SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
กบฏ ร.ศ.130
♦♦การปฏิวัติประชาธิปไตยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
มีเหตุการณ์ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย เหตุการณ์นั่น คือ ที่เราเรียกว่า กบฏ ร.ศ.130
การปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยข้าราชการระดับล่าง และพ่อค้าประชาชน ครั้งแรก
คือการปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งนำาโดยคณะ รศ.130 มี ร.อ.ขุนทวนหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง
ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ผู้นำาคนสำาคัญ ๆ ของคณะ เช่น ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ร.ต.จรูญ ษตะ
เมต ร.ต.หม่อมราชวงศ์ แซ่ รัชนิกร นาย อุทัย เทพหัสดิน นายเซี้ยง สุวงศ์ นาย บุญเอก ตัน
สถิต ฯลฯ คณะ ร.ศ.130 เป็นคนหนุ่ม อายุถัวเฉลี่ย 20 ปี หัวหน้าคือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์
อายุ 28 ปี ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ อายุเพียง 18 ปี
นายทหารของคณะ ร.ศ.130 เกือบจะทุกคนเป็นมหาดเล็กในกรมหลวงพิษณุโลก นอกนั้น
เป็นมหาดเล็กในกรมหลวงนครสวรรค์ กรมหลวงราชบุรี กรมหลวงนครชัยศรี บางคนเป็น
เชื้อพระวงศ์ บางคนเป็นข้าหลวงเดิม หรือมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 และกรมหลวงพิษณุโลก
ทรงระแคะระคายอยู่แล้ว ถึงการเคลื่อนไหวของคณะนี้เพราะเป็นข่าวที่ไม่เป็นความลับอีกต่อ
ไป แต่พระองค์ทรงถือว่าเป็นเรื่องของคนหนุ่มหัวก้าวหน้าและพระองค์ท่านก็ทรงมี พระทัย
ใฝ่ทางก้าวหน้าอยู่เหมือนกัน
ความมุ่งหมายของคณะ ร.ศ.130 คือ ยกเลิกระบอบพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์
และเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบพระ มหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งครั้งนั้นหมายถึงระบอบ
ประชาธิปไตย
คณะ ร.ศ.130 ไม่มีความมุ่งหมายที่ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ สิ่งที่คาดคิดอยู่บ้างก็คือถ้า
หากมีความจำาเป็นอย่างที่สุด ก็เปลี่ยนแปลงเพียงองค์พระประมุขเท่านั้น มิใช่เปลี่ยนแปลง
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันประธานาธิบดี แต่ คณะ ร.ศ.130 ก็ไม่เชื่อว่าต้องถึงกับ
เปลี่ยนแปลงองค์พระประมุข ดังบันทึกของ ร.ต.เหรียญ และ ร.ต.เนตร ผู้นำาคนสำาคัญของ
คณะ ร.ศ.130 กล่าวไว้ว่า
“ ไม่เชื่อว่าจะต้องเปลี่ยนองค์พระประมุขของชาติ เพราะคณะมีเหตุผลอย่างสมบูรณ์ที่ทำาให้
ถวายความเชื่อในพระเกียรติยศแห่งองค์ พระประมุขว่า พระองค์ทรงสืบสายโลหิตมาแต่
ตระกูลขัตติยะและทรงศึกษามาจากสำานักที่ทรง เกียรติอันสูงส่ง ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น
มารดาแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย..หากคณะจักมีความจำาเป็นที่สุด ที่จะเดินหน้า
จนถึงกับจะต้องเปลี่ยนองค์พระประมุขแห่งชาติแล้วไซร้...เช่น ที่เคยมีการปรึกษาหารือกัน
ภายในของแต่ละกลุ่มสมาชิกไว้ดังนี้ ฝ่ายทหารบกจะทูลเชิญทูลกระหม่อมจักรพงศ์ ฝ่าย
ทหารเรือจะทูลเชิญทูลกระหม่อมบริพัตร และฝ่ายกฎหมายกับพลเรือนจะทูลเชิญในกรม
หลวงราชบุรี ”
และวิธีการของการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้น คณะ ร.ศ.130 ได้กำาหนดไว้ว่าจะปฏิบัติการ
โดยสงบ มิให้มีการต่อสู้กันด้วยกำาลัง โดยคณะปฏิวัติจะเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือแด่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันถือนำ้าพระ
พิพัฒน์สัตยา 1 เมษายน 2455 ดังบันทึกของ ร.ต.เนตร และ ร.ต.เหรียญ กล่าวไว้ว่า
“ ยังเหลือเวลาประมาณ 50 วันเท่านั้นก็จะถึงวาระสำาคัญของคณะปฏิวัติที่จะเบิกโรงดำาเนิน
การทูลเกล้าทูล กระหม่อมถวายหนังสืออันเป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทย แด่พระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระประมุขแห่งชาติด้วยคารวะอย่าง สูง โดยหัวหน้าคณะ
ปฏิวัติ ณ ภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ และมวล
อำามาตย์ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล คือถือนำ้าพระพิพัฒน์สัตยา
ในต้นเดือนเมษายน ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยนั้น โดยมีกำาลัง
ทหารทุกเหล่าในพระนครพร้อมด้วยอาวุธ ซึ่งปกติทุกปีมาเคยตั้งแถวเป็นเกียรติยศรับเสด็จ
พระราชดำาเนิน ณ สนามหญ้าหลังวัดพระแก้วโดยพร้อมสรรพ และเฉพาะปีนี้ก็พร้อมที่จะฟัง
คำาสั่งของคณะปฏิวัติอยู่รอบด้านอีกด้วย เพราะทหารทุกคน ณ ที่นั้นเป็นทหารของคณะ
ปฏิวัติแล้วเกือบสิ้นเชิง........
แม้แต่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ที่ถือปืนสวมดาบ
ปลายปืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ก็คือทหารคณะ ปฏิวัตินั่นเองตามแผนของ
คณะฯ จักไม่มีการต่อสู้กันเลยจากทหารที่ถืออาวุธในพระนคร เพราะหน่วยกำาลังที่จะช่วงใช้
เพื่อรบราฆ่าฟันกันเองจะมีขึ้นไม่ได้เป็นอันขาด แม้นายทัพนายกองชั้นสูงคนใดจะออกคำาสั่ง
ก็หาเป็นผลประการใดไม่ ค่าที่หน่วย กำาลังอันแท้จริงของกองกำาลังนั้น ได้ตกอยู่ในกำามือ
ของพรรคปฏิวัติดังกล่าว นับแต่ชั้นพลทหารและนายสิบขึ้นไป จนถึงนายทหารผู้บังคับ
บัญชา โดยตรงคือชั้นประจำากอง โดยคณะปฏิวัติจำาต้องจัดหน่วยกล้าตายออกคุมจุดสำาคัญ
ๆ ในพระนครพร้อมกันเมื่อได้ยิน
เสียงกระหึ่มของปืนใหญ่อาณัติสัญญาณลั่นขึ้นใน พระนครสองสามแห่งและพร้อมกันนั้น
ต้องใช้กำาลังเข้าขอร้องเชิงบังคับให้นาย ทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนที่เห็นสมควร และชี้ตัวไว้
แล้วมาดำาเนินการร่วมด้วยกับคณะในบางตำาแหน่งโดยขอให้พิจารณา ตัดสินใจทันทีเพื่อ
ความเจริญของชาติไทยในสมัยอารยนิยม ”
เมื่อตรวจสอบเจตนาและพฤติกรรมของคณะ ร.ศ.130 โดยละเอียดแล้วจะไม่พบเลยว่าคณะ
ร.ศ.130 มีความมุ่งหมายจะยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำาเอาสถาบันประธานาธิบดี
หรือสถาบันอื่นมาเป็นประมุขของประเทศแทน ตรงกันข้าม จะพบแต่การเชิดชูสถาบันพระ
มหากษัตริย์ ทั้งต้องการจะเชิดชูองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สูงส่งยิ่ง ขึ้น
ด้วย โดยปรารถนาที่จะให้พระองค์ท่านทรงร่วมมือกับคณะโดยดำารงฐานะพระมหากษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “ลิมิเต็ดมอนากี” ดังคำาให้การของ ร.อ.ขุนทวย
หาญฯ หัวหน้าคณะต่อศาลทหารว่า
“ เพียงแต่มีการหารือกันเพื่อทำาหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณให้
องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการ
ปกครองเป็น ลิมิเต็ดมอนากี นอกจากนั้น สมาชิกของคณะ ร.ศ.130 บางคนเข้าร่วมการปฏิวัติ
ประชาธิปไตย ด้วยความหวังที่จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นพระประมุขของสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าฯ ด้วยเห็นว่าการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเป็นภัยแก่พระองค์ท่าน ในจำานวนนั้นมีอยู่คนหนึ่งชื่อ ร.ท. แม้น
สังขวิจิตร ผู้บังคับกองร้อยมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงโปรดปราน
มาก และ ร.ท.แม้น ก็ถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์เสมอด้วยบิดาบังเกิดเกล้า ร.ต.เนตร
บันทึกไว้ว่า “ การร่วมปฏิวัติของเขา ก็คือความหวังที่จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นประมุขของ
พระองค์ในภาวะอนาธิปไตย โดยเห็นว่า การปกครองแบบราชาธิปไตยนี้จะเป็นยาพิษแก่
ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้ ”
เมื่อทอดพระเนตรเห็น ร.ท.แม้น อยู่ในรายชื่อของคณะ ร.ศ.130 ไม่ทรงเชื่อว่า ร.ท.แม้น จะ
ร่วมด้วย และรับสั่งกับทูลกระหม่อมจักรพงษ์ว่า “ ถ้าไอ้แม้นไปกับพวกเขาด้วย ก็ต้องเฆี่ยน
หลังมันเสีย ”
รับสั่งนี้ไปเข้าหู ร.ท.แม้น ในคุก เข้าจึงเขียนจดหมายซุกซ่อนไปในอาหารที่รับประทาน
เหลือถึงบิดาของเขา ขอให้วิ่งเต้นด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งวิธีไสยศาสตร์เพื่อไม่ให้เขาถูกเฆี่ยน
หลังเพราะถือว่า การถูกเฆี่ยนหลังเป็นการเสื่อมด้วยเกียรติของชายชาตินักรบ ตลอดทั้งวงศ์
ตระกูลด้วย แม้แต่จะลงพระราชอาญาประหารชีวิตก็ไม่ว่า จดหมายนี้ผู้คุมจับได้ และส่งขึ้น
ไปตามลำาดับจนถึงในหลวง เพียงไม่กี่วันต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งไปตาม
ถนนราชดำาเนินทอดพระเนตรเห็น ร.ต.ฟู ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของ ร.ท.แม้น จึงรับสั่งให้
หยุดรถพระที่นั่งและกวักพระหัตถ์ให้ ร.ต.ฟู เข้าเฝ้าฯ ณ กลางถนนนั้นรับสั่งว่า “ เอ็งไปบอก
เจ้าแม้นมันว่า ข้าเลิกเฆี่ยนหลังแล้ว มันจะได้สบายใจ ”
ชาวคณะ ร.ศ.130 ทุกคนยืนยันว่า ข่าวที่ว่าคณะ ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นข่าวกุ เมื่อ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง ผู้นำาคนหนึ่งของคณะได้ทราบ
ข่าวนี้ คิดว่าเป็นเรื่องจริง จึงเขียนจดหมายถึงพรรคพวกที่อยู่นอกคุกแช่งด่าพวกนั้นอย่าง
รุนแรงและเรียก ร้องให้สมนาคุณบุคคลต่าง ๆ อันประกอบด้วย K ( หมายถึงพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ) “ เจ้าพ่อนโปเลียน ” ( หมายถึงเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก
ประชานาถ ) และ “ วังบูรพาผู้เฒ่า ” ( หมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช
) ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ เราผู้เป็นมนุษย์จึงควรบูชาคุณของท่านทั้งสามนี้ไว้เหนือเกล้าฯ
ของเราทุกเวลาตลอดชีพของเรา ” (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ)
นอกจากข่าวกุ ซึ่งกำาลังแพร่สะพัดอย่างครึกโครมแล้ว ยังมีพยานเท็จจาก “ ผู้หักหลัง ” คือ
ร.อ.ยุทธ คงอยู่ หรือหลวงสินาด โยธารักษ์ ซึ่งให้การว่าพวก ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์
ในหลวง และจะเปลี่ยนการปกครองเป็นรีปับลิค ( บุคคลผู้นี้ต่อมาได้เป็น พ.อ.พระยากำาแพง
ราม ถูกจับในคดีกบฏบวรเดช และผูกคอตายในคุกบางขวาง )
เมื่อคณะ ร.ศ.130 ถูกจับได้ใหม่ ๆ มีข่าวเป็นที่เชื่อถือได้ว่า ศาลทหารจะตัดสินลงโทษเพียง 3
ปี 5 ปี และว่าในหลวงจะไม่ทรงเอาโทษ แต่ครั้นมีข่าวกุและพยานเท็จดังกล่าว จึงตัดสินโทษ
สถานหนักแต่ถ้าดูจากเหตุผลข้อเท็จจริงในคำาพิพากษาแล้ว ก็ยังต้องถือว่าเป็นการลงโทษ
สถานเบา ดังคำาพิพากษาตอนหนึ่งว่า
“ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารบก นายทหารเรือ รวม 7 นาย เป็น
กรรมการพิจารณาทำาคำาปรึกษาโทษขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีใจความที่วินิจฉัยตามที่
ได้พิจารณาได้ความว่า ผู้ที่ร่วมคิดในสมาคมนี้มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นรี
ปับลิคบ้าง เป็นลิมิเต็ดมอนากีบ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้
นั้น ปรากฏชัดในที่ประชุมถึงการกระทำาประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วย แม้
บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรงที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ ดี แต่ก็ได้
สมรู้เป็นใจกันและช่วยกันปกปิดความเพราะฉะนั้นตามลักษณะความผิดนี้ กระทำาผิดต่อ
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอนที่ 2 มีโทษประหารชีวิตด้วยกันทุกคนไป บางคน
กระทำาผิดมากไม่สมควรลดโทษเลย แต่บางคนกระทำาความผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพ
ให้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรจะลดหย่อนความผิดบ้างอัน
เป็นเหตุให้ควรลดโทษฐานปราณี ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 37 และมาตรา 59 จึง
กำาหนดโทษเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คน ขั้นที่ 2 ลดโทษเพียงจำาคุก
ตลอดชีวิต 20 คน ขั้นที่ 3 ลดโทษลงเพียงจำาคุก มีกำาหนด 20 ปี 32 คน ขั้นที่ 4 ลดโทษลง
เพียงจำาคุก มีกำาหนด 15 ปี 6 คน ขั้นที่ 5 ลดโทษลงเพียงจำาคุกมีกำาหนด 12 ปี 30 คน” (คัด
จากคำาพิพากษาคดี กบฏ ร.ศ.130)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด ดังนี้
“ได้ตรวจคำาพิพากษา ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษ ในคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำาเริบ ลงวันที่
5 พฤษภาคม นั้น ตลอดแล้วเห็นว่ากรรมการพิจารณาลงโทษพวกเหล่านั้นมีข้อสำาคัญที่จะ
ทำาร้ายต่อ ตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษ
โดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำานาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกโทษให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่
มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคำาพิพากษาของกรรมการว่าเป็นโทษขั้นที่ 1 ให้ประหารชีวิตนั้น
ให้จำาคุกตลอดชีวิต” และทรงให้ลดโทษจำาคุกตลอดชีวิตเป็นจำาคุก 20 ปี และที่วางโทษ 20 ปี
15 ปี และ 12 ปีนั้น ให้รอการลงอาญาและจะเห็นได้ตามพระราชวินิจฉัยว่า คำาพิพากษาถือ
เอาการประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดินเป็นความผิดสำาคัญ มิใช่ถือเอาการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองเป็นความผิดสำาคัญ
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงมีพระราชประสงค์จะปลดปล่อยนักโทษคดี ร.ศ.130 ตั้งแต่ติดคุกมา
ได้เพียง 4-5 ปี แต่เจ้านายผู้ใหญ่บางพระองค์ทรงท้วงไว้ จนถึง พ.ศ.2468 จึงได้ทรงปลด
ปล่อยทั้งหมด ก่อนปลดปล่อยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม คือ เจ้าพระยาอภัยราชามหา
ยุติธรรมธรให้นักโทษทำาทัณฑ์บนไว้ว่า “ เมื่อได้รับการปลดปล่อยแล้ว นักโทษการเมืองจะ
ไม่คิดร้ายใด ๆ ต่อองค์พระประมุขของชาติเป็นอันขาด ” นักโทษทุกคนยอมทำาทัณฑ์บนโดย
ไม่มีอะไรแสลงใจ เพราะตรงกับเจตนาของนักโทษการเมืองเหล่านั้นอยู่แล้ว พวกเขาเพียง
แต่ต้องการทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อความก้าวหน้าของประเทศ ชาติ มิได้คิด
ประทุษร้ายหรือเป็นศัตรูต่อองค์พระประมุขของชาติแต่ประการใดเลย และส่วนใหญ่ก็
ต้องการปฏิวัติเพื่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ถ้าคณะ ร.ศ.130 คิดร้าย
ต่อองค์พระประมุขหรือต้องการจะเปลี่ยนการปกครองเป็นรีพับลิคแล้ว พวกเขาจะไม่ยอมทำา
ทัณฑ์บนเช่นนั้น
จึงเห็นได้ว่า การปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งกระทำาโดยข้าราชการระดับล่างและพ่อค้า
ประชาชน เมื่อ ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) นั้นมิได้กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระ
มหากษัตริย์แต่อย่างใด ทุกคนปรารถนาให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
ในระบอบประชาธิปไตย และในเมื่อคนสำาคัญของคณะ ร.ศ.130 ส่วนมากที่สุดเป็นมหาดเล็ก
ของเจ้านายผู้ใหญ่ และบางคนก็เป็นราชองค์รักษ์ผู้เป็นที่โปรดปราน พิจารณาจาก
สามัญสำานึกแล้ว ไม่อาจจะคาดคิดไปได้ว่า ตามนิสัยของคนไทยซึ่งถือความกตัญญูเป็น
ใหญ่ จะคิดร้ายต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือทำาลายสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ แต่ความเป็นจริง
แล้วส่วนมากจะเป็นอย่างทรรศนะของ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ที่ว่า “การร่วมคณะปฏิวัติของ
พระองค์ในภาวะประชาธิปไตยตามสมัยนั่นเอง โดยเห็นว่า การปกครองแบบราชาธิปไตยนี้
จะเป็นยาพิษแก่ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้” (จากบันทึกของ ร.ต.เนตร) เสียมากกว่า
การปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130 มีการเคลื่อนไหวสูงสุดภายหลังการปฏิบัติของ
พรรคก๊กมินตั๋งในประเทศจีนเพียง 1 ปี ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์
และตั้งสาธารณรัฐขึ้นใน ประเทศจีน ข่าวการล้มราชบัลลังก์จีนสร้างความหวั่นวิตกให้แก่
ชาวไทยเมื่อปรากฏการณ์ เคลื่อนไหวของคณะ ร.ศ.130 และมีการข่าวกุแพร่สะพัดว่า พวกนี้
จะประทุษร้ายองค์พระประมุขและจะเปลี่ยนแปลงราชอาณาจาจักรเป็น สาธารณรัฐ ก็ยิ่งเพิ่ม
ความวิตกกังวล นี่คือความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อันเนื่องด้วยการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130
ดังกล่าวในตอนต้นแล้วว่า ความไม่มั่นคงคือความลำาบากยุ่งยากหรือห่วงใย จาก อันตราย
หรือความกลัว
แต่ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คณะ ร.ศ.130 ไม่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์จากการปฏิวัติของคณะ ร.ศ.130 จึงไม่มีความไม่
มั่นคงมีแต่เพียงความห่วงใยจากความกลัว ต่อข่าวกุและข่าวการปฏิวัติในประเทศจีนเท่านั้น
คือกลัวไปว่า คณะ ร.ศ.130 จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่พรรคก๊กมินตั๋ง
ได้กระทำาใน ประเทศจีนเมื่อ พ.ศ.2454
รวมความว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยของข้าราชการระดับล่างและพ่อค้าประชาชนนั้น
ตัวการปฏิวัติไม่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยพระมหากษัตริย์และเจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่เหมือนกัน ต่าง
กันแต่ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์แต่การปฏิวัติของข้า ราชการการ
ระดับร่างและพ่อค้าประชาชนเกิดความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหา กษัตริย์ ด้วยความ
ห่วงใยจากความกลัวไปเอง หาใช่ความห่วงใยที่เกิดจากเหตุการปฏิวัตินั้นจะมีอันตรายต่อ
สถาบันพระมหา กษัตริย์แต่อย่างใดไม่.
(ตอนหนึ่งของบทความ จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร ซึ่งเขียนโดย
นาย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)
edit : thongkrm_virut@yahoo.com
สามัญสำานึกแล้ว ไม่อาจจะคาดคิดไปได้ว่า ตามนิสัยของคนไทยซึ่งถือความกตัญญูเป็น
ใหญ่ จะคิดร้ายต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือทำาลายสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ แต่ความเป็นจริง
แล้วส่วนมากจะเป็นอย่างทรรศนะของ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ที่ว่า “การร่วมคณะปฏิวัติของ
พระองค์ในภาวะประชาธิปไตยตามสมัยนั่นเอง โดยเห็นว่า การปกครองแบบราชาธิปไตยนี้
จะเป็นยาพิษแก่ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้” (จากบันทึกของ ร.ต.เนตร) เสียมากกว่า
การปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130 มีการเคลื่อนไหวสูงสุดภายหลังการปฏิบัติของ
พรรคก๊กมินตั๋งในประเทศจีนเพียง 1 ปี ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์
และตั้งสาธารณรัฐขึ้นใน ประเทศจีน ข่าวการล้มราชบัลลังก์จีนสร้างความหวั่นวิตกให้แก่
ชาวไทยเมื่อปรากฏการณ์ เคลื่อนไหวของคณะ ร.ศ.130 และมีการข่าวกุแพร่สะพัดว่า พวกนี้
จะประทุษร้ายองค์พระประมุขและจะเปลี่ยนแปลงราชอาณาจาจักรเป็น สาธารณรัฐ ก็ยิ่งเพิ่ม
ความวิตกกังวล นี่คือความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อันเนื่องด้วยการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130
ดังกล่าวในตอนต้นแล้วว่า ความไม่มั่นคงคือความลำาบากยุ่งยากหรือห่วงใย จาก อันตราย
หรือความกลัว
แต่ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คณะ ร.ศ.130 ไม่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์จากการปฏิวัติของคณะ ร.ศ.130 จึงไม่มีความไม่
มั่นคงมีแต่เพียงความห่วงใยจากความกลัว ต่อข่าวกุและข่าวการปฏิวัติในประเทศจีนเท่านั้น
คือกลัวไปว่า คณะ ร.ศ.130 จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่พรรคก๊กมินตั๋ง
ได้กระทำาใน ประเทศจีนเมื่อ พ.ศ.2454
รวมความว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยของข้าราชการระดับล่างและพ่อค้าประชาชนนั้น
ตัวการปฏิวัติไม่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยพระมหากษัตริย์และเจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่เหมือนกัน ต่าง
กันแต่ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์แต่การปฏิวัติของข้า ราชการการ
ระดับร่างและพ่อค้าประชาชนเกิดความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหา กษัตริย์ ด้วยความ
ห่วงใยจากความกลัวไปเอง หาใช่ความห่วงใยที่เกิดจากเหตุการปฏิวัตินั้นจะมีอันตรายต่อ
สถาบันพระมหา กษัตริย์แต่อย่างใดไม่.
(ตอนหนึ่งของบทความ จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร ซึ่งเขียนโดย
นาย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)
edit : thongkrm_virut@yahoo.com

More Related Content

More from Thongkum Virut

หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริThongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรThongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการThongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูThongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกThongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยThongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยThongkum Virut
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาThongkum Virut
 
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยThongkum Virut
 
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยThongkum Virut
 
พรรคการเมือง
พรรคการเมืองพรรคการเมือง
พรรคการเมืองThongkum Virut
 
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะThongkum Virut
 
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่Thongkum Virut
 
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยนโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยThongkum Virut
 

More from Thongkum Virut (20)

หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
 
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
 
พรรคการเมือง
พรรคการเมืองพรรคการเมือง
พรรคการเมือง
 
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
ปัญหาทางด้านการเมือง และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะ
 
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่
 
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยนโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
นโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
 

กบฏ ร.ศ.130

  • 1. กบฏ ร.ศ.130 ♦♦การปฏิวัติประชาธิปไตยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีเหตุการณ์ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย เหตุการณ์นั่น คือ ที่เราเรียกว่า กบฏ ร.ศ.130 การปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยข้าราชการระดับล่าง และพ่อค้าประชาชน ครั้งแรก คือการปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งนำาโดยคณะ รศ.130 มี ร.อ.ขุนทวนหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ผู้นำาคนสำาคัญ ๆ ของคณะ เช่น ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ร.ต.จรูญ ษตะ เมต ร.ต.หม่อมราชวงศ์ แซ่ รัชนิกร นาย อุทัย เทพหัสดิน นายเซี้ยง สุวงศ์ นาย บุญเอก ตัน สถิต ฯลฯ คณะ ร.ศ.130 เป็นคนหนุ่ม อายุถัวเฉลี่ย 20 ปี หัวหน้าคือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ อายุ 28 ปี ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ อายุเพียง 18 ปี
  • 2. นายทหารของคณะ ร.ศ.130 เกือบจะทุกคนเป็นมหาดเล็กในกรมหลวงพิษณุโลก นอกนั้น เป็นมหาดเล็กในกรมหลวงนครสวรรค์ กรมหลวงราชบุรี กรมหลวงนครชัยศรี บางคนเป็น เชื้อพระวงศ์ บางคนเป็นข้าหลวงเดิม หรือมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 และกรมหลวงพิษณุโลก ทรงระแคะระคายอยู่แล้ว ถึงการเคลื่อนไหวของคณะนี้เพราะเป็นข่าวที่ไม่เป็นความลับอีกต่อ ไป แต่พระองค์ทรงถือว่าเป็นเรื่องของคนหนุ่มหัวก้าวหน้าและพระองค์ท่านก็ทรงมี พระทัย ใฝ่ทางก้าวหน้าอยู่เหมือนกัน ความมุ่งหมายของคณะ ร.ศ.130 คือ ยกเลิกระบอบพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบพระ มหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งครั้งนั้นหมายถึงระบอบ ประชาธิปไตย คณะ ร.ศ.130 ไม่มีความมุ่งหมายที่ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ สิ่งที่คาดคิดอยู่บ้างก็คือถ้า หากมีความจำาเป็นอย่างที่สุด ก็เปลี่ยนแปลงเพียงองค์พระประมุขเท่านั้น มิใช่เปลี่ยนแปลง สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันประธานาธิบดี แต่ คณะ ร.ศ.130 ก็ไม่เชื่อว่าต้องถึงกับ เปลี่ยนแปลงองค์พระประมุข ดังบันทึกของ ร.ต.เหรียญ และ ร.ต.เนตร ผู้นำาคนสำาคัญของ คณะ ร.ศ.130 กล่าวไว้ว่า “ ไม่เชื่อว่าจะต้องเปลี่ยนองค์พระประมุขของชาติ เพราะคณะมีเหตุผลอย่างสมบูรณ์ที่ทำาให้ ถวายความเชื่อในพระเกียรติยศแห่งองค์ พระประมุขว่า พระองค์ทรงสืบสายโลหิตมาแต่ ตระกูลขัตติยะและทรงศึกษามาจากสำานักที่ทรง เกียรติอันสูงส่ง ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น มารดาแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย..หากคณะจักมีความจำาเป็นที่สุด ที่จะเดินหน้า จนถึงกับจะต้องเปลี่ยนองค์พระประมุขแห่งชาติแล้วไซร้...เช่น ที่เคยมีการปรึกษาหารือกัน ภายในของแต่ละกลุ่มสมาชิกไว้ดังนี้ ฝ่ายทหารบกจะทูลเชิญทูลกระหม่อมจักรพงศ์ ฝ่าย ทหารเรือจะทูลเชิญทูลกระหม่อมบริพัตร และฝ่ายกฎหมายกับพลเรือนจะทูลเชิญในกรม หลวงราชบุรี ” และวิธีการของการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้น คณะ ร.ศ.130 ได้กำาหนดไว้ว่าจะปฏิบัติการ โดยสงบ มิให้มีการต่อสู้กันด้วยกำาลัง โดยคณะปฏิวัติจะเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันถือนำ้าพระ พิพัฒน์สัตยา 1 เมษายน 2455 ดังบันทึกของ ร.ต.เนตร และ ร.ต.เหรียญ กล่าวไว้ว่า “ ยังเหลือเวลาประมาณ 50 วันเท่านั้นก็จะถึงวาระสำาคัญของคณะปฏิวัติที่จะเบิกโรงดำาเนิน การทูลเกล้าทูล กระหม่อมถวายหนังสืออันเป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทย แด่พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระประมุขแห่งชาติด้วยคารวะอย่าง สูง โดยหัวหน้าคณะ ปฏิวัติ ณ ภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ และมวล อำามาตย์ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล คือถือนำ้าพระพิพัฒน์สัตยา ในต้นเดือนเมษายน ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยนั้น โดยมีกำาลัง ทหารทุกเหล่าในพระนครพร้อมด้วยอาวุธ ซึ่งปกติทุกปีมาเคยตั้งแถวเป็นเกียรติยศรับเสด็จ พระราชดำาเนิน ณ สนามหญ้าหลังวัดพระแก้วโดยพร้อมสรรพ และเฉพาะปีนี้ก็พร้อมที่จะฟัง คำาสั่งของคณะปฏิวัติอยู่รอบด้านอีกด้วย เพราะทหารทุกคน ณ ที่นั้นเป็นทหารของคณะ ปฏิวัติแล้วเกือบสิ้นเชิง........ แม้แต่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ที่ถือปืนสวมดาบ ปลายปืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ก็คือทหารคณะ ปฏิวัตินั่นเองตามแผนของ คณะฯ จักไม่มีการต่อสู้กันเลยจากทหารที่ถืออาวุธในพระนคร เพราะหน่วยกำาลังที่จะช่วงใช้ เพื่อรบราฆ่าฟันกันเองจะมีขึ้นไม่ได้เป็นอันขาด แม้นายทัพนายกองชั้นสูงคนใดจะออกคำาสั่ง ก็หาเป็นผลประการใดไม่ ค่าที่หน่วย กำาลังอันแท้จริงของกองกำาลังนั้น ได้ตกอยู่ในกำามือ ของพรรคปฏิวัติดังกล่าว นับแต่ชั้นพลทหารและนายสิบขึ้นไป จนถึงนายทหารผู้บังคับ บัญชา โดยตรงคือชั้นประจำากอง โดยคณะปฏิวัติจำาต้องจัดหน่วยกล้าตายออกคุมจุดสำาคัญ ๆ ในพระนครพร้อมกันเมื่อได้ยิน
  • 3. เสียงกระหึ่มของปืนใหญ่อาณัติสัญญาณลั่นขึ้นใน พระนครสองสามแห่งและพร้อมกันนั้น ต้องใช้กำาลังเข้าขอร้องเชิงบังคับให้นาย ทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนที่เห็นสมควร และชี้ตัวไว้ แล้วมาดำาเนินการร่วมด้วยกับคณะในบางตำาแหน่งโดยขอให้พิจารณา ตัดสินใจทันทีเพื่อ ความเจริญของชาติไทยในสมัยอารยนิยม ” เมื่อตรวจสอบเจตนาและพฤติกรรมของคณะ ร.ศ.130 โดยละเอียดแล้วจะไม่พบเลยว่าคณะ ร.ศ.130 มีความมุ่งหมายจะยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำาเอาสถาบันประธานาธิบดี หรือสถาบันอื่นมาเป็นประมุขของประเทศแทน ตรงกันข้าม จะพบแต่การเชิดชูสถาบันพระ มหากษัตริย์ ทั้งต้องการจะเชิดชูองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สูงส่งยิ่ง ขึ้น ด้วย โดยปรารถนาที่จะให้พระองค์ท่านทรงร่วมมือกับคณะโดยดำารงฐานะพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “ลิมิเต็ดมอนากี” ดังคำาให้การของ ร.อ.ขุนทวย หาญฯ หัวหน้าคณะต่อศาลทหารว่า “ เพียงแต่มีการหารือกันเพื่อทำาหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณให้ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการ ปกครองเป็น ลิมิเต็ดมอนากี นอกจากนั้น สมาชิกของคณะ ร.ศ.130 บางคนเข้าร่วมการปฏิวัติ ประชาธิปไตย ด้วยความหวังที่จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นพระประมุขของสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าฯ ด้วยเห็นว่าการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเป็นภัยแก่พระองค์ท่าน ในจำานวนนั้นมีอยู่คนหนึ่งชื่อ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ผู้บังคับกองร้อยมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงโปรดปราน มาก และ ร.ท.แม้น ก็ถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์เสมอด้วยบิดาบังเกิดเกล้า ร.ต.เนตร บันทึกไว้ว่า “ การร่วมปฏิวัติของเขา ก็คือความหวังที่จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นประมุขของ พระองค์ในภาวะอนาธิปไตย โดยเห็นว่า การปกครองแบบราชาธิปไตยนี้จะเป็นยาพิษแก่ ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้ ” เมื่อทอดพระเนตรเห็น ร.ท.แม้น อยู่ในรายชื่อของคณะ ร.ศ.130 ไม่ทรงเชื่อว่า ร.ท.แม้น จะ ร่วมด้วย และรับสั่งกับทูลกระหม่อมจักรพงษ์ว่า “ ถ้าไอ้แม้นไปกับพวกเขาด้วย ก็ต้องเฆี่ยน หลังมันเสีย ” รับสั่งนี้ไปเข้าหู ร.ท.แม้น ในคุก เข้าจึงเขียนจดหมายซุกซ่อนไปในอาหารที่รับประทาน เหลือถึงบิดาของเขา ขอให้วิ่งเต้นด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งวิธีไสยศาสตร์เพื่อไม่ให้เขาถูกเฆี่ยน หลังเพราะถือว่า การถูกเฆี่ยนหลังเป็นการเสื่อมด้วยเกียรติของชายชาตินักรบ ตลอดทั้งวงศ์ ตระกูลด้วย แม้แต่จะลงพระราชอาญาประหารชีวิตก็ไม่ว่า จดหมายนี้ผู้คุมจับได้ และส่งขึ้น ไปตามลำาดับจนถึงในหลวง เพียงไม่กี่วันต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งไปตาม ถนนราชดำาเนินทอดพระเนตรเห็น ร.ต.ฟู ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของ ร.ท.แม้น จึงรับสั่งให้ หยุดรถพระที่นั่งและกวักพระหัตถ์ให้ ร.ต.ฟู เข้าเฝ้าฯ ณ กลางถนนนั้นรับสั่งว่า “ เอ็งไปบอก เจ้าแม้นมันว่า ข้าเลิกเฆี่ยนหลังแล้ว มันจะได้สบายใจ ” ชาวคณะ ร.ศ.130 ทุกคนยืนยันว่า ข่าวที่ว่าคณะ ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นข่าวกุ เมื่อ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง ผู้นำาคนหนึ่งของคณะได้ทราบ ข่าวนี้ คิดว่าเป็นเรื่องจริง จึงเขียนจดหมายถึงพรรคพวกที่อยู่นอกคุกแช่งด่าพวกนั้นอย่าง รุนแรงและเรียก ร้องให้สมนาคุณบุคคลต่าง ๆ อันประกอบด้วย K ( หมายถึงพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ) “ เจ้าพ่อนโปเลียน ” ( หมายถึงเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก ประชานาถ ) และ “ วังบูรพาผู้เฒ่า ” ( หมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ) ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ เราผู้เป็นมนุษย์จึงควรบูชาคุณของท่านทั้งสามนี้ไว้เหนือเกล้าฯ ของเราทุกเวลาตลอดชีพของเรา ” (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ) นอกจากข่าวกุ ซึ่งกำาลังแพร่สะพัดอย่างครึกโครมแล้ว ยังมีพยานเท็จจาก “ ผู้หักหลัง ” คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ หรือหลวงสินาด โยธารักษ์ ซึ่งให้การว่าพวก ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์ ในหลวง และจะเปลี่ยนการปกครองเป็นรีปับลิค ( บุคคลผู้นี้ต่อมาได้เป็น พ.อ.พระยากำาแพง ราม ถูกจับในคดีกบฏบวรเดช และผูกคอตายในคุกบางขวาง )
  • 4. เมื่อคณะ ร.ศ.130 ถูกจับได้ใหม่ ๆ มีข่าวเป็นที่เชื่อถือได้ว่า ศาลทหารจะตัดสินลงโทษเพียง 3 ปี 5 ปี และว่าในหลวงจะไม่ทรงเอาโทษ แต่ครั้นมีข่าวกุและพยานเท็จดังกล่าว จึงตัดสินโทษ สถานหนักแต่ถ้าดูจากเหตุผลข้อเท็จจริงในคำาพิพากษาแล้ว ก็ยังต้องถือว่าเป็นการลงโทษ สถานเบา ดังคำาพิพากษาตอนหนึ่งว่า “ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารบก นายทหารเรือ รวม 7 นาย เป็น กรรมการพิจารณาทำาคำาปรึกษาโทษขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีใจความที่วินิจฉัยตามที่ ได้พิจารณาได้ความว่า ผู้ที่ร่วมคิดในสมาคมนี้มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นรี ปับลิคบ้าง เป็นลิมิเต็ดมอนากีบ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ นั้น ปรากฏชัดในที่ประชุมถึงการกระทำาประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วย แม้ บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรงที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ ดี แต่ก็ได้ สมรู้เป็นใจกันและช่วยกันปกปิดความเพราะฉะนั้นตามลักษณะความผิดนี้ กระทำาผิดต่อ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอนที่ 2 มีโทษประหารชีวิตด้วยกันทุกคนไป บางคน กระทำาผิดมากไม่สมควรลดโทษเลย แต่บางคนกระทำาความผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพ ให้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรจะลดหย่อนความผิดบ้างอัน เป็นเหตุให้ควรลดโทษฐานปราณี ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 37 และมาตรา 59 จึง กำาหนดโทษเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คน ขั้นที่ 2 ลดโทษเพียงจำาคุก ตลอดชีวิต 20 คน ขั้นที่ 3 ลดโทษลงเพียงจำาคุก มีกำาหนด 20 ปี 32 คน ขั้นที่ 4 ลดโทษลง เพียงจำาคุก มีกำาหนด 15 ปี 6 คน ขั้นที่ 5 ลดโทษลงเพียงจำาคุกมีกำาหนด 12 ปี 30 คน” (คัด จากคำาพิพากษาคดี กบฏ ร.ศ.130) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด ดังนี้ “ได้ตรวจคำาพิพากษา ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษ ในคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำาเริบ ลงวันที่ 5 พฤษภาคม นั้น ตลอดแล้วเห็นว่ากรรมการพิจารณาลงโทษพวกเหล่านั้นมีข้อสำาคัญที่จะ ทำาร้ายต่อ ตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษ โดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำานาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกโทษให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่ มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคำาพิพากษาของกรรมการว่าเป็นโทษขั้นที่ 1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้จำาคุกตลอดชีวิต” และทรงให้ลดโทษจำาคุกตลอดชีวิตเป็นจำาคุก 20 ปี และที่วางโทษ 20 ปี 15 ปี และ 12 ปีนั้น ให้รอการลงอาญาและจะเห็นได้ตามพระราชวินิจฉัยว่า คำาพิพากษาถือ เอาการประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดินเป็นความผิดสำาคัญ มิใช่ถือเอาการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองเป็นความผิดสำาคัญ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงมีพระราชประสงค์จะปลดปล่อยนักโทษคดี ร.ศ.130 ตั้งแต่ติดคุกมา ได้เพียง 4-5 ปี แต่เจ้านายผู้ใหญ่บางพระองค์ทรงท้วงไว้ จนถึง พ.ศ.2468 จึงได้ทรงปลด ปล่อยทั้งหมด ก่อนปลดปล่อยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม คือ เจ้าพระยาอภัยราชามหา ยุติธรรมธรให้นักโทษทำาทัณฑ์บนไว้ว่า “ เมื่อได้รับการปลดปล่อยแล้ว นักโทษการเมืองจะ ไม่คิดร้ายใด ๆ ต่อองค์พระประมุขของชาติเป็นอันขาด ” นักโทษทุกคนยอมทำาทัณฑ์บนโดย ไม่มีอะไรแสลงใจ เพราะตรงกับเจตนาของนักโทษการเมืองเหล่านั้นอยู่แล้ว พวกเขาเพียง แต่ต้องการทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อความก้าวหน้าของประเทศ ชาติ มิได้คิด ประทุษร้ายหรือเป็นศัตรูต่อองค์พระประมุขของชาติแต่ประการใดเลย และส่วนใหญ่ก็ ต้องการปฏิวัติเพื่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ถ้าคณะ ร.ศ.130 คิดร้าย ต่อองค์พระประมุขหรือต้องการจะเปลี่ยนการปกครองเป็นรีพับลิคแล้ว พวกเขาจะไม่ยอมทำา ทัณฑ์บนเช่นนั้น จึงเห็นได้ว่า การปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งกระทำาโดยข้าราชการระดับล่างและพ่อค้า ประชาชน เมื่อ ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) นั้นมิได้กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระ มหากษัตริย์แต่อย่างใด ทุกคนปรารถนาให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย และในเมื่อคนสำาคัญของคณะ ร.ศ.130 ส่วนมากที่สุดเป็นมหาดเล็ก ของเจ้านายผู้ใหญ่ และบางคนก็เป็นราชองค์รักษ์ผู้เป็นที่โปรดปราน พิจารณาจาก
  • 5. สามัญสำานึกแล้ว ไม่อาจจะคาดคิดไปได้ว่า ตามนิสัยของคนไทยซึ่งถือความกตัญญูเป็น ใหญ่ จะคิดร้ายต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือทำาลายสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ แต่ความเป็นจริง แล้วส่วนมากจะเป็นอย่างทรรศนะของ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ที่ว่า “การร่วมคณะปฏิวัติของ พระองค์ในภาวะประชาธิปไตยตามสมัยนั่นเอง โดยเห็นว่า การปกครองแบบราชาธิปไตยนี้ จะเป็นยาพิษแก่ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้” (จากบันทึกของ ร.ต.เนตร) เสียมากกว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130 มีการเคลื่อนไหวสูงสุดภายหลังการปฏิบัติของ พรรคก๊กมินตั๋งในประเทศจีนเพียง 1 ปี ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และตั้งสาธารณรัฐขึ้นใน ประเทศจีน ข่าวการล้มราชบัลลังก์จีนสร้างความหวั่นวิตกให้แก่ ชาวไทยเมื่อปรากฏการณ์ เคลื่อนไหวของคณะ ร.ศ.130 และมีการข่าวกุแพร่สะพัดว่า พวกนี้ จะประทุษร้ายองค์พระประมุขและจะเปลี่ยนแปลงราชอาณาจาจักรเป็น สาธารณรัฐ ก็ยิ่งเพิ่ม ความวิตกกังวล นี่คือความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อันเนื่องด้วยการปฏิวัติ ประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130 ดังกล่าวในตอนต้นแล้วว่า ความไม่มั่นคงคือความลำาบากยุ่งยากหรือห่วงใย จาก อันตราย หรือความกลัว แต่ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คณะ ร.ศ.130 ไม่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์จากการปฏิวัติของคณะ ร.ศ.130 จึงไม่มีความไม่ มั่นคงมีแต่เพียงความห่วงใยจากความกลัว ต่อข่าวกุและข่าวการปฏิวัติในประเทศจีนเท่านั้น คือกลัวไปว่า คณะ ร.ศ.130 จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่พรรคก๊กมินตั๋ง ได้กระทำาใน ประเทศจีนเมื่อ พ.ศ.2454 รวมความว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยของข้าราชการระดับล่างและพ่อค้าประชาชนนั้น ตัวการปฏิวัติไม่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับการปฏิวัติ ประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยพระมหากษัตริย์และเจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่เหมือนกัน ต่าง กันแต่ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์แต่การปฏิวัติของข้า ราชการการ ระดับร่างและพ่อค้าประชาชนเกิดความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหา กษัตริย์ ด้วยความ ห่วงใยจากความกลัวไปเอง หาใช่ความห่วงใยที่เกิดจากเหตุการปฏิวัตินั้นจะมีอันตรายต่อ สถาบันพระมหา กษัตริย์แต่อย่างใดไม่. (ตอนหนึ่งของบทความ จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร ซึ่งเขียนโดย นาย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร) edit : thongkrm_virut@yahoo.com
  • 6. สามัญสำานึกแล้ว ไม่อาจจะคาดคิดไปได้ว่า ตามนิสัยของคนไทยซึ่งถือความกตัญญูเป็น ใหญ่ จะคิดร้ายต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือทำาลายสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ แต่ความเป็นจริง แล้วส่วนมากจะเป็นอย่างทรรศนะของ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ที่ว่า “การร่วมคณะปฏิวัติของ พระองค์ในภาวะประชาธิปไตยตามสมัยนั่นเอง โดยเห็นว่า การปกครองแบบราชาธิปไตยนี้ จะเป็นยาพิษแก่ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้” (จากบันทึกของ ร.ต.เนตร) เสียมากกว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130 มีการเคลื่อนไหวสูงสุดภายหลังการปฏิบัติของ พรรคก๊กมินตั๋งในประเทศจีนเพียง 1 ปี ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และตั้งสาธารณรัฐขึ้นใน ประเทศจีน ข่าวการล้มราชบัลลังก์จีนสร้างความหวั่นวิตกให้แก่ ชาวไทยเมื่อปรากฏการณ์ เคลื่อนไหวของคณะ ร.ศ.130 และมีการข่าวกุแพร่สะพัดว่า พวกนี้ จะประทุษร้ายองค์พระประมุขและจะเปลี่ยนแปลงราชอาณาจาจักรเป็น สาธารณรัฐ ก็ยิ่งเพิ่ม ความวิตกกังวล นี่คือความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อันเนื่องด้วยการปฏิวัติ ประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ.130 ดังกล่าวในตอนต้นแล้วว่า ความไม่มั่นคงคือความลำาบากยุ่งยากหรือห่วงใย จาก อันตราย หรือความกลัว แต่ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คณะ ร.ศ.130 ไม่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์จากการปฏิวัติของคณะ ร.ศ.130 จึงไม่มีความไม่ มั่นคงมีแต่เพียงความห่วงใยจากความกลัว ต่อข่าวกุและข่าวการปฏิวัติในประเทศจีนเท่านั้น คือกลัวไปว่า คณะ ร.ศ.130 จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่พรรคก๊กมินตั๋ง ได้กระทำาใน ประเทศจีนเมื่อ พ.ศ.2454 รวมความว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยของข้าราชการระดับล่างและพ่อค้าประชาชนนั้น ตัวการปฏิวัติไม่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับการปฏิวัติ ประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยพระมหากษัตริย์และเจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่เหมือนกัน ต่าง กันแต่ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์แต่การปฏิวัติของข้า ราชการการ ระดับร่างและพ่อค้าประชาชนเกิดความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหา กษัตริย์ ด้วยความ ห่วงใยจากความกลัวไปเอง หาใช่ความห่วงใยที่เกิดจากเหตุการปฏิวัตินั้นจะมีอันตรายต่อ สถาบันพระมหา กษัตริย์แต่อย่างใดไม่. (ตอนหนึ่งของบทความ จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร ซึ่งเขียนโดย นาย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร) edit : thongkrm_virut@yahoo.com