SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
The 5th
Annual International Forum
– Regional Energy Alliance: Regulators' Insights
และ The 1st
AERN Capacity Building
ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2558
จัดทาโดย ฝ่าย กส. สานักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน
2
สารบัญ
การประชุม The 5th
Annual International Forum
1. บทนา
1.1 Report to the Minister of Energy by Chairman of ERC
1.2 Keynote Speech by Minister of Energy of the Kingdom of Thailand
2. สรุปผลการประชุม The 5th
Annual International Forum
2.1 การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
(Regional Integration in ASEAN)
2.1.1 การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนผ่านมุมมองขององค์กรทางด้านกิจการ
ไฟฟ้าของอาเซียน-HAPUA (HAPUA & Progress Power Trade& Energy Outlook
in ASEAN พร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางการดาเนินงานในอนาคต)
2.1.2 การให้การสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงข่าย
ไฟฟ้าของอาเซียนผ่านความร่วมมือภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรกากับ
กิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Power Grid & AERN)
2.1.3 ความคืบหน้าโครงการนาร่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจาก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังสิงคโปร์ (LTMS: PIP)
2.2 กระบวนทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค:
กรณีศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ (Regional Integration Paradigm and Regional Trade
Agreement Model)
2.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศ
Cross-border Trade Experience Sharing & Regional Regulatory Development
2.3.1 กรณีศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรป (EU case)
2.3.2 กรณีศึกษาในกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean case)
3
5
6
8
9
15
18
3. การประชุม The 1st
AERN Capacity Building
3.1 สรุปผลประชุม The 1st
AERN Capacity Building
อภิธานศัพท์สาหรับองค์ความรู้การกากับกิจการพลังงาน
25
33
3
สรุปผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
“The 5th
Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
วันที่ 1 ตุลาคม 2558
1. บทนา
คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย กกพ. ได้ให้ความสาคัญต่อการเตรียมพร้อม สร้างความ
ตระหนักรู้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงาน และผลักดันการดาเนินงานตามพันธกรณีของสมาชิกอาเซียน
รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง ความร่วมมือกากับกิจการพลังงานอาเซียน (ASEAN Energy Regulators’ Network -
AERN) โดยมุ่งสร้างความร่วมมือด้านการกากับกิจการพลังงานเพื่อความมั่นคง ตลอดจนร่วมกันกาหนด
ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการพลังงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งด้าน
พลังงานนับเป็นด้านหนึ่งที่จะมีความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ตาม Blueprint ของ AEC โดยจะเน้นความร่วมมือ
ในด้านการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานให้ทั่วถึงกัน ทั้งการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN
Power Grid: APG) และการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline: TAGP)
ซึ่งแนวคิดด้านความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน ได้เริ่มมีการจุดประกายขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ตามความ
ตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน และความตกลงเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานอาเซียน
(ASEAN Petroleum Security Agreement: APSA) เพื่อสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาและการใช้
พลังงานในภูมิภาค โดยมีโครงสร้างความร่วมมือ อันได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนและการ
ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ศูนย์พลังงานอาเซียน และคณะทางานด้านพลังงานอื่นๆ
ในปัจจุบัน ซึ่งดาเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานล่าสุดในช่วงปี
พ.ศ. 2559 - 2568 (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC 2016-2025) มีโครงการ
หลักที่สาคัญ 7 สาขาด้วยกัน ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN Power Grid:
APG) 2) การเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline: TAGP) 3) เทคโนโลยี
ถ่านหินและถ่านหินสะอาด (Coal and Clean Coal Technology) 4) พลังงานหมุนเวียน (Renewable
Energy: RE) 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอนุรักษ์ (Energy Efficiency and Conservation:
EE&C) 6) นโยบายและการวางแผนพลังงานภูมิภาค (Regional Energy Policy and Planning) และ 7)
พลังงานนิวเคลียร์ (Civilian Nuclear Energy)
สาหรับบทบาทในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ กกพ. ได้มี
นโยบายในการจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการเป็นประจาทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 และได้ผลักดันการจัดตั้ง
หน่วยงานความร่วมมือ ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยการจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ และการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ
AERN ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานกากับกิจการพลังงาน
ภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจน
ความคิดเห็นในการพัฒนาการกากับกิจการพลังงานของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมระดับสากล ระหว่าง
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียด้านพลังงานทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นไปตามอานาจหน้าที่ของ กกพ. ตามมาตรา 11 แห่ง
4
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งที่ผ่านมา กกพ. ได้จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
ฯ มาแล้ว จานวน 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีการเลือกหัวข้อการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการฯ ที่มีความน่าสนใจ
และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ ดังนี้
- ครั้งที่ 1: “งานกากับกิจการพลังงาน กับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก” เมื่อ
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
- ครั้งที่ 2: “Regulatory and the Energy Sustainability” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554
- ครั้งที่ 3: “Energy Regulation & the Promotion of Energy Conservation” เมื่อวันที่ 2
มีนาคม 2555 และ The 1st
ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555
- ครั้งที่ 4: “Interconnectivity and Cross-Border Trade” เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556
ในปี พ.ศ. 2558 กกพ. จะจัดการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ครั้งที่ 5
เพื่อเพิ่มและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายด้านการกากับกิจการพลังงานและด้านพลังงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และเป็นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์
ความรู้และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านพลังงานและการกากับกิจการพลังงานระหว่างกันของผู้แทนจาก
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ผู้แทนจากประเทศสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง
องค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AERN) และผู้มีส่วนได้เสียจากการประกอบ
กิจการพลังงานทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและความรู้ต่างๆ ที่จะได้จากการ
จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการในครั้งนี้จะนามาซึ่งประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดาเนินงาน
โดยเฉพาะด้านการกากับกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป
วัตถุประสงค์ของการจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงาน ครั้งที่ 5 มีดังนี้
- สร้างองค์ความรู้ในบริบทของการถ่ายเทและเชื่อมโยงพลังงานระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค
- เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เรื่องโครงข่ายพลังงานข้ามประเทศ และแนวทางการกากับ
กิจการข้ามพรมแดนทั้งในเรื่องเทคนิคและการซื้อขายเชิงพาณิชย์
- เตรียมความพร้อมและยกระดับการกาหนดหลักเกณฑ์การกากับกิจการที่เกี่ยวข้อง
- เปิดโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อสนับสนุนกิจการงานด้านการซื้อขายข้ามพรมแดน
นอกจากนี้ กกพ. ยังได้จัดการประชุมต่อเนื่อง “การอบรมสัมมนา AERN Capacity Building
Program on Energy Regulation” ในวันที่ 2 ตุลาคม 2558 เป็นการดาเนินงานภายใต้แผน AERN
Roadmap 2015 – 2025 โดยมีเนื้อหาหลักในการอบรมบุคลากรในแวดวงพลังงาน ประกอบด้วย การบูรณา
การโครงข่ายพลังงาน (Integrating Energy Networks) จากกรณีศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรีย และ
อิตาลี การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน และปฏิรูปตลาดพลังงาน (Experience of Power Sector Reforms)
และบทบาทของหน่วยงานกากับดูแล (Roles of Regulator)
5
1.1 Report to the Minister of Energy by Chairman of ERC
นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน
กล่าวรายงานต่อ ฯพณฯ พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยได้ต้อนรับผู้เข้าร่วมเข้าสู่งาน
The 5th
Annual International Forum —
"Regional Energy Alliance: Regulators' Insights"
และกล่าวแสดงความยินดีที่ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการประชุมในครั้งนี้
ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการ
จัดงานและได้กล่าวถึงปัญหาความท้าทายเรื่องพลังงานที่ต้องให้
สอดรับกับทิศทางและความรวดเร็วของการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ เป็นความท้าทายที่ไม่ได้จากัดอยู่แค่ระดับชาติ โดยได้ยกตัวอย่างความร่วมมือภายใต้เป้าหมายร่วมกัน
ขององค์กรกากับกิจการพลังงานทั่วโลกได้รวมตัวกันในการประชุม World Forum on Energy Regulation
ครั้งที่ 4 ในปี 2552 หรือ WFER ในหัวข้อเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านพลังงาน ซึ่งถือเป็นการประชุมที่สาคัญที่สุด
ของโลก ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยผลการประชุม คือ การจัดตั้งสมาพันธ์หน่วยงานกากับดูแลด้าน
พลังงานจาก ทั่วโลก (International Confederation of Energy Regulators มีสมาชิกกว่า 77 ประเทศเพื่อ
ร่วมกันพัฒนาภาพรวมของอุตสาหกรรมพลังงานโดยเฉพาะในบริบทของแต่ละภูมิภาค โดยประธานกรรมการ
กากับกิจการพลังงานได้แจ้งว่า ในภูมิภาคอาเซียนมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงาน
(ASEAN Energy Regulators’ Network: AERN) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งประเทศไทย โดย กกพ. ได้เป็น
เจ้าภาพจัดการประชุม AERN ครั้งแรกในปีดังกล่าว และได้ผลักดันการดาเนินงานตามพันธกรณีของสมาชิก
อาเซียน เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
นอกจากนี้ กกพ. ได้จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศเป็นประจาทุกปี
เพื่อการเตรียมความพร้อมและยกระดับการกาหนดหลักเกณฑ์การกากับกิจการพลังงานที่เกี่ยวข้องและเปิด
โอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อสนับสนุนการซื้อขายพลังงานข้ามพรมแดน ตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนัก
ถึงความสาคัญของความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงาน และผลักดันการดาเนินงานตาม
พันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเป็นการประชุมในปีนี้ เป็นครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อหลักคือ "Regional
Energy Alliance: Regulators' Insights" ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นร่วมกันในภูมิภาค จากการเปิดเป็นประชาคม
อาเซียน โดยเฉพาะในด้านความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีสาคัญสาหรับการ
หารือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการด้านพลังงานจากประสบการณ์จาก
นานาชาติ อาทิ บริบทของการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน กระบวน
ทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้า โดยมีกรณีศึกษาจากประเทศนิวซีแลนด์
กรณีศึกษาจากกลุ่มประเทศยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งในด้านแนวคิด หลักการ กฎระเบียบกติกา เพื่อให้
เกิดการเชื่อมโยงโครงข่าย รวมทั้งการกากับดูแลตลาดพลังงานในภูมิภาค การร่วมกันมองไปข้างหน้าและ
พิจารณาแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ที่ทุกประเทศต้องเผชิญร่วมกัน โดยการประชุมวันนี้เป็นเวที
วิชาการที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติที่ดีแก่กัน
6
1.2 Keynote Speech by Minister of Energy of the Kingdom of Thailand
ผู้กล่าวเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ Keynote Speech เรื่อง
“The Power Integration: Regional Opportunities on Cross-
Border Power Trade” ของ พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวเปิดประชุมฯโดยสรุป
สาระสาคัญได้ดังนี้ กระทรวงพลังงาน ในฐานะผู้กาหนดนโยบายด้าน
พลังงานของประเทศ ได้เล็งเห็นความสาคัญในการเชื่อมโยงโครงสร้าง
พลังงาน และมีความพยายามในการดาเนินการต่างๆ ที่จะให้พลังงาน
ของชาติมีความมั่นคง มีประสิทธิภาพ อย่างสอดคล้อง เหมาะสมกับ
สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยกระทรวงได้มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานของประเทศ และการพัฒนา
พลังงานความร่วมมือด้านพลังงานกับอาเซียน โดยการส่งเสริมและกาหนดบทบาทให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริหารจัดการในการเชื่อมต่อโครงข่ายเรื่องนโยบาย เรื่องกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ซึ่งเป็น
งานหลักของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกากับกิจการพลังงานกาลังดาเนินการอยู่ในปัจจุบัน
ในภาพรวม ความพยายามในการผลักดันความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานใน
ระดับอาเซียน เป็นการดาเนินตามแผนรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นโยบายและกฎการ
กากับต้องไปด้วยกัน ซึ่งเป็นไปตามผล ASEAN Ministers on Energy Meeting หรือ AMEM ล่าสุด ครั้งที่ 32
ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และ APAEC 2016-2020 และเพื่อจะบรรลุ
วัตถุประสงค์ของ AEC ประเทศสมาชิกต้อง
สร้าง “connectivity” การบริหารจัดการ
ด้าน Supply Side ระดับนานาชาติ การเพิ่ม
และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายด้าน
การกากับกิจการพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพ
โปร่งใส มีราคาที่เป็นธรรม พลังงานมีคุณภาพ
มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการ
ใช้พลังงานที่ยั่งยืน และมั่นคงต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ ปัจจุบันการมีพระราชบัญญัติการประกอบ
กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการสร้างความมั่นคงในอุตสาหกรรมพลังงาน ภายใต้กฎหมาย
ฉบับนี้ ก็ได้กาหนดให้มีคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยมีตัวอย่าง
ผลงานหนึ่งที่สาคัญคือ การผลักดันการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือกากับกิจการพลังงานอาเซียน (ASEAN
Energy Regulators’ Network : AERN) โดยมุ่งสร้างความร่วมมือด้านพลังงานและความมั่นคง รวมทั้งความ
ได้เปรียบในการแข่งขันของภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกต่างๆ ตลอดจนร่วมกันกาหนดยุทธศาสตร์ด้านการ
บริหารจัดการพลังงานสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งด้านพลังงานนับเป็นด้านหนึ่งที่จะมีความร่วมมือภายใต้
7
วิสัยทัศน์ตาม Blueprint ของ AEC โดยจะเน้นความร่วมมือในด้านการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานให้
ทั่วถึงกัน ทั้งการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) และการเชื่อมโยงท่อส่ง
ก๊าซธรรมชาติของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline: TAGP) ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการกากับกิจการ
พลังงาน ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จะมีผลอย่างยิ่งต่อความสาเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน
ของประเทศและของภูมิภาคไปสู่ระดับนานาชาติ ปัจจัยสู่ความสาเร็จของนโยบายต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ต้อง
อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กกพ. และกระทรวงพลังงานจะสนับสนุนให้ดาเนินงานด้านการเชื่อมโยง
โครงข่ายพลังงานมีกลไกที่เหมาะสม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เน้นย้าถึงความร่วมมือด้านภูมิภาค
ร่วมกันว่า “ ASEAN is our home, our region, and with integration, we are stronger together.”
8
2. สรุปผลการประชุม The 5th
Annual International Forum
เนื้อหาของการประชุมฯ จะครอบคลุมประเด็นสาคัญภายใต้กรอบการประชุม 3 ช่วงหลัก (Session) ดังนี้
 SESSION I: Regional Integration in ASEAN
ช่วงที่ 1: การเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้า
ของอาเซียนผ่านมุมมองขององค์กรทางด้านกิจการไฟฟ้าของอาเซียน หรือ “HAPUA” พร้อมข้อเสนอแนะและ
แนวทางการดาเนินงานในอนาคต, การให้การสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนผ่านความ
ร่วมมือภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือ ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) และแนวทางการดาเนินงาน รวมทั้งหัวข้อสุดท้ายเรื่อง
LTMS: PIP ทั้งนี้ LTMS ย่อมาจาก Laos, Thailand, Malaysia and Singapore หรือ ความคืบหน้าโครงการ
นาร่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังสิงคโปร์
(Power Integration Project to for cross border power trade from Lao PDR to Singapore)
 SESSION II: Regional Integration Paradigm and Regional Trade Agreement Model
ช่วงที่ 2: กระบวนทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค: กรณีศึกษา
ประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการและการผลิตไฟฟ้าในระดับภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ
(Efficiently integrate regionally dispersed electricity generation), การจัดการและคานวณราคาสายส่ง
ไฟฟ้า (Pricing the provision of transmission assets) การวิเคราะห์ต้นทุนผันแปร (The use of marginal
locational prices)
 SESSION III: Cross-border Trade Experience Sharing & Regional Regulatory Development
ช่วงที่ 3: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย
กรณีศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ในหัวข้อเรื่องกฎระเบียบและการสอดประสานของตลาด
ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในยุโรป การกากับการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างประเทศ และรายงานการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐานและบทบาทของหน่วยงานกากับดูแลอิสระเพื่อส่งเสริมการลงทุนโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดน
ของประเทศในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน
9
2.1 การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Regional Integration in ASEAN)
การสัมมนา Session 1 แบบอภิปราย (Panel Session) โดยมีผู้ดาเนินรายการ (Moderator) คือ
ดร.ภูวนารถ ชุณหปราณ ผู้ชานาญการพิเศษ ฝ่ายวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม จาก สานักงาน
คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (สานักงาน กกพ.) โดยดาเนินการสรุปเหตุผลหลักในการเชื่อมโยงโครงข่าย
เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรด้านพลังงานร่วมกันให้เกิดความมั่นคงและประโยชน์สูงสุด อย่างไร
ก็ดี การสร้างระบบเชื่อมโยงพลังงานกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ประกอบด้วย นโยบาย กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง
กับองค์กร หน่วยงานต่างๆ โดยเวทีนี้ หัวข้อแรกจะรวบรวมเรื่องที่ความสาคัญ เพื่อให้ได้รับความรู้ ทาความ
เข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องและรอบด้าน
ทั้งนี้ สาระสาคัญของการประชุมแบ่งตามช่วงการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้
2.1.1 การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนผ่านมุมมองขององค์กรทางด้านกิจการไฟฟ้าของอาเซียน
(HAPUA) พร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางการดาเนินงานในอนาคต (HAPUA & Progress Power Trade&
Energy Outlook in ASEAN)
ผู้บรรยาย: Mr. Bambang Hermawanto, Chairman of ASEAN Power Grid Consultative Committee
Mr. Bambang ให้ข้อมูลนาเสนอภาพรวมการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้า ของแต่ละประเทศในเขตภูมิภาค
อาเซียน (Overview of ASEAN Electricity Outlook) ว่ามีความโดดเด่นและมีศักยภาพสูงเรื่องพลังงาน
หมุนเวียน แต่สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในอาเซียนยังใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก
รูปที่ 1 กาลังผลิตติดตั้งของภูมิภาคอาเซียน
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Bambang
10
โดยลักษณะทางกายภายมีศักยภาพแหล่งพลังงานกระจายกันในภูมิภาค ประกอบไปด้วย พลังงานฟอสซิล
(Fossil Energy) และ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Sources) ได้แก่
1) น้ามัน (Oil) และ ก๊าซ (Gas) จะพบมากใน บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า
ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม
2) ถ่านหิน (Coal) พบมากใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม
3) พลังงานน้า (Hydro) พบมากใน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
4) พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal) พบมากใน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
5) พลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar) พบมากในทุกประเทศทั่วภูมิภาค
6) พลังงานลม (Wind) มีศักยภาพจากัด
7) พลังงานชีวมวล (Biomass) พบมากในทุกประเทศทั่วภูมิภาคต่างกันที่ประเภทและปริมาณ
ต่อมา Mr. Bambang ได้อธิบายความเป็นมาของแนวคิดของ ASEAN Power Grid หรือ APG เกิดจาก
ความคิดที่ว่าภูมิภาคอาเซียนมีความหลากหลายของทรัพยากรที่แตกต่างกัน โดยทางตอนเหนือของอาเซียนมี
พลังน้าอันมหาศาลจึงมีศักยภาพในการนาน้ามาใช้ผลิตไฟฟ้า ความสาคัญของการจัดตั้งโครงการ ASEAN
Power Grid (APG) โดยเมื่อปี 1999 (พ.ศ.2542) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (AMEM) ครั้งที่ 17
ณ ประเทศไทย ได้บรรจุโครงการ APG ได้เข้าสู่แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (APAEC
1999-2044) และรัฐมนตรีพลังงานของอาเซียนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการการเชื่อมโยงโครงข่าย
ระบบไฟฟ้าของอาเซียน ณ ประเทศสิงค์โปร์ (MOU of APG-2007) ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่มความมั่นคง และ
ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ได้รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และการปฏิบัติการของ
ระบบไฟฟ้า ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 (ASEAN Vision 2020)
โดยวิธีการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของโครงการ APG นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีการ คือ 1. การเพิ่มความ
สามารถในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ 2. การเพิ่มความหลากหลายของแหล่งผลิตพลังงาน 3. การลดเงิน
ลงทุนในการขยายโรงไฟฟ้า (Significant saving in CAPEX & OPEX) ซึ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อประเมิน
เป็นจานวนเงินนั้นได้ถูกแสดงในรูป
รูปที่ 2 ค่าใช้จ่ายก่อนและหลังการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายภายใต้ของโครงการ APG
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Bambang
Mr. Bambang ได้ชี้แจงสถานะของการเชื่อมต่อโครงข่าย (Update List of APG Projects) ว่ามีทั้งหมด
16 โครงการ โดยแบ่งเป็น โครงการที่ดาเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วทั้งหมด 11 cross borders รวม 3.489
GW กาลังก่อสร้าง (COD 2018/19) จานวน 10 cross borders รวม 7.192 GW และโครงการเพิ่มเติมอยู่ใน
ขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ (Beyond 2020) 17 cross borders รวม 25.424 GW
11
รูปที่ 3 สถานะของโครงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าอาเซียนตามโครงการ APG
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Bambang
สุดท้าย Mr.Bambang กล่าวว่า ปัจจัย 4 ขั้นตอนสาคัญสู่การเชื่อมต่อระดับภูมิภาคคือการวางแผนสาหรับ
พัฒนาระบบการค้าพหุภาคี (Multilateral Trading) ประกอบด้วย
 การเร่งพัฒนาโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อการซื้อขายแบบทวิภาคี
(Accelerate the development of the Bilateral Cross Border Power Interconnection
projects) การยึดมั่นในพันธกรณีของแต่ละประเทศ ที่จะต้องปฏิบัติตามแผนโครงการ
 การเตรียมจัดตั้งองค์กร/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง APG (Preparation of the Formation of the ASEAN
Power Grid Institutions) การสร้างสังคมกฎระเบียบให้เกิดขึ้นในอาเซียน ได้แก่ ATSO, ATGP, APG
เพื่อกากับการซื้อขายแบบพหุภาคี (Regulator to regulate and control the Multilateral
Trading) ซึ่ง AERN สามารถเข้ามามีบทบาทในขั้นตอนการประสานกฎระเบียบ
 การประสานแผนไฟฟ้าชาติในอาเซียนและการประสานด้านนโยบายต้องมีความสอดคล้องกัน
(Synchronize National Power Development Plan and optimize the generation of
electricity) โดยทาการศึกษาการปฏิบัติการผลิตที่มีความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุดและมี
การใช้แหล่งพลังงานในภูมิภาคร่วมกัน
 การสนับสนุนและใช้ทรัพยากรในระดับภูมิภาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Encourage and optimize
the utilization of ASEAN resources, such as, funding, expertise and products to
develop the APG) โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการเชื่อมโยงระบบ
ไฟฟ้าระหว่างประเทศและทาการศึกษาแหล่งพลังงานปฐมภูมิในอาเซียน ซึ่งประเด็นนี้ จาเป็นต้องใช้
เวลาและการปลูกฝังเพื่อให้เกิดค่านิยมที่ดีร่วมกัน อันจะส่งผลให้การรวมกลุ่มเป็นไปอย่างยั่งยืนและ
มั่นคง รวมทั้ง การสร้างกระบวนการเรียนรู้
12
2.1.2: การสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนโดยการดาเนินงานของเครือข่ายความ
ร่วมมือระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Power Grid & AERN)
ผู้บรรยาย: Dr. Dinh The Phuc, Deputy Director General Electricity Regulatory Authority of
Vietnam (ERAV) and Chairman of AERN
Dr. Phuc ในฐานะประธาน AERN ได้นาเสนอที่มาและความสาคัญในการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ
ระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AERN) ซึ่งมีความเป็นมาดังนี้
 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ที่ประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) ได้ให้การ
รับรอง เป็นการประชุม AERN ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ณ กรุงเทพมหานคร
 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2555 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 30 (30th
ASEAN Ministers
on Energy Meeting) มีมติรับทราบการจัดตั้ง AERN และแผนการดาเนินงาน
 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 มีการประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network ครั้งที่ 2 ณ
กรุงเทพมหานครฯ ที่ประชุมได้ดาเนินการเกี่ยวกับร่าง TOR ของ AERN
 เมื่อมิถุนายน 2556: ประเทศสมาชิก AERN พิจารณา TOR ของ AERN
 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 ที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนครั้งที่ 31 (31st
ASEAN Ministers
on Energy Meeting) ณ ประเทศอินโดนีเซีย มีมติรับทราบขอบเขตการดาเนินงาน (TOR) ของ AERN
และแผนการดาเนินงานฯ
 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยโดย สานักงาน กกพ. จัดการประชุม ASEAN Energy
Regulators’ Network ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพมหานครฯ โดยการประชุมแบบโทรทางไกล
(Teleconference) ผลการประชุม AERN ครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้รับทราบในเรื่องร่าง AERN Roadmap
2014-2017 และ แผนการดาเนินงานของ AERN
 เมื่อวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2557 ได้มีจัดการประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network ครั้ง
ที่ 4 ณ ประเทศเวียดนาม
 การประชุม AERN ครั้งที่ 5 จัดขึ้นโดย Videoconference ในวันที่ 7 เมษายน 2558
AERN มีจุดประสงค์หลักของการจัดตั้งกลุ่ม AERN นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อด้วยกันคือ 1. เพื่อ
แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นการกากับกิจการพลังงาน 2. เพื่อให้เป็นช่องทางใน
การเชื่อมต่อกันระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานของแต่ละประเทศ 3. ให้มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับ
กลุ่ม Heads of ASEAN Power Utilities/Authorities (HAPUA) และ ASEAN Council on Petroleum
(ASCOPE) และคณะทางานที่เกี่ยวข้องในการกาหนดกรอบการกากับดูแลและมาตรการทางเทคนิคให้สอดคล้อง
กัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของ APG และ Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP)
ต่อมา Dr.Phuc ได้นาเสนอความคืบหน้าและแผนการดาเนินการร่วมของกลุ่ม AERN และ HAPUA
คณะทางานของ AERN จานวน 2 คณะ คือ เรื่องกฎหมายและการสอดประสานด้านเทคนิค และคณะทางาน
เรื่องกฏหมาย การเก็บภาษี และการคิดอัตราสาหรับการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน เพื่อเข้าไปร่วมสังเกตการณ์
และสนับสนุนการดาเนินงานของคณะทางานของ HAPUA โดย AERN WG 1: Technical and Regulatory
Harmonizationเข้าไปร่วมกับ HWG 2: Transmission APG และ AERN WG 2: Legal and
Commercializationเข้าไปร่วมกับ HWG 4: Policy Study and Commercial Development
13
2.1.3 ความคืบหน้าโครงการนาร่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจากสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังสิงคโปร์ (LTMS: PIP)
ผู้บรรยาย: Dr. Poonpat Leesombatpboon, Chief of International Energy Cooperation Office,
Ministry of Energy, Thailand
Dr. Poonpat นาเสนอรายละเอียดของโครงการ LTMS-PIP (Lao PDR, Thailand, Malaysia,
Singapore Power Integration Project) ว่าเป็นความคิดริเริ่มการดาเนินงานร่วมระหว่างประเทศ มีการจัดตั้ง
คณะทางานเพื่อเข้ามาดาเนินการขับเคลื่อนโครงการ LTMS-PIP โดยแบ่งการดูแลเป็น 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้าน Technical Viability รับผิดชอบโดย มาเลเซีย
2. ด้าน Legal and Regulatory รับผิดชอบโดย สิงคโปร์
3. ด้าน Commercial Arrangement รับผิดชอบโดย ไทย
4. ด้าน Tax and Tariff Structure รับผิดชอบโดย ลาว
ต่อด้วยสาระสาคัญภายใต้โครงการในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศลาว (ผู้ขาย) ไปยังประเทศ
สิงคโปร์ (ผู้ซื้อ) โดยผ่านสายส่งไฟฟ้าของประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย โดยโครงการนี้ถือเป็นก้าวแรกในการ
ซื้อขายไฟฟ้าในอาเซียน (1st
Multilateral power tradeโดยแผนภาพการซื้อขายไฟฟ้าได้ดังนี้
รูปที่ 4 การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศลาวและประเทศสิงคโปร์
นอกจากนี้ ได้มีการนาเสนอวิธีในการคานวณอัตราค่าใช้บริการสายส่ง (wheeling charge) ของการ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) และทาการเปรียบเทียบวิธีการคานวณทั้ง
สองแหล่ง ซึ่งหลักการในการคานวณค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยราคาไฟฟ้าที่ประเทศสิงคโปร์ต้องจ่ายทั้งหมด
สามารถสรุปได้ดังรูป
รูปที่ 5 แนวคิดราคาไฟฟ้าเมื่อประเทศสิงคโปร์ซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว ผ่านไทยและมาเลเซีย
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Dr.Poonpat
14
ช่วงการอภิปรายและ Q&A:
1. Mr. Thomas Chrometzka จาก GiZ ได้ถามประเด็นประเทศไทยและอาเซียนมีการกาหนดนโยบาย
พลังงาน ประเด็น Excess Capacity ของพลังงานทดแทนไหม อย่างไร
ตอบ ที่ผ่านมามีการใช้นโยบาย zoning และมีแนวทางการดาเนินงานด้านสายส่งโดยพิจารณาร่วมกับ
แผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) และ แผนพัฒนา
พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP)
2. นายหิน นววงศ์ จากคณะกรรมการบริหารพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ได้มีคาถามว่า ปัจจุบัน สิงค์โปรมี
การจัดหาพลังงานพอเพียงกับการต้องการใช้ (S&D) ในการจัดทา LMTS-PIP ดาเนินการเพื่ออะไร
ตอบ อาเซียนมีความจาเป็นต้องรวมตัวกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายนอก อาทิ พลังงาน
หมุนเวียน/เชื้อเพลิงจากแหล่งถูกกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทาให้อาเซียน
ต้องเร่งปรับตัว ต้องรวมตัวกัน แม้ว่า LTMS อาจเป็นระบบซื้อขายไฟฟ้าแรกที่มีอัตราค่าไฟฟ้าสูง แต่
เป็นโครงการต้นแบบของการใช้แหล่งพลังงานสะอาดจาก สปป.ลาว (พลังงานน้า) ร่วมกันในภูมิภาค
(prototype) ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการนี้ จะเป็นแนวทางไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างประเทศ โครงการอื่นๆ
ในอาเซียนต่อไป
3. เรื่องความพร้อมของประเทศในการเชื่อมต่อ (Readiness of country/ Cross border-issue) และ
เป้าหมายของ สปป. ลาว กับการเป็นแหล่งพลังงานแห่งอาเซียน (Battery of ASEAN)
4. สอบถามเรื่องการคานวณ Wheeling Charge และกาหนดการในการดาเนินงาน (Actual Operation)
15
2.2 กระบวนทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค
ผู้บรรยาย: Dr. Brent Layton, Chairperson of Electricity Authority of New Zealand
ในหัวข้อนี้ Dr.Brent ได้นาเสนอกรณีศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ เรื่อง Regional Integration Paradigm
and Regional Trade Agreement Model โดยโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในนิวซีแลนด์มีกลไกการซื้อขายแบบ
ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าตั้งแต่ปี 1996 โดยประเทศนิวซีแลนด์กรอบการกากับดูแลจะเน้นด้านเทคนิคและ
เศรษฐศาสตร์ (Technical and economic reasons)
Dr.Brent อธิบายว่าลักษณะทางกายภาพแล้วภูมิประเทศแยกออกเดียว(geographically isolated)
และแตกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งความสาคัญในการกากับดูแลคือการสมดุลพลังงานของกระแสไฟฟ้า
(Imbalances) ด้านการผลิตและการต้องการใช้พลังงาน โดยได้ให้รายละเอียดว่าในปี พ.ศ.2557 ปริมาณการใช้
ไฟฟ้าทางเกาะเหนือมีจานวนรวม 42,200 GWh คิดเป็นร้อยละ 63.1 ของทั้งหมด แต่การผลิตไฟฟ้าในเกาะ
เหนือสามารถผลิตได้แค่ร้อยละ 55.7 โดยมีเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าเปรียบเทียบกับทางเกาะใต้ที่ใช้ไฟฟ้าร้อยละ
36.9 แต่ผลิตไฟฟ้าได้ร้อยละ 44.3 นอกเหนือจากนี้ สัดส่วนการผลิตทางเกาะเหนือและเกาะใต้ใช้เชื้อเพลิง
ต่างกัน โดยเกาะเหนือจะผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงความร้อนใต้พิภพ (Geothermal generators) เป็นหลัก
ส่วนเกาะใต้ใช้พลังงานน้าเป็นเชื้อเพลิงหลัก
ทั้งนี้ เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในประเทศนิวซีแลนด์ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลักคือร้อยละ 84
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ในช่วงปี 2000) การกากับดูแลหลักจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเกาะใต้และเหนือ
(Significant regional flows on the Transmission grid) โดยมีการเชื่อมต่อระบบส่ง-จ่ายไฟฟ้าด้วยสายส่ง
กระแสตรงความดันสูง (HVDC link) และการเชื่อมโยงเครือข่ายกระแสสลับ (AC grid) สิ่งที่จาเป็นสาหรับการ
ผสมผสานเครื่องกาเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวและผู้ใช้ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดการซื้อขายไฟฟ้า Dr.Brent ได้นาเสนอ
ตัวอย่างวิธีการของประเทศนิวซีแลนด์ในแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1) การกาหนดขนาดกาลังไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องตลอดเวลา
- ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator) ใช้โปรแกรมการหาค่าเหมาะสมที่เรียกว่า
Scheduling Pricing Dispatch (SPD) ในเลือกว่าผู้ขายไฟฟ้าที่ยื่นขายไฟฟ้ารายใด และขนาด
เท่าใด ที่มีความเหมาะสมในการจ่ายกาลังไฟฟ้า และจะเป็นกาหนดราคา ณ ตาแหน่งที่จะจ่าย
ไฟฟ้าออกจากระบบ หรือที่เรียกว่า “locational marginal price” (LMP)
2) การกาหนดว่าเครื่องกาเนิดไฟฟ้าใดจะได้รับเงิน และผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดต้องเสียเงิน
- ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator) จะใช้โปรแกรมการหาค่าเหมาะสมที่เรียกว่า
Scheduling Pricing Dispatch (SPD) ในการแก้ไขปัญหา
- Energy Only, no capacity payment: ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity payment)1
ในโครงสร้าง
กิจการไฟฟ้าแบบตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Wholesale electricity market) ว่าไม่ควรมีการ
1
หลักการในการคิดราคาค่าไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity Payment) หรือค่า
ความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment) มีลักษณะเป็นรายเดือนในการรักษาระดับความพร้อมจ่าย
ไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า และส่วนที่ 2 คือ ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment) ซึ่งถือเป็นค่าตอบแทนตามปริมาณ
พลังงานไฟฟ้าที่ส่งมอบจริง ค่าพลังงานไฟฟ้านี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายผันแปรในการผลิตและบารุงรักษา
16
จัดเก็บค่าภาษีในโครงสร้างตลาดไฟฟ้า (a cap on wholesale prices) เพราะจะทาให้ลดการ
จูงใจในการลงทุน ทั้งนี้การจัดเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวควรมีเฉพาะการจัดเก็บเพื่อใช้การจัดการ
กับสภาวะวิกฤติด้านพลังงานเท่านั้น (capacity shortage) หรือเพื่อการส่งเสริมการผลิตใน
พลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ ประเทศนิวซีแลนด์ ไม่มีการจัดเก็บค่าพลังงานไฟฟ้า (Capacity
payment) รวมทั้งไม่มีลักษณะรัฐให้เงินอุดหนุน (Subsidy)
3) การกาหนดว่าใครที่จะต้องชดเชยค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างสายส่งเพื่อเชื่อมต่อเครื่องกาเนิด
ไฟฟ้าแบบกระจายตัวและผู้ใช้ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้า
- ในอดีต แนวทางการกาหนดราคาที่แตกต่างกันตามพื้นที่ (nodal pricing) ในตลาดขายส่ง
ไฟฟ้า เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า nodal pricing ซึ่งมีอยู่ประมาณ 250 จุด
เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน เพราะเป็นการจากัดการหาลูกค้านอกพื้นที่ที่ผู้ผลิตมีโรงไฟฟ้าตั้งอยู่
เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความแตกต่างของราคาระหว่าง node ขณะที่อีกฝ่ายแย้งว่า ความ
แตกต่างของราคาตาม node สะท้อนความแตกต่างของต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง
ระหว่าง node ต่างๆ อันเป็นผลมาจากความสูญเสีย และข้อจากัดต่างๆ และเป็นการดีกว่าที่
จะให้ผู้ซื้อและผู้ขายไฟฟ้าเห็นความแตกต่างเหล่านี้ ดีกว่าจะซ่อนไว้โดยการใช้ราคาเฉลี่ย
- ระบบส่งไฟฟ้าของประเทศนิวซีแลนด์มีลักษณะเป็นเส้นยาว ตามสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศ
ดังนั้น เป็นเรื่องสาคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในตลาดไฟฟ้า ต้องรับทราบถึงข้อจากัดและการสูญเสียใน
ระบบส่ง
- ในปี 2013 มีการนาการประกันความเสี่ยงของความแตกต่างด้านราคาระหว่าง node มาใช้
Financial transmission rights (FTRs) ทาให้การคัดค้านลดลง และหมดไป ที่เกี่ยวข้องกับ
ราคาที่แตกต่างกันตามพื้นที่ต่างๆเพื่อมาแทนรูปแบบการเชื่อมต่อแบบเดิม (Full nodal
pricing) โดยมีประมาณ 250 จุดที่ราคาต่างกัน โดยจะต่างกันประมาณร้อยละ 10-20
- การคิดค่าระบบส่งเป็นประเด็นถกเถียงกันมายาวนาน ตั้งแต่มีการแยกเก็บค่าธรรมเนียมสาย
ส่งออกจากค่าไฟฟ้า เมื่อต้นศตวรรษ 1990 ณ ปัจจุบันประเทศนิวซีแลนด์ยังคงมีประเด็นเรื่อง
นี้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดราคาค่าใช้สายส่งซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเมือง เช่น เรื่อง
ราคาในพื้นที่ห่างไกล
- ประเด็นหนึ่งที่ถกเกียงกันคือ ผู้เป็นเจ้าของระบบส่งควรจะมีรายได้ทั้งหมด (total revenue)
เท่าใด เพราะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับค่าใช้จ่ายการดาเนินงานของการให้บริการระบบส่งที่มี
ประสิทธิภาพ และค่าเสียประโยชน์ของเงินลงทุนที่ใช้ไป แม้ว่าประเด็นรายได้ทั้งหมดจะ
สามารถตกลงกันได้ การจัดสรรรายได้ให้กับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันต่อไป
เนื่องจาก
o เป็นการยากที่จะกาหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์
o การจากัดความของการให้บริการของระบบส่งมักไม่ชัดเจน ผู้เป็นเจ้าของระบบส่งมัก
เน้นการใช้สินทรัพย์ของระบบ มากกว่าการให้บริการต่างๆ ในขณะที่ผู้บริโภคไม่ได้ให้
ความสนใจกับสินทรัพย์ของระบบ แต่ต้องการไฟฟ้าที่มีราคาถูก
o ระบบส่งเป็นกิจการที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติ และมักเป็นของหน่วยงานของรัฐ
หรือบริษัทที่มีการกากับดูแล ซึ่งมีผลในหลายด้าน คือ
 ค่าธรรมเนียมมักได้รับอิทธิพลจากการตัดสินใจทางการเมืองและมีการ
lobby กันได้ง่าย
17
 ผู้ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมระบบส่ง เกิดคาถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพต้นทุน
(cost efficiency) ในการดาเนินงานของผู้ให้บริการ เพราะเป็นกิจการ
ผูกขาดโดยธรรมชาติ เกิดความห่วงกังวลว่าพวกเขาต้องจ่ายเงินสาหรับการ
ดาเนินงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ (inefficient operations)
 ผู้บริโภคเกรงว่า การลงทุนในระบบส่งจะเกินความจาเป็นในปัจจุบัน
เนื่องจากหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ อิทธิพลทางการเมือง และผู้กากับดูแลการ
ลงทุนในระบบส่ง เป็นความห่วงกังวลในการจ่าย เช่น สาหรับการลงทุนที่ไม่มี
ประสิทธิภาพ (inefficient investment)
- ประโยชน์เกี่ยวกับป้องกันความเสี่ยงในการเชื่อมต่อพลังงาน (Hedge inter-nodal price)
รวมทั้งราคาที่กระทบต้นทุนจริง ณ จุดนั้นๆมากกว่า เนื่องจาก โครงข่ายพลังงานของประเทศ
นิวซีแลนด์มีลักษณะยาวแนวดิ่ง (long-stringy grid)
รูปที่ 6 ตัวอย่างการกาหนดราคาในจุดต่างๆของประเทศนิวซีแลนด์
ที่มา Electricity Authority of New Zealand
18
2.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศ
Cross-border Trade Experience Sharing & Regional Regulatory Development
2.3.1 กรณีศึกษาจากกลุ่มประเทศยุโรป (EU case)
ผู้บรรยาย: Mr. Dietmar Preinstorfer, Head of International Relations, E-Control Austria
Mr. Dietmar กล่าวถึงที่มาของการจัดตั้งกลุ่ม European Union (EU) และในปี ค.ศ. 1990
ประธานาธิบดีของคณะกรรมการกลุ่ม EU (EU Commission) ได้เสนอให้มีตลาดซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซของ
ภูมิภาคยุโรปขึ้น ในรูปแบบ Wholesale market ตลาดพลังงานเดียวกากับดูแลโดย Council of European
Energy Regulator (CEER) และ European Regulators’ Group for Electricity & Gas (ERGEG) ภูมิภาค
ยุโรปต้องการให้มีการแข่งขันในตลาดพลังงานเน้นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคให้มีทางเลือกในการใช้บริการ
พลังงาน โดยแนวทางในการดาเนินการสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคือ
1. ช่วงการเปิดตลาดซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซ และการก่อตั้งหน่วยงานอิสระซึ่งมีอานาจในการกากับการซื้อ
ขาย (Creation of new bodies; ACER and ENTSOs)
1.1 ACER (Agency for the Cooperation of Energy Regulators) เป็นหน่วยงานภายใต้
EU ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.2010 (พ.ศ. 2553) มีหน้าที่ประสานความร่วมมือของ Regulators ในภูมิภาคยุโรป มีส่วน
ร่วมในการจัดทากฎระเบียบเกี่ยวกับโครงข่าย ให้คาแนะนาต่อ EU และกากับตลาดพลังงานยุโรป ACER ออก
“Energy Regulation: A bridge to 2025” กาหนดไว้ว่า “Greater penetration of renewable-based
generation is significantly increasing the requirement for market-based flexible response
which will include the demand side and the supply side.” ดังนั้น ในปัจจุบัน EU จึงให้ความสนใจ
และส่งเสริม “flexible response” ทั้งในด้าน Supply Side และ Demand Side Flexibility (DSF)
รูปที่ 7 องค์ประกอบของ ACER
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar
1.2 องค์กรความร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมระบบส่งกาลังไฟฟ้าในสหภาพยุโรป ENTSO-E
(European Network of Transmission System Operators for Electricity) ประกอบด้วย 41 TSOs ด้าน
ไฟฟ้าจาก 34 ประเทศในภูมิภาคยุโรป มีหน้าที่ หลอมรวมเทคโนโลยีและกฎระเบียบเพื่อบูรณาการ
อุตสาหกรรมของ TSO การบริหารจัดการของเครือข่ายแบบบูรณาการระบบโครงข่ายเน้นเชื้อเพลิงที่เหมาะสม
ณ เวลานั้นๆ
19
2. ช่วงแห่งการก่อตั้งตลาดขายส่งในระดับภูมิภาค การก่อตั้งองค์กรพิเศษ การผนวกรวมกฎต่างๆ
ระหว่างประเทศเข้าด้วยกัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า
(Development of harmonized (cross-border) market rules: Framework Guidelines & Network
Codes) การกาหนดกรอบแนวทางการจัดทาข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่าย (Framework
Guidelines:FG) ในรูปแบบไม่บังคับ (Light-force) และข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายด้านเทคนิค
(Network Codes) โดย TSOs ซึ่ง Mr.Dietmar ได้เล่ากระบวนการในการดาเนินการว่าใช้เวลาประมาณ 1 ปี
9 เดือน หลังจาก EC กาหนด Priorities แล้ว EC จะขอให้ ACER เสนอ FG โดยระยะ 6 เดือนแรกองค์กรกากับ
ของชาติจะร่าง Framework Guideline เสนอ ACER หลังจากนั้น EC จะขอให้ ENTSO เสนอ Network
Code ต่อ ACER โดยให้เวลาจัดทา 12 เดือน และ ระยะ 3 เดือนสุดท้าย ACER จะพิจารณา Network Code
หากเห็นชอบก็จะส่งให้ EC พร้อมข้อเสนอแนะให้การอนุมัติเพื่อออกเป็น Commission Regulation บังคับใช้
ตามกฎหมาย (legally binding) กับประเทศสมาชิก โดยมีองค์กรกากับระดับชาติรวมพิจารณา ดังรูป
รูปที่ 8 กระบวนการจัดทา Network code ในภูมิภาคยุโรป
รูปที่ 9 ภาพรวมของ Framework Guideline (FG)
ที่มารูปที่ 8-9 เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar
20
ขั้นตอนการกาหนด Network Code และผู้รับผิดชอบในขั้นตอนต่างๆ
1. Development ACER –ENTSOs-Commission
2. Implementation ผู้มีส่วนได้เสียในตลาด และประเทศสมาชิก
3. Monitoring ACER องค์กรกากับกิจการพลังงาน และ ENTSOs
4. Enforcement องค์กรกากับกิจการพลังงาน และประเทศสมาชิก
Mr.Dietmar ได้อธิบายกรอบแนวทางการจัดทาข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่าย (Framework
Guideline:FG) และข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายด้านเทคนิค (Network Codes: NC) ที่เกี่ยวข้อง
ในด้านนั้นๆ โดยยกตัวอย่างดังนี้
2.1 FG เรื่อง Capacity Allocation and Congestion Management (CACM) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
วางกรอบแนวทางกฎหมายและข้อกาหนดต่างๆ สาหรับ TSOs และ Power Exchange ในการดาเนินงานของ
ตลาดไฟฟ้าที่บูรณาการทั้งลักษณะ long-term, day-ahead และ intraday โดย NC ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การ
จัดสรร forward capacity สาหรับกรอบระยะยาว (Long terms)
2.2 FG เรื่อง Electricity Balancing มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกรอบบูรณาการตลาดสมดุลพลังงานไฟฟ้า
ของแต่ละประเทศ แนวทางหลักในการออกแบบการเชื่อมต่อพลังงานเชิงพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อ
ระหว่างประเทศที่เน้นการแข่งขัน ไม่กีดกันผู้ขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน FG เกี่ยวข้องกับด้านการจัดหา
พลังงานสนับสนุนการวางแผนพลังงานที่สมดุลระหว่างการต้องการใช้ (Energy Demand) การจัดหา (Energy
Supply) การวิเคราะห์ความสมดุลพลังงานในระบบ (overall efficiency of balancing the electricity
system) โดย FG นี้จะนาไปสู่การข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบด้านเทคนิค (NC) ในเรื่องพลังไฟฟ้าสมดุล
(Electricity Balancing)
2.3 FG เรื่อง Grid Connection มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดแนวทางการกากับดูแลระบบโครงข่าย
พลังงาน และแนวทางการเชื่อมต่อกริดเพื่อพัฒนาความสอดคล้องของข้อบังคับ (Regime) ที่จะสนับสนุนระบบ
ไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Secure system operation) โดย FG นี้จะนาไปสู่การจัดทา
ข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบด้านเทคนิค (NC) ในเรื่องการเชื่อมต่อของหน่วยผลิต (Requirements for
Grid Connection Applicable to all Generators); การเชื่อมต่อตามความต้องการใช้ (Demand
Connection); การเชื่อมต่อของระบบส่ง-จ่ายไฟฟ้าด้วยสายส่งกระแสตรงแรงดันสูง (HVDC) และของหน่วย
ผลิตไฟฟ้าแบบ Power park modules ที่เชื่อมต่อแบบกระแสตรง (DC) เข้าสู่องค์ประกอบผลิต
2.4 FG เรื่อง System Operation มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดแนวทางข้อบังคับการปฏิบัติการของศูนย์
ควบคุมระบบไฟฟ้า ให้สอดคล้องกัน (Harmonised system operation regiome) ข้อกาหนดการพัฒนาศูนย์
ควบคุมฯ และการวางแผนที่จะรองรับการนาพลังงานหมุนเวียนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในอนาคต โดย FG นี้จะ
เกี่ยวข้องกับข้อกาหนด (NC) เรื่องความปลอดภัยในการดาเนินงาน (Operational Security); แผนการ
ดาเนินงาน (Operational Planning and Scheduling) การจัดการควบคุมความถี่โหลดและปริมาณสารอง
(Load-frequency Control and Reserves) กรณีเหตุฉุกเฉินและกู้ระบบ (Emergency and Restoration)
21
รูปที่ 10 ประวัติการจัดตั้งตลาดพลังงานของยุโรป
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Dietmar
3. ช่วงก่อตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าปลีกในระดับภูมิภาค การผนวกรวมกฎการแลกเปลี่ยนข้อมูล การ
อนุญาตให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ (new framework for a coordinated infrastructure
development) ประเทศที่มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องดังเช่นประเทศในสหภาพยุโรปแล้วจะเห็น
ได้ว่าเกือบทั่วทั้งสหภาพยุโรปมีระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าแรงสูงที่ค่อนข้างมากและละเอียดซับซ้อนมีองค์ประกอบ
41 TSOs จาก 34 ประเทศ
ทั้งนี้ Mr. Dietmar ได้ยกตัวอย่างกฎระเบียบ EU Energy Infrastructure Regulation 347/2013 มี
ผลบังคับตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2013 (พ.ศ.2556) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพลังงานระหว่างประเทศ
(12 energy infrastructure priority corridors) และเร่งการนาไปสู่การให้อนุญาตที่เดียวของยุโรป (EU one-
stop-shop permit granting) และการให้ความช่วยเหลือในด้านทุน ที่ทุกประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปได้
ร่วมกันจัดลาดับโครงการโดยเน้นประโยชน์สูงสุดของภูมิภาคก่อน (Projects of Common Interest: PCIs)
รวมทั้งหมด 248 โครงการที่ต้องเร่งดาเนินงานก่อน (Infrastructure Priorities)
รูปที่ 11 ตลาดพลังงานของยุโรปเน้นจัดลาดับโครงการแบบ Project of Common Interest: PCIs
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar
22
นอกจากนี้ Mr. Dietmar ได้แจ้งให้ทราบว่าวันที่ 7 ตุลาคมนี้ EU จะมี Energy Database เดียวกันทั้ง
ภูมิภาคซึ่งเป็นอีกก้าวสาคัญในตลาดพลังงานยุโรป รวมทั้งเน้นย้าเรื่อง Retail market integration การเริ่มต้น
ของการแข่งขันในตลาดพลังงานจะเริ่มจากการเปิดระบบโครงข่ายให้บุคคลที่สาม (Third party access: TPA)
ที่จะนาไปสู่การมีองค์กรกากับที่เป็นอิสระเพื่อมาดูแลการแข่งขัน (National regulatory authorities: NRAs)
ที่เน้นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ จะต้องเกี่ยวข้องกับโปรแกรมการพัฒนาระบบที่เพิ่มการใช้พลังงาน
หมุนเวียน (RES integration2
) เพื่อนาไปสู่วิสัยทัศน์การบูรณาการตลาดพลังงานระดับภูมิภาคทั้งระดับขายส่ง
และปลีกของยุโรปอย่างแท้จริง
รูปที่ 12 เอกสารประกอบการบรรยายของ MR.Dietmar ในจัดตั้งตลาดพลังงาน
ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar
2.3.2 กรณีศึกษาจากกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean case)
ผู้บรรยาย: Dr. Nicolò Di Gaetano, Senior Board Advisor of the Italian Energy & Water Regulator (AEEGSI)
Dr.Nicolo นาเสนอภูมิประเทศบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ซึ่งมีผู้คนหลากหลายวัฒนธรรม (ยุโรป
ตะวันตก คาบสมุทรบอลข่าน ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ) ด้วยสาเหตุของความแตกต่างทางด้าน
วัฒนธรรมนี้ทาให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัฒนธรรมก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นองค์กร Mediterranean
Energy Regulators (MEDREG) จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อผนวกโครงสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้หลักการเดียวกัน
องค์กร Mediterranean Energy Regulators (MEDREG) จัดตั้งขึ้นในปี 2007 ตามกฎหมายของ
ประเทศอิตาลี เพื่อรวมตัวกันของ Energy Regulators ในภูมิภาค Mediterranean 24 ประเทศ เพื่อการกากับ
ดูแลด้านไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงาน (Energy Demand) จากน้ามันสูงที่สุด
รองลงมาเป็นก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน และพลังน้า ตามลาดับ โดยในปี 2030 การใช้
น้ามัน ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นกว่าประเภทอื่นๆ โดยพลังงานหมุนเวียนจะสูง
ขึ้นอยู่ในระดับเดียวกับนิวเคลียร์ และถ่านหิน การผลิตไฟฟ้าในปี 2013 มีสัดส่วนของก๊าซธรรมชาติมากที่สุด
2
Renewable Energy System (RES) Integration คือการพัฒนาระบบพลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการ
นาพลังงานหมุนเวียนเข้ามาให้ในการผลิตไฟฟ้าของสหภาพยุโรป (EU's renewable energy)
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”
รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”

More Related Content

Featured

Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...DevGAMM Conference
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationErica Santiago
 
Good Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them well
Good Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them wellGood Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them well
Good Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them wellSaba Software
 

Featured (20)

Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy Presentation
 
Good Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them well
Good Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them wellGood Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them well
Good Stuff Happens in 1:1 Meetings: Why you need them and how to do them well
 

รายงานผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights”

  • 1. รายงานการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ The 5th Annual International Forum – Regional Energy Alliance: Regulators' Insights และ The 1st AERN Capacity Building ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2558 จัดทาโดย ฝ่าย กส. สานักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน
  • 2. 2 สารบัญ การประชุม The 5th Annual International Forum 1. บทนา 1.1 Report to the Minister of Energy by Chairman of ERC 1.2 Keynote Speech by Minister of Energy of the Kingdom of Thailand 2. สรุปผลการประชุม The 5th Annual International Forum 2.1 การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Regional Integration in ASEAN) 2.1.1 การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนผ่านมุมมองขององค์กรทางด้านกิจการ ไฟฟ้าของอาเซียน-HAPUA (HAPUA & Progress Power Trade& Energy Outlook in ASEAN พร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางการดาเนินงานในอนาคต) 2.1.2 การให้การสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงข่าย ไฟฟ้าของอาเซียนผ่านความร่วมมือภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรกากับ กิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Power Grid & AERN) 2.1.3 ความคืบหน้าโครงการนาร่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังสิงคโปร์ (LTMS: PIP) 2.2 กระบวนทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค: กรณีศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ (Regional Integration Paradigm and Regional Trade Agreement Model) 2.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศ Cross-border Trade Experience Sharing & Regional Regulatory Development 2.3.1 กรณีศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรป (EU case) 2.3.2 กรณีศึกษาในกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean case) 3 5 6 8 9 15 18 3. การประชุม The 1st AERN Capacity Building 3.1 สรุปผลประชุม The 1st AERN Capacity Building อภิธานศัพท์สาหรับองค์ความรู้การกากับกิจการพลังงาน 25 33
  • 3. 3 สรุปผลประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “The 5th Annual International Forum - Regional Energy Alliance: Regulators' Insights” วันที่ 1 ตุลาคม 2558 1. บทนา คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย กกพ. ได้ให้ความสาคัญต่อการเตรียมพร้อม สร้างความ ตระหนักรู้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงาน และผลักดันการดาเนินงานตามพันธกรณีของสมาชิกอาเซียน รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง ความร่วมมือกากับกิจการพลังงานอาเซียน (ASEAN Energy Regulators’ Network - AERN) โดยมุ่งสร้างความร่วมมือด้านการกากับกิจการพลังงานเพื่อความมั่นคง ตลอดจนร่วมกันกาหนด ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการพลังงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งด้าน พลังงานนับเป็นด้านหนึ่งที่จะมีความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ตาม Blueprint ของ AEC โดยจะเน้นความร่วมมือ ในด้านการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานให้ทั่วถึงกัน ทั้งการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) และการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline: TAGP) ซึ่งแนวคิดด้านความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน ได้เริ่มมีการจุดประกายขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ตามความ ตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน และความตกลงเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Petroleum Security Agreement: APSA) เพื่อสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาและการใช้ พลังงานในภูมิภาค โดยมีโครงสร้างความร่วมมือ อันได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนและการ ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ศูนย์พลังงานอาเซียน และคณะทางานด้านพลังงานอื่นๆ ในปัจจุบัน ซึ่งดาเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานล่าสุดในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2568 (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC 2016-2025) มีโครงการ หลักที่สาคัญ 7 สาขาด้วยกัน ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) 2) การเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline: TAGP) 3) เทคโนโลยี ถ่านหินและถ่านหินสะอาด (Coal and Clean Coal Technology) 4) พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอนุรักษ์ (Energy Efficiency and Conservation: EE&C) 6) นโยบายและการวางแผนพลังงานภูมิภาค (Regional Energy Policy and Planning) และ 7) พลังงานนิวเคลียร์ (Civilian Nuclear Energy) สาหรับบทบาทในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ กกพ. ได้มี นโยบายในการจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการเป็นประจาทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 และได้ผลักดันการจัดตั้ง หน่วยงานความร่วมมือ ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยการจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ และการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ AERN ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานกากับกิจการพลังงาน ภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจน ความคิดเห็นในการพัฒนาการกากับกิจการพลังงานของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมระดับสากล ระหว่าง กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียด้านพลังงานทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นไปตามอานาจหน้าที่ของ กกพ. ตามมาตรา 11 แห่ง
  • 4. 4 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งที่ผ่านมา กกพ. ได้จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ฯ มาแล้ว จานวน 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีการเลือกหัวข้อการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการฯ ที่มีความน่าสนใจ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ ดังนี้ - ครั้งที่ 1: “งานกากับกิจการพลังงาน กับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก” เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 - ครั้งที่ 2: “Regulatory and the Energy Sustainability” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 - ครั้งที่ 3: “Energy Regulation & the Promotion of Energy Conservation” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2555 และ The 1st ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 - ครั้งที่ 4: “Interconnectivity and Cross-Border Trade” เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 ในปี พ.ศ. 2558 กกพ. จะจัดการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ครั้งที่ 5 เพื่อเพิ่มและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายด้านการกากับกิจการพลังงานและด้านพลังงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และเป็นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์ ความรู้และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านพลังงานและการกากับกิจการพลังงานระหว่างกันของผู้แทนจาก หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ผู้แทนจากประเทศสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง องค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AERN) และผู้มีส่วนได้เสียจากการประกอบ กิจการพลังงานทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและความรู้ต่างๆ ที่จะได้จากการ จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการในครั้งนี้จะนามาซึ่งประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดาเนินงาน โดยเฉพาะด้านการกากับกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป วัตถุประสงค์ของการจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงาน ครั้งที่ 5 มีดังนี้ - สร้างองค์ความรู้ในบริบทของการถ่ายเทและเชื่อมโยงพลังงานระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค - เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เรื่องโครงข่ายพลังงานข้ามประเทศ และแนวทางการกากับ กิจการข้ามพรมแดนทั้งในเรื่องเทคนิคและการซื้อขายเชิงพาณิชย์ - เตรียมความพร้อมและยกระดับการกาหนดหลักเกณฑ์การกากับกิจการที่เกี่ยวข้อง - เปิดโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อสนับสนุนกิจการงานด้านการซื้อขายข้ามพรมแดน นอกจากนี้ กกพ. ยังได้จัดการประชุมต่อเนื่อง “การอบรมสัมมนา AERN Capacity Building Program on Energy Regulation” ในวันที่ 2 ตุลาคม 2558 เป็นการดาเนินงานภายใต้แผน AERN Roadmap 2015 – 2025 โดยมีเนื้อหาหลักในการอบรมบุคลากรในแวดวงพลังงาน ประกอบด้วย การบูรณา การโครงข่ายพลังงาน (Integrating Energy Networks) จากกรณีศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรีย และ อิตาลี การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน และปฏิรูปตลาดพลังงาน (Experience of Power Sector Reforms) และบทบาทของหน่วยงานกากับดูแล (Roles of Regulator)
  • 5. 5 1.1 Report to the Minister of Energy by Chairman of ERC นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน กล่าวรายงานต่อ ฯพณฯ พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยได้ต้อนรับผู้เข้าร่วมเข้าสู่งาน The 5th Annual International Forum — "Regional Energy Alliance: Regulators' Insights" และกล่าวแสดงความยินดีที่ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการประชุมในครั้งนี้ ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการ จัดงานและได้กล่าวถึงปัญหาความท้าทายเรื่องพลังงานที่ต้องให้ สอดรับกับทิศทางและความรวดเร็วของการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ เป็นความท้าทายที่ไม่ได้จากัดอยู่แค่ระดับชาติ โดยได้ยกตัวอย่างความร่วมมือภายใต้เป้าหมายร่วมกัน ขององค์กรกากับกิจการพลังงานทั่วโลกได้รวมตัวกันในการประชุม World Forum on Energy Regulation ครั้งที่ 4 ในปี 2552 หรือ WFER ในหัวข้อเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านพลังงาน ซึ่งถือเป็นการประชุมที่สาคัญที่สุด ของโลก ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยผลการประชุม คือ การจัดตั้งสมาพันธ์หน่วยงานกากับดูแลด้าน พลังงานจาก ทั่วโลก (International Confederation of Energy Regulators มีสมาชิกกว่า 77 ประเทศเพื่อ ร่วมกันพัฒนาภาพรวมของอุตสาหกรรมพลังงานโดยเฉพาะในบริบทของแต่ละภูมิภาค โดยประธานกรรมการ กากับกิจการพลังงานได้แจ้งว่า ในภูมิภาคอาเซียนมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงาน (ASEAN Energy Regulators’ Network: AERN) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งประเทศไทย โดย กกพ. ได้เป็น เจ้าภาพจัดการประชุม AERN ครั้งแรกในปีดังกล่าว และได้ผลักดันการดาเนินงานตามพันธกรณีของสมาชิก อาเซียน เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) นอกจากนี้ กกพ. ได้จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศเป็นประจาทุกปี เพื่อการเตรียมความพร้อมและยกระดับการกาหนดหลักเกณฑ์การกากับกิจการพลังงานที่เกี่ยวข้องและเปิด โอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อสนับสนุนการซื้อขายพลังงานข้ามพรมแดน ตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนัก ถึงความสาคัญของความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงาน และผลักดันการดาเนินงานตาม พันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเป็นการประชุมในปีนี้ เป็นครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อหลักคือ "Regional Energy Alliance: Regulators' Insights" ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นร่วมกันในภูมิภาค จากการเปิดเป็นประชาคม อาเซียน โดยเฉพาะในด้านความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีสาคัญสาหรับการ หารือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการด้านพลังงานจากประสบการณ์จาก นานาชาติ อาทิ บริบทของการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน กระบวน ทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้า โดยมีกรณีศึกษาจากประเทศนิวซีแลนด์ กรณีศึกษาจากกลุ่มประเทศยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งในด้านแนวคิด หลักการ กฎระเบียบกติกา เพื่อให้ เกิดการเชื่อมโยงโครงข่าย รวมทั้งการกากับดูแลตลาดพลังงานในภูมิภาค การร่วมกันมองไปข้างหน้าและ พิจารณาแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ที่ทุกประเทศต้องเผชิญร่วมกัน โดยการประชุมวันนี้เป็นเวที วิชาการที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติที่ดีแก่กัน
  • 6. 6 1.2 Keynote Speech by Minister of Energy of the Kingdom of Thailand ผู้กล่าวเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ Keynote Speech เรื่อง “The Power Integration: Regional Opportunities on Cross- Border Power Trade” ของ พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวเปิดประชุมฯโดยสรุป สาระสาคัญได้ดังนี้ กระทรวงพลังงาน ในฐานะผู้กาหนดนโยบายด้าน พลังงานของประเทศ ได้เล็งเห็นความสาคัญในการเชื่อมโยงโครงสร้าง พลังงาน และมีความพยายามในการดาเนินการต่างๆ ที่จะให้พลังงาน ของชาติมีความมั่นคง มีประสิทธิภาพ อย่างสอดคล้อง เหมาะสมกับ สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยกระทรวงได้มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานของประเทศ และการพัฒนา พลังงานความร่วมมือด้านพลังงานกับอาเซียน โดยการส่งเสริมและกาหนดบทบาทให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริหารจัดการในการเชื่อมต่อโครงข่ายเรื่องนโยบาย เรื่องกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ซึ่งเป็น งานหลักของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกากับกิจการพลังงานกาลังดาเนินการอยู่ในปัจจุบัน ในภาพรวม ความพยายามในการผลักดันความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานใน ระดับอาเซียน เป็นการดาเนินตามแผนรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นโยบายและกฎการ กากับต้องไปด้วยกัน ซึ่งเป็นไปตามผล ASEAN Ministers on Energy Meeting หรือ AMEM ล่าสุด ครั้งที่ 32 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ APAEC 2016-2020 และเพื่อจะบรรลุ วัตถุประสงค์ของ AEC ประเทศสมาชิกต้อง สร้าง “connectivity” การบริหารจัดการ ด้าน Supply Side ระดับนานาชาติ การเพิ่ม และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายด้าน การกากับกิจการพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีราคาที่เป็นธรรม พลังงานมีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการ ใช้พลังงานที่ยั่งยืน และมั่นคงต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ปัจจุบันการมีพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการสร้างความมั่นคงในอุตสาหกรรมพลังงาน ภายใต้กฎหมาย ฉบับนี้ ก็ได้กาหนดให้มีคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยมีตัวอย่าง ผลงานหนึ่งที่สาคัญคือ การผลักดันการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือกากับกิจการพลังงานอาเซียน (ASEAN Energy Regulators’ Network : AERN) โดยมุ่งสร้างความร่วมมือด้านพลังงานและความมั่นคง รวมทั้งความ ได้เปรียบในการแข่งขันของภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกต่างๆ ตลอดจนร่วมกันกาหนดยุทธศาสตร์ด้านการ บริหารจัดการพลังงานสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งด้านพลังงานนับเป็นด้านหนึ่งที่จะมีความร่วมมือภายใต้
  • 7. 7 วิสัยทัศน์ตาม Blueprint ของ AEC โดยจะเน้นความร่วมมือในด้านการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานให้ ทั่วถึงกัน ทั้งการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) และการเชื่อมโยงท่อส่ง ก๊าซธรรมชาติของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline: TAGP) ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการกากับกิจการ พลังงาน ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จะมีผลอย่างยิ่งต่อความสาเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน ของประเทศและของภูมิภาคไปสู่ระดับนานาชาติ ปัจจัยสู่ความสาเร็จของนโยบายต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ต้อง อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กกพ. และกระทรวงพลังงานจะสนับสนุนให้ดาเนินงานด้านการเชื่อมโยง โครงข่ายพลังงานมีกลไกที่เหมาะสม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เน้นย้าถึงความร่วมมือด้านภูมิภาค ร่วมกันว่า “ ASEAN is our home, our region, and with integration, we are stronger together.”
  • 8. 8 2. สรุปผลการประชุม The 5th Annual International Forum เนื้อหาของการประชุมฯ จะครอบคลุมประเด็นสาคัญภายใต้กรอบการประชุม 3 ช่วงหลัก (Session) ดังนี้  SESSION I: Regional Integration in ASEAN ช่วงที่ 1: การเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้า ของอาเซียนผ่านมุมมองขององค์กรทางด้านกิจการไฟฟ้าของอาเซียน หรือ “HAPUA” พร้อมข้อเสนอแนะและ แนวทางการดาเนินงานในอนาคต, การให้การสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนผ่านความ ร่วมมือภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) และแนวทางการดาเนินงาน รวมทั้งหัวข้อสุดท้ายเรื่อง LTMS: PIP ทั้งนี้ LTMS ย่อมาจาก Laos, Thailand, Malaysia and Singapore หรือ ความคืบหน้าโครงการ นาร่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังสิงคโปร์ (Power Integration Project to for cross border power trade from Lao PDR to Singapore)  SESSION II: Regional Integration Paradigm and Regional Trade Agreement Model ช่วงที่ 2: กระบวนทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค: กรณีศึกษา ประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการและการผลิตไฟฟ้าในระดับภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiently integrate regionally dispersed electricity generation), การจัดการและคานวณราคาสายส่ง ไฟฟ้า (Pricing the provision of transmission assets) การวิเคราะห์ต้นทุนผันแปร (The use of marginal locational prices)  SESSION III: Cross-border Trade Experience Sharing & Regional Regulatory Development ช่วงที่ 3: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย กรณีศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ในหัวข้อเรื่องกฎระเบียบและการสอดประสานของตลาด ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในยุโรป การกากับการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างประเทศ และรายงานการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานและบทบาทของหน่วยงานกากับดูแลอิสระเพื่อส่งเสริมการลงทุนโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดน ของประเทศในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน
  • 9. 9 2.1 การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Regional Integration in ASEAN) การสัมมนา Session 1 แบบอภิปราย (Panel Session) โดยมีผู้ดาเนินรายการ (Moderator) คือ ดร.ภูวนารถ ชุณหปราณ ผู้ชานาญการพิเศษ ฝ่ายวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม จาก สานักงาน คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (สานักงาน กกพ.) โดยดาเนินการสรุปเหตุผลหลักในการเชื่อมโยงโครงข่าย เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรด้านพลังงานร่วมกันให้เกิดความมั่นคงและประโยชน์สูงสุด อย่างไร ก็ดี การสร้างระบบเชื่อมโยงพลังงานกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ประกอบด้วย นโยบาย กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง กับองค์กร หน่วยงานต่างๆ โดยเวทีนี้ หัวข้อแรกจะรวบรวมเรื่องที่ความสาคัญ เพื่อให้ได้รับความรู้ ทาความ เข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องและรอบด้าน ทั้งนี้ สาระสาคัญของการประชุมแบ่งตามช่วงการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้ 2.1.1 การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนผ่านมุมมองขององค์กรทางด้านกิจการไฟฟ้าของอาเซียน (HAPUA) พร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางการดาเนินงานในอนาคต (HAPUA & Progress Power Trade& Energy Outlook in ASEAN) ผู้บรรยาย: Mr. Bambang Hermawanto, Chairman of ASEAN Power Grid Consultative Committee Mr. Bambang ให้ข้อมูลนาเสนอภาพรวมการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้า ของแต่ละประเทศในเขตภูมิภาค อาเซียน (Overview of ASEAN Electricity Outlook) ว่ามีความโดดเด่นและมีศักยภาพสูงเรื่องพลังงาน หมุนเวียน แต่สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในอาเซียนยังใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รูปที่ 1 กาลังผลิตติดตั้งของภูมิภาคอาเซียน ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Bambang
  • 10. 10 โดยลักษณะทางกายภายมีศักยภาพแหล่งพลังงานกระจายกันในภูมิภาค ประกอบไปด้วย พลังงานฟอสซิล (Fossil Energy) และ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Sources) ได้แก่ 1) น้ามัน (Oil) และ ก๊าซ (Gas) จะพบมากใน บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม 2) ถ่านหิน (Coal) พบมากใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม 3) พลังงานน้า (Hydro) พบมากใน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม 4) พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal) พบมากใน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ 5) พลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar) พบมากในทุกประเทศทั่วภูมิภาค 6) พลังงานลม (Wind) มีศักยภาพจากัด 7) พลังงานชีวมวล (Biomass) พบมากในทุกประเทศทั่วภูมิภาคต่างกันที่ประเภทและปริมาณ ต่อมา Mr. Bambang ได้อธิบายความเป็นมาของแนวคิดของ ASEAN Power Grid หรือ APG เกิดจาก ความคิดที่ว่าภูมิภาคอาเซียนมีความหลากหลายของทรัพยากรที่แตกต่างกัน โดยทางตอนเหนือของอาเซียนมี พลังน้าอันมหาศาลจึงมีศักยภาพในการนาน้ามาใช้ผลิตไฟฟ้า ความสาคัญของการจัดตั้งโครงการ ASEAN Power Grid (APG) โดยเมื่อปี 1999 (พ.ศ.2542) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (AMEM) ครั้งที่ 17 ณ ประเทศไทย ได้บรรจุโครงการ APG ได้เข้าสู่แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (APAEC 1999-2044) และรัฐมนตรีพลังงานของอาเซียนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการการเชื่อมโยงโครงข่าย ระบบไฟฟ้าของอาเซียน ณ ประเทศสิงค์โปร์ (MOU of APG-2007) ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่มความมั่นคง และ ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ได้รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และการปฏิบัติการของ ระบบไฟฟ้า ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 (ASEAN Vision 2020) โดยวิธีการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของโครงการ APG นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีการ คือ 1. การเพิ่มความ สามารถในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ 2. การเพิ่มความหลากหลายของแหล่งผลิตพลังงาน 3. การลดเงิน ลงทุนในการขยายโรงไฟฟ้า (Significant saving in CAPEX & OPEX) ซึ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อประเมิน เป็นจานวนเงินนั้นได้ถูกแสดงในรูป รูปที่ 2 ค่าใช้จ่ายก่อนและหลังการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายภายใต้ของโครงการ APG ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Bambang Mr. Bambang ได้ชี้แจงสถานะของการเชื่อมต่อโครงข่าย (Update List of APG Projects) ว่ามีทั้งหมด 16 โครงการ โดยแบ่งเป็น โครงการที่ดาเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วทั้งหมด 11 cross borders รวม 3.489 GW กาลังก่อสร้าง (COD 2018/19) จานวน 10 cross borders รวม 7.192 GW และโครงการเพิ่มเติมอยู่ใน ขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ (Beyond 2020) 17 cross borders รวม 25.424 GW
  • 11. 11 รูปที่ 3 สถานะของโครงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าอาเซียนตามโครงการ APG ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Bambang สุดท้าย Mr.Bambang กล่าวว่า ปัจจัย 4 ขั้นตอนสาคัญสู่การเชื่อมต่อระดับภูมิภาคคือการวางแผนสาหรับ พัฒนาระบบการค้าพหุภาคี (Multilateral Trading) ประกอบด้วย  การเร่งพัฒนาโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อการซื้อขายแบบทวิภาคี (Accelerate the development of the Bilateral Cross Border Power Interconnection projects) การยึดมั่นในพันธกรณีของแต่ละประเทศ ที่จะต้องปฏิบัติตามแผนโครงการ  การเตรียมจัดตั้งองค์กร/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง APG (Preparation of the Formation of the ASEAN Power Grid Institutions) การสร้างสังคมกฎระเบียบให้เกิดขึ้นในอาเซียน ได้แก่ ATSO, ATGP, APG เพื่อกากับการซื้อขายแบบพหุภาคี (Regulator to regulate and control the Multilateral Trading) ซึ่ง AERN สามารถเข้ามามีบทบาทในขั้นตอนการประสานกฎระเบียบ  การประสานแผนไฟฟ้าชาติในอาเซียนและการประสานด้านนโยบายต้องมีความสอดคล้องกัน (Synchronize National Power Development Plan and optimize the generation of electricity) โดยทาการศึกษาการปฏิบัติการผลิตที่มีความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุดและมี การใช้แหล่งพลังงานในภูมิภาคร่วมกัน  การสนับสนุนและใช้ทรัพยากรในระดับภูมิภาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Encourage and optimize the utilization of ASEAN resources, such as, funding, expertise and products to develop the APG) โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการเชื่อมโยงระบบ ไฟฟ้าระหว่างประเทศและทาการศึกษาแหล่งพลังงานปฐมภูมิในอาเซียน ซึ่งประเด็นนี้ จาเป็นต้องใช้ เวลาและการปลูกฝังเพื่อให้เกิดค่านิยมที่ดีร่วมกัน อันจะส่งผลให้การรวมกลุ่มเป็นไปอย่างยั่งยืนและ มั่นคง รวมทั้ง การสร้างกระบวนการเรียนรู้
  • 12. 12 2.1.2: การสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียนโดยการดาเนินงานของเครือข่ายความ ร่วมมือระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Power Grid & AERN) ผู้บรรยาย: Dr. Dinh The Phuc, Deputy Director General Electricity Regulatory Authority of Vietnam (ERAV) and Chairman of AERN Dr. Phuc ในฐานะประธาน AERN ได้นาเสนอที่มาและความสาคัญในการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AERN) ซึ่งมีความเป็นมาดังนี้  เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ที่ประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network (AERN) ได้ให้การ รับรอง เป็นการประชุม AERN ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ณ กรุงเทพมหานคร  เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2555 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 30 (30th ASEAN Ministers on Energy Meeting) มีมติรับทราบการจัดตั้ง AERN และแผนการดาเนินงาน  เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 มีการประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพมหานครฯ ที่ประชุมได้ดาเนินการเกี่ยวกับร่าง TOR ของ AERN  เมื่อมิถุนายน 2556: ประเทศสมาชิก AERN พิจารณา TOR ของ AERN  เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 ที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนครั้งที่ 31 (31st ASEAN Ministers on Energy Meeting) ณ ประเทศอินโดนีเซีย มีมติรับทราบขอบเขตการดาเนินงาน (TOR) ของ AERN และแผนการดาเนินงานฯ  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยโดย สานักงาน กกพ. จัดการประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพมหานครฯ โดยการประชุมแบบโทรทางไกล (Teleconference) ผลการประชุม AERN ครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้รับทราบในเรื่องร่าง AERN Roadmap 2014-2017 และ แผนการดาเนินงานของ AERN  เมื่อวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2557 ได้มีจัดการประชุม ASEAN Energy Regulators’ Network ครั้ง ที่ 4 ณ ประเทศเวียดนาม  การประชุม AERN ครั้งที่ 5 จัดขึ้นโดย Videoconference ในวันที่ 7 เมษายน 2558 AERN มีจุดประสงค์หลักของการจัดตั้งกลุ่ม AERN นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อด้วยกันคือ 1. เพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นการกากับกิจการพลังงาน 2. เพื่อให้เป็นช่องทางใน การเชื่อมต่อกันระหว่างองค์กรกากับกิจการพลังงานของแต่ละประเทศ 3. ให้มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับ กลุ่ม Heads of ASEAN Power Utilities/Authorities (HAPUA) และ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) และคณะทางานที่เกี่ยวข้องในการกาหนดกรอบการกากับดูแลและมาตรการทางเทคนิคให้สอดคล้อง กัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของ APG และ Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ต่อมา Dr.Phuc ได้นาเสนอความคืบหน้าและแผนการดาเนินการร่วมของกลุ่ม AERN และ HAPUA คณะทางานของ AERN จานวน 2 คณะ คือ เรื่องกฎหมายและการสอดประสานด้านเทคนิค และคณะทางาน เรื่องกฏหมาย การเก็บภาษี และการคิดอัตราสาหรับการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน เพื่อเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ และสนับสนุนการดาเนินงานของคณะทางานของ HAPUA โดย AERN WG 1: Technical and Regulatory Harmonizationเข้าไปร่วมกับ HWG 2: Transmission APG และ AERN WG 2: Legal and Commercializationเข้าไปร่วมกับ HWG 4: Policy Study and Commercial Development
  • 13. 13 2.1.3 ความคืบหน้าโครงการนาร่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจากสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังสิงคโปร์ (LTMS: PIP) ผู้บรรยาย: Dr. Poonpat Leesombatpboon, Chief of International Energy Cooperation Office, Ministry of Energy, Thailand Dr. Poonpat นาเสนอรายละเอียดของโครงการ LTMS-PIP (Lao PDR, Thailand, Malaysia, Singapore Power Integration Project) ว่าเป็นความคิดริเริ่มการดาเนินงานร่วมระหว่างประเทศ มีการจัดตั้ง คณะทางานเพื่อเข้ามาดาเนินการขับเคลื่อนโครงการ LTMS-PIP โดยแบ่งการดูแลเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้าน Technical Viability รับผิดชอบโดย มาเลเซีย 2. ด้าน Legal and Regulatory รับผิดชอบโดย สิงคโปร์ 3. ด้าน Commercial Arrangement รับผิดชอบโดย ไทย 4. ด้าน Tax and Tariff Structure รับผิดชอบโดย ลาว ต่อด้วยสาระสาคัญภายใต้โครงการในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศลาว (ผู้ขาย) ไปยังประเทศ สิงคโปร์ (ผู้ซื้อ) โดยผ่านสายส่งไฟฟ้าของประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย โดยโครงการนี้ถือเป็นก้าวแรกในการ ซื้อขายไฟฟ้าในอาเซียน (1st Multilateral power tradeโดยแผนภาพการซื้อขายไฟฟ้าได้ดังนี้ รูปที่ 4 การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศลาวและประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ ได้มีการนาเสนอวิธีในการคานวณอัตราค่าใช้บริการสายส่ง (wheeling charge) ของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) และทาการเปรียบเทียบวิธีการคานวณทั้ง สองแหล่ง ซึ่งหลักการในการคานวณค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยราคาไฟฟ้าที่ประเทศสิงคโปร์ต้องจ่ายทั้งหมด สามารถสรุปได้ดังรูป รูปที่ 5 แนวคิดราคาไฟฟ้าเมื่อประเทศสิงคโปร์ซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว ผ่านไทยและมาเลเซีย ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Dr.Poonpat
  • 14. 14 ช่วงการอภิปรายและ Q&A: 1. Mr. Thomas Chrometzka จาก GiZ ได้ถามประเด็นประเทศไทยและอาเซียนมีการกาหนดนโยบาย พลังงาน ประเด็น Excess Capacity ของพลังงานทดแทนไหม อย่างไร ตอบ ที่ผ่านมามีการใช้นโยบาย zoning และมีแนวทางการดาเนินงานด้านสายส่งโดยพิจารณาร่วมกับ แผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) และ แผนพัฒนา พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP) 2. นายหิน นววงศ์ จากคณะกรรมการบริหารพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ได้มีคาถามว่า ปัจจุบัน สิงค์โปรมี การจัดหาพลังงานพอเพียงกับการต้องการใช้ (S&D) ในการจัดทา LMTS-PIP ดาเนินการเพื่ออะไร ตอบ อาเซียนมีความจาเป็นต้องรวมตัวกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายนอก อาทิ พลังงาน หมุนเวียน/เชื้อเพลิงจากแหล่งถูกกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทาให้อาเซียน ต้องเร่งปรับตัว ต้องรวมตัวกัน แม้ว่า LTMS อาจเป็นระบบซื้อขายไฟฟ้าแรกที่มีอัตราค่าไฟฟ้าสูง แต่ เป็นโครงการต้นแบบของการใช้แหล่งพลังงานสะอาดจาก สปป.ลาว (พลังงานน้า) ร่วมกันในภูมิภาค (prototype) ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการนี้ จะเป็นแนวทางไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างประเทศ โครงการอื่นๆ ในอาเซียนต่อไป 3. เรื่องความพร้อมของประเทศในการเชื่อมต่อ (Readiness of country/ Cross border-issue) และ เป้าหมายของ สปป. ลาว กับการเป็นแหล่งพลังงานแห่งอาเซียน (Battery of ASEAN) 4. สอบถามเรื่องการคานวณ Wheeling Charge และกาหนดการในการดาเนินงาน (Actual Operation)
  • 15. 15 2.2 กระบวนทัศน์ของการบูรณาการระดับภูมิภาคและข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค ผู้บรรยาย: Dr. Brent Layton, Chairperson of Electricity Authority of New Zealand ในหัวข้อนี้ Dr.Brent ได้นาเสนอกรณีศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ เรื่อง Regional Integration Paradigm and Regional Trade Agreement Model โดยโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในนิวซีแลนด์มีกลไกการซื้อขายแบบ ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าตั้งแต่ปี 1996 โดยประเทศนิวซีแลนด์กรอบการกากับดูแลจะเน้นด้านเทคนิคและ เศรษฐศาสตร์ (Technical and economic reasons) Dr.Brent อธิบายว่าลักษณะทางกายภาพแล้วภูมิประเทศแยกออกเดียว(geographically isolated) และแตกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งความสาคัญในการกากับดูแลคือการสมดุลพลังงานของกระแสไฟฟ้า (Imbalances) ด้านการผลิตและการต้องการใช้พลังงาน โดยได้ให้รายละเอียดว่าในปี พ.ศ.2557 ปริมาณการใช้ ไฟฟ้าทางเกาะเหนือมีจานวนรวม 42,200 GWh คิดเป็นร้อยละ 63.1 ของทั้งหมด แต่การผลิตไฟฟ้าในเกาะ เหนือสามารถผลิตได้แค่ร้อยละ 55.7 โดยมีเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าเปรียบเทียบกับทางเกาะใต้ที่ใช้ไฟฟ้าร้อยละ 36.9 แต่ผลิตไฟฟ้าได้ร้อยละ 44.3 นอกเหนือจากนี้ สัดส่วนการผลิตทางเกาะเหนือและเกาะใต้ใช้เชื้อเพลิง ต่างกัน โดยเกาะเหนือจะผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงความร้อนใต้พิภพ (Geothermal generators) เป็นหลัก ส่วนเกาะใต้ใช้พลังงานน้าเป็นเชื้อเพลิงหลัก ทั้งนี้ เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในประเทศนิวซีแลนด์ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลักคือร้อยละ 84 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ในช่วงปี 2000) การกากับดูแลหลักจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเกาะใต้และเหนือ (Significant regional flows on the Transmission grid) โดยมีการเชื่อมต่อระบบส่ง-จ่ายไฟฟ้าด้วยสายส่ง กระแสตรงความดันสูง (HVDC link) และการเชื่อมโยงเครือข่ายกระแสสลับ (AC grid) สิ่งที่จาเป็นสาหรับการ ผสมผสานเครื่องกาเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวและผู้ใช้ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดการซื้อขายไฟฟ้า Dr.Brent ได้นาเสนอ ตัวอย่างวิธีการของประเทศนิวซีแลนด์ในแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1) การกาหนดขนาดกาลังไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องตลอดเวลา - ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator) ใช้โปรแกรมการหาค่าเหมาะสมที่เรียกว่า Scheduling Pricing Dispatch (SPD) ในเลือกว่าผู้ขายไฟฟ้าที่ยื่นขายไฟฟ้ารายใด และขนาด เท่าใด ที่มีความเหมาะสมในการจ่ายกาลังไฟฟ้า และจะเป็นกาหนดราคา ณ ตาแหน่งที่จะจ่าย ไฟฟ้าออกจากระบบ หรือที่เรียกว่า “locational marginal price” (LMP) 2) การกาหนดว่าเครื่องกาเนิดไฟฟ้าใดจะได้รับเงิน และผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดต้องเสียเงิน - ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator) จะใช้โปรแกรมการหาค่าเหมาะสมที่เรียกว่า Scheduling Pricing Dispatch (SPD) ในการแก้ไขปัญหา - Energy Only, no capacity payment: ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity payment)1 ในโครงสร้าง กิจการไฟฟ้าแบบตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Wholesale electricity market) ว่าไม่ควรมีการ 1 หลักการในการคิดราคาค่าไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity Payment) หรือค่า ความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment) มีลักษณะเป็นรายเดือนในการรักษาระดับความพร้อมจ่าย ไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า และส่วนที่ 2 คือ ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment) ซึ่งถือเป็นค่าตอบแทนตามปริมาณ พลังงานไฟฟ้าที่ส่งมอบจริง ค่าพลังงานไฟฟ้านี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายผันแปรในการผลิตและบารุงรักษา
  • 16. 16 จัดเก็บค่าภาษีในโครงสร้างตลาดไฟฟ้า (a cap on wholesale prices) เพราะจะทาให้ลดการ จูงใจในการลงทุน ทั้งนี้การจัดเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวควรมีเฉพาะการจัดเก็บเพื่อใช้การจัดการ กับสภาวะวิกฤติด้านพลังงานเท่านั้น (capacity shortage) หรือเพื่อการส่งเสริมการผลิตใน พลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ ประเทศนิวซีแลนด์ ไม่มีการจัดเก็บค่าพลังงานไฟฟ้า (Capacity payment) รวมทั้งไม่มีลักษณะรัฐให้เงินอุดหนุน (Subsidy) 3) การกาหนดว่าใครที่จะต้องชดเชยค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างสายส่งเพื่อเชื่อมต่อเครื่องกาเนิด ไฟฟ้าแบบกระจายตัวและผู้ใช้ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้า - ในอดีต แนวทางการกาหนดราคาที่แตกต่างกันตามพื้นที่ (nodal pricing) ในตลาดขายส่ง ไฟฟ้า เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า nodal pricing ซึ่งมีอยู่ประมาณ 250 จุด เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน เพราะเป็นการจากัดการหาลูกค้านอกพื้นที่ที่ผู้ผลิตมีโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความแตกต่างของราคาระหว่าง node ขณะที่อีกฝ่ายแย้งว่า ความ แตกต่างของราคาตาม node สะท้อนความแตกต่างของต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง ระหว่าง node ต่างๆ อันเป็นผลมาจากความสูญเสีย และข้อจากัดต่างๆ และเป็นการดีกว่าที่ จะให้ผู้ซื้อและผู้ขายไฟฟ้าเห็นความแตกต่างเหล่านี้ ดีกว่าจะซ่อนไว้โดยการใช้ราคาเฉลี่ย - ระบบส่งไฟฟ้าของประเทศนิวซีแลนด์มีลักษณะเป็นเส้นยาว ตามสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศ ดังนั้น เป็นเรื่องสาคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในตลาดไฟฟ้า ต้องรับทราบถึงข้อจากัดและการสูญเสียใน ระบบส่ง - ในปี 2013 มีการนาการประกันความเสี่ยงของความแตกต่างด้านราคาระหว่าง node มาใช้ Financial transmission rights (FTRs) ทาให้การคัดค้านลดลง และหมดไป ที่เกี่ยวข้องกับ ราคาที่แตกต่างกันตามพื้นที่ต่างๆเพื่อมาแทนรูปแบบการเชื่อมต่อแบบเดิม (Full nodal pricing) โดยมีประมาณ 250 จุดที่ราคาต่างกัน โดยจะต่างกันประมาณร้อยละ 10-20 - การคิดค่าระบบส่งเป็นประเด็นถกเถียงกันมายาวนาน ตั้งแต่มีการแยกเก็บค่าธรรมเนียมสาย ส่งออกจากค่าไฟฟ้า เมื่อต้นศตวรรษ 1990 ณ ปัจจุบันประเทศนิวซีแลนด์ยังคงมีประเด็นเรื่อง นี้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดราคาค่าใช้สายส่งซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเมือง เช่น เรื่อง ราคาในพื้นที่ห่างไกล - ประเด็นหนึ่งที่ถกเกียงกันคือ ผู้เป็นเจ้าของระบบส่งควรจะมีรายได้ทั้งหมด (total revenue) เท่าใด เพราะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับค่าใช้จ่ายการดาเนินงานของการให้บริการระบบส่งที่มี ประสิทธิภาพ และค่าเสียประโยชน์ของเงินลงทุนที่ใช้ไป แม้ว่าประเด็นรายได้ทั้งหมดจะ สามารถตกลงกันได้ การจัดสรรรายได้ให้กับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันต่อไป เนื่องจาก o เป็นการยากที่จะกาหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ o การจากัดความของการให้บริการของระบบส่งมักไม่ชัดเจน ผู้เป็นเจ้าของระบบส่งมัก เน้นการใช้สินทรัพย์ของระบบ มากกว่าการให้บริการต่างๆ ในขณะที่ผู้บริโภคไม่ได้ให้ ความสนใจกับสินทรัพย์ของระบบ แต่ต้องการไฟฟ้าที่มีราคาถูก o ระบบส่งเป็นกิจการที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติ และมักเป็นของหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทที่มีการกากับดูแล ซึ่งมีผลในหลายด้าน คือ  ค่าธรรมเนียมมักได้รับอิทธิพลจากการตัดสินใจทางการเมืองและมีการ lobby กันได้ง่าย
  • 17. 17  ผู้ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมระบบส่ง เกิดคาถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพต้นทุน (cost efficiency) ในการดาเนินงานของผู้ให้บริการ เพราะเป็นกิจการ ผูกขาดโดยธรรมชาติ เกิดความห่วงกังวลว่าพวกเขาต้องจ่ายเงินสาหรับการ ดาเนินงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ (inefficient operations)  ผู้บริโภคเกรงว่า การลงทุนในระบบส่งจะเกินความจาเป็นในปัจจุบัน เนื่องจากหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ อิทธิพลทางการเมือง และผู้กากับดูแลการ ลงทุนในระบบส่ง เป็นความห่วงกังวลในการจ่าย เช่น สาหรับการลงทุนที่ไม่มี ประสิทธิภาพ (inefficient investment) - ประโยชน์เกี่ยวกับป้องกันความเสี่ยงในการเชื่อมต่อพลังงาน (Hedge inter-nodal price) รวมทั้งราคาที่กระทบต้นทุนจริง ณ จุดนั้นๆมากกว่า เนื่องจาก โครงข่ายพลังงานของประเทศ นิวซีแลนด์มีลักษณะยาวแนวดิ่ง (long-stringy grid) รูปที่ 6 ตัวอย่างการกาหนดราคาในจุดต่างๆของประเทศนิวซีแลนด์ ที่มา Electricity Authority of New Zealand
  • 18. 18 2.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายพลังงานระหว่างประเทศ Cross-border Trade Experience Sharing & Regional Regulatory Development 2.3.1 กรณีศึกษาจากกลุ่มประเทศยุโรป (EU case) ผู้บรรยาย: Mr. Dietmar Preinstorfer, Head of International Relations, E-Control Austria Mr. Dietmar กล่าวถึงที่มาของการจัดตั้งกลุ่ม European Union (EU) และในปี ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีของคณะกรรมการกลุ่ม EU (EU Commission) ได้เสนอให้มีตลาดซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซของ ภูมิภาคยุโรปขึ้น ในรูปแบบ Wholesale market ตลาดพลังงานเดียวกากับดูแลโดย Council of European Energy Regulator (CEER) และ European Regulators’ Group for Electricity & Gas (ERGEG) ภูมิภาค ยุโรปต้องการให้มีการแข่งขันในตลาดพลังงานเน้นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคให้มีทางเลือกในการใช้บริการ พลังงาน โดยแนวทางในการดาเนินการสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคือ 1. ช่วงการเปิดตลาดซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซ และการก่อตั้งหน่วยงานอิสระซึ่งมีอานาจในการกากับการซื้อ ขาย (Creation of new bodies; ACER and ENTSOs) 1.1 ACER (Agency for the Cooperation of Energy Regulators) เป็นหน่วยงานภายใต้ EU ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.2010 (พ.ศ. 2553) มีหน้าที่ประสานความร่วมมือของ Regulators ในภูมิภาคยุโรป มีส่วน ร่วมในการจัดทากฎระเบียบเกี่ยวกับโครงข่าย ให้คาแนะนาต่อ EU และกากับตลาดพลังงานยุโรป ACER ออก “Energy Regulation: A bridge to 2025” กาหนดไว้ว่า “Greater penetration of renewable-based generation is significantly increasing the requirement for market-based flexible response which will include the demand side and the supply side.” ดังนั้น ในปัจจุบัน EU จึงให้ความสนใจ และส่งเสริม “flexible response” ทั้งในด้าน Supply Side และ Demand Side Flexibility (DSF) รูปที่ 7 องค์ประกอบของ ACER ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar 1.2 องค์กรความร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมระบบส่งกาลังไฟฟ้าในสหภาพยุโรป ENTSO-E (European Network of Transmission System Operators for Electricity) ประกอบด้วย 41 TSOs ด้าน ไฟฟ้าจาก 34 ประเทศในภูมิภาคยุโรป มีหน้าที่ หลอมรวมเทคโนโลยีและกฎระเบียบเพื่อบูรณาการ อุตสาหกรรมของ TSO การบริหารจัดการของเครือข่ายแบบบูรณาการระบบโครงข่ายเน้นเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ณ เวลานั้นๆ
  • 19. 19 2. ช่วงแห่งการก่อตั้งตลาดขายส่งในระดับภูมิภาค การก่อตั้งองค์กรพิเศษ การผนวกรวมกฎต่างๆ ระหว่างประเทศเข้าด้วยกัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า (Development of harmonized (cross-border) market rules: Framework Guidelines & Network Codes) การกาหนดกรอบแนวทางการจัดทาข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่าย (Framework Guidelines:FG) ในรูปแบบไม่บังคับ (Light-force) และข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายด้านเทคนิค (Network Codes) โดย TSOs ซึ่ง Mr.Dietmar ได้เล่ากระบวนการในการดาเนินการว่าใช้เวลาประมาณ 1 ปี 9 เดือน หลังจาก EC กาหนด Priorities แล้ว EC จะขอให้ ACER เสนอ FG โดยระยะ 6 เดือนแรกองค์กรกากับ ของชาติจะร่าง Framework Guideline เสนอ ACER หลังจากนั้น EC จะขอให้ ENTSO เสนอ Network Code ต่อ ACER โดยให้เวลาจัดทา 12 เดือน และ ระยะ 3 เดือนสุดท้าย ACER จะพิจารณา Network Code หากเห็นชอบก็จะส่งให้ EC พร้อมข้อเสนอแนะให้การอนุมัติเพื่อออกเป็น Commission Regulation บังคับใช้ ตามกฎหมาย (legally binding) กับประเทศสมาชิก โดยมีองค์กรกากับระดับชาติรวมพิจารณา ดังรูป รูปที่ 8 กระบวนการจัดทา Network code ในภูมิภาคยุโรป รูปที่ 9 ภาพรวมของ Framework Guideline (FG) ที่มารูปที่ 8-9 เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar
  • 20. 20 ขั้นตอนการกาหนด Network Code และผู้รับผิดชอบในขั้นตอนต่างๆ 1. Development ACER –ENTSOs-Commission 2. Implementation ผู้มีส่วนได้เสียในตลาด และประเทศสมาชิก 3. Monitoring ACER องค์กรกากับกิจการพลังงาน และ ENTSOs 4. Enforcement องค์กรกากับกิจการพลังงาน และประเทศสมาชิก Mr.Dietmar ได้อธิบายกรอบแนวทางการจัดทาข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่าย (Framework Guideline:FG) และข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายด้านเทคนิค (Network Codes: NC) ที่เกี่ยวข้อง ในด้านนั้นๆ โดยยกตัวอย่างดังนี้ 2.1 FG เรื่อง Capacity Allocation and Congestion Management (CACM) มีวัตถุประสงค์เพื่อ วางกรอบแนวทางกฎหมายและข้อกาหนดต่างๆ สาหรับ TSOs และ Power Exchange ในการดาเนินงานของ ตลาดไฟฟ้าที่บูรณาการทั้งลักษณะ long-term, day-ahead และ intraday โดย NC ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การ จัดสรร forward capacity สาหรับกรอบระยะยาว (Long terms) 2.2 FG เรื่อง Electricity Balancing มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกรอบบูรณาการตลาดสมดุลพลังงานไฟฟ้า ของแต่ละประเทศ แนวทางหลักในการออกแบบการเชื่อมต่อพลังงานเชิงพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อ ระหว่างประเทศที่เน้นการแข่งขัน ไม่กีดกันผู้ขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน FG เกี่ยวข้องกับด้านการจัดหา พลังงานสนับสนุนการวางแผนพลังงานที่สมดุลระหว่างการต้องการใช้ (Energy Demand) การจัดหา (Energy Supply) การวิเคราะห์ความสมดุลพลังงานในระบบ (overall efficiency of balancing the electricity system) โดย FG นี้จะนาไปสู่การข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบด้านเทคนิค (NC) ในเรื่องพลังไฟฟ้าสมดุล (Electricity Balancing) 2.3 FG เรื่อง Grid Connection มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดแนวทางการกากับดูแลระบบโครงข่าย พลังงาน และแนวทางการเชื่อมต่อกริดเพื่อพัฒนาความสอดคล้องของข้อบังคับ (Regime) ที่จะสนับสนุนระบบ ไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Secure system operation) โดย FG นี้จะนาไปสู่การจัดทา ข้อกาหนดในการเชื่อมต่อระบบด้านเทคนิค (NC) ในเรื่องการเชื่อมต่อของหน่วยผลิต (Requirements for Grid Connection Applicable to all Generators); การเชื่อมต่อตามความต้องการใช้ (Demand Connection); การเชื่อมต่อของระบบส่ง-จ่ายไฟฟ้าด้วยสายส่งกระแสตรงแรงดันสูง (HVDC) และของหน่วย ผลิตไฟฟ้าแบบ Power park modules ที่เชื่อมต่อแบบกระแสตรง (DC) เข้าสู่องค์ประกอบผลิต 2.4 FG เรื่อง System Operation มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดแนวทางข้อบังคับการปฏิบัติการของศูนย์ ควบคุมระบบไฟฟ้า ให้สอดคล้องกัน (Harmonised system operation regiome) ข้อกาหนดการพัฒนาศูนย์ ควบคุมฯ และการวางแผนที่จะรองรับการนาพลังงานหมุนเวียนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในอนาคต โดย FG นี้จะ เกี่ยวข้องกับข้อกาหนด (NC) เรื่องความปลอดภัยในการดาเนินงาน (Operational Security); แผนการ ดาเนินงาน (Operational Planning and Scheduling) การจัดการควบคุมความถี่โหลดและปริมาณสารอง (Load-frequency Control and Reserves) กรณีเหตุฉุกเฉินและกู้ระบบ (Emergency and Restoration)
  • 21. 21 รูปที่ 10 ประวัติการจัดตั้งตลาดพลังงานของยุโรป ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr. Dietmar 3. ช่วงก่อตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าปลีกในระดับภูมิภาค การผนวกรวมกฎการแลกเปลี่ยนข้อมูล การ อนุญาตให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ (new framework for a coordinated infrastructure development) ประเทศที่มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องดังเช่นประเทศในสหภาพยุโรปแล้วจะเห็น ได้ว่าเกือบทั่วทั้งสหภาพยุโรปมีระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าแรงสูงที่ค่อนข้างมากและละเอียดซับซ้อนมีองค์ประกอบ 41 TSOs จาก 34 ประเทศ ทั้งนี้ Mr. Dietmar ได้ยกตัวอย่างกฎระเบียบ EU Energy Infrastructure Regulation 347/2013 มี ผลบังคับตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2013 (พ.ศ.2556) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพลังงานระหว่างประเทศ (12 energy infrastructure priority corridors) และเร่งการนาไปสู่การให้อนุญาตที่เดียวของยุโรป (EU one- stop-shop permit granting) และการให้ความช่วยเหลือในด้านทุน ที่ทุกประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปได้ ร่วมกันจัดลาดับโครงการโดยเน้นประโยชน์สูงสุดของภูมิภาคก่อน (Projects of Common Interest: PCIs) รวมทั้งหมด 248 โครงการที่ต้องเร่งดาเนินงานก่อน (Infrastructure Priorities) รูปที่ 11 ตลาดพลังงานของยุโรปเน้นจัดลาดับโครงการแบบ Project of Common Interest: PCIs ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar
  • 22. 22 นอกจากนี้ Mr. Dietmar ได้แจ้งให้ทราบว่าวันที่ 7 ตุลาคมนี้ EU จะมี Energy Database เดียวกันทั้ง ภูมิภาคซึ่งเป็นอีกก้าวสาคัญในตลาดพลังงานยุโรป รวมทั้งเน้นย้าเรื่อง Retail market integration การเริ่มต้น ของการแข่งขันในตลาดพลังงานจะเริ่มจากการเปิดระบบโครงข่ายให้บุคคลที่สาม (Third party access: TPA) ที่จะนาไปสู่การมีองค์กรกากับที่เป็นอิสระเพื่อมาดูแลการแข่งขัน (National regulatory authorities: NRAs) ที่เน้นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ จะต้องเกี่ยวข้องกับโปรแกรมการพัฒนาระบบที่เพิ่มการใช้พลังงาน หมุนเวียน (RES integration2 ) เพื่อนาไปสู่วิสัยทัศน์การบูรณาการตลาดพลังงานระดับภูมิภาคทั้งระดับขายส่ง และปลีกของยุโรปอย่างแท้จริง รูปที่ 12 เอกสารประกอบการบรรยายของ MR.Dietmar ในจัดตั้งตลาดพลังงาน ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย Mr.Dietmar 2.3.2 กรณีศึกษาจากกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean case) ผู้บรรยาย: Dr. Nicolò Di Gaetano, Senior Board Advisor of the Italian Energy & Water Regulator (AEEGSI) Dr.Nicolo นาเสนอภูมิประเทศบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ซึ่งมีผู้คนหลากหลายวัฒนธรรม (ยุโรป ตะวันตก คาบสมุทรบอลข่าน ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ) ด้วยสาเหตุของความแตกต่างทางด้าน วัฒนธรรมนี้ทาให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัฒนธรรมก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นองค์กร Mediterranean Energy Regulators (MEDREG) จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อผนวกโครงสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้หลักการเดียวกัน องค์กร Mediterranean Energy Regulators (MEDREG) จัดตั้งขึ้นในปี 2007 ตามกฎหมายของ ประเทศอิตาลี เพื่อรวมตัวกันของ Energy Regulators ในภูมิภาค Mediterranean 24 ประเทศ เพื่อการกากับ ดูแลด้านไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงาน (Energy Demand) จากน้ามันสูงที่สุด รองลงมาเป็นก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน และพลังน้า ตามลาดับ โดยในปี 2030 การใช้ น้ามัน ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นกว่าประเภทอื่นๆ โดยพลังงานหมุนเวียนจะสูง ขึ้นอยู่ในระดับเดียวกับนิวเคลียร์ และถ่านหิน การผลิตไฟฟ้าในปี 2013 มีสัดส่วนของก๊าซธรรมชาติมากที่สุด 2 Renewable Energy System (RES) Integration คือการพัฒนาระบบพลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการ นาพลังงานหมุนเวียนเข้ามาให้ในการผลิตไฟฟ้าของสหภาพยุโรป (EU's renewable energy)