SlideShare a Scribd company logo
01
ความเป็นมา
ของซีที
บทที่ 1
หนังสือ เอกซเรย์คอมพิวเต็ดโทโมกราฟฟี่: หลักการทางฟิสิกส์
เทคนิค และการควบคุมคุณภาพ เขียนโดย มานัส มงคลสุข
ค้นพบ รังสีเอกซ์
(X-ray)
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895
02
รูปที่ 1.1 วิลแฮล์ม คอนราด เรินท์เกน
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 นักฟิสิกส์ชาว
เยอรมันชื่อ วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน (Willhelm
Conrad Roentgen) ค้นพบ รังสีเอกซ์ (X-ray) ขณะ
ทำการศึกษารังสีแคโทด (Cathode ray)
เมื่อกล่าวถึงการนำรังสีเอกซ์มาใช้ประโยชน์ใน
ทางการแพทย์ ในระยะแรกกระทำเพียงฉายรังสี
เอกซ์ไปยังผู้ป่วยเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติของ
อวัยวะภายในร่างกายของผู้ป่วย โดยอาศัยหลัก
การเกิดภาพเช่นเดียวกับการเกิดภาพเงาดำของ
ร่างกายเราบนพื้นขณะที่เรายืนอยู่กลางแสงแดด
03
เมื่อใช้ความต่างศักย์ไฟฟาสูงมาก และพบว่ารังสีเอกซ์มีอำนาจ
ทะลุผ่านสูง สามารถเดินผ่านกระดาษหนาหรือสารอื่นๆที่มีความ
หนาแน่นต่ำได้ ทำปฏิกิริยากับฟิล์มถ่ายรูป เมื่อลองให้รังสีเอกซ์
เดินทางผ่านมือของภรรยาของเขาแล้วนำฟิล์มที่ถ่ายไปรับที่ฝั่ง
ตรงข้าม เมื่อล้างฟิล์มแล้วปรากฏภาพมือของภรรยาของเขา
ปรากฏบนฟิล์มเป็นภาพขาวดำ บริเวณที่เป็นเนื้อหนังจะเห็นเป็น
รอยสีเทาหรือดำ ส่วนบริเวณที่เป็นกระดูกนิ้วมือจะเห็นเป็นรอยสี
ขาว นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิชารังสีวิทยาทางการแพทย์
ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยโรคด้วยการพิจารณา
จากภาพถ่ายเอกซเรย์ธรรมดาหรือที่ได้ตามวิธีการนี้คือ
ประการแรก การซ้อนทับกันของเงา
ของอวัยวะใน 3 มิติ (3D) บนฟิล์มรับ
ภาพซึ่งเป็นระบบ 2 มิติ (2D) ทำให้
ภาพเอกซเรย์แบบนี้ดูซับซ้อนยากต่อ
การวินิจฉัยโรค ดังรูปที่ 1.2 และ รูป
ที่ 1.3
04
ประการที่สอง ภาพถ่ายเอกซเรย์
แบบธรรมดาไม่สามารถแยกความ
แตกต่างของซอฟท์ทิชชู (soft
tissue) เช่น ไม่สามารถแยกความ
แตกต่างระหว่างตับและตับอ่อน
เป็นต้น
ประการที่สาม ภาพเอกซเรย์แบบ
ธรรมดาไม่สามารถบอกความหนาแน่น
ที่แตกต่างกันของสารที่เป็นองค์
ประกอบของโครงสร้างภายในร่างกาย
มนุษย์ ภาพเอกซเรย์ธรรมดาเหล่านี้
เป็นเพียงการบันทึกการดูดกลืน โดย
เฉลี่ยของเนื้อเยื่อต่างๆที่รังสีเอกซ์ทะลุ
ทะลวงผ่านออกมา
รูปที่ 1.2 ภาพเอกซเรย์ของทรวงอก รูปที่ 1.3 แสดงการเกิดการซ้อน
ทับกันของวัตถุ(3D)บนภาพ(2D)
วิดีโอหลักการทำงานของ CT
(สามารถเข้าชมวิดีโอนี้ได้ในลิงค์ด้านล่าง)
05
เป็นเทคนิคที่ทำให้ได้ภาพของ
โครงสร้างภายในร่างกาย
ชัดเจนเพียงระนาบใดระนาบ
หนึ่งเท่านั้น
ขณะเดียวกันภาพเงาของ
ระนาบอื่นก็ปรากฏซ้อนทับ
ออกมาด้วยแต่ไม่คมชัด
ค.ศ.1922
นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ โบเคจ
(Bocage)
ได้เสนอเทคนิคการถ่ายภาพที่เรียกว่า โทโมกราฟี่ (tomography)


06
ขณะถ่ายภาพหลอดเอกซเรย์และฟิล์มเอกซเรย์จะเคลื่อนที่พร้อมกันแต่เคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกัน ทั้งนี้เพื่อต้องการ
กำจัดภาพเงาของระนาบที่อยู่ด้านบนและระนาบที่อยู่ด้านล่างของระนาบที่ต้องการออกไป ภาพที่ได้แม้จะชัดเจนเพียง
ระนาบเดียวคือระนาบที่ เรียกว่า ระนาบโฟกัส (Focal plane) แต่ภาพจะมีคอนทราสต์ (Contrast) ลดลงมากเพราะ
ในการถ่ายภาพแบบนี้จะมีรังสีกระเจิง (Scattered radiation) ค่อนข้างสูง
เทคนิคนี้จึงแก้ปัญหาใน
ประการแรกที่เกี่ยวกับการ
ซ้อนทับกันของเงาของอวัยวะ
ภายใน (3D) ที่ปรากฏบน
ฟิล์มรับภาพ (2D) ได้แต่ไม่
สมบูรณ์
ขณะถ่ายภาพหลอดเอกซเรย์และฟิล์มเอกซเรย์จะเคลื่อนที่พร้อมกันแต่เคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกัน ทั้งนี้
เพื่อต้องการกำจัดภาพเงาของระนาบที่อยู่ด้านบนและระนาบที่อยู่ด้านล่างของระนาบที่ต้องการออกไป ภาพ
ที่ได้แม้จะชัดเจนเพียงระนาบเดียวคือระนาบที่ เรียกว่า ระนาบโฟกัส (Focal plane) แต่ภาพจะมีคอนทรา
สต์ (Contrast) ลดลงมากเพราะในการถ่ายภาพแบบนี้จะมีรังสีกระเจิง (Scattered radiation) ค่อนข้างสูง
รูปที่ 1.4 แสดงการถ่ายภาพแบบโทโมกราฟฟี่แบบเก่า
07
หลายสิบปีต่อมามีการตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ายิงรังสีเอกซ์ลำเล็กๆทะลุผ่านผู้ป่วยไปตกกระทบที่หัววัด แล้วก
วาดลำเอกซเรย์ไปในระนาบหนึ่งที่ต้องการตรวจ และกระทำซ้ำกันโดยบิดมุมของลำเอกซเรย์ไป ข้อมูล
ความเข้มรังสีเอกซ์ที่บันทึกได้โดยหัววัดน่าจะสามารถนำไปใช้ศึกษาการจำแนกของสัมประสิทธิ์การลดลง
(Attenuation coefficieant) ภายในระนาบนั้นได้ หมายความว่า จะสามารถสร้างภาพของระนาบที่
สนใจได้ เพราะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อมีความสัมพันธ์กับบสัมประสิทธิ์การลดลง ถ้าเป็นจริงการ
คำนวณสร้างภาพจะต้องเกิดขึ้นและต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computer) ต่อมา ข้อสังเกตดังกล่าวเป็น
ความจริงโดยมีความเป็นมาพอสังเขปตามที่แสดงในตาราง 1.1
08
ตาราง 1.1 สรุปผลงานของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงแรกของการพัฒนาซีที
09
1.1 งานของคอร์แม็ก
รูปที่ 1.5 คอร์แม็ก
10
คอร์แม็กเป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์แห่งภาควิชาฟิสิกส์
มหาวิทยาลัยเคฟทาวน์ (Capetown university)
มีแรงดลใจในการพัฒนางานการสร้างภาพจาก
ข้อมูลความเข้มของรังสีที่บันทึกได้ เมื่อเขาได้
ทำงานที่โรงพยาบาลกรุทเชอ (Groote shuur)
ประมาณกลาง ค.ศ.1956 ระหว่างทำงานในโรงพยาบาลนั้น
เขาพบข้อบกพร่องเกี่ยวกับการวางแผนรักษาโรคด้วยรังสี
กล่าวคือ ในการฉายรังสีเข้าไปในตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา
โรค ขณะนั้นแพทย์จะพิจารณาและตัดสินใจเลือกไอดซโดส
คอนทัวร์ (isodose contours) แบบที่เหมาะสมที่สุด แต่ไอ
โซโดสคอนทัวร์นั้นได้จากไอโซโดสชาร์ต (isodose charts)
ที่คิดคำนวณมาจากการกระจายของปริมาณกรดูดกลืนรังสี
ในตัวกลางที่มีเนื้อเหมือนกันตลอด จึงทำให้การตัดสินใจใน
การกำเนิดการักษาของแพทย์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
เพราะร่างกายผู้ป่วยมิได้ประกอบด้วยสารเนื้อเดียวกันตลอด
คอร์แม็กคิดว่า ถ้าทราบการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลง
ในร่างกายผู้ป่วย จะสามารถปรับปรุงการวางแผนการรักษาโรค
ด้วยรังสีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ และการจะทราบค่าการกระ
จายของสัมประสิทธิ์การลดลง น่าจะสามารถทำได้โดยการ
คำนวณจากข้อมูลความเข้มของรังสีที่ทะลุผ่านร่างกายผู้ป่วย
ออกมาในทิศทางต่างๆที่มากพอ คอร์แม้กใช้เวลาประมาณหนึ่ง
ปีพัฒนาวิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณค่าการกระจายของ
สัมประสิทธิ์การลดลงของตัวกลาง เขาสร้างเครื่องมือเพื่อ
ทดสอบทฤษฎีการคำนวณดังกล่าวมีลักษณะดังแสดงรูปที่ 1.6
สร้างจากเครื่องกลึงเก่าราคาถูกมาก
11
รูปที่ 1.6 เครื่องมือที่คอร์แม็กสร้างขึ้นเพื่อทดลองเก็บข้อมูล
ความเข้ม เป็นซีทีเครื่องแรกที่มีราคาประมาณ $100
12
รูปที่ 1.7 รูปร่างตัดขวางของแฟนตอม (ซ้ายมือ) และผลการ
คำนวณค่าการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงของแฟนตอม
(ขวามือ) กราฟเส้นทึบคือค่าที่แท้จริง จุดคือค่าที่ คำนวณได้
คอร์แม็กใช้รังสีแกมมาที่ได้จากธาตุโคบอลต์-60 ซึ่งอยู่ในถ้ำทรงกระบอกซ้ายมือสุดของรูปที่ 1.6 ยิงผ่านแฟน
ตอม (Phantom) ที่ทำจากอะลูมิเนียมและไม้ ตามรูปที่ 1.6 จะอยู่ตรงกลางระหว่างทรงกระบอกทั้งสองอัน
เมื่อรังสีแกมมาทะลุผ่านแฟนตอมออกมาแล้วจึงใช้ไกเกอร์เคาน์เตอร์ (Geiger counter) ซึ่งอยู่ในทรงกระบอก
ขวามือสุดตามรูปที่ 1.6 เป็นตัววัดความเข้ม จากข้อมูลความเข้มรังสีแกมมาที่วัดได้ในทิศทางต่างๆ ด้วยวิธีการ
หมุนแฟนตอมที่วางบนแท่นกลึง สามารถนำไปคำนวณค่าการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงของแฟนตอม
ได้ตามวิธีการที่คอร์แม็กเตรียมไว้ ปรากฏว่าได้ผลการคำนวณสอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างดีเยี่ยม ดังแสดง
ในรูปที่ 1.7 คอร์แม็กแสดงผลงานนี้ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยทัฟต์ส (Tufts university) ปรากฏว่าไม่ได้รับความ
สนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักฟิสิกส์รังสี (radiological physicist) แต่ผลงานของเราได้ตีพิมพ์
ไว้ในวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
13
1.2 งานของเฮานสฟิลด์ 14
รูปที่ 1.8 เฮานสฟิลด์
เฮานสฟิลด์ วิศวกรของบริษัทอีเอ็มไอ (EMI: Electric and Musical Industries) มีความ
เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ ผลงานวิจัยทางคอมพิวเตอร์ของเขานำไปสู่การพัฒนา EMIDEC
1100 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ออกแบบมาใช้งานทางด้านธุรกิจในประเทศ
อังกฤษ เฮานสฟิลด์เริ่มงานหลังจากที่คอร์แม็กประสบความสำเร็จแล้วร่วม 10 ปี งานของเขา
ไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเลียนแบบงานของคอร์แม็ก แรงผลักดันที่ทำให้เฮานสฟิลด์สนใจ
ค้นคว้าเรื่องนี้ เกิดจากการที่ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการวิจัยที่บริษัทอีเอ็มไอ ค.ศ.
1967 เขาคาดหมายว่า เทคนิคทางคณิตศาสตร์น่าจะถูกนำมาใช้คำนวณสร้างภาพในร่างกายผู้
ป่วยได้ โดยคำนวณจากข้อมูลความเข้มรังสีที่วัดได้จากการที่รังสีทะลุผ่านร่างกายของผู้ป่วย
ออกมา เขาตระหนักดีว่า การได้มองเห็นภาพของร่างกายผู้ป่วยถูกตัดออกมาเป็นชิ้นบางๆ จะ
ต้องเป็นประโยชน์มากสำหรับงานทางด้านการวินิจฉัยโรคด้วยรังสี
เฮานสฟิลด์เริ่มพิจารณาทฤษฎีการคำนวณการสร้างภาพอย่างละเอียด โดยได้มี
การคำนึงถึงอันตรายที่ผู้ป่วยจะได้รับและความถูกต้องของภาพที่จะเกิดขึ้นด้วย
เขาเริ่มทำการทดลอง ด้านการสร้างเครื่องมือที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับเครื่อง
มือของคอร์แม็ก แต่ใช้รังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากธาตุอะเมอริเซียม
(Americium) ยิงทะลุผ่านแฟนตอม แล้วใช้หัววัดแบบผลึก (Crystal detector)
เป็นตัววัดรังสีแกมมา ข้อมูลความเข้มของรังสีแกมมาที่ทะลุผ่านแฟนตอมออกมา
ทั้งหมด จะถูกบันทึกบนเทปกระดาษแล้วนำไปคำนวณสร้างภาพด้วย
คอมพิวเตอร์ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ใช้คือ การสร้างภาพแบบอิทเทอเรชัน
(iterative reconstryction) ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป การทดลองในตอน
แรกนี้กระทำหลายครั้ง พบว่าในการเก็บข้อมูลความเข้มรังสีแกมมาเพื่อให้เพียง
พอสำหรับการคำนวณสร้างภาพหนึ่งภาพจะต้องใช้เวลานานถึง 9 วัน และใช้
เวลาในการคำนวณสร้างภาพนานถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที
15
รูปที่ 1.9 การจัดเครื่องมือบนแท่นกลึงเมื่อ
เฮานสฟิลด์เริ่มการทดลองในห้องปฏิบัติ
การครั้งที่สอง
เนื่องจากเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลความเข้มของรังสีแกมมานานเกินไป เพราะ
รังสีแกมมาที่ใช้แผ่ออกจากแหล่งกำเนิดที่มีกำลังต่ำ เฮานสฟิลด์จึงเปลี่ยนมาใช้รัง
สีเอกซ์ที่ที่ได้จากหลอดรังสีเอกซ์แทน เครื่องมือจึงมีส่วนประกอบดังแสดงในรูปที่
1.9 ส่วนสำคัญคือ หลอดรังสีเอกซ์ แฟนตอมที่เป็นสมองดองของมนุษย์ และหัว
วัดเอกซเรย์ ซึ่งทุกชิ้นส่วนถูกวางไว้บนแท่นคล้ายแท่นกลึง ด้วยความช่วยเหลือ
จาก เจมส์ เอ็มโบรส (Jame amborse) และหลุยส์ ครีล (Louis kreel) ทำให้
เฮานสฟิลด์สามารถใช้เวลาในการเก็บความเข้มเพียง 9 ชั่วโมง แล้วภาพสมอง
ดองของมนุษย์ภาพแรกก็ถูกคำนวณสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ ดังแสดงในรูปที่
1.10 ซึ่งสามารถมองเห็นเกรย์แมตเตอร์ (Gray matter) และไวท์แมตเตอร์
(White matter) ได้ค่อนข้างดีแต่จะมีอิทธิพลของ รูปที่ 1.10 ภาพตัดขวางของสมอง
ดองสร้างจากเครื่องมือตามรูปที่ 1.9
16
หลังจากที่เฮานสฟิลด์ประสบความสำเร็จในตอนต้นแล้ว เขาได้สร้างเครื่องมือที่มีความสมบูรณ์มากขึ้นและ
สามารถใช้กับผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย โดยใน ค.ศ. 1971 ได้นำเครื่องที่สร้างเสร็จแล้วไปติดตั้งที่โรงพยาบาล
แอทคินสัน มอร์เลย์ (Atkinson morley) ประเทศอังกฤษ ดังแสดงในรูปที่ 1.11 ค.ศ. 1972 เครื่องมือนี้ได้
ทดลองใช้กับผู้ป่วยสุภาพสตรี โดยคาดว่าจะสามารถพบความผิดปกติในสมอง พบว่าภาพตัดขวางชิ้นบางๆที่
เครื่องมือนี้สร้างขึ้นมีลักษณะดังแสดงในรูปที่ 1.13 ซึ่งสามารถมองเห็นชัดเจนว่ามีก้อนกลมสีดำที่เป็นความผิด
ปกติเกิดในเนื้อสมอง วินิจฉัยว่าเป็นถุงน้ำ (Cyst) เฮานสฟิลด์ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทางคลินิกเป็นเวลานาน
1 ปี 6 เดือนหลังจากนั้นจึงได้นำผลงานไปแสดงในการประชุมทางวิชาการประจำปีของ British Institus of
Radiology ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1972 ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างสูงจากนักวิชาการและผู้ที่
ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี
17
รูปที่ 1.13 ภาพตัดขวางชิ้นบางๆของศีรษะผู้ป่วย
รูปที่ 1.11 เฮานสฟิลด์และซีทีเครื่องแรกของโลกที่ใช้กับมนุษย์
18
เครื่องมือที่เฮานสฟิลด์สร้างขึ้นในตอนแรกสามารถใช้วินิจฉัยโรค
เฉพาะส่วนศีรษะเพียงอย่างเดียว และเนื่องจากเฮานสฟิลด์เป็น
วิศวกรของบริษัทอีเอ็มไอ เครื่องมือนี้จึงเรียกว่า อีเอ็มไอเฮดสแกน
เนอร์ (EMI Head Scanner) รูปที่ 1.12 แสดงให้เห็นการจัดท่าใน
การวินิจฉัยสมองของผู้ป่วยด้วยอีเอ็มไอเฮดสแกนเนอร์ นอกจากนี้
ยังมีการเรียกชื่อเครื่องมือนี้หลายแบบ เช่น ซีทีเอที (CTAT:
Computerized Transverse Axial Tomography) ซีทีทีอาร์ที
(CTTRT: Computerized Transaxial Transmission
Reconstructive Tomography) และอาร์ (Reconstruction
Tomography) เป็นต้น ในที่สุดสมาคมรังสีวิทยาแห่งอเมริกาเหนือ
อาเอสเอ็นเอ (RSNA: Radiological Society of North America)
ตกลงใช้คำว่า ซีที (CT: Computed Tomography) เพื่อใช้เรียกชื่อ
เครื่องมือนี้เมื่อมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ใน
วารสารรังสีวิทยาซึ่งเป็นวารสารหลักของสมาคม
รูปที่ 1.12 อีเอ็มไอเฮดสแกนเนอร์ขณะสแกนศีรษะผู้ป่วย
19
เมื่อข่าวความสำเร็จของเฮานสฟิลด์แพร่ออกไป ทำให้งานทางด้านนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากจะเปรียบ
เทียบระหว่างการค้นพบเอกซเรย์โดยเรินท์เกนในช่วงปลายปี ค.ศ. 1895 และการประสบความสำเร็จในการสร้าง
ซีทีโดยเฮานสฟิลด์ใน ค.ศ. 1972 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึงประมาณ 77 ปี เรินท์เกนได้รับการยกย่องในฐานะผู้ที่
สามารถเปิดเผยภาพอวัยวะภายในของร่างกายมนุษย์ได้ และทำให้คนทั่วไปเวลานั้นตื่นกลัวปนดีใจกับอำนาจการ
ทะลุผ่านของรังสีเอกซ์ แต่ด้วยประโยชน์มหาศาลของรังสีเอกซ์ในการวินิจฉัยโรคจากภาพเอกซเรย์ ทำให้เรินท์
เกนได้รับรางวัล โนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นคนแรกของโลกใน ค.ศ. 1901 สำหรับเฮานสฟิลด์ได้รับการยกย่องละให้
เกียรติเทียบเท่าเรินท์เกนจาก รังสีแพทย์ (Radiologist) นักรังสีเทคนิค (Radiological Technologist) นัก
ฟิสิกส์การแพทย์ (Medical Physicist) และวิศวกรที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นผู้ที่เปิดโลกของการวินิจฉัยโรคด้วยรังสีเอก
ซ์แบบใหม่ จนทำให้เฮานสฟิลด์และคอร์แม็กได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ร่วมกันใน ค.ศ.1979 เฮาฟิลด์
และคอร์แม็กได้รับ
สรุปเหตุการณ์สำคัญของการพัฒนาซีที 20
ค.ศ. 1985 เรินท์เกน ค้นพบรังสี
ค.ศ. 1917 ราดอน (Radon) นักคณิตศาสตร์จากประเทศออสเตรีย สร้างคณิตศาสตร์ที่ใช้คำนวณสร้างภาพ
จากข้อมูลโพรเจกชัน (projection)
ค.ศ. 1922 โบเคจ เสนอเทคนิคการถ่ายภาพแบบโทโมกราฟฟี่ (tomo เป็นคำในภาษากรีก แปลว่าตัดหรือชิ้น
บางๆ)
ค.ศ. 1963 คอร์แม็ก พัฒนาทฤษฎีในการคำนวณค่าการกระจายสัมประสิทธิ์การลดลงของตัวกลางที่ดูดกลืน
รังสีแกมมา
ค.ศ. 1972 เฮานสฟิลด์ สร้างซีทีซึ่งสามารถใช้ถ่ายภาพตัดขวางของศีรษะผู้ป่วยได้สำเร็จ
ช่วงเวลาหลังจากเฮาฟิลด์ประสบความสำเร็จในการสร้างซีทีแล้ว ได้มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มช่วยกันพัฒนาซี
ทีให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น จากที่สแกนได้เฉพาะศีรษะพัฒนาเป็นสแกนได้ตลอดทั้งตัวของผู้ป่วย เวลาสแกน
(Scan time) ลดลงจาก 300 s (ค.ศ.1973) เหลือเพียง 0.4 s (ค.ศ.1985) ความสามารถในการแสดงละเอียดเพิ่มขึ้น
มาก จากที่สามารถแยกวัตถุที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 mm (ค.ศ.1973) ความสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 0.3 s
(ค.ศ.1985) เป็นต้น ถ้าพิจารณาเหตุการณ์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาซีที จะสามารถพิจารณาได้ตาม
ลำดับดังต่อไปนี้
21
ค.ศ. 1975 ผู้ผลิตซีทีหลายบริษัท พัฒนาซีทีให้สามารถสแกนผู้ป่วยได้ตลอดทั้งตัว
ค.ศ. 1979 เฮานสฟิลด์และคอร์แม็กรับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ร่วมกัน
ค.ศ. 1983 บอยด์ (Body) และลิพตัน (Lipton) พัฒนาซีทีที่มีความเร็วในการสแกนสูงมากเพื่อใช้ในการ
วินิจฉัยโรคเกี่ยวกับหัวใจและเรียกซีทีชนิดนี้ว่าซีวีซีที (CVCT: Cardiovascular Computed Tomography)
ค.ศ. 1987 เป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาวงแหวนสลิป (slip ring) ขึ้นโดยบริษัทที่มีบทบาทสำคัญคือ บริษัทซี
เมนส์(Siemens Toshiba) เพื่อให้การหมุนของหลอดเอกซเรย์และหัววัดรังสีเอกซ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ค.ศ. 1989 สไปรอลซีที (spiral CT) ได้ถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรกในการประชุมประจำปีอาร์เอสเอ็นเอ 1989
(RSNA 1989) ซึ่งเป็นเทคนิคการสแกนชนิดเตียงผู้ป่วยเคลื่อนที่ในขณะที่หลอดเอกซเรย์และหัววัดกำลังหมุน
อย่างต่อเนื่อง
ค.ศ. 1991 มัลติสไลซ์ซีที (multislice CT) เป็นการพัฒนาในส่วนของหัววัดรังสีเอกซ์ โดยการเพิ่มจำนวน
แถวของหัววัดรังสีเอกซ์ให้มากขึ้น ทำให้การสแกนหนึ่งรอบได้ชิ้นภาพหลายชิ้นภาพ และถ้าผสมการทำงาน
แบบสไปรอลด้วย จะสามารถลดเวลาในการสแกนลงไปได้มาก และในปี ค.ศ. 1998 บริษัทซีเมนส์สร้างมัลติ
สไลซ์ซีที ที่สามารถลดเวลาในการสแกนลงเหลือเพียง 0.5s
22
ในบทนี้ได้กล่าวถึงความเป็นมาของซีที ซึ่งหมายถึงเอกซเรย์ซีที แต่เพื่อให้เกิด
ความกะทัดรัด นี้ PowerPoint นี้จึงใช้คำว่า ซีที แทนคำว่า เอกซเรย์ซีที ได้
กล่าวถึงผลงานของคอร์แม็กและเฮานสฟิลด์ ซึ่งภาพที่ได้จากซีทีในช่วงแรกจะ
เป็นภาพชิ้นบางๆในแนวตัดขวางของร่างกายของผู้ป่วย จนกระทั่งพัฒนาถึงขั้น
สามารถแสดงภาพ 3 มิติได้ด้วย และในตอนท้ายได้สรุปเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับพัฒนาการของซีทีตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สรุป
23

More Related Content

Featured

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
SpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Lily Ray
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
Rajiv Jayarajah, MAppComm, ACC
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
Christy Abraham Joy
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
Vit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
MindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
GetSmarter
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
Alireza Esmikhani
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
Project for Public Spaces & National Center for Biking and Walking
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
DevGAMM Conference
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy Presentation
Erica Santiago
 

Featured (20)

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy Presentation
 

ความเป็นมาของซีที