินผลการทางาน เพราะแม้ คทด.มา ทางานด้วยใจ จิตอาสา มาทางานอย่างเดียวไม่พอต้องมาพร้อมกับทัศนะที่มองเด็กในเชิงบวกมากขึ้น คณะทางานบางคนมีประสบการณ์ส่วนตัวในการเลี้ยงดูเด็กมาก่อน ก็เอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนการทางาน ร่วมกัน ดังนั้น ในบางประเด็นองค์กรพี่เลี้ยงเพียงเติมข้อมูลนิดหน่อย คทด. ก็เข้าใจ แต่บางพื้นที่ต้องเริ่มต้นใหม่ หมด แต่ก็ต้องยอมรับว่าการปรับทัศนะกับคนนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าไม่ทาเลย คทด. ก็จะมองเด็กแบบเหมารวม เช่น เด็กเกเร เด็กขี้เกียจเรียน เด็กชอบใช้ความรุนแรง เป็นต้น บทบาทสาคัญของการติดตามหนุนเสริมการทางานของ คทด.โดยองค์กรพี่เลี้ยง คือการหนุนเสริมให้ คทด.สามารถประเมินสถานการณ์เด็กได้อย่างรอบด้าน ไม่ได้เน้นด้านสงเคราะห์อย่างเดียว ต้องรู้ช่องทางในการ ส่งต่อ และมีระบบติดตามด้วย ซึ่งต้องมีการวางแผนต่อเนื่อง หากสุดท้ายเด็กต้องกลับไปในชุมชนก็ต้องมีแผน รองรับเด็ก
  • 10. 10 3. กำรทำงำนของ คทด.ในชุมชน หลักกำรสำคัญในกำรทำงำน คทด. • หลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็กไม่ละเมิดสิทธิเด็ก รักษาความลับ • หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กเสมอภาคกัน • หลักการมีทัศนคติเชิงบวกต่อเด็ก คือ “ ไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา ไม่เหมารวม” ความเชื่อมั่นและเห็น คุณค่าในตัวเด็ก เด็กไม่ใช่ตัวปัญหาเด็กทุกคนมีศักยภาพและด้านบวก รวมทั้งมีวิธีการพัฒนา เด็กเชิงบวก เพิ่มต้นทุนชีวิตเด็กผ่านกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและให้โอกาสเด็ก ปฏิบัติกำรของ คทด.ในชุมชน  เมื่อมีการจัดตั้ง คทด. และได้รับการอบรมเสริมทักษะแล้ว คทด.จะเริ่มปฏิบัติการโดยจะทาการ สารวจและเก็บข้อมูลเด็กเปราะบาง 8 กลุ่ม คือ เด็กเร่ร่อน เด็กกาพร้า เด็กที่อยู่ในภาวะยากลาบาก เด็กพิการ เด็ก ถูกทารุณกรรม เด็กไร้สัญชาติ เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ผ่าน เครื่องมือที่เป็นแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานเด็กในชุมชน เพื่อนาสถานการณ์มาใช้ในการวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่และ ลาดับความสาคัญของสถานการณ์ แล้วจึงนาไปวางแผนกระบวนการทางานทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหาใน ชุมชน  ถ้าเป็นการทางานในเชิงป้องกัน คทด.จะนาข้อมูลที่สารวจได้ไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมให้ สอดคล้องกับสถานการณ์และตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมพบกลุ่มเด็กเป็นประจาทุก สามเดือน การจัดอบรมผู้ดูแลเด็ก ค่ายเด็ก ค่ายครอบครัว เป็นต้น สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก หลักการสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาค หลักไม่เลือกปฏิบัติ s  สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา สิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะมีชีวิตรอด อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child สิทธิมนุษยชน คือ  สิทธิที่ติดตัวมากับความเป็นมนุษย์  สิทธิที่เป็นสากลไม่ว่าเชื้อชาติ ศาสนา เพศใด  สิทธิที่ไม่อาจถูกพรากไปได้ หรือยกให้แก่กันได้  สิทธิที่ไม่ถูกแยกออกจากกันระหว่างสิทธิพลเมือง/การเมือง/และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
  • 11. 11 เช่น คณะทางานเด็กชุมชนวิเคราะห์ว่าชุมชนมีสถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น การจัดกิจกรรมก็จะเน้นในประเด็นเพศศึกษา การคุมกาเนิด และแนะนาแหล่งบริการที่ ให้คาปรึกษาเรื่องเพศและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย  หาก คทด.ลงไปสารวจสถานการณ์เด็กในชุมชนแล้วพบปัญหาในกลุ่มเด็กเปราะบาง หรือการใช้ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในตาบล เช่น บันทึกการเยี่ยมบ้านของครู แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพผ่านเครือข่ายอสม. ของ รพ. สต. ข้อมูลด้านพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสารเสพติดของฝ่ายปกครอง ซึ่งสามารถนามาพิจารณาร่วมกัน เพื่อค้นหา เด็กที่ต้องการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนได้ รวมทั้ง กำรสังเกตควำมผิดปกติของเด็ก โดย คทด.ในชุมชนเอง เช่น พยาบาลคลินิกสังเกตว่า เด็กผู้หญิงวัยเรียนมาช่วยดูแลพ่อที่เจ็บป่วยทุกวันจึงสอบถามพบว่าเด็กไม่ไปโรงเรียน และไม่มีเอกสารแสดงตน,ผู้ใหญ่บ้านเห็นพ่อทุบตีลูกบ่อยๆ, ครูประจาชั้นพบเด็กขาดเรียนบ่อยหรือไม่ยอมมา โรงเรียน ซึมเศร้าไม่ร่าเริงเหมือนเด็กวัยเดียวกัน ไม่เข้ากลุ่มหรือมีเพื่อน, คทด.พบเด็กคนเดิมหนีเรียนเป็นประจา เป็นต้น การสังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ได้เร็วย่อมหมายถึงการทาให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หรือไม่ล่าช้าเกินไป รวมถึงการรับแจ้งเหตุจากคนในชุมชน เช่น วัยรุ่นทะเลาะวิวาทกัน การใช้สารเสพติด เป็นต้น เมื่อพบเจอปัญหาเหล่านี้ ทาง คทด.ก็จะนาเรื่องมาประชุมหารือกันเพื่อหาทางแก้ปัญหา โดยขั้นตอน สาคัญคือการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่สามารถตรวจสอบได้จาก แบบบันทึกข้อมูลรายบุคคล(CAG1)ที่คทด.ได้ทา ไว้แล้ว และจากแหล่งข้อมูลแวดล้อม และการพูดคุยกับเด็กโดยตรง กรณีต้องส่งต่อก็จะมีการติดต่อประสานงาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้คาแนะนาและช่วยจัดการปัญหา เป็นการจัดการวางแผนช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) โดย คทด.ในระดับตาบล กรณีต้องมีการส่งต่อ คทด.ต้องมีการประสานงานกับระบบบริการ ต่างๆที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะระบบบริการด้านสุขภาพ ระบบปกป้อง คุ้มครองทางสังคม ระบบปกครอง กระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนหนึ่งต้องเผชิญปัญหามากกว่า 1 ด้าน และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ภาคส่วน จึงต้องมีการวางแผนดูแลช่วยเหลือรายกรณี (Case Conference) ในระดับอาเภอ ซึ่งจะมีฝ่ายปกป้อง คุ้มครองทางสังคม ฝ่ายสุขภาพ และฝ่ายชุมชน มาช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา ให้ความช่วยเหลือ และติดตามความ คืบหน้าเป็นระยะจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข หากมีอนุกรรมการคุ้มครองเด็กอาเภอ ก็จะเป็นการดาเนินการ โดยอนุกรรมการคุ้มครองเด็กระดับอาเภอ หากไม่มี ก็จะมีกลไกสาคัญที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนคือ Case manager ที่ได้รับการอบรมจากกรมอนามัย ศูนย์อนามัยเขต และได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ดูแลจัดการปัญหาที่ ส่งต่อมาจาก คทด.และอื่นๆ  สาหรับการติดตามผลการดาเนินการ คทด.จะมีการประชุมกันทุกไตรมาส เพื่อทบทวนแผนการ ทางาน ทบทวนสถานการณ์ปัญหา รวมถึงวิเคราะห์การทากิจกรรมที่ผ่านมาว่ามีความสอดคล้องหรือเป็น ประโยชน์กับพื้นที่มากน้อยเพียงใด เพื่อนาผลที่ได้มาใช้ในการวางแผนการทางานในไตรมาสต่อไป นอกจากนั้น คทด.ยังมีการติดตามความคืบหน้าผ่านการเก็บข้อมูลของเด็กที่มาร่วมกิจกรรมผ่านแบบ บันทึกการเปลี่ยนแปลง (CAG3) ในเด็กคนเดียวกันกับที่เคยถูกเก็บข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานเด็กใน ชุมชน (CAG1) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงของเด็กทั้งทางร่างกาย ทักษะในการทากิจกรรม ร่วมกับผู้อื่น การสื่อสารกับคนในครอบครัว รวมไปถึงติดตามความช่วยเหลือที่เด็กพึงจะได้รับ เช่น ทุนในการต่อ
  • 12. 12 ยอดอาชีพจาก พมจ. ทุนการศึกษาจากมูลนิธิต่างๆ หรือ อปท. เบี้ยยังชีพจากศูนย์พัฒนาสังคมเดือนละ 500 บาท ในกรณีที่เป็นเด็กชาติพันธุ์ หรือการช่วยเหลือในด้านสุขภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการ ช่วยเหลือ ลดความช่วยเหลือที่ซ้าซ้อน หรือช่วยให้การช่วยเหลือเด็กเป็นไปอย่างรอบด้านมากขึ้น
  • 13. 13 4. ผลที่เกิดขึ้นของกำรทำงำน คทด.ในชุมชน ผลกำรทำงำนของ คทด.  การดาเนินการจัดตั้ง คทด.ใน 29 จังหวัด(2555-2557) มีจานวน คทด.ที่จัดตั้งรวม 1,130 แห่ง มีการ จัดเก็บข้อมูลเด็กในภาวะเปราะบางได้จานวนรวม 121,741 ราย แยกเป็นประเภทความเปราะบางดังนี้ 1) เร่ร่อน 51 2) กาพร้า 30,410 3) อยู่ในสภาพยากลาบาก 79,834 (ยากจน 39,179 / ไม่ได้รับการศึกษา 4,001/ ปัญหาสุขภาพต้อง รักษาต่อเนื่อง-เอชไอวี-อื่นๆ 6,384 /พ่อและหรือแม่ถูกคุมขังอยู่ 1,747 / รับภาระเกินวัย-กาลัง 4,911 /พ่อแม่หย่าร้าง-แยกกันอยู่ 31,671 /ขาดผู้ดูแล 36,926 ) 4) พิการ 3,230 5) ถูกทารุณกรรม 30,618 (เคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกทาร้ายร่างกาย-ละเมิดกฎหมาย 25,948 / เคย และ/หรือมีแนวโน้มถูกรังเกียจ กีดกัน หรือเลือกปฏิบัติ 11,407) 6) ไร้สถานะทางกฎหมาย 1,688 (ไม่มีเลข 13หลัก /เลข 13 หลักตัวแรกเป็น 0,6,7) 7) เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 799 ** หมายเหตุ เด็กหนึ่งราย มีภาวะเปราะบางซ้าซ้อนกันมากกว่าหนึ่ง**
  • 14. 14 ตัวอย่ำงกำรดำเนินงำนของ คทด. จังหวัดอุบลรำชธำนี สภำวะเปรำะบำง รวม 1 เด็กเร่ร่อน 3 2 เด็กกาพร้า 2,587 3 เด็กที่อยู่ในสภาพยากลาบาก 6,295 3.1 ยากจน 5,095 3.2 ไม่ได้รับการศึกษา 324 3.3 ปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง 455 3.4 พ่อ และ/หรือ แม่ถูกคุมขังอยู่ 59 3.5 เด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกาลังความสามารถและสติปัญญา 94 3.6 พ่อแม่หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 1,876 3.7 ขาดผู้ดูแล 2,786 4 เด็กพิการ 371 5 เด็กที่ถูกทารุณกรรม 363 5.1 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกทาร้ายร่างกาย ทั้งนี้รวมถึง การล่วงละเมิดทางเพศ, การ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม, มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย, ละเมิดกฎหมาย 255 5.2 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกรังเกียจ กีดกัน หรือเลือกปฏิบัติไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทาง สังคมในชุมชน 165 6 เด็กไร้สถานะทางกฎหมาย 91 6.1 ไม่มีเลข 13 หลัก 54 6.2 มีเลขตัวแรกของเลข 13 หลักเป็นเลข 0,6,7 37 7 เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 10 รวม 6,651 CAG1 =แบบเก็บบันทึกข้อมูลเด็กเบื้องต้น OVC = เด็กในภาวะเปราะบาง CABA = เด็กติดเชื้อเอชไอวีและหรือได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์
  • 15. 15 จำนวนเด็กที่ได้รับกำรช่วยเหลือรำยกรณี (จังหวัดอุบลราชธานี) สภำวะเปรำะบำง ชำย หญิง รวม 1 เด็กเร่ร่อน 0 0 0 2 เด็กกาพร้า 45 24 69 3 เด็กอยู่ในสภาวะยากลาบาก 69 45 114 3.1 ยากจน 62 38 100 3.2 ไม่ได้รับการศึกษา 3 5 8 3.3 ปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง 10 12 22 3.4 พ่อและ/หรือแม่ถูกคุมขัง 1 1 2 3.5 เด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกาลังความสามารถ 2 2 4 3.6 พ่อแม่หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 14 13 27 3.7 ขาดผู้ดูแล 39 18 57 4 เด็กพิการ 6 7 13 5 เด็กถูกทารุณกรรม 9 12 21 5.1 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกทาร้ายร่างกาย ทั้งนี้รวมถึงถูกล่วงละเมิดทางเพศ การ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีเพศสัมพันธุ์ไม่ปลอดภัย ละเมิดกฎหมย 3 5 8 5.2 เด็กเคยและ/หรือมีแนวโน้มถูกรังเกียจ กีดกัน หรือถูกเลือกปฏิบัติไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมในชุมชน 9 9 18 6 เด็กไร้สถานะทางกฎหมาย 1 0 1 6.1 ไม่มีเลข 13 หลัก 0 0 0 6.2 มีเลขตัวแรกของเลข 13 หลักเป็น 0,6,7 1 0 1 7 เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 0 0 0 8 เด็กได้รับเชื้อเอชไอวี/หรือได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ 9 9 18 ได้รับกำรส่งต่อ จำนวนรำย จำนวนครั้ง ด้านสังคม 96 113 ด้านสุขภาพ 20 20 ด้านสังคมและสุขภาพ 2 4 กรณีตัวอย่ำงกำรวำงแผนช่วยเหลือรำยกรณี (Case Conference)ของ คทด.แห่งหนึ่งในภำคใต้ จัดตั้ง คทด.เมื่อ 11 ธ.ค.2555 คทด.มีการทางานเป็นทีม การประชุมและจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง คทด. จะให้ความสาคัญ ช่วยกันแบ่ง บทบาท วางแผนร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ซึ่งในช่วงแรกของการทางานพื้นที่ ยังไม่ค่อยได้ เชื่อมประสาน 3 ฝ่าย เมื่อมีกรณีเด็กที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเร่งด่วนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต ทาง คทด. โดยฝ่ายสุขภาพ จึงได้ประสานงานไปยังหน่วยงานภายนอก คือภาควิชาพยาบาลจิตเวชมหาวิทยาลัยในจังหวัด เพื่อให้ช่วยมาทาการประเมินสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว เชิญอาจารย์พยาบาลจิตเวช เข้าร่วมประชุมวางแผน ร่วมกันกับ คทด.ด้วยในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง
  • 16. 16 อีกกิจกรรมที่ คทด.ดาเนินการเป็นประจาคือ จัดกิจกรรมพบกลุ่มเด็กและผู้ดูแลเด็ก เพื่อติดตามความ คืบหน้าของเด็กที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม และประเมินสถานการณ์ เด็กรายใหม่ โดยเลือกเด็กที่มีสถานการณ์ ใกล้เคียงกันมาทากิจกรรมร่วมกัน เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับสถานการณ์ของเด็ก ในช่วงการจัดกิจกรรมทาง คทด. จะมาร่วมกิจกรรม แบ่งหน้าที่ในการสังเกตการณ์และทากิจกรรม ร่วมกับเด็ก เข้าไปพูดคุยกับเด็กแต่ละคนให้เด็กรู้สึกเป็นกันเอง และหลังเสร็จกิจกรรมจะมีการสรุปผลร่วมกัน มีการวางแผนติดตามเยี่ยมบ้านเด็กทุกรายที่มาร่วมกิจกรรม และคัดแยกเด็กรายกรณีที่ต้องทางาน ช่วยเหลือติดตามเร่งด่วน ซึ่งการไปเยี่ยมบ้านเด็กทุกคนนั้น ทาให้ คทด.และผู้ปกครองเด็กมีสัมพันธภาพที่ดียิ่งขึ้น คทด.เห็นสถานการณ์ที่เด็กต้องเผชิญในครอบครัวหรือชุมชนมากยิ่งขึ้น เมื่อจัดกิจกรรมค่ายครอบครัว ผู้ปกครองหลายรายก็เห็นประโยชน์และมาร่วมกิจกรรมในโครงการ สำหรับกรณีเด็กที่ต้องวำงแผนช่วยเหลือเร่งด่วน กรณีเด็กผู้หญิง กาลังจบชั้น ป.6 มาเข้าร่วมกิจกรรมกับ คทด.ตั้งแต่ ป.5 มีสถานการณ์เรื่องยาเสพติด เพศสัมพันธ์/พ่อเลี้ยง/แฟนพี่สาวที่อยู่ในบ้านเดียวกันกับเด็ก มีแนวโน้มที่เด็กจะถูกล่วงละเมิด และมีปัญหา ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับแม่ เด็กเคยทะเลาะกับแม่แล้วหนีออกจากบ้าน ในบ้านเด็กมียายที่เด็กรู้สึกว่ารักตนเอง ซึ่ง คทด.ได้ทราบรายละเอียดจากคุณครู และครูส่งต่อมาให้ช่วยเหลือ ชวนมาร่วมกิจกรรมพบกลุ่ม คทด.สังเกตความ เปลี่ยนแปลง วางแผนร่วมกันในการติดตามเด็กทั้งจากพัฒนาการในการมาร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง การเยี่ยมบ้าน เชิญแม่เด็กมาร่วมค่ายครอบครัว เด็กเปิดใจและชอบที่จะมาร่วมกิจกรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมดี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งใจเรียนและมีผลการเรียนดีขึ้น เด็กไว้ใจเล่าให้ คทด. ฟังเวลามีปัญหาเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่ง ล่าสุดเด็กประสบปัญหาที่โรงเรียน คือ มีตารวจชุมชน เข้าไปจับเด็กใน ร.ร. โดยกล่าวหาว่าเด็กขโมยรถมอเตอร์ ไซด์คนในชุมชนใกล้ๆโรงเรียน ซึ่งตารวจชุมชนได้ใช้คาพูดและแสดงกิริยาไม่เหมาะสม แสดงท่าทางข่มขู่เด็ก ทาให้ เด็กอับอาย ไม่กล้าไปโรงเรียน ทางโรงเรียนและจนท.ตารวจ ได้ว่ากล่าว ตารวจชุมชน ถึงการกระทาที่ไม่เหมาะสม ของตารวจชุมชนในครั้งนั้น แต่เด็กก็ตกเป็นผู้เสียหาย เพราะถูกพูดต่อๆจนเด็กตัดสินใจไม่ไปโรงเรียน คุณครู อนุญาตให้เด็กนางานไปทาที่บ้านแล้วค่อยมาสอบได้ เมื่อ คทด.ทราบเรื่องได้เข้าไปสอบถามข้อเท็จจริงจากคุณครู และปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ OSCC รพ.ชุมชน เพื่อช่วยเหลือเด็ก โดยจะช่วยพิทักษ์สิทธิในส่วนที่เด็กถูกตารวจ ชุมชนทาให้อับอาย และช่วยสร้างแรงจูงใจในการอยากกลับไปเรียนอีกครั้งให้แก่เด็ก เพราะเด็กตัดสินใจว่าจะ เรียนจบ แค่ ป.6และออกไปขายของกับป้า ไม่อยากเรียนต่อในระบบอีกแล้ว รู้สึกอับอายเพื่อนๆ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ เด็กมีความฝันอยากเป็นพยาบาล ทางOSCCและคทด. จึงวางแผนร่วมกันจากความชอบความสนใจ และ ความสามารถพิเศษที่พบเด็กเวลาทากิจกรรม คือเด็กจะชอบดูแลน้องๆที่เล็กกว่าตนเอง จึงชวนเด็กมาฝึกเป็นพี่ เลี้ยงเด็กอ่อนที่ถูกทอดทิ้งในโรงพยาบาล เพื่อให้เด็กได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกระตุ้นแรงจูงใจตามความ ฝันที่เด็กตั้งใจไว้ อีกทั้งให้เด็กได้เห็นถึงชีวิตของเด็กตัวเล็กที่ขาดทั้งพ่อแม่ เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีกับแม่ของ ตนเองมาก รายนี้มีการเปลี่ยนแปลงตนเอง เชื่อมั่นตนเองยิ่งขึ้น ทาง คทด.มีแผนติดตามอย่างต่อเนื่อง
  • 17. 17  จากเดิมที่องค์กร/หน่วยงานในชุมชนไม่ว่าจะเป็น รพ.สต. โรงเรียน อพม. ศพค. พัฒนาชุมชน รวมไป ถึง อปท. ต่างแยกกันทางานตามบทบาทของตัวเอง แต่เมื่อมี คทด.ทาให้เกิดการเชื่อมประสานการทางานด้านเด็ก ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบมากขึ้น เพราะ คทด. มีองค์ประกอบของทุกภาคส่วน ได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนสถานการณ์เด็กในพื้นที่ร่วมกันผ่านการประชุม พร้อมทั้งช่วยกันวิเคราะห์แนวทางการให้ความ ช่วยเหลือที่รอบด้าน และมีการทากิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าให้ความสาคัญกับ การทางานด้านเด็ก รู้สึกตัวเองเป็นเจ้าของปัญหา และพร้อมที่จะลุกขึ้นมาทางานกันเองโดยไม่ต้องรอคาสั่งจาก หน่วยงานใด หากปัญหาใดจัดการได้ในชุมชนก็ดาเนินการเองได้เลย แต่ถ้าปัญหาใดจัดการไม่ได้ก็จะรู้แหล่งใน การประสานส่งต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อคทด.ต่างให้ความสาคัญกับการทางานเด็กในระดับพื้นที่มากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือการระดม ทรัพยากรในการทางานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อปท. กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ โรงเรียน และการเขียนโครงการ เสนอไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทุนคุ้มครองเด็ก เพื่อมาใช้ในการทากิจกรรมให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม กับเด็กทุกกลุ่มในชุมชน  กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากการออกแบบกิจกรรมเป็นการทางานเชิงรุก เข้า ไปค้นหาปัญหา การจัดกิจกรรมป้องกัน และการเข้าไปทางานอย่างต่อเนื่องและอิงตามการวิเคราะห์ข้อมูลที่คทด. ช่วยกันเก็บมาในพื้นที่ จึงทาให้กิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และมีความหลากหลายไม่ น่าเบื่อ จึงได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี และมองเห็นผลลัพธ์จากการทากิจกรรมอย่าง ชัดเจน สร้างความภาคภูมิใจในการทางานให้กับคทด. เช่น การจัดค่ายครอบครัวทาให้เด็กและผู้ปกครองมี สัมพันธภาพที่ดีขึ้น มีการสื่อสารกันภายในครอบครัวมากขึ้น “ปัญหาการไม่ไปโรงเรียนของเด็ก อาจจะมองดูเป็นเรื่องง่ายที่จะจัดการ แต่พอเราลงไปทางานแล้วมัน ไม่ง่าย มันเป็นเรื่องยากกว่าที่คิด เพราะเมื่อวิเคราะห์เชิงลึกแล้ว มีความซับซ้อนและจัดการได้ค่อนข้างยากจึง ต้องช่วยกันหลายฝ่าย โรงเรียนก็พยายามแก้ไขปัญหานี้ คนในชุมชนจึงต้องร่วมมือกัน” เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบล อาเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ “เด็กมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อันเนี้ยะคือเป้าหมายของเรา อย่างที่นี่มีเด็กติดยา โตๆ หน่อยเขา ก็ไม่ไปโรงเรียนเลยนะ เขาจะหนี ไปมั่วสุม แต่พอดึงเขามาตรงนี้ได้มาทากิจกรรมกับเรา เราก็ค่อยๆ พูดกันไป ทาเป็นทีมนะ จนเขาเริ่มกลับไปเรียน แม่ผมอยากเรียน ก็จะพาเขาไปเรียน เรียนจริงนะอย่าให้เสียค่าโรงเรียนฟรี แบบปีก่อนๆ นะ ครับผมมั่นใจ .. แล้วมันก็มีตัวตนจริง ทุกวันนี้ก็เป็นเด็กดี พูดจาดี ครอบครัวเขาก็ดีใจ ได้ลูก กลับคืนมา” ตัวแทนชุมชนลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร “มันทาให้เรามองเห็นสภาพหรือสภาวะของเด็กที่มีปัญหา ปกติแล้วก็ไม่เคยเจอ เราอาจจะฟังเฉยๆ ไม่ รู้ลึกลงไป แต่การทางานมันทาให้เห็นว่าสังคมปัจจุบันมันมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นด้วย มันทาให้เห็นความเชื่อมโยง
  • 18. 18 กัน แต่ก่อนเราเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ครอบครัวหย่าร้าง ตีกัน ทะเลาะกัน หนีไป แต่การลงทาเคสทาให้รู้ว่า ปัญหาของคนสองคนมันทาให้เกิดปัญหาลึกลงไปในตัวเด็กได้มากขนาดนี้” ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบล อาเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี “รู้สึกได้เลยว่ากลไกที่เกี่ยวข้องกับการทางานคุ้มครอง ป้องกัน และส่งเสริมเด็ก มันเห็นได้ชัดเจนมาก ขึ้น และรู้ว่ามีตัวคนทางาน มันส่องไปทุกที่เลย แล้วก็ทาให้การประสานการทางานง่ายขึ้น เป็นจริง เมื่อก่อนเรา เคยทางานอยู่ในระดับพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายก็จริง แต่การทางานมันยังเป็นตอนๆ ไม่มีข้อต่อ แต่พอมาทา รูปแบบนี้ รู้สึกได้เลยว่ามันเป็นกระบวนการ มีทั้งส่งไปส่งกลับ ข้อมูลถ่ายเทถึงกัน และอีกความภูมิใจคือ เราเปิด ฝั่งการทางานในชุมชน จากที่ไม่เคยทาไม่รู้จักกัน พอมีเคสก็ช่วยกันไปกันมา เหมือนเป็นการตอบโจทย์ ตอบสนองสิ่งที่กาลังหาๆ กันอยู่ เป็นสิ่งที่ดีและอยากให้มีในที่อื่นๆ ด้วย” นักสังคมสงเคราะห์เทศบาล อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา ข้อมูลจากหนังสือ “ประสบการณ์ บทเรียน และแนวปฏิบัติงานที่ดีของคณะทางานเด็กในชุมชน” โครงการCHILDLIFE จัดพิมพ์ 2557
  • 19. 19 5. สรุป – บทเรียนกำรทำงำน คทด. บทเรียนกำรทำงำน คทด.  กำรทำงำนเชิงรุกจำกภำยในชุมชน หน่วยงานสนับสนุนจากภาครัฐมีระบบการทางานที่เชื่อมต่อ กัน ตั้งแต่ระดับชุมชน อาเภอ จังหวัด ดังนั้น ชุมชนที่เข้มแข็ง คณะทางานด้านเด็กในชุมชนที่เข้มแข็ง จะเป็นฝ่าย ดึงทรัพยากรต่างๆ จากภายนอกชุมชน เพื่อเข้ามาสนับสนุนการทางานด้านเด็กได้อีกหนทางหนึ่ง เป็นกระบวนการ ทางานที่สอดคล้องกัน และมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม การมีคทด.ในชุมชนเป็นการลดช่องว่างในการให้บริการจาก ภาครัฐ ที่มีเงื่อนไขและข้อจากัด ทั้งด้านเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและกระบวนการทางานที่ต้องประสานเชิงบูรณาการ ส่งผลต่อความครอบคลุมการทางานดูแลช่วยเหลือเด็กในชุมชน  คุณสมบัติของคณะทำงำนเด็กชุมชน นอกจากจะต้องมีจิตอาสาในการทางานแล้ว สิ่งสาคัญอีก ประการหนึ่งคือทัศนะในการทางานด้านเด็กที่ต้องมีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเด็ก โดยไม่มองว่าเด็กคือ ปัญหา แต่ให้มองว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพและมีด้านบวกในตัวเอง ซึ่งจะมีผลต่อการทางานกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่จะได้สถานการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริง ทาให้การออกแบบกิจกรรมตอบโจทย์ได้ตรง ตามสถานการณ์  องค์กรท้องถิ่น การทางานด้านเด็กในชุมชนจะขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืน ผู้บริหารท้องถิ่นต้องให้ ความสาคัญ ซึ่ง คณะทางานเด็กชุมชนต้องมีกระบวนการทางานกับฝ่ายบริหารทั้งในเชิงวิธีคิดเรื่องการพัฒนา คุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน การรายงานความคืบหน้าของการทางานอย่างต่อเนื่อง และมีผลการทางานที่เป็น รูปธรรม  กำรมีกระบวนกำรติดตำม หนุนเสริม สนับสนุน การดาเนินโครงการCHILDLIFE จะมีองค์กร เอกชนสาธารณประโยชน์ มูลนิธิ และองค์กรภาคประชาสังคม ทาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาศักยภาพให้กับ คทด. ไม่ว่าจะเป็นการอบรมเสริมศักยภาพ การร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์เด็ก การวางแผนการทางาน การเสริม ทักษะการทากิจกรรม และการเติมข้อมูล องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทางานเป็นระยะ จะช่วยเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับคณะทางานเด็กชุมชนในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กลไกขับเคลื่อน คทด. คทด.ที่ประสบผลสาเร็จ พบว่าใน คทด.นั้นๆจะมีเจ้าหน้าที่ขององค์กร ปกครองท้องถิ่นโดยเฉพาะ นักพัฒนาชุมชน และนักสังคมสงเคราะห์ หรือบางแห่งมีเพียงนักสังคมฯ ทั้งสองคนนี้ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน คทด.ทั้งทาหน้าที่เป็นเลขานุการ การจัดประชุม การดาเนินการศึกษารายกรณี และเชื่อมประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายสุขภาพ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หน่วยงานการศึกษา และส่วน ที่เกี่ยวข้องกับระบบปกครองและกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ และคทด.บางคนเป็น อพม.หรือ กรรมการศูนย์พัฒนา ครอบครัว (ศพค.) องค์ประกอบสาคัญของ คทด.ในการดาเนินงานจึงเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น สาหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักจะไม่ค่อยมีเวลาในการประชุม สามารถเป็นที่ปรึกษาหรือ ช่วยเหลืออื่นๆ ได้หากให้ความสนใจในการทางานด้านเด็ก  คทด.ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการด้วย จะทาให้สมาชิกที่มาจากหน่วยงานรัฐในพื้นที่ สามารถ ร่วมงานได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภารกิจด้วยจิตอาสาที่เกี่ยวโยงกับภาระหน้าที่ขององค์กรไปในตัว และคทด. สามารถเป็นกลไกของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด หรืออาเภอได้ด้วย