SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
ธิเบต จัดทำโดย นางสาวชุติมา  สมอคำ  ม .6/7  เลขที่  7 เสนอ คุณครูอินทิรา  รัตนนานันท์
ประวัติศาสตร์ธิเบต   ทิเบต  ( Tibet)  ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด  2.5  ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาติ
ตำนานทางประวัติศาสตร์ กษัตริย์องค์แรกของทิเบต ญาตริ ซันโป  ( ระบบ  Wylie: Gnya-khri-btsan-po)  เชื่อกันว่าเป็นผู้เสด็จมาจากสวรรค์หรือมาจากอินเดีย และโดยลักษณะที่แปลกไปจากมนุษย์เช่น มีพังผืดระหว่างนิ้วและหนังตาปิดจากล่างขึ้นบน คนท้องถิ่นจึงเชื่อว่าพระองค์เป็นพระเจ้า กษัตริย์พระองค์นี้และองค์ต่อๆมา ติดต่อกับสวรรค์ได้โดยมีสายเชือกโยงกับสวรรค์  กษัตริย์ในตำนานอีกองค์หนึ่งคือ ทริคัม เซ็นโป  ( Dri-gum-brtsan-po)  ยุแหย่ให้องครักษ์ของพระองค์ชื่อโลงัม  ( Lo-ngam)  ต่อสู้กับพระองค์ ในระหว่างการต่อสู้ สายเชือกที่โยงพระองค์กับสวรรค์ถูกตัดขาด และพระองค์ถูกฆ่าตาย ตั้งแต่นั้นมากษัตริย์ทุกพระองค์จึงทิ้งซากศพไว้ในเมืองมนุษย์ และต้องนำไปฝัง [3]  อีกตำนานหนึ่งชาวทิเบตเป็นลูกหลานของลิงกับยักษ์ ลิงนั้นจริงๆแล้วคือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์  ( ภาษาทิเบต :  Spyan-ras-gzigs)  ส่วนยักษ์นั้นคือพระนางตารา  ( ภาษาทิเบต :' Grol-ma) [4]
ยุคจักรวรรดิทิเบต จักรวรรดิทิเบตเรืองอำนาจในช่วงพุทธศตวรรษที่  12 – 16  โดยมีอาณาเขตทางใต้จดเบงกอล ทางเหนือจดมองโกเลีย  การปรากฏตัวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงทิเบตครั้งแรกในหนังสือภูมิศาสตร์ของปโตเลมีในชื่อ บาทายซึ่งมาจากชื่อพื้นเมือง “บอด”  ( Bod)  ทิเบตปรากฏในประวัติศาสตร์จีนครั้งแรกในชื่อ “ฟา” เมื่อพระเจ้านัมริ โลนซัน ส่งราชทูตไปจีนในพุทธศตวรรษที่  12
การก่อตั้งราชวงศ์ การก่อตัวของทิเบตเริ่มที่ปราสาทตักเซในตำบลชิงบา เขตชองกยา ตามที่กล่าวถึงในพงศาวดารทิเบตโบราณ “กลุ่มของผู้สนับสนุนยุยงให้ตันบูญาซิกก่อกบฏต่อต้านคูทริ ซิงโปเช” ซิงโปเชนี้เป็นขุนนางของจักรวรรดิจางจุงภายใต้การปกครองของราชวงศ์สิกมยี  [6]  ซิงโปเชตายก่อนที่กลุ่มกบฏจะชนะ และลูกชายของเขาคือนัมริ โลนซัน ขึ้นเป็นผู้กุมอำนาจคนต่อมา และเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิทิเบตขึ้น เขาส่งทูตไปจีนสองครั้งในพ . ศ . 1191  และ  1192  เป็นการเปิดตัวต่อนานาชาติครั้งแรกของทิเบต
สมัยพระเจ้าซรอนซัน กัมโป           พระเจ้าซรอนซัน กัมโป ( กลาง )  เจ้าหญิงเวนเชิง  ( ขวา )  และเจ้าหญิงภริคุติ ( ซ้าย ) ใน พ . ศ . 1173  ถือว่าเป็นยุคประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป สนับสนุนให้มีการศึกษาพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่นำเข้ามาตั้งแต่ยุคต้น  ( พ . ศ . 976)  พร้อมดำเนินการปฏิรูปศรัทธาทิเบต ต่อมาประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสี  2  พระองค์ คือพระนางเหวินเฉิง พระธิดาของกษัตริย์ถังไท้จงแห่งจีน และพระนางภริคุติเทวี
เทวี พระธิดาของพระเจ้าอัมสุวารมาแห่งเนปาล ทั้งสองพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายานอย่างเคร่งครัด จึงได้นำพระพุทธรูปมาด้วยทั้งสองพระองค์ คือเจ้าหญิงเหวินเฉิง นำพระพุทธรูปชื่อโจโว มาประดิษฐานที่วัดซิลลากัง ในกรุงลาซา และเจ้าหญิงภริคุตเทวีได้นำพระพุทธรูปศากยมุนีที่สำคัญมาประดิษฐานที่วัดราโมเช ซึ่งเป็นวัดหลวง และมีความสำคัญรองเป็นอันดับสองในกรุงลาซา ช่วงนี้ได้มีชาวทิเบตเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปศึกษาในจีน และพระภิกษุชาวจีนก็มาศึกษาในทิเบตเพื่อแปลพระคัมภีร์และพระสูตรจำนวนมาก ในยุคนี้พระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ทรงส่งทูตชื่อ ทอนมี สัมโภตะ ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา แล้วกลับทิเบต ท่านได้เริ่มงานประดิษฐ์อักษร และเขียนไวยากรณ์สอนชาวทิเบต โดยใช้อักษรพราหมี ที่นิยมใช้กันในกัศมีร์  ( แคชเมียร์ )  และดำเนินงานเผยแผ่พุทธศาสนาทำให้ประชาชนเลื่อมใส
สมัยพระเจ้าตริมัง โลนซัน  (1193 – 1220) สมัยนี้เป็นสมัยที่เสนาบดีตระกูลคัรมีอำนาจ เสนาบดีคัร ซงซัน เป็นผู้รวมเขตอาซาเข้ากับทิเบต เขาตายเมื่อ พ . ศ . 1210  ทิเบตชนะและเข้ายึดครองโกตันในช่วง พ . ศ . 1208 – 1213  พระเจ้าตริมัง โลนซัน อภิเษกกับเจ้าหญิงทริมาโล ซึ่งต่อมาเป็นผู้มีบทบาทมากในประวัติศาสตร์ทิเบต พระเจ้าตริมังสิ้นพระชนม์ในปลายปี พ . ศ . 1219  หลังจากนั้นอาณาจักรจางจุงก่อกบฏต่อทิเบตและเป็นปีเดียวกับที่ตริดู ซงซัน โอรสของพระเจ้าตริมัง โลนซันประสูติ
  สมัยพระเจ้าตริดู ซงซัน  (1220 – 1247) พระเจ้าตริดู ซงซันปกรองทิเบตภายใต้การบงการของมารดาคือพระนางทริมาโล และเสนาบดีคัร ตันยาดมบู พ . ศ . 1228  เสนาบดีผู้นี้ถึงแก่กรรม น้องชายของเขาคือคัร ตริดริงซันโดร ขึ้นมากุมอำนาจแทน พ . ศ . 1235  ทิเบตเสียที่ราบตาริมให้จีน ตริดริงซันโดรรบชนะจีนได้ในพ . ศ . 1239  และมีการทำสัญญาสงบศึกกัน ใน พ . ศ . 1241  พระเจ้าตริดู ซงซันเชิญตระกูลคัร  ( มากกว่า  2000  คน )  มาในงานเลี้ยงแล้วจับประหารชีวิตทั้งหมด มีเพียงตริดริงซันโดรที่ได้รับอนุญาตให้ฆ่าตัวตาย กองทหารที่ภักดีต่อเขาหนีไปสวามิภักดิ์ต่อจีน อำนาจของตระกูลคัรจึงสิ้นสุดลง ตั้งแต่ พ . ศ . 1243  จนสวรรคต พระเจ้าตริดู ซงซันได้ขยายอำนาจออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตทิเบตกลางโดยให้มารดาของพระองค์คือพระนางทริมาโลบริหารประเทศแทน  [10]  พ . ศ . 1245  จีนกับทิเบตทำสัญญาสงบศึก ในปลายปีนั้นทิเบตเข้าครอบครองเขตซุมรูทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูร้อนของ พ . ศ . 1246  พระเจ้าตริดู ซงซันยกทัพไปถึงแม่น้ำยังเซและรุกรานดินแดนยาง  ( Jang)  พ . ศ . 1247  ยกทัพไปตีเมียวา  ( Mywa)  บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงแต่พระองค์สิ้นพระชนม์ในการรบครั้งนี้  [11]
สมัยพระเจ้าตริเด ซุกซัน  (1247 – 1297) กยัล ซุกรูที่ต่อมาจะขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าตริเด ซุกซัน เกิดเมื่อ พ . ศ . 1247  เมื่อพระเจ้าตริดู ซงซันสิ้นพระชนม์ พระนางทริมาโลจึงเป็นผู้กุมอำนาจทางการเมือง พี่ชายที่แก่กว่ากยัล ซุกรู  1  ปี คือ ลาบัลโพถูกตัดสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์  [12]  พระนางทริมาโลเชิญเจ้าหญิงซินเชิงจากจีนแต่ไม่ทราบว่าอภิเษกกับใครระหว่างกยัล ซุกรูที่อายุเพียง  7  ปีหรือลาบัลโพ  [13][14]  กยัล ซุกรูขึ้นครองราชย์เมื่อ พ . ศ . 1255  ในนามพระเจ้าตริเด ซุกซันหลังจากที่พระนางทริมาโลสิ้นพระชนม์ ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พวกอาหรับและเตอร์กิสมีอำนาจมากขึ้นระหว่าง พ . ศ . 1253 – 1263  ทิเบตทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับอาหรับและเติร์กตะวันออก ทิเบตทำสงครามกับจีนใน พ . ศ . 1272  ช่วงแรกทิเบตและชาวเติร์กที่เป็นพันธมิตรไดรับชัยชนะแต่มาเพลี่ยงพล้ำในช่วงหลัง จนกระทั่งเกิดกบฏในจีนตอนใต้และทิเบตกลับมาชนะอีกครั้งในพ . ศ . 1273  จึงมีการสงบศึก
ใน พ . ศ . 1277  มีการอภิเษกระหว่างเจ้าหญิงดรอนมาโลนของทิเบตกับข่านสูงสุดของชาวเติร์ก จีนเป็นพันธมิตรกับอาหรับเข้ารุกรานชาวเติร์ก เมื่อสงครามจีน – เติร์ก สิ้นสุดลง จีนหันมาโจมตีทิเบต ทิเบตประสบชัยชนะในแนวรบด้านตะวันออกและยันไว้ได้ในแนวรบด้านตะวันตก เมื่อจักรวรรดิของชาวเติร์ก ล่มลงด้วยปัญหาภายใน ทิเบตได้เข้าโจมตีดินแดนของชาวเติร์ก เมื่อ พ . ศ . 1280  กษัตริย์บรูซาของเตริ์กขอให้จีนช่วย แต่ทิเบตก็เข้ายึดครองดินแดนของชาวเติร์กไว้ได้จน พ . ศ . 1290  อำนาจของทิเบตในเอเชียกลางอ่อนแอลงจนสูญเสียเมืองขึ้นไปเกือบหมด ทั้งนี้เนื่องด้วยความสามารถของนายพลเถา เซียนฉี ของจีนที่มุ่งมั่นจะเปิดการติดต่อโดยตรงระหว่างจีนกับเอเชียกลางและแคชเมียร์อีกครั้ง หลังจากสงครามระหว่างจีนกับอาหรับในพ . ศ . 1294  อำนาจของจีนในเอเชียกลางเริ่มอ่อนแอลงอีก ส่วนอำนาจของทิเบตเริ่มฟื้นตัวขึ้นมา พ . ศ . 1298  พระเจ้าตริเด ซุกซันถูกปลงพระชนม์โดยเสนาบดีจังและบัล เจ้าชายซอง เดซันได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา
สมัยพระเจ้าตริสอง เดซัน ใน พ . ศ . 1298-1340  พระเจ้าตริสอง เดซัน กษัตริย์องค์ที่  5  นับจากพระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ไปอาราธนา พระศานตรักษิต ที่เคยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทามาเผบแผ่หลักคำสอนอันบริสุทธิ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากท่านสอนแต่หลักธรรม แต่ไม่สอนเวทมนตร์คาถา แต่ชาวทิเบต มีความเชื่อเรื่องอำนาจภูติผีของลัทธิบอน และขณะนั้นเกิดโรคระบาด และภัยธรรมชาติ ทำให้ประชาชนเชื่อว่าท่านนำเหตุการณ์นี้มาด้วย ท่านได้กลับไปอินเดีย แล้วไปอาราธนา พระปัทมสัมภวะ พระราชโอรสของพระเจ้าอินทรภูมิ แห่งแคว้นอุทยานซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานให้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิตันตระ ถูกกับอัธยาศัยของประชาชน ท่านมีความชำนาญในเรื่องไสยศาสตร์สามารถปราบปีศาจ
และทำให้ภูติผีปีศาจกลับมาสนับสนุนปกป้องพระพุทธศาสนาด้วย เหตุการณ์จึงสงบประชาชนฝ่ายข้าราชการ และฝ่ายราชสำนักก็ยอมรับนับถือท่านว่าเป็น คุรุรินโปเช คือพระอาจารย์ใหญ่ของพวกเขา ท่านปัทมสัมภวะได้สร้างวัดในพุทธศาสนาแห่งแรกของทิเบตในนาม วัดสัมเย ตามความเชื่อของอินเดียที่มีเขาพระสุเมรุ  ( อ่านว่า เขา - พระ - สุ - เมน )  อยู่ตรงกลาง มีอารามอยู่  4  ทิศ และมีอารามด้านนอกอีกแปดทิศ เป็นสัญลักษณ์ของทวีปในจักรวาล มีอีกวัดทางตะวันออก และตะวันตกเฉียงเหนือเป็นสัญลักษณ์พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในวัดนี้มีห้องสมุด ห้องนั่งสมาธิโดยอาจารย์สอนสมาธิจากจีน พุทธศาสนาลัทธิตันตระ เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา จนถึง พุทธศตวรรษที่  16  มีชื่อกำหนดแยกจำเพาะออกไปว่า  " นิกายเนียงมา  ( เนียงมาปะ )  หรือนิกายหมวกแดง "  ต่อมาพระศานตรักษิต ได้กลับทิเบตเพื่อปฏิบัติศาสนกิจครั้งจนมรณภาพที่นั่น ท่านได้แปลพระคัมภีร์ และเป็นอุชฌาย์บวชให้แก่ชายหนุ่มทิเบต  5  คน เพื่อวางรากฐานการบวชสายทิเบต ตามพระราชดำริของพระเจ้าตริสองเดซัน อุปสมบทกรรมที่นั่นมีพระนิกายสรวาทสติวาทร่วมด้วย  12  รูป
สมัยพระเจ้าตริเด ซองซัน  (1342 – 1358) ในสมัยนี้มีการทำสงครามต่อต้านอาหรับทางตะวันตก ทิเบตแผ่อำนาจไปได้ไกลถึงสมารขัณฑ์และคาบูล แต่ต่อมารัฐบาลของทิเบตในคาบูลหันไปรวมกับอาหรับและเปลี่ยนเป็นมุสลิม ในช่วง พ . ศ . 1355 – 1358  พวกอาหรับแผ่อิทธิพลไปไกลถึงแคชเมียร์ ในเวลาเดียวกัน ชาวอุยกูร์รุกรานทิเบตทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วย
ภูมิศาสตร์           ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด  45  องศา  33  ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด  20  องศา  25  ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวทั้งสิ้น  3,800  กม . เขตการปกครองตนเองทิเบตตั้งอยู่บนที่ราบสูงชิงไห่ - ทิเบต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลังคาโลก” โดยมีความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ย  4,572  เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด  1,200,000  ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่  1  ใน  8  ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ของทิเบตนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ พื้นที่ทางตอนเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยภูเขาอาร์เอ๋อไท่ ภูเขาถางกู่ลา ที่ราบแอ่งกะทะจุ่นก๋าเอ๋อ และทะเลทรายกู่เอ๋อปานทงกู่เท่อ และภูเขาเฟิงตี่ซี โดยพื้นที่ทางตอนเหนือดังกล่าวนั้นคิดเป็นพื้นที่ถึงสองในสามของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่สองคือ พื้นที่แถบหุบเขาทางตอนใต้
ประกอบไปด้วยพื้นที่ระหว่างหุบเขาเฟิงตี่ซีและภูเขาหิมาลัย และมีแม่น้าหยาหลู่จ้างปู้ไหลระหว่างกลาง ซึ่งแม่น้าดังกล่าวเป็นแม่น้าที่มีความลึกที่สุดในโลก ทั้งนี้มีความลึกถึง  5,382  เมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้าทะเล  6,000  เมตรขึ้นไป พื้นที่ส่วนที่สามประกอบด้วยภูเขาและหุบเขาทางตะวันออก เป็นลักษณะหุบเขาและภูเขาที่ลดหลั่นสลับกันไป ในแนวนอนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกตามแนวเทือกเขาคุนหลุน และพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกนั้นก็เป็นที่ตั้งของเทือกเขาหิมาลัย และมียอดเขาเอเวอร์เรสซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูงจากระดับน้าทะเล  8,848.13  เมตร
เงินตรา          ควรแลกเงินหยวน จากประเทศไทยไปให้เรียบร้อย อัตราแลกเปลี่ยน   1  หยวน  :  5.20  บาท  ( ค่าครองชีพในจีน ตัวอย่าง น้ำเปล่า   1  ขวด   2Y/  มาม่าคัพ   3Y) ไฟฟ้า          ระบบไฟฟ้าใช้   220 V  และ รูปแบบปลั๊กเช่นเดียวกับเมืองไทย เวลา          ทิเบตเวลาเร็วกว่าประเทศไทย   1  ชั่วโมง
ในการสังคมมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น ๓ชั้น ใน ๓ชั้นๆหนึ่งยังแบ่งเป็น ๓ชั้นเล็ก สรุปรวมได้ ๑๒ ชั้น ดังต่อไปนี้ ชั้นที่ ๑ หรือชั้นสูงสุด เรียกว่า ลาปู้  (1)  ลาปู้เจียลาปู้ ชั้นนี้ได้แก่พระราชาและเจ้าในราชวงศ์ และพระภิกษุที่มี ตำแหน่งเป็นสังฆราช หรือพระเจ้าทรงชีพ  (2)  ลาปู้เจียติง ชั้นนี้ได้แก่ผู้สำเร็จราชการ ,  อัครมหามนตรี เสนาบดีผู้ใหญ่  (3)  ลาปู้เจียต๋าหม่า ชั้นนี้ได้แก่เลขานุการของขุนนางผู้ใหญ่ ,  ขุนนางข้าราชการ และพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป 
ชั้นที่ ๒ หรือชั้นกลางเรียกว่า เติง   (1)  เติงเจียลาปู้ ชั้นนี้ได้แก่พวกเศรษฐีคฤหบดีเจ้าของ ที่ดินและพวกราชวงศ์ตระกูลใหญ่ๆ ซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณหรือผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง   ( 2 )   เติงเจียติง ชั้นนี้ได้แก่นักเขียน ,  คนครัว   ( 3 )   เติงเจียต๋าหม่า ชั้นนี้ได้แก่ทหาร ,  ชาวนา ,  ผู้ทำกสิกรรมอื่นๆ     ชั้นที่ ๓ หรือชั้นต่ำ เรียกว่า ต๋าหม่า   (1)   ต๋าหม่าลาปู้ ได้แก่พวกทาสรับใช้   (2)   ต๋าหม่าเติง ได้แก่พวกเร่ร่อนยากจน ไม่มีที่พักอาศัย   (3)   ต๋าหม่าต๋าหม่า ได้แก่พวกสับเหร่อ กรรมกร เช่น ช่างเหล็ก ,  ช่างทอง ,  พวกเพชรฆาต ,  พวกฆ่าสัตว์ ,  พวกกวาดถนน .
ภาษาทิเบต                ภาษาทิเบต   เป็นภาษาในตระกูลทิเบต - พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่นๆได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเชอร์ปา

More Related Content

Viewers also liked

คุณครูเกษียณ
คุณครูเกษียณคุณครูเกษียณ
คุณครูเกษียณChutima Su
 
アプリコンテスト
アプリコンテストアプリコンテスト
アプリコンテストTomonori Yamada
 
Tommy Sandy 50th Anniversary 2nd
Tommy Sandy 50th Anniversary 2ndTommy Sandy 50th Anniversary 2nd
Tommy Sandy 50th Anniversary 2ndShari Locke
 
คุณครูที่เกษียณ
คุณครูที่เกษียณคุณครูที่เกษียณ
คุณครูที่เกษียณChutima Su
 
GlobalResolve in Ghana, Africa
GlobalResolve in Ghana, AfricaGlobalResolve in Ghana, Africa
GlobalResolve in Ghana, AfricaHeather Hazzan
 
ส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริ
ส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริ
ส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริChutima Su
 
Tommy Sandy 50th Anniversary 3rd
Tommy Sandy 50th Anniversary 3rdTommy Sandy 50th Anniversary 3rd
Tommy Sandy 50th Anniversary 3rdShari Locke
 

Viewers also liked (8)

คุณครูเกษียณ
คุณครูเกษียณคุณครูเกษียณ
คุณครูเกษียณ
 
アプリコンテスト
アプリコンテストアプリコンテスト
アプリコンテスト
 
Tommy Sandy 50th Anniversary 2nd
Tommy Sandy 50th Anniversary 2ndTommy Sandy 50th Anniversary 2nd
Tommy Sandy 50th Anniversary 2nd
 
คุณครูที่เกษียณ
คุณครูที่เกษียณคุณครูที่เกษียณ
คุณครูที่เกษียณ
 
Java_script_day
  Java_script_day  Java_script_day
Java_script_day
 
GlobalResolve in Ghana, Africa
GlobalResolve in Ghana, AfricaGlobalResolve in Ghana, Africa
GlobalResolve in Ghana, Africa
 
ส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริ
ส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริ
ส่งงานครูเกษียณโรงเรียนราชดำริ
 
Tommy Sandy 50th Anniversary 3rd
Tommy Sandy 50th Anniversary 3rdTommy Sandy 50th Anniversary 3rd
Tommy Sandy 50th Anniversary 3rd
 

ธิเบต

  • 1. ธิเบต จัดทำโดย นางสาวชุติมา สมอคำ ม .6/7 เลขที่ 7 เสนอ คุณครูอินทิรา รัตนนานันท์
  • 2. ประวัติศาสตร์ธิเบต  ทิเบต ( Tibet) ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาติ
  • 3. ตำนานทางประวัติศาสตร์ กษัตริย์องค์แรกของทิเบต ญาตริ ซันโป ( ระบบ Wylie: Gnya-khri-btsan-po) เชื่อกันว่าเป็นผู้เสด็จมาจากสวรรค์หรือมาจากอินเดีย และโดยลักษณะที่แปลกไปจากมนุษย์เช่น มีพังผืดระหว่างนิ้วและหนังตาปิดจากล่างขึ้นบน คนท้องถิ่นจึงเชื่อว่าพระองค์เป็นพระเจ้า กษัตริย์พระองค์นี้และองค์ต่อๆมา ติดต่อกับสวรรค์ได้โดยมีสายเชือกโยงกับสวรรค์ กษัตริย์ในตำนานอีกองค์หนึ่งคือ ทริคัม เซ็นโป ( Dri-gum-brtsan-po) ยุแหย่ให้องครักษ์ของพระองค์ชื่อโลงัม ( Lo-ngam) ต่อสู้กับพระองค์ ในระหว่างการต่อสู้ สายเชือกที่โยงพระองค์กับสวรรค์ถูกตัดขาด และพระองค์ถูกฆ่าตาย ตั้งแต่นั้นมากษัตริย์ทุกพระองค์จึงทิ้งซากศพไว้ในเมืองมนุษย์ และต้องนำไปฝัง [3] อีกตำนานหนึ่งชาวทิเบตเป็นลูกหลานของลิงกับยักษ์ ลิงนั้นจริงๆแล้วคือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ( ภาษาทิเบต : Spyan-ras-gzigs) ส่วนยักษ์นั้นคือพระนางตารา ( ภาษาทิเบต :' Grol-ma) [4]
  • 4. ยุคจักรวรรดิทิเบต จักรวรรดิทิเบตเรืองอำนาจในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 โดยมีอาณาเขตทางใต้จดเบงกอล ทางเหนือจดมองโกเลีย การปรากฏตัวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงทิเบตครั้งแรกในหนังสือภูมิศาสตร์ของปโตเลมีในชื่อ บาทายซึ่งมาจากชื่อพื้นเมือง “บอด” ( Bod) ทิเบตปรากฏในประวัติศาสตร์จีนครั้งแรกในชื่อ “ฟา” เมื่อพระเจ้านัมริ โลนซัน ส่งราชทูตไปจีนในพุทธศตวรรษที่ 12
  • 5. การก่อตั้งราชวงศ์ การก่อตัวของทิเบตเริ่มที่ปราสาทตักเซในตำบลชิงบา เขตชองกยา ตามที่กล่าวถึงในพงศาวดารทิเบตโบราณ “กลุ่มของผู้สนับสนุนยุยงให้ตันบูญาซิกก่อกบฏต่อต้านคูทริ ซิงโปเช” ซิงโปเชนี้เป็นขุนนางของจักรวรรดิจางจุงภายใต้การปกครองของราชวงศ์สิกมยี [6] ซิงโปเชตายก่อนที่กลุ่มกบฏจะชนะ และลูกชายของเขาคือนัมริ โลนซัน ขึ้นเป็นผู้กุมอำนาจคนต่อมา และเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิทิเบตขึ้น เขาส่งทูตไปจีนสองครั้งในพ . ศ . 1191 และ 1192 เป็นการเปิดตัวต่อนานาชาติครั้งแรกของทิเบต
  • 6. สมัยพระเจ้าซรอนซัน กัมโป           พระเจ้าซรอนซัน กัมโป ( กลาง ) เจ้าหญิงเวนเชิง ( ขวา ) และเจ้าหญิงภริคุติ ( ซ้าย ) ใน พ . ศ . 1173 ถือว่าเป็นยุคประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป สนับสนุนให้มีการศึกษาพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่นำเข้ามาตั้งแต่ยุคต้น ( พ . ศ . 976) พร้อมดำเนินการปฏิรูปศรัทธาทิเบต ต่อมาประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสี 2 พระองค์ คือพระนางเหวินเฉิง พระธิดาของกษัตริย์ถังไท้จงแห่งจีน และพระนางภริคุติเทวี
  • 7. เทวี พระธิดาของพระเจ้าอัมสุวารมาแห่งเนปาล ทั้งสองพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายานอย่างเคร่งครัด จึงได้นำพระพุทธรูปมาด้วยทั้งสองพระองค์ คือเจ้าหญิงเหวินเฉิง นำพระพุทธรูปชื่อโจโว มาประดิษฐานที่วัดซิลลากัง ในกรุงลาซา และเจ้าหญิงภริคุตเทวีได้นำพระพุทธรูปศากยมุนีที่สำคัญมาประดิษฐานที่วัดราโมเช ซึ่งเป็นวัดหลวง และมีความสำคัญรองเป็นอันดับสองในกรุงลาซา ช่วงนี้ได้มีชาวทิเบตเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปศึกษาในจีน และพระภิกษุชาวจีนก็มาศึกษาในทิเบตเพื่อแปลพระคัมภีร์และพระสูตรจำนวนมาก ในยุคนี้พระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ทรงส่งทูตชื่อ ทอนมี สัมโภตะ ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา แล้วกลับทิเบต ท่านได้เริ่มงานประดิษฐ์อักษร และเขียนไวยากรณ์สอนชาวทิเบต โดยใช้อักษรพราหมี ที่นิยมใช้กันในกัศมีร์ ( แคชเมียร์ ) และดำเนินงานเผยแผ่พุทธศาสนาทำให้ประชาชนเลื่อมใส
  • 8. สมัยพระเจ้าตริมัง โลนซัน (1193 – 1220) สมัยนี้เป็นสมัยที่เสนาบดีตระกูลคัรมีอำนาจ เสนาบดีคัร ซงซัน เป็นผู้รวมเขตอาซาเข้ากับทิเบต เขาตายเมื่อ พ . ศ . 1210 ทิเบตชนะและเข้ายึดครองโกตันในช่วง พ . ศ . 1208 – 1213 พระเจ้าตริมัง โลนซัน อภิเษกกับเจ้าหญิงทริมาโล ซึ่งต่อมาเป็นผู้มีบทบาทมากในประวัติศาสตร์ทิเบต พระเจ้าตริมังสิ้นพระชนม์ในปลายปี พ . ศ . 1219 หลังจากนั้นอาณาจักรจางจุงก่อกบฏต่อทิเบตและเป็นปีเดียวกับที่ตริดู ซงซัน โอรสของพระเจ้าตริมัง โลนซันประสูติ
  • 9.   สมัยพระเจ้าตริดู ซงซัน (1220 – 1247) พระเจ้าตริดู ซงซันปกรองทิเบตภายใต้การบงการของมารดาคือพระนางทริมาโล และเสนาบดีคัร ตันยาดมบู พ . ศ . 1228 เสนาบดีผู้นี้ถึงแก่กรรม น้องชายของเขาคือคัร ตริดริงซันโดร ขึ้นมากุมอำนาจแทน พ . ศ . 1235 ทิเบตเสียที่ราบตาริมให้จีน ตริดริงซันโดรรบชนะจีนได้ในพ . ศ . 1239 และมีการทำสัญญาสงบศึกกัน ใน พ . ศ . 1241 พระเจ้าตริดู ซงซันเชิญตระกูลคัร ( มากกว่า 2000 คน ) มาในงานเลี้ยงแล้วจับประหารชีวิตทั้งหมด มีเพียงตริดริงซันโดรที่ได้รับอนุญาตให้ฆ่าตัวตาย กองทหารที่ภักดีต่อเขาหนีไปสวามิภักดิ์ต่อจีน อำนาจของตระกูลคัรจึงสิ้นสุดลง ตั้งแต่ พ . ศ . 1243 จนสวรรคต พระเจ้าตริดู ซงซันได้ขยายอำนาจออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตทิเบตกลางโดยให้มารดาของพระองค์คือพระนางทริมาโลบริหารประเทศแทน [10] พ . ศ . 1245 จีนกับทิเบตทำสัญญาสงบศึก ในปลายปีนั้นทิเบตเข้าครอบครองเขตซุมรูทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูร้อนของ พ . ศ . 1246 พระเจ้าตริดู ซงซันยกทัพไปถึงแม่น้ำยังเซและรุกรานดินแดนยาง ( Jang) พ . ศ . 1247 ยกทัพไปตีเมียวา ( Mywa) บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงแต่พระองค์สิ้นพระชนม์ในการรบครั้งนี้ [11]
  • 10. สมัยพระเจ้าตริเด ซุกซัน (1247 – 1297) กยัล ซุกรูที่ต่อมาจะขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าตริเด ซุกซัน เกิดเมื่อ พ . ศ . 1247 เมื่อพระเจ้าตริดู ซงซันสิ้นพระชนม์ พระนางทริมาโลจึงเป็นผู้กุมอำนาจทางการเมือง พี่ชายที่แก่กว่ากยัล ซุกรู 1 ปี คือ ลาบัลโพถูกตัดสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์ [12] พระนางทริมาโลเชิญเจ้าหญิงซินเชิงจากจีนแต่ไม่ทราบว่าอภิเษกกับใครระหว่างกยัล ซุกรูที่อายุเพียง 7 ปีหรือลาบัลโพ [13][14] กยัล ซุกรูขึ้นครองราชย์เมื่อ พ . ศ . 1255 ในนามพระเจ้าตริเด ซุกซันหลังจากที่พระนางทริมาโลสิ้นพระชนม์ ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พวกอาหรับและเตอร์กิสมีอำนาจมากขึ้นระหว่าง พ . ศ . 1253 – 1263 ทิเบตทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับอาหรับและเติร์กตะวันออก ทิเบตทำสงครามกับจีนใน พ . ศ . 1272 ช่วงแรกทิเบตและชาวเติร์กที่เป็นพันธมิตรไดรับชัยชนะแต่มาเพลี่ยงพล้ำในช่วงหลัง จนกระทั่งเกิดกบฏในจีนตอนใต้และทิเบตกลับมาชนะอีกครั้งในพ . ศ . 1273 จึงมีการสงบศึก
  • 11. ใน พ . ศ . 1277 มีการอภิเษกระหว่างเจ้าหญิงดรอนมาโลนของทิเบตกับข่านสูงสุดของชาวเติร์ก จีนเป็นพันธมิตรกับอาหรับเข้ารุกรานชาวเติร์ก เมื่อสงครามจีน – เติร์ก สิ้นสุดลง จีนหันมาโจมตีทิเบต ทิเบตประสบชัยชนะในแนวรบด้านตะวันออกและยันไว้ได้ในแนวรบด้านตะวันตก เมื่อจักรวรรดิของชาวเติร์ก ล่มลงด้วยปัญหาภายใน ทิเบตได้เข้าโจมตีดินแดนของชาวเติร์ก เมื่อ พ . ศ . 1280 กษัตริย์บรูซาของเตริ์กขอให้จีนช่วย แต่ทิเบตก็เข้ายึดครองดินแดนของชาวเติร์กไว้ได้จน พ . ศ . 1290 อำนาจของทิเบตในเอเชียกลางอ่อนแอลงจนสูญเสียเมืองขึ้นไปเกือบหมด ทั้งนี้เนื่องด้วยความสามารถของนายพลเถา เซียนฉี ของจีนที่มุ่งมั่นจะเปิดการติดต่อโดยตรงระหว่างจีนกับเอเชียกลางและแคชเมียร์อีกครั้ง หลังจากสงครามระหว่างจีนกับอาหรับในพ . ศ . 1294 อำนาจของจีนในเอเชียกลางเริ่มอ่อนแอลงอีก ส่วนอำนาจของทิเบตเริ่มฟื้นตัวขึ้นมา พ . ศ . 1298 พระเจ้าตริเด ซุกซันถูกปลงพระชนม์โดยเสนาบดีจังและบัล เจ้าชายซอง เดซันได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา
  • 12. สมัยพระเจ้าตริสอง เดซัน ใน พ . ศ . 1298-1340 พระเจ้าตริสอง เดซัน กษัตริย์องค์ที่ 5 นับจากพระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ไปอาราธนา พระศานตรักษิต ที่เคยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทามาเผบแผ่หลักคำสอนอันบริสุทธิ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากท่านสอนแต่หลักธรรม แต่ไม่สอนเวทมนตร์คาถา แต่ชาวทิเบต มีความเชื่อเรื่องอำนาจภูติผีของลัทธิบอน และขณะนั้นเกิดโรคระบาด และภัยธรรมชาติ ทำให้ประชาชนเชื่อว่าท่านนำเหตุการณ์นี้มาด้วย ท่านได้กลับไปอินเดีย แล้วไปอาราธนา พระปัทมสัมภวะ พระราชโอรสของพระเจ้าอินทรภูมิ แห่งแคว้นอุทยานซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานให้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิตันตระ ถูกกับอัธยาศัยของประชาชน ท่านมีความชำนาญในเรื่องไสยศาสตร์สามารถปราบปีศาจ
  • 13. และทำให้ภูติผีปีศาจกลับมาสนับสนุนปกป้องพระพุทธศาสนาด้วย เหตุการณ์จึงสงบประชาชนฝ่ายข้าราชการ และฝ่ายราชสำนักก็ยอมรับนับถือท่านว่าเป็น คุรุรินโปเช คือพระอาจารย์ใหญ่ของพวกเขา ท่านปัทมสัมภวะได้สร้างวัดในพุทธศาสนาแห่งแรกของทิเบตในนาม วัดสัมเย ตามความเชื่อของอินเดียที่มีเขาพระสุเมรุ ( อ่านว่า เขา - พระ - สุ - เมน ) อยู่ตรงกลาง มีอารามอยู่ 4 ทิศ และมีอารามด้านนอกอีกแปดทิศ เป็นสัญลักษณ์ของทวีปในจักรวาล มีอีกวัดทางตะวันออก และตะวันตกเฉียงเหนือเป็นสัญลักษณ์พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในวัดนี้มีห้องสมุด ห้องนั่งสมาธิโดยอาจารย์สอนสมาธิจากจีน พุทธศาสนาลัทธิตันตระ เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา จนถึง พุทธศตวรรษที่ 16 มีชื่อกำหนดแยกจำเพาะออกไปว่า " นิกายเนียงมา ( เนียงมาปะ ) หรือนิกายหมวกแดง " ต่อมาพระศานตรักษิต ได้กลับทิเบตเพื่อปฏิบัติศาสนกิจครั้งจนมรณภาพที่นั่น ท่านได้แปลพระคัมภีร์ และเป็นอุชฌาย์บวชให้แก่ชายหนุ่มทิเบต 5 คน เพื่อวางรากฐานการบวชสายทิเบต ตามพระราชดำริของพระเจ้าตริสองเดซัน อุปสมบทกรรมที่นั่นมีพระนิกายสรวาทสติวาทร่วมด้วย 12 รูป
  • 14. สมัยพระเจ้าตริเด ซองซัน (1342 – 1358) ในสมัยนี้มีการทำสงครามต่อต้านอาหรับทางตะวันตก ทิเบตแผ่อำนาจไปได้ไกลถึงสมารขัณฑ์และคาบูล แต่ต่อมารัฐบาลของทิเบตในคาบูลหันไปรวมกับอาหรับและเปลี่ยนเป็นมุสลิม ในช่วง พ . ศ . 1355 – 1358 พวกอาหรับแผ่อิทธิพลไปไกลถึงแคชเมียร์ ในเวลาเดียวกัน ชาวอุยกูร์รุกรานทิเบตทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วย
  • 15. ภูมิศาสตร์           ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด  45  องศา  33  ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด  20  องศา  25  ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวทั้งสิ้น  3,800  กม . เขตการปกครองตนเองทิเบตตั้งอยู่บนที่ราบสูงชิงไห่ - ทิเบต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลังคาโลก” โดยมีความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ย  4,572  เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด  1,200,000  ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่  1  ใน  8  ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ของทิเบตนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ พื้นที่ทางตอนเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยภูเขาอาร์เอ๋อไท่ ภูเขาถางกู่ลา ที่ราบแอ่งกะทะจุ่นก๋าเอ๋อ และทะเลทรายกู่เอ๋อปานทงกู่เท่อ และภูเขาเฟิงตี่ซี โดยพื้นที่ทางตอนเหนือดังกล่าวนั้นคิดเป็นพื้นที่ถึงสองในสามของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่สองคือ พื้นที่แถบหุบเขาทางตอนใต้
  • 16. ประกอบไปด้วยพื้นที่ระหว่างหุบเขาเฟิงตี่ซีและภูเขาหิมาลัย และมีแม่น้าหยาหลู่จ้างปู้ไหลระหว่างกลาง ซึ่งแม่น้าดังกล่าวเป็นแม่น้าที่มีความลึกที่สุดในโลก ทั้งนี้มีความลึกถึง  5,382  เมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้าทะเล  6,000  เมตรขึ้นไป พื้นที่ส่วนที่สามประกอบด้วยภูเขาและหุบเขาทางตะวันออก เป็นลักษณะหุบเขาและภูเขาที่ลดหลั่นสลับกันไป ในแนวนอนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกตามแนวเทือกเขาคุนหลุน และพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกนั้นก็เป็นที่ตั้งของเทือกเขาหิมาลัย และมียอดเขาเอเวอร์เรสซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูงจากระดับน้าทะเล  8,848.13  เมตร
  • 17. เงินตรา          ควรแลกเงินหยวน จากประเทศไทยไปให้เรียบร้อย อัตราแลกเปลี่ยน   1  หยวน :  5.20  บาท ( ค่าครองชีพในจีน ตัวอย่าง น้ำเปล่า   1  ขวด   2Y/  มาม่าคัพ   3Y) ไฟฟ้า          ระบบไฟฟ้าใช้   220 V  และ รูปแบบปลั๊กเช่นเดียวกับเมืองไทย เวลา          ทิเบตเวลาเร็วกว่าประเทศไทย   1  ชั่วโมง
  • 18. ในการสังคมมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น ๓ชั้น ใน ๓ชั้นๆหนึ่งยังแบ่งเป็น ๓ชั้นเล็ก สรุปรวมได้ ๑๒ ชั้น ดังต่อไปนี้ ชั้นที่ ๑ หรือชั้นสูงสุด เรียกว่า ลาปู้  (1)  ลาปู้เจียลาปู้ ชั้นนี้ได้แก่พระราชาและเจ้าในราชวงศ์ และพระภิกษุที่มี ตำแหน่งเป็นสังฆราช หรือพระเจ้าทรงชีพ  (2)  ลาปู้เจียติง ชั้นนี้ได้แก่ผู้สำเร็จราชการ ,  อัครมหามนตรี เสนาบดีผู้ใหญ่  (3)  ลาปู้เจียต๋าหม่า ชั้นนี้ได้แก่เลขานุการของขุนนางผู้ใหญ่ ,  ขุนนางข้าราชการ และพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป 
  • 19. ชั้นที่ ๒ หรือชั้นกลางเรียกว่า เติง   (1)  เติงเจียลาปู้ ชั้นนี้ได้แก่พวกเศรษฐีคฤหบดีเจ้าของ ที่ดินและพวกราชวงศ์ตระกูลใหญ่ๆ ซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณหรือผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง   ( 2 )   เติงเจียติง ชั้นนี้ได้แก่นักเขียน ,  คนครัว   ( 3 )   เติงเจียต๋าหม่า ชั้นนี้ได้แก่ทหาร ,  ชาวนา ,  ผู้ทำกสิกรรมอื่นๆ     ชั้นที่ ๓ หรือชั้นต่ำ เรียกว่า ต๋าหม่า   (1)   ต๋าหม่าลาปู้ ได้แก่พวกทาสรับใช้   (2)   ต๋าหม่าเติง ได้แก่พวกเร่ร่อนยากจน ไม่มีที่พักอาศัย   (3)   ต๋าหม่าต๋าหม่า ได้แก่พวกสับเหร่อ กรรมกร เช่น ช่างเหล็ก ,  ช่างทอง ,  พวกเพชรฆาต ,  พวกฆ่าสัตว์ ,  พวกกวาดถนน .
  • 20. ภาษาทิเบต                ภาษาทิเบต   เป็นภาษาในตระกูลทิเบต - พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่นๆได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเชอร์ปา