SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
เทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง  เกี่ยวกับผู้เขียน  :-  เป็นดอกเตอร์ทางด้านประวัติศาสตร์และภาษาเอเชียตะวันออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  และเคยรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งสุดท้ายคือรองปลัดกระทรวง  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภค
ทุกวันทุกคนบนโลกใบนี้มีเวลาเท่าเทียมกันคือ   24   ชม .  อย่างไรก็ดี มองจากแง่มุมของเศรษฐศาสตร์เวลาของทุกคนมีคุณค่าไม่เท่ากัน  การบริหารเวลาของแต่ละคนจึงหมายถึงความแตกต่างระหว่างความสำเร็จกับความพ่ายแพ้  ค่าของเวลาเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ ซึ่งในแง่ธุรกิจคือต้นทุน  ฉะนั้นสถาบันศึกษาทุกแห่งที่สอนวิชาการบริหารธุรกิจจึงมีหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารเวลา   เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ครั้งหนึ่ง เล่าปี่ ขอขงเบ้งให้แนะนำวิธีสร้างตนเป็นอภิมหาเศรษฐีแห่งดินแดน  ขงเบ้ง ว่างานใหญ่เช่นนี้ต้องวางแผนและรู้จักบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ   เล่าปี่ กล่าวว่า  ‘  ข้าฯเห็นด้วยในหลักการแต่ทว่าข้าฯมีงานมากมายที่ต้องทำทุกวัน จนเวียนเกล้าเวียนศีรษะไม่เคยมีเวลาพอที่จะจัดการกับทุกสิ่งทุกอย่างได้เลย  ‘
ขงเบ้ง บอกให้ลูกน้องไปเตรียมก้อนหิน ก้อนกรวด ก้อนทราย และน้ำจำนวนหนึ่ง พร้อมถังเหล็กใหญ่หนึ่งใบ เล่าปี่ถามด้วยความแปลกใจ  ‘  ท่านเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่ออะไร ? ‘     ขงเบ้งยิ้มอย่างมีเลศนัย พร้อมกับตอบด้วยคำถามว่า ‘   ท่านบริหารเวลาด้วยวิธีใด ? ‘   เล่าปี่ตอบว่า ‘   ข้าฯเคยคิดว่า ข้าฯมีเทคนิคที่ดีอยู่แล้ว คือใช้วิธีมอบหมาย ข้าฯมีผู้ช่วยอยู่รอบด้านตั้งแต่กวนอู เตียวหุย เจ้าหยุน ฯลฯ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ด้านต่างๆ แต่งานทั้งหลายก็ยังพันกันอีรุงตุงนัง ไม่สามารถปรับให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นได้ เดิมข้าฯคิดว่าคือแมลงวันไม่มีหัวอยู่ตัวเดียว แต่หลังการใช้ระบบมอบหมายงาน กลับกลายเป็นว่าปัจจุบันบริษัทมีแมลงวันหัวขาดเป็นฝูง !!  ’
ขงเบ้งฟังแล้วจึงเริ่มอธิบายว่า ‘   เทคนิคการบริหารเวลาสามารถแบ่งเป็นสามขั้น สูง กลาง และต่ำ  ขั้นต่ำ  เน้นการใช้เศษกระดาษบันทึก  ขั้นกลาง  ใช้ตารางและโปรแกรมประจำวันซึ่งสะท้อนความสำคัญของการวางแผน  ส่วนขั้นสูง  เน้นการจัดการโดยแบ่งแยกประเภทของหน้าที่การงานตามดีกรี ควรเน้นการใช้แผนดำเนินงาน ตามสำคัญของงานเพื่อพิจารณาลำดับความเร่งด่วนในการจัดการงานดังกล่าว ทั้งสามขั้นอันดับ ต่างมีเรื่องการมอบหมายงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตามความต้องการของปริมาณและลักษณะเฉพาะของงานแต่ละชิ้น  ’
เล่าปี่สารภาพว่า   ‘   หากพิจารณาตามการแบ่งขั้นของเทคนิคการบริหารเวลาแล้ว ข้าฯยอมรับว่าวิธีของข้าฯอยู่ที่ขั้นต่ำ เพราะใช้แค่การส่งใบ  slip  บันทึก  ‘  ขงเบ้งชี้ไปที่ถังเหล็กกับกองวัสดุที่ผู้ช่วยได้เตรียมเสร็จ ไว้มุมห้องพร้อมกล่าวว่า   ‘  คำตอบของการบริหารขั้นสูงอยู่ในถังเหล็กใบใหญ่นี้แหละ !  ความจุของถังนี้เปรียบเสมือนขีดความสามารถของคนๆ หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ก้อนกรวด เปรียบได้กับงานที่สำคัญและเร่งด่วน ก้อนหิน คือ ภาระที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เม็ดทรายเปรียบได้กับภาระที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และน้ำ คือหน้าที่ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน  ‘
ขงเบ้งอธิบายพรางวาดผังประกอบคำอธิบาย ดังในตารางประกอบ
 
‘   ปกติท่านเน้นงานประเภทใด ? ‘  ขงเบ้งถาม ‘  ก็ต้องเป็นประเภท  ‘  ก . ‘  เล่าปี่ตอบอย่างไม่ลังเล ‘   แล้วงานประเภท ข .  ล่ะ ? ‘  ขงเบ้งถามต่อไป  เล่าปี่ตอบว่า ‘   ข้าฯตระหนักถึงความสำคัญของงานประเภท ข .  แต่ก็ไม่มีเวลาพอที่สนใจมัน  ‘   ‘  เป็นอย่างนี้ใช่ไหม  ‘  ขงเบ้งถาม พรางใส่กรวดลงไปในถังเหล็กจนเต็ม แล้วพยายามใส่ก้อนหินเข้าไปซึ่งใส่ไม่ได้ เล่าปี่ตอบว่า  ‘  ใช่  !  ‘   ‘   และหากเปลี่ยนวิธีบรรจุใหม่ล่ะ ? ‘  ขงเบ้งถามต่อ  พลางใส่ก้อนหินทีละก้อนเข้าไปในถังก่อนจนใส่ไม่ได้แล้ว จึงถามเล่าปี่อีกว่า  ‘  ตอนนี้ถังเหล็กเต็มแล้วจะใส่อะไรลงไปอีกไม่ได้ใช่ไหม ? ‘  ซึ่งเล่าปี่ตอบว่า  ‘  ใช่  ‘   ‘  จริงหรือ ? ‘  ขงเบ้งถามแล้วหยิบก้อนกรวดใส่เข้าไปข้างบนถังแล้วเขย่า ให้ก้อนกรวดตกลงไปในถังจนหมด ‘   บัดนี้ถังเหล็กใบนี้ใส่อะไรลงไปอีกได้หรือไม่ ? ‘  ขงเบ้งพูดพรางเทเม็ดทรายลงไปอีก จนหมด  ‘  แล้วทีนี้ละ ?  ใส่อะไรลงไปอีกได้ไหม ? ‘  ขงเบ้งถามต่อไป
แต่ก่อนที่เล่าปี่มีโอกาสตอบ ขงเบ้งก็ตักน้ำที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังเหล็กอีกจนหมด ‘   ตอนนี้ท่านเข้าใจความหมายของการทดลองนี้แล้วหรือยัง ? ‘   เล่าปี่ตอบว่า  ‘  เข้าใจแล้ว  ‘  พร้อมกับถามต่อว่า  ‘  นี่คือสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการจัดการแบบแยกประเภท และเลือกการจัดการก่อนหลังใช่ไหม ? ‘   ขงเบ้งตอบว่า   ‘   ใช่แล้ว การทดลองชี้ให้เห็นว่าหากถังเหล็กตั้งแต่แรกก็เติมเต็มไปด้วยก้อนกรวด ทราย และน้ำ ก็คงไม่มีโอกาสใส่ก้อนหินลงไปได้ แต่ถ้าใส่ก้อนหินลงไปก่อนในถังยังมีเนื้อที่ที่จะใส่สิ่งอื่นๆ เข้าไปได้อีก ดังนั้น การบริหารเวลาที่ได้ผลต้องดูว่า อะไรคือก้อนหิน อะไรคือก้อนกรวด เม็ดทราย และน้ำฯลฯ และไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ต้องใส่ก้อนหินลงไปในถังเป็นอันดับแรก  ‘
เล่าปี่ยังถามว่า  ‘  แล้วการวิเคราะห์แยกแยะเรื่องต่างๆ ออกเป็นสี่หมวดนี้มีผลอย่างไรล่ะ ? ‘   ขงเบ้งตอบว่า   ‘   บุคคลจำพวกที่ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องราวประเภทก้อนกรวด ย่อมมีความรู้สึกถูกเวลากดดันและวนเวียนอยู่ในแดนวิกฤตจนอ่อนล้า พวกที่เน้นเรื่องประเภทเม็ดทรายจะขาดพลังสร้างสรรค์ ชอบฟังคำพูดเพราะหู คบคนแบบผิวเผิน พวกที่นิยมเรื่องราวประเภทน้ำมักบกพร่องเรื่องสำนึกรับผิดชอบ แม้กระทั่งเรื่องสารทุกข์สุกดิบของตนเอง  ‘   เล่าปี่ถามว่า  ‘  เป็นไปได้ไหมที่ว่าถ้าเน้นก้อนหินมากเกินไปจะมองข้ามก้อนกรวด เพราะก้อนกรวดมากับความเร่งด่วน ? ‘   ขงเบ้งตอบ ‘   ท่านทราบไหมว่าก้อนกรวดมาจากไหน ?  ก็มาจากก้อนหินที่แตกสลายไง !  ‘  และเสริมว่า ‘   คนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประเภทก้อนหินจะมีก้อนกรวดน้อย คนที่เน้นก้อนกรวดก็จะมีก้อนกรวดเยอะตลอด  ‘
ขงเบ้งสอนต่อไปว่า ‘   คนที่อิงเรื่องประเภทก้อนหินเป็นคนมีประสิทธิภาพเพราะเขาจะเก่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลา และสิ่งแวดล้อม สามารถจับประเด็นหลักของปัญหา สามารถจัดการกับเรื่องเร่งด่วน และควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกินกว่าเหตุ กล้าฟันธงและใช้มาตรการป้องปราม บุคคลจำพวกนี้จะมีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ เคารพระเบียบ สามารถควบคุมตัวเอง ดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย และสามารถทำงานชิ้นใหญ่ได้  ‘   เล่าปี่ชื่นชอบทฤษฎี  ‘  วัตถุในถัง  ‘  ของขงเบ้งเป็นอย่างมาก พร้อมกับสารภาพว่า ‘  มาวันนี้ข้าฯถึงเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า การต่อสู้ของข้าฯทำไมจึงยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะแม้ว่าข้าฯมีขุนพลเก่งๆ เช่น กวนอูและเตียวหุย แต่พวกเขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรตราบใดที่คนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องจิ๊บจ๊อย กับทำงานลักษณะ  ‘  เก็บเม็ดงาแต่ทิ้งแตงโม  ‘  ( เจี่ยนเลอจือหมาติวเลอซีกวา )  ขืนดำเนินตามวิธีนี้ต่อไป ความพยายามของข้าฯที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีนัมเบอร์วันในแผ่นดินก็คงเป็นได้แค่ ความฝัน  !  ‘
แล้วคุณละ .. จัดการกับตัวเองและงานที่ทำแบบไหน ? ลองนำบทเรียนเทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง ไปใช้ดูสิค่ะ  ฉันเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้เวลาของคุณมีคุณค่ามากกว่าวิธีเดิมๆเยอะเลย แล้วก็จะได้ประสบความสำเร็จเป็นอภิมหาเศรษฐีในเร็ววัน มันจะไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป แต่มันคือความจริง จริงๆนะค่ะ  ... อิอิ .. !!!!

More Related Content

Viewers also liked

บริหารเวลา
บริหารเวลาบริหารเวลา
บริหารเวลาtoomtam
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำissareening
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตRungnapa Rungnapa
 
ลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรมลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรมrdschool
 
Operating Management
Operating ManagementOperating Management
Operating Managementtltutortutor
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6Saiiew
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตOrnkapat Bualom
 
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตบทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตOrnkapat Bualom
 
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิตบทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิตTeetut Tresirichod
 
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลักการบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลักTeetut Tresirichod
 
Time Management PowerPoint PPT Content Modern Sample
Time Management PowerPoint PPT Content Modern SampleTime Management PowerPoint PPT Content Modern Sample
Time Management PowerPoint PPT Content Modern SampleAndrew Schwartz
 

Viewers also liked (16)

บริหารเวลา
บริหารเวลาบริหารเวลา
บริหารเวลา
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
Poka yoke kamal
Poka yoke kamalPoka yoke kamal
Poka yoke kamal
 
Pokayoke Sample
Pokayoke SamplePokayoke Sample
Pokayoke Sample
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
 
ลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรมลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรม
 
Operating Management
Operating ManagementOperating Management
Operating Management
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
 
บทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
บทที่ 3  แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำบทที่ 3  แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
บทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
 
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตบทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
 
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิตบทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
 
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลักการบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
 
how to manage you time
how to manage you timehow to manage you time
how to manage you time
 
Time Management PowerPoint PPT Content Modern Sample
Time Management PowerPoint PPT Content Modern SampleTime Management PowerPoint PPT Content Modern Sample
Time Management PowerPoint PPT Content Modern Sample
 

More from Piyaratt R

More from Piyaratt R (20)

Convert Time to money
Convert Time to moneyConvert Time to money
Convert Time to money
 
How To Use System
How To Use SystemHow To Use System
How To Use System
 
Mkt Plan
Mkt PlanMkt Plan
Mkt Plan
 
Meeting Matter
Meeting MatterMeeting Matter
Meeting Matter
 
Follow Matter
Follow MatterFollow Matter
Follow Matter
 
Lost Your Weight
Lost Your WeightLost Your Weight
Lost Your Weight
 
Aura Or Prann
Aura Or PrannAura Or Prann
Aura Or Prann
 
How to have good health
How to have good healthHow to have good health
How to have good health
 
YOGA 101
YOGA 101YOGA 101
YOGA 101
 
Analyze Amway
Analyze AmwayAnalyze Amway
Analyze Amway
 
Make-Up Trend 2007
Make-Up Trend 2007Make-Up Trend 2007
Make-Up Trend 2007
 
Proof Lipstic Lead
Proof Lipstic LeadProof Lipstic Lead
Proof Lipstic Lead
 
Anatomy of Entrepreneur
Anatomy of EntrepreneurAnatomy of Entrepreneur
Anatomy of Entrepreneur
 
Down or Up
Down or UpDown or Up
Down or Up
 
Attitude 2
Attitude 2Attitude 2
Attitude 2
 
Whiten Skin
Whiten SkinWhiten Skin
Whiten Skin
 
300 - REMIX
300 - REMIX300 - REMIX
300 - REMIX
 
ClearFace - Acne 101
ClearFace - Acne 101ClearFace - Acne 101
ClearFace - Acne 101
 
Attitude Plus Plus
Attitude Plus PlusAttitude Plus Plus
Attitude Plus Plus
 
FLOW
FLOWFLOW
FLOW
 

Time Management Chinese

  • 1. เทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง เกี่ยวกับผู้เขียน :- เป็นดอกเตอร์ทางด้านประวัติศาสตร์และภาษาเอเชียตะวันออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเคยรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งสุดท้ายคือรองปลัดกระทรวง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภค
  • 2. ทุกวันทุกคนบนโลกใบนี้มีเวลาเท่าเทียมกันคือ 24 ชม . อย่างไรก็ดี มองจากแง่มุมของเศรษฐศาสตร์เวลาของทุกคนมีคุณค่าไม่เท่ากัน การบริหารเวลาของแต่ละคนจึงหมายถึงความแตกต่างระหว่างความสำเร็จกับความพ่ายแพ้ ค่าของเวลาเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ ซึ่งในแง่ธุรกิจคือต้นทุน ฉะนั้นสถาบันศึกษาทุกแห่งที่สอนวิชาการบริหารธุรกิจจึงมีหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารเวลา เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
  • 3. ครั้งหนึ่ง เล่าปี่ ขอขงเบ้งให้แนะนำวิธีสร้างตนเป็นอภิมหาเศรษฐีแห่งดินแดน ขงเบ้ง ว่างานใหญ่เช่นนี้ต้องวางแผนและรู้จักบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เล่าปี่ กล่าวว่า ‘ ข้าฯเห็นด้วยในหลักการแต่ทว่าข้าฯมีงานมากมายที่ต้องทำทุกวัน จนเวียนเกล้าเวียนศีรษะไม่เคยมีเวลาพอที่จะจัดการกับทุกสิ่งทุกอย่างได้เลย ‘
  • 4. ขงเบ้ง บอกให้ลูกน้องไปเตรียมก้อนหิน ก้อนกรวด ก้อนทราย และน้ำจำนวนหนึ่ง พร้อมถังเหล็กใหญ่หนึ่งใบ เล่าปี่ถามด้วยความแปลกใจ ‘ ท่านเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่ออะไร ? ‘ ขงเบ้งยิ้มอย่างมีเลศนัย พร้อมกับตอบด้วยคำถามว่า ‘ ท่านบริหารเวลาด้วยวิธีใด ? ‘ เล่าปี่ตอบว่า ‘ ข้าฯเคยคิดว่า ข้าฯมีเทคนิคที่ดีอยู่แล้ว คือใช้วิธีมอบหมาย ข้าฯมีผู้ช่วยอยู่รอบด้านตั้งแต่กวนอู เตียวหุย เจ้าหยุน ฯลฯ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ด้านต่างๆ แต่งานทั้งหลายก็ยังพันกันอีรุงตุงนัง ไม่สามารถปรับให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นได้ เดิมข้าฯคิดว่าคือแมลงวันไม่มีหัวอยู่ตัวเดียว แต่หลังการใช้ระบบมอบหมายงาน กลับกลายเป็นว่าปัจจุบันบริษัทมีแมลงวันหัวขาดเป็นฝูง !! ’
  • 5. ขงเบ้งฟังแล้วจึงเริ่มอธิบายว่า ‘ เทคนิคการบริหารเวลาสามารถแบ่งเป็นสามขั้น สูง กลาง และต่ำ ขั้นต่ำ เน้นการใช้เศษกระดาษบันทึก ขั้นกลาง ใช้ตารางและโปรแกรมประจำวันซึ่งสะท้อนความสำคัญของการวางแผน ส่วนขั้นสูง เน้นการจัดการโดยแบ่งแยกประเภทของหน้าที่การงานตามดีกรี ควรเน้นการใช้แผนดำเนินงาน ตามสำคัญของงานเพื่อพิจารณาลำดับความเร่งด่วนในการจัดการงานดังกล่าว ทั้งสามขั้นอันดับ ต่างมีเรื่องการมอบหมายงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตามความต้องการของปริมาณและลักษณะเฉพาะของงานแต่ละชิ้น ’
  • 6. เล่าปี่สารภาพว่า ‘ หากพิจารณาตามการแบ่งขั้นของเทคนิคการบริหารเวลาแล้ว ข้าฯยอมรับว่าวิธีของข้าฯอยู่ที่ขั้นต่ำ เพราะใช้แค่การส่งใบ slip บันทึก ‘ ขงเบ้งชี้ไปที่ถังเหล็กกับกองวัสดุที่ผู้ช่วยได้เตรียมเสร็จ ไว้มุมห้องพร้อมกล่าวว่า ‘ คำตอบของการบริหารขั้นสูงอยู่ในถังเหล็กใบใหญ่นี้แหละ ! ความจุของถังนี้เปรียบเสมือนขีดความสามารถของคนๆ หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ก้อนกรวด เปรียบได้กับงานที่สำคัญและเร่งด่วน ก้อนหิน คือ ภาระที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เม็ดทรายเปรียบได้กับภาระที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และน้ำ คือหน้าที่ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ‘
  • 8.  
  • 9. ปกติท่านเน้นงานประเภทใด ? ‘ ขงเบ้งถาม ‘ ก็ต้องเป็นประเภท ‘ ก . ‘ เล่าปี่ตอบอย่างไม่ลังเล ‘ แล้วงานประเภท ข . ล่ะ ? ‘ ขงเบ้งถามต่อไป เล่าปี่ตอบว่า ‘ ข้าฯตระหนักถึงความสำคัญของงานประเภท ข . แต่ก็ไม่มีเวลาพอที่สนใจมัน ‘ ‘ เป็นอย่างนี้ใช่ไหม ‘ ขงเบ้งถาม พรางใส่กรวดลงไปในถังเหล็กจนเต็ม แล้วพยายามใส่ก้อนหินเข้าไปซึ่งใส่ไม่ได้ เล่าปี่ตอบว่า ‘ ใช่ ! ‘ ‘ และหากเปลี่ยนวิธีบรรจุใหม่ล่ะ ? ‘ ขงเบ้งถามต่อ พลางใส่ก้อนหินทีละก้อนเข้าไปในถังก่อนจนใส่ไม่ได้แล้ว จึงถามเล่าปี่อีกว่า ‘ ตอนนี้ถังเหล็กเต็มแล้วจะใส่อะไรลงไปอีกไม่ได้ใช่ไหม ? ‘ ซึ่งเล่าปี่ตอบว่า ‘ ใช่ ‘ ‘ จริงหรือ ? ‘ ขงเบ้งถามแล้วหยิบก้อนกรวดใส่เข้าไปข้างบนถังแล้วเขย่า ให้ก้อนกรวดตกลงไปในถังจนหมด ‘ บัดนี้ถังเหล็กใบนี้ใส่อะไรลงไปอีกได้หรือไม่ ? ‘ ขงเบ้งพูดพรางเทเม็ดทรายลงไปอีก จนหมด ‘ แล้วทีนี้ละ ? ใส่อะไรลงไปอีกได้ไหม ? ‘ ขงเบ้งถามต่อไป
  • 10. แต่ก่อนที่เล่าปี่มีโอกาสตอบ ขงเบ้งก็ตักน้ำที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังเหล็กอีกจนหมด ‘ ตอนนี้ท่านเข้าใจความหมายของการทดลองนี้แล้วหรือยัง ? ‘ เล่าปี่ตอบว่า ‘ เข้าใจแล้ว ‘ พร้อมกับถามต่อว่า ‘ นี่คือสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการจัดการแบบแยกประเภท และเลือกการจัดการก่อนหลังใช่ไหม ? ‘ ขงเบ้งตอบว่า ‘ ใช่แล้ว การทดลองชี้ให้เห็นว่าหากถังเหล็กตั้งแต่แรกก็เติมเต็มไปด้วยก้อนกรวด ทราย และน้ำ ก็คงไม่มีโอกาสใส่ก้อนหินลงไปได้ แต่ถ้าใส่ก้อนหินลงไปก่อนในถังยังมีเนื้อที่ที่จะใส่สิ่งอื่นๆ เข้าไปได้อีก ดังนั้น การบริหารเวลาที่ได้ผลต้องดูว่า อะไรคือก้อนหิน อะไรคือก้อนกรวด เม็ดทราย และน้ำฯลฯ และไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ต้องใส่ก้อนหินลงไปในถังเป็นอันดับแรก ‘
  • 11. เล่าปี่ยังถามว่า ‘ แล้วการวิเคราะห์แยกแยะเรื่องต่างๆ ออกเป็นสี่หมวดนี้มีผลอย่างไรล่ะ ? ‘ ขงเบ้งตอบว่า ‘ บุคคลจำพวกที่ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องราวประเภทก้อนกรวด ย่อมมีความรู้สึกถูกเวลากดดันและวนเวียนอยู่ในแดนวิกฤตจนอ่อนล้า พวกที่เน้นเรื่องประเภทเม็ดทรายจะขาดพลังสร้างสรรค์ ชอบฟังคำพูดเพราะหู คบคนแบบผิวเผิน พวกที่นิยมเรื่องราวประเภทน้ำมักบกพร่องเรื่องสำนึกรับผิดชอบ แม้กระทั่งเรื่องสารทุกข์สุกดิบของตนเอง ‘ เล่าปี่ถามว่า ‘ เป็นไปได้ไหมที่ว่าถ้าเน้นก้อนหินมากเกินไปจะมองข้ามก้อนกรวด เพราะก้อนกรวดมากับความเร่งด่วน ? ‘ ขงเบ้งตอบ ‘ ท่านทราบไหมว่าก้อนกรวดมาจากไหน ? ก็มาจากก้อนหินที่แตกสลายไง ! ‘ และเสริมว่า ‘ คนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประเภทก้อนหินจะมีก้อนกรวดน้อย คนที่เน้นก้อนกรวดก็จะมีก้อนกรวดเยอะตลอด ‘
  • 12. ขงเบ้งสอนต่อไปว่า ‘ คนที่อิงเรื่องประเภทก้อนหินเป็นคนมีประสิทธิภาพเพราะเขาจะเก่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลา และสิ่งแวดล้อม สามารถจับประเด็นหลักของปัญหา สามารถจัดการกับเรื่องเร่งด่วน และควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกินกว่าเหตุ กล้าฟันธงและใช้มาตรการป้องปราม บุคคลจำพวกนี้จะมีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ เคารพระเบียบ สามารถควบคุมตัวเอง ดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย และสามารถทำงานชิ้นใหญ่ได้ ‘ เล่าปี่ชื่นชอบทฤษฎี ‘ วัตถุในถัง ‘ ของขงเบ้งเป็นอย่างมาก พร้อมกับสารภาพว่า ‘ มาวันนี้ข้าฯถึงเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า การต่อสู้ของข้าฯทำไมจึงยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะแม้ว่าข้าฯมีขุนพลเก่งๆ เช่น กวนอูและเตียวหุย แต่พวกเขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรตราบใดที่คนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องจิ๊บจ๊อย กับทำงานลักษณะ ‘ เก็บเม็ดงาแต่ทิ้งแตงโม ‘ ( เจี่ยนเลอจือหมาติวเลอซีกวา ) ขืนดำเนินตามวิธีนี้ต่อไป ความพยายามของข้าฯที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีนัมเบอร์วันในแผ่นดินก็คงเป็นได้แค่ ความฝัน ! ‘
  • 13. แล้วคุณละ .. จัดการกับตัวเองและงานที่ทำแบบไหน ? ลองนำบทเรียนเทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง ไปใช้ดูสิค่ะ ฉันเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้เวลาของคุณมีคุณค่ามากกว่าวิธีเดิมๆเยอะเลย แล้วก็จะได้ประสบความสำเร็จเป็นอภิมหาเศรษฐีในเร็ววัน มันจะไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป แต่มันคือความจริง จริงๆนะค่ะ ... อิอิ .. !!!!