SlideShare a Scribd company logo
Servlet & Java Server Page
HTTP
HTML
CSS
XML
Java Servlet
Java Server Page(JSP)
Cookie and Session
Database System
Shopping Online
Web Broad
Rungrote Phonkam
www.JavaCentrix.com
rungrote@javacentrix.com
บทที่ 1 รู้จักการประมวลผลรูปแบบเอ็นเตอร์ไพร์
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานโดยผู้ใช้เพียงคนเดียว
ทั้งในแง่ของการใช้ทรัพยากรของเครื่องและระบบการประมวลผล
เรามักเรียกรูปแบบลักษณะการใช้งานว่าสแตนอะโลน (Standalone)
ยกตัวอย่างเช่น การพิมพ์เอกสาร การวาดภาพ เป็นต้น
หากแต่งานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน
หรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ลักษณะสภาพแวดล้อมสแตนอะโลนจะเปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมในระบบเครือ
ข่าย เช่น เครือข่ายแลน (LAN: Local Area Network)
และเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เองที่จะทำการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง
ให้สามารถสื่อสารหรือส่งข้อมูลถึงกันและกันได้
ทำให้เกิดงานขนาดใหญ่ขึ้นจากการใช้งานตามปกติ เช่น
การทำระบบบัญชีภายในองค์กร
การรับส่งหรือสื่อสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในกลุ่ม
ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จึงก่อให้เกิดรูปแบบการทำงานที่กว้างขวางขึ้น
หากเมื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนที่จะเป็นภายในพื้นที่เดีย
วกัน ก็เป็นการเชื่อมโยงในต่างพื้นที่ ต่างภูมิภาค หรือเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
และประกอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือระบบคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงเหล่านั้น
มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal
Computer) คอมพิวเตอร์ผอมบาง (Thin Computer) พีดีเอ (PDA) เป็นต้น
รวมถึงระบบปฏิบัติการก็ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย เช่น ยูนิกส์(Unix)
วินโดว์(Windows) ลีนุกซ์(Linux) แม็คโอเอส(MacOS) เป็นต้น
ทำให้ระบบการทำงานบางงานที่เกิดขึ้นต้องรองรับสภาพแวดล้อมและทรัพยากร
ที่แตกต่างกัน ซึ่งเรามักจะเรียกว่าการทำงานรูปแบบเอ็นเตอร์ไพร์ (Enterprise
Processing)
1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากเนื้อความเบื้องต้นของบทนี้ได้กล่าวถึงการนำมาซึ่งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ที่มีการนำเอาทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในการรองรับการทำงานที่มีรูปแบบการสื่อสารรวมกันระหว่างผู้ใช้งาน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงทั้งในแบบกายภาพ (Phisical) ที่มีทั้งรูปแบบมีสายเชื่อมโยง (Cabling Network)
เช่นการใช้สาย UTP สายโคแอ็คซ์ (Coxicial) หรือการเชื่อมโยงรูปแบบไร้สาย (Wireless Network) เช่น
การใช้อินฟาเรต(Infrared) ไมโครเวฟ(Microwave) ความถี่วิทยุ (Radio Frequency) เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการติดตั้ง สถานที่
ความเร็ว ระยะทาง ที่ทางผู้กำหนดและวางแผนในการติดตั้งจะออกแบบ
ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงไม่เน้นเป็นที่การทำความเข้าใจกับรายละเอียดทางด้านเครือข่ายมากนัก
ในขั้นตอนต่อไปคือการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบมีสายหรือไร้สาย) มาใช้งาน โดยมองในแง่ของการใช้ทรัพยากรและรูปแบบการทำงาน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 เครือข่ายเพียร์-ทู-เพียร์ (Peer-to-Peer)
ระบบเครือข่ายแบบเพียร์-ทู-เพียร์
เป็นเครือข่ายที่ผู้ใช้ทรัพยากรแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการทำงานบนเครือข่าย
เรามักนำเอาเครือข่ายรูปแบบในมาใช้ในการแบ่งปันทรัพยากรที่เรียกว่าการแชร์ (Shared Resource) เช่น
เครือข่ายที่มีเครื่องพิมพ์อยู่จำนวนจำกัดไม่พอใช้กับทุกคน
ก็จะทำการแชร์เครื่องพิมพ์ให้ผู้ใช้ทุกคนบนระบบเครือข่ายสามารถสั่งพิมพ์งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกคน
หรือการแชร์พื้นที่ใช้งาน (มักเรียกว่าการแชร์ไฟล์)
กล่าวคือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเป็นเครื่องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่าเครื่องอื่น หรือเป็นเครื่องที่พอจะไว้ใจได้
(ไม่เกิดอาการแฮงค์ง่ายๆ) ก็มักจะแชร์พื้นที่ให้ผู้ใช้ในเครื่องอื่นๆได้ทำการเก็บบันทึกไฟล์งานเอาไว้
ระบบเครือข่ายรูปแบบนี้มีระดับในการรักษาความปลอดภัย หรือควบคุมการใช้งานไม่สูงนัก
เนื่องจากสิทธิของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเท่าเทียมกัน
ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพยากรจึงมีบทบาทในการอนุญาติหรือไม่อนุญาติให้บุคคลอื่นในเครือข่ายเข้าใช้งานทรัพยากรของตัวเองห
รือไม่
รูปแสดงการทำงานของเครือข่ายแบบเพียร์-ทู-เพียร์
1.2 ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)
เครือข่ายแบบต่อมาที่แนะนำให้รู้จักคือเครือข่ายที่ในปัจจุบันมีการใช้งานกันในวงกว้างคือเครือข่ายแบบไคลเอนต์/
เซิร์ฟเวอร์
เมื่อกำหนดให้ระบบงานที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งที่รับหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์
(Server: เครื่องที่เป็นฝ่ายรอบรับการเรียกใช้บริการ และให้บริการ) และเครื่องคอมพิวเตอร์อีกส่วนหนึ่งในระบบงานเดียวกัน
ทำหน้าที่เป็นไคลเอนต์ (Client: เครื่องที่เป็นฝ่ายขอใช้บริการ)
ข้อแนะนำ ในระบบใหญ่ๆ เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์มีจำนวนมากกว่าหนึ่งเครื่อง
เพื่อเป็นการรอบรับด้านความเสถียรภาพในการทำงาน หรือรองรับไคลเอนต์จำนวนมากๆ
เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์จะต้องคอยบริการผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น หากกำลังพูดถึงระบบเว็บ การทำงานของระบบเว็บคือการให้บริการข้อมูลเว็บ
ซึ่งเป็นข้อมูลที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูลรูปแบบ HTML
ดังนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกควบคุมโดยผู้บริหารเว็บก็คือเครื่องที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเก็บแฟ้มข้อมูลเว็บ
และคอยส่งให้กับไคลเอนต์ในระบบเดียวกันหากมีการร้องขอขึ้นมา
และไคลเอนต์ก็ถูกใช้งานโดยผู้ใช้ทำหน้าที่ร้องขอข้อมูลเว็บโดยการใช้งานของผู้ใช้จากเซิร์ฟเวอร์
ในระบบเดียวกันจะอาศัยรูปแบบการสื่อสารที่เข้าใจกันเอง
จากตัวอย่างระบบเว็บมีรูปแบบการสื่อสารที่ใช้กันที่เรียกว่าโพรโตคอล HTTP
เครื่องที่ทำหน้าที่เซิร์ฟเวอร์ถูกเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เครื่องที่ทำหน้าที่ไคลเอนต์เรียกว่าเว็บไคลเอนต์ (Web
Client) ปัจจุบันเว็บไคลเอนต์อาจถูกเรียกว่าบราวเซอร์ (Brower) ตามการใช้งานคือการท่องดูข้อมูลเว็บ
หรือเรียกชื่อผลิตภัณฑ์เว็บไคลเอนต์จนติดปาก เช่น ไออี (IE: Internet Explorer) หรือเน็ทเคป (Netscape Navigator)
เป็นต้น
ในทำนองเดียวกันระบบอื่นๆที่มีการทำงานด้วยรูปแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ก็เรียกขานเครื่องที่ทำหน้าที่ต่างๆในทำ
นองเดียวกัน เช่นระบบอีเมล์ (Electronic Mail) เครื่องเซิร์ฟเวอร์เรียกว่าเมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server)
เครื่องไคลเอนต์เรียกว่าเมล์ไคลเอนต์ (Mail Client) หรือเมล์รีดเดอร์ (Mail Reader)
การสื่อสารภายในระบบอีเมล์ใช้โพรโตคอล SMTP/POP3 เป็นต้น ดังนั้นหากกล่าวถึงระบบเอฟทีพี (FTP)
ผู้อ่านคงพอเดาได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอนต์จะถูกเรียกว่าอะไร?
1.3 ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย (Network Components)
- โฮสต์ (Host)
หลายๆท่านอาจจะเข้าใจว่าคำว่าโฮสต์นั้นหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้วโฮสต์ยังหมายถึงอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายตัวอื่นๆอีกด้วย เช่น เครื่องพิมพ์ระบบเครือข่าย
เครื่องถ่ายเอกสารระบบเครือข่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่าย อุปกรณ์พีดีเอในระบบเครือข่าย
และอื่นๆอีกมากที่สามารถเชื่อมโยงตัวเองเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices)
คือการอาศัยอุปกรณ์เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด (NIC: Network Interface Card) ฮับ(Hub) สวิทช์ (Switch)
หรือพาหะในการเชื่อมโยงทั้งในรูปแบบที่ใช้สายญาณ เช่น สายโคแอกซ์ สายยูทีพี (UTP)
และรูปแบบที่ไม่ใช้สายสัญญาณแต่ใช้สื่ออื่นๆ เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ เป็นต้น
นำมาเชื่อมโยงตามมาตรฐานระบบเครือข่ายต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ เช่น Ethernet, Token-Ring, Fast Ethernet เป็นต้น
- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network OS)
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (OS: Operating System)
ถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ถือเป็นแกนกลางในการทำงาน
และการสั่งงานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการในอดีตเช่น ดอส (DOS: Disk Operating
System) ยังไม่มีความสามารถทางด้านการสื่อสารในระบบเครือข่ายโดยตรง
ต้องใช้โปรแกรมสนับสนุนระบบเครือข่ายติดตั้งเสริมการทำงาน
แต่ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่มีความสามารถในด้านการสื่อสารระบบเครือข่ายอยู่ภายในแล้
ว เช่น ยูนิกส์ ลีนุกซ์ วินโดว์ (ตั้งแต่ วินโดว์ 95 ขึ้นไป)
- ซอฟต์แวร์ทำงานบนเครือข่าย (Network Software)
แน่นอนว่าการอาศัยเพียงแค่ อุปกรณ์สื่อสาร โฮสต์
ระบบปฏิบัติการในระบบเครือข่ายเพียงแค่นี้จะทำให้เกิดการทำงานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป็นไปไม่ได้เลยว่าหากปราศจากซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในระบบเครือข่ายในการทำงาน
ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับใช้สื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (DBMS:
DataBase Management System) ซอร์ฟแวร์บริหารเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์(Web Server)
ซอฟต์แวร์บริหารระบบอีเมล์(E-main System) เป็นต้น
2 โพรโตคอล (Protocol)
โพรโตคอลคือรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสาร กว่าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายจะสามารถทำงานกันได้
จำเป็นต้องอาศัยส่วนประกอบอยู่หลายส่วนเลยทีเดียว
นอกจากส่วนประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 1 แล้วก็ยังไม่พอหากไม่มีการพูดถึงโพรโตคอล
โพรโตคอลมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ในระดับไหน หรือเพื่องานอะไร มาตรฐานการสื่อสาร เช่น OSI (Open Systems
Interconnections) หรือ TCP/IP ก็จะมีโพรโตคอลที่ใช้งานร่วมกันหลายโพรโตคอล
แต่เนื่องจากว่าหนังสือเล่มนี้กล่าวในแง่ของการพัฒนาระบบเป็นหลัก
ดังนั้นจึงขอกล่าวถึงโพรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารระดับแอปพลิเคชั่น และความต้องการในการพัฒนาระบบเป็นหลัก
โดยขอแบ่งโพรโตคอลเป็นสองส่วนด้วยกันคือ โพรโตคอลในงานเครือข่าย และโพรโตคอลในงานแอปพลิเคชั่น
2.1 โพรโตคอลระดับเครือข่าย (Network Protocol)
มาตรฐานโพรโตคอลที่ใช้ในระดับสื่อสารที่จะมีการควบคุมเส้นทาง
การแยกข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลสามารถไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
โพรโตคอลในระดับนี้มองข้อมูลในหน่วยของบิตเป็นส่วนใหญ่
โดยไม่สนใจลักษณะข้อมูลแต่มุ่งที่จะให้ข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โพรโตคอลในระดับนี้มีอยู่มากมายหลายโพรโตคอลแต่จะยกตัวอย่างขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพในบางโพรโตคอลเท่านั้น
- การสื่อสารในรูปแบบ IPX/SPX (
เป็นโพรโตคอลในระดับเครือข่ายหนึ่ง ที่ถูกใช้งานในครั้งแรกกับระบบเครือข่ายของโนแวร์ (Novell)
ที่รู้จักกันดีในชื่อเน็ตแวร์ (Netware) ที่ทำให้อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายแต่ละตัวสามารถสื่อสารกันได้
ปัจจุบันระบบวินโดวส์ได้มีการนำเอาโพรโตคอลนี้ไปใช้งานกันระบบเครือข่ายของตนเองได้
(เครือข่ายวินโดวส์สามารถใช้งานได้หลายโพรโตคอลบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน ขึ้นอยู่การติดตั้งของผู้บริหารระบบ)
- การสื่อสารในรูปแบบ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เป็นมาตรฐานในการสื่อสารสำหรับการสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เริ่มต้นใช้ในครั้งแรกในวงการทหารของสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับการพัฒนาจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง
และทำให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโพรโตคอลนี้มีการเชื่อมโยงกันทั่วโลก อันเป็นที่มาของระบบงานต่างๆ เช่น
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ระบบเว็บ ในปัจจุบัน และในหนังสือเล่มนี้ก็มีการใช้งานโพรโตคอลนี้ในการทำงาน
แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในด้านลึกของโพรโตคอลนี้
แต่สามารถดูมาตรฐานการสื่อสารของโพรโตคอลนี้ได้ในเอกสาร RFC-791 และ RFC-793 ในเว็บไซต์ http://www.rfc-
editor.org/
3 โพรโตคอลสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต
โพรโตคอลในระดับสื่อสารนี้ เป็นโพรโตคอลที่รับผิดชอบในการรับ-ส่งข้อมูลในระดับแอปพลิเคชั่น
ดังนั้นเราจะเห็นการใช้งานโปรแกรมต่างๆบนอินเตอร์เน็ตอ้างถึงชื่อโปรโตคอลเหล่านี้ เนื่องจากมีผลถึงการรับ-
ส่งข้อมูลในระดับบนโดยตรง เช่น เว็บใช้โพรโตคอล HTTP เป็นต้น
- โพรโตคอล SMTP/POP3 (Simple Mail Transfer Protocol/ Post Office Protocol v.3)
คือโพรโตคอลที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารรูปแบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์
การรับส่งข้อมูลในระบบงานนี้สามารถใช้งานโพรโตคอล SMTP
เพื่อใช้ส่งจดหมายจากเครื่องผู้ใช้ไปยังระบบเมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server)
เพื่อแจกจ่ายจดหมายไปยังปลายทางอีกทีหนึ่ง สำหรับโพรโตคอล POP 3
ถูกใช้ในการอ่านเมล์คือจะถูกเรียกอ่านเมล์ที่จัดเก็บไว้ที่เมล์เซิร์ฟเวอร์ลงมาอ่านบนเครื่องผู้ใช้
ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้โพรโตคอลนี้ เช่น Outlook, Eudora, Netscape Mail เป็นต้น
- โพรโตคอล FTP (File Transfer Protocol)
คือโพรโตคอลในการขนย้ายไฟล์ ทำให้สามารถขนย้ายไฟล์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ต
ทำให้สามารถรับ-ส่งไฟล์ได้รวดเร็วขึ้น จึงทำให้เกิดกิจกรรมการทำงานขึ้น เช่น การดาวน์โหลด (Download)
เป็นการย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆบนอินเตอร์เน็ตลงมาสู่เครื่องผู้ใช้ และการอัพโหลด (Upload)
เป็นการย้ายไฟล์จากเครื่องผู้ใช้เพื่อย้ายขึ้นไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆบนอินเตอร์เน็ต
ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานของโพรโตคอลนี้คือ CuteFTP, WS_FTP, Win FTP เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วบราวเซอร์บางตัวยังสามารถใช้งานโพรโตคอล FTP นี้ได้อีกด้วย
- โพรโตคอล HTTP (HyperText Transfer Protocol)
คือโพรโตคอลที่ใช้งานในระบบเวิร์ดไวเว็บ
เพื่อที่ใช้ในการร้องขอเอกสารจากแหล่งเก็บเอกสารหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ลงมาอ่าน
ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่เป็นเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ที่จะจัดการและควบคุมด้วยเซิร์ฟเล็ตหรือ JSP
สำหรับโปรแกรมที่ใช้งานโพรโตคอลนี้คือโปรแกรม Internet Explorer, Netscape Navigator, Opera เป็นต้น
4 รูปแบบการประมวลผลบนระบบเว็บ
รูปแบบการประมวลผลในที่นี้จะกล่าวถึงการทำงานที่เกิดขึ้นในระบบเว็บเท่านั้น
ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลภายในไคลเอนต์หรือเซิร์ฟเวอร์อย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยการประมวลผลนี้ขึ้นอยู่กับการจัดสร้างเว็บไซต์ของผู้พัฒนา
ที่จะเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือร่วมกันเพื่อสามารถนำเสนอข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
4.1 การประมวลผลแบบสแตนอะโลน (Standalone Processing)
คือการประมวลผลที่ทำงานโดยอาศัยทรัพยากรของผู้ใช้เป็นหลัก
ดังนั้นการติดต่อระหว่างระหว่างเว็บไคลเอนต์และเว็บเซิร์ฟเวอร์
เว็บไคลเอนต์จะสื่อสารเพื่อดึงเอาโปรแกรมจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านระบบเครือข่ายลงมาไว้ที่พื้นที่ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอ
ร์ภายในตัวเว็บไคลเอนต์เองก่อน
จากนั้นจึงสั่งให้โปรแกรมดังกล่าวเริ่มทำงานและประมวลผลโดยใช้ทรัพยากรในระบบของเครื่องเว็บไคลเอนต์เอง เช่น
ฮาร์กดิกส์ หน่วยความจำ และซีพียู ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจะประกฎบนพื้นที่แสดงผลของเว็บไคลเอนต์เอง
การทำงานรูปแบบนี้เว็บไคลเอนต์จำเป็นต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการประมวลผลของโปรแกรม
ส่วนเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็ต้องจัดให้มีพื้นที่ในการจัดเก็บโปรแกรมเพื่อส่งให้กับเว็บไคลเอนต์ที่ร้องขอมาเท่านั้น
รูปการทำงานของการประมวลผลรูปแบบสแตนอะโลน
สำหรับในเทคโนโลยีจาวานั้น การประมวลผลในแบบสแตนอะโลนคือการสร้างโปรแกรมในรูปแบบจาวาแอปเพล็ต
(Java Applet หรือจาวาแอปพลิเคชั่น (Java Application) นั่นเอง ซึ่งถึงแม้นว่าการใช้งานเว็บจากบราวเซอร์
(เว็บไคลเอนต์ในระบบเว็บ) เป็นการเรียกดูหน้าเอกสารที่มีแอปเพล็ตอยู่
แอปเพล็ตที่ปรากฏขึ้นใช้การประมวลผลของเครื่องผู้ใช้ในการทำงาน
4.2 การประมวลผลแบบเอ็นเตอร์ไพร์ (Enterprise Processing)
การประมวลผลรูปแบบนี้เป็นเป้าหมายหลักที่หนังสือเล่มนี้จะใช้อธิบายสำหรับให้ผู้อ่านได้เข้าใจการพัฒนาโปรแกรมที่ประม
วลผลบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์
นั่นคือการทำงานนี้อาศัยการสื่อสารของเว็บไคลเอนต์กับเว็บเซิร์ฟเวอร์เช่นเดียวกันกับการประมวลผลที่เคยกล่าวมาแล้ว
แต่การสื่อสารดังกล่าวหากเว็บไคลเอนต์เรียกดูเอกสารที่ผู้ออกแบบกำหนดให้มีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์แล้ว
ก่อนที่เว็บไคลเอนต์จะได้รับเอกสาร
เว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำการนำเอาเอกสารนั้นมาประมวลผลในพื้นที่ทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะลำเลียงส่งให้กับเว็บไคลเอ
นต์ ดังนั้นการทำงานในลักษณะเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรภายในเครื่องของเว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงาน เช่น พื้นที่ฮาร์กดิสก์
หน่วยความจำ และซีพียู ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการให้ทำงานรูปแบบนี้จึงจำเป็นต้องมีทรัพยากรในการทำงานสูงด้วย
รูปแสดงการทำงานของการประมวลผลรูปแบบเอ็นเตอร์ไพร์
รูปแบบการประมวลผลแบบนี้เกิดขึ้นจากเอกสารที่เว็บไคลเอนต์เรียกดูได้บรรจุเอาคำสั่งที่สามารถทำงานได้ลงไปด้
วย ซึ่งคำสั่งที่สามารถประมวลผลได้นี้สำหรับเทคโนโลยีจาวาได้ออกแบบการทำงานที่เรียกว่า จาวาเซิร์ฟเล็ต (Java Servlet)
และ Java Server Page (JSP) มาใช้งานกับเว็บเซิร์ฟเวอร์
จากบทนี้ทางผู้อ่านจะได้
รับความรู้เบื้องต้นของระบบเครือข่
าย
และสิ่งที่จำเป็นในการทำงานของร
ะบบเอ็นเตอร์ไพร์ว่าควรจะประกอ
บด้วยเทคโนโลยีใดบ้าง
กล่าวโดยสรุปคือ
จะต้องมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อ
าศัยโพรโตคอล TCP/IP
เป็นการทำงานในการสื่อสารระดับ
ล่าง มีโพรโตคอล HTTP
เป็นการสื่อสารที่ทำให้เกิดระบบงา
นเวิร์ดไวเว็บ
และจำเป็นต้องสร้างเอกสารที่สาม
ารถประมวลผลได้ติดตั้งลงบนเว็บเ
ซิร์ฟเวอร์เพื่อที่จะทำให้เกิดการปร
ะมวลผลก่อนจะส่งผลลัพธ์กลับไป
ให้บราวเซอร์อีกทีหนึ่ง ต่อจากนี้
ในเนื้อหาของบทต่อไปจะทำให้ผู้อ่
านได้เห็นภาพของการทำงานที่เจอ
ะจงลงไปที่ระบบเว็บว่ามีการทำงา
นอยู่ไร

More Related Content

What's hot

บทที่5.1
บทที่5.1บทที่5.1
บทที่5.1chushi1991
 
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่ายบทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่ายTum WinNing
 
it-09-05
it-09-05it-09-05
it-09-05
Ing Ptnl
 
งานนำเสนอบทที่5
งานนำเสนอบทที่5งานนำเสนอบทที่5
งานนำเสนอบทที่5amphaiboon
 
อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
supansa phuprasong
 
งานนำเสนอบทที่ 5
งานนำเสนอบทที่ 5งานนำเสนอบทที่ 5
งานนำเสนอบทที่ 5sawitri555
 
บทที่ 4 ระบบเครือข่าย network
บทที่ 4 ระบบเครือข่าย networkบทที่ 4 ระบบเครือข่าย network
บทที่ 4 ระบบเครือข่าย networkBeauso English
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์Onanong Phetsawat
 
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Rijin7
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43
เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43
เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43
Sireethorn43
 
งามคอม200
งามคอม200งามคอม200
งามคอม200
เค้ก
 
บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์
บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์
บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์
galswen
 

What's hot (14)

บทที่5.1
บทที่5.1บทที่5.1
บทที่5.1
 
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่ายบทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
บทที่6 การออกแบบระบบเครือข่าย
 
it-09-05
it-09-05it-09-05
it-09-05
 
Network
NetworkNetwork
Network
 
งานนำเสนอ2 หน่วยความจำ แก้ไข
งานนำเสนอ2 หน่วยความจำ แก้ไขงานนำเสนอ2 หน่วยความจำ แก้ไข
งานนำเสนอ2 หน่วยความจำ แก้ไข
 
งานนำเสนอบทที่5
งานนำเสนอบทที่5งานนำเสนอบทที่5
งานนำเสนอบทที่5
 
อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
งานนำเสนอบทที่ 5
งานนำเสนอบทที่ 5งานนำเสนอบทที่ 5
งานนำเสนอบทที่ 5
 
บทที่ 4 ระบบเครือข่าย network
บทที่ 4 ระบบเครือข่าย networkบทที่ 4 ระบบเครือข่าย network
บทที่ 4 ระบบเครือข่าย network
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43
เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43
เทคโนโลยีสารสนเทศ-work3-43
 
งามคอม200
งามคอม200งามคอม200
งามคอม200
 
บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์
บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์
บทที่9 ม 6_6เลขที่10_28_44_สมบูรณ์
 

Similar to Javacentrix com chap01-0

อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
iamohm204
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
Sukanjana
 
Computer Network
Computer NetworkComputer Network
Computer Network
Kittipong Tarawat
 
เครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ต
เครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ตเครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ต
เครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ตguest4a36bcf
 
การใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ต
การใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ตการใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ต
การใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ตguest9e6e9533
 
เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต
เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ตเครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต
เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ตguest4a36bcf
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์sommat
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์Nantawoot Imjit
 
Network operating system หรือ nos
Network operating system หรือ nosNetwork operating system หรือ nos
Network operating system หรือ nos
อภิชญา โตประเสริฐ
 
บทที่5.1
บทที่5.1บทที่5.1
บทที่5.1chu1991
 
ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
Sujit Chuajine
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8chu1991
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
kvc10513
 
ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Khunakon Thanatee
 
คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7 คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7 Kru Jhair
 
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
Tophit Sampootong
 
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
Tophit Sampootong
 

Similar to Javacentrix com chap01-0 (20)

อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
Computer Network
Computer NetworkComputer Network
Computer Network
 
เครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ต
เครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ตเครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ต
เครื่องมือต่างๆระบบอินเทอรืเน็ต
 
การใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ต
การใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ตการใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ต
การใช้เครื่องมือต่างๆของระบบอินเทอร์เน็ต
 
เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต
เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ตเครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต
เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
 
Network operating system หรือ nos
Network operating system หรือ nosNetwork operating system หรือ nos
Network operating system หรือ nos
 
บทที่5.1
บทที่5.1บทที่5.1
บทที่5.1
 
ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ความหมายและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
Learning network
Learning networkLearning network
Learning network
 
Network
NetworkNetwork
Network
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ดัชนีคำศัพท์ เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
รายงาน1233
รายงาน1233รายงาน1233
รายงาน1233
 
คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7 คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7
 
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
 
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
%B7อข่ายคอมพิวเตอร์77
 

More from Theeravaj Tum

Javacentrix com chap11-2
Javacentrix com chap11-2Javacentrix com chap11-2
Javacentrix com chap11-2Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap11-1
Javacentrix com chap11-1Javacentrix com chap11-1
Javacentrix com chap11-1Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap10-0
Javacentrix com chap10-0Javacentrix com chap10-0
Javacentrix com chap10-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap09-0
Javacentrix com chap09-0Javacentrix com chap09-0
Javacentrix com chap09-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap08-0
Javacentrix com chap08-0Javacentrix com chap08-0
Javacentrix com chap08-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap07-0
Javacentrix com chap07-0Javacentrix com chap07-0
Javacentrix com chap07-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap06-0
Javacentrix com chap06-0Javacentrix com chap06-0
Javacentrix com chap06-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap04-0
Javacentrix com chap04-0Javacentrix com chap04-0
Javacentrix com chap04-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap03-0
Javacentrix com chap03-0Javacentrix com chap03-0
Javacentrix com chap03-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap02-0
Javacentrix com chap02-0Javacentrix com chap02-0
Javacentrix com chap02-0Theeravaj Tum
 
Javacentrix com chap05-0
Javacentrix com chap05-0Javacentrix com chap05-0
Javacentrix com chap05-0Theeravaj Tum
 
บทที่ 13 การดักจับเ
บทที่ 13 การดักจับเบทที่ 13 การดักจับเ
บทที่ 13 การดักจับเTheeravaj Tum
 
บทที่ 12 กราฟฟิก
บทที่ 12 กราฟฟิกบทที่ 12 กราฟฟิก
บทที่ 12 กราฟฟิกTheeravaj Tum
 
บทที่ 11 การดักจับข
บทที่ 11 การดักจับขบทที่ 11 การดักจับข
บทที่ 11 การดักจับขTheeravaj Tum
 
บทที่ 10 ตัวแปรสตริ
บทที่ 10 ตัวแปรสตริบทที่ 10 ตัวแปรสตริ
บทที่ 10 ตัวแปรสตริTheeravaj Tum
 
บทที่ 9 การพ้องรูป
บทที่ 9 การพ้องรูปบทที่ 9 การพ้องรูป
บทที่ 9 การพ้องรูปTheeravaj Tum
 
บทที่ 8 คุณสมบัติก
บทที่ 8 คุณสมบัติกบทที่ 8 คุณสมบัติก
บทที่ 8 คุณสมบัติกTheeravaj Tum
 
บทที่ 7 แพ็คเกจ
บทที่ 7 แพ็คเกจบทที่ 7 แพ็คเกจ
บทที่ 7 แพ็คเกจTheeravaj Tum
 
บทที่ 6 อาร์เรย์
บทที่ 6 อาร์เรย์บทที่ 6 อาร์เรย์
บทที่ 6 อาร์เรย์Theeravaj Tum
 
บทที่ 5 คลาส
บทที่ 5 คลาสบทที่ 5 คลาส
บทที่ 5 คลาสTheeravaj Tum
 

More from Theeravaj Tum (20)

Javacentrix com chap11-2
Javacentrix com chap11-2Javacentrix com chap11-2
Javacentrix com chap11-2
 
Javacentrix com chap11-1
Javacentrix com chap11-1Javacentrix com chap11-1
Javacentrix com chap11-1
 
Javacentrix com chap10-0
Javacentrix com chap10-0Javacentrix com chap10-0
Javacentrix com chap10-0
 
Javacentrix com chap09-0
Javacentrix com chap09-0Javacentrix com chap09-0
Javacentrix com chap09-0
 
Javacentrix com chap08-0
Javacentrix com chap08-0Javacentrix com chap08-0
Javacentrix com chap08-0
 
Javacentrix com chap07-0
Javacentrix com chap07-0Javacentrix com chap07-0
Javacentrix com chap07-0
 
Javacentrix com chap06-0
Javacentrix com chap06-0Javacentrix com chap06-0
Javacentrix com chap06-0
 
Javacentrix com chap04-0
Javacentrix com chap04-0Javacentrix com chap04-0
Javacentrix com chap04-0
 
Javacentrix com chap03-0
Javacentrix com chap03-0Javacentrix com chap03-0
Javacentrix com chap03-0
 
Javacentrix com chap02-0
Javacentrix com chap02-0Javacentrix com chap02-0
Javacentrix com chap02-0
 
Javacentrix com chap05-0
Javacentrix com chap05-0Javacentrix com chap05-0
Javacentrix com chap05-0
 
บทที่ 13 การดักจับเ
บทที่ 13 การดักจับเบทที่ 13 การดักจับเ
บทที่ 13 การดักจับเ
 
บทที่ 12 กราฟฟิก
บทที่ 12 กราฟฟิกบทที่ 12 กราฟฟิก
บทที่ 12 กราฟฟิก
 
บทที่ 11 การดักจับข
บทที่ 11 การดักจับขบทที่ 11 การดักจับข
บทที่ 11 การดักจับข
 
บทที่ 10 ตัวแปรสตริ
บทที่ 10 ตัวแปรสตริบทที่ 10 ตัวแปรสตริ
บทที่ 10 ตัวแปรสตริ
 
บทที่ 9 การพ้องรูป
บทที่ 9 การพ้องรูปบทที่ 9 การพ้องรูป
บทที่ 9 การพ้องรูป
 
บทที่ 8 คุณสมบัติก
บทที่ 8 คุณสมบัติกบทที่ 8 คุณสมบัติก
บทที่ 8 คุณสมบัติก
 
บทที่ 7 แพ็คเกจ
บทที่ 7 แพ็คเกจบทที่ 7 แพ็คเกจ
บทที่ 7 แพ็คเกจ
 
บทที่ 6 อาร์เรย์
บทที่ 6 อาร์เรย์บทที่ 6 อาร์เรย์
บทที่ 6 อาร์เรย์
 
บทที่ 5 คลาส
บทที่ 5 คลาสบทที่ 5 คลาส
บทที่ 5 คลาส
 

Javacentrix com chap01-0

  • 1. Servlet & Java Server Page HTTP HTML CSS XML Java Servlet Java Server Page(JSP) Cookie and Session Database System Shopping Online Web Broad Rungrote Phonkam www.JavaCentrix.com rungrote@javacentrix.com
  • 2.
  • 3. บทที่ 1 รู้จักการประมวลผลรูปแบบเอ็นเตอร์ไพร์ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานโดยผู้ใช้เพียงคนเดียว ทั้งในแง่ของการใช้ทรัพยากรของเครื่องและระบบการประมวลผล เรามักเรียกรูปแบบลักษณะการใช้งานว่าสแตนอะโลน (Standalone) ยกตัวอย่างเช่น การพิมพ์เอกสาร การวาดภาพ เป็นต้น หากแต่งานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน หรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลักษณะสภาพแวดล้อมสแตนอะโลนจะเปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมในระบบเครือ ข่าย เช่น เครือข่ายแลน (LAN: Local Area Network) และเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เองที่จะทำการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง ให้สามารถสื่อสารหรือส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ ทำให้เกิดงานขนาดใหญ่ขึ้นจากการใช้งานตามปกติ เช่น การทำระบบบัญชีภายในองค์กร การรับส่งหรือสื่อสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในกลุ่ม ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงก่อให้เกิดรูปแบบการทำงานที่กว้างขวางขึ้น หากเมื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนที่จะเป็นภายในพื้นที่เดีย วกัน ก็เป็นการเชื่อมโยงในต่างพื้นที่ ต่างภูมิภาค หรือเชื่อมโยงระหว่างประเทศ และประกอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงเหล่านั้น มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) คอมพิวเตอร์ผอมบาง (Thin Computer) พีดีเอ (PDA) เป็นต้น รวมถึงระบบปฏิบัติการก็ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย เช่น ยูนิกส์(Unix) วินโดว์(Windows) ลีนุกซ์(Linux) แม็คโอเอส(MacOS) เป็นต้น ทำให้ระบบการทำงานบางงานที่เกิดขึ้นต้องรองรับสภาพแวดล้อมและทรัพยากร ที่แตกต่างกัน ซึ่งเรามักจะเรียกว่าการทำงานรูปแบบเอ็นเตอร์ไพร์ (Enterprise Processing)
  • 4. 1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเนื้อความเบื้องต้นของบทนี้ได้กล่าวถึงการนำมาซึ่งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีการนำเอาทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในการรองรับการทำงานที่มีรูปแบบการสื่อสารรวมกันระหว่างผู้ใช้งาน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงทั้งในแบบกายภาพ (Phisical) ที่มีทั้งรูปแบบมีสายเชื่อมโยง (Cabling Network) เช่นการใช้สาย UTP สายโคแอ็คซ์ (Coxicial) หรือการเชื่อมโยงรูปแบบไร้สาย (Wireless Network) เช่น การใช้อินฟาเรต(Infrared) ไมโครเวฟ(Microwave) ความถี่วิทยุ (Radio Frequency) เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการติดตั้ง สถานที่ ความเร็ว ระยะทาง ที่ทางผู้กำหนดและวางแผนในการติดตั้งจะออกแบบ ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงไม่เน้นเป็นที่การทำความเข้าใจกับรายละเอียดทางด้านเครือข่ายมากนัก ในขั้นตอนต่อไปคือการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบมีสายหรือไร้สาย) มาใช้งาน โดยมองในแง่ของการใช้ทรัพยากรและรูปแบบการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 เครือข่ายเพียร์-ทู-เพียร์ (Peer-to-Peer) ระบบเครือข่ายแบบเพียร์-ทู-เพียร์ เป็นเครือข่ายที่ผู้ใช้ทรัพยากรแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการทำงานบนเครือข่าย เรามักนำเอาเครือข่ายรูปแบบในมาใช้ในการแบ่งปันทรัพยากรที่เรียกว่าการแชร์ (Shared Resource) เช่น เครือข่ายที่มีเครื่องพิมพ์อยู่จำนวนจำกัดไม่พอใช้กับทุกคน ก็จะทำการแชร์เครื่องพิมพ์ให้ผู้ใช้ทุกคนบนระบบเครือข่ายสามารถสั่งพิมพ์งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกคน หรือการแชร์พื้นที่ใช้งาน (มักเรียกว่าการแชร์ไฟล์) กล่าวคือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเป็นเครื่องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่าเครื่องอื่น หรือเป็นเครื่องที่พอจะไว้ใจได้ (ไม่เกิดอาการแฮงค์ง่ายๆ) ก็มักจะแชร์พื้นที่ให้ผู้ใช้ในเครื่องอื่นๆได้ทำการเก็บบันทึกไฟล์งานเอาไว้ ระบบเครือข่ายรูปแบบนี้มีระดับในการรักษาความปลอดภัย หรือควบคุมการใช้งานไม่สูงนัก เนื่องจากสิทธิของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเท่าเทียมกัน ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพยากรจึงมีบทบาทในการอนุญาติหรือไม่อนุญาติให้บุคคลอื่นในเครือข่ายเข้าใช้งานทรัพยากรของตัวเองห รือไม่ รูปแสดงการทำงานของเครือข่ายแบบเพียร์-ทู-เพียร์ 1.2 ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) เครือข่ายแบบต่อมาที่แนะนำให้รู้จักคือเครือข่ายที่ในปัจจุบันมีการใช้งานกันในวงกว้างคือเครือข่ายแบบไคลเอนต์/ เซิร์ฟเวอร์ เมื่อกำหนดให้ระบบงานที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งที่รับหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server: เครื่องที่เป็นฝ่ายรอบรับการเรียกใช้บริการ และให้บริการ) และเครื่องคอมพิวเตอร์อีกส่วนหนึ่งในระบบงานเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นไคลเอนต์ (Client: เครื่องที่เป็นฝ่ายขอใช้บริการ) ข้อแนะนำ ในระบบใหญ่ๆ เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์มีจำนวนมากกว่าหนึ่งเครื่อง เพื่อเป็นการรอบรับด้านความเสถียรภาพในการทำงาน หรือรองรับไคลเอนต์จำนวนมากๆ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์จะต้องคอยบริการผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา
  • 5. ตัวอย่างเช่น หากกำลังพูดถึงระบบเว็บ การทำงานของระบบเว็บคือการให้บริการข้อมูลเว็บ ซึ่งเป็นข้อมูลที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูลรูปแบบ HTML ดังนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกควบคุมโดยผู้บริหารเว็บก็คือเครื่องที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเก็บแฟ้มข้อมูลเว็บ และคอยส่งให้กับไคลเอนต์ในระบบเดียวกันหากมีการร้องขอขึ้นมา และไคลเอนต์ก็ถูกใช้งานโดยผู้ใช้ทำหน้าที่ร้องขอข้อมูลเว็บโดยการใช้งานของผู้ใช้จากเซิร์ฟเวอร์ ในระบบเดียวกันจะอาศัยรูปแบบการสื่อสารที่เข้าใจกันเอง จากตัวอย่างระบบเว็บมีรูปแบบการสื่อสารที่ใช้กันที่เรียกว่าโพรโตคอล HTTP เครื่องที่ทำหน้าที่เซิร์ฟเวอร์ถูกเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เครื่องที่ทำหน้าที่ไคลเอนต์เรียกว่าเว็บไคลเอนต์ (Web Client) ปัจจุบันเว็บไคลเอนต์อาจถูกเรียกว่าบราวเซอร์ (Brower) ตามการใช้งานคือการท่องดูข้อมูลเว็บ หรือเรียกชื่อผลิตภัณฑ์เว็บไคลเอนต์จนติดปาก เช่น ไออี (IE: Internet Explorer) หรือเน็ทเคป (Netscape Navigator) เป็นต้น ในทำนองเดียวกันระบบอื่นๆที่มีการทำงานด้วยรูปแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ก็เรียกขานเครื่องที่ทำหน้าที่ต่างๆในทำ นองเดียวกัน เช่นระบบอีเมล์ (Electronic Mail) เครื่องเซิร์ฟเวอร์เรียกว่าเมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) เครื่องไคลเอนต์เรียกว่าเมล์ไคลเอนต์ (Mail Client) หรือเมล์รีดเดอร์ (Mail Reader) การสื่อสารภายในระบบอีเมล์ใช้โพรโตคอล SMTP/POP3 เป็นต้น ดังนั้นหากกล่าวถึงระบบเอฟทีพี (FTP) ผู้อ่านคงพอเดาได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอนต์จะถูกเรียกว่าอะไร? 1.3 ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย (Network Components) - โฮสต์ (Host) หลายๆท่านอาจจะเข้าใจว่าคำว่าโฮสต์นั้นหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโฮสต์ยังหมายถึงอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายตัวอื่นๆอีกด้วย เช่น เครื่องพิมพ์ระบบเครือข่าย เครื่องถ่ายเอกสารระบบเครือข่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่าย อุปกรณ์พีดีเอในระบบเครือข่าย และอื่นๆอีกมากที่สามารถเชื่อมโยงตัวเองเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) คือการอาศัยอุปกรณ์เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด (NIC: Network Interface Card) ฮับ(Hub) สวิทช์ (Switch) หรือพาหะในการเชื่อมโยงทั้งในรูปแบบที่ใช้สายญาณ เช่น สายโคแอกซ์ สายยูทีพี (UTP) และรูปแบบที่ไม่ใช้สายสัญญาณแต่ใช้สื่ออื่นๆ เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ เป็นต้น นำมาเชื่อมโยงตามมาตรฐานระบบเครือข่ายต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ เช่น Ethernet, Token-Ring, Fast Ethernet เป็นต้น - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network OS) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (OS: Operating System) ถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ถือเป็นแกนกลางในการทำงาน และการสั่งงานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการในอดีตเช่น ดอส (DOS: Disk Operating System) ยังไม่มีความสามารถทางด้านการสื่อสารในระบบเครือข่ายโดยตรง ต้องใช้โปรแกรมสนับสนุนระบบเครือข่ายติดตั้งเสริมการทำงาน แต่ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่มีความสามารถในด้านการสื่อสารระบบเครือข่ายอยู่ภายในแล้ ว เช่น ยูนิกส์ ลีนุกซ์ วินโดว์ (ตั้งแต่ วินโดว์ 95 ขึ้นไป) - ซอฟต์แวร์ทำงานบนเครือข่าย (Network Software) แน่นอนว่าการอาศัยเพียงแค่ อุปกรณ์สื่อสาร โฮสต์ ระบบปฏิบัติการในระบบเครือข่ายเพียงแค่นี้จะทำให้เกิดการทำงานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • 6. เป็นไปไม่ได้เลยว่าหากปราศจากซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในระบบเครือข่ายในการทำงาน ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับใช้สื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (DBMS: DataBase Management System) ซอร์ฟแวร์บริหารเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์(Web Server) ซอฟต์แวร์บริหารระบบอีเมล์(E-main System) เป็นต้น 2 โพรโตคอล (Protocol) โพรโตคอลคือรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสาร กว่าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายจะสามารถทำงานกันได้ จำเป็นต้องอาศัยส่วนประกอบอยู่หลายส่วนเลยทีเดียว นอกจากส่วนประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 1 แล้วก็ยังไม่พอหากไม่มีการพูดถึงโพรโตคอล โพรโตคอลมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ในระดับไหน หรือเพื่องานอะไร มาตรฐานการสื่อสาร เช่น OSI (Open Systems Interconnections) หรือ TCP/IP ก็จะมีโพรโตคอลที่ใช้งานร่วมกันหลายโพรโตคอล แต่เนื่องจากว่าหนังสือเล่มนี้กล่าวในแง่ของการพัฒนาระบบเป็นหลัก ดังนั้นจึงขอกล่าวถึงโพรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารระดับแอปพลิเคชั่น และความต้องการในการพัฒนาระบบเป็นหลัก โดยขอแบ่งโพรโตคอลเป็นสองส่วนด้วยกันคือ โพรโตคอลในงานเครือข่าย และโพรโตคอลในงานแอปพลิเคชั่น 2.1 โพรโตคอลระดับเครือข่าย (Network Protocol) มาตรฐานโพรโตคอลที่ใช้ในระดับสื่อสารที่จะมีการควบคุมเส้นทาง การแยกข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลสามารถไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน โพรโตคอลในระดับนี้มองข้อมูลในหน่วยของบิตเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่สนใจลักษณะข้อมูลแต่มุ่งที่จะให้ข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โพรโตคอลในระดับนี้มีอยู่มากมายหลายโพรโตคอลแต่จะยกตัวอย่างขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพในบางโพรโตคอลเท่านั้น - การสื่อสารในรูปแบบ IPX/SPX ( เป็นโพรโตคอลในระดับเครือข่ายหนึ่ง ที่ถูกใช้งานในครั้งแรกกับระบบเครือข่ายของโนแวร์ (Novell) ที่รู้จักกันดีในชื่อเน็ตแวร์ (Netware) ที่ทำให้อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายแต่ละตัวสามารถสื่อสารกันได้ ปัจจุบันระบบวินโดวส์ได้มีการนำเอาโพรโตคอลนี้ไปใช้งานกันระบบเครือข่ายของตนเองได้ (เครือข่ายวินโดวส์สามารถใช้งานได้หลายโพรโตคอลบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน ขึ้นอยู่การติดตั้งของผู้บริหารระบบ) - การสื่อสารในรูปแบบ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นมาตรฐานในการสื่อสารสำหรับการสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เริ่มต้นใช้ในครั้งแรกในวงการทหารของสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับการพัฒนาจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง และทำให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโพรโตคอลนี้มีการเชื่อมโยงกันทั่วโลก อันเป็นที่มาของระบบงานต่างๆ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ระบบเว็บ ในปัจจุบัน และในหนังสือเล่มนี้ก็มีการใช้งานโพรโตคอลนี้ในการทำงาน แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในด้านลึกของโพรโตคอลนี้ แต่สามารถดูมาตรฐานการสื่อสารของโพรโตคอลนี้ได้ในเอกสาร RFC-791 และ RFC-793 ในเว็บไซต์ http://www.rfc- editor.org/ 3 โพรโตคอลสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต โพรโตคอลในระดับสื่อสารนี้ เป็นโพรโตคอลที่รับผิดชอบในการรับ-ส่งข้อมูลในระดับแอปพลิเคชั่น ดังนั้นเราจะเห็นการใช้งานโปรแกรมต่างๆบนอินเตอร์เน็ตอ้างถึงชื่อโปรโตคอลเหล่านี้ เนื่องจากมีผลถึงการรับ- ส่งข้อมูลในระดับบนโดยตรง เช่น เว็บใช้โพรโตคอล HTTP เป็นต้น - โพรโตคอล SMTP/POP3 (Simple Mail Transfer Protocol/ Post Office Protocol v.3) คือโพรโตคอลที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารรูปแบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์
  • 7. การรับส่งข้อมูลในระบบงานนี้สามารถใช้งานโพรโตคอล SMTP เพื่อใช้ส่งจดหมายจากเครื่องผู้ใช้ไปยังระบบเมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) เพื่อแจกจ่ายจดหมายไปยังปลายทางอีกทีหนึ่ง สำหรับโพรโตคอล POP 3 ถูกใช้ในการอ่านเมล์คือจะถูกเรียกอ่านเมล์ที่จัดเก็บไว้ที่เมล์เซิร์ฟเวอร์ลงมาอ่านบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้โพรโตคอลนี้ เช่น Outlook, Eudora, Netscape Mail เป็นต้น - โพรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) คือโพรโตคอลในการขนย้ายไฟล์ ทำให้สามารถขนย้ายไฟล์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถรับ-ส่งไฟล์ได้รวดเร็วขึ้น จึงทำให้เกิดกิจกรรมการทำงานขึ้น เช่น การดาวน์โหลด (Download) เป็นการย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆบนอินเตอร์เน็ตลงมาสู่เครื่องผู้ใช้ และการอัพโหลด (Upload) เป็นการย้ายไฟล์จากเครื่องผู้ใช้เพื่อย้ายขึ้นไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆบนอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานของโพรโตคอลนี้คือ CuteFTP, WS_FTP, Win FTP เป็นต้น นอกจากนี้แล้วบราวเซอร์บางตัวยังสามารถใช้งานโพรโตคอล FTP นี้ได้อีกด้วย - โพรโตคอล HTTP (HyperText Transfer Protocol) คือโพรโตคอลที่ใช้งานในระบบเวิร์ดไวเว็บ เพื่อที่ใช้ในการร้องขอเอกสารจากแหล่งเก็บเอกสารหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ลงมาอ่าน ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่เป็นเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ที่จะจัดการและควบคุมด้วยเซิร์ฟเล็ตหรือ JSP สำหรับโปรแกรมที่ใช้งานโพรโตคอลนี้คือโปรแกรม Internet Explorer, Netscape Navigator, Opera เป็นต้น 4 รูปแบบการประมวลผลบนระบบเว็บ รูปแบบการประมวลผลในที่นี้จะกล่าวถึงการทำงานที่เกิดขึ้นในระบบเว็บเท่านั้น ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลภายในไคลเอนต์หรือเซิร์ฟเวอร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการประมวลผลนี้ขึ้นอยู่กับการจัดสร้างเว็บไซต์ของผู้พัฒนา ที่จะเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือร่วมกันเพื่อสามารถนำเสนอข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.1 การประมวลผลแบบสแตนอะโลน (Standalone Processing) คือการประมวลผลที่ทำงานโดยอาศัยทรัพยากรของผู้ใช้เป็นหลัก ดังนั้นการติดต่อระหว่างระหว่างเว็บไคลเอนต์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ เว็บไคลเอนต์จะสื่อสารเพื่อดึงเอาโปรแกรมจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านระบบเครือข่ายลงมาไว้ที่พื้นที่ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอ ร์ภายในตัวเว็บไคลเอนต์เองก่อน จากนั้นจึงสั่งให้โปรแกรมดังกล่าวเริ่มทำงานและประมวลผลโดยใช้ทรัพยากรในระบบของเครื่องเว็บไคลเอนต์เอง เช่น ฮาร์กดิกส์ หน่วยความจำ และซีพียู ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจะประกฎบนพื้นที่แสดงผลของเว็บไคลเอนต์เอง การทำงานรูปแบบนี้เว็บไคลเอนต์จำเป็นต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการประมวลผลของโปรแกรม ส่วนเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็ต้องจัดให้มีพื้นที่ในการจัดเก็บโปรแกรมเพื่อส่งให้กับเว็บไคลเอนต์ที่ร้องขอมาเท่านั้น รูปการทำงานของการประมวลผลรูปแบบสแตนอะโลน สำหรับในเทคโนโลยีจาวานั้น การประมวลผลในแบบสแตนอะโลนคือการสร้างโปรแกรมในรูปแบบจาวาแอปเพล็ต (Java Applet หรือจาวาแอปพลิเคชั่น (Java Application) นั่นเอง ซึ่งถึงแม้นว่าการใช้งานเว็บจากบราวเซอร์ (เว็บไคลเอนต์ในระบบเว็บ) เป็นการเรียกดูหน้าเอกสารที่มีแอปเพล็ตอยู่ แอปเพล็ตที่ปรากฏขึ้นใช้การประมวลผลของเครื่องผู้ใช้ในการทำงาน
  • 8. 4.2 การประมวลผลแบบเอ็นเตอร์ไพร์ (Enterprise Processing) การประมวลผลรูปแบบนี้เป็นเป้าหมายหลักที่หนังสือเล่มนี้จะใช้อธิบายสำหรับให้ผู้อ่านได้เข้าใจการพัฒนาโปรแกรมที่ประม วลผลบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ นั่นคือการทำงานนี้อาศัยการสื่อสารของเว็บไคลเอนต์กับเว็บเซิร์ฟเวอร์เช่นเดียวกันกับการประมวลผลที่เคยกล่าวมาแล้ว แต่การสื่อสารดังกล่าวหากเว็บไคลเอนต์เรียกดูเอกสารที่ผู้ออกแบบกำหนดให้มีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์แล้ว ก่อนที่เว็บไคลเอนต์จะได้รับเอกสาร เว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำการนำเอาเอกสารนั้นมาประมวลผลในพื้นที่ทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะลำเลียงส่งให้กับเว็บไคลเอ นต์ ดังนั้นการทำงานในลักษณะเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรภายในเครื่องของเว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงาน เช่น พื้นที่ฮาร์กดิสก์ หน่วยความจำ และซีพียู ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการให้ทำงานรูปแบบนี้จึงจำเป็นต้องมีทรัพยากรในการทำงานสูงด้วย รูปแสดงการทำงานของการประมวลผลรูปแบบเอ็นเตอร์ไพร์ รูปแบบการประมวลผลแบบนี้เกิดขึ้นจากเอกสารที่เว็บไคลเอนต์เรียกดูได้บรรจุเอาคำสั่งที่สามารถทำงานได้ลงไปด้ วย ซึ่งคำสั่งที่สามารถประมวลผลได้นี้สำหรับเทคโนโลยีจาวาได้ออกแบบการทำงานที่เรียกว่า จาวาเซิร์ฟเล็ต (Java Servlet) และ Java Server Page (JSP) มาใช้งานกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ จากบทนี้ทางผู้อ่านจะได้ รับความรู้เบื้องต้นของระบบเครือข่ าย และสิ่งที่จำเป็นในการทำงานของร ะบบเอ็นเตอร์ไพร์ว่าควรจะประกอ บด้วยเทคโนโลยีใดบ้าง กล่าวโดยสรุปคือ จะต้องมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อ าศัยโพรโตคอล TCP/IP เป็นการทำงานในการสื่อสารระดับ ล่าง มีโพรโตคอล HTTP เป็นการสื่อสารที่ทำให้เกิดระบบงา นเวิร์ดไวเว็บ และจำเป็นต้องสร้างเอกสารที่สาม ารถประมวลผลได้ติดตั้งลงบนเว็บเ ซิร์ฟเวอร์เพื่อที่จะทำให้เกิดการปร ะมวลผลก่อนจะส่งผลลัพธ์กลับไป ให้บราวเซอร์อีกทีหนึ่ง ต่อจากนี้ ในเนื้อหาของบทต่อไปจะทำให้ผู้อ่ านได้เห็นภาพของการทำงานที่เจอ ะจงลงไปที่ระบบเว็บว่ามีการทำงา นอยู่ไร