SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นผ่านอินเตอร์เน็ต โดย นางสาวมารียา  กายสะอาด ชั้น ม.6/2 เลขที่16
การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเร็วของการสื่อสารข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนมีความเร็วมากอยู่แล้ว โดยปกติในการเคลื่อนย้ายกลุ่มอิเล็กตรอนมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เราสามารถส่งข้อมูลข้ามซีกโลกได้ในชั่วเวลาพริบตาเดียว              การทำงานหลายอย่างซึ่งต้องทราบและกระทำ ณ เวลาจริง เช่นการซื้อขายหลักทรัพย์ราคาหลักทรัพย์และรายการซื้อขายจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งด้วยเวลาจริง การเบิกถอนเงินฝากผ่านตู้เอทีเอ็มก็เป็นการปรับปรุงรายการบัญชีด้วยเวลาจริง ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าก็ต้องการรู้ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ ณ เวลาจริง การจัดการข้อมูลกับเวลาจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องการ              การประมวลผลข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลด้วยเวลาจริงเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นระบบข้อมูลคือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีการจัดเก็บรวบรวม ตรวจสอบหรือดำเนินการให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานใดขาดข้อมูลเพื่อการตัดสินปัญหา ก็แสดงว่าระบบการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงานนั้นยังไม่เป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลต้องเกี่ยวข้องกับระบบและผู้คน เพื่อให้ได้ข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสับเปลี่ยนถึงกันได้ (Electronic Data Interchange : EDI)              การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อตัวข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้รับรู้และแลกเปลี่ยนกันได้ มาตรฐานของข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ
  ข้อมูลที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขันจะได้รับการรายงานผลผ่านอุปกรณ์สื่อสารหลายอย่างเช่น โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นจะเกิดขึ้นตามเวลาจริง และรายงานมายังศูนย์ข้อมูลเพื่อทำการสอบทานข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลในระบบทันที             ข้อมูลในฐานข้อมูลจึงถูกปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียกดูข้อมูลจะได้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ การเรียกดูข้อมูลทุกขณะจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามความจริงที่เกิดขึ้น             เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูลไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไปแล้ว การใช้ข้อมูลมีบทบาทที่จะต้องดำเนินการแข่งกับเวลา ข้อมูลที่นักข่าวแสวงหา คือ ความจริงที่ต้องรีบนำมารายงาน แต่หากข่าวใดล้าสมัยแล้วอาจไม่มีความสำคัญที่จะต้องรายงานอีกต่อไป ระบบข้อมูล และการแลกเปลี่ยนผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ จึงได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ             บทบาทของการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ความสนใจในเรื่องข้อมูลและจัดระบบเพื่อให้บุคคลากรทุกระดับเข้าใจและประสานการทำงานร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเร่งดำเนินการ องค์กรของรัฐสามารถที่จะใช้ข้อมูล เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนได้มาก การแก้ปัญหาทุกอย่างของรัฐบาลจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ             องค์กรของรัฐจะต้องเร่งพัฒนาในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มากขึ้น เน้นการดำเนินการเป็นระบบ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องมีข้อมูลการผลิตพืชทางการเกษตรอย่างพร้อมมูล กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ต้องมีข้อมูลการตลาด กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยต้องมีข้อมูลแผนกำลังคน จะเห็นว่าข้อมูลคือกลไกพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ   
วิธีแรกที่ระบบต้องมีคือ การตรวจสอบข้อมูลที่ติดต่อเข้ามาในระบบ ในระบบสื่อสารทั่วไปมีการส่งข้อมูลเป็นกลุ่ม (package) คือ นำข้อมูลกลุ่มหนึ่งมารวมกันมีการกำหนดรหัสพิเศษของการรับส่งข้อมูล การตรวจทานข้อมูล เช่น ข้อมูลทั้งกลุ่มส่งไปจะปิดท้ายด้วยรหัสตรวจสอบข้อมูลในรูปที่คำนวณได้ เช่น ตรวจสอบผลบวกของรหัสข้อมูลทั้งหมด ตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวนที่เรียกว่า ซีอาร์ซี (Cyclic Redundancy Check : CRC) เพื่อความแน่ใจว่า ข้อมูลกลุ่มนั้นมาถึงผู้รับโดยไม่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลง หากพบข้อมูลผิดพลาดก็มีการทวงถามใหม่ได้                 การตรวจสอบรหัสบุคคลเป็นวิธีหนึ่งที่ระบบต้องมี ดังจะเห็นได้จากการกำหนดรหัสผ่าน เช่น บัตรเอทีเอ็มทุกใบจะมีรหัสแถบแม่เหล็กและรหัสที่ให้ไว้กับเจ้าของ เมื่อผู้ใช้งานต้องติดต่อเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์จะตรวจสอบรหัสทั้งสองนี้ว่าตรงกับที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าตรงก็จะดำเนินการต่อไป การกำหนดรหัสผ่านนี้ถือว่าเป็นรหัสเฉพาะของแต่ละคน ระบบจะเป็นผู้สร้างให้ และเป็นความลับ ซึ่งพิมพ์ออกมาพร้อมผนึกซองโดยเครื่องไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดรู้  
ความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนข้อมูล         คำถามคงอยู่ในใจของคนทั่วไปว่าระบบรัษาความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันดีแล้ว หรือ ผู้ใช้เอทีเอ็มเบิกถอนเงินได้โดยไม่ต้องมีลายเซ็นมีความเชื่อได้เพียงไร การใช้บัตรเครดิตที่อยู่ห่างไกล หรือแม้แต่ฐานข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฐานข้อมูลคะแนนในมหาวิทยาลัยมีความมั่นคงของข้อมูลเพียงใด ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางมาตรการ และออกแบบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยกันอย่างดี ความจำเป็นที่จะต้องดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวข้องกับฐานะการทำงานและเรื่องกฎหมาย เพราะข้อมูลที่เก็บอาจเป็นเรื่องความลับเฉพาะตัวหรือความลับทางการค้า ปัจจุบันจึงเริ่มมีอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น การแอบใช้ข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ตลอดจนการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์ วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีการพัฒนาเทคนิคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  
ในระบบใด ๆ จะมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกัน เช่น ในระบบฐานข้อมูลแห่งหนึ่ง มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลไว้ 5 ระดับ ระดับแรกเป็นของผู้ใช้ซึ่งจะดูแลหรือปรับปรุงข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องของตนเองเท่านั้น ในระดับที่สูงขึ้นไปจะมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันตามที่กำหนด ระดับสูงสุดอาจเข้าถึงข้อมูลได้หมด ผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุดจึงเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลทั้งหมด             นอกจากการใช้ระบบตรวจสอบผู้ใช้และการตรวจสอบรหัสผ่านแล้ว ระบบในการตรวจสอบข้อมูลอย่างอัตโนมัติในบางเรื่องต้องทำด้วย ระบบนี้เรียกว่าระบบตรวจสอบ ทั้งนี้เพราะอาจมีผู้ทุจริตเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านทางรหัสผ่าน เช่น ผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี อาจเข้าถึงตัวข้อมูลโดยตรงได้ และแก้ไขข้อมูลในจานแม่เหล็กที่เก็บข้อมูลสำคัญ ระบบตรวจสอบนี้จึงเป็นตัวป้องกัน เช่น ในเรื่องบัญชีต้องมีการยืนยันยอดหรือสร้างสมดุลในหลายส่วนที่ตรวจสอบยืนยันกันได้ ระบบตรวจสอบอาจมีกลไกง่าย ๆ เช่น นำตัวเลขในบัญชีมาคำนวณตามสูตร ได้ผลลัพธ์เก็บซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เป็นความลับ ถ้ามีใครแก้ไขตัวเลขในบัญชีก็สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องจากการคำนวณค่าตัวเลขเปรียบเทียบกับของเดิม
เมื่อข้อมูลที่วิ่งไปมาตามช่องสื่อสารหรือนำมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โอกาสของการถูกดักฟัง หรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในช่องสื่อสารจึงเป็นไปได้ง่าย ระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็ก ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้จากหลายคนหลายแห่ง ก็มีโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะเข้าสู่ระบบโดยตรงได้ ถึงแม้ระบบจะมีวิธีการป้องกันที่ดีแล้ว ผู้รู้เรื่องทางเทคโนโลยีระดับสูงก็อาจหาวิธีเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้นจึงมีการแปลงรหัสข้อมูล เป็นรหัสที่ผู้อื่นไม่ทราบ ถ้าการแปลรหัสไม่ตรงกัน ทำให้รู้ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกิดขึ้นแล้ว ระบบอาจตรวจสอบได้ แม้กระทั่งว่าข้อมูลได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่ใด             ระบบการตรวจสอบข้อมูลมีเทคนิคพิเศษหลายประการ เช่น ข้อมูลทั้งหมดจะมีการประมวลผลทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการเก็บประวัติการเปลี่ยนแปลง โดยเก็บทั้งผู้เปลี่ยนแปลงและตัวข้อมูล ตำแหน่งข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านี้จะมีระบบตรวจสอบ การดักฟังข้อมูลอาจทำได้ แต่ข้อมูลที่ได้ไปจะไม่มีความหมายใด เพราะแปลข้อมูลไม่ได้ ข้อมูลที่ส่งจากตู้เอทีเอ็มผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์เข้าสู่คอมพิวเตอร์กลางมีการแปลงรหัสข้อมูล การถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ ปลายทางจะรู้เท่านั้น สูตรการเปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ผู้ดักฟังหรือผู้ที่พยายามจะอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยตรงจึงไม่สามารถแปลข้อมูลได้ การแก้ไขข้อมูลจึงทำได้ยากขึ้น            การใช้งานข้อมูลในยุคนี้ จึงต้องต่อสู้กับวิธีการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะนำมาใช้ อาชญากรรมทางด้านข้อมูลหรือการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งในยุคต่อไปจะมีมากขึ้น ข้อมูลที่ส่งไปมาผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมสาธารณะที่หลายคนนึกว่าปลอดภัย แต่ความเป็นจริงแล้วโอกาสของการดักฟังมีได้เสมอ ผู้ที่ใช้วิทยุโทรศัพท์มือถือพูดกันนั้น คลื่นแพร่กระจายเป็นคลื่นวิทยุ สามารถดักฟังได้โดยง่าย ผู้ที่ใช้เครือข่ายทางสายก็มีผู้แอบอัดเทปและนำมาเปิดเผยให้เห็นกันแล้ว ข้อมูลในระบบจึงต้องพัฒนาใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่างพร้อมกันเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล 

More Related Content

Viewers also liked

Introduccion a la educacion superior
Introduccion a  la educacion superiorIntroduccion a  la educacion superior
Introduccion a la educacion superiorDamian Alkapone
 
давайте відпочинемо
давайте відпочинемодавайте відпочинемо
давайте відпочинемоLiliya_anatolivna
 
Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)
Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)
Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)Valentyn Mohylyuk
 
Presentación1
Presentación1Presentación1
Presentación1jose8585
 

Viewers also liked (15)

Llc電源の特徴
Llc電源の特徴Llc電源の特徴
Llc電源の特徴
 
Introduccion a la educacion superior
Introduccion a  la educacion superiorIntroduccion a  la educacion superior
Introduccion a la educacion superior
 
กหฟกฟหก
กหฟกฟหกกหฟกฟหก
กหฟกฟหก
 
Practico 1 2014
Practico 1 2014Practico 1 2014
Practico 1 2014
 
Denuncia ii 1536
Denuncia ii 1536Denuncia ii 1536
Denuncia ii 1536
 
Digipak ideas
Digipak ideasDigipak ideas
Digipak ideas
 
Hardware
HardwareHardware
Hardware
 
Apartirdelpróximoamanecer
ApartirdelpróximoamanecerApartirdelpróximoamanecer
Apartirdelpróximoamanecer
 
Eu vc ojga
Eu vc ojgaEu vc ojga
Eu vc ojga
 
07 (1)
07 (1)07 (1)
07 (1)
 
Diseño Gráfico
Diseño GráficoDiseño Gráfico
Diseño Gráfico
 
давайте відпочинемо
давайте відпочинемодавайте відпочинемо
давайте відпочинемо
 
Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)
Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)
Рынок систем доставки АФИ - Drug Delivery Systems Mkt (Валентин Могилюк)
 
Presentación1
Presentación1Presentación1
Presentación1
 
Services By Fac for Clients
Services By Fac for ClientsServices By Fac for Clients
Services By Fac for Clients
 

Similar to การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแสดงความคิดเห็น

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารCheshire Kat
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัสบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัสArt Asn
 
ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ
ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ
ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศKo Kung
 
onet-Work4-12
onet-Work4-12onet-Work4-12
onet-Work4-12tangmoknp
 
รายงานของคอมของเบล 21
รายงานของคอมของเบล 21รายงานของคอมของเบล 21
รายงานของคอมของเบล 21Kamonchapat Boonkua
 
รายงานคอมของเม 20
รายงานคอมของเม 20รายงานคอมของเม 20
รายงานคอมของเม 20Kamonchapat Boonkua
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4Nuttapoom Tossanut
 
Netapp Introduction to Flash Technology Infographic
Netapp Introduction to Flash Technology InfographicNetapp Introduction to Flash Technology Infographic
Netapp Introduction to Flash Technology InfographicAruj Thirawat
 
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศwatcharawittaya school
 
งานนำเสนอบทที่3
งานนำเสนอบทที่3งานนำเสนอบทที่3
งานนำเสนอบทที่3sawitri555
 

Similar to การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแสดงความคิดเห็น (20)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัสบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
 
Chapter5
Chapter5Chapter5
Chapter5
 
Ch4
Ch4Ch4
Ch4
 
ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ
ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ
ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ
 
onet-Work4-12
onet-Work4-12onet-Work4-12
onet-Work4-12
 
10
1010
10
 
รายงานของคอมของเบล 21
รายงานของคอมของเบล 21รายงานของคอมของเบล 21
รายงานของคอมของเบล 21
 
S8 Digital wallet and ECD
S8 Digital wallet and ECDS8 Digital wallet and ECD
S8 Digital wallet and ECD
 
Digital Wallet & ECD
Digital Wallet & ECDDigital Wallet & ECD
Digital Wallet & ECD
 
รายงานคอมของเม 20
รายงานคอมของเม 20รายงานคอมของเม 20
รายงานคอมของเม 20
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 4
 
Netapp Introduction to Flash Technology Infographic
Netapp Introduction to Flash Technology InfographicNetapp Introduction to Flash Technology Infographic
Netapp Introduction to Flash Technology Infographic
 
Unit 2 e-Commerce Workshop
Unit 2 e-Commerce WorkshopUnit 2 e-Commerce Workshop
Unit 2 e-Commerce Workshop
 
Unit 2
Unit 2Unit 2
Unit 2
 
e-Commerce Workshop
e-Commerce Workshope-Commerce Workshop
e-Commerce Workshop
 
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
งานนำเสนอบทที่3
งานนำเสนอบทที่3งานนำเสนอบทที่3
งานนำเสนอบทที่3
 
Ch1
Ch1Ch1
Ch1
 
Chapter 1
Chapter 1Chapter 1
Chapter 1
 

More from Mareeyalosocity

รูปแบบของฐานข้อมูล
รูปแบบของฐานข้อมูลรูปแบบของฐานข้อมูล
รูปแบบของฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้Mareeyalosocity
 
ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตMareeyalosocity
 
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตการแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตMareeyalosocity
 
การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลMareeyalosocity
 
ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลMareeyalosocity
 

More from Mareeyalosocity (13)

รูปแบบของฐานข้อมูล
รูปแบบของฐานข้อมูลรูปแบบของฐานข้อมูล
รูปแบบของฐานข้อมูล
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
 
ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล
 
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
 
ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล
 
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูลรูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
 
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตการแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
 
การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
 
ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล
 
Mai
MaiMai
Mai
 

การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแสดงความคิดเห็น

  • 2. การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเร็วของการสื่อสารข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนมีความเร็วมากอยู่แล้ว โดยปกติในการเคลื่อนย้ายกลุ่มอิเล็กตรอนมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เราสามารถส่งข้อมูลข้ามซีกโลกได้ในชั่วเวลาพริบตาเดียว             การทำงานหลายอย่างซึ่งต้องทราบและกระทำ ณ เวลาจริง เช่นการซื้อขายหลักทรัพย์ราคาหลักทรัพย์และรายการซื้อขายจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งด้วยเวลาจริง การเบิกถอนเงินฝากผ่านตู้เอทีเอ็มก็เป็นการปรับปรุงรายการบัญชีด้วยเวลาจริง ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าก็ต้องการรู้ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ ณ เวลาจริง การจัดการข้อมูลกับเวลาจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องการ             การประมวลผลข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลด้วยเวลาจริงเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นระบบข้อมูลคือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีการจัดเก็บรวบรวม ตรวจสอบหรือดำเนินการให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานใดขาดข้อมูลเพื่อการตัดสินปัญหา ก็แสดงว่าระบบการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงานนั้นยังไม่เป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลต้องเกี่ยวข้องกับระบบและผู้คน เพื่อให้ได้ข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสับเปลี่ยนถึงกันได้ (Electronic Data Interchange : EDI)             การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อตัวข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้รับรู้และแลกเปลี่ยนกันได้ มาตรฐานของข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ
  • 3.   ข้อมูลที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขันจะได้รับการรายงานผลผ่านอุปกรณ์สื่อสารหลายอย่างเช่น โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นจะเกิดขึ้นตามเวลาจริง และรายงานมายังศูนย์ข้อมูลเพื่อทำการสอบทานข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลในระบบทันที             ข้อมูลในฐานข้อมูลจึงถูกปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียกดูข้อมูลจะได้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ การเรียกดูข้อมูลทุกขณะจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามความจริงที่เกิดขึ้น             เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูลไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไปแล้ว การใช้ข้อมูลมีบทบาทที่จะต้องดำเนินการแข่งกับเวลา ข้อมูลที่นักข่าวแสวงหา คือ ความจริงที่ต้องรีบนำมารายงาน แต่หากข่าวใดล้าสมัยแล้วอาจไม่มีความสำคัญที่จะต้องรายงานอีกต่อไป ระบบข้อมูล และการแลกเปลี่ยนผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ จึงได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ             บทบาทของการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ความสนใจในเรื่องข้อมูลและจัดระบบเพื่อให้บุคคลากรทุกระดับเข้าใจและประสานการทำงานร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเร่งดำเนินการ องค์กรของรัฐสามารถที่จะใช้ข้อมูล เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนได้มาก การแก้ปัญหาทุกอย่างของรัฐบาลจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ             องค์กรของรัฐจะต้องเร่งพัฒนาในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มากขึ้น เน้นการดำเนินการเป็นระบบ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องมีข้อมูลการผลิตพืชทางการเกษตรอย่างพร้อมมูล กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ต้องมีข้อมูลการตลาด กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยต้องมีข้อมูลแผนกำลังคน จะเห็นว่าข้อมูลคือกลไกพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ  
  • 4. วิธีแรกที่ระบบต้องมีคือ การตรวจสอบข้อมูลที่ติดต่อเข้ามาในระบบ ในระบบสื่อสารทั่วไปมีการส่งข้อมูลเป็นกลุ่ม (package) คือ นำข้อมูลกลุ่มหนึ่งมารวมกันมีการกำหนดรหัสพิเศษของการรับส่งข้อมูล การตรวจทานข้อมูล เช่น ข้อมูลทั้งกลุ่มส่งไปจะปิดท้ายด้วยรหัสตรวจสอบข้อมูลในรูปที่คำนวณได้ เช่น ตรวจสอบผลบวกของรหัสข้อมูลทั้งหมด ตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวนที่เรียกว่า ซีอาร์ซี (Cyclic Redundancy Check : CRC) เพื่อความแน่ใจว่า ข้อมูลกลุ่มนั้นมาถึงผู้รับโดยไม่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลง หากพบข้อมูลผิดพลาดก็มีการทวงถามใหม่ได้                 การตรวจสอบรหัสบุคคลเป็นวิธีหนึ่งที่ระบบต้องมี ดังจะเห็นได้จากการกำหนดรหัสผ่าน เช่น บัตรเอทีเอ็มทุกใบจะมีรหัสแถบแม่เหล็กและรหัสที่ให้ไว้กับเจ้าของ เมื่อผู้ใช้งานต้องติดต่อเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์จะตรวจสอบรหัสทั้งสองนี้ว่าตรงกับที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าตรงก็จะดำเนินการต่อไป การกำหนดรหัสผ่านนี้ถือว่าเป็นรหัสเฉพาะของแต่ละคน ระบบจะเป็นผู้สร้างให้ และเป็นความลับ ซึ่งพิมพ์ออกมาพร้อมผนึกซองโดยเครื่องไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดรู้  
  • 5. ความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนข้อมูล คำถามคงอยู่ในใจของคนทั่วไปว่าระบบรัษาความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันดีแล้ว หรือ ผู้ใช้เอทีเอ็มเบิกถอนเงินได้โดยไม่ต้องมีลายเซ็นมีความเชื่อได้เพียงไร การใช้บัตรเครดิตที่อยู่ห่างไกล หรือแม้แต่ฐานข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฐานข้อมูลคะแนนในมหาวิทยาลัยมีความมั่นคงของข้อมูลเพียงใด ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางมาตรการ และออกแบบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยกันอย่างดี ความจำเป็นที่จะต้องดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวข้องกับฐานะการทำงานและเรื่องกฎหมาย เพราะข้อมูลที่เก็บอาจเป็นเรื่องความลับเฉพาะตัวหรือความลับทางการค้า ปัจจุบันจึงเริ่มมีอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น การแอบใช้ข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ตลอดจนการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์ วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีการพัฒนาเทคนิคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  
  • 6. ในระบบใด ๆ จะมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกัน เช่น ในระบบฐานข้อมูลแห่งหนึ่ง มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลไว้ 5 ระดับ ระดับแรกเป็นของผู้ใช้ซึ่งจะดูแลหรือปรับปรุงข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องของตนเองเท่านั้น ในระดับที่สูงขึ้นไปจะมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันตามที่กำหนด ระดับสูงสุดอาจเข้าถึงข้อมูลได้หมด ผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุดจึงเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลทั้งหมด             นอกจากการใช้ระบบตรวจสอบผู้ใช้และการตรวจสอบรหัสผ่านแล้ว ระบบในการตรวจสอบข้อมูลอย่างอัตโนมัติในบางเรื่องต้องทำด้วย ระบบนี้เรียกว่าระบบตรวจสอบ ทั้งนี้เพราะอาจมีผู้ทุจริตเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านทางรหัสผ่าน เช่น ผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี อาจเข้าถึงตัวข้อมูลโดยตรงได้ และแก้ไขข้อมูลในจานแม่เหล็กที่เก็บข้อมูลสำคัญ ระบบตรวจสอบนี้จึงเป็นตัวป้องกัน เช่น ในเรื่องบัญชีต้องมีการยืนยันยอดหรือสร้างสมดุลในหลายส่วนที่ตรวจสอบยืนยันกันได้ ระบบตรวจสอบอาจมีกลไกง่าย ๆ เช่น นำตัวเลขในบัญชีมาคำนวณตามสูตร ได้ผลลัพธ์เก็บซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เป็นความลับ ถ้ามีใครแก้ไขตัวเลขในบัญชีก็สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องจากการคำนวณค่าตัวเลขเปรียบเทียบกับของเดิม
  • 7. เมื่อข้อมูลที่วิ่งไปมาตามช่องสื่อสารหรือนำมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โอกาสของการถูกดักฟัง หรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในช่องสื่อสารจึงเป็นไปได้ง่าย ระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็ก ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้จากหลายคนหลายแห่ง ก็มีโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะเข้าสู่ระบบโดยตรงได้ ถึงแม้ระบบจะมีวิธีการป้องกันที่ดีแล้ว ผู้รู้เรื่องทางเทคโนโลยีระดับสูงก็อาจหาวิธีเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้นจึงมีการแปลงรหัสข้อมูล เป็นรหัสที่ผู้อื่นไม่ทราบ ถ้าการแปลรหัสไม่ตรงกัน ทำให้รู้ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกิดขึ้นแล้ว ระบบอาจตรวจสอบได้ แม้กระทั่งว่าข้อมูลได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่ใด             ระบบการตรวจสอบข้อมูลมีเทคนิคพิเศษหลายประการ เช่น ข้อมูลทั้งหมดจะมีการประมวลผลทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการเก็บประวัติการเปลี่ยนแปลง โดยเก็บทั้งผู้เปลี่ยนแปลงและตัวข้อมูล ตำแหน่งข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านี้จะมีระบบตรวจสอบ การดักฟังข้อมูลอาจทำได้ แต่ข้อมูลที่ได้ไปจะไม่มีความหมายใด เพราะแปลข้อมูลไม่ได้ ข้อมูลที่ส่งจากตู้เอทีเอ็มผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์เข้าสู่คอมพิวเตอร์กลางมีการแปลงรหัสข้อมูล การถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ ปลายทางจะรู้เท่านั้น สูตรการเปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ผู้ดักฟังหรือผู้ที่พยายามจะอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยตรงจึงไม่สามารถแปลข้อมูลได้ การแก้ไขข้อมูลจึงทำได้ยากขึ้น            การใช้งานข้อมูลในยุคนี้ จึงต้องต่อสู้กับวิธีการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะนำมาใช้ อาชญากรรมทางด้านข้อมูลหรือการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งในยุคต่อไปจะมีมากขึ้น ข้อมูลที่ส่งไปมาผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมสาธารณะที่หลายคนนึกว่าปลอดภัย แต่ความเป็นจริงแล้วโอกาสของการดักฟังมีได้เสมอ ผู้ที่ใช้วิทยุโทรศัพท์มือถือพูดกันนั้น คลื่นแพร่กระจายเป็นคลื่นวิทยุ สามารถดักฟังได้โดยง่าย ผู้ที่ใช้เครือข่ายทางสายก็มีผู้แอบอัดเทปและนำมาเปิดเผยให้เห็นกันแล้ว ข้อมูลในระบบจึงต้องพัฒนาใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่างพร้อมกันเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล