SlideShare a Scribd company logo
สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
                                “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี”
                                                 ..........................
                                ตอน โทรเลขทหารเรือผูนําแห่งการโทรคมนาคมสมัยใหม่
                                                       ้

           ทันทีที่เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และวิทยุ ได้ถือกําเนิดขึ้น ในช่วงปี พ.ศ.
๒๓๘๐ - ๒๔๓๙ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้แพร่กระจายเข้ามาสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากกระทรวงกลาโหม และในไม่
ช้า กองทัพต่าง ๆ ก็ได้พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมขึ้นมาใช้เป็นของตนเอง ทั้งนี้เนื่องจากมีกติกาสําคัญในยุคนั้น คืออนุญาต
ให้หน่วยงานราชการเท่านั้น โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหาร ที่จะสามารถครอบครองความถี่ และนําเข้าอุปกรณ์สื่อสารได้ ด้วย
เหตุน้ี จึงทําให้ กองทัพเรือ ได้มีบทบาทในฐานะผู้นาแห่งการสื่อสารยุคใหม่ตั้งแต่ในยุคต้น
                                                  ํ
           การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก ในสมัยรัชกาล ที่ ๔ ในรูปกิจการโทรเลข อันเป็นระบบ
โทรคมนาคมแรกของประเทศไทย และได้ถูกนําเข้ามาใช้งานอย่างเป็นทางการ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งการสื่อสารโทรเลขของไทย ยังคงเป็นการสื่อสารแบบทางสาย จนกระทั่ง วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.
๒๔๕๖ จึงได้เปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทยที่ตําบลศาลาแดง
           สําหรับการตั้งสถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น มีผู้บันทึกเหตุการณ์ ครั้งนั้นไว้ดังนี้
           “เมื่อ วันอังคารที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ ตามหลักฐานพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๐ หน้า ๒๕๐๑ พ.ศ.๒๔๕๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดําเนิน กระทําพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือ (ไร้สาย)
แห่งแรกในประเทศไทย ของกระทรวงทหารเรือ ที่ ตําบลปทุมวัน พระนคร (ศาลาแดงในขณะนั้น) ชื่อว่า “สถานีราดิโอโทรเลข
ทหารเรือ” เวลาบ่ายสามโมง โปรดเกล้าฯ ให้ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงษ์วรเดช
จเรทหารเรือทั่วไป ทรงจุดเทียน พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พลับพลาราดิโอปทุมวัน ครั้นเวลาบ่าย ๔ โมงครึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดําเนินประทับ ณ พลับพลา เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ กราบบังคมทูลรายงาน
การสร้างเครื่องราดิโอโทรลข และเชิญเสด็จทรงเปิดการราดิโอโทรเลข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดํารัส
ตอบ เสร็จแล้วเสด็จพระราชดําเนินเข้า สู่ห้องไฟฟ้า ทรงเปิดกุญแจไฟฟ้า ให้เจ้าพนักงานเดินเครื่องยนต์ ให้เกิดแรงไฟฟ้าที่ใช้
ในการราดิโอโทรเลข ในขณะที่พระสงฆ์สวดไชยมงคลคาถา ทหารกองเกียรติยศ ถวายวันทยาวุธ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระ
บารมี และชาวประโคมลั่นแตรสังข์ดุริยะดนตรี ต่อไป ได้เสร็จพระราชดําเนินไปยังห้องราดิโอโทรเลข ทรงกดปุ่มสัญญาณเรียก
ขานตั ว แรก ด้ ว ยฝี พ ระหั ต ถ์ แ ล้ ว ทรงพระราชทานพระราชโทรเลข เป็ น พระบรมราชโองการสั่ ง เปิ ด ให้แ ก่ เ จ้ า พนั ก งาน
เป็นภาษาอังกฤษ ความว่า “ GREETING TO YOU ON THIS , WHICH WILL BE ONE OF THE MOST IMPORTANT
DAYS IN OUT HISTORY ” เพื่อส่งไปยังสถานีสงขลา ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราช
ปักษ์ใต้ ทรงประทับรออยู่ และสถานีเรือรบหลวง ได้ส่งโทรเลข กราบบังคมทูลเป็นราย ๆ ไป ได้เวลาสมควรจะได้ทรงประเคน
เครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสร็จแล้ว เสด็จ พระราชดําเนินกลับ เป็นเสร็จการ”
           จากพิธีประวัติศาสตร์ดังกล่าวข้ างต้น กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรื อ จึ งได้ถื อเอาวันที่ ๑๓
มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย
           ภายหลังจากที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ผู้ทรงดํารงตําแหน่ง
เสนาบดี กระทรวงทหารเรื อในขณะนั้ น ได้ ทรงก่อตั้งกิ จการวิ ท ยุ โทรเลขทหารเรือขึ้ น ในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖
ทหารเรือ จึงเป็นผู้นําเทคโนโลยีโทรเลขไร้สาย เข้ามาเป็นแห่งแรก เหตุการณ์ในช่วงเวลานี้ ได้แสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษ
ทหารเรือ ได้แสดงวิสัยทัศ น์ที่ลํ้าหน้า โดยเฉพาะทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม โดยการนําเข้าวิท ยุม าใช้เป็นแห่งแรก
ตลอดจนเป็ น หน่ ว ยแรกในการริ เ ริ่ ม งานด้ า นโทรคมนาคมต่ า งๆ ในประเทศไทย เช่ น กิ จ การวิ ท ยุ โ ทรเลขและกิ จ การ
วิทยุกระจายเสียง
           ต่อมา ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ ได้มีการจัดตั้ง กรมเสนาธิการทหารเรือ โดยมีแผนกอาณัติสัญญาณ เป็นแผนกหนึ่ง
ในกรมเสนาธิการทหารเรือ เรียกว่า แผนก ๔ มีที่ทําการอยู่บนตึกพระราชนิเวศน์ชั้นบน (กองบังคับการกรมอู่ทหารเรือใน
ปัจจุบัน) มีสารวัตรวิทยุโทรเลข เป็นผู้บังคับบัญชา ในฐานะหัวหน้าหน่วย มีหน่วยงานในสังกัด ๓ หน่วย ได้แก่ สถานีวิทยุโทร
                          กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
เลขทหารเรือกรุงเทพ ตั้งอยู่ท่ี ถนนวิทยุ ศาลาแดง สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือสงขลา ตั้งอยู่ที่ ตําบลบ่อยาง อําเภอเมือง
จังหวัดสงขลา และสถานีวิทยุโทรเลขในเรือหลวง
        ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๔๙๖ เป็นต้นมาประวัติศาสตร์การสื่อสารราชนาวีได้ถือกําเนิดใหม่ใน ชื่อ กองสื่อสาร ขึ้นกับกรม
ยุทธการทหารเรือ มีหน้าที่ในการสื่อสารทั้งทางวิทยุและทางทัศนสัญญาณของกองทัพเรือ ต่อมาประมาณกลางปีกองสื่อสารได้
ย้ายจากพระราชวังเดิมไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และใน ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาการวาง
ระเบียบราชการขึ้นใหม่อีกตามคําชี้แจง ทร. ที่ ๔/๙๘ ให้กองสื่อสารเปลี่ยนชื่อเป็น กองสื่อสารทหารเรือ
        วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ กองสื่อสารทหารเรือ ได้เลื่อนขึ้นเป็น กรมสื่อสารทหารเรือ และใน ๑ มกราคม
๒๕๐๑ ได้ยายที่ตั้งเข้ามาอยู่ที่พระราชวังเดิมชั้นใน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พร้อมทั้งได้จัดส่วนราชการใหม่ ตาม พระราชกฤษฎีกาการ
            ้
จัดส่วนราชการกองทัพเรือ เป็นกรมอยู่ในส่วนบัญชาการ กองทัพเรือ นับตั้งแต่น้ัน เป็นต้นมา จนกระทั่งในปี ๒๕๕๒ มีประกาศ
ตามพระราชกิจจานุเบกษา ลง ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒ เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๑๙ การแบ่งส่วนราชการ และกําหนดหน้าที่ของส่วน
ราชการ กองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ เปลี่ยนชื่อ กรมสื่อสารทหารเรือ เป็น กรมการสื่อสารและ
เทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ประวัติศาสตร์ของการสื่อสารราชนาวีจึงดําเนินต่อมาภายใต้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน


                                                                                              พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี
                                                                                                            ผู้เรียบเรียง

                                                 ข้อมูลจาก
     หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ "




                         กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
                               “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี”
                                                 ..........................
                                        ตอน วิวัฒนาการการสื่อสารทหารเรือ

            ในยุคแรกเริ่มของการสื่อสารของ ทร. ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เมื่อมีการติดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขกรุงเทพที่ศาลาแดง และ
ในเรือหลวง เป็นต้นมา การสื่อสารของ ทร. ใช้ระบบการสื่อสารทางวิทยุโทรเลข (CW) เป็นหลัก จากวันแรกจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๐
ในระยะที่ตั้งกองสัญญาณทหารเรือใหม่ ๆ สถานีวิทยุโทรเลขบนบกในข่ายการสื่อสารของ ทร. ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบกอง
สัญญาณทหารเรือ ในช่วงแรกนั้น มีการตั้งสถานีวิทยุเพิ่มเติมในระหว่างสงครามอินโดจีน เพื่อให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการ
รายงานความเคลื่อนไหวของ เรือรบและอากาศยานของข้าศึก คือ สถานีวิทยุประจําที่ทําการพนักงานนําร่องสันดอนปากแม่นํ้า
เจ้าพระยา สถานีวิทยุเกาะจวง และสถานีวิทยุเกาะไผ่ นอกจากนี้ ยังมีสถานีวิทยุในภารกิจ “กองเรือตรวจฝั่ง” (ต.ก.ฝ.) ซึ่งมี
หน้าที่ในการปราบปรามจับกุม การลักลอบนําข้าวสารและของผิดกฎหมายออกนอกประเทศในน่านนํ้าไทยและ น่านนํ้าสากล
และมีอานาจตามกฎหมายว่าด้วยศุลการักษ์ ภายหลังสงครามสงบด้วย
          ํ
            สําหรับสถานีวิทยุในเรือหลวง จะมีเครื่องส่งวิทยุโทรเลข (CW) ย่านความถี่สูง (HF) ใช้ส่งสัญญาณ CW ในการสื่อสาร
ระหว่างสถานีเรือกับสถานีบก และระหว่างสถานีเรือด้วยกัน มีเครื่องรับวิทยุโทรเลขไว้รับฟังสัญญาณวิทยุโทรเลข และข่าว
อากาศ (WX) จากสถานีวิทยุกองสัญญาณทหารเรือและจากสถานีวิทยุกรมเสนาธิการทหารเรือ รวมทั้งข่าวอากาศภาษาอังกฤษ
จากสถานีวิทยุที่ส่งเป็นการสาธารณะ ตลอดจนรับฟังสัญญาณเทียบเวลาจากสถานีเทียบเวลาต่าง ๆ และยังมีเครื่องรับ –
เครื่องส่งวิทยุโทรเลข ในการติดต่อสื่อสารกับสถานีวทยุในต่างประเทศ
                                                        ิ
            ในยุคแรก ๆ นั้นการติดต่อสื่อสารของกองทัพเรือจะเน้นการติดต่อทางด้านวิทยุโทรเลขเป็นหลัก แม้จะมีวิทยุโทรศัพท์
โทรพิมพ์ และโทรศัพท์ มาใช้ในราชการบ้างแล้วก็ตาม แม้ว่ากองทัพเรือจะใช้การสื่อสารด้วยระบบวิทยุโทรเลข (CW) มาตั้งแต่
ตั้งกองสัญญาณทหารเรือจนถึงราว ๆ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยวิทยุโทรศัพท์หรือเสียงก็ได้เข้ามาอย่างช้า
ที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นต้นมา นับเป็นก้าวที่สาคัญแห่งการพัฒนาของเทคโนโลยีอนาล็อกในการสื่อสารของราชนาวี
                                                      ํ
            ในระยะแรก ๆ ของการสื่อสารทางวิทยุโทรศัพท์ของกองทัพเรือ จะเริ่มด้วยการติดต่อสื่อสารในย่าน VHF AM ก่อน
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบจุด – จุด ระหว่างสถานีวิทยุป้อมพระจุลจอมเกล้า กับ กรมเสนาธิการทหารเรือ (พระราชวังเดิม) เรือ
ระหว่างกองเรือยุทธการ (ตั้งอยู่ที่ กองบัญชาการกองเรือลํานํ้า กองเรือยุทธการ ในปัจจุบัน) กับเรือต่าง ๆที่จอดในลํานํ้า
เจ้าพระยา หรือใช้ติดต่อกันระหว่างหน่วยเรือด้วยกัน จนในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมสื่อสารทหารเรือ จึงได้ให้การสนับสนุนเครื่องรับ
- ส่งวิทยุโทรศัพท์ แบบ HF -SSB มาติดตั้งที่ศูนย์สื่อสาร สถานีสื่อสารกลาง กรมสื่อสารทหารเรือ ทําให้ประสิทธิภาพในการ
ทํางาน การรับส่งข่าวและการติดต่อสื่อสารดีขึ้น
            ในปี ๒๕๑๑ มีการติดตั้งเครื่องรับ - ส่งวิทยุโทรศัพท์ HF - SSB แบบ PC 610E ขนาด ๕๐๐ วัตต์ ประจําสถานีบก และ
ที่สถานีวิทยุเชื่อมโยงแหลมเทียน เครื่องรับ - ส่งวิทยุดังกล่าวนี้เป็นเครื่องที่ใช้หลอดสุญญากาศ ปรับแต่งยาก
            นับแต่นั้นเป็นต้นมา การติดต่อสื่อสารทางวิทยุโทรศัพท์ในกองทัพเรือ ได้มีการพัฒนามาเป็นลําดับ มีการจัดหาอุปกรณ์
เครื่องมือสื่อสารซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทดแทนของเดิมที่ล้าสมัยตามกาลเวลา ทั้งนี้เพื่อดํารงสภาพ
การติดต่อสื่อสารได้ทุกที่ ทุกเวลาตอบสนองยุทธศาสตร์ในด้านการป้องกันประเทศในการติดต่อทางยุทธวิธีของทหารในหน่วย
กําลังทางบก และในหน่วยกําลังทางเรือ
            ระบบสถานีส่ือสารชายฝั่งของ ทร. นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของความใส่ใจของบรรพบุรุษชาวสื่อสารราชนาวีโดยแท้
ระบบการติดต่อสื่อสารระยะไกล ด้วยความถี่ HF โดย กรมสื่อสารทหารเรือ ได้ติดต่อขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือ
สื่อสารระบบติดต่อสื่อสารระยะไกลดังกล่าวให้มาติดตั้งเป็นระบบสถานีฝั่งของ ทร. และได้จัดส่งบุคลากรของ กรมสื่อสาร
ทหารเรือ ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะระบบการติดต่อสื่อสารระยะไกล เพื่อกลับมาพัฒนาระบบของ ทร.
ให้สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดําเนินการติดตั้งระบบวิทยุชายฝั่งดังกล่าว กรมการสื่อสารและเทคโนโลยี
สารสนเทศทหารเรือ ได้ดําเนินการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


                         กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
ระบบวิ ท ยุ เ ชื่ อ มโยง เป็ น อี ก ระบบหนึ่ ง ที่ ไ ด้ พั ฒ นาควบคู่ กั บ ระบบอื่ น มาตั้ ง แต่ ใ นระยะแรก ระบบวิ ท ยุ เ ชื่ อ มโยง
(ไมโครเวฟ) กําเนิดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างจุดต่อจุดโดยใช้คลื่นวิทยุโดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารที่ไม่เหมาะกับการลาก
สาย เช่นในพื้นที่ท่ีเป็นภูเขา ก็สามารถติดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณบนยอดเขาต่าง ๆ ได้ เป็นระบบโทรคมนาคมที่มีคุณภาพสูง
กระทําได้สะดวก มีความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายน้อย ทําให้สามารถ สร้างเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้บริการเกี่ยวกับการสื่อสาร
ประเภทเสี ยงและประเภทข้ อมูล กั บทุ กเหล่ าทั พ และหน่ วยงานด้านความมั่ นคงอื่ น ๆทั่วประเทศ ผ่ านทางโครงข่ายหลัก
(Backbone) เป็นโครงข่ายของกองทัพที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
         พัฒนาการของระบบวิทยุเชื่อมโยงของ ทร. เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อ กรมสื่อสารทหาร ได้วางระบบเครื่องวิทยุ
สื่อสารเชื่อมโยงจากวังเดิม - ป้อมพระจุลฯ - บางทราย - พัทยา –ฐานทัพเรือสัตหีบ - เขาหมอน - บ้านเพ – จันทบุรี เพื่อ
เชื่อมต่อการใช้โทรศัพท์ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์ และระบบโทรศัพท์สายตรงไปยังหน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่ ทร. การควบคุม
โครงข่ายให้อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่วิทยุเชื่อมโยงของ ทร. ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เริ่มมีสถานีเชื่อมโยงแห่งแรก
ของ ทร. เป็นการเชื่อมต่อการสื่อสารของวิทยุความถี่ในย่าน HF                           จากศูนย์สื่อสาร พระราชวังเดิม ไปยังสถานีรับวิทยุ
ป้อมพระจุลจอมเกล้า ระยะทางประมาณ ๒๙ กม. ซึ่งโดยหลักการแล้วสถานีฝั่งย่านความถี่ที่มีกําลังส่งสูง ต้องใช้พ้ืนที่มากในการ
ตั้งเสาอากาศแบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนกัน รวมทั้งใช้ในการบังคับทิศและระยะทางให้การสื่อสารกับเรือในทะเลได้
ระยะไกล จึงต้องตั้งสถานีรับและสถานีส่งวิทยุไว้ในพื้นที่กว้างขวางแล้วใช้วิทยุเชื่อมโยงถ่ายทอดสัญญาณ ในช่วงแรกของระบบนี้
มีช่องการสื่อสารประมาณ ๑๒ ช่อง ใช้เครื่อง UQ ความถี่ 1.8 – 2 Ghz การเชื่อมต่อสัญญาณได้ผลดีมาก เป็นสิ่งจุดประกายให้
มีการปรับปรุงพัฒนาระบบวิทยุเชื่อมโยงของ ทร. ในลําดับต่อมาอีกหลายโครงการ


                                                                                                                พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี
                                                                                                                              ผู้เรียบเรียง

                                                  ข้อมูลจาก
      หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ "




                              กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
                                   “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี”
                                                        ..........................
                ตอน หนึ่งศตวรรษใต้ร่มสายฟ้าราชนาวี มุ่งหน้าสู่บรณาการแห่งการสือสารและการบังคับบัญชา
                                                                          ู         ่
          “การสื่อสารของกองทัพเรือเป็นแบบบูรณาการที่สมบูรณ์ ภายในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ หรือภายใน ๑๐ ปีข้างหน้า
หมายความว่า ระบบการสื่อสารทุกระบบที่มีใช้ในหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือจะต้องสามารถเชื่อมต่อในการติดต่อ สั่งการ และ
ประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในทะเล บนฟ้าและฝั่ง อย่างเป็นหนึ่งเดียวในทุกที่และทุกเวลา”
                                พล.ร.ต.ศักดิสทธิ์ เชิดบุญเมือง จก.สส.ทร. ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
                                            ์ิ
          การสื่อสารราชนาวี ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันนี้ระบบสื่อสารราชนาวีประกอบไปด้วย ระบบวิทยุ
เชื่อมโยง การสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบ INMARSAT และไทยคม การสื่อสารระยะไกลด้วยคลื่นความถี่วิทยุความถี่ HF, UHF,
และ VHF การสื่อสารด้วยระบบควบคุมบังคับบัญชา C3I การสื่อสารทางระบบชุมสายโทรศัพท์ของกองทัพเรือ และการสื่อสาร
ผ่านระบบสารสนเทศ อย่างไรก็ดีระบบการสื่อสารต่าง ๆ เหล่านี้ ยังกระจัดกระจายและทํางานไม่สอดประสานกัน และยังไม่
ตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านยุทธการและธุรการอย่างครบถ้วน
          หลักไมล์ที่สําคัญทางด้านการสื่อสารของ ทร. เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๔๖ เมื่อ พล.ร.ต.ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง จก.
สส.ทร. ในขณะนั้น ได้ตั้งคณะทํางานเพื่อกําหนดวิสัยทัศน์ของกรมสื่อสารทหารเรือ (ชื่อในขณะนั้น) เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่
เป็นระบบ ใน ๑๐ ปีข้างหน้า ดังได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งทําให้การพัฒนาการสื่อสารของกองทัพเรือมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
และในปี ๒๕๕๔ สสท.ทร.ได้กําหนดหลักการที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือการพัฒนาการสื่อสารของกองทัพเรือในลักษณะบูรณา
การทั้งภายในกองทัพเรือและระหว่างหน่วยงานอื่นในกระทรวงกลาโหม เพื่อสนับสนุนแนวคิดการสงครามบูรณาการเครือข่าย
(Network Centric Warfare) ซึ่งนับเป็นก้าวสําคัญที่เมื่อโครงการนี้ประสบความสําเร็จ จะทําให้ขีดความสามารถในด้านการ
สื่อสาร สั่งการ และควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพเรือเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
          ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารแบบดิจิตอลและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ทําให้
ปัจจุบันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างไกล รวดเร็ว และหลายหลากรูปแบบ ทําให้สามารถนํามาประยุกต์ใช้ เพื่อ
ตอบสนองต่อความต้องการในการปฏิบัติการทางทหารสมัยใหม่ ที่มีความต้องการข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น กรมการสื่อสารและ
เทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ได้ขยายรวมถึงงานด้านระบบสารสนเทศ และระบบควบคุมบังคับบัญชา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี
ด้านการสื่อสารและสารสนเทศให้มีขดความสามารถในการทําสงครามสมัยใหม่ ที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพเรือได้
                                     ี
          ในการปฏิบัติการทางทหารนั้นการสื่อสารมีบทบาทสําคัญ ไม่เพียงแต่ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลเท่านั้น แต่ยังทํา
หน้าที่สําคัญคือเป็น “เสียงแห่งการบังคับบัญชา”             ในการสั่งการหรือการควบคุมการปฏิบัติทางทหารให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ และจะต้องเป็นไปในลักษณะที่มีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอ สามารถสนองตอบความต้องการในการ
ปฏิบติการทางทหารได้ ตามหลักสําคัญสามประการคือ เชื่อถือได้ (Reliability) รวดเร็ว (Speed) และปลอดภัย(Security)
      ั
          ปัจจุบันงานของ สสท.ทร. ได้ขยายจากเครื่องมือสื่อสารทางทหารไปจนถึง ระบบสารสนเทศ และการควบคุมบังคับ
บัญชา โดยที่ระบบสารสนเทศ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลเพื่อสร้าง
ข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศตามที่ต้องการ และส่งผลลัทธ์ที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อสนับสนุนการทํางาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ
การควบคุมสั่งการ การติดตามผลงาน เป็นต้น ได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง ในขณะที่การควบคุม บังคับบัญชา (Command
and Control : C2) นั้นเป็นการนําเครื่องมือสื่อสารและระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกันในการประมวลข้อมูลและการสั่งการต่างๆ
รวมทั้งการดําเนินกรรมวิธี เพื่อช่วยเหลือการผลิตข่าวกรอง ให้มีความถูกต้องรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถวางแผน สั่งการ และควบคุมการปฏิบัติของหน่วยรองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังเป็น
องค์ประกอบสําคัญในการประสานการปฏิบัติทางข้างอีกด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นเครื่องมือสําคัญในการรายงานผล การปฏิบัติ
ของหน่วยรองให้กับหน่วยเหนือได้รับทราบสถานภาพและความเคลื่อนไหวของสถานการณ์
          การพัฒนาระบบสื่อสารและสารสนเทศของ ทร. ในช่ วงเวลาหลายปีที่ ผ่านมา ได้ดําเนินการไปตามแผนแม่บทที่
เกี่ยวข้อง ๒ ฉบับคือ แผนแม่บทการพัฒนาระบบการสื่อสารของ ทร. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของ ทร. โดยที่ตามแผน
แม่บท การพัฒนาระบบการสื่อสารของ ทร. (พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๖) นั้น ระบบการสื่อสารของ ทร. จะต้องครอบคลุมทุกพื้นที่
                          กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
ปฏิบัติการ เพื่อให้หน่วยต่างๆสามารถทําการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทั้งทางเสียงและทางข้อมูล อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
และเครื อ ข่ า ยการสื่ อ สารของ ทร. ทุ ก เครื อ ข่ า ยจะต้ อ งสามารถทํ า งานร่ ว มกั น ได้ เ สมื อ นเป็ น เครื อ ข่ า ยเดี ย วกั น เพื่ อ ให้
ผู้บังคับบัญชาสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานีปลายทางได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ ในขณะที่แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทร. พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้มีระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของ ผู้บังคับบัญชาในการควบคุม
บังคับบัญชา และมีระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงานที่เป็นสายงานหลักครอบคลุมทุกสายงาน ผลที่ได้ในปัจจุบันทําให้
เกิด “Digital Navy” คือ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารระดับยุทธการ และการสื่อสารสําหรับงาน
ธุรการ เป็นระบบสื่อสารแบบดิจิตอล ที่รองรับโปรโตคอลแบบ TCP/IP หรือการสื่อสารแบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง “Digital Navy”
เป็นพื้นฐานสําคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถสําหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
          อย่างไรก็ตามระบบสื่อสารแบบดิจิตอลใช้ งานส่วนใหญ่ยังคงจํากัดอยู่ในระดับยุทธการเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุผลที่สําคัญ
คือต้องอาศัยระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูงเพียงพอ ซึ่งสําหรับหน่วยบกที่มีโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารดีจะไม่มีปัญหา แต่
สําหรับหน่วยเรือในพื้นที่ห่างไกลคงต้องอาศัยระบบสื่อสารดาวเทียมเท่านั้น ถ้าใช้คลื่นวิทยุความถี่ย่าน HF จะสามารถส่งข้อมูล
ได้ด้วยความเร็วที่ตํ่า กล่าวคือความเร็วสูงสุดประมาณ ๒,๔๐๐ bit/sec เท่านั้น เนื่องจากระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี
อัตโนมัติเป็นระบบเฉพาะ ที่มีการใช้เครือข่ายสื่อสารเป็นของตนเอง และมีรูปข้อมูลที่แตกต่างจากระบบอื่นๆ



                                                                                                                พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี
                                                                                                                              ผู้เรียบเรียง

                                                  ข้อมูลจาก
      หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ "




                              กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
                                   “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี”
                                                       ..........................
                                     ตอน การพัฒนาระบบสื่อสารและสารสนเทศในอนาคต
          จากวิสัยทัศน์ “กองทัพเรือจะเป็นกองทัพเรือชั้นนําในภูมิภาคด้วยขนาดกําลังรบที่สมดุล ทันสมัย ภายใต้การบริหาร
จัดการที่เน้นคุณภาพเป็นสําคัญ” และแนวความคิดในการปฏิบัติการทางทหารตามยุทธศาสตร์ ทร. ปี ๕๑-๖๐ ได้เน้นการใช้
เทคโนโลยีทางทหารที่ทันสมัย และทําให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยในการชี้ขาดการแพ้ชนะด้วยเวลา
อันสั้น ทั้งนี้ การขยายพื้นที่ปฏิบัติการออกไปในทะเลหลวง หรือพื้นที่ห่างไกล สามารถกระทําได้ โดยอาศัยโครงข่ายควบคุม
บังคับบัญชาและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น การปฏิบัติการตามรูปแบบการทําสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network
Centric Warfare :NCW) จะป็นหลักนิยมหนึ่งที่ทําให้ ทร. มีกําลังรบที่สมดุลและทันสมัย ไม่เป็นรองชาติใดในภูมิภาค
ในการนี้ ทร. ได้จัดทําแผนแม่บทการพัฒนาขีดความสามารถสําหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔
ขึ้นเมื่อปลายปี๒๕๕๔ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา โดยมีการแบ่งดําเนินงานเป็น ๓ ระยะ สําหรับสร้างขีดความสามารถที่
ต้องการ ๘ ข้อในช่วง ๑๐ ปี ประกอบด้วย
          - “Digital Navy” (พ.ศ. ๒๕๕๔) คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารให้รองรับการสื่อสารแบบดิจิตอล เพื่อ
เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาขั้นต่อไปได้ ทั้งนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารยังจะต้องดําเนินต่อไปเพื่อรองรับการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางต่อไป
          - “C4ISR” (Command Control Communication Computer Intelligence Surveillance Reconnaissance)
(พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) คือ การสร้างส่วนตรวจการณ์ ส่วนควบคุมสั่งการ และเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายทั้งระบบ
          - “NCO” (Network Centric Operation)(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) คือ การสร้างส่วนกําลังรบและเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
เป็นเครือข่ายทั้งระบบในปัจจุบัน ทร. กําลังดําเนินการเพื่อพัฒนาสู่ “C4ISR” และยังมีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านเครือข่ายการสื่อสาร รวมถึงระบบสารสนเทศ โดยนําเทคโนโลยีอันทันสมัยมาประยุกต์ใช้งาน ดังนี้
๑. ด้านเครือข่ายการสื่อสาร                          ๒. ด้านระบบสารสนเทศ
๓. ด้านระบบควบคุมบังคับบัญชา                        ๔. การปรับปรุงระบบเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีอัตโนมัติ
          ปัจจุบันความต้องการข้อมูลสําหรับการปฏิบัติงาน ทั้งทางยุทธการและทางธุรการ ไม่ใช้เพียงต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล
เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการประมวลผลข้อมูล การค้นหาและแจกจ่ายข้อมูลด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
โดยเฉพาะการสื่อสารแบบดิจิตอลและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์บทบาทของ สสท.ทร. จึงได้รวมงานด้านระบบสื่อสารและงาน
ด้ า นระบบสารสนเทศเข้ าไว้ ด้วยกั น โดยที่ ก ารสื่ อสารของ ทร. สามารถรองรั บระบบสื่อสารแบบดิจิต อลได้ อย่า งสมบูร ณ์
โดยเฉพาะการสื่อสารแบบอินเตอร์เน็ต เพื่อรองรับระบบสารสนเทศต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นใช้งาน ทําให้เกิดขั้นที่เรียกว่า“Digital
Navy” อันเป็นพื้นฐานสําคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถสําหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม
ระบบสื่อสารในระดับยุทธวิธี ระบบสื่อสารอนาล็อกที่ใช้งานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทร. และสามารถใช้งานได้อย่างดีก็ยังคงมี
ใช้อยู่ แต่จะถูกทดแทนด้วยระบบสื่อสารแบบดิจิตอลตามความเหมาะสมต่อไป
          ในอนาคตการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศของ ทร. จะดําเนินการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ
ด้านสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของ ทร. ให้สมบูรณ์ ด้วยการปรับปรุงเครือข่ายการสื่อสารเพื่อให้มีความรวดเร็วเชื่อถือ
ได้ และปลอดภัยตามหลักนิยมการสื่อสาร มีการพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา และที่สําคัญ
บทบาทของ สสท.ทร. ในด้านระบบควบคุมบังคับบัญชาจะมีเพิ่มมากขึ้นโดยภายในระยะเวลา ๕ ปีข้างหน้า ทร. จะมีระบบการ
ควบคุมบังคับบัญชา ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้านการข่าว การตรวจการณ์ค้นหาและการตรวจการณ์พิสูจน์ทราบได้อย่าง
อัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า “C4ISR” และถัดจากนั้นอีก ๕ ปี จะต้องขยายการเชื่อมต่อไปยังส่วนกําลังรบ เพื่อเข้าไปสู่ “Network
Centric Operation” อย่างสมบูรณ์
                                                                                     พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี ผูเ้ รียบเรียง
                                                            ข้อมูลจาก
       หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ "
                          กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ

More Related Content

Featured

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
SpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Lily Ray
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
Rajiv Jayarajah, MAppComm, ACC
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
Christy Abraham Joy
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
Vit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
MindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
GetSmarter
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
Alireza Esmikhani
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
Project for Public Spaces & National Center for Biking and Walking
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
DevGAMM Conference
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy Presentation
Erica Santiago
 

Featured (20)

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy Presentation
 

วารสาร 100 ปี กรมสื่อสาร

  • 1. สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี” .......................... ตอน โทรเลขทหารเรือผูนําแห่งการโทรคมนาคมสมัยใหม่ ้ ทันทีที่เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และวิทยุ ได้ถือกําเนิดขึ้น ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๘๐ - ๒๔๓๙ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้แพร่กระจายเข้ามาสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากกระทรวงกลาโหม และในไม่ ช้า กองทัพต่าง ๆ ก็ได้พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมขึ้นมาใช้เป็นของตนเอง ทั้งนี้เนื่องจากมีกติกาสําคัญในยุคนั้น คืออนุญาต ให้หน่วยงานราชการเท่านั้น โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหาร ที่จะสามารถครอบครองความถี่ และนําเข้าอุปกรณ์สื่อสารได้ ด้วย เหตุน้ี จึงทําให้ กองทัพเรือ ได้มีบทบาทในฐานะผู้นาแห่งการสื่อสารยุคใหม่ตั้งแต่ในยุคต้น ํ การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก ในสมัยรัชกาล ที่ ๔ ในรูปกิจการโทรเลข อันเป็นระบบ โทรคมนาคมแรกของประเทศไทย และได้ถูกนําเข้ามาใช้งานอย่างเป็นทางการ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งการสื่อสารโทรเลขของไทย ยังคงเป็นการสื่อสารแบบทางสาย จนกระทั่ง วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงได้เปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทยที่ตําบลศาลาแดง สําหรับการตั้งสถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น มีผู้บันทึกเหตุการณ์ ครั้งนั้นไว้ดังนี้ “เมื่อ วันอังคารที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ ตามหลักฐานพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๐ หน้า ๒๕๐๑ พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดําเนิน กระทําพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือ (ไร้สาย) แห่งแรกในประเทศไทย ของกระทรวงทหารเรือ ที่ ตําบลปทุมวัน พระนคร (ศาลาแดงในขณะนั้น) ชื่อว่า “สถานีราดิโอโทรเลข ทหารเรือ” เวลาบ่ายสามโมง โปรดเกล้าฯ ให้ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงษ์วรเดช จเรทหารเรือทั่วไป ทรงจุดเทียน พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พลับพลาราดิโอปทุมวัน ครั้นเวลาบ่าย ๔ โมงครึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดําเนินประทับ ณ พลับพลา เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ กราบบังคมทูลรายงาน การสร้างเครื่องราดิโอโทรลข และเชิญเสด็จทรงเปิดการราดิโอโทรเลข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดํารัส ตอบ เสร็จแล้วเสด็จพระราชดําเนินเข้า สู่ห้องไฟฟ้า ทรงเปิดกุญแจไฟฟ้า ให้เจ้าพนักงานเดินเครื่องยนต์ ให้เกิดแรงไฟฟ้าที่ใช้ ในการราดิโอโทรเลข ในขณะที่พระสงฆ์สวดไชยมงคลคาถา ทหารกองเกียรติยศ ถวายวันทยาวุธ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระ บารมี และชาวประโคมลั่นแตรสังข์ดุริยะดนตรี ต่อไป ได้เสร็จพระราชดําเนินไปยังห้องราดิโอโทรเลข ทรงกดปุ่มสัญญาณเรียก ขานตั ว แรก ด้ ว ยฝี พ ระหั ต ถ์ แ ล้ ว ทรงพระราชทานพระราชโทรเลข เป็ น พระบรมราชโองการสั่ ง เปิ ด ให้แ ก่ เ จ้ า พนั ก งาน เป็นภาษาอังกฤษ ความว่า “ GREETING TO YOU ON THIS , WHICH WILL BE ONE OF THE MOST IMPORTANT DAYS IN OUT HISTORY ” เพื่อส่งไปยังสถานีสงขลา ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราช ปักษ์ใต้ ทรงประทับรออยู่ และสถานีเรือรบหลวง ได้ส่งโทรเลข กราบบังคมทูลเป็นราย ๆ ไป ได้เวลาสมควรจะได้ทรงประเคน เครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสร็จแล้ว เสด็จ พระราชดําเนินกลับ เป็นเสร็จการ” จากพิธีประวัติศาสตร์ดังกล่าวข้ างต้น กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรื อ จึ งได้ถื อเอาวันที่ ๑๓ มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย ภายหลังจากที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ผู้ทรงดํารงตําแหน่ง เสนาบดี กระทรวงทหารเรื อในขณะนั้ น ได้ ทรงก่อตั้งกิ จการวิ ท ยุ โทรเลขทหารเรือขึ้ น ในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ทหารเรือ จึงเป็นผู้นําเทคโนโลยีโทรเลขไร้สาย เข้ามาเป็นแห่งแรก เหตุการณ์ในช่วงเวลานี้ ได้แสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษ ทหารเรือ ได้แสดงวิสัยทัศ น์ที่ลํ้าหน้า โดยเฉพาะทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม โดยการนําเข้าวิท ยุม าใช้เป็นแห่งแรก ตลอดจนเป็ น หน่ ว ยแรกในการริ เ ริ่ ม งานด้ า นโทรคมนาคมต่ า งๆ ในประเทศไทย เช่ น กิ จ การวิ ท ยุ โ ทรเลขและกิ จ การ วิทยุกระจายเสียง ต่อมา ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ ได้มีการจัดตั้ง กรมเสนาธิการทหารเรือ โดยมีแผนกอาณัติสัญญาณ เป็นแผนกหนึ่ง ในกรมเสนาธิการทหารเรือ เรียกว่า แผนก ๔ มีที่ทําการอยู่บนตึกพระราชนิเวศน์ชั้นบน (กองบังคับการกรมอู่ทหารเรือใน ปัจจุบัน) มีสารวัตรวิทยุโทรเลข เป็นผู้บังคับบัญชา ในฐานะหัวหน้าหน่วย มีหน่วยงานในสังกัด ๓ หน่วย ได้แก่ สถานีวิทยุโทร กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  • 2. เลขทหารเรือกรุงเทพ ตั้งอยู่ท่ี ถนนวิทยุ ศาลาแดง สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือสงขลา ตั้งอยู่ที่ ตําบลบ่อยาง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา และสถานีวิทยุโทรเลขในเรือหลวง ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๔๙๖ เป็นต้นมาประวัติศาสตร์การสื่อสารราชนาวีได้ถือกําเนิดใหม่ใน ชื่อ กองสื่อสาร ขึ้นกับกรม ยุทธการทหารเรือ มีหน้าที่ในการสื่อสารทั้งทางวิทยุและทางทัศนสัญญาณของกองทัพเรือ ต่อมาประมาณกลางปีกองสื่อสารได้ ย้ายจากพระราชวังเดิมไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และใน ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาการวาง ระเบียบราชการขึ้นใหม่อีกตามคําชี้แจง ทร. ที่ ๔/๙๘ ให้กองสื่อสารเปลี่ยนชื่อเป็น กองสื่อสารทหารเรือ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ กองสื่อสารทหารเรือ ได้เลื่อนขึ้นเป็น กรมสื่อสารทหารเรือ และใน ๑ มกราคม ๒๕๐๑ ได้ยายที่ตั้งเข้ามาอยู่ที่พระราชวังเดิมชั้นใน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พร้อมทั้งได้จัดส่วนราชการใหม่ ตาม พระราชกฤษฎีกาการ ้ จัดส่วนราชการกองทัพเรือ เป็นกรมอยู่ในส่วนบัญชาการ กองทัพเรือ นับตั้งแต่น้ัน เป็นต้นมา จนกระทั่งในปี ๒๕๕๒ มีประกาศ ตามพระราชกิจจานุเบกษา ลง ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒ เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๑๙ การแบ่งส่วนราชการ และกําหนดหน้าที่ของส่วน ราชการ กองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ เปลี่ยนชื่อ กรมสื่อสารทหารเรือ เป็น กรมการสื่อสารและ เทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ประวัติศาสตร์ของการสื่อสารราชนาวีจึงดําเนินต่อมาภายใต้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี ผู้เรียบเรียง ข้อมูลจาก หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ " กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  • 3. สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี” .......................... ตอน วิวัฒนาการการสื่อสารทหารเรือ ในยุคแรกเริ่มของการสื่อสารของ ทร. ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เมื่อมีการติดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขกรุงเทพที่ศาลาแดง และ ในเรือหลวง เป็นต้นมา การสื่อสารของ ทร. ใช้ระบบการสื่อสารทางวิทยุโทรเลข (CW) เป็นหลัก จากวันแรกจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๐ ในระยะที่ตั้งกองสัญญาณทหารเรือใหม่ ๆ สถานีวิทยุโทรเลขบนบกในข่ายการสื่อสารของ ทร. ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบกอง สัญญาณทหารเรือ ในช่วงแรกนั้น มีการตั้งสถานีวิทยุเพิ่มเติมในระหว่างสงครามอินโดจีน เพื่อให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการ รายงานความเคลื่อนไหวของ เรือรบและอากาศยานของข้าศึก คือ สถานีวิทยุประจําที่ทําการพนักงานนําร่องสันดอนปากแม่นํ้า เจ้าพระยา สถานีวิทยุเกาะจวง และสถานีวิทยุเกาะไผ่ นอกจากนี้ ยังมีสถานีวิทยุในภารกิจ “กองเรือตรวจฝั่ง” (ต.ก.ฝ.) ซึ่งมี หน้าที่ในการปราบปรามจับกุม การลักลอบนําข้าวสารและของผิดกฎหมายออกนอกประเทศในน่านนํ้าไทยและ น่านนํ้าสากล และมีอานาจตามกฎหมายว่าด้วยศุลการักษ์ ภายหลังสงครามสงบด้วย ํ สําหรับสถานีวิทยุในเรือหลวง จะมีเครื่องส่งวิทยุโทรเลข (CW) ย่านความถี่สูง (HF) ใช้ส่งสัญญาณ CW ในการสื่อสาร ระหว่างสถานีเรือกับสถานีบก และระหว่างสถานีเรือด้วยกัน มีเครื่องรับวิทยุโทรเลขไว้รับฟังสัญญาณวิทยุโทรเลข และข่าว อากาศ (WX) จากสถานีวิทยุกองสัญญาณทหารเรือและจากสถานีวิทยุกรมเสนาธิการทหารเรือ รวมทั้งข่าวอากาศภาษาอังกฤษ จากสถานีวิทยุที่ส่งเป็นการสาธารณะ ตลอดจนรับฟังสัญญาณเทียบเวลาจากสถานีเทียบเวลาต่าง ๆ และยังมีเครื่องรับ – เครื่องส่งวิทยุโทรเลข ในการติดต่อสื่อสารกับสถานีวทยุในต่างประเทศ ิ ในยุคแรก ๆ นั้นการติดต่อสื่อสารของกองทัพเรือจะเน้นการติดต่อทางด้านวิทยุโทรเลขเป็นหลัก แม้จะมีวิทยุโทรศัพท์ โทรพิมพ์ และโทรศัพท์ มาใช้ในราชการบ้างแล้วก็ตาม แม้ว่ากองทัพเรือจะใช้การสื่อสารด้วยระบบวิทยุโทรเลข (CW) มาตั้งแต่ ตั้งกองสัญญาณทหารเรือจนถึงราว ๆ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยวิทยุโทรศัพท์หรือเสียงก็ได้เข้ามาอย่างช้า ที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นต้นมา นับเป็นก้าวที่สาคัญแห่งการพัฒนาของเทคโนโลยีอนาล็อกในการสื่อสารของราชนาวี ํ ในระยะแรก ๆ ของการสื่อสารทางวิทยุโทรศัพท์ของกองทัพเรือ จะเริ่มด้วยการติดต่อสื่อสารในย่าน VHF AM ก่อน เป็นการติดต่อสื่อสารแบบจุด – จุด ระหว่างสถานีวิทยุป้อมพระจุลจอมเกล้า กับ กรมเสนาธิการทหารเรือ (พระราชวังเดิม) เรือ ระหว่างกองเรือยุทธการ (ตั้งอยู่ที่ กองบัญชาการกองเรือลํานํ้า กองเรือยุทธการ ในปัจจุบัน) กับเรือต่าง ๆที่จอดในลํานํ้า เจ้าพระยา หรือใช้ติดต่อกันระหว่างหน่วยเรือด้วยกัน จนในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมสื่อสารทหารเรือ จึงได้ให้การสนับสนุนเครื่องรับ - ส่งวิทยุโทรศัพท์ แบบ HF -SSB มาติดตั้งที่ศูนย์สื่อสาร สถานีสื่อสารกลาง กรมสื่อสารทหารเรือ ทําให้ประสิทธิภาพในการ ทํางาน การรับส่งข่าวและการติดต่อสื่อสารดีขึ้น ในปี ๒๕๑๑ มีการติดตั้งเครื่องรับ - ส่งวิทยุโทรศัพท์ HF - SSB แบบ PC 610E ขนาด ๕๐๐ วัตต์ ประจําสถานีบก และ ที่สถานีวิทยุเชื่อมโยงแหลมเทียน เครื่องรับ - ส่งวิทยุดังกล่าวนี้เป็นเครื่องที่ใช้หลอดสุญญากาศ ปรับแต่งยาก นับแต่นั้นเป็นต้นมา การติดต่อสื่อสารทางวิทยุโทรศัพท์ในกองทัพเรือ ได้มีการพัฒนามาเป็นลําดับ มีการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทดแทนของเดิมที่ล้าสมัยตามกาลเวลา ทั้งนี้เพื่อดํารงสภาพ การติดต่อสื่อสารได้ทุกที่ ทุกเวลาตอบสนองยุทธศาสตร์ในด้านการป้องกันประเทศในการติดต่อทางยุทธวิธีของทหารในหน่วย กําลังทางบก และในหน่วยกําลังทางเรือ ระบบสถานีส่ือสารชายฝั่งของ ทร. นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของความใส่ใจของบรรพบุรุษชาวสื่อสารราชนาวีโดยแท้ ระบบการติดต่อสื่อสารระยะไกล ด้วยความถี่ HF โดย กรมสื่อสารทหารเรือ ได้ติดต่อขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือ สื่อสารระบบติดต่อสื่อสารระยะไกลดังกล่าวให้มาติดตั้งเป็นระบบสถานีฝั่งของ ทร. และได้จัดส่งบุคลากรของ กรมสื่อสาร ทหารเรือ ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะระบบการติดต่อสื่อสารระยะไกล เพื่อกลับมาพัฒนาระบบของ ทร. ให้สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดําเนินการติดตั้งระบบวิทยุชายฝั่งดังกล่าว กรมการสื่อสารและเทคโนโลยี สารสนเทศทหารเรือ ได้ดําเนินการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  • 4. ระบบวิ ท ยุ เ ชื่ อ มโยง เป็ น อี ก ระบบหนึ่ ง ที่ ไ ด้ พั ฒ นาควบคู่ กั บ ระบบอื่ น มาตั้ ง แต่ ใ นระยะแรก ระบบวิ ท ยุ เ ชื่ อ มโยง (ไมโครเวฟ) กําเนิดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างจุดต่อจุดโดยใช้คลื่นวิทยุโดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารที่ไม่เหมาะกับการลาก สาย เช่นในพื้นที่ท่ีเป็นภูเขา ก็สามารถติดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณบนยอดเขาต่าง ๆ ได้ เป็นระบบโทรคมนาคมที่มีคุณภาพสูง กระทําได้สะดวก มีความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายน้อย ทําให้สามารถ สร้างเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้บริการเกี่ยวกับการสื่อสาร ประเภทเสี ยงและประเภทข้ อมูล กั บทุ กเหล่ าทั พ และหน่ วยงานด้านความมั่ นคงอื่ น ๆทั่วประเทศ ผ่ านทางโครงข่ายหลัก (Backbone) เป็นโครงข่ายของกองทัพที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ พัฒนาการของระบบวิทยุเชื่อมโยงของ ทร. เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อ กรมสื่อสารทหาร ได้วางระบบเครื่องวิทยุ สื่อสารเชื่อมโยงจากวังเดิม - ป้อมพระจุลฯ - บางทราย - พัทยา –ฐานทัพเรือสัตหีบ - เขาหมอน - บ้านเพ – จันทบุรี เพื่อ เชื่อมต่อการใช้โทรศัพท์ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์ และระบบโทรศัพท์สายตรงไปยังหน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่ ทร. การควบคุม โครงข่ายให้อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่วิทยุเชื่อมโยงของ ทร. ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เริ่มมีสถานีเชื่อมโยงแห่งแรก ของ ทร. เป็นการเชื่อมต่อการสื่อสารของวิทยุความถี่ในย่าน HF จากศูนย์สื่อสาร พระราชวังเดิม ไปยังสถานีรับวิทยุ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ระยะทางประมาณ ๒๙ กม. ซึ่งโดยหลักการแล้วสถานีฝั่งย่านความถี่ที่มีกําลังส่งสูง ต้องใช้พ้ืนที่มากในการ ตั้งเสาอากาศแบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนกัน รวมทั้งใช้ในการบังคับทิศและระยะทางให้การสื่อสารกับเรือในทะเลได้ ระยะไกล จึงต้องตั้งสถานีรับและสถานีส่งวิทยุไว้ในพื้นที่กว้างขวางแล้วใช้วิทยุเชื่อมโยงถ่ายทอดสัญญาณ ในช่วงแรกของระบบนี้ มีช่องการสื่อสารประมาณ ๑๒ ช่อง ใช้เครื่อง UQ ความถี่ 1.8 – 2 Ghz การเชื่อมต่อสัญญาณได้ผลดีมาก เป็นสิ่งจุดประกายให้ มีการปรับปรุงพัฒนาระบบวิทยุเชื่อมโยงของ ทร. ในลําดับต่อมาอีกหลายโครงการ พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี ผู้เรียบเรียง ข้อมูลจาก หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ " กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  • 5. สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี” .......................... ตอน หนึ่งศตวรรษใต้ร่มสายฟ้าราชนาวี มุ่งหน้าสู่บรณาการแห่งการสือสารและการบังคับบัญชา ู ่ “การสื่อสารของกองทัพเรือเป็นแบบบูรณาการที่สมบูรณ์ ภายในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ หรือภายใน ๑๐ ปีข้างหน้า หมายความว่า ระบบการสื่อสารทุกระบบที่มีใช้ในหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือจะต้องสามารถเชื่อมต่อในการติดต่อ สั่งการ และ ประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในทะเล บนฟ้าและฝั่ง อย่างเป็นหนึ่งเดียวในทุกที่และทุกเวลา” พล.ร.ต.ศักดิสทธิ์ เชิดบุญเมือง จก.สส.ทร. ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ ์ิ การสื่อสารราชนาวี ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันนี้ระบบสื่อสารราชนาวีประกอบไปด้วย ระบบวิทยุ เชื่อมโยง การสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบ INMARSAT และไทยคม การสื่อสารระยะไกลด้วยคลื่นความถี่วิทยุความถี่ HF, UHF, และ VHF การสื่อสารด้วยระบบควบคุมบังคับบัญชา C3I การสื่อสารทางระบบชุมสายโทรศัพท์ของกองทัพเรือ และการสื่อสาร ผ่านระบบสารสนเทศ อย่างไรก็ดีระบบการสื่อสารต่าง ๆ เหล่านี้ ยังกระจัดกระจายและทํางานไม่สอดประสานกัน และยังไม่ ตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านยุทธการและธุรการอย่างครบถ้วน หลักไมล์ที่สําคัญทางด้านการสื่อสารของ ทร. เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๔๖ เมื่อ พล.ร.ต.ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง จก. สส.ทร. ในขณะนั้น ได้ตั้งคณะทํางานเพื่อกําหนดวิสัยทัศน์ของกรมสื่อสารทหารเรือ (ชื่อในขณะนั้น) เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ เป็นระบบ ใน ๑๐ ปีข้างหน้า ดังได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งทําให้การพัฒนาการสื่อสารของกองทัพเรือมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน และในปี ๒๕๕๔ สสท.ทร.ได้กําหนดหลักการที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือการพัฒนาการสื่อสารของกองทัพเรือในลักษณะบูรณา การทั้งภายในกองทัพเรือและระหว่างหน่วยงานอื่นในกระทรวงกลาโหม เพื่อสนับสนุนแนวคิดการสงครามบูรณาการเครือข่าย (Network Centric Warfare) ซึ่งนับเป็นก้าวสําคัญที่เมื่อโครงการนี้ประสบความสําเร็จ จะทําให้ขีดความสามารถในด้านการ สื่อสาร สั่งการ และควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพเรือเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารแบบดิจิตอลและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ทําให้ ปัจจุบันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างไกล รวดเร็ว และหลายหลากรูปแบบ ทําให้สามารถนํามาประยุกต์ใช้ เพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการในการปฏิบัติการทางทหารสมัยใหม่ ที่มีความต้องการข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น กรมการสื่อสารและ เทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ได้ขยายรวมถึงงานด้านระบบสารสนเทศ และระบบควบคุมบังคับบัญชา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการสื่อสารและสารสนเทศให้มีขดความสามารถในการทําสงครามสมัยใหม่ ที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพเรือได้ ี ในการปฏิบัติการทางทหารนั้นการสื่อสารมีบทบาทสําคัญ ไม่เพียงแต่ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลเท่านั้น แต่ยังทํา หน้าที่สําคัญคือเป็น “เสียงแห่งการบังคับบัญชา” ในการสั่งการหรือการควบคุมการปฏิบัติทางทหารให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และจะต้องเป็นไปในลักษณะที่มีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอ สามารถสนองตอบความต้องการในการ ปฏิบติการทางทหารได้ ตามหลักสําคัญสามประการคือ เชื่อถือได้ (Reliability) รวดเร็ว (Speed) และปลอดภัย(Security) ั ปัจจุบันงานของ สสท.ทร. ได้ขยายจากเครื่องมือสื่อสารทางทหารไปจนถึง ระบบสารสนเทศ และการควบคุมบังคับ บัญชา โดยที่ระบบสารสนเทศ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลเพื่อสร้าง ข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศตามที่ต้องการ และส่งผลลัทธ์ที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อสนับสนุนการทํางาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การควบคุมสั่งการ การติดตามผลงาน เป็นต้น ได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง ในขณะที่การควบคุม บังคับบัญชา (Command and Control : C2) นั้นเป็นการนําเครื่องมือสื่อสารและระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกันในการประมวลข้อมูลและการสั่งการต่างๆ รวมทั้งการดําเนินกรรมวิธี เพื่อช่วยเหลือการผลิตข่าวกรอง ให้มีความถูกต้องรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถวางแผน สั่งการ และควบคุมการปฏิบัติของหน่วยรองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังเป็น องค์ประกอบสําคัญในการประสานการปฏิบัติทางข้างอีกด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นเครื่องมือสําคัญในการรายงานผล การปฏิบัติ ของหน่วยรองให้กับหน่วยเหนือได้รับทราบสถานภาพและความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ การพัฒนาระบบสื่อสารและสารสนเทศของ ทร. ในช่ วงเวลาหลายปีที่ ผ่านมา ได้ดําเนินการไปตามแผนแม่บทที่ เกี่ยวข้อง ๒ ฉบับคือ แผนแม่บทการพัฒนาระบบการสื่อสารของ ทร. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของ ทร. โดยที่ตามแผน แม่บท การพัฒนาระบบการสื่อสารของ ทร. (พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๖) นั้น ระบบการสื่อสารของ ทร. จะต้องครอบคลุมทุกพื้นที่ กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  • 6. ปฏิบัติการ เพื่อให้หน่วยต่างๆสามารถทําการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทั้งทางเสียงและทางข้อมูล อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และเครื อ ข่ า ยการสื่ อ สารของ ทร. ทุ ก เครื อ ข่ า ยจะต้ อ งสามารถทํ า งานร่ ว มกั น ได้ เ สมื อ นเป็ น เครื อ ข่ า ยเดี ย วกั น เพื่ อ ให้ ผู้บังคับบัญชาสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานีปลายทางได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ ในขณะที่แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ทร. พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้มีระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของ ผู้บังคับบัญชาในการควบคุม บังคับบัญชา และมีระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงานที่เป็นสายงานหลักครอบคลุมทุกสายงาน ผลที่ได้ในปัจจุบันทําให้ เกิด “Digital Navy” คือ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารระดับยุทธการ และการสื่อสารสําหรับงาน ธุรการ เป็นระบบสื่อสารแบบดิจิตอล ที่รองรับโปรโตคอลแบบ TCP/IP หรือการสื่อสารแบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง “Digital Navy” เป็นพื้นฐานสําคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถสําหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามระบบสื่อสารแบบดิจิตอลใช้ งานส่วนใหญ่ยังคงจํากัดอยู่ในระดับยุทธการเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุผลที่สําคัญ คือต้องอาศัยระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูงเพียงพอ ซึ่งสําหรับหน่วยบกที่มีโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารดีจะไม่มีปัญหา แต่ สําหรับหน่วยเรือในพื้นที่ห่างไกลคงต้องอาศัยระบบสื่อสารดาวเทียมเท่านั้น ถ้าใช้คลื่นวิทยุความถี่ย่าน HF จะสามารถส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็วที่ตํ่า กล่าวคือความเร็วสูงสุดประมาณ ๒,๔๐๐ bit/sec เท่านั้น เนื่องจากระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี อัตโนมัติเป็นระบบเฉพาะ ที่มีการใช้เครือข่ายสื่อสารเป็นของตนเอง และมีรูปข้อมูลที่แตกต่างจากระบบอื่นๆ พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี ผู้เรียบเรียง ข้อมูลจาก หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ " กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  • 7. สารคดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ “๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ หนึ่งศตวรรษ การสื่อสารราชนาวี” .......................... ตอน การพัฒนาระบบสื่อสารและสารสนเทศในอนาคต จากวิสัยทัศน์ “กองทัพเรือจะเป็นกองทัพเรือชั้นนําในภูมิภาคด้วยขนาดกําลังรบที่สมดุล ทันสมัย ภายใต้การบริหาร จัดการที่เน้นคุณภาพเป็นสําคัญ” และแนวความคิดในการปฏิบัติการทางทหารตามยุทธศาสตร์ ทร. ปี ๕๑-๖๐ ได้เน้นการใช้ เทคโนโลยีทางทหารที่ทันสมัย และทําให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยในการชี้ขาดการแพ้ชนะด้วยเวลา อันสั้น ทั้งนี้ การขยายพื้นที่ปฏิบัติการออกไปในทะเลหลวง หรือพื้นที่ห่างไกล สามารถกระทําได้ โดยอาศัยโครงข่ายควบคุม บังคับบัญชาและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น การปฏิบัติการตามรูปแบบการทําสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Warfare :NCW) จะป็นหลักนิยมหนึ่งที่ทําให้ ทร. มีกําลังรบที่สมดุลและทันสมัย ไม่เป็นรองชาติใดในภูมิภาค ในการนี้ ทร. ได้จัดทําแผนแม่บทการพัฒนาขีดความสามารถสําหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔ ขึ้นเมื่อปลายปี๒๕๕๔ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา โดยมีการแบ่งดําเนินงานเป็น ๓ ระยะ สําหรับสร้างขีดความสามารถที่ ต้องการ ๘ ข้อในช่วง ๑๐ ปี ประกอบด้วย - “Digital Navy” (พ.ศ. ๒๕๕๔) คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารให้รองรับการสื่อสารแบบดิจิตอล เพื่อ เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาขั้นต่อไปได้ ทั้งนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารยังจะต้องดําเนินต่อไปเพื่อรองรับการ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางต่อไป - “C4ISR” (Command Control Communication Computer Intelligence Surveillance Reconnaissance) (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) คือ การสร้างส่วนตรวจการณ์ ส่วนควบคุมสั่งการ และเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายทั้งระบบ - “NCO” (Network Centric Operation)(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) คือ การสร้างส่วนกําลังรบและเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายทั้งระบบในปัจจุบัน ทร. กําลังดําเนินการเพื่อพัฒนาสู่ “C4ISR” และยังมีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเครือข่ายการสื่อสาร รวมถึงระบบสารสนเทศ โดยนําเทคโนโลยีอันทันสมัยมาประยุกต์ใช้งาน ดังนี้ ๑. ด้านเครือข่ายการสื่อสาร ๒. ด้านระบบสารสนเทศ ๓. ด้านระบบควบคุมบังคับบัญชา ๔. การปรับปรุงระบบเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีอัตโนมัติ ปัจจุบันความต้องการข้อมูลสําหรับการปฏิบัติงาน ทั้งทางยุทธการและทางธุรการ ไม่ใช้เพียงต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการประมวลผลข้อมูล การค้นหาและแจกจ่ายข้อมูลด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารแบบดิจิตอลและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์บทบาทของ สสท.ทร. จึงได้รวมงานด้านระบบสื่อสารและงาน ด้ า นระบบสารสนเทศเข้ าไว้ ด้วยกั น โดยที่ ก ารสื่ อสารของ ทร. สามารถรองรั บระบบสื่อสารแบบดิจิต อลได้ อย่า งสมบูร ณ์ โดยเฉพาะการสื่อสารแบบอินเตอร์เน็ต เพื่อรองรับระบบสารสนเทศต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นใช้งาน ทําให้เกิดขั้นที่เรียกว่า“Digital Navy” อันเป็นพื้นฐานสําคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถสําหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม ระบบสื่อสารในระดับยุทธวิธี ระบบสื่อสารอนาล็อกที่ใช้งานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทร. และสามารถใช้งานได้อย่างดีก็ยังคงมี ใช้อยู่ แต่จะถูกทดแทนด้วยระบบสื่อสารแบบดิจิตอลตามความเหมาะสมต่อไป ในอนาคตการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศของ ทร. จะดําเนินการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ด้านสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของ ทร. ให้สมบูรณ์ ด้วยการปรับปรุงเครือข่ายการสื่อสารเพื่อให้มีความรวดเร็วเชื่อถือ ได้ และปลอดภัยตามหลักนิยมการสื่อสาร มีการพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา และที่สําคัญ บทบาทของ สสท.ทร. ในด้านระบบควบคุมบังคับบัญชาจะมีเพิ่มมากขึ้นโดยภายในระยะเวลา ๕ ปีข้างหน้า ทร. จะมีระบบการ ควบคุมบังคับบัญชา ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้านการข่าว การตรวจการณ์ค้นหาและการตรวจการณ์พิสูจน์ทราบได้อย่าง อัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า “C4ISR” และถัดจากนั้นอีก ๕ ปี จะต้องขยายการเชื่อมต่อไปยังส่วนกําลังรบ เพื่อเข้าไปสู่ “Network Centric Operation” อย่างสมบูรณ์ พ.จ.อ. มนต์สิทธิ์ สอนใจดี ผูเ้ รียบเรียง ข้อมูลจาก หนังสือ " ๑๐๐ ปี การสื่อสารราชนาวี ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ " กองวิทยุกระจายเสียง กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ