SlideShare a Scribd company logo
1 of 142
Download to read offline
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Ministry of Science and Technology
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
2
สาร
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี........................................................................................4
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี........................5
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี....................................6
“สร้างอนาคตประเทศไทยด้วยนวัตกรรม”
โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.............8
วิสัยทัศน์
กรมวิทยาศาสตร์บริการ.............................................................................................................................16
ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ........................................................................................................................17
ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ....................................................................19
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ.......................................................................................................................21
ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ............22
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ...........................................................................................23
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย...............................................................24	
ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)..............................26
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)................................................................27
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)..............................................................................28
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)...........................................29
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)......................................................................30
ส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)..............................................................................32
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)...........................................................33
CONTENTSANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3
ผลงานเด่นในรอบปี 2558
ส�ำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี......................................................................36
กรมวิทยาศาสตร์บริการ.............................................................................................................................60
ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ........................................................................................................................68
ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ....................................................................75
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ.......................................................................................................................82
ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ............87
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย...............................................................94
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ........................................................................................100
ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)...........................104
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน).............................................................109
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)...........................................................................112
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน).................................................................116
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)........................................123
ส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)...........................................................................130
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)........................................................136
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
4
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ ในการอ�ำนวย
ความสะดวกในการใช้ชีวิตประจ�ำวันและการประกอบธุรกิจทั้งด้านการติดต่อสื่อสารด้านการแพทย์
ด้านโภชนาการและด้านอุตสาหกรรมเป็นต้นรัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
นวัตกรรม เพื่อยกระดับประเทศไทยให้มีความสามารถทางการแข่งขันและก้าวหน้าทัดเทียมกับ
นานาประเทศ
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป็นภารกิจที่ส�ำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการขับเคลื่อนแผนนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในการร่วมลงทุนงานวิจัยและพัฒนา การขึ้นบัญชีนวัตกรรม
และการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตลอดจน
การถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ระดับชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ พร้อมทั้งผลักดันงานวิจัยไปสู่การ
ใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ในโอกาสนี้ ผมขอเป็นก�ำลังใจให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ทุกคนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มุ่งมั่นพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมและการวิจัยพัฒนา
เพื่อน�ำประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นผู้น�ำในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับสังคม และยกระดับ
ความสามารถของประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันทั้งในระดับอาเซียนและในระดับเวทีโลก
ต่อไป
เนื่องในโอกาสจัดท�ำหนังสือรายงานประจ�ำปี 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาร
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก
		 (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
		 นายกรัฐมนตรี
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5
ในรอบปีที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด�ำเนินการขับเคลื่อนงานด้านการปฏิรูป เพื่อเปลี่ยนผ่านจาก
ประเทศที่ขับเคลื่อนโดยประสิทธิภาพ เป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งจ�ำเป็นจะต้องสร้างกลไกขับเคลื่อนการ
เติบโตใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ท�ำให้เกิดการเติบโตอย่างทั่วถึง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางภายในปี 2569 เพื่อเร่งพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย
ดังกล่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจึงเร่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.)ตามนโยบาย
รัฐบาลในการบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาคการผลิตและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านคณะท�ำงาน
5กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มวิจัยเชิงพาณิชย์และSMEsกลุ่มวิจัยเชิงสังคมและชุมชนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้าน
วทน.กลุ่มพัฒนาก�ำลังคนและความตระหนักและกลุ่มวทน.เพื่อทรัพยากรซึ่งจากการแบ่งการท�ำงานดังกล่าวส่งผลให้เกิด
โครงการที่ประสบความส�ำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการ Talent Mobility ปลดล็อคเงื่อนไขให้นักวิจัยภาครัฐ
สามารถไปท�ำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคเอกชนได้ โครงการพัฒนาก�ำลังคน
เพื่อเปลี่ยนจากประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้น ไปสู่ประเทศที่ใช้ความรู้เข้มข้นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โครงการ
มาตรการลดหย่อนภาษีด้านการวิจัยและพัฒนาจาก 200% เป็น 300% โครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อยกระดับและพัฒนา
ขีดความสามารถของSMEsโครงการจัดท�ำโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานและคุณภาพของประเทศที่ส�ำคัญในการผลักดัน
ให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เรียกว่า MSTQ แบ่งเป็น 4 หมวดหลัก ได้แก่ ระบบมาตรวิทยา (Metrology)
การก�ำหนดมาตรฐาน (Standardization) การทดสอบ (Testing) และการรับรองคุณภาพ (Quality Assurance) โครงการ
จัดท�ำบัญชีนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมในการน�ำผลการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศและสามารถผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมาตรฐานโครงการกระจายความเจริญไปสู่
ชุมชนท้องถิ่นผ่านเครือข่ายกลไกและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเช่นการจัดให้มีที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ประจ�ำจังหวัดให้การ
สนับสนุน SMEs ในท้องถิ่น การพัฒนาโมเดลบริหารจัดการน�้ำชุมชน การสร้างแก้มลิงกักเก็บน�้ำ การจัดสรรที่ดินแบบ
เศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมโครงการมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์แก่โรงเรียนกว่า
300 โรงเรียน ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงโครงการเชื่อมโยงความร่วมมือด้าน วทน. กับต่างประเทศและประชาคม
อาเซียน เป็นต้น
จากผลการด�ำเนินงานที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นถึงความส�ำคัญในการใช้ประโยชน์จากวทน.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ของประเทศ ในการสร้างสังคมนวัตกรรมทางเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ รัฐบาลจึงได้จัดกลุ่มการท�ำงานใหม่ โดยให้กระทรวง
วิทยาศาสตร์ฯ อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อร่วมบูรณาการกับกระทรวงสายเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น นับเป็นสัญญาณและโอกาสที่ดี
ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการที่จะขับเคลื่อนงานด้านการปฏิรูป วทน. เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นกลุ่มประเทศ
รายได้สูงและยกฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ในโอกาสนี้ผมขอขอบคุณผู้บริหารข้าราชการพนักงานและเจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯทุกท่านและขอเป็นก�ำลังใจ
ให้ท่านได้ร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนการปฏิรูปและการใช้ วทน. เพื่อเป็นข้อต่อที่ส�ำคัญในการวางรากฐานประเทศไปสู่การ
สร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
	
	 (ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์)
	 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาร
ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
6
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม
ฐานความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยผ่านกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนให้คิดอย่างมีตรรกะ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันตนเอง
และมีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนมีความรู้ความสามารถพึ่งพาตนเองได้
ในปีงบประมาณ2558กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนา
และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมภายใต้วิสัยทัศน์
ของรัฐบาล “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยผ่านการขับเคลื่อนการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ได้แก่
1.เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่อขยายผลและต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาสู่การใช้
ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหน่วยงานวิจัยของภาครัฐและเอกชน
เช่น ใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ใช้แสงซินโครตรอนเพิ่มมูลค่าอัญมณีและ
เครื่องประดับวิจัยสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์
อาหารเสริมและเวชส�ำอาง เป็นต้น
2. เสริมสร้างสังคมนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนพัฒนาก�ำลังคน
ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งจ�ำเป็นต้องมีบุคลากร
ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึง
กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์อ�ำนวยความสะดวก Talent Mobility ในส่วนกลางและ
ภูมิภาค รวม 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภาคเหนือ (มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(มหาวิทยาลัยขอนแก่น)และภาคใต้(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)เพื่อ
ประสานงานความต้องการบุคลากรวิจัยของสถานประกอบการกับหน่วยงานต้นสังกัด สนับสนุนการจัดท�ำ/
ปรับปรุงกฎระเบียบในการส่งเสริมนักวิจัยไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ได้เล็งเห็นถึง
ความส�ำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ให้ทั่วถึงทุกจังหวัด และจัดกิจกรรม
นิทรรศการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักให้แก่เยาวชน
และประชาชน เป็นต้น
3. ปฏิรูประบบการให้สิ่งจูงใจ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศควบคู่กับ
การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการน�ำพาประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country)
สาร
รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ
ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7
โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 1 ของรายได้ประชาชาติ ภาครัฐและ
ภาคเอกชนลงทุนในสัดส่วน 30:70 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงเร่งด�ำเนินการผลักดันมาตรการต่างๆ
เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนภาคการผลิตให้มีความเข้มแข็งขึ้น เช่น มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ส�ำหรับค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก200%เป็น300% มาตรการทางภาษีส�ำหรับ
เงินบริจาคเพื่อการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม โครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความ
สามารถของ SMEs รวมถึงจัดท�ำบัญชีนวัตกรรมไทยและบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย เป็นต้น
4. ส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม
ตามความเหมาะสม โดยก�ำหนดเงื่อนไขให้มีการลงทุนในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมส�ำหรับ
การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่(MegaProjects)ช่วยลดการน�ำเข้าเทคโนโลยีพึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง
มากขึ้น เปิดโอกาสให้ภาคการผลิตเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่มากขึ้น
เช่น การสนับสนุนก�ำลังคนและเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางราง และการน�ำเทคโนโลยีการส�ำรวจ
ระยะไกลและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับภารกิจด้านรถไฟได้แก่การท�ำแผนที่ตามแนวเส้นทางออกแบบ
และก่อสร้าง บ�ำรุงรักษาเส้นทาง และบริหารจัดการที่ดิน เพื่อให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น
5.ปรับปรุงและจัดเตรียมให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่ส�ำคัญในการต่อยอดสู่การใช้เชิงพาณิชย์ของภาคอุตสาหกรรมให้มี
ความพร้อม ทันสมัย และมีการกระจายในพื้นที่ต่างๆ เช่น ส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ใน 3 ภูมิภาค
(ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดขอนแก่น และภาคใต้ : จังหวัดสงขลา)
การใช้ดาวเทียมบริหารจัดการไฟป่าและติดตามภัยแล้ง พัฒนาระบบศูนย์คลังข้อมูลน�้ำและภูมิอากาศ
แห่งชาติ จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน�้ำระดับจังหวัด เป็นต้น
การด�ำเนินการของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตลอดปี 2558 ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือ
ร่วมใจของผู้บริหารและบุคลากรของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการผลักดันและขับเคลื่อนการด�ำเนินงานต่างๆ ให้เกิดผลส�ำเร็จเป็นรูปธรรม และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด
ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
	
	 (รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ)
	 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
8
โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเทศที่สามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ต่างใช้การลงทุนด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่
ประเทศรายได้สูงและยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรให้ดีทั้งสิ้นส�ำหรับประเทศไทยรัฐบาลมีการ
ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนประเทศโดยภายในปี2559นี้รัฐบาลคาดหวังให้ประเทศไทย
มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาไม่ต�่ำกว่าร้อยละ1ของGDPและเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ2ของGDP
ภายในปี2564โดยมุ่งหวังให้สัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาในปี2564ร้อยละ70เป็นการลงทุน
โดยภาคเอกชน ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้อ�ำนวยความสะดวก และสร้าง
สภาพแวดล้อมในการท�ำนวัตกรรม ให้ภาคเอกชนสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อยอด
สู่การท�ำนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2564 ประเทศไทยจะมี
บุคลากรวิจัยและพัฒนาไม่ต�่ำกว่า25คนต่อประชากร10,000คนเพื่อรองรับการขยายการลงทุน
ด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศที่มีภาคเอกชนเป็นผู้น�ำ
นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการโดยเฉพาะ การเข้า
สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2568 และจากสถานะที่ประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้น�ำ
ในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในปัจจุบัน หากสามารถสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และบริการ
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุจะเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะเป็นผู้น�ำในตลาดการบริการสุขภาพ
ส�ำหรับผู้สูงอายุของโลกขณะเดียวกัน การรวมตัวของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและ
ความท้าทายของประเทศไทย จากตลาดภายในที่มีประชากร 67 ล้านคน กลุ่มประเทศอาเซียน
จะมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน สินค้าและบริการจากประเทศไทยจึงจะมีโอกาส
เข้าถึงกลุ่มตลาดที่ใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัว เช่นเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมโลก
ที่เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต�่ำ วทน. จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์
“	สร้างอนาคตประเทศไทย
	ด้วยนวัตกรรม”
ประเทศไทยก�ำลังก้าวสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านที่ส�ำคัญจากประเทศที่ขับเคลื่อน
เศรษฐกิจด้วยประสิทธิภาพการผลิต ไปสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้วยนวัตกรรม จากรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก ที่จัดท�ำโดยองค์กรทรัพย์สินทาง
ปัญญาโลก (WIPO) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม
ประเทศที่ก�ำลังเรียนรู้และมีศักยภาพที่จะยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
และสังคมแห่งความรู้การวางเป้าหมายอนาคตของประเทศที่ชัดเจนที่จะมุ่งพัฒนา
ประเทศไปในทิศทางดังกล่าวจึงเป็นเรื่องส�ำคัญ
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงสถานะประเทศที่
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกไว้ได้
ปัญหาความเหลื่อมล�้ำและการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน การน�ำ วทน. ไปใช้เพื่อต่อยอดภูมิปัญญา
ท้องถิ่น จะส่งผลให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดการยกระดับ
รายได้ของประชาชนในท้องถิ่นและมีการกระจาย
รายได้ที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลง
ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประเทศจ�ำเป็นต้อง
ยกระดับการสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม
ทั้งต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
“จากความท้าทายหลายๆอย่างเห็นได้ชัดเจน
ว่าประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะใช้วทน.เป็น
ตัวขับเคลื่อนอนาคต ประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคที่ต้อง
แข่งขันกับประเทศอื่น ๆ บนฐานความรู้ การสร้าง
มูลค่าเพิ่มของผลผลิตของประเทศด้วยนวัตกรรมถือ
เป็นหัวใจที่จะท�ำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับ
จากประเทศรายได้ปานกลาง แต่การจะก้าวไปสู่
จุดที่ประเทศจะสามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
บทบาทภาครัฐที่ส�ำคัญคือ การลงทุนพัฒนาสภาพ
แวดล้อมทางนวัตกรรมที่เหมาะสมดังนั้นจึงถึงเวลาที่
ประเทศจ�ำเป็นต้องมีการปฏิรูปวทน.เพื่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม”
เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่
ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยต้อง
เปลี่ยนผ่านจากการเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนโดย
ประสิทธิภาพ (Efficiency-driven) เป็นประเทศที่
ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Innovation-driven) ซึ่งจ�ำเป็นต้องสร้าง
กลไกขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ๆ ที่สามารถสร้างขีดความสามารถใน
การแข่งขัน (Productive Growth) ท�ำให้เกิดการเติบโตอย่างทั่วถึง
(Inclusive Growth) และต้องเป็นการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Green Growth) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก
กับดักรายได้ปานกลางภายในปี 2569 เพื่อเร่งพัฒนาให้ประเทศไทย
ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)
จะเป็นกลไกหลักกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเปลี่ยนจาก
ประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ประเทศที่ใช้ความรู้เข้มข้นในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม เพื่อสามารถก้าวสู่การเป็นกลุ่มประเทศรายได้สูง
และยกฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ในปี2557กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับมอบหมาย
จากรัฐบาล ให้จัดท�ำข้อเสนอการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
นวัตกรรม และได้มีการจัดเวทีปฏิรูป วทน. ครั้งที่ 1 ขึ้นทั้งในส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาคโดยมีประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วนใน
สังคมร่วมก�ำหนดแนวทางและมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูป วทน.
มากกว่า 1,800 คน และได้ประเด็นยุทธศาสตร์การปฏิรูป วทน. ทั้ง
เชิงโครงสร้างและกลไก ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงโครงสร้างประกอบด้วย
1) ก�ำหนดให้นวัตกรรมเป็นฐานหลัก (Platform) ของการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในแผนพัฒนาที่ส�ำคัญของประเทศ
ทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนารายสาขา
ที่เกี่ยวข้อง
2) ปรับระบบก�ำกับและบริหารจัดการ วทน. ของประเทศ โดยให้
ผู้บริหารสูงสุดของประเทศได้รับข้อมูลเชิงลึกและค�ำปรึกษาที่มีการ
กลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะจากภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ
• แผนภาพที่ 1 ทิศทางการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
10
มีหลักและเป้าหมายชัดเจน ซึ่งอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความ
ได้เปรียบเชิงแข่งขัน
• การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega-Projects) ซึ่งก�ำหนด
เงื่อนไขให้มีการลงทุนใน วทน. เพื่อสนับสนุนโครงการ ก่อให้เกิดการ
จ้างงาน ช่วยลดการน�ำเข้าเทคโนโลยี พึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง
มากขึ้นซึ่งจะเปิดโอกาสให้ภาคการผลิตของไทยเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
• การลงทุนและท�ำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
(Public-Private Partnership) ซึ่งจะท�ำให้มีพลังในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจสูงสุดเนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่(DivisionofLabor)กันอย่าง
ชัดเจน ท�ำให้เกิดผลิตภาพ (Productivity) ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ผลสัมฤทธิ์ (Effectiveness) ทางเศรษฐกิจที่มีปัญหาคอขวดอยู่ใน
ปัจจุบัน
2.ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงกลไก
เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนวทน.ของประเทศให้ถึงร้อยละ1
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ภายในปี2559โดยก�ำหนด
จุดเน้นที่จะเป็นยุทธศาสตร์และทิศทางขับเคลื่อนการลงทุนวทน.จากทั้ง
ภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทาง วทน.
การก�ำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ การก�ำหนดให้โครงการลงทุน
ขนาดใหญ่มีเงื่อนไขในการลงทุนด้าน วทน. การพัฒนาผู้ประกอบการ
ฐานนวัตกรรม และที่ส�ำคัญคือ การพัฒนาบุคลากร วทน. เพื่อรองรับ
การวิจัยและพัฒนา วทน. ในสาขายุทธศาสตร์ ทั้งนี้ การด�ำเนินการให้
ส�ำเร็จตามยุทธศาสตร์ข้างต้น ต้องอาศัยกลไกที่ช่วยน�ำไปสู่การปฏิบัติ
ที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
แผนภาพที่ 2 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อ
อภิวัฒน์ประเทศไทยไปสู่ประเทศรายได้สูงและประเทศ
พัฒนาแล้ว
แผนภาพที่ 3 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงกลไกเพื่อขับเคลื่อนการลงทุน วทน. ของประเทศให้ถึง 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ภายในปี 2559
3) ปรับระบบงบประมาณด้าน วทน. ให้เอื้อต่อ
การลงทุนที่มีความต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว
และการจัดสรรงบประมาณในรูปแบบการบูรณาการ
ตามยุทธศาสตร์ (Agenda-based Budgeting) เพื่อ
ให้การลงทุนด้าน วทน. เกิดผลลัพธ์ต่อเศรษฐกิจและ
สังคมอย่างเป็นรูปธรรม
อนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์การปฏิรูป
หลักทั้ง3ประการยังน�ำไปสู่การวางนโยบายอีก3ด้าน
คือ
• การก�ำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ระดับ
ชาติ (Strategic Industries) เพื่อให้การพัฒนา วทน.
แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12:
นวัตกรรมแห่งชาติ
ระบบก�ำกับ
และบริหารจัดการ
วทน. ของประเทศ
ระบบ
งบประมาณ วทน.
ของประเทศ
รัฐร่วมเอกชน
โครงการขนาดใหญ่อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ
11,000,000 ล้านบาท
การลงทุน วทน.
110,000 ล้านบาท
40% 60%
การลงทุนจากภาครัฐ
44,000 ล้านบาท
วิจัยและพัฒนา
25,000 ล้านบาท
การใช้ประโยชน์
เชิงพาณิชย์
4,000 ล้านบาท
โครงสร้าง
พื้นฐาน
10,000 ล้านบาท
การลงทุนของภาครัฐเป็นการชักน�ำ
ให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่ม
ก�ำลังคน วทน.
5,000 ล้านบาท
บริษัทไทย
ขนาดใหญ่
26,400 ล้านบาท
บริษัทขนาดกลาง
และเล็ก
6,600 ล้านบาท
บริษัทข้ามชาติ
6,600 ล้านบาท
การลงทุนจากภาคเอกชน
66,000 ล้านบาท
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11
การขับเคลื่อนการลงทุนในภาครัฐนั้นสามารถ
จัดสรรใน 4 ประเภทการลงทุนดังนี้
1. การลงทุนในระบบวิจัย 25,000 ล้านบาท
ซึ่งต้องมีเป้าหมายเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ในสาขาที่
สร้างมูลค่ารวมถึงการเกษตรเช่นข้าวมันส�ำปะหลัง
ยางพาราอ้อยข้าวโพดผลไม้ฯลฯภาคอุตสาหกรรม
เช่น อาหาร ปิโตรเคมี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
ภาคบริการ เช่น ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ สุขภาพ
ไปจนถึงการลงทุนในโอกาสใหม่ๆเช่นชีวเภสัชภัณฑ์
(Bio-pharmaceutical) แฟชั่น เป็นต้น
2. การลงทุนในการสร้างและพัฒนาก�ำลัง
คนทางด้าน วทน. ซึ่งครอบคลุมห่วงโซ่ทรัพยากร
มนุษย์ นับตั้งแต่การปรับระบบการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้เป็น Enquiry-
based Learning การปรับปรุงหลักสูตรระดับ
มัธยมศึกษาและปริญญาตรีให้เป็น Liberal Arts
การจัดท�ำระบบอาชีวศึกษาให้เป็นProblem-based
และ Science-based Technology College
การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่ออาชีพในวิทยาลัยชุมชน
(Community College) การแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัย
ออกเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย กลุ่มมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี กลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
การพัฒนานักวิจัยและการส่งเสริมการผลิตบัณฑิต
ปริญญาเอกให้เพียงพอต่อความต้องการ และการ
ลงทุนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อยกระดับทักษะและ
ความรู้ของแรงงานไปสู่แรงงานความรู้(Knowledge
Workers)ซึ่งรวมถึงการยกระดับแรงงานไร้ทักษะของ
ไทยที่ก�ำลังถูกแรงงานต่างชาติเข้ามาแทนที่ หรือการ
ยกระดับเกษตรกรไทยที่หันมาประกอบอาชีพอื่นอัน
จะท�ำให้สมดุลของแรงงานเกษตรกรกับการสร้าง
มูลค่าเพิ่มในภาคเกษตรดีขึ้น ทั้งหมดนี้ด้วย วทน.
3. รัฐต้องมีกลไกในการสนับสนุนภาคการผลิต
ให้มีความเข้มแข็งขึ้น (Technology Innovation
and Commercialization Support) ซึ่งประกอบ
ด้วยมาตรการสร้างแรงจูงใจทางการเงิน การลงทุน
และภาษี การอ�ำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง
ของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศการอ�ำนวยความสะดวก
จุดเดียว การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิทยาศาสตร์
ในบริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ การสนับสนุนด้านการคุ้มครอง
ทรัพย์สินทางปัญญา การแก้กฎระเบียบและกฎหมายที่เอื้อต่อการท�ำ
ธุรกิจการส่งเสริมการสร้างนิคมนวัตกรรมของภาคเอกชนการสนับสนุน
การลงทุนที่มีความเสี่ยง(VentureCapital)ตลอดจนการสนับสนุนการ
สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneurship Program)
4. รัฐควรลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน วทน. ซึ่งรวมถึง
อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
อุทยานนวัตกรรมเฉพาะทาง เช่น Food Innopolis, Space Park
ควรลงทุนในห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการออกแบบ
ตลอดจนการลงทุนในเมืองหรือเขตวิทยาศาสตร์ (Science City)
การลงทุนของรัฐทั้งหมดเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เอกชนลงทุน
ใน วทน. เพิ่มขึ้นโดยล�ำดับ อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์การลงทุนของ
ภาคเอกชนอาจมีความแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างบริษัทข้ามชาติ
บริษัทไทยขนาดใหญ่ และบริษัทไทยขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมี
ความต้องการการสนับสนุนต่างกันในรายละเอียด เป็นที่ประจักษ์ใน
ประเทศที่พัฒนาแล้วว่าเมื่อเอกชนลงทุนใน วทน. แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่
เคยเกิดขึ้นก็จะได้รับการแก้ไขไปโดยระบบไม่ว่าจะเป็นปัญหาวิจัยขึ้นหิ้ง
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การว่างงาน การกีดกันทางการค้า
ตลอดจนการแข่งขันกับผู้ผลิตที่มีแรงงานราคาถูกเป็นต้นทุน
การลงทุนของรัฐจะต้องเน้นให้เกิดการกระจายความเจริญให้
ประชาชนเกษตรกรและผู้ประกอบการในภูมิภาคได้รับประโยชน์อย่าง
ทั่วถึงด้วย เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำระหว่างเมืองและชนบท ซึ่งเป็น
นโยบายส�ำคัญของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการกระจายความเจริญไปสู่จังหวัดที่มีรายได้ (ผลิตภัณฑ์
มวลรวมของจังหวัด) ต่อประชากรยังต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ
โดยสรุปกรอบแนวทางการปฏิรูปวทน.สามารถแสดงภาพรวมได้
ดังแผนภาพที่ 4 ซึ่งการปฏิรูป วทน. นั้นเปรียบเสมือนการสร้างความ
แข็งแรงให้บ้าน(ประเทศไทย)เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง
และประเทศพัฒนาแล้วภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (ปี พ.ศ. 2560–2564) โดยมีเป้าหมายเปลี่ยนเศรษฐกิจ
ของประเทศให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Innovation-
driven Economy)
ในการด�ำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจ�ำเป็นต้องปฏิรูปจัดระบบ
เชิงโครงสร้างที่เป็นเสมือนเสาเข็มของบ้าน (รากฐานหลักของการ
พัฒนายั่งยืน) ทั้ง 3 ด้านดังที่ได้กล่าวข้างต้น คือ
1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ก�ำหนดให้นวัตกรรมเป็นแรง
ขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาประเทศในระยะ 10 ปีข้างหน้า
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
12
2) ระบบก�ำกับและบริหาร วทน. ของประเทศ
ที่ผู้บริหารสูงสุดของประเทศได้รับข้อมูลเชิงลึกที่
แม่นย�ำทันเหตุการณ์และค�ำปรึกษาที่มีการกลั่นกรอง
โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเป็นระบบเพื่อการตัดสินใจและ
ก�ำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3) ระบบการจัดสรรงบประมาณด้าน วทน. ที่
สามารถรองรับการแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์
ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง
การด�ำเนินโครงการด้าน วทน. ให้เกิดผลกระทบ
ต่อการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลา
ด�ำเนินการที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ปี จ�ำเป็นต้อง
มีระบบงบประมาณที่สามารถประกันความต่อเนื่อง
ของการลงทุนหรือการสนับสนุนที่ต่อเนื่องจนเสร็จ
สิ้นโครงการตามที่ได้ก�ำหนดไว้
ควบคู่ไปกับการปฏิรูปจัดระบบเชิงโครงสร้าง
เพื่อความแข็งแรงของรากฐานทั้ง3ด้านดังกล่าวต้อง
ก�ำหนดจุดเน้นที่จะเป็นยุทธศาสตร์และทิศทาง
ขับเคลื่อนการลงทุน วทน. จากทั้งภาครัฐและเอกชน
ให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 1 และร้อยละ 2 ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภายในปี 2559
และ 2564 ตามล�ำดับ เพื่อสร้างขีดความสามารถ
วทน. ไปสนับสนุนการเพิ่มความสามารถการแข่งขัน
ของภาคการผลิตและบริการและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในภูมิภาค ท้องถิ่นและชุมชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งการยกระดับคุณภาพ
และความมั่นคงปลอดภัยในสังคมสุขภาพและสวัสดิภาพของประชาชน
การศึกษา สิ่งแวดล้อมและความมั่นคงทางพลังงาน
ยุทธศาสตร์5ด้านเพื่อรองรับการขับเคลื่อนการลงทุนสร้างความ
สามารถทาง วทน. จากทั้งภาครัฐและเอกชนประกอบด้วย
1) ปรับปรุง พัฒนา บริหารจัดการเพื่อยกระดับและใช้ประโยชน์
โครงสร้างพื้นฐาน วทน. สู่ระดับสากล
2) ก�ำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตเพื่อให้การพัฒนา
วทน. มีหลักและเป้าหมายชัดเจน
3) ก�ำหนดให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่มีเงื่อนไขต้องลงทุนใน
วทน. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี
4) พัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมและนวัตกรเพื่อเพิ่มความ
สามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ
5)พัฒนาบุคลากรด้านวทน.เพื่อรองรับการลงทุนวิจัยและพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์
การปฏิรูปเชิงโครงสร้างและด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5
ให้บรรลุเป้าหมาย จะต้องออกแบบสร้างหรือพัฒนากลไกที่จะน�ำไปสู่
การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม กลไกหลักที่ส�ำคัญประกอบด้วย
แผนภาพที่ 4 กรอบหลักการของการปฏิรูป วทน. ของประเทศไทย
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 13
1)กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
ที่มีประสิทธิภาพ
2) การบูรณาการด�ำเนินงานระหว่างกระทรวง
ที่เกี่ยวข้อง
3) ระบบแรงจูงใจทางการเงินและภาษีกระตุ้น
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใน
ภาคเอกชน
4) การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายและ
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยมีประสิทธิผลและ
เอื้อต่อการพัฒนา วทน. ของประเทศ
5) การร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาและ
ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ในการขับเคลื่อนการปฏิรูป วทน. เกิดผลเป็น
รูปธรรมตามแนวทางข้างต้น ได้มีการจัดท�ำแผนที่
น�ำทาง(roadmap)ซึ่งมีการก�ำหนดเป้าหมายผลลัพธ์
จากการพัฒนา วทน. และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทุก 5 ปี
รวมทั้งก�ำหนดมาตรการและแผนงานส�ำคัญที่ต้องเร่งด�ำเนินการเพื่อ
ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ดังสรุป
ในแผนภาพที่ 5
สืบเนื่องจากการจัดเวทีปฏิรูปวทน.ครั้งที่1กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีและหน่วยงานพันธมิตรได้ร่วมการด�ำเนินการปฏิรูป
วทน. ในด้านต่าง ๆ มีความก้าวหน้าและเกิดผลส�ำเร็จในบางด้าน และ
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการด�ำเนินงานอีกหลายด้าน อาทิ
1) ด้านการพัฒนาก�ำลังคน
•มาตรการส่งเสริมบุคลกรภาครัฐไปท�ำงานในภาคเอกชน(Talent
Mobility)
• มาตรการการบูรณาการการเรียนการสอนกับการท�ำงาน
(Work-integrated Leaning)
2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
• มาตรการส่งเสริมพื้นที่นวัตกรรมพิเศษ (Special Area of
Innovation: SAI)
• ศูนย์บริการ “จุดเดียวครบวงจร” ด้านสอบเทียบมาตรวิทยา
มาตรฐาน การทดสอบและรับรองคุณภาพ
แผนภาพที่ 5 แผนที่น�ำทาง มาตรการและแผนงานขับเคลื่อนการปฏิรูป วทน. ของประเทศไทย
มาตรการส�ำคัญ
2555 2557 2559 2564 2569
แผนงานส�ำคัญ
จัดระบบแรงจูงใจทางทรัพย์สินทางปัญญา การเงิน ภาษี และอื่นๆ เพื่อเร่ง
กระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน
สามารถเริ่มได้ภายใน 4 เดือน
สามารถเริ่มได้ภายใน 1 ปี
สามารถเริ่มได้ภายใน 2-3 ปี
แผนงานเร่งการผลิตก�ำลังคน วทน. และการยกระดับคุณภาพ วทวค.
(STEM) ของนักเรียน นักศึกษาและบุคลากร และ talent mobility รองรับ
อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ
แผนงานเร่งรัดการลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานวทน.สู่ระดับสากลและ
จัดระบบบริหารจัดการการใช้ประโยชน์สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน
ของภาคการผลิตและบริการ
ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มประสิทธิภาพระบบก�ำกับและงบประมาณ
วทน.
แผนงานสนับสนุน วทน. แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบ
การฐานนวัตกรรม และชุมชนท้องถิ่น
ก�ำหนดให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐมีการลงทุนสร้างความสามารถเพื่อ
การพึ่งพาตนเองทาง วทน.
แผนงานสนับสนุน วทน. ในการขับเคลื่อนภาคการผลิตและบริการสาขา
ยุทธศาสตร์ประเทศ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค
ก�ำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมนวัตกรรม
ในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์อย่างส�ำคัญ
แผนงานการทูตวิทยาศาสตร์ (science diplomacy) เพื่อความสามารถใน
การแข่งขันของอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์
แผนพัฒนาฯฉ.12ก�ำหนดให้นวัตกรรมเป็นระเบียบวาระแห่งชาติขับเคลื่อน
ภาคการผลิตและบริการในสาขายุทธศาสตร์ของประเทศ
1 1
2
2
3
3
4
4
5
5
{
1 2 3 41
2
3 4
5
5
0.37 % จีดีพี
(40,880 ล้านบาท)
50:50
53,120 คน
(9 คนต่อ ปชก.
10,000 คน)
US$ 6,000
(180,000 ล้านบาท)
60:40
1% จีดีพี
(110,000 ล้านบาท
100,000 คน
(15 คนต่อ ปชก.
10,000 คน)
US$ 8,500
(260,000 ล้านบาท)
70:30
2% จีดีพี
(268,000 ล้านบาท
160,800 คน
(25 คนต่อ ปชก.
10,000 คน)
US$ 13,000
(400,000 ล้านบาท)
ประเทศไทย
เป็นประเทศ
พัฒนาแล้ว
(Developed
Country)
รายได้ /
ประชากร / ปี
เป้าหมาย
ลงทุน R&D
สร้างบุคลากร
R&D
ลงทุน R&D
เอกชน : รัฐ
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
14
แผนภาพที่ 6 การด�ำเนินงานการปฏิรูป วทน.
• การจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพนักจัดการ
นวัตกรรมไทย(AllianceofInnovationManagers:
AIMs–Thailand)
• การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญแก้ไขปัญหาทาง
เทคโนโลยีส�ำหรับ SMEs
3) ด้านสร้างระบบแรงจูงใจ
• มาตรการส่งเสริมการลงทุนฐานความรู้ BOI
• มาตรการยกเว้นภาษีค่าใช้จ่ายวิจัย พัฒนา
เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3 เท่า (RDI Tax ร้อยละ 300)
4) ด้านมาตรการทางการเงินและการสร้างตลาด
• บัญชีความต้องการนวัตกรรมของหน่วยงานภาครัฐ
• (ร่าง) พรบ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. 2558
• ทุนวิจัย (ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยรัฐ)
• (ร่าง) พรบ. กองทุนส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม พ.ศ. 2558
โดยสามารถแสดงระยะเวลาในการด�ำเนินงานได้ดังแผนภาพที่ 6
ผู้บริหารหน่วยงาน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กับการด�ำเนินงานตามแนวนโยบายรัฐบาล
“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
วิสัยทัศน์
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
16
เสริมสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการในระดับสากล
โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปสู่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างรากฐาน
ที่มั่นคง พัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความมั่งคั่ง และยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่าน
ประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงมีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ภายใต้หลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และตอบสนองตอบต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต
สร้างรายได้ระดับสูงหลุดพ้นจากรายได้ปานกลาง และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม
ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจโดยมีการก�ำหนดต�ำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูง
ที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ
(Trading and Service Nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืนแหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม
กอรปกับนโยบายรัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและ
พัฒนา และนวัตกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่มีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการเป็นหลักประกันคุณภาพ
ให้กับการผลิตและการบริการภายในประเทศในการน�ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนซึ่งโครงสร้าง
พื้นฐานทางคุณภาพของประเทศประกอบด้วย ระบบมาตรวิทยา (M:Metrology) การก�ำหนดมาตรฐาน (S:Standardization)
การทดสอบ (T:Testing) และการประกันคุณภาพ (Q:Quality Assurance) องค์ประกอบทั้ง 4 นี้จ�ำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงซึ่งกัน
และกันและต้องได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งควบคู่กันไปจึงจะสามารถเป็นหลักประกันคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของ
ทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ ส่งผลทั้งต่อเศรษฐกิจของประเทศและคุณภาพชีวิตของคนไทย
ในฐานะของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่มีภารกิจการบริการทดสอบสอบเทียบการบริการให้การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
การบริการจัดกิจกรรมทดสอบความช�ำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ การบริการสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี การบริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการและบริการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจมีการมุ่งเน้นการด�ำเนินงานและ
ผลักดันงานบริการด้านทดสอบและสอบเทียบเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและยกระดับคุณภาพ
ของสินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกรวมถึงมุ่งเน้นให้มีการน�ำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมและผลงาน
วิจัยไปถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำของสังคมโดยการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้และ
มีความตระหนักในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถยื่นขอการรับรองตามมาตรฐานได้ ช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ประชาชน ผู้ประกอบการ
ในชุมชนได้รับประโยชน์สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมทั้งสร้างจิตส�ำนึกให้
ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและปฏิบัติ
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลมีเสถียรภาพเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืนโดยค�ำนึงถึงการด�ำเนินงานอย่าง
โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อการวางรากฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป
ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์
อธิบดี
“กรมวิทยาศาสตร์บริการ
แหล่งรวมความเชี่ยวชาญ
ร่วมสร้างเศรษฐกิจอาเซียน”
รายงานประจำ�ปี • 2558
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 17
ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและเป็นผู้น�ำในการพัฒนา
เครือข่ายด้านการก�ำกับดูแลความปลอดภัยในภูมิภาคอาเซียนนโยบายการบริหารและแนวทาง
การปฏิบัติราชการ
นโยบายที่ 1 ผลักดันนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ
ผลักดันให้มีการก�ำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานปรมาณูของ
ประเทศที่ชัดเจนออกมาเพื่อให้สามารถน�ำไปสู่ภาคปฏิบัติได้ รองรับทิศทางของการใช้ประโยชน์
จากพลังงานปรมาณูของประเทศไทยที่มีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
นโยบายที่ 2 พัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่ส�ำคัญ
ผลักดันร่างกฎหมายระเบียบและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านก�ำกับดูแลความปลอดภัย
จากพลังงานปรมาณู เพื่อให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ในปัจจุบัน
และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยให้ภารกิจการก�ำกับดูแลการใช้พลังงานปรมาณูภายใน
ประเทศของส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นโยบายที่ 3 เสริมสร้างสมรรถนะ (3S)
• พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยทางรังสีในสิ่งแวดล้อมของประเทศ ส�ำหรับการเฝ้าระวังภัย
ทางรังสีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย จากกิจกรรมทางด้านรังสีและนิวเคลียร์
ทั้งในและนอกประเทศให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วประเทศไทย
• พัฒนาระบบการก�ำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
• พิทักษ์และรักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธ
นิวเคลียร์
นโยบายที่ 4 พัฒนาระบบบริการที่เป็นมาตรฐาน
• ผลักดันโครงการก่อสร้างอาคารมาตรวิทยารังสี ให้สามารถด�ำเนินงานได้ตามก�ำหนด
เพื่อรองรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบมาตรฐานทางรังสีที่อยู่กระจัดกระจายในอาคารต่าง ๆ และ
มีขนาดจ�ำกัดมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านการวัดรังสีที่ทันสมัยและ
มีมาตรฐานสูงสุดในระดับนานาชาติและพัฒนาระบบมาตรวิทยารังสีของประเทศให้สอดคล้องตาม
มอก. 17025 และพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านมาตรวิทยารังสีของอาเซียนต่อไป
ดร. อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์
เลขาธิการ
“ปส. มุ่งสร้างความเชื่อมั่น
ในความปลอดภัยในการใช้
พลังงานปรมาณู”
ANNUAL REPORT • 2015
Ministry of Science and Technology
18
• ส่งเสริมให้น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการองค์กร บริหาร
จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อาทิ ระบบจัดเก็บเอกสารและข้อมูลด้านกฎ ระเบียบ
หรือแนวปฏิบัติ ข้อมูลทางเทคนิคด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ข้อมูลผู้ปฏิบัติงานทางรังสี
ข้อมูลผลงานทางวิชาการภายใต้ความร่วมมือของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศข้อมูลบริหาร
งานทรัพยากรบุคคลเป็นต้นจะเป็นช่องทางการขยายองค์ความรู้ออกสู่ประชาชนทั่วไปสถาบันการศึกษา
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และรองรับนโยบายภาครัฐในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม
อาเซียนในปี 2558
นโยบายที่ 5 สร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ
• ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทั้งทางด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมวิชาการ
นานาชาติและการฝึกอบรมด้านการควบคุมความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูทั้งในและต่างประเทศ
• ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการก�ำกับดูแลความปลอดภัย
จากพลังงานปรมาณูในอาเซียน (ASEANTOM)
• ส่งเสริมการด�ำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศด้านพลังงาน
ปรมาณู
นโยบายที่ 6 HRD
• ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน
•จัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์และรังสีแห่งชาติเพื่อให้ความรู้แก่บุคลากร
ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานปรมาณู ให้สามารถน�ำความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปใช้
ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพในการเรียนรู้ ก้าวทันความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของโลก และวางแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านปลอดภัยนิวเคลียร์
และรังสีแห่งอาเซียนต่อไป
นโยบายที่ 7 R & D
ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยด้านการก�ำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู เพื่อสร้าง
องค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพให้กับประเทศ
ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนามากขึ้น
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015
รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015

More Related Content

More from Ministry of Science and Technology

กรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOST
กรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOSTกรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOST
กรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOSTMinistry of Science and Technology
 
แบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯ
แบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯแบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯ
แบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯMinistry of Science and Technology
 
แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]
แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]
แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]Ministry of Science and Technology
 

More from Ministry of Science and Technology (17)

Semina boi
Semina boiSemina boi
Semina boi
 
S ci us54-shift-2
S ci us54-shift-2S ci us54-shift-2
S ci us54-shift-2
 
กรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOST
กรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOSTกรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOST
กรอบแนวทางในการทำงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Framework of MOST
 
Gov policy-55
Gov policy-55Gov policy-55
Gov policy-55
 
V532
V532V532
V532
 
V531
V531V531
V531
 
Gmo in-usa
Gmo in-usaGmo in-usa
Gmo in-usa
 
P 20101027-map60
P 20101027-map60P 20101027-map60
P 20101027-map60
 
Interview106magazine
Interview106magazineInterview106magazine
Interview106magazine
 
Interview106magazine
Interview106magazineInterview106magazine
Interview106magazine
 
แบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯ
แบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯแบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯ
แบบตอบรับการเข้าสัมมนาฯ
 
กำหนดการ
กำหนดการกำหนดการ
กำหนดการ
 
Us Clean Energy Report 2009
Us Clean Energy Report 2009Us Clean Energy Report 2009
Us Clean Energy Report 2009
 
แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]
แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]
แผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [2]
 
Concept Goverment
Concept GovermentConcept Goverment
Concept Goverment
 
Us Stem Cells Report 2009
Us Stem Cells Report 2009Us Stem Cells Report 2009
Us Stem Cells Report 2009
 
buz-plan-53
buz-plan-53buz-plan-53
buz-plan-53
 

รายงานประจำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Annual report 2015

  • 1.
  • 3. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 2 สาร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี........................................................................................4 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี........................5 รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี....................................6 “สร้างอนาคตประเทศไทยด้วยนวัตกรรม” โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.............8 วิสัยทัศน์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ.............................................................................................................................16 ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ........................................................................................................................17 ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ....................................................................19 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ.......................................................................................................................21 ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ............22 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ...........................................................................................23 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย...............................................................24 ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)..............................26 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)................................................................27 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)..............................................................................28 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)...........................................29 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)......................................................................30 ส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)..............................................................................32 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)...........................................................33 CONTENTSANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology
  • 4. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ผลงานเด่นในรอบปี 2558 ส�ำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี......................................................................36 กรมวิทยาศาสตร์บริการ.............................................................................................................................60 ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ........................................................................................................................68 ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ....................................................................75 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ.......................................................................................................................82 ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ............87 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย...............................................................94 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ........................................................................................100 ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)...........................104 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน).............................................................109 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)...........................................................................112 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน).................................................................116 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)........................................123 ส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)...........................................................................130 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)........................................................136
  • 5. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 4 ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ ในการอ�ำนวย ความสะดวกในการใช้ชีวิตประจ�ำวันและการประกอบธุรกิจทั้งด้านการติดต่อสื่อสารด้านการแพทย์ ด้านโภชนาการและด้านอุตสาหกรรมเป็นต้นรัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม เพื่อยกระดับประเทศไทยให้มีความสามารถทางการแข่งขันและก้าวหน้าทัดเทียมกับ นานาประเทศ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป็นภารกิจที่ส�ำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการขับเคลื่อนแผนนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในการร่วมลงทุนงานวิจัยและพัฒนา การขึ้นบัญชีนวัตกรรม และการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตลอดจน การถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ระดับชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ พร้อมทั้งผลักดันงานวิจัยไปสู่การ ใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ในโอกาสนี้ ผมขอเป็นก�ำลังใจให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ทุกคนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มุ่งมั่นพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมและการวิจัยพัฒนา เพื่อน�ำประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นผู้น�ำในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับสังคม และยกระดับ ความสามารถของประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันทั้งในระดับอาเซียนและในระดับเวทีโลก ต่อไป เนื่องในโอกาสจัดท�ำหนังสือรายงานประจ�ำปี 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก (ประยุทธ์ จันทร์โอชา) นายกรัฐมนตรี
  • 6. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ในรอบปีที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด�ำเนินการขับเคลื่อนงานด้านการปฏิรูป เพื่อเปลี่ยนผ่านจาก ประเทศที่ขับเคลื่อนโดยประสิทธิภาพ เป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งจ�ำเป็นจะต้องสร้างกลไกขับเคลื่อนการ เติบโตใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ท�ำให้เกิดการเติบโตอย่างทั่วถึง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางภายในปี 2569 เพื่อเร่งพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย ดังกล่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจึงเร่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.)ตามนโยบาย รัฐบาลในการบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาคการผลิตและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านคณะท�ำงาน 5กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มวิจัยเชิงพาณิชย์และSMEsกลุ่มวิจัยเชิงสังคมและชุมชนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้าน วทน.กลุ่มพัฒนาก�ำลังคนและความตระหนักและกลุ่มวทน.เพื่อทรัพยากรซึ่งจากการแบ่งการท�ำงานดังกล่าวส่งผลให้เกิด โครงการที่ประสบความส�ำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการ Talent Mobility ปลดล็อคเงื่อนไขให้นักวิจัยภาครัฐ สามารถไปท�ำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคเอกชนได้ โครงการพัฒนาก�ำลังคน เพื่อเปลี่ยนจากประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้น ไปสู่ประเทศที่ใช้ความรู้เข้มข้นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โครงการ มาตรการลดหย่อนภาษีด้านการวิจัยและพัฒนาจาก 200% เป็น 300% โครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อยกระดับและพัฒนา ขีดความสามารถของSMEsโครงการจัดท�ำโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานและคุณภาพของประเทศที่ส�ำคัญในการผลักดัน ให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เรียกว่า MSTQ แบ่งเป็น 4 หมวดหลัก ได้แก่ ระบบมาตรวิทยา (Metrology) การก�ำหนดมาตรฐาน (Standardization) การทดสอบ (Testing) และการรับรองคุณภาพ (Quality Assurance) โครงการ จัดท�ำบัญชีนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมในการน�ำผลการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศและสามารถผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมาตรฐานโครงการกระจายความเจริญไปสู่ ชุมชนท้องถิ่นผ่านเครือข่ายกลไกและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเช่นการจัดให้มีที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ประจ�ำจังหวัดให้การ สนับสนุน SMEs ในท้องถิ่น การพัฒนาโมเดลบริหารจัดการน�้ำชุมชน การสร้างแก้มลิงกักเก็บน�้ำ การจัดสรรที่ดินแบบ เศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมโครงการมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์แก่โรงเรียนกว่า 300 โรงเรียน ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงโครงการเชื่อมโยงความร่วมมือด้าน วทน. กับต่างประเทศและประชาคม อาเซียน เป็นต้น จากผลการด�ำเนินงานที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นถึงความส�ำคัญในการใช้ประโยชน์จากวทน.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของประเทศ ในการสร้างสังคมนวัตกรรมทางเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ รัฐบาลจึงได้จัดกลุ่มการท�ำงานใหม่ โดยให้กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อร่วมบูรณาการกับกระทรวงสายเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น นับเป็นสัญญาณและโอกาสที่ดี ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการที่จะขับเคลื่อนงานด้านการปฏิรูป วทน. เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นกลุ่มประเทศ รายได้สูงและยกฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในโอกาสนี้ผมขอขอบคุณผู้บริหารข้าราชการพนักงานและเจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯทุกท่านและขอเป็นก�ำลังใจ ให้ท่านได้ร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนการปฏิรูปและการใช้ วทน. เพื่อเป็นข้อต่อที่ส�ำคัญในการวางรากฐานประเทศไปสู่การ สร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป (ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาร ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 7. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 6 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยผ่านกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนให้คิดอย่างมีตรรกะ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันตนเอง และมีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนมีความรู้ความสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในปีงบประมาณ2558กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ ของรัฐบาล “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยผ่านการขับเคลื่อนการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ได้แก่ 1.เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่อขยายผลและต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหน่วยงานวิจัยของภาครัฐและเอกชน เช่น ใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ใช้แสงซินโครตรอนเพิ่มมูลค่าอัญมณีและ เครื่องประดับวิจัยสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมและเวชส�ำอาง เป็นต้น 2. เสริมสร้างสังคมนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนพัฒนาก�ำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งจ�ำเป็นต้องมีบุคลากร ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึง กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์อ�ำนวยความสะดวก Talent Mobility ในส่วนกลางและ ภูมิภาค รวม 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภาคเหนือ (มหาวิทยาลัย เชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(มหาวิทยาลัยขอนแก่น)และภาคใต้(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)เพื่อ ประสานงานความต้องการบุคลากรวิจัยของสถานประกอบการกับหน่วยงานต้นสังกัด สนับสนุนการจัดท�ำ/ ปรับปรุงกฎระเบียบในการส่งเสริมนักวิจัยไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ได้เล็งเห็นถึง ความส�ำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ให้ทั่วถึงทุกจังหวัด และจัดกิจกรรม นิทรรศการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักให้แก่เยาวชน และประชาชน เป็นต้น 3. ปฏิรูประบบการให้สิ่งจูงใจ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศควบคู่กับ การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการน�ำพาประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country) สาร รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 8. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7 โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 1 ของรายได้ประชาชาติ ภาครัฐและ ภาคเอกชนลงทุนในสัดส่วน 30:70 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงเร่งด�ำเนินการผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนภาคการผลิตให้มีความเข้มแข็งขึ้น เช่น มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ส�ำหรับค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก200%เป็น300% มาตรการทางภาษีส�ำหรับ เงินบริจาคเพื่อการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม โครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความ สามารถของ SMEs รวมถึงจัดท�ำบัญชีนวัตกรรมไทยและบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย เป็นต้น 4. ส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ตามความเหมาะสม โดยก�ำหนดเงื่อนไขให้มีการลงทุนในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมส�ำหรับ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่(MegaProjects)ช่วยลดการน�ำเข้าเทคโนโลยีพึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง มากขึ้น เปิดโอกาสให้ภาคการผลิตเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่มากขึ้น เช่น การสนับสนุนก�ำลังคนและเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางราง และการน�ำเทคโนโลยีการส�ำรวจ ระยะไกลและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับภารกิจด้านรถไฟได้แก่การท�ำแผนที่ตามแนวเส้นทางออกแบบ และก่อสร้าง บ�ำรุงรักษาเส้นทาง และบริหารจัดการที่ดิน เพื่อให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น 5.ปรับปรุงและจัดเตรียมให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่ส�ำคัญในการต่อยอดสู่การใช้เชิงพาณิชย์ของภาคอุตสาหกรรมให้มี ความพร้อม ทันสมัย และมีการกระจายในพื้นที่ต่างๆ เช่น ส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ใน 3 ภูมิภาค (ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดขอนแก่น และภาคใต้ : จังหวัดสงขลา) การใช้ดาวเทียมบริหารจัดการไฟป่าและติดตามภัยแล้ง พัฒนาระบบศูนย์คลังข้อมูลน�้ำและภูมิอากาศ แห่งชาติ จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน�้ำระดับจังหวัด เป็นต้น การด�ำเนินการของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตลอดปี 2558 ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของผู้บริหารและบุคลากรของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันและขับเคลื่อนการด�ำเนินงานต่างๆ ให้เกิดผลส�ำเร็จเป็นรูปธรรม และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ (รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 9. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 8 โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศที่สามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ต่างใช้การลงทุนด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ ประเทศรายได้สูงและยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรให้ดีทั้งสิ้นส�ำหรับประเทศไทยรัฐบาลมีการ ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนประเทศโดยภายในปี2559นี้รัฐบาลคาดหวังให้ประเทศไทย มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาไม่ต�่ำกว่าร้อยละ1ของGDPและเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ2ของGDP ภายในปี2564โดยมุ่งหวังให้สัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาในปี2564ร้อยละ70เป็นการลงทุน โดยภาคเอกชน ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้อ�ำนวยความสะดวก และสร้าง สภาพแวดล้อมในการท�ำนวัตกรรม ให้ภาคเอกชนสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อยอด สู่การท�ำนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2564 ประเทศไทยจะมี บุคลากรวิจัยและพัฒนาไม่ต�่ำกว่า25คนต่อประชากร10,000คนเพื่อรองรับการขยายการลงทุน ด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศที่มีภาคเอกชนเป็นผู้น�ำ นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการโดยเฉพาะ การเข้า สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2568 และจากสถานะที่ประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้น�ำ ในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในปัจจุบัน หากสามารถสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และบริการ สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุจะเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะเป็นผู้น�ำในตลาดการบริการสุขภาพ ส�ำหรับผู้สูงอายุของโลกขณะเดียวกัน การรวมตัวของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและ ความท้าทายของประเทศไทย จากตลาดภายในที่มีประชากร 67 ล้านคน กลุ่มประเทศอาเซียน จะมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน สินค้าและบริการจากประเทศไทยจึงจะมีโอกาส เข้าถึงกลุ่มตลาดที่ใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัว เช่นเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมโลก ที่เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต�่ำ วทน. จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ “ สร้างอนาคตประเทศไทย ด้วยนวัตกรรม” ประเทศไทยก�ำลังก้าวสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านที่ส�ำคัญจากประเทศที่ขับเคลื่อน เศรษฐกิจด้วยประสิทธิภาพการผลิต ไปสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรม จากรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก ที่จัดท�ำโดยองค์กรทรัพย์สินทาง ปัญญาโลก (WIPO) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่ก�ำลังเรียนรู้และมีศักยภาพที่จะยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และสังคมแห่งความรู้การวางเป้าหมายอนาคตของประเทศที่ชัดเจนที่จะมุ่งพัฒนา ประเทศไปในทิศทางดังกล่าวจึงเป็นเรื่องส�ำคัญ
  • 10. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงสถานะประเทศที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกไว้ได้ ปัญหาความเหลื่อมล�้ำและการมีส่วนร่วมของ ชุมชน การน�ำ วทน. ไปใช้เพื่อต่อยอดภูมิปัญญา ท้องถิ่น จะส่งผลให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดการยกระดับ รายได้ของประชาชนในท้องถิ่นและมีการกระจาย รายได้ที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประเทศจ�ำเป็นต้อง ยกระดับการสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ทั้งต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ “จากความท้าทายหลายๆอย่างเห็นได้ชัดเจน ว่าประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะใช้วทน.เป็น ตัวขับเคลื่อนอนาคต ประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคที่ต้อง แข่งขันกับประเทศอื่น ๆ บนฐานความรู้ การสร้าง มูลค่าเพิ่มของผลผลิตของประเทศด้วยนวัตกรรมถือ เป็นหัวใจที่จะท�ำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับ จากประเทศรายได้ปานกลาง แต่การจะก้าวไปสู่ จุดที่ประเทศจะสามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม บทบาทภาครัฐที่ส�ำคัญคือ การลงทุนพัฒนาสภาพ แวดล้อมทางนวัตกรรมที่เหมาะสมดังนั้นจึงถึงเวลาที่ ประเทศจ�ำเป็นต้องมีการปฏิรูปวทน.เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม” เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยต้อง เปลี่ยนผ่านจากการเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนโดย ประสิทธิภาพ (Efficiency-driven) เป็นประเทศที่ ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Innovation-driven) ซึ่งจ�ำเป็นต้องสร้าง กลไกขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ๆ ที่สามารถสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน (Productive Growth) ท�ำให้เกิดการเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth) และต้องเป็นการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก กับดักรายได้ปานกลางภายในปี 2569 เพื่อเร่งพัฒนาให้ประเทศไทย ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) จะเป็นกลไกหลักกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเปลี่ยนจาก ประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ประเทศที่ใช้ความรู้เข้มข้นในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม เพื่อสามารถก้าวสู่การเป็นกลุ่มประเทศรายได้สูง และยกฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในปี2557กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับมอบหมาย จากรัฐบาล ให้จัดท�ำข้อเสนอการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม และได้มีการจัดเวทีปฏิรูป วทน. ครั้งที่ 1 ขึ้นทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคโดยมีประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วนใน สังคมร่วมก�ำหนดแนวทางและมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูป วทน. มากกว่า 1,800 คน และได้ประเด็นยุทธศาสตร์การปฏิรูป วทน. ทั้ง เชิงโครงสร้างและกลไก ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงโครงสร้างประกอบด้วย 1) ก�ำหนดให้นวัตกรรมเป็นฐานหลัก (Platform) ของการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในแผนพัฒนาที่ส�ำคัญของประเทศ ทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนารายสาขา ที่เกี่ยวข้อง 2) ปรับระบบก�ำกับและบริหารจัดการ วทน. ของประเทศ โดยให้ ผู้บริหารสูงสุดของประเทศได้รับข้อมูลเชิงลึกและค�ำปรึกษาที่มีการ กลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะจากภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ • แผนภาพที่ 1 ทิศทางการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย
  • 11. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 10 มีหลักและเป้าหมายชัดเจน ซึ่งอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความ ได้เปรียบเชิงแข่งขัน • การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega-Projects) ซึ่งก�ำหนด เงื่อนไขให้มีการลงทุนใน วทน. เพื่อสนับสนุนโครงการ ก่อให้เกิดการ จ้างงาน ช่วยลดการน�ำเข้าเทคโนโลยี พึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง มากขึ้นซึ่งจะเปิดโอกาสให้ภาคการผลิตของไทยเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น • การลงทุนและท�ำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ซึ่งจะท�ำให้มีพลังในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจสูงสุดเนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่(DivisionofLabor)กันอย่าง ชัดเจน ท�ำให้เกิดผลิตภาพ (Productivity) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ผลสัมฤทธิ์ (Effectiveness) ทางเศรษฐกิจที่มีปัญหาคอขวดอยู่ใน ปัจจุบัน 2.ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงกลไก เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนวทน.ของประเทศให้ถึงร้อยละ1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ภายในปี2559โดยก�ำหนด จุดเน้นที่จะเป็นยุทธศาสตร์และทิศทางขับเคลื่อนการลงทุนวทน.จากทั้ง ภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทาง วทน. การก�ำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ การก�ำหนดให้โครงการลงทุน ขนาดใหญ่มีเงื่อนไขในการลงทุนด้าน วทน. การพัฒนาผู้ประกอบการ ฐานนวัตกรรม และที่ส�ำคัญคือ การพัฒนาบุคลากร วทน. เพื่อรองรับ การวิจัยและพัฒนา วทน. ในสาขายุทธศาสตร์ ทั้งนี้ การด�ำเนินการให้ ส�ำเร็จตามยุทธศาสตร์ข้างต้น ต้องอาศัยกลไกที่ช่วยน�ำไปสู่การปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น แผนภาพที่ 2 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อ อภิวัฒน์ประเทศไทยไปสู่ประเทศรายได้สูงและประเทศ พัฒนาแล้ว แผนภาพที่ 3 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเชิงกลไกเพื่อขับเคลื่อนการลงทุน วทน. ของประเทศให้ถึง 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ภายในปี 2559 3) ปรับระบบงบประมาณด้าน วทน. ให้เอื้อต่อ การลงทุนที่มีความต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว และการจัดสรรงบประมาณในรูปแบบการบูรณาการ ตามยุทธศาสตร์ (Agenda-based Budgeting) เพื่อ ให้การลงทุนด้าน วทน. เกิดผลลัพธ์ต่อเศรษฐกิจและ สังคมอย่างเป็นรูปธรรม อนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์การปฏิรูป หลักทั้ง3ประการยังน�ำไปสู่การวางนโยบายอีก3ด้าน คือ • การก�ำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ระดับ ชาติ (Strategic Industries) เพื่อให้การพัฒนา วทน. แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12: นวัตกรรมแห่งชาติ ระบบก�ำกับ และบริหารจัดการ วทน. ของประเทศ ระบบ งบประมาณ วทน. ของประเทศ รัฐร่วมเอกชน โครงการขนาดใหญ่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ 11,000,000 ล้านบาท การลงทุน วทน. 110,000 ล้านบาท 40% 60% การลงทุนจากภาครัฐ 44,000 ล้านบาท วิจัยและพัฒนา 25,000 ล้านบาท การใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ 4,000 ล้านบาท โครงสร้าง พื้นฐาน 10,000 ล้านบาท การลงทุนของภาครัฐเป็นการชักน�ำ ให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่ม ก�ำลังคน วทน. 5,000 ล้านบาท บริษัทไทย ขนาดใหญ่ 26,400 ล้านบาท บริษัทขนาดกลาง และเล็ก 6,600 ล้านบาท บริษัทข้ามชาติ 6,600 ล้านบาท การลงทุนจากภาคเอกชน 66,000 ล้านบาท
  • 12. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11 การขับเคลื่อนการลงทุนในภาครัฐนั้นสามารถ จัดสรรใน 4 ประเภทการลงทุนดังนี้ 1. การลงทุนในระบบวิจัย 25,000 ล้านบาท ซึ่งต้องมีเป้าหมายเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ในสาขาที่ สร้างมูลค่ารวมถึงการเกษตรเช่นข้าวมันส�ำปะหลัง ยางพาราอ้อยข้าวโพดผลไม้ฯลฯภาคอุตสาหกรรม เช่น อาหาร ปิโตรเคมี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ภาคบริการ เช่น ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ สุขภาพ ไปจนถึงการลงทุนในโอกาสใหม่ๆเช่นชีวเภสัชภัณฑ์ (Bio-pharmaceutical) แฟชั่น เป็นต้น 2. การลงทุนในการสร้างและพัฒนาก�ำลัง คนทางด้าน วทน. ซึ่งครอบคลุมห่วงโซ่ทรัพยากร มนุษย์ นับตั้งแต่การปรับระบบการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้เป็น Enquiry- based Learning การปรับปรุงหลักสูตรระดับ มัธยมศึกษาและปริญญาตรีให้เป็น Liberal Arts การจัดท�ำระบบอาชีวศึกษาให้เป็นProblem-based และ Science-based Technology College การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่ออาชีพในวิทยาลัยชุมชน (Community College) การแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัย ออกเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย กลุ่มมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี กลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนานักวิจัยและการส่งเสริมการผลิตบัณฑิต ปริญญาเอกให้เพียงพอต่อความต้องการ และการ ลงทุนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อยกระดับทักษะและ ความรู้ของแรงงานไปสู่แรงงานความรู้(Knowledge Workers)ซึ่งรวมถึงการยกระดับแรงงานไร้ทักษะของ ไทยที่ก�ำลังถูกแรงงานต่างชาติเข้ามาแทนที่ หรือการ ยกระดับเกษตรกรไทยที่หันมาประกอบอาชีพอื่นอัน จะท�ำให้สมดุลของแรงงานเกษตรกรกับการสร้าง มูลค่าเพิ่มในภาคเกษตรดีขึ้น ทั้งหมดนี้ด้วย วทน. 3. รัฐต้องมีกลไกในการสนับสนุนภาคการผลิต ให้มีความเข้มแข็งขึ้น (Technology Innovation and Commercialization Support) ซึ่งประกอบ ด้วยมาตรการสร้างแรงจูงใจทางการเงิน การลงทุน และภาษี การอ�ำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง ของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศการอ�ำนวยความสะดวก จุดเดียว การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิทยาศาสตร์ ในบริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ การสนับสนุนด้านการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา การแก้กฎระเบียบและกฎหมายที่เอื้อต่อการท�ำ ธุรกิจการส่งเสริมการสร้างนิคมนวัตกรรมของภาคเอกชนการสนับสนุน การลงทุนที่มีความเสี่ยง(VentureCapital)ตลอดจนการสนับสนุนการ สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneurship Program) 4. รัฐควรลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน วทน. ซึ่งรวมถึง อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อุทยานนวัตกรรมเฉพาะทาง เช่น Food Innopolis, Space Park ควรลงทุนในห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการออกแบบ ตลอดจนการลงทุนในเมืองหรือเขตวิทยาศาสตร์ (Science City) การลงทุนของรัฐทั้งหมดเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เอกชนลงทุน ใน วทน. เพิ่มขึ้นโดยล�ำดับ อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์การลงทุนของ ภาคเอกชนอาจมีความแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างบริษัทข้ามชาติ บริษัทไทยขนาดใหญ่ และบริษัทไทยขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมี ความต้องการการสนับสนุนต่างกันในรายละเอียด เป็นที่ประจักษ์ใน ประเทศที่พัฒนาแล้วว่าเมื่อเอกชนลงทุนใน วทน. แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่ เคยเกิดขึ้นก็จะได้รับการแก้ไขไปโดยระบบไม่ว่าจะเป็นปัญหาวิจัยขึ้นหิ้ง การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การว่างงาน การกีดกันทางการค้า ตลอดจนการแข่งขันกับผู้ผลิตที่มีแรงงานราคาถูกเป็นต้นทุน การลงทุนของรัฐจะต้องเน้นให้เกิดการกระจายความเจริญให้ ประชาชนเกษตรกรและผู้ประกอบการในภูมิภาคได้รับประโยชน์อย่าง ทั่วถึงด้วย เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำระหว่างเมืองและชนบท ซึ่งเป็น นโยบายส�ำคัญของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการกระจายความเจริญไปสู่จังหวัดที่มีรายได้ (ผลิตภัณฑ์ มวลรวมของจังหวัด) ต่อประชากรยังต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ โดยสรุปกรอบแนวทางการปฏิรูปวทน.สามารถแสดงภาพรวมได้ ดังแผนภาพที่ 4 ซึ่งการปฏิรูป วทน. นั้นเปรียบเสมือนการสร้างความ แข็งแรงให้บ้าน(ประเทศไทย)เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง และประเทศพัฒนาแล้วภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปี พ.ศ. 2560–2564) โดยมีเป้าหมายเปลี่ยนเศรษฐกิจ ของประเทศให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Innovation- driven Economy) ในการด�ำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจ�ำเป็นต้องปฏิรูปจัดระบบ เชิงโครงสร้างที่เป็นเสมือนเสาเข็มของบ้าน (รากฐานหลักของการ พัฒนายั่งยืน) ทั้ง 3 ด้านดังที่ได้กล่าวข้างต้น คือ 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ก�ำหนดให้นวัตกรรมเป็นแรง ขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาประเทศในระยะ 10 ปีข้างหน้า
  • 13. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 12 2) ระบบก�ำกับและบริหาร วทน. ของประเทศ ที่ผู้บริหารสูงสุดของประเทศได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ แม่นย�ำทันเหตุการณ์และค�ำปรึกษาที่มีการกลั่นกรอง โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเป็นระบบเพื่อการตัดสินใจและ ก�ำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) ระบบการจัดสรรงบประมาณด้าน วทน. ที่ สามารถรองรับการแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง การด�ำเนินโครงการด้าน วทน. ให้เกิดผลกระทบ ต่อการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลา ด�ำเนินการที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ปี จ�ำเป็นต้อง มีระบบงบประมาณที่สามารถประกันความต่อเนื่อง ของการลงทุนหรือการสนับสนุนที่ต่อเนื่องจนเสร็จ สิ้นโครงการตามที่ได้ก�ำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปจัดระบบเชิงโครงสร้าง เพื่อความแข็งแรงของรากฐานทั้ง3ด้านดังกล่าวต้อง ก�ำหนดจุดเน้นที่จะเป็นยุทธศาสตร์และทิศทาง ขับเคลื่อนการลงทุน วทน. จากทั้งภาครัฐและเอกชน ให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 1 และร้อยละ 2 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภายในปี 2559 และ 2564 ตามล�ำดับ เพื่อสร้างขีดความสามารถ วทน. ไปสนับสนุนการเพิ่มความสามารถการแข่งขัน ของภาคการผลิตและบริการและการพัฒนาเศรษฐกิจ ในภูมิภาค ท้องถิ่นและชุมชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งการยกระดับคุณภาพ และความมั่นคงปลอดภัยในสังคมสุขภาพและสวัสดิภาพของประชาชน การศึกษา สิ่งแวดล้อมและความมั่นคงทางพลังงาน ยุทธศาสตร์5ด้านเพื่อรองรับการขับเคลื่อนการลงทุนสร้างความ สามารถทาง วทน. จากทั้งภาครัฐและเอกชนประกอบด้วย 1) ปรับปรุง พัฒนา บริหารจัดการเพื่อยกระดับและใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน วทน. สู่ระดับสากล 2) ก�ำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตเพื่อให้การพัฒนา วทน. มีหลักและเป้าหมายชัดเจน 3) ก�ำหนดให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่มีเงื่อนไขต้องลงทุนใน วทน. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี 4) พัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมและนวัตกรเพื่อเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ 5)พัฒนาบุคลากรด้านวทน.เพื่อรองรับการลงทุนวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ การปฏิรูปเชิงโครงสร้างและด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ให้บรรลุเป้าหมาย จะต้องออกแบบสร้างหรือพัฒนากลไกที่จะน�ำไปสู่ การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม กลไกหลักที่ส�ำคัญประกอบด้วย แผนภาพที่ 4 กรอบหลักการของการปฏิรูป วทน. ของประเทศไทย
  • 14. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 13 1)กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่มีประสิทธิภาพ 2) การบูรณาการด�ำเนินงานระหว่างกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง 3) ระบบแรงจูงใจทางการเงินและภาษีกระตุ้น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใน ภาคเอกชน 4) การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายและ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยมีประสิทธิผลและ เอื้อต่อการพัฒนา วทน. ของประเทศ 5) การร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาและ ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนการปฏิรูป วทน. เกิดผลเป็น รูปธรรมตามแนวทางข้างต้น ได้มีการจัดท�ำแผนที่ น�ำทาง(roadmap)ซึ่งมีการก�ำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ จากการพัฒนา วทน. และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทุก 5 ปี รวมทั้งก�ำหนดมาตรการและแผนงานส�ำคัญที่ต้องเร่งด�ำเนินการเพื่อ ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ดังสรุป ในแผนภาพที่ 5 สืบเนื่องจากการจัดเวทีปฏิรูปวทน.ครั้งที่1กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและหน่วยงานพันธมิตรได้ร่วมการด�ำเนินการปฏิรูป วทน. ในด้านต่าง ๆ มีความก้าวหน้าและเกิดผลส�ำเร็จในบางด้าน และ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการด�ำเนินงานอีกหลายด้าน อาทิ 1) ด้านการพัฒนาก�ำลังคน •มาตรการส่งเสริมบุคลกรภาครัฐไปท�ำงานในภาคเอกชน(Talent Mobility) • มาตรการการบูรณาการการเรียนการสอนกับการท�ำงาน (Work-integrated Leaning) 2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • มาตรการส่งเสริมพื้นที่นวัตกรรมพิเศษ (Special Area of Innovation: SAI) • ศูนย์บริการ “จุดเดียวครบวงจร” ด้านสอบเทียบมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและรับรองคุณภาพ แผนภาพที่ 5 แผนที่น�ำทาง มาตรการและแผนงานขับเคลื่อนการปฏิรูป วทน. ของประเทศไทย มาตรการส�ำคัญ 2555 2557 2559 2564 2569 แผนงานส�ำคัญ จัดระบบแรงจูงใจทางทรัพย์สินทางปัญญา การเงิน ภาษี และอื่นๆ เพื่อเร่ง กระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน สามารถเริ่มได้ภายใน 4 เดือน สามารถเริ่มได้ภายใน 1 ปี สามารถเริ่มได้ภายใน 2-3 ปี แผนงานเร่งการผลิตก�ำลังคน วทน. และการยกระดับคุณภาพ วทวค. (STEM) ของนักเรียน นักศึกษาและบุคลากร และ talent mobility รองรับ อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ แผนงานเร่งรัดการลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานวทน.สู่ระดับสากลและ จัดระบบบริหารจัดการการใช้ประโยชน์สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน ของภาคการผลิตและบริการ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มประสิทธิภาพระบบก�ำกับและงบประมาณ วทน. แผนงานสนับสนุน วทน. แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบ การฐานนวัตกรรม และชุมชนท้องถิ่น ก�ำหนดให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐมีการลงทุนสร้างความสามารถเพื่อ การพึ่งพาตนเองทาง วทน. แผนงานสนับสนุน วทน. ในการขับเคลื่อนภาคการผลิตและบริการสาขา ยุทธศาสตร์ประเทศ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ก�ำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์อย่างส�ำคัญ แผนงานการทูตวิทยาศาสตร์ (science diplomacy) เพื่อความสามารถใน การแข่งขันของอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาฯฉ.12ก�ำหนดให้นวัตกรรมเป็นระเบียบวาระแห่งชาติขับเคลื่อน ภาคการผลิตและบริการในสาขายุทธศาสตร์ของประเทศ 1 1 2 2 3 3 4 4 5 5 { 1 2 3 41 2 3 4 5 5 0.37 % จีดีพี (40,880 ล้านบาท) 50:50 53,120 คน (9 คนต่อ ปชก. 10,000 คน) US$ 6,000 (180,000 ล้านบาท) 60:40 1% จีดีพี (110,000 ล้านบาท 100,000 คน (15 คนต่อ ปชก. 10,000 คน) US$ 8,500 (260,000 ล้านบาท) 70:30 2% จีดีพี (268,000 ล้านบาท 160,800 คน (25 คนต่อ ปชก. 10,000 คน) US$ 13,000 (400,000 ล้านบาท) ประเทศไทย เป็นประเทศ พัฒนาแล้ว (Developed Country) รายได้ / ประชากร / ปี เป้าหมาย ลงทุน R&D สร้างบุคลากร R&D ลงทุน R&D เอกชน : รัฐ
  • 15. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 14 แผนภาพที่ 6 การด�ำเนินงานการปฏิรูป วทน. • การจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพนักจัดการ นวัตกรรมไทย(AllianceofInnovationManagers: AIMs–Thailand) • การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญแก้ไขปัญหาทาง เทคโนโลยีส�ำหรับ SMEs 3) ด้านสร้างระบบแรงจูงใจ • มาตรการส่งเสริมการลงทุนฐานความรู้ BOI • มาตรการยกเว้นภาษีค่าใช้จ่ายวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3 เท่า (RDI Tax ร้อยละ 300) 4) ด้านมาตรการทางการเงินและการสร้างตลาด • บัญชีความต้องการนวัตกรรมของหน่วยงานภาครัฐ • (ร่าง) พรบ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2558 • ทุนวิจัย (ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยรัฐ) • (ร่าง) พรบ. กองทุนส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม พ.ศ. 2558 โดยสามารถแสดงระยะเวลาในการด�ำเนินงานได้ดังแผนภาพที่ 6
  • 17. กรมวิทยาศาสตร์บริการ ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 16 เสริมสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการในระดับสากล โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปสู่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างรากฐาน ที่มั่นคง พัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความมั่งคั่ง และยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่าน ประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงมีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้หลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และตอบสนองตอบต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูงหลุดพ้นจากรายได้ปานกลาง และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจโดยมีการก�ำหนดต�ำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูง ที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ (Trading and Service Nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืนแหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม กอรปกับนโยบายรัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและ พัฒนา และนวัตกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่มีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการเป็นหลักประกันคุณภาพ ให้กับการผลิตและการบริการภายในประเทศในการน�ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนซึ่งโครงสร้าง พื้นฐานทางคุณภาพของประเทศประกอบด้วย ระบบมาตรวิทยา (M:Metrology) การก�ำหนดมาตรฐาน (S:Standardization) การทดสอบ (T:Testing) และการประกันคุณภาพ (Q:Quality Assurance) องค์ประกอบทั้ง 4 นี้จ�ำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงซึ่งกัน และกันและต้องได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งควบคู่กันไปจึงจะสามารถเป็นหลักประกันคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของ ทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ ส่งผลทั้งต่อเศรษฐกิจของประเทศและคุณภาพชีวิตของคนไทย ในฐานะของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่มีภารกิจการบริการทดสอบสอบเทียบการบริการให้การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ การบริการจัดกิจกรรมทดสอบความช�ำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ การบริการสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี การบริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการและบริการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจมีการมุ่งเน้นการด�ำเนินงานและ ผลักดันงานบริการด้านทดสอบและสอบเทียบเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและยกระดับคุณภาพ ของสินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกรวมถึงมุ่งเน้นให้มีการน�ำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมและผลงาน วิจัยไปถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำของสังคมโดยการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้และ มีความตระหนักในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถยื่นขอการรับรองตามมาตรฐานได้ ช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ประชาชน ผู้ประกอบการ ในชุมชนได้รับประโยชน์สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมทั้งสร้างจิตส�ำนึกให้ ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและปฏิบัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลมีเสถียรภาพเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืนโดยค�ำนึงถึงการด�ำเนินงานอย่าง โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อการวางรากฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดี “กรมวิทยาศาสตร์บริการ แหล่งรวมความเชี่ยวชาญ ร่วมสร้างเศรษฐกิจอาเซียน”
  • 18. รายงานประจำ�ปี • 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 17 ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและเป็นผู้น�ำในการพัฒนา เครือข่ายด้านการก�ำกับดูแลความปลอดภัยในภูมิภาคอาเซียนนโยบายการบริหารและแนวทาง การปฏิบัติราชการ นโยบายที่ 1 ผลักดันนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ ผลักดันให้มีการก�ำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานปรมาณูของ ประเทศที่ชัดเจนออกมาเพื่อให้สามารถน�ำไปสู่ภาคปฏิบัติได้ รองรับทิศทางของการใช้ประโยชน์ จากพลังงานปรมาณูของประเทศไทยที่มีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นโยบายที่ 2 พัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่ส�ำคัญ ผลักดันร่างกฎหมายระเบียบและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านก�ำกับดูแลความปลอดภัย จากพลังงานปรมาณู เพื่อให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยให้ภารกิจการก�ำกับดูแลการใช้พลังงานปรมาณูภายใน ประเทศของส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมีประสิทธิภาพมากขึ้น นโยบายที่ 3 เสริมสร้างสมรรถนะ (3S) • พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยทางรังสีในสิ่งแวดล้อมของประเทศ ส�ำหรับการเฝ้าระวังภัย ทางรังสีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย จากกิจกรรมทางด้านรังสีและนิวเคลียร์ ทั้งในและนอกประเทศให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วประเทศไทย • พัฒนาระบบการก�ำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ • พิทักษ์และรักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธ นิวเคลียร์ นโยบายที่ 4 พัฒนาระบบบริการที่เป็นมาตรฐาน • ผลักดันโครงการก่อสร้างอาคารมาตรวิทยารังสี ให้สามารถด�ำเนินงานได้ตามก�ำหนด เพื่อรองรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบมาตรฐานทางรังสีที่อยู่กระจัดกระจายในอาคารต่าง ๆ และ มีขนาดจ�ำกัดมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านการวัดรังสีที่ทันสมัยและ มีมาตรฐานสูงสุดในระดับนานาชาติและพัฒนาระบบมาตรวิทยารังสีของประเทศให้สอดคล้องตาม มอก. 17025 และพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านมาตรวิทยารังสีของอาเซียนต่อไป ดร. อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ เลขาธิการ “ปส. มุ่งสร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัยในการใช้ พลังงานปรมาณู”
  • 19. ANNUAL REPORT • 2015 Ministry of Science and Technology 18 • ส่งเสริมให้น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการองค์กร บริหาร จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อาทิ ระบบจัดเก็บเอกสารและข้อมูลด้านกฎ ระเบียบ หรือแนวปฏิบัติ ข้อมูลทางเทคนิคด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ข้อมูลผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ข้อมูลผลงานทางวิชาการภายใต้ความร่วมมือของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศข้อมูลบริหาร งานทรัพยากรบุคคลเป็นต้นจะเป็นช่องทางการขยายองค์ความรู้ออกสู่ประชาชนทั่วไปสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และรองรับนโยบายภาครัฐในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียนในปี 2558 นโยบายที่ 5 สร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ • ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทั้งทางด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมวิชาการ นานาชาติและการฝึกอบรมด้านการควบคุมความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูทั้งในและต่างประเทศ • ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการก�ำกับดูแลความปลอดภัย จากพลังงานปรมาณูในอาเซียน (ASEANTOM) • ส่งเสริมการด�ำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศด้านพลังงาน ปรมาณู นโยบายที่ 6 HRD • ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน •จัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์และรังสีแห่งชาติเพื่อให้ความรู้แก่บุคลากร ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานปรมาณู ให้สามารถน�ำความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปใช้ ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพในการเรียนรู้ ก้าวทันความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของโลก และวางแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านปลอดภัยนิวเคลียร์ และรังสีแห่งอาเซียนต่อไป นโยบายที่ 7 R & D ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยด้านการก�ำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู เพื่อสร้าง องค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพให้กับประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนามากขึ้น