SlideShare a Scribd company logo
1 of 34
โครงงาน
Education Inter
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 การสอบ PISA (Programme for International Student Assessment)
PISA (Programme for International Student Assessment) เป็น
โครงการประเมินผลผู้เรียนนานาชาติ ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและ
พัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organisation for Economic Co-operation
and Development) ซึ่งมีการดาเนินการมาจั้งแต่ปี 1999 หรือ พ.ศ.2541 โดย
มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมจากทั่วโลก 65 ประเทศ โดยมีประเทศเขตเศรษฐกิจ
เอเชียที่เข้าร่วมอันได้แก่ ฮ่องกง ไทเป เซี่ยงไฮ้ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
ไทย และในปี 2012 ได้มีการเพิ่มประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม มาเป็น
ประเทศสมาชิก OECD
PISA ประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการแข่งขัน
ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาหรับระดับนานาชาติ ดาเนินการ
โดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจและมีหน่วยงานต่างๆ
ร่วมดาเนินการ ในประเทศไทยมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (สสวท.) เป็นผู้ดาเนินงานวิจัยและเป็นศูนย์ประสานงานระดับชาติ
PISA จะประเมินให้กับประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือและ
พัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมทั้งประเทศอื่นๆที่ต้องการเข้าร่วมการประเมิน ตั้งแต่
ปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ PISA เริ่มการประเมิน
2.2 การศึกษาของประเทศไทย
ระบบการศึกษาไทย ปัจจุบันตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบ
การศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น)
หรือระบบ 6-3-3
การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก
ระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา
หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็น
เงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการ
กาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การ
วัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญของการสาเร็จการศึกษา โดยเนื้อหา
และหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคล แต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วย
ตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล
ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
วิธีการศึกษาของเด็กไทย
เรียนตั้งแต่ 8 โมงครึ่ง ถึง 4 โมงเย็น ไหนจะมีกิจกรรม และเรียน
พิเศษ กว่าจะกลับบ้านก็ทุ่มสองทุ่ม พ่อแม่ไม่ทันได้เห็นหน้าลูก ก็ต้องเข้าห้อง
ไปนอนแล้ว...ว่ากันว่า เรียนหนักที่สุด ก็คือ อายุ 11 ปี หรือประมาณ ป.5
นั่นเอง โดยมีชั่วโมงเรียนถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เรียน
กันประมาณ 1,000 ชั่วโมง และในบางประเทศก็ไม่ถึง 1,000 ชั่วโมงด้วยซ้า
ลองไปดูกราฟข้อมูลนี้กัน
2.3 การศึกษาของประเทศญี่ปุ่ น
ระบบศึกษาของญี่ปุ่ น สังคมญี่ปุ่ นให้ความสาคัญกับการศึกษาเป็น
อย่างมาก เด็กๆจะได้รับการศึกษาใน 3 ทาง ได้แก่ เรียนโรงเรียนรัฐบาลสาหรับ
การศึกษาภาคบังคับ เรียนโรงเรียนเอกชนสาหรับการศึกษาภาคบังคับ หรือ
เรียนโรงเรียนเอกชนที่ไม่ได้ยึดมาตรฐานของกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม
กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เด็กๆส่วนใหญ่จะเข้าโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล แม้ว่าจะไม่ใช่ส่วน
หนึ่งของระบบการศึกษาก็ตาม ระบบการศึกษาเป็นภาคบังคับ เลือกโรงเรียน
ได้อิสระและให้การศึกษาที่พอเหมาะแก่เด็กๆทุกคนตั้งแต่ เกรด 1 (เทียบเท่า
ป.1) จนถึง เกรด 9 (เทียบเท่า ม.3) ส่วนเกรด 10 ถึงเกรด 12 (ม.4 - 6) นั้นไม่
บังคับ แต่ 94% ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย
ประมาณ 1 ใน 3 ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลายเข้าศึกษาต่อในระดับ
มหาวิทยาลัย 4 ปี junior colleges 2 ปี หรือเรียนต่อที่สถาบันอื่นๆ
การศึกษาชั้นประถมและชั้นมัธยม
ปีการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ของปีถัดไป การเรียนจะแบ่งเป็น 3 เทอม โดยมีช่วงปิดเทอม ในสมัยก่อน เด็ก
ญี่ปุ่นจะต้องเรียนที่โรงเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์เต็มวัน และเรียนวันเสาร์อีก
ครึ่งวัน สิ่งเหล่านี้หมดไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม ครูหลายคนยังสอน
ในช่วงสุดสัปดาห์รวมถึงวันหยุดภาคฤดูร้อนซึ่งมักจะเป็นเดือนสิงหาคม
กฎหมายกาหนดให้หนึ่งปีการศึกษามีการเรียนอย่างน้อย 210 วัน แต่
โรงเรียนส่วนมากมักจะเพิ่มอีก 30 วันสาหรับเทศกาลของโรงเรียน การ
แข่งขันกีฬา และพิธีที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ร่วมมือ
กันทางานเป็นกลุ่มและสปิริตของโรงเรียน จานวนวันที่มีการเรียนการสอนจึง
เหลืออยู่ประมาณ 195 วัน
วิธีการเรียนของเด็กญี่ปุ่ น
- ญี่ปุ่ นเริ่มฝึกวินัยกันตั้งแต่ที่โรงเรียน
- ทาการจดโน้ต และสรุปงานอย่างเป็นระบบ คือ
1. แบ่งหัวข้อ เวลาฟังเลคเชอร์ ไม่ใช่ว่าสักแต่จะจดทุกคา ต้อง
จับประเด็น และใจความสาคัญให้ได้ แล้วเรียบเรียงลงในสมุด ซึ่งการแบ่ง
หัวข้อเวลาจดโน้ตจะทาให้เราเรียบเรียงความสัมพันธ์ของเนื้อหาได้เป็นลาดับ
มากขึ้น การแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย
2. เว้นที่ว่างไว้บ้าง การจดแบบอัดแน่นไปด้วยตัวอักษรนอกจากจะอ่านยาก
แล้ว ทาให้หมดอารมณ์ในการอ่านอีกด้วย การเว้นบรรทัดระหว่างหัวข้อ หรือ
เว้นที่ไว้สาหรับประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ ทาให้เราสามารถจดเพิ่มเติมตอนอ่าน
ทบทวนได้และนอกจากนี้ยังสบายตาเวลาจะหาประเด็นสาคัญๆ ในหน้านั้นๆ
3. ซีรอกซ์ ข้อมูลบางอย่างที่ยากต่อการเขียน อย่างเช่น ในวิชาภูมิศาสตร์
หรือประวัติศาสตร์ ที่มีพวกแผนที่ หรือ บุคคลสาคัญๆ ก็ไม่ต้องพยายามจด
หรอกค่ะ เข้าห้องสมุดถ่ายเอกสารตรงส่วนนั้น หรือปริ้นจากเน็ต แล้วนามา
แปะลงสมุดโน้ต
4. ทาสารบัญ ถึงจะเป็นสมุดโน้ต แต่การทาสารบัญก็มีความสาคัญไม่น้อย
ค่ะ โดยเว้นหน้าแรกของสมุดไว้เขียนหัวเรื่อง และเลขหน้าไว้(เหมือน
หนังสือ) แต่จะเพิ่มรายละเอียดลงไปนิดนึงว่า หัวเรื่องนี้มีรายละเอียด หรือ
ประเด็นย่อยๆ อะไรบ้างภายในหนึ่งบรรทัด เพื่อที่ว่าเวลาทบทวน จะได้หาง่าย
ขึ้น แล้วก็อย่าลืมหาโพสต์อิท มาแปะตรงมุมขวาให้โผล่ออกมานอกสมุด
นิดนึงนะคะ จะได้หาง่ายๆ แถมยังมีสีสันอีกด้วย
5. การตัดจบก็สาคัญนะ เวลาสรุปเรื่องๆ หนึ่ง พยายามให้จบภายในหนึ่งหน้า
ถ้าทาไม่ได้ก็เอาส่วนที่เกินมาแปะไว้ตรงมุมกระดาษ (เวลาปิดสมุดจะได้พับ
เก็บเข้าไปได้) วิธีนี้ก็เพื่อจัดระเบียบข้อมูล ไม่ให้เวลาอ่านแล้วทาให้จาสับสน
ค่ะ เลือกใช้คีย์เวิร์ด ตัวย่อ เพื่อที่จะไม่ทาให้หนึ่งหน้ากระดาษดูอัดแน่น
จนเกินไป และยังดีเวลาอ่านแบบกวาดสายตาด้วย
6. สร้างสไตล์การจดของตัวเอง
7. จดให้สวยงาม ทาให้ตัวอักษรเป็นระเบียบ เขียนอ่านให้ออก ชัดเจนก็พอ
2.4 การศึกษาของประเทศเกาหลี
ระบบการศึกษาของเกาหลีจัดแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 ระดับคือ อนุบาลศึกษาหรือ
ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาของเกาหลีระดับอุดมศึกษา
แบ่งสถาบันการศึกษาออกเป็น 5 ประเภท คือ วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย
หลักสูตร 4 ปี (ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยเปิด) วิทยาลัยครู วิทยาลัยอาชีวศึกษา
โพลีเทคนิคและโรงเรียนพิเศษ (miscellaneous schools)
3. ระบบการศึกษาของเกาหลียุคใหม่ เป็นการจัดการศึกษาโดยสร้างระบบ
การศึกษาใหม่ (New Education System) เพื่อมุ่งสู่ ยุคสารสนเทศและโลกาภิ
วัตน์โดยเป้าหมายสูงสุดของระบบการศึกษาของเกาหลียุคใหม่ คือความเป็น
รัฐสวัสดิการทางการศึกษา สร้างสังคมการศึกษาแบบเปิดและตลอดชีวิต
วิธีการเรียนของเด็กเกาหลี
- เด็ก (วัยรุ่น) นักเรียนเกาหลีแทบทุกคนต้องเรียนพิเศษ การเรียนพิเศษเลิก
4 ทุ่มทุกวัน ถือเป็นเรื่องธรรมดา ช่วงสอบ ปลายภาคอาจมีคอร์สพิเศษ
เปิดสอนถึงตี 2 โดยเฉพาะวิชาเลขเป็นวิชาที่ วัยรุ่น เกาหลีทุ่มเทมาก
- นักเรียนเกาหลีเวลาเรียนเสร็จมักจะจดโน้ตย่อเอาไว้อ่านเวลาสอบ
- ตารางเรียนของนักเรียนเกาหลี เช่นดังตารางต่อไปนี้
2.5 การศึกษาของประเทศสิงคโปร์
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์มีระบบการศึกษาที่เป็นเลิศ
ประเทศหนึ่งของโลก ทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งเป็นชั้นประถมศึกษาใช้ระยะเวลา 6 ปี และ
มัธยมศึกษาใช้ระยะเวลา 4 ปี จากนั้น ต่อด้วยการเรียนในระดับสูงขึ้น
การศึกษาในระดับประถมศึกษา (Primary Schools)
ระบบการศึกษาในระดับประถมศึกษาที่สิงคโปร์นั้นจะแบ่งการสอน
ออกเป็น 2 ช่วง คือ เช้า และบ่าย การรับสมัครนักเรียนใหม่จะขึ้นอยู่กับ
นโยบายของแต่ละโรงเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4
(fouryear foundation stage) จะเน้นการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน
(แมนดาริน) หรือภาษาทมิฬ, คณิตศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ
นักเรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 3ระดับ จากผลการสอบของ ประถมศึกษาปีที่ 4
คือ EM1 EM2 EM3 โดยลักษณะการเรียนของวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาแม่
นั้นจะต่างกันนักเรียนจะต้องสอบวัดระดับเมื่อจบ ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียก
กันว่า Primary School Leaving Examination (PSLE).เพื่อวัดระดับว่านักเรียน
จะต้องเรียนในชั้นมัธยมเป็นระยะเวลา 4 ปี หรือ 5 ปี
การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (Secondary School)
โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบและจะมี
หลักสูตรแตกต่างกันไปทั้งนี้ นักเรียนจะถูกเลือกให้อยู่ระบบใดระบบหนึ่งนั้น
ขึ้นอยู่กับผลการสอบ PSLE ของนักเรียนแต่ละคน ระบบที่ใช้ระยะเวลา 4 ปี จะ
เรียกว่าSpecial and Express Courses ซึ้งการเรียนการสอนนั้นจะเน้นการ
เตรียมตัวให้นักเรียนสอบ The Singapore-Cambridge General Certificate
of Education “Ordinary” (GCE ‘O’)
ตอนจบมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ ระบบที่ใช้ระยะเวลา 5 ปี คือ Normal Course
แบ่งการเรียนการสอนเป็นAcademic และ Technical และเมื่อนักเรียนจบ
มัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General
Certificate of Education “Normal”(GCE ‘N’)
โปลีเทคนิค (Polytechnics) เป็นโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพโดยมี
สาขาให้เลือกมากมายอาทิเช่น วิศวกรรม, ธุรกิจ, สื่อสารมวลชน ฯลฯ สาหรับ
นักเรียนที่สาเร็จการศึกษาแล้วสามารถจบออกมาทางานได้เลย โดยหลักสูตรนี้
จะใช้เวลาเรียน 3 ปี
การศึกษาสาหรับสาขาวิชาช่าง Institutes of Technical Education (ITE) เป็น
โรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาช่าง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะ
ทางด้านการปฏิบัติและวิชาการ และสาหรับนักเรียนที่มีเกณฑ์คะแนนดี
สามารถเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนโปลีเทคนิค หรือมหาวิทยาลัย
แล้วแต่ความประสงค์
ปีการศึกษาของสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10
สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี ช่วงระหว่างภาค
เรียนที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 กับที่ 4 จะมีการหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างภาคเรียนที่ 2
กับที่ 3 หยุด 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุด 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา
วิธีการเรียนของเด็กสิงคโปร์
- จดบันทึกข้อมูลที่เรียนอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นขั้นตอน
- เด็กแต่ละคนมีการจัดตารางในการเรียนในแต่ละวันของตนเอง
- มีการแบ่งเวลาในการเรียนอย่างถูกต้อง
- ในการเรียนใช้ความเข้าใจมากกว่าการท่องจา
- อ่านหนังสือทุกวันวันละ 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
- มีความรับผิดชอบในตนเองในเรื่องการเรียน
- การเรียนไม่แต่เรียนในห้องเรียนเท่านั้น แต่มักออกไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ
นอกห้องเรียนมากกว่า
สมาชิก
น.ส.วณิชยา ประพันธุ์ เลขที่ 11
น.ส.มุกอาภา แม้นจิตต์ เลขที่ 18
น.ส.ศรัณย์พร รุ่งเรือง เลขที่ 19
น.ส.ธณาภา ศรีวลีรัตน์ เลขที่ 22
น.ส.ธันย์ชนก หงส์โต เลขที่ 37
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

More Related Content

More from Saranporn Rungrueang

พื้นฐานภาษาจาวา
พื้นฐานภาษาจาวาพื้นฐานภาษาจาวา
พื้นฐานภาษาจาวาSaranporn Rungrueang
 
โครงการซ่อมแซมป้าย เพื่อวัดที่ขาดแคลน
โครงการซ่อมแซมป้าย   เพื่อวัดที่ขาดแคลนโครงการซ่อมแซมป้าย   เพื่อวัดที่ขาดแคลน
โครงการซ่อมแซมป้าย เพื่อวัดที่ขาดแคลนSaranporn Rungrueang
 
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศการนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศSaranporn Rungrueang
 
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ Saranporn Rungrueang
 

More from Saranporn Rungrueang (13)

พื้นฐานภาษาจาวา
พื้นฐานภาษาจาวาพื้นฐานภาษาจาวา
พื้นฐานภาษาจาวา
 
โครงการซ่อมแซมป้าย เพื่อวัดที่ขาดแคลน
โครงการซ่อมแซมป้าย   เพื่อวัดที่ขาดแคลนโครงการซ่อมแซมป้าย   เพื่อวัดที่ขาดแคลน
โครงการซ่อมแซมป้าย เพื่อวัดที่ขาดแคลน
 
บทที่ 1
บทที่  1บทที่  1
บทที่ 1
 
บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
Education inter
Education interEducation inter
Education inter
 
บทที่ 1 Education Inter
บทที่  1  Education Interบทที่  1  Education Inter
บทที่ 1 Education Inter
 
Education inter
Education interEducation inter
Education inter
 
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศการนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ข่าวไอที
ข่าวไอทีข่าวไอที
ข่าวไอที
 
วราภรณ์ 27
วราภรณ์  27วราภรณ์  27
วราภรณ์ 27
 
ข่าวไอที
ข่าวไอทีข่าวไอที
ข่าวไอที
 

Education inter บทที่ 2