SlideShare a Scribd company logo
ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในแบรนด์
“Greyhound”
ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
GREYHOUND(เกรย์ฮาวด์) เป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่ถือกาเนิดขึ้นเมื่อ 32 ปีที่แล้ว ถือเป็นแบรนด์อันดับต้นต้นของ
ตานานแฟชั่นไทย ภาณุ อิงคะวัต ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์เผยว่า "เกรย์ฮาวด์ มีจุดยืนที่ชัดเจน
คือ ขายสไตล์ ไม่ใช่ ขายแฟชั่น" จากธุรกิจเสื้อผ้าผู้ชายเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ มีการผลิตและดีไซน์เสื้อผ้าผู้หญิง
รวมถึงสินค้าหนังและเครื่องประดับ ต่อยอดจนมีทั้งสิ้น 3 แบรนด์ได้แก่ Greyhound Original, Play hound
และ Hound and Friend ปัจจุบันเกรย์ฮาวด์รุกตลาดเสื้อผ้าไทยและต่างประเทศ รวมทั้งขยายเส้นทางธุรกิจสู่
ร้านอาหารโดยใช้ชื่อ Greyhound Cafe ที่ยังมีแนวคิดการขายสไตล์ที่ชัดเจน.
GREYHOUND(เกรย์ฮาวด์)
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
ในการดาเนินการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาความภักดีในตราสินค้าGreyhound จาแนกตามลักษณะ ด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส
ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้บริโภค
2.เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้า Greyhound ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
3.เพื่อศึกษาถึงภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้า Greyhound ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
4.เพื่อศึกษาถึงความตั้งใจในการซื้อที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้า Greyhound ของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
5.เพื่อศึกษาถึงคุณค่าตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้า Greyhound ของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
กรอบแนวคิดของงานวิจัย
ตัวแปรอิสระ (Independent variables) ได้แก่
- คุณลักษณะด้านประชากรศาสตร์ประกอบด้วย
เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ
รายได้ต่อเดือน
- การรับรู้ตราสินค้า
- ภาพลักษณ์ตราสินค้า
- ความตั้งใจในการซื้อ
- คุณค่าตราสินค้า
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรตาม(Dependent variable) ได้แก่
- ความภักดีในตราสินค้า“Greyhound” ของผู้บริโภค
ในกรุงเทพมหานคร
สมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัย
1. ผู้บริโภคที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ
รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้า Greyhound แตกต่างกัน
2. การรับรู้ตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
3. ภาพลักษณ์ตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร
4. ความตั้งใจในการซื้อ มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร
5. คุณค่าตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
ทบทวนวรรณกรรม
1.แนวคิดด้านประชากรศาสตร์
2.แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ตราสินค้า
3.แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตราสินค้า
4.แนวคิดเกี่ยวกับความตั้งใจในการซื้อของผู้บริโภค
5.แนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าตราสินค้า
6.แนวคิดเกี่ยวกับความภักดีในตราสินค้า
ได้นาแนวคิดของงานวิจัยมา 6 อย่างมีดังนี้
แนวคิดด้านประชากรศาสตร์
ศิริวรรณ เสรีรัตน์(2538, น. 41) ได้กล่าวว่า การแบ่งส่วนตลาดตามตัวแปร ด้านประชากรศาสตร์
(Demographic) ประกอบด้วย อายุ เพศ ขนาดครอบครัว สถานภาพครอบครัว รายได้ อาชีพ การศึกษา
ลักษณะด้านประชากรศาสตร์ เป็นลักษณะที่สาคัญช่วยในการกาหนดตลาดเป้าหมาย ข้อมูลด้าน
ประชากรศาสตร์จะสามารถเข้าถึงและมีประสิทธิผลต่อ การกาหนดตลาดเป้าหมาย รวมทั้งง่ายต่อการวัด
มากกว่าตัวแปรอื่น
แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ตราสินค้า
สุภาภัทร ดิลกไชยชาญวุฒิ(2547, น. 34) ได้กล่าวว่าการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภค ซึ่งเป็น
องค์ประกอบสาคัญในการสร้างคุณค่าตราสินค้า เพราะเมื่อผู้บริโภคเกิดการรับรู้ตราสินค้าแล้ว
ผู้บริโภคก็จะเกิดความคุ้นเคยในตราสินค้านั้น ทาให้สินค้าเป็นที่น่าไว้ใจ น่าเชื่อถือ และมีคุณภาพ
ที่สมเหตุสมผล สาเหตุหลักในการตัดสินใจซื้อในที่สุดเป็นงผู้บริโภคจะเลือกซื้อซึ่งตราสินค้าที่เป็นที่รู้จัก
มากกว่าตราสินค้าที่ผู้บริโภคไม่มีการตระหนักถึงตราสินค้ามาก่อน
แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตราสินค้า
Kotler (2003) ได้อธิบายความหมายของตราสินค้าไว้ว่า การสร้างตราสินค้าเป็นเรื่องสาคัญในกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์
ตราสินค้าที่รู้จักแพร่หลาย ทาให้กาหนดราคาสินค้าได้สูง สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกาให้คานิยาม“ตรา
สินค้า” ว่าเป็น ชื่อ วลี เครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือ การออกแบบ หรือสิ่งเหล่านี้รวมกันระบุว่าเพื่อใช้สินค้าหรือ
บริการ เป็นของผู้ขายหรือกลุ่มผู้ขาย รายใด และเพื่อแสดงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน ดังนั้น ตราสินค้าจึงบ่งบอก
ถึงตัวผู้ขายหรือผู้ผลิตภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า ผู้ขายได้รับสิทธิผูกขาดให้เป็นผู้ใช้ชื่อตราสินค้าแต่ผู้เดียว
ตลอดกาล ตราสินค้าแตกต่างจากสินทรัพย์อื่น เช่น สิทธิบัตรและลิขสิทธ์ที่มีกาหนดวันหมดอายุ ตราสินค้าเป็น
สัญลักษณ์ที่มีความสลับซับซ้อน สามารถสื่อความหมายได้6ด้าน ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ด้านคุณประโยชน์
ด้านคุณค่า ด้านวัฒนธรรม ด้านบุคลิกภาพ ด้านผู้ใช้
แนวคิดเกี่ยวกับความตั้งใจในการซื้อของผู้บริโภค
ฮาวาร์ด(Haward, 1994) กล่าวว่า ความตั้งใจซื้อเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับจิตใจที่ บ่งบอก
ถึงแผนการของผู้บริโภค ที่จะซื้อตราสินค้าใดตราหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ความตั้งใจซื้อเกิดขึ้นมาจาก
ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคและความมั่นใจของผู้บริโภคในการประเมินตราสินค้าที่ผ่านมา
แนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าตราสินค้า
เคลเลอร์(Keller, 2003) ได้แบ่งองค์ประกอบของคุณค่าตราสินค้าในสายตาของผู้บริโภคเป็น3 ส่วนโดย
องค์ประกอบแรก คือ การตอบสนองต่อกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งสะท้อนออกมาในลักษณะของการรับรู้
(Perception) องค์ประกอบที่สอง คือ พฤติกรรม(Behavior) ที่มีต่อกิจกรรมทางการตลาดทุกรูปแบบ ทั้งนี้
คุณค่าตราสินค้าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ผู้บริโภคมีการตอบสนองต่อตราสินค้าในแต่ละตราแตกต่างกันออกไป ซึ่ง
ถ้าไม่มีความแตกต่างนี้แล้ว ตราสินค้านั้นก็จะกลายเป็นเพียงสินค้าธรรมดาในสายตาของผู้บริโภค และ
องค์ประกอบสุดท้าย ความรู้เกี่ยวกับตราสินค้าคือองค์ประกอบต่างๆสิ่งที่แสดงถึง ตราสินค้าที่ปรากฏอยู่ใน
ใจของผู้บริโภค
แนวคิดเกี่ยวกับความภักดีในตราสินค้า
Assael (1998) กล่าวว่าความภักดีต่อตราสินค้าเป็นสิ่งที่ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า
ซึ่งส่งผลให้ลููกค้าซื้อสินค้านั้นอีกหลายครั้ง เนื่องจากลูกค้าได้เรียนรู้ว่าสินค้าตรานั้นสนองตาม
ความต้องการและทาให้ลูกค้าเกิดความพอใจ จากการทบทวนแนวคิดของ(Aaker, 2002)
พบว่าความภักดีต่อตราสินค้าประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ราคา ความพึงพอใจ การ
แนะนาสินค้าให้กับบุคคลอื่น และความภักดี
วิธีดาเนินการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในรวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่เคยซื้อหรือเคยใช้สินค้า“Greyhound” อย่างน้อย1 ประเภทสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งประชากรที่ใช้ศึกษาวิจัยครั้งนี้ ไม่ทราบจานวนที่แน่นอนของผู้บริโภคที่ซื้อ/เคยซื้อสินค้าได้ดังนั้น ผู้วิจัยจึงกาหนดขนาดตัวอย่างโดย
ใช้สูตรคานวณแบบไม่ทราบจานวนประชากร โดยใช้ระดับความเชื่อมั่น95%ที่ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2549, น. 26) จากการคานวณ
ได้เท่ากับ385 และเพิ่มจานวนตัวอย่าง4% เท่ากับ15 คน เพื่อให้พอดีกับการสุ่มตัวอย่าง4สาขา โดยแบ่งเป็นสาขาละ100 ตัวอย่าง
ดังนั้น รวมขนาดตัวอย่างทั้งหมดเท่ากับ400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่อย่างอย่างง่าย(Simple random sampling) โดยใช้วิธีการจับ
ฉลากเพื่อคัดเลือกสาขาของ“Greyhound” จานวน 4 สาขา จากทั้งหมด 8 สาขาของ Greyhound ได้แก่ สาขาสยามพารากอน
สาขาดิเอ็มโพเรียม สาขาเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ และทาการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้โควต้า(Quota sampling)
จากกลุ่มตัวอย่าง จานวน 400 ตัวอย่าง สามารถแบ่งสัดส่วน4 สาขา สาขาละ 100 ตัวอย่าง โดยจะแจกแบบสอบถาม ให้กลุ่ม
ตัวอย่างที่เคยซื้อหรือเคยใช้สินค้า Greyhound ในเขตกรุงเทพมหานคร กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง จนได้จานวนแบบสอบถาม
ครบตามจานวนที่กาหนดไว้
วิธีดาเนินการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 6 ส่วน
ส่วนที่1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ตราสินค้า“Greyhound”
ส่วนที่3 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตราสินค้า“Greyhound”
ส่วนที่4 แบบสอบถามเกี่ยวกับความตั้งใจในการซื้อสินค้า“Greyhound”
ส่วนที่5 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณค่าตราสินค้า“Greyhound”
ส่วนที่6 แบบสอบถามเกี่ยวกับความภักดีในตราสินค้า“Greyhound”
สรุปและอภิปรายผล
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้า Greyhound ของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร มีประเด็นที่สาคัญที่นามาอภิปรายได้ดังนี้
1.ผู้บริโภคที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้า Greyhound
แตกต่างกันผลการวิจัยพบว่า
เพศ แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร ไม่
แตกต่างกัน
อายุ แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
สถานภาพสมรส แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
รายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
อาชีพ แตกต่างกัน มีความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
2. การรับรู้ตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานครผลการวิจัย พบว่า
การรับรู้ตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของ
ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
3. ภาพลักษณ์ตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของ
ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
ภาพลักษณ์ตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของ
ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
4. ความตั้งใจในการซื้อมีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า
ความตั้งใจในการซื้อมีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร
5. คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhoundของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานครผลการวิจัยพบว่า
คุณค่าตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคใน
กรุงเทพมหานคร
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
ความภักดีในตราสินค้าGreyhound ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางแสดงให้เห็นว่าตราสินค้า
Greyhoundเป็นที่รู้จักและผู้บริโภคให้การยอมรับในมาตรฐานของตราสินค้าพอสมควรแต่ผู้ผลิตก็ควรจะนาข้อมูลต่างๆ จากผลวิจัย
มาพิจารณปรับปรุงเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อตราสินค้าGreyhoundมากขึ้น ซึ่งผู้วิจัยมี ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะดังนี้
1. ผู้ผลิตสินค้าGreyhound ควรมีการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่ครองใจผู้บริโภคให้ได้โดยควรเจาะกลุ่มเป้าหมาย คือนิสิต/ นักศึกษา
ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ10,000 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้บริโภคหลักที่ซื้อสินค้าแฟชั่น
ในตราสินค้า Greyhound มากที่สุดโดยการจัดการการสื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตอกย้าในตราสินค้าและองค์กร
เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นตราสินค้าูนGreyhound หรือเลือก รูปแบบการส่งเสริมการขายที่ผู้บริโภคให้ความสาคัญ เพื่อสร้างความพึง
พอใจให้แก่ผู้บริโภคได้แก่ การโฆษณาทางโทรทัศน์ การส่งเสริมการขายเช่น การมอบของแถม ของที่ระลึก หีบห่อสินค้า ป้ายสินค้า
บอกรายละเอียดตราสินค้า โลโก้ของสินค้าการจัดสินค้าเพื่อจาหน่ายโดยควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องกร
ซื้อสินค้ามากขึ้นจนส่งผลให้ เกิดความภักดีในตราสินค้า
2. ผู้ผลิตสินค้าGreyhound ควรเลือกทาการตลาดผ่านเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาเยี่ยมชมเพื่อรับข่าว
สอมูลการประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมเข้าและการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท เพื่อสรรับรู้และการจดจาของผู้บริโภคให้ผู้บริโภครู้สึกว่า
มีความผูกพันกับตราสินค้า สร้างตราสินค้าให้มีคุณค่า เนื่องจากผลการวิจัยในเรื่อง การรับรู้ ตราสินค้าGreyhound พบว่า
ผู้บริโภคมีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง ในเรื่องรับรู้ผลิตภัณฑ์ Greyhound ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นเว็บไซต์ของบริษัท และSocial
media ต่างๆ เช่น Facebook เป็นต้น
3. ผู้ผลิตตราสินค้าGreyhound รวมทั้งพนักงานในองค์กรต้องสร้างภาพลักษณ์ให้ดียิ่งขึ้นไป เพื่อสร้างความภักดีให้
เกิดขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยอาจจะปรับปรุง ด้านการออกแบบเสื้อผ้าให้เหมาะกับวัฒนธรรมไทยมากขึ้นแต่ยังคงความเป็น
Greyhound อยู่เนื่องจากผลการวิจัยในเรื่อง ภาพลักษณ์และตราสินค้าGreyhound พบว่าผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ตรา
สินค้าอยู่ในระดับดีและมีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้าGreyhound ในระดับปานกลาง
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
4.ผู้ผลิตตราสินค้าGreyhound รวมทั้งพนักงานในองค์กรต้องให้ความสาคัญใน ส่วนของหน้าร้าน หรือในส่วนของ
ห้องแสดงสินค้ามาก เพราะเมื่อผู้บริโภคไปห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อเสื้อผ้าหรือสินค้าแฟชั่น ผู้บริโภคมักจะมองหาGreyhound เป็น
อันดับแรก ดังนั้น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคGreyhound จึงควรทาหน้าร้านหรือในส่วนของห้องแสดงสินค้า ให้มีความโดดเด่นสะดุดตา
และสามารถทราบถึงสินค้าใหม่ๆ ได้โดยง่ายและเมื่อผู้บริโภคพบเห็นหน้าร้านหรือในส่วนของห้องแสดงสินค้าGreyhound แล้ว
ผู้บริโภคก็จะเกิดความตั้งใจในการซื้อมากยิ่งขึ้นและความภักดีในตราสินค้าGreyhound ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามในที่สุดเนื่องจาก
ผลการวิจัยในเรื่องความตั้งใจในการซื้อตราสินค้าGreyhound พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อ ความตั้งใจในการซื้ออยู่ในระดับ
ปานกลางและมีความสัมพันธ์กับความภักดีในตราสินค้า Greyhound ในระดับสูง
1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะผู้บริโภคที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร โดยไม่ได้แบ่งเขต ดังนั้นการศึกษาครั้งต่อไปควรมี
การศึกษาผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละเขตว่ามีความภักดี ในตราสินค้าGreyhound มากน้อยเท่าใดเพื่อจะได้นาผลการศึกษาที่ได้มา
เปรียบเทียบ แตกต่างกันในแต่ละเขต
2. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเคยบริโภคสินค้า
ตราสินค้าGreyhound เท่านั้น ในการวิจัยครั้งต่อไปควมีการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลการวิจัยด้วยการ
สัมภาษณ์ผู้บริโภคถึงเหตุผลที่ทาให้ผู้บริโภคมีความภักดีต่อ ตราสินค้าGreyhound เพื่อประโยชในการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆให้
ตรงกับความต้องการของ ผู้บริโภคให้มากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
อ้างอิง
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2546). การวิเคราะห์สถิติสถิติสาหรับการบริหารและวิจัย(พิมพ์ครั้งที่7).
กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร.
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2549). สถิติสาหรับงานวิจัย(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภัทร ดิลกไชยาญวุฒิ.(2547). การเปรียบเทียบคุณค่าตราสินค้าระดับโลกและตราสินค้า ท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์
(การโฆษณา). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เสรี วงษ์มณฑา.(2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด.กรุงเทพฯ: บริษัทวิสิทธ์พัฒนา จากัด.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: ไดมอน อิน บิซซิเนส เวิลด์.
Thank you for watching.
นาย ฉัตรมงคล อินเคน 62123322115

More Related Content

Similar to AIM2201 ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในแบรนด์"Greyhound"ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรม
ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรม
ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรม
pattaranunonaron
 
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้าการออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
Boohsapun Thopkuntho
 
Brand value, brand equity
Brand value, brand equity Brand value, brand equity
Brand value, brand equity
PümPüy Ża
 

Similar to AIM2201 ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในแบรนด์"Greyhound"ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (6)

งานส่ง
งานส่งงานส่ง
งานส่ง
 
ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรม
ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรม
ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมมิติเชิงพฤติกรรม
 
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้าการออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
 
โฆษณา
โฆษณาโฆษณา
โฆษณา
 
Brand equity 2
Brand equity 2Brand equity 2
Brand equity 2
 
Brand value, brand equity
Brand value, brand equity Brand value, brand equity
Brand value, brand equity
 

AIM2201 ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในแบรนด์"Greyhound"ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร