SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
1. สาระสำาคัญ
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล
ให้เป็นสารสนเทศ คอมพิวเตอร์จะทำางานตามชุดคำาสั่งหรือโปรแกรม
มีหน่วยความจำาหลักและหน่วยความจำารองเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์
ที่มีเป็นจำานวนมาก โดยมีหน่วยรับเข้านำาข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความ
จำาหลัก และมีหน่วยส่งออกนำาข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงผล
ในหน่วยความจำารอง
2. มาตรฐานที่ 4.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการ
เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น
ข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำางานและอาชีพ
อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ง 4.1.1 เข้าใจหลักการทำางานบทบาทและประโยชน์
ของระบบคอมพิวเตอร์
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สรุป อภิปราย จำาแนกส่วนประกอบและการทำางานของอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
2. อธิบายหน่วยประมวลผลกลางได้
3. อธิบายหน่วยความจำาหลักได้
4. อธิบายหน่วยความจำารองได้
5. อธิบายหน่วยรับเข้าได้
6. อธิบายหน่วยส่งออกได้
6. เนื้อหา
- ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
- หน่วยประมวลผลกลาง
- หน่วยความจำาหลัก
- หน่วยความจำารอง
- ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
- หน่วยประมวลผลกลาง
- หน่วยความจำาหลัก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
2. อธิบายหน่วยประมวลผลกลางได้
3. อธิบายหน่วยความจำาหลักได้
4. อธิบายหน่วยความจำารองได้
เนื้อหา
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็น
สารสนเทศ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นคือสามารถจัดการข้อมูล คิดคำานวณ
ตัวเลขจำานวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำา นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยัง
สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยก
ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยที่การดำาเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตาม
เงื่อนไขที่โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์กำาหนดไว้
คอมพิวเตอร์ทำางานตามชุดคำาสั่งหรือโปรแกรม ตามหลัก
การที่ จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann)เสนอและใช้กัน
มาจนถึงปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำาสำาหรับเก็บซอฟต์แวร์
และข้อมูล การทำางานของคอมพิวเตอร์จะทำางานตามโปรแกรมที่กำาหนด
ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียก
รวมว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware)
ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์
การทำางานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำาคัญ 5 หน่วย คือ
1. หน่วยประมวลผลกลาง ทำาหน้าที่ ในการคิดคำานวณหรือ
ประมวลผลข้อมูล โดยทำาตาม
หน่วยรับเข้า
หน่วยความ
จำาหลัก
หน่วยประมวล
ผลกลาง
หน่วยส่งออก
หน่วยความ
จำารอง
โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำาหลัก
2. หน่วยความจำาหลัก เป็นหน่วยสำาหรับเก็บข้อมูลและ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางสามารถ
อ่านเขียนจากหน่วยความจำาหลักรวดเร็วมาก ทำาให้หน่วยประมวลผลก
ลางนำามาตีความและกระทำาตามได้อย่างรวดเร็ว
3. หน่วยความจำารอง มีไว้สำาหรับเก็บข้อมูลหรือ
ซอฟต์แวร์ที่มีจำานวนมากและต้องการนำามาใช้อีกในภายหลัง หากจะใช้
งานก็มีการโอนถ่ายจากหน่วยความจำารองมายังหน่วยความจำาหลัก
4. หน่วยรับข้อมูล ทำาหน้าที่ รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ใน
หน่วยความจำาหลัก จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง
5. หน่วยส่งออก เป็นหน่วยที่นำาข้อมูลที่ได้รับการประมวล
ผลแล้วมาแสดงผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำารอง
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียูู (Central
Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลางเป็นส่วนที่สำาคัญของ
คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้
ก้าวหน้ามากจนถึงขั้นสามารถผลิตวงจรหน่วยประมวลผลกลางทั้งวงจร
ไว้ในชิพเพียงตัวเดียวได้ ชิพหน่วยประมวลผลกลางนี้มีชื่อเรียกว่า
ไมโครโพรเซสเซอรู์
หน่วยประมวลผลกลาง แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ หน่วย
ควบคุม (control unit) และหน่วยคำานวณและตรรกะ (Arithmetic
Logic Unit : ALU)
1. หน่วยควบคุม (control unit) ทำาหน้าที่ในการควบคุม
ลำาดับการทำางานภายในหน่วยประมวลผล กลางระหว่างประมวลผล
2. หน่วยคำานวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit :
ALU) ทำาหน้าที่นำาข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสองมา
ประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
การทำางานนี้จะเป็นไปตามคำาสั่งในโปรแกรม เริ่มด้วยหน่วย
ประมวลผลจะอ่านคำาสั่งและข้อมูลต่างๆ จากหน่วยรับเข้าเก็บไว้ที่หน่วย
ความจำาหลัก หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลกลางจะอ่านคำาสั่งจากหน่วย
ความจำาทีละคำาสั่งมาตีความหมายและกระทำาตาม การกระทำาดังกล่าวจะ
กระทำาอย่างรวดเร็วมาก หน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านคำาสั่งมาตี
ความหมายและกระทำาตามได้หลายล้านคำาสั่งต่อวินาที ด้วย
ประสิทธิภาพการทำางานที่รวดเร็วนี้เอง ทำาให้หน่วยประมวลผล กลาง
สามารถทำาการประมวลผลได้มากและรวดเร็ว
พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางได้เริ่มจากการให้หน่วย
ประมวลผลกลางอ่าน ข้อมูลจากหน่วยความจำาหลักด้วยรหัสเลขฐาน
สอง ครั้งละ 8 บิต เรียกซีพียูแบบนี้ว่าซีพียูขนาด 8 บิต ต่อมาเมื่อสร้าง
หน่วยประมวลผลกลางได้ดีขึ้นทำาให้อ่านคำาสั่งหรือข้อมูลเข้ามาได้ครั้ง
ละ 16 บิต การประมวลผลก็กระทำาครั้งละ 16 บิตด้วย เรียกซีพียูแบบนี้
ว่าซีพียูขนาด 16 บิต ปัจจุบันซีพียูที่ใช้งานสามารถอ่านคำาสั่ง หรือ
ข้อมูลได้ถึงครั้งละ 128 บิต ทำาให้ทำางานได้มากและรวดเร็วขึ้น
กลไกการทำางานของซีพียูมีจังหวะการทำางานที่แน่นอนเช่น
อ่านข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าเก็บไว้ที่หน่วยความจำาหลัก อ่านข้อมูลจาก
หน่วยความจำาหลักแล้วนำามาตีความหมายคำาสั่งในซีพียู ดำาเนินการตาม
ที่คำาสั่งนั้นบอกให้กระทำา การกระทำาเหล่านี้เป็นจังหวะที่แน่นอน การ
กำาหนดความเร็วของจังหวะจะใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วสูงมาก
ซีพียูรุ่นใหม่ๆ สามารถใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วได้สูงกว่า 2
กิกะเฮิรตซ์
วิวัฒนาการของไมโครโพรเซสเซอร์
1) ไมโครโพรเซสเซอร์ 8086 เริ่มพัฒนาและนำาออกมาใช้
งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นซีพียูขนาด 16 บิต อย่างไรก็ดีบริษัทผู้
ผลิตได้ผลิตซีพียูรุ่น 8088 ในเวลาต่อมา และกลายเป็นซีพียูของ
ไมโครคอมพิวเตอร์ ซีพียูรุ่นนี้มีโครงสร้างการทำางานที่ต่อเชื่อมกับ
หน่วยความจำาหลักโดยตรงได้มากถึง 1 เมกะไบต์ (megabyte) 1
เมกะไบตู์ เท่ากับ 1024 กิโลไบต์ (kilobyte : kb) 1 กิโลไบต์
เท่ากับ 1024 ไบต์ (byte) และ 1 ไบต์ เท่ากับ 8 บิต
2) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 เป็นพัฒนาการรุ่นต่อมาของ
8086 นำาออกจำาหน่ายในปี พ.ศ. 2526 ต่อมากลายเป็นซีพียูของ
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ รุ่นเอที ขีดความสามารถของ 80286 ยังคง
เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต แต่สามารถเชื่อมต่อกับหน่วย
ความจำาหลักได้โดยตรงถึง 16 เมกะไบต์
3) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80386 เป็นซีพียูรุ่นที่สามที่ใช้ใน
ไมโครคอมพิวเตอร์ นำาออกจำาหน่ายในปี พ.ศ. 2529 ซีพียูรุ่นนี้เป็น
ซีพียูขนาด 32 บิต มีประสิทธิภาพการทำางานได้ดีกว่า 80286 มาก
โดยเฉพาะโครงสร้างการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำาสามารถต่อได้ถึง 4
กิกะไบต์
4) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 พัฒนาต่อเนื่องมาจาก
80386 เริ่มผลิตออกจำาหน่ายในปี พ.ศ. 2533 ซีพียูตัวนี้ยังคงเป็น
ซีพียูแบบ 80386 แต่เพิ่มขีดความสามารถในการคำานวณจำานวนจริง
ไมโครโพรเซสเซอร์นี้มีสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้น มีจำานวน
ทรานซิสเตอร์กว่าหนึ่งล้านตัวในชิพเดียวกัน
5) ไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486
บริษัทผู้ผลิตได้เปลี่ยนชื่อรุ่นซีพียูจากการใช้หมายเลขมาเป็นชื่อ
ทางการค้า เช่น เพนเทียม (pentium) เอทรอน(athlon) ซึ่งซีพียู
นี้มีจำานวนทรานซิสเตอร์มากกว่าสามล้านตัวเป็นซีพียูขนาด 64 บิต
และทำางานได้เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 โดยเฉพาะมีการ
ทำางานภายในด้วยกระบวนการทำางานแบบขนานเพื่อให้ทำางานได้เร็ว
ขึ้น
พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางก้าวหน้าตลอดเวลา มีผู้
ผลิตหน่วยประมวลผลกลางจากหลายบริษัท แต่ละบริษัทได้พัฒนาขีด
ความสามารถที่แตกต่างกัน ในอนาคตหน่วยประมวล ผลกลางจะได้รับ
การพัฒนาให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นอีกมาก
หน่วยความจำาหลัก
หน่วยความจำาหลัก มีหน้าที่ ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรม
ที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งานได้ หน่วยความจำาหลักเป็นอุปกรณ์ที่ทำามา
จากไอซีเช่นเดียวกัน วงจรหน่วยความจำาเก็บข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง
ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้า การเก็บข้อมูลจะเก็บรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น 8 บิต
รวมกันเป็น 1 ไบต์ เนื้อที่เก็บข้อมูลของหน่วยความจำาหลัก 64 เมกะไบต์
สามารถเก็บข้อมูลหรือคำาสั่งได้ 64 x 1024 x 1024 ไบต์เท่ากับ
67,108,864 ไบต์ หรือประมาณ 16,000 หน้ากระดาษ
การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำาหลักจะเก็บโดยกำาหนด
ตำาแหน่งที่อยู่ข้อมูล (address) ซีพียูจะเขียนหรืออ่านข้อมูลในหน่วย
ความจำาโดยอ้างตำาแหน่งที่อยู่ การอ้างอิงที่ตำาแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใด ๆ
ซีพียูสามารถอ้างได้ทันที การอ้างตำาแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบนี้เรียกว่า
การเข้าถึงโดยสุ่ม (random access)
ประเภทหน่วยความจำาหลัก
1. แรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วย
ความจำาที่เก็บข้อมูลสำาหรับใช้งานทั่วไป การอ้างอิงตำาแหน่งที่อยู่ของ
ข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำาแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ
เรียกไปที่ตำาแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำานี้เรียกว่า แรม หน่วย
ความจำาประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร
หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที
2. รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำา
อีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำาแหน่ง ที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึงโดยสุ่ม
หน่วยความจำาประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำาคัญบางอย่าง เพื่อว่า
เมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำางานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่
เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่
สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้
จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป
หน่วยความจำารอง
แรม เป็นหน่วยความจำาหลักสำาหรับเก็บข้อมูลหรือ
ซอฟต์แวร์ขณะทำางาน ข้อมูลหรือซอฟต์แวร์เหล่านี้จะถูกลบทิ้งไปถ้าปิด
เครื่องหรือไฟฟ้าดับ ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยความจำารองเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่
ต้องการใช้งานต่อ และหากต้องการใช้งานเมื่อไรก็จะถ่ายข้อมูลจาก
หน่วยความจำารองมาไว้ที่หน่วยความจำาหลักที่เป็นแรมเพื่อให้หน่วย
ประมวลผลทำางาน หน่วยความจำารองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์มี
หลายประเภท
1. แผ่นบันทึก ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่น
บันทึกอย่างน้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัว
แผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติก
แข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน การเก็บข้อมูลจะทำาโดยบันทึกลงไปที่ผิว
ของแผ่น ปกติใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัว แผ่น
จะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลในตำาแหน่งที่
อยู่ที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่
ละแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่า เซกเตอร์ (sector) แผ่น
บันทึกขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 เมกะไบต์
2. ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึก
แบบแข็งที่เคลือบสารแม่เหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน หัวอ่านของเครื่อง
ขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นหมุน หัวอ่านจะ
เคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลใน
แต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์ (cylinder)
แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก ขนาดของฮาร์ดดิสก์มี
ความจุเป็นกิกะไบต์์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 15 กิกะไบต์ การเขียน
อ่านข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์จะกระทำาเป็นเซกเตอร์ และเขียนอ่านได้เร็วมาก
เวลาที่ใช้ในการวัดการเข้าถึงข้อมูลมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที
3. เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้
กันมานานแล้ว ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก เคลือบด้วยสาร
แม่เหล็ก เหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำาหรับเก็บข้อมูล
จำานวนมาก มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำาดับ เพราะฉะนั้น
การเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำาดับ (sequential access)
เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำาดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูล
ลำาดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ ส่วนการประยุกต์นั้นเน้น
สำาหรับใช้สำารองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้ จึงจำาเป็นต้องเก็บสำารองข้อมูลไว้
ในอดีตใช้เทปม้วนใหญ่ แต่ปัจจุบันการผลิตเทปทำาได้ดีมากขึ้น
ตลับเทปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงมาก เรียกเทปพวกนี้ว่า
เทปคาร์ทริดจ์ (cartridge tape) เทปแม่เหล็กมีความจุต่อม้วนสูงมาก
จึงนิยมใช้สำาหรับสำารองข้อมูลจำานวนมาก การสำารองข้อมูลโดยทั่วไป
มักจะกำาหนดตามสภาพการใช้งานเป็นระยะเวลา เช่นสำารองข้อมูลทุก
สัปดาห์ การสำารองข้อมูลแต่ละครั้งอาจใช้เวลาหลายสิบนาที
4. แผ่นซีดี (Compact Disk :CD วิวัฒนาการของ
การใช้หน่วยความจำารองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำาดับ ปัจจุบันได้มีการ
ประดิษฐ์แผ่นซีดี ใช้ในการเก็บข้อมูลจำานวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่น
ซีดีใช้หลักการทางแสง แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า ซีดีรอม
(CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการ
บันทึกเพลงหรือภาพยนตร์ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้
มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 650 เมกะไบต์ต่อ
แผ่น แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว
ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น จนสามารถ
เขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์
(optical disk)
5. หน่วยความจำาแบบแฟลช (flash memory) เป็น
หน่วยความจำาประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม(Electrically
Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM)ซึ่ง
เป็นเทคโนโลยี ของรอมและแรมรวมกัน ทำาให้หน่วยความจำาชนิดนี้
สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้
ตามต้องการและถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยความจำาชนิดนี้มี
ขนาดเล็ก นำ้าหนักเบา พกพาได้สะดวก ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้
มากถึง 256 เมกะไบต์
หน่วยรับเข้า
จากรูปแบบการทำางานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับเข้าเป็นอุปกรณ์
ที่นำาข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำาหลัก และใช้ใน
การประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท เช่น แผงแป้นอักขระ
เมาส์ แทร็กบอล ก้านควบคุม เครื่องกราดตรวจ เครื่องอ่านอักขระหมึก
แม่เหล็ก จอสัมผัส
1. แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำาหน้าที่รับ
ข้อมูลโดยรับข้อมูลจากการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระแล้วส่งรหัสไปให้
คอมพิวเตอร์ แผงแป้นอักขระที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้มีจำานวน 104
แป้น
2. เมาส์ แทร็กบอล (trackball) และก้านควบคุม
(joystick) การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะเน้นให้ผู้ใช้
ใช้งานได้ง่าย จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์รับเข้าที่เหมาะสมกับโปรแกรม
เช่น เมาส์ แทร็กบอล และก้านควบคุม ซึ่งสามารถเลื่อนตัวชี้ไปบนจอ
แล้วเลือกสิ่งที่ต้องการได้
เมาส์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถเลื่อนตัวชี้ไปยังตำาแหน่งที่
ต้องการบนจอภาพ มีลักษณะเป็นปุ่มกดครอบอยู่กับลูกกลมที่เมื่อลากไป
กับพื้นแล้ว จะมีการส่งสัญญาณตามแนวแกน x และแกน y เข้าสู่
คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเมาส์มีหลายรูปแบบให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตาม
ความต้องการ
แทร็กบอล คือลูกกลมที่กลิ้งไปมาวางอยู่ในเบ้า ผู้ใช้สามารถ
บังคับลูกกลมให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมการทำางานของตัวชี้บนหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีการสร้างแทรกบอลไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ
โน้ตบุ๊ค เพราะสะดวกต่อการใช้ และใช้พื้นที่น้อย
ก้านควบคุม มีลักษณะเป็นก้านโยกซึ่งโยกได้หลายทิศทาง
ขณะที่โยกก้านไปมาตำาแหน่งของตัวชี้จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเป็นการส่ง
สัญญาณข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ก้านควบคุมมักเป็นอุปกรณ์ที่นิยม
ใช้กันมากในการเล่นเกม
3. เครื่องกราดตรวจ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี
ของการผ่านแสง เพื่อทำาการอ่านรหัสสัญลักษณ์ หรือรูปภาพ แล้วให้
คอมพิวเตอร์นำาไปประมวลผลต่อไป เครื่องกราดตรวจช่วยให้การรับ
ข้อมูลทำาได้รวดเร็วกว่าการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระ อีกทั้งยังลดข้อ
ผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกดแป้นอีกด้วย เครื่องกราดตรวจที่นิยมใช้
กันอยู่ทั่วๆ ไปได้แก่ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสแท่ง
3.1 เครื่องกราดตรวจรายหน้า (page scanner)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านรูปภาพหรือตัวหนังสือ เช่น รูปถ่าย และ
สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
3.2 เครื่องอ่านรหัสแท่ง เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้
สำาหรับอ่านรหัสแท่ง ( bar code ) ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วยเส้น
ขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่างๆ การอ่านจะใช้แสงส่องแถบ
เส้นทำาให้เกิดการสะท้อนเพื่อรับรหัสเข้ามาตีความหมาย ปัจจุบันนิยมใช้
ในห้างสรรพสินค้า สินค้าทุกชนิดจะติดรหัสแท่งไว้ ผู้ขายใช้เครื่องอ่าน
รหัสแท่งเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นรหัสของสินค้าใด ราคาเท่าใด และ
สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้อย่างอัตโนมัติ
4. เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก (Magnetic-Ink
Character Recognition : MICR) ที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือ เครื่อง
อ่านตัวเลขที่พิมพ์อยู่บนตั๋วสัญญาใช้เงิน ตัวเลขเหล่านี้มีลักษณะพิเศษที่
ทำาให้เครื่องอ่านได้ เนื่องจากแต่ละวันธนาคารต้องรับและออกตั๋วสัญญา
ใช้เงินเป็นจำานวนมาก จึงมีการใช้เครื่องอ่านตัวเลขช่วยในการอ่าน
หรือเครื่องอ่านตัวเลขที่สำานักงาน ไปรษณีย์ใช้เพื่อช่วยแยกจดหมาย
ตามรหัสไปรษณีย์
5. จอสัมผัส (touch screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับ
เข้าและหน่วยส่งออก จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลได้โดยการ
สัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพของจอสัมผัสประกอบด้วย
ตาข่ายของลำาแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่ง
สัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำาแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่
กำาลังทำางานอยู่ได้ การใช้งานจอสัมผัสมีความสะดวก แต่อาจผิดพลาด
จากการระบุตำาแหน่งบนจอภาพ ถ้าตำาแหน่งบนจอภาพมีขนาดเล็กเกิน
ไป จอสัมผัสประยุกต์ใช้กับงานหลายอย่าง เช่น การจองตั๋วชม
ภาพยนตร์ การจองที่นั่งเพื่อรับประทานอาหาร
อุปกรณ์รับเข้ายังมีอีกหลายชนิด ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี
ทั้งนี้เพื่อให้การรับข้อมูลเข้าระบบทำาได้สะดวก แม่นยำา และสามารถนำา
ไปใช้งานได้ดี ดังตัวอย่างเช่น พนักงานการไฟฟ้า ใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ขนาดมือถือ บันทึกข้อมูลการใช้ไฟที่อ่านจากมิเตอร์ตาม
บ้าน การตรวจข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ใช้เครื่องอ่านข้อมูลคำาตอบ
ของนักเรียน แล้วตรวจให้คะแนนอย่างอัตโนมัติ การลงทะเบียนเรียน
ของนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ระบบระบายดินสอดำาลงบนกระดาษ
ตามช่องที่กำาหนด เพื่อให้เครื่องอ่านได้ และนำาไปประมวลผลต่อไป
หน่วยส่งออก
หน่วยส่งออก เป็นอุปกรณ์ที่สำาคัญและจำาเป็นอย่างหนึ่ง หน่วย
ส่งออกที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
1. จอภาพ (monitor) มีลักษณะเป็นจอภาพเหมือนจอโทรทัศน์
ทั่วไป การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัว
อักษร ตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ และยังสามารถแสดงรูปภาพได้ด้วย
จอภาพ มี 2 แบบคือ ซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) ใช้
เทคโนโลยีของหลอดรังสีอิเล็กตรอน เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์ในการ
ทำาให้เกิดภาพ และจอแบบแอลซีดี (Liquid Crystral Display :
LCD) ใช้เทคโนโลยีของการบรรจุของเหลวไว้ภายในจอ เช่นเดียวกับ
หน้าปัดนาฬิกาในระบบตัวเลข
การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและ
แนวตั้ง แต่เดิมจอภาพแสดงผลได้เพียงสีเดียว พัฒนาการต่อมาทำาให้
การแสดงผลเป็นสีหลายสีได้ นอกจากนี้ยังมีความละเอียดมากขึ้น เช่น
จอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แสดงผลในภาวะกราฟิกได้อย่าง
น้อยในแนวนอน 800 จุด ในแนวตั้ง 600 จุด และแสดงสีได้ถึงล้าน
สี ขนาดของจอภาพจะวัดความยาวตามเส้นทแยงมุม จอภาพโดยทั่วไป
จะมีขนาด 15 นิ้ว หรือ 17 นิ้ว การแสดงผลของจอภาพควบคุมโดย
แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
2. เครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มี
หลายประเภทตามเทคโนโลยีการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่
พิมพ์ลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
2.1 เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) เป็น
เครื่องพิมพ์ที่มีหัวยิงเป็นเข็มขนาดเล็ก พุ่งไปชนแผ่นผ้าหมึก เพื่อให้
หมึกติดบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ หลาย ๆ จุดเรียงกันเป็นตัวหนังสือ
หรือรูปภาพ หัวเข็มที่ใช้ยิงไปยังผ้าหมึกมีจำานวนหลายหัว โดยปกติใช้
ขนาด 24 หัวเข็ม ซึ่งจัดวางเรียงกันในแนวตั้ง ทำาให้ได้ตัวหนังสือที่
ละเอียดพอควร
2.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์
ที่ให้ความคมชัดและความละเอียดสูง การพิมพ์จะใช้หลักการทางแสง
ปกติมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 600 จุดต่อนิ้ว เครื่องพิมพ์เลเซอร์จึง
เป็นเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ พัฒนาการทาง
เทคโนโลยีทำาให้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้น เพราะเมื่อ
เทียบประสิทธิภาพต่อราคาแล้วเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ใน
สำานักงาน แต่ไม่สามารถพิมพ์สำาเนากระดาษคาร์บอนได้
2.3 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) เป็น
เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการพ่นหมึกและผสมสีจากแม่สีสามสีคือแดง เหลือง
และนำ้าเงิน โดยจะผสมสีให้ได้สีตามความต้องการและพ่นหมึกเพื่อให้ติด
บนกระดาษ ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกเป็นที่นิยมกันมาก
เนื่องจากสามารถพิมพ์รูปภาพออกมาเป็นสีที่สวยงาม
2.4 เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer) เครื่องพิมพ์
ชนิดนี้มีความเร็วในการพิมพ์สูงมาก สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยบรรทัด
ต่อนาที กล่าวคือ มีความเร็วในการพิมพ์ได้ถึง 2,000 บรรทัดต่อนาที
ลักษณะการพิมพ์มีหลายแบบ บางแบบใช้พิมพ์ด้วยแถบโซ่ตัวอักษรที่
หมุนอยู่ และมีคันเคาะตัวอักษรในตำาแหน่งที่กำาหนด บางแบบใช้หัวยิง
แบบจุด แต่มีจำานวนหัวยิงเป็นจำานวนมากเพื่อให้พิมพ์ได้เร็ว เครื่องพิมพ์
ชนิดนี้จึงเหมาะกับศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ต้องพิมพ์รายงานเป็นจำานวนมาก
และพิมพ์อย่างต่อเนื่อง

แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
เรื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คำาสั่ง ให้เลือกคำาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำาตอบเดียว
1. ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอด
จนอุปกรณ์ต่าง ๆ
รวมเรียกว่าอะไร
1. ซีพียู
2. ฮาร์ดแวร์
3. ซอฟต์แวร์
4. หน่วยประมวลผลกลาง
5. คอมพิวเตอร์ทำางานโดยใช้
ระบบเลขฐานใด
ก. เลขฐาน 2
ข. เลขฐาน 4
ค. เลขฐาน 8
ง. เลขฐาน 10
6. หน่วยความจำาประเภทใดถ้า
2. หน่วยประมวลผลกลางเรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า
อะไร
ก. ซีพียู
ข. หน่วยควบคุม
ค. หน่วยความจำาหลัก
ง. หน่วยคำานวณและหน่วย
ตรรตกะ
3. ข้อใดเป็นหน้าที่ของหน่วย
ประมวลผลกลาง
ก. เก็บข้อมูล
ข. รับข้อมูลเข้า
ค. แสดงผลข้อมูล
ง. คำานวณและประมวลผล
4. หน่วยความจำาหลักชนิดใด
เป็นหน่วยที่เล็ก
ที่สุด
ก. บิต
ข. ไบต์
ค. กิโลไบต์
ง. เมกะไบต์
ไฟฟ้าดับข้อมูลจะ
สูญหายทันที
1. แรม
2. รอม
3. หน่วยความจำารอง
4. หน่วยความจำาหลัก
7. หน่วยความจำาประเภทใดจะ
เก็บข้อมูลไว้อย่าง
ถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลจะ
ไม่ถูกลบไป
ก. แรม
ข. รอม
ค. หน่วยความจำารอง
ง. หน่วยความจำาหลัก
8. แผ่นบันทึกเป็นอุปกรณ์
ประเภทใด
1. หน่วยรับเข้า
2. หน่วยส่งออก
3. หน่วยความจำารอง
4. หน่วยความจำาหลัก
9. ผิวของแผ่นบันทึกที่เก็บ
ข้อมูลแบ่งเป็นวง
เรียกว่าอะไร
ก. แทร็ก
1. เซกเตอร์
2. จานบันทึก
ง. ไซลินเดอร์
10. แผ่นซีดี ที่อ่านได้อย่าง
เดียวเรียกว่าอะไร
ก. CD-RW
ข. CD-RAM
ค. CD-ROM
ง. optical disk

เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
เรื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ข้อที่ คำาตอบ ข้อที่ คำาตอบ
1 ข 6 ก
2 ก 7 ข
3 ง 8 ค
4 ก 9 ก
5 ก 10 ค

ใบกิจกรรม
เรื่อง ฉันเป็นอุปกรณ์ประเภทใด
ประกอบแผนการสอนที่ 4
คำาชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาว่าอุปกรณ์ต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์ประเภท
ใดโดยขีดเครื่องหมาย  ลง
ในตาราง
ลำา
ดับ
อุปกรณ์
ความ
จำาหลัก
ความ
จำารอง
หน่วย
รับเข้า
หน่วย
ส่งออก
หน่วย
ประมว
ลผล
1 เมาส์
2 ซีพียู
3 เครื่องอ่านรหัส
แท่ง
4 เครื่องขับแผ่น
บันทึก
5 จอภาพ
6 เครื่องขับแผ่น
ซีดี
7 ก้านควบคุม
8 ลำาโพง
9 แผงแป้นอักขระ
10 เครื่องพิมพ์
11 แรม
12 แผ่นบันทึก
13 ฮาร์ดดิสก์
14 แผ่นซีดี
15 รอม
16 จอสัมผัส
17 แทร็กบอล
18 หน่วยความจำา
แบบแฟลช
19 เทปแม่เหล็ก
20 เครื่องพิมพ์ลาย
บรรทัด
เฉลยใบกิจกรรม
เรื่อง ฉันเป็นอุปกรณ์ประเภทใด
ประกอบแผนการสอนที่ 4
คำาชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาว่าอุปกรณ์ต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์ประเภท
ใดโดยขีดเครื่องหมาย  ลง
ในตาราง
ลำา
ดับ
อุปกรณ์
ความ
จำาหลัก
ความ
จำารอง
หน่วย
รับเข้า
หน่วย
ส่งออก
หน่วย
ประมว
ลผล
1 เมาส์ √
2 ซีพียู √
3 เครื่องอ่านรหัส
แท่ง
√
4 เครื่องขับแผ่น
บันทึก
√
5 จอภาพ √
6 เครื่องขับแผ่น
ซีดี
√
7 ก้านควบคุม √
8 ลำาโพง √
9 แผงแป้นอักขระ √
10 เครื่องพิมพ์ √
11 แรม √
12 แผ่นบันทึก √
13 ฮาร์ดดิสก์ √
14 แผ่นซีดี √
15 รอม √
16 จอสัมผัส √ √
17 แทร็กบอล √
18 หน่วยความจำา
แบบแฟลช
√
19 เทปแม่เหล็ก √
20 เครื่องพิมพ์ลาย
บรรทัด
√
เกม “ฮาร์ดแวร์ชวนคิด ”ปริศนาอักษรไขว้
ประกอบแผนการสอนที่ 4
คำา ชี้แ จ ง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมสมอง เล่นเกม
“ฮาร์ดแวร์ชวนคิด ปริศนาอักษรไขว้” โดยทายคำาปริศนาในแนวตั้ง
และแนวนอน ใส่ในช่องตารางตามแนวที่กำาหนด คำาศัพท์ที่ใช้เป็นคำา
ศัพท์ภาษาอังกฤษ
10
3 6
1,7
2
8
9 4
5
แนวนอน
2 ปรากฏอยู่ตรงหน้าใช้
ตามองดู
4 เลื่อนได้ตามใจใช้ได้
แค่คลิก
5 ดูดแล้วคลายมากมาย
งานพิมพ์
7 ใช้เก็บข้อมูลอ่านได้
อย่างเดียว
8 สี่เหลี่ยมหรรษาเก็บ
ข้อมูลไว้กันลืม
แนวตั้ง
1 อุปกรณ์ทันสมัยถูกใจ
ยุคไอที
3 ปุ่มเป็นร้อย ค่อย ๆ
พิมพ์เป็นคำา
6 ศูนย์รวมข้อมูลมีหน่วย
เป็น byte
9 อ่านรหัสสินค้าเวลาคิด
เงิน
10 ส่งรูปผ่านจอแล้วรอ
ตกแต่ง
เฉลย
เกม “ฮาร์ดแวร์ชวนคิด ปริศนาอักษรไขว้”
S
C
A K H
N E A
N Y R
E B D
C D R O M O D
O A I
M O D I T O R S
P D I S K K E T
B M O U S E
A T
P R I N T E R
C R
O
D
E
แนวนอน แนวตั้ง
2. MONITOR 1. COMPUTER
4 MOUSE 3. KEYBOARD
5. PRINTER 6. HARDDISK
7. CDROM 9. BARCODE
8. DISKKET 10. SCANNER

More Related Content

What's hot

แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4Mevenwen Singollo
 
ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์Nattapon
 
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่ายบทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่ายTum WinNing
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปกmanit2617
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์เทวัญ ภูพานทอง
 
กิจกรรมที่3 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่3                 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่3                 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่3 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์jatesada5803
 
ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์Nattapon
 
3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์รัสนา สิงหปรีชา
 
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อpeter dontoom
 
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์Timmy Printhong
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์kwaythai
 

What's hot (16)

It 03
It 03It 03
It 03
 
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
 
ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 1 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
 
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่ายบทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
 
กิจกรรมที่3 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่3                 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่3                 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่3 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
 
ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
 
3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
3.1 การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
รายงาน[1]
รายงาน[1]รายงาน[1]
รายงาน[1]
 
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
 
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 21
บทที่ 21บทที่ 21
บทที่ 21
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
ใบงาน 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ใบงาน 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นใบงาน 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ใบงาน 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
 

Viewers also liked

オノコラー講座Z抜粋
オノコラー講座Z抜粋オノコラー講座Z抜粋
オノコラー講座Z抜粋toshima-as
 
140704としまASキックオフ_配布資料
140704としまASキックオフ_配布資料140704としまASキックオフ_配布資料
140704としまASキックオフ_配布資料toshima-as
 
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์Srisomwong Sukkantharak
 
140704としまASキックオフ_アートステーションY
140704としまASキックオフ_アートステーションY140704としまASキックオフ_アートステーションY
140704としまASキックオフ_アートステーションYtoshima-as
 
Mis lindas mascotas
Mis lindas mascotas Mis lindas mascotas
Mis lindas mascotas lunna0102
 
140704としまASキックオフ_オノコラー募集
140704としまASキックオフ_オノコラー募集140704としまASキックオフ_オノコラー募集
140704としまASキックオフ_オノコラー募集toshima-as
 
diapositiva mi sobrina...
diapositiva mi sobrina...diapositiva mi sobrina...
diapositiva mi sobrina...Dayana Yanes
 
140704としまASキックオフ_アートステーションZ
140704としまASキックオフ_アートステーションZ140704としまASキックオフ_アートステーションZ
140704としまASキックオフ_アートステーションZtoshima-as
 
G2 events desktop events overview
G2 events desktop events overviewG2 events desktop events overview
G2 events desktop events overviewmbarounos
 
El diagnostico en el aula
El diagnostico en el aulaEl diagnostico en el aula
El diagnostico en el aulaflorjheny
 
Bill Dobbins - Jazz arranging and composing
Bill Dobbins - Jazz arranging and composingBill Dobbins - Jazz arranging and composing
Bill Dobbins - Jazz arranging and composingMelmak_DE
 
Edup3033 rubrik pemarkahan kkp
Edup3033 rubrik pemarkahan kkpEdup3033 rubrik pemarkahan kkp
Edup3033 rubrik pemarkahan kkpShyakir Randy
 

Viewers also liked (16)

Cipd social media learning 101
Cipd social media learning 101Cipd social media learning 101
Cipd social media learning 101
 
オノコラー講座Z抜粋
オノコラー講座Z抜粋オノコラー講座Z抜粋
オノコラー講座Z抜粋
 
140704としまASキックオフ_配布資料
140704としまASキックオフ_配布資料140704としまASキックオフ_配布資料
140704としまASキックオフ_配布資料
 
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
 
140704としまASキックオフ_アートステーションY
140704としまASキックオフ_アートステーションY140704としまASキックオフ_アートステーションY
140704としまASキックオフ_アートステーションY
 
power point SANDY MAULINA
power point SANDY MAULINApower point SANDY MAULINA
power point SANDY MAULINA
 
Mis lindas mascotas
Mis lindas mascotas Mis lindas mascotas
Mis lindas mascotas
 
140704としまASキックオフ_オノコラー募集
140704としまASキックオフ_オノコラー募集140704としまASキックオフ_オノコラー募集
140704としまASキックオフ_オノコラー募集
 
Com device
Com deviceCom device
Com device
 
diapositiva mi sobrina...
diapositiva mi sobrina...diapositiva mi sobrina...
diapositiva mi sobrina...
 
140704としまASキックオフ_アートステーションZ
140704としまASキックオフ_アートステーションZ140704としまASキックオフ_アートステーションZ
140704としまASキックオフ_アートステーションZ
 
G2 events desktop events overview
G2 events desktop events overviewG2 events desktop events overview
G2 events desktop events overview
 
El diagnostico en el aula
El diagnostico en el aulaEl diagnostico en el aula
El diagnostico en el aula
 
Bill Dobbins - Jazz arranging and composing
Bill Dobbins - Jazz arranging and composingBill Dobbins - Jazz arranging and composing
Bill Dobbins - Jazz arranging and composing
 
SÏMEMA Executive Summary
SÏMEMA Executive SummarySÏMEMA Executive Summary
SÏMEMA Executive Summary
 
Edup3033 rubrik pemarkahan kkp
Edup3033 rubrik pemarkahan kkpEdup3033 rubrik pemarkahan kkp
Edup3033 rubrik pemarkahan kkp
 

Similar to คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์Pokypoky Leonardo
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์kachornchit_maprang
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์kachornchit_maprang
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์kachornchit_maprang
 
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8Korakot Kaevwichian
 
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8Korakot Kaevwichian
 
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8Korakot Kaevwichian
 
ระบบคอมพิวเตอร์1
ระบบคอมพิวเตอร์1ระบบคอมพิวเตอร์1
ระบบคอมพิวเตอร์1Oat_zestful
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์runjaun
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์runjaun
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์sommat
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์Nantawoot Imjit
 
ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5
ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5
ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5Korakot Kaevwichian
 
Computer
ComputerComputer
Computernuting
 

Similar to คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (20)

ห้องสมุดหน้า99 ปัจจุบัน
ห้องสมุดหน้า99 ปัจจุบันห้องสมุดหน้า99 ปัจจุบัน
ห้องสมุดหน้า99 ปัจจุบัน
 
Week 2
Week 2Week 2
Week 2
 
คูมื่อ E book
คูมื่อ E bookคูมื่อ E book
คูมื่อ E book
 
บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2. ระบบคอมพิวเตอร์
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
 
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
 
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
 
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
ใบงานที่ 3 น.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5 เลขที่ 8
 
ระบบคอมพิวเตอร์1
ระบบคอมพิวเตอร์1ระบบคอมพิวเตอร์1
ระบบคอมพิวเตอร์1
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
 
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
 
2 evaluation
2 evaluation2 evaluation
2 evaluation
 
Ch1 com tech
Ch1 com techCh1 com tech
Ch1 com tech
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
 
ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5
ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5
ใบงาน 3.1 ชื่อน.ส.กรกช แก้ววิเชียร ม.4.5
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

  • 1. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 1. สาระสำาคัญ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ให้เป็นสารสนเทศ คอมพิวเตอร์จะทำางานตามชุดคำาสั่งหรือโปรแกรม มีหน่วยความจำาหลักและหน่วยความจำารองเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ ที่มีเป็นจำานวนมาก โดยมีหน่วยรับเข้านำาข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความ จำาหลัก และมีหน่วยส่งออกนำาข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงผล ในหน่วยความจำารอง 2. มาตรฐานที่ 4.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำางานและอาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม 3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น มาตรฐาน ง 4.1.1 เข้าใจหลักการทำางานบทบาทและประโยชน์ ของระบบคอมพิวเตอร์ 4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สรุป อภิปราย จำาแนกส่วนประกอบและการทำางานของอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ 5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ 2. อธิบายหน่วยประมวลผลกลางได้ 3. อธิบายหน่วยความจำาหลักได้ 4. อธิบายหน่วยความจำารองได้ 5. อธิบายหน่วยรับเข้าได้ 6. อธิบายหน่วยส่งออกได้ 6. เนื้อหา - ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ - หน่วยประมวลผลกลาง - หน่วยความจำาหลัก - หน่วยความจำารอง - ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
  • 2. - หน่วยประมวลผลกลาง - หน่วยความจำาหลัก จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ 2. อธิบายหน่วยประมวลผลกลางได้ 3. อธิบายหน่วยความจำาหลักได้ 4. อธิบายหน่วยความจำารองได้ เนื้อหา ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นคือสามารถจัดการข้อมูล คิดคำานวณ ตัวเลขจำานวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำา นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยัง สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยก ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยที่การดำาเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตาม เงื่อนไขที่โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์กำาหนดไว้ คอมพิวเตอร์ทำางานตามชุดคำาสั่งหรือโปรแกรม ตามหลัก การที่ จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann)เสนอและใช้กัน มาจนถึงปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำาสำาหรับเก็บซอฟต์แวร์ และข้อมูล การทำางานของคอมพิวเตอร์จะทำางานตามโปรแกรมที่กำาหนด ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียก รวมว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ การทำางานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำาคัญ 5 หน่วย คือ 1. หน่วยประมวลผลกลาง ทำาหน้าที่ ในการคิดคำานวณหรือ ประมวลผลข้อมูล โดยทำาตาม หน่วยรับเข้า หน่วยความ จำาหลัก หน่วยประมวล ผลกลาง หน่วยส่งออก หน่วยความ จำารอง
  • 3. โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำาหลัก 2. หน่วยความจำาหลัก เป็นหน่วยสำาหรับเก็บข้อมูลและ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางสามารถ อ่านเขียนจากหน่วยความจำาหลักรวดเร็วมาก ทำาให้หน่วยประมวลผลก ลางนำามาตีความและกระทำาตามได้อย่างรวดเร็ว 3. หน่วยความจำารอง มีไว้สำาหรับเก็บข้อมูลหรือ ซอฟต์แวร์ที่มีจำานวนมากและต้องการนำามาใช้อีกในภายหลัง หากจะใช้ งานก็มีการโอนถ่ายจากหน่วยความจำารองมายังหน่วยความจำาหลัก 4. หน่วยรับข้อมูล ทำาหน้าที่ รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ใน หน่วยความจำาหลัก จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง 5. หน่วยส่งออก เป็นหน่วยที่นำาข้อมูลที่ได้รับการประมวล ผลแล้วมาแสดงผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำารอง หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผลกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียูู (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลางเป็นส่วนที่สำาคัญของ คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ ก้าวหน้ามากจนถึงขั้นสามารถผลิตวงจรหน่วยประมวลผลกลางทั้งวงจร ไว้ในชิพเพียงตัวเดียวได้ ชิพหน่วยประมวลผลกลางนี้มีชื่อเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอรู์ หน่วยประมวลผลกลาง แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ หน่วย ควบคุม (control unit) และหน่วยคำานวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit : ALU) 1. หน่วยควบคุม (control unit) ทำาหน้าที่ในการควบคุม ลำาดับการทำางานภายในหน่วยประมวลผล กลางระหว่างประมวลผล 2. หน่วยคำานวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit : ALU) ทำาหน้าที่นำาข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสองมา ประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ การทำางานนี้จะเป็นไปตามคำาสั่งในโปรแกรม เริ่มด้วยหน่วย ประมวลผลจะอ่านคำาสั่งและข้อมูลต่างๆ จากหน่วยรับเข้าเก็บไว้ที่หน่วย ความจำาหลัก หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลกลางจะอ่านคำาสั่งจากหน่วย ความจำาทีละคำาสั่งมาตีความหมายและกระทำาตาม การกระทำาดังกล่าวจะ กระทำาอย่างรวดเร็วมาก หน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านคำาสั่งมาตี ความหมายและกระทำาตามได้หลายล้านคำาสั่งต่อวินาที ด้วย ประสิทธิภาพการทำางานที่รวดเร็วนี้เอง ทำาให้หน่วยประมวลผล กลาง สามารถทำาการประมวลผลได้มากและรวดเร็ว
  • 4. พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางได้เริ่มจากการให้หน่วย ประมวลผลกลางอ่าน ข้อมูลจากหน่วยความจำาหลักด้วยรหัสเลขฐาน สอง ครั้งละ 8 บิต เรียกซีพียูแบบนี้ว่าซีพียูขนาด 8 บิต ต่อมาเมื่อสร้าง หน่วยประมวลผลกลางได้ดีขึ้นทำาให้อ่านคำาสั่งหรือข้อมูลเข้ามาได้ครั้ง ละ 16 บิต การประมวลผลก็กระทำาครั้งละ 16 บิตด้วย เรียกซีพียูแบบนี้ ว่าซีพียูขนาด 16 บิต ปัจจุบันซีพียูที่ใช้งานสามารถอ่านคำาสั่ง หรือ ข้อมูลได้ถึงครั้งละ 128 บิต ทำาให้ทำางานได้มากและรวดเร็วขึ้น กลไกการทำางานของซีพียูมีจังหวะการทำางานที่แน่นอนเช่น อ่านข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าเก็บไว้ที่หน่วยความจำาหลัก อ่านข้อมูลจาก หน่วยความจำาหลักแล้วนำามาตีความหมายคำาสั่งในซีพียู ดำาเนินการตาม ที่คำาสั่งนั้นบอกให้กระทำา การกระทำาเหล่านี้เป็นจังหวะที่แน่นอน การ กำาหนดความเร็วของจังหวะจะใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วสูงมาก ซีพียูรุ่นใหม่ๆ สามารถใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วได้สูงกว่า 2 กิกะเฮิรตซ์ วิวัฒนาการของไมโครโพรเซสเซอร์ 1) ไมโครโพรเซสเซอร์ 8086 เริ่มพัฒนาและนำาออกมาใช้ งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นซีพียูขนาด 16 บิต อย่างไรก็ดีบริษัทผู้ ผลิตได้ผลิตซีพียูรุ่น 8088 ในเวลาต่อมา และกลายเป็นซีพียูของ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซีพียูรุ่นนี้มีโครงสร้างการทำางานที่ต่อเชื่อมกับ หน่วยความจำาหลักโดยตรงได้มากถึง 1 เมกะไบต์ (megabyte) 1 เมกะไบตู์ เท่ากับ 1024 กิโลไบต์ (kilobyte : kb) 1 กิโลไบต์ เท่ากับ 1024 ไบต์ (byte) และ 1 ไบต์ เท่ากับ 8 บิต 2) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 เป็นพัฒนาการรุ่นต่อมาของ 8086 นำาออกจำาหน่ายในปี พ.ศ. 2526 ต่อมากลายเป็นซีพียูของ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ รุ่นเอที ขีดความสามารถของ 80286 ยังคง เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต แต่สามารถเชื่อมต่อกับหน่วย ความจำาหลักได้โดยตรงถึง 16 เมกะไบต์ 3) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80386 เป็นซีพียูรุ่นที่สามที่ใช้ใน ไมโครคอมพิวเตอร์ นำาออกจำาหน่ายในปี พ.ศ. 2529 ซีพียูรุ่นนี้เป็น ซีพียูขนาด 32 บิต มีประสิทธิภาพการทำางานได้ดีกว่า 80286 มาก โดยเฉพาะโครงสร้างการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำาสามารถต่อได้ถึง 4 กิกะไบต์ 4) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 พัฒนาต่อเนื่องมาจาก 80386 เริ่มผลิตออกจำาหน่ายในปี พ.ศ. 2533 ซีพียูตัวนี้ยังคงเป็น ซีพียูแบบ 80386 แต่เพิ่มขีดความสามารถในการคำานวณจำานวนจริง
  • 5. ไมโครโพรเซสเซอร์นี้มีสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้น มีจำานวน ทรานซิสเตอร์กว่าหนึ่งล้านตัวในชิพเดียวกัน 5) ไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 บริษัทผู้ผลิตได้เปลี่ยนชื่อรุ่นซีพียูจากการใช้หมายเลขมาเป็นชื่อ ทางการค้า เช่น เพนเทียม (pentium) เอทรอน(athlon) ซึ่งซีพียู นี้มีจำานวนทรานซิสเตอร์มากกว่าสามล้านตัวเป็นซีพียูขนาด 64 บิต และทำางานได้เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 โดยเฉพาะมีการ ทำางานภายในด้วยกระบวนการทำางานแบบขนานเพื่อให้ทำางานได้เร็ว ขึ้น พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางก้าวหน้าตลอดเวลา มีผู้ ผลิตหน่วยประมวลผลกลางจากหลายบริษัท แต่ละบริษัทได้พัฒนาขีด ความสามารถที่แตกต่างกัน ในอนาคตหน่วยประมวล ผลกลางจะได้รับ การพัฒนาให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นอีกมาก หน่วยความจำาหลัก หน่วยความจำาหลัก มีหน้าที่ ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรม ที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งานได้ หน่วยความจำาหลักเป็นอุปกรณ์ที่ทำามา จากไอซีเช่นเดียวกัน วงจรหน่วยความจำาเก็บข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้า การเก็บข้อมูลจะเก็บรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น 8 บิต รวมกันเป็น 1 ไบต์ เนื้อที่เก็บข้อมูลของหน่วยความจำาหลัก 64 เมกะไบต์ สามารถเก็บข้อมูลหรือคำาสั่งได้ 64 x 1024 x 1024 ไบต์เท่ากับ 67,108,864 ไบต์ หรือประมาณ 16,000 หน้ากระดาษ การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำาหลักจะเก็บโดยกำาหนด ตำาแหน่งที่อยู่ข้อมูล (address) ซีพียูจะเขียนหรืออ่านข้อมูลในหน่วย ความจำาโดยอ้างตำาแหน่งที่อยู่ การอ้างอิงที่ตำาแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใด ๆ ซีพียูสามารถอ้างได้ทันที การอ้างตำาแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบนี้เรียกว่า การเข้าถึงโดยสุ่ม (random access) ประเภทหน่วยความจำาหลัก 1. แรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วย ความจำาที่เก็บข้อมูลสำาหรับใช้งานทั่วไป การอ้างอิงตำาแหน่งที่อยู่ของ ข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำาแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำาแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำานี้เรียกว่า แรม หน่วย ความจำาประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที
  • 6. 2. รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำา อีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำาแหน่ง ที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึงโดยสุ่ม หน่วยความจำาประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำาคัญบางอย่าง เพื่อว่า เมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำางานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่ เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่ สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้ จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป หน่วยความจำารอง แรม เป็นหน่วยความจำาหลักสำาหรับเก็บข้อมูลหรือ ซอฟต์แวร์ขณะทำางาน ข้อมูลหรือซอฟต์แวร์เหล่านี้จะถูกลบทิ้งไปถ้าปิด เครื่องหรือไฟฟ้าดับ ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยความจำารองเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่ ต้องการใช้งานต่อ และหากต้องการใช้งานเมื่อไรก็จะถ่ายข้อมูลจาก หน่วยความจำารองมาไว้ที่หน่วยความจำาหลักที่เป็นแรมเพื่อให้หน่วย ประมวลผลทำางาน หน่วยความจำารองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์มี หลายประเภท 1. แผ่นบันทึก ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่น บันทึกอย่างน้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัว แผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติก แข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน การเก็บข้อมูลจะทำาโดยบันทึกลงไปที่ผิว ของแผ่น ปกติใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัว แผ่น จะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลในตำาแหน่งที่ อยู่ที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่ ละแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่า เซกเตอร์ (sector) แผ่น บันทึกขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 เมกะไบต์ 2. ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึก แบบแข็งที่เคลือบสารแม่เหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน หัวอ่านของเครื่อง ขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นหมุน หัวอ่านจะ เคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลใน แต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์ (cylinder) แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก ขนาดของฮาร์ดดิสก์มี ความจุเป็นกิกะไบต์์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 15 กิกะไบต์ การเขียน
  • 7. อ่านข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์จะกระทำาเป็นเซกเตอร์ และเขียนอ่านได้เร็วมาก เวลาที่ใช้ในการวัดการเข้าถึงข้อมูลมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที 3. เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้ กันมานานแล้ว ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก เคลือบด้วยสาร แม่เหล็ก เหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำาหรับเก็บข้อมูล จำานวนมาก มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำาดับ เพราะฉะนั้น การเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำาดับ (sequential access) เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำาดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูล ลำาดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ ส่วนการประยุกต์นั้นเน้น สำาหรับใช้สำารองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้ จึงจำาเป็นต้องเก็บสำารองข้อมูลไว้ ในอดีตใช้เทปม้วนใหญ่ แต่ปัจจุบันการผลิตเทปทำาได้ดีมากขึ้น ตลับเทปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงมาก เรียกเทปพวกนี้ว่า เทปคาร์ทริดจ์ (cartridge tape) เทปแม่เหล็กมีความจุต่อม้วนสูงมาก จึงนิยมใช้สำาหรับสำารองข้อมูลจำานวนมาก การสำารองข้อมูลโดยทั่วไป มักจะกำาหนดตามสภาพการใช้งานเป็นระยะเวลา เช่นสำารองข้อมูลทุก สัปดาห์ การสำารองข้อมูลแต่ละครั้งอาจใช้เวลาหลายสิบนาที 4. แผ่นซีดี (Compact Disk :CD วิวัฒนาการของ การใช้หน่วยความจำารองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำาดับ ปัจจุบันได้มีการ ประดิษฐ์แผ่นซีดี ใช้ในการเก็บข้อมูลจำานวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่น ซีดีใช้หลักการทางแสง แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการ บันทึกเพลงหรือภาพยนตร์ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้ มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 650 เมกะไบต์ต่อ แผ่น แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น จนสามารถ เขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์ (optical disk) 5. หน่วยความจำาแบบแฟลช (flash memory) เป็น หน่วยความจำาประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม(Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM)ซึ่ง เป็นเทคโนโลยี ของรอมและแรมรวมกัน ทำาให้หน่วยความจำาชนิดนี้ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ ตามต้องการและถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยความจำาชนิดนี้มี ขนาดเล็ก นำ้าหนักเบา พกพาได้สะดวก ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ มากถึง 256 เมกะไบต์
  • 8. หน่วยรับเข้า จากรูปแบบการทำางานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับเข้าเป็นอุปกรณ์ ที่นำาข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำาหลัก และใช้ใน การประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท เช่น แผงแป้นอักขระ เมาส์ แทร็กบอล ก้านควบคุม เครื่องกราดตรวจ เครื่องอ่านอักขระหมึก แม่เหล็ก จอสัมผัส 1. แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำาหน้าที่รับ ข้อมูลโดยรับข้อมูลจากการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระแล้วส่งรหัสไปให้ คอมพิวเตอร์ แผงแป้นอักขระที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้มีจำานวน 104 แป้น 2. เมาส์ แทร็กบอล (trackball) และก้านควบคุม (joystick) การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะเน้นให้ผู้ใช้ ใช้งานได้ง่าย จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์รับเข้าที่เหมาะสมกับโปรแกรม เช่น เมาส์ แทร็กบอล และก้านควบคุม ซึ่งสามารถเลื่อนตัวชี้ไปบนจอ แล้วเลือกสิ่งที่ต้องการได้ เมาส์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถเลื่อนตัวชี้ไปยังตำาแหน่งที่ ต้องการบนจอภาพ มีลักษณะเป็นปุ่มกดครอบอยู่กับลูกกลมที่เมื่อลากไป กับพื้นแล้ว จะมีการส่งสัญญาณตามแนวแกน x และแกน y เข้าสู่ คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเมาส์มีหลายรูปแบบให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตาม ความต้องการ แทร็กบอล คือลูกกลมที่กลิ้งไปมาวางอยู่ในเบ้า ผู้ใช้สามารถ บังคับลูกกลมให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมการทำางานของตัวชี้บนหน้าจอ คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีการสร้างแทรกบอลไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ โน้ตบุ๊ค เพราะสะดวกต่อการใช้ และใช้พื้นที่น้อย ก้านควบคุม มีลักษณะเป็นก้านโยกซึ่งโยกได้หลายทิศทาง ขณะที่โยกก้านไปมาตำาแหน่งของตัวชี้จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเป็นการส่ง สัญญาณข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ก้านควบคุมมักเป็นอุปกรณ์ที่นิยม ใช้กันมากในการเล่นเกม 3. เครื่องกราดตรวจ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี ของการผ่านแสง เพื่อทำาการอ่านรหัสสัญลักษณ์ หรือรูปภาพ แล้วให้ คอมพิวเตอร์นำาไปประมวลผลต่อไป เครื่องกราดตรวจช่วยให้การรับ ข้อมูลทำาได้รวดเร็วกว่าการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระ อีกทั้งยังลดข้อ ผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกดแป้นอีกด้วย เครื่องกราดตรวจที่นิยมใช้ กันอยู่ทั่วๆ ไปได้แก่ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสแท่ง
  • 9. 3.1 เครื่องกราดตรวจรายหน้า (page scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านรูปภาพหรือตัวหนังสือ เช่น รูปถ่าย และ สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น 3.2 เครื่องอ่านรหัสแท่ง เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้ สำาหรับอ่านรหัสแท่ง ( bar code ) ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วยเส้น ขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่างๆ การอ่านจะใช้แสงส่องแถบ เส้นทำาให้เกิดการสะท้อนเพื่อรับรหัสเข้ามาตีความหมาย ปัจจุบันนิยมใช้ ในห้างสรรพสินค้า สินค้าทุกชนิดจะติดรหัสแท่งไว้ ผู้ขายใช้เครื่องอ่าน รหัสแท่งเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นรหัสของสินค้าใด ราคาเท่าใด และ สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้อย่างอัตโนมัติ 4. เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก (Magnetic-Ink Character Recognition : MICR) ที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือ เครื่อง อ่านตัวเลขที่พิมพ์อยู่บนตั๋วสัญญาใช้เงิน ตัวเลขเหล่านี้มีลักษณะพิเศษที่ ทำาให้เครื่องอ่านได้ เนื่องจากแต่ละวันธนาคารต้องรับและออกตั๋วสัญญา ใช้เงินเป็นจำานวนมาก จึงมีการใช้เครื่องอ่านตัวเลขช่วยในการอ่าน หรือเครื่องอ่านตัวเลขที่สำานักงาน ไปรษณีย์ใช้เพื่อช่วยแยกจดหมาย ตามรหัสไปรษณีย์ 5. จอสัมผัส (touch screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับ เข้าและหน่วยส่งออก จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลได้โดยการ สัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพของจอสัมผัสประกอบด้วย ตาข่ายของลำาแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่ง สัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำาแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่ กำาลังทำางานอยู่ได้ การใช้งานจอสัมผัสมีความสะดวก แต่อาจผิดพลาด จากการระบุตำาแหน่งบนจอภาพ ถ้าตำาแหน่งบนจอภาพมีขนาดเล็กเกิน ไป จอสัมผัสประยุกต์ใช้กับงานหลายอย่าง เช่น การจองตั๋วชม ภาพยนตร์ การจองที่นั่งเพื่อรับประทานอาหาร อุปกรณ์รับเข้ายังมีอีกหลายชนิด ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อให้การรับข้อมูลเข้าระบบทำาได้สะดวก แม่นยำา และสามารถนำา ไปใช้งานได้ดี ดังตัวอย่างเช่น พนักงานการไฟฟ้า ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ขนาดมือถือ บันทึกข้อมูลการใช้ไฟที่อ่านจากมิเตอร์ตาม บ้าน การตรวจข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ใช้เครื่องอ่านข้อมูลคำาตอบ ของนักเรียน แล้วตรวจให้คะแนนอย่างอัตโนมัติ การลงทะเบียนเรียน ของนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ระบบระบายดินสอดำาลงบนกระดาษ ตามช่องที่กำาหนด เพื่อให้เครื่องอ่านได้ และนำาไปประมวลผลต่อไป หน่วยส่งออก
  • 10. หน่วยส่งออก เป็นอุปกรณ์ที่สำาคัญและจำาเป็นอย่างหนึ่ง หน่วย ส่งออกที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ 1. จอภาพ (monitor) มีลักษณะเป็นจอภาพเหมือนจอโทรทัศน์ ทั่วไป การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัว อักษร ตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ และยังสามารถแสดงรูปภาพได้ด้วย จอภาพ มี 2 แบบคือ ซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) ใช้ เทคโนโลยีของหลอดรังสีอิเล็กตรอน เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์ในการ ทำาให้เกิดภาพ และจอแบบแอลซีดี (Liquid Crystral Display : LCD) ใช้เทคโนโลยีของการบรรจุของเหลวไว้ภายในจอ เช่นเดียวกับ หน้าปัดนาฬิกาในระบบตัวเลข การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและ แนวตั้ง แต่เดิมจอภาพแสดงผลได้เพียงสีเดียว พัฒนาการต่อมาทำาให้ การแสดงผลเป็นสีหลายสีได้ นอกจากนี้ยังมีความละเอียดมากขึ้น เช่น จอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แสดงผลในภาวะกราฟิกได้อย่าง น้อยในแนวนอน 800 จุด ในแนวตั้ง 600 จุด และแสดงสีได้ถึงล้าน สี ขนาดของจอภาพจะวัดความยาวตามเส้นทแยงมุม จอภาพโดยทั่วไป จะมีขนาด 15 นิ้ว หรือ 17 นิ้ว การแสดงผลของจอภาพควบคุมโดย แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ 2. เครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มี หลายประเภทตามเทคโนโลยีการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ พิมพ์ลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ 2.1 เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) เป็น เครื่องพิมพ์ที่มีหัวยิงเป็นเข็มขนาดเล็ก พุ่งไปชนแผ่นผ้าหมึก เพื่อให้ หมึกติดบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ หลาย ๆ จุดเรียงกันเป็นตัวหนังสือ หรือรูปภาพ หัวเข็มที่ใช้ยิงไปยังผ้าหมึกมีจำานวนหลายหัว โดยปกติใช้ ขนาด 24 หัวเข็ม ซึ่งจัดวางเรียงกันในแนวตั้ง ทำาให้ได้ตัวหนังสือที่ ละเอียดพอควร 2.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ ที่ให้ความคมชัดและความละเอียดสูง การพิมพ์จะใช้หลักการทางแสง ปกติมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 600 จุดต่อนิ้ว เครื่องพิมพ์เลเซอร์จึง เป็นเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ พัฒนาการทาง เทคโนโลยีทำาให้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้น เพราะเมื่อ เทียบประสิทธิภาพต่อราคาแล้วเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ใน สำานักงาน แต่ไม่สามารถพิมพ์สำาเนากระดาษคาร์บอนได้
  • 11. 2.3 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) เป็น เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการพ่นหมึกและผสมสีจากแม่สีสามสีคือแดง เหลือง และนำ้าเงิน โดยจะผสมสีให้ได้สีตามความต้องการและพ่นหมึกเพื่อให้ติด บนกระดาษ ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากสามารถพิมพ์รูปภาพออกมาเป็นสีที่สวยงาม 2.4 เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer) เครื่องพิมพ์ ชนิดนี้มีความเร็วในการพิมพ์สูงมาก สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยบรรทัด ต่อนาที กล่าวคือ มีความเร็วในการพิมพ์ได้ถึง 2,000 บรรทัดต่อนาที ลักษณะการพิมพ์มีหลายแบบ บางแบบใช้พิมพ์ด้วยแถบโซ่ตัวอักษรที่ หมุนอยู่ และมีคันเคาะตัวอักษรในตำาแหน่งที่กำาหนด บางแบบใช้หัวยิง แบบจุด แต่มีจำานวนหัวยิงเป็นจำานวนมากเพื่อให้พิมพ์ได้เร็ว เครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จึงเหมาะกับศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ต้องพิมพ์รายงานเป็นจำานวนมาก และพิมพ์อย่างต่อเนื่อง  แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ คำาสั่ง ให้เลือกคำาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำาตอบเดียว 1. ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอด จนอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมเรียกว่าอะไร 1. ซีพียู 2. ฮาร์ดแวร์ 3. ซอฟต์แวร์ 4. หน่วยประมวลผลกลาง 5. คอมพิวเตอร์ทำางานโดยใช้ ระบบเลขฐานใด ก. เลขฐาน 2 ข. เลขฐาน 4 ค. เลขฐาน 8 ง. เลขฐาน 10 6. หน่วยความจำาประเภทใดถ้า
  • 12. 2. หน่วยประมวลผลกลางเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า อะไร ก. ซีพียู ข. หน่วยควบคุม ค. หน่วยความจำาหลัก ง. หน่วยคำานวณและหน่วย ตรรตกะ 3. ข้อใดเป็นหน้าที่ของหน่วย ประมวลผลกลาง ก. เก็บข้อมูล ข. รับข้อมูลเข้า ค. แสดงผลข้อมูล ง. คำานวณและประมวลผล 4. หน่วยความจำาหลักชนิดใด เป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุด ก. บิต ข. ไบต์ ค. กิโลไบต์ ง. เมกะไบต์ ไฟฟ้าดับข้อมูลจะ สูญหายทันที 1. แรม 2. รอม 3. หน่วยความจำารอง 4. หน่วยความจำาหลัก 7. หน่วยความจำาประเภทใดจะ เก็บข้อมูลไว้อย่าง ถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลจะ ไม่ถูกลบไป ก. แรม ข. รอม ค. หน่วยความจำารอง ง. หน่วยความจำาหลัก 8. แผ่นบันทึกเป็นอุปกรณ์ ประเภทใด 1. หน่วยรับเข้า 2. หน่วยส่งออก 3. หน่วยความจำารอง 4. หน่วยความจำาหลัก 9. ผิวของแผ่นบันทึกที่เก็บ ข้อมูลแบ่งเป็นวง เรียกว่าอะไร ก. แทร็ก 1. เซกเตอร์ 2. จานบันทึก ง. ไซลินเดอร์ 10. แผ่นซีดี ที่อ่านได้อย่าง เดียวเรียกว่าอะไร ก. CD-RW ข. CD-RAM ค. CD-ROM ง. optical disk 
  • 13. เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ข้อที่ คำาตอบ ข้อที่ คำาตอบ 1 ข 6 ก 2 ก 7 ข 3 ง 8 ค 4 ก 9 ก 5 ก 10 ค  ใบกิจกรรม เรื่อง ฉันเป็นอุปกรณ์ประเภทใด ประกอบแผนการสอนที่ 4 คำาชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาว่าอุปกรณ์ต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์ประเภท ใดโดยขีดเครื่องหมาย  ลง ในตาราง ลำา ดับ อุปกรณ์ ความ จำาหลัก ความ จำารอง หน่วย รับเข้า หน่วย ส่งออก หน่วย ประมว ลผล 1 เมาส์ 2 ซีพียู 3 เครื่องอ่านรหัส แท่ง
  • 14. 4 เครื่องขับแผ่น บันทึก 5 จอภาพ 6 เครื่องขับแผ่น ซีดี 7 ก้านควบคุม 8 ลำาโพง 9 แผงแป้นอักขระ 10 เครื่องพิมพ์ 11 แรม 12 แผ่นบันทึก 13 ฮาร์ดดิสก์ 14 แผ่นซีดี 15 รอม 16 จอสัมผัส 17 แทร็กบอล 18 หน่วยความจำา แบบแฟลช 19 เทปแม่เหล็ก 20 เครื่องพิมพ์ลาย บรรทัด เฉลยใบกิจกรรม เรื่อง ฉันเป็นอุปกรณ์ประเภทใด ประกอบแผนการสอนที่ 4 คำาชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาว่าอุปกรณ์ต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์ประเภท ใดโดยขีดเครื่องหมาย  ลง ในตาราง ลำา ดับ อุปกรณ์ ความ จำาหลัก ความ จำารอง หน่วย รับเข้า หน่วย ส่งออก หน่วย ประมว ลผล 1 เมาส์ √ 2 ซีพียู √
  • 15. 3 เครื่องอ่านรหัส แท่ง √ 4 เครื่องขับแผ่น บันทึก √ 5 จอภาพ √ 6 เครื่องขับแผ่น ซีดี √ 7 ก้านควบคุม √ 8 ลำาโพง √ 9 แผงแป้นอักขระ √ 10 เครื่องพิมพ์ √ 11 แรม √ 12 แผ่นบันทึก √ 13 ฮาร์ดดิสก์ √ 14 แผ่นซีดี √ 15 รอม √ 16 จอสัมผัส √ √ 17 แทร็กบอล √ 18 หน่วยความจำา แบบแฟลช √ 19 เทปแม่เหล็ก √ 20 เครื่องพิมพ์ลาย บรรทัด √ เกม “ฮาร์ดแวร์ชวนคิด ”ปริศนาอักษรไขว้ ประกอบแผนการสอนที่ 4 คำา ชี้แ จ ง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมสมอง เล่นเกม “ฮาร์ดแวร์ชวนคิด ปริศนาอักษรไขว้” โดยทายคำาปริศนาในแนวตั้ง และแนวนอน ใส่ในช่องตารางตามแนวที่กำาหนด คำาศัพท์ที่ใช้เป็นคำา ศัพท์ภาษาอังกฤษ
  • 16. 10 3 6 1,7 2 8 9 4 5 แนวนอน 2 ปรากฏอยู่ตรงหน้าใช้ ตามองดู 4 เลื่อนได้ตามใจใช้ได้ แค่คลิก 5 ดูดแล้วคลายมากมาย งานพิมพ์ 7 ใช้เก็บข้อมูลอ่านได้ อย่างเดียว 8 สี่เหลี่ยมหรรษาเก็บ ข้อมูลไว้กันลืม แนวตั้ง 1 อุปกรณ์ทันสมัยถูกใจ ยุคไอที 3 ปุ่มเป็นร้อย ค่อย ๆ พิมพ์เป็นคำา 6 ศูนย์รวมข้อมูลมีหน่วย เป็น byte 9 อ่านรหัสสินค้าเวลาคิด เงิน 10 ส่งรูปผ่านจอแล้วรอ ตกแต่ง เฉลย เกม “ฮาร์ดแวร์ชวนคิด ปริศนาอักษรไขว้”
  • 17. S C A K H N E A N Y R E B D C D R O M O D O A I M O D I T O R S P D I S K K E T B M O U S E A T P R I N T E R C R O D E แนวนอน แนวตั้ง 2. MONITOR 1. COMPUTER 4 MOUSE 3. KEYBOARD 5. PRINTER 6. HARDDISK 7. CDROM 9. BARCODE 8. DISKKET 10. SCANNER