SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
และนี่เป็นบทความสําคัญบทความนึงที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผมเจ้าของบล็อคนะครับ
ที่เอามาลงก็หวังว่าจะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลาย ๆคนได้นะครับ

บทความสัมภาษณ์ “ พี่แอ๋ว “ จากนิตยสาร Phototech
วราณ สุวรรณโณ : RBJ
“สวัสดีปีใหม่ 2550 ค่ะ” เริ่มต้นปีใหม่กับอากาศเย็นๆ แสงแดดอุ่นๆ
กับพระอาทิตย์สีส้มวงกลมโตแวะมารับอรุณยามเช้า และส่งท้ายยามเย็นก่อนเจอะเจอกับแสงนวลๆ
ของดวงจันทร์ในยามค่ําคืนของน้ําค้าง บรรยากาศดีๆ
แบบนี้โฟโต้เทคขอนําทุกท่านไปรู้จักกับอีกหนึ่งช่างภาพที่มีความสุนทรีกับการถ่ายภาพอย่างล้นเปี่ยม
ทั้งๆ ที่ไม่เคยตั้งใจมาเดินบนเส้นทางสายนี้แม้แต่จะคิด
จนกระทั่งวันหนึ่งได้สัมผัสถึงความสุขที่ได้จากการลั่นชัตเตอร์ที่มากขึ้นๆ ทุกวัน
จนเขาคนนี้ได้เข้ามาเดินอยู่ในเส้นทางสายนี้อย่างเต็มตัวในชื่อ “วราณ สุวรรณโณ”
คุณวราณ หรืออีกชื่อที่เป็นที่รู้จักในวงการไซเบอร์ในนาม “RBJ ที่ย่อมาจาก รมณ์บ่จอย”
เปิดฉากเล่าถึงพื้นเพเดิมว่า “ผมเป็นคนเชียงใหม่ครับ เกิดที่เชียงใหม่ แม่เป็นคนเชียงใหม่
พ่อเป็นคนสงขลา นิสัยส่วนตัวค่อนข้างเป็นเด็กเรียน เรียนที่เชียงใหม่แป๊บๆ
แล้วก็ย้ายไปเรียนที่ใต้ตลอดเลย ก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์
เอกนิเวศวิทยาทางทะเล จบมาก็มาต่อโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ตอนที่ผมมาเรียน ป.โท ที่จุฬาฯ ผมยังไม่รู้จักกล้องเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วก็ไม่ชอบด้วย
เพราะเพื่อนซี้ที่ชมรมถ่ายภาพโดนไล่ออกเพราะว่ามัวแต่ถ่ายรูป ทําให้ผมเกลียดเรื่องการถ่ายรูปมาก
เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไร้สาระ กิจกรรมอะไรออกทริปถ่ายรูปได้ทุกเสาร์-อาทิตย์
หนังสือหนังหาไม่เรียนเดินกันทั้งวัน ‘เฮ้ย! ขาวดํามันอัดกันยังไง’ แล้วโดนไล่ออก จะชอบลงมั้ย ??
ทําให้คุณเกิดอคติกับการถ่ายภาพตั้งแต่นั้นมา
แล้วอะไรทําให้คุณสนใจและมองการถ่ายภาพในแง่บวกมากขึ้น
ผมจับกล้องครั้งแรกตอนเรียน ป.โท เพราะต้องทํางานวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ปะการังทั่วทั้งประเทศ
ผมก็เลยต้องดําน้ําทั่วทั้งประเทศเพื่อเก็บข้อมูล สมัยก่อนยังเป็นกล้องฟิล์ม Nikonos V ลงใต้น้ํา
โปรเจ็คท์ทั้งประเทศคํานวณแล้วมันต้องใช้ฟิล์มประมาณ 2,000 ม้วน บวกกับค่าล้างอัดอีก ดูแล้วงบสูงมาก
แต่พอดีว่าตอนนั้นมีเพื่อนคนหนึ่งใช้กล้องดิจิตอล ผมก็ลองเอาลงไปถ่ายใต้น้ํา
ก็เลยรู้สึกว่านี่เป็นประโยชน์ต่องานวิจัยมาก ก็เลยกัดฟันซื้อเป็นของตัวเอง 1 ตัว ตัวแรกเป็น Olympus 3040
ก็เริ่มหัดใช้ตั้งแต่ไม่รเรื่องเลยนะ ถ่ายด้วยโหมด Auto ล้วนๆ ไม่รู้เลยว่าความเร็วชัตเตอร์คืออะไร รูรับแสงคืออะไร
ู้
ทุกอย่างเป็นศูนย์ รู้แค่ว่ากดชัตเตอร์แล้วได้รูปแล้วไปเข้าคอมพิวเตอร์ มีงานส่งอาจารย์ได้ผ่าน ก็ถ่ายๆ มา
จนช่วงหนึ่งก็ได้คุยกับคนๆ หนึ่งที่อยู่ในเว็บบอร์ดดําน้ํา ชื่อ คุณ ‘นภันต์ เสวิกุล’

ไม่ชอบการถ่ายภาพแล้วไปโพสต์ภาพในเว็บบอร์ด
สําหรับตัวผม ผมโพสต์รูปเพื่อ ให้คนเห็นความสําคัญของระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเลมากขึ้น มีหน้าที่คล้ายๆ
กับไปให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักดําน้ํา ซึ่งไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน บอกให้เขาได้รู้ว่าสิ่งนีสําคัญยังไง
้

คุณต้องการให้คนที่ลงไปดําน้ําถ่ายรูปไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศน์ด้วย
ใช่ครับ อะไรประมาณนั้น โพสต์ไปได้ระยะหนึ่งก็มีคนบอกว่า ผมถ่ายรูปเข้าท่าเหมือนกันนะ ถ่ายรูปมีองค์ประกอบดี
ผมก็บอกว่าผมไม่รู้ว่าองค์ประกอบมันคืออะไร ช่วยสอนหน่อยสิ เขาก็สอนอะไรมานิดหน่อย
ตั้งแต่สปีดชัตเตอร์คืออะไร ชัดลึก ชัดตื้น แต่ผมไม่เคยรู้ ว่าคนที่สอนเรานั้น โคตรเก่งเลย
ก็เลยรู้สึกว่าการถ่ายรูปน่าสนใจ มีคนชมเราด้วย ถ่ายรูปมันก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด
ผมก็เริ่มไปหาหนังสือมาอ่านเอง คราวนี้ก็เริ่มสนใจการถ่ายรูปมากขึ้นๆๆ เรื่อยๆ จนกระทั่งตัดสินใจหยุดทํางานวิจัย
แล้วเริ่มถือกล้องดิจิตอลเดินทางท่องเที่ยวถ่ายรูป

จุดนี้ทําให้เริ่มเข้าใจเพื่อนด้วยไหม ว่าทําไมถึงโดนไล่ออกเพราะการถ่ายภาพ
ใช่ เข้าใจแจ่มกระจ่างเลย เพราะผมก็เริ่มชอบการถ่ายภาพมากขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้ก็เลยซื้อกล้องฟิล์มมาใช้
ด้วยความอยากรู้ว่า ไอ้ที่เขาเล็งที่ลูกกะตานั่นมันคืออะไร ฮ่าๆๆ(แทนที่จะมองจากจอ LCD ด้านหลังกล้อง)
ผมซื้อ Nikon F90x เลนส์ 35-70 มม. เพื่อนก็สอนถ่ายฟิล์มเนกาทีฟไปก่อน ถ่ายมาก็ส่งล้างอัดธรรมดา
ก็เริ่มบ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มถ่ายรูปลงเว็บบอร์ด ตามที่เขาฮิตๆ กัน
ผมถ่ายลงไปเพราะว่าผมอยากรู้ว่าเขาดูรูปกันยังไง รูปของเราเป็นยังไง ก็ลองๆ ถามเสียงภายนอกดู
เขาก็บอกว่าเราถ่ายรูปโอเคนะ ผมก็เลยบ้าขึ้นเรื่อยๆ จนมาหยุดคิดได้ว่ากลัวจะไม่จบก็เลยทิ้งกล้องไปประมาณ 3-6
เดือน หันกลับไปทํางานวิจัยต่อ
แต่ปรากฏว่างานวิจัยตัวนี้ ผมก็ต้องลงไปทํางานที่สิมิลัน ซึ่งขึ้นชื่อว่าสวยมาก ประกอบกับผมก็มีเฮ้าส์ซิ่ง
และกล้องพร้อม เลยได้โอกาสถ่ายภาพอีกครั้ง พอถ่ายไปถ่ายมาก็เริ่มรู้สึกว่า เรียนต่อว่าไม่ไหวแล้ว
เราชอบการถ่ายรูปจริงๆ ด้วย และพอดีมีพี่ที่ดําน้ําด้วยกันทํางานอยู่ที่บริษัททําพวกโฆษณา
และสิ่งพิมพ์ชวนมาลองทําดูเล่นๆ โดยให้ผมดรอปเรียนไว้ก่อน 1 ปี แต่ผมก็บอกว่า ผมไม่ดรอปแล้วล่ะ
ลาออกเลยดีกว่า ผมก็เลยลาออกจากโทจุฬาฯ ออกมาทํางานที่บริษัทโฆษณาแทน
ตอนนั้นทางบ้านมีความคิดเห็นยังไงกับการตัดสินใจของคุณ
ที่บ้านไม่ว่าอะไรเลย คืออยากทําก็ทํา แต่ก็ถามแล้วถามอีก เพราะผมก็เรียนได้ดี ข้อแรกเลยก็คือ
ผมไม่ได้ไปทําผิดกฎหมายอะไร แล้วอีกอย่างคือถ้าให้ผมทู้ซี้ทําต่อไป ก็คงไม่ได้ดีอะไรสักอย่าง
แต่มีข้อแม้เกิดขึ้นอย่างหนึ่งจากอาจารย์ที่สอนนิเวศน์วิทยา ซึ่งท่านถือว่าผมเป็นกระบี่มือหนึ่งของท่าน ผมทําวิจัย
ขอทุนจนได้แล้ว แล้วพอไปบอกอาจารย์ว่าจะลาออก อาจารย์ก็บอกมาคําเดียวว่า ‘ถ้าไปแล้ว ก็ทําให้ได้ดี ’
จริงๆพูดอีกแบบนะ แต่เขียนให้อ่อนลงหน่อย ฮ่าๆ

สิ่งที่อาจารย์พูดกลายเป็นแรงกระตุ้นไหม
มันไม่เหมือนเป็นแรงกระตุ้นนะ แต่กลายเป็นแรงกดดัน ตอนนั้นเสียใจและกลัวมาก
เพราะอาจารย์คนนี้เป็นเหมือนพ่อคนที่ 2 ที่สอนผมทุกอย่าง เพราะท่านเก่งมาก ผมเองก็เรียนรู้ทุกอย่างมาจากท่าน
แล้วผมมาทําแบบนี้ เหมือนหักหลังท่าน

แสดงว่าอาจารย์คงหวังกับคุณไว้เยอะ
ครับ เพราะสิ่งที่ทําตอนนั้นก็เหมือนเป็นการฟอร์มทีมวิจัยขึ้นมา 1ทีม ผมเป็นตัวยืนในการทํางาน
มีลูกทีมที่เข้ามาเพราะผมก็มี เพราะเขาเห็นว่างานของผม ไม่จําเป็นต้องอยู่ในห้องหาข้อมูลอย่างเดียวนะ
ไปเที่ยวเมากลับมาก็ยังสามารถเขียนรายงานดีๆ ออกมาได้ คนก็อยากเข้ามา ไปทริปก็สนุกสนาน ทํางานก็คล้ายๆ
พวก WWF พวกอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก
เมื่อก่อนสังคมจะอยู่ในก๊กนู้นตลอดเลย พอจะออกก็ต้องขอโทษทุกคนแล้วก็ออกมาทํางานตรงนี้
ตอนจะออกก็เพิ่งได้ทุนด้วย เลยต้องคิดเยอะ แต่ก็ออกมาจนได้

รู้สึกเสียดายงานที่ได้ทุนไหม
จริงๆ ก็เสียดาย ทุกวันนี้กลับไปนึกก็ยังเสียดายอยู่ แรกๆตอนออกมาสงสารแม่ รู้สึกเหมือนทําให้แม่ผิดหวัง
แต่แม่น่ารักมาก สนับสนุน และเข้าใจในสิ่งที่ผมอยากทํา
ตอนออกใหม่ๆ .. มืดมน .. ไม่รู้จะทําตัวเองให้เป็นช่างภาพได้ยังไง พอคิดไม่ออก
ก็เลยลองเสี่ยงไปทํางานที่บริษัทโฆษณาดูสักครั้ง ผมได้ทําในตําแหน่ง Creative Director มีหน้าที่ออกแบบโฆษณา
ซึ่งผมก็รู้สึกว่าสนุก ได้คลุกคลีอยูกับรูป เริ่มหัดโฟโต้ช็อป เพราะก่อนหน้านี้ ไม่เคยใช้เลย
่
ได้เป็นครีเอทีฟ ไดเร็คเตอร์โดยที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
ครับ มันเหมือนอยู่ในเลือดเลย เป็นเหมือนพรสวรรค์ที่ดูแล้วรู้สึกว่าต้องวางแบบงานควรหรือไม่ควรวางแบบนี้
ซึ่งจริงๆ แล้วต้องขอบคุณคุณพ่อ เพราะพ่อทีเดินทางบ่อย และพ่อชอบสะสมหนังสือกินรีบ้าง หนังสือสวัสดีบ้าง
่
ซึ่งถ้ามีโฆษณาแปลกๆ สวยๆ พ่อก็จะดึงออกมาแล้วไปติดที่ผนังร้าน เพราะเมื่อก่อนที่บ้านทําร้านอาหารด้วย
เวลาที่ผมไปช่วยที่ร้าน ผมก็มีความรู้สึกว่า ผมได้เห็นรูปพวกนี้อยู่ตลอดเวลา ได้ดูโฆษณาตลอด
จนมีความรูสึกว่าการวางตัวหนังสือการวางตําแหน่งขององค์ประกอบน่าจะเป็นแบบนี้
้
การที่เราได้ดูงานแบบนี้เรื่อยๆ ทําให้เราเรียนรู้โดยที่เราไม่รู้ตัวว่านี่คืองานระดับเวิร์ลคลาส ผมก็จําๆ ตรงนั้นมา
พอผมไปทํางานครีเอทีฟแรกๆ เขาก็ให้ทดลองวางงานให้ดู พองานเสร็จ เขาบอก ‘โอ๊ะ!
เหลือเชื่อว่าจบนิเวศน์วิทยามา’ ผมก็โอเคกับคําตอบ ณ ตอนนั้น แต่ใจผมก็ยังเรียกร้องที่จะถ่ายรูปอยู่
แต่งานก็บีบไม่ให้ถ่าย มีงานที่ได้ถ่ายรูปบ้าง เพราะต้องใช้กับงานออกแบบโฆษณา ก็เช่น มาม่า ไวไว ติดข้างรถเมล์
ได้แค่นั้น รู้สึกหายอยากเวลาได้ตั้งกระป๋องถ้วยมาม่า เอากล้องมีเดียมฟอร์แมตถ่าย
แม้จะไม่ใช่การถ่ายรูปแบบที่ผมอยากทํา

แล้วพลิกตัวเองมาเป็นช่างภาพแนวที่ชอบได้ยังไง
พอดีว่าวันหนึ่งก็มีโทรศัพท์เข้ามาถามว่าตอนนี้อยู่ไหน ได้ข่าวว่าลาออกจากมหาวิทยาลัย คนๆนั้นก็คือ คุณนภันต์
เสวิกุล เขาก็ถามว่าลองมาทํางานกับผมไหม ซึ่งผมก็ไม่เคยรู้ว่าเขาทํางานอะไร ผมก็กลัว
เขาก็บอกว่าให้ส่งพอร์ตให้ดูหน่อยที่เป็นงานชุดหลังๆ ซึ่งพอเขาเห็นงานแล้วเขาก็โอเคกับงานของผม
แล้วเจ้าของบริษัทที่ผมอยู่ปัจจุบันตอนนั้นกับเขารู้จักกัน ก็เลยขอเจรจาซื้อตัว เหมือนนักบอลเลย
เขาบอกว่าอยากได้ไปทํางานด้วย ผมก็คุยกับเจ้าของที่เดิมเขาก็บอกว่า ไปเถอะจะได้ถ่ายรูป ก็ส่งเสริมกันดี
เขาก็บอกว่า ผมจะได้ทํางานที่ผมรัก
ก็เลยออกมาอยู่กับคุณนภันต์ ซึ่งเป็นบริษัททําสารคดีท่องเที่ยว ส่งให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บ้าง
ส่งทางเมืองนอกบ้าง ส่วนมากเราเป็นซับคอนแท็ค (Subcontract) หลักที่ถ่ายรูปส่งให้ ททท. คือถ่ายรูปทุกที่ที่ ททท.
หมายไว้ เราทําเหมือนเป็นฟรีแลนส์ของ ททท.เพราะบางครั้งเขาต้องการภาพแนว Extreme Lanscape
แบบสวยจัดๆ ไปเลย ดูเกินจริงไปเลย ไม่ใช่ realism แล้ว ซึ่งนั่นก็ต้องอาศัยช่างภาพรุ่นใหม่ๆ ไม่ได้หมายความว่า
ช่างภาพของ ททท. เองถ่ายไม่สวยนะ แต่บางทีเค้าก็ชอบมุมแปลกๆ แนวใหม่ๆ เหมือนกัน

คุณเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพจากที่ไหน
ส่วนใหญ่พื้นฐานนี่ มาจากเจ้านายผมครับ (คุณนภันท์) แต่หลังๆก็อ่านในเว็บเป็นหลัก อ่านหนังสือบ้าง
ก็เน้นเป็นเรื่องของการดูรูปมากกว่าว่า รูปนี้ถ่ายยังไง แล้วก็ลองถ่ายดู
การถ่ายรูปก็เหมือนกับการเขียนหนังสือ เมื่อเราเขียนหนังสือเป็นเราก็พยายามคัดลายมือในแบบต่างๆ
บ่อยครั้งที่ผมสอนคนที่มาอบรมกับผมว่าให้ลองถ่ายภาพด้วยเลนส์ตัวเดียว อย่างเช่นถือเลนส์ 50
มม.ไปหนึ่งตัวแล้วถ่าย แล้วเมื่อใจของคุณเห็นแล้วว่าอยากได้รูปนี้ แต่สมองของคุณคิดว่าถ้ามีเลนส์เทเล
หรือเลนส์ไวด์นะได้แน่นอน แค่คุณคิดจะเปลี่ยนเลนส์ก็ผิดแล้ว นั่นเป็นเพราะคุณใช้ตัวช่วย
คุณใช้เลนส์เข้ามาช่วยคิดต่อ คุณไม่ได้คิดต่อแล้วว่าถ้าอุปกรณ์เรามีแค่นี้เราจะทํายังไงให้ได้รูปนี้
การที่ผมแนะนําให้ใช้เลนส์ 50มม. ตัวเดียว ผลที่ได้คือระหว่างที่เราคิดหาทางเพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการมากที่สุด
คุณจะได้เทคนิคการถ่ายภาพอีกหลากหลายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนั้น คุณอาจจะเจอว่าถ้าใช้เลนส์ 50 มม.
แล้วเดินเข้าไปอีกนิดหนึ่งคุณอาจจะได้ภาพที่ดีกว่าเลนส์เทเลก็ได้ นี่เป็นหลักการทีคิดเองเลยนะ ภูมิใจมาก ฮา
่
เล่าให้ฟังถึงตอนที่ผมยังไม่มีกล้อง SLR นิดนึงล่ะกัน ตอนนั้นผมใช้ Olympus ช่วงที่ผมฝึกถ่ายภาพแรกๆ
ผมบังคับตัวเองว่าให้ซูมไปที่ 35 มม. แล้วตั้งใจว่าวันนี้จะไม่ซูมเลย เพื่อดูสิว่า 35 มม. จะทําอะไรได้บ้าง
ทั้งวันเปิดกล้องมาก็ถ่ายเลย ไม่ซูม ห้ามซูม การทําแบบนี้มันก็ทําให้เราสามารถเข้าถึงตัวแบบได้มากขึ้น
สิ่งที่ได้เพิ่มเติมก็คือ เมื่อใช้ช่วงเลนส์ที่ต้องการไม่ได้ แต่อยากได้รูปดี ก็ต้องใช้ปัจจัยอื่นช่วย
เลยกลายเป็นเรื่องของการใช้แสง และทิศทางของแสง ที่มากขึ้น
การคิดแบบนี้เป็นการผลักดันให้ตัวเองคิดว่าทํายังไงให้ได้ภาพ จากที่ไม่กล้าคุยก็ต้องกล้าที่จะเดินเข้าไปถาม
เข้าไปคุย หลังๆ ก็จะสอนคนที่ถ่ายภาพสตรีทไลฟ์เราควรทําความรู้จักกับแบบ ควรเรียนรู้ชีวิตคนอื่นบ้าง

ได้วิธีการฝึก หรือแนวคิดแบบนี้มากจากไหน
NG (National Geographic) มั้งครับ แล้วก็มีพๆในเว็บบอร์ด เช่น พี่ชุมศักดิ์ (Killer Queen) หรือ รุ่นน้องอย่าง XL1
ี่
โดยส่วนตัวผมชอบ NG ที่สุด เราตั้งต้นจาก NG เพราะเรารู้สึกว่าภาพที่ดีควรจะเป็นแบบนี้ NG
มันเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทําให้โลกเรากระจ่างขึ้น เลยทําให้ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบถ่ายภาพพอร์ตเทรตไปเลย
ยกเว้นถ่ายพอร์ตเทรตที่เป็นคนแก่กับพระ ถ้าอยู่นอกวัด 2 อย่างนี้เป็นของโปรดมาก

ทําไมถึงชอบถ่ายพระ
ผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่แปลกแยกในสังคม คนเราพูดถึงศีล 5 กันบ่อยมาก แต่บางครั้งก็ทําไม่ได้ แต่นี่คือศีล 5
ตัวจริงที่เดินไปเดินมาอยู่ทุกวัน นี่เป็นตัวแทนศาสนาที่เดินผ่านเราไปมาอยู่ทุกวัน เป็นศีล 5 ที่จับต้องได้
จะว่าไปเหมือน ศรัทธา ที่จับต้องได้ เดินวนไปวนมาอยู่กับเราตลอดเลย นี่คือสีขาวในธงชาติที่อยู่คู่กับเรา

ชอบถ่ายภาพแนวไหนมากที่สุด
แลนด์สเคป (Landscape) กับแนวไลฟ์ (Life) แต่ผมหนักไปทางแลนด์สเคปมากกว่า
เพราะรูสึกว่าการถ่ายให้ที่ที่หนึ่งสวยน่ะมันก็สนุกมาก แต่มันยากที่จะให้ถ่ายแล้วสวยแบบเรา อย่างเช่นกระบี่
้
เราจะถ่ายยังไงให้รูปออกมา เป็นกระบี่ที่สวยในแบบของเรา ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ
อย่างนี้เท่ากับว่าต้องทําการบ้านด้วยการดูภาพของคนที่เคยถ่ายที่นั่นมาแล้ว
แล้วพยายามถ่ายให้ต่างจากมุมของคนอื่นๆ ใช่ไหม ก้อไม่เชิง มุมที่คนอื่นๆ ถ่ายมาส่วนใหญ่จะเป็นมุมล็อก
หรือมุมมหาชน ส่วนนี้เราก็ต้องถ่าย แล้วก็ค่อยคิดว่าจะทําให้มันดีกว่าเดิมได้ยังไง
บางที่ก็คิดไม่ออกบางที่ที่คิดออกก็คิดออกอย่างที่แหลมพรมเทพผมไปยืนอยู่ตั้งแต่บ่ายสองจนพระอาทิตย์ตกก็ยังคิด
มุมไม่ออกสุดท้ายก็ต้องตั้งขาตั้งกล้องแล้วก็กดตามมุมมหาชนแล้วก็กลับบ้านเราก็เลยรู้ว่าทําไมไม่เคยเห็นแหลม
พรมเทพในมุมอื่น

มีใครเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพบ้างหรือเปล่าค่ะ
ผมไม่ค่อยมองใครเป็นแรงบันดาลใจนะ แต่จะมองคนที่เก่งกว่าเป็นกําแพง
ยิ่งเก่งมากยิ่งเป็นกําแพงที่สูงมากที่เราจะต้องข้ามไปให้ได้ หรือ แค่เข้าไปใกล้ก็ยังดี บางคนเก่งมากๆ เรารู้ว่า ตัวเรา
ไม่มีทางข้ามได้แน่ๆ ก็จะเข้าใกล้ หรือ หาว่าเราจะถ่ายยังไงเพื่อจะเดินหลบกําแพง ไม่ชน
เราไม่ได้มองว่าเขาเป็นศัตรูนะ แต่มองว่าถ้าคะแนนเต็ม 10 แล้วเราถ่ายมาแล้วได้ 8 เต็ม 10 เท่ากับเขา
โดยที่รูปมันไม่เหมือนกัน แต่ได้ 8 โดยที่รูปเป็นอีกมุมหนึ่ง อีกแนวหนึ่ง รูปถ่ายมันเป็นศิลปะ
มันไม่มีอะไรแน่นอนสามารถวิ่งขึ้นวิ่งลงได้ตลอด

คุณก็เลยไม่เคยมองว่าใครเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวคุณเอง
ถ้าในแง่ของการถ่ายภาพไม่เคยครับ จะมองว่าประทับใจมากกว่าว่าคนๆ นี้คิดอะไร ทําไมถึงถ่ายแบบนี้
เวลาที่ไปยืนตรงนั้นเขามองอะไรอยู่ หรือเขามีอารมณ์อะไรอยู่ ช่วงหลังๆ เริ่มคิดแบบนี้แล้วนะ
เริ่มลงไปถึงขั้นอาจารย์เฉลิมชัยแล้ว เริ่มรู้สึกเลยว่าเราหงุดหงิดหรืออารมณ์ดี
เพราะถ้าเวลาที่เราหงุดหงิดแล้วไปถ่ายภาพองค์ประกอบเราจะแรงมาก แข็ง ใช้เลนส์เทเล
แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีองค์ประกอบจะนุ่ม ใช้เลนส์ไวด์ มองแสง ดูเงามันก็จะเป็นแบบนี้
บางครั้งเสน่ห์ของการถ่ายรูปรีบๆ ก็มีเสน่ห์อีกแบบหนึ่ง เห็นแล้วรู้เลยว่าคนถ่ายรูปนี้หงุดหงิด รูปดูแรง
ช่างภาพไม่สนใจเรื่องราวมาก เพราะตอนนั้นเรากําลังสนใจอารมณ์ตัวเองอยู่ แต่อยากได้แบบนี้ก็กด จริงๆ
อาจจะเป็นผลดีก็ได้ เพราะเป็นการสแนปแบบไม่มีอารมณ์ของตัวช่างภาพร่วมกับแบบ แบบก็ไม่มีอีโมชั่นร่วมกับเรา
เพราะฉะนั้นการสแนปแบบนี้คือ การสแนปแบบบริสุทธิ์ เราเล็งแล้วเรากด นั่นคือ 90% ในชีวตเขา นั่นคือของจริง
ิ
จริงๆ แนวคิดนี้ได้มาจากคุณยุทธนา อัจฉริยวิญญู ช่างภาพของ NG ภาษาไทย
แต่ถ้าถามผมว่าเอาแรงบันดาลใจในการทํางานมาจากไหน นี่เลยครับ ‘ในหลวง’ อันเป็นที่รัก
ที่เทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ ผมรู้สึกว่ามองเห็นพระองค์เมื่อใดก็หายเหนื่อย
ยิ่งเมื่อผมได้มีส่วนร่วมในการจัดนิทรรศการฉลองครองราชย์ 60 ปี ผมถ่ายรูปทําโครงการและรับผิดชอบออกบูธทั้ง 8
ฮอลล์ ในส่วนของพระราชกรณียกิจ คอนเซ็ปท์ของงานนี้คือ
อยากให้ทุกคนที่เข้ามาในงานแล้วได้เห็นว่าในหลวงทรงบันทึกเป็นภาพถ่ายอะไรมาบ้าง
ภาพที่ในหลวงทรงบันทึกมาอีก 10 ปี มาเทียบกันดูเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน
ถ่ายภูเขาหัวโล้นก็กลายเป็นป่าไม้สมบูรณ์ ตรงพื้นที่แห้งแล้งต่อไปก็มีคลองชลประทาน
แล้วทางบริษัทฯ ที่ผมทํางานก็ทูลขอภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แล้วมาเปรียบเทียบกันว่านี่คือที่ไหนในปัจจุบัน
แล้วไปไล่ถ่าย คิดดูสิว่าทุกวันนี้มีรถ มีกล้องดิจิตอล มี GPS ยังเหนื่อย โครงการ 700 โครงการ
พอได้ไปยืนตรงนั้นแล้วรู้สึกว่าเหนื่อยมาก แต่ในใจก็คิดขึ้นมาว่า
‘พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไม่จําเป็นต้องทรงงานหนักขนาดนี้ แล้วทําไมต้องทําด้วย’ แค่นั้นเองจบเลย
ในหลวงนี่ผมรักหมดใจเลย
หลังจากนั้นผมก็ได้มีโอกาสเป็น 1 ใน 50 ช่างภาพที่ได้ไปถ่ายงานฉลองงานครองราชย์ 60 ปี ได้รับเสด็จฯ
ได้ถ่ายงานที่หอประชุมกองทัพเรือ อันนี้เป็นงานที่ภูมิใจมาก
เพราะกองทัพเรือเขามีช่างภาพแค่เพียงไม่กี่คนที่ให้เข้าไปถ่ายภาพตั้งแต่เขียนลาย ซ้อมขบวนเรือ
นี่เป็นงานที่ผมยอมโดดงานไปทํา แล้วเจ้านายก็เข้าใจ บอกเลยว่าคุณจะเข้างานสายกี่โมงก็ได้
เพราะนี่เป็นงานของในหลวง ให้ยืนตากฝนก็ยอม นี่เป็นงานที่หายาก แล้วไปเกือบทุกครั้งที่มีการอนุญาติให้ถ่าย

นี่ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงเลยไหม
ถือเป็นผลงานแห่งความภาคภูมิใจ ปลื้มใจดีกว่าครับ เพราะน้อยคนที่จะได้มีโอกาสพิเศษๆ แบบนี้
ถ้าผลงานที่ถือเป็นชิ้นโบว์แดงของผมคือ ภาพที่ทําให้เขาใหญ่ได้รับการยกให้เป็นมรดกโลกจากยูเนสโก
โดยมีโจทย์มาว่าถ่ายยังไงก็ได้ให้ยูเนสโกยอมรับว่าเขาใหญ่สมบูรณ์จริงๆ เพื่อเสนอให้เป็นมรดกโลก
งานนี้เหนื่อยมาก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์หามุมถ่ายภาพ ปีนเขาหานกเงือก ไปเฝ้าอยู่ 8 ชั่วโมง
จนตอนนั้นเกือบหนึ่งทุ่มแล้ว ปรากฏว่ามีนกเงือกฝูงใหญ่มากบินผ่านหุบเขามา เสียงดังกระหึ่มเหมือนเฮลิคอปเตอร์
ยืนน้ําตาไหล ยกมือไหว้นกเงือกด้วย อันนี้คือสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในชีวิตการถ่ายภาพที่ผ่านมา เพราะนี่คือที่สุด
ต้องอดทนรอ และผมถือว่านี่คือมหัศจรรย์ธรรมชาติ รูปที่ได้มาเป็นรูปที่ติดตามคัตเอาท์ทางด่วน
ซึ่งผมคิดว่ารูปนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้ยูเนสโกเลือกเขาใหญ่เป็นมรดกโลก
ส่วนงานอื่นๆ ก็มีถ่ายให้สุวรรณภูมิ เป็นภาพสนามบินสุวรรณภูมิที่ไปติดตามสนามบินต่างชาติ
หรือตอนที่หลังเกิดเหตุการณ์ สึนามิเราก็ต้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อไปถ่ายภาพนั้นเก็บไว้ ก็ได้แต่งานมันส์ๆ ครับ
ถือเป็นกําไรชีวิต

งานที่ได้รับแต่ละชิ้นค่อนข้างยาก มีเทคนิคส่วนตัวในการถ่ายภาพไหม
เหมือนคนอื่นๆ ครับ กล้องมันมีทุกอย่างเหมือนกันทุกตัว มีแค่ รูรับแสง กับสปีดชัตเตอร์ นอกจากนั้นขึ้นอยู่กับโอกาส
ภาพบางภาพพอเราเห็นก็จะรู้สึกว่าถ้าเราไปยืนเราก็ถ่ายได้ แต่ที่แตกต่างก็คือโอกาส
เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องปรับอะไร แต่นี่เป็นเรื่องของโอกาสกับการพาตัวเองไปหาโอกาส
ถ้าคุณยังสบถว่า ‘เฮ้ย! รูปแบบนี้กูก็ถ่ายได้‘ คุณก็ไม่มีทางได้รูปอย่างนั้นหรอก
คุณไม่เคยเคารพเขาเลยว่าเขาทํายังไงถึงได้โอกาสนั้นมา เรายึดถือตรงนี้ตลอด เราไม่เคยไปยืนดูรูปสวยๆ
แล้วบอกว่าเฮ้ยแบบนี้เราก็ถ่ายได้ แต่จะมองแล้วคิดว่าจะทํายังไงให้ถ่ายรูปแล้วได้แบบนี้
ศิลปินที่ดีควรมีความนอบน้อมนะครับ แล้วพร้อมที่จะเรียนรู้
เคยมีคนสอนผมว่าคนเราก็เหมือนเครื่องบิน ยิ่งทํางานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เหมือนเครื่องบินลําใหญ่ขึ้น
ซึ่งต้องการพื้นที่รันเวย์สําหรับขึ้นลงกว้างและยาวมากขึ้น พอรันเวย์เล็กไป ก็ลงไม่ได้
เราก็จะมีขอบเขตของตัวเองแล้วแต่ประสบการณ์

ได้ยินมาว่าคุณไม่รับถ่ายงานพิธี เป็นเพราะอะไร
ครับ ก็มีคนโทรมาถามว่าทําไมไม่รับงาน หยิ่งจัง ผมก็ตอบว่าผมไม่ชอบ
รับงานต้องดูงานครับ ถ้าเป็นงานอาร์ต งานสนุกก็รับ ถ้าให้งานท้าทายผมจะรีบรับเลย งายยากๆ ยากโคตรๆ รับนะ
บางครั้งงานง่ายๆ เงินดีๆ ก็ไม่รับ ไม่รู้สิ อาจจะเป็นศิลปินเกินไปหน่อยมั้ง
ถ้าให้ผมลงไปจับงานรับปริญญา ถามว่ามันคืออะไร ผมก็ตอบว่าคุณเลือกที่จะเป็น Professional Photographer
หรือ Artist มากกว่ากัน ผมเลือกเส้นทางของผมแล้วว่า ผมจะเป็น Artist ผมเป็นศิลปินถ่ายภาพ
ผมไม่ได้เป็นช่างภาพอาชีพ

แต่ก็ยังเป็นอาร์ตติสในมาดช่างภาพมืออาชีพ
ผมยังคงถ่ายภาพเป็นอาชีพต่อเมื่อที่ยังรู้สึกสนุกกับงานนี้อยู่ ถามว่างานรับปริญญาถ้าไม่มีเงินรับไหม ผมรับนะ
ผมก็ไม่ใช่คนโง่ที่จะไม่เลือกว่าถ้าไม่มีทางเลือกแล้วจะมายืนติสต์จนตายไปเลย มันเป็นโลกที่เราต้องเข้าใจ
แต่ถ้าบางงานที่ผมอยากรับ ผมก็ไม่คิดเงินนะ ไม่รู้นะ
ผมคิดว่าช่างภาพควรจะใส่ความเป็นศิลปินลงไปในงานของคุณด้วย ถ้าคุณจิตใจไม่ดี
งานของคุณจะออกมาดีได้ยังไง รูปคุณไม่มีความสุนทรีแล้วมันจะออกมาดีได้อย่างไร
ผมจะคิดว่าถ่ายอะไรก็ได้ที่สบายใจแล้วมันจะออกมาสวย
ศิลปินถ่ายภาพผมคิดว่าเป็นตัวจรรโลงโลกมากกว่าจะเป็นแค่ช่างภาพ

ยังไงก็วางแนวไว้แล้วว่าเราเป็น Artist Photographer แน่
มันแล้วแต่งานครับ ข้อแรกเลยงานก็คือ งานต้องมาก่อน เราไม่ทําให้เจ้านายเดือดร้อน
อย่างงานหนึ่งจ่ายมา 5 แสน ถามว่าคนที่จ่ายมาเขาหวังอะไรกับเงิน 5 แสน เราก็ทําให้เขา ถ่าย 5 แสนให้เขาก่อน
แล้วเราค่อยไปติสต์แตกที่หลัง เอาเบี้ยเลี้ยงของตัวเองไปติสต์แตก อย่าเอาเงินเค้ามาเป็นของทดลอง อารมณ์ติสต์
แต่ก็กําลังมองอนาคตอยู่เพราะคงไม่หยุดอยู่แค่ที่ตรงนี้ แต่ก็ต้องมองเรื่องของเงินด้วย
ตอนนี้ก็ลองส่งพอร์ตงานไปทีประเทศการ์ต้า ลองสมัครเป็น Professional ด้าน Creative Photographer ดู
่
เพราะที่นั่นเป็นแหล่งงานใหม่ แต่เราก็ไม่รู้ว่าไปที่นั่นเราจะอยู่อย่างไร แต่ยังเป็นแค่ 1
โครงการที่ทําควบคู่ไปกับหลายๆอย่าง

ชอบถ่ายภาพ ชอบท่องเที่ยว แล้วมีผลงานการเขียนบ้างไหม
เคยเขียนให้ Nature Explorer อยู่ปีครึ่งครับ คอลัมน์ Diving Trips ตอนนั้นยังเรียนอยู่ครับ
แล้วก็สอนหนังสืออยู่ที่จุฬาด้วย เขียนให้ Nature Explorer ด้วย พอไปออกทริปก็กลับมาเขียนหนังสือ
แล้วก็มีความสุขนะ

ได้เริ่มต้นงานเขียนที่ Nature Exploror ได้อย่างไร
ได้เข้าไปทําเพราะการแนะนําจาก คุณนัท สุมนเตมีย์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกําแพงที่ผมอยากเข้าไปหาให้ใกล้ที่สุด
อยากรู้ว่าเขาเก่งแค่ไหน
ผมเคยเขียนไว้ในบล็อกของผมตอนที่ผมเห็นรูปของนัทว่า ‘ผมยืนจ้องโปสเตอร์ยับๆ อยู่แผ่นนึงว่าทําไมถึงมีชื่อคนๆ
หนึ่งติดอยู่ ชื่อนั้นคือ นัท สุมนเตมีย์ ผมหยุดดูรูปนี้นานขึ้นเรื่อยๆ รูปนั้นเป็นรูปที่เขาถ่ายให้กับศูนย์ชีววิทยา ที่ภูเก็ต
จาก 1 เป็น 2 นาที จนเป็น 10 นาที เหมือนเป็นเด็กบ้า ยืนดูที่ประตูทางเข้าห้องแล็ป
แล้วพอผมเริ่มถ่ายรูป ก็ไปเปิดหนังสือ อสท.ดู ก็ได้เห็นว่านัท สุมนเตมีย์ เป็นใคร
จนผมเริมถ่ายรูปและมีคนเริ่มรู้จักเชิญไปงานทริปดําน้ํา ตอนนั้นผมใช้ชื่อ RBJ ก็มีพี่คนนึงเดินเข้ามาบอกว่า RBJ
่
นัทอยากเจอ ผมก็จริงเหรอ อยากเจอจริงเหรอ เขาบอกว่าเขาเห็นรูปถ่ายผม พอไปเจอ ผมก็ขอลายเซ็นคุณนัทเลย
ตื่นเต้นมาก ตอนนั้นปากกาก็ไม่มี เขาก็บอกว่าให้ลองเอางานไปให้คุณดวงดาว สุวรรณรังสี ดูสิ
งานแบบนี้น่าจะโอเคนะ ผมก็ตอบตกลงว่าแล้วจะลองเอางานผมเข้าไปเสนอดู
แล้วผมก็เข้าไปให้คุณดวงดาวดูงาน เขาก็บอกว่า เอางี้คุณเขียนคอลัมน์ใหม่เลย เปิดให้ใหม่เลย 2 หน้า
ก็เหมือนความฝันเป็นจริง คอลัมน์แรกเกร็งมาก เขียนอะไรก็ไม่รู้ เขียนแล้วลุ้น
แล้วพอผมมองย้อนกลับไปหนังสือที่เคยมีนัทถ่ายกี่เล่มๆ ผมซื้อหมด
แล้วพอมาถึงจุดหนึ่งผมไม่ได้หนังสือ Nature เล่มแรกที่ผมเขียนจากที่นั่นนะ ผมไปเจอบนรถไฟฟ้า
ยืนกําหนังสือแน่นมาก ค่อยๆ เปิด ผมพบว่าคอลัมน์ของผม ถัดจากของคุณนัทไปหน้าเดียวเอง
'นี่คือกําแพงที่เราสามารถเข้าไปยืนใกล้ๆ ได้แล้ว’ ดีใจมากๆ แต่เขียนให้ได้ปีครึ่งก็เลิก เพราะไม่มีเวลาเขียน
ผมต้องทํางาน แต่ยังไงคุณนัทก็ยังเป็นคนที่ผมยกให้เขาเป็น Beyond Imagination เพราะเก่งมาก

ตอนที่เขียนใช้นามปากกาว่า
ใช้ RBJ มาตลอดเลยครับ ตั้งแต่เล่นในเว็บบอร์ด ผมเป็นคนอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว ยิ่งเวลาเถียงเรื่องระบบนิเวศน์
ตอนนั้นเถียงกับเจ้านายคนปัจจุบันเนี่ยล่ะครับ จําได้ว่าตอนแรกก็เขียนชื่อจริง พอตี 2 อารมณ์ไม่ค่อยดีก็เลยใช้ชื่อ
รมณ์บ่จอย สักพักก็เปลี่ยนให้ดูอินเตอร์ขึ้นก็เปลี่ยนมาเป็น RBJ
ผลงานเขียนนอกจากที่เนเจอร์
ก็มี Outdoor Thailand ที่เคยให้รูปไปบ้าง แล้วก็หนังสือ จุ๊กจิ๊ก 2 – 3 เล่ม แต่ผมจะอยู่ในโลกของเว็บไซต์มากกว่า
เคยเป็นสตาฟให้สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ฝ่ายดิจิทัล
เราก็โชคดีที่ไปเกิดในช่วงของดิจิตอล แล้วก็ยังเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีใครมาสนใจระบบดิจิตอล ก็เลยถูกถามบ่อยๆ
กลายเป็นสิ่งที่ถูกเรียกหา แต่จริงๆ ในนั้นมีคนเก่งๆ กว่าผมอีกหลายคนนะ ผมเป็นพวกก้ํากึ่งระหว่าง Pro กับ
technician ผมชอบที่จะทํางานสวยๆ มากกว่า
แล้วก็ออกมาทํางานด้าน commercial ทางด้านนี้ และก็เปิดเว็บ Pixpro’s (www.pixpros.net) ผมตั้งใจให้ที่นี่เป็น
ทุกอย่างเกี่ยวกับการถ่ายภาพดิจิตัล เป็น Photo Bank ผมพยายามหยิบคนมือดีๆ ของแต่ละด้านมาร่วมกันเปิดเว็บนี้

ดูแลเว็บเองทั้งหมดเลยไหม
ไม่ครับ มีทั้งหมด 5 คน Kanatex, Dust, Migmig, Jojo มีพี่หมอหนกอีกคน ช่วยบริหาร
ส่วนตัวผมจะดูว่าแนวทางเว็บควรจะไปยังไง ควรจะไปทางไหน ผมมีหน้าที่ดูแลเว็บให้มันดัง
ทํายังไงก็ได้ให้คนเข้ามาดูเยอะๆ มันก็เป็นบันไดตัวหนึ่งที่ทําให้เราต้องพยายามถ่ายรูปให้ดีขึ้นทุกๆ วัน
ถ้าเปิดเข้าไปดูในเว็บก็จะเห็นเลยว่ารูป งานที่โพสต์ทุกชิ้นเป็นงานที่ปราณีตมาก เพราะผมอยากให้คนที่เข้ามาเห็น
รู้ถึงความตั้งใจ เว็บของเรามีทิศทางที่แน่นอน รูปของเราที่มาโพสต์มีมาจากหลายที่ทั้งปากีสถาน อินเดีย
ทุกอย่างกลับมาแล้วก็ค่อยๆ โพสต์ลงไป เป็นการไปเที่ยวอย่างตั้งใจ
ก็มีหลายคนนะที่ถ้ารูปเขายังไม่ดีพอเขาก็จะยังไม่โพสต์ลงไป
เขาจะรอจนกว่าเขาจะมีเซ็ทรูปที่ดีที่สุดของเขาในเดือนนั้น เขาถึงจะลง ผมอยากให้ทุกคนคิดแบบนี้
เพราะอย่างน้อยๆ เว็บก็เป็นเสมือนสิ่งที่ ช่างภาพที่ไม่ได้ลงหนังสือ เอารูปดีๆมาแชร์กัน ทุกวันนี้ รูปในบางเว็บ
ดีกว่ารูปในหนังสือเยอะแยะก็มี
มีคนบอกว่าดิจิตอลกับฟิลมมีความแตกต่างกันในเรื่องของความปราณีตทางความคิด คิดยังไงกับคําพูดนี้
์
ก็ไม่เกี่ยวนะ บางคนบอกว่า ดิจิตอล ถ่ายแล้วลบ ถ่ายแล้วลบ แต่สําหรับฟิล์ม คุณถ่ายเสีย นั่นคือคุณก็เสียตังค์
สําหรับดิจิตอล ถ่ายมาเสีย ลบทิ้ง ก็เรียนรู้ แล้วตั้งใจถ่ายใหม่
เวลาผมไปถ่ายรูปตามที่ต่างๆ บางทีเจอน้องๆ นักศึกษาชอบมาถามว่า FM2 ใส่ฟิล์มยังไงค่ะ ผมก็ตอบเลยไม่รู้ครับ
ผมใส่เป็นแต่ CF พี่เกิดมาก็ดิจิตอลแล้ว
ผมถ่ายรูปมาประมาณ 4 ปี จะฟิล์มหรือดิจิตอลขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นคนระดับไหนที่ใช้กล้อง
เราอยู่ที่ระดับไหนของกล้อง เราเป็นตากล้อง เราเป็นคนเล่นกล้อง หรือเราเป็นศิลปิน
ถ้าเราเป็นศิลปินเขาใช้กล้องเป็นสื่อเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดจินตนาการ เขาจะใช้กล้องอะไรก็ได้
แล้วมาแต่งเติมอะไรก็ได้ ศิลปินมุ่งไปอย่างเดียวที่งานที่จะออกมา ทุกอย่างอยู่ที่รูป ที่เป็น The end of
result จะเอาอะไรมาทําก็ได้จนได้งานอย่างที่ใจเราต้องการ นั่นคือความเป็นศิลปิน
แต่ช่างภาพอาชีพต้องการอะไรก็ได้ที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นไปตามที่ลูกค้าบอก
เป็นสิ่งที่คนเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุด มืออาชีพต้องการกล้องตัวนั้น และคนเล่นกล้องคือ
กล้องอะไรก็ได้ที่มันดี อันนี้คือมองกล้องอย่างเดียว
ช่างภาพอาชีพมองกล้องที่ดีที่สุดเพื่อให้ภาพที่ได้ออกมาดีที่สุด
ศิลปินนมองอะไรก็ได้ที่ทําให้มันออกมาเป็นภาพนี้ จะเป็นกล้องอะไรก็ได้จะดี จะห่วย
จะแพงแค่ไหนก็ได้ แต่สําหรับผมไม่มีความแตกต่างกันเลยทั้งฟิล์มและดิจิตอล
ทํายังไงก็ได้ให้ได้ภาพที่ดี
การใช้ดิจิตอลถ่ายๆๆๆ ไม่พอใจก็ลบ แบบนี้ทําให้กลายเป็นคนไม่ปราณีตกับงานหรือเปล่า
งั้นผมถามกลับบ้างว่างานนั้นต้องการความปราณีตไหมล่ะ
ถ้าคุณเป็นช่างภาพอาชีพคุณก็ต้องปราณีต
เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องเรียนรู้ด้วยตัวคุณเองแล้วว่าผมทําอาชีพตรงนี้ถ่ายเสียลบ แล้วถ่ายใหม่ นีก็อาจจะเป็นเรื่องดี
่
โอกาสผิดพลาดน้อย ไม่ใช่ว่ามีสิ่งนี้แล้วทําให้เราประมาทขึ้น
ถามว่าจะให้ถ่ายดี หรือถ่ายได้ ถ้าเป็นช่างภาพมืออาชีพ ผมคิดว่าดิจิตอลดีกว่าเพราะถ่ายแล้วเห็นรูปทันที
สามารถเห็นข้อผิดพลาดได้ทันที ลูกค้าเห็นงานทันที ลูกค้าก็แฮปปี้ เราก็พอใจ
แต่ถ้าเป็นอีกประเด็นที่เป็นประเด็นใหม่ก็คือ ถ้าคุณมีการถ่ายรูปเป็นงานอดิเรก
และต้องการถ่ายรูปให้สวยจะใช้กล้องอะไรดีกว่ากัน มีคนบอกว่าฟิล์มทําให้คุณปราณีตมากขึ้น
แต่คุณจะรู้ได้ยังไงว่าคุณปราณีตมากขึ้นในเมื่อคุณยังไม่เห็นรูปที่คุณถ่ายมา
ในขณะที่กล้องดิจิตอลถ่ายมาแล้วเห็นรูปเลยถ้าถ่ายมาแล้วรูปคุณเสีย
คุณสามารถทําใจให้ประณีตกับงานและถ่ายใหม่ให้ประณีตขึ้นกว่าเดิมได้ไหม
ก็คงคล้ายกับวันหนึ่งที่ผมเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีน้องคนหนึ่งมาถามผมว่า
‘พี่แอ่วครับ ผมมีงบเท่านี้จะซื้อกล้องอะไรดีครับ’ เมื่อก่อนนี้ผมก็จะบอกว่าแล้วแต่ รุ่นไหนก็ได้
แต่น้องคนนี้เขาทําให้ผมคิดได้ว่า บางคนกว่าจะเก็บตังค์เพื่อซื้อกล้องตัวนึงต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี อยากกินก็ไม่ได้กิน
อยากดูหนังก็ไม่ได้ดู ต่างจากบางคนที่ทํางานเดือนเดียวก็สามารถซื้อกล้องได้แล้ว ผมก็มานั่งนึกว่า เออจริงนะ
เขาเก็บเงินมา 2 ปี นั่นคือทุกอย่างที่เขาเคยอยากทํา แล้วยังไม่ได้ทําเพื่อเก็บเงินมาซื้อกล้องตัวนี้
เพราะฉะนั้นเราควรจะใส่หัวใจลงไปในการแนะนําเขาว่าอันไหนดีที่สุด
หลังจากนั้นผมจะไม่พูดเลยว่ากล้องตัวไหนก็ได้ ผมจะถามว่ามีเงินเท่าไหร่ แล้วค่อยบอกว่าควรจะซื้ออะไร
แล้วก็ต้องเป็นกล้องที่เคยผ่านมือผมด้วยนะ จะได้ไม่มั่ว มันอาจจะดูอาร์ตติส งี่เง่าไปบ้าง แต่เราถือว่าเรารักเขา
แล้วเขาก็รักเรา pixpros เป็นอย่างนี้ทุกคน ถ้าออกไปถ่ายรูปเราจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องกล้องเลยนะ
เพราะถือว่าเราซื้อมาแล้ว นอกจากจะมาถาม

งานอย่างอื่นนอกจากทํางานเอ็กซิบิชั่นกับเว็บ ทําอย่างอื่นอีกไหม
ก็มีทําอาหาร ชอบทําอาหาร ติดจากแม่มา ตลกมาก เป็นสุนทรีนะ ถ่ายรูป ทํากับข้าว ท่องเที่ยว
ผมว่าไม่มีอะไรสนุกและสุนทรีไปกว่านี้แล้ว

วางอนาคตไว้ยังไงบ้าง
ยังไม่รู้ครับ แต่อยากสานต่อกิจการเจ้านายหลังจากที่ท่านเกษียณ แต่ถ้าไม่ได้สานต่อตรงนี้ก็จะไปตามหาความฝัน
อยากเป็นช่างภาพแฟชั่น ใช้มีเดียมฟอร์แมต ใช้ดิจิตอลแบ็ค อยากมีสตูดิโอที่นิวยอร์ค หรือลอนดอน งานยุ่งๆ
บินไปบินมา น่าสนุก แต่นั่นก็ยังเป็นแค่ฝัน ฝันไกลๆมากๆด้วย ฮ่าๆๆ
มีช่างภาพคนหนึ่งที่ผมชอบมากชื่อ พี่หนึ่ง เป็นตากล้องอาชีพ เขาบินไปๆมาๆ ลอนดอน มัลดีฟ ศรีลังกา หลายที่
เขาทํางานคนเดียว มีผู้ช่วยนิดหน่อย เขาเป็นคนเก่ง น่ารัก ถามอะไรตอบหมด จริงจัง
ผมคิดว่าช่างภาพต้องเป็นแบบนี้ ต้องพูดด้วยเหตุ ด้วยผล และอารมณ์ดี เพราะทํางานกับความสวยความงาม
จะไปทําหน้าตาบูดบึ้งก็ไม่ใช่ ผมอยากเป็นแบบเขานะ อยากมีชีวิตที่ยุ่งๆ แบบนี้ วันนี้บินไปนิวยอร์คถ่ายให้โวค 4
หน้า พรุ่งนี้บินไปมัลดีฟถ่ายแฟชั่นสัก 2 วัน อะไรแบบนี้ ผมชอบการเดินทาง

เรื่องสุดท้ายอยากให้ฝากอะไรถึงผู้อ่านโฟโต้เทคหน่อยคะ
ทุกวันนี้มันมีของเยอะครับ เราต้องเลือกที่จะเสพ หนังสือก็มีหลายเล่ม เว็บก็มีหลายเว็บ
ต้องถามตัวเองก่อนว่าตัวเราสนใจอะไร เลือกที่จะถ่ายรูปมาโครมากเลย อย่าไปพึ่งคนอื่นมาก
ต้องยืนด้วยขาตัวเองก่อน search เลย google มี ลองเข้าไปดูว่าอันไหนที่เหมาะกับเรา
และเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ที่ทําให้เราเชื่อโดยมีเหตุผล ไม่ใช่เชื่อเพราะเขาว่ากันว่า
ทุกอย่างเป็นไปตามหลักตามหลักพระพุทธศาสนา ต้องศึกษาตัวเอง แล้วค่อยไปหาสิ่งที่เราอยากรู้ พอรู้ครบแล้ว
ก็ค่อยไปหาความรู้ที่อื่น
การถ่ายรูปที่ดีได้ ก็เพราะว่าต้องมีเบสิคที่ดี เพราะฉะนั้นการหาเบสิคที่ดีก็ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองควรใช้เบสิคแบบไหน
ง่ายๆ อย่างผมผมรู้ตัวว่าชอบถ่ายแนว Landscape ผมไม่เคยอ่าน Portrait ไม่เคยอ่าน Macro อ่านบ้างเมื่อมีเวลา
และต้องเรียนรู้ให้ครบทุกเรื่อง เพราะเรามีหน้าที่ที่ต้องตอบคําถามคนอื่นๆ นี่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ
แต่ถ้าถามตัวผม ผมไม่ต้องรู้เรื่องพวกนีเยอะก็ได้ เพราะผมมุ่งไปที่ Landscape อย่างเดียว
้
มันก็จะแตกยอดทางแนวคิดไปเรื่อยๆ นะ
ผมอยากบอกว่าผมเล่นกล้องและถ่ายภาพมา 4 ปี ผมไม่ได้เก่งแบบพระเจ้าประทานหรือที่เค้านิยมเรียก เทพ กัน
แต่ผมรู้ว่าเราอยากคุยกับใคร รู้ว่าเราควรจะไปอยู่ตรงไหน เราควรไปหาใคร และสร้างโอกาสเพื่อไปยืนจุดนั้นให้ได้
และที่สําคัญศิลปินควรมีความเคารพ นอบน้อมถ่อมตน พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ ไม่ใช่ เฮ้ย กูเป็นเทพแล้ว ...
ก็นั่งกอดกล้องต่อไป เจริญพร

Credit : http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=3054

	
  

More Related Content

Featured

Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 

Featured (20)

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 

บทความสัมภาษณ์ “ พี่แอ๋ว “ จากนิตยสาร Phototech

  • 1. และนี่เป็นบทความสําคัญบทความนึงที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผมเจ้าของบล็อคนะครับ ที่เอามาลงก็หวังว่าจะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลาย ๆคนได้นะครับ บทความสัมภาษณ์ “ พี่แอ๋ว “ จากนิตยสาร Phototech วราณ สุวรรณโณ : RBJ “สวัสดีปีใหม่ 2550 ค่ะ” เริ่มต้นปีใหม่กับอากาศเย็นๆ แสงแดดอุ่นๆ กับพระอาทิตย์สีส้มวงกลมโตแวะมารับอรุณยามเช้า และส่งท้ายยามเย็นก่อนเจอะเจอกับแสงนวลๆ ของดวงจันทร์ในยามค่ําคืนของน้ําค้าง บรรยากาศดีๆ แบบนี้โฟโต้เทคขอนําทุกท่านไปรู้จักกับอีกหนึ่งช่างภาพที่มีความสุนทรีกับการถ่ายภาพอย่างล้นเปี่ยม ทั้งๆ ที่ไม่เคยตั้งใจมาเดินบนเส้นทางสายนี้แม้แต่จะคิด จนกระทั่งวันหนึ่งได้สัมผัสถึงความสุขที่ได้จากการลั่นชัตเตอร์ที่มากขึ้นๆ ทุกวัน จนเขาคนนี้ได้เข้ามาเดินอยู่ในเส้นทางสายนี้อย่างเต็มตัวในชื่อ “วราณ สุวรรณโณ” คุณวราณ หรืออีกชื่อที่เป็นที่รู้จักในวงการไซเบอร์ในนาม “RBJ ที่ย่อมาจาก รมณ์บ่จอย” เปิดฉากเล่าถึงพื้นเพเดิมว่า “ผมเป็นคนเชียงใหม่ครับ เกิดที่เชียงใหม่ แม่เป็นคนเชียงใหม่ พ่อเป็นคนสงขลา นิสัยส่วนตัวค่อนข้างเป็นเด็กเรียน เรียนที่เชียงใหม่แป๊บๆ แล้วก็ย้ายไปเรียนที่ใต้ตลอดเลย ก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ เอกนิเวศวิทยาทางทะเล จบมาก็มาต่อโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตอนที่ผมมาเรียน ป.โท ที่จุฬาฯ ผมยังไม่รู้จักกล้องเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วก็ไม่ชอบด้วย เพราะเพื่อนซี้ที่ชมรมถ่ายภาพโดนไล่ออกเพราะว่ามัวแต่ถ่ายรูป ทําให้ผมเกลียดเรื่องการถ่ายรูปมาก เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไร้สาระ กิจกรรมอะไรออกทริปถ่ายรูปได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ หนังสือหนังหาไม่เรียนเดินกันทั้งวัน ‘เฮ้ย! ขาวดํามันอัดกันยังไง’ แล้วโดนไล่ออก จะชอบลงมั้ย ?? ทําให้คุณเกิดอคติกับการถ่ายภาพตั้งแต่นั้นมา แล้วอะไรทําให้คุณสนใจและมองการถ่ายภาพในแง่บวกมากขึ้น ผมจับกล้องครั้งแรกตอนเรียน ป.โท เพราะต้องทํางานวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ปะการังทั่วทั้งประเทศ ผมก็เลยต้องดําน้ําทั่วทั้งประเทศเพื่อเก็บข้อมูล สมัยก่อนยังเป็นกล้องฟิล์ม Nikonos V ลงใต้น้ํา โปรเจ็คท์ทั้งประเทศคํานวณแล้วมันต้องใช้ฟิล์มประมาณ 2,000 ม้วน บวกกับค่าล้างอัดอีก ดูแล้วงบสูงมาก แต่พอดีว่าตอนนั้นมีเพื่อนคนหนึ่งใช้กล้องดิจิตอล ผมก็ลองเอาลงไปถ่ายใต้น้ํา ก็เลยรู้สึกว่านี่เป็นประโยชน์ต่องานวิจัยมาก ก็เลยกัดฟันซื้อเป็นของตัวเอง 1 ตัว ตัวแรกเป็น Olympus 3040
  • 2. ก็เริ่มหัดใช้ตั้งแต่ไม่รเรื่องเลยนะ ถ่ายด้วยโหมด Auto ล้วนๆ ไม่รู้เลยว่าความเร็วชัตเตอร์คืออะไร รูรับแสงคืออะไร ู้ ทุกอย่างเป็นศูนย์ รู้แค่ว่ากดชัตเตอร์แล้วได้รูปแล้วไปเข้าคอมพิวเตอร์ มีงานส่งอาจารย์ได้ผ่าน ก็ถ่ายๆ มา จนช่วงหนึ่งก็ได้คุยกับคนๆ หนึ่งที่อยู่ในเว็บบอร์ดดําน้ํา ชื่อ คุณ ‘นภันต์ เสวิกุล’ ไม่ชอบการถ่ายภาพแล้วไปโพสต์ภาพในเว็บบอร์ด สําหรับตัวผม ผมโพสต์รูปเพื่อ ให้คนเห็นความสําคัญของระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเลมากขึ้น มีหน้าที่คล้ายๆ กับไปให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักดําน้ํา ซึ่งไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน บอกให้เขาได้รู้ว่าสิ่งนีสําคัญยังไง ้ คุณต้องการให้คนที่ลงไปดําน้ําถ่ายรูปไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศน์ด้วย ใช่ครับ อะไรประมาณนั้น โพสต์ไปได้ระยะหนึ่งก็มีคนบอกว่า ผมถ่ายรูปเข้าท่าเหมือนกันนะ ถ่ายรูปมีองค์ประกอบดี ผมก็บอกว่าผมไม่รู้ว่าองค์ประกอบมันคืออะไร ช่วยสอนหน่อยสิ เขาก็สอนอะไรมานิดหน่อย ตั้งแต่สปีดชัตเตอร์คืออะไร ชัดลึก ชัดตื้น แต่ผมไม่เคยรู้ ว่าคนที่สอนเรานั้น โคตรเก่งเลย ก็เลยรู้สึกว่าการถ่ายรูปน่าสนใจ มีคนชมเราด้วย ถ่ายรูปมันก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ผมก็เริ่มไปหาหนังสือมาอ่านเอง คราวนี้ก็เริ่มสนใจการถ่ายรูปมากขึ้นๆๆ เรื่อยๆ จนกระทั่งตัดสินใจหยุดทํางานวิจัย แล้วเริ่มถือกล้องดิจิตอลเดินทางท่องเที่ยวถ่ายรูป จุดนี้ทําให้เริ่มเข้าใจเพื่อนด้วยไหม ว่าทําไมถึงโดนไล่ออกเพราะการถ่ายภาพ ใช่ เข้าใจแจ่มกระจ่างเลย เพราะผมก็เริ่มชอบการถ่ายภาพมากขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้ก็เลยซื้อกล้องฟิล์มมาใช้ ด้วยความอยากรู้ว่า ไอ้ที่เขาเล็งที่ลูกกะตานั่นมันคืออะไร ฮ่าๆๆ(แทนที่จะมองจากจอ LCD ด้านหลังกล้อง) ผมซื้อ Nikon F90x เลนส์ 35-70 มม. เพื่อนก็สอนถ่ายฟิล์มเนกาทีฟไปก่อน ถ่ายมาก็ส่งล้างอัดธรรมดา ก็เริ่มบ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มถ่ายรูปลงเว็บบอร์ด ตามที่เขาฮิตๆ กัน ผมถ่ายลงไปเพราะว่าผมอยากรู้ว่าเขาดูรูปกันยังไง รูปของเราเป็นยังไง ก็ลองๆ ถามเสียงภายนอกดู เขาก็บอกว่าเราถ่ายรูปโอเคนะ ผมก็เลยบ้าขึ้นเรื่อยๆ จนมาหยุดคิดได้ว่ากลัวจะไม่จบก็เลยทิ้งกล้องไปประมาณ 3-6 เดือน หันกลับไปทํางานวิจัยต่อ แต่ปรากฏว่างานวิจัยตัวนี้ ผมก็ต้องลงไปทํางานที่สิมิลัน ซึ่งขึ้นชื่อว่าสวยมาก ประกอบกับผมก็มีเฮ้าส์ซิ่ง และกล้องพร้อม เลยได้โอกาสถ่ายภาพอีกครั้ง พอถ่ายไปถ่ายมาก็เริ่มรู้สึกว่า เรียนต่อว่าไม่ไหวแล้ว เราชอบการถ่ายรูปจริงๆ ด้วย และพอดีมีพี่ที่ดําน้ําด้วยกันทํางานอยู่ที่บริษัททําพวกโฆษณา และสิ่งพิมพ์ชวนมาลองทําดูเล่นๆ โดยให้ผมดรอปเรียนไว้ก่อน 1 ปี แต่ผมก็บอกว่า ผมไม่ดรอปแล้วล่ะ ลาออกเลยดีกว่า ผมก็เลยลาออกจากโทจุฬาฯ ออกมาทํางานที่บริษัทโฆษณาแทน
  • 3. ตอนนั้นทางบ้านมีความคิดเห็นยังไงกับการตัดสินใจของคุณ ที่บ้านไม่ว่าอะไรเลย คืออยากทําก็ทํา แต่ก็ถามแล้วถามอีก เพราะผมก็เรียนได้ดี ข้อแรกเลยก็คือ ผมไม่ได้ไปทําผิดกฎหมายอะไร แล้วอีกอย่างคือถ้าให้ผมทู้ซี้ทําต่อไป ก็คงไม่ได้ดีอะไรสักอย่าง แต่มีข้อแม้เกิดขึ้นอย่างหนึ่งจากอาจารย์ที่สอนนิเวศน์วิทยา ซึ่งท่านถือว่าผมเป็นกระบี่มือหนึ่งของท่าน ผมทําวิจัย ขอทุนจนได้แล้ว แล้วพอไปบอกอาจารย์ว่าจะลาออก อาจารย์ก็บอกมาคําเดียวว่า ‘ถ้าไปแล้ว ก็ทําให้ได้ดี ’ จริงๆพูดอีกแบบนะ แต่เขียนให้อ่อนลงหน่อย ฮ่าๆ สิ่งที่อาจารย์พูดกลายเป็นแรงกระตุ้นไหม มันไม่เหมือนเป็นแรงกระตุ้นนะ แต่กลายเป็นแรงกดดัน ตอนนั้นเสียใจและกลัวมาก เพราะอาจารย์คนนี้เป็นเหมือนพ่อคนที่ 2 ที่สอนผมทุกอย่าง เพราะท่านเก่งมาก ผมเองก็เรียนรู้ทุกอย่างมาจากท่าน แล้วผมมาทําแบบนี้ เหมือนหักหลังท่าน แสดงว่าอาจารย์คงหวังกับคุณไว้เยอะ ครับ เพราะสิ่งที่ทําตอนนั้นก็เหมือนเป็นการฟอร์มทีมวิจัยขึ้นมา 1ทีม ผมเป็นตัวยืนในการทํางาน มีลูกทีมที่เข้ามาเพราะผมก็มี เพราะเขาเห็นว่างานของผม ไม่จําเป็นต้องอยู่ในห้องหาข้อมูลอย่างเดียวนะ ไปเที่ยวเมากลับมาก็ยังสามารถเขียนรายงานดีๆ ออกมาได้ คนก็อยากเข้ามา ไปทริปก็สนุกสนาน ทํางานก็คล้ายๆ พวก WWF พวกอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก เมื่อก่อนสังคมจะอยู่ในก๊กนู้นตลอดเลย พอจะออกก็ต้องขอโทษทุกคนแล้วก็ออกมาทํางานตรงนี้ ตอนจะออกก็เพิ่งได้ทุนด้วย เลยต้องคิดเยอะ แต่ก็ออกมาจนได้ รู้สึกเสียดายงานที่ได้ทุนไหม จริงๆ ก็เสียดาย ทุกวันนี้กลับไปนึกก็ยังเสียดายอยู่ แรกๆตอนออกมาสงสารแม่ รู้สึกเหมือนทําให้แม่ผิดหวัง แต่แม่น่ารักมาก สนับสนุน และเข้าใจในสิ่งที่ผมอยากทํา ตอนออกใหม่ๆ .. มืดมน .. ไม่รู้จะทําตัวเองให้เป็นช่างภาพได้ยังไง พอคิดไม่ออก ก็เลยลองเสี่ยงไปทํางานที่บริษัทโฆษณาดูสักครั้ง ผมได้ทําในตําแหน่ง Creative Director มีหน้าที่ออกแบบโฆษณา ซึ่งผมก็รู้สึกว่าสนุก ได้คลุกคลีอยูกับรูป เริ่มหัดโฟโต้ช็อป เพราะก่อนหน้านี้ ไม่เคยใช้เลย ่
  • 4. ได้เป็นครีเอทีฟ ไดเร็คเตอร์โดยที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ครับ มันเหมือนอยู่ในเลือดเลย เป็นเหมือนพรสวรรค์ที่ดูแล้วรู้สึกว่าต้องวางแบบงานควรหรือไม่ควรวางแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องขอบคุณคุณพ่อ เพราะพ่อทีเดินทางบ่อย และพ่อชอบสะสมหนังสือกินรีบ้าง หนังสือสวัสดีบ้าง ่ ซึ่งถ้ามีโฆษณาแปลกๆ สวยๆ พ่อก็จะดึงออกมาแล้วไปติดที่ผนังร้าน เพราะเมื่อก่อนที่บ้านทําร้านอาหารด้วย เวลาที่ผมไปช่วยที่ร้าน ผมก็มีความรู้สึกว่า ผมได้เห็นรูปพวกนี้อยู่ตลอดเวลา ได้ดูโฆษณาตลอด จนมีความรูสึกว่าการวางตัวหนังสือการวางตําแหน่งขององค์ประกอบน่าจะเป็นแบบนี้ ้ การที่เราได้ดูงานแบบนี้เรื่อยๆ ทําให้เราเรียนรู้โดยที่เราไม่รู้ตัวว่านี่คืองานระดับเวิร์ลคลาส ผมก็จําๆ ตรงนั้นมา พอผมไปทํางานครีเอทีฟแรกๆ เขาก็ให้ทดลองวางงานให้ดู พองานเสร็จ เขาบอก ‘โอ๊ะ! เหลือเชื่อว่าจบนิเวศน์วิทยามา’ ผมก็โอเคกับคําตอบ ณ ตอนนั้น แต่ใจผมก็ยังเรียกร้องที่จะถ่ายรูปอยู่ แต่งานก็บีบไม่ให้ถ่าย มีงานที่ได้ถ่ายรูปบ้าง เพราะต้องใช้กับงานออกแบบโฆษณา ก็เช่น มาม่า ไวไว ติดข้างรถเมล์ ได้แค่นั้น รู้สึกหายอยากเวลาได้ตั้งกระป๋องถ้วยมาม่า เอากล้องมีเดียมฟอร์แมตถ่าย แม้จะไม่ใช่การถ่ายรูปแบบที่ผมอยากทํา แล้วพลิกตัวเองมาเป็นช่างภาพแนวที่ชอบได้ยังไง พอดีว่าวันหนึ่งก็มีโทรศัพท์เข้ามาถามว่าตอนนี้อยู่ไหน ได้ข่าวว่าลาออกจากมหาวิทยาลัย คนๆนั้นก็คือ คุณนภันต์ เสวิกุล เขาก็ถามว่าลองมาทํางานกับผมไหม ซึ่งผมก็ไม่เคยรู้ว่าเขาทํางานอะไร ผมก็กลัว เขาก็บอกว่าให้ส่งพอร์ตให้ดูหน่อยที่เป็นงานชุดหลังๆ ซึ่งพอเขาเห็นงานแล้วเขาก็โอเคกับงานของผม แล้วเจ้าของบริษัทที่ผมอยู่ปัจจุบันตอนนั้นกับเขารู้จักกัน ก็เลยขอเจรจาซื้อตัว เหมือนนักบอลเลย เขาบอกว่าอยากได้ไปทํางานด้วย ผมก็คุยกับเจ้าของที่เดิมเขาก็บอกว่า ไปเถอะจะได้ถ่ายรูป ก็ส่งเสริมกันดี เขาก็บอกว่า ผมจะได้ทํางานที่ผมรัก ก็เลยออกมาอยู่กับคุณนภันต์ ซึ่งเป็นบริษัททําสารคดีท่องเที่ยว ส่งให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บ้าง ส่งทางเมืองนอกบ้าง ส่วนมากเราเป็นซับคอนแท็ค (Subcontract) หลักที่ถ่ายรูปส่งให้ ททท. คือถ่ายรูปทุกที่ที่ ททท. หมายไว้ เราทําเหมือนเป็นฟรีแลนส์ของ ททท.เพราะบางครั้งเขาต้องการภาพแนว Extreme Lanscape แบบสวยจัดๆ ไปเลย ดูเกินจริงไปเลย ไม่ใช่ realism แล้ว ซึ่งนั่นก็ต้องอาศัยช่างภาพรุ่นใหม่ๆ ไม่ได้หมายความว่า ช่างภาพของ ททท. เองถ่ายไม่สวยนะ แต่บางทีเค้าก็ชอบมุมแปลกๆ แนวใหม่ๆ เหมือนกัน คุณเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพจากที่ไหน ส่วนใหญ่พื้นฐานนี่ มาจากเจ้านายผมครับ (คุณนภันท์) แต่หลังๆก็อ่านในเว็บเป็นหลัก อ่านหนังสือบ้าง ก็เน้นเป็นเรื่องของการดูรูปมากกว่าว่า รูปนี้ถ่ายยังไง แล้วก็ลองถ่ายดู การถ่ายรูปก็เหมือนกับการเขียนหนังสือ เมื่อเราเขียนหนังสือเป็นเราก็พยายามคัดลายมือในแบบต่างๆ บ่อยครั้งที่ผมสอนคนที่มาอบรมกับผมว่าให้ลองถ่ายภาพด้วยเลนส์ตัวเดียว อย่างเช่นถือเลนส์ 50 มม.ไปหนึ่งตัวแล้วถ่าย แล้วเมื่อใจของคุณเห็นแล้วว่าอยากได้รูปนี้ แต่สมองของคุณคิดว่าถ้ามีเลนส์เทเล
  • 5. หรือเลนส์ไวด์นะได้แน่นอน แค่คุณคิดจะเปลี่ยนเลนส์ก็ผิดแล้ว นั่นเป็นเพราะคุณใช้ตัวช่วย คุณใช้เลนส์เข้ามาช่วยคิดต่อ คุณไม่ได้คิดต่อแล้วว่าถ้าอุปกรณ์เรามีแค่นี้เราจะทํายังไงให้ได้รูปนี้ การที่ผมแนะนําให้ใช้เลนส์ 50มม. ตัวเดียว ผลที่ได้คือระหว่างที่เราคิดหาทางเพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการมากที่สุด คุณจะได้เทคนิคการถ่ายภาพอีกหลากหลายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนั้น คุณอาจจะเจอว่าถ้าใช้เลนส์ 50 มม. แล้วเดินเข้าไปอีกนิดหนึ่งคุณอาจจะได้ภาพที่ดีกว่าเลนส์เทเลก็ได้ นี่เป็นหลักการทีคิดเองเลยนะ ภูมิใจมาก ฮา ่ เล่าให้ฟังถึงตอนที่ผมยังไม่มีกล้อง SLR นิดนึงล่ะกัน ตอนนั้นผมใช้ Olympus ช่วงที่ผมฝึกถ่ายภาพแรกๆ ผมบังคับตัวเองว่าให้ซูมไปที่ 35 มม. แล้วตั้งใจว่าวันนี้จะไม่ซูมเลย เพื่อดูสิว่า 35 มม. จะทําอะไรได้บ้าง ทั้งวันเปิดกล้องมาก็ถ่ายเลย ไม่ซูม ห้ามซูม การทําแบบนี้มันก็ทําให้เราสามารถเข้าถึงตัวแบบได้มากขึ้น สิ่งที่ได้เพิ่มเติมก็คือ เมื่อใช้ช่วงเลนส์ที่ต้องการไม่ได้ แต่อยากได้รูปดี ก็ต้องใช้ปัจจัยอื่นช่วย เลยกลายเป็นเรื่องของการใช้แสง และทิศทางของแสง ที่มากขึ้น การคิดแบบนี้เป็นการผลักดันให้ตัวเองคิดว่าทํายังไงให้ได้ภาพ จากที่ไม่กล้าคุยก็ต้องกล้าที่จะเดินเข้าไปถาม เข้าไปคุย หลังๆ ก็จะสอนคนที่ถ่ายภาพสตรีทไลฟ์เราควรทําความรู้จักกับแบบ ควรเรียนรู้ชีวิตคนอื่นบ้าง ได้วิธีการฝึก หรือแนวคิดแบบนี้มากจากไหน NG (National Geographic) มั้งครับ แล้วก็มีพๆในเว็บบอร์ด เช่น พี่ชุมศักดิ์ (Killer Queen) หรือ รุ่นน้องอย่าง XL1 ี่ โดยส่วนตัวผมชอบ NG ที่สุด เราตั้งต้นจาก NG เพราะเรารู้สึกว่าภาพที่ดีควรจะเป็นแบบนี้ NG มันเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทําให้โลกเรากระจ่างขึ้น เลยทําให้ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบถ่ายภาพพอร์ตเทรตไปเลย ยกเว้นถ่ายพอร์ตเทรตที่เป็นคนแก่กับพระ ถ้าอยู่นอกวัด 2 อย่างนี้เป็นของโปรดมาก ทําไมถึงชอบถ่ายพระ ผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่แปลกแยกในสังคม คนเราพูดถึงศีล 5 กันบ่อยมาก แต่บางครั้งก็ทําไม่ได้ แต่นี่คือศีล 5 ตัวจริงที่เดินไปเดินมาอยู่ทุกวัน นี่เป็นตัวแทนศาสนาที่เดินผ่านเราไปมาอยู่ทุกวัน เป็นศีล 5 ที่จับต้องได้ จะว่าไปเหมือน ศรัทธา ที่จับต้องได้ เดินวนไปวนมาอยู่กับเราตลอดเลย นี่คือสีขาวในธงชาติที่อยู่คู่กับเรา ชอบถ่ายภาพแนวไหนมากที่สุด แลนด์สเคป (Landscape) กับแนวไลฟ์ (Life) แต่ผมหนักไปทางแลนด์สเคปมากกว่า เพราะรูสึกว่าการถ่ายให้ที่ที่หนึ่งสวยน่ะมันก็สนุกมาก แต่มันยากที่จะให้ถ่ายแล้วสวยแบบเรา อย่างเช่นกระบี่ ้ เราจะถ่ายยังไงให้รูปออกมา เป็นกระบี่ที่สวยในแบบของเรา ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ อย่างนี้เท่ากับว่าต้องทําการบ้านด้วยการดูภาพของคนที่เคยถ่ายที่นั่นมาแล้ว แล้วพยายามถ่ายให้ต่างจากมุมของคนอื่นๆ ใช่ไหม ก้อไม่เชิง มุมที่คนอื่นๆ ถ่ายมาส่วนใหญ่จะเป็นมุมล็อก หรือมุมมหาชน ส่วนนี้เราก็ต้องถ่าย แล้วก็ค่อยคิดว่าจะทําให้มันดีกว่าเดิมได้ยังไง
  • 6. บางที่ก็คิดไม่ออกบางที่ที่คิดออกก็คิดออกอย่างที่แหลมพรมเทพผมไปยืนอยู่ตั้งแต่บ่ายสองจนพระอาทิตย์ตกก็ยังคิด มุมไม่ออกสุดท้ายก็ต้องตั้งขาตั้งกล้องแล้วก็กดตามมุมมหาชนแล้วก็กลับบ้านเราก็เลยรู้ว่าทําไมไม่เคยเห็นแหลม พรมเทพในมุมอื่น มีใครเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพบ้างหรือเปล่าค่ะ ผมไม่ค่อยมองใครเป็นแรงบันดาลใจนะ แต่จะมองคนที่เก่งกว่าเป็นกําแพง ยิ่งเก่งมากยิ่งเป็นกําแพงที่สูงมากที่เราจะต้องข้ามไปให้ได้ หรือ แค่เข้าไปใกล้ก็ยังดี บางคนเก่งมากๆ เรารู้ว่า ตัวเรา ไม่มีทางข้ามได้แน่ๆ ก็จะเข้าใกล้ หรือ หาว่าเราจะถ่ายยังไงเพื่อจะเดินหลบกําแพง ไม่ชน เราไม่ได้มองว่าเขาเป็นศัตรูนะ แต่มองว่าถ้าคะแนนเต็ม 10 แล้วเราถ่ายมาแล้วได้ 8 เต็ม 10 เท่ากับเขา โดยที่รูปมันไม่เหมือนกัน แต่ได้ 8 โดยที่รูปเป็นอีกมุมหนึ่ง อีกแนวหนึ่ง รูปถ่ายมันเป็นศิลปะ มันไม่มีอะไรแน่นอนสามารถวิ่งขึ้นวิ่งลงได้ตลอด คุณก็เลยไม่เคยมองว่าใครเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวคุณเอง ถ้าในแง่ของการถ่ายภาพไม่เคยครับ จะมองว่าประทับใจมากกว่าว่าคนๆ นี้คิดอะไร ทําไมถึงถ่ายแบบนี้ เวลาที่ไปยืนตรงนั้นเขามองอะไรอยู่ หรือเขามีอารมณ์อะไรอยู่ ช่วงหลังๆ เริ่มคิดแบบนี้แล้วนะ เริ่มลงไปถึงขั้นอาจารย์เฉลิมชัยแล้ว เริ่มรู้สึกเลยว่าเราหงุดหงิดหรืออารมณ์ดี เพราะถ้าเวลาที่เราหงุดหงิดแล้วไปถ่ายภาพองค์ประกอบเราจะแรงมาก แข็ง ใช้เลนส์เทเล แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีองค์ประกอบจะนุ่ม ใช้เลนส์ไวด์ มองแสง ดูเงามันก็จะเป็นแบบนี้ บางครั้งเสน่ห์ของการถ่ายรูปรีบๆ ก็มีเสน่ห์อีกแบบหนึ่ง เห็นแล้วรู้เลยว่าคนถ่ายรูปนี้หงุดหงิด รูปดูแรง ช่างภาพไม่สนใจเรื่องราวมาก เพราะตอนนั้นเรากําลังสนใจอารมณ์ตัวเองอยู่ แต่อยากได้แบบนี้ก็กด จริงๆ อาจจะเป็นผลดีก็ได้ เพราะเป็นการสแนปแบบไม่มีอารมณ์ของตัวช่างภาพร่วมกับแบบ แบบก็ไม่มีอีโมชั่นร่วมกับเรา เพราะฉะนั้นการสแนปแบบนี้คือ การสแนปแบบบริสุทธิ์ เราเล็งแล้วเรากด นั่นคือ 90% ในชีวตเขา นั่นคือของจริง ิ จริงๆ แนวคิดนี้ได้มาจากคุณยุทธนา อัจฉริยวิญญู ช่างภาพของ NG ภาษาไทย แต่ถ้าถามผมว่าเอาแรงบันดาลใจในการทํางานมาจากไหน นี่เลยครับ ‘ในหลวง’ อันเป็นที่รัก ที่เทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ ผมรู้สึกว่ามองเห็นพระองค์เมื่อใดก็หายเหนื่อย ยิ่งเมื่อผมได้มีส่วนร่วมในการจัดนิทรรศการฉลองครองราชย์ 60 ปี ผมถ่ายรูปทําโครงการและรับผิดชอบออกบูธทั้ง 8 ฮอลล์ ในส่วนของพระราชกรณียกิจ คอนเซ็ปท์ของงานนี้คือ อยากให้ทุกคนที่เข้ามาในงานแล้วได้เห็นว่าในหลวงทรงบันทึกเป็นภาพถ่ายอะไรมาบ้าง ภาพที่ในหลวงทรงบันทึกมาอีก 10 ปี มาเทียบกันดูเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ถ่ายภูเขาหัวโล้นก็กลายเป็นป่าไม้สมบูรณ์ ตรงพื้นที่แห้งแล้งต่อไปก็มีคลองชลประทาน แล้วทางบริษัทฯ ที่ผมทํางานก็ทูลขอภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แล้วมาเปรียบเทียบกันว่านี่คือที่ไหนในปัจจุบัน แล้วไปไล่ถ่าย คิดดูสิว่าทุกวันนี้มีรถ มีกล้องดิจิตอล มี GPS ยังเหนื่อย โครงการ 700 โครงการ พอได้ไปยืนตรงนั้นแล้วรู้สึกว่าเหนื่อยมาก แต่ในใจก็คิดขึ้นมาว่า
  • 7. ‘พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไม่จําเป็นต้องทรงงานหนักขนาดนี้ แล้วทําไมต้องทําด้วย’ แค่นั้นเองจบเลย ในหลวงนี่ผมรักหมดใจเลย หลังจากนั้นผมก็ได้มีโอกาสเป็น 1 ใน 50 ช่างภาพที่ได้ไปถ่ายงานฉลองงานครองราชย์ 60 ปี ได้รับเสด็จฯ ได้ถ่ายงานที่หอประชุมกองทัพเรือ อันนี้เป็นงานที่ภูมิใจมาก เพราะกองทัพเรือเขามีช่างภาพแค่เพียงไม่กี่คนที่ให้เข้าไปถ่ายภาพตั้งแต่เขียนลาย ซ้อมขบวนเรือ นี่เป็นงานที่ผมยอมโดดงานไปทํา แล้วเจ้านายก็เข้าใจ บอกเลยว่าคุณจะเข้างานสายกี่โมงก็ได้ เพราะนี่เป็นงานของในหลวง ให้ยืนตากฝนก็ยอม นี่เป็นงานที่หายาก แล้วไปเกือบทุกครั้งที่มีการอนุญาติให้ถ่าย นี่ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงเลยไหม ถือเป็นผลงานแห่งความภาคภูมิใจ ปลื้มใจดีกว่าครับ เพราะน้อยคนที่จะได้มีโอกาสพิเศษๆ แบบนี้ ถ้าผลงานที่ถือเป็นชิ้นโบว์แดงของผมคือ ภาพที่ทําให้เขาใหญ่ได้รับการยกให้เป็นมรดกโลกจากยูเนสโก โดยมีโจทย์มาว่าถ่ายยังไงก็ได้ให้ยูเนสโกยอมรับว่าเขาใหญ่สมบูรณ์จริงๆ เพื่อเสนอให้เป็นมรดกโลก งานนี้เหนื่อยมาก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์หามุมถ่ายภาพ ปีนเขาหานกเงือก ไปเฝ้าอยู่ 8 ชั่วโมง จนตอนนั้นเกือบหนึ่งทุ่มแล้ว ปรากฏว่ามีนกเงือกฝูงใหญ่มากบินผ่านหุบเขามา เสียงดังกระหึ่มเหมือนเฮลิคอปเตอร์ ยืนน้ําตาไหล ยกมือไหว้นกเงือกด้วย อันนี้คือสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในชีวิตการถ่ายภาพที่ผ่านมา เพราะนี่คือที่สุด ต้องอดทนรอ และผมถือว่านี่คือมหัศจรรย์ธรรมชาติ รูปที่ได้มาเป็นรูปที่ติดตามคัตเอาท์ทางด่วน ซึ่งผมคิดว่ารูปนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้ยูเนสโกเลือกเขาใหญ่เป็นมรดกโลก ส่วนงานอื่นๆ ก็มีถ่ายให้สุวรรณภูมิ เป็นภาพสนามบินสุวรรณภูมิที่ไปติดตามสนามบินต่างชาติ หรือตอนที่หลังเกิดเหตุการณ์ สึนามิเราก็ต้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อไปถ่ายภาพนั้นเก็บไว้ ก็ได้แต่งานมันส์ๆ ครับ ถือเป็นกําไรชีวิต งานที่ได้รับแต่ละชิ้นค่อนข้างยาก มีเทคนิคส่วนตัวในการถ่ายภาพไหม เหมือนคนอื่นๆ ครับ กล้องมันมีทุกอย่างเหมือนกันทุกตัว มีแค่ รูรับแสง กับสปีดชัตเตอร์ นอกจากนั้นขึ้นอยู่กับโอกาส ภาพบางภาพพอเราเห็นก็จะรู้สึกว่าถ้าเราไปยืนเราก็ถ่ายได้ แต่ที่แตกต่างก็คือโอกาส เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องปรับอะไร แต่นี่เป็นเรื่องของโอกาสกับการพาตัวเองไปหาโอกาส ถ้าคุณยังสบถว่า ‘เฮ้ย! รูปแบบนี้กูก็ถ่ายได้‘ คุณก็ไม่มีทางได้รูปอย่างนั้นหรอก คุณไม่เคยเคารพเขาเลยว่าเขาทํายังไงถึงได้โอกาสนั้นมา เรายึดถือตรงนี้ตลอด เราไม่เคยไปยืนดูรูปสวยๆ แล้วบอกว่าเฮ้ยแบบนี้เราก็ถ่ายได้ แต่จะมองแล้วคิดว่าจะทํายังไงให้ถ่ายรูปแล้วได้แบบนี้ ศิลปินที่ดีควรมีความนอบน้อมนะครับ แล้วพร้อมที่จะเรียนรู้
  • 8. เคยมีคนสอนผมว่าคนเราก็เหมือนเครื่องบิน ยิ่งทํางานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เหมือนเครื่องบินลําใหญ่ขึ้น ซึ่งต้องการพื้นที่รันเวย์สําหรับขึ้นลงกว้างและยาวมากขึ้น พอรันเวย์เล็กไป ก็ลงไม่ได้ เราก็จะมีขอบเขตของตัวเองแล้วแต่ประสบการณ์ ได้ยินมาว่าคุณไม่รับถ่ายงานพิธี เป็นเพราะอะไร ครับ ก็มีคนโทรมาถามว่าทําไมไม่รับงาน หยิ่งจัง ผมก็ตอบว่าผมไม่ชอบ รับงานต้องดูงานครับ ถ้าเป็นงานอาร์ต งานสนุกก็รับ ถ้าให้งานท้าทายผมจะรีบรับเลย งายยากๆ ยากโคตรๆ รับนะ บางครั้งงานง่ายๆ เงินดีๆ ก็ไม่รับ ไม่รู้สิ อาจจะเป็นศิลปินเกินไปหน่อยมั้ง ถ้าให้ผมลงไปจับงานรับปริญญา ถามว่ามันคืออะไร ผมก็ตอบว่าคุณเลือกที่จะเป็น Professional Photographer หรือ Artist มากกว่ากัน ผมเลือกเส้นทางของผมแล้วว่า ผมจะเป็น Artist ผมเป็นศิลปินถ่ายภาพ ผมไม่ได้เป็นช่างภาพอาชีพ แต่ก็ยังเป็นอาร์ตติสในมาดช่างภาพมืออาชีพ ผมยังคงถ่ายภาพเป็นอาชีพต่อเมื่อที่ยังรู้สึกสนุกกับงานนี้อยู่ ถามว่างานรับปริญญาถ้าไม่มีเงินรับไหม ผมรับนะ ผมก็ไม่ใช่คนโง่ที่จะไม่เลือกว่าถ้าไม่มีทางเลือกแล้วจะมายืนติสต์จนตายไปเลย มันเป็นโลกที่เราต้องเข้าใจ แต่ถ้าบางงานที่ผมอยากรับ ผมก็ไม่คิดเงินนะ ไม่รู้นะ ผมคิดว่าช่างภาพควรจะใส่ความเป็นศิลปินลงไปในงานของคุณด้วย ถ้าคุณจิตใจไม่ดี งานของคุณจะออกมาดีได้ยังไง รูปคุณไม่มีความสุนทรีแล้วมันจะออกมาดีได้อย่างไร ผมจะคิดว่าถ่ายอะไรก็ได้ที่สบายใจแล้วมันจะออกมาสวย ศิลปินถ่ายภาพผมคิดว่าเป็นตัวจรรโลงโลกมากกว่าจะเป็นแค่ช่างภาพ ยังไงก็วางแนวไว้แล้วว่าเราเป็น Artist Photographer แน่ มันแล้วแต่งานครับ ข้อแรกเลยงานก็คือ งานต้องมาก่อน เราไม่ทําให้เจ้านายเดือดร้อน อย่างงานหนึ่งจ่ายมา 5 แสน ถามว่าคนที่จ่ายมาเขาหวังอะไรกับเงิน 5 แสน เราก็ทําให้เขา ถ่าย 5 แสนให้เขาก่อน แล้วเราค่อยไปติสต์แตกที่หลัง เอาเบี้ยเลี้ยงของตัวเองไปติสต์แตก อย่าเอาเงินเค้ามาเป็นของทดลอง อารมณ์ติสต์ แต่ก็กําลังมองอนาคตอยู่เพราะคงไม่หยุดอยู่แค่ที่ตรงนี้ แต่ก็ต้องมองเรื่องของเงินด้วย ตอนนี้ก็ลองส่งพอร์ตงานไปทีประเทศการ์ต้า ลองสมัครเป็น Professional ด้าน Creative Photographer ดู ่
  • 9. เพราะที่นั่นเป็นแหล่งงานใหม่ แต่เราก็ไม่รู้ว่าไปที่นั่นเราจะอยู่อย่างไร แต่ยังเป็นแค่ 1 โครงการที่ทําควบคู่ไปกับหลายๆอย่าง ชอบถ่ายภาพ ชอบท่องเที่ยว แล้วมีผลงานการเขียนบ้างไหม เคยเขียนให้ Nature Explorer อยู่ปีครึ่งครับ คอลัมน์ Diving Trips ตอนนั้นยังเรียนอยู่ครับ แล้วก็สอนหนังสืออยู่ที่จุฬาด้วย เขียนให้ Nature Explorer ด้วย พอไปออกทริปก็กลับมาเขียนหนังสือ แล้วก็มีความสุขนะ ได้เริ่มต้นงานเขียนที่ Nature Exploror ได้อย่างไร ได้เข้าไปทําเพราะการแนะนําจาก คุณนัท สุมนเตมีย์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกําแพงที่ผมอยากเข้าไปหาให้ใกล้ที่สุด อยากรู้ว่าเขาเก่งแค่ไหน ผมเคยเขียนไว้ในบล็อกของผมตอนที่ผมเห็นรูปของนัทว่า ‘ผมยืนจ้องโปสเตอร์ยับๆ อยู่แผ่นนึงว่าทําไมถึงมีชื่อคนๆ หนึ่งติดอยู่ ชื่อนั้นคือ นัท สุมนเตมีย์ ผมหยุดดูรูปนี้นานขึ้นเรื่อยๆ รูปนั้นเป็นรูปที่เขาถ่ายให้กับศูนย์ชีววิทยา ที่ภูเก็ต จาก 1 เป็น 2 นาที จนเป็น 10 นาที เหมือนเป็นเด็กบ้า ยืนดูที่ประตูทางเข้าห้องแล็ป แล้วพอผมเริ่มถ่ายรูป ก็ไปเปิดหนังสือ อสท.ดู ก็ได้เห็นว่านัท สุมนเตมีย์ เป็นใคร จนผมเริมถ่ายรูปและมีคนเริ่มรู้จักเชิญไปงานทริปดําน้ํา ตอนนั้นผมใช้ชื่อ RBJ ก็มีพี่คนนึงเดินเข้ามาบอกว่า RBJ ่ นัทอยากเจอ ผมก็จริงเหรอ อยากเจอจริงเหรอ เขาบอกว่าเขาเห็นรูปถ่ายผม พอไปเจอ ผมก็ขอลายเซ็นคุณนัทเลย ตื่นเต้นมาก ตอนนั้นปากกาก็ไม่มี เขาก็บอกว่าให้ลองเอางานไปให้คุณดวงดาว สุวรรณรังสี ดูสิ งานแบบนี้น่าจะโอเคนะ ผมก็ตอบตกลงว่าแล้วจะลองเอางานผมเข้าไปเสนอดู แล้วผมก็เข้าไปให้คุณดวงดาวดูงาน เขาก็บอกว่า เอางี้คุณเขียนคอลัมน์ใหม่เลย เปิดให้ใหม่เลย 2 หน้า ก็เหมือนความฝันเป็นจริง คอลัมน์แรกเกร็งมาก เขียนอะไรก็ไม่รู้ เขียนแล้วลุ้น แล้วพอผมมองย้อนกลับไปหนังสือที่เคยมีนัทถ่ายกี่เล่มๆ ผมซื้อหมด แล้วพอมาถึงจุดหนึ่งผมไม่ได้หนังสือ Nature เล่มแรกที่ผมเขียนจากที่นั่นนะ ผมไปเจอบนรถไฟฟ้า ยืนกําหนังสือแน่นมาก ค่อยๆ เปิด ผมพบว่าคอลัมน์ของผม ถัดจากของคุณนัทไปหน้าเดียวเอง 'นี่คือกําแพงที่เราสามารถเข้าไปยืนใกล้ๆ ได้แล้ว’ ดีใจมากๆ แต่เขียนให้ได้ปีครึ่งก็เลิก เพราะไม่มีเวลาเขียน ผมต้องทํางาน แต่ยังไงคุณนัทก็ยังเป็นคนที่ผมยกให้เขาเป็น Beyond Imagination เพราะเก่งมาก ตอนที่เขียนใช้นามปากกาว่า ใช้ RBJ มาตลอดเลยครับ ตั้งแต่เล่นในเว็บบอร์ด ผมเป็นคนอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว ยิ่งเวลาเถียงเรื่องระบบนิเวศน์ ตอนนั้นเถียงกับเจ้านายคนปัจจุบันเนี่ยล่ะครับ จําได้ว่าตอนแรกก็เขียนชื่อจริง พอตี 2 อารมณ์ไม่ค่อยดีก็เลยใช้ชื่อ รมณ์บ่จอย สักพักก็เปลี่ยนให้ดูอินเตอร์ขึ้นก็เปลี่ยนมาเป็น RBJ
  • 10. ผลงานเขียนนอกจากที่เนเจอร์ ก็มี Outdoor Thailand ที่เคยให้รูปไปบ้าง แล้วก็หนังสือ จุ๊กจิ๊ก 2 – 3 เล่ม แต่ผมจะอยู่ในโลกของเว็บไซต์มากกว่า เคยเป็นสตาฟให้สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ฝ่ายดิจิทัล เราก็โชคดีที่ไปเกิดในช่วงของดิจิตอล แล้วก็ยังเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีใครมาสนใจระบบดิจิตอล ก็เลยถูกถามบ่อยๆ กลายเป็นสิ่งที่ถูกเรียกหา แต่จริงๆ ในนั้นมีคนเก่งๆ กว่าผมอีกหลายคนนะ ผมเป็นพวกก้ํากึ่งระหว่าง Pro กับ technician ผมชอบที่จะทํางานสวยๆ มากกว่า แล้วก็ออกมาทํางานด้าน commercial ทางด้านนี้ และก็เปิดเว็บ Pixpro’s (www.pixpros.net) ผมตั้งใจให้ที่นี่เป็น ทุกอย่างเกี่ยวกับการถ่ายภาพดิจิตัล เป็น Photo Bank ผมพยายามหยิบคนมือดีๆ ของแต่ละด้านมาร่วมกันเปิดเว็บนี้ ดูแลเว็บเองทั้งหมดเลยไหม ไม่ครับ มีทั้งหมด 5 คน Kanatex, Dust, Migmig, Jojo มีพี่หมอหนกอีกคน ช่วยบริหาร ส่วนตัวผมจะดูว่าแนวทางเว็บควรจะไปยังไง ควรจะไปทางไหน ผมมีหน้าที่ดูแลเว็บให้มันดัง ทํายังไงก็ได้ให้คนเข้ามาดูเยอะๆ มันก็เป็นบันไดตัวหนึ่งที่ทําให้เราต้องพยายามถ่ายรูปให้ดีขึ้นทุกๆ วัน ถ้าเปิดเข้าไปดูในเว็บก็จะเห็นเลยว่ารูป งานที่โพสต์ทุกชิ้นเป็นงานที่ปราณีตมาก เพราะผมอยากให้คนที่เข้ามาเห็น รู้ถึงความตั้งใจ เว็บของเรามีทิศทางที่แน่นอน รูปของเราที่มาโพสต์มีมาจากหลายที่ทั้งปากีสถาน อินเดีย ทุกอย่างกลับมาแล้วก็ค่อยๆ โพสต์ลงไป เป็นการไปเที่ยวอย่างตั้งใจ ก็มีหลายคนนะที่ถ้ารูปเขายังไม่ดีพอเขาก็จะยังไม่โพสต์ลงไป เขาจะรอจนกว่าเขาจะมีเซ็ทรูปที่ดีที่สุดของเขาในเดือนนั้น เขาถึงจะลง ผมอยากให้ทุกคนคิดแบบนี้ เพราะอย่างน้อยๆ เว็บก็เป็นเสมือนสิ่งที่ ช่างภาพที่ไม่ได้ลงหนังสือ เอารูปดีๆมาแชร์กัน ทุกวันนี้ รูปในบางเว็บ ดีกว่ารูปในหนังสือเยอะแยะก็มี มีคนบอกว่าดิจิตอลกับฟิลมมีความแตกต่างกันในเรื่องของความปราณีตทางความคิด คิดยังไงกับคําพูดนี้ ์ ก็ไม่เกี่ยวนะ บางคนบอกว่า ดิจิตอล ถ่ายแล้วลบ ถ่ายแล้วลบ แต่สําหรับฟิล์ม คุณถ่ายเสีย นั่นคือคุณก็เสียตังค์ สําหรับดิจิตอล ถ่ายมาเสีย ลบทิ้ง ก็เรียนรู้ แล้วตั้งใจถ่ายใหม่ เวลาผมไปถ่ายรูปตามที่ต่างๆ บางทีเจอน้องๆ นักศึกษาชอบมาถามว่า FM2 ใส่ฟิล์มยังไงค่ะ ผมก็ตอบเลยไม่รู้ครับ ผมใส่เป็นแต่ CF พี่เกิดมาก็ดิจิตอลแล้ว ผมถ่ายรูปมาประมาณ 4 ปี จะฟิล์มหรือดิจิตอลขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นคนระดับไหนที่ใช้กล้อง
  • 11. เราอยู่ที่ระดับไหนของกล้อง เราเป็นตากล้อง เราเป็นคนเล่นกล้อง หรือเราเป็นศิลปิน ถ้าเราเป็นศิลปินเขาใช้กล้องเป็นสื่อเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดจินตนาการ เขาจะใช้กล้องอะไรก็ได้ แล้วมาแต่งเติมอะไรก็ได้ ศิลปินมุ่งไปอย่างเดียวที่งานที่จะออกมา ทุกอย่างอยู่ที่รูป ที่เป็น The end of result จะเอาอะไรมาทําก็ได้จนได้งานอย่างที่ใจเราต้องการ นั่นคือความเป็นศิลปิน แต่ช่างภาพอาชีพต้องการอะไรก็ได้ที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นไปตามที่ลูกค้าบอก เป็นสิ่งที่คนเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุด มืออาชีพต้องการกล้องตัวนั้น และคนเล่นกล้องคือ กล้องอะไรก็ได้ที่มันดี อันนี้คือมองกล้องอย่างเดียว ช่างภาพอาชีพมองกล้องที่ดีที่สุดเพื่อให้ภาพที่ได้ออกมาดีที่สุด ศิลปินนมองอะไรก็ได้ที่ทําให้มันออกมาเป็นภาพนี้ จะเป็นกล้องอะไรก็ได้จะดี จะห่วย จะแพงแค่ไหนก็ได้ แต่สําหรับผมไม่มีความแตกต่างกันเลยทั้งฟิล์มและดิจิตอล ทํายังไงก็ได้ให้ได้ภาพที่ดี การใช้ดิจิตอลถ่ายๆๆๆ ไม่พอใจก็ลบ แบบนี้ทําให้กลายเป็นคนไม่ปราณีตกับงานหรือเปล่า งั้นผมถามกลับบ้างว่างานนั้นต้องการความปราณีตไหมล่ะ ถ้าคุณเป็นช่างภาพอาชีพคุณก็ต้องปราณีต เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องเรียนรู้ด้วยตัวคุณเองแล้วว่าผมทําอาชีพตรงนี้ถ่ายเสียลบ แล้วถ่ายใหม่ นีก็อาจจะเป็นเรื่องดี ่ โอกาสผิดพลาดน้อย ไม่ใช่ว่ามีสิ่งนี้แล้วทําให้เราประมาทขึ้น ถามว่าจะให้ถ่ายดี หรือถ่ายได้ ถ้าเป็นช่างภาพมืออาชีพ ผมคิดว่าดิจิตอลดีกว่าเพราะถ่ายแล้วเห็นรูปทันที สามารถเห็นข้อผิดพลาดได้ทันที ลูกค้าเห็นงานทันที ลูกค้าก็แฮปปี้ เราก็พอใจ แต่ถ้าเป็นอีกประเด็นที่เป็นประเด็นใหม่ก็คือ ถ้าคุณมีการถ่ายรูปเป็นงานอดิเรก และต้องการถ่ายรูปให้สวยจะใช้กล้องอะไรดีกว่ากัน มีคนบอกว่าฟิล์มทําให้คุณปราณีตมากขึ้น แต่คุณจะรู้ได้ยังไงว่าคุณปราณีตมากขึ้นในเมื่อคุณยังไม่เห็นรูปที่คุณถ่ายมา ในขณะที่กล้องดิจิตอลถ่ายมาแล้วเห็นรูปเลยถ้าถ่ายมาแล้วรูปคุณเสีย คุณสามารถทําใจให้ประณีตกับงานและถ่ายใหม่ให้ประณีตขึ้นกว่าเดิมได้ไหม ก็คงคล้ายกับวันหนึ่งที่ผมเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีน้องคนหนึ่งมาถามผมว่า ‘พี่แอ่วครับ ผมมีงบเท่านี้จะซื้อกล้องอะไรดีครับ’ เมื่อก่อนนี้ผมก็จะบอกว่าแล้วแต่ รุ่นไหนก็ได้ แต่น้องคนนี้เขาทําให้ผมคิดได้ว่า บางคนกว่าจะเก็บตังค์เพื่อซื้อกล้องตัวนึงต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี อยากกินก็ไม่ได้กิน อยากดูหนังก็ไม่ได้ดู ต่างจากบางคนที่ทํางานเดือนเดียวก็สามารถซื้อกล้องได้แล้ว ผมก็มานั่งนึกว่า เออจริงนะ
  • 12. เขาเก็บเงินมา 2 ปี นั่นคือทุกอย่างที่เขาเคยอยากทํา แล้วยังไม่ได้ทําเพื่อเก็บเงินมาซื้อกล้องตัวนี้ เพราะฉะนั้นเราควรจะใส่หัวใจลงไปในการแนะนําเขาว่าอันไหนดีที่สุด หลังจากนั้นผมจะไม่พูดเลยว่ากล้องตัวไหนก็ได้ ผมจะถามว่ามีเงินเท่าไหร่ แล้วค่อยบอกว่าควรจะซื้ออะไร แล้วก็ต้องเป็นกล้องที่เคยผ่านมือผมด้วยนะ จะได้ไม่มั่ว มันอาจจะดูอาร์ตติส งี่เง่าไปบ้าง แต่เราถือว่าเรารักเขา แล้วเขาก็รักเรา pixpros เป็นอย่างนี้ทุกคน ถ้าออกไปถ่ายรูปเราจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องกล้องเลยนะ เพราะถือว่าเราซื้อมาแล้ว นอกจากจะมาถาม งานอย่างอื่นนอกจากทํางานเอ็กซิบิชั่นกับเว็บ ทําอย่างอื่นอีกไหม ก็มีทําอาหาร ชอบทําอาหาร ติดจากแม่มา ตลกมาก เป็นสุนทรีนะ ถ่ายรูป ทํากับข้าว ท่องเที่ยว ผมว่าไม่มีอะไรสนุกและสุนทรีไปกว่านี้แล้ว วางอนาคตไว้ยังไงบ้าง ยังไม่รู้ครับ แต่อยากสานต่อกิจการเจ้านายหลังจากที่ท่านเกษียณ แต่ถ้าไม่ได้สานต่อตรงนี้ก็จะไปตามหาความฝัน อยากเป็นช่างภาพแฟชั่น ใช้มีเดียมฟอร์แมต ใช้ดิจิตอลแบ็ค อยากมีสตูดิโอที่นิวยอร์ค หรือลอนดอน งานยุ่งๆ บินไปบินมา น่าสนุก แต่นั่นก็ยังเป็นแค่ฝัน ฝันไกลๆมากๆด้วย ฮ่าๆๆ มีช่างภาพคนหนึ่งที่ผมชอบมากชื่อ พี่หนึ่ง เป็นตากล้องอาชีพ เขาบินไปๆมาๆ ลอนดอน มัลดีฟ ศรีลังกา หลายที่ เขาทํางานคนเดียว มีผู้ช่วยนิดหน่อย เขาเป็นคนเก่ง น่ารัก ถามอะไรตอบหมด จริงจัง ผมคิดว่าช่างภาพต้องเป็นแบบนี้ ต้องพูดด้วยเหตุ ด้วยผล และอารมณ์ดี เพราะทํางานกับความสวยความงาม จะไปทําหน้าตาบูดบึ้งก็ไม่ใช่ ผมอยากเป็นแบบเขานะ อยากมีชีวิตที่ยุ่งๆ แบบนี้ วันนี้บินไปนิวยอร์คถ่ายให้โวค 4 หน้า พรุ่งนี้บินไปมัลดีฟถ่ายแฟชั่นสัก 2 วัน อะไรแบบนี้ ผมชอบการเดินทาง เรื่องสุดท้ายอยากให้ฝากอะไรถึงผู้อ่านโฟโต้เทคหน่อยคะ ทุกวันนี้มันมีของเยอะครับ เราต้องเลือกที่จะเสพ หนังสือก็มีหลายเล่ม เว็บก็มีหลายเว็บ ต้องถามตัวเองก่อนว่าตัวเราสนใจอะไร เลือกที่จะถ่ายรูปมาโครมากเลย อย่าไปพึ่งคนอื่นมาก ต้องยืนด้วยขาตัวเองก่อน search เลย google มี ลองเข้าไปดูว่าอันไหนที่เหมาะกับเรา และเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ที่ทําให้เราเชื่อโดยมีเหตุผล ไม่ใช่เชื่อเพราะเขาว่ากันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามหลักตามหลักพระพุทธศาสนา ต้องศึกษาตัวเอง แล้วค่อยไปหาสิ่งที่เราอยากรู้ พอรู้ครบแล้ว ก็ค่อยไปหาความรู้ที่อื่น การถ่ายรูปที่ดีได้ ก็เพราะว่าต้องมีเบสิคที่ดี เพราะฉะนั้นการหาเบสิคที่ดีก็ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองควรใช้เบสิคแบบไหน ง่ายๆ อย่างผมผมรู้ตัวว่าชอบถ่ายแนว Landscape ผมไม่เคยอ่าน Portrait ไม่เคยอ่าน Macro อ่านบ้างเมื่อมีเวลา
  • 13. และต้องเรียนรู้ให้ครบทุกเรื่อง เพราะเรามีหน้าที่ที่ต้องตอบคําถามคนอื่นๆ นี่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ แต่ถ้าถามตัวผม ผมไม่ต้องรู้เรื่องพวกนีเยอะก็ได้ เพราะผมมุ่งไปที่ Landscape อย่างเดียว ้ มันก็จะแตกยอดทางแนวคิดไปเรื่อยๆ นะ ผมอยากบอกว่าผมเล่นกล้องและถ่ายภาพมา 4 ปี ผมไม่ได้เก่งแบบพระเจ้าประทานหรือที่เค้านิยมเรียก เทพ กัน แต่ผมรู้ว่าเราอยากคุยกับใคร รู้ว่าเราควรจะไปอยู่ตรงไหน เราควรไปหาใคร และสร้างโอกาสเพื่อไปยืนจุดนั้นให้ได้ และที่สําคัญศิลปินควรมีความเคารพ นอบน้อมถ่อมตน พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ ไม่ใช่ เฮ้ย กูเป็นเทพแล้ว ... ก็นั่งกอดกล้องต่อไป เจริญพร Credit : http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=3054