SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จัดทำโดย นางสาวธิดารัตน์  ช้างเอี่ยม ม 6/7  เลขที่ 19
ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการศึกษาหาความรู้ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีคุณลักษณะที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการบอกเล่าเรื่องราวในการพัฒนาทางสังคมและมนุษย์ผ่านทางประวัติศาสตร์อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม องค์ความรู้ และการให้คุณค่าของสังคม โดยสถาปัตยกกรมที่มีคุณค่าหรือสภาพแวดล้อมอย่างธรรมชาติ ที่สามารถแสดงออกให้เห็นถึงความสวยงามและประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ[ การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนำรายได้จากประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย การท่องเที่ยว คือ
การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้นำเอาวัฒนธรรมมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันและยุโรปที่ต่างสนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมมรดกทางประวัติศาสตร์เยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรมและสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศนั้นโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกา รวมถึงซื้อของที่ระลึกที่เป็นงานหัตถกรรมละงานฝีมือที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในประเทศนั้น การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเราเรียกว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคืออะไร
หลายคนอาจจะสงสัยว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควรจะครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้างบุญเลิศจิตตั้งวัฒนา ( 2548) ได้อธิบายว่าการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมประกอบด้วย 1. ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ 2. โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ 3. งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิม 4. ศิลปะหัตถกรรมประติมากรรมภาพวาดรูปปั้นและแกะสลัก 5. ศาสนารวมถึงพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา 6. ดนตรีการแสดงละครภาพยนตร์ 7. ภาษาและวรรณกรรม 8. วิถีชีวิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอาหาร 9. ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านเทศกาลต่างๆ 10. ลักษณะงานและเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น นานาประเทศกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแบบไหนถึงจัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ประเทศต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการสร้างรายได้ให้กับประเทศของตนอย่างมหาศาล จึงนำวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของประเทศเช่น ประเทศเกาหลีได้มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระที่สนับสนุนภาคเอกชนในการส่งออกสินค้าวัฒนธรรมซึ่งเราจะเห็นโฆษณาการท่องเที่ยวของเกาหลีที่เน้นการสัมผัสวัฒนธรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการโฆษณาแฝงในภาพยนตร์ซีรี่ต่างๆของเกาหลีในขณะที่ประเทศสิงค์โปรก็พยายามใช้ความหลากหลายของเชื้อชาติเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวเช่นกันภายใต้แนวคิดที่ว่า Uniquely Singapore โดยมีการฟื้นฟูแหล่งวัฒนธรรมดังเดิมของคนสิงค์โปรเชื้อชาติจีนอินเดียและมลายูในประเทศให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับประเทศมาเลเซีย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะเน้นความเป็นมุสลิมสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสมิติต่างๆของมุสลิม ยังมีประเทศอื่นๆอีกมากมายที่มีการจัดการการท่องเที่ยววัฒนธรรมอย่างเป็นระบบเช่นจีนประเทศในยุโรปและออสเตรเลียในขณะที่บางประเทศมีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแต่ยังมีปัญหาในด้านการเมืองภายในประเทศหรือยังไม่มีนโยบายที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเช่นพม่าเวียดนามประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลางเป็นต้นสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทยผู้อ่านสามารถติดตามตอนหน้านะครับ นานาชาติกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อัตราการเปลี่ยนแปลงระหว่างประเทศกับโลก
มรดกโลกหมายถึง สิ่งที่บ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติหรือธรรมชาติสร้างขึ้นมา ควรแก่การอนุรักษ์ปกป้องให้ตกทอดไปยังชนรุ่นหลังและเป็นสิ่งที่ทุกคนในโลกปัจจุบันนี้เป็นเจ้าของร่วมกัน แบ่งออกเป็น   ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จำนวนและอัตราการเปลี่ยนแปลง
สัดส่วนนักท่องเที่ยวปี 2548และ2553
จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
ททท.ตั้งเป้าสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวปี 52 กรุงเทพฯ 16 ม.ค.-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกาศปี 2552 สร้างรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเที่ยวกว่า 9 แสนบาท หลังจากเมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือเพียง 14.2 ล้านคน ในปีนี้ นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประกาศเดินหน้ากระตุ้นคนไทยเที่ยวในประเทศภายใต้สโลแกน "เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคักคัก" ให้ได้จำนวน 87 ล้านคนครั้ง และนักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มคุณภาพภายใต้สโลแกน "Amazing Thailand Amazing Value" ให้ได้อย่างน้อย 14.8 ล้านคน และมีรายได้ไม่น้อยกว่า 531,000 ล้านบาท รวมรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ 938,700 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทยอัพเดตเมื่อ 2009-01-16 03:17:30
ททท.ไฮไลต์ 3 ตลาดใหม่  นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่าจบสิ้นปี 2553 ททท.คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 15.7-15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นราว 11-12% สร้างรายได้ราว 5.8-6 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นราว 14-17% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคที่มีการขยายตัวเข้าสู่ภาวะปกติและต่อยอดจากปี 2551 คืออาเซียน ยุโรป เอเชียใต้ โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มีเพียงเอเชียตะวันออก และอเมริกา ที่ยังต้องรอเวลาฟื้นตัว อีกทั้งภูมิภาคอาเซียนที่มีการเติบโตมาก เช่น ตลาดมาเลเซีย มีอัตราการขยายตัวราว 9% สิงคโปร์ ขยายตัวราว 15% ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ขยายตัวราว 15.31% เป็นต้น  ทั้งนี้สาเหตุที่การท่องเที่ยวฟื้นตัว เนื่องมาจากความแข็งแกร่งของแบรนด์ไทย, ความภักดีของลูกค้า โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวซ้ำราว 60% รวมถึงไทยมีความหลากหลายของตลาดนักท่องเที่ยวใน 7 ภูมิภาค ตลอดจนการมีคณะกรรมการทำงานร่วมกันในการทำการสื่อสารในภาวะวิกฤติ  ดังนั้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ทำให้ในปี 2554 ททท. จึงจะมีการปรับเป้าหมายเพิ่มจากที่ตั้งไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15.5 ล้านคน มีรายได้ 6 แสนล้านบาท เป็นมีนักท่องเที่ยว 16.4-16.5 ล้านคน มีรายได้ราว 6.2 แสนล้านบาท  ททท.ไฮไลต์ 3 ตลาดใหม่
สำหรับแผนที่เป็นไฮไลต์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีนี้คือการรุกตลาดใหม่ๆ เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย เนื่องจากตลาดจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง โดยนักท่องเที่ยวจีนจะเป็นกลุ่มไฮเอนด์มากขึ้น และพร้อมจะซื้อทัวร์คุณภาพ เช่นเดียวกับตลาดอินเดีย ที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเช่นกัน โดยททท.จะเน้นเจาะตลาดเฉพาะหรือนิช มาร์เก็ต เช่น ตลาดแต่งงาน รวมถึงตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งททท.จะตั้งสำนักงานททท.ในเมืองจาการ์ตา ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว ทั้งจะมุ่งเจาะตลาดไฮเอนด์มากขึ้น รวมไปถึงการเจาะตลาดนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศที่ไม่มีผลกระทบจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น สแกนดิเนเวียน เยอรมนี สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวยุโรปเริ่มชะลอตัวไป จากปัจจัยลบที่ต้องเฝ้าระวังในปีนี้ คือ เศรษฐกิจโลก ราคาพลังงานที่สูงขึ้น และค่าแอร์ พาสเซนเจอร์ดิวตี้แท็กซ์ หรือค่าธรรมเนียมที่คิดตามระยะทางการบิน ซึ่งจะมีผลกับยุโรปตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป  ททท. ก็จะพยายามไม่ให้มีรายได้ลดลง โดยจะพยายามทำรายได้ตามเป้าหมาย  โดยจะมุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูงในตลาดเหล่านี้เป็นหลัก ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดนักท่องเที่ยวนักปีนี้ จะมาจากตลาดเอเชียราว 60% ส่วนยุโรป อยู่ที่ราว 28% แต่ตลาดยุโรปมีรายได้มากกว่า เพราะมีวันพำนักเฉลี่ยยาวนานกว่า ที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวจากตลาดอื่นๆ โดยในปีที่ผ่านมาคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากตลาดยุโรปราว 4.3 ล้านคน และในปีนี้จะไม่เติบโตไปจากนี้มากนัก  ดังนั้นททท.จึงต้องเน้นกระตุ้นตลาดเอเชียเป็นหลัก   เพราะเป็นตลาดระยะใกล้ที่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ โดยไม่ต้องวางแผนล่วงหน้านาน  ในส่วนของสินค้าทางการท่องเที่ยวในปีนี้ แนวโน้มการท่องเที่ยว จะเป็นที่นิยมใน 5 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มแต่งงาน, Green Product การท่องเที่ยวสีเขียว, Eco Tourism การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และช็อปปิ้ง ขณะที่แผนการโปรโมตการท่องเที่ยว จะเน้นไปที่การทำตลาดท่องเที่ยวผ่านตลาดออนไลน์ สื่อสมัยใหม่ต่างๆ และยกระดับสู่องค์กร ให้หันมาทำตลาดในลักษณะดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง เพื่อเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ เพื่อเสริมกับช่องทางการทำตลาดแบบเดิมๆ
 ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศนั้น  นายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวว่าในปีนี้ ททท. ต้องการสร้างตลาดการท่องเที่ยวในประเทศให้แข็งแรงขึ้น เพื่อเป็นตัวสนับสนุนตลาดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยจะเปิดตัวธีมการท่องเที่ยวใหม่คือ "เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน" ในเดือนมกราคม 2554 เพราะต้องการสร้างนักท่องเที่ยวให้มีจิตสำนึก เป็นการต่อยอดจากปีที่ผ่านมาที่ใช้ธีม "กอดเมืองไทยให้หายเหนื่อย"  โดยแผนการทำตลาดในปี 2554 ททท. จะมุ่งทำการตลาดไปที่กลุ่มขับรถเที่ยวเอง และกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวทางรถบัส ซึ่งจะผลักดันให้เป็นไปตาม 5 กลยุทธ์หลัก คือ 1.สร้างกระแสให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต 2.สร้างความเชื่อมโยง 3.สร้างความรับรู้ในเอกลักษณ์ของพื้นที่ 4.ท่องเที่ยวอย่างรู้ค่า รักษาแหล่งท่องเที่ยว และ 5.มิติการเรียนรู้ ซึ่งประเทศไทยยังมาสิ่งให้เรียนรู้อีกจำนวนมาก  ขณะนี้สัดส่วนของกลุ่มขับรถเที่ยวเองมีอยู่ราว 80% กลุ่มที่ท่องเที่ยวทางรสบัสมีสัดส่วนราว 20% ซึ่งททท.ต้องการจะผลักดันให้กลุ่มนี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 30% เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปได้มาก นอกจากนี้ ยังมองถึงตลาดใหม่ๆที่จะเข้าไปขยายฐานในเชิงรุกมากขึ้น เช่นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวทางรถทัวร์ และกลุ่มครอบครัว โดยอาจใช้โครงการ "คาเมร่า เทอราพี" หรือถ่ายรูปเพื่อความสุขของชีวิต โปรโมตควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดเป็นกระแสการถ่ายรูปและเป็นการแบ่งปันความรักกันต่อไป ประกอบกับจะมุ่งโปรโมตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่ยังมีนักท่องเที่ยวน้อย  5 แผนบูมไทยเที่ยวไทย
      ขณะที่การส่งเสริมตลาดไมซ์ในปีนี้ นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยถึงแผนกระตุ้นตลาดไมซ์ว่าสสปน.ได้รับงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานในปี 2554 ราว 746 ล้านบาท โดยจะเน้นสานต่อแนวทางการดำเนินกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์การดึงงาน ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการสื่อสารอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้แคมเปญ "มั่นใจ เมืองไทยพร้อม" หรือ "Believe in Thailand"  โดยแนวทางการวางแผนกิจกรรม จะเป็นการสร้างกิจกรรมที่ได้จาก 2 แนวทางหลัก ได้แก่ การวางแผนงานตามโรดแมปพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ที่ สสปน. ได้จากการหารือร่วมกับภาคเอกชน และการวางแผนกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์หลักของสสปน. คือ การดึงงาน ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งยังเน้นทำการตลาดเชิงรุก เพื่อดึงงานเข้าประเทศควบคู่ไปกับการฟื้นฟูด้านการตลาดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มผู้จัดงานและนักเดินทางกลุ่มไมซ์ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้ร่วมเดินทางอุตสาหกรรมไมซ์เป็น 720,000 คน และรายได้เข้าสู่ประเทศ 56,000 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 15-20% หากสถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจเป็นปกติ ดันตลาดไมซ์โต 15-20%  
ททท. เผยการท่องเที่ยวของประเทศพลิกฟื้นดีขึ้น นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยตลอดปี 2552 มีจำนวนกว่า 14 ล้านคน8 ม.ค. 53 : รายงานจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ระบุว่า แม้ในปีที่ผ่านมาจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ภาวะการท่องเที่ยวของประเทศชะลอตัวในช่วงไตรมาส 1 และ 2 อย่างไรก็ตาม จากนโยบายและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและรัฐบาล ได้ส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศพลิกฟื้นดีขึ้น ไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ตามลำดับ โดยตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยตลอดปี 2552 มีจำนวนกว่า 14 ล้านคน ส่งผลให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 2552 ถึง 527,000 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าตัวเลขที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้
จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นจารึกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมความรู้ด้านต่าง ๆ จารึกไว้ที่เสาและผนังอาคารภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธ์ิ โดยมีจารึกมากกว่า ๑,๓๖๐ แผ่น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน จึงถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย จารึกวัดโพธ์ิมีทั้งหมด ๘ หมวด คือ หมวดพระพุทธศาสนา หมวดวรรณคดี หมวดทำเนียบหมวดประเพณี หมวดประวัติวัด หมวดสุภาษิต หมวดอนามัย และหมวดตำรายา องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จดทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลกแห่งเอเชียแปซิฟิก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ติดต่อ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์ – ท่าเตียน) เลขที่ 2 ถ.สนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 Tel 0-2226-0335 Fax 0-2226-0370.. มรดกแห่งความทรงจำของโลก
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นหลักศิลา สูง ๑๑๔.๕ เซนติเมตร กว้าง-ยาว ๓๕.๕ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัยทั้งสี่ด้าน ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขณะทรงผนวชและเสด็จจาริกธุดงค์ ทรงพบศิลาจารึกดังกล่าวที่บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมายังพระนคร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตัวอักษรในศิลาจารึกเป็นตัวอักษรที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากอักษรอื่นในสมัยเดียวกัน เชื่อกันว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้น เนื้อหาในศิลาจารึกกล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ สภาพบ้านเมืองของสุโขทัยทั้งด้านภูมิศาสตร์ การปกครอง สังคม ประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อของผู้คน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ ๑,๘๑๐ ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ ๗๕ กิโลเมตร ลักษณะของเกาะเมืองอยุธยาเป็นไปตามสภาพของแม่น้ำที่กัดเซาะแผ่นดินมีรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งมีผู้สันนิษฐานว่า มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า กรมศิลปากร ได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๐๒ มรดกโลกทางวัฒนธรรม
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓ ดังนี้ (i) เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด (iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๘, ๙ และข้อที่ ๑๐ ดังนี้ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัด ในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได (ix) เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา (x) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ มรดกโลกทางธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อที่ ๑๐ สถานที่ที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ป่าดงพญาไฟ แหล่งมรดกโลกผืนนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าดงดิบที่ทึบหนา มีสัตว์มากมายทั้ง เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่า ดั่งเช่นในปัจจุบัน การเดินทางจากกรุงเทพไปภาคอีสานนั้น จึงยากลำบากอย่างยิ่ง หลายคนต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่า หรือสัตว์ป่า จนไม่ค่อยจะมีใครกล้าเข้า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม

More Related Content

Viewers also liked

7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวMint NutniCha
 
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมNew 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมthammanoon laohpiyavisut
 
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ Faii Kp
 
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stayการศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stayKorawan Sangkakorn
 
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว Mint NutniCha
 
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชนMint NutniCha
 
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนsiep
 

Viewers also liked (8)

7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมNew 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
 
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stayการศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
 
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
 
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
 
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
 

Similar to การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม

ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลาท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลาAnnly Ann
 
eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554Zabitan
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD_RSU
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยNuttz Kasemmussu
 
ธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียวธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียวa
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือnattatira
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554Zabitan
 
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทยเสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทยChutima Su
 
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวPare Liss
 
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจMint Thailand
 

Similar to การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม (15)

ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลาท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลา
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
Asian2030 thai vs japan
Asian2030 thai vs japanAsian2030 thai vs japan
Asian2030 thai vs japan
 
eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
 
ธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียวธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียว
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554
 
Tcdc trend2014
Tcdc trend2014Tcdc trend2014
Tcdc trend2014
 
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทยเสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
 
วิจัยสิทธิ์ ใกล้เสด
วิจัยสิทธิ์ ใกล้เสดวิจัยสิทธิ์ ใกล้เสด
วิจัยสิทธิ์ ใกล้เสด
 
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
 
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจ
 

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม

  • 2. ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการศึกษาหาความรู้ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีคุณลักษณะที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการบอกเล่าเรื่องราวในการพัฒนาทางสังคมและมนุษย์ผ่านทางประวัติศาสตร์อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม องค์ความรู้ และการให้คุณค่าของสังคม โดยสถาปัตยกกรมที่มีคุณค่าหรือสภาพแวดล้อมอย่างธรรมชาติ ที่สามารถแสดงออกให้เห็นถึงความสวยงามและประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
  • 3. การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ[ การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนำรายได้จากประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย การท่องเที่ยว คือ
  • 4. การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้นำเอาวัฒนธรรมมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันและยุโรปที่ต่างสนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมมรดกทางประวัติศาสตร์เยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรมและสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศนั้นโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกา รวมถึงซื้อของที่ระลึกที่เป็นงานหัตถกรรมละงานฝีมือที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในประเทศนั้น การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเราเรียกว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคืออะไร
  • 5. หลายคนอาจจะสงสัยว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควรจะครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้างบุญเลิศจิตตั้งวัฒนา ( 2548) ได้อธิบายว่าการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมประกอบด้วย 1. ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ 2. โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ 3. งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิม 4. ศิลปะหัตถกรรมประติมากรรมภาพวาดรูปปั้นและแกะสลัก 5. ศาสนารวมถึงพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา 6. ดนตรีการแสดงละครภาพยนตร์ 7. ภาษาและวรรณกรรม 8. วิถีชีวิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอาหาร 9. ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านเทศกาลต่างๆ 10. ลักษณะงานและเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น นานาประเทศกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแบบไหนถึงจัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
  • 6. ประเทศต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการสร้างรายได้ให้กับประเทศของตนอย่างมหาศาล จึงนำวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของประเทศเช่น ประเทศเกาหลีได้มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระที่สนับสนุนภาคเอกชนในการส่งออกสินค้าวัฒนธรรมซึ่งเราจะเห็นโฆษณาการท่องเที่ยวของเกาหลีที่เน้นการสัมผัสวัฒนธรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการโฆษณาแฝงในภาพยนตร์ซีรี่ต่างๆของเกาหลีในขณะที่ประเทศสิงค์โปรก็พยายามใช้ความหลากหลายของเชื้อชาติเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวเช่นกันภายใต้แนวคิดที่ว่า Uniquely Singapore โดยมีการฟื้นฟูแหล่งวัฒนธรรมดังเดิมของคนสิงค์โปรเชื้อชาติจีนอินเดียและมลายูในประเทศให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับประเทศมาเลเซีย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะเน้นความเป็นมุสลิมสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสมิติต่างๆของมุสลิม ยังมีประเทศอื่นๆอีกมากมายที่มีการจัดการการท่องเที่ยววัฒนธรรมอย่างเป็นระบบเช่นจีนประเทศในยุโรปและออสเตรเลียในขณะที่บางประเทศมีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแต่ยังมีปัญหาในด้านการเมืองภายในประเทศหรือยังไม่มีนโยบายที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเช่นพม่าเวียดนามประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลางเป็นต้นสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทยผู้อ่านสามารถติดตามตอนหน้านะครับ นานาชาติกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
  • 12. ททท.ตั้งเป้าสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวปี 52 กรุงเทพฯ 16 ม.ค.-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกาศปี 2552 สร้างรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเที่ยวกว่า 9 แสนบาท หลังจากเมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือเพียง 14.2 ล้านคน ในปีนี้ นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประกาศเดินหน้ากระตุ้นคนไทยเที่ยวในประเทศภายใต้สโลแกน "เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคักคัก" ให้ได้จำนวน 87 ล้านคนครั้ง และนักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มคุณภาพภายใต้สโลแกน "Amazing Thailand Amazing Value" ให้ได้อย่างน้อย 14.8 ล้านคน และมีรายได้ไม่น้อยกว่า 531,000 ล้านบาท รวมรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ 938,700 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทยอัพเดตเมื่อ 2009-01-16 03:17:30
  • 13. ททท.ไฮไลต์ 3 ตลาดใหม่  นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่าจบสิ้นปี 2553 ททท.คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 15.7-15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นราว 11-12% สร้างรายได้ราว 5.8-6 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นราว 14-17% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคที่มีการขยายตัวเข้าสู่ภาวะปกติและต่อยอดจากปี 2551 คืออาเซียน ยุโรป เอเชียใต้ โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มีเพียงเอเชียตะวันออก และอเมริกา ที่ยังต้องรอเวลาฟื้นตัว อีกทั้งภูมิภาคอาเซียนที่มีการเติบโตมาก เช่น ตลาดมาเลเซีย มีอัตราการขยายตัวราว 9% สิงคโปร์ ขยายตัวราว 15% ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ขยายตัวราว 15.31% เป็นต้น  ทั้งนี้สาเหตุที่การท่องเที่ยวฟื้นตัว เนื่องมาจากความแข็งแกร่งของแบรนด์ไทย, ความภักดีของลูกค้า โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวซ้ำราว 60% รวมถึงไทยมีความหลากหลายของตลาดนักท่องเที่ยวใน 7 ภูมิภาค ตลอดจนการมีคณะกรรมการทำงานร่วมกันในการทำการสื่อสารในภาวะวิกฤติ  ดังนั้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ทำให้ในปี 2554 ททท. จึงจะมีการปรับเป้าหมายเพิ่มจากที่ตั้งไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15.5 ล้านคน มีรายได้ 6 แสนล้านบาท เป็นมีนักท่องเที่ยว 16.4-16.5 ล้านคน มีรายได้ราว 6.2 แสนล้านบาท ททท.ไฮไลต์ 3 ตลาดใหม่
  • 14. สำหรับแผนที่เป็นไฮไลต์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีนี้คือการรุกตลาดใหม่ๆ เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย เนื่องจากตลาดจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง โดยนักท่องเที่ยวจีนจะเป็นกลุ่มไฮเอนด์มากขึ้น และพร้อมจะซื้อทัวร์คุณภาพ เช่นเดียวกับตลาดอินเดีย ที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเช่นกัน โดยททท.จะเน้นเจาะตลาดเฉพาะหรือนิช มาร์เก็ต เช่น ตลาดแต่งงาน รวมถึงตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งททท.จะตั้งสำนักงานททท.ในเมืองจาการ์ตา ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว ทั้งจะมุ่งเจาะตลาดไฮเอนด์มากขึ้น รวมไปถึงการเจาะตลาดนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศที่ไม่มีผลกระทบจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น สแกนดิเนเวียน เยอรมนี สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวยุโรปเริ่มชะลอตัวไป จากปัจจัยลบที่ต้องเฝ้าระวังในปีนี้ คือ เศรษฐกิจโลก ราคาพลังงานที่สูงขึ้น และค่าแอร์ พาสเซนเจอร์ดิวตี้แท็กซ์ หรือค่าธรรมเนียมที่คิดตามระยะทางการบิน ซึ่งจะมีผลกับยุโรปตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป  ททท. ก็จะพยายามไม่ให้มีรายได้ลดลง โดยจะพยายามทำรายได้ตามเป้าหมาย  โดยจะมุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูงในตลาดเหล่านี้เป็นหลัก ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดนักท่องเที่ยวนักปีนี้ จะมาจากตลาดเอเชียราว 60% ส่วนยุโรป อยู่ที่ราว 28% แต่ตลาดยุโรปมีรายได้มากกว่า เพราะมีวันพำนักเฉลี่ยยาวนานกว่า ที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวจากตลาดอื่นๆ โดยในปีที่ผ่านมาคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากตลาดยุโรปราว 4.3 ล้านคน และในปีนี้จะไม่เติบโตไปจากนี้มากนัก  ดังนั้นททท.จึงต้องเน้นกระตุ้นตลาดเอเชียเป็นหลัก   เพราะเป็นตลาดระยะใกล้ที่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ โดยไม่ต้องวางแผนล่วงหน้านาน  ในส่วนของสินค้าทางการท่องเที่ยวในปีนี้ แนวโน้มการท่องเที่ยว จะเป็นที่นิยมใน 5 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มแต่งงาน, Green Product การท่องเที่ยวสีเขียว, Eco Tourism การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และช็อปปิ้ง ขณะที่แผนการโปรโมตการท่องเที่ยว จะเน้นไปที่การทำตลาดท่องเที่ยวผ่านตลาดออนไลน์ สื่อสมัยใหม่ต่างๆ และยกระดับสู่องค์กร ให้หันมาทำตลาดในลักษณะดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง เพื่อเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ เพื่อเสริมกับช่องทางการทำตลาดแบบเดิมๆ
  • 15.  ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศนั้น  นายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวว่าในปีนี้ ททท. ต้องการสร้างตลาดการท่องเที่ยวในประเทศให้แข็งแรงขึ้น เพื่อเป็นตัวสนับสนุนตลาดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยจะเปิดตัวธีมการท่องเที่ยวใหม่คือ "เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน" ในเดือนมกราคม 2554 เพราะต้องการสร้างนักท่องเที่ยวให้มีจิตสำนึก เป็นการต่อยอดจากปีที่ผ่านมาที่ใช้ธีม "กอดเมืองไทยให้หายเหนื่อย"  โดยแผนการทำตลาดในปี 2554 ททท. จะมุ่งทำการตลาดไปที่กลุ่มขับรถเที่ยวเอง และกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวทางรถบัส ซึ่งจะผลักดันให้เป็นไปตาม 5 กลยุทธ์หลัก คือ 1.สร้างกระแสให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต 2.สร้างความเชื่อมโยง 3.สร้างความรับรู้ในเอกลักษณ์ของพื้นที่ 4.ท่องเที่ยวอย่างรู้ค่า รักษาแหล่งท่องเที่ยว และ 5.มิติการเรียนรู้ ซึ่งประเทศไทยยังมาสิ่งให้เรียนรู้อีกจำนวนมาก  ขณะนี้สัดส่วนของกลุ่มขับรถเที่ยวเองมีอยู่ราว 80% กลุ่มที่ท่องเที่ยวทางรสบัสมีสัดส่วนราว 20% ซึ่งททท.ต้องการจะผลักดันให้กลุ่มนี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 30% เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปได้มาก นอกจากนี้ ยังมองถึงตลาดใหม่ๆที่จะเข้าไปขยายฐานในเชิงรุกมากขึ้น เช่นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวทางรถทัวร์ และกลุ่มครอบครัว โดยอาจใช้โครงการ "คาเมร่า เทอราพี" หรือถ่ายรูปเพื่อความสุขของชีวิต โปรโมตควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดเป็นกระแสการถ่ายรูปและเป็นการแบ่งปันความรักกันต่อไป ประกอบกับจะมุ่งโปรโมตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่ยังมีนักท่องเที่ยวน้อย 5 แผนบูมไทยเที่ยวไทย
  • 16.       ขณะที่การส่งเสริมตลาดไมซ์ในปีนี้ นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยถึงแผนกระตุ้นตลาดไมซ์ว่าสสปน.ได้รับงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานในปี 2554 ราว 746 ล้านบาท โดยจะเน้นสานต่อแนวทางการดำเนินกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์การดึงงาน ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการสื่อสารอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้แคมเปญ "มั่นใจ เมืองไทยพร้อม" หรือ "Believe in Thailand"  โดยแนวทางการวางแผนกิจกรรม จะเป็นการสร้างกิจกรรมที่ได้จาก 2 แนวทางหลัก ได้แก่ การวางแผนงานตามโรดแมปพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ที่ สสปน. ได้จากการหารือร่วมกับภาคเอกชน และการวางแผนกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์หลักของสสปน. คือ การดึงงาน ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งยังเน้นทำการตลาดเชิงรุก เพื่อดึงงานเข้าประเทศควบคู่ไปกับการฟื้นฟูด้านการตลาดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มผู้จัดงานและนักเดินทางกลุ่มไมซ์ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้ร่วมเดินทางอุตสาหกรรมไมซ์เป็น 720,000 คน และรายได้เข้าสู่ประเทศ 56,000 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 15-20% หากสถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจเป็นปกติ ดันตลาดไมซ์โต 15-20%  
  • 17. ททท. เผยการท่องเที่ยวของประเทศพลิกฟื้นดีขึ้น นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยตลอดปี 2552 มีจำนวนกว่า 14 ล้านคน8 ม.ค. 53 : รายงานจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ระบุว่า แม้ในปีที่ผ่านมาจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ภาวะการท่องเที่ยวของประเทศชะลอตัวในช่วงไตรมาส 1 และ 2 อย่างไรก็ตาม จากนโยบายและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและรัฐบาล ได้ส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศพลิกฟื้นดีขึ้น ไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ตามลำดับ โดยตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยตลอดปี 2552 มีจำนวนกว่า 14 ล้านคน ส่งผลให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 2552 ถึง 527,000 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าตัวเลขที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้
  • 18. จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นจารึกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมความรู้ด้านต่าง ๆ จารึกไว้ที่เสาและผนังอาคารภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธ์ิ โดยมีจารึกมากกว่า ๑,๓๖๐ แผ่น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน จึงถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย จารึกวัดโพธ์ิมีทั้งหมด ๘ หมวด คือ หมวดพระพุทธศาสนา หมวดวรรณคดี หมวดทำเนียบหมวดประเพณี หมวดประวัติวัด หมวดสุภาษิต หมวดอนามัย และหมวดตำรายา องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จดทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลกแห่งเอเชียแปซิฟิก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ติดต่อ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์ – ท่าเตียน) เลขที่ 2 ถ.สนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 Tel 0-2226-0335 Fax 0-2226-0370.. มรดกแห่งความทรงจำของโลก
  • 19. ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นหลักศิลา สูง ๑๑๔.๕ เซนติเมตร กว้าง-ยาว ๓๕.๕ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัยทั้งสี่ด้าน ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขณะทรงผนวชและเสด็จจาริกธุดงค์ ทรงพบศิลาจารึกดังกล่าวที่บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมายังพระนคร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตัวอักษรในศิลาจารึกเป็นตัวอักษรที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากอักษรอื่นในสมัยเดียวกัน เชื่อกันว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้น เนื้อหาในศิลาจารึกกล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ สภาพบ้านเมืองของสุโขทัยทั้งด้านภูมิศาสตร์ การปกครอง สังคม ประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อของผู้คน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑
  • 20. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ ๑,๘๑๐ ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ ๗๕ กิโลเมตร ลักษณะของเกาะเมืองอยุธยาเป็นไปตามสภาพของแม่น้ำที่กัดเซาะแผ่นดินมีรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งมีผู้สันนิษฐานว่า มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า กรมศิลปากร ได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๐๒ มรดกโลกทางวัฒนธรรม
  • 21. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
  • 22. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓ ดังนี้ (i) เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด (iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร
  • 23. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๘, ๙ และข้อที่ ๑๐ ดังนี้ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัด ในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได (ix) เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา (x) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ มรดกโลกทางธรรมชาติ
  • 24. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อที่ ๑๐ สถานที่ที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ป่าดงพญาไฟ แหล่งมรดกโลกผืนนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าดงดิบที่ทึบหนา มีสัตว์มากมายทั้ง เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่า ดั่งเช่นในปัจจุบัน การเดินทางจากกรุงเทพไปภาคอีสานนั้น จึงยากลำบากอย่างยิ่ง หลายคนต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่า หรือสัตว์ป่า จนไม่ค่อยจะมีใครกล้าเข้า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่