SlideShare a Scribd company logo
1 of 70
Download to read offline
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
165
เนื้อหา - สาระ
เรื่อง องค์ประกอบทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์
๑.	 สำ�หรับครูผู้สอนได้ศึกษาสร้างความรู้ความเข้าใจและปรับการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กระดับชั้นประถมปีที่ ๓
ลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ หมายถึง ลักษณะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราอยู่ในชั้นของ
เปลือกโลก อันเป็นชั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดิน แผ่นนํ้า อากาศและสิ่งมีชีวิต
ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ส่งผลในการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ในพื้นที่นั้นๆ เช่น จังหวัดภาคเหนือของไทย
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ภูมิอากาศร้อนหรือหนาวมากกว่าภาคอื่นๆ ทรัพยากรมีป่าไม้ จังหวัดที่อยู่ชายทะเล
พื้นดินมีลักษณะเป็นดินทราย ภูมิอากาศไม่ร้อนจัด หนาวจัด อากาศเย็นสบาย เพราะมีลมบก ลมทะเล เป็นเมืองตาก
อากาศ และประมง ซึ่งการดำ�รงชีวิตของท้องถิ่นคือ ประกอบอาชีพการท่องเที่ยวและจับสัตว์นํ้า (ปู ปลา หอย กุ้ง)
องค์ประกอบการศึกษาทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ๓ ประการ คือ
๑.	 ลักษณะภูมิประเทศ
๒.	ลักษณะภูมิอากาศ
๓.	ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
๑.	ลักษณะภูมิประเทศ
หมายถึง ลักษณะสูงๆ ตํ่าๆ ของพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ (ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง) เนินเขา ภูเขา หนอง บึง แม่นํ้า
ลำ�คลอง ทะเล ทะเลสาบ แหลม อ่าว เกาะ
ปัจจัยสำ�คัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจาก
๑.	 ภายในโลกมีความร้อนและแรงกดดัน ทำ�ให้เปลือกโลกบีบอัด ยกตัวสูงขึ้น หรือหดตัวในลักษณะต่างๆ
เป็นภูเขา ที่ราบ เหว แอ่งลึก
๒.	ตัวกระทำ�ภายนอกโลกที่เกิดจากการสึกกร่อนถูกทำ�ลายหรือทับถม อันเกิดจากการกระทำ�ของนํ้า ลม
(กระแสการพัดพา) อุณหภูมิของอากาศและธารนํ้าแข็ง
ความสำ�คัญของภูมิประเทศ
๑.	 มนุษย์จะเลือกตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพบริเวณที่ราบลุ่ม ที่ราบชายฝั่ง เพราะมีดินแดนลักษณะ
ภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการประกอบอาชีพ เช่น ทำ�เกษตร อุตสาหกรรม การประมง เป็นต้น
๒.	ภูมิประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำ�ให้อากาศในแต่ละแห่งแตกต่างกัน เช่น ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง จะมี
อากาศค่อนข้างหนาว บริเวณชายทะเลจะมีอากาศเย็นสบาย
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
166
๓.	 ลักษณะภูมิประเทศมีความสำ�คัญ (อิทธิพล) ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตเทือกเขาหรือที่ราบสูง จะมี
ป่าไม้ สัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เขตที่ราบลุ่ม มีดิน นํ้าที่อุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเพาะปลูก บริเวณภูเขา
มีแร่ธาตุ
๒.	ลักษณะภูมิอากาศ
หมายถึง ลักษณะของอากาศเฉลี่ยบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ในระยะเวลายาวต่อเนื่อง โดยมีองค์ประกอบที่สำ�คัญ
ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณนํ้าฝน ความกดอากาศ ลมบนพื้นผิว อากาศร้อนหนาว อบอุ่น
ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อการดำ�รงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เช่น มนุษย์จะตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในบริเวณที่มี
ภูมิอากาศอบอุ่น หรือไม่ร้อนมาก เพื่อประกอบอาชีพที่ง่าย และสะดวกสบาย เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การ
ท่องเที่ยว
ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อสุขภาพ ประเพณี วัฒนธรรมและศิลปกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น คนที่อยู่ประเทศ
ที่หนาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ปกคลุม การสร้างบ้านเรือนจะต้องทำ�การป้องกันอากาศหนาว ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน
จะสร้างบ้านหลังคาทรงสูงที่เป็นเรือนไทย
ความสำ�คัญของภูมิอากาศ
๑.	 ความสำ�คัญต่อลักษณะภูมิประเทศ เช่น บริเวณที่มีอากาศร้อนฝนตกชุกตลอดปี ทำ�ให้เกิดลักษณะ
ภูมิประเทศที่เป็นแม่นํ้า ลำ�ธาร หนอง บึง
๒.	ความสำ�คัญต่อทรัพยากร เช่น บริเวณใดที่มีอากาศร้อนชื้น ฝนจะตกชุก ทำ�ให้เกิดทรัพยากรป่าไม้และสัตว์
ชุกชุม
๓.	 ความสำ�คัญต่อมนุษย์ ภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี เช่น การ
สร้างบ้านเรือน และการแต่งกาย คนเมืองหนาวแต่งกายเสื้อผ้าหนาปกคลุม คนเมืองร้อนใส่เสื้อผ้าบาง
๓.	ทรัพยากรธรรมชาติ
หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์นำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการดำ�รงชีวิต เศรษฐกิจ และ
การพักผ่อน มี ๓ ประเภท คือ
๑.	 ทรัพยากรหมุนเวียน สามารถปรับสภาพให้เหมือนเดิมหรือใกล้เคียงได้ เช่น ดินมีแร่ธาตุในการเพาะปลูก
หากแร่ธาตุชนิดใดหมดไป มนุษย์สามารถจัดเพิ่มให้เหมือนเดิม
			 นํ้าเน่าเสีย มนุษย์สามารถปรับปรุงแก้ไขให้กลับสภาพเดิมและนำ�มาใช้หมุนเวียน พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงนำ�กังหันลมปั่นนํ้าให้มีธาตุออกซิเจนกลับมาใช้ใหม่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
167
๒.	ทรัพยากรสูญสิ้น ไม่มีวัฏจักรการหมุนเวียน หรือปรับสภาพให้เข้าสู่สภาพเดิม เช่น นํ้ามันปิโตรเลียม
ก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรสูญสิ้นนี้มีจำ�นวนจำ�กัด และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ไม่สามารถจะสร้างขึ้นมา
ทดแทน มนุษย์จำ�เป็นต้องใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายต่อประเทศโลก
๓.	 ทรัพยากรสูญสิ้น แต่สามารถสร้างทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์นํ้า ปลา ปู หอย กุ้ง แต่ทรัพยากร
เหล่านี้จะต้องใช้เวลาในการสร้างทดแทน การใช้จึงควรระมัดระวัง จะต้องมีการสร้างทดแทนอยู่เสมอ
หรือมีระยะเวลางดใช้ในบางโอกาส เช่น ไม่จับปลาในฤดูวางไข่ เป็นต้น
ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติก็คือ เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ พัฒนาชุมชนและประเทศให้
เจริญก้าวหน้า
หมายเหตุ	 ครูควรได้ศึกษาเนื้อหาสาระข้างต้น เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในเรื่อง
แนวทางการเรียนลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ว่าพิจารณาศึกษาจากประเด็น ๓ ข้อ คือ ลักษณะ
ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติของสถานที่นั้นๆ
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
168
เรื่อง ชุมชนของฉัน
สำ�หรับนักเรียนที่ควรรู้
ชุมชนเป็นที่ตั้งของบ้าน และสถานที่อำ�นวยความสะดวกต่างๆ
ชุมชนที่เล็กที่สุด	 เรียกว่า	 หมู่บ้าน
หลายหมู่บ้าน	 เรียกว่า	 ตำ�บล
หลายตำ�บล	 เรียกว่า	 อำ�เภอ
หลายอำ�เภอ	 เรียกว่า	 จังหวัด
หลายจังหวัด	 เป็น	 ประเทศ
การศึกษาหาความรู้ในเชิงภูมิศาสตร์ของชุมชนต่างๆ ให้ศึกษาจากองค์ประกอบทางกายภาพ ๓ ประการคือ
๑.	 ลักษณะภูมิประเทศของชุมชนที่ตั้ง เช่น เราอยู่ในชุมชนตำ�บลหัวหิน ลักษณะจะเป็นทะเล ชายหาดทราย
จะค่อยๆ ลาดลงสู่ทะเล
๒.	ลักษณะภูมิอากาศของชุมชนที่ตั้ง เช่น ชุมชนตำ�บลหัวหิน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเล ภูมิอากาศจะ
เย็นสบายไม่ร้อนจัด หนาวจัด เพราะมีลมบก ลมทะเล
๓.	 ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนที่ตั้ง เช่น ชุมชนตำ�บลหัวหิน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเล ทรัพยากร
ธรรมชาติของหัวหินคือ สัตว์นํ้าทะเล ปลา ปู หอย กุ้ง
เมื่อศึกษาองค์ประกอบทั้งสามข้างต้น สามารถทราบถึงการดำ�รงชีพของชุมชนนั้นๆ ได้ เช่น ตำ�บลหัวหิน
ชาวชุมชนจะประกอบอาชีพจับสัตว์นํ้า (ทะเล) หัวหินมีภูมิอากาศเย็นสบาย จัดเป็นเมืองท่องเที่ยว พักผ่อน มีหัตถกรรม
อุตสาหกรรมที่ตามมาคือ การทำ�ของชำ�ร่วยจำ�หน่ายนักท่องเที่ยว เช่น ผ้าโขมพัตร สิ่งประดิษฐ์จากเปลือกหอยและ
การพานักท่องเที่ยวชมทะเลดูปะการัง ฯลฯ
สถานที่สำ�คัญของชุมชน
๑.	 สถานที่ซึ่งเป็นส่วนราชการที่สำ�คัญ ได้แก่
	 ๑.	 โรงเรียนเป็นสถานที่ให้การอบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่เยาวชน บุคลากรที่สำ�คัญในโรงเรียนมี ครู
	 นักเรียน คนงาน ภารโรง
	 ๒.	 เขตอำ�เภอ เป็นสถานที่ให้บริการเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ทะเบียนสมรส ทะเบียนทหาร
		 รับแจ้งเกิดหรือตาย
	 ๓.	 สถานีตำ�รวจ เป็นสถานที่ทำ�การของตำ�รวจ รับแจ้งความ ติดตามจับผู้ร้าย รักษาความสงบสุขของ
	 ชุมชน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
169
	 ๔.	 ที่ว่าการไปรษณีย์เป็นสถานที่ให้บริการส่งข่าวสารทางจดหมายและโทรเลขตลอดจนบริการส่งสิ่งของ
	 และเงิน เพื่อนำ�ไปให้ผู้ที่อยู่ไกล
	 ๕.	 สถานีอนามัย โรงพยาบาล เป็นสถานที่ให้บริการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ดูแลเรื่องสุขภาพ การ
	 ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
๒.	สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนา ได้แก่
	 ๑.	 วัดต่างๆ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ
	 ๒.	 มัสยิด ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศาสนาอิสลาม
	 ๓.	 โบสถ์ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศาสนาคริสต์
๓.	 สถานที่อื่นๆ ได้แก่
	 ๑.	 ตลาด เป็นที่ตั้งของร้านค้า ผู้คนในชุมชนจะซื้อหรือขายสิ่งของ ณ สถานที่แห่งนี้
	 ๒.	 สวนสาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
	 ๓.	 สนามเด็กเล่น เป็นสถานที่ให้เด็กได้เล่นสนุกสนาน
	 ๔.	 ห้องสมุดประชาชน จะมีหนังสือที่น่ารู้ น่าอ่านบริการให้บุคคลในชุมชนหาความรู้
	 ๕.	 โรงมหรสพหรือโรงภาพยนตร์ เป็นสถานที่สำ�หรับบริการให้ชุมชนได้เข้าชมการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก
	 ดนตรี หรือฉายภาพยนตร์ เป็นการพักผ่อน บันเทิงจิตใจ
	 ๖.	 พิพิธภัณฑสถาน เป็นโบราณสถานที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ หรือสถานท่องเที่ยว
		 ฯลฯ
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
170
ตัวอย่างผังความคิด ส ๕.๑ ข้อ ๓ (๑)
ภาคผนวก ๑ การศึกษาท้องถิ่นของเรา
แผนผัง
แผนที่
องค์ประกอบ
ของแผนผัง
แผนที่
ความหมาย
แผนผัง
แผนที่
เครื่องมือ
ภูมิศาสตร์
อย่างง่าย
ดวงอาทิตย์
มาตราส่วน
ภูเขา
ทิศ
แม่นํ้า
ลักษณะ
อาคารบ้านเรือน
ธรรมชาติ
เครื่องมือ
บอกตำ�แหน่ง
ดวงจันทร์
ดวงดาว
เครื่องมือ
วัดระยะทาง
ก้าวเดิน
เมตร
กิโลเมตร
เส้นลองติจูด
(เส้นแวง)
บอกสถานที่และเวลา
เส้นละติจูด
(เส้นรุ้ง)
บอกสถานที่และอากาศ
เครื่องมือ
ช่วยหาตำ�แหน่ง
ที่ไม่รู้จัก
ภาพย่อของสิ่งต่างๆ
เช่น สิ่งของ
อาคาร สถานที่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
171
เนื้อหา - สาระ
เรื่อง แผนผังและแผนที่
แผนผังและแผนที่ เป็นเครื่องมือในการช่วยหาตำ�แหน่งของสถานที่ที่ไม่รู้จัก
การอ่านแผนที่เป็นจะทำ�ให้หาสถานที่ที่ต้องการจะไปได้ถูกต้อง
การสร้างแผนผัง แผนที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ ดังนี้
–	 ทิศ ทิศตะวันออก ตก เหนือ ใต้
–	 สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น บ้าน แม่นํ้า ภูเขา ทางรถไฟ ฯลฯ
–	 มาตราส่วน
–	 เส้นลองติจูด (เส้นแวง) นอกจากจะรู้สถานที่แล้ว ยังสามารถรู้เวลา
–	 เส้นละติจูด (เส้นรุ้ง) นอกจากจะรู้สถานที่แล้ว ยังสามารถรู้ภูมิอากาศ
๑.	 แผนผัง เป็นภาพย่อส่วนของสิ่งต่างๆ เช่น สิ่งของ อาคารสถานที่ จะเขียนแผนผังในลักษณะที่มองจาก
ที่สูง เพื่อแสดงตำ�แหน่งของสิ่งของอาคารสถานที่ต่างๆ ให้เข้าใจง่ายๆ เช่น แผนผังบ้าน แผนผังโรงเรียน
แผนผังชุมชน
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
172
เทศบาล
บ้าน
ตลาด
วัด โรงเรียน
สถานีอนามัย
ทุ่งนา
สวนสาธารณะ
ถนนถนน
ถนน
วัด
ตัวอย่างแผนผังชุมชน
แม่นํ้า
หมู่บ้าน
หมู่บ้านประมง
ท่าสะพานปลา
สวนสาธารณะ
ถนน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
173
๒.	แผนที่ เป็นสิ่งที่มนุษย์เขียนขึ้น เพื่อแสดงปรากฏการณ์บนพื้นผิวโลกลงในแผ่นวัสดุแบนราบ โดยการ
ย่อส่วนลง ในขนาดที่ต้องการ ใช้สี เส้น สัญลักษณ์
องค์ประกอบของแผนที่ โดยกำ�หนดวงกลมเป็นโลกจะมี
๑.	 เส้นสมมุติที่ลากในแนวนอนรอบโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก มี ๑๘๐ เส้น เรียกว่าละติจูดที่สำ�คัญ
คือ
๒.	เส้นสมมุติที่ลากในแนวตั้ง จากทิศเหนือลงใต้ มี ๓๖๐ เส้น เรียก ลองติจูด
	 ที่สำ�คัญคือ เส้นเมอริเดียน แบ่งโลกเป็น ๒ ส่วนคือ ซีกตะวันออก และตะวันตก ข้างละ ๑๘๐ เส้น
๓.	 ทิศ ในแผนที่เป็นที่ทราบว่า ด้านบนเป็นทิศเหนือ ด้านล่างเป็นทิศใต้ ด้านซ้ายเป็นทิศตะวันตกและด้านขวา
เป็นทิศตะวันออก
๔.	 มาตราส่วนคือ อัตราส่วนย่อระยะทางบนแผนที่กับระยะทางจริงบนภูมิประเทศ อาจจะใช้มาตราส่วน
๑ : ๑๐๐,๐๐๐
๕.	สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ดังเช่น
		 แทนเมือง
		 แทนทางรถไฟ
		 แทนแม่นํ้า
เส้นศูนย์สูตร แบ่งโลกเป็น ๒ ซีก
– อากาศร้อน
E
N
W
S
ON
OS
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
174
		 แทนภูเขา
		 แทนทะเลสาบ
เครื่องมือภูมิศาสตร์อย่างง่าย
เครื่องมือบอกตำ�แหน่ง ได้แก่ ความรู้เรื่องทิศต่างๆ จะช่วยให้เรารู้ว่าเรายืนอยู่ตรงทิศอะไรของแม่นํ้า ภูเขา ฯลฯ
สิ่งที่ช่วยในการบอกทิศ ได้แก่ เข็มทิศ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว
๑.	 เข็มทิศ เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยใช้แรงดึงดูดของแม่เหล็ก เข็มทิศบอกทิศเหนือ เราสามารถ
หาทิศใต้ ทิศตะวันตก ตะวันออก ได้เมื่อเราหมุนเข็มทิศไปหาทิศนั้นๆ
๒.	ดวงอาทิตย์ ในตอนเช้า อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ถ้าเรากางมือขวาไปทางดวงอาทิตย์ กางมือซ้ายตรง
ข้าม เราจะรู้ว่าเป็นทิศตะวันตก ด้านหน้าเป็นทิศเหนือ ด้านหลังเป็นทิศใต้
เหนือ
ออก
ใต้
ตก
E
N
W
S
เหนือ
ออก
ใต้
ตก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
175
	 ถ้าเราไปทะเล เราสามารถใช้ดวงอาทิตย์กำ�หนดเวลา
	 เช่น	 เวลาเช้า	 เราจะเห็นดวงอาทิตย์โผล่จากพื้นผิวนํ้า ไม่สูงมากนัก
		 เวลาสาย	 ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ สูงขึ้น
		 เวลาเที่ยง	 ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ คล้อยหมุนไปทางซ้าย
		 เวลาเย็นค่ำ�	 ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ตํ่าลงจนลับขอบฟ้า
๓.	 ดวงจันทร์ เป็นบริวารของโลกจะขึ้นตกทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ หมุนรอบโลก ๒๙ วัน เรามองเห็น
ดวงจันทร์ในแต่ละวันต่างกัน บางวันเต็มดวง บางวันครึ่งดวง เป็นเวลาข้างขึ้น ถ้าดวงจันทร์เว้าแหว่ง
จนกระทั่งบางวันมองไม่เห็น เราเรียกว่า ข้างแรม
	 เราสามารถใช้ดวงจันทร์บอกทิศทางได้ก็คือ
	 ช่วงข้างขึ้น ดวงจันทร์จะหันส่วนที่แหว่งไปทางทิศตะวันออก
	 ช่างข้างแรม ดวงจันทร์จะหันส่วนที่แหว่งไปทางทิศตะวันตก
๔.	 ดวงดาว สามารถบอกทิศได้ เช่น ดาวเหนือ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์มีแสงสว่างในตัวเอง จะอยู่ประจำ�ทิศเหนือ
ประโยชน์ของทิศ
		 บอกตำ�แหน่งสถานที่
		 ช่วยในการเดินเรือ เครื่องบิน
		 ช่วยในการอ่านแผนที่
w w w w w w w w
ตะวันออก
ตะวันตก
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
176
ตัวอย่าง ผังความคิด (Mind Mapping) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ส ๕.๒ ข้อ ๑ (๑) - (๘)
สิ่งแวดล้อม
ทางธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม
มีชีวิต
สัตว์
พืช สิ่งแวดล้อม
ไม่มีชีวิต
นํ้า
ดิน
การพึ่งพากัน
ทางธรรมชาติ
w w w w w w w w
ทรัพยากร
ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
ผลเสียจากการทำ�ลาย
ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม
ทางธรรมชาติ
ความหมายการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
ทรัพยากร
ธรรมชาติ
ประเภทของ
ทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ
หินแร่ธาตุ
ดิน
สัตว์ป่า
ป่าไม้
อากาศ
นํ้า
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
177
เนื้อหา - สาระย่อ
เรื่อง สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
สาระสำ�คัญ
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความหมายเดียวกัน เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ มี
ประโยชน์ต่อมนุษย์
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ย่อมสูญสิ้นหรือหมดไปจากโลกนี้ได้
มนุษย์ควรเห็นคุณค่าและความสำ�คัญ รู้จักปฏิบัติตนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เนื้อหา
๑.	 ความหมาย สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตเกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมา
	 ตัวอย่าง
	 สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ นํ้า ดิน แร่ธาตุ พืชและสัตว์
	 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้าน ที่อยู่อาศัย สะพาน ถนน เขื่อนกั้นนํ้า ขุดคูคลอง ฯลฯ
๒.	สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แบ่งเป็น ๒ ประเภท
	 ๒.๑	 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต กินอาหารเจริญเติบโต มีความรู้สึก สืบพันธุ์ได้ หายใจ ขับถ่าย เคลื่อนไหวได้
เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์นํ้า ปลา ปู หอย กุ้ง ฯลฯ
หมายเหตุ	 การจัดทำ�ผังความคิด ครูควรปฏิบัติ
	 ๑.	 ตั้งหัวข้อเรื่องไว้
	 ๒.	 กระตุ้นความคิด และค่อยๆ ต่อผังความคิดเมื่อนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสรุปความคิด
รวบยอดได้
	 ๓.	 ไม่ควรนำ�ผังความคิด ที่มีรูปเต็มสมบูรณ์ของครูสอนนักเรียน ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ�ผัง
ความคิด จะเกิดความสนุก
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
178
	 ๒.๒	สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต มีคุณสมบัติตรงข้ามกับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ข้อ ๑ ได้แก่ ดิน หิน แร่ ธาตุ
ก๊าซ นํ้า อากาศ
	การพึ่งพากันทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติต้องอาศัยกัน เช่น มนุษย์อาศัยดินในการเพาะปลูก อาศัยนํ้า
เพื่ออุปโภคบริโภค อาศัยอากาศบริสุทธิ์หายใจ ป่าไม้ ต้นไม้อาศัยดิน ดินอาศัยต้นไม้ ปกคลุมให้ความชุ่มชื้น นํ้า อากาศ
ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโต สิ่งแวดล้อมต่างๆ จะมีการพึ่งพาอาศัยกันทางธรรมชาติ เรียกว่า วัฏจักรของธรรมชาติ
๓.	 ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติโดยเกิดขึ้นเอง และทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
	 ตัวอย่าง	 ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การสร้างเขื่อนกั้นนํ้า การขุดคลอง หนองบึง การนำ�นํ้ามันกลั่น
เพื่อใช้ ฯลฯ
	 ตัวอย่าง	 ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ นํ้าดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงาน
แสงแดด พลังงานลม เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีประโยชน์และมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์
๔.	 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง
ประหยัดคุ้มค่า เพื่อจะได้มีทรัพยากรไว้ใช้ในการดำ�รงชีพต่อไปได้นานๆ
		หลักการอนุรักษ์ทรัพยากร มีดังนี้
	 ๑.	 ประหยัดการใช้ เพื่อให้ใช้ได้นานๆ
	 ๒.	 ใช้ให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่ามากที่สุด
	 ๓.	 ใช้แล้วสามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้อีก (RECYCLE) ช่วยลดการทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติ และ
	 สิ่งแวดล้อมลงได้
	 ๔.	 ควรมีการบำ�รุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕.	 ผลเสียจากการทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
		สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความสำ�คัญและจำ�เป็นต่อมนุษย์ หากมนุษย์ใช้อย่างฟุ่มเฟือยไม่ถูกต้อง
อาจมีการเปลี่ยนแปลง เกิดผลเสียเป็นอันตรายได้ดังเช่น การเปลี่ยนแปลงของ
	 ๑.	 อากาศ โรงงานอุตสาหกรรม ท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซพิษคาร์บอนไดออกไซด์ ไปรวมกับคาร์บอน-
	 มอนนอกไซด์ ฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะไปรวมกับอากาศบริสุทธิ์ ทำ�ให้
	 เกิดพิษเป็นอันตราย
	 ๒.	 นํ้า มีความจำ�เป็นต่อมนุษย์ในการบริโภคดื่มใช้ แม่นํ้าลำ�คลอง หากมีขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลที่มนุษย์
	 ทิ้งลงในนํ้าทำ�ให้เกิดเน่าเสีย มีผลกระทบต่อสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนํ้า เช่น หอย ปู ปลา กุ้ง ฯลฯ
	 ๓.	 ดิน ดินเสื่อมคุณภาพเกิดจากการเพาะปลูกไม่ถูกวิธี ในสมัยโบราณมนุษย์จะบำ�รุงดินโดยการปลูกพืช
	 หมุนเวียนเพื่อให้ดินมีความสมบูรณ์ ในสมัยนี้มนุษย์ใช้ปุ๋ยเร่งผลผลิตทำ�ให้ดินเสื่อมคุณภาพได้ผลผลิต
	 น้อย
	 ๔.	 ป่าไม้ มีการตัดไม้ทำ�ลายป่า ป่าไม่มีต้นไม้ พื้นดินขาดความชุ่มชื้น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เพราะพื้นที่ใด
	 มีต้นไม้ปกคลุมดิน (ป่าอุดมสมบูรณ์) รากต้นไม้ทำ�หน้าที่ยึดดินไม่ให้พังทลาย และอุ้มนํ้าไว้ให้ชุ่มชื้น
	 ฝนจะตกตามฤดูกาล นอกจากนี้ป่าไม้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ กระทิง กวาง เก้ง
	 กระต่าย ฯลฯ หากไม่มีป่า ป่าถูกทำ�ลาย สัตว์ป่าจะหนีหรือล้มตาย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
179
	 ๕.	 สัตว์ป่า มนุษย์ล่าสัตว์ป่าเป็นกีฬา หรืออาหาร ทำ�ให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ สมเด็จพระนางเจ้าพระ-
	 บรมราชินีนาถ ทรงเป็นองค์ผู้นำ�ให้มีโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากล่าวคือ นำ�สัตว์ป่ามาเลี้ยงเพาะพันธุ์เพื่อ
	 ขยายเลี้ยงไว้จนสามารถออกไปมีชีวิตข้างนอกได้ เช่น ทรงเพาะพันธุ์เต่า นกหายาก ฯลฯ ที่ห้วยทราย
	 ใหญ่
	 ๖.	 นํ้ามัน ต้องกลั่นจากปิโตรเลียมออกใช้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ มนุษย์ใช้นํ้ามันเปลืองอาจหมดได้ ปัจจุบัน
	 มีการศึกษาค้นคว้าสิ่งแทนนํ้ามัน
ชุดการสอน ประเภททรัพยากร ซึ่งครูผู้ผลิตขึ้นเพื่อเป็นตำ�ราเล่มจิ๋ว หรือตำ�ราแผ่นเดียว
แผ่นที่ ๑ ทรัพยากรว่าด้วยดิน
ชุดที่ ๑  ดิน
เกิดจากการผุกร่อนของหินรวมกับซากพืชซากสัตว์ทับถมเป็นเวลานานมี ๓ ชนิดใหญ่ๆ คือ
ดินร่วน ลักษณะร่วน เนื้อดินหยาบ โปร่ง มีสีดำ� อากาศและนํ้าซึมผ่านได้ดี เหมาะแก่การเพาะปลูก
ดินเหนียว มีลักษณะเหนียว เนื้อดินละเอียด อากาศ นํ้าซึมได้ยาก เปียกนํ้ามักเกาะกันแน่นเหนียว แห้ง
จะแข็ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำ�นา ดินเหนียวบางชนิด นำ�มาปั้น ชาม หม้อ ไห โอ่ง ของใช้ต่างๆ
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
180
ดินทราย เป็นดินร่วนหยาบ มีทรายปนอยู่ในเนื้อดิน ไม่อุ้มนํ้า ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะมีอาหารพืช
น้อย มักติดชายทะเล มีพืชบางชนิดที่ขึ้นได้ เช่น มันสำ�ปะหลัง
	ประโยชน์ของดิน
๑.	 ใช้เพาะปลูกพืช
๒.	เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสัตว์
๓.	 ทำ�เครื่องใช้
๔.	 ก่อสร้างบ้านเรือน
ชุดที่ ๒  นํ้า
มี ๓ ประเภท
๑.	 นํ้าจืด อยู่ตามแม่นํ้าลำ�คลอง นำ�มาทำ�ความสะอาดร่างกาย ดื่ม กิน ใช้ได้
๒.	นํ้าเค็ม มีเกลือและแร่ธาตุมากไป ไม่สามารถดื่มได้ มนุษย์นำ�นํ้าทะเลตากแห้งเป็นเกลือสมุทร เป็นต้น
๓.	 นํ้ากร่อย เกิดจากรอยต่อระหว่างนํ้าจืดและนํ้าเค็ม (แม่นํ้ากับทะเล)
	ประโยชน์ของนํ้า
๑.	 มนุษย์ สัตว์ พืช ใช้นํ้าเพื่อดื่มกิน ในร่างกายมีส่วนประกอบของนํ้า ๒ ใน ๓ ส่วน จึงควรดื่มนํ้า
๒.	ใช้ชำ�ระร่างกาย ซักล้าง ทำ�ความสะอาด
๓.	 เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชนํ้า
๔.	 เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร อุตสาหกรรม
๕.	เป็นเส้นทางคมนาคมทางนํ้า
๖.	 ใช้กระแสนํ้าผลิตกระแสไฟฟ้าจากการสร้างเขื่อน
ชุดที่ ๓  อากาศ
อากาศเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งในดินในนํ้าเรามองอากาศไม่เห็น แต่รู้สึกได้ด้วยการเคลื่อนที่ของ
อากาศ เรียกว่าสายลม
คน สัตว์ พืช ต้องการอากาศหายใจ อากาศที่บริสุทธิ์ อยู่ตามทุ่งนา ชายทะเล บนภูเขา
อากาศที่ไม่บริสุทธิ์จะมีฝุ่นละออง ควันพิษ ปะปนกับกลิ่นเหม็น
ต้นไม้สามารถทำ�ให้อากาศบริสุทธิ์ เพราะต้นไม้จะดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในอากาศไปปรุงอาหาร
และคายออกซิเจนให้คนได้สูดอากาศหายใจในเวลากลางวัน
เราจึงควรปลูกต้นไม้ไว้ในบ้าน หรือตามถนนหนทาง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
181
ชุดที่ ๔  ป่าไม้
ประกอบด้วยต้นไม้ เล็กใหญ่ หลายประเภท หลายชนิด เช่น ต้นรัง ต้นเต็ง ต้นตะแบก ต้นตะเคียน ฯลฯ
	ประโยชน์เกิดจากป่าไม้
๑.	 ต้นไม้ปกคลุมดินให้ชุ่มชื้น ซึมซับนํ้าทำ�ให้ดินร่วน ช่วยไม่ให้นํ้าท่วม ป้องกันการพังทลายของดินจากราก
ต้นไม้ที่ยึดไว้
๒.	เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง เสือ ช้าง ลิง ชะนี กระต่าย สัตว์เลื้อยคลาน นก และแมลง
๓.	 มนุษย์เอาไม้มาปลูกสร้างบ้าน ทำ�เรือเป็นพาหนะ ทำ�เครื่องใช้ ตู้โชว์ เก้าอี้ ทำ�เครื่องจักรสานจากหวาย
๔.	 มนุษย์ใช้ไม้บางชนิดเป็นอาหาร ยารักษาโรค เช่น หน่อไม้ ผลไม้บางชนิด เช่น เผือก มัน เห็ด
๕.	ป่าไม้ยังผลิตก๊าซออกซิเจน ช่วยในการหายใจของคนและสัตว์
ชุดที่ ๕  สัตว์ป่า
เป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เสือ กวาง ช้าง เก้ง หมูป่า ลิง กระต่าย งู นก หมี แรด อาศัยอยู่ในโพรงหิน
โพรงไม้ ซอกหิน ในป่าซึ่งมีต้นไม้หนาทึบ สัตว์ต้องพึ่งพาตนเอง ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สัตว์ช่วยสมดุลธรรมชาติ
เช่นสัตว์บางชนิดแพร่พันธุ์เร็วและมีจำ�นวนมากจะเป็นอาหารของสัตว์ที่ใหญ่กว่าเช่นกระต่ายป่าออกลูกครั้งละหลายๆ
ตัว และแพร่พันธุ์รวดเร็ว จะเป็นอาหารของเสือ หนูเป็นอาหารของงู
ปัจจุบันสัตว์ถูกคุกคาม คนล่าสัตว์เป็นเกมกีฬา หรือมาทำ�อาหารโดยความเชื่อที่ผิด เช่น ล่าหมี เอาอวัยวะ
มาทำ�ยา ล่างูทำ�อาหาร ถ้าไม่มีการป้องกันจะทำ�ให้สัตว์สูญพันธุ์ได้
ประเทศไทยจึงมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเมื่อวันที่๒๖ธันวาคม๒๕๐๓และในวันนี้รัฐบาล
กำ�หนดให้เป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
ชุดที่ ๖  หินและแร่ธาตุ
๑. 	หิน เป็นส่วนของเปลือกโลก มีรูปร่าง สี ขนาดแตกต่างกัน มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามลักษณะที่เกิดมี
		๓ ประเภทคือ
	 ๑.๑	 หินอัคนี เกิดจากหินที่หลอมละลายภายในโลกดันพุ่งออกมาบนพื้นผิวโลก เย็นตัวและกลายเป็น
หินเนื้อแข็ง
	 ๑.๒	 หินชั้น เกิดจากการผุผังของหินอัคนี ผสมกับซากพืช ซากสัตว์ มองเห็นเป็นชั้นๆ
	 ๑.๓	 หินแปร เกิดจากหินชั้นหรือหินอัคนีอัดตัวกันแน่นเป็นเวลานานเช่นหินอ่อนหินดินดานหินชนวน
		 หินบางชนิด มีค่าราคาแพง คนนำ�มาทำ�เป็นเครื่องประดับ เช่น เพชร พลอย เป็นต้น
๒.	แร่ธาตุ เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์นำ�แร่ธาตุเป็นวัตถุดิบ ป้อนโรงงาน อุตสาหกรรม
ผลิตเป็นสินค้า เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
182
	ประโยชน์ของหินและแร่ธาตุ
๑.	 ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ถนนหนทาง ฯลฯ
๒.	ใช้เป็นส่วนผสมคอนกรีต
๓.	 ใช้ทำ�ปูนซีเมนต์ ปูนขาว
๔.	 ทำ�เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ครก หินลับมีด
๕.	ทำ�เครื่องประดับ เช่น เพชร พลอย ทับทิม ฯลฯ
๖.	 ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
183
ã º § Ò ¹
กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ตัวอย่าง เกม คนเก่ง “ถามมาตอบได้” ชั้น ป.๓
คำาชี้แจง
๑. ครูเขียนคำาถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
๑. สิ่งต่างๆ ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิตอยู่และไม่มีชีวิต เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น
เราหมายถึงอะไร
๒. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตได้แก่อะไร มีอะไรบ้าง
๓. สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เรียกว่าทรัพยากรธรรมชาติ มีอะไรบ้าง
๔. มนุษย์ใช้ทรัพยากรใดบ้างที่ทำาเกษตรกรรม
๕. การมีป่าไม้ที่สมบูรณ์เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง
๖. ทำาอย่างไรได้ชื่อว่า “เรารักษ์สิ่งแวดล้อม”
๒. ครูเขียนบัตรคำาให้นักเรียนเป็นคำาตอบ เมื่อครูถาม และนักเรียนถือคำาตอบไว้ให้ชูบัตรคำา ซึ่งเป็นคำาตอบที่ถูก
จนเหลือคนเก่งตอบถูกเพียง ๑ คน
ตัวอย่างบัตรคำา
ต้นไม้ นำ้า ดิน เขื่อน ถนน
ยารักษา สัตว์ ผัก ปลา ปู หอย ฯลฯ
๓. หรือ ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น ๔ - ๖ กลุ่ม ครูแจกกระดาษหรือกระดานที่ลบได้ พร้อมปากกาเขียน ครู
ตั้งคำาถามให้ทาย กลุ่มใดทายถูกมีรางวัล ฯลฯ
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำาหรับโรงเรียนปลายทาง
184
ã º § Ò ¹ ·Õè ñ
กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชุมชนของฉัน “สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ” ชั้น ป.๓
คำาชี้แจง ให้กลุ่มที่รับผิดชอบ บันทึกสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้ร่วมคณะ รายงานจากการศึกษานอกห้องเรียน
A สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
B สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
๑. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๒. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๓. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๔. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๕. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๖. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๗. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๘. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๙. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
๑๐. .......................................................................................................................................................................................................................................................................
จากการศึกษานอกห้องเรียนกลุ่ม..................................................................................................................................................................สังเกตสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติ.............................................................................มีดังนี้
(เขียนภาพประกอบ ระบายสีสวยงาม)
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
185
ã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè ò กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชุมชนของฉัน “สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ” ชั้น ป.๓
คำาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติ “เรารักษ์สิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง” บันทึกส่งครู มีรางวัล
เวลา รายการ สถานที่ หมายเหตุ
w w w w w w w w
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
186
สิ่งแวดล้อม
ทางสังคม
วัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียม
ประเพณี
วิถีชีวิตท้องถิ่น
๒.
ประเภทของสิ่งแวดล้อม
ทางสังคมศิลปกรรม
ภูมิปัญญา
ชาวบ้าน
๑.
ความหมาย
ศึกษา
ประเพณีไทย
๔.
ความสำ�คัญและแนวทาง
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ปฏิบัติตนตาม
ประเพณีไทย
เผยแพร่
ภาคภูมิใจใน
ศิลปวัฒนธรรมไทย
ช่วยกันรักษา
วัฒนธรรมไทย
๓.
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
ที่มีต่อการดำ�เนินชีวิต
ตัวอย่าง ผังความคิด (Mind Mapping) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทางสังคม 
ส ๕.๒ ข้อ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
187
เนื้อหา - สาระย่อ
สิ่งแวดล้อมทางสังคม
๑. ความหมาย
สิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นอยู่ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
สิ่งแวดล้อมทางสังคมมีความสำ�คัญต่อความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจว่า
สิ่งแวดล้อมทางสังคมประกอบด้วยประเภทต่างๆ เช่น วิถีชีวิต ศิลปกรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และ
ภูมิปัญญาความรู้ของท้องถิ่นนั้นๆ
๒. ประเภทของสิ่งแวดล้อมทางสังคม
๑.	 ศิลปกรรม เป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้านความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นรูปธรรมของมนุษย์
ได้แก่ รูปปั้น รูปแกะสลัก รูปภาพ สิ่งก่อสร้าง นาฏศิลป์ ดนตรี การเล่น ลักษณะของศิลปกรรมในท้องถิ่น มักเป็น
โบราณสถาน โบราณวัตถุ และการเล่นพื้นบ้าน
	 โบราณสถาน คือสิ่งก่อสร้างที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรณคดีและศิลปะ เช่น วัด
พระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
	 โบราณวัตถุ วัตถุหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น พระแก้วมรกต
พระพุทธชินราช ปืนใหญ่พญาตาปี
	 ดนตรีและการเล่นพื้นบ้าน เป็นการเล่นที่แสดงออกถึงความรื่นเริง มีดนตรีและการร้องโต้ตอบกันระหว่าง
ชายหญิง เช่น เพลงซอของท้องถิ่นภาคเหนือ ลำ�ตัด เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงอีแซวของท้องถิ่นภาคกลาง
เพลงหมอลำ�ท้องถิ่นภาคตะวันออก มโนราห์ท้องถิ่นภาคใต้
๒.	วัฒนธรรม หมายถึงสิ่งที่เคยแสดงระเบียบแบบแผน ความงาม ความไพเราะ ความเจริญที่มนุษย์สร้างขึ้น
ฝังอยู่ในจิตใจของคนให้ประพฤติปฏิบัติตาม เช่น การแต่งกาย การกินการอยู่ ที่อยู่อาศัย ศิลปะ วรรณคดีชาติไทย
เป็นชาติเก่าแก่ มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ได้แก่
	 ๒.๑	 ภาษาไทย เราใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ คนไทยทุกคนควรจะไดัฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ดี
	 ๒.๒ 	การแต่งกาย เรามีเครื่องแต่งกายประจำ�ชาติ เรียกว่าชุดไทย ชายแต่งกายสวมกางเกง ใส่เสื้อพระ-
ราชทาน หรือนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อราชปะแตน หญิงนุ่งผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม
แขนกระบอก
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
188
	 ๒.๓ 	การแสดงกิริยามารยาท คนไทยสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ ไม่หยาบคาย เมื่อเดินผ่าน
ผู้ใหญ่จะก้มหัวเล็กน้อย เมื่อยืนต่อหน้าผู้ใหญ่จะยืนเท้าชิด ก้มหน้าเล็กน้อยมือประสานกันด้านหน้า
ผู้ใหญ่ให้สิ่งของจะยกมือไหว้ขอบคุณ ถ้าทำ�ผิดจะขอโทษ
	 ๒.๔	 การแสดงความเคารพ คนไทยให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโสกว่า จะเรียกผู้ที่สูงอายุกว่าตนว่า
พี่ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ของตน
	 ๒.๕	 ความเป็นอยู่ คนไทยมีความเป็นอยู่อย่างไทย มีขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง เป็นคนใจบุญ
สุนทาน มีความเมตตาปรานี เป็นผู้ให้ คนไทยรักความสงบ ไม่เบียดเบียน ยึดมั่นในศาสนา คนไทย
ที่เป็นชาวพุทธ จะไปวัดทำ�บุญตักบาตร และร่วมพิธีสำ�คัญต่างๆ เช่น วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา
วันออกพรรษา วันสำ�คัญที่เป็นประเพณีไทยปฏิบัติกันมา เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ฯลฯ
๓.	ขนบธรรมเนียม หมายถึง ความประพฤติหรือการแสดงออก ทางกาย วาจา ใจ ที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ
เช่น การแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ การเชื่อฟังคำ�สั่งสอนผู้อาวุโสกว่า การแสดงความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์
๔. 	ประเพณี หมายถึง การปฏิบัติตามสิ่งที่ดีของท้องถิ่นหรือของชาติ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพิธี
สู่ขวัญ ภาคเหนือ มีพิธีรดนํ้าดำ�หัว ประเพณีประจำ�ชาติไทย ได้แก่ พิธีบวช พิธีแต่งงาน พิธีศพ พิธีลอยกระทง
พิธีสงกรานต์ เป็นต้น
๕. 	ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ บรรพบุรุษ ตกทอดกันมาซึ่ง
อาจจะเป็นในลักษณะดังนี้
	 ๕.๑	 ลักษณะความประพฤติ เช่น ผู้ใหญ่สอนให้เด็กเคารพ มีความกตัญญูกตเวที ต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ
ผู้ใหญ่สอนให้มีความเอื้อเฟื้ออาทรต่อผู้อื่น แบ่งปันข้าวของ ช่วยเหลือผู้อื่นตามอัตภาพของตน
เป็นต้น หรือ
	 ๕.๒	 ลักษณะของการทำ�มาหากิน เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ซึ่งมีอาชีพประมง อาชีพทำ�ไร่ ทำ�สวน ทำ�นา
การทอผ้า จักสาน ฯลฯ ก็จะสั่งสอนให้บุตรหลานมีอาชีพสืบทอดกันต่อมา ซึ่งปัจจุบันบุตรหลาน
มีการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย เจริญก้าวหน้า เป็นที่สนใจ
	 ๕.๓	 ลักษณะศิลปะต่างๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา ศิลปะการฟ้อนรำ� การละเล่นต่างๆ
	 ๕.๔	 ลักษณะการใช้สมุนไพร เป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น การใช้สมุนไพรรักษาโรค การใช้สมุนไพร เป็น
ยาประคบ นวดเพื่อสุขภาพ ฯลฯ
๓.	 อิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อวิถีชีวิตการดำ�เนินชีวิต
๑.	 การสร้างที่อยู่อาศัย ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีทรัพยากรป่าไม้ อิทธิพลดังกล่าวทำ�ให้คนไทย
สร้างบ้านที่อยู่อาศัยในลักษณะใต้ถุนสูง ป้องกันสัตว์ร้ายหรือทำ�การเลี้ยงสัตว์เป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง วัว ควาย หลังคา
ทรงสูงเป็นที่ระบายอากาศ วัสดุที่สร้างบ้านเป็นไม้
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
189
	บ้านแบบไทยมี ๓ แบบ คือ
	 ๑.๑	 บ้านไม้ ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาและพื้นหลังคา มุงด้วยจากหรือสังกะสีหรือกระเบื้อง ใต้ถุนสูง ปัจจุบัน
พบได้ในชนบท
	 ๑.๒	 บ้านตึก ใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐ พื้นบ้านเทปูน ปูกระเบื้อง หรือปาเก้ หลังคา
มุงกระเบื้องหรือเทปูน บ้านเหล่านี้พบได้ในเมือง
	 ๑.๓	 บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนหลังคาสูง มีบันไดขึ้น มีระเบียงนอกชาน หน้าต่าง
มาก มีห้องหลายห้อง พื้นบ้านและฝาบ้านเป็นไม้ ผู้อยู่รู้สึกเย็นสบาย
๒.	อาหารการกิน คนไทยมักนิยมบริโภคอาหารรสจัด เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน ฯลฯ
	 ภาคเหนือ เป็นอาหารจืด มักมีไขมันมาก เช่น แกงฮังเล เพราะอากาศหนาว
	 ภาคใต้ อาหารรสจัด เผ็ดจัด เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา ชอบกินผักเป็นเครื่องเคียง
	 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาหารเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ส้มตำ� นํ้าตก ซุปหน่อไม้ ตำ�ซั่ว ปลาร้า มีรสจัด
ไม่ต่างกับภาคใต้
	 ภาคกลาง มักจะเป็นอาหารที่มีรสปานกลาง นิยมอาหารยุโรป เพราะมีความสัมพันธ์กับต่างชาติมากมาย ซึ่ง
อาหารบางชนิดที่นิยมทานเข้าไป ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดความอ้วน มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อยมาก หรือให้โทษ
เช่น ไก่ทอดหรืออาหารทำ�ด้วยแป้งเป็นส่วนใหญ่
๓.	การประกอบอาชีพ คนไทยประกอบอาชีพแตกต่างกันตามความรู้ ความสามารถ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ
เช่น ดิน นํ้า ภูมิอากาศ คนในชนบทกับคนในเมืองจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ดังเช่น
	 –	 คนที่อยู่บริเวณตามป่าเขา มีป่าไม้มาก อาชีพของเขาจะเป็นพวก เผาถ่าน ทำ�ป่าไม้ หรือทำ�เหมืองแร่
	 –	 คนที่อยู่บริเวณใกล้ทะเล มีอาชีพทำ�ประมง จับสัตว์ ทำ�นาเกลือ
	 –	 คนที่อยู่บริเวณราบลุ่มใกล้แม่นํ้าลำ�คลอง จะประกอบอาชีพ ทำ�เกษตร ทำ�นา ทำ�สวน ทำ�ไร่
	คนที่ทำ�นา เรียกว่าชาวนา อิทธิพลที่มีต่อการทำ�นา คือ ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ภาคกลาง เป็น
ที่ราบลุ่ม มีนํ้าอุดมสมบูรณ์จึงมีอาชีพทำ�นาเป็นหลัก
	คนที่ทำ�สวน เรียกว่าชาวสวน มีสวนผลไม้ สวนผัก สวนดอกไม้ อาชีพนี้จะมีอยู่ทั่วไป พืชพันธ์ุในแต่ละภาค
จึงแตกต่างกัน เช่น สวนทุเรียนมักอยู่แถวตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ลิ้นจี่ ลำ�ไย จังหวัด
ภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำ�พูน เป็นต้น
	คนที่ทำ�ไร่ เรียกว่าชาวไร่ พืชไร่ต้องการนํ้าน้อย พืชไร่ ได้แก่ มันสำ�ปะหลัง ข้าวโพด อ้อย สับปะรด ยาสูบ
มักปลูกทั่วไป เช่น อำ�เภอหัวหิน ปราณบุรี ปลูกอ้อย ที่สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น
	คนที่ทำ�ประมง เรียกว่าชาวประมง มักทำ�บริเวณที่มีทะเล เช่น ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางตอนใต้
(เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) ภาคใต้ นอกจากจะหาปลา ยังทำ�นากุ้ง นาหอย นาเกลือ ภาคกลางมีประมงนํ้าจืด ใกล้แม่นํ้า
ลำ�คลอง ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาดุก ปลาคัง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
190
	คนค้าขาย เรียกว่าพ่อค้าแม่ค้า บุคคลเหล่านี้จะรับซื้อสิ่งของผลิตผลจากชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา หรือโรงงาน
หัตถกรรม อุตสาหกรรม มาขายให้แก่ลูกค้าหรือผู้ซื้ออีกต่อหนึ่ง
	คนที่มีอาชีพเป็นช่างต่างๆ ตามความชำ�นาญหรือความรู้ของตนเองมาประกอบอาชีพ เช่น ช่างไม้ ก่อสร้างบ้าน
ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ช่างยนต์ ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างตัดผม เป็นต้น
	๔. ความสำ�คัญและแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม
ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาชาวบ้านแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรือง
ของชาติไทย คนไทยทุกคนควรเห็นคุณค่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจตามแนวทางการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม ดังนี้
๑.	 หมั่นศึกษาหาความรู้ ทำ�ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฏิบัติตน โดย
เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ควร
๒.	ภูมิใจ เผยแพร่และเชิญชวนให้ผู้อื่นสนใจในศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย เช่น เชิญชวนให้ชาว
ต่างประเทศได้รำ�ไทย เที่ยวชมโบราณสถานของไทย
๓.	 ช่วยดูแลรักษา ทำ�นุบำ�รุง โบราณวัตถุ โบราณสถาน บริจาคทรัพย์สิน แรงกาย บูรณะซ่อมแซม เมื่อ
พบเห็นคนทำ�ลาย ควรว่ากล่าวตักเตือน หรือแจ้งเจ้าหน้าที่
๔.	 จงภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีประจำ�ชาติไทย ไม่ดูหมิ่นลบหลู่เหยียดหยาม เช่น การแต่งกาย
ด้วยผ้าไทย การแสดงกิริยามารยาทของความเป็นไทย การรับประทานอาหาร และขนมของไทย
กินและใช้ของไทยผลิต สนับสนุนสินค้าหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
w w w w w w w w
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
191
พลังงาน
ดวงอาทิตย์
ความหมาย
กระแสลม
นํ้า
การนำ�พลังงาน
ไปใช้อย่างประหยัด
ตัวอย่าง ผังความคิด (Mind Mapping) พลังงานและสิ่งแวดล้อม (สำ�หรับครู)
ส ๕.๒ ข้อ ๓ - ข้อ ๔
แหล่งกำ�เนิด
การนำ�พลังงานไปใช้
ปิดไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้
ประหยัดนํ้ามันเชื้อเพลิง
ใช้ความร้อน
ผลิตกระแสไฟฟ้า
โรงงานอุตสาหกรรม
ผลไม้อาหารตากแห้ง
หุงต้ม
ใช้นํ้าประปาอย่างประหยัด
ผลกระทบจากการใช้
พลังงานไม่ถูกต้อง
เชื้อเพลิงหมดเร็ว
โลกร้อนเร็ว
มีสารพิษในบรรยากาศ
ซึ่งมีผลต่อมนุษย์ พืช และสัตว์
สิ่งที่มาทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นลม
ความสามารถในการทำ�ให้เกิดความร้อน
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
192
กระแสนํ้าพลังงาน
ความร้อน
พลังงานที่เกิด
จากกระแสลม
ลม
พายุ
กาต้มนํ้า ดวงอาทิตย์
การเผาไหม้
ทรัพยากร
เขื่อนกั้นนํ้า
ทรัพยากรธรรมชาติ
แร่ธาตุ
และนํ้ามันก๊าซ
ดิน หิน แร่
เครื่องใช้
บ้านเรือน
ทรัพยากรที่มนุษย์
สร้างขึ้น
นํ้า
ต้นไม้
ตัวอย่างผังความคิดเรื่อง “ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม”
ตัวอย่าง ผังความคิดเรื่อง “พลังงาน”
แผ่นที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
193
สิ่งแวดล้อม
กลางวันกลางคืน
ความหมาย
นํ้าขึ้นนํ้าลง
ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลง
ทางสิ่งแวดล้อม
คุณประโยชน์
ตัดไม้ทำ�ลายป่า
เกิดมลพิษทางอากาศ
ที่อยู่อาศัย
เทคโนโลยี/เขื่อน
พลังงานไฟฟ้า
มนุษย์สร้างกำ�หนดขึ้น
ฝนแล้ง
ไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในนํ้า
การปรับปรุง
แก้ไขสิ่งแวดล้อม
ปลูกป่าทดแทน
สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น หิน ดิน
ทราย ดวงอาทิตย์ ต้นไม้ ดวงจันทร์
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทดแทน
สิ่งที่อยู่รอบตัว
ลมพายุ
เกิดตามธรรมชาติ
โดยธรรมชาติกำ�หนด
นํ้าท่วม
โทษ
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
194
เนื้อหา - สาระย่อ
สิ่งแวดล้อมทางสังคม
ทรัพยากรที่อยู่รอบตัวเรา เป็นได้ทั้งพลังงานและสิ่งแวดล้อม
	 ๑.	พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง
		๑.	 พลังงานที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น พลังงานความร้อนที่เกิดจากแสงอาทิตย์
			 มนุษย์ใช้พลังงานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาให้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน เช่น
			 	 ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ ให้ความสว่างและความร้อน เช่น ตากผ้า ตากผลไม้และอาหารให้แห้ง
				 ซึ่งเรียกว่าการถนอมอาหารไว้ใช้นอกฤดูกาล การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ
				 ที่เรียกว่า โซล่าเซลล์
			 	 ใช้พลังงานจากลม หมุนกังหันวิดนํ้าจากที่หนึ่งมาสู่ที่หนึ่ง เพื่อการเพาะปลูกทำ�นา
			 	 ใช้พลังงานจากนํ้า โดยการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า
	 	๒.	มนุษย์สามารถผลิตพลังงานขึ้นใช้ในยามจำ�เป็นได้ เช่น
			 มนุษย์ใช้เชื้อเพลิง นํ้ามัน ถ่านหิน ผลิตกระแสไฟฟ้าในเวลากลางคืน สร้างเขื่อนทดนํ้า นอกจากไว้ใช้
			 ในเรื่องการเกษตรกรรมแล้ว ยังใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
	๒.	สิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเราซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
		๒.๑	 สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์
				 ดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่ มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย เช่น
				 	 ให้แสงสว่างและความร้อน
				 	 ดึงดูดโลกให้หมุนรอบดวงอาทิตย์ ก่อให้เกิดฤดูกาลต่างๆ คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
โลก เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มีอากาศห่อหุ้มโลก บนโลกมีภูเขา พื้นดิน พื้นนํ้า ป่าไม้ มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์
โลกจึงเป็นที่อยู่อาศัยและการดำ�รงชีวิตของคนและสัตว์ มนุษย์สร้างบ้านอาศัยใช้ทรัพยากรต่างๆ เป็นเครื่องอุปโภคและ
บริโภค
โลกเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์จึงดึงดูดไว้ให้หมุนรอบใช้เวลา ๑ รอบ ต่อ ๓๖๕ วันหรือ ๑ ปี
นอกจากโลกจะหมุนรอบใช้เวลา ๑ รอบดวงอาทิตย์แล้ว ยังหมุนรอบตัวเอง ส่วนใดของโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์
ส่วนนั้นจะเป็นกลางวัน และอีกส่วนตรงข้ามจะเป็นเวลากลางคืน โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมงหรือ ๑ วัน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒
195
ดวงจันทร์ คือสิ่งแวดล้อมที่เป็นบริวารของโลก เราเห็นดวงจันทร์เวลากลางคืน ดวงจันทร์จะหมุนรอบโลก
เป็นระยะเวลา ๓๐ วัน หรือ ๑ เดือน เกิดข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติของไทย การหมุนของดวงจันทร์มีผลมายังโลก
เช่นกัน ที่เห็นได้ชัดคือ การดึงดูดส่วนที่เป็นนํ้าบนพื้นผิวโลก ถ้าดวงจันทร์หมุนมาตรงส่วนไหนที่เป็นแม่นํ้า หรือทะเล
หรือมหาสมุทร ก็จะส่งแรงดึงดูด ทำ�ให้แม่นํ้า ทะเล มหาสมุทรส่วนนั้นเป็นนํ้าขึ้นสูง
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์หรือทดแทนสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสร้างขึ้นและเสื่อมโทรมไป
เช่น การสร้างบ้านเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งต้องใช้วัสดุคือไม้ หรือปูน การสร้างเขื่อนทดนํ้าเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า กรม
ชลประทาน การเกษตร การสร้างโรงงานไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิง นํ้ามันหรือถ่านหินเชื้อเพลิงจากพืช
พลังงานต่างๆ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา ถ้าไม่รู้จักการใช้ย่อม
มีวันเสื่อมสลายหมดไป ทำ�ให้เกิดปัญหาการดำ�รงชีวิต เราควรปฏิบัติตนในการใช้โดย
	๑.	มีส่วนร่วมในการใช้พลังงานและทรัพยากรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วควรปิดสวิตช์ เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้า
		ช่วยลดภาระของรัฐบาลในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ใช้นํ้าประปาอย่างประหยัด
	๒.	มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพ เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนทดแทน เพื่อ
		บำ�รุงความสมบูรณ์ของดินที่ใช้ในการเกษตร การปลูกต้นไม้เพื่อสร้างป่าให้อุดมสมบูรณ์ ช่วยให้พื้นดิน
		ชุ่มชื้น เก็บกักนํ้า ไม่เกิดอุทกภัย
	๓.	ศึกษาหาความรู้สิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียผลกระทบต่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม
			ส่งเสริมการใช้วัสดุที่สามารถนำ�มาใช้หมุนเวียนใหม่ เช่น ควรใช้ภาชนะที่ย่อยสลายได้ แทนถุงพลาสติก
			 การแยกเป็นประเภทๆ เพื่อกลับมาทำ�ประโยชน์ใหม่ เป็นต้น
			ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากสีเขียว ซึ่งคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทยริเริ่มโครงการ
			 ฉลากเขียว ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
			ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าฯ รับรองคุณภาพกำ�หนดหมายเลขรับรองเบอร์ ๕ เช่น
			 ตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หลอดประหยัดไฟ
w w w w w w w w
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet

More Related Content

Viewers also liked

ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตาราง
ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตารางผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตาราง
ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตารางAmnuay
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์koorimkhong
 
ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลาย
ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลายความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลาย
ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลายFaris Singhasena
 
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...
ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...Prachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...Prachoom Rangkasikorn
 
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์Pazalulla Ing Chelsea
 
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์koorimkhong
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตsripayom
 
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะเล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะmayureesongnoo
 

Viewers also liked (10)

ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตาราง
ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตารางผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตาราง
ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 7 การสร้างตาราง
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลาย
ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลายความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลาย
ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ : ประถมปลาย
 
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...
ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...ใบความรู้  แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา  ป.2+222+dltv...
ใบความรู้ แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม 1-3 เรื่อง ท้องฟ้ากับเงา ป.2+222+dltv...
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
 
หน่วย 2
หน่วย 2หน่วย 2
หน่วย 2
 
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
 
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
 
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะเล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
 

Similar to ใบความรู้ สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet

ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อมติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อมWichai Likitponrak
 
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมบทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมWichai Likitponrak
 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมKittiya GenEnjoy
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22Nongruk Srisukha
 
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...Prachoom Rangkasikorn
 
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...Prachoom Rangkasikorn
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายOraya Saekhu
 

Similar to ใบความรู้ สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet (9)

ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อมติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
 
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมบทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
 
ม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศ
 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
 
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
 
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...สไลด์  การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
สไลด์ การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากร ป.5+487+dltvsocp5+55t2soc p05 f...
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
 

More from Prachoom Rangkasikorn

129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....Prachoom Rangkasikorn
 
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....Prachoom Rangkasikorn
 
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 

More from Prachoom Rangkasikorn (20)

129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
 
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
 
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
 
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
 
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
 
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
 
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
 
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
 
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
 
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
 
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
 
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
 
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
 
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
 
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
 
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
 
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
 
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
 
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
 
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
 

ใบความรู้ สังคมศึกษา ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+426+dltvsocp2+T2 p1 3-sheet

  • 1. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 165 เนื้อหา - สาระ เรื่อง องค์ประกอบทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ๑. สำ�หรับครูผู้สอนได้ศึกษาสร้างความรู้ความเข้าใจและปรับการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กระดับชั้นประถมปีที่ ๓ ลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ หมายถึง ลักษณะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราอยู่ในชั้นของ เปลือกโลก อันเป็นชั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดิน แผ่นนํ้า อากาศและสิ่งมีชีวิต ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ส่งผลในการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ในพื้นที่นั้นๆ เช่น จังหวัดภาคเหนือของไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ภูมิอากาศร้อนหรือหนาวมากกว่าภาคอื่นๆ ทรัพยากรมีป่าไม้ จังหวัดที่อยู่ชายทะเล พื้นดินมีลักษณะเป็นดินทราย ภูมิอากาศไม่ร้อนจัด หนาวจัด อากาศเย็นสบาย เพราะมีลมบก ลมทะเล เป็นเมืองตาก อากาศ และประมง ซึ่งการดำ�รงชีวิตของท้องถิ่นคือ ประกอบอาชีพการท่องเที่ยวและจับสัตว์นํ้า (ปู ปลา หอย กุ้ง) องค์ประกอบการศึกษาทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ๓ ประการ คือ ๑. ลักษณะภูมิประเทศ ๒. ลักษณะภูมิอากาศ ๓. ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ๑. ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะสูงๆ ตํ่าๆ ของพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ (ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง) เนินเขา ภูเขา หนอง บึง แม่นํ้า ลำ�คลอง ทะเล ทะเลสาบ แหลม อ่าว เกาะ ปัจจัยสำ�คัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจาก ๑. ภายในโลกมีความร้อนและแรงกดดัน ทำ�ให้เปลือกโลกบีบอัด ยกตัวสูงขึ้น หรือหดตัวในลักษณะต่างๆ เป็นภูเขา ที่ราบ เหว แอ่งลึก ๒. ตัวกระทำ�ภายนอกโลกที่เกิดจากการสึกกร่อนถูกทำ�ลายหรือทับถม อันเกิดจากการกระทำ�ของนํ้า ลม (กระแสการพัดพา) อุณหภูมิของอากาศและธารนํ้าแข็ง ความสำ�คัญของภูมิประเทศ ๑. มนุษย์จะเลือกตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพบริเวณที่ราบลุ่ม ที่ราบชายฝั่ง เพราะมีดินแดนลักษณะ ภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการประกอบอาชีพ เช่น ทำ�เกษตร อุตสาหกรรม การประมง เป็นต้น ๒. ภูมิประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำ�ให้อากาศในแต่ละแห่งแตกต่างกัน เช่น ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง จะมี อากาศค่อนข้างหนาว บริเวณชายทะเลจะมีอากาศเย็นสบาย
  • 2. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 166 ๓. ลักษณะภูมิประเทศมีความสำ�คัญ (อิทธิพล) ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตเทือกเขาหรือที่ราบสูง จะมี ป่าไม้ สัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เขตที่ราบลุ่ม มีดิน นํ้าที่อุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเพาะปลูก บริเวณภูเขา มีแร่ธาตุ ๒. ลักษณะภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะของอากาศเฉลี่ยบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ในระยะเวลายาวต่อเนื่อง โดยมีองค์ประกอบที่สำ�คัญ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณนํ้าฝน ความกดอากาศ ลมบนพื้นผิว อากาศร้อนหนาว อบอุ่น ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อการดำ�รงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เช่น มนุษย์จะตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในบริเวณที่มี ภูมิอากาศอบอุ่น หรือไม่ร้อนมาก เพื่อประกอบอาชีพที่ง่าย และสะดวกสบาย เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การ ท่องเที่ยว ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อสุขภาพ ประเพณี วัฒนธรรมและศิลปกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น คนที่อยู่ประเทศ ที่หนาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ปกคลุม การสร้างบ้านเรือนจะต้องทำ�การป้องกันอากาศหนาว ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน จะสร้างบ้านหลังคาทรงสูงที่เป็นเรือนไทย ความสำ�คัญของภูมิอากาศ ๑. ความสำ�คัญต่อลักษณะภูมิประเทศ เช่น บริเวณที่มีอากาศร้อนฝนตกชุกตลอดปี ทำ�ให้เกิดลักษณะ ภูมิประเทศที่เป็นแม่นํ้า ลำ�ธาร หนอง บึง ๒. ความสำ�คัญต่อทรัพยากร เช่น บริเวณใดที่มีอากาศร้อนชื้น ฝนจะตกชุก ทำ�ให้เกิดทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ชุกชุม ๓. ความสำ�คัญต่อมนุษย์ ภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี เช่น การ สร้างบ้านเรือน และการแต่งกาย คนเมืองหนาวแต่งกายเสื้อผ้าหนาปกคลุม คนเมืองร้อนใส่เสื้อผ้าบาง ๓. ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์นำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการดำ�รงชีวิต เศรษฐกิจ และ การพักผ่อน มี ๓ ประเภท คือ ๑. ทรัพยากรหมุนเวียน สามารถปรับสภาพให้เหมือนเดิมหรือใกล้เคียงได้ เช่น ดินมีแร่ธาตุในการเพาะปลูก หากแร่ธาตุชนิดใดหมดไป มนุษย์สามารถจัดเพิ่มให้เหมือนเดิม นํ้าเน่าเสีย มนุษย์สามารถปรับปรุงแก้ไขให้กลับสภาพเดิมและนำ�มาใช้หมุนเวียน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงนำ�กังหันลมปั่นนํ้าให้มีธาตุออกซิเจนกลับมาใช้ใหม่
  • 3. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 167 ๒. ทรัพยากรสูญสิ้น ไม่มีวัฏจักรการหมุนเวียน หรือปรับสภาพให้เข้าสู่สภาพเดิม เช่น นํ้ามันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรสูญสิ้นนี้มีจำ�นวนจำ�กัด และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ไม่สามารถจะสร้างขึ้นมา ทดแทน มนุษย์จำ�เป็นต้องใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายต่อประเทศโลก ๓. ทรัพยากรสูญสิ้น แต่สามารถสร้างทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์นํ้า ปลา ปู หอย กุ้ง แต่ทรัพยากร เหล่านี้จะต้องใช้เวลาในการสร้างทดแทน การใช้จึงควรระมัดระวัง จะต้องมีการสร้างทดแทนอยู่เสมอ หรือมีระยะเวลางดใช้ในบางโอกาส เช่น ไม่จับปลาในฤดูวางไข่ เป็นต้น ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติก็คือ เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ พัฒนาชุมชนและประเทศให้ เจริญก้าวหน้า หมายเหตุ ครูควรได้ศึกษาเนื้อหาสาระข้างต้น เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในเรื่อง แนวทางการเรียนลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ว่าพิจารณาศึกษาจากประเด็น ๓ ข้อ คือ ลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติของสถานที่นั้นๆ w w w w w w w w
  • 4. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 168 เรื่อง ชุมชนของฉัน สำ�หรับนักเรียนที่ควรรู้ ชุมชนเป็นที่ตั้งของบ้าน และสถานที่อำ�นวยความสะดวกต่างๆ ชุมชนที่เล็กที่สุด เรียกว่า หมู่บ้าน หลายหมู่บ้าน เรียกว่า ตำ�บล หลายตำ�บล เรียกว่า อำ�เภอ หลายอำ�เภอ เรียกว่า จังหวัด หลายจังหวัด เป็น ประเทศ การศึกษาหาความรู้ในเชิงภูมิศาสตร์ของชุมชนต่างๆ ให้ศึกษาจากองค์ประกอบทางกายภาพ ๓ ประการคือ ๑. ลักษณะภูมิประเทศของชุมชนที่ตั้ง เช่น เราอยู่ในชุมชนตำ�บลหัวหิน ลักษณะจะเป็นทะเล ชายหาดทราย จะค่อยๆ ลาดลงสู่ทะเล ๒. ลักษณะภูมิอากาศของชุมชนที่ตั้ง เช่น ชุมชนตำ�บลหัวหิน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเล ภูมิอากาศจะ เย็นสบายไม่ร้อนจัด หนาวจัด เพราะมีลมบก ลมทะเล ๓. ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนที่ตั้ง เช่น ชุมชนตำ�บลหัวหิน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเล ทรัพยากร ธรรมชาติของหัวหินคือ สัตว์นํ้าทะเล ปลา ปู หอย กุ้ง เมื่อศึกษาองค์ประกอบทั้งสามข้างต้น สามารถทราบถึงการดำ�รงชีพของชุมชนนั้นๆ ได้ เช่น ตำ�บลหัวหิน ชาวชุมชนจะประกอบอาชีพจับสัตว์นํ้า (ทะเล) หัวหินมีภูมิอากาศเย็นสบาย จัดเป็นเมืองท่องเที่ยว พักผ่อน มีหัตถกรรม อุตสาหกรรมที่ตามมาคือ การทำ�ของชำ�ร่วยจำ�หน่ายนักท่องเที่ยว เช่น ผ้าโขมพัตร สิ่งประดิษฐ์จากเปลือกหอยและ การพานักท่องเที่ยวชมทะเลดูปะการัง ฯลฯ สถานที่สำ�คัญของชุมชน ๑. สถานที่ซึ่งเป็นส่วนราชการที่สำ�คัญ ได้แก่ ๑. โรงเรียนเป็นสถานที่ให้การอบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่เยาวชน บุคลากรที่สำ�คัญในโรงเรียนมี ครู นักเรียน คนงาน ภารโรง ๒. เขตอำ�เภอ เป็นสถานที่ให้บริการเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ทะเบียนสมรส ทะเบียนทหาร รับแจ้งเกิดหรือตาย ๓. สถานีตำ�รวจ เป็นสถานที่ทำ�การของตำ�รวจ รับแจ้งความ ติดตามจับผู้ร้าย รักษาความสงบสุขของ ชุมชน
  • 5. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 169 ๔. ที่ว่าการไปรษณีย์เป็นสถานที่ให้บริการส่งข่าวสารทางจดหมายและโทรเลขตลอดจนบริการส่งสิ่งของ และเงิน เพื่อนำ�ไปให้ผู้ที่อยู่ไกล ๕. สถานีอนามัย โรงพยาบาล เป็นสถานที่ให้บริการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ดูแลเรื่องสุขภาพ การ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ๒. สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนา ได้แก่ ๑. วัดต่างๆ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ๒. มัสยิด ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศาสนาอิสลาม ๓. โบสถ์ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศาสนาคริสต์ ๓. สถานที่อื่นๆ ได้แก่ ๑. ตลาด เป็นที่ตั้งของร้านค้า ผู้คนในชุมชนจะซื้อหรือขายสิ่งของ ณ สถานที่แห่งนี้ ๒. สวนสาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ๓. สนามเด็กเล่น เป็นสถานที่ให้เด็กได้เล่นสนุกสนาน ๔. ห้องสมุดประชาชน จะมีหนังสือที่น่ารู้ น่าอ่านบริการให้บุคคลในชุมชนหาความรู้ ๕. โรงมหรสพหรือโรงภาพยนตร์ เป็นสถานที่สำ�หรับบริการให้ชุมชนได้เข้าชมการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก ดนตรี หรือฉายภาพยนตร์ เป็นการพักผ่อน บันเทิงจิตใจ ๖. พิพิธภัณฑสถาน เป็นโบราณสถานที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ หรือสถานท่องเที่ยว ฯลฯ w w w w w w w w
  • 6. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 170 ตัวอย่างผังความคิด ส ๕.๑ ข้อ ๓ (๑) ภาคผนวก ๑ การศึกษาท้องถิ่นของเรา แผนผัง แผนที่ องค์ประกอบ ของแผนผัง แผนที่ ความหมาย แผนผัง แผนที่ เครื่องมือ ภูมิศาสตร์ อย่างง่าย ดวงอาทิตย์ มาตราส่วน ภูเขา ทิศ แม่นํ้า ลักษณะ อาคารบ้านเรือน ธรรมชาติ เครื่องมือ บอกตำ�แหน่ง ดวงจันทร์ ดวงดาว เครื่องมือ วัดระยะทาง ก้าวเดิน เมตร กิโลเมตร เส้นลองติจูด (เส้นแวง) บอกสถานที่และเวลา เส้นละติจูด (เส้นรุ้ง) บอกสถานที่และอากาศ เครื่องมือ ช่วยหาตำ�แหน่ง ที่ไม่รู้จัก ภาพย่อของสิ่งต่างๆ เช่น สิ่งของ อาคาร สถานที่
  • 7. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 171 เนื้อหา - สาระ เรื่อง แผนผังและแผนที่ แผนผังและแผนที่ เป็นเครื่องมือในการช่วยหาตำ�แหน่งของสถานที่ที่ไม่รู้จัก การอ่านแผนที่เป็นจะทำ�ให้หาสถานที่ที่ต้องการจะไปได้ถูกต้อง การสร้างแผนผัง แผนที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ ดังนี้ – ทิศ ทิศตะวันออก ตก เหนือ ใต้ – สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น บ้าน แม่นํ้า ภูเขา ทางรถไฟ ฯลฯ – มาตราส่วน – เส้นลองติจูด (เส้นแวง) นอกจากจะรู้สถานที่แล้ว ยังสามารถรู้เวลา – เส้นละติจูด (เส้นรุ้ง) นอกจากจะรู้สถานที่แล้ว ยังสามารถรู้ภูมิอากาศ ๑. แผนผัง เป็นภาพย่อส่วนของสิ่งต่างๆ เช่น สิ่งของ อาคารสถานที่ จะเขียนแผนผังในลักษณะที่มองจาก ที่สูง เพื่อแสดงตำ�แหน่งของสิ่งของอาคารสถานที่ต่างๆ ให้เข้าใจง่ายๆ เช่น แผนผังบ้าน แผนผังโรงเรียน แผนผังชุมชน
  • 9. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 173 ๒. แผนที่ เป็นสิ่งที่มนุษย์เขียนขึ้น เพื่อแสดงปรากฏการณ์บนพื้นผิวโลกลงในแผ่นวัสดุแบนราบ โดยการ ย่อส่วนลง ในขนาดที่ต้องการ ใช้สี เส้น สัญลักษณ์ องค์ประกอบของแผนที่ โดยกำ�หนดวงกลมเป็นโลกจะมี ๑. เส้นสมมุติที่ลากในแนวนอนรอบโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก มี ๑๘๐ เส้น เรียกว่าละติจูดที่สำ�คัญ คือ ๒. เส้นสมมุติที่ลากในแนวตั้ง จากทิศเหนือลงใต้ มี ๓๖๐ เส้น เรียก ลองติจูด ที่สำ�คัญคือ เส้นเมอริเดียน แบ่งโลกเป็น ๒ ส่วนคือ ซีกตะวันออก และตะวันตก ข้างละ ๑๘๐ เส้น ๓. ทิศ ในแผนที่เป็นที่ทราบว่า ด้านบนเป็นทิศเหนือ ด้านล่างเป็นทิศใต้ ด้านซ้ายเป็นทิศตะวันตกและด้านขวา เป็นทิศตะวันออก ๔. มาตราส่วนคือ อัตราส่วนย่อระยะทางบนแผนที่กับระยะทางจริงบนภูมิประเทศ อาจจะใช้มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐,๐๐๐ ๕. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ดังเช่น แทนเมือง แทนทางรถไฟ แทนแม่นํ้า เส้นศูนย์สูตร แบ่งโลกเป็น ๒ ซีก – อากาศร้อน E N W S ON OS
  • 10. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 174 แทนภูเขา แทนทะเลสาบ เครื่องมือภูมิศาสตร์อย่างง่าย เครื่องมือบอกตำ�แหน่ง ได้แก่ ความรู้เรื่องทิศต่างๆ จะช่วยให้เรารู้ว่าเรายืนอยู่ตรงทิศอะไรของแม่นํ้า ภูเขา ฯลฯ สิ่งที่ช่วยในการบอกทิศ ได้แก่ เข็มทิศ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ๑. เข็มทิศ เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยใช้แรงดึงดูดของแม่เหล็ก เข็มทิศบอกทิศเหนือ เราสามารถ หาทิศใต้ ทิศตะวันตก ตะวันออก ได้เมื่อเราหมุนเข็มทิศไปหาทิศนั้นๆ ๒. ดวงอาทิตย์ ในตอนเช้า อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ถ้าเรากางมือขวาไปทางดวงอาทิตย์ กางมือซ้ายตรง ข้าม เราจะรู้ว่าเป็นทิศตะวันตก ด้านหน้าเป็นทิศเหนือ ด้านหลังเป็นทิศใต้ เหนือ ออก ใต้ ตก E N W S เหนือ ออก ใต้ ตก
  • 11. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 175 ถ้าเราไปทะเล เราสามารถใช้ดวงอาทิตย์กำ�หนดเวลา เช่น เวลาเช้า เราจะเห็นดวงอาทิตย์โผล่จากพื้นผิวนํ้า ไม่สูงมากนัก เวลาสาย ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ สูงขึ้น เวลาเที่ยง ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ คล้อยหมุนไปทางซ้าย เวลาเย็นค่ำ� ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ตํ่าลงจนลับขอบฟ้า ๓. ดวงจันทร์ เป็นบริวารของโลกจะขึ้นตกทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ หมุนรอบโลก ๒๙ วัน เรามองเห็น ดวงจันทร์ในแต่ละวันต่างกัน บางวันเต็มดวง บางวันครึ่งดวง เป็นเวลาข้างขึ้น ถ้าดวงจันทร์เว้าแหว่ง จนกระทั่งบางวันมองไม่เห็น เราเรียกว่า ข้างแรม เราสามารถใช้ดวงจันทร์บอกทิศทางได้ก็คือ ช่วงข้างขึ้น ดวงจันทร์จะหันส่วนที่แหว่งไปทางทิศตะวันออก ช่างข้างแรม ดวงจันทร์จะหันส่วนที่แหว่งไปทางทิศตะวันตก ๔. ดวงดาว สามารถบอกทิศได้ เช่น ดาวเหนือ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์มีแสงสว่างในตัวเอง จะอยู่ประจำ�ทิศเหนือ ประโยชน์ของทิศ บอกตำ�แหน่งสถานที่ ช่วยในการเดินเรือ เครื่องบิน ช่วยในการอ่านแผนที่ w w w w w w w w ตะวันออก ตะวันตก
  • 12. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 176 ตัวอย่าง ผังความคิด (Mind Mapping) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ส ๕.๒ ข้อ ๑ (๑) - (๘) สิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มีชีวิต สัตว์ พืช สิ่งแวดล้อม ไม่มีชีวิต นํ้า ดิน การพึ่งพากัน ทางธรรมชาติ w w w w w w w w ทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ผลเสียจากการทำ�ลาย ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ ความหมายการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติ ประเภทของ ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ หินแร่ธาตุ ดิน สัตว์ป่า ป่าไม้ อากาศ นํ้า
  • 13. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 177 เนื้อหา - สาระย่อ เรื่อง สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ สาระสำ�คัญ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความหมายเดียวกัน เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ มี ประโยชน์ต่อมนุษย์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ย่อมสูญสิ้นหรือหมดไปจากโลกนี้ได้ มนุษย์ควรเห็นคุณค่าและความสำ�คัญ รู้จักปฏิบัติตนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื้อหา ๑. ความหมาย สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ตัวอย่าง สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ นํ้า ดิน แร่ธาตุ พืชและสัตว์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้าน ที่อยู่อาศัย สะพาน ถนน เขื่อนกั้นนํ้า ขุดคูคลอง ฯลฯ ๒. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ๒.๑ สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต กินอาหารเจริญเติบโต มีความรู้สึก สืบพันธุ์ได้ หายใจ ขับถ่าย เคลื่อนไหวได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์นํ้า ปลา ปู หอย กุ้ง ฯลฯ หมายเหตุ การจัดทำ�ผังความคิด ครูควรปฏิบัติ ๑. ตั้งหัวข้อเรื่องไว้ ๒. กระตุ้นความคิด และค่อยๆ ต่อผังความคิดเมื่อนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสรุปความคิด รวบยอดได้ ๓. ไม่ควรนำ�ผังความคิด ที่มีรูปเต็มสมบูรณ์ของครูสอนนักเรียน ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ�ผัง ความคิด จะเกิดความสนุก w w w w w w w w
  • 14. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 178 ๒.๒ สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต มีคุณสมบัติตรงข้ามกับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ข้อ ๑ ได้แก่ ดิน หิน แร่ ธาตุ ก๊าซ นํ้า อากาศ การพึ่งพากันทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติต้องอาศัยกัน เช่น มนุษย์อาศัยดินในการเพาะปลูก อาศัยนํ้า เพื่ออุปโภคบริโภค อาศัยอากาศบริสุทธิ์หายใจ ป่าไม้ ต้นไม้อาศัยดิน ดินอาศัยต้นไม้ ปกคลุมให้ความชุ่มชื้น นํ้า อากาศ ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโต สิ่งแวดล้อมต่างๆ จะมีการพึ่งพาอาศัยกันทางธรรมชาติ เรียกว่า วัฏจักรของธรรมชาติ ๓. ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติโดยเกิดขึ้นเอง และทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ตัวอย่าง ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การสร้างเขื่อนกั้นนํ้า การขุดคลอง หนองบึง การนำ�นํ้ามันกลั่น เพื่อใช้ ฯลฯ ตัวอย่าง ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ นํ้าดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงาน แสงแดด พลังงานลม เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีประโยชน์และมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ ๔. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ประหยัดคุ้มค่า เพื่อจะได้มีทรัพยากรไว้ใช้ในการดำ�รงชีพต่อไปได้นานๆ หลักการอนุรักษ์ทรัพยากร มีดังนี้ ๑. ประหยัดการใช้ เพื่อให้ใช้ได้นานๆ ๒. ใช้ให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่ามากที่สุด ๓. ใช้แล้วสามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้อีก (RECYCLE) ช่วยลดการทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมลงได้ ๔. ควรมีการบำ�รุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕. ผลเสียจากการทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความสำ�คัญและจำ�เป็นต่อมนุษย์ หากมนุษย์ใช้อย่างฟุ่มเฟือยไม่ถูกต้อง อาจมีการเปลี่ยนแปลง เกิดผลเสียเป็นอันตรายได้ดังเช่น การเปลี่ยนแปลงของ ๑. อากาศ โรงงานอุตสาหกรรม ท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซพิษคาร์บอนไดออกไซด์ ไปรวมกับคาร์บอน- มอนนอกไซด์ ฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะไปรวมกับอากาศบริสุทธิ์ ทำ�ให้ เกิดพิษเป็นอันตราย ๒. นํ้า มีความจำ�เป็นต่อมนุษย์ในการบริโภคดื่มใช้ แม่นํ้าลำ�คลอง หากมีขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลที่มนุษย์ ทิ้งลงในนํ้าทำ�ให้เกิดเน่าเสีย มีผลกระทบต่อสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนํ้า เช่น หอย ปู ปลา กุ้ง ฯลฯ ๓. ดิน ดินเสื่อมคุณภาพเกิดจากการเพาะปลูกไม่ถูกวิธี ในสมัยโบราณมนุษย์จะบำ�รุงดินโดยการปลูกพืช หมุนเวียนเพื่อให้ดินมีความสมบูรณ์ ในสมัยนี้มนุษย์ใช้ปุ๋ยเร่งผลผลิตทำ�ให้ดินเสื่อมคุณภาพได้ผลผลิต น้อย ๔. ป่าไม้ มีการตัดไม้ทำ�ลายป่า ป่าไม่มีต้นไม้ พื้นดินขาดความชุ่มชื้น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เพราะพื้นที่ใด มีต้นไม้ปกคลุมดิน (ป่าอุดมสมบูรณ์) รากต้นไม้ทำ�หน้าที่ยึดดินไม่ให้พังทลาย และอุ้มนํ้าไว้ให้ชุ่มชื้น ฝนจะตกตามฤดูกาล นอกจากนี้ป่าไม้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ กระทิง กวาง เก้ง กระต่าย ฯลฯ หากไม่มีป่า ป่าถูกทำ�ลาย สัตว์ป่าจะหนีหรือล้มตาย
  • 15. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 179 ๕. สัตว์ป่า มนุษย์ล่าสัตว์ป่าเป็นกีฬา หรืออาหาร ทำ�ให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ สมเด็จพระนางเจ้าพระ- บรมราชินีนาถ ทรงเป็นองค์ผู้นำ�ให้มีโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากล่าวคือ นำ�สัตว์ป่ามาเลี้ยงเพาะพันธุ์เพื่อ ขยายเลี้ยงไว้จนสามารถออกไปมีชีวิตข้างนอกได้ เช่น ทรงเพาะพันธุ์เต่า นกหายาก ฯลฯ ที่ห้วยทราย ใหญ่ ๖. นํ้ามัน ต้องกลั่นจากปิโตรเลียมออกใช้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ มนุษย์ใช้นํ้ามันเปลืองอาจหมดได้ ปัจจุบัน มีการศึกษาค้นคว้าสิ่งแทนนํ้ามัน ชุดการสอน ประเภททรัพยากร ซึ่งครูผู้ผลิตขึ้นเพื่อเป็นตำ�ราเล่มจิ๋ว หรือตำ�ราแผ่นเดียว แผ่นที่ ๑ ทรัพยากรว่าด้วยดิน ชุดที่ ๑  ดิน เกิดจากการผุกร่อนของหินรวมกับซากพืชซากสัตว์ทับถมเป็นเวลานานมี ๓ ชนิดใหญ่ๆ คือ ดินร่วน ลักษณะร่วน เนื้อดินหยาบ โปร่ง มีสีดำ� อากาศและนํ้าซึมผ่านได้ดี เหมาะแก่การเพาะปลูก ดินเหนียว มีลักษณะเหนียว เนื้อดินละเอียด อากาศ นํ้าซึมได้ยาก เปียกนํ้ามักเกาะกันแน่นเหนียว แห้ง จะแข็ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำ�นา ดินเหนียวบางชนิด นำ�มาปั้น ชาม หม้อ ไห โอ่ง ของใช้ต่างๆ
  • 16. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 180 ดินทราย เป็นดินร่วนหยาบ มีทรายปนอยู่ในเนื้อดิน ไม่อุ้มนํ้า ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะมีอาหารพืช น้อย มักติดชายทะเล มีพืชบางชนิดที่ขึ้นได้ เช่น มันสำ�ปะหลัง ประโยชน์ของดิน ๑. ใช้เพาะปลูกพืช ๒. เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสัตว์ ๓. ทำ�เครื่องใช้ ๔. ก่อสร้างบ้านเรือน ชุดที่ ๒  นํ้า มี ๓ ประเภท ๑. นํ้าจืด อยู่ตามแม่นํ้าลำ�คลอง นำ�มาทำ�ความสะอาดร่างกาย ดื่ม กิน ใช้ได้ ๒. นํ้าเค็ม มีเกลือและแร่ธาตุมากไป ไม่สามารถดื่มได้ มนุษย์นำ�นํ้าทะเลตากแห้งเป็นเกลือสมุทร เป็นต้น ๓. นํ้ากร่อย เกิดจากรอยต่อระหว่างนํ้าจืดและนํ้าเค็ม (แม่นํ้ากับทะเล) ประโยชน์ของนํ้า ๑. มนุษย์ สัตว์ พืช ใช้นํ้าเพื่อดื่มกิน ในร่างกายมีส่วนประกอบของนํ้า ๒ ใน ๓ ส่วน จึงควรดื่มนํ้า ๒. ใช้ชำ�ระร่างกาย ซักล้าง ทำ�ความสะอาด ๓. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชนํ้า ๔. เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร อุตสาหกรรม ๕. เป็นเส้นทางคมนาคมทางนํ้า ๖. ใช้กระแสนํ้าผลิตกระแสไฟฟ้าจากการสร้างเขื่อน ชุดที่ ๓  อากาศ อากาศเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งในดินในนํ้าเรามองอากาศไม่เห็น แต่รู้สึกได้ด้วยการเคลื่อนที่ของ อากาศ เรียกว่าสายลม คน สัตว์ พืช ต้องการอากาศหายใจ อากาศที่บริสุทธิ์ อยู่ตามทุ่งนา ชายทะเล บนภูเขา อากาศที่ไม่บริสุทธิ์จะมีฝุ่นละออง ควันพิษ ปะปนกับกลิ่นเหม็น ต้นไม้สามารถทำ�ให้อากาศบริสุทธิ์ เพราะต้นไม้จะดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในอากาศไปปรุงอาหาร และคายออกซิเจนให้คนได้สูดอากาศหายใจในเวลากลางวัน เราจึงควรปลูกต้นไม้ไว้ในบ้าน หรือตามถนนหนทาง
  • 17. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 181 ชุดที่ ๔  ป่าไม้ ประกอบด้วยต้นไม้ เล็กใหญ่ หลายประเภท หลายชนิด เช่น ต้นรัง ต้นเต็ง ต้นตะแบก ต้นตะเคียน ฯลฯ ประโยชน์เกิดจากป่าไม้ ๑. ต้นไม้ปกคลุมดินให้ชุ่มชื้น ซึมซับนํ้าทำ�ให้ดินร่วน ช่วยไม่ให้นํ้าท่วม ป้องกันการพังทลายของดินจากราก ต้นไม้ที่ยึดไว้ ๒. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง เสือ ช้าง ลิง ชะนี กระต่าย สัตว์เลื้อยคลาน นก และแมลง ๓. มนุษย์เอาไม้มาปลูกสร้างบ้าน ทำ�เรือเป็นพาหนะ ทำ�เครื่องใช้ ตู้โชว์ เก้าอี้ ทำ�เครื่องจักรสานจากหวาย ๔. มนุษย์ใช้ไม้บางชนิดเป็นอาหาร ยารักษาโรค เช่น หน่อไม้ ผลไม้บางชนิด เช่น เผือก มัน เห็ด ๕. ป่าไม้ยังผลิตก๊าซออกซิเจน ช่วยในการหายใจของคนและสัตว์ ชุดที่ ๕  สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เสือ กวาง ช้าง เก้ง หมูป่า ลิง กระต่าย งู นก หมี แรด อาศัยอยู่ในโพรงหิน โพรงไม้ ซอกหิน ในป่าซึ่งมีต้นไม้หนาทึบ สัตว์ต้องพึ่งพาตนเอง ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สัตว์ช่วยสมดุลธรรมชาติ เช่นสัตว์บางชนิดแพร่พันธุ์เร็วและมีจำ�นวนมากจะเป็นอาหารของสัตว์ที่ใหญ่กว่าเช่นกระต่ายป่าออกลูกครั้งละหลายๆ ตัว และแพร่พันธุ์รวดเร็ว จะเป็นอาหารของเสือ หนูเป็นอาหารของงู ปัจจุบันสัตว์ถูกคุกคาม คนล่าสัตว์เป็นเกมกีฬา หรือมาทำ�อาหารโดยความเชื่อที่ผิด เช่น ล่าหมี เอาอวัยวะ มาทำ�ยา ล่างูทำ�อาหาร ถ้าไม่มีการป้องกันจะทำ�ให้สัตว์สูญพันธุ์ได้ ประเทศไทยจึงมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเมื่อวันที่๒๖ธันวาคม๒๕๐๓และในวันนี้รัฐบาล กำ�หนดให้เป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ชุดที่ ๖  หินและแร่ธาตุ ๑. หิน เป็นส่วนของเปลือกโลก มีรูปร่าง สี ขนาดแตกต่างกัน มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามลักษณะที่เกิดมี ๓ ประเภทคือ ๑.๑ หินอัคนี เกิดจากหินที่หลอมละลายภายในโลกดันพุ่งออกมาบนพื้นผิวโลก เย็นตัวและกลายเป็น หินเนื้อแข็ง ๑.๒ หินชั้น เกิดจากการผุผังของหินอัคนี ผสมกับซากพืช ซากสัตว์ มองเห็นเป็นชั้นๆ ๑.๓ หินแปร เกิดจากหินชั้นหรือหินอัคนีอัดตัวกันแน่นเป็นเวลานานเช่นหินอ่อนหินดินดานหินชนวน หินบางชนิด มีค่าราคาแพง คนนำ�มาทำ�เป็นเครื่องประดับ เช่น เพชร พลอย เป็นต้น ๒. แร่ธาตุ เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์นำ�แร่ธาตุเป็นวัตถุดิบ ป้อนโรงงาน อุตสาหกรรม ผลิตเป็นสินค้า เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ
  • 18. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 182 ประโยชน์ของหินและแร่ธาตุ ๑. ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ถนนหนทาง ฯลฯ ๒. ใช้เป็นส่วนผสมคอนกรีต ๓. ใช้ทำ�ปูนซีเมนต์ ปูนขาว ๔. ทำ�เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ครก หินลับมีด ๕. ทำ�เครื่องประดับ เช่น เพชร พลอย ทับทิม ฯลฯ ๖. ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม w w w w w w w w
  • 19. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 183 ã º § Ò ¹ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตัวอย่าง เกม คนเก่ง “ถามมาตอบได้” ชั้น ป.๓ คำาชี้แจง ๑. ครูเขียนคำาถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้ ๑. สิ่งต่างๆ ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิตอยู่และไม่มีชีวิต เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น เราหมายถึงอะไร ๒. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตได้แก่อะไร มีอะไรบ้าง ๓. สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เรียกว่าทรัพยากรธรรมชาติ มีอะไรบ้าง ๔. มนุษย์ใช้ทรัพยากรใดบ้างที่ทำาเกษตรกรรม ๕. การมีป่าไม้ที่สมบูรณ์เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง ๖. ทำาอย่างไรได้ชื่อว่า “เรารักษ์สิ่งแวดล้อม” ๒. ครูเขียนบัตรคำาให้นักเรียนเป็นคำาตอบ เมื่อครูถาม และนักเรียนถือคำาตอบไว้ให้ชูบัตรคำา ซึ่งเป็นคำาตอบที่ถูก จนเหลือคนเก่งตอบถูกเพียง ๑ คน ตัวอย่างบัตรคำา ต้นไม้ นำ้า ดิน เขื่อน ถนน ยารักษา สัตว์ ผัก ปลา ปู หอย ฯลฯ ๓. หรือ ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น ๔ - ๖ กลุ่ม ครูแจกกระดาษหรือกระดานที่ลบได้ พร้อมปากกาเขียน ครู ตั้งคำาถามให้ทาย กลุ่มใดทายถูกมีรางวัล ฯลฯ w w w w w w w w
  • 20. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำาหรับโรงเรียนปลายทาง 184 ã º § Ò ¹ ·Õè ñ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชุมชนของฉัน “สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ” ชั้น ป.๓ คำาชี้แจง ให้กลุ่มที่รับผิดชอบ บันทึกสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ร่วมคณะ รายงานจากการศึกษานอกห้องเรียน A สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ B สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ๑. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๒. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๓. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๔. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๕. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๖. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๗. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๘. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๙. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... ๑๐. ....................................................................................................................................................................................................................................................................... จากการศึกษานอกห้องเรียนกลุ่ม..................................................................................................................................................................สังเกตสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ.............................................................................มีดังนี้ (เขียนภาพประกอบ ระบายสีสวยงาม) w w w w w w w w
  • 21. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 185 ã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè òã º § Ò ¹ ·Õè ò กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชุมชนของฉัน “สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ” ชั้น ป.๓ คำาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติ “เรารักษ์สิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง” บันทึกส่งครู มีรางวัล เวลา รายการ สถานที่ หมายเหตุ w w w w w w w w
  • 22. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 186 สิ่งแวดล้อม ทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตท้องถิ่น ๒. ประเภทของสิ่งแวดล้อม ทางสังคมศิลปกรรม ภูมิปัญญา ชาวบ้าน ๑. ความหมาย ศึกษา ประเพณีไทย ๔. ความสำ�คัญและแนวทาง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตนตาม ประเพณีไทย เผยแพร่ ภาคภูมิใจใน ศิลปวัฒนธรรมไทย ช่วยกันรักษา วัฒนธรรมไทย ๓. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อการดำ�เนินชีวิต ตัวอย่าง ผังความคิด (Mind Mapping) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทางสังคม  ส ๕.๒ ข้อ ๓
  • 23. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 187 เนื้อหา - สาระย่อ สิ่งแวดล้อมทางสังคม ๑. ความหมาย สิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นอยู่ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมทางสังคมมีความสำ�คัญต่อความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจว่า สิ่งแวดล้อมทางสังคมประกอบด้วยประเภทต่างๆ เช่น วิถีชีวิต ศิลปกรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และ ภูมิปัญญาความรู้ของท้องถิ่นนั้นๆ ๒. ประเภทของสิ่งแวดล้อมทางสังคม ๑. ศิลปกรรม เป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้านความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นรูปธรรมของมนุษย์ ได้แก่ รูปปั้น รูปแกะสลัก รูปภาพ สิ่งก่อสร้าง นาฏศิลป์ ดนตรี การเล่น ลักษณะของศิลปกรรมในท้องถิ่น มักเป็น โบราณสถาน โบราณวัตถุ และการเล่นพื้นบ้าน โบราณสถาน คือสิ่งก่อสร้างที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรณคดีและศิลปะ เช่น วัด พระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปฐมเจดีย์ นครปฐม โบราณวัตถุ วัตถุหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธชินราช ปืนใหญ่พญาตาปี ดนตรีและการเล่นพื้นบ้าน เป็นการเล่นที่แสดงออกถึงความรื่นเริง มีดนตรีและการร้องโต้ตอบกันระหว่าง ชายหญิง เช่น เพลงซอของท้องถิ่นภาคเหนือ ลำ�ตัด เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงอีแซวของท้องถิ่นภาคกลาง เพลงหมอลำ�ท้องถิ่นภาคตะวันออก มโนราห์ท้องถิ่นภาคใต้ ๒. วัฒนธรรม หมายถึงสิ่งที่เคยแสดงระเบียบแบบแผน ความงาม ความไพเราะ ความเจริญที่มนุษย์สร้างขึ้น ฝังอยู่ในจิตใจของคนให้ประพฤติปฏิบัติตาม เช่น การแต่งกาย การกินการอยู่ ที่อยู่อาศัย ศิลปะ วรรณคดีชาติไทย เป็นชาติเก่าแก่ มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ได้แก่ ๒.๑ ภาษาไทย เราใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ คนไทยทุกคนควรจะไดัฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ดี ๒.๒ การแต่งกาย เรามีเครื่องแต่งกายประจำ�ชาติ เรียกว่าชุดไทย ชายแต่งกายสวมกางเกง ใส่เสื้อพระ- ราชทาน หรือนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อราชปะแตน หญิงนุ่งผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนกระบอก
  • 24. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 188 ๒.๓ การแสดงกิริยามารยาท คนไทยสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ ไม่หยาบคาย เมื่อเดินผ่าน ผู้ใหญ่จะก้มหัวเล็กน้อย เมื่อยืนต่อหน้าผู้ใหญ่จะยืนเท้าชิด ก้มหน้าเล็กน้อยมือประสานกันด้านหน้า ผู้ใหญ่ให้สิ่งของจะยกมือไหว้ขอบคุณ ถ้าทำ�ผิดจะขอโทษ ๒.๔ การแสดงความเคารพ คนไทยให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโสกว่า จะเรียกผู้ที่สูงอายุกว่าตนว่า พี่ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ของตน ๒.๕ ความเป็นอยู่ คนไทยมีความเป็นอยู่อย่างไทย มีขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง เป็นคนใจบุญ สุนทาน มีความเมตตาปรานี เป็นผู้ให้ คนไทยรักความสงบ ไม่เบียดเบียน ยึดมั่นในศาสนา คนไทย ที่เป็นชาวพุทธ จะไปวัดทำ�บุญตักบาตร และร่วมพิธีสำ�คัญต่างๆ เช่น วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันสำ�คัญที่เป็นประเพณีไทยปฏิบัติกันมา เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ฯลฯ ๓. ขนบธรรมเนียม หมายถึง ความประพฤติหรือการแสดงออก ทางกาย วาจา ใจ ที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เช่น การแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ การเชื่อฟังคำ�สั่งสอนผู้อาวุโสกว่า การแสดงความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๔. ประเพณี หมายถึง การปฏิบัติตามสิ่งที่ดีของท้องถิ่นหรือของชาติ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพิธี สู่ขวัญ ภาคเหนือ มีพิธีรดนํ้าดำ�หัว ประเพณีประจำ�ชาติไทย ได้แก่ พิธีบวช พิธีแต่งงาน พิธีศพ พิธีลอยกระทง พิธีสงกรานต์ เป็นต้น ๕. ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ บรรพบุรุษ ตกทอดกันมาซึ่ง อาจจะเป็นในลักษณะดังนี้ ๕.๑ ลักษณะความประพฤติ เช่น ผู้ใหญ่สอนให้เด็กเคารพ มีความกตัญญูกตเวที ต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ ผู้ใหญ่สอนให้มีความเอื้อเฟื้ออาทรต่อผู้อื่น แบ่งปันข้าวของ ช่วยเหลือผู้อื่นตามอัตภาพของตน เป็นต้น หรือ ๕.๒ ลักษณะของการทำ�มาหากิน เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ซึ่งมีอาชีพประมง อาชีพทำ�ไร่ ทำ�สวน ทำ�นา การทอผ้า จักสาน ฯลฯ ก็จะสั่งสอนให้บุตรหลานมีอาชีพสืบทอดกันต่อมา ซึ่งปัจจุบันบุตรหลาน มีการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย เจริญก้าวหน้า เป็นที่สนใจ ๕.๓ ลักษณะศิลปะต่างๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา ศิลปะการฟ้อนรำ� การละเล่นต่างๆ ๕.๔ ลักษณะการใช้สมุนไพร เป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น การใช้สมุนไพรรักษาโรค การใช้สมุนไพร เป็น ยาประคบ นวดเพื่อสุขภาพ ฯลฯ ๓. อิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อวิถีชีวิตการดำ�เนินชีวิต ๑. การสร้างที่อยู่อาศัย ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีทรัพยากรป่าไม้ อิทธิพลดังกล่าวทำ�ให้คนไทย สร้างบ้านที่อยู่อาศัยในลักษณะใต้ถุนสูง ป้องกันสัตว์ร้ายหรือทำ�การเลี้ยงสัตว์เป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง วัว ควาย หลังคา ทรงสูงเป็นที่ระบายอากาศ วัสดุที่สร้างบ้านเป็นไม้
  • 25. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 189 บ้านแบบไทยมี ๓ แบบ คือ ๑.๑ บ้านไม้ ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาและพื้นหลังคา มุงด้วยจากหรือสังกะสีหรือกระเบื้อง ใต้ถุนสูง ปัจจุบัน พบได้ในชนบท ๑.๒ บ้านตึก ใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐ พื้นบ้านเทปูน ปูกระเบื้อง หรือปาเก้ หลังคา มุงกระเบื้องหรือเทปูน บ้านเหล่านี้พบได้ในเมือง ๑.๓ บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนหลังคาสูง มีบันไดขึ้น มีระเบียงนอกชาน หน้าต่าง มาก มีห้องหลายห้อง พื้นบ้านและฝาบ้านเป็นไม้ ผู้อยู่รู้สึกเย็นสบาย ๒. อาหารการกิน คนไทยมักนิยมบริโภคอาหารรสจัด เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน ฯลฯ ภาคเหนือ เป็นอาหารจืด มักมีไขมันมาก เช่น แกงฮังเล เพราะอากาศหนาว ภาคใต้ อาหารรสจัด เผ็ดจัด เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา ชอบกินผักเป็นเครื่องเคียง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาหารเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ส้มตำ� นํ้าตก ซุปหน่อไม้ ตำ�ซั่ว ปลาร้า มีรสจัด ไม่ต่างกับภาคใต้ ภาคกลาง มักจะเป็นอาหารที่มีรสปานกลาง นิยมอาหารยุโรป เพราะมีความสัมพันธ์กับต่างชาติมากมาย ซึ่ง อาหารบางชนิดที่นิยมทานเข้าไป ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดความอ้วน มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อยมาก หรือให้โทษ เช่น ไก่ทอดหรืออาหารทำ�ด้วยแป้งเป็นส่วนใหญ่ ๓. การประกอบอาชีพ คนไทยประกอบอาชีพแตกต่างกันตามความรู้ ความสามารถ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ดิน นํ้า ภูมิอากาศ คนในชนบทกับคนในเมืองจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ดังเช่น – คนที่อยู่บริเวณตามป่าเขา มีป่าไม้มาก อาชีพของเขาจะเป็นพวก เผาถ่าน ทำ�ป่าไม้ หรือทำ�เหมืองแร่ – คนที่อยู่บริเวณใกล้ทะเล มีอาชีพทำ�ประมง จับสัตว์ ทำ�นาเกลือ – คนที่อยู่บริเวณราบลุ่มใกล้แม่นํ้าลำ�คลอง จะประกอบอาชีพ ทำ�เกษตร ทำ�นา ทำ�สวน ทำ�ไร่ คนที่ทำ�นา เรียกว่าชาวนา อิทธิพลที่มีต่อการทำ�นา คือ ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ภาคกลาง เป็น ที่ราบลุ่ม มีนํ้าอุดมสมบูรณ์จึงมีอาชีพทำ�นาเป็นหลัก คนที่ทำ�สวน เรียกว่าชาวสวน มีสวนผลไม้ สวนผัก สวนดอกไม้ อาชีพนี้จะมีอยู่ทั่วไป พืชพันธ์ุในแต่ละภาค จึงแตกต่างกัน เช่น สวนทุเรียนมักอยู่แถวตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ลิ้นจี่ ลำ�ไย จังหวัด ภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำ�พูน เป็นต้น คนที่ทำ�ไร่ เรียกว่าชาวไร่ พืชไร่ต้องการนํ้าน้อย พืชไร่ ได้แก่ มันสำ�ปะหลัง ข้าวโพด อ้อย สับปะรด ยาสูบ มักปลูกทั่วไป เช่น อำ�เภอหัวหิน ปราณบุรี ปลูกอ้อย ที่สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น คนที่ทำ�ประมง เรียกว่าชาวประมง มักทำ�บริเวณที่มีทะเล เช่น ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางตอนใต้ (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) ภาคใต้ นอกจากจะหาปลา ยังทำ�นากุ้ง นาหอย นาเกลือ ภาคกลางมีประมงนํ้าจืด ใกล้แม่นํ้า ลำ�คลอง ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาดุก ปลาคัง
  • 26. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 190 คนค้าขาย เรียกว่าพ่อค้าแม่ค้า บุคคลเหล่านี้จะรับซื้อสิ่งของผลิตผลจากชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา หรือโรงงาน หัตถกรรม อุตสาหกรรม มาขายให้แก่ลูกค้าหรือผู้ซื้ออีกต่อหนึ่ง คนที่มีอาชีพเป็นช่างต่างๆ ตามความชำ�นาญหรือความรู้ของตนเองมาประกอบอาชีพ เช่น ช่างไม้ ก่อสร้างบ้าน ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ช่างยนต์ ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างตัดผม เป็นต้น ๔. ความสำ�คัญและแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาชาวบ้านแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรือง ของชาติไทย คนไทยทุกคนควรเห็นคุณค่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจตามแนวทางการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม ดังนี้ ๑. หมั่นศึกษาหาความรู้ ทำ�ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฏิบัติตน โดย เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ควร ๒. ภูมิใจ เผยแพร่และเชิญชวนให้ผู้อื่นสนใจในศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย เช่น เชิญชวนให้ชาว ต่างประเทศได้รำ�ไทย เที่ยวชมโบราณสถานของไทย ๓. ช่วยดูแลรักษา ทำ�นุบำ�รุง โบราณวัตถุ โบราณสถาน บริจาคทรัพย์สิน แรงกาย บูรณะซ่อมแซม เมื่อ พบเห็นคนทำ�ลาย ควรว่ากล่าวตักเตือน หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ ๔. จงภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีประจำ�ชาติไทย ไม่ดูหมิ่นลบหลู่เหยียดหยาม เช่น การแต่งกาย ด้วยผ้าไทย การแสดงกิริยามารยาทของความเป็นไทย การรับประทานอาหาร และขนมของไทย กินและใช้ของไทยผลิต สนับสนุนสินค้าหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น w w w w w w w w
  • 27. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 191 พลังงาน ดวงอาทิตย์ ความหมาย กระแสลม นํ้า การนำ�พลังงาน ไปใช้อย่างประหยัด ตัวอย่าง ผังความคิด (Mind Mapping) พลังงานและสิ่งแวดล้อม (สำ�หรับครู) ส ๕.๒ ข้อ ๓ - ข้อ ๔ แหล่งกำ�เนิด การนำ�พลังงานไปใช้ ปิดไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ ประหยัดนํ้ามันเชื้อเพลิง ใช้ความร้อน ผลิตกระแสไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ผลไม้อาหารตากแห้ง หุงต้ม ใช้นํ้าประปาอย่างประหยัด ผลกระทบจากการใช้ พลังงานไม่ถูกต้อง เชื้อเพลิงหมดเร็ว โลกร้อนเร็ว มีสารพิษในบรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อมนุษย์ พืช และสัตว์ สิ่งที่มาทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นลม ความสามารถในการทำ�ให้เกิดความร้อน
  • 28. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 192 กระแสนํ้าพลังงาน ความร้อน พลังงานที่เกิด จากกระแสลม ลม พายุ กาต้มนํ้า ดวงอาทิตย์ การเผาไหม้ ทรัพยากร เขื่อนกั้นนํ้า ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และนํ้ามันก๊าซ ดิน หิน แร่ เครื่องใช้ บ้านเรือน ทรัพยากรที่มนุษย์ สร้างขึ้น นํ้า ต้นไม้ ตัวอย่างผังความคิดเรื่อง “ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม” ตัวอย่าง ผังความคิดเรื่อง “พลังงาน” แผ่นที่ ๑
  • 29. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 193 สิ่งแวดล้อม กลางวันกลางคืน ความหมาย นํ้าขึ้นนํ้าลง ฯลฯ การเปลี่ยนแปลง ทางสิ่งแวดล้อม คุณประโยชน์ ตัดไม้ทำ�ลายป่า เกิดมลพิษทางอากาศ ที่อยู่อาศัย เทคโนโลยี/เขื่อน พลังงานไฟฟ้า มนุษย์สร้างกำ�หนดขึ้น ฝนแล้ง ไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในนํ้า การปรับปรุง แก้ไขสิ่งแวดล้อม ปลูกป่าทดแทน สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น หิน ดิน ทราย ดวงอาทิตย์ ต้นไม้ ดวงจันทร์ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทดแทน สิ่งที่อยู่รอบตัว ลมพายุ เกิดตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติกำ�หนด นํ้าท่วม โทษ
  • 30. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 194 เนื้อหา - สาระย่อ สิ่งแวดล้อมทางสังคม ทรัพยากรที่อยู่รอบตัวเรา เป็นได้ทั้งพลังงานและสิ่งแวดล้อม ๑. พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ๑. พลังงานที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น พลังงานความร้อนที่เกิดจากแสงอาทิตย์ มนุษย์ใช้พลังงานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาให้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน เช่น  ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ ให้ความสว่างและความร้อน เช่น ตากผ้า ตากผลไม้และอาหารให้แห้ง ซึ่งเรียกว่าการถนอมอาหารไว้ใช้นอกฤดูกาล การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ที่เรียกว่า โซล่าเซลล์  ใช้พลังงานจากลม หมุนกังหันวิดนํ้าจากที่หนึ่งมาสู่ที่หนึ่ง เพื่อการเพาะปลูกทำ�นา  ใช้พลังงานจากนํ้า โดยการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ๒. มนุษย์สามารถผลิตพลังงานขึ้นใช้ในยามจำ�เป็นได้ เช่น มนุษย์ใช้เชื้อเพลิง นํ้ามัน ถ่านหิน ผลิตกระแสไฟฟ้าในเวลากลางคืน สร้างเขื่อนทดนํ้า นอกจากไว้ใช้ ในเรื่องการเกษตรกรรมแล้ว ยังใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ๒. สิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเราซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ๒.๑ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่ มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย เช่น  ให้แสงสว่างและความร้อน  ดึงดูดโลกให้หมุนรอบดวงอาทิตย์ ก่อให้เกิดฤดูกาลต่างๆ คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว โลก เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มีอากาศห่อหุ้มโลก บนโลกมีภูเขา พื้นดิน พื้นนํ้า ป่าไม้ มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ โลกจึงเป็นที่อยู่อาศัยและการดำ�รงชีวิตของคนและสัตว์ มนุษย์สร้างบ้านอาศัยใช้ทรัพยากรต่างๆ เป็นเครื่องอุปโภคและ บริโภค โลกเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์จึงดึงดูดไว้ให้หมุนรอบใช้เวลา ๑ รอบ ต่อ ๓๖๕ วันหรือ ๑ ปี นอกจากโลกจะหมุนรอบใช้เวลา ๑ รอบดวงอาทิตย์แล้ว ยังหมุนรอบตัวเอง ส่วนใดของโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนนั้นจะเป็นกลางวัน และอีกส่วนตรงข้ามจะเป็นเวลากลางคืน โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมงหรือ ๑ วัน
  • 31. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เล่ม ๒ 195 ดวงจันทร์ คือสิ่งแวดล้อมที่เป็นบริวารของโลก เราเห็นดวงจันทร์เวลากลางคืน ดวงจันทร์จะหมุนรอบโลก เป็นระยะเวลา ๓๐ วัน หรือ ๑ เดือน เกิดข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติของไทย การหมุนของดวงจันทร์มีผลมายังโลก เช่นกัน ที่เห็นได้ชัดคือ การดึงดูดส่วนที่เป็นนํ้าบนพื้นผิวโลก ถ้าดวงจันทร์หมุนมาตรงส่วนไหนที่เป็นแม่นํ้า หรือทะเล หรือมหาสมุทร ก็จะส่งแรงดึงดูด ทำ�ให้แม่นํ้า ทะเล มหาสมุทรส่วนนั้นเป็นนํ้าขึ้นสูง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์หรือทดแทนสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสร้างขึ้นและเสื่อมโทรมไป เช่น การสร้างบ้านเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งต้องใช้วัสดุคือไม้ หรือปูน การสร้างเขื่อนทดนํ้าเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า กรม ชลประทาน การเกษตร การสร้างโรงงานไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิง นํ้ามันหรือถ่านหินเชื้อเพลิงจากพืช พลังงานต่างๆ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา ถ้าไม่รู้จักการใช้ย่อม มีวันเสื่อมสลายหมดไป ทำ�ให้เกิดปัญหาการดำ�รงชีวิต เราควรปฏิบัติตนในการใช้โดย ๑. มีส่วนร่วมในการใช้พลังงานและทรัพยากรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วควรปิดสวิตช์ เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้า ช่วยลดภาระของรัฐบาลในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ใช้นํ้าประปาอย่างประหยัด ๒. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพ เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนทดแทน เพื่อ บำ�รุงความสมบูรณ์ของดินที่ใช้ในการเกษตร การปลูกต้นไม้เพื่อสร้างป่าให้อุดมสมบูรณ์ ช่วยให้พื้นดิน ชุ่มชื้น เก็บกักนํ้า ไม่เกิดอุทกภัย ๓. ศึกษาหาความรู้สิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียผลกระทบต่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมการใช้วัสดุที่สามารถนำ�มาใช้หมุนเวียนใหม่ เช่น ควรใช้ภาชนะที่ย่อยสลายได้ แทนถุงพลาสติก การแยกเป็นประเภทๆ เพื่อกลับมาทำ�ประโยชน์ใหม่ เป็นต้น  ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากสีเขียว ซึ่งคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทยริเริ่มโครงการ ฉลากเขียว ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า  ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าฯ รับรองคุณภาพกำ�หนดหมายเลขรับรองเบอร์ ๕ เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หลอดประหยัดไฟ w w w w w w w w