SlideShare a Scribd company logo
1 of 40
ลัทธิประชาธิปไตย:ทฤษฎีการปฏิวัติประชาธิปไตย(DemocraticRevolutionTheory)
ทฤษฎีการปฏิวัติประชาธิปไตย(DemocraticRevolutionTheory)
รวมสารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
เหตุแห่งความเสื่อมโทรมของประเทศชาติและความทุกข์ยากของประชาชนไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์
เพราะตั้งอยู่ในชัยภูมิทางภูมิศาสตร์อันดีเลิศและคนไทยมีลักษณะพิเศษประจาชาติอันสูงส่งด้วยเหตุนี้
ประเทศไทยจึงเป็นประเทศรุ่งเรื่องในประวัติศาสตร์อันยาวนานและด้วยเหตุนี้
เมื่อมาอยู่ในท่ามกลางความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันจึงไม่มีเหตุผลที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศยากจน
และไม่มีเหตุผลที่คนไทยจะตกอยู่ในความทุกข์ยากดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
รัฐบาลทุกชุดมีความตั้งใจจะแก้ปัญหาของประเทศชาติต้องการจะพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติไปสู่ความมั่งคั่ง
ต้องการจะแก้ไขความยากจนของประชาชนพยายามกันมานานแล้วแต่ก็ไม่สาเร็จยิ่งแก้ยิ่งยุ่งบ้านเมืองยิ่งทรุดโทรม
ประชาชนยิ่งเดือดร้อนโดยเฉพาะรัฐบาลชุดนี้มีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
มีมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากมายทางานกันอย่างหนักก็จะไปไม่รอดเช่นเดียวกัน
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนผู้ที่เข้ามาแก้ปัญหามีคนซื่อสัตย์สุจริตมีความสามารถ
แต่ถึงแม้ว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความสามารถสักเพียงใดถ้าแก้ปัญหาทั้งหลายภายในกรอบของระบอบการปกคร
องในปัจจุบัน ก็ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะปัญหาสาคัญอยู่ที่หลักการ
ก่อนอื่นคืออยู่ที่ระบอบการปกครองซึ่งยังไม่เป็นประชาธิปไตย
ไม่ว่าประเทศใดๆการที่จะพัฒนาจากภาวะล้าหลังไปสู่ภาวะก้าวหน้าได้นั้นจะต้องพัฒนาการเมืองให้สาเร็จก่อน
จึงจะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สาเร็จได้ การพัฒนาการเมืองให้สาเร็จก็คือ
การทาให้การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยสาเร็จซึ่งเรียกตามภาษาวิชาการว่า “
ทาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สาเร็จ”
เมื่อทาให้การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยสาเร็จแล้วก็ใช้ระบอบประชาธิปไตยแก้ปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ
ก็จะแก้ปัญหาได้ตามความต้องการของประเทศชาติและประชาชน
การที่จะทาให้การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยสาเร็จหรือทาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สาเร็จนั้น
ต้องอาศัยขบวนการประชาธิปไตยที่เข้มแข็งการที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยล้มเหลวมาโดยตลอด
ก็เพราะขบวนการประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 จนถึงเวลานี้แม้ว่าจะขยายตัวกว้างขวางมากแล้ว
แก่ก็ยังกระจัดกระจายถ้ารวมตัวกันเข้าเป็นเอกภาพกันได้ก็จะมีความเข้มแข็งและทาการปฏิวัติประชาธิปไตยสาเร็จ
บัดนี้กลุ่มบุคคลฝ่ ายต่างๆที่มีความต้องการประชาธิปไตยร่วมกันได้รวมตัวกันเป็นขบวนการและตกลงตั้งชื่อกันว่า“
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ”ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างเอกภาพของขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย
เพื่อความสาเร็จของการปฏิวัติประชาธิปไตย
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติจึงขอความร่วมมือมายังพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย
ตั้งต้นรวมพลังเพื่อให้การปฏิวัติประชาธิปไตยสาเร็จตามความมุ่งหมายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
(2) อุดมคติ ความม่ดงหมายภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
การประชุมขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติเมื่อวันที่10มกราคม2524 ได้ลงมติกาหนดอุดมคติความมุ่งหมาย
ภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตแห่งชาติดังนี้
อุดมคติ ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศทั้งหลายทั่วโลกย่อมมีอุดมคติอย่างเดียวกันคือ
สังคมอันประกอบด้วยความไพบูลย์ความสันติสุขอิสรภาพเสรีภาพสมภาพและภารดรภาพเรียกว่าสังคมประชาธิปไตย
(DEMODRATIC SOCIETY) สังคมดังกล่าวนี้เป็นความใฝ่ ฝันอันสูงสุดของมนุษยชาติที่จะไปบรรลุถึง
และประชาชนชาวไทยก็มีความใฝ่ ฝันเช่นนี้ฉะนั้นสังคมประชาธิปไตย
จึงเป็นอุดมคติของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
ความมุ่งหมายไม่ว่าประเทศใดๆการที่บรรลุถึงซึ่งอุดมคติของขบวนการประชาธิปไตยนั้น
ย่อมต้องดาเนินไปภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ถ้าปราศจากการปกครอบระบอบประชาธิปไตยแล้วก็จะไม่สามารถดาเนินการเพื่อบรรลุอุดมคติของขบวนการประชาธิปไต
ยได้ แต่ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยดังนั้นการสถาปนาการปกครองประชาธิปไตย
จึงเป็นความมุ่งหมายของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
ภารกิจการปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถจะสถาปนาขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการ
จะต้องยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการไม่ว่ารูปใดๆเสียก่อนจึงสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นได้
การยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการและการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยเรียกตามภาษาวิชาการว่า
การปฏิวัติประชาธิปไตย
ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ดาเนินความพยายามที่จะทาการปฎิวัติประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5
แต่ยังไม่สาเร็จและการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นจะกระทาได้ก็แต่ด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น
ไม่มีหนทางอื่นเลยฉะนั้นการปฏิวัติประชาธิปไตยจึงเป็นภารกิจของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
วิธีการเมื่อพูดถึงการปฏิวัติในประเทศไทยมักจะรู้จักกันแต่การปฏิวัติรัฐประหารซึ่งแท้จริงคือการรัฐประหารนั่นเอง
หาใช่การปฏิวัติแต่อย่างใดไม่และการปฏิวัติรัฐประหารย่อมไม่ใช่วิธีการตามวิถีทางประชาธิปไตย
แต่การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศทั้งปวงนั้น
มีทั้งวิธีการตามหลักวิถีทางประชาธิปไตยและวิธีการที่ไม่ใช่ตามวิถีทางประชาธิปไตยตามสภาวการณ์ของแต่ละประเทศ
แต่วิธีการตามวิถีทางประชาธิปไตยนั้นเหมาะสมกับประเทศไทยฉะนั้นการปฏิวัติตามวิถีทางประชาธิปไตย
จึงเป็นวิธีการของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
จึงขอชี้แจงมติว่าด้วยอุดมคติความมุ่งหมายภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
มายังพี่น้องชาวไทยทั้งหลายให้เป็นที่แจ่มชัดโดยทั่วกัน
(3) ทาไมต้องทาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สาเร็จ
คนไทยได้มีการปรารภกันมาเกือบ100ปี แล้วว่าประเทศไทยซึ่งเคยรุ่งเรืองและก้าวหน้ากว่าญี่ปุ่น
ทาไมจึงล้าหลังห่างไกลจากญี่ปุ่นและก็มีการพูดกันตลอดว่า
ทาอย่างไรประเทศไทยจึงจะเจริญทัดเทียมกับอารยประเทศทั้งหลายในระยะหลังๆไม่รู้ว่าจะทาอย่างไร
ก็มีการเสนอเป็นเชิงประชดว่าการที่จะทาให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้านั้น
ควรให้ประเทศไทยเป็นเมืองขึ้นของมหาอานาจเสียสักระยะหนึ่ง
เพราะในครั้งนั้นเมืองขึ้นที่อยู่ติดกับประเทศไทยมีความเจริญกว่าประเทศไทย
เช่นเมื่อเดินทางเข้าไปในเขตมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นอังกฤษจะเห็นได้ทันทีว่าในเขตมลายูนั้น
การพัฒนาการปลูกสวนยางและสวนปาล์มน้ามันดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ว่ากิจการใดๆ
ในมลายูล้วนแต่เจริญก้าวหน้ากว่าในประเทศไทยทั้งสิ้นดังนี้เป็นต้นถึงกับในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรครั้งหนึ่ง
เมื่อ พ.ศ.2490 มีบุคคลชั้นนาของพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งเสนอขึ้นว่าวิธีการแก้ปัญหาของประเทศไทยคือ
ให้ฝรั่งปกครองสักระยะหนึ่ง
แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะได้พัฒนาการในด้านต่างๆไปมากมายไม่แพ้ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นแล้วก็ตาม
แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังยากจนฉะนั้น
นอกจากปัญหาความยากจนและปัญหาที่ต้องทาให้ประเทศไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศเหมือนที่เคยพูดกันมาใ
นอดีตแล้วเรายังจะต้องวิตกกังวลอย่างยิ่งถึงความอยู่รอดของประเทศชาติอีกด้วย
ซึ่งมีการอภิปรายและสัมมนาเรื่องทางรอดของชาติกันนับครั้งไม่ถ้วนทว่าก็ยังไม่มีผู้ใดหาทางออกที่มีประสิทธิผลได้
สิ่งที่เราภาคภูมิใจคือเอกราชของชาติ
ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชมาได้ในขณะที่เพื่อนบ้านตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอานาจไปหมด
แต่เอกราชก็ช่วยอะไรไม่ได้ในเมื่อประเทศเรายังตกอยู่ในความล้าหลังและยากจน
และต้องเผชิญกับปัญหาความอยู่รอดของชาติยิ่งกว่าประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น
ความจริงคือประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศอื่นคือการที่จะหลุดพ้นจากความล้าหลังและความยากจน
เจริญห้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและปลอดภัยจากภัยแห่งความสิ้นชาติคือความมีเอกราชอย่างเดียวไม่เพียงพอ
แต่จะต้องมีระบอบประชาธิปไตยด้วยเมื่อมีเอกราชแล้วปัจจัยชี้ขาดของประเทศชาติคือระบอบประชาธิปไตย
เมื่อคนไทยรู้ความจริงข้อนี้แล้วก็ได้ดาเนินความพยายามเพื่อทาให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยใช้วิธีการต่างๆมากกมายเช่นการปฏิรูปประชาธิปไตยการจัดให้มีรัฐธรรมนูญการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การเผยแพร่ประชาธิปไตยโครงการอบรมประชาธิปไตยการพัฒนาชนบทการสร้างประชาธิปไตยมาจากรากฐาน
เช่นการสร้างความเข้มแข็งของสภาตาบลฯลฯแต่ก็ไม่สามารถทาให้มีระบอบประชาธิปไตยขึ้นได้
เพราะว่าระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการเดียวเท่านั้นคือการปฏิวัติประชาธิปไตย
ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะมีระบอบประชาธิปไตยได้โดยไม่ทาการปฏิวัติประชาธิปไตย
และคนไทยก็เคยทาการปฏิวัติประชาธิปไตยมาบ้างแล้วเหมือนกันแต่ไม่สาเร็จดังนั้น
ถ้าจะให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จะต้องทาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สาเร็จเท่านั้น
ไม่มีทางอื่นใดอีกเลยจงอย่าได้คิดว่าประเทศไทยจะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้
โดยไม่ต้องทาการปฏิวัติประชาธิปไตย
ต้องทาการปฏิวัติประชาธิปไตย
(4) ประชาธิปไตยคืออะไร
การปฏิวัติประชาธิปไตยคือการเปลี่ยนแลงระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย
หรือยกเลิกระบอบเผด็จการและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทน
หลายคนกล่าวว่าประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วจึงไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตยบางคนกล่าวว่า
ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์
จึงเพียงแต่พัฒนาระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย
จริงทีเดียวถ้าประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วไม่ว่าจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม
ก็ไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตยแต่ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วจริงหรือ?
ระบอบประชาธิปไตยนั้นแสดงออกโดยการปกครองประชาธิปไตยหรือรัฐบาลประชาธิปไตย(Democratic
Government) และการปกครองประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักของการปกครองประชาธิปไตยดังต่อไปนี้
1. อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(PopularSovereignty) หมายความว่า
ประชาชนเป็นเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดของประเทศร่วมกันมิใช่คนส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยผูกขาดอานาจไว้
ดังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านคณะราษฎร์ว่า “
ข้าพเจ้าสมัครใจจะสละอานาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้งหลาย
แต่ไม่ยินยอมยกอานาจของข้าพเจ้าให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะหนึ่งคณะใด ”
และหลักการอานาจอธิปไตยปวงชนนั้นแสดงออกด้วยนโยบายบริหารประเทศซึ่งรักษาผลประโยชน์ของประชาชน
มิใช่รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย
2. เสรีภาพ(Freedom) หมายความว่าบุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการใช้สิทธิต่างๆทั้งในทางส่วนตัว
ในทางสังคมและในทางการเมืองเช่นในร่างกายในทรัพย์สินในการศึกษาในการนับถือศาสนาในการชุมนุม
ในการตั้งสมาคมในการตั้งพรรคการเมืองและในการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นต้น
3. ความเสมอภาค(Equality) หมายความว่าบุคคลมีความเท่าเทียมกันในด้านต่างๆโดยเฉพาะถือความเท่าเทียมกัน
ทั้งในทางกฎหมายและในทางโอกาส
4. หลักกฎหมาย(Rule of Law) คือหลักนิติธรรมซึ่งใช้เป็นเป็นมาตรฐานของการออกกฎหมายเช่น
หลักที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาผิดให้สันนิษฐานก่อนว่า เป็นผู้สุจริตศาลเท่านั้นเป็นผู้พิพากษาตัดสินกฎหมายฯลฯ
กฎหมายใดซึ่งขัดกับหลักกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ
5. รัฐบาลจากการเลือกตั้ง(ElectedGovernment) หมายความว่าฝ่ ายนิติบัญญัติ
และฝ่ าบริหารต้องมาจากการเลือกตั้งทั่วไป
เหล่านี้คือหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองซึ่งเป็นไปตามหลักการเหล่านี้
ก็เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยและหลักการที่เป็นหัวใจคืออานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ถ้ามีหลักการข้อนี้แล้วถึงจะยังขาดข้ออื่นๆอยู่บ้างก็เป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ถ้าไม่มีข้อนี้ถึงจะมีข้ออื่นๆ
ก็เป็นระบอบเผด็จการเช่นประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบอเผด็จการที่มีเสรีภาพพอสมควรที่เรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ
เพราะว่าถึงจะมีเสรีภาพมีความเสมอภาคมีหลักกฎหมายอยู่บ้าง
และมีการเลือกตั้งแต่อานาจอธิปไตยมิได้เป็นของปวงชนฉะนั้นการปกครองของประเทศไทย
จึงไม่เป็นระบอบประชาธิปไตยแต่เป็นระบอบเผด็จการ
(5) อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนเป็นหลักการปกครองหลักที่1ของระบอบประชาธิปไตย
และเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยแต่ในประเทศไทย
มีการอธิบายกันอย่างกว้างขวางว่าหัวใจของระบอบประชาธิปไตยคือเสรีภาพของประชาชน
ซึ่งเป็นการชักจูงประชาชนให้เข้าใจผิดต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงจนไม่รู้ว่าระบอบประชาธิปไตยคืออะไร
การปกครองทั้งหลายย่อมมีอานาจการปกครองบ้านย่อมมีอานาจของบ้านการปกครองของวัดย่อมมีอานาจของวัด
การปกครองย่อมมีอานาจของโรงเรียนไปจนถึงการปกครองประเทศย่อมมีอานาจของประเทศ
ในบรรดาอานาจทั้งหลายเหล่านั้นอานาจของประเทศเป็นอานาจสูงสุดคือสูงถึงขนาดฆ่าคนได้ และสิทธิ์ขาดโต้แย้งมิได้
จึงนิยมเรียกกันว่าอานาจสูงสุดของประเทศดังที่ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกและต่อมาเรียกให้เป็นศัพท์ว่าอานาจอธิปไตย
ซึ่งใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา จนถึงปัจจุบัน
อานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยนั้นมีอานาจเดียวแต่แสดงออกเป็น3ด้านคือ (1) อานาจนิติบัญญัติ(2)
อานาจบริหาร(3) อานาจตุลการ
อานาจในการปกครองย่อมมีเจ้าของและเจ้าของอานาจก็คือผู้ปกครองนัยหนึ่งอานาจย่อมเป็นของผู้ปกครอง
อานาจของบ้านเป็นของเจ้าบ้านอานาจของวัดเป็นของสมภารอานาจของโรงเรียนเป็นของครูใหญ่
จนถึงอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของผู้ปกครองประเทศ
ผู้ปกครองประเทศนั้นกล่าวอย่างกว้างมี2ชนิด คือชนส่วนน้อยและปวงชน(ประชาชน)
ถ้าชนส่วนน้อยเป็นผู้ปกครองประเทศอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยก็เป็นของชนส่วนน้อย
ถ้าปวงชนเป็นผู้ปกครองประเทศอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ถ้าอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็นระบอบเผด็จการ
ถ้าอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็นระบอบประชาธิปไตยและแต่ละระบอบต่างก็มีหลายรูป
โดยสาระสาคัญแล้วระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตยนั้นได้ได้หมายความอย่างอื่นแต่หมายความว่า
อานาจหรืออานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยหรือเป็นของปวงชนเท่านั้น
แต่ชนส่วนน้อยหรือปวงชนซึ่งเป็นเจ้าของอานาจของประเทศหรืออานาจประชาธิปไตยนั้นไม่ได้เป็นผู้กุมอานาจโดยตรง
แต่มีผู้แทนเป็นผู้กุมอานาจและผู้แทนก็คือคณะการเมืองกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมือง
ซึ่งเข้าไปกุมองค์กรแห่งอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยอันได้แก่ รัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาลเพื่อใช้องค์กรทั้ง3
นี้รักษาผลประโยชน์ของผู้ที่ตนแทนถ้าแทนชนส่วนน้อยก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย
ถ้าแทนปวงชนก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผลประโยชน์ของปวงชน
ทั้งนี้จะรู้ได้ด้วยนโยบายของรัฐบาลเป็นสาคัญถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย
ก็แสดงว่าอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย
ถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผลประโยชน์ของปวงชนก็แสดงว่าอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ในปัจจุบันอานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดซึ่งเป็นชนส่วนน้อยฉะนั้น
ไม่ว่านโยบายใดๆล้วนแต่มุ่งรักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อยโดยไม่คานึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน
ฉะนั้นจึงต้องเปลี่ยนมืออานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยจากของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดมาเป็นของปวงชน
เพื่อให้มีรัฐบาลที่ดาเนินนโยบายรักษาผลประโยชน์ของประชาชน
การเปลี่ยนมืออานาจของประเทศหรืออานาจอธิปไตยเช่นนี้
คือหัวใจของการเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตยคือหัวใจของการปฏิวัติประชาธิปไตย
(6) บุคคลมีเสรีภาพสมบูรณ์
บุคคลมีเสรีภาพสมบูรณ์ เป็นหลักการปกครองหลักที่2ของระบอประชาธิปไตย
เป็นเป็นหลักคู่กับอานาจอธิปไตยของปวงชนซึ่งเป็นหลักการปกครองที่1ของระบอบประชาธิปไตย
เสรีภาพคือสิทธิ คือสิทธิในการคิดและในการกระทาที่ปราศจากกาพันธนาการไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางส่วนตัว
หรือทางการเมืองสิทธิทางส่วนตัวเช่นสิทธิในชีวิตสิทธิในทรัพย์สินสิทธิในการแสวงหาความสุขฯลฯสิทธิทางการเมือง
เช่นสิทธิในการเลือกลัทธิทางการเมืองสิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเปลี่ยนรัฐบาลฯลฯ
การที่บุคคลใช้สิทธิโดยปราศจากพันธนาการคือการที่บุคคลมีเสรีภาพ
บุคคลย่อมมีเสรีภาพไม่ว่าภายใต้ระบอบใดๆเพราะบุคคลไม่สามารถดารงอยู่ได้โดยปราศจากเสรีภาพอย่างสิ้นเชิง
ต่างแต่ว่าเสรีภาพในกระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าในรูปใดๆเป็นเสรีภาพบริบูรณ์ เสรีภาพในระบอบเผด็จการไม่ว่ารูปใดๆ
เป็นเสรีภาพไม่บริบูรณ์ เช่นในประเทศสวีเดนเป็นเสรีภาพบริบูรณ์ในประเทศไทยเป็นเสรีภาพไม่บริบูรณ์ เพราะ
สวีเดนเป็นระบอบประชาธิปไตยไทยเป็นระบอบเผด็จการ
เสรีภาพบริบูรณ์นั้นไม่ใช่บริบูรณ์อย่างไม่มีขอบเขตแต่บริบูรณ์ภายในขอบเขตถ้าเลยขอบเขตก็กลายเป็นไม่มีเสรีภาพ
เช่นผู้ขับรถยนต์มีเสรีภาพสมบูรณ์ในการขับรถยนต์ตามถนนแลพะตามกฎจราจร
ถ้าขับรถยนต์ออกนอกถนนหรือไม่ถือกฎจราจรก็ไม่มีเสรีภาพในการขับรถยนต์
เสรีภาพบริบูรณ์ภายในขอบเขตคือหลักธรรมชาติของเสรีภาพและขอบเขตของเสรีภาพบริบูรณ์คือ
การไม่ล่วงล้าเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่เป็นปรปักษ์ต่อส่วนรวมฉะนั้นคติที่ถือว่าเสรีภาพบริบูรณ์
คือเสรีภาพไม่มีขอบเขตจึงเป็นคติที่ผิดธรรมชาติจึงไม่ใช่คติของลัทธิประชาธิปไตยแต่เป็นคติของลัทธิอนาธิปไตย
การปฏิบัติตามคติของลัทธิอนาธิปไตยคือการทาลายเสรีภาพนั่นเอง
ในบรรดาเสรีภาพทั้งปวงนั้นเสรีภาพทางความคิดเป็นรากฐานคนเราถ้าไม่มีเสรีภาพทางความคิด
ก็เท่ากับไม่มีเสรีภาพและเท่ากับหมาดความเป็นคนฉะนั้นระบอบประชาธิปไตยซึ่งยึดถือหลักธรรมชาติของเสรีภาพ
จึงทาให้เสรีภาพบริบูรณ์แก่บุคคลในการนับถือศาสนาและเชื่อถือลัทธิการเมือง
ในขอบเขตที่ไม่กระทาการอันขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม
ในระบอบประชาธิปไตยการที่บุคคลได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีย่อมทาให้ได้มาซึ่งแนวความคิดที่ดีที่สุด
อันจะส่งผลให้ได้มาซึ่งนโยบายที่ดีและนาความผาสุกมาสู่คนส่วนรวม
และการให้บุคคลมีเสรีภาพทาให้บุคคลเกิดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ฉะนั้นในระบอบประชาธิปไตยซึ่งบุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์
ประชาชนจึงมีจิตสานึกในการรักษาระเบียบวินัยด้วยความสมัครใจ
อานาจอธิปไตยเป็นหลักคู่กับเสรีภาพในฐานะที่เสรีภาพขึ้นต่ออานาจอธิปไตย
เพราะผู้ปกครองย่อมให้เสรีภาพย่างเต็มที่แก่ตนเองเสมอไปดังนั้น
ในระบอบเผด็จการซึ่งอานาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อยชนส่วนน้อยจึงมีเสรีภาพอย่างเต็มที่
และในระบอบประชาธิปไตยซึ่งอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนบุคคลทั่วไปจึงมีเสรีภาบริบูรณ์
ในประเทศปัจจุบัน อานาจอธิปไตยเป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดซึ่งเป็นชนส่วนน้อย
เสรีภาพอย่างเต็มที่จึงมีแก่เฉพาะบุคคลในกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดเท่านั้นบุคคลทั่วไปขาดเสรีภาพอย่างมากมายดังนั้น
จึงต้องทาการปฏิวัติประชาธิปไตยเปลี่ยนอานาจอธิปไตยจากคนส่วนน้อยมาเป็นของปวงชน
เพื่อเสรีภาพบริบูรณ์จะได้มีแก่บุคคลทั่วไปอย่างเสมอหน้ากัน
(7) ความเสมอภาค
ความเสมอภาค
เป็นหลักการปกครองอีกหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยต่อจากอานาจอธิปไตเป็นของปวงชนและบคคุลมีเสรีภาพบริบู
รณ์
ความเสมอภาคคือว่าเท่าเทียมกันของคนทุกคนลัทธิประชาธิปไตยยึดหลักธรรมชาติของมนุษย์ว่า
มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีความทียมกันในความเป็นมนุษย์แต่มนุษย์แต่ละคนเมื่อเกิดมาแล้วไม่เหมือนกัน
บางคนแข็งแรงบางคนอ่อนแอ บางคนฉลาดมากบางคนฉลาดน้อยบางคนมีความสามารถมาก
บางคนมีความสามารถน้อยบางคนมีความทะเยอทะยานมากบางคนมีความทะเยอทะยานน้อยดังนั้น
การที่จะกาหนดให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในทุกสิ่งทุกอย่างจึงหขัดกับหลักธรรมชาติของมนุษย์และดังนั้น
เพื่อนุวัติตามธรรมชาติของมนุษย์
ระบอบประชาธิปไตยจึงกาหนดว่าเมื่อประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดของประเทศหรืออานาจอธิปไตยแล้ว
ประชาชนทุกคนจึงมีความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันในการแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตยนั้น
ความหมายโดยสาระสาคัญของความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยคือคนทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการแสดงออก
ซึ่งความเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น3 ประการคือ
1. ความเสมอภาคในกฎหมาย(Equalitybeforethe law) หมายความว่าคนทุกคนไม่ว่ากาเนิดใดศาสนาใด
มีฐานะทางเศรษฐกิจทางการเมืองทางสังคมสูงหรือต่าอย่างใดย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
อยู่ภายใต้ระบบศาลเดียวกันได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกันและได้รับความคุ้มครองจากองค์กรกฎหมายเท่าเทียมกัน
ความแตกต่างในกรณีใดๆระหว่างบุคคลไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด
2. ความเสมอภาคในการออกเสียง(Equalityinvote) หมายความว่า
บุคคลแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้งหรือในการแสดงประชามติใดๆได้เพียงคะแนนเดียว
(One man, One vote) และหมายความว่าคะแนนเสียงของแต่ละคนจะต้องมีน้าหนัก
หรือคุณค่าในการตัดสินผลการเลือกตั้งหรือการแสดงประชามติเท่าเทียมกันตัวอย่างเช่น
การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ถือเอาเนื้อที่ของเขตเป็นเกณฑ์ไม่ถือเอาจานวนประชากรเป็นเกณฑ์
ทาให้เขตการเลือกตั้งซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า500,000คน
เยเปรียบเขตเลือกตั้งในชนบทที่มีประชากรเพียง50,000คน
และคะแนนเสียงของคนในเมืองใหญ่มีผลในการตัดสินการเลือกน้อยกว่าคะแนนเสียงของคนในชนบทถึง10เท่า
เหตุนี้ศาลจึงตัดสินว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญเป็นต้น
3. ความเสมอภาคในโอกาส(EqualityinOpportunity) หมายความว่า
คนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้พลังสมองและความสามารถเพื่อเสริมสร้างและยกฐานะทางการเมือง
ทางเศรษฐกิจและทางสังคมของตนเช่นให้โอกาสเท่าเทียมกันแก่ทุกคนที่จะได้รับการศึกษาที่จะได้รับการประกันสังคม
ที่จะได้ประกอบกิจกรรมในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่จะได้มีงานทาและได้รับการคุ้มครองแรงงาน
และจะต้องขจัดระบบผูกขาดซึ่งเป็นการทาลายความเสมอภาคในโอกาสของบุคคลเป็นต้น
ในปัจจุบัน ประชาชนประชาชนชาวไทยไม่มีความเสมอภาคกันทั้งในฐานะเป็นคนไทยและในฐานะเป็นมนุษย์
เพราะลักษณะการปกครองของไทยและเป็นระบอบเผด็จการ
จึงจาเป็นจะต้องทาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สาเร็จโดยเร็วเพื่อเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย
เมื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแล้วประชาชนชาวไทยก็จะมีความเสมอภาคกันในความเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย
ซึ่งจะยังผลให้มีความเสมอภาคกันในกฎหมาย ในการออกเสียงในโอกาสสมกับที่เป็นคนไทยและเป็นมนุษย์
(8) หลักกฎหมาย
หลักกฎหมายเป็นหลักการปกครองอีกหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยต่อจากหลักอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ และความเสมอภาค
มีผู้เข้าใจผิดว่าการปฏิบัติตามกฎหมายคือเครื่องหมายของระบอบประชาธิปไตย
และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นการทาลายระบอบประชาธิปไตย
ความจริงไม่ว่าในระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการล้วนแต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่มีระบอบใดๆ
จะอนุญาตให้ละเมิดกฎหมายการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเรื่องของทุกๆระบอบ
หาใช่เป็นเรื่องของระบอบประชาธิปไตยแต่เพียงระบอบเดียวไม่ฉะนั้น
การปฏิบัติตามกฎหมายจึงหาใช่เครื่องวัดความเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่
กฎหมายย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามวิถีทางนิติบัญญัติที่ได้กาหนดไว้ในระบอบนั้นๆ
กฎหมายฉบับใดถ้ารัฐบาลไม่ต้องการจะปฏิบัติตามก็ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนั้นเสียเช่น
รัฐบาลต้องการจะต่ออายุผบ.ทบ.ครั้งที่แล้วแต่กฎหมายห้ามไว้ ก็แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้นเสีย
การกระทาเช่นนี้หาใช่เป็นเครื่องวัดของความเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือของความเป็นระบอบเผด็จการแต่อย่างใดไม่
หรือกฎหมายฉบับใดไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนและมีการแสดงประชามติคัดค้านกฎหมายฉบับนั้น
หรือเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนั้นก็เป็นการปฏิบัติตามวิถีทางประชาธิปไตยอย่างหนึ่งหาใช่เป็น
“ กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย” แต่อย่างใดไม่
การโฆษณาว่าการปฏิบัติตามกฎหมายคือเครื่องหมายของระบอบประชาธิปไตย
และว่าการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคือการทาลายระบอบประชาธิปไตยและเห็นการแสดงประชามติเป็น “
กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย” ไปนั้น คือความพยายามของระบอบเผด็จการที่จะให้ประชาชนยินยอมอยุ่ใต้ความกดขี่ตลอดไป
การปฏิบัติตามกฎหมายไม่ใช่เครื่องหมายไม่ใช่เครื่องหมายของความเป็นระบอบประชาธิปไตย
เพราะระบอบเผด็จการก็ใช้กฎหมายเช่นกันและระบอบเผด็จการมักจะเน้นหนักให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กดขี่ประชาชน
เครื่องหมายของความเป็นรบอบประชาธิปไตยคือการปฏิบัติตามหลักกฎหมายจะต้องไม่เอากฎหมาย(Law)
ไปปะปนกับหลักกฎหมาย(Rule of Law)
หลักกฎหมายคือหลักนิติธรรมที่ได้รับรองแล้วว่าถูกต้อง
เป็นกลักที่ผุ้ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนต้องยึดถือปฏิบัติตามแม้ว่าองค์กรนิติบัญญัติเช่น
สภาผู้แทนราษฎรจะมีอานาจออกกฎหมายมาจากัดเสรีภาพของบุคคลได้ก็ตาม
แต่กฎหมายนั้นต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎรจะออกกฎหมายขัดต่อหลักกฎหมายมิได้
ในประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นอังกฤษศาลมีอานาจพิจารณาว่า
กฎหมายใดขัดกับหลักกฎหมายและเป็นโมฆะในประเทศที่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นสหรัฐ
มีการบัญญัติหลักกฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญหลักกฎหมายที่สาคัญๆเช่น
(1) ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิด
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริตบุคคลจะถูกล่าวหาว่ากระทาความผิดได้ก็ต่อเมื่อการกระทานั้นมีบัญญัติไว้ในกฎหมาย
แห่งชาติว่าเป็นความผิด
(2) กฎหมายจะมีผลย้อนหลังไปลงโทษบุคคลมิได้
(3) ศาลเท่านั้นเป็นผู้มีอานาจพิจารณาว่าการกระทาใดเป็นการละเมิดกฎหมายและเป็นความผิดต้องได้รับโทษฯลฯ
ระบอบใดสามารถออกกฎหมายละเมิดหลักกฎหมายได้ สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกทาลายเช่นกฎหมายปร.42
เป็นต้นนั่นคือ เครื่องหมายอย่างหนึ่งของระบอบเผด็จการระบอบประชาธิปไตยย่อมยึดถือหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด
องค์กรนิติบัญญัติของระบอบประชาธิปไตยจะออกกฎหมายโดยละเมิดหลักฎหมายมิได้
(9) การปกครองจากการเลือกต้อง
การปกครองจากการเลือกตั้ง(ElectionGovernment) เป็นหลักการปกครองหลักสุดท้ายของระบอบประชาธิปไตย
มีนักวิชาการบางคนเรียกการปกครองจากการเลือกตั้งว่าการปกครองทางผู้แทน
โดยถือว่าการปกครองทางผู้แทนเป็นวิธีการปกครองของประบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
เพราะไม่สามารถจะใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยตรงได้
แต่ประชาชนจะต้องเลือกผู้แทนขึ้นมาทาการปกครองแทนตน
นักวิชาการเหล่านั้นเอาประชาธิปไตยทางผู้แทน(RepresentativeDemocracy)
กล่าวคือประชาธิปไตยทางตรงหมายความถึงระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเข้าไปทาหน้าที่ออกกฎหมาย
หรือระเบียบข้อบังคับของรัฐด้วยตนเองดังเช่นที่ปรากฏในบางรัฐของสวิสเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน
และในนครรัฐสมัยกรีกโรมันส่วนประชาธิปไตยทางผู้แทน
หมายความถึงระบอบประชาธิปไตยที่เลือกผู้แทนโดยการเลือกตั้งทั่วไปให้เข้าไปใช้อานาจอธิปไตยคืออกกฎหมายบริหาร
และตัดสินคดีดังที่ใช้อยู่ในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายในปัจจุบันเช่นอังกฤษ อเมริกาอินเดีย ฯลฯ
แต่การปกครองทางผู้แทนนั้นเป็นอีกเรื่อหงนึ่งเพราะในยุคปัจจุบันไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการ
ต้องใช้การปกครองทางผู้แทน(RepresentativeGovernment) ด้วยกันทั้งนั้น
เราะไม่ว่าอานาจอธิปไตยจะเป็นของคนส่วนน้อย(ระบอบเผด็จการ)หรืออานาจอธิปไตยจะเป็นของปวงชน
(ระบอบประชาธิปไตย)ก็ตามคนส่วนน้อยและปวงชนต่างก็ไม่สามารถจะเข้าไปใช้อานาจอธิปไตยโดยตรงได้
เพราะคนส่วนน้อยผู้เป็นเจ้าของอานาจอธิปไตยนั้นก็มจานวนเป็นพันเป็นหมื่นหรือเป็นแสนเป็นล้านจึงไม่สามารถเข้าไปใช้
อานาจอธิปไตยโดยตรงแต่ต้องมีคณะปกครองเป็นผู้ใช้อานาจอธิปไตยแทนตน
ซึ่งโดยทั่วไปก็ได้แก่รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ยิ่งปวงชนด้วยแล้วยิ่งมีจานวนเป็นล้านๆสิบ ๆล้านหรือร้อย ๆล้าน
จึงยิ่งไม่สามารถเข้าไปใช้อานาจอธิปไตยโดยตรงจึงต้องมีคณะปกครองซึ่งได้แก่ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
เป็นผู้ใช้อานาจอธิปไตยแทนตนเช่นเดียวกัน
เช่นการปกครองของกลุ่มผลประโยชน์ชั้นสูงของเยอรมันเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่2ซึ่งส่วนสาคัญได้แก่เจ้าที่ดินใหญ่
นายทุนใหญ่ และนายธนาคารใหญ่ ไม่สามารถใช้อานาจอธิปไตยโดยตรงจึงมอบหมายให้รัฐบาลนาซีเป็นผู้ใช้อานาจแทน
การปกครองของนาซีก็คือการปกครองทางผู้แทนในระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
ซึ่งรัฐบาลนานซีเป็นผู้แทนของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดสูงสุดของเยอรมันทั้งนี้ก็เช่นเดียวกับรัฐบาลอังกฤษ
รัฐบาลฝรั่งเศสรัฐบาลสวีเดนฯลฯซึ่งใช้อานาจอธิปไตยแทนปวงชนจึงเป็นรัฐบาลที่เป็นผู้แทนปวงชน
เป็นการปกครองทางผู้แทนของระบอบประชาธิปไตย
และการปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทนนั้นไม่หมายความว่าการเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง
แต่หมายความว่าใช้อานาจอธิปไตยรักษาผลประโยชน์ของใครถึงจะเลือกตั้งแต่ถ้ารักษาผลประโยชน์ของกลุ่มผูกขาดก็เป็น
ผู้แทนของกลุ่มผูกขาดไม่ได้เป็นผู้แทนของปวงชนจึงเป็นการปกครองระบอบเผด็จการ
แต่ถึงจะไม่เลือกตั้งแต่รักษาผลประโยชน์ของปวงชนก็เป็นผู้แทนของปวงจนจึงเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เมื่อประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากการปฏิวัติ24มิถุนายน2475นั้น ไม่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
สภาผู้แทนราษฎรครั้งนั้นเป็นสภาแต่งตั้งและคณะรัฐมนตรีครั้งนั้นประกอบด้วยรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
แต่รัฐบาลครั้งนั้นเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตย(DemocraticGovernment)
เพราะว่ารัฐบาลครั้งนั้นเป็นผู้แทนปวงชนเป็นผู้ใช้อานาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย
หลังจากนั้นไม่นานระบอบประชาธิปไตยก็เปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและเป็นระบอบเผด็จการมาจนถึงปัจจุบันทั้งๆ
ที่มีการเลือกตั้งและทั้งๆที่มีรัฐบาลทางผู้แทนแต่เป็นผู้แทนของคนส่วนน้อยเป็นผู้แทนของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด
ไม่ใช่ผู้แทนปวงชน
จึงเห็นได้ว่าประชาธิปไตยทางผู้แทน(Representative Democracy) เท่านั้นเป็นคู่กับประชาธิปไตยทางตรง(Direct
Democracy) การปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทน(Representative Government)
ไม่ได้เป็นคู่กับประชาธิปไตยทางตรง
และการปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทนก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการปกครองจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลจากการเลือกตั้
ง (ElectionGovernment) ตามที่นักวิชาการมักจะเอาไปปะปนกัน
ระบอบประชาธิปไตยถือเอาการปกครองจากการเลือกตั้งเป็นกลักการปกครองหลักหนึ่งแต่จัดเป็นหลักสุดท้าย
เพราะการปกครองจากการเลือกตั้งนั้นเป็นของกลางซึ่งระบอบใดๆจะนาไปใช้ก็ได้
และระบอบประชาธิปไตยนั้นในบางกรณีก็ไม่มีการเลือกตั้ง
โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกขชองระบอบประชาธิปไตยไม่สามรถจะมีการเลือกตั้ง
ดังเช่นระยะแรกของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยภายหลังการปฏิวัติ24มิถุนายน2475ไม่มีการเลือกตั้ง
ต่อเมื่อเข้ารูปเข้ารอยแล้วจึงมีการเลือกตั้ง
นอกจากนั้นยังมีการปะปนหลักอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนกับหลักการปกครองจากการเลือกตั้ง
โดยเถือว่าเมื่อมีการเลือกตั้งส.ส.เข้าสภาและสภาเป็นผู้ตั้งคณะรัฐมนตรีและควบคุมคณะรัฐมนตรี
ก็คือสภาและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อานาจอธิปไตยแทนปวงชนแล้วจึงเปลี่ยนคาว่า “อานาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชน ”
เป็น “ อานาจอธิปไตยมาจากปวงชน ” ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับของประเทศเรา
ซึ่งเป็นการทาลายหลักอันเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองจากการเลือกตั้งแต่อานาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชน
แต่เป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดฉะนั้น
จึงต้องเปลี่ยนอานาจอธิปไตยของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดมาเป็นอานาจอธิปไตยของปวงชนเสียก่อน
การปกครองมากจากการเลือกตั้งจึงเป็นหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้
หลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตยมี5 ประการคือ1. อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน2
เสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล3.ความเสมอภาค4.หลักกฎหมาย5.การปกครองจากการเลือกตั้ง
แต่หลักที่เป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยคืออานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนแม้ว่าจะมีหลักอื่นๆ
แต่ไม่มีหลักอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
ฉะนั้นจะดูว่าระบอบใดเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
ก่อนอื่นก็ต้องดูที่ว่าอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรือเป็นของคนส่วนน้อย
(10)หลักการปกครองกับรูปการปกครอง
หลักการปกครอง(Principle of Government) กับรูปแบบการปกครอง(Formof Government)
เป็นสิ่งที่จะต้องอยู่คู่กันแยกออกจากกันไม่ได้หลักการปกครองจะต้องอยู่ในรูปการปกครองในรูปใดรูปหนึ่งเสมอไป
และรูปการปกครองจะต้องมีหลักการปกครองของระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตย
ระบอบใดระบอบหนึ่งเสมอไป
หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับของระบอบเผด็จการและโดยเฉพาะคือ
หลักการปกครองในข้อที่เป็นหัวใจของระบอบทั้งสองระบอบนั้นแตกต่างกันอย่างตรงกันข้ามกล่าวคือ
หลักการปกครองซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยได้แก่ อานาจอธิปไตยเห็นของปวงชน
หลักการปกครองของระบอบเผด็จการได้แก่ อานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย
แต่หลักการปกครองซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้ามนี้อาจอยู่ในรูปการปกครองอันเดียวกัน
เช่นระบอบเผด็จการอยู่ในรูปการปกครองโดยทหาร
และระบอบประชาธิปไตยก็อาจอยู่ในรูปการปกครองโดยทหารเช่นเดียวกันตัวอย่างเช่น
การปกครองของพวกเผด็จการในระยะแรกที่ทารัฐประหาร8พฤศจิกายน2490และ20ตุลาคม2501 เป็นต้น
อยู่ในรูปการปกครองโดยทหารการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระยะแรกของคณะราษฎร์ ซึ่งยึดอานาจเมื่อ24
มิถุนายน2475 ก็อยู่ในรูปการปกครองโดยทหารเช่นเดียวกันทั้งนี้ไม่ว่าในประเทศไทยหรือในนานาประเทศ
รูปการปกครองนั้นนอกจากรูปการปกครองโดยทหาร
ซึ่งมักจะใช้ในระยะแรกของระบอบเผด็จการและของระบอบประชาธิปไตยแล้ว
ในระยะต่อมามักจะเปลี่ยนไปใช้รูปการปกครองตามประเพณีนิยมอันมี3 รูป คือ1) ระบบรัฐสภา 2) ระบบประธานาธิบดี
3) ระบบกึ่งประธานาธิบดี
ในประเทศไทยมีความเข้าใจผิดที่สาคัญอย่างหนึ่งคือเข้าใจว่าระบอบรัฐสมภาก็ดีระบบประธานาธิบดีก็ดี
และระบบกึ่งประธานาธิบดีก็ดีเป็นรูปการปกครองของระบอบประชาธิปไตยแต่ระบอบเดียวเท่านั้นจึงมักจะสั่งสอนกันว่า
ระบอบประชาธิปไตยมีการปกครอง3รูปคือระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีและระบบกึ่งประธานาธิบดี
แต่ความจริงแล้ว3ระบบนี้เป็นได้ทั้งรูปการปกครองของระบอบเผด็จการและของระบอบประชาธิปไตยเช่น
รัฐสภาไทยสมัยพระยาพหลฯเป็นรูปการปกครองของระบอบประชาธิปไตย
ระบบรัฐสภาในสมัยหลวงพิบูลฯและในสมัยปัจจุบันเป็นการปกครองของระบอบเผด็จการ
ระบบประธานาธิบดีในเวียดนามใต้ สมัยโงดินเดียมเหงียนวันเทียวเป็นรูปการปกครองของระบบเผด็จการเป็นต้น
การสั่งสอนที่ผิดพลาดมาเป็นระยะเวลายาวนานเช่นนี้ทาให้คนไทยเอาระบบรัฐสภากับระบอบประชาธิปไตยไปปะปนกัน
เห็นระบบรัฐสภาเป็นระบอบประชาธิปไตย
จึงเข้าใจว่าเวลานี้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะมีระบบรัฐสภาแต่ความจริงแล้ว
ระบบรัฐสภาในประเทศไทยปัจจุบันเป็นระบบรัฐสภาในระบอบเผด็จการ
หาใช่ระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่
(11)ปัญหาประมุขของประเทศในการปฏิวัติประชาธิปไตย
รูปการปกครอง3 รูปซึ่งไม่ว่าจะเป็นของระบอบประชาธิปไตยหรือของระบอบเผด็จการก็ตาม
ในประเทศไทยนอกจากมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นรูปการปกครองของระบอบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว
ดังที่กล่าวแล้วในตอนก่อนยังมักจะเข้าใจผิดว่าหมายถึงประมุขของประเทศอีกด้วยแต่ความจริงแล้ว
ระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดีหรือระบบกึ่งประธานาธิบดีไม่ได้หมายถึงประมุขของประเทศ
แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอานาจนิติบัญญัติกับอานาจบริหารซึ่งจะได้กล่าวในตอนต่อไปจึงขอกล่าวในตอนต่อไป
แต่เนื่องจากมักเข้าใจผิดดังกล่าวจึงขอกล่าวถึงปัญหาประมุขของประเทศในตอนนี้ก่อน
ในโลกยุคปัจจุบันรูปของประเทศอันเนื่องด้วยประของประเทศนั้นโดยทั่วไปแล้วมี2รูปคือราชอาณาจักร(Kingdom)
และสาธารณรัฐ(Republic) ราชอาณาจักรคือประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สาธารณรัฐคือประเทศที่มีประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งนี้ไม่ว่าประเทศนั้นๆ
จะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการก็ตามและประเทศใดจะเป็นราชอาณาจักรหรือสาธารณรัฐนั้น
มิใช่ว่าบุคคลใดหรือคณะบุคคลใดจะกาหนดเอาได้
แต่ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศนั้นๆ
วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทยกาหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
ประเทศไทยจึงมีพระมหากษัตริย์เป็นยประมุขมาแต่โบราณกาลและตลอดไปในอนาคตไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงได้
ด้วยเหตุนี้เมื่อประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญจึงได้มีการบัญญัติรับรองและบังคับไว้ในรัฐธรรมนูญว่า
ประเทศไทยต้องเป็นราชอาณาจักรและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศคือ
รัฐธรรมนูญฉบับที่1 (พ.ศ. 2475)มาตรา1 บัญญัติว่า “กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ” รัฐธรรมนูญฉบับที่2 (พ.ศ.
2475)มาตรา1 บัญญัติว่า“ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร”รัฐธรรมนูญฉบับอื่นนอกจาก2ฉบับนี้นอกจากบัญญัติว่า
“ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร”แล้วยังบัญญัติว่า“ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”อีกด้วยซึ่งหมายความว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทยตรงกันทุฉบับ
แต่มีการพูดกันอย่างกว้างขวางให้ผิดไปจากรัฐธรรมนูญว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”เป็นการลดฐานะของพระมหากษัตริย์จากประมุขของประเทศ
มาเป็นประมุขของระบอบซึ่งผิดจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจากหลักวิชาการและจากข้อเท็จจริง
ซึ่งถ้าคณะปกครองละเมิดรัฐธรรมนูญโดยทาให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการแล้ว
ก็อาจกระทบกระเทือนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะในยุคปัจจุบัน
ระบอบประชาธิปไตยเป็นปัจจัยของความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
ระบอบเผด็จการบั่นทอนความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
การปฏิวัติประชาธิปไตยคือการเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย
ฉะนั้นการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยจึงเป็นการกระทาเพื่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาตินอกจากมีภารกิจในการปฏิวัติประชาธิปไตยแล้ว
ยังมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยให้สาเร็จและมีอุดมคติเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยให้สาเร็จด้วยฉะนั้น
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติในประเทศไทย
จึงเป็นผุ้ส่งเสริมที่แท้จริงให้สถาบันพรมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทยตลอดไป
(12)ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี
โดยทั่วไปรูปการปกครองของระบอบประชาธิปไตยมี3รูปคือระบบรัฐสภา(ParliamentarySystem)
แบะระบบประธานาธิบดี(PresidentialSystem)ส่วนระบบกึ่งประธานาธิบดี(Semi-Presidential System)
นั้นอยู่ในฝ่ ายระบบประธานาธิบดี
ในประเทศไทยเมื่อกล่าวถึงระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีมีปัญหาสับสนซึ่งจาเป็นต้องทาความกระจ่างอยู่2
ปัญหา คือ
1. มักจะเข้าใจกันว่า
ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีเป็นรูปการปกครองแต่เฉพาะของระบอบประชาธิปไตยระบอบเดียวฉะนั้น
เมื่อเห็นว่าประเทศใดมีรูปการปกครองเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี
ก็ถือว่าประเทศนั้นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยนัยหนึ่งถือว่าระบบรัฐสภานั่นเองคือระบอบประชาธิปไตย
ส่วนในประเทศที่มีรูปการปกครองเป็นระบบประธานาธิบดีก็ถือว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยถือว่าระบบประธานาธิบดีคือระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน
แต่ความจริงแล้วประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดีเป็นรูปการปกครอง
อาจมีการปกครองระบอบเผด็จการก็ได้ เช่นระบบประธานาธิบดีในคิวบาสมัยบาติสตา
ระบบประธานาธิบดีในนิการากัวสมัยโซโมซาเป็นระบอบเผด็จการในทานองเดียวกัน
ระบบรัฐสภาสมัยพระยาพหลพยุหเสนาเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามและต่อๆ
มาเป็นระบบเผด็จการ
ฉะนั้นพึงเข้าใจว่าระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีอาจเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการก็ได้
ไม่ควรคิดว่าเมื่อเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดีแล้วจะเป็นระบอบประชาธิปไตยเสมอไป
แต่ในที่นี้เราพูดกันถึงระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีที่เป็นระบอบประชาธิปไตย
2. มักจะเข้าใจกันว่าระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีเป็นปัญหาประมุขของประเทศเพราะมีคาว่า “ประธานาธิบดี
” จึงคิดว่าระบบนี้หมายถึงประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศไม่ใช่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
แต่ความจริงแล้วระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีไม่ได้เกี่ยวกับประมุขของประเทศ
ระบบรัฐสภาอาจมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศก็ได้ อาจมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศก็ได้
เช่นระบบรัฐสภาของอังกฤษมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
ระบบรัฐสภาของอินเดียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศเป็นต้นส่วนระบบประธานาธิบดีเท่าที่ปรากฏ
มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศแต่อาจมีพระมาหกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศก็ได้
เช่นในประเทศไทยเคยใช้ระบบกึ่งประธานาธิบดีโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.
2511 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งระบบประธานาธิบดีและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
ก็เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นอย่างดีการที่รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็ถูกยกเลิกก็เพราะจอมพลถนอมกิตติขจร
ทารัฐประหารตัวเองมิฉะนั้นแล้วรัฐธรรมนูญกึ่งประธานาธิบดีฉบับนั้นก็จะดาเนินไปได้โดยเรียบร้อย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย

More Related Content

More from Thongkum Virut

หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริThongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรThongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการThongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูThongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกThongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยThongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยThongkum Virut
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาThongkum Virut
 
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยThongkum Virut
 
พรรคการเมือง
พรรคการเมืองพรรคการเมือง
พรรคการเมืองThongkum Virut
 
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะThongkum Virut
 
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่Thongkum Virut
 
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยนโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยThongkum Virut
 
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐThongkum Virut
 

More from Thongkum Virut (20)

หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
 
พรรคการเมือง
พรรคการเมืองพรรคการเมือง
พรรคการเมือง
 
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
 
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
 
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยนโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
 
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
 

ลัทธิประชาธิปไตย