SlideShare a Scribd company logo
1 of 35
Download to read offline
การเลี้ยงสุนัข 
พันธุ์สุนัข 
1.สุนัขพันธุ์ในกลุ่มกีฬา (Sporting Breeds) 
- สร้างขึ้นสำหรับใช้ในกีฬาล่านก (feather birds) 
2. สุนัขในกลุ่มฮาวด์ (Hound Breeds) 
- สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือดมกลิ่นสะกดรอย (scent) 
3. กลุ่มสุนัขใช้งาน (Working Breeds) 
-สร้างขึ้นสำหรับการใช้งาน เช่น การลากเลื่อน เกวียนบรรทุก(pull carts) หรือ เป็นสุนัขอารักขา 
(guard property) เป็นต้น 
4. สุนัขในกลุ่มที่ใช้คุมฝูงสัตว์ (Herding Breeds) 
- เป็นสุนัขที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายฝูงสัตว์ 
5. สุนัขในกลุ่มเทอร์เรีย (Terrier Breeds) 
- สร้างขึ้นเพื่อการล่าเหยื่อ หรือ สัตว์ที่มาทำลายพืชผลทางการเกษตร เช่น นก หนู เป็นต้น 
6. สุนัขในกลุ่มทอย (Toy Breeds) 
- เป็นสุนัขขนาดเล็ก 
7. สุนัขในกลุ่มทั่วไป (Non-Sporting Breeds) 
- จุดกำเนิดสายพันธุ์ที่ไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มอื่นๆ ได้ 
ชนิดพันธุ์สุนัข 
กลุ่มสุนัขเพื่อใช้ในเกมกีฬา (Sporting Breeds): 
Pointer 
German Shorthaired Pointer , German Wirehaired Pointer 
Retriever 
Golden , Labrador 
Setters - 
English , Irish 
Spaniels - 
American Water , Clumber 
Cocker 
English Cocker ,English Springer
กลุ่มสุนัขฮาวด์ (Hound Breeds): 
Afghan , Basset , Beagle , Black & Tan Coonhound , Bloodhound ,Dachshund , Foxhound , Greyhound , Norwegian Elkhound 
กลุ่มสุนัขใช้งาน (Working Breeds): 
Alaskan Malamute , Boxer , Doberman Pinscher , Great Dane, Great Pyrenees , Komondor, 
Rottweiler , Saint Bernard , Samoyed , Siberian Husky , Standard Schnauzer 
กลุ่มสุนัขเทอร์เรีย (Terrier Breeds): 
Airedale , Border Terrier , Bull Terrier , Dandie Dinmont, Fox Terrier, Skye Terrier, Welsh Terrier , 
กลุ่มสุนัขทอย (Toy Breeds): 
Chihuahua ชิวาวา , Italian Greyhound , Manchester Terrier , Pomeranian , Poodle , Pug , Shih 
Tzu ,Yorkshire Terrier 
กลุ่มสุนัขที่ไม่ใช่สุนัขที่ใช้ในเกมกีฬา (Non-Sporting Breeds): 
Boston Terrier ,Bulldog , Chow Chow , Dalmatian , Lhasa Apso , Poodle 
กลุ่มสุนัขใช้คุมฝูงสัตว์ (Herding Breeds): 
Australian Shepherd , German Shepherd , Old English Sheepdog , Collie , Shetland Sheepdog 
สุนัขพันธุ์ไทย (Thai Breeds) 
พันธุ์ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) , พันธุ์บางแก้ว (Bangkaew) 
การตัดสินใจเลือกสุนัข 
ต้องการแบบไหน 
1. ตัวใหญ่-เล็ก 
2. Active / Quiet 
3. ขนยาว / ขนสั้น 
4. เลี้ยงเพื่ออะไร(ขาย-พันธุ์-เพื่อน) 
5. พันธุ์แท้/ลูกผสม 
6. ราคา
การตัดสินใจเลือกสุนัข 
ควรแน่ใจว่าเหมาะสมกับชีวิตของผู้เลี้ยงสุนัข 
แต่ละตัวต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน 
สุนัขพันธุ์แท้ 
ควรรู้ถึงลักษณะอารมณ์ของสุนัขแต่ละพันธุ์ 
ควรเลือกสุนัขที่มีนิสัยและอารมณ์ที่เข้ากับผู้เลี้ยงได้ 
สุนัขพันธุ์ทาง /ลูกผสม 
สุนัขพันธุ์ทางมักฉลาดและช่างประจบ เหมาะสำหรับการเป็นสุนัขเลี้ยง 
สุนัขพันธุ์ทางมักทนโรค 
ขนาดของสุนัข 
สุนัขขนาดใหญ่และชอบออกกำลังกาย 
สุนัขพันธุ์รอตต์ไวเลอร์ใช้พื้นที่ออกกำลังมาก 
และดุ เจ้าของควรฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งตั้งแต่ยังเล็ก 
สุนัขขนาดเล็กเช่นพันธุ์ชิวาวา เป็นเพื่อนเล่นได้ดี เฝ้ายาม/เห่าเก่ง 
แหล่งหาซื้อสุนัขมาเลี้ยง 
สถานสงเคราะห์สัตว์ 
สุนัขที่นี่สามารถเป็นสุนัขเลี้ยงที่ดีมาก 
แต่บางตัวอาจมีพฤติกรรมอื่นที่ต้องแก้ไข เช่น เจ้าของเดิมละเลยทอดทิ้ง 
ฟาร์มคอกเลี้ยง 
ควรหาจากฟาร์มเลี้ยงสุนัขที่เชื่อถือได้ 
ร้านจำหน่าย 
ไม่ควรซื้อจากร้านที่ไม่ทราบประวัติมาก่อน 
เพื่อน/ญาติ 
ของฟรี vs ของดี
การเลือกลูกสุนัข 
เริ่มดูจากแม่ซึ่งสามารถบอกนิสัยของลูกได้ ลูกสุนัขที่เลือกมาควรมีลักษณะนิสัยที่ร่าเริง อยากรู้อยากเห็น 
ไม่ตึงเครียด ไม่กลัวคนแปลกหน้า บ่งบอกถึงลักษณะความเชื่อมั่นในคัวเอง แต่ถ้าเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป อาจ 
กลายเป็นสุนัขดื้อในอนาคตก็ได้ 
1. ตามีประกายแจ่มใส สีถูกต้องตามลักษณะ ไม่มีขี้ตา รวมทั้งอาการอักเสบระคายเคือง 
2. ใบหูด้านในมีสีชมพูไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสะเก็ดซึ่งอาจเป็นเพราะมีไรหูหรือความผิดปกติอย่างอื่น 
3. ผิวหนังไม่มันเยิ้มหรือแห้งเป็นสะเก็ดสุนัข ไม่มีแผลหรือก้อนนูนที่ผิวหนัง ขนแข็งแรงไม่หลุด 
ร่วงง่าย 
4. เหงือกมีสีชมพูและไม่มีกลิ่น ฟันเรียงตัวสบกันพอดี 
5. บริเวณทวารหนักควรสะอาดและแห้ง ไม่มีลักษณะท้องเสียหรือมีสิ่งผิดปกติออกมาจากอวัยวะ 
เพศ 
6. เมื่อยกสุนัขขึ้นควรรู้สึกหนักไม่ดิ้นรน บ่งบอกว่าเป็นสุนักที่เชื่อฟังคำสั่งที่ดี 
เครื่องใช้ที่จำเป็น 
1. เบาะรองนอน สุนัขส่วนใหญ่มักชอบ 
2. ป้ายชื่อ สุนัขควรมีป้ายชื่อที่ติดปลอกคอพร้อมกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของเจ้าของ 
3. กระดูกเทียม การกัดแทะกระดูกไนลอนเป็นการบริหารกรามและช่วยทำความสะอาดฟันให้สุนัข 
4. ของเล่นยาง ควรเป็นวัสดุที่สุนัขกัดแทะได้เมื่อโยนลงพื้นจะกระดอนได้ กระตุ้นให้สุนัขวิ่งไล่งับ 
5. ของเล่นที่มีเสียง เมื่อสุนัขกัดแทะจะเกดเสียงดัง เป็นการกระตุ้นสัญชาตญาณในการล่าสัตว์ 
6. ขลุมครอบปากสุนัข ป้องกันไม่ไห้สุนัขไปกินสิ่งสกปรก หรือสุนัขดุ 
7. แปรงขนสัตว์สำหรับขนสั้นละเอียด แปรงเหล็ก หวีเหล็กสำหรับขนยาว ควรใช้แปรงที่เหมาะกับ 
สุนัขแต่ละพันธ์ 
8. ชามอาหารและน้ำ สุนัขควรมีชามอาหารของตนเองต้องดูแลอยู่เสมอ อาจเป็นชามที่ทำจากเซรา 
มิกหรือสเตนเลส รองก้นชามด้วยยางป้องกันการลื่น 
9. ปลอกคอและสายจูง สุนัขควรใส่ปลอกคอที่มีป้ายชื่ออยู่ด้วยเสมอ 
การนำเข้าบ้านครั้งแรก 
ควรจำกัดบริเวณที่จะเป็นที่อยู่ของสุนัขและปล่อยให้สำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ในบริเวณนั้นและควรอยู่กับ 
ลูกสุนัขก่อนในระยะแรก ไม่ควรทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใน 2-3 วันแรกควรให้อาหารเดิม 
ที่สุนัขคุ้นเคยแล้วจึงค่อยๆเปลี่ยน
การให้ลูกสุนัขอยู่ในกรงตั้งแต่แรกจะช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากกว่าในห้องโล่งๆและควรหัดให้ถ่าย 
ปัสสาวะบนกระดาษหนังสือพิมพ์ 
ความปลอดภัยภายในบ้าน 
ลูกสุนัขมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น จึงต้องระวังสิ่งที่สามารถทำอันตรายต่อลูกสุนัขได้ โดยการนำสิ่งของที่ 
แตกง่ายและเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย 
สัตว์เลี้ยงอื่นในบ้าน 
กับแมว สุนัขและแมวสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าการพบกันครั้งแรกไม่เป็นลักษณะการข่มขู่ ควรให้แมวได้ 
สำรวจลูกสุนัขขณะที่กำลังหลับอยู่ 
กับสุนัขอื่นในบ้าน สุนัขตัวอื่นมักรู้สึกไม่พอใจเมื่อมีสุนัขตัวใหม่เข้ามา ควรเปิดโอกาสให้สุนัขที่อยู่ก่อน 
ได้สำรวจลูกสุนัขขณะที่กำลังหลับอยู่ 
โภชนศาสตร์สำหรับสุนัข 
ชนิดอาหาร อาหารส่วนใหญ่พลังงานจะใกล้เคียงกันต่างแต่ระดับโปรตีน 
1. อาหารอัดเม็ดแห้ง (Dry) 
ส่วนประกอบมีทั้งจากพืชและสัตว์ 
โปรตีน 23% ไขมัน 9% เยื่อใย 6% 
2. อาหารกึ่งเปียก (Semi-moist) 
ข้าวโพด เศษเนื้อสัตว์ 
โปรตีน 25% ไขมัน 9% เยื่อใย 4% 
3. อาหารกระป๋อง(Canned) 
3.1 ทำจากเศษเนื้อสัตว์เป็นหลักเช่นเนื้อ-กระดูกไก่/โค และ แป้งถั่ว 
โปรตีน 44 % ไขมัน 32% เยื่อใย 4% 
3.2 ทำจากพืชเป็นหลัก ข้าว ข้าวโพด ถั่วและเศษเนื้อสัตว์ 
โปรตีน 30 % ไขมัน 16% เยื่อใย 8% 
โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญ 
สุนัขจะกินเนื้อเป็นอาหาร มีเปอร์เซนต์ของโปรตีนสูง ไขมันพอเหมาะ เยื่อใยเล็กน้อย และคาร์โบไฮเดรต 
แต่แมวจะเป็นสัตว์กินเนื้อ ไม่ยอมกินคาร์โบไฮเดรต 
กรดอะมิโน
ทำไมสุนัขและแมวจึงต้องการโปรตีน ? 
เพราะโปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในการเจริญเติบโต 
กรดอะมิโนที่สัตว์ต้องการมี 22 ตัว สัตว์สังเคราะห์เองได้ 12 ตัว 
และกรดอะมิโนจำเป็น คือ อาร์จินีน ฮีสทิดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมทไทโอนีน ฟีนีลอะละนีน ทรี 
โอนีน ทริปโตเฟน วาลีน และในแมว(ทอลีน) 
สุนัขสามารถสังเคราะห์ทอลีนได้ ทำให้สุนัขสามารถกินอาหารแมวได้ แต่แมวกินอาหารสุนัขไม่ได้ 
ความต้องการโปรตีน 
ความต้องการโปรตีนจะขึ้นกับสปีชีส์ ระยะการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและช่วงอายุสัตว์ ซึ่งสภาพที่สัตว์ 
ต้องการโปรตีนจะประยุกต์เป็นระดับดังนี้ 
ชนิดสัตว์/ระยะการ 
เจริญเติบโต 
เปอร์เซนต์ 
โปรตีน 
เปอร์เซ็นต์ 
ไขมัน 
ลูกสุนัข 
28% 
17% 
สุนัขโต 
18% 
9-15% 
สุนัขการแสดง 
25% 
20% 
สุนัขลากรถเลื่อน 
35% 
50% 
สุนัขที่ให้น้ำนม 
28% 
17% 
ลูกแมว 
30% 
20% 
แมวโต 
25-30% 
15-20% 
สุนัขและแมวที่ตั้งท้องและให้น้ำนม ต้องให้น้ำนมกับลูก ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำนมคือโปรตีน 
ในสัตว์ป่วย สัตว์ไม่แข็งแรงจะมีความต้องการโปรตีนมากเป็นพิเศษ 
สัตว์ที่เป็นโรคไตจะต้องจำกัดปริมาณโปรตีน ซึ่งถ้าสูงไปจะมีผลกระทบต่อไตได้ 
เราสามารถให้สัตว์กินอาหารโปรตีนมากเกินไปได้หรือไม่ 
สัตว์ที่ได้รับโปรตีนมากเกินไปก็จะไม่มีผลเสียอะไร เพราะบางส่วนจะขับถ่ายเป็นปัสสาวะ 
แต่พบว่าอาจมีผลต่อไตทำงานหนักขึ้น
อีกเหตุผลคือด้านการเงิน 
ฉลากอาหารสัตว์ 
การเลือกซื้ออาหารสุนัข 
ซื้ออาหารยี่ห้อดัง/ราคาแพง 
ซื้อให้เหมาะสมกับสุนัข ต้องอ่านฉลากอาหารเป็น 
อาหารสัตว์ที่มีคุณภาพจะย่อยได้ระหว่าง 70-80% 
ถ้าด้อยคุณภาพลงมาอาจมี 60% หรือน้อยกว่า 
ถ้าส่วนประกอบเป็นไก่หรือลูกแพะ เราสันนิษฐานได้ว่าอาหารนี้มีแหล่งที่มาของโปรตีนได้ดี 
ฉลากอาหารสัตว์เลี้ยงบอกอะไรแก่เราบ้าง 
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือราคา การคำนวณราคาต่อน้ำหนักอาหาร 1ปอนด์ หรือราคาอาหารต่อ 1 วัน 
อาหารแห้งจะมีราคาถูกกว่าและมีขนาดถุงใหญ่กว่า 
ซื้ออาหารที่ครบคุณค่าความต้องการของสุนัข 
การดัดแปลงมาตรฐานของวัตถุดิบแห้ง 
อาหารสัตว์เลี้ยงทั้งหมดต่างก็มีระดับของความชื้น 
เปอร์เซนต์ความชื้น จะช่วยเปรียบเทียบราคา ระดับโปรตีนหยาบและไขมันระหว่างยี่ห้อ 
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอาหารแห้งมีความชื้น 10% เราก็จะรู้ว่า 90% เป็นวัตถุดิบ
ดังนั้นระดับโปรตีนได้ 20% จากนั้นเราแยก 20%จาก 90% ของวัตถุดิบแห้ง เราก็จะได้ 22% ของโปรตีน 
โดยประมาณ 
ลองเปรียบเทียบอาหารกระป๋องที่มีความชื้น 80% เราก็จะรู้ว่า 20% เป็นวัตถุดิบแห้ง ถ้าฉลากบอกว่ามี 5% 
ของโปรตีน เราก็ต้องคิด 5% นั้นแยกจาก 20% ของวัตถุดิบแห้ง เราจะได้ 25% โปรตีน 
ของวัตถุดิบแห้ง 
ส่วนประกอบอาหาร 
มีหลายส่วนผสมที่เราไม่ต้องการเลย ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่าประกอบด้วยเนื้อ 
ไก่ ข้าวโพด แป้งเปียกข้าวโพด ข้าวสาลีบด รำข้าว แป้งสาลีและอื่นๆ 
เนื้อที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นเนื้อที่สะอาด ฆ่าโดยตรง ไม่รวมเนื้อวัว แต่จะรวมปอด ม้าม ไต 
สมอง ตับ เลือด กระดูก กระเพาะ ลำไส้ ไม่รวมผม เขา ฟันและกีบ 
o 
พวกเป็ด ไก่ ที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ จะใช้หัว ขา และพวกเครื่องใน แต่ไม่รวมถึงขน 
o 
เนื้อปลา จะใช้ปลาทั้งตัว โดยไม่มีการใส่น้ำมัน 
o 
ไขวัว เป็นไขมันจากวัว 
o 
ข้าวโพดบด เป็นข้าวโพดทั้งหมดหรือแค่เมล็ดที่นำมาบด 
o 
แป้งเปียกข้าวโพด กากที่ได้จากการนำข้าวโพดไปทำน้ำเชื่อมหรือแป้ง 
o 
ข้าวกล้อง เป็นส่วนเล็กๆของเมล็ดข้าวที่แยกออกจากข้าวบดที่มีขนาดใหญ่กว่า 
o 
เมล็ดถั่วเหลือง เป็นส่วนที่เหลือจากการทำน้ำมันถั่วเหลือง 
o 
o 
BHA มาจากคำว่า Butylated Hydroxyanisole , preservative 
o 
Ethoxyguin เป็นวัตถุกันเสียทางเคมีชนิดหนึ่งที่ใส่ในอาหารสุนัข 
วิธีให้อาหาร 
วิธีให้อาหารจะมีอยู่บนถุงและกระป๋องของอาหารสัตว์ 
สัตว์ต้องการเพิ่มอาหารจากระดับกิจกรรม เมตาบอริซึม และสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิต่างกัน รวมถึง 
กรรมพันธุ์ อายุ และความเครียดจากสภาพแวดล้อม 
คำแนะนำข้างถุงจะช่วยระยะแรก ถ้าสัตว์ผอมและหิวให้เพิ่มอาหารให้บ่อยขึ้น
การให้อาหารสุนัขตั้งท้อง(Pregnant) และให้น้ำนม( Lactation) 
สุนัขต้องการอาหารเพิ่มตามอายุตั้งท้อง น้ำหนักจะเพิ่มช่วง 4 สัปดาห์เป็นไป 
ระยะนี้กินเพิ่ม 35-50% 
ระยะเลี้ยงลูก(Whelping) ต้องการอาหาร 3-4 เท่าปกติ 
ภายใน3 สัปดาห์หลังคลอด ลูกสุนัขจะหัดเลีย-กินอาหารกับแม่ ให้พิจารณาหย่านมได้ 
หย่านมเมื่อลูกสุนัขอายุได้ 6 สัปดาห์ 
การให้อาหารลูกสุนัข( Puppies) 
กินอาหารสด-แห้งได้เมื่ออายุ 3 สัปดาห์ 
น้ำนม ไข่ ชีส คืออาหารที่ดี ย่อยง่าย โภชนะเข้มข้นสูง 
ให้กินน้ำนมมากอาจถ่ายเหลว หรือท้องเสียได้หากไม่สะอาด 
ให้อาหารวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน 
ไม่ควรให้กินมากไป จะอ้วนมาก กดรูดผิวหนังข้างซี่โครงหากสัมผัสซี่โครงไม่ได้แสดงว่าอ้วนมาก 
อ้วนมากมีผลต่อการพัฒนาโครงร่างและกระดูก 
การให้อาหารสุนัขโต ( Older dogs ) 
สุนัขโตมีกิจกรรมต่ำลง จึงต้องการอาหารน้อยลง 
เน้นอาหารโปรตีนมากกว่าพลังงานหรือคาร์โบไฮเดรท 
ให้อาหารมื้อเดียว ลดปริมาณอาหารลง 
คำแนะนำด้านอาหารอื่นๆ 
บางคนเชื่อว่าให้ไข่ดิบบำรุงขน ควรให้ไข่ต้ม เพราะไข่ขาวดิบจะขัดขวางการดูดซึม Biotin 
กระดูกหมูต้มท่อนใหญ่ให้ได้ แต่กระดูกไก่ควรงดให้แทะเล่น 
อาหารเม็ดและกระดูกท่อนใหญ่ช่วยลดคราบหินปูน
สัตว์เลี้ยงของเราอ้วนหรือยัง 
สุนัขปกติ 
o สามารถคลำพบกระดูกซี่โครงได้ (โดยไม่ต้องกด) 
o ช่วงท้องต้องแคบกว่าช่วงอกเมื่อมองจากด้านข้าง 
o เห็นช่วงคอดของเอวหลังซี่โครงซี่สุดท้ายเมื่อมองจากด้านบน 
สุนัขอ้วน 
o ต้องออกแรงมากกว่าปกติในการคลำซี่โครง 
o ช่วงท้องขนาดเท่าหรืออ้วนกว่าช่วงอก 
o มีไขมันสะสมที่สะโพก โคนหาง พื้นท้อง 
o ผิวหนังรอบคอและหัวไหล่หนากว่าปกติ 
วิธีการลดความอ้วนสำหรับสุนัข 
o เลือกชนิดของวัตถุดิบในการทำอาหารให้มีไขมันน้อย มีกากใยมาก และเพิ่มปริมาณน้ำในอาหาร 
ให้มากขึ้น 
o ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยกว่าปกติ แต่มาเพิ่มความถี่ในการให้เป็นมื้อมากขึ้น 
ควรให้สุนัขออกกำลังกายมากขึ้น 
การผสมพันธุ์ 
สุนัขจะเป็นสัดครั้งทั่วไปภายใน 6-12 เดือน 
สุนัขเล็กอาจเป็นภายใน 6 เดือน แต่สุนัขใหญ่อาจอายุถึง 2 ปี 
วงรอบการเป็นสัดหนึ่งๆมี 11-13 วัน ประกอบด้วยระยะ Pro estrus, estrus, ovulation 
Pro estrus คือระยะก่อนผสมพันธุ์ สุนัขจะแสดงอาการมีเลือดออก(Menopause ) ให้นับวันที่พบเห็นเลือดออก 
หลังจากนั้นอีก 9 วัน สุนัขจะเริ่มสนใจ ไม่อยู่กับที่ วิ่งหาสุนัขทุกเพศและเป็นที่สนใจของสุนัขเพศผู้ทุกตัวที่เดิน 
ผ่าน อวัยวะเพศบวม มีน้ำเมือกออกมา สุนัขเพศผู้อาจกระโดดขึ้นผสมแต่เขาจะหันหนี ไม่ยอมให้ผสม จะเป็นแบบ 
นี้อยู่นาน 2-3 วัน ( วันที่ 10-11)
ระยะ Estrus คือระยะที่ต่อมาจากช่วงแรก (วันที่ 12-13) เป็นระยะที่จะมีการตกไข่ภายใน 48 ชั่วโมง ( Ovulation ) 
ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องผสมพันธุ์สุนัข สังเกตได้จาก สุนัขจะยืนนิ่งไม่ไปไหน หางยกบิดไปด้านข้างหากมีสุนัขอื่นโดด 
ขึ้นทับ 
หลักการผสมพันธุ์ 
จะขึ้นอยู่กับสุนัขและประสบการณ์เจ้าของ ทั่วไป จะนำสุนัขไปผสมในช่วงวันที่ 10-12 หลังจากเห็น 
เลือดออก บางคนอาจใช้ การผสมสองครั้งคือผสมในวันที่ 10 กับ 12 หรือผสมในวันที่ 11 กับ 13 
ขณะที่สุนัขผสมพันธุ์กัน ตัวผู้ปีนขึ้นผสมอวัยวะเพศ(Penis)ของเพศผู้ตรงโคนอวัยวะ( bulbus glandis ) จะ 
ขยายบวมขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ล็อดอวัยวะเพศของทั้งสองตัวให้อยู่ติดกัน เป็นเรื่องปกติ และสุนัขเพศผู้ 
จะหันลงมาอยู่ในสภาพเดินหันหลังติดกัน แต่โดยพฤติกรรม สุนัขจะเดินหันหน้ามาหากัน เดินไปด้วยกัน ต้อง 
ปล่อยให้เป็นเช่นนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้น ไม่ต้องไปกระตุ้น ห้าม หรือ ช่วยอะไรทั้งสิ้น สุนัขจะใช้เวลาอยู่ติดกันนาน 
15-30 นาทีหรือนานกว่านี้ได้ กว่าจะแยกจากกันได้เอง เมื่อเสร็จก็นำสุนัขกลับบ้าน เพราะปกติจะนิยมนำสุนัขเพศ 
เมียไปหาสุนัขเพศผู้ จะทำให้ผสมได้ง่ายกว่า 
การตั้งท้อง 
สุนัขใช้เวลาตั้งท้องนาน 63 วัน (56-70 วัน) มีอาการกินมาก น้ำหนักเพิ่ม หัวนมเป็นสีชมพูบวมขึ้น จะเห็นการ 
เปลี่ยนแปลงชัดเจนตั้งแต่วันที่ 30 หลังผสมพันธุ์เป็นต้นไป 
กล่องไม้นอนคลอดควรจัดเข้ามาเพื่อฝึกหัดให้รู้จักนอนคลอดในกล่อง ในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนคลอด กล่องควรมี 
กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตัดขาดเป็นเส้นๆรองนอน เพราะช่วยรักษาความอบอุ่นให้ลูกสุนัขได้ดีกว่าผ้า 
ก่อนคลอด 24 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายสุนัขจะลดลง จาก 100.4 F -> 96.8 F แม่สุนัขจะไม่กินอาหารใดๆภายใน 24 
ชั่วโมงนี้ 
ก่อนคลอดเล็กน้อย แม่สุนัขอาจอาเจียน และขับเมือกเขียวๆออกมาก่อน เนื่องจากรกเริ่มแยกตัวจากกัน 
แม่ที่แข็งแรงจะคลอดได้เองไม่ต้องช่วยอะไร 
การคลอด 
แม่จะคลอดถุงรกพร้อมลูกออกมาและแม่สุนัขจะกัดถุงรกเพื่อให้น้ำคร่ำแตกออกและกัดสายสะดือให้ขาด 
จากถุงรก เพื่อให้ลูกหลุดออกมาและหายใจได้เอง ลูกสุนัขหนึ่งตัวจะออกมาพร้อมถุงรกตัวเอง และแม่จะขับสายรก 
ที่ค้างอยู่ภายในให้ออกมาภายหลังคลอดลูกออกมาแล้วเป็นตัวๆไป(เราต้องสังเกตนับ จะได้รู้ว่าคลอดลูกออกมา 
หมดแล้วยัง) แม่จะมีพฤติกรรมกินรกตัวเอง เลียลูกกระตุ้นหายใจ ทำความสะอาดตัวลูก พาลูกมาดูดน้ำนมและให้ 
ความอบอุ่น
หากเราเข้าไปยุ่งอาจโดนกัดหรือขู่ ทำให้เกิดการแย่งลูก อาจเป็นอันตรายต่อลูก ควรปล่อยให้ลูก 
อยู่กับแม่ เพราะการที่ลูกดูดน้ำนมจะกระตุ้นให้ฮอร์โมนออกซิโตซินหลั่งออกมามาก กระตุ้นให้ให้เกิดการคลอด 
ต่อมาง่ายได้ต่อเนื่อง 
การช่วยเหลือ หากเจ้าของจะช่วยคือการทำความสะอาดสายสะดือ และมัดสายสายสะดือลูกสุนัขด้วยด้าย( 
ระยะห่าง 1-2 ซม.จากโคนสะดือ) ใช้น้ำยาทิงเจอร์ไอโอดีนที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปได้เพื่อเช็ดแผลหรือทำความ 
สะอาด และควรเช็ดสะดือลูกสุนัขวันละสองครั้งแต่ให้ระวังแม่จะกัดเพราะหวงลูก ควรถือสำลีเข้าไปทา มากกว่า 
เอาลูกออกมาทายา 
การเล่นและการออกกำลังกาย 
สุนัขทุกเพศทุกวัยทุกขนาดชอบเล่นกับสุนัขด้วยกัน หรือกับคนเลี้ยง 
แต่ถ้าสุนัขไม่มีกิจกรรม จะทำลายหรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์แทน 
ชนิดการออกกำลังกาย 
1. ออกกำลังกายโดยไม่มีสายจูง 
สุนัขพันธุ์แข็งแรงและตื่นตัวอยู่เสมอ เช่น พันธุ์สเปเนียล ชอบออกกำลังกายทุกวัน 
ถ้าสุนัขเชื่องและเป็นมิตรสามารถปล่อยให้วิ่งเล่นโดยไม่มีสายจูงได้ 
2. ออกกำลังกายโดยมีสายจูง 
นอกบริเวณบ้านควรใช้สายจูงกับสุนัข โดยใช้สายจูงปรับความยาวได้ 
3. การเล่นเกมต่างๆ 
การเล่นกับสุนัขเป็นการเน้นความเป็นผู้นำของเจ้าของ 
เพราะสุนัขจะรอให้โยนของเล่นให้ สุนัขจะได้ออกกำลังกายลดความเหงา 
เครียด 
4. การกัดแทะของเล่น 
สุนัขที่มีของเล่นจะสุขภาพจิตดีกว่าสุนัขที่ไม่มีของเล่น 
ของเล่นที่กัดแทะได้จะช่วยฆ่าเวลาของสุนัข ในขณะที่ไม่ได้เล่นกับเจ้าของ
ของเล่นของสุนัข 
สุนัขชอบเล่นกับสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้เช่น ลูกบอล จานร่อน 
โดยการวิ่งไล่งับและนำกลับมาให้เจ้าของ 
ของเล่นยางบางชนิดจะมีเสียงดังเมื่อถูกกัดสุนัขจะชอบเนื่องจากเลียนแบบสัญชาตญาณของการล่าสัตว์ 
เชือกที่ผูกเป็นปมหรือของเล่นสำหรับงับและดึงจะเป็นของเล่นที่เหมาะกับสุนัข ยังช่วยบริหารเหงือกและ 
ฟันของสุนัข 
การฝึกสุนัข 
สุนัขควรเรียนรู้คำสั่งพื้นฐาน 6 คำสั่ง 
ชิด-นั่ง –คอย-ยืน-หมอบ-มา 
รางวัลที่ดีคือ รู้จักคำว่า ‘ดี’ และ’ไม่’ 
ทำดี(ตบไหล่ ทำหน้ายิ้ม เสียงเบานิ่ม) และ ไม่ (ทำหน้าดุๆ เสียงดังๆ) 
การฝึกให้เริ่มทันทีที่มันเข้ามาอยู่ในบ้าน 
ลูกสุนัขต้องเรียนรู้การเรียกชื่อมัน (ตั้งสั้นๆ จำง่าย อย่ายาวมาก) 
ทุกครั้งที่มันทำถูกให้พูด “ดีๆๆ” แต่หากผิด ต้องพูด “ไม่ๆๆ” ทันที ไม่ต้องพูดอย่างอื่นๆ 
ห้ามตี แตะ ในทุกกรณี 
การฝึกนอกบ้าน 
เมื่ออายุได้6 เดือนสามรถเริ่มการฝึกหนักได้แล้ว ฝึกในสายจูง 
ควรฝึกวันละหนึ่งถึงสองครั้งทุกวัน ครั้งละ15- 30 นาที 
อุปกรณ์: โซ่คอ สายเชือกฝึก ครั้งแรกๆควรใส่โซ่ฝึกให้คุ้นเคย1-2 วัน หลังจากนั้นจึงเริ่มใส่สายจูงฝึก 
สายเชือกฝึกหรือโซ่ฝึกจะต้องต่างจากสายจูงเดินเล่น ไม่ใช้ปนกันและ ห้ามใช้สายจูงลงโทษสุนัข จะทำให้ 
กลัว
คำสั่งแรกคือ ชิด ด้วยการเดินจูงสุนัขทางซ้ายมือของผู้ฝึก เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า ชิด พร้อมดึงสายจูง 
ให้สั้นๆเข้าติดใกล้เข่า เป็นการสอนให้สุนัขเดินตามใกล้ๆแต่ไม่ให้เดินล้ำหน้าผู้ฝึก หรือเดินล้อมหน้าหลัง ฝึกเดิน 
ตามไปเรื่อยๆ หากหยุดก็ให้สนุขยืนนิ่งอยู่ข้างๆเข่าเรา หากทำได้ให้กล่าวคำว่า ‘ดี’ หากเดินยังไม่ได้ระเบียบหรือ 
เดินล้ำหน้าให้กระตุกสายจูงและบอกว่า ‘ไม่’ 
คำสั่งสอง คือ นั่ง เมื่อเราพาเดินในสายจูง แล้วหยุดเดิน สุนัขต้องยิ่งนิ่ง จากนั่งออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และ 
กล่าวคำว่า นั่ง พร้อมดึงสายจูงไปข้างหลัง ในครั้งแรกๆหลังดึงสายจูงแล้วให้ใช้มือขวาถือสาย มือซ้ายกดเบาๆที่ 
บั้นท้ายสุนัขกดให้นั่งลง เมื่อมันนั่ง หากทำได้ให้กล่าวคำว่า ‘ดี’ หากยังทำไม่ได้ให้บอกว่า ‘ไม่’ และเริ่มใหม่ ไป 
เรื่อยๆจนสุนัขทำได้ 
คำสั่งสาม คือ คอย เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งและสองได้ดีแล้ว ในท่านั่งให้ออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าว 
คำว่า คอย พร้อมกับใช้มือซ้ายแบออกไปสัมผัสเบาที่หน้าจมูก(ตบเบาๆ) คอย-คอย ดึงสายจูงให้ตึงสูงตลอดเวลา 
และออกทางขวาไปยืนตรงหน้าสุนัข ยังกล่าวคำว่า คอย-ดี สลับกันตลอดเวลา หากยังทำไม่ได้ให้บอกว่า ‘ไม่’ และ 
เริ่มใหม่ ไปเรื่อยๆจนสุนัขทำได้ หากดีปล่อยให้คอยนานถึง 3 นาทีถือว่าสอบผ่าน 
คำสั่งสี่ คือ ยืน เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งและสอง สามได้ดีแล้ว ให้พาจูงเดิน และเมื่อเราหยุดเดินสุนัขจะนั่ง 
ทันทีเพราะคำสั่งสอง แต่เราจะออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า ยืน หากสุนัขจะนั่งให้พาเดินทันที พร้อม 
กล่าวคำว่า ชิด จากนั้นเริ่มหยุดเดินใหม่พร้อมกล่าวว่า ยืน ไปเรื่อยๆ หากสุนัขยืนและทำได้ ให้กล่าวคำว่า ยืน-ดี 
สลับกันตลอดเวลา 
ถึงขณะนี้รอบการฝึกให้ทำซ้ำตามลำดับเป็นเรื่องสำคัญ อย่าทำสลับคำสั่งจะทำให้สุนัขงง หาก 
สุนัขเข้าใจดีแล้วเขาจะทำตามคำสั่งที่ดีได้เองอัตโนมัติ ไม่ต้องไปทดสอบสลับคำสั่งให้งงไปเฉยๆๆจะให้ฝึกยาก 
โดยไม่จำเป็น 
คำสั่งห้า คือ หมอบ เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งถึงสี่ได้ดีแล้ว ให้พาจูงเดิน และเมื่อเราหยุดเดินสุนัขจะนั่งทันที 
หรือสั่งให้นั่ง จากนั้นเราจะออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า หมอบ เสร็จแล้วผู้ฝึกนั่งลงข้างๆใช้มือซ้ายโอบ 
ไหล่ซ้ายสุนัขข้ามไปจับขาซ้าย และมือขวาจับปลายขาขวาดึงไปข้างหน้าค่อยๆช้าๆและออกคำสั่ง หมอบ 
ตลอดเวลา สุนัขจะค่อยหมอบนอนลง (อาจต้องจัดท่าที่จะให้นอนด้วย เช่นนอน หมอบยืดขาหน้าไปข้างหน้า ขา 
หลังคู้ ไม่เช่นนั้นอาจนอนหงาย นอนแผ่) หากสุนัขยังทำไม่ได้ให้เริ่มคำสั่งหนึ่ง สองใหม่หากทำได้ ให้กล่าวคำว่า 
หมอบ-ดี สลับกันตลอดเวลา 
ในขั้นนี้เมื่อสุนัขหมอบได้ดีแล้ว ให้ออกคำสั่งต่อเนื่องคือ คำสั่ง คอย (จะเป็นการหมอบ-คอย) แล้วเรายืน 
ขึ้นดูอยู่ข้าง หากทำได้ ให้กล่าวคำว่า หมอบ-ดี สลับกันตลอดเวลา 
อีกขั้นหนึ่งให้ทดสอบปลดสายจูงและออกสั่ง หมอบ-คอย หากทำได้ดีเราก็กลับมาจูงต่อ
คำสั่งหก คือ มา เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งถึงห้าได้ดีแล้ว ให้พาจูงเดิน และเมื่อเราหยุดเดินสุนัขจะนั่งทันที 
หรือสั่งให้นั่ง-คอย จากนั้นเราเดินออกไปข้างหน้ามัน สองสามก้าว มือยกสายจูงไว้ แล้วออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน 
และกล่าวคำว่า มา หากสุนัขงงให้ดึงสายจูงมาหาตัวสุนัขก็จะเดินมาหาทันที ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อย่าลืมชมเขาทุก 
ครั้ง 
การฝึกภายในบ้าน 
การฝึกขับถ่ายบนกระดาษ 
1. ลูกสุนัขอาจถ่ายทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ในช่วงแรกจะเป็นปัญหาเรื่องการถ่ายเลอะเทอะ 
2. เมื่อลูกสุนัขรู้สึกอยากถ่าย มักจะดมกลิ่นกับพื้นและวิ่งวนไปรอบๆ ให้รีบจับสุนัขไปที่จัดไว้ทันที 
วางสุนัขลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ และการเปลี่ยนกระดาษควรเหลือแผ่นเก่าไว้บ้างเพื่อให้สุนัข 
จำกลิ่นได้ง่ายและกลับมาถ่ายที่เดิมอีก 
3. เมื่อสุนัขถ่ายแล้วเจ้าของควรชื่นชมสุนัข ควรรีบทำความสะอาดโดยน้ำยาฆ่าเชื้อและกำจัดกลิ่น 
อย่าใช้ที่มีแอมโมเนียผสมเพราะจะทำให้สุนัขคิดว่าเป็นกลิ่น 
ปัสสาวะของมันเอง 
การขับถ่ายนอกบ้าน 
1. ฝึกให้สุนัขขับถ่ายเป็นช่วงเวลาจนสุนัขพอใจและเป็นนิสัย 
2. พยายามให้สุนัขขับถ่ายบริเวณที่ห่างจากตัวบ้าน 
3. ปัสสาวะมีลักษณะเป็นกรด อาจทำให้หญ้าตายได้ 
4. ควรเก็บอุจาระสุนัขทันที ไม่พาไปถ่ายหน้าบ้านคนอื่นหรือที่สาธารณะ 
การอุ้มสุนัข 
การอุ้มสุนัขขนาดใหญ่ 
1. ให้ใช้แขนข้างหนึ่งโอบรอบหน้าอก ขณะที่แขนอีกข้างโอบรอบขาหลัง แล้วดึงตัวสุนัขมาติด 
หน้าอก 
2. จับให้มั่นคงแล้วยกขึ้น กรณีสุนัขมีอาการตื่นกลัวควรวางลงก่อน 
การอุ้มสุนัขขนาดเล็ก 
1. ใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าหว่างขาขณะที่อีกข้างโอบรอบขาหลังและสะโพก เพื่อไม่ให้สุนัขบิดตัว 
หรือถีบ
2. ยกสุนัขขึ้นโดยที่มือข้างหนึ่งอยู่รอบหน้าอก และอีกข้างอยู่ที่บั้นท้าย ป้องกันไม่ให้สุนัขกระโดด 
ลงไปได้ 
สังคมสุนัข 
ควรฝึกให้สุนัขอยู่ร่วมกับสุนัขอื่นได้ หรือไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับสุนัขแปลกหน้า การให้สุนัข 
คุ้นเคยกันกับสุนัขอื่นๆตั้งแต่เล็กช่วยให้สุนัขเรียนรู้การเข้าสังคมได้ดีขึ้น หากสุนัข 
เห่าขู่กันใหดุ้ทันที อย่าเสริมส่ง 
การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ 
สุนัขควรได้รับการตรวจร่างกายทุกปี และควรถ่ายพยาธิปีละ 4 ครั้ง รวมทั้ง 
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆครบถ้วน 
การอาบน้ำสุนัข 
สุนัขไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน อาบให้เมื่อสุนัขสกปรกเท่านั้น 
ควรใช้น้ำอุ่นและแชมพูสำหรับสุนัข โดยให้สุนัขยืนในอ่างอาบน้ำ หรือที่พื้นไม่ลื่น 
ก่อนราดน้ำทำความสะอาด ให้จับหัวสุนัขเชิดสูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำเข้าตาและหูของสุนัข 
ให้ราดน้ำหรืออาบหัวและหูเป็นรายการสุดท้ายเพราะสุนัขจะสะบัดขนไล่น้ำหากหน้าตาเปียก 
ล้างแชมพูออกให้หมด เช็ดตัวสุนัขให้แห้ง ให้ระวังสุนัขหนาวสั่น 
สำหรับสุนัขพันธุ์ขนยาวควรเป่าขนให้แห้งก่อนแปรงขน
ขั้นตอนการอาบน้ำสุนัข 
1. 
2. 
3. 
4. 
5. 
6. 
การตัดแต่งขนสุนัข 
การตัดแต่งขนมี 2 แบบ คือ แบบสิงโตอังกฤษและแบบสิงโตคอนติเนนทัล 
สำหรับสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 ปี อาจตัดแต่งขนแบบลูกสุนัข 
สุนัขพันธุ์พูเดิลทั่วไปที่ไม่ได้ส่งเข้าประกวดนิยมตัดแต่งขนในรูปแบบที่เรียบง่ายกว่า 
คือ แบบทรงแกะ 
การดูแลขนสุนัข 
สุนัขพันธุ์ขนยาวต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 
สุนัข พันธุ์ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ หลังจากอาบน้ำแล้ว ควรจะรวบขนไว้เป็นจุดๆ 
จึงแกะขนที่รวบไว้ออกแล้วหวี จะพบว่าขนไม่พันกัน และเรียงตัวเป็นระเบียบ 
สุนัขพันธุ์ขนเรียบ 
ลาซา แอปโซ 
มอลตีส 
ปักกิ่ง 
ชิสุ 
สุนัขที่มีขนเรียบนั้นดูแลง่าย แปรงขนให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอแล้ว 
ขั้นแรกควรใช้แปรงยางแปรงย้อนขน เพื่อขจัดขนที่หมดอายุและสิ่งสกปรก
แล้วแปรงตามขนอีกครั้ง 
ถ้าอยากให้สุนัขมีขนเงางามก็ให้ใช้ผ้าชามัวร์ขัดขนอีกครั้ง 
สุนัขพันธุ์ขนสั้น 
บาสเซต ฮาวนด์ 
บูล เทอร์เรียร 
บีเกิล 
 
สุนัขที่มีขนสั้นจะดูแลจะดูแลไม่ยากนัก ให้ใช้แปรงสลิกเกอร์แปรงขนไม่ให้พันกันก่อน 
แล้วใช้แปรงขนสัตว์แปรงขจัดขนที่หมดอายุและสิ่งสกปรกบริเวณหางและขา 
ควรใช้หวีซี่ละเอียดแปรงซ้ำอีกครั้ง 
และใช้กรรไกรเล็มขนที่ไม่เป็นระเบียบออก 
สุนัขพันธุ์ขนแข็ง 
สุนัขที่มีขนแข็งและหนานี้ต้องดูแลเป็นพิเศษ 
ควรแปรงขนให้ทุกวัน เพื่อไม่ให้ขนพันกัน 
และไม่ควรใช้ครีมปรับสภาพขน เพราะจะทำให้ขนนิ่ม 
เจ้าของต้องหมั่นดูแลถอนขนให้สม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3-4 เดือน
การตัดแต่งขนสุนัขตามแฟชั่น 
มีข้อดีตรงที่ดูแลขนสุนัขไปด้วย เพราะสุนัขจะได้รับการดูแลขนอย่างสม่ำเสมอ 
ช่วยไม่ให้ขนพันกัน โดยเฉพาะสุนัขที่มีขนยาวจะช่วยไม่ให้สุนัขร้อน 
หากไม่ชอบตัดแต่งขนสุนัขก็ควรเล็มขนให้ทุก 6-8 สัปดาห์ 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งขน 
หวีฟันถี่และห่างชนิดโลหะ 
แปรง กรรไกรตัดเล็บ 
การจัดการทั่วไป 
การป้อนยา 
สุนัขที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บอาจจำเป็นต้องได้รับยาที่สัตวแพทย์สั่งจ่ายให้การป้อนยาสุนัขต้องทำอย่าง 
นุ่มนวล 
ทั้งนี้การหย่อนยาลงในชามอาหารของสุนัขไม่ได้รับประกันว่าสุนัขจะกิน 
ยานั้นเข้าไปด้วย 
จงอย่าเรียกสุนัขให้มาหาคุณเพื่อเพียงป้อนยา ควรเข้าไปหาสุนัขเอง 
การป้อนยาเม็ด 
1. สั่งให้สุนัขนั่ง ใช้มือข้างหนึ่งเปิดปากสุนัขอย่างนุ่มนวล โดยจับปากสุนัข 
จากด้านบน 
2.ใช้มืออีกข้างหนึ่งหย่อนเม็ดยาลงไปในคอให้ลึกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยให้วางอยู่เหนือโคนลิ้นส่วน 
ที่โป่งขึ้นมา
3.ใช้มือจับปากสุนัขให้ปิด และจับหัวให้เงยขึ้นช้า ๆ แล้วลูบคอลงมาด้วยมืออีกข้าง 
หนึ่ง 
4.เมื่อสุนัขกลืนยาและเลียริมฝีปาก แสดงว่าการป้อนยาเสร็จเรียบร้อย และจงชม 
สุนัขทุกครั้งที่กินยาสำเร็จ 
การป้อนยาน้ำ 
วิธีการป้อนยาน้ำที่ถูกต้องและได้ผลดี คือ การใช้หลอดฉีดยาเป็นอุปกรณ์ช่วย 
ป้อน ถ้าสุนัขไม่ยอมกลืนยาเม็ด คุณอาจนำยาเม็ดไปบดและผสมกับน้ำหวาน 
และฉีดยาน้ำเข้าไปตรงข้างปาก ทั้งนี้ยาน้ำแก้ไอก็สามารถป้อนด้วยหลอดฉีด 
ยาได้เช่นกัน 
การหยอดหู 
1.จับหัวสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ และเปิดหู 
สุนัขขึ้น แล้วสอดปลายขวดยาหยอด 
หูไปในทิศทางปลายจมูกสุนัข 
2.อย่าให้สุนัขสะบัดศีรษะ 
แล้วนำขวดยาออกมาจากหู 
และพับหูกลับลงมาใน 
ตำแหน่งปกติ 
3.ใช้มือนวดคลึงหูสุนัขอย่างนุ่มนวล 
วิธีนี้จะช่วยให้ตัวยากระจายไปทั่วหู
การหยอดตา 
1.ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ 
ดวงตา โดยใช้สำลีชุบน้ำเช็ด 
คราบขี้ตาและสิ่งสกปรก 
ออกไปให้หมด 
2.ควบคุมสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ อย่างนุ่มนวล 
ให้สุนัขลืมตากว้าง แล้วนำขวดยามา 
หยอดตาจากด้านบนและด้านหลังเพื่อ 
ไม่ให้สุนัขหวาดกลัว 
3.บีบขวดยาให้ได้จำนวนหยด 
ยาลงสู่ดวงตาตามที่ต้องการ 
และให้ตาชุ่มไปด้วยยา 
การดูแลบาดแผลเบื้องต้น 
การดูแลบาดแผลปิด 
1.ถ้าสุนัขมีบาดแผลปิดให้ประคบบาดแผลให้เร็วที่สุด โดยให้นำผ้าขนหนูผืนเล็กๆมาวางเหนือบาดแผล 
ด้วย (เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าประคบแผลแข็งตัวติดผิวหนัง) จากนั้นนำน้ำแข็งมาวางทับไว้ 15 นาที 
2.สุนัขอาจกระดูกหัก และต้องได้รับการรักษาจากสัตวแพทย์โดยด่วน 
การนำผ้าเย็นประคบบาดแผลมาวางบนบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ จะช่วยลด 
อาการปวดและการบวม อย่างไรก็ตามถ้าสุนัขปวดบาดแผลมาก ให้เลิก 
ประคบแผล 
อาการของบาดแผลเปิด 
บาดแผลเปิดต้องได้รับการทำความสะอาดให้ทั่วเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ต้องตรวจสอบบาดแผลเปิดให้ดี 
เพราะถ้ามีเลือดออกเล็กน้อยหรือไม่มีเลือดออกเลย บาดแผลอาจจะเห็นไม่ชัด 
อาการของบาดแผลเปิดมีดังนี้: 
สุนัขเลียหรือให้ความสนใจส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมากผิดกติ
มีสะเก็ดแผลใหม่ๆที่ผิวหนัง 
ผิวหนังมีรูทะลุ 
มีรอยเลือดบนผิวหนัง 
เดินกะเผลก 
ถ้าพบอาการข้างต้น ควรหาบาดแผลเปิด หากพบบาดแผลจง 
ทำความสะอาด และนำไปหาสัตวแพทย์ 
การดูแลบาดแผลเปิด 
1.ถ้าสุนัขมีบาดแผลเปิดและไม่ใหญ่มาก ให้ดึงสิ่งสกปรก 
ต่างๆกรวดเสี้ยน และวัตถุแปลกปลอมใดๆโดยใช้นิ้วหรือ 
ปากคีบ 
2.ล้างบาดแผลด้วยน้ำเกลืออ่อนๆ น้ำสะอาดหรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ 
3.ถ้าขนสุนัขเข้าไปอยู่ในบาดแผล ตัดขนรอบๆปากแผลให้เกลี้ยง แต่ก่อนจะตัดขน ให้หล่อเลี้ยงกรรไกรด้วยสาร 
หล่อลื่นที่ละลายน้ำได้ วิธีนี้จะช่วยให้ขนมาติดที่กรรไกร โดยไม่ไปติดบาดแผล 
โรคที่สำคัญในสุนัข 
โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข 
มีรายงานพบว่าสุนัขทุกอายุ ทุกเพศและทุกพันธุ์สามารถเป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่ 
รุนแรงที่ทำลายระบบทางเดินอาหาร เม็ดเลือดขาว และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ 
เกิดจากการติดเชื้อพาโวไวรัส (parvovirus: CPV)ปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า โรคติดเชื้อพาโวไวรัสใน 
สุนัข หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อ (canine parvoviral infection) ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้ง 
ประเทศไทยด้วย 
การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถแพร่กระจายจากสุนัขตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การติดต่อมีโอกาสมากขึ้นเมื่อ 
สุนัขไปอยู่รวมกันมาก 
เราจะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัส 
อาการเริ่มแรกของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสคือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง อุณหภูมิ 
ของร่างกายอาจจะสูงขึ้น อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข มีค่าประมาณ 101º - 102ºF
อาการป่วยพบได้ประมาณ 5-7 วัน ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว) อุจจาระของสุนัขจะมี 
ลักษณะเหลวมีสีออกเทา หรือเหลืองเทา (yellow-gray) ในบางครั้งอาการแรกเริ่มสุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือด 
ปนออกมาได้ 
เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายอย่าง 
รวดเร็ว 
สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาลจนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่ง 
จนตายได้ 
ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้นและสามารถฟื้นตัวจากการป่วย 
ได้ อาการป่วยมักพบว่า ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต 
สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ ลูกสุนัขมักจะตายด้วย 
ภาวะช๊อค 
โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 
5 เดือนมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูง 
การฉีดวัคซีนกันช่วยลด อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อ 
ลูกสุนัขช่วงระหว่างหย่านม (1 เดือน)ถึงอายุ 6 เดือนเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค 
สุนัขบางพันธุ์จะแสดงอาการป่วยที่มีความรุนแรงในบางสายพันธุ์ เช่น ร๊อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมนพิ้น 
เชอร์ 
การป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข 
การป้องกันโรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยปกติใน 
ลูกสุนัขมักจะเริ่มต้นฉีดเมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ 
กรณีที่สุนัขที่เลี้ยงเกิดป่วยติดเชื้อพาโวไวรัส ต้องทำความสะอาดบริเวณกรง หรือคอก หรือที่อยู่ของสุนัข 
ป่วย 
ฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อ พวกสารละลายโซเดียมไฮโดรคลอไรต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อที่มีใช้อยู่ 
ในบ้าน อยู่แล้ว(ยาทำความห้องน้ำ ครัว) อย่าลืมว่าเชื้อพาโวไวรัสนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมได้ 
เวลานานเป็นเดือนๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนควรระมัดระวังอย่างยิ่ง สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายของสุนัข 
ควรกำจัดทิ้งให้เร็วที่สุดไม่ควรกัก หมักหมมไว้ 
ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรากำลังจะป่วยด้วยการติดเชื้อพาโวไวรัส หรือโรคลำไส้อักเสบหรือไม่ ควร 
ปรึกษาสัตวแพทย์ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพาโวไวรัสที่ดีที่สุดคือป้องกันสุนัขไม่ให้ไปสัมผัสกับ 
สุนัขอื่นๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้ 
เจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้ 
พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย 
• 
สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ 
• 
ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ 
• 
พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน หรืออ่อนเพลีย 
• 
พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก 
• 
มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ 
• 
พยาธิหนอนหัวใจ 
ชีพจักรของพยาธิหนอนหัวใจของสุนัขเริ่มต้นเมื่อสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งจะมีตัวอ่อน 
ของพยาธิหนอนหัวใจอยู่ในกระแสเลือด (microfilariae) ถูกยุงดูดกินเลือด ทำให้ยุงได้รับเอาตัวอ่อนของพยาธิ 
หนอนหัวใจไปด้วยเมื่อดูดกินเลือดสุนัขป่วยเป็นอาหาร 
หลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะใช้ระยะเวลาภายหลังจากถูกดูดกินจากตัวสุนัข 
ประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อในตัวยุง 
เมื่อยุ่งมีการดูดกินเลือดของสุนัขอีกครั้ง โดยเฉพาะสุนัขที่มีสุขภาพปกติ (ไม่ได้ป่วยเ 
ถ่ายเทตัวอ่อนระยะติดต่อที่ได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วในยุงไปยังสุนัขอีกตัวหนึ่ง จากนั้นตัวอ่อน 
ระยะติดต่อจะชอนไชไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของสุนัข และเจริญเติบโตต่อไปอีก 2-3 เดือนและพัฒนาเป็น 
ตัวแก่ในที่สุดในหัวใจของสุนัขตัวใหม่ 
เมื่อตัวพยาธิอยู่ในหัวใจของสุนัข และมีการเจริญเติบโตในหัวใจของสุนัข มันจะมีขนาดยาวประมาณ 
14 นิ้ว และทำความเสียหายให้กับเนือ้เยื่อหัวใจ เนื้อเยื่อปอดและอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ถ้าสุนัขป่วยไม่ได้ 
รับการรักษา การพัฒนาของโรคจะมีความรุนแรงมากขึ้นและที่สุดสุนัขจะตายได้
โรคพิษสุนัขบ้า 
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง ทำให้คนหรือสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ต้องตายด้วยความทุรนทุ 
ราย 
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เรบีส์ไวรัส 
สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิดโดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว ควาย ม้า หมู ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ 
ค้างคาว คน ฯลฯ สัตว์ที่พบว่าเป็น โรคพิษสุนัขบ้า มากที่สุด คือ สุนัข ( 96 % ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัย 
ในห้อง -ปฏิบัติการ ) รองลงมา คือ แมว ( 3% ) 
การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คน 
โดยการได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายสัตว์ เข้าทางบาดแผลที่เกิดจากการถูกกัด ข่วน หรือถูกเลียบริเวณ 
บาดแผลที่มีอยู่เดิม หรือได้รับเชื้อเข้าทางเยื่อตา เยื่อปาก 
คนถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะแสดงอาการ 
ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนกระทั่งปรากฏอาการ หรือระยะฟักตัวจะกินเวลาตั้งแต่ 7 วัน ถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับ 
ลักษณะบาดแผลและบริเวณที่ถูกกัด 
ถ้าถูกกัดบริเวณใบหน้าหรือใกล้สมองและบาดแผลฉกรรจ์ ระยะฟักตัวจะเร็ว 
ถ้าถูกกัดบริเวณขา ระยะฟักตัวนานกว่า เพราะเชื้อจะเดินทางมาถึงสมองโดยเฉลี่ยประมาณ 2 - 6 อาทิตย์ 
อาการของผู้ปว่ยโรคพิษสุนัขบ้า 
มี 2 แบบ คือ แบบก้าวร้าว ดุร้าย และแบบอัมพาต อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 
ระยะอาการเริ่มแรก อาจมีอาการไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอคล้าย 
เป็นหวัด อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง และที่พบบ่อย คือ อาการคัน เสียว หรือชาบริเวณแผลที่ถูกกัด 
ระยะอาการทางระบบประสาท อาจคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กลัวน้ำ กลัวลม ความรู้สึกไวกว่าปกติ ทุรนทุราย หรือมี 
อาการซึม เป็นอัมพาต น้ำลายไหลต้องบ้วนทิ้ง กลืนน้ำไม่ได้ 
ระยะสุดท้าย ไม่รู้สึกตัว หายใจกระตุก ผู้ป่วยส่วนมากมักจะตายภายใน 7 วัน หลังจากเริ่มแสดงอาการ 
ถ้าเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนในสมองมาก ก็จะแสดงอาการแบบคลุ้มคลั่ง ดุร้าย แต่ถ้าเชื้อ ไวรัสเพิ่มจำนวนมาก 
ในไขสันหลัง จะแสดงอาการอัมพาต
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข 
แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจนและพบบ่อย และแบบซึมซึ่งแสดงอาการไม่ชัดเจน อาการของโรคมี 3 ระยะ 
คือ 
ระยะอาการเริ่มแรก สุนัขจะมีนิสัยแปลกไปจากเดิม ตัวที่เคยขลาดกลัวจะเข้ามา คลอเคลีย ตัวที่เคยเชื่องชอบเล่น จะ 
หงุดหงิด หลบไปตามมุมมืด เงียบ กินอาหารและน้ำน้อยลง ระยะนี้มีอาการ 2 - 3 วัน จะเข้าสู่ระยะที่ 2 
ระยะตื่นเต้น จะมีอาการทางประสาท มีความรู้สึกไวกว่าปกติกระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่อยู่นิ่ง กัดแทะสิ่งของ ตัวแข็ง 
ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ม่านตาขยาย บางตัววิ่งพล่านไปทั่ว เมื่อพบสัตว์หรือคนขวางหน้าจะกัด ส่งเสียงเห่า 
หอน ในระยะที่แสดงอาการแบบซึมอาจไม่แสดงอาการเช่นนี้ แต่เมื่อถูกรบกวนอาจกัด ต่อมา กล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง ทรงตัว 
ไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ได้ บางตัวชักกระตุก อาการระยะนี้พบได้ 1 - 7 วัน จึงจะเข้าระยะสุดท้าย 
ระยะอัมพาต เกิดอาการอัมพาตลามทั้งตัวเริ่มจากขาหลัง ต่อมากล้ามเนื้อคอจะเป็นอัมพาต กลืนอาหารไม่ได้ ระบบหายใจ 
ล้มเหลวและตายในที่สุด รวมระยะเวลาเริ่มแสดงอาการจนตายประมาณ 10 วัน 
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในแมว 
ในระยะที่มีอาการชัดเจน แบ่งได้เป็น 3 ระยะ เช่นกัน คือ 
ระยะอาการนำ มีอาการหงุดหงิด นิสัยเปลี่ยนไป ชอบหลบซุกในที่มืด ระยะนี้มักสั้น ไม่เกิน 1 วัน 
ระยะตื่นเต้น แสดงอาการดุร้าย กัด หรือข่วนคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้ กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล กลืนลำบาก ระยะนี้กิน 
เวลาประมาณ 2 - 4 วัน 
ระยะอัมพาต เริ่มเป็นอัมพาตจากขาหลัง แล้วลามมายังลำตัว ขาหน้าและหัว จนทั่วตัวอย่างรวดเร็ว แล้วถึงแก่ความตาย 
อาการในแมวมักไม่ชัดเจน อาจเป็นแบบซึม มีระยะตื่นเต้นสั้นมาก หรือไม่แสดงอาการเลย อาจพบว่ากินอาหารและน้ำลำบาก แล้ว 
เป็นอัมพาตลามไปทั่วตัว ตายในเวลา 3 - 4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ 
เมื่อถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดควรทำอย่างไร 
1. รีบล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผล ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้น 
แผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น 
2. เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ควรใช้สารละลายโพวีโดนไอโอดีน เช่น เบตาดีน ถ้าไม่มี อาจใช้แอลกอฮอล์ 70 % หรือทิงเจอร์ 
ไอโอดีน 
3. ไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3 - 4 วัน ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้ 
4. กักสัตว์ไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติอย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์ดุร้าย กัดคนและสัตว์อื่น 
หรือไม่สามารถกักสัตว์ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไป ให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า 
5. รีบไปพบแพทย์ทันที หลังจากถูกสัตว์กัด เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน อย่ารอจนกระทั่งสัตว์ที่กัดตาย อาจพิจารณาให้การ 
ป้องกันบาดทะยัก และยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย 
6. พบสัตว์แพทย์ กรมปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสัตว์ เช่น ชนิดสัตว์ สี เพศ พันธุ์ 
อายุสถานที่ถูกกัด เพื่อวางมาตรการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป 
7. เมื่อสัตว์ตาย ตัดหัวส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า 
8. ต้องซักประวัติโดยละเอียดและส่งไปพร้อมซากสัตว์เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สัมผัสโรค 
ความเชื่อเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 
ในปัจจุบัน แม้ว่าคนจะตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าน้อยลง เนื่องจากคนมีความรู้มากขึ้น วัคซีนมีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย 
มากขึ้น ราคาถูกและหาได้ง่ายขึ้น รวมทั้งวัคซีนสัตว์ด้วย ประการสำคัญ รัฐได้ให้ความสนใจต่อการป้องกันและกำจัดโรคนี้อย่าง
จริงจัง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า เพราะความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะ 
เกี่ยวกับการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า 
ความเชื่อ 
ความจริง 
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในหน้าร้อนเท่านั้น 
โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ทั้งปี เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดย 
ได้รับเชื้อจากน้ำลายสัตว์ป่วย ไม่ใช่เกิดเพราะความเครียดเนื่องจาก 
ความร้อน 
เมื่อถูกสุนัขกัดต้องใช้รองเท้าตบแผล 
หรือใช้เกลือขี้ผึ้งบาล์มหรือยาฉุนยัดลง 
ในแผล 
การใช้รองเท้าตบแผล จะทำให้แผลช้ำ เชื้อกระจายไปรอบบริเวณ 
แผลได้ง่ายและอาจมีเชื้อโรคอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของบาดแผล 
หรือเกิดบาดทะยักได้ เกลือหรือยาฉุน อาจมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ ไม่ 
ควรใส่ลงในแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อ 
ช่วยล้างเชื้อออก แล้วใส่ยาใส่แผล เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือ 
แอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ 
การรดน้ำมนต์ช่วยรักษาโรคพิษสุนัขบ้า 
ได้ เมื่อถูกสุนัขกัด การฆ่าสุนัขนั้นให้ 
ตายแล้วนำตับสุนัขมารับประทาน คน 
จะไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า 
การรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ที่ได้ผลดีที่สุด คือ ได้รับการฉีด 
วัคซีนทันทีเมื่อสัมผัสโรค เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค แต่ถ้า 
ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ปล่อยให้เชื้อเข้าสู่สมองจนถึงขั้นแสดงอาการ 
ของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ไม่มียาใด ๆ รักษาได้ เนื่องจากเชื้อไปทำลาย 
สมอง ทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการคลุ้มคลั่งและตายในที่สุด เนื่องจาก 
กล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นอัมพาต ดังนั้น การรดน้ำมนต์ไม่สามารถรักษา 
โรคพิษสุนัขบ้าได้ 
เมื่อถูกสุนัขบ้ากัด การตัดหู ตัดหางสุนัข 
นั้น จะช่วยให้สุนัขไม่เป็นโรคพิษสุนัข 
บ้า 
สุนัขหรือสัตว์อื่นที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด หากไม่เคยฉีด 
วัคซีนมาก่อน ควรทำลายทิ้ง แต่หากต้องการรักษาชีวิตสัตว์นั้นไว้ 
ควรฉีดวัคซีนทันที แล้วกักสัตว์ไว้ดูอาการ อย่างน้อย 6 เดือน หรือขอ 
คำแนะนำจากสัตวแพทย์ 
คนท้องไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ 
สุนัขบ้า 
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปัจจุบัน มีความปลอดภัยสูง ฉีดได้แม้ 
ในคนท้อง 
สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการดุ 
ร้าย ตัวแข็ง หางตกเท่านั้น 
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข มีทั้งแบบซึมและแบบดุร้าย แบบซึม 
สุนัขจะหลบซุกตัวในมุมมืด ถ้าถูกรบกวนอาจจะกัด ต่อมาจะเป็น 
อัมพาต แล้วตาย บางตัวอาจแสดงอาการคล้ายกระดูกหรือก้างติดคอ 
ทำให้เจ้าของเข้าใจผิดพยายามล้วงปากสุนัข เพื่อหาเศษกระดูก จึงไม่ 
ควรล้วงคอสุนัข หากจำเป็น ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง 
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในสุนัขเท่านั้น 
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นได้ในสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่ 
พบมากที่สุดในสุนัข 
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดรอบสะดือ 14 
เข็ม หรือ 21 เข็ม ถ้าหยุดต้องเริ่มต้น 
ใหม่ 
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบัน มีคุณภาพดี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 
แขนหรือใต้ผิวหนัง เพียง 5 เข็ม และไม่ต้องฉีดทุกวัน
โปรแกรมวัคซีน 
วัคซีน 
ช่วงอายุ 
โรคหวัดและหลอดลมอักเสบ 
ติดต่อ 
(Kennel Cough Syndrome) 
4-6 สัปดาห์ 
กระตุ้นซ้ำที่ 10-14 สัปดาห์ 
โรคลำไส้อักเสบติดต่อ 
(Canine Parvovirus) 
4-6 สัปดาห์ 
กระตุ้นซ้ำที่ 10-14 สัปดาห์ 
โรคไข้หัด ตับอักเสบและเลพโต 
สไปโรซิส (Canine Distemper, 
Infectious Hepatitis and 
Leptospirosis) 
14-6 สัปดาห์ 
กระตุ้นซ้ำที่อายุ 10-14 สัปดาห์ 
โรคพิษสุนัขบ้า 
(Rabies) 
12 สัปดาห์ 
กระตุ้นซ้ำที่อายุ 6 เดือน 
ควรงดการอาบน้ำ 7 วันหลังการฉีดวัคซีน 
o 
ควรถ่ายพยาธิเมื่อลูกสุนัขอายุ 3-4 สัปดาห์ และทุก 6 เดือน 
o 
o
การเลี้ยงสุนัข Note2
การเลี้ยงสุนัข Note2
การเลี้ยงสุนัข Note2
การเลี้ยงสุนัข Note2
การเลี้ยงสุนัข Note2
การเลี้ยงสุนัข Note2
การเลี้ยงสุนัข Note2

More Related Content

Similar to การเลี้ยงสุนัข Note2

การเลี้ยงสุกรขุน4
การเลี้ยงสุกรขุน4การเลี้ยงสุกรขุน4
การเลี้ยงสุกรขุน4somkiat35140
 
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์PongsaTorn Sri
 
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์boomboom58
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่kasamaporn
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่kasamaporn
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่kasamaporn
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่kasamaporn
 

Similar to การเลี้ยงสุนัข Note2 (9)

การเลี้ยงสุกรขุน4
การเลี้ยงสุกรขุน4การเลี้ยงสุกรขุน4
การเลี้ยงสุกรขุน4
 
งานSh
งานShงานSh
งานSh
 
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
 
Dog
DogDog
Dog
 
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่
 
อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่อาหาร 5 หมู่
อาหาร 5 หมู่
 

การเลี้ยงสุนัข Note2

  • 1. การเลี้ยงสุนัข พันธุ์สุนัข 1.สุนัขพันธุ์ในกลุ่มกีฬา (Sporting Breeds) - สร้างขึ้นสำหรับใช้ในกีฬาล่านก (feather birds) 2. สุนัขในกลุ่มฮาวด์ (Hound Breeds) - สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือดมกลิ่นสะกดรอย (scent) 3. กลุ่มสุนัขใช้งาน (Working Breeds) -สร้างขึ้นสำหรับการใช้งาน เช่น การลากเลื่อน เกวียนบรรทุก(pull carts) หรือ เป็นสุนัขอารักขา (guard property) เป็นต้น 4. สุนัขในกลุ่มที่ใช้คุมฝูงสัตว์ (Herding Breeds) - เป็นสุนัขที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายฝูงสัตว์ 5. สุนัขในกลุ่มเทอร์เรีย (Terrier Breeds) - สร้างขึ้นเพื่อการล่าเหยื่อ หรือ สัตว์ที่มาทำลายพืชผลทางการเกษตร เช่น นก หนู เป็นต้น 6. สุนัขในกลุ่มทอย (Toy Breeds) - เป็นสุนัขขนาดเล็ก 7. สุนัขในกลุ่มทั่วไป (Non-Sporting Breeds) - จุดกำเนิดสายพันธุ์ที่ไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มอื่นๆ ได้ ชนิดพันธุ์สุนัข กลุ่มสุนัขเพื่อใช้ในเกมกีฬา (Sporting Breeds): Pointer German Shorthaired Pointer , German Wirehaired Pointer Retriever Golden , Labrador Setters - English , Irish Spaniels - American Water , Clumber Cocker English Cocker ,English Springer
  • 2. กลุ่มสุนัขฮาวด์ (Hound Breeds): Afghan , Basset , Beagle , Black & Tan Coonhound , Bloodhound ,Dachshund , Foxhound , Greyhound , Norwegian Elkhound กลุ่มสุนัขใช้งาน (Working Breeds): Alaskan Malamute , Boxer , Doberman Pinscher , Great Dane, Great Pyrenees , Komondor, Rottweiler , Saint Bernard , Samoyed , Siberian Husky , Standard Schnauzer กลุ่มสุนัขเทอร์เรีย (Terrier Breeds): Airedale , Border Terrier , Bull Terrier , Dandie Dinmont, Fox Terrier, Skye Terrier, Welsh Terrier , กลุ่มสุนัขทอย (Toy Breeds): Chihuahua ชิวาวา , Italian Greyhound , Manchester Terrier , Pomeranian , Poodle , Pug , Shih Tzu ,Yorkshire Terrier กลุ่มสุนัขที่ไม่ใช่สุนัขที่ใช้ในเกมกีฬา (Non-Sporting Breeds): Boston Terrier ,Bulldog , Chow Chow , Dalmatian , Lhasa Apso , Poodle กลุ่มสุนัขใช้คุมฝูงสัตว์ (Herding Breeds): Australian Shepherd , German Shepherd , Old English Sheepdog , Collie , Shetland Sheepdog สุนัขพันธุ์ไทย (Thai Breeds) พันธุ์ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) , พันธุ์บางแก้ว (Bangkaew) การตัดสินใจเลือกสุนัข ต้องการแบบไหน 1. ตัวใหญ่-เล็ก 2. Active / Quiet 3. ขนยาว / ขนสั้น 4. เลี้ยงเพื่ออะไร(ขาย-พันธุ์-เพื่อน) 5. พันธุ์แท้/ลูกผสม 6. ราคา
  • 3. การตัดสินใจเลือกสุนัข ควรแน่ใจว่าเหมาะสมกับชีวิตของผู้เลี้ยงสุนัข แต่ละตัวต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน สุนัขพันธุ์แท้ ควรรู้ถึงลักษณะอารมณ์ของสุนัขแต่ละพันธุ์ ควรเลือกสุนัขที่มีนิสัยและอารมณ์ที่เข้ากับผู้เลี้ยงได้ สุนัขพันธุ์ทาง /ลูกผสม สุนัขพันธุ์ทางมักฉลาดและช่างประจบ เหมาะสำหรับการเป็นสุนัขเลี้ยง สุนัขพันธุ์ทางมักทนโรค ขนาดของสุนัข สุนัขขนาดใหญ่และชอบออกกำลังกาย สุนัขพันธุ์รอตต์ไวเลอร์ใช้พื้นที่ออกกำลังมาก และดุ เจ้าของควรฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งตั้งแต่ยังเล็ก สุนัขขนาดเล็กเช่นพันธุ์ชิวาวา เป็นเพื่อนเล่นได้ดี เฝ้ายาม/เห่าเก่ง แหล่งหาซื้อสุนัขมาเลี้ยง สถานสงเคราะห์สัตว์ สุนัขที่นี่สามารถเป็นสุนัขเลี้ยงที่ดีมาก แต่บางตัวอาจมีพฤติกรรมอื่นที่ต้องแก้ไข เช่น เจ้าของเดิมละเลยทอดทิ้ง ฟาร์มคอกเลี้ยง ควรหาจากฟาร์มเลี้ยงสุนัขที่เชื่อถือได้ ร้านจำหน่าย ไม่ควรซื้อจากร้านที่ไม่ทราบประวัติมาก่อน เพื่อน/ญาติ ของฟรี vs ของดี
  • 4. การเลือกลูกสุนัข เริ่มดูจากแม่ซึ่งสามารถบอกนิสัยของลูกได้ ลูกสุนัขที่เลือกมาควรมีลักษณะนิสัยที่ร่าเริง อยากรู้อยากเห็น ไม่ตึงเครียด ไม่กลัวคนแปลกหน้า บ่งบอกถึงลักษณะความเชื่อมั่นในคัวเอง แต่ถ้าเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป อาจ กลายเป็นสุนัขดื้อในอนาคตก็ได้ 1. ตามีประกายแจ่มใส สีถูกต้องตามลักษณะ ไม่มีขี้ตา รวมทั้งอาการอักเสบระคายเคือง 2. ใบหูด้านในมีสีชมพูไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสะเก็ดซึ่งอาจเป็นเพราะมีไรหูหรือความผิดปกติอย่างอื่น 3. ผิวหนังไม่มันเยิ้มหรือแห้งเป็นสะเก็ดสุนัข ไม่มีแผลหรือก้อนนูนที่ผิวหนัง ขนแข็งแรงไม่หลุด ร่วงง่าย 4. เหงือกมีสีชมพูและไม่มีกลิ่น ฟันเรียงตัวสบกันพอดี 5. บริเวณทวารหนักควรสะอาดและแห้ง ไม่มีลักษณะท้องเสียหรือมีสิ่งผิดปกติออกมาจากอวัยวะ เพศ 6. เมื่อยกสุนัขขึ้นควรรู้สึกหนักไม่ดิ้นรน บ่งบอกว่าเป็นสุนักที่เชื่อฟังคำสั่งที่ดี เครื่องใช้ที่จำเป็น 1. เบาะรองนอน สุนัขส่วนใหญ่มักชอบ 2. ป้ายชื่อ สุนัขควรมีป้ายชื่อที่ติดปลอกคอพร้อมกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของเจ้าของ 3. กระดูกเทียม การกัดแทะกระดูกไนลอนเป็นการบริหารกรามและช่วยทำความสะอาดฟันให้สุนัข 4. ของเล่นยาง ควรเป็นวัสดุที่สุนัขกัดแทะได้เมื่อโยนลงพื้นจะกระดอนได้ กระตุ้นให้สุนัขวิ่งไล่งับ 5. ของเล่นที่มีเสียง เมื่อสุนัขกัดแทะจะเกดเสียงดัง เป็นการกระตุ้นสัญชาตญาณในการล่าสัตว์ 6. ขลุมครอบปากสุนัข ป้องกันไม่ไห้สุนัขไปกินสิ่งสกปรก หรือสุนัขดุ 7. แปรงขนสัตว์สำหรับขนสั้นละเอียด แปรงเหล็ก หวีเหล็กสำหรับขนยาว ควรใช้แปรงที่เหมาะกับ สุนัขแต่ละพันธ์ 8. ชามอาหารและน้ำ สุนัขควรมีชามอาหารของตนเองต้องดูแลอยู่เสมอ อาจเป็นชามที่ทำจากเซรา มิกหรือสเตนเลส รองก้นชามด้วยยางป้องกันการลื่น 9. ปลอกคอและสายจูง สุนัขควรใส่ปลอกคอที่มีป้ายชื่ออยู่ด้วยเสมอ การนำเข้าบ้านครั้งแรก ควรจำกัดบริเวณที่จะเป็นที่อยู่ของสุนัขและปล่อยให้สำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ในบริเวณนั้นและควรอยู่กับ ลูกสุนัขก่อนในระยะแรก ไม่ควรทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใน 2-3 วันแรกควรให้อาหารเดิม ที่สุนัขคุ้นเคยแล้วจึงค่อยๆเปลี่ยน
  • 5. การให้ลูกสุนัขอยู่ในกรงตั้งแต่แรกจะช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากกว่าในห้องโล่งๆและควรหัดให้ถ่าย ปัสสาวะบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ความปลอดภัยภายในบ้าน ลูกสุนัขมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น จึงต้องระวังสิ่งที่สามารถทำอันตรายต่อลูกสุนัขได้ โดยการนำสิ่งของที่ แตกง่ายและเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย สัตว์เลี้ยงอื่นในบ้าน กับแมว สุนัขและแมวสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าการพบกันครั้งแรกไม่เป็นลักษณะการข่มขู่ ควรให้แมวได้ สำรวจลูกสุนัขขณะที่กำลังหลับอยู่ กับสุนัขอื่นในบ้าน สุนัขตัวอื่นมักรู้สึกไม่พอใจเมื่อมีสุนัขตัวใหม่เข้ามา ควรเปิดโอกาสให้สุนัขที่อยู่ก่อน ได้สำรวจลูกสุนัขขณะที่กำลังหลับอยู่ โภชนศาสตร์สำหรับสุนัข ชนิดอาหาร อาหารส่วนใหญ่พลังงานจะใกล้เคียงกันต่างแต่ระดับโปรตีน 1. อาหารอัดเม็ดแห้ง (Dry) ส่วนประกอบมีทั้งจากพืชและสัตว์ โปรตีน 23% ไขมัน 9% เยื่อใย 6% 2. อาหารกึ่งเปียก (Semi-moist) ข้าวโพด เศษเนื้อสัตว์ โปรตีน 25% ไขมัน 9% เยื่อใย 4% 3. อาหารกระป๋อง(Canned) 3.1 ทำจากเศษเนื้อสัตว์เป็นหลักเช่นเนื้อ-กระดูกไก่/โค และ แป้งถั่ว โปรตีน 44 % ไขมัน 32% เยื่อใย 4% 3.2 ทำจากพืชเป็นหลัก ข้าว ข้าวโพด ถั่วและเศษเนื้อสัตว์ โปรตีน 30 % ไขมัน 16% เยื่อใย 8% โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญ สุนัขจะกินเนื้อเป็นอาหาร มีเปอร์เซนต์ของโปรตีนสูง ไขมันพอเหมาะ เยื่อใยเล็กน้อย และคาร์โบไฮเดรต แต่แมวจะเป็นสัตว์กินเนื้อ ไม่ยอมกินคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน
  • 6. ทำไมสุนัขและแมวจึงต้องการโปรตีน ? เพราะโปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในการเจริญเติบโต กรดอะมิโนที่สัตว์ต้องการมี 22 ตัว สัตว์สังเคราะห์เองได้ 12 ตัว และกรดอะมิโนจำเป็น คือ อาร์จินีน ฮีสทิดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมทไทโอนีน ฟีนีลอะละนีน ทรี โอนีน ทริปโตเฟน วาลีน และในแมว(ทอลีน) สุนัขสามารถสังเคราะห์ทอลีนได้ ทำให้สุนัขสามารถกินอาหารแมวได้ แต่แมวกินอาหารสุนัขไม่ได้ ความต้องการโปรตีน ความต้องการโปรตีนจะขึ้นกับสปีชีส์ ระยะการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและช่วงอายุสัตว์ ซึ่งสภาพที่สัตว์ ต้องการโปรตีนจะประยุกต์เป็นระดับดังนี้ ชนิดสัตว์/ระยะการ เจริญเติบโต เปอร์เซนต์ โปรตีน เปอร์เซ็นต์ ไขมัน ลูกสุนัข 28% 17% สุนัขโต 18% 9-15% สุนัขการแสดง 25% 20% สุนัขลากรถเลื่อน 35% 50% สุนัขที่ให้น้ำนม 28% 17% ลูกแมว 30% 20% แมวโต 25-30% 15-20% สุนัขและแมวที่ตั้งท้องและให้น้ำนม ต้องให้น้ำนมกับลูก ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำนมคือโปรตีน ในสัตว์ป่วย สัตว์ไม่แข็งแรงจะมีความต้องการโปรตีนมากเป็นพิเศษ สัตว์ที่เป็นโรคไตจะต้องจำกัดปริมาณโปรตีน ซึ่งถ้าสูงไปจะมีผลกระทบต่อไตได้ เราสามารถให้สัตว์กินอาหารโปรตีนมากเกินไปได้หรือไม่ สัตว์ที่ได้รับโปรตีนมากเกินไปก็จะไม่มีผลเสียอะไร เพราะบางส่วนจะขับถ่ายเป็นปัสสาวะ แต่พบว่าอาจมีผลต่อไตทำงานหนักขึ้น
  • 7. อีกเหตุผลคือด้านการเงิน ฉลากอาหารสัตว์ การเลือกซื้ออาหารสุนัข ซื้ออาหารยี่ห้อดัง/ราคาแพง ซื้อให้เหมาะสมกับสุนัข ต้องอ่านฉลากอาหารเป็น อาหารสัตว์ที่มีคุณภาพจะย่อยได้ระหว่าง 70-80% ถ้าด้อยคุณภาพลงมาอาจมี 60% หรือน้อยกว่า ถ้าส่วนประกอบเป็นไก่หรือลูกแพะ เราสันนิษฐานได้ว่าอาหารนี้มีแหล่งที่มาของโปรตีนได้ดี ฉลากอาหารสัตว์เลี้ยงบอกอะไรแก่เราบ้าง สิ่งที่ต้องพิจารณาคือราคา การคำนวณราคาต่อน้ำหนักอาหาร 1ปอนด์ หรือราคาอาหารต่อ 1 วัน อาหารแห้งจะมีราคาถูกกว่าและมีขนาดถุงใหญ่กว่า ซื้ออาหารที่ครบคุณค่าความต้องการของสุนัข การดัดแปลงมาตรฐานของวัตถุดิบแห้ง อาหารสัตว์เลี้ยงทั้งหมดต่างก็มีระดับของความชื้น เปอร์เซนต์ความชื้น จะช่วยเปรียบเทียบราคา ระดับโปรตีนหยาบและไขมันระหว่างยี่ห้อ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอาหารแห้งมีความชื้น 10% เราก็จะรู้ว่า 90% เป็นวัตถุดิบ
  • 8. ดังนั้นระดับโปรตีนได้ 20% จากนั้นเราแยก 20%จาก 90% ของวัตถุดิบแห้ง เราก็จะได้ 22% ของโปรตีน โดยประมาณ ลองเปรียบเทียบอาหารกระป๋องที่มีความชื้น 80% เราก็จะรู้ว่า 20% เป็นวัตถุดิบแห้ง ถ้าฉลากบอกว่ามี 5% ของโปรตีน เราก็ต้องคิด 5% นั้นแยกจาก 20% ของวัตถุดิบแห้ง เราจะได้ 25% โปรตีน ของวัตถุดิบแห้ง ส่วนประกอบอาหาร มีหลายส่วนผสมที่เราไม่ต้องการเลย ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่าประกอบด้วยเนื้อ ไก่ ข้าวโพด แป้งเปียกข้าวโพด ข้าวสาลีบด รำข้าว แป้งสาลีและอื่นๆ เนื้อที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นเนื้อที่สะอาด ฆ่าโดยตรง ไม่รวมเนื้อวัว แต่จะรวมปอด ม้าม ไต สมอง ตับ เลือด กระดูก กระเพาะ ลำไส้ ไม่รวมผม เขา ฟันและกีบ o พวกเป็ด ไก่ ที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ จะใช้หัว ขา และพวกเครื่องใน แต่ไม่รวมถึงขน o เนื้อปลา จะใช้ปลาทั้งตัว โดยไม่มีการใส่น้ำมัน o ไขวัว เป็นไขมันจากวัว o ข้าวโพดบด เป็นข้าวโพดทั้งหมดหรือแค่เมล็ดที่นำมาบด o แป้งเปียกข้าวโพด กากที่ได้จากการนำข้าวโพดไปทำน้ำเชื่อมหรือแป้ง o ข้าวกล้อง เป็นส่วนเล็กๆของเมล็ดข้าวที่แยกออกจากข้าวบดที่มีขนาดใหญ่กว่า o เมล็ดถั่วเหลือง เป็นส่วนที่เหลือจากการทำน้ำมันถั่วเหลือง o o BHA มาจากคำว่า Butylated Hydroxyanisole , preservative o Ethoxyguin เป็นวัตถุกันเสียทางเคมีชนิดหนึ่งที่ใส่ในอาหารสุนัข วิธีให้อาหาร วิธีให้อาหารจะมีอยู่บนถุงและกระป๋องของอาหารสัตว์ สัตว์ต้องการเพิ่มอาหารจากระดับกิจกรรม เมตาบอริซึม และสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิต่างกัน รวมถึง กรรมพันธุ์ อายุ และความเครียดจากสภาพแวดล้อม คำแนะนำข้างถุงจะช่วยระยะแรก ถ้าสัตว์ผอมและหิวให้เพิ่มอาหารให้บ่อยขึ้น
  • 9. การให้อาหารสุนัขตั้งท้อง(Pregnant) และให้น้ำนม( Lactation) สุนัขต้องการอาหารเพิ่มตามอายุตั้งท้อง น้ำหนักจะเพิ่มช่วง 4 สัปดาห์เป็นไป ระยะนี้กินเพิ่ม 35-50% ระยะเลี้ยงลูก(Whelping) ต้องการอาหาร 3-4 เท่าปกติ ภายใน3 สัปดาห์หลังคลอด ลูกสุนัขจะหัดเลีย-กินอาหารกับแม่ ให้พิจารณาหย่านมได้ หย่านมเมื่อลูกสุนัขอายุได้ 6 สัปดาห์ การให้อาหารลูกสุนัข( Puppies) กินอาหารสด-แห้งได้เมื่ออายุ 3 สัปดาห์ น้ำนม ไข่ ชีส คืออาหารที่ดี ย่อยง่าย โภชนะเข้มข้นสูง ให้กินน้ำนมมากอาจถ่ายเหลว หรือท้องเสียได้หากไม่สะอาด ให้อาหารวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน ไม่ควรให้กินมากไป จะอ้วนมาก กดรูดผิวหนังข้างซี่โครงหากสัมผัสซี่โครงไม่ได้แสดงว่าอ้วนมาก อ้วนมากมีผลต่อการพัฒนาโครงร่างและกระดูก การให้อาหารสุนัขโต ( Older dogs ) สุนัขโตมีกิจกรรมต่ำลง จึงต้องการอาหารน้อยลง เน้นอาหารโปรตีนมากกว่าพลังงานหรือคาร์โบไฮเดรท ให้อาหารมื้อเดียว ลดปริมาณอาหารลง คำแนะนำด้านอาหารอื่นๆ บางคนเชื่อว่าให้ไข่ดิบบำรุงขน ควรให้ไข่ต้ม เพราะไข่ขาวดิบจะขัดขวางการดูดซึม Biotin กระดูกหมูต้มท่อนใหญ่ให้ได้ แต่กระดูกไก่ควรงดให้แทะเล่น อาหารเม็ดและกระดูกท่อนใหญ่ช่วยลดคราบหินปูน
  • 10. สัตว์เลี้ยงของเราอ้วนหรือยัง สุนัขปกติ o สามารถคลำพบกระดูกซี่โครงได้ (โดยไม่ต้องกด) o ช่วงท้องต้องแคบกว่าช่วงอกเมื่อมองจากด้านข้าง o เห็นช่วงคอดของเอวหลังซี่โครงซี่สุดท้ายเมื่อมองจากด้านบน สุนัขอ้วน o ต้องออกแรงมากกว่าปกติในการคลำซี่โครง o ช่วงท้องขนาดเท่าหรืออ้วนกว่าช่วงอก o มีไขมันสะสมที่สะโพก โคนหาง พื้นท้อง o ผิวหนังรอบคอและหัวไหล่หนากว่าปกติ วิธีการลดความอ้วนสำหรับสุนัข o เลือกชนิดของวัตถุดิบในการทำอาหารให้มีไขมันน้อย มีกากใยมาก และเพิ่มปริมาณน้ำในอาหาร ให้มากขึ้น o ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยกว่าปกติ แต่มาเพิ่มความถี่ในการให้เป็นมื้อมากขึ้น ควรให้สุนัขออกกำลังกายมากขึ้น การผสมพันธุ์ สุนัขจะเป็นสัดครั้งทั่วไปภายใน 6-12 เดือน สุนัขเล็กอาจเป็นภายใน 6 เดือน แต่สุนัขใหญ่อาจอายุถึง 2 ปี วงรอบการเป็นสัดหนึ่งๆมี 11-13 วัน ประกอบด้วยระยะ Pro estrus, estrus, ovulation Pro estrus คือระยะก่อนผสมพันธุ์ สุนัขจะแสดงอาการมีเลือดออก(Menopause ) ให้นับวันที่พบเห็นเลือดออก หลังจากนั้นอีก 9 วัน สุนัขจะเริ่มสนใจ ไม่อยู่กับที่ วิ่งหาสุนัขทุกเพศและเป็นที่สนใจของสุนัขเพศผู้ทุกตัวที่เดิน ผ่าน อวัยวะเพศบวม มีน้ำเมือกออกมา สุนัขเพศผู้อาจกระโดดขึ้นผสมแต่เขาจะหันหนี ไม่ยอมให้ผสม จะเป็นแบบ นี้อยู่นาน 2-3 วัน ( วันที่ 10-11)
  • 11. ระยะ Estrus คือระยะที่ต่อมาจากช่วงแรก (วันที่ 12-13) เป็นระยะที่จะมีการตกไข่ภายใน 48 ชั่วโมง ( Ovulation ) ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องผสมพันธุ์สุนัข สังเกตได้จาก สุนัขจะยืนนิ่งไม่ไปไหน หางยกบิดไปด้านข้างหากมีสุนัขอื่นโดด ขึ้นทับ หลักการผสมพันธุ์ จะขึ้นอยู่กับสุนัขและประสบการณ์เจ้าของ ทั่วไป จะนำสุนัขไปผสมในช่วงวันที่ 10-12 หลังจากเห็น เลือดออก บางคนอาจใช้ การผสมสองครั้งคือผสมในวันที่ 10 กับ 12 หรือผสมในวันที่ 11 กับ 13 ขณะที่สุนัขผสมพันธุ์กัน ตัวผู้ปีนขึ้นผสมอวัยวะเพศ(Penis)ของเพศผู้ตรงโคนอวัยวะ( bulbus glandis ) จะ ขยายบวมขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ล็อดอวัยวะเพศของทั้งสองตัวให้อยู่ติดกัน เป็นเรื่องปกติ และสุนัขเพศผู้ จะหันลงมาอยู่ในสภาพเดินหันหลังติดกัน แต่โดยพฤติกรรม สุนัขจะเดินหันหน้ามาหากัน เดินไปด้วยกัน ต้อง ปล่อยให้เป็นเช่นนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้น ไม่ต้องไปกระตุ้น ห้าม หรือ ช่วยอะไรทั้งสิ้น สุนัขจะใช้เวลาอยู่ติดกันนาน 15-30 นาทีหรือนานกว่านี้ได้ กว่าจะแยกจากกันได้เอง เมื่อเสร็จก็นำสุนัขกลับบ้าน เพราะปกติจะนิยมนำสุนัขเพศ เมียไปหาสุนัขเพศผู้ จะทำให้ผสมได้ง่ายกว่า การตั้งท้อง สุนัขใช้เวลาตั้งท้องนาน 63 วัน (56-70 วัน) มีอาการกินมาก น้ำหนักเพิ่ม หัวนมเป็นสีชมพูบวมขึ้น จะเห็นการ เปลี่ยนแปลงชัดเจนตั้งแต่วันที่ 30 หลังผสมพันธุ์เป็นต้นไป กล่องไม้นอนคลอดควรจัดเข้ามาเพื่อฝึกหัดให้รู้จักนอนคลอดในกล่อง ในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนคลอด กล่องควรมี กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตัดขาดเป็นเส้นๆรองนอน เพราะช่วยรักษาความอบอุ่นให้ลูกสุนัขได้ดีกว่าผ้า ก่อนคลอด 24 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายสุนัขจะลดลง จาก 100.4 F -> 96.8 F แม่สุนัขจะไม่กินอาหารใดๆภายใน 24 ชั่วโมงนี้ ก่อนคลอดเล็กน้อย แม่สุนัขอาจอาเจียน และขับเมือกเขียวๆออกมาก่อน เนื่องจากรกเริ่มแยกตัวจากกัน แม่ที่แข็งแรงจะคลอดได้เองไม่ต้องช่วยอะไร การคลอด แม่จะคลอดถุงรกพร้อมลูกออกมาและแม่สุนัขจะกัดถุงรกเพื่อให้น้ำคร่ำแตกออกและกัดสายสะดือให้ขาด จากถุงรก เพื่อให้ลูกหลุดออกมาและหายใจได้เอง ลูกสุนัขหนึ่งตัวจะออกมาพร้อมถุงรกตัวเอง และแม่จะขับสายรก ที่ค้างอยู่ภายในให้ออกมาภายหลังคลอดลูกออกมาแล้วเป็นตัวๆไป(เราต้องสังเกตนับ จะได้รู้ว่าคลอดลูกออกมา หมดแล้วยัง) แม่จะมีพฤติกรรมกินรกตัวเอง เลียลูกกระตุ้นหายใจ ทำความสะอาดตัวลูก พาลูกมาดูดน้ำนมและให้ ความอบอุ่น
  • 12. หากเราเข้าไปยุ่งอาจโดนกัดหรือขู่ ทำให้เกิดการแย่งลูก อาจเป็นอันตรายต่อลูก ควรปล่อยให้ลูก อยู่กับแม่ เพราะการที่ลูกดูดน้ำนมจะกระตุ้นให้ฮอร์โมนออกซิโตซินหลั่งออกมามาก กระตุ้นให้ให้เกิดการคลอด ต่อมาง่ายได้ต่อเนื่อง การช่วยเหลือ หากเจ้าของจะช่วยคือการทำความสะอาดสายสะดือ และมัดสายสายสะดือลูกสุนัขด้วยด้าย( ระยะห่าง 1-2 ซม.จากโคนสะดือ) ใช้น้ำยาทิงเจอร์ไอโอดีนที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปได้เพื่อเช็ดแผลหรือทำความ สะอาด และควรเช็ดสะดือลูกสุนัขวันละสองครั้งแต่ให้ระวังแม่จะกัดเพราะหวงลูก ควรถือสำลีเข้าไปทา มากกว่า เอาลูกออกมาทายา การเล่นและการออกกำลังกาย สุนัขทุกเพศทุกวัยทุกขนาดชอบเล่นกับสุนัขด้วยกัน หรือกับคนเลี้ยง แต่ถ้าสุนัขไม่มีกิจกรรม จะทำลายหรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์แทน ชนิดการออกกำลังกาย 1. ออกกำลังกายโดยไม่มีสายจูง สุนัขพันธุ์แข็งแรงและตื่นตัวอยู่เสมอ เช่น พันธุ์สเปเนียล ชอบออกกำลังกายทุกวัน ถ้าสุนัขเชื่องและเป็นมิตรสามารถปล่อยให้วิ่งเล่นโดยไม่มีสายจูงได้ 2. ออกกำลังกายโดยมีสายจูง นอกบริเวณบ้านควรใช้สายจูงกับสุนัข โดยใช้สายจูงปรับความยาวได้ 3. การเล่นเกมต่างๆ การเล่นกับสุนัขเป็นการเน้นความเป็นผู้นำของเจ้าของ เพราะสุนัขจะรอให้โยนของเล่นให้ สุนัขจะได้ออกกำลังกายลดความเหงา เครียด 4. การกัดแทะของเล่น สุนัขที่มีของเล่นจะสุขภาพจิตดีกว่าสุนัขที่ไม่มีของเล่น ของเล่นที่กัดแทะได้จะช่วยฆ่าเวลาของสุนัข ในขณะที่ไม่ได้เล่นกับเจ้าของ
  • 13. ของเล่นของสุนัข สุนัขชอบเล่นกับสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้เช่น ลูกบอล จานร่อน โดยการวิ่งไล่งับและนำกลับมาให้เจ้าของ ของเล่นยางบางชนิดจะมีเสียงดังเมื่อถูกกัดสุนัขจะชอบเนื่องจากเลียนแบบสัญชาตญาณของการล่าสัตว์ เชือกที่ผูกเป็นปมหรือของเล่นสำหรับงับและดึงจะเป็นของเล่นที่เหมาะกับสุนัข ยังช่วยบริหารเหงือกและ ฟันของสุนัข การฝึกสุนัข สุนัขควรเรียนรู้คำสั่งพื้นฐาน 6 คำสั่ง ชิด-นั่ง –คอย-ยืน-หมอบ-มา รางวัลที่ดีคือ รู้จักคำว่า ‘ดี’ และ’ไม่’ ทำดี(ตบไหล่ ทำหน้ายิ้ม เสียงเบานิ่ม) และ ไม่ (ทำหน้าดุๆ เสียงดังๆ) การฝึกให้เริ่มทันทีที่มันเข้ามาอยู่ในบ้าน ลูกสุนัขต้องเรียนรู้การเรียกชื่อมัน (ตั้งสั้นๆ จำง่าย อย่ายาวมาก) ทุกครั้งที่มันทำถูกให้พูด “ดีๆๆ” แต่หากผิด ต้องพูด “ไม่ๆๆ” ทันที ไม่ต้องพูดอย่างอื่นๆ ห้ามตี แตะ ในทุกกรณี การฝึกนอกบ้าน เมื่ออายุได้6 เดือนสามรถเริ่มการฝึกหนักได้แล้ว ฝึกในสายจูง ควรฝึกวันละหนึ่งถึงสองครั้งทุกวัน ครั้งละ15- 30 นาที อุปกรณ์: โซ่คอ สายเชือกฝึก ครั้งแรกๆควรใส่โซ่ฝึกให้คุ้นเคย1-2 วัน หลังจากนั้นจึงเริ่มใส่สายจูงฝึก สายเชือกฝึกหรือโซ่ฝึกจะต้องต่างจากสายจูงเดินเล่น ไม่ใช้ปนกันและ ห้ามใช้สายจูงลงโทษสุนัข จะทำให้ กลัว
  • 14. คำสั่งแรกคือ ชิด ด้วยการเดินจูงสุนัขทางซ้ายมือของผู้ฝึก เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า ชิด พร้อมดึงสายจูง ให้สั้นๆเข้าติดใกล้เข่า เป็นการสอนให้สุนัขเดินตามใกล้ๆแต่ไม่ให้เดินล้ำหน้าผู้ฝึก หรือเดินล้อมหน้าหลัง ฝึกเดิน ตามไปเรื่อยๆ หากหยุดก็ให้สนุขยืนนิ่งอยู่ข้างๆเข่าเรา หากทำได้ให้กล่าวคำว่า ‘ดี’ หากเดินยังไม่ได้ระเบียบหรือ เดินล้ำหน้าให้กระตุกสายจูงและบอกว่า ‘ไม่’ คำสั่งสอง คือ นั่ง เมื่อเราพาเดินในสายจูง แล้วหยุดเดิน สุนัขต้องยิ่งนิ่ง จากนั่งออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และ กล่าวคำว่า นั่ง พร้อมดึงสายจูงไปข้างหลัง ในครั้งแรกๆหลังดึงสายจูงแล้วให้ใช้มือขวาถือสาย มือซ้ายกดเบาๆที่ บั้นท้ายสุนัขกดให้นั่งลง เมื่อมันนั่ง หากทำได้ให้กล่าวคำว่า ‘ดี’ หากยังทำไม่ได้ให้บอกว่า ‘ไม่’ และเริ่มใหม่ ไป เรื่อยๆจนสุนัขทำได้ คำสั่งสาม คือ คอย เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งและสองได้ดีแล้ว ในท่านั่งให้ออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าว คำว่า คอย พร้อมกับใช้มือซ้ายแบออกไปสัมผัสเบาที่หน้าจมูก(ตบเบาๆ) คอย-คอย ดึงสายจูงให้ตึงสูงตลอดเวลา และออกทางขวาไปยืนตรงหน้าสุนัข ยังกล่าวคำว่า คอย-ดี สลับกันตลอดเวลา หากยังทำไม่ได้ให้บอกว่า ‘ไม่’ และ เริ่มใหม่ ไปเรื่อยๆจนสุนัขทำได้ หากดีปล่อยให้คอยนานถึง 3 นาทีถือว่าสอบผ่าน คำสั่งสี่ คือ ยืน เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งและสอง สามได้ดีแล้ว ให้พาจูงเดิน และเมื่อเราหยุดเดินสุนัขจะนั่ง ทันทีเพราะคำสั่งสอง แต่เราจะออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า ยืน หากสุนัขจะนั่งให้พาเดินทันที พร้อม กล่าวคำว่า ชิด จากนั้นเริ่มหยุดเดินใหม่พร้อมกล่าวว่า ยืน ไปเรื่อยๆ หากสุนัขยืนและทำได้ ให้กล่าวคำว่า ยืน-ดี สลับกันตลอดเวลา ถึงขณะนี้รอบการฝึกให้ทำซ้ำตามลำดับเป็นเรื่องสำคัญ อย่าทำสลับคำสั่งจะทำให้สุนัขงง หาก สุนัขเข้าใจดีแล้วเขาจะทำตามคำสั่งที่ดีได้เองอัตโนมัติ ไม่ต้องไปทดสอบสลับคำสั่งให้งงไปเฉยๆๆจะให้ฝึกยาก โดยไม่จำเป็น คำสั่งห้า คือ หมอบ เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งถึงสี่ได้ดีแล้ว ให้พาจูงเดิน และเมื่อเราหยุดเดินสุนัขจะนั่งทันที หรือสั่งให้นั่ง จากนั้นเราจะออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า หมอบ เสร็จแล้วผู้ฝึกนั่งลงข้างๆใช้มือซ้ายโอบ ไหล่ซ้ายสุนัขข้ามไปจับขาซ้าย และมือขวาจับปลายขาขวาดึงไปข้างหน้าค่อยๆช้าๆและออกคำสั่ง หมอบ ตลอดเวลา สุนัขจะค่อยหมอบนอนลง (อาจต้องจัดท่าที่จะให้นอนด้วย เช่นนอน หมอบยืดขาหน้าไปข้างหน้า ขา หลังคู้ ไม่เช่นนั้นอาจนอนหงาย นอนแผ่) หากสุนัขยังทำไม่ได้ให้เริ่มคำสั่งหนึ่ง สองใหม่หากทำได้ ให้กล่าวคำว่า หมอบ-ดี สลับกันตลอดเวลา ในขั้นนี้เมื่อสุนัขหมอบได้ดีแล้ว ให้ออกคำสั่งต่อเนื่องคือ คำสั่ง คอย (จะเป็นการหมอบ-คอย) แล้วเรายืน ขึ้นดูอยู่ข้าง หากทำได้ ให้กล่าวคำว่า หมอบ-ดี สลับกันตลอดเวลา อีกขั้นหนึ่งให้ทดสอบปลดสายจูงและออกสั่ง หมอบ-คอย หากทำได้ดีเราก็กลับมาจูงต่อ
  • 15. คำสั่งหก คือ มา เมื่อสุนัขทำคำสั่งที่หนึ่งถึงห้าได้ดีแล้ว ให้พาจูงเดิน และเมื่อเราหยุดเดินสุนัขจะนั่งทันที หรือสั่งให้นั่ง-คอย จากนั้นเราเดินออกไปข้างหน้ามัน สองสามก้าว มือยกสายจูงไว้ แล้วออกคำสั่ง เรียกชื่อมัน และกล่าวคำว่า มา หากสุนัขงงให้ดึงสายจูงมาหาตัวสุนัขก็จะเดินมาหาทันที ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อย่าลืมชมเขาทุก ครั้ง การฝึกภายในบ้าน การฝึกขับถ่ายบนกระดาษ 1. ลูกสุนัขอาจถ่ายทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ในช่วงแรกจะเป็นปัญหาเรื่องการถ่ายเลอะเทอะ 2. เมื่อลูกสุนัขรู้สึกอยากถ่าย มักจะดมกลิ่นกับพื้นและวิ่งวนไปรอบๆ ให้รีบจับสุนัขไปที่จัดไว้ทันที วางสุนัขลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ และการเปลี่ยนกระดาษควรเหลือแผ่นเก่าไว้บ้างเพื่อให้สุนัข จำกลิ่นได้ง่ายและกลับมาถ่ายที่เดิมอีก 3. เมื่อสุนัขถ่ายแล้วเจ้าของควรชื่นชมสุนัข ควรรีบทำความสะอาดโดยน้ำยาฆ่าเชื้อและกำจัดกลิ่น อย่าใช้ที่มีแอมโมเนียผสมเพราะจะทำให้สุนัขคิดว่าเป็นกลิ่น ปัสสาวะของมันเอง การขับถ่ายนอกบ้าน 1. ฝึกให้สุนัขขับถ่ายเป็นช่วงเวลาจนสุนัขพอใจและเป็นนิสัย 2. พยายามให้สุนัขขับถ่ายบริเวณที่ห่างจากตัวบ้าน 3. ปัสสาวะมีลักษณะเป็นกรด อาจทำให้หญ้าตายได้ 4. ควรเก็บอุจาระสุนัขทันที ไม่พาไปถ่ายหน้าบ้านคนอื่นหรือที่สาธารณะ การอุ้มสุนัข การอุ้มสุนัขขนาดใหญ่ 1. ให้ใช้แขนข้างหนึ่งโอบรอบหน้าอก ขณะที่แขนอีกข้างโอบรอบขาหลัง แล้วดึงตัวสุนัขมาติด หน้าอก 2. จับให้มั่นคงแล้วยกขึ้น กรณีสุนัขมีอาการตื่นกลัวควรวางลงก่อน การอุ้มสุนัขขนาดเล็ก 1. ใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าหว่างขาขณะที่อีกข้างโอบรอบขาหลังและสะโพก เพื่อไม่ให้สุนัขบิดตัว หรือถีบ
  • 16. 2. ยกสุนัขขึ้นโดยที่มือข้างหนึ่งอยู่รอบหน้าอก และอีกข้างอยู่ที่บั้นท้าย ป้องกันไม่ให้สุนัขกระโดด ลงไปได้ สังคมสุนัข ควรฝึกให้สุนัขอยู่ร่วมกับสุนัขอื่นได้ หรือไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับสุนัขแปลกหน้า การให้สุนัข คุ้นเคยกันกับสุนัขอื่นๆตั้งแต่เล็กช่วยให้สุนัขเรียนรู้การเข้าสังคมได้ดีขึ้น หากสุนัข เห่าขู่กันใหดุ้ทันที อย่าเสริมส่ง การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ สุนัขควรได้รับการตรวจร่างกายทุกปี และควรถ่ายพยาธิปีละ 4 ครั้ง รวมทั้ง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆครบถ้วน การอาบน้ำสุนัข สุนัขไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน อาบให้เมื่อสุนัขสกปรกเท่านั้น ควรใช้น้ำอุ่นและแชมพูสำหรับสุนัข โดยให้สุนัขยืนในอ่างอาบน้ำ หรือที่พื้นไม่ลื่น ก่อนราดน้ำทำความสะอาด ให้จับหัวสุนัขเชิดสูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำเข้าตาและหูของสุนัข ให้ราดน้ำหรืออาบหัวและหูเป็นรายการสุดท้ายเพราะสุนัขจะสะบัดขนไล่น้ำหากหน้าตาเปียก ล้างแชมพูออกให้หมด เช็ดตัวสุนัขให้แห้ง ให้ระวังสุนัขหนาวสั่น สำหรับสุนัขพันธุ์ขนยาวควรเป่าขนให้แห้งก่อนแปรงขน
  • 17. ขั้นตอนการอาบน้ำสุนัข 1. 2. 3. 4. 5. 6. การตัดแต่งขนสุนัข การตัดแต่งขนมี 2 แบบ คือ แบบสิงโตอังกฤษและแบบสิงโตคอนติเนนทัล สำหรับสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 ปี อาจตัดแต่งขนแบบลูกสุนัข สุนัขพันธุ์พูเดิลทั่วไปที่ไม่ได้ส่งเข้าประกวดนิยมตัดแต่งขนในรูปแบบที่เรียบง่ายกว่า คือ แบบทรงแกะ การดูแลขนสุนัข สุนัขพันธุ์ขนยาวต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ สุนัข พันธุ์ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ หลังจากอาบน้ำแล้ว ควรจะรวบขนไว้เป็นจุดๆ จึงแกะขนที่รวบไว้ออกแล้วหวี จะพบว่าขนไม่พันกัน และเรียงตัวเป็นระเบียบ สุนัขพันธุ์ขนเรียบ ลาซา แอปโซ มอลตีส ปักกิ่ง ชิสุ สุนัขที่มีขนเรียบนั้นดูแลง่าย แปรงขนให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอแล้ว ขั้นแรกควรใช้แปรงยางแปรงย้อนขน เพื่อขจัดขนที่หมดอายุและสิ่งสกปรก
  • 18. แล้วแปรงตามขนอีกครั้ง ถ้าอยากให้สุนัขมีขนเงางามก็ให้ใช้ผ้าชามัวร์ขัดขนอีกครั้ง สุนัขพันธุ์ขนสั้น บาสเซต ฮาวนด์ บูล เทอร์เรียร บีเกิล  สุนัขที่มีขนสั้นจะดูแลจะดูแลไม่ยากนัก ให้ใช้แปรงสลิกเกอร์แปรงขนไม่ให้พันกันก่อน แล้วใช้แปรงขนสัตว์แปรงขจัดขนที่หมดอายุและสิ่งสกปรกบริเวณหางและขา ควรใช้หวีซี่ละเอียดแปรงซ้ำอีกครั้ง และใช้กรรไกรเล็มขนที่ไม่เป็นระเบียบออก สุนัขพันธุ์ขนแข็ง สุนัขที่มีขนแข็งและหนานี้ต้องดูแลเป็นพิเศษ ควรแปรงขนให้ทุกวัน เพื่อไม่ให้ขนพันกัน และไม่ควรใช้ครีมปรับสภาพขน เพราะจะทำให้ขนนิ่ม เจ้าของต้องหมั่นดูแลถอนขนให้สม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3-4 เดือน
  • 19. การตัดแต่งขนสุนัขตามแฟชั่น มีข้อดีตรงที่ดูแลขนสุนัขไปด้วย เพราะสุนัขจะได้รับการดูแลขนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยไม่ให้ขนพันกัน โดยเฉพาะสุนัขที่มีขนยาวจะช่วยไม่ให้สุนัขร้อน หากไม่ชอบตัดแต่งขนสุนัขก็ควรเล็มขนให้ทุก 6-8 สัปดาห์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งขน หวีฟันถี่และห่างชนิดโลหะ แปรง กรรไกรตัดเล็บ การจัดการทั่วไป การป้อนยา สุนัขที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บอาจจำเป็นต้องได้รับยาที่สัตวแพทย์สั่งจ่ายให้การป้อนยาสุนัขต้องทำอย่าง นุ่มนวล ทั้งนี้การหย่อนยาลงในชามอาหารของสุนัขไม่ได้รับประกันว่าสุนัขจะกิน ยานั้นเข้าไปด้วย จงอย่าเรียกสุนัขให้มาหาคุณเพื่อเพียงป้อนยา ควรเข้าไปหาสุนัขเอง การป้อนยาเม็ด 1. สั่งให้สุนัขนั่ง ใช้มือข้างหนึ่งเปิดปากสุนัขอย่างนุ่มนวล โดยจับปากสุนัข จากด้านบน 2.ใช้มืออีกข้างหนึ่งหย่อนเม็ดยาลงไปในคอให้ลึกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยให้วางอยู่เหนือโคนลิ้นส่วน ที่โป่งขึ้นมา
  • 20. 3.ใช้มือจับปากสุนัขให้ปิด และจับหัวให้เงยขึ้นช้า ๆ แล้วลูบคอลงมาด้วยมืออีกข้าง หนึ่ง 4.เมื่อสุนัขกลืนยาและเลียริมฝีปาก แสดงว่าการป้อนยาเสร็จเรียบร้อย และจงชม สุนัขทุกครั้งที่กินยาสำเร็จ การป้อนยาน้ำ วิธีการป้อนยาน้ำที่ถูกต้องและได้ผลดี คือ การใช้หลอดฉีดยาเป็นอุปกรณ์ช่วย ป้อน ถ้าสุนัขไม่ยอมกลืนยาเม็ด คุณอาจนำยาเม็ดไปบดและผสมกับน้ำหวาน และฉีดยาน้ำเข้าไปตรงข้างปาก ทั้งนี้ยาน้ำแก้ไอก็สามารถป้อนด้วยหลอดฉีด ยาได้เช่นกัน การหยอดหู 1.จับหัวสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ และเปิดหู สุนัขขึ้น แล้วสอดปลายขวดยาหยอด หูไปในทิศทางปลายจมูกสุนัข 2.อย่าให้สุนัขสะบัดศีรษะ แล้วนำขวดยาออกมาจากหู และพับหูกลับลงมาใน ตำแหน่งปกติ 3.ใช้มือนวดคลึงหูสุนัขอย่างนุ่มนวล วิธีนี้จะช่วยให้ตัวยากระจายไปทั่วหู
  • 21. การหยอดตา 1.ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ ดวงตา โดยใช้สำลีชุบน้ำเช็ด คราบขี้ตาและสิ่งสกปรก ออกไปให้หมด 2.ควบคุมสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ อย่างนุ่มนวล ให้สุนัขลืมตากว้าง แล้วนำขวดยามา หยอดตาจากด้านบนและด้านหลังเพื่อ ไม่ให้สุนัขหวาดกลัว 3.บีบขวดยาให้ได้จำนวนหยด ยาลงสู่ดวงตาตามที่ต้องการ และให้ตาชุ่มไปด้วยยา การดูแลบาดแผลเบื้องต้น การดูแลบาดแผลปิด 1.ถ้าสุนัขมีบาดแผลปิดให้ประคบบาดแผลให้เร็วที่สุด โดยให้นำผ้าขนหนูผืนเล็กๆมาวางเหนือบาดแผล ด้วย (เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าประคบแผลแข็งตัวติดผิวหนัง) จากนั้นนำน้ำแข็งมาวางทับไว้ 15 นาที 2.สุนัขอาจกระดูกหัก และต้องได้รับการรักษาจากสัตวแพทย์โดยด่วน การนำผ้าเย็นประคบบาดแผลมาวางบนบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ จะช่วยลด อาการปวดและการบวม อย่างไรก็ตามถ้าสุนัขปวดบาดแผลมาก ให้เลิก ประคบแผล อาการของบาดแผลเปิด บาดแผลเปิดต้องได้รับการทำความสะอาดให้ทั่วเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ต้องตรวจสอบบาดแผลเปิดให้ดี เพราะถ้ามีเลือดออกเล็กน้อยหรือไม่มีเลือดออกเลย บาดแผลอาจจะเห็นไม่ชัด อาการของบาดแผลเปิดมีดังนี้: สุนัขเลียหรือให้ความสนใจส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมากผิดกติ
  • 22. มีสะเก็ดแผลใหม่ๆที่ผิวหนัง ผิวหนังมีรูทะลุ มีรอยเลือดบนผิวหนัง เดินกะเผลก ถ้าพบอาการข้างต้น ควรหาบาดแผลเปิด หากพบบาดแผลจง ทำความสะอาด และนำไปหาสัตวแพทย์ การดูแลบาดแผลเปิด 1.ถ้าสุนัขมีบาดแผลเปิดและไม่ใหญ่มาก ให้ดึงสิ่งสกปรก ต่างๆกรวดเสี้ยน และวัตถุแปลกปลอมใดๆโดยใช้นิ้วหรือ ปากคีบ 2.ล้างบาดแผลด้วยน้ำเกลืออ่อนๆ น้ำสะอาดหรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ 3.ถ้าขนสุนัขเข้าไปอยู่ในบาดแผล ตัดขนรอบๆปากแผลให้เกลี้ยง แต่ก่อนจะตัดขน ให้หล่อเลี้ยงกรรไกรด้วยสาร หล่อลื่นที่ละลายน้ำได้ วิธีนี้จะช่วยให้ขนมาติดที่กรรไกร โดยไม่ไปติดบาดแผล โรคที่สำคัญในสุนัข โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข มีรายงานพบว่าสุนัขทุกอายุ ทุกเพศและทุกพันธุ์สามารถเป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่ รุนแรงที่ทำลายระบบทางเดินอาหาร เม็ดเลือดขาว และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากการติดเชื้อพาโวไวรัส (parvovirus: CPV)ปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า โรคติดเชื้อพาโวไวรัสใน สุนัข หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อ (canine parvoviral infection) ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถแพร่กระจายจากสุนัขตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การติดต่อมีโอกาสมากขึ้นเมื่อ สุนัขไปอยู่รวมกันมาก เราจะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัส อาการเริ่มแรกของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสคือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง อุณหภูมิ ของร่างกายอาจจะสูงขึ้น อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข มีค่าประมาณ 101º - 102ºF
  • 23. อาการป่วยพบได้ประมาณ 5-7 วัน ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว) อุจจาระของสุนัขจะมี ลักษณะเหลวมีสีออกเทา หรือเหลืองเทา (yellow-gray) ในบางครั้งอาการแรกเริ่มสุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือด ปนออกมาได้ เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายอย่าง รวดเร็ว สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาลจนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่ง จนตายได้ ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้นและสามารถฟื้นตัวจากการป่วย ได้ อาการป่วยมักพบว่า ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ ลูกสุนัขมักจะตายด้วย ภาวะช๊อค โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 5 เดือนมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูง การฉีดวัคซีนกันช่วยลด อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อ ลูกสุนัขช่วงระหว่างหย่านม (1 เดือน)ถึงอายุ 6 เดือนเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค สุนัขบางพันธุ์จะแสดงอาการป่วยที่มีความรุนแรงในบางสายพันธุ์ เช่น ร๊อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมนพิ้น เชอร์ การป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข การป้องกันโรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยปกติใน ลูกสุนัขมักจะเริ่มต้นฉีดเมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ กรณีที่สุนัขที่เลี้ยงเกิดป่วยติดเชื้อพาโวไวรัส ต้องทำความสะอาดบริเวณกรง หรือคอก หรือที่อยู่ของสุนัข ป่วย ฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อ พวกสารละลายโซเดียมไฮโดรคลอไรต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อที่มีใช้อยู่ ในบ้าน อยู่แล้ว(ยาทำความห้องน้ำ ครัว) อย่าลืมว่าเชื้อพาโวไวรัสนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมได้ เวลานานเป็นเดือนๆ
  • 24. โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนควรระมัดระวังอย่างยิ่ง สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายของสุนัข ควรกำจัดทิ้งให้เร็วที่สุดไม่ควรกัก หมักหมมไว้ ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรากำลังจะป่วยด้วยการติดเชื้อพาโวไวรัส หรือโรคลำไส้อักเสบหรือไม่ ควร ปรึกษาสัตวแพทย์ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพาโวไวรัสที่ดีที่สุดคือป้องกันสุนัขไม่ให้ไปสัมผัสกับ สุนัขอื่นๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้ เจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้ พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย • สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ • ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ • พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน หรืออ่อนเพลีย • พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก • มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ • พยาธิหนอนหัวใจ ชีพจักรของพยาธิหนอนหัวใจของสุนัขเริ่มต้นเมื่อสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งจะมีตัวอ่อน ของพยาธิหนอนหัวใจอยู่ในกระแสเลือด (microfilariae) ถูกยุงดูดกินเลือด ทำให้ยุงได้รับเอาตัวอ่อนของพยาธิ หนอนหัวใจไปด้วยเมื่อดูดกินเลือดสุนัขป่วยเป็นอาหาร หลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะใช้ระยะเวลาภายหลังจากถูกดูดกินจากตัวสุนัข ประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อในตัวยุง เมื่อยุ่งมีการดูดกินเลือดของสุนัขอีกครั้ง โดยเฉพาะสุนัขที่มีสุขภาพปกติ (ไม่ได้ป่วยเ ถ่ายเทตัวอ่อนระยะติดต่อที่ได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วในยุงไปยังสุนัขอีกตัวหนึ่ง จากนั้นตัวอ่อน ระยะติดต่อจะชอนไชไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของสุนัข และเจริญเติบโตต่อไปอีก 2-3 เดือนและพัฒนาเป็น ตัวแก่ในที่สุดในหัวใจของสุนัขตัวใหม่ เมื่อตัวพยาธิอยู่ในหัวใจของสุนัข และมีการเจริญเติบโตในหัวใจของสุนัข มันจะมีขนาดยาวประมาณ 14 นิ้ว และทำความเสียหายให้กับเนือ้เยื่อหัวใจ เนื้อเยื่อปอดและอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ถ้าสุนัขป่วยไม่ได้ รับการรักษา การพัฒนาของโรคจะมีความรุนแรงมากขึ้นและที่สุดสุนัขจะตายได้
  • 25. โรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง ทำให้คนหรือสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ต้องตายด้วยความทุรนทุ ราย โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เรบีส์ไวรัส สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิดโดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว ควาย ม้า หมู ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ ค้างคาว คน ฯลฯ สัตว์ที่พบว่าเป็น โรคพิษสุนัขบ้า มากที่สุด คือ สุนัข ( 96 % ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัย ในห้อง -ปฏิบัติการ ) รองลงมา คือ แมว ( 3% ) การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คน โดยการได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายสัตว์ เข้าทางบาดแผลที่เกิดจากการถูกกัด ข่วน หรือถูกเลียบริเวณ บาดแผลที่มีอยู่เดิม หรือได้รับเชื้อเข้าทางเยื่อตา เยื่อปาก คนถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะแสดงอาการ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนกระทั่งปรากฏอาการ หรือระยะฟักตัวจะกินเวลาตั้งแต่ 7 วัน ถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับ ลักษณะบาดแผลและบริเวณที่ถูกกัด ถ้าถูกกัดบริเวณใบหน้าหรือใกล้สมองและบาดแผลฉกรรจ์ ระยะฟักตัวจะเร็ว ถ้าถูกกัดบริเวณขา ระยะฟักตัวนานกว่า เพราะเชื้อจะเดินทางมาถึงสมองโดยเฉลี่ยประมาณ 2 - 6 อาทิตย์ อาการของผู้ปว่ยโรคพิษสุนัขบ้า มี 2 แบบ คือ แบบก้าวร้าว ดุร้าย และแบบอัมพาต อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะอาการเริ่มแรก อาจมีอาการไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอคล้าย เป็นหวัด อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง และที่พบบ่อย คือ อาการคัน เสียว หรือชาบริเวณแผลที่ถูกกัด ระยะอาการทางระบบประสาท อาจคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กลัวน้ำ กลัวลม ความรู้สึกไวกว่าปกติ ทุรนทุราย หรือมี อาการซึม เป็นอัมพาต น้ำลายไหลต้องบ้วนทิ้ง กลืนน้ำไม่ได้ ระยะสุดท้าย ไม่รู้สึกตัว หายใจกระตุก ผู้ป่วยส่วนมากมักจะตายภายใน 7 วัน หลังจากเริ่มแสดงอาการ ถ้าเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนในสมองมาก ก็จะแสดงอาการแบบคลุ้มคลั่ง ดุร้าย แต่ถ้าเชื้อ ไวรัสเพิ่มจำนวนมาก ในไขสันหลัง จะแสดงอาการอัมพาต
  • 26. อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจนและพบบ่อย และแบบซึมซึ่งแสดงอาการไม่ชัดเจน อาการของโรคมี 3 ระยะ คือ ระยะอาการเริ่มแรก สุนัขจะมีนิสัยแปลกไปจากเดิม ตัวที่เคยขลาดกลัวจะเข้ามา คลอเคลีย ตัวที่เคยเชื่องชอบเล่น จะ หงุดหงิด หลบไปตามมุมมืด เงียบ กินอาหารและน้ำน้อยลง ระยะนี้มีอาการ 2 - 3 วัน จะเข้าสู่ระยะที่ 2 ระยะตื่นเต้น จะมีอาการทางประสาท มีความรู้สึกไวกว่าปกติกระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่อยู่นิ่ง กัดแทะสิ่งของ ตัวแข็ง ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ม่านตาขยาย บางตัววิ่งพล่านไปทั่ว เมื่อพบสัตว์หรือคนขวางหน้าจะกัด ส่งเสียงเห่า หอน ในระยะที่แสดงอาการแบบซึมอาจไม่แสดงอาการเช่นนี้ แต่เมื่อถูกรบกวนอาจกัด ต่อมา กล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง ทรงตัว ไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ได้ บางตัวชักกระตุก อาการระยะนี้พบได้ 1 - 7 วัน จึงจะเข้าระยะสุดท้าย ระยะอัมพาต เกิดอาการอัมพาตลามทั้งตัวเริ่มจากขาหลัง ต่อมากล้ามเนื้อคอจะเป็นอัมพาต กลืนอาหารไม่ได้ ระบบหายใจ ล้มเหลวและตายในที่สุด รวมระยะเวลาเริ่มแสดงอาการจนตายประมาณ 10 วัน อาการโรคพิษสุนัขบ้าในแมว ในระยะที่มีอาการชัดเจน แบ่งได้เป็น 3 ระยะ เช่นกัน คือ ระยะอาการนำ มีอาการหงุดหงิด นิสัยเปลี่ยนไป ชอบหลบซุกในที่มืด ระยะนี้มักสั้น ไม่เกิน 1 วัน ระยะตื่นเต้น แสดงอาการดุร้าย กัด หรือข่วนคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้ กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล กลืนลำบาก ระยะนี้กิน เวลาประมาณ 2 - 4 วัน ระยะอัมพาต เริ่มเป็นอัมพาตจากขาหลัง แล้วลามมายังลำตัว ขาหน้าและหัว จนทั่วตัวอย่างรวดเร็ว แล้วถึงแก่ความตาย อาการในแมวมักไม่ชัดเจน อาจเป็นแบบซึม มีระยะตื่นเต้นสั้นมาก หรือไม่แสดงอาการเลย อาจพบว่ากินอาหารและน้ำลำบาก แล้ว เป็นอัมพาตลามไปทั่วตัว ตายในเวลา 3 - 4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ เมื่อถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดควรทำอย่างไร 1. รีบล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผล ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้น แผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น 2. เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ควรใช้สารละลายโพวีโดนไอโอดีน เช่น เบตาดีน ถ้าไม่มี อาจใช้แอลกอฮอล์ 70 % หรือทิงเจอร์ ไอโอดีน 3. ไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3 - 4 วัน ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้ 4. กักสัตว์ไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติอย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์ดุร้าย กัดคนและสัตว์อื่น หรือไม่สามารถกักสัตว์ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไป ให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า 5. รีบไปพบแพทย์ทันที หลังจากถูกสัตว์กัด เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน อย่ารอจนกระทั่งสัตว์ที่กัดตาย อาจพิจารณาให้การ ป้องกันบาดทะยัก และยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย 6. พบสัตว์แพทย์ กรมปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสัตว์ เช่น ชนิดสัตว์ สี เพศ พันธุ์ อายุสถานที่ถูกกัด เพื่อวางมาตรการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป 7. เมื่อสัตว์ตาย ตัดหัวส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า 8. ต้องซักประวัติโดยละเอียดและส่งไปพร้อมซากสัตว์เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สัมผัสโรค ความเชื่อเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ในปัจจุบัน แม้ว่าคนจะตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าน้อยลง เนื่องจากคนมีความรู้มากขึ้น วัคซีนมีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย มากขึ้น ราคาถูกและหาได้ง่ายขึ้น รวมทั้งวัคซีนสัตว์ด้วย ประการสำคัญ รัฐได้ให้ความสนใจต่อการป้องกันและกำจัดโรคนี้อย่าง
  • 27. จริงจัง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า เพราะความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะ เกี่ยวกับการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ความเชื่อ ความจริง โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในหน้าร้อนเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ทั้งปี เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดย ได้รับเชื้อจากน้ำลายสัตว์ป่วย ไม่ใช่เกิดเพราะความเครียดเนื่องจาก ความร้อน เมื่อถูกสุนัขกัดต้องใช้รองเท้าตบแผล หรือใช้เกลือขี้ผึ้งบาล์มหรือยาฉุนยัดลง ในแผล การใช้รองเท้าตบแผล จะทำให้แผลช้ำ เชื้อกระจายไปรอบบริเวณ แผลได้ง่ายและอาจมีเชื้อโรคอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของบาดแผล หรือเกิดบาดทะยักได้ เกลือหรือยาฉุน อาจมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ ไม่ ควรใส่ลงในแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อ ช่วยล้างเชื้อออก แล้วใส่ยาใส่แผล เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือ แอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ การรดน้ำมนต์ช่วยรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ได้ เมื่อถูกสุนัขกัด การฆ่าสุนัขนั้นให้ ตายแล้วนำตับสุนัขมารับประทาน คน จะไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า การรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ที่ได้ผลดีที่สุด คือ ได้รับการฉีด วัคซีนทันทีเมื่อสัมผัสโรค เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค แต่ถ้า ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ปล่อยให้เชื้อเข้าสู่สมองจนถึงขั้นแสดงอาการ ของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ไม่มียาใด ๆ รักษาได้ เนื่องจากเชื้อไปทำลาย สมอง ทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการคลุ้มคลั่งและตายในที่สุด เนื่องจาก กล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นอัมพาต ดังนั้น การรดน้ำมนต์ไม่สามารถรักษา โรคพิษสุนัขบ้าได้ เมื่อถูกสุนัขบ้ากัด การตัดหู ตัดหางสุนัข นั้น จะช่วยให้สุนัขไม่เป็นโรคพิษสุนัข บ้า สุนัขหรือสัตว์อื่นที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด หากไม่เคยฉีด วัคซีนมาก่อน ควรทำลายทิ้ง แต่หากต้องการรักษาชีวิตสัตว์นั้นไว้ ควรฉีดวัคซีนทันที แล้วกักสัตว์ไว้ดูอาการ อย่างน้อย 6 เดือน หรือขอ คำแนะนำจากสัตวแพทย์ คนท้องไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปัจจุบัน มีความปลอดภัยสูง ฉีดได้แม้ ในคนท้อง สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการดุ ร้าย ตัวแข็ง หางตกเท่านั้น อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข มีทั้งแบบซึมและแบบดุร้าย แบบซึม สุนัขจะหลบซุกตัวในมุมมืด ถ้าถูกรบกวนอาจจะกัด ต่อมาจะเป็น อัมพาต แล้วตาย บางตัวอาจแสดงอาการคล้ายกระดูกหรือก้างติดคอ ทำให้เจ้าของเข้าใจผิดพยายามล้วงปากสุนัข เพื่อหาเศษกระดูก จึงไม่ ควรล้วงคอสุนัข หากจำเป็น ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในสุนัขเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้า เป็นได้ในสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่ พบมากที่สุดในสุนัข วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดรอบสะดือ 14 เข็ม หรือ 21 เข็ม ถ้าหยุดต้องเริ่มต้น ใหม่ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบัน มีคุณภาพดี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แขนหรือใต้ผิวหนัง เพียง 5 เข็ม และไม่ต้องฉีดทุกวัน
  • 28. โปรแกรมวัคซีน วัคซีน ช่วงอายุ โรคหวัดและหลอดลมอักเสบ ติดต่อ (Kennel Cough Syndrome) 4-6 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่ 10-14 สัปดาห์ โรคลำไส้อักเสบติดต่อ (Canine Parvovirus) 4-6 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่ 10-14 สัปดาห์ โรคไข้หัด ตับอักเสบและเลพโต สไปโรซิส (Canine Distemper, Infectious Hepatitis and Leptospirosis) 14-6 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่อายุ 10-14 สัปดาห์ โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) 12 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่อายุ 6 เดือน ควรงดการอาบน้ำ 7 วันหลังการฉีดวัคซีน o ควรถ่ายพยาธิเมื่อลูกสุนัขอายุ 3-4 สัปดาห์ และทุก 6 เดือน o o