SlideShare a Scribd company logo
1 of 112
Download to read offline
วิปัสสนาสาธิต
แสดงบุรพกิจและวิปัสสนาวิธี
สำ�หรับผู้เริ่มปฏิบัติธรรม
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
ชุดวิปัสสนาพาพ้นทุกข์
“วิปัสสนาบุญแรง”
พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน
โดย
คุณเอกสิทธิ์ วิริยจารี และครอบครัว
บรรณาธิการ	 :	พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
พิสูจน์อักษร	 :	สิริณพร ศิริชัยศิลป์, สุกัญญา เจริญลาภวิชโย,
		 รมณีย สุริยาอรุณโรจน์
ออกแบบปกและภาพปก	 :	ณัฐพล แสวงทรัพย์
ภาพประกอบ	 :	มณเฑียร แก้วประพล
รูปเล่ม 	 :	มยุรี ไทยประยูร
ควบคุมการผลิต	 :	สมชาย ไทยประยูร
ลำ�ดับการพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ ๑	 กันยายน ๒๕๔๖		 จำ�นวน ๓,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๒	 มกราคม ๒๕๔๘		 จำ�นวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๓	 มีนาคม ๒๕๕๑			 จำ�นวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๔	 ตุลาคม ๒๕๕๔			 จำ�นวน ๓,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๔	 โดยห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์
	 เลขที่ ๔๔/๑๓๒ หมู่ ๖ ซอยกำ�นันแม้น ๓๖
	 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
	 โทรศัพท์ ๐๒ ๘๐๒ ๐๓๔๔ มือถือ ๐๘๑ ๕๖๖ ๒๕๔๐
วิปัสสนาสาธุ
	 “วิปัสสนา” หลายๆ คนเห็นว่ามิใช่เรื่องสำ�คัญของชีวิต
มองเป็นเรื่องไกลตัวเสียมากกว่า ชีวิตไม่มีวิปัสสนาก็อยู่ได้ บางคน
ถึงกับมองว่าวิปัสสนาเป็นเรื่องของคนที่ทอดทิ้งสังคม
	 จริงอยู่ ชีวิตไม่จำ�เป็นต้องมีวิปัสสนาก็ได้ แต่ชีวิตที่มี
วิปัสสนาก็จะเข้าใจชีวิตได้ดีกว่า วิปัสสนาคือความรู้แจ้งจะช่วย
ส่องทางชีวิตให้ก้าวเดินไปอย่างไม่ผิดพลาด ไม่มืดบอด ไม่ถูก
ความทุกข์บีบคั้น เพราะผู้เจริญวิปัสสนาจะรู้เท่าทันทุกข์กำ�หนดรู้
และเห็นทุกข์ดับไป “ทุกฺขสมุทยํ-ทุกฺขนิโรธํ” กระทั่งถึงความสิ้นทุกข์
ทั้งปวง
	 “วิปัสสนา” เป็นเรื่องเฉพาะตนและเกิดจากความเพียร
เฉพาะบุคคล เราจะเห็นคุณค่าวิปัสสนาจริงๆ ก็ต่อเมื่อมาศึกษา
ปฏิบัติ และความสำ�คัญก็อยู่ที่ “ปฏิบัติ” ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ
เธอจงออกจากปริยัติสู่ปฏิบัติเถิด
	 คุณเอกสิทธิ์ วิริยจารี คือผู้หนึ่งที่เพียรปฏิบัติกระทั่งเห็น
คุณค่าของวิปัสสนา ประสงค์ให้ผู้คนได้ศึกษาปฏิบัติรู้คุณค่าอย่าง
ลึกซึ้ง จึงเกิดกุศลศรัทธาและได้ร่วมกับคุณแม่พรพิมล คุณพ่อ
ประเทือง คุณเปมิกา คุณรัตน์ติยา และด.ญ.ธัญวรัตม์ วิริยจารี รับ
เป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือ “วิปัสสนาสาธิต” นี้ถวายเป็นธรรมทาน
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของคุณเอกสิทธิ์ วิริยจารีและ
ครอบครัวไว้ ณ ที่นี้ ด้วยกุศลศรัทธานั้นจงช่วยหนุนส่งให้คุณเอกสิทธิ์
และครอบครัวก้าวไปบนเส้นทางวิปัสสนากรรมฐานเจริญภาวนากุศล
ยิ่งๆ ขึ้นไป กระทั่งถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ “นิพฺพานปจฺจโย โหตุ”
	 การเจริญวิปัสสนาเป็นการทำ�บุญกุศลอย่างหนึ่ง เกิดอานิสงส์
ยิ่งกว่าให้ทาน รักษาศีล แม้ไม่สามารถบรรลุมรรคผล นิพพาน ถึง
ความสิ้นทุกข์ แต่ก็ได้ชื่อว่าสร้างสมบุญกุศลเอาไว้ทีละเล็กละน้อย
เหมือนสะสมหน่วยกิต เมื่อถึงคราวคับขัน อานิสงส์จากการเจริญ
วิปัสสนานี้อาจช่วยท่านให้รอดพ้นอุปสรรคขวากหนามและเกิดปัญญา
แก้ไขปัญหาชีวิตได้
	 อย่างไรก็ตาม “วิปัสสนา” จะทำ�หน้าที่ส่องทางชีวิตได้ดี
เพียงใด มิใช่อยู่ที่วิปัสสนา หากแต่อยู่ที่ตัวเราว่าจะน้อมนำ�ไปเป็น
ประทีปของชีวิตหรือไม่ “วิปัสสนาสาธิต” หนังสือเล่มนี้พร้อมจะ
แสดงบุรพกิจและวิปัสสนาวิธีเป็นประทีปส่องทางชีวิตทันที เมื่อ
ท่านเปิดอ่านศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง
	 เรามาเริ่มต้นชีวิตใหม่กันดีไหม เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยวิปัสสนา.
			 เจริญธรรมอำ�นวยพร
			 พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
			 วัดชนะสงคราม’ ๕๔
คำ�นำ�
	 ปัจจุบันนี้มีผู้สนใจปฏิบัติวิปัสสนาเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ
การทำ�ความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับธรรมเนียมและระเบียบปฏิบัติ
ให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น ถือเป็นเรื่องสำ�คัญ ในภาวะของผู้เริ่มปฏิบัติต้อง
ขวนขวายศึกษาเรียนรู้เอง บางคนกังวลว่าตนจะหาศึกษาได้ที่ไหน
และเข้าใจได้ดีเพียงใด
	 ด้วยเห็นความจำ�เป็นดังกล่าว “วิปัสสนาสาธิต” จึงเกิดขึ้น
เพื่อแสดงบุรพกิจกิจที่พึงกระทำ�ในเบื้องต้น และวิปัสสนาวิธีวิธี
ปฏิบัติวิปัสสนา สำ�หรับผู้เริ่มปฏิบัติโดยเฉพาะ สามารถอ่านทำ�
ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง และนำ�ไปปฏิบัติได้โดยไม่ยาก
	 วิปัสสนาวิธีที่นำ�มาแสดงในเบื้องต้นนี้ ยังมิให้รายละเอียด
มากนัก เกรงว่าจะสร้างความหนักใจต่อการจดจำ� จึงนำ�มาแสดง
พอเหมาะแก่ผู้เริ่มปฏิบัติ ยังมีหนังสือ “วิปัสสนาวิถี” “วิปัสสนา
ภาวนา” อีก ๒ เล่ม ซึ่งแสดงสาระและให้รายละเอียดในทางวิปัสสนา
ไว้มาก หากท่านผู้ใดสนใจก็ควรหาอ่านเพิ่มเติมในภายหลัง
	 หวังว่า “วิปัสสนาสาธิต” นี้จะทำ�หน้าที่แสดงบุรพกิจและ
วิปัสสนาวิธีต้องตามความประสงค์ของผู้เริ่มปฏิบัติธรรมทุกท่าน
และขอให้ทุกท่านประสบผลพึงประสงค์ในวิปัสสนาด้วยเทอญ.
			 เจริญธรรมอำ�นวยพร
			 พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
			 วัดชนะสงคราม’ ๔๖
สารบัญ
บทนำ�......................................................................................	 ๑
ตัดปลิโพธ................................................................................	 ๓
เตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็น..............................................	 ๙
เตรียมตัวเตรียมใจ...................................................................	 ๑๑
เข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร).................................	 ๑๙
ศีล...........................................................................................	 ๒๓
เปล่งวาจาสมาทานศีล.............................................................	 ๒๙
เปล่งวาจามอบกายถวายชีวิตขอกรรมฐาน..............................	 ๓๓
วิปัสสนาวิธี..............................................................................	 ๓๕
นั่งกำ�หนด ๓ แบบ..................................................................	 ๓๗
กำ�หนดอารมณ์กรรมฐาน........................................................	 ๔๑
ยืนกำ�หนด ๒ แบบ..................................................................	 ๔๕
เดินกำ�หนด ๓ ระยะ...............................................................	 ๔๙
กลับกำ�หนด ๔-๖ ครั้ง.............................................................	 ๕๓
นอนกำ�หนด ๒ แบบ...............................................................	 ๕๕
กำ�หนดอิริยาบถย่อย...............................................................	 ๕๗
แนะนำ�คำ�กำ�หนด๑�������������������������������������������������������������������	 ๖๑
กำ�หนดนิวรณธรรม.................................................................	 ๖๗
แนะนำ�การรายงานผลการปฏิบัติ (ส่งอารมณ์)........................	 ๗๓
ผลการปฏิบัติวิปัสสนา............................................................	 ๗๗
วิปัสสนาบุญแรง......................................................................	 ๘๓
ลากรรมฐาน............................................................................	 ๙๗
บทส่งท้าย...............................................................................	๑๐๑
บทนำ�
	 สำ�หรับผู้เริ่มปฏิบัติยังไม่เคยรู้จักวิปัสสนามาเลย หรือได้
ยินได้ฟังมาบ้างแต่ไม่กระจ่างนัก มักจะเกิดความรู้สึกหนักใจว่า
จะทำ�ตนอย่างไรให้ถูกต้องตามธรรมเนียมและระเบียบปฏิบัติ โดย
เฉพาะเรื่องบุรพกิจในเบื้องต้น ควรทำ�อะไร เตรียมตัวอย่างไร จะ
ปฏิบัติตามวิปัสสนาวิธีได้ดีเพียงใด จึงมีความจำ�เป็นที่ผู้เริ่มปฏิบัติ
จะต้องทราบเรื่องบุรพกิจและวิปัสสนาวิธี (วิธีปฏิบัติวิปัสสนา) ใน
เบื้องต้นก่อน
	 เรื่องบุรพกิจและวิปัสสนาวิธีนั้นๆ ขอนำ�มาแสดงและอธิบาย
ไปตามลำ�ดับ ดังนี้
วิปัสสนาสาธิต
2
	 -	ตัดปลิโพธ
	 -	เตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็น
	 -	เตรียมตัวเตรียมใจ
	 -	เข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร)
	 -	ศีล
	 -	เปล่งวาจาสมาทานศีล
	 -	เปล่งวาจามอบกายถวายชีวิตขอกรรมฐาน
	 -	วิปัสสนาวิธี
	 -	นั่งกำ�หนด ๓ แบบ
	 -	กำ�หนดอารมณ์กรรมฐาน
	 -	ยืนกำ�หนด ๒ แบบ
	 -	เดินกำ�หนด ๓ ระยะ
	 -	กลับกำ�หนด ๔-๖ ครั้ง
	 -	นอนกำ�หนด ๒ แบบ
	 -	กำ�หนดอิริยาบถย่อย
	 -	แนะนำ�คำ�กำ�หนด
	 -	กำ�หนดนิวรณธรรม
	 -	รายงานผลการปฏิบัติ (ส่งอารมณ์)
	 -	ผลการปฏิบัติวิปัสสนา
	 -	วิปัสสนาบุญแรง
	 -	ลากรรมฐาน
ตัดปลิโพธ
	 “ปลิโพธ” แปลว่า “เครื่องกังวลหน่วงเหนี่ยว ผูกพันจิตจน
ติดข้องเกิดความวิตกพะวักพะวง ไม่ปลอดโปร่งขณะเจริญกรรมฐาน”
ปลิโพธ ๑๐ ประการ มีคาถาแสดงไว้ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า
		 อาวาโส จ กุลํ ลาโภ	 คโณ กมฺมญฺจ ปญฺจมํ
		 อทฺธานํ าติ อาพาโธ	 คนฺโถ อิทฺธีติ เต ทส ฯ	
		 เครื่องกังวล ๑๐ ประการนั้นคืออาวาส ตระกูล ลาภ คณะ
		 การงาน การเดินทาง ญาติ อาพาธ การเล่าเรียน และฤทธิ์
	 อาวาส คือสถานที่อยู่อาศัย สำ�หรับพระภิกษุหมายถึงกุฏิ
วิหาร สำ�หรับฆราวาสหมายถึงบ้านเรือน จะก่อความกังวลให้ขณะ
วิปัสสนาสาธิต
4
เจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุกำ�ลังรับผิดชอบการก่อสร้างยังไม่
แล้วเสร็จ แต่ทิ้งออกมาก่อน ฆราวาสกำ�ลังสร้างบ้านเรือนยังไม่
เสร็จสิ้น แต่ทิ้งออกมาก่อน หรือพระภิกษุเก็บบริขารไว้ภายในกุฏิ
วิหารจนมากเกิน ฆราวาสเก็บของมีค่าไว้ภายในบ้าน จากออกมา
ก็พะวักพะวง ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุอยู่ดูแลการ
ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ฆราวาสสร้างบ้านเรือนจนเสร็จสิ้น ก่อนออก
จากวัดเก็บบริขารเรียบร้อย ก่อนออกจากบ้านปิดนํ้าไฟประตูหน้าต่าง
ลงกลอนสนิทใส่กุญแจเรียบร้อย
	 ตระกูล คือคนที่อยู่ในเรือน จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญ
กรรมฐาน หากพระภิกษุเข้าไปทำ�ความคุ้นเคยจนมากเกิน ชนิดที่
ว่าเห็นเขาสุขก็สุขด้วย เห็นเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ฆราวาสผูกพันอยู่
กับบุตรภรรยาหรือเพื่อนบ้าน จากออกมาก็ห่วงหาว่าเขาจะเป็น
อย่างไร สุขสบายดีไหม ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุตัดใจ
บอกลาว่าตนจะไปปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังสักช่วงหนึ่ง ฆราวาส
จัดแจงเรื่องอาหารการเป็นอยู่เรียบร้อย มอบเงินให้บุตรภรรยาไว้
ใช้สอยในช่วงที่ตนไม่อยู่ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม ๗ วัน ๙ วัน
	 ลาภ คือการได้ จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน
หากพระภิกษุยินดีรับแต่ปัจจัยไทยธรรม คุ้นเคยกับการออกกิจ
นิมนต์ ออกไปปฏิบัติธรรมก็กลัวว่าจะเสียกิจนิมนต์ กลับมาก็เกรง
ว่าเขาจะไม่นิมนต์เหมือนเดิม ฆราวาสวุ่นวายอยู่กับการทำ�งาน
หาเลี้ยงชีพ ได้ค่าตอบแทนจากการทำ�งาน หน้าที่ ธุรกิจ นับเป็น
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
5
เงินจำ�นวนเท่านั้นเท่านี้อยู่ไม่ขาด จากไปปฏิบัติธรรมก็กลัวว่าจะ
เสียรายได้ เสียลูกค้า ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพิจารณาเห็นว่า
กิจกรรมของการปฏิบัติธรรมมีค่ายิ่งกว่าเงินทองเป็นทรัพย์ประเสริฐ
(อริยทรัพย์) คลายความพึงพอใจจากปัจจัยไทยธรรมรายได้นั้นๆ เสีย
	 คณะ คือการทำ�หน้าที่ให้แก่หมู่คณะมีการบอกสอนเป็นต้น
จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุทำ�หน้าที่
บอกสอนปริยัติธรรมยังไม่เสร็จ ฆราวาสทำ�หน้าที่เป็นครูอาจารย์
ให้ความรู้แก่นิสิตทั้งหลายยังไม่จบเทอม หรือรับทำ�งานให้แก่คน
กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยังไม่เรียบร้อย ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระ
ภิกษุบอกสอนจนเสร็จหรือมอบภาระหน้าที่นั้นให้แก่พระภิกษุรูป
อื่นไป ฆราวาสให้ความรู้หรือทำ�งานที่รับมานั้นสำ�เร็จเรียบร้อย แต่
ถ้าเห็นว่าไม่มีทางจบสิ้น ต้องบอกต้องสอนกันอยู่เป็นนิตย์ งานนี้
เสร็จงานนั้นเข้ามาให้ทำ�อยู่เรื่อยๆ ก็ตัดใจเสีย ขอเว้นวรรคไปปฏิบัติ
ธรรมสักช่วงหนึ่ง
	 การงาน คืองานทั้งส่วนตัวและส่วนรวม จะก่อความกังวล
ให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลงาน
ก่อสร้างคอยหาทัพสัมภาระมาให้คนงานทำ� ไม่มีก็ต้องขวนขวาย
หามา ฆราวาสมีกิจกรรมที่ต้องทำ�ร่วมกัน วุ่นวายอยู่เสมอ ปลิโพธ
ข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุจัดหาทัพสัมภาระมาให้แก่คนงาน
ทำ�เรียบร้อย ฆราวาสทำ�กิจกรรมกลุ่มสำ�เร็จลุล่วง แต่ถ้ายังไม่เสร็จ
เรียบร้อยดีก็มอบให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุรูปอื่น ยกให้เป็นเรื่อง
วิปัสสนาสาธิต
6
ของสงฆ์ของส่วนรวมไป หรือพิจารณาเห็นว่าการงานบางอย่างถึง
ตนไม่ทำ�ก็มีคนอื่นมาทำ�อยู่ดี ก็วางใจปลีกตัวออกมาเสีย
	 การเดินทาง คือการออกเดินทางไปต่างถิ่น จะก่อความ
กังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุได้รับข่าวว่าเพื่อน
พรหมจารีไม่สบายเจ็บป่วย ฆราวาสรู้ว่าพวกพ้องของตนอยากให้ไป
เยี่ยมเยียน กังวลใจว่าจะไปดีหรือไม่ไปดี ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป
เมื่อพระภิกษุเดินทางไปหาเพื่อนพรหมจารีถามสุขทุกข์ ฆราวาส
เดินทางไปหาพวกพ้องเยี่ยมเยียน คมิกจิตคือจิตคิดจะไปนี้จะ
รบกวนอยู่เรื่อยๆ หากไม่ได้เดินทางไปหา ถ้ายังรบกวนอยู่ไม่หยุดก็
ควรเดินทางไปพบ แต่ถ้าพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงจิตที่คิดจะไป
ต้องการออกนอกเรื่องเท่านั้น ก็ตัดทิ้งเสียไม่ตกไปตามอำ�นาจของมัน
	 ญาติ คือบุคคลเป็นที่เคารพนับถือ ญาติทางพระภิกษุคือ
อุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติทางฆราวาสคือ บิดามารดา จะก่อความ
กังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากบุคคลเหล่านี้เกิดอาพาธเจ็บ
ป่วยขึ้นมา รู้สึกเป็นห่วงไม่สบายใจ ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อ
พระภิกษุอยู่ดูแลอุปัชฌาย์อาจารย์จนท่านหายจากอาพาธ แม้ไม่มี
ยาก็ต้องหามารักษา ฆราวาสเฝ้าดูแลรักษาบิดามารดาจนหายจาก
เจ็บป่วย แม้เสียเงินเสียทองสักเท่าไหร่ก็ต้องยอม ปลิโพธข้อนี้ท่าน
มิให้ตัดทิ้ง ต้องอยู่เฝ้าดูแลรักษาจนกว่าท่านหายเป็นปกติ ถ้าไม่
หายก็อยู่เฝ้าดูแลจนกว่าท่านเสียชีวิต จึงจะปลีกตัวออกมาปฏิบัติ
ธรรมได้
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
7
	 อาพาธ คือการเจ็บป่วยอันเกิดจากโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง
จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุเกิดอาพาธ
ฆราวาสเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุ
ทำ�ยารักษาจนหายขาด ฆราวาสเข้าพบแพทย์ทำ�การบำ�บัดรักษา
จนหายเป็นปกติ แต่ถ้าทำ�การบำ�บัดรักษาแล้วก็ยังแสดงอาการ
กระเสาะกระแสะตีรวน สามวันดี สี่วันไข้ ไม่หายขาดสักที ก็ให้ตัดใจ
เสียโดยคิดว่า ฉันมิใช่บ่าวมิใช่ลูกจ้างของเจ้านะ เพราะเฝ้าเลี้ยงดู
เจ้านี่แหละจึงต้องได้รับทุกข์ในสังสารวัฏอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักจบสิ้น
จะเจ็บจะป่วยจะหายหรือไม่หายก็ช่างมัน ไปปฏิบัติธรรมดีกว่า
	 เล่าเรียน คือการศึกษาหาวิชาความรู้ทางปริยัติ จะก่อความ
กังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุสนใจอยู่แต่กับการรํ่าเรียน
ศึกษาหาวิชาความรู้อยู่เรื่อยๆ ฆราวาสสนใจอยู่แต่กับการติดตาม
ข่าวคราวทางหน้าหนังสือพิมพ์ กลัวว่าไม่มีความรู้เทียบเท่าคนอื่น
ตกยุคตกสมัยไม่ทันเหตุการณ์ ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อยุติ
การแสวงหาความรู้ ฆราวาสเลิกสนใจติดตามข่าวคราวทางหน้า
หนังสือพิมพ์ โดยพิจารณาเห็นว่า แม้จะมีความรู้มากมายขนาดไหน
ติดตามอ่านข่าวคราวสักเพียงใด ถ้ายังตกไปตามอำ�นาจของกิเลส
โลภ โกรธ หลงอยู่เหมือนเดิมก็เปล่าประโยชน์ สู้มาปฏิบัติธรรม
ทำ�กรรมฐานดีกว่า
	 ฤทธิ์ คือ ความน่าพิศวงเกิดจากการทำ�สมาธิเจริญสมถ
กรรมฐาน ถือเป็นฤทธิ์ทางโลกียะซึ่งเสื่อมหายได้ จะก่อความกังวล
วิปัสสนาสาธิต
8
ให้ขณะเจริญกรรมฐาน โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน เพราะวิปัสสนา
กรรมฐานไม่ประสงค์เอาฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใดๆ มุ่งตรงเข้าสู่มรรค ผล
นิพพาน ดับทุกข์อย่างเดียว ด้วยการพิจารณาเห็นรูป-นามตาม
สภาพไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระภิกษุหรือ
ฆราวาสที่ได้ฤทธิ์คอยประคองรักษาไว้มิให้เสื่อม ย่อมเกิดความ
วิตกกังวล หากหวังผลจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานประสงค์เข้า
สู่มรรค ผล นิพพาน ดับทุกข์จริงๆ ก็ควรละทิ้งฤทธิ์นั้นเสีย
	 ปลิโพธเครื่องกังวลท่านกล่าวไว้มีอยู่ ๑๐ ประการ ผู้ประสงค์
เจริญกรรมฐานในเบื้องต้นจะต้องตัดเสียก่อน มิฉะนั้นจะกลาย
เป็นข้อผูกพันจิตให้ติดข้องชะงักอยู่กับที่ แม้ท่านกล่าวไว้ว่ามีอยู่
๑๐ ประการ แต่ในความเป็นจริงอาจมีมากกว่านั้น เรื่องใดก็ตาม
ที่ก่อให้เกิดความกังวลไม่สามารถเจริญกรรมฐานได้อย่างสบายใจ
ยังหน่วงเหนี่ยวจิตพะวักพะวงอยู่ ควรไปชำ�ระสะสางเรื่องนั้นให้
เสร็จสิ้น หรือไม่ก็สลัดทิ้งเสีย อย่าให้มันมารังควานจิต อันที่จริง
กิจกรรมของการปฏิบัติธรรมจะต้องมีใจเป็นหนึ่งรู้สึกปลอดโปร่ง
ไร้ข้อวิตกกังวลใดๆ หากมีข้อกังวลใจไม่รู้สึกปลอดโปร่งขณะปฏิบัติ
วิปัสสนายานก็ออกเดินทางไปไม่ได้ ถูกปลิโพธฉุดรั้งเอาไว้ รังแต่
จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพจิตเปล่าๆ.
เตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็น
	 หลังจากผู้ปฏิบัติตัดเรื่องปลิโพธออกไปรู้ว่าไม่มีข้อกังวลใดๆ
แล้ว ก็ตระเตรียมของเครื่องใช้พอเหมาะแก่ความต้องการอยู่ใน
ช่วงของการปฏิบัติธรรมได้ แต่ไม่มากเกินไปจนกลายเป็นความ
ยุ่งยาก มีเสื้อผ้ากางเกงสวมใส่ สำ�หรับสุภาพบุรุษให้สวมเสื้อสีขาว
ใส่กางเกงขายาวสีขาวหรือสีเทา ไม่ใส่กางเกงขาสั้น ขาสามส่วนและ
ไม่คาดผ้าขาวม้า สำ�หรับสุภาพสตรีให้สวมเสื้อสีขาวสวมกระโปรงยาว
สีขาวเหนือข้อเท้า หากสวมกระโปรงยาวรู้สึกไม่คล่องตัว เฉพาะ
เวลาปฏิบัติอนุญาตให้สุภาพสตรีสวมกางเกงยาวสีขาวหรือสีเทาได้
แต่เวลารายงานผลการปฏิบัติ (ส่งอารมณ์) แก่พระวิปัสสนาจารย์
ให้สวมกระโปรงยาวสีขาวเข้าไป ที่สำ�คัญคือไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูป
เสื้อไม่มีแขน เสื้อบาง เสื้อคอกระเช้า เสื้อคอกว้าง ทั้งสุภาพบุรุษและ
วิปัสสนาสาธิต
10
สุภาพสตรีไม่ควรสวมชุดนอน เสื้อผ้าสีฉูดฉาด มีลวดลายและมี
ตัวหนังสือบนเสื้อ นอกจากนั้นยังมี สบู่ แชมพูสระผม ยาสีฟัน
แปรงสีฟัน หวี ผ้าเช็ดตัว ยาบรรเทาโรค ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวดหัว
นาฬิกาปลุก ของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็นต้องตระเตรียม
	 ในช่วงของการปฏิบัติธรรม ๗ วัน ๙ วัน ผู้ปฏิบัติต้อง
สมาทานศีล ๘ ศีลข้อ ๖ ห้ามมิให้รับประทานอาหารยามวิกาล
ตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึงรุ่งเช้า ฆราวาสบางคนไม่เคยอดอาหารมา
ก่อน กังวลว่าจะหิวกระหายก็ตระเตรียมเครื่องดื่มนมกล่องมาด้วย
บางคนห่วงเรื่องปากเรื่องท้องกลัวว่าอาหารจะไม่เพียงพอก็นำ�อาหาร
ว่างขนมมาด้วย บางคนชอบดื่มนํ้าร้อนนํ้าชาถึงกับติดกระติกต้ม
นํ้าร้อนมาก็มี อย่างนี้ถือว่าไม่สมควร ทำ�ให้เพิ่มภาระเปล่าๆ เรา
กำ�ลังจะไปปฏิบัติธรรมเพื่อสำ�รวมระวัง ลด ละ เลิก ไม่ได้มากิน
มาดื่ม ทำ�ไมมีข้าวของพะรุงพะรังตามมาด้วย
	 เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ทางเจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมไว้ให้
พอเหมาะแก่ความต้องการของผู้ปฏิบัติ อาหารและเครื่องดื่มอาจ
จะไม่เอร็ดอร่อยประณีตเหมือนในภัตตาคารหรูๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะ
ต้องทำ�ใจยอมรับ ไม่ถือเรื่องนี้เป็นประมาณ.
เตรียมตัวเตรียมใจ
	 เมื่อผู้ปฏิบัติเตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็นเสร็จเรียบร้อย
แล้ว ก็เตรียมตัวเตรียมใจปฏิบัติ โดยทำ�ตนให้เหมาะสมพร้อม
รับโอวาทคำ�สั่งสอนจากพระวิปัสสนาจารย์ แต่ก่อนจะลงมือปฏิบัติ
กันจริงๆ ก็มีเรื่องที่ผู้ปฏิบัติต้องวางไว้ไม่ยึดถือ คือ ทิฐิมานะ ยศ
ศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่ ความรู้เดิมทั้งหมด และต้องทำ�ตัวบาง
ว่าง่ายรับวิปัสสนาวิธีด้วยความเคารพ พร้อมปฏิบัติตามจนกว่าจะ
สิ้นสุดเวลาที่ตนกำ�หนด
	 ทิฐิมานะ ทิฐิมานะเป็นเรื่องแรกที่ผู้ปฏิบัติจะต้องวางไว้
ก่อน ผู้ปฏิบัติต้องไม่มากไปด้วยทิฐิมานะ เพราะทิฐิมานะคือตัว
กั้นความเจริญในทางปฏิบัติขัดขวางมรรค ผล นิพพาน ชนิดที่ว่า
วิปัสสนาสาธิต
12
ไม่เปิดทางให้เลย ถ้ายังเต็มด้วยทิฐิมานะแม้จะพยายามปฏิบัติ
ขนาดไหนก็ไม่เป็นผล พระพุทธองค์ทรงพระชนม์อยู่ก็โปรดไม่ขึ้น
ทั้งนี้ เพราะความแข็งกระด้างภายในจิตใจ ถือว่า “ฉันรู้” “ฉันดี”
“ฉันเก่ง” “ฉันทำ�เองได้” “ไม่ต้องมีใครบอกใครสอน” “ใครก็ไม่เหมาะ
จะมาสอนฉัน” ถ้ายังยึดถืออย่างนี้มีความแข็งกระด้างภายในจิตใจ
อยู่ตราบใด จะไม่สามารถพัฒนาให้จิตอ่อน (มุทุกํ) เบา (ลหุกํ)
ควรแก่การงาน (กมฺมนียํ) ได้ตราบนั้น และจะปรากฏด้วยความ
กระด้างถือดีอยู่ตลอดไป ทิฐิมานะจึงเป็นเรื่องที่ต้องวางเป็นอันดับแรก
ดังจะยกเรื่องพระโปฐิลเถระมาแสดงเป็นอุทาหรณ์ เรื่องมีอยู่ว่า
	 พระโปฐิละเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักของพระ
ภิกษุทั้งหลายทั้งใกล้และไกล ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านปริยัติมาก
ทรงพระไตรปิฎกในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าถึง ๗ พระองค์
ทำ�หน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่บอกธรรมแก่พระภิกษุ ๕๐๐ รูป แต่ท่าน
กลับไม่มีมรรคผลเป็นแก่นสาร พระบรมศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ดี
ประสงค์จะให้ท่านเกิดความสลดสังเวชหันมาทำ�ที่สุดแห่งทุกข์ให้
แก่ตนเองเสียที จึงตรัสเรียกท่านว่า “ตุจฉโปฐิละ คุณใบลานเปล่า”
อยู่เนืองๆ ไม่ว่าท่านจะมาหาพระองค์ นั่งลง และออกไป
	 “มานี่สิคุณใบลานเปล่า”
	 “นั่งลงสิคุณใบลานเปล่า”
	 “ไปเถอะคุณใบลานเปล่า”
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
13
	 แม้แต่ท่านออกไปก็ตรัสตามหลังอีกว่า
	 “คุณใบลานเปล่าไปแล้ว”
	 ท่านสดับพุทธวาจาเช่นนั้นก็สลดสังเวชลงทันที
	 “นี่เป็นเพราะเราไม่มีคุณวิเศษอะไรเลย พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสอย่างนี้ แม้เราจะทรงพระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาบอกธรรม
แก่พระภิกษุจำ�นวน ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่สักเพียงใดก็ตาม
กระไรเลยเราควรปลีกตัวออกไปบำ�เพ็ญสมณธรรม”
	 ท่านตัดสินใจปลีกตัวออกไปบำ�เพ็ญสมณธรรม โดยเดิน
ทางไปถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลจากที่เดิมมากประมาณ
สองพันโยชน์ เข้าไปหาพระภิกษุ ๓๐ รูปที่อยู่ในอาวาสราวไพร
(วัดป่า) แห่งหนึ่ง ประนมมือไหว้พระสังฆเถระขอร้องให้ท่านเป็น
ที่พึ่ง แต่กลับได้รับคำ�ตอบจากพระสังฆเถระว่า
	 “ท่านเป็นพระธรรมกถึกนะครับ พวกผมควรได้รับความรู้
จากท่านมากกว่าที่ท่านจะได้รับความรู้จากพวกผม”
	 “ท่านครับ อย่าได้พูดอย่างนั้นเลย โปรดเป็นที่พึ่งของ
กระผมด้วย” ท่านโปฐิละแสดงอาการวิงวอน
	 พระภิกษุ ๓๐ รูปเหล่านั้นล้วนเป็นอรหันตขีณาสพทั้งสิ้น
ทราบว่าท่านยังมากด้วยทิฐิมานะอยู่ เพราะอาศัยปริยัติเป็นปัจจัย
ไม่สามารถน้อมรับฟังคำ�สอนปฏิบัติตามได้ ประสงค์จะถ่ายถอนทิฐิ
มานะของท่านออกจึงไม่รับ ส่งไปพบพระเถระ พระอนุเถระ ตาม
วิปัสสนาสาธิต
14
ลำ�ดับ กระทั่งถึงสามเณรอายุเพียง ๗ ขวบ ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด
ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ด้วยวิธีนี้ทิฐิมานะของท่านจึงถูกถ่ายถอนออก
จนหมดสิ้น
	 พระโปฐิละหมดทิฐิมานะไม่มีความลำ�พองเย่อหยิ่งใดๆ
ประนมมือพูดกับสามเณรน้อยอรหันต์อายุ ๗ ขวบด้วยวาจานอบ-
น้อมยิ่ง
	 “ท่านสัตบุรุษ โปรดเป็นที่พึ่งของผมด้วย”
	 “ท่านอาจารย์ พูดอะไรเช่นนั้น ท่านมีอายุมากเป็นพระ-
พหูสูต กระผมควรได้รับความรู้จากท่านมากกว่าที่ท่านจะได้รับ
ความรู้จากกระผมนะขอรับ”
	 “ท่านสัตบุรุษ กรุณาอย่าทำ�อย่างนี้ โปรดเป็นที่พึ่งของผม
ด้วย”
	 “ท่านขอรับ หากท่านอดทนต่อโอวาทได้จริง ผมจะเป็นที่
พึ่งของท่านเอง”
	 “ได้ ท่านสัตบุรุษ ท่านกล่าวว่า ‘จงเดินเข้ากองไฟ’ ผมก็
จะเดินเข้ากองไฟเดี๋ยวนี้”
	 สามเณรน้อยอรหันต์ทราบดีว่าจีวร ๒ ชั้นที่พระโปฐิละ
นุ่งห่มมีราคาแพงมาก ต้องการทดลองว่าท่านจะอดทนต่อโอวาทได้
จริงหรือไม่ จึงชี้ไปที่สระนํ้าแห่งหนึ่งอยู่ใกล้ๆ
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
15
	 “ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มอย่างนี้แหละเดินลงไปสระนํ้านั่น”
	 พระโปฐิละไม่รีรอเดินลงไปสระนํ้าตามคำ�สั่งทันที พอชายจีวร
ถูกนํ้าเปียกเท่านั้น สามเณรน้อยอรหันต์ก็กล่าวว่า
	 “พอละ ท่านขอรับ นิมนต์มานี่เถิด” และให้กรรมฐานแก่
พระโปฐิละที่กลับมายืนนิ่งอยู่
	 “ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่งมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ใน
ช่องเหล่านั้น มีตัวเงินตัวทองวิ่งเข้าไปทางช่องใดช่องหนึ่ง คนต้อง
การจะจับเอามัน จัดการอุดช่องทั้ง ๕ ขุดจับเอามันจากช่องที่ ๖
ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เหมือนกัน ท่านจงปิดทวาร
ทั้ง ๕ เริ่มทำ�กรรมฐานที่ทวารที่ ๖ คือทวารทางใจเถิด”
	 ด้วยคำ�แนะนำ�กรรมฐานเพียงเท่านี้ ความแจ่มแจ้งสว่างโพลง
ปรากฏแก่พระโปฐิละทันที
	 “ท่านสัตบุรุษ เพียงเท่านี้ก็เพียงพอละ”
	 ท่านหยั่งญาณลงในกายปรารภสมณธรรม ณ ที่นั้น และได้
บรรลุอรหัตผลสำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
	 ตามที่ยกเรื่องพระโปฐิละเถระนี้มาแสดงเป็นอุทาหรณ์
ต้องการชี้ให้เห็นว่าทิฐิมานะนั้นน่ากลัวมาก มันทำ�อันตรายต่อการ
บรรลุธรรมจริงๆ ผู้ที่เต็มด้วยทิฐิมานะจะเดินสวนทางกับมรรค ผล
นิพพานทันที ไม่มีทางที่จะพานพบได้เลย ขอให้ท่านผู้เริ่มปฏิบัติลด
วิปัสสนาสาธิต
16
มานะละทิฐิก่อนเถิด จะเป็นผลดีต่อตัวท่านโดยตรง และส่งผลดี
ต่อพระวิปัสสนาจารย์โดยอ้อม ทำ�ให้ท่านเบาใจบอกสอนได้ด้วย
ความสะดวก
	 ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่ กิจกรรมของการปฏิบัติ-
ธรรมเป็นกิจกรรมที่ไม่มีความจำ�เป็นต้องใช้อำ�นาจหน้าที่มาสั่ง
บังคับ ขอเพียงมีศรัทธาความน้อมใจเชื่อ ฉันทะความพึงพอใจและ
วิริยะความพากเพียรก็สามารถมาปฏิบัติธรรมได้ แม้มียศศักดิ์
ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่สูงสักเพียงใด ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่
นั้นก็ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางปฏิบัติเลย ตรงกันข้ามกลับจะ
ขัดขวางความก้าวหน้าของการปฏิบัติ หากยังยึดถือไม่ยอมปล่อย
วาง มันจะเป็นตัวเกาะของอัตตา อาศัยยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่ง
หน้าที่นั่นเอง อัตตาจึงเติบโตขึ้น ทำ�ให้ดูหมิ่นเหยียดหยามคนที่
ตํ่ากว่า ยกตนข่มคนอื่น และที่สำ�คัญคืออัตตาจะช่วยเสริมแรงให้
แก่ทิฐิมานะเกิดกล้า ปิดกั้นมรรค ผล นิพพาน ขอให้ท่านผู้ที่มี
ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่สูงวางไว้ก่อนเถิด เพื่อการก้าวไปใน
ธรรมได้อย่างถูกทาง
	 ความรู้เดิม แม้ผู้เริ่มปฏิบัติผ่านการเรียนรู้ทั้งฝ่ายปริยัติ
และปฏิบัติมามากมาย เมื่อจะลงมือปฏิบัติกันจริงๆ ก็ต้องวางไว้
ก่อน อย่านำ�มาทบทวนหรือเทียบเคียงว่าตรงกับข้อนั้นตรงกับข้อนี้
ไม่ตรงกับข้อนั้นไม่ตรงกับข้อนี้ หรือขัดแย้งโต้เถียง ในทางปฏิบัติ
ท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติแม้มีตาดีก็เหมือนมีตาบอด แม้มีหูดีก็เหมือน
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
17
มีหูหนวก แม้มีลิ้นเจรจาได้ดีก็เหมือนเป็นใบ้ แม้เป็นคนฉลาด
ก็เหมือนเป็นคนโง่ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มามัวถกเถียงโต้แย้งแสดงความรู้
เพราะจะนำ�ความฟุ้งซ่านมาให้ ยิ่งจะไถลออกนอกทางการปฏิบัติ
ช่วงเวลาของการปฏิบัติ มิใช่ช่วงเวลาของการแสดงความเก่งกาจ
หรือวิเคราะห์วิจัยเหมือนทำ�วิทยานิพนธ์ หากแต่เป็นช่วงที่ต้อง
ปฏิบัติด้วยการกำ�หนดรู้ดูจริงๆ จนปรากฏเห็นแจ่มแจ้ง มิได้ใช้
กระบวนการทางเหตุผลเข้ามามีส่วนร่วมเลย ดังนั้น ความรู้ต่างๆ
ที่ได้รํ่าเรียนมาจึงไม่มีความจำ�เป็น ขอให้ท่านผู้ทรงความรู้วางไว้
ก่อนเถิด เพื่อความสงบในทางปฏิบัติของตัวท่านเอง
	 ทำ�ตัวบางว่าง่าย การปฏิบัติวิปัสสนาเหมือนเดินอยู่บนทาง
ที่ไม่เคยเดินมาก่อน ไม่รู้ว่าจะทำ�อย่างไรให้เหมาะแก่สภาวะ หรือ
ปรับแก้อย่างไร เมื่อเกิดปัญหาในทางปฏิบัติขึ้น วิปัสสนาจารย์ผ่าน
การเดินทางมาก่อน ท่านย่อมรู้ว่าทางนี้เป็นอย่างไร สภาวะนี้คือ
อะไร ปฏิบัติถึงตรงนี้ควรเพิ่มกรรมฐานให้อย่างไร เกิดปัญหาขึ้น
ควรปรับแก้อย่างไร จะทำ�หน้าที่เหมือนผู้บอกทางให้แก่ผู้ปฏิบัติ
ซึ่งกำ�ลังเดินทางอยู่ ขณะที่วิปัสสนาจารย์ทำ�หน้าที่เป็นผู้บอกทาง
แต่ผู้เดินทางคือผู้ปฏิบัติกลับทำ�ตัวว่ายาก บอกยาก ดื้อรั้น บอก
อย่างหนึ่งแต่ไปทำ�อีกอย่างหนึ่ง เพิ่มกรรมฐานให้ก็ไม่ยอมทำ�
ตาม บอกให้แก้อย่างนี้กลับไปแก้อย่างนั้น สร้างความหนักใจแก่
พระวิปัสสนาจารย์ทำ�ให้ท่านไม่อยากบอกอยากสอน กลายเป็น
ผลเสียต่อผู้ปฏิบัติเอง แทนที่จะปฏิบัติได้ดีเจริญก้าวหน้า แต่ต้อง
วิปัสสนาสาธิต
18
ล่าช้าไปไม่ถึงไหน ความเป็นผู้ว่าง่าย (โสวจัสสตา) จึงเป็นคุณสมบัติ
ของผู้ปฏิบัติโดยตรง ว่าง่ายรับฟังด้วยความนอบน้อม ยินดีปฏิบัติ
ตามด้วยความเคารพ
	 เรื่องการเตรียมตัวเตรียมใจปฏิบัตินี้ ขอให้ท่านผู้ประสงค์
ปฏิบัติมาเฉพาะตัวกับหัวใจที่สัตย์ซื่อ ไร้มารยาสาไถย ไม่คิดลองภูมิ
หรือทดสอบพระวิปัสสนาจารย์ พร้อมประพฤติธรรมอย่างสุจริต
(ธมฺมํ สุจริตํ จเร) เมื่อปฏิบัติจนสิ้นสุดเวลาตามที่ตนกำ�หนดไว้
แม้จะเกิดผลอย่างไรก็ไม่นำ�ไปวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดความเสื่อมเสีย
ในภายหลัง มิฉะนั้นจะเป็นการมาด้วยกุศล แต่ไปด้วยอกุศล มา
เอาบุญ แต่ได้บาปกลับไป.
เข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร)
	 พระวิปัสสนาจารย์คือผู้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของผู้ปฏิบัติ
คอยบอกคอยสอนแนะนำ�แก้ปัญหา ประคับประคองการปฏิบัติ
ให้เจริญก้าวหน้า เหมือนบิดามารดาคอยดูแลรักษาบุตรธิดา หวัง
ความเจริญโดยถ่ายเดียว วิปัสสนาจารย์คือผู้มีส่วนสำ�คัญยิ่งต่อ
การปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องเคารพยกย่องมอบกายถวายชีวิต ทว่าก่อน
จะมอบกายถวายชีวิตให้พร้อมยินดีปฏิบัติตามทุกอย่างก็มีความ
จำ�เป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์
อย่างถี่ถ้วน คิดดูสิว่า ถึงกับมอบกายถวายชีวิต แสดงว่าบุคคลที่จะ
มาเป็นวิปัสสนาจารย์ต้องมีคุณสมบัติเพียบพร้อม มีคาถาแสดง
คุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร) ไว้ในปกรณ์วิเสส-
วิสุทธิมรรคว่า
วิปัสสนาสาธิต
20
		 ปิโยครุภาวนีโย	 วตฺตา จ วจนกฺขโม
		 คมฺภีรํ จ กถํ กตฺตา	 โนจฏฺาเน นิโยชเย ฯ
		 ผู้เป็นที่รัก ๑ น่าเคารพ ๑ น่ายกย่อง ๑ บอกกล่าว ๑
		 อดทนต่อถ้อยคำ� ๑ ทำ�เนื้อหาให้กว้างขวาง ๑
		 ไม่แนะนำ�ในทางเสื่อมเสีย ๑
	 ทั้ง ๗ ประการนี้คือคุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์
(กัลยาณมิตร) ใครเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทั้ง ๗ ประการนี้
มีพุทธดำ�รัสว่า “ดูกรอานนท์ สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา
อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตร ย่อมพ้นจากความเกิดนั้น” พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้านั้นแลคือพระวิปัสสนาจารย์ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ
ทุกอย่าง รองลงมาคือพระมหาสาวก ๘๐ องค์ พระอรหันต์ พระ
อนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ปุถุชนผู้ได้ฌาน ผู้ทรง ๓
ปิฎก ๒ ปิฎก ๑ ปิฎก พระภิกษุผู้ชำ�นาญในพระสูตรแม้นิกายเดียว
พร้อมอรรถกถา ไม่ถือเอามติของตน (อัตโนมัติ) เป็นประมาณ
	 ปัจจุบันนี้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อม
เหมือนในครั้งพุทธกาลหาได้ยากยิ่ง จะทำ�อย่างไร ปัจจุบันเรา
มีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย คือ ๑. ฝ่ายปริยัติ ๒. ฝ่ายปฏิบัติ หากได้
พระวิปัสสนาจารย์ผู้พร้อมด้วยปริยัติและปฏิบัติก็ถือว่าเป็นโชค
วาสนา ถ้าไม่ได้พระวิปัสสนาจารย์ผู้พร้อมด้วยปริยัติและปฏิบัติ
ทั้งสอง ได้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ แต่ขาด
ปริยัติก็ยังถือว่าโชคดี แม้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีประสบการณ์ด้าน
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
21
การปฏิบัติ แต่ขาดปริยัติก็ยังไม่ได้ ได้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีภูมิปริยัติ
แต่ขาดปฏิบัติก็ถือว่าไม่โชคร้าย ยังพอมีแบบแผนให้ยึดถือปฏิบัติ
ตามปริยัตินัย ไม่พาหลงออกนอกลู่นอกทาง
	 มีข้อควรพิจารณาอยู่อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะมีทั้งปริยัติและ
ปฏิบัติ พระวิปัสสนาจารย์นั้นอ้างถึงพระพุทธเจ้าหรือพระอาจารย์
ของตนหรือเปล่า หากไม่อ้างถึงพระพุทธเจ้าหรือพระอาจารย์ของ
ตนเลย อ้างเอามติของตน (อัตโนมัติ) พูดตามวิธีการของตนหรือ
เล่าแต่ประสบการณ์ส่วนตนอย่างเดียว ถือว่าไม่น่าไว้วางใจ เพราะ
วิปัสสนาวิธีมีการสืบทอดมาไม่ขาดช่วง ใช่จะปรับเปลี่ยนกันได้ตาม
ความชอบใจหรือคิดค้นขึ้นมาใหม่ (วิธีปฏิบัติที่เก่าที่สุดคือวิธีปฏิบัติ
ที่ดีที่สุด) ขอให้ผู้ปฏิบัติเลือกผู้ที่พูดตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
และสอนตามแบบแผนของพระอาจารย์ของตน มีพระพุทธเจ้าและ
พระอาจารย์ของตนเป็นที่อ้างมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ มอบกาย
ถวายชีวิตให้เถิด
	 ก่อนจะมอบกายถวายชีวิตแก่พระวิปัสสนาจารย์ ให้มอบ
กายถวายชีวิตแด่พระผู้มีพระภาค ต่อจากนั้นจึงมอบกายถวายชีวิต
แก่พระวิปัสสนาจารย์ บางท่านอาจจะเกิดความฉงนว่า เหตุใดต้อง
มอบกายถวายชีวิตด้วย ไม่มอบกายถวายชีวิตไม่ได้หรือ
	 การปฏิบัติธรรมเป็นกิจยิ่งกว่ากิจอื่นๆ ไม่มีเพื่อนร่วมทำ�
ต้องทำ�เพียงลำ�พังคนเดียว อยู่ในที่สงัด สำ�รวมกาย วาจา ใจ ยืนคน
เดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว และกำ�หนดอารมณ์
วิปัสสนาสาธิต
22
คนเดียว ต่างจากกิจบางอย่าง เช่น รํ่าเรียนศึกษา มีเพื่อนร่วมชั้น
พูดคุยหยอกล้อหัวเราะรื่นเริงกันได้ เมื่อผู้ปฏิบัติอยู่คนเดียวปฏิบัติ
ตามลำ�พัง บางครั้งเกิดความตระหนกต่อสถานที่อันเงียบสงัด หรือ
เกิดอารมณ์อันน่าหวาดกลัวขึ้นก็สะดุ้งหวาดหวั่นพรั่นพรึง บางคน
ถึงกับเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเผ่นหนีออกจากกรรมฐานก็มี หากได้
มอบกายถวายชีวิตแล้วจะไม่เกิดความหวาดหวั่นพรั่นพรึงคลาย
ความหวาดกลัวนั้นเสียได้ โดยตระหนักว่า เราได้มอบกายถวายชีวิต
แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว ชีวิตนี้เป็นของพระองค์ นอกจากจะคลาย
ความหวาดกลัวได้แล้วยังเกิดความโสมนัสอีกด้วย ท่านอุปมาเหมือน
ชายคนหนึ่งมีผ้ากาสีเนื้อดีราคาแพงเก็บไว้ เห็นผ้านั้นถูกหนูหรือ
แมลงกัดก็เสียใจ แต่ถ้าเขามอบถวายผ้านั้นแก่พระภิกษุไม่มีจีวร แม้
เห็นผ้าของตนถูกตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ เย็บติดกันทำ�เป็นจีวรก็ดีใจ
	 การมอบกายถวายชีวิตต่อพระวิปัสสนาจารย์มีความสำ�คัญ
เหมือนกัน เพราะการปฏิบัติธรรมต้องอาศัยพระวิปัสสนาจารย์
คอยบอกคอยสอนแนะนำ�ให้ หากมิได้มอบกายถวายชีวิตก็กลาย
เป็นคนที่บอกสอนแนะนำ�ไม่ได้ สิ่งที่ควรรู้ก็ไม่ได้รู้ สิ่งที่ควรปฏิบัติ
ก็ไม่ได้ปฏิบัติ จะทำ�อะไรก็ทำ�ตามความชอบใจ ในที่สุดก็ออกนอกลู่
นอกทาง	
	 การมอบกายถวายชีวิตจึงมีความสำ�คัญต่อการปฏิบัติ
ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องถือเป็นบุรพกิจในเบื้องต้น ยินดีปฏิบัติตาม ไม่
คัดค้านแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อความเจริญในทางปฏิบัติของตนนั่นเอง.
ศีล
	 ก่อนจะมอบกายถวายชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคและวิปัส-
สนาจารย์ มีธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือการ
สมาทานศีล ศีลเป็นเบื้องต้นและเป็นฐานรองรับการปฏิบัติทั้งหมด
จะสมบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา ต้องสมบูรณ์ด้วยศีลก่อน ศีลถือ
เป็นแหล่งเกิดของสมาธิ อาศัยศีลสมาธิจึงเกิดขึ้น เหมือนบุรุษใช้
ขวานตัดต้นไม้มีพื้นดินเป็นที่เหยียบยืนจึงจะสามารถตัดต้นไม้ได้
	 ศีลหมายถึงอะไร ศีลหมายถึงการงดเว้น หลีกหลบ ถอย
ห่างออกจากความชั่วตํ่าทรามทั้งหลาย ตรงกับคำ�ว่า “เวระมะณี”
ในสิกขาบทแต่ละข้อที่ชาวพุทธพากันเปล่งวาจาสมาทานต่อหน้า
พระภิกษุว่า “…เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอ
วิปัสสนาสาธิต
24
สมาทานสิกขาบทที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดมุสา ดื่มสุราเมรัย” ในลักษณะที่งดเว้น หลีกหลบ ถอยห่างนี้เอง
ไปสอดคล้องกับหัวใจของพระพุทธศาสนาข้อแรกคือ สัพพะปา-
ปัสสะ อะกะระณัง การไม่กระทำ�ความชั่วทั้งปวง และตรงกับคำ�ว่า
“วิรัติ” ในมงคลสูตร ซึ่งแปลว่างดเว้นเหมือนกัน พระอรรถกถาจารย์
ได้ไขความคำ�ว่า “วิรติ” ออกมาเป็น ๓ ประการ คือ
	 ๑.	 สัมปัตตวิรัติ งดเว้นเรื่องที่มาประจวบเข้าเห็นว่าไม่ควร
		 ละเมิด
	 ๒.	 สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทานรับเอามาปฏิบัติ
	 ๓.	 สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นอย่างเด็ดขาด
	 บางคนคำ�นึงถึงสถานะทางชาติตระกูล วุฒิภาวะ และการ
ศึกษาของตน ครั้นเจอเรื่องบางประการมาประจวบเข้า ก็ตระหนัก
ถึงสถานะนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม งดเว้นเอง โดยไม่ต้องไปรับหรือ
สมาทานศีล เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
	 บางคนทราบดีว่า การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นบาปกรรม
ไม่ควรทำ� แต่ต้องการให้ตนตั้งมั่นอยู่ในศีล จึงมาสมาทานสิกขาบทว่า
ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าขอเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม รับศีลจากพระภิกษุหรือตั้งใจสมาทานด้วยตนเอง เรียกว่า
สมาทานวิรัติ
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
25
	 บางท่านบำ�เพ็ญเพียรจนบรรลุอริยมรรคอริยผลสำ�เร็จเป็น
พระอริยบุคคล ศีลจะมาพร้อมกับอริยมรรคอริยผลโดยอัตโนมัติ
หลังจากสำ�เร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว จิตที่คิดจะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ย่อมไม่เกิดขึ้นเลย งดเว้นอย่างเด็ดขาด เรียกว่า สมุจเฉทวิรัติ
	 ศีล ตรงตัวจะแปลว่าอย่างไร ศีลแปลว่า “ปกติ” ซึ่งหมาย
เอาความปกติทางกาย วาจา ทางกายไม่แสดงอาการทะลึ่งตึงตัง
ทะเล้นเล่นหัว มุทะลุดุดันก้าวร้าว ไม่คะนองมือคะนองเท้าทั้งใน
ที่ลับที่แจ้ง ทางวาจาไม่พูดปดมดเท็จ ตอแหลตลบตะแลง ไม่กล่าว
ส่อเสียด หยาบ เพ้อเจ้อ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ยังรักษาความเป็น
ปกติราบเรียบเอาไว้ ไม่กระเทือนไหวไปตามแรงกระทบ ผู้งดเว้น
หลีกหลบถอยห่างออกจากความชั่วตํ่าทรามทั้งหลายดำ�รงอยู่ในความ
เป็นปกติราบเรียบอย่างนี้ ควรมาปฏิบัติธรรมทำ�สมาธิเจริญปัญญา
	 การสมาทานศีลเพื่อปฏิบัติธรรม ท่านให้สมาทานศีล ๘
เพื่อตัดความยุ่งยากทางร่างกายออกไป ไม่ต้องเกิดความวิตกกังวล
จากสามัญศีล ๕ ข้อ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดมุสา ดื่มสุราเมรัย ก็เพิ่มเข้ามาอีก ๓ ข้อ คือ ไม่รับประทานอาหาร
ยามวิกาลนับแต่หลังเที่ยงวันจนถึงรุ่งเช้า ไม่ร้องรำ�ทำ�เพลงดูการ
ละเล่นดีดสีตีเป่าทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอมประดับประดาตกแต่ง
ต่างๆ และไม่นั่งนอนในที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ทั้ง ๓ ข้อที่เพิ่มเข้ามานี้
จะเกื้อกูลต่อการปฏิบัติโดยตรง
วิปัสสนาสาธิต
26
	 การปฏิบัติต้องใช้พลังงานทางกายก็จริง แต่ก็มิได้ใช้มาก
เหมือนทำ�งานด้านอื่นๆ เช่น แบกหาม ขนอิฐ ขนดิน เทปูน ก่อฉาบ
อาหาร ๒ มื้อถือว่าเพียงพอ รับประทานพอประมาณต่อการดำ�รงอยู่
มิได้รับประทานมากๆ เพื่อความอ้วนถ้วนสมบูรณ์ การรับประทาน
อาหารมากจะทำ�ให้เกิดอาการอึดอัดแน่นท้อง ง่วงเหงาหาวนอน
รักษาศีลข้อที่ ๖ ได้ ท้องจะว่างปลอดโปร่ง ทั้งไม่เป็นภาระจัดเตรียม
แต่ถ้าใครมีปัญหาด้านสุขภาพเป็นโรคกระเพาะต้องรับประทาน
อาหารตรงเวลา ไม่สามารถงด ก็ให้สมาทานศีล ๕ รับประทานอาหาร
มื้อเย็นได้ แต่ต้องหารับประทานเอง ทางเจ้าหน้าที่ไม่จัดเตรียมไว้ให้
	 การร้องรำ�ทำ�เพลงทำ�กายให้วิการ หรือดูหนังฟังเพลง
ทำ�ให้รื่นเริงเกิดกิเลสอยากฟัง อยากดู อยากชม การปะแป้งแต่งตัว
ลูบไล้ของหอม เกิดกิเลสอยากสวย อยากงาม นอกจากจะเป็น
โทษปล่อยให้กิเลสไหลเข้ามาแล้ว ยังทำ�ให้สูญเสียเวลาโดยเปล่า
ประโยชน์ มิได้อยู่กับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รักษาศีลข้อที่ ๗ ได้
จะป้องกันมิให้เกิดกิเลสดังกล่าว ช่วยให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้า
ยิ่งขึ้น
	 ที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ที่นั่งสูงที่นั่งใหญ่ยัดด้วยนุ่นหรือฟูก
สัมผัสนุ่มน่านั่งน่านอน ลงไปนั่งไปนอนหลับแล้วไม่อยากลุกไม่
อยากตื่น เกิดความเมาในการนอน โมหะเข้าท่วมทับ ตื่นขึ้นมาก็
ง่วงซึมอยากจะนอนท่าเดียว ความเพียรย่อหย่อนลงทันที แต่ถ้า
นอนบนพื้นเรียบธรรมดามีเพียงเสื่อปูหนึ่งผืน หมอนเล็กๆ หนึ่งใบ
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
27
ถึงเวลาตื่นก็ลุกขึ้นทันที ไม่มัวอิดออดอยู่ รักษาศีลข้อที่ ๘ ได้ จะ
ป้องกันความเมาในการนอน ช่วยให้ความเพียรเพิ่มขึ้น
	 ศีลปิดโทษและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างนี้
	 โดยสารัตถะ เราสามารถยกศีลขึ้นมาพิจารณาได้ ๒ ประการ
คือ
	 ๑. ศีลทางสังคม (Social Morality) เรียกว่า ศีลภายนอก
	 ๒. ศีลเฉพาะตน (Individual Morality) เรียกว่า ศีลภายใน
	 ศีลทางสังคม เมื่อทุกคนต่างสมาทานปฏิบัติอยู่ในศีลอย่าง
สมํ่าเสมอ ไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดมุสา ดื่ม
สุราเมรัย ย่อมไม่เกิดการเบียดเบียนทำ�ร้ายซึ่งกันและกัน ไม่เกิด
ความหวาดระแวงต่อกันและกัน ก่อให้เกิดสันติภายในกลุ่มคน สังคม
ก็ร่มเย็นเป็นสุข
	 ศีลเฉพาะตน เมื่อแต่ละคนสมาทานปฏิบัติอยู่ในศีลอย่าง
สมํ่าเสมอ ศีลจะช่วยป้องกันมิให้ละเมิดกิเลสขั้นหยาบๆ ซึ่งก่อให้
เกิดอาสวะ การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ก่อนจะฆ่าก่อนจะลักขโมยก็เกิด
โทสจิต โลภจิตขึ้นมา ทำ�การฆ่าลักขโมยอยู่บ่อยๆ กิเลสคือโทสะ
และโลภะก็พอกหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้จิตใจหยาบกระด้าง ไม่อาจยัง
สมาธิให้เกิดขึ้น ศีลจึงป้องกันกิเลสอาสวะมิให้มาเกาะกุมจิตใจ และ
เอื้อให้เกิดสมาธิโดยแท้
วิปัสสนาสาธิต
28
	 โดยจุดมุ่งหมายของการสมาทานศีลเพื่อการเจริญกรรมฐาน
จริงๆ นั้น ท่านประสงค์เอาศีลภายใน คือศีลเฉพาะตนนี้
	 ศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ทั้งหมดล้วนมีความหมาย
อยู่ในตัว เพียงแต่เราจะมีปัญญาพิจารณาเห็นหรือเปล่า ถ้าไม่มี
ปัญญาสามารถพิจารณาเห็นก็ให้มีศรัทธาสมาทานถือปฏิบัติไปก่อน.
เปล่งวาจาสมาทานศีล
	 เมื่อผู้ปฏิบัติรู้ความสำ�คัญของศีลและพร้อมจะสมาทาน
ก็นำ�ดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมใส่พานหรือถาดเรียบร้อยน้อมเข้าไป
ถวายพระวิปัสสนาจารย์ ถอยกลับมานั่งอยู่ในท่าเทพพนม (ผู้ชาย)
นั่งท่าเทพธิดา (ผู้หญิง) กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
ประนมมือระหว่างทรวงอกเปล่งวาจาขอสมาทานศีล ดังต่อไปนี้
	 แบบที่ ๑ คนเดียวกล่าวว่า
	 อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ
	 ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ
ยาจามิ
วิปัสสนาสาธิต
30
	 ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ
ยาจามิ
	 สองคนขึ้นไปกล่าวพร้อมกันว่า
	 มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
	 ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ
ยาจามะ
	 ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ
ยาจามะ
	 แบบที่ ๒ คนเดียวกล่าวว่า
	 อะหัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ
อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ
	 ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ-
เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ
	 ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ-
เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ
	 สองคนขึ้นไปกล่าวพร้อมกันว่า
	 มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ
อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
31
	 ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ-
เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
	 ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ-
เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
	 (แบบที่ ๑ เรียกว่า เอกสมาทาน สมาทานศีลพร้อมกัน
เป็นอันเดียว ไม่แยกข้อ หากละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง ศีลจะขาด
พร้อมกันหมด แบบที่ ๒ เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน สมาทานเอา
ศีลแยกข้อ หากละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง จะขาดเฉพาะศีลข้อนั้น
ข้อที่เหลือไม่ขาดด้วย)
	 พระวิปัสสนาจารย์หยิบตาลปัตรมาตั้งบังหน้ากล่าวนำ� ให้ว่า
ตาม
	 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
	 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
	 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
	 พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
	 สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
วิปัสสนาสาธิต
32
	 ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
	 ติสะระณะคะมะตัง นิฏฐิตัง
	 รับว่า อามะ ภันเต
	 ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
	 อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
	 อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
	 มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
	 สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
	 วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
	 นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะมาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
	 อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมา-
ทิยามิ
	 พระวิปัสสนาจารย์กล่าวสรุปศีล ไม่ต้องว่าตาม
	 อิมานิ อัฏฐะสิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ
โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
เปล่งวาจามอบกายถวายชีวิต
ขอกรรมฐาน
	 เมื่อผู้ปฏิบัติเปล่งวาจาขอสมาทานศีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก็นั่งในท่าเทพพนม (ผู้ชาย) นั่งในท่าเทพธิดา (ผู้หญิง) ประนมมือ
ระหว่างทรวงอกตามเดิม ตั้งใจมอบกายถวายชีวิตขอกรรมฐาน
จากพระวิปัสสนาจารย์ โดยเปล่งวาจาว่า
	 อิมาหัง ภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ
	 ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า
	 ขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระองค์
	 อิมาหัง ภันเต อาจริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ
	 ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้แก่ท่าน
วิปัสสนาสาธิต
34
	 นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง
เทหิ
	 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่ข้าพเจ้า
	 เพื่อกระทำ�พระนิพพานให้แจ่มแจ้ง.
วิปัสสนาวิธี
	 เมื่อผู้ปฏิบัติได้เปล่งวาจาขอสมาทานศีล พร้อมกับเปล่ง
วาจามอบกายถวายชีวิตต่อพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสนาจารย์
ขอกรรมฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นั่งพับเพียบตั้งใจฟังวิปัสสนา
วิธีจากพระวิปัสสนาจารย์ ท่านจะอธิบายและแสดงวิธีปฏิบัติไปตาม
ลำ�ดับ
	 วิปัสสนาวิธี คือวิธีปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งสืบทอดกันมาสามารถ
สืบสาวไปจนถึงพระพุทธเจ้า วิปัสสนามีนิยามความหมายตามรูป
ศัพท์ว่า “อนิจฺจา ทิวเสน วิวิเธหิ อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา
เห็นธรรมด้วยอาการหลากหลายอย่างที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า
วิปัสสนา” แม้วิปัสสนาจะมีอารมณ์มากมาย แต่ในช่วงเริ่มต้นก็
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต
พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต  วิปัสสนาสาธิต

More Related Content

More from Wataustin Austin

ใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 english
ใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 englishใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 english
ใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 englishWataustin Austin
 
Morning evening chanting(david)
Morning evening chanting(david)Morning evening chanting(david)
Morning evening chanting(david)Wataustin Austin
 
เนตติปกรณ์
เนตติปกรณ์เนตติปกรณ์
เนตติปกรณ์Wataustin Austin
 
วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2Wataustin Austin
 
อภิธรรมเป็นพุทธพจน์
อภิธรรมเป็นพุทธพจน์อภิธรรมเป็นพุทธพจน์
อภิธรรมเป็นพุทธพจน์Wataustin Austin
 
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ  เจาะลึกอนุพุทธประวัติ  เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ เจาะลึกWataustin Austin
 
สารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนา
สารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนาสารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนา
สารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนาWataustin Austin
 
สัจจสังเขป
สัจจสังเขปสัจจสังเขป
สัจจสังเขปWataustin Austin
 
สคิปัฏฐานทาง (1)
สคิปัฏฐานทาง (1)สคิปัฏฐานทาง (1)
สคิปัฏฐานทาง (1)Wataustin Austin
 
สคิปัฏฐานทาง (1) (1)
สคิปัฏฐานทาง (1) (1)สคิปัฏฐานทาง (1) (1)
สคิปัฏฐานทาง (1) (1)Wataustin Austin
 
วุตโตทยมัญชรี
วุตโตทยมัญชรีวุตโตทยมัญชรี
วุตโตทยมัญชรีWataustin Austin
 
วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2Wataustin Austin
 
วิปัสสนานัย เล่ม1
วิปัสสนานัย เล่ม1วิปัสสนานัย เล่ม1
วิปัสสนานัย เล่ม1Wataustin Austin
 
วฤตตรัตนากร Varutarattana
วฤตตรัตนากร Varutarattanaวฤตตรัตนากร Varutarattana
วฤตตรัตนากร VarutarattanaWataustin Austin
 
ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตWataustin Austin
 
มนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยม
มนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยมมนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยม
มนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยมWataustin Austin
 

More from Wataustin Austin (20)

ใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 english
ใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 englishใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 english
ใบคำขานนาคภาษาอังกฤษ2554 english
 
Pali chant
Pali chantPali chant
Pali chant
 
Morning evening chanting(david)
Morning evening chanting(david)Morning evening chanting(david)
Morning evening chanting(david)
 
Bookchant
BookchantBookchant
Bookchant
 
เนตติปกรณ์
เนตติปกรณ์เนตติปกรณ์
เนตติปกรณ์
 
วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2
 
อภิธรรมเป็นพุทธพจน์
อภิธรรมเป็นพุทธพจน์อภิธรรมเป็นพุทธพจน์
อภิธรรมเป็นพุทธพจน์
 
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ  เจาะลึกอนุพุทธประวัติ  เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
 
สารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนา
สารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนาสารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนา
สารัตถทีปนี จูฬวรรควรรณนา-ปริวาวรรควรรณนา
 
สัจจสังเขป
สัจจสังเขปสัจจสังเขป
สัจจสังเขป
 
สคิปัฏฐานทาง (1)
สคิปัฏฐานทาง (1)สคิปัฏฐานทาง (1)
สคิปัฏฐานทาง (1)
 
สรภัญญะ1
สรภัญญะ1สรภัญญะ1
สรภัญญะ1
 
สคิปัฏฐานทาง (1) (1)
สคิปัฏฐานทาง (1) (1)สคิปัฏฐานทาง (1) (1)
สคิปัฏฐานทาง (1) (1)
 
วุตโตทยมัญชรี
วุตโตทยมัญชรีวุตโตทยมัญชรี
วุตโตทยมัญชรี
 
วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2วิปัสสนานัย เล่ม2
วิปัสสนานัย เล่ม2
 
วิปัสสนานัย เล่ม1
วิปัสสนานัย เล่ม1วิปัสสนานัย เล่ม1
วิปัสสนานัย เล่ม1
 
วฤตตรัตนากร Varutarattana
วฤตตรัตนากร Varutarattanaวฤตตรัตนากร Varutarattana
วฤตตรัตนากร Varutarattana
 
ลัทธิเชน
ลัทธิเชนลัทธิเชน
ลัทธิเชน
 
ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตลักษณะของจิต
ลักษณะของจิต
 
มนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยม
มนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยมมนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยม
มนต์พิธี พระครูสมุห์เอี๋ยม
 

พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตโต วิปัสสนาสาธิต

  • 1.
  • 2. วิปัสสนาสาธิต แสดงบุรพกิจและวิปัสสนาวิธี สำ�หรับผู้เริ่มปฏิบัติธรรม พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ ชุดวิปัสสนาพาพ้นทุกข์ “วิปัสสนาบุญแรง” พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน โดย คุณเอกสิทธิ์ วิริยจารี และครอบครัว บรรณาธิการ : พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ พิสูจน์อักษร : สิริณพร ศิริชัยศิลป์, สุกัญญา เจริญลาภวิชโย, รมณีย สุริยาอรุณโรจน์ ออกแบบปกและภาพปก : ณัฐพล แสวงทรัพย์ ภาพประกอบ : มณเฑียร แก้วประพล รูปเล่ม : มยุรี ไทยประยูร ควบคุมการผลิต : สมชาย ไทยประยูร ลำ�ดับการพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ จำ�นวน ๓,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ครั้งที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๘ จำ�นวน ๒,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ครั้งที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑ จำ�นวน ๒,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ครั้งที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ จำ�นวน ๓,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ครั้งที่ ๔ โดยห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์ เลขที่ ๔๔/๑๓๒ หมู่ ๖ ซอยกำ�นันแม้น ๓๖ แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ ๐๒ ๘๐๒ ๐๓๔๔ มือถือ ๐๘๑ ๕๖๖ ๒๕๔๐
  • 3. วิปัสสนาสาธุ “วิปัสสนา” หลายๆ คนเห็นว่ามิใช่เรื่องสำ�คัญของชีวิต มองเป็นเรื่องไกลตัวเสียมากกว่า ชีวิตไม่มีวิปัสสนาก็อยู่ได้ บางคน ถึงกับมองว่าวิปัสสนาเป็นเรื่องของคนที่ทอดทิ้งสังคม จริงอยู่ ชีวิตไม่จำ�เป็นต้องมีวิปัสสนาก็ได้ แต่ชีวิตที่มี วิปัสสนาก็จะเข้าใจชีวิตได้ดีกว่า วิปัสสนาคือความรู้แจ้งจะช่วย ส่องทางชีวิตให้ก้าวเดินไปอย่างไม่ผิดพลาด ไม่มืดบอด ไม่ถูก ความทุกข์บีบคั้น เพราะผู้เจริญวิปัสสนาจะรู้เท่าทันทุกข์กำ�หนดรู้ และเห็นทุกข์ดับไป “ทุกฺขสมุทยํ-ทุกฺขนิโรธํ” กระทั่งถึงความสิ้นทุกข์ ทั้งปวง “วิปัสสนา” เป็นเรื่องเฉพาะตนและเกิดจากความเพียร เฉพาะบุคคล เราจะเห็นคุณค่าวิปัสสนาจริงๆ ก็ต่อเมื่อมาศึกษา ปฏิบัติ และความสำ�คัญก็อยู่ที่ “ปฏิบัติ” ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ เธอจงออกจากปริยัติสู่ปฏิบัติเถิด คุณเอกสิทธิ์ วิริยจารี คือผู้หนึ่งที่เพียรปฏิบัติกระทั่งเห็น คุณค่าของวิปัสสนา ประสงค์ให้ผู้คนได้ศึกษาปฏิบัติรู้คุณค่าอย่าง ลึกซึ้ง จึงเกิดกุศลศรัทธาและได้ร่วมกับคุณแม่พรพิมล คุณพ่อ ประเทือง คุณเปมิกา คุณรัตน์ติยา และด.ญ.ธัญวรัตม์ วิริยจารี รับ เป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือ “วิปัสสนาสาธิต” นี้ถวายเป็นธรรมทาน
  • 4. ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของคุณเอกสิทธิ์ วิริยจารีและ ครอบครัวไว้ ณ ที่นี้ ด้วยกุศลศรัทธานั้นจงช่วยหนุนส่งให้คุณเอกสิทธิ์ และครอบครัวก้าวไปบนเส้นทางวิปัสสนากรรมฐานเจริญภาวนากุศล ยิ่งๆ ขึ้นไป กระทั่งถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ “นิพฺพานปจฺจโย โหตุ” การเจริญวิปัสสนาเป็นการทำ�บุญกุศลอย่างหนึ่ง เกิดอานิสงส์ ยิ่งกว่าให้ทาน รักษาศีล แม้ไม่สามารถบรรลุมรรคผล นิพพาน ถึง ความสิ้นทุกข์ แต่ก็ได้ชื่อว่าสร้างสมบุญกุศลเอาไว้ทีละเล็กละน้อย เหมือนสะสมหน่วยกิต เมื่อถึงคราวคับขัน อานิสงส์จากการเจริญ วิปัสสนานี้อาจช่วยท่านให้รอดพ้นอุปสรรคขวากหนามและเกิดปัญญา แก้ไขปัญหาชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม “วิปัสสนา” จะทำ�หน้าที่ส่องทางชีวิตได้ดี เพียงใด มิใช่อยู่ที่วิปัสสนา หากแต่อยู่ที่ตัวเราว่าจะน้อมนำ�ไปเป็น ประทีปของชีวิตหรือไม่ “วิปัสสนาสาธิต” หนังสือเล่มนี้พร้อมจะ แสดงบุรพกิจและวิปัสสนาวิธีเป็นประทีปส่องทางชีวิตทันที เมื่อ ท่านเปิดอ่านศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง เรามาเริ่มต้นชีวิตใหม่กันดีไหม เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยวิปัสสนา. เจริญธรรมอำ�นวยพร พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ วัดชนะสงคราม’ ๕๔
  • 5. คำ�นำ� ปัจจุบันนี้มีผู้สนใจปฏิบัติวิปัสสนาเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ การทำ�ความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับธรรมเนียมและระเบียบปฏิบัติ ให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น ถือเป็นเรื่องสำ�คัญ ในภาวะของผู้เริ่มปฏิบัติต้อง ขวนขวายศึกษาเรียนรู้เอง บางคนกังวลว่าตนจะหาศึกษาได้ที่ไหน และเข้าใจได้ดีเพียงใด ด้วยเห็นความจำ�เป็นดังกล่าว “วิปัสสนาสาธิต” จึงเกิดขึ้น เพื่อแสดงบุรพกิจกิจที่พึงกระทำ�ในเบื้องต้น และวิปัสสนาวิธีวิธี ปฏิบัติวิปัสสนา สำ�หรับผู้เริ่มปฏิบัติโดยเฉพาะ สามารถอ่านทำ� ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง และนำ�ไปปฏิบัติได้โดยไม่ยาก วิปัสสนาวิธีที่นำ�มาแสดงในเบื้องต้นนี้ ยังมิให้รายละเอียด มากนัก เกรงว่าจะสร้างความหนักใจต่อการจดจำ� จึงนำ�มาแสดง พอเหมาะแก่ผู้เริ่มปฏิบัติ ยังมีหนังสือ “วิปัสสนาวิถี” “วิปัสสนา ภาวนา” อีก ๒ เล่ม ซึ่งแสดงสาระและให้รายละเอียดในทางวิปัสสนา ไว้มาก หากท่านผู้ใดสนใจก็ควรหาอ่านเพิ่มเติมในภายหลัง หวังว่า “วิปัสสนาสาธิต” นี้จะทำ�หน้าที่แสดงบุรพกิจและ วิปัสสนาวิธีต้องตามความประสงค์ของผู้เริ่มปฏิบัติธรรมทุกท่าน และขอให้ทุกท่านประสบผลพึงประสงค์ในวิปัสสนาด้วยเทอญ. เจริญธรรมอำ�นวยพร พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ วัดชนะสงคราม’ ๔๖
  • 6. สารบัญ บทนำ�...................................................................................... ๑ ตัดปลิโพธ................................................................................ ๓ เตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็น.............................................. ๙ เตรียมตัวเตรียมใจ................................................................... ๑๑ เข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร)................................. ๑๙ ศีล........................................................................................... ๒๓ เปล่งวาจาสมาทานศีล............................................................. ๒๙ เปล่งวาจามอบกายถวายชีวิตขอกรรมฐาน.............................. ๓๓ วิปัสสนาวิธี.............................................................................. ๓๕ นั่งกำ�หนด ๓ แบบ.................................................................. ๓๗ กำ�หนดอารมณ์กรรมฐาน........................................................ ๔๑ ยืนกำ�หนด ๒ แบบ.................................................................. ๔๕ เดินกำ�หนด ๓ ระยะ............................................................... ๔๙
  • 7. กลับกำ�หนด ๔-๖ ครั้ง............................................................. ๕๓ นอนกำ�หนด ๒ แบบ............................................................... ๕๕ กำ�หนดอิริยาบถย่อย............................................................... ๕๗ แนะนำ�คำ�กำ�หนด๑������������������������������������������������������������������� ๖๑ กำ�หนดนิวรณธรรม................................................................. ๖๗ แนะนำ�การรายงานผลการปฏิบัติ (ส่งอารมณ์)........................ ๗๓ ผลการปฏิบัติวิปัสสนา............................................................ ๗๗ วิปัสสนาบุญแรง...................................................................... ๘๓ ลากรรมฐาน............................................................................ ๙๗ บทส่งท้าย............................................................................... ๑๐๑
  • 8.
  • 9. บทนำ� สำ�หรับผู้เริ่มปฏิบัติยังไม่เคยรู้จักวิปัสสนามาเลย หรือได้ ยินได้ฟังมาบ้างแต่ไม่กระจ่างนัก มักจะเกิดความรู้สึกหนักใจว่า จะทำ�ตนอย่างไรให้ถูกต้องตามธรรมเนียมและระเบียบปฏิบัติ โดย เฉพาะเรื่องบุรพกิจในเบื้องต้น ควรทำ�อะไร เตรียมตัวอย่างไร จะ ปฏิบัติตามวิปัสสนาวิธีได้ดีเพียงใด จึงมีความจำ�เป็นที่ผู้เริ่มปฏิบัติ จะต้องทราบเรื่องบุรพกิจและวิปัสสนาวิธี (วิธีปฏิบัติวิปัสสนา) ใน เบื้องต้นก่อน เรื่องบุรพกิจและวิปัสสนาวิธีนั้นๆ ขอนำ�มาแสดงและอธิบาย ไปตามลำ�ดับ ดังนี้
  • 10. วิปัสสนาสาธิต 2 - ตัดปลิโพธ - เตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็น - เตรียมตัวเตรียมใจ - เข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร) - ศีล - เปล่งวาจาสมาทานศีล - เปล่งวาจามอบกายถวายชีวิตขอกรรมฐาน - วิปัสสนาวิธี - นั่งกำ�หนด ๓ แบบ - กำ�หนดอารมณ์กรรมฐาน - ยืนกำ�หนด ๒ แบบ - เดินกำ�หนด ๓ ระยะ - กลับกำ�หนด ๔-๖ ครั้ง - นอนกำ�หนด ๒ แบบ - กำ�หนดอิริยาบถย่อย - แนะนำ�คำ�กำ�หนด - กำ�หนดนิวรณธรรม - รายงานผลการปฏิบัติ (ส่งอารมณ์) - ผลการปฏิบัติวิปัสสนา - วิปัสสนาบุญแรง - ลากรรมฐาน
  • 11. ตัดปลิโพธ “ปลิโพธ” แปลว่า “เครื่องกังวลหน่วงเหนี่ยว ผูกพันจิตจน ติดข้องเกิดความวิตกพะวักพะวง ไม่ปลอดโปร่งขณะเจริญกรรมฐาน” ปลิโพธ ๑๐ ประการ มีคาถาแสดงไว้ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า อาวาโส จ กุลํ ลาโภ คโณ กมฺมญฺจ ปญฺจมํ อทฺธานํ าติ อาพาโธ คนฺโถ อิทฺธีติ เต ทส ฯ เครื่องกังวล ๑๐ ประการนั้นคืออาวาส ตระกูล ลาภ คณะ การงาน การเดินทาง ญาติ อาพาธ การเล่าเรียน และฤทธิ์ อาวาส คือสถานที่อยู่อาศัย สำ�หรับพระภิกษุหมายถึงกุฏิ วิหาร สำ�หรับฆราวาสหมายถึงบ้านเรือน จะก่อความกังวลให้ขณะ
  • 12. วิปัสสนาสาธิต 4 เจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุกำ�ลังรับผิดชอบการก่อสร้างยังไม่ แล้วเสร็จ แต่ทิ้งออกมาก่อน ฆราวาสกำ�ลังสร้างบ้านเรือนยังไม่ เสร็จสิ้น แต่ทิ้งออกมาก่อน หรือพระภิกษุเก็บบริขารไว้ภายในกุฏิ วิหารจนมากเกิน ฆราวาสเก็บของมีค่าไว้ภายในบ้าน จากออกมา ก็พะวักพะวง ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุอยู่ดูแลการ ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ฆราวาสสร้างบ้านเรือนจนเสร็จสิ้น ก่อนออก จากวัดเก็บบริขารเรียบร้อย ก่อนออกจากบ้านปิดนํ้าไฟประตูหน้าต่าง ลงกลอนสนิทใส่กุญแจเรียบร้อย ตระกูล คือคนที่อยู่ในเรือน จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญ กรรมฐาน หากพระภิกษุเข้าไปทำ�ความคุ้นเคยจนมากเกิน ชนิดที่ ว่าเห็นเขาสุขก็สุขด้วย เห็นเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ฆราวาสผูกพันอยู่ กับบุตรภรรยาหรือเพื่อนบ้าน จากออกมาก็ห่วงหาว่าเขาจะเป็น อย่างไร สุขสบายดีไหม ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุตัดใจ บอกลาว่าตนจะไปปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังสักช่วงหนึ่ง ฆราวาส จัดแจงเรื่องอาหารการเป็นอยู่เรียบร้อย มอบเงินให้บุตรภรรยาไว้ ใช้สอยในช่วงที่ตนไม่อยู่ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม ๗ วัน ๙ วัน ลาภ คือการได้ จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุยินดีรับแต่ปัจจัยไทยธรรม คุ้นเคยกับการออกกิจ นิมนต์ ออกไปปฏิบัติธรรมก็กลัวว่าจะเสียกิจนิมนต์ กลับมาก็เกรง ว่าเขาจะไม่นิมนต์เหมือนเดิม ฆราวาสวุ่นวายอยู่กับการทำ�งาน หาเลี้ยงชีพ ได้ค่าตอบแทนจากการทำ�งาน หน้าที่ ธุรกิจ นับเป็น
  • 13. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 5 เงินจำ�นวนเท่านั้นเท่านี้อยู่ไม่ขาด จากไปปฏิบัติธรรมก็กลัวว่าจะ เสียรายได้ เสียลูกค้า ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพิจารณาเห็นว่า กิจกรรมของการปฏิบัติธรรมมีค่ายิ่งกว่าเงินทองเป็นทรัพย์ประเสริฐ (อริยทรัพย์) คลายความพึงพอใจจากปัจจัยไทยธรรมรายได้นั้นๆ เสีย คณะ คือการทำ�หน้าที่ให้แก่หมู่คณะมีการบอกสอนเป็นต้น จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุทำ�หน้าที่ บอกสอนปริยัติธรรมยังไม่เสร็จ ฆราวาสทำ�หน้าที่เป็นครูอาจารย์ ให้ความรู้แก่นิสิตทั้งหลายยังไม่จบเทอม หรือรับทำ�งานให้แก่คน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยังไม่เรียบร้อย ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระ ภิกษุบอกสอนจนเสร็จหรือมอบภาระหน้าที่นั้นให้แก่พระภิกษุรูป อื่นไป ฆราวาสให้ความรู้หรือทำ�งานที่รับมานั้นสำ�เร็จเรียบร้อย แต่ ถ้าเห็นว่าไม่มีทางจบสิ้น ต้องบอกต้องสอนกันอยู่เป็นนิตย์ งานนี้ เสร็จงานนั้นเข้ามาให้ทำ�อยู่เรื่อยๆ ก็ตัดใจเสีย ขอเว้นวรรคไปปฏิบัติ ธรรมสักช่วงหนึ่ง การงาน คืองานทั้งส่วนตัวและส่วนรวม จะก่อความกังวล ให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลงาน ก่อสร้างคอยหาทัพสัมภาระมาให้คนงานทำ� ไม่มีก็ต้องขวนขวาย หามา ฆราวาสมีกิจกรรมที่ต้องทำ�ร่วมกัน วุ่นวายอยู่เสมอ ปลิโพธ ข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุจัดหาทัพสัมภาระมาให้แก่คนงาน ทำ�เรียบร้อย ฆราวาสทำ�กิจกรรมกลุ่มสำ�เร็จลุล่วง แต่ถ้ายังไม่เสร็จ เรียบร้อยดีก็มอบให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุรูปอื่น ยกให้เป็นเรื่อง
  • 14. วิปัสสนาสาธิต 6 ของสงฆ์ของส่วนรวมไป หรือพิจารณาเห็นว่าการงานบางอย่างถึง ตนไม่ทำ�ก็มีคนอื่นมาทำ�อยู่ดี ก็วางใจปลีกตัวออกมาเสีย การเดินทาง คือการออกเดินทางไปต่างถิ่น จะก่อความ กังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุได้รับข่าวว่าเพื่อน พรหมจารีไม่สบายเจ็บป่วย ฆราวาสรู้ว่าพวกพ้องของตนอยากให้ไป เยี่ยมเยียน กังวลใจว่าจะไปดีหรือไม่ไปดี ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุเดินทางไปหาเพื่อนพรหมจารีถามสุขทุกข์ ฆราวาส เดินทางไปหาพวกพ้องเยี่ยมเยียน คมิกจิตคือจิตคิดจะไปนี้จะ รบกวนอยู่เรื่อยๆ หากไม่ได้เดินทางไปหา ถ้ายังรบกวนอยู่ไม่หยุดก็ ควรเดินทางไปพบ แต่ถ้าพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงจิตที่คิดจะไป ต้องการออกนอกเรื่องเท่านั้น ก็ตัดทิ้งเสียไม่ตกไปตามอำ�นาจของมัน ญาติ คือบุคคลเป็นที่เคารพนับถือ ญาติทางพระภิกษุคือ อุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติทางฆราวาสคือ บิดามารดา จะก่อความ กังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากบุคคลเหล่านี้เกิดอาพาธเจ็บ ป่วยขึ้นมา รู้สึกเป็นห่วงไม่สบายใจ ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อ พระภิกษุอยู่ดูแลอุปัชฌาย์อาจารย์จนท่านหายจากอาพาธ แม้ไม่มี ยาก็ต้องหามารักษา ฆราวาสเฝ้าดูแลรักษาบิดามารดาจนหายจาก เจ็บป่วย แม้เสียเงินเสียทองสักเท่าไหร่ก็ต้องยอม ปลิโพธข้อนี้ท่าน มิให้ตัดทิ้ง ต้องอยู่เฝ้าดูแลรักษาจนกว่าท่านหายเป็นปกติ ถ้าไม่ หายก็อยู่เฝ้าดูแลจนกว่าท่านเสียชีวิต จึงจะปลีกตัวออกมาปฏิบัติ ธรรมได้
  • 15. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 7 อาพาธ คือการเจ็บป่วยอันเกิดจากโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง จะก่อความกังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุเกิดอาพาธ ฆราวาสเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อพระภิกษุ ทำ�ยารักษาจนหายขาด ฆราวาสเข้าพบแพทย์ทำ�การบำ�บัดรักษา จนหายเป็นปกติ แต่ถ้าทำ�การบำ�บัดรักษาแล้วก็ยังแสดงอาการ กระเสาะกระแสะตีรวน สามวันดี สี่วันไข้ ไม่หายขาดสักที ก็ให้ตัดใจ เสียโดยคิดว่า ฉันมิใช่บ่าวมิใช่ลูกจ้างของเจ้านะ เพราะเฝ้าเลี้ยงดู เจ้านี่แหละจึงต้องได้รับทุกข์ในสังสารวัฏอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักจบสิ้น จะเจ็บจะป่วยจะหายหรือไม่หายก็ช่างมัน ไปปฏิบัติธรรมดีกว่า เล่าเรียน คือการศึกษาหาวิชาความรู้ทางปริยัติ จะก่อความ กังวลให้ขณะเจริญกรรมฐาน หากพระภิกษุสนใจอยู่แต่กับการรํ่าเรียน ศึกษาหาวิชาความรู้อยู่เรื่อยๆ ฆราวาสสนใจอยู่แต่กับการติดตาม ข่าวคราวทางหน้าหนังสือพิมพ์ กลัวว่าไม่มีความรู้เทียบเท่าคนอื่น ตกยุคตกสมัยไม่ทันเหตุการณ์ ปลิโพธข้อนี้จะคลายไป เมื่อยุติ การแสวงหาความรู้ ฆราวาสเลิกสนใจติดตามข่าวคราวทางหน้า หนังสือพิมพ์ โดยพิจารณาเห็นว่า แม้จะมีความรู้มากมายขนาดไหน ติดตามอ่านข่าวคราวสักเพียงใด ถ้ายังตกไปตามอำ�นาจของกิเลส โลภ โกรธ หลงอยู่เหมือนเดิมก็เปล่าประโยชน์ สู้มาปฏิบัติธรรม ทำ�กรรมฐานดีกว่า ฤทธิ์ คือ ความน่าพิศวงเกิดจากการทำ�สมาธิเจริญสมถ กรรมฐาน ถือเป็นฤทธิ์ทางโลกียะซึ่งเสื่อมหายได้ จะก่อความกังวล
  • 16. วิปัสสนาสาธิต 8 ให้ขณะเจริญกรรมฐาน โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน เพราะวิปัสสนา กรรมฐานไม่ประสงค์เอาฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใดๆ มุ่งตรงเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ดับทุกข์อย่างเดียว ด้วยการพิจารณาเห็นรูป-นามตาม สภาพไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระภิกษุหรือ ฆราวาสที่ได้ฤทธิ์คอยประคองรักษาไว้มิให้เสื่อม ย่อมเกิดความ วิตกกังวล หากหวังผลจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานประสงค์เข้า สู่มรรค ผล นิพพาน ดับทุกข์จริงๆ ก็ควรละทิ้งฤทธิ์นั้นเสีย ปลิโพธเครื่องกังวลท่านกล่าวไว้มีอยู่ ๑๐ ประการ ผู้ประสงค์ เจริญกรรมฐานในเบื้องต้นจะต้องตัดเสียก่อน มิฉะนั้นจะกลาย เป็นข้อผูกพันจิตให้ติดข้องชะงักอยู่กับที่ แม้ท่านกล่าวไว้ว่ามีอยู่ ๑๐ ประการ แต่ในความเป็นจริงอาจมีมากกว่านั้น เรื่องใดก็ตาม ที่ก่อให้เกิดความกังวลไม่สามารถเจริญกรรมฐานได้อย่างสบายใจ ยังหน่วงเหนี่ยวจิตพะวักพะวงอยู่ ควรไปชำ�ระสะสางเรื่องนั้นให้ เสร็จสิ้น หรือไม่ก็สลัดทิ้งเสีย อย่าให้มันมารังควานจิต อันที่จริง กิจกรรมของการปฏิบัติธรรมจะต้องมีใจเป็นหนึ่งรู้สึกปลอดโปร่ง ไร้ข้อวิตกกังวลใดๆ หากมีข้อกังวลใจไม่รู้สึกปลอดโปร่งขณะปฏิบัติ วิปัสสนายานก็ออกเดินทางไปไม่ได้ ถูกปลิโพธฉุดรั้งเอาไว้ รังแต่ จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพจิตเปล่าๆ.
  • 17. เตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็น หลังจากผู้ปฏิบัติตัดเรื่องปลิโพธออกไปรู้ว่าไม่มีข้อกังวลใดๆ แล้ว ก็ตระเตรียมของเครื่องใช้พอเหมาะแก่ความต้องการอยู่ใน ช่วงของการปฏิบัติธรรมได้ แต่ไม่มากเกินไปจนกลายเป็นความ ยุ่งยาก มีเสื้อผ้ากางเกงสวมใส่ สำ�หรับสุภาพบุรุษให้สวมเสื้อสีขาว ใส่กางเกงขายาวสีขาวหรือสีเทา ไม่ใส่กางเกงขาสั้น ขาสามส่วนและ ไม่คาดผ้าขาวม้า สำ�หรับสุภาพสตรีให้สวมเสื้อสีขาวสวมกระโปรงยาว สีขาวเหนือข้อเท้า หากสวมกระโปรงยาวรู้สึกไม่คล่องตัว เฉพาะ เวลาปฏิบัติอนุญาตให้สุภาพสตรีสวมกางเกงยาวสีขาวหรือสีเทาได้ แต่เวลารายงานผลการปฏิบัติ (ส่งอารมณ์) แก่พระวิปัสสนาจารย์ ให้สวมกระโปรงยาวสีขาวเข้าไป ที่สำ�คัญคือไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูป เสื้อไม่มีแขน เสื้อบาง เสื้อคอกระเช้า เสื้อคอกว้าง ทั้งสุภาพบุรุษและ
  • 18. วิปัสสนาสาธิต 10 สุภาพสตรีไม่ควรสวมชุดนอน เสื้อผ้าสีฉูดฉาด มีลวดลายและมี ตัวหนังสือบนเสื้อ นอกจากนั้นยังมี สบู่ แชมพูสระผม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน หวี ผ้าเช็ดตัว ยาบรรเทาโรค ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวดหัว นาฬิกาปลุก ของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็นต้องตระเตรียม ในช่วงของการปฏิบัติธรรม ๗ วัน ๙ วัน ผู้ปฏิบัติต้อง สมาทานศีล ๘ ศีลข้อ ๖ ห้ามมิให้รับประทานอาหารยามวิกาล ตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึงรุ่งเช้า ฆราวาสบางคนไม่เคยอดอาหารมา ก่อน กังวลว่าจะหิวกระหายก็ตระเตรียมเครื่องดื่มนมกล่องมาด้วย บางคนห่วงเรื่องปากเรื่องท้องกลัวว่าอาหารจะไม่เพียงพอก็นำ�อาหาร ว่างขนมมาด้วย บางคนชอบดื่มนํ้าร้อนนํ้าชาถึงกับติดกระติกต้ม นํ้าร้อนมาก็มี อย่างนี้ถือว่าไม่สมควร ทำ�ให้เพิ่มภาระเปล่าๆ เรา กำ�ลังจะไปปฏิบัติธรรมเพื่อสำ�รวมระวัง ลด ละ เลิก ไม่ได้มากิน มาดื่ม ทำ�ไมมีข้าวของพะรุงพะรังตามมาด้วย เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ทางเจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมไว้ให้ พอเหมาะแก่ความต้องการของผู้ปฏิบัติ อาหารและเครื่องดื่มอาจ จะไม่เอร็ดอร่อยประณีตเหมือนในภัตตาคารหรูๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะ ต้องทำ�ใจยอมรับ ไม่ถือเรื่องนี้เป็นประมาณ.
  • 19. เตรียมตัวเตรียมใจ เมื่อผู้ปฏิบัติเตรียมของเครื่องใช้เท่าที่จำ�เป็นเสร็จเรียบร้อย แล้ว ก็เตรียมตัวเตรียมใจปฏิบัติ โดยทำ�ตนให้เหมาะสมพร้อม รับโอวาทคำ�สั่งสอนจากพระวิปัสสนาจารย์ แต่ก่อนจะลงมือปฏิบัติ กันจริงๆ ก็มีเรื่องที่ผู้ปฏิบัติต้องวางไว้ไม่ยึดถือ คือ ทิฐิมานะ ยศ ศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่ ความรู้เดิมทั้งหมด และต้องทำ�ตัวบาง ว่าง่ายรับวิปัสสนาวิธีด้วยความเคารพ พร้อมปฏิบัติตามจนกว่าจะ สิ้นสุดเวลาที่ตนกำ�หนด ทิฐิมานะ ทิฐิมานะเป็นเรื่องแรกที่ผู้ปฏิบัติจะต้องวางไว้ ก่อน ผู้ปฏิบัติต้องไม่มากไปด้วยทิฐิมานะ เพราะทิฐิมานะคือตัว กั้นความเจริญในทางปฏิบัติขัดขวางมรรค ผล นิพพาน ชนิดที่ว่า
  • 20. วิปัสสนาสาธิต 12 ไม่เปิดทางให้เลย ถ้ายังเต็มด้วยทิฐิมานะแม้จะพยายามปฏิบัติ ขนาดไหนก็ไม่เป็นผล พระพุทธองค์ทรงพระชนม์อยู่ก็โปรดไม่ขึ้น ทั้งนี้ เพราะความแข็งกระด้างภายในจิตใจ ถือว่า “ฉันรู้” “ฉันดี” “ฉันเก่ง” “ฉันทำ�เองได้” “ไม่ต้องมีใครบอกใครสอน” “ใครก็ไม่เหมาะ จะมาสอนฉัน” ถ้ายังยึดถืออย่างนี้มีความแข็งกระด้างภายในจิตใจ อยู่ตราบใด จะไม่สามารถพัฒนาให้จิตอ่อน (มุทุกํ) เบา (ลหุกํ) ควรแก่การงาน (กมฺมนียํ) ได้ตราบนั้น และจะปรากฏด้วยความ กระด้างถือดีอยู่ตลอดไป ทิฐิมานะจึงเป็นเรื่องที่ต้องวางเป็นอันดับแรก ดังจะยกเรื่องพระโปฐิลเถระมาแสดงเป็นอุทาหรณ์ เรื่องมีอยู่ว่า พระโปฐิละเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักของพระ ภิกษุทั้งหลายทั้งใกล้และไกล ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านปริยัติมาก ทรงพระไตรปิฎกในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าถึง ๗ พระองค์ ทำ�หน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่บอกธรรมแก่พระภิกษุ ๕๐๐ รูป แต่ท่าน กลับไม่มีมรรคผลเป็นแก่นสาร พระบรมศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ดี ประสงค์จะให้ท่านเกิดความสลดสังเวชหันมาทำ�ที่สุดแห่งทุกข์ให้ แก่ตนเองเสียที จึงตรัสเรียกท่านว่า “ตุจฉโปฐิละ คุณใบลานเปล่า” อยู่เนืองๆ ไม่ว่าท่านจะมาหาพระองค์ นั่งลง และออกไป “มานี่สิคุณใบลานเปล่า” “นั่งลงสิคุณใบลานเปล่า” “ไปเถอะคุณใบลานเปล่า”
  • 21. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 13 แม้แต่ท่านออกไปก็ตรัสตามหลังอีกว่า “คุณใบลานเปล่าไปแล้ว” ท่านสดับพุทธวาจาเช่นนั้นก็สลดสังเวชลงทันที “นี่เป็นเพราะเราไม่มีคุณวิเศษอะไรเลย พระผู้มีพระภาค จึงตรัสอย่างนี้ แม้เราจะทรงพระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาบอกธรรม แก่พระภิกษุจำ�นวน ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่สักเพียงใดก็ตาม กระไรเลยเราควรปลีกตัวออกไปบำ�เพ็ญสมณธรรม” ท่านตัดสินใจปลีกตัวออกไปบำ�เพ็ญสมณธรรม โดยเดิน ทางไปถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลจากที่เดิมมากประมาณ สองพันโยชน์ เข้าไปหาพระภิกษุ ๓๐ รูปที่อยู่ในอาวาสราวไพร (วัดป่า) แห่งหนึ่ง ประนมมือไหว้พระสังฆเถระขอร้องให้ท่านเป็น ที่พึ่ง แต่กลับได้รับคำ�ตอบจากพระสังฆเถระว่า “ท่านเป็นพระธรรมกถึกนะครับ พวกผมควรได้รับความรู้ จากท่านมากกว่าที่ท่านจะได้รับความรู้จากพวกผม” “ท่านครับ อย่าได้พูดอย่างนั้นเลย โปรดเป็นที่พึ่งของ กระผมด้วย” ท่านโปฐิละแสดงอาการวิงวอน พระภิกษุ ๓๐ รูปเหล่านั้นล้วนเป็นอรหันตขีณาสพทั้งสิ้น ทราบว่าท่านยังมากด้วยทิฐิมานะอยู่ เพราะอาศัยปริยัติเป็นปัจจัย ไม่สามารถน้อมรับฟังคำ�สอนปฏิบัติตามได้ ประสงค์จะถ่ายถอนทิฐิ มานะของท่านออกจึงไม่รับ ส่งไปพบพระเถระ พระอนุเถระ ตาม
  • 22. วิปัสสนาสาธิต 14 ลำ�ดับ กระทั่งถึงสามเณรอายุเพียง ๗ ขวบ ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ด้วยวิธีนี้ทิฐิมานะของท่านจึงถูกถ่ายถอนออก จนหมดสิ้น พระโปฐิละหมดทิฐิมานะไม่มีความลำ�พองเย่อหยิ่งใดๆ ประนมมือพูดกับสามเณรน้อยอรหันต์อายุ ๗ ขวบด้วยวาจานอบ- น้อมยิ่ง “ท่านสัตบุรุษ โปรดเป็นที่พึ่งของผมด้วย” “ท่านอาจารย์ พูดอะไรเช่นนั้น ท่านมีอายุมากเป็นพระ- พหูสูต กระผมควรได้รับความรู้จากท่านมากกว่าที่ท่านจะได้รับ ความรู้จากกระผมนะขอรับ” “ท่านสัตบุรุษ กรุณาอย่าทำ�อย่างนี้ โปรดเป็นที่พึ่งของผม ด้วย” “ท่านขอรับ หากท่านอดทนต่อโอวาทได้จริง ผมจะเป็นที่ พึ่งของท่านเอง” “ได้ ท่านสัตบุรุษ ท่านกล่าวว่า ‘จงเดินเข้ากองไฟ’ ผมก็ จะเดินเข้ากองไฟเดี๋ยวนี้” สามเณรน้อยอรหันต์ทราบดีว่าจีวร ๒ ชั้นที่พระโปฐิละ นุ่งห่มมีราคาแพงมาก ต้องการทดลองว่าท่านจะอดทนต่อโอวาทได้ จริงหรือไม่ จึงชี้ไปที่สระนํ้าแห่งหนึ่งอยู่ใกล้ๆ
  • 23. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 15 “ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มอย่างนี้แหละเดินลงไปสระนํ้านั่น” พระโปฐิละไม่รีรอเดินลงไปสระนํ้าตามคำ�สั่งทันที พอชายจีวร ถูกนํ้าเปียกเท่านั้น สามเณรน้อยอรหันต์ก็กล่าวว่า “พอละ ท่านขอรับ นิมนต์มานี่เถิด” และให้กรรมฐานแก่ พระโปฐิละที่กลับมายืนนิ่งอยู่ “ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่งมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ใน ช่องเหล่านั้น มีตัวเงินตัวทองวิ่งเข้าไปทางช่องใดช่องหนึ่ง คนต้อง การจะจับเอามัน จัดการอุดช่องทั้ง ๕ ขุดจับเอามันจากช่องที่ ๖ ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เหมือนกัน ท่านจงปิดทวาร ทั้ง ๕ เริ่มทำ�กรรมฐานที่ทวารที่ ๖ คือทวารทางใจเถิด” ด้วยคำ�แนะนำ�กรรมฐานเพียงเท่านี้ ความแจ่มแจ้งสว่างโพลง ปรากฏแก่พระโปฐิละทันที “ท่านสัตบุรุษ เพียงเท่านี้ก็เพียงพอละ” ท่านหยั่งญาณลงในกายปรารภสมณธรรม ณ ที่นั้น และได้ บรรลุอรหัตผลสำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ตามที่ยกเรื่องพระโปฐิละเถระนี้มาแสดงเป็นอุทาหรณ์ ต้องการชี้ให้เห็นว่าทิฐิมานะนั้นน่ากลัวมาก มันทำ�อันตรายต่อการ บรรลุธรรมจริงๆ ผู้ที่เต็มด้วยทิฐิมานะจะเดินสวนทางกับมรรค ผล นิพพานทันที ไม่มีทางที่จะพานพบได้เลย ขอให้ท่านผู้เริ่มปฏิบัติลด
  • 24. วิปัสสนาสาธิต 16 มานะละทิฐิก่อนเถิด จะเป็นผลดีต่อตัวท่านโดยตรง และส่งผลดี ต่อพระวิปัสสนาจารย์โดยอ้อม ทำ�ให้ท่านเบาใจบอกสอนได้ด้วย ความสะดวก ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่ กิจกรรมของการปฏิบัติ- ธรรมเป็นกิจกรรมที่ไม่มีความจำ�เป็นต้องใช้อำ�นาจหน้าที่มาสั่ง บังคับ ขอเพียงมีศรัทธาความน้อมใจเชื่อ ฉันทะความพึงพอใจและ วิริยะความพากเพียรก็สามารถมาปฏิบัติธรรมได้ แม้มียศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่สูงสักเพียงใด ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่ นั้นก็ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางปฏิบัติเลย ตรงกันข้ามกลับจะ ขัดขวางความก้าวหน้าของการปฏิบัติ หากยังยึดถือไม่ยอมปล่อย วาง มันจะเป็นตัวเกาะของอัตตา อาศัยยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่ง หน้าที่นั่นเอง อัตตาจึงเติบโตขึ้น ทำ�ให้ดูหมิ่นเหยียดหยามคนที่ ตํ่ากว่า ยกตนข่มคนอื่น และที่สำ�คัญคืออัตตาจะช่วยเสริมแรงให้ แก่ทิฐิมานะเกิดกล้า ปิดกั้นมรรค ผล นิพพาน ขอให้ท่านผู้ที่มี ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่งหน้าที่สูงวางไว้ก่อนเถิด เพื่อการก้าวไปใน ธรรมได้อย่างถูกทาง ความรู้เดิม แม้ผู้เริ่มปฏิบัติผ่านการเรียนรู้ทั้งฝ่ายปริยัติ และปฏิบัติมามากมาย เมื่อจะลงมือปฏิบัติกันจริงๆ ก็ต้องวางไว้ ก่อน อย่านำ�มาทบทวนหรือเทียบเคียงว่าตรงกับข้อนั้นตรงกับข้อนี้ ไม่ตรงกับข้อนั้นไม่ตรงกับข้อนี้ หรือขัดแย้งโต้เถียง ในทางปฏิบัติ ท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติแม้มีตาดีก็เหมือนมีตาบอด แม้มีหูดีก็เหมือน
  • 25. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 17 มีหูหนวก แม้มีลิ้นเจรจาได้ดีก็เหมือนเป็นใบ้ แม้เป็นคนฉลาด ก็เหมือนเป็นคนโง่ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มามัวถกเถียงโต้แย้งแสดงความรู้ เพราะจะนำ�ความฟุ้งซ่านมาให้ ยิ่งจะไถลออกนอกทางการปฏิบัติ ช่วงเวลาของการปฏิบัติ มิใช่ช่วงเวลาของการแสดงความเก่งกาจ หรือวิเคราะห์วิจัยเหมือนทำ�วิทยานิพนธ์ หากแต่เป็นช่วงที่ต้อง ปฏิบัติด้วยการกำ�หนดรู้ดูจริงๆ จนปรากฏเห็นแจ่มแจ้ง มิได้ใช้ กระบวนการทางเหตุผลเข้ามามีส่วนร่วมเลย ดังนั้น ความรู้ต่างๆ ที่ได้รํ่าเรียนมาจึงไม่มีความจำ�เป็น ขอให้ท่านผู้ทรงความรู้วางไว้ ก่อนเถิด เพื่อความสงบในทางปฏิบัติของตัวท่านเอง ทำ�ตัวบางว่าง่าย การปฏิบัติวิปัสสนาเหมือนเดินอยู่บนทาง ที่ไม่เคยเดินมาก่อน ไม่รู้ว่าจะทำ�อย่างไรให้เหมาะแก่สภาวะ หรือ ปรับแก้อย่างไร เมื่อเกิดปัญหาในทางปฏิบัติขึ้น วิปัสสนาจารย์ผ่าน การเดินทางมาก่อน ท่านย่อมรู้ว่าทางนี้เป็นอย่างไร สภาวะนี้คือ อะไร ปฏิบัติถึงตรงนี้ควรเพิ่มกรรมฐานให้อย่างไร เกิดปัญหาขึ้น ควรปรับแก้อย่างไร จะทำ�หน้าที่เหมือนผู้บอกทางให้แก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งกำ�ลังเดินทางอยู่ ขณะที่วิปัสสนาจารย์ทำ�หน้าที่เป็นผู้บอกทาง แต่ผู้เดินทางคือผู้ปฏิบัติกลับทำ�ตัวว่ายาก บอกยาก ดื้อรั้น บอก อย่างหนึ่งแต่ไปทำ�อีกอย่างหนึ่ง เพิ่มกรรมฐานให้ก็ไม่ยอมทำ� ตาม บอกให้แก้อย่างนี้กลับไปแก้อย่างนั้น สร้างความหนักใจแก่ พระวิปัสสนาจารย์ทำ�ให้ท่านไม่อยากบอกอยากสอน กลายเป็น ผลเสียต่อผู้ปฏิบัติเอง แทนที่จะปฏิบัติได้ดีเจริญก้าวหน้า แต่ต้อง
  • 26. วิปัสสนาสาธิต 18 ล่าช้าไปไม่ถึงไหน ความเป็นผู้ว่าง่าย (โสวจัสสตา) จึงเป็นคุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติโดยตรง ว่าง่ายรับฟังด้วยความนอบน้อม ยินดีปฏิบัติ ตามด้วยความเคารพ เรื่องการเตรียมตัวเตรียมใจปฏิบัตินี้ ขอให้ท่านผู้ประสงค์ ปฏิบัติมาเฉพาะตัวกับหัวใจที่สัตย์ซื่อ ไร้มารยาสาไถย ไม่คิดลองภูมิ หรือทดสอบพระวิปัสสนาจารย์ พร้อมประพฤติธรรมอย่างสุจริต (ธมฺมํ สุจริตํ จเร) เมื่อปฏิบัติจนสิ้นสุดเวลาตามที่ตนกำ�หนดไว้ แม้จะเกิดผลอย่างไรก็ไม่นำ�ไปวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดความเสื่อมเสีย ในภายหลัง มิฉะนั้นจะเป็นการมาด้วยกุศล แต่ไปด้วยอกุศล มา เอาบุญ แต่ได้บาปกลับไป.
  • 27. เข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร) พระวิปัสสนาจารย์คือผู้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของผู้ปฏิบัติ คอยบอกคอยสอนแนะนำ�แก้ปัญหา ประคับประคองการปฏิบัติ ให้เจริญก้าวหน้า เหมือนบิดามารดาคอยดูแลรักษาบุตรธิดา หวัง ความเจริญโดยถ่ายเดียว วิปัสสนาจารย์คือผู้มีส่วนสำ�คัญยิ่งต่อ การปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องเคารพยกย่องมอบกายถวายชีวิต ทว่าก่อน จะมอบกายถวายชีวิตให้พร้อมยินดีปฏิบัติตามทุกอย่างก็มีความ จำ�เป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ อย่างถี่ถ้วน คิดดูสิว่า ถึงกับมอบกายถวายชีวิต แสดงว่าบุคคลที่จะ มาเป็นวิปัสสนาจารย์ต้องมีคุณสมบัติเพียบพร้อม มีคาถาแสดง คุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร) ไว้ในปกรณ์วิเสส- วิสุทธิมรรคว่า
  • 28. วิปัสสนาสาธิต 20 ปิโยครุภาวนีโย วตฺตา จ วจนกฺขโม คมฺภีรํ จ กถํ กตฺตา โนจฏฺาเน นิโยชเย ฯ ผู้เป็นที่รัก ๑ น่าเคารพ ๑ น่ายกย่อง ๑ บอกกล่าว ๑ อดทนต่อถ้อยคำ� ๑ ทำ�เนื้อหาให้กว้างขวาง ๑ ไม่แนะนำ�ในทางเสื่อมเสีย ๑ ทั้ง ๗ ประการนี้คือคุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์ (กัลยาณมิตร) ใครเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทั้ง ๗ ประการนี้ มีพุทธดำ�รัสว่า “ดูกรอานนท์ สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตร ย่อมพ้นจากความเกิดนั้น” พระสัมมา- สัมพุทธเจ้านั้นแลคือพระวิปัสสนาจารย์ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทุกอย่าง รองลงมาคือพระมหาสาวก ๘๐ องค์ พระอรหันต์ พระ อนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ปุถุชนผู้ได้ฌาน ผู้ทรง ๓ ปิฎก ๒ ปิฎก ๑ ปิฎก พระภิกษุผู้ชำ�นาญในพระสูตรแม้นิกายเดียว พร้อมอรรถกถา ไม่ถือเอามติของตน (อัตโนมัติ) เป็นประมาณ ปัจจุบันนี้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อม เหมือนในครั้งพุทธกาลหาได้ยากยิ่ง จะทำ�อย่างไร ปัจจุบันเรา มีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย คือ ๑. ฝ่ายปริยัติ ๒. ฝ่ายปฏิบัติ หากได้ พระวิปัสสนาจารย์ผู้พร้อมด้วยปริยัติและปฏิบัติก็ถือว่าเป็นโชค วาสนา ถ้าไม่ได้พระวิปัสสนาจารย์ผู้พร้อมด้วยปริยัติและปฏิบัติ ทั้งสอง ได้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ แต่ขาด ปริยัติก็ยังถือว่าโชคดี แม้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีประสบการณ์ด้าน
  • 29. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 21 การปฏิบัติ แต่ขาดปริยัติก็ยังไม่ได้ ได้พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีภูมิปริยัติ แต่ขาดปฏิบัติก็ถือว่าไม่โชคร้าย ยังพอมีแบบแผนให้ยึดถือปฏิบัติ ตามปริยัตินัย ไม่พาหลงออกนอกลู่นอกทาง มีข้อควรพิจารณาอยู่อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะมีทั้งปริยัติและ ปฏิบัติ พระวิปัสสนาจารย์นั้นอ้างถึงพระพุทธเจ้าหรือพระอาจารย์ ของตนหรือเปล่า หากไม่อ้างถึงพระพุทธเจ้าหรือพระอาจารย์ของ ตนเลย อ้างเอามติของตน (อัตโนมัติ) พูดตามวิธีการของตนหรือ เล่าแต่ประสบการณ์ส่วนตนอย่างเดียว ถือว่าไม่น่าไว้วางใจ เพราะ วิปัสสนาวิธีมีการสืบทอดมาไม่ขาดช่วง ใช่จะปรับเปลี่ยนกันได้ตาม ความชอบใจหรือคิดค้นขึ้นมาใหม่ (วิธีปฏิบัติที่เก่าที่สุดคือวิธีปฏิบัติ ที่ดีที่สุด) ขอให้ผู้ปฏิบัติเลือกผู้ที่พูดตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า และสอนตามแบบแผนของพระอาจารย์ของตน มีพระพุทธเจ้าและ พระอาจารย์ของตนเป็นที่อ้างมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ มอบกาย ถวายชีวิตให้เถิด ก่อนจะมอบกายถวายชีวิตแก่พระวิปัสสนาจารย์ ให้มอบ กายถวายชีวิตแด่พระผู้มีพระภาค ต่อจากนั้นจึงมอบกายถวายชีวิต แก่พระวิปัสสนาจารย์ บางท่านอาจจะเกิดความฉงนว่า เหตุใดต้อง มอบกายถวายชีวิตด้วย ไม่มอบกายถวายชีวิตไม่ได้หรือ การปฏิบัติธรรมเป็นกิจยิ่งกว่ากิจอื่นๆ ไม่มีเพื่อนร่วมทำ� ต้องทำ�เพียงลำ�พังคนเดียว อยู่ในที่สงัด สำ�รวมกาย วาจา ใจ ยืนคน เดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว และกำ�หนดอารมณ์
  • 30. วิปัสสนาสาธิต 22 คนเดียว ต่างจากกิจบางอย่าง เช่น รํ่าเรียนศึกษา มีเพื่อนร่วมชั้น พูดคุยหยอกล้อหัวเราะรื่นเริงกันได้ เมื่อผู้ปฏิบัติอยู่คนเดียวปฏิบัติ ตามลำ�พัง บางครั้งเกิดความตระหนกต่อสถานที่อันเงียบสงัด หรือ เกิดอารมณ์อันน่าหวาดกลัวขึ้นก็สะดุ้งหวาดหวั่นพรั่นพรึง บางคน ถึงกับเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเผ่นหนีออกจากกรรมฐานก็มี หากได้ มอบกายถวายชีวิตแล้วจะไม่เกิดความหวาดหวั่นพรั่นพรึงคลาย ความหวาดกลัวนั้นเสียได้ โดยตระหนักว่า เราได้มอบกายถวายชีวิต แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว ชีวิตนี้เป็นของพระองค์ นอกจากจะคลาย ความหวาดกลัวได้แล้วยังเกิดความโสมนัสอีกด้วย ท่านอุปมาเหมือน ชายคนหนึ่งมีผ้ากาสีเนื้อดีราคาแพงเก็บไว้ เห็นผ้านั้นถูกหนูหรือ แมลงกัดก็เสียใจ แต่ถ้าเขามอบถวายผ้านั้นแก่พระภิกษุไม่มีจีวร แม้ เห็นผ้าของตนถูกตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ เย็บติดกันทำ�เป็นจีวรก็ดีใจ การมอบกายถวายชีวิตต่อพระวิปัสสนาจารย์มีความสำ�คัญ เหมือนกัน เพราะการปฏิบัติธรรมต้องอาศัยพระวิปัสสนาจารย์ คอยบอกคอยสอนแนะนำ�ให้ หากมิได้มอบกายถวายชีวิตก็กลาย เป็นคนที่บอกสอนแนะนำ�ไม่ได้ สิ่งที่ควรรู้ก็ไม่ได้รู้ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ก็ไม่ได้ปฏิบัติ จะทำ�อะไรก็ทำ�ตามความชอบใจ ในที่สุดก็ออกนอกลู่ นอกทาง การมอบกายถวายชีวิตจึงมีความสำ�คัญต่อการปฏิบัติ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องถือเป็นบุรพกิจในเบื้องต้น ยินดีปฏิบัติตาม ไม่ คัดค้านแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อความเจริญในทางปฏิบัติของตนนั่นเอง.
  • 31. ศีล ก่อนจะมอบกายถวายชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคและวิปัส- สนาจารย์ มีธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือการ สมาทานศีล ศีลเป็นเบื้องต้นและเป็นฐานรองรับการปฏิบัติทั้งหมด จะสมบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา ต้องสมบูรณ์ด้วยศีลก่อน ศีลถือ เป็นแหล่งเกิดของสมาธิ อาศัยศีลสมาธิจึงเกิดขึ้น เหมือนบุรุษใช้ ขวานตัดต้นไม้มีพื้นดินเป็นที่เหยียบยืนจึงจะสามารถตัดต้นไม้ได้ ศีลหมายถึงอะไร ศีลหมายถึงการงดเว้น หลีกหลบ ถอย ห่างออกจากความชั่วตํ่าทรามทั้งหลาย ตรงกับคำ�ว่า “เวระมะณี” ในสิกขาบทแต่ละข้อที่ชาวพุทธพากันเปล่งวาจาสมาทานต่อหน้า พระภิกษุว่า “…เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอ
  • 32. วิปัสสนาสาธิต 24 สมาทานสิกขาบทที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดมุสา ดื่มสุราเมรัย” ในลักษณะที่งดเว้น หลีกหลบ ถอยห่างนี้เอง ไปสอดคล้องกับหัวใจของพระพุทธศาสนาข้อแรกคือ สัพพะปา- ปัสสะ อะกะระณัง การไม่กระทำ�ความชั่วทั้งปวง และตรงกับคำ�ว่า “วิรัติ” ในมงคลสูตร ซึ่งแปลว่างดเว้นเหมือนกัน พระอรรถกถาจารย์ ได้ไขความคำ�ว่า “วิรติ” ออกมาเป็น ๓ ประการ คือ ๑. สัมปัตตวิรัติ งดเว้นเรื่องที่มาประจวบเข้าเห็นว่าไม่ควร ละเมิด ๒. สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทานรับเอามาปฏิบัติ ๓. สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นอย่างเด็ดขาด บางคนคำ�นึงถึงสถานะทางชาติตระกูล วุฒิภาวะ และการ ศึกษาของตน ครั้นเจอเรื่องบางประการมาประจวบเข้า ก็ตระหนัก ถึงสถานะนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม งดเว้นเอง โดยไม่ต้องไปรับหรือ สมาทานศีล เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ บางคนทราบดีว่า การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นบาปกรรม ไม่ควรทำ� แต่ต้องการให้ตนตั้งมั่นอยู่ในศีล จึงมาสมาทานสิกขาบทว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าขอเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม รับศีลจากพระภิกษุหรือตั้งใจสมาทานด้วยตนเอง เรียกว่า สมาทานวิรัติ
  • 33. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 25 บางท่านบำ�เพ็ญเพียรจนบรรลุอริยมรรคอริยผลสำ�เร็จเป็น พระอริยบุคคล ศีลจะมาพร้อมกับอริยมรรคอริยผลโดยอัตโนมัติ หลังจากสำ�เร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว จิตที่คิดจะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ย่อมไม่เกิดขึ้นเลย งดเว้นอย่างเด็ดขาด เรียกว่า สมุจเฉทวิรัติ ศีล ตรงตัวจะแปลว่าอย่างไร ศีลแปลว่า “ปกติ” ซึ่งหมาย เอาความปกติทางกาย วาจา ทางกายไม่แสดงอาการทะลึ่งตึงตัง ทะเล้นเล่นหัว มุทะลุดุดันก้าวร้าว ไม่คะนองมือคะนองเท้าทั้งใน ที่ลับที่แจ้ง ทางวาจาไม่พูดปดมดเท็จ ตอแหลตลบตะแลง ไม่กล่าว ส่อเสียด หยาบ เพ้อเจ้อ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ยังรักษาความเป็น ปกติราบเรียบเอาไว้ ไม่กระเทือนไหวไปตามแรงกระทบ ผู้งดเว้น หลีกหลบถอยห่างออกจากความชั่วตํ่าทรามทั้งหลายดำ�รงอยู่ในความ เป็นปกติราบเรียบอย่างนี้ ควรมาปฏิบัติธรรมทำ�สมาธิเจริญปัญญา การสมาทานศีลเพื่อปฏิบัติธรรม ท่านให้สมาทานศีล ๘ เพื่อตัดความยุ่งยากทางร่างกายออกไป ไม่ต้องเกิดความวิตกกังวล จากสามัญศีล ๕ ข้อ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดมุสา ดื่มสุราเมรัย ก็เพิ่มเข้ามาอีก ๓ ข้อ คือ ไม่รับประทานอาหาร ยามวิกาลนับแต่หลังเที่ยงวันจนถึงรุ่งเช้า ไม่ร้องรำ�ทำ�เพลงดูการ ละเล่นดีดสีตีเป่าทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอมประดับประดาตกแต่ง ต่างๆ และไม่นั่งนอนในที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ทั้ง ๓ ข้อที่เพิ่มเข้ามานี้ จะเกื้อกูลต่อการปฏิบัติโดยตรง
  • 34. วิปัสสนาสาธิต 26 การปฏิบัติต้องใช้พลังงานทางกายก็จริง แต่ก็มิได้ใช้มาก เหมือนทำ�งานด้านอื่นๆ เช่น แบกหาม ขนอิฐ ขนดิน เทปูน ก่อฉาบ อาหาร ๒ มื้อถือว่าเพียงพอ รับประทานพอประมาณต่อการดำ�รงอยู่ มิได้รับประทานมากๆ เพื่อความอ้วนถ้วนสมบูรณ์ การรับประทาน อาหารมากจะทำ�ให้เกิดอาการอึดอัดแน่นท้อง ง่วงเหงาหาวนอน รักษาศีลข้อที่ ๖ ได้ ท้องจะว่างปลอดโปร่ง ทั้งไม่เป็นภาระจัดเตรียม แต่ถ้าใครมีปัญหาด้านสุขภาพเป็นโรคกระเพาะต้องรับประทาน อาหารตรงเวลา ไม่สามารถงด ก็ให้สมาทานศีล ๕ รับประทานอาหาร มื้อเย็นได้ แต่ต้องหารับประทานเอง ทางเจ้าหน้าที่ไม่จัดเตรียมไว้ให้ การร้องรำ�ทำ�เพลงทำ�กายให้วิการ หรือดูหนังฟังเพลง ทำ�ให้รื่นเริงเกิดกิเลสอยากฟัง อยากดู อยากชม การปะแป้งแต่งตัว ลูบไล้ของหอม เกิดกิเลสอยากสวย อยากงาม นอกจากจะเป็น โทษปล่อยให้กิเลสไหลเข้ามาแล้ว ยังทำ�ให้สูญเสียเวลาโดยเปล่า ประโยชน์ มิได้อยู่กับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รักษาศีลข้อที่ ๗ ได้ จะป้องกันมิให้เกิดกิเลสดังกล่าว ช่วยให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้น ที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ที่นั่งสูงที่นั่งใหญ่ยัดด้วยนุ่นหรือฟูก สัมผัสนุ่มน่านั่งน่านอน ลงไปนั่งไปนอนหลับแล้วไม่อยากลุกไม่ อยากตื่น เกิดความเมาในการนอน โมหะเข้าท่วมทับ ตื่นขึ้นมาก็ ง่วงซึมอยากจะนอนท่าเดียว ความเพียรย่อหย่อนลงทันที แต่ถ้า นอนบนพื้นเรียบธรรมดามีเพียงเสื่อปูหนึ่งผืน หมอนเล็กๆ หนึ่งใบ
  • 35. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 27 ถึงเวลาตื่นก็ลุกขึ้นทันที ไม่มัวอิดออดอยู่ รักษาศีลข้อที่ ๘ ได้ จะ ป้องกันความเมาในการนอน ช่วยให้ความเพียรเพิ่มขึ้น ศีลปิดโทษและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างนี้ โดยสารัตถะ เราสามารถยกศีลขึ้นมาพิจารณาได้ ๒ ประการ คือ ๑. ศีลทางสังคม (Social Morality) เรียกว่า ศีลภายนอก ๒. ศีลเฉพาะตน (Individual Morality) เรียกว่า ศีลภายใน ศีลทางสังคม เมื่อทุกคนต่างสมาทานปฏิบัติอยู่ในศีลอย่าง สมํ่าเสมอ ไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดมุสา ดื่ม สุราเมรัย ย่อมไม่เกิดการเบียดเบียนทำ�ร้ายซึ่งกันและกัน ไม่เกิด ความหวาดระแวงต่อกันและกัน ก่อให้เกิดสันติภายในกลุ่มคน สังคม ก็ร่มเย็นเป็นสุข ศีลเฉพาะตน เมื่อแต่ละคนสมาทานปฏิบัติอยู่ในศีลอย่าง สมํ่าเสมอ ศีลจะช่วยป้องกันมิให้ละเมิดกิเลสขั้นหยาบๆ ซึ่งก่อให้ เกิดอาสวะ การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ก่อนจะฆ่าก่อนจะลักขโมยก็เกิด โทสจิต โลภจิตขึ้นมา ทำ�การฆ่าลักขโมยอยู่บ่อยๆ กิเลสคือโทสะ และโลภะก็พอกหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้จิตใจหยาบกระด้าง ไม่อาจยัง สมาธิให้เกิดขึ้น ศีลจึงป้องกันกิเลสอาสวะมิให้มาเกาะกุมจิตใจ และ เอื้อให้เกิดสมาธิโดยแท้
  • 36. วิปัสสนาสาธิต 28 โดยจุดมุ่งหมายของการสมาทานศีลเพื่อการเจริญกรรมฐาน จริงๆ นั้น ท่านประสงค์เอาศีลภายใน คือศีลเฉพาะตนนี้ ศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ทั้งหมดล้วนมีความหมาย อยู่ในตัว เพียงแต่เราจะมีปัญญาพิจารณาเห็นหรือเปล่า ถ้าไม่มี ปัญญาสามารถพิจารณาเห็นก็ให้มีศรัทธาสมาทานถือปฏิบัติไปก่อน.
  • 37. เปล่งวาจาสมาทานศีล เมื่อผู้ปฏิบัติรู้ความสำ�คัญของศีลและพร้อมจะสมาทาน ก็นำ�ดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมใส่พานหรือถาดเรียบร้อยน้อมเข้าไป ถวายพระวิปัสสนาจารย์ ถอยกลับมานั่งอยู่ในท่าเทพพนม (ผู้ชาย) นั่งท่าเทพธิดา (ผู้หญิง) กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ประนมมือระหว่างทรวงอกเปล่งวาจาขอสมาทานศีล ดังต่อไปนี้ แบบที่ ๑ คนเดียวกล่าวว่า อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ
  • 38. วิปัสสนาสาธิต 30 ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ สองคนขึ้นไปกล่าวพร้อมกันว่า มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ แบบที่ ๒ คนเดียวกล่าวว่า อะหัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ- เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ- เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามิ สองคนขึ้นไปกล่าวพร้อมกันว่า มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
  • 39. พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ 31 ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ- เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระ- เณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ (แบบที่ ๑ เรียกว่า เอกสมาทาน สมาทานศีลพร้อมกัน เป็นอันเดียว ไม่แยกข้อ หากละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง ศีลจะขาด พร้อมกันหมด แบบที่ ๒ เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน สมาทานเอา ศีลแยกข้อ หากละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง จะขาดเฉพาะศีลข้อนั้น ข้อที่เหลือไม่ขาดด้วย) พระวิปัสสนาจารย์หยิบตาลปัตรมาตั้งบังหน้ากล่าวนำ� ให้ว่า ตาม นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
  • 40. วิปัสสนาสาธิต 32 ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ติสะระณะคะมะตัง นิฏฐิตัง รับว่า อามะ ภันเต ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะมาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมา- ทิยามิ พระวิปัสสนาจารย์กล่าวสรุปศีล ไม่ต้องว่าตาม อิมานิ อัฏฐะสิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
  • 41. เปล่งวาจามอบกายถวายชีวิต ขอกรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติเปล่งวาจาขอสมาทานศีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นั่งในท่าเทพพนม (ผู้ชาย) นั่งในท่าเทพธิดา (ผู้หญิง) ประนมมือ ระหว่างทรวงอกตามเดิม ตั้งใจมอบกายถวายชีวิตขอกรรมฐาน จากพระวิปัสสนาจารย์ โดยเปล่งวาจาว่า อิมาหัง ภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระองค์ อิมาหัง ภันเต อาจริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้แก่ท่าน
  • 42. วิปัสสนาสาธิต 34 นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่ข้าพเจ้า เพื่อกระทำ�พระนิพพานให้แจ่มแจ้ง.
  • 43. วิปัสสนาวิธี เมื่อผู้ปฏิบัติได้เปล่งวาจาขอสมาทานศีล พร้อมกับเปล่ง วาจามอบกายถวายชีวิตต่อพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสนาจารย์ ขอกรรมฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นั่งพับเพียบตั้งใจฟังวิปัสสนา วิธีจากพระวิปัสสนาจารย์ ท่านจะอธิบายและแสดงวิธีปฏิบัติไปตาม ลำ�ดับ วิปัสสนาวิธี คือวิธีปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งสืบทอดกันมาสามารถ สืบสาวไปจนถึงพระพุทธเจ้า วิปัสสนามีนิยามความหมายตามรูป ศัพท์ว่า “อนิจฺจา ทิวเสน วิวิเธหิ อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา เห็นธรรมด้วยอาการหลากหลายอย่างที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า วิปัสสนา” แม้วิปัสสนาจะมีอารมณ์มากมาย แต่ในช่วงเริ่มต้นก็