SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
44 
ความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก บริเวณสถานีวิจัยและ 
ฝึกอบรมวนเกษตรตราด จังหวัดตราด 
และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี 
SPECIES DIVERSITY OF SMALL MAMMALS IN TRAT AGROFORESTRY 
RESEARCH AND TRAINING STATION, TRAT PROVINCE AND JEDKOD-PONGKONSAO 
NATURAL STUDY AND ECOTOURISM CENTER, SARABURI 
PROVINCE 
พงศ์พิทักษ์ ศรีบัณฑิต1/* ประทีป ด้วงแค1/ และพัฒนี จันทรโรทัย2/ 
Pongpitak Sribandit1/ Prateep Duengkae1/& Pattanee Jantrarotai2/ 
ABSTRACT 
The study of diversity of small mammals was investigated in Trat Agroforestry Research Station (TARS), 
Trat Province are compared with Jedkod-Pongkonsao Natural Study and Ecotourism Center (JPNSEC), Saraburi 
Province. Live trap and pitfall trap were used to survey bimonthly from October 2009 to September 2010. Total 
sampling effort was 5,460 trap nights including 3,780 live-trapped rodents (trap success 6.29%) and 1,680 pitfalls 
(trap success 0.29%). There were 135 individuals representing 15 small mammals species captured. 59 individuals of 
9 species were from inside TARS, while 76 individuals of 13 species were captured from JPNSEC. JPNSEC was 
higher in the Shannon-Wiener diversity index (H’) than TARS (P < 0.05). The agroforestry practice plot showed the 
highest species diversity of TARS, while the secondary forest plot showed the highest species diversity of JPNSEC. 
Maxomys surifer was a very common species in both of study sites. These results also suggest that the forest patch 
contact within the large protected forest contains greater species diversity than that of the isolated forest patch. 
Key words: diversity, mammal, forest fragmentation, wildlife 
บทคัดย่อ 
การศึกษาความหลากชนิด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกับถิ่นที่ 
อยู่อาศัย ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบในสองพื้นที่ คือ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด 
จังหวัดตราด และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี โดยทำการวาง 
กรงดักและหลุมดักในภาคสนามทุก 2 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 
2553 คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,460 trap-nights โดยเป็นกรงดัก 3,780 trap-night และหลุมดักสัตว์ 
1,680 trap-night จับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กได้ทั้งหมด 243 ครั้ง คิดเป็นความสำเร็จในการวาง 
1/ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ *E-mail : pongpitaksribandit@yahoo.com 
2/ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
45 
กรงดัก 6.29 % ความสำเร็จในการวางหลุมดักสัตว์ 0.29 % ได้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่ถูกทำ 
เครื่องหมาย 135 ตัว จาก 15 ชนิด โดยแยกเป็นบริเวณสถานีฯ ตราดจำนวน 59 ตัวจาก 9 ชนิด 
บริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคดจำนวน 76 ตัวจาก 13 ชนิด พบว่าศูนย์ฯ เจ็ดคด มีค่าดัชนีความหลากหลายสูง 
กว่าสถานีฯ ตราด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับบริเวณสถานีฯ ตราด สวนยางพารา 
วนเกษตรเป็นแปลงที่มีความหลากชนิดมากที่สุด ส่วนบริเวณบริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคด ป่ารุ่นสองเป็น 
แปลงที่มีความหลากชนิดมากที่สุดใน ทั้งนี้หนูฟานเหลืองเป็นชนิดมีขนาดประชากรมากที่สุดในทั้ง 
สองพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปสนับสนุนแนวความคิดในด้านการจัดการพื้นที่ป่า 
ให้มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่ผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่เพื่อที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพด้าน 
สัตว์ป่าสูงกว่าพื้นที่ที่เป็นหย่อมป่าที่แยกตัวออกมาจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 
คำนำ 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) อันดับกระแต (Scandentia) 
และอันดับสัตว์กินแมลง (Eulipotyphla) นั้นเป็นสัตว์ป่ากลุ่มหนึ่งที่แสดงบทบาทสำคัญต่อระบบ 
นิเวศป่าไม้อยู่หลายประการ อาทิ ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพืช (Briggs et al., 2009) ทำลายเมล็ดพืช 
(Briani & Guimaraes, 2007) กินแมลง (Churchfield et al., 1999) ผสมเกสรดอกไม้ (Letten & 
Midgley, 2009) และกระจายสปอร์ของเห็ดรา (Vernes & Mcgrath, 2009) เป็นต้น นอกจากนี้สัตว์ 
เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กยังเป็นอาหารของมนุษย์ (Wattanaratchakit, 2005) นำมาเป็นสัตว์ทดลอง 
ทางวิทยาศาสตร์ (Fernandes-Santos et al., 2009) และบางชนิดยังนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความ 
เพลิดเพลิน ขณะเดียวกันในทางตรงกันข้ามสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กยังก่อให้เกิดปัญหาต่อ 
มนุษย์ด้วย เช่นเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของการเกษตรกรรม (Brown et al., 2007) ทำลายทรัพย์สิน 
(Hygnstrom et al., 1994) และเป็นพาหะนำโรคต่างๆ (Wangroongsarb, 2008) 
การศึกษาที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ 
มุ่งเน้นไปที่การศึกษาชนิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่วนการศึกษาในพื้นที่ป่าที่อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ยังมี 
อยู่จำนวนน้อยมาก ในขณะที่ปัจจุบันพื้นที่ป่าดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าป่า 
อนุรักษ์ เพราะเป็นพื้นที่สีเขียวไม่กี่แห่งที่ยังคงเหลือกระจัดกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ 
ไทย อีกทั้งยังเป็นแนวป่ากันชนให้กับพื้นที่ป่าอนุรักษ์อีกด้วย ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมี 
วัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาถึง ความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน 
โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบในสองพื้นที่ คือ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด จังหวัดตราด 
และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี ซึ่งทั้งสองพื้นที่เป็นป่าที่อยู่ 
นอกเขตป่าอนุรักษ์ และมีความแตกต่างกันในเรื่องของสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง 
รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ 
ศึกษาในครั้งนี้แล้วยังจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และ/หรือ เพื่อนำประกอบการวางแผนจัดการให้ 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
46 
คงไว้ซึ่งความหลากชนิดและประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 
เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อพื้นที่และยังคงความสมดุลของระบบนิเวศได้ต่อไป 
อุปกรณ์และวิธีการ 
พื้นที่ศึกษา 
ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนาม 2 แห่ง คือ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด 
(สถานีฯ ตราด) และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า (ศูนย์ฯ เจ็ดคด) โดยทั้งสอง 
พื้นที่มีประวัติที่คล้ายคลึงกันตรงที่เคยเป็นพื้นที่ป่าที่ผ่านสัมปทานการทำไม้มาก่อนในอดีต แต่ 
ปัจจุบันมีความแตกต่างกันชัดเจนในด้านการดำเนินกิจกรรม สภาพภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ 
โดย สถานีฯ ตราดตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดตราด มีเนื้อที่ประมาณ 100 เฮกตาร์ สูงจากระดับ น้ำ 
ทะเลปานกลางโดยประมาณ 20 เมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 3,000 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิ 
รายปีเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส พื้นที่มีลักษณะเป็นหย่อมป่าดิบแล้งที่ล้อมรอบด้วยสวนยางพารา 
และไม่ติดต่อกับเขตป่าอนุรักษ์ใด ป่าอนุรักษ์ที่ใกล้ที่สุดคือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ห่างไป 
ประมาณ 5 กิโลเมตร (ประทีป, 2550) ส่วนศูนย์ฯ เจ็ดคดตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มี 
เนื้อที่ประมาณ 2,200 เฮกตาร์ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางโดยประมาณ 200 – 700 เมตร ปริมาณ 
น้ำฝนเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 1,148 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิรายปีเฉลี่ย 28.5 องศาเซลเซียส โดยมีพื้นที่ 
ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบซึ่งเชื่อมติดเป็นผืนป่าขนาดใหญ่กับอุทยาน 
แห่งชาติเขาใหญ่ (ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า, 2552) 
การเก็บข้อมูลภาคสนาม 
การเก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อหาความหลากชนิด ประยุกต์ใช้ตามวิธีของ Wilson (1996); 
William & Marsh (1998); Nakagawa et al. (2006); Francis (2008) โดยวางแปลงสำรวจเป็นกริด 3 
× 3 วางกรงดักขนาด 15 × 15 × 30 เซนติเมตร สำหรับดักจับสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ และอันดับ 
กระแต โดยใช้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นเหยื่อ ระยะห่างแต่ละกรง 10 เมตร จึงได้จำนวนกรงทั้งหมด 9 กรง 
ต่อหนึ่งแปลง คิดเป็นพื้นที่ศึกษา 0.09 เฮกตาร์ และวางหลุมดักสัตว์ (pitfall) ภายในพื้นที่ที่ทำการ 
วางกรงดักสัตว์ เป็นขนาดกริด 2 × 2 โดยฝังถังน้ำขนาดความลึก 30 เซนติเมตร สำหรับดักจับสัตว์ 
ในอันดับสัตว์กินแมลง แต่ละหลุมห่างกัน 10 เมตร จึงได้ 4 หลุมต่อหนึ่งแปลง คิดเป็นพื้นที่ศึกษา 
0.04 เฮกตาร์ โดยวางพื้นที่ศึกษาละ 7 แปลง และเลือกโดยคำนึงถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ 
แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ศึกษาเป็นหลัก สำหรับบริเวณสถานีฯ ตราด 7 แปลงได้แก่ A คือ ป่าดิบ 
แล้งริมลำห้วย แปลง B คือ ทุ่งหญ้า แปลง C คือ ป่าดิบแล้งติดบ้านพัก แปลง D คือ สวนเงาะ แปลง 
E คือ สวนยางพาราวนเกษตร แปลง F คือ สวนยางพารา และแปลง G คือ สวนป่าไม้พะยูง ส่วน 
ศูนย์ฯ เจ็ดคด ได้แก่ แปลง A คือ ป่าดิบแล้งสันเขา แปลง B คือ ป่าดิบแล้งมีกล้วยป่า แปลง C คือ 
สวนป่าไม้ประดู่ แปลง D คือ สวนป่าไม้สัก แปลง E คือ ป่ารุ่นสอง แปลง F คือ ทุ่งหญ้า และแปลง 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
47 
G คือ ป่าดิบแล้งตีนเขา ทั้งสองพื้นที่วางแปลงศึกษาและเก็บข้อมูลทั้งหมด 6 ช่วงเวลา โดยแต่ละ 
ช่วงเวลา วางกรงดัก 5 คืน (trap-night) ติดต่อกัน แต่ละช่วงห่างกัน 2 เดือน เริ่มสำรวจตั้งแต่เดือน 
ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ทำการตรวจสอบการติดกรง 2 ช่วงเวลาต่อวัน คือ 
เช้า(6.00-9.00 น.) และเย็น(16.00- 18.00 น.) เมื่อพบสัตว์ติดกรง ทำการจำแนกชนิดในภาคสนาม 
โดยใช้คู่มือของ ประทีป (2550) และ Francis (2008) กรณีที่จำแนกชนิดไม่ได้เก็บตัวอย่างมา 
เปรียบเทียบในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย จากนั้นทำเครื่องหมายเป็นรายตัวโดยการขริบหู 
เป็นรหัสเลขโรมัน จำแนกเพศ ชั้นอายุ วัดขนาดส่วนต่างๆ ด้วยเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ และชั่งน้ำหนัก 
ด้วยตาชั่งสปริง พร้อมกับถ่ายภาพส่วนต่างๆ ของร่างกายสัตว์เพื่อใช้ประกอบในการจัดทำประวัติ 
การถูกจับ (Capture history) เพื่อการระบุเป็นรายตัวเมื่อจับได้ในครั้งถัด จากนั้นทำการปล่อยคืนสู่ 
ธรรมชาติในบริเวณเดียวกันกับที่ดักจับได้ 
การวิเคราะห์ข้อมูล 
วิเคราะห์ข้อมูล โดยสร้างกราฟเพื่อหาความสัมพันธ์ของจำนวนชนิดสะสม กับจำนวน 
trap-night 
ที่เพิ่มขึ้น จัดทำประวัติการถูกจับ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กแต่ละชนิดเป็นรายตัว เพื่อ 
คำนวณหาขนาดประชากร (Population size) ด้วยโปรแกรม MARK ซึ่งเลือกใช้ Closed population 
Model ตามคู่มือของ Cooch &White (2009) และนำค่าขนาดประชากรที่ได้มาหาความชุกชุม 
สัมพัทธ์ (relative abundance)โดยคิดเทียบเป็นจำนวนตัวต่อ 100 trap-night แบ่งเป็นแต่ละชนิด ใน 
แต่ละแปลงศึกษา เพื่อหาดัชนีความหลายหลายของของแต่ละพื้นที่โดยใช้ค่า Shannon-Wiener 
Index (Ludwig &Reynolds, 1988) และเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่โดยใช้โปรแกรม Species 
Diversity &Richness (Henderson & Seaby, 2001) 
ผลและวิจารณ์ 
ผลจากการวางกับดักศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั้งหมด 5,460 trap-night โดยเป็น 
กรงดักทั้งหมด 3,780 trap-night หลุมดักสัตว์ทั้งหมด 1,680 trap-night จับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาด 
เล็กทั้งหมด 243 ครั้ง คิดเป็นความสำเร็จในการวางกรงดัก 6.29 % ความสำเร็จในการวางหลุมดัก 
สัตว์ 0.29 % เป็นสัตว์ที่ถูกทำเครื่องหมาย 135 ตัว ใน 15 ชนิด ซึ่งเป็นสัตว์ใน 3 อันดับ 4 วงศ์ 10 
สกุล โดยสถานีฯ ตราด พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั้งหมด 9 ชนิด 59 ตัว และศูนย์ฯ เจ็ดคด 
พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม-ขนาดเล็กทั้งหมด 13 ชนิด 76 ตัว โดยศูนย์ฯ เจ็ดคดจำนวนชนิดสะสมเริ่ม 
คงที่ตั้งแต่จำนวน trap-night เท่ากับ 1,134 trap-night ส่วนสถานีฯ ตราดเริ่มมีความคงที่ตั้งแต่ 
จำนวน trap-night เท่ากับ 945 trap-night รายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 1 จากภาพของการศึกษานี้ 
แสดงให้เห็นภาพรวมว่าศูนย์ฯ เจ็ดคดมีจำนวนชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สูงกว่าสถานี 
ฯ ตราด 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
48 
14 
12 
10 
8 
6 
4 
2 
0 
สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งกอ้นเส้า 
0 200 400 600 800 1000 1200 1400 1600 1800 
จำนวน trap-night 
จำนวนชนิดสะสม 
ภาพที่ 1 จำนวนชนิดสะสมกับจำนวน trap-night ที่เพิ่มขึ้นในสองพื้นที่ศึกษา 
จากการคำนวนหาขนาดประชากรด้วยโปรแกรม MARK ได้ค่าขนาดประชากรในแต่ละ 
ชนิด ในแต่ละแปลงศึกษา และหาค่าดัชนีความหลากหลาย ที่คำนวนจากความชุกชุมสัมพัทธ์ 
รายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 1 พบว่าบริเวณสถานีฯ ตราด แปลงสวนยางพาราวนเกษตรมีทั้ง 
จำนวนชนิด ขนาดประชากรและค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุด และยังพบว่าหนูฟานเหลืองมี 
ขนาดประชากรสูงสุดในพื้นที่ รองลงมา คือ กระจ้อน และหนูท้องขาว ตามลำดับ สำหรับชนิดที่มี 
ความชุกชุมสัมพัทธ์ ต่ำสุดมี 2 ชนิดคือ หนูฟันขาวใหญ่ และหนูผี ส่วนศูนย์ฯ เจ็ดคด แปลงป่ารุ่น 
สองมีจำนวนชนิดและค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุด แต่พบว่าในป่าดิบแล้งตีนเขามีขนาด 
ประชากรสูงสุด และพบว่าหนูฟานเหลืองมีขนาดประชากรสูงสุด รองลงมา คือ หนูท้องขาว และ 
กระแตเหนือ ตามลำดับ ชนิดที่มีความชุกชุมสัมพัทธ์ต่ำสุดมี 4 ชนิด คือ หนูพุกเล็ก หนูฟันขาวเล็ก 
หนูขนเสี้ยนดอย และหนูนาใหญ่ 
สำหรับชนิดที่พบเฉพาะบริเวณสถานี ฯ ตราด มี 2 ชนิด คือ หนูฟันขาวใหญ่ และกระรอก 
หลากสี ชนิดที่พบเฉพาะศูนย์ฯ เจ็ดคด มี 6 ชนิด คือ หนูฟันขาวเล็ก หนูพุกเล็ก หนูพุกใหญ่ หนูนา 
ใหญ่ หนูหวาย และกระรอกปลายหางดำ ศูนย์ฯ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้ามีค่าดัชนีความหลายหลาย 2.06 
ซึ่งมากกว่าสถานีฯ ตราด ที่มีค่าดัชนีความหลากหลาย 1.68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความ 
เชื่อมั่น 95 % ดังแสดงในตารางที่ 1 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
49 
ตารางที่ 1 ชนิด และขนาดประชากรของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก 
ชนิด / ขนาดประชากร(ตัว) 
สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า 
A B C D E F G รวม A B C D E F G รวม 
หนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) 1 1 
หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) 1 7 8 
หนูฟันขาวเล็ก (Berylmys berdmorei) 1 1 
หนูฟันขาวใหญ่ (Berylmys bowersii) 1 1 
หนูหวาย (Leopoldamys sabanus) 1 1 2 
หนูฟานสีน้ำตาล(Maxomys rajah) 1 1 2 1 1 2 
หนูฟานเหลือง (Maxomys surifer) 5 11 3 4 4 27 6 3 4 12 25 
หนูขนเสี้ยนดอย (Niviventer bukit) 4 4 1 1 
หนูท้องขาว (Rattus tanezumi) 3 2 5 3 1 5 3 12 
หนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) 1 1 
กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps) 2 1 3 
กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysonii) 4 4 
กระจ้อน (Menetes berdmorei) 3 1 5 2 11 2 2 1 5 
กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) 1 2 1 4 3 1 2 1 1 3 11 
หนูผี (Suncus sp.) 1 1 1 1 1 1 4 
รวม 6 4 15 8 19 0 7 59 13 13 5 5 12 13 15 76 
จำนวนชนิด 2 2 3 3 7 0 3 9 6 6 2 4 8 5 2 13 
Shannon-Wiener Index (H') 0.45 0.56 0.73 0.97 1.79 0.00 0.96 1.68 1.53 1.70 0.50 1.33 1.81 1.27 0.50 2.06 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
50 
ผลการศึกษาด้านความหลากชนิด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั้งสองพื้นที่ศึกษามี 
ความแตกต่างกันนั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมของถิ่นที่อยู่อาศัยอาทิ ฤดูกาล 
ที่แตกต่างกัน (Walker & Rabinowitz, 1992) ขนาดพื้นที่ที่ใหญ่และความใกล้ไกลกับผืนป่าขนาด 
ใหญ่ (Goodman &Rohotondravony, 2002; Vieira et al., 2009) ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ศูนย์ฯ เจ็ดคด 
มีขนาดพื้นที่ขนาดใหญ่และและมีสัดส่วนของพื้นที่ป่าดั้งเดิมสูงกว่าอีกทั้งยังมีความเชื่อมต่อกับผืน 
ป่าขนาดใหญ่ จึงทำให้มีความหลากชนิดสูงกว่าสถานีฯ ตราด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ 
Danstan &Fox (1996) ที่ได้ศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบริเวณป่าเขตดิบที่เกิดจากการเกิด 
หย่อมป่าต่างๆในประเทศออสเตรเลีย และอีกทั้งสอดคล้องกับการศึกษาของ Magige & Senzota 
(2006) ที่กล่าวว่ารูปแบบและวิธีการปฏิบัติของการอนุรักษ์ของพื้นที่ที่แตกต่างกัน จะทำให้มีความ 
หลากชนิดที่แตกต่างกันด้วย โดยในที่นี้ศูนย์ฯ เจ็ดคดพื้นแนวเขตประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ยังคง 
ติดกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งยังคงเป็นป่าที่สมบูรณ์ ในขณะที่สถานีฯ ตราด ในปัจจุบัน 
รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบสถานีฯ ตราด ได้เปลี่ยนแปลงจากสวนป่ากลายเป็น 
สวนยางพาราซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการขัดขวางการอพยพเคลื่อนย้ายไปมาของสัตว์เลี้ยง 
ลูกด้วยนมขนาดเล็กระหว่างพื้นที่สถานีฯตราดกับพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และเมื่อพิจารณาถึง 
ขนาดประชาการ พบว่าศูนย์ฯ เจ็ดคดมีขนาดประชากรที่สูงกว่าสถานีฯ ตราด ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะ 
พื้นที่ขนาดใหญ่กว่ามักจะทำให้มีพืชอาหารสำหรับสัตว์กลุ่มนี้เพียงพอจนส่งผลให้มีการเจริญพันธุ์ 
และเพิ่มประชากรได้ดี ซึ่งในระหว่างการศึกษานี้สังเกตพบว่าหนูฟานเหลืองเพศเมียตัวเต็มวัย 
สามารถคลอดลูกครั้งละ 3-4 ตัวในทุกๆ 30 วัน และผลนี้ยังสอดคล้องกันกับการศึกษาของ Brown 
et al. (2005) และ Shanker & Sakumar (1998) อีกด้วย 
บริเวณสวนยางพาราวนเกษตรเป็นแปลงที่มีความหลากหลายมากที่สุดบริเวณสถานีฯ 
ตราด เนื่องจากมีการปลูกไม้ป่าชนิดอื่น แทรกระหว่างต้นยางพารา เช่นกฤษณา ตะเคียนทอง หวาย 
และเร่วหอม และไม่มีการกำจัดวัชพืชออก ทำให้มีการปกคลุมของไม้พื้นล่างจำนวนมาก ซึ่ง 
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากสวนยางพารา(แปลง F)ที่ไม่มีการปลูกพืชชนิดอื่นแทรกและมีการกำจัด 
พืชพื้นล่างออกทั้งหมดทำให้ไม่พบการปรากฏของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในการศึกษาครั้งนี้ 
เลย ส่วนบริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคด บริเวณป่ารุ่นสองเป็นแปลงที่มีความหลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็น 
แปลงที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบ 
บริเวณนี้ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มชนิดที่พบได้ทั้งในพื้นที่มีกิจกรรมของมนุษย์และพื้นที่ป่า ทั้งนี้เนื่องจาก 
สัตว์เหล่านี้มีความสามารถในการปรับตัวสูงโดยจะเคลื่อนที่หากินไปมาระหว่างบริเวณที่ถูกคุกคาม 
หรือถูกรบกวนได้ดี (Lynam & Bilick, 1999) ป่าดิบแล้งสันเขามีความหลากชนิดสูงกว่า แต่มีขนาด 
ประชากรน้อยกว่า ป่าดิบแล้งบริเวณตีนเขา โดยบริเวณป่าดิบแล้งสันเขาพบ 6 ชนิด แต่ป่าดิบแล้ง 
ตีนเขาเพียงแค่ 2 ชนิดโดยเป็นหนูฟานเหลืองจำนวนเป็น12 ตัว(ร้อยละ 80) จากประชากรทั้งหมดที่ 
พบ 15 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะบริเวณป่าดิบแล้งบริเวณตีนเขามีสภาพแวดล้อมที่เอื่อย 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
51 
อำนวยต่อการดำรงชีวิตของหนูฟานเหลืองเป็นอย่างดีจึงได้มีประชากรในสัดส่วนที่สูงมากใน 
บริเวณนี้ และอีกส่วนหนึ่งน่าจะมีอิทธิพลมาจากความแตกต่างกันด้านความสูงของพื้นที่ (Ferro 
&Barquez, 2009) ส่วนพื้นที่ป่าไม้สักที่มีความหลากชนิดสูงกว่าสวนป่าไม้ประดู่ทั้งที่มีขนาด 
ประชากรที่เท่ากัน ซึ่งผลในแต่ละแปลงศึกษาครั้งนี้มีขนาดประชากรใกล้เคียงกัน แต่ที่แตกต่างกัน 
คือความหลากชนิด โดยจะแตกต่างจากผลการศึกษาของ Nicolas et al. (2009) ที่ศึกษาในสัตว์เลี้ยง 
ลูกด้วยนมขนาดเล็กในกลุ่มหนูผีอันดับสัตว์กินแมลง (Eulipotyphla) ซึ่งสรุปไว้ว่าความหลากชนิด 
ของแต่ละแปลงมีความคล้ายคลึงกันที่แตกต่างกันคือขนาดประชากร ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจาก 
การศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) 
และอันดับกระแต (Scandentia) 
สำหรับภาพรวมพบว่าหนูฟานเหลืองเป็นชนิดที่มีจำนวนประชากรสูงที่สุดในทั้งสองพื้นที่ 
ศึกษา เนื่องจากชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่หากินส่วนใหญ่บนพื้นดิน และเป็น 
หนูที่รายงานพบได้บ่อยมาก และมีขอบเขตการกระจายทั่วในพื้นที่ป่าของประเทศไทย (Lekagul 
&McNeely, 1977; Wiles, 1981; Wells et al., 2004; Francis, 2008) 
สรุปและข้อเสนอแนะ 
จากการวางกับดักทั้งหมด 5,460 trap-night สัตว์ถูกทำเครื่องหมายทั้งหมด 135 ตัว จาก 15 
ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบบริเวณสถานีฯ ตราด 9 ชนิด 59 ตัว มีค่าดัชนีความ 
หลากหลาย 1.68 บริเวณสวนยางพาราวนเกษตรเป็นแปลงที่มีค่าดัชนีความหลายหลายสูงที่สุด 
เท่ากับ 1.79 และศูนย์ฯ เจ็ดคดพบ 13 ชนิด 76 ตัว มีค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 2.06 บริเวณป่า 
รุ่นสองเป็นแปลงที่มีค่าดัชนีความหลายหลายสูงที่สุดเท่ากับ 1.77 โดยพบหนูฟานเหลืองมีขนาด 
ประชากรสูงที่สุดในบริเวณสถานีฯ ตราด รองลงมา คือ กระจ้อน และหนูท้องขาว ตามลำดับ ส่วน 
บริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคดหนูฟานเหลืองยังคงมีขนาดประชากรสูงสุด รองลงมา คือ หนูท้องขาว และ 
กระแตเหนือ ตามลำดับ โดยผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสนับสนุนแนวความคิดที่ว่าพื้นที่ที่มีการ 
เชื่อมต่อกับพื้นที่ป่าขนาดใหญ่จะสามารถรักษาความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 
พื้นที่ที่เป็นหย่อมป่า โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ 
เชื่อมต่อติดกันให้เป็นผืนใหญ่เพียงพอที่จะดำรงความสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้ไว้ได้ 
สำหรับในแง่การจัดการประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กนั้นควรคำนึงถึงเรื่องการ 
เปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยเนื่องจากหากบริเวณใดมีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื่อยอำนวยต่อการดำรง 
ชีพของสัตว์กลุ่มนี้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว จะทำให้ประชากรของสัตว์กลุ่มนี้บางชนิดเพิ่มขึ้นอย่าง 
รวดเร็วจนเกิดผลเสียต่อพื้นที่เองและรวมทั้งสัตว์ป่าชนิดอื่นและมนุษย์อีกด้วย 
จากการศึกษาสัตว์ป่ากลุ่มนี้ด้วยการวางหลุมดักสัตว์และได้ค่าความสำเร็จในการวางหลุม 
ดักสัตว์ เพียง 0.29 % และดักจับได้เฉพาะหนูผีเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวิธีการนี้เป็นวิธีที่เหมาะ 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
52 
สำหรับการสำรวจชนิดเฉพาะในสัตว์กลุ่มนี้ แต่ในแง่การสำรวจเพื่อติดตามประชากรควรต้องมีการ 
ปรับปรุงโดยอาจจำเป็นต้องทำการขยายแนวรั้วกั้น (fence) ให้มีขนาดยาวมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพ 
ของพื้นที่ดักจับ และ/หรือ ควรต้องเพิ่มจำนวนหลุมดักให้มากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมถิ่นอาศัยของ 
สัตว์กลุ่มนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้อีกด้วย 
คำนิยม 
ขอขอบคุณ หัวหน้าสถานีฯและหัวหน้าศูนย์ฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกๆ ท่าน ของทั้งสถานีวิจัย 
และฝึกอบรมวนเกษตรตราด และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า ที่ได้อนุญาต 
และอำนวยความสะดวกในการทำวิจัยในภาคสนามครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี 
เอกสารอ้างอิง 
ประทีป ด้วงแค. 2550. คู่มือการสำรวจความหลากชนิดของสัตว์ป่าบริเวณสถานีวิจัยวนเกษตรตราด. 
สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 
.2550. สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมเมืองไทย. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า. 2552. สวนป่าเจ็ดคด. สวนป่าเจ็ดคต. 
แหล่งที่มา: http://www.sukananroyalhill.net/ กรกฎาคม 2552. 
Briani, D.C. &P.R. Guimaraes, Jr. 2007. Seed predation and fruit damage of Solanum lycocarpum 
(Solanaceae) by rodents in the Cerrado of Central Brazil. Acta Oecologica 31: 8-12. 
Briggs, J.S., S.B. Vander &S.H. Jenkins. 2009. Forest rodents provide directed dispersal of jeffrey 
pine seeds. Ecology 90 (3): 675-687. 
Brown, P.R., N.I. Huth, P.B. Banks &G.R. Singleton. 2007. Relationship between abundance of 
rodents and damage to agricultural Crops. Agriculture, Ecosystems and Environment 120: 
405–415 
Brown, P.R., N.P. Tuan, G.R. Singleton, D.T. Hue, P.T. Hoa, P.T.T. Ha, T.Q. Tan &N.V. Tuat. 2005. 
Population Dynamics of Rattus argentiventer, Rattus losea, and Rattus rattus Inhabiting a 
Mixed-Farming System in the Red River Delta, Vietnam. Popul Ecol 47: 247–256. 
Churchfield, S., V.A. Nesterenko &E.A. Shvarts. 1999. Food niche overlap and ecological separation 
amongst six species of coexisting forest shrews (Insectivora: Soricidae) in the Russian Far East. 
J. Zool., Lond. 248: 349-359. 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
53 
Cooch, E. &G. White. 2009. Program MARK: A Gentle Introduction. (Computer Program). 
Colorado State University. Colorado. 
Dunstan, C.E. &B.J. Fox. 1996. The effects of fragmentation and disturbance of rainforest on 
ground-dwelling small mammals on the Robertson Plateau, New South Wales, Australia. 
Journal of Biogeography 23: 187-201 
Fernandes-Santos, C., R.E. Carneiro, L.S. Mendonca, M.B. Aguila &C.A. Mandarim de Lacerda. 
2009. Pan-PPAR agonist beneficial effects in overweight mice fed a high-fat high-sucrose diet. 
Nutrition 25: 818-827 
Ferro, L.I. &R.M. Barquez. 2009. Species Richness of Nonvolant Small Mammals Along Elevational 
Gradients in Northwestern Argentina. Biotropica 41 (3): 1-9. 
Francis, C.R. 2008. A Field Guide to the Mammals of Thailand and South-East Asia. 1 ed. Asia 
Book Co., Ltd, Bangkok. 
Goodman, S.M. &D. Ranotondravony. 2002. The effects of forest fragmentation and isolation on 
insectivorous small mammals (Lipotyphla) on the Central High Plateau of Madagascar. J. 
Zool. lond. 250: 193 - 200 
Henderson, P.A. &R.M.H Seaby. 2001. Species Diversity and Richness. (Computer program). 
PISCES Conservation Ltd, Lymingtom, UK. 
Hygnstrom, S.E., R.M. Timm &G.E. Larson. 1994. Prevention and Control of Wildlife Damage. 
University of Nebraska-Lincoln, USA. 
Lekagul, B. &J.A. McNeely. 1977. Mammals of Thailand. 1 ed. Kurusapha Ladprao Press, 
Bangkok. 
Ludwig, J.A. &J.F. Reynolds. 1988. Statistical Ecology. John Wiley and Sons, Inc., New York. 
Lynam, A.J. &I. Billick. 1999. Differential response of small mammals to fragmentation in Thailand 
tropical forest. Biological Conservation 91: 191-200 
Magige, F. &R. Senzota. 2006. Abundance and Diversity of Rodents at the Human–Wildlife 
Interface in Western Serengeti, Tanzania. Afr. J. Ecol. 44: 371–378. 
Nakagawa, M., H. Miguchi &T. Nakashizuka. 2006. The effect of various forest uses on small 
mammal communities in Sarawak, Malaysia. Forest Ecology and Management 231: 55-62. 
Nicolas, V., P. Barrière, A. Tapiero Colyn. 2009. Shrew Species Diversity and Abundance in Ziama 
Biosphere Reserve, Guinea: Comparison Among Primary Forest, Degraded Forest and 
Restoration Plots. Biodivers Conserv 18(8): 2043-2061. 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
54 
Shanker, K. &R. Sakumar. 1998. Community Structure and Demography of Small-Mammal 
Populations in Insular Montane Forests in Southern India. Oecologia 116: 243-251. 
Vernes, K. &K. Mcgrath. 2009. Are introduced Black rats (Rattus rattus) a functional replacement for 
mycophagous native rodents in fragmented forests?. Fungal Ecology 2: 145-148. 
Vieira, M.V., N. Olifiers, A.C. Delciellos, V.Z. Antanes, L.R. Bernardo, C.E.V. Grelle &R. Cerqueira. 
2009. Land use vs. fragment size and isolation as determinants of small mammal composition 
and richness in Atlantic forest remnants. Biological Conservation 142: 1191–1200. 
Wattanaratchakit, N. 2005. Density, Distribution and Human Consumption of Small Mammals 
Around a Karen Village in Mae Hong Son Province, Thailand. M.S. Thesis, Mahidol 
University. 
Wangroongsarb, P., W.Saengsongkong, W.Petkanjanapong, M. Mimgratok, D. Panjai, W. Wootta 
&T. Hagiwara. 2008. An application of Duplex PCR for detection of Leptosira spp. and 
Orientia tsutsugamushi from wild rodents. Jpn. J. Infect. Dis. 61: 407-409. 
Walker, S. &A. Robinowitz. 1992. The small-mammal community of dry-propical forest in Central 
Thailand. Journal of Tropical Ecology 8 (1): 57-71. 
Wells, K., M. Pfeiffer, M.B. Lakim &K.E.Linsenmair. 2004. Use of arboreal and terrestrial space by 
asmall mammal community in a tropical rain forest in Borneo, Malaysia. J. Biogeogr. 31: 
641–652. 
Wiles, G. J. 1981. Abundance and habitat preferance of small mammal in Southwestern Thailand. 
Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 29: 44-54. 
Williams, S.E. &H. Marsh. 1998. Changes in Small Mammal Assemblage Structure Across a Rain 
Forest / Open Forest Ecotone. Journal of Tropical Ecology 14: 187-198 
Wilson, D.E., F.R. Cole, J.D. Nichols, R. Rudran &M.S. Foster. 1996. Measuring and Monitoring 
Biological Diversity Standard Methods for Mammals. Smithsonian Institution Press, 
Washington and London. 
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010

More Related Content

Similar to Tab000125534831c

Sea turtles preservation
Sea turtles preservationSea turtles preservation
Sea turtles preservationaunun
 
การศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าการศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าAuraphin Phetraksa
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศUNDP
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยKlangpanya
 
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1Sircom Smarnbua
 
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าสัตว์ป่า
สัตว์ป่าJiraporn
 
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าสัตว์ป่า
สัตว์ป่าJiraporn
 
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...Sircom Smarnbua
 
เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์
เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์
เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์Ausa Suradech
 
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์Taweesak Poochai
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกAuraphin Phetraksa
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติAuraphin Phetraksa
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกAuraphin Phetraksa
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558
Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558
Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558Postharvest Technology Innovation Center
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพวSircom Smarnbua
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนFrench Natthawut
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติyah2527
 
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริน
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริน
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินmoddodcom
 

Similar to Tab000125534831c (20)

Sea turtles preservation
Sea turtles preservationSea turtles preservation
Sea turtles preservation
 
การศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าการศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่า
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
 
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
 
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าสัตว์ป่า
สัตว์ป่า
 
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าสัตว์ป่า
สัตว์ป่า
 
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
 
เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์
เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์
เล่ม 1 ตอนที่ 3 ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์
 
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558
Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558
Postharvest Newsletter ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558
 
บทที่ 13
บทที่ 13บทที่ 13
บทที่ 13
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
 
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริน
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริน
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริน
 

Tab000125534831c

  • 1. 44 ความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก บริเวณสถานีวิจัยและ ฝึกอบรมวนเกษตรตราด จังหวัดตราด และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี SPECIES DIVERSITY OF SMALL MAMMALS IN TRAT AGROFORESTRY RESEARCH AND TRAINING STATION, TRAT PROVINCE AND JEDKOD-PONGKONSAO NATURAL STUDY AND ECOTOURISM CENTER, SARABURI PROVINCE พงศ์พิทักษ์ ศรีบัณฑิต1/* ประทีป ด้วงแค1/ และพัฒนี จันทรโรทัย2/ Pongpitak Sribandit1/ Prateep Duengkae1/& Pattanee Jantrarotai2/ ABSTRACT The study of diversity of small mammals was investigated in Trat Agroforestry Research Station (TARS), Trat Province are compared with Jedkod-Pongkonsao Natural Study and Ecotourism Center (JPNSEC), Saraburi Province. Live trap and pitfall trap were used to survey bimonthly from October 2009 to September 2010. Total sampling effort was 5,460 trap nights including 3,780 live-trapped rodents (trap success 6.29%) and 1,680 pitfalls (trap success 0.29%). There were 135 individuals representing 15 small mammals species captured. 59 individuals of 9 species were from inside TARS, while 76 individuals of 13 species were captured from JPNSEC. JPNSEC was higher in the Shannon-Wiener diversity index (H’) than TARS (P < 0.05). The agroforestry practice plot showed the highest species diversity of TARS, while the secondary forest plot showed the highest species diversity of JPNSEC. Maxomys surifer was a very common species in both of study sites. These results also suggest that the forest patch contact within the large protected forest contains greater species diversity than that of the isolated forest patch. Key words: diversity, mammal, forest fragmentation, wildlife บทคัดย่อ การศึกษาความหลากชนิด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกับถิ่นที่ อยู่อาศัย ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบในสองพื้นที่ คือ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด จังหวัดตราด และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี โดยทำการวาง กรงดักและหลุมดักในภาคสนามทุก 2 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,460 trap-nights โดยเป็นกรงดัก 3,780 trap-night และหลุมดักสัตว์ 1,680 trap-night จับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กได้ทั้งหมด 243 ครั้ง คิดเป็นความสำเร็จในการวาง 1/ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ *E-mail : pongpitaksribandit@yahoo.com 2/ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 2. 45 กรงดัก 6.29 % ความสำเร็จในการวางหลุมดักสัตว์ 0.29 % ได้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่ถูกทำ เครื่องหมาย 135 ตัว จาก 15 ชนิด โดยแยกเป็นบริเวณสถานีฯ ตราดจำนวน 59 ตัวจาก 9 ชนิด บริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคดจำนวน 76 ตัวจาก 13 ชนิด พบว่าศูนย์ฯ เจ็ดคด มีค่าดัชนีความหลากหลายสูง กว่าสถานีฯ ตราด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับบริเวณสถานีฯ ตราด สวนยางพารา วนเกษตรเป็นแปลงที่มีความหลากชนิดมากที่สุด ส่วนบริเวณบริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคด ป่ารุ่นสองเป็น แปลงที่มีความหลากชนิดมากที่สุดใน ทั้งนี้หนูฟานเหลืองเป็นชนิดมีขนาดประชากรมากที่สุดในทั้ง สองพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปสนับสนุนแนวความคิดในด้านการจัดการพื้นที่ป่า ให้มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่ผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่เพื่อที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพด้าน สัตว์ป่าสูงกว่าพื้นที่ที่เป็นหย่อมป่าที่แยกตัวออกมาจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ คำนำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) อันดับกระแต (Scandentia) และอันดับสัตว์กินแมลง (Eulipotyphla) นั้นเป็นสัตว์ป่ากลุ่มหนึ่งที่แสดงบทบาทสำคัญต่อระบบ นิเวศป่าไม้อยู่หลายประการ อาทิ ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพืช (Briggs et al., 2009) ทำลายเมล็ดพืช (Briani & Guimaraes, 2007) กินแมลง (Churchfield et al., 1999) ผสมเกสรดอกไม้ (Letten & Midgley, 2009) และกระจายสปอร์ของเห็ดรา (Vernes & Mcgrath, 2009) เป็นต้น นอกจากนี้สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กยังเป็นอาหารของมนุษย์ (Wattanaratchakit, 2005) นำมาเป็นสัตว์ทดลอง ทางวิทยาศาสตร์ (Fernandes-Santos et al., 2009) และบางชนิดยังนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความ เพลิดเพลิน ขณะเดียวกันในทางตรงกันข้ามสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กยังก่อให้เกิดปัญหาต่อ มนุษย์ด้วย เช่นเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของการเกษตรกรรม (Brown et al., 2007) ทำลายทรัพย์สิน (Hygnstrom et al., 1994) และเป็นพาหะนำโรคต่างๆ (Wangroongsarb, 2008) การศึกษาที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่การศึกษาชนิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่วนการศึกษาในพื้นที่ป่าที่อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ยังมี อยู่จำนวนน้อยมาก ในขณะที่ปัจจุบันพื้นที่ป่าดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าป่า อนุรักษ์ เพราะเป็นพื้นที่สีเขียวไม่กี่แห่งที่ยังคงเหลือกระจัดกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ไทย อีกทั้งยังเป็นแนวป่ากันชนให้กับพื้นที่ป่าอนุรักษ์อีกด้วย ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาถึง ความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบในสองพื้นที่ คือ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด จังหวัดตราด และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี ซึ่งทั้งสองพื้นที่เป็นป่าที่อยู่ นอกเขตป่าอนุรักษ์ และมีความแตกต่างกันในเรื่องของสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ ศึกษาในครั้งนี้แล้วยังจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และ/หรือ เพื่อนำประกอบการวางแผนจัดการให้ วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 3. 46 คงไว้ซึ่งความหลากชนิดและประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อพื้นที่และยังคงความสมดุลของระบบนิเวศได้ต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ พื้นที่ศึกษา ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนาม 2 แห่ง คือ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด (สถานีฯ ตราด) และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า (ศูนย์ฯ เจ็ดคด) โดยทั้งสอง พื้นที่มีประวัติที่คล้ายคลึงกันตรงที่เคยเป็นพื้นที่ป่าที่ผ่านสัมปทานการทำไม้มาก่อนในอดีต แต่ ปัจจุบันมีความแตกต่างกันชัดเจนในด้านการดำเนินกิจกรรม สภาพภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ โดย สถานีฯ ตราดตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดตราด มีเนื้อที่ประมาณ 100 เฮกตาร์ สูงจากระดับ น้ำ ทะเลปานกลางโดยประมาณ 20 เมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 3,000 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิ รายปีเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส พื้นที่มีลักษณะเป็นหย่อมป่าดิบแล้งที่ล้อมรอบด้วยสวนยางพารา และไม่ติดต่อกับเขตป่าอนุรักษ์ใด ป่าอนุรักษ์ที่ใกล้ที่สุดคือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ห่างไป ประมาณ 5 กิโลเมตร (ประทีป, 2550) ส่วนศูนย์ฯ เจ็ดคดตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มี เนื้อที่ประมาณ 2,200 เฮกตาร์ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางโดยประมาณ 200 – 700 เมตร ปริมาณ น้ำฝนเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 1,148 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิรายปีเฉลี่ย 28.5 องศาเซลเซียส โดยมีพื้นที่ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบซึ่งเชื่อมติดเป็นผืนป่าขนาดใหญ่กับอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ (ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า, 2552) การเก็บข้อมูลภาคสนาม การเก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อหาความหลากชนิด ประยุกต์ใช้ตามวิธีของ Wilson (1996); William & Marsh (1998); Nakagawa et al. (2006); Francis (2008) โดยวางแปลงสำรวจเป็นกริด 3 × 3 วางกรงดักขนาด 15 × 15 × 30 เซนติเมตร สำหรับดักจับสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ และอันดับ กระแต โดยใช้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นเหยื่อ ระยะห่างแต่ละกรง 10 เมตร จึงได้จำนวนกรงทั้งหมด 9 กรง ต่อหนึ่งแปลง คิดเป็นพื้นที่ศึกษา 0.09 เฮกตาร์ และวางหลุมดักสัตว์ (pitfall) ภายในพื้นที่ที่ทำการ วางกรงดักสัตว์ เป็นขนาดกริด 2 × 2 โดยฝังถังน้ำขนาดความลึก 30 เซนติเมตร สำหรับดักจับสัตว์ ในอันดับสัตว์กินแมลง แต่ละหลุมห่างกัน 10 เมตร จึงได้ 4 หลุมต่อหนึ่งแปลง คิดเป็นพื้นที่ศึกษา 0.04 เฮกตาร์ โดยวางพื้นที่ศึกษาละ 7 แปลง และเลือกโดยคำนึงถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ศึกษาเป็นหลัก สำหรับบริเวณสถานีฯ ตราด 7 แปลงได้แก่ A คือ ป่าดิบ แล้งริมลำห้วย แปลง B คือ ทุ่งหญ้า แปลง C คือ ป่าดิบแล้งติดบ้านพัก แปลง D คือ สวนเงาะ แปลง E คือ สวนยางพาราวนเกษตร แปลง F คือ สวนยางพารา และแปลง G คือ สวนป่าไม้พะยูง ส่วน ศูนย์ฯ เจ็ดคด ได้แก่ แปลง A คือ ป่าดิบแล้งสันเขา แปลง B คือ ป่าดิบแล้งมีกล้วยป่า แปลง C คือ สวนป่าไม้ประดู่ แปลง D คือ สวนป่าไม้สัก แปลง E คือ ป่ารุ่นสอง แปลง F คือ ทุ่งหญ้า และแปลง วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 4. 47 G คือ ป่าดิบแล้งตีนเขา ทั้งสองพื้นที่วางแปลงศึกษาและเก็บข้อมูลทั้งหมด 6 ช่วงเวลา โดยแต่ละ ช่วงเวลา วางกรงดัก 5 คืน (trap-night) ติดต่อกัน แต่ละช่วงห่างกัน 2 เดือน เริ่มสำรวจตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ทำการตรวจสอบการติดกรง 2 ช่วงเวลาต่อวัน คือ เช้า(6.00-9.00 น.) และเย็น(16.00- 18.00 น.) เมื่อพบสัตว์ติดกรง ทำการจำแนกชนิดในภาคสนาม โดยใช้คู่มือของ ประทีป (2550) และ Francis (2008) กรณีที่จำแนกชนิดไม่ได้เก็บตัวอย่างมา เปรียบเทียบในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย จากนั้นทำเครื่องหมายเป็นรายตัวโดยการขริบหู เป็นรหัสเลขโรมัน จำแนกเพศ ชั้นอายุ วัดขนาดส่วนต่างๆ ด้วยเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ และชั่งน้ำหนัก ด้วยตาชั่งสปริง พร้อมกับถ่ายภาพส่วนต่างๆ ของร่างกายสัตว์เพื่อใช้ประกอบในการจัดทำประวัติ การถูกจับ (Capture history) เพื่อการระบุเป็นรายตัวเมื่อจับได้ในครั้งถัด จากนั้นทำการปล่อยคืนสู่ ธรรมชาติในบริเวณเดียวกันกับที่ดักจับได้ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยสร้างกราฟเพื่อหาความสัมพันธ์ของจำนวนชนิดสะสม กับจำนวน trap-night ที่เพิ่มขึ้น จัดทำประวัติการถูกจับ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กแต่ละชนิดเป็นรายตัว เพื่อ คำนวณหาขนาดประชากร (Population size) ด้วยโปรแกรม MARK ซึ่งเลือกใช้ Closed population Model ตามคู่มือของ Cooch &White (2009) และนำค่าขนาดประชากรที่ได้มาหาความชุกชุม สัมพัทธ์ (relative abundance)โดยคิดเทียบเป็นจำนวนตัวต่อ 100 trap-night แบ่งเป็นแต่ละชนิด ใน แต่ละแปลงศึกษา เพื่อหาดัชนีความหลายหลายของของแต่ละพื้นที่โดยใช้ค่า Shannon-Wiener Index (Ludwig &Reynolds, 1988) และเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่โดยใช้โปรแกรม Species Diversity &Richness (Henderson & Seaby, 2001) ผลและวิจารณ์ ผลจากการวางกับดักศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั้งหมด 5,460 trap-night โดยเป็น กรงดักทั้งหมด 3,780 trap-night หลุมดักสัตว์ทั้งหมด 1,680 trap-night จับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาด เล็กทั้งหมด 243 ครั้ง คิดเป็นความสำเร็จในการวางกรงดัก 6.29 % ความสำเร็จในการวางหลุมดัก สัตว์ 0.29 % เป็นสัตว์ที่ถูกทำเครื่องหมาย 135 ตัว ใน 15 ชนิด ซึ่งเป็นสัตว์ใน 3 อันดับ 4 วงศ์ 10 สกุล โดยสถานีฯ ตราด พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั้งหมด 9 ชนิด 59 ตัว และศูนย์ฯ เจ็ดคด พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม-ขนาดเล็กทั้งหมด 13 ชนิด 76 ตัว โดยศูนย์ฯ เจ็ดคดจำนวนชนิดสะสมเริ่ม คงที่ตั้งแต่จำนวน trap-night เท่ากับ 1,134 trap-night ส่วนสถานีฯ ตราดเริ่มมีความคงที่ตั้งแต่ จำนวน trap-night เท่ากับ 945 trap-night รายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 1 จากภาพของการศึกษานี้ แสดงให้เห็นภาพรวมว่าศูนย์ฯ เจ็ดคดมีจำนวนชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สูงกว่าสถานี ฯ ตราด วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 5. 48 14 12 10 8 6 4 2 0 สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งกอ้นเส้า 0 200 400 600 800 1000 1200 1400 1600 1800 จำนวน trap-night จำนวนชนิดสะสม ภาพที่ 1 จำนวนชนิดสะสมกับจำนวน trap-night ที่เพิ่มขึ้นในสองพื้นที่ศึกษา จากการคำนวนหาขนาดประชากรด้วยโปรแกรม MARK ได้ค่าขนาดประชากรในแต่ละ ชนิด ในแต่ละแปลงศึกษา และหาค่าดัชนีความหลากหลาย ที่คำนวนจากความชุกชุมสัมพัทธ์ รายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 1 พบว่าบริเวณสถานีฯ ตราด แปลงสวนยางพาราวนเกษตรมีทั้ง จำนวนชนิด ขนาดประชากรและค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุด และยังพบว่าหนูฟานเหลืองมี ขนาดประชากรสูงสุดในพื้นที่ รองลงมา คือ กระจ้อน และหนูท้องขาว ตามลำดับ สำหรับชนิดที่มี ความชุกชุมสัมพัทธ์ ต่ำสุดมี 2 ชนิดคือ หนูฟันขาวใหญ่ และหนูผี ส่วนศูนย์ฯ เจ็ดคด แปลงป่ารุ่น สองมีจำนวนชนิดและค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุด แต่พบว่าในป่าดิบแล้งตีนเขามีขนาด ประชากรสูงสุด และพบว่าหนูฟานเหลืองมีขนาดประชากรสูงสุด รองลงมา คือ หนูท้องขาว และ กระแตเหนือ ตามลำดับ ชนิดที่มีความชุกชุมสัมพัทธ์ต่ำสุดมี 4 ชนิด คือ หนูพุกเล็ก หนูฟันขาวเล็ก หนูขนเสี้ยนดอย และหนูนาใหญ่ สำหรับชนิดที่พบเฉพาะบริเวณสถานี ฯ ตราด มี 2 ชนิด คือ หนูฟันขาวใหญ่ และกระรอก หลากสี ชนิดที่พบเฉพาะศูนย์ฯ เจ็ดคด มี 6 ชนิด คือ หนูฟันขาวเล็ก หนูพุกเล็ก หนูพุกใหญ่ หนูนา ใหญ่ หนูหวาย และกระรอกปลายหางดำ ศูนย์ฯ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้ามีค่าดัชนีความหลายหลาย 2.06 ซึ่งมากกว่าสถานีฯ ตราด ที่มีค่าดัชนีความหลากหลาย 1.68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95 % ดังแสดงในตารางที่ 1 วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 6. 49 ตารางที่ 1 ชนิด และขนาดประชากรของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ชนิด / ขนาดประชากร(ตัว) สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า A B C D E F G รวม A B C D E F G รวม หนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) 1 1 หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) 1 7 8 หนูฟันขาวเล็ก (Berylmys berdmorei) 1 1 หนูฟันขาวใหญ่ (Berylmys bowersii) 1 1 หนูหวาย (Leopoldamys sabanus) 1 1 2 หนูฟานสีน้ำตาล(Maxomys rajah) 1 1 2 1 1 2 หนูฟานเหลือง (Maxomys surifer) 5 11 3 4 4 27 6 3 4 12 25 หนูขนเสี้ยนดอย (Niviventer bukit) 4 4 1 1 หนูท้องขาว (Rattus tanezumi) 3 2 5 3 1 5 3 12 หนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) 1 1 กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps) 2 1 3 กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysonii) 4 4 กระจ้อน (Menetes berdmorei) 3 1 5 2 11 2 2 1 5 กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) 1 2 1 4 3 1 2 1 1 3 11 หนูผี (Suncus sp.) 1 1 1 1 1 1 4 รวม 6 4 15 8 19 0 7 59 13 13 5 5 12 13 15 76 จำนวนชนิด 2 2 3 3 7 0 3 9 6 6 2 4 8 5 2 13 Shannon-Wiener Index (H') 0.45 0.56 0.73 0.97 1.79 0.00 0.96 1.68 1.53 1.70 0.50 1.33 1.81 1.27 0.50 2.06 วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 7. 50 ผลการศึกษาด้านความหลากชนิด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั้งสองพื้นที่ศึกษามี ความแตกต่างกันนั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมของถิ่นที่อยู่อาศัยอาทิ ฤดูกาล ที่แตกต่างกัน (Walker & Rabinowitz, 1992) ขนาดพื้นที่ที่ใหญ่และความใกล้ไกลกับผืนป่าขนาด ใหญ่ (Goodman &Rohotondravony, 2002; Vieira et al., 2009) ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ศูนย์ฯ เจ็ดคด มีขนาดพื้นที่ขนาดใหญ่และและมีสัดส่วนของพื้นที่ป่าดั้งเดิมสูงกว่าอีกทั้งยังมีความเชื่อมต่อกับผืน ป่าขนาดใหญ่ จึงทำให้มีความหลากชนิดสูงกว่าสถานีฯ ตราด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Danstan &Fox (1996) ที่ได้ศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบริเวณป่าเขตดิบที่เกิดจากการเกิด หย่อมป่าต่างๆในประเทศออสเตรเลีย และอีกทั้งสอดคล้องกับการศึกษาของ Magige & Senzota (2006) ที่กล่าวว่ารูปแบบและวิธีการปฏิบัติของการอนุรักษ์ของพื้นที่ที่แตกต่างกัน จะทำให้มีความ หลากชนิดที่แตกต่างกันด้วย โดยในที่นี้ศูนย์ฯ เจ็ดคดพื้นแนวเขตประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ยังคง ติดกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งยังคงเป็นป่าที่สมบูรณ์ ในขณะที่สถานีฯ ตราด ในปัจจุบัน รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบสถานีฯ ตราด ได้เปลี่ยนแปลงจากสวนป่ากลายเป็น สวนยางพาราซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการขัดขวางการอพยพเคลื่อนย้ายไปมาของสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนมขนาดเล็กระหว่างพื้นที่สถานีฯตราดกับพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และเมื่อพิจารณาถึง ขนาดประชาการ พบว่าศูนย์ฯ เจ็ดคดมีขนาดประชากรที่สูงกว่าสถานีฯ ตราด ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะ พื้นที่ขนาดใหญ่กว่ามักจะทำให้มีพืชอาหารสำหรับสัตว์กลุ่มนี้เพียงพอจนส่งผลให้มีการเจริญพันธุ์ และเพิ่มประชากรได้ดี ซึ่งในระหว่างการศึกษานี้สังเกตพบว่าหนูฟานเหลืองเพศเมียตัวเต็มวัย สามารถคลอดลูกครั้งละ 3-4 ตัวในทุกๆ 30 วัน และผลนี้ยังสอดคล้องกันกับการศึกษาของ Brown et al. (2005) และ Shanker & Sakumar (1998) อีกด้วย บริเวณสวนยางพาราวนเกษตรเป็นแปลงที่มีความหลากหลายมากที่สุดบริเวณสถานีฯ ตราด เนื่องจากมีการปลูกไม้ป่าชนิดอื่น แทรกระหว่างต้นยางพารา เช่นกฤษณา ตะเคียนทอง หวาย และเร่วหอม และไม่มีการกำจัดวัชพืชออก ทำให้มีการปกคลุมของไม้พื้นล่างจำนวนมาก ซึ่ง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากสวนยางพารา(แปลง F)ที่ไม่มีการปลูกพืชชนิดอื่นแทรกและมีการกำจัด พืชพื้นล่างออกทั้งหมดทำให้ไม่พบการปรากฏของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในการศึกษาครั้งนี้ เลย ส่วนบริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคด บริเวณป่ารุ่นสองเป็นแปลงที่มีความหลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็น แปลงที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบ บริเวณนี้ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มชนิดที่พบได้ทั้งในพื้นที่มีกิจกรรมของมนุษย์และพื้นที่ป่า ทั้งนี้เนื่องจาก สัตว์เหล่านี้มีความสามารถในการปรับตัวสูงโดยจะเคลื่อนที่หากินไปมาระหว่างบริเวณที่ถูกคุกคาม หรือถูกรบกวนได้ดี (Lynam & Bilick, 1999) ป่าดิบแล้งสันเขามีความหลากชนิดสูงกว่า แต่มีขนาด ประชากรน้อยกว่า ป่าดิบแล้งบริเวณตีนเขา โดยบริเวณป่าดิบแล้งสันเขาพบ 6 ชนิด แต่ป่าดิบแล้ง ตีนเขาเพียงแค่ 2 ชนิดโดยเป็นหนูฟานเหลืองจำนวนเป็น12 ตัว(ร้อยละ 80) จากประชากรทั้งหมดที่ พบ 15 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะบริเวณป่าดิบแล้งบริเวณตีนเขามีสภาพแวดล้อมที่เอื่อย วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 8. 51 อำนวยต่อการดำรงชีวิตของหนูฟานเหลืองเป็นอย่างดีจึงได้มีประชากรในสัดส่วนที่สูงมากใน บริเวณนี้ และอีกส่วนหนึ่งน่าจะมีอิทธิพลมาจากความแตกต่างกันด้านความสูงของพื้นที่ (Ferro &Barquez, 2009) ส่วนพื้นที่ป่าไม้สักที่มีความหลากชนิดสูงกว่าสวนป่าไม้ประดู่ทั้งที่มีขนาด ประชากรที่เท่ากัน ซึ่งผลในแต่ละแปลงศึกษาครั้งนี้มีขนาดประชากรใกล้เคียงกัน แต่ที่แตกต่างกัน คือความหลากชนิด โดยจะแตกต่างจากผลการศึกษาของ Nicolas et al. (2009) ที่ศึกษาในสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนมขนาดเล็กในกลุ่มหนูผีอันดับสัตว์กินแมลง (Eulipotyphla) ซึ่งสรุปไว้ว่าความหลากชนิด ของแต่ละแปลงมีความคล้ายคลึงกันที่แตกต่างกันคือขนาดประชากร ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจาก การศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) และอันดับกระแต (Scandentia) สำหรับภาพรวมพบว่าหนูฟานเหลืองเป็นชนิดที่มีจำนวนประชากรสูงที่สุดในทั้งสองพื้นที่ ศึกษา เนื่องจากชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่หากินส่วนใหญ่บนพื้นดิน และเป็น หนูที่รายงานพบได้บ่อยมาก และมีขอบเขตการกระจายทั่วในพื้นที่ป่าของประเทศไทย (Lekagul &McNeely, 1977; Wiles, 1981; Wells et al., 2004; Francis, 2008) สรุปและข้อเสนอแนะ จากการวางกับดักทั้งหมด 5,460 trap-night สัตว์ถูกทำเครื่องหมายทั้งหมด 135 ตัว จาก 15 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบบริเวณสถานีฯ ตราด 9 ชนิด 59 ตัว มีค่าดัชนีความ หลากหลาย 1.68 บริเวณสวนยางพาราวนเกษตรเป็นแปลงที่มีค่าดัชนีความหลายหลายสูงที่สุด เท่ากับ 1.79 และศูนย์ฯ เจ็ดคดพบ 13 ชนิด 76 ตัว มีค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 2.06 บริเวณป่า รุ่นสองเป็นแปลงที่มีค่าดัชนีความหลายหลายสูงที่สุดเท่ากับ 1.77 โดยพบหนูฟานเหลืองมีขนาด ประชากรสูงที่สุดในบริเวณสถานีฯ ตราด รองลงมา คือ กระจ้อน และหนูท้องขาว ตามลำดับ ส่วน บริเวณศูนย์ฯ เจ็ดคดหนูฟานเหลืองยังคงมีขนาดประชากรสูงสุด รองลงมา คือ หนูท้องขาว และ กระแตเหนือ ตามลำดับ โดยผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสนับสนุนแนวความคิดที่ว่าพื้นที่ที่มีการ เชื่อมต่อกับพื้นที่ป่าขนาดใหญ่จะสามารถรักษาความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า พื้นที่ที่เป็นหย่อมป่า โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ เชื่อมต่อติดกันให้เป็นผืนใหญ่เพียงพอที่จะดำรงความสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้ไว้ได้ สำหรับในแง่การจัดการประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กนั้นควรคำนึงถึงเรื่องการ เปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยเนื่องจากหากบริเวณใดมีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื่อยอำนวยต่อการดำรง ชีพของสัตว์กลุ่มนี้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว จะทำให้ประชากรของสัตว์กลุ่มนี้บางชนิดเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจนเกิดผลเสียต่อพื้นที่เองและรวมทั้งสัตว์ป่าชนิดอื่นและมนุษย์อีกด้วย จากการศึกษาสัตว์ป่ากลุ่มนี้ด้วยการวางหลุมดักสัตว์และได้ค่าความสำเร็จในการวางหลุม ดักสัตว์ เพียง 0.29 % และดักจับได้เฉพาะหนูผีเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวิธีการนี้เป็นวิธีที่เหมาะ วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 9. 52 สำหรับการสำรวจชนิดเฉพาะในสัตว์กลุ่มนี้ แต่ในแง่การสำรวจเพื่อติดตามประชากรควรต้องมีการ ปรับปรุงโดยอาจจำเป็นต้องทำการขยายแนวรั้วกั้น (fence) ให้มีขนาดยาวมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพ ของพื้นที่ดักจับ และ/หรือ ควรต้องเพิ่มจำนวนหลุมดักให้มากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมถิ่นอาศัยของ สัตว์กลุ่มนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้อีกด้วย คำนิยม ขอขอบคุณ หัวหน้าสถานีฯและหัวหน้าศูนย์ฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกๆ ท่าน ของทั้งสถานีวิจัย และฝึกอบรมวนเกษตรตราด และศูนย์ศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า ที่ได้อนุญาต และอำนวยความสะดวกในการทำวิจัยในภาคสนามครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เอกสารอ้างอิง ประทีป ด้วงแค. 2550. คู่มือการสำรวจความหลากชนิดของสัตว์ป่าบริเวณสถานีวิจัยวนเกษตรตราด. สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. .2550. สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมเมืองไทย. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า. 2552. สวนป่าเจ็ดคด. สวนป่าเจ็ดคต. แหล่งที่มา: http://www.sukananroyalhill.net/ กรกฎาคม 2552. Briani, D.C. &P.R. Guimaraes, Jr. 2007. Seed predation and fruit damage of Solanum lycocarpum (Solanaceae) by rodents in the Cerrado of Central Brazil. Acta Oecologica 31: 8-12. Briggs, J.S., S.B. Vander &S.H. Jenkins. 2009. Forest rodents provide directed dispersal of jeffrey pine seeds. Ecology 90 (3): 675-687. Brown, P.R., N.I. Huth, P.B. Banks &G.R. Singleton. 2007. Relationship between abundance of rodents and damage to agricultural Crops. Agriculture, Ecosystems and Environment 120: 405–415 Brown, P.R., N.P. Tuan, G.R. Singleton, D.T. Hue, P.T. Hoa, P.T.T. Ha, T.Q. Tan &N.V. Tuat. 2005. Population Dynamics of Rattus argentiventer, Rattus losea, and Rattus rattus Inhabiting a Mixed-Farming System in the Red River Delta, Vietnam. Popul Ecol 47: 247–256. Churchfield, S., V.A. Nesterenko &E.A. Shvarts. 1999. Food niche overlap and ecological separation amongst six species of coexisting forest shrews (Insectivora: Soricidae) in the Russian Far East. J. Zool., Lond. 248: 349-359. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 10. 53 Cooch, E. &G. White. 2009. Program MARK: A Gentle Introduction. (Computer Program). Colorado State University. Colorado. Dunstan, C.E. &B.J. Fox. 1996. The effects of fragmentation and disturbance of rainforest on ground-dwelling small mammals on the Robertson Plateau, New South Wales, Australia. Journal of Biogeography 23: 187-201 Fernandes-Santos, C., R.E. Carneiro, L.S. Mendonca, M.B. Aguila &C.A. Mandarim de Lacerda. 2009. Pan-PPAR agonist beneficial effects in overweight mice fed a high-fat high-sucrose diet. Nutrition 25: 818-827 Ferro, L.I. &R.M. Barquez. 2009. Species Richness of Nonvolant Small Mammals Along Elevational Gradients in Northwestern Argentina. Biotropica 41 (3): 1-9. Francis, C.R. 2008. A Field Guide to the Mammals of Thailand and South-East Asia. 1 ed. Asia Book Co., Ltd, Bangkok. Goodman, S.M. &D. Ranotondravony. 2002. The effects of forest fragmentation and isolation on insectivorous small mammals (Lipotyphla) on the Central High Plateau of Madagascar. J. Zool. lond. 250: 193 - 200 Henderson, P.A. &R.M.H Seaby. 2001. Species Diversity and Richness. (Computer program). PISCES Conservation Ltd, Lymingtom, UK. Hygnstrom, S.E., R.M. Timm &G.E. Larson. 1994. Prevention and Control of Wildlife Damage. University of Nebraska-Lincoln, USA. Lekagul, B. &J.A. McNeely. 1977. Mammals of Thailand. 1 ed. Kurusapha Ladprao Press, Bangkok. Ludwig, J.A. &J.F. Reynolds. 1988. Statistical Ecology. John Wiley and Sons, Inc., New York. Lynam, A.J. &I. Billick. 1999. Differential response of small mammals to fragmentation in Thailand tropical forest. Biological Conservation 91: 191-200 Magige, F. &R. Senzota. 2006. Abundance and Diversity of Rodents at the Human–Wildlife Interface in Western Serengeti, Tanzania. Afr. J. Ecol. 44: 371–378. Nakagawa, M., H. Miguchi &T. Nakashizuka. 2006. The effect of various forest uses on small mammal communities in Sarawak, Malaysia. Forest Ecology and Management 231: 55-62. Nicolas, V., P. Barrière, A. Tapiero Colyn. 2009. Shrew Species Diversity and Abundance in Ziama Biosphere Reserve, Guinea: Comparison Among Primary Forest, Degraded Forest and Restoration Plots. Biodivers Conserv 18(8): 2043-2061. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010
  • 11. 54 Shanker, K. &R. Sakumar. 1998. Community Structure and Demography of Small-Mammal Populations in Insular Montane Forests in Southern India. Oecologia 116: 243-251. Vernes, K. &K. Mcgrath. 2009. Are introduced Black rats (Rattus rattus) a functional replacement for mycophagous native rodents in fragmented forests?. Fungal Ecology 2: 145-148. Vieira, M.V., N. Olifiers, A.C. Delciellos, V.Z. Antanes, L.R. Bernardo, C.E.V. Grelle &R. Cerqueira. 2009. Land use vs. fragment size and isolation as determinants of small mammal composition and richness in Atlantic forest remnants. Biological Conservation 142: 1191–1200. Wattanaratchakit, N. 2005. Density, Distribution and Human Consumption of Small Mammals Around a Karen Village in Mae Hong Son Province, Thailand. M.S. Thesis, Mahidol University. Wangroongsarb, P., W.Saengsongkong, W.Petkanjanapong, M. Mimgratok, D. Panjai, W. Wootta &T. Hagiwara. 2008. An application of Duplex PCR for detection of Leptosira spp. and Orientia tsutsugamushi from wild rodents. Jpn. J. Infect. Dis. 61: 407-409. Walker, S. &A. Robinowitz. 1992. The small-mammal community of dry-propical forest in Central Thailand. Journal of Tropical Ecology 8 (1): 57-71. Wells, K., M. Pfeiffer, M.B. Lakim &K.E.Linsenmair. 2004. Use of arboreal and terrestrial space by asmall mammal community in a tropical rain forest in Borneo, Malaysia. J. Biogeogr. 31: 641–652. Wiles, G. J. 1981. Abundance and habitat preferance of small mammal in Southwestern Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 29: 44-54. Williams, S.E. &H. Marsh. 1998. Changes in Small Mammal Assemblage Structure Across a Rain Forest / Open Forest Ecotone. Journal of Tropical Ecology 14: 187-198 Wilson, D.E., F.R. Cole, J.D. Nichols, R. Rudran &M.S. Foster. 1996. Measuring and Monitoring Biological Diversity Standard Methods for Mammals. Smithsonian Institution Press, Washington and London. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Journal of Wildlife in Thailand Vol.17 No.1 2010